Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Early Childhood Education

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Theses/Dissertations

Articles 1 - 22 of 22

Full-Text Articles in Education

ผลการจัดประสบการณ์โดยใช้แนวคิดจิตตปัญญาศึกษาและการชี้แนะทางอารมณ์ที่มีต่อความสามารถทางอารมณ์ของเด็กวัยอนุบาล, พิมสวัสดิ์ โกศลสมบัติ Jan 2022

ผลการจัดประสบการณ์โดยใช้แนวคิดจิตตปัญญาศึกษาและการชี้แนะทางอารมณ์ที่มีต่อความสามารถทางอารมณ์ของเด็กวัยอนุบาล, พิมสวัสดิ์ โกศลสมบัติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลของการจัดประสบการณ์โดยใช้แนวคิดจิตตปัญญาศึกษาและการชี้แนะทางอารมณ์ที่มีต่อความสามารถทางอารมณ์ ด้านความรู้เกี่ยวกับอารมณ์ และด้านการกำกับอารมณ์ ของเด็กวัยอนุบาล 2) เปรียบเทียบความสามารถทางอารมณ์ ด้านความรู้เกี่ยวกับอารมณ์ และการกำกับอารมณ์ระหว่างเด็กวัยอนุบาลที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้แนวคิดจิตตปัญญาศึกษาและการชี้แนะทางอารมณ์ กับการจัดประสบการณ์แบบปกติ การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยกึ่งทดลอง แบบศึกษา 2 กลุ่ม วัดหลายครั้ง ตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง คือ เด็กอนุบาลชั้นปีที่ 2 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 50 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 25 คน และกลุ่มควบคุม 25 คน กลุ่มทดลองได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้แนวคิดจิตตปัญญาศึกษาและการชี้แนะทางอารมณ์ ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน แต่ละขั้นตอนประกอบด้วย 3 ขั้นย่อย ขั้นตอนที่ 1 การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์กับเด็กกลุ่มใหญ่ ประกอบด้วย 1) การสร้างความพร้อม ประกอบด้วย 2 กิจกรรม คือ 1.1) การเตรียมสภาวะกายใจของเด็กให้เหมาะสม และ 1.2) การนำพาเด็กสำรวจท่าทางของตนเอง 2) การให้ประสบการณ์ใหม่ ประกอบด้วย 2 กิจกรรม คือ 2.1) กิจกรรมเปิดประสาทสัมผัส และ 2.2) กิจกรรมปลุก เปลี่ยน และ 3) การฝึกสะท้อนคิด ขั้นตอนที่ 2 การชี้แนะทางอารมณ์รายบุคคล ได้แก่ 1) การสร้างสภาวะรู้ตัว 2) การนำพาทบทวนสาเหตุ 3) การให้ทางเลือก ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการจัดประสบการณ์แบบปกติ ระยะเวลาทดลอง 10 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดความเข้าใจอารมณ์ของเด็กวัยอนุบาล แบบสังเกตพฤติกรรมด้านอารมณ์ของเด็กวัยอนุบาล แบบสอบถามพฤติกรรมด้านอารมณ์ของเด็กวัยอนุบาล แบบสังเกตพฤติกรรมด้านอารมณ์ของเด็กวัยอนุบาลสำหรับผู้ปกครอง และแบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมด้านอารมณ์ของเด็กวัยอนุบาล วิเคราะห์ข้อมูลวิจัยโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัย พบว่า 1) เด็กวัยอนุบาลที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้แนวคิดจิตตปัญญาศึกษาและการชี้แนะทางอารมณ์มีความสามารถทางอารมณ์สูงกว่าก่อนการทดลอง โดยค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เกี่ยวกับอารมณ์ และค่าเฉลี่ยความถี่พฤติกรรมการกำกับอารมณ์ของเด็กวัยอนุบาล หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง …


ผลการจัดกิจกรรมการเล่นแบบชี้แนะร่วมกับลูสพารตส์นอกห้องเรียนที่มีต่อพฤติกรรมการเล่นแบบร่วมมือรวมพลังของเด็กอนุบาล, พัทธ์ สุทธิบุญ Jan 2021

ผลการจัดกิจกรรมการเล่นแบบชี้แนะร่วมกับลูสพารตส์นอกห้องเรียนที่มีต่อพฤติกรรมการเล่นแบบร่วมมือรวมพลังของเด็กอนุบาล, พัทธ์ สุทธิบุญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลของการจัดกิจกรรมการเล่นแบบชี้แนะร่วมกับลูสพารตส์นอกห้องเรียนที่มีต่อพฤติกรรมการเล่นแบบร่วมมือรวมพลังของเด็กอนุบาลใน 3 องค์ประกอบ ได้แก่ การแบ่งปัน การเจรจาต่อรอง และการทำตามกฎกติกา 2) เปรียบเทียบผลของการจัดกิจกรรมการเล่นแบบชี้แนะร่วมกับลูสพารตส์นอกห้องเรียนกับการจัดกิจกรรมกลางแจ้งแบบปกติมีต่อพฤติกรรมการเล่นแบบร่วมมือรวมพลังของเด็กอนุบาล ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เด็กอนุบาลชั้นปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนวัดสว่างอารมณ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 จำนวน 48 คน ใช้การจับฉลากได้ห้องอนุบาล 3/1 จำนวน 24 คน เป็นกลุ่มควบคุม ห้องอนุบาล 3/2 จำนวน 24 คน เป็นกลุ่มทดลอง ผู้วิจัยจัดทำแผนสำหรับกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 50 แผน รวมทั้งสิ้น 100 แผน ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย 10 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดพฤติกรรมการเล่นแบบร่วมมือรวมพลัง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า 1) หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการเล่นแบบร่วมมือรวมพลังใน 3 องค์ประกอบ ได้แก่ การแบ่งปัน การเจรจาต่อรอง และการทำตามกฎกติกา สูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05 2) หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการเล่นแบบร่วมมือรวมพลังสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05


การออกแบบและพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมความพร้อมทางการเรียนของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การวิจัยอิงการออกแบบ, ชนาสร นิ่มนวล Jan 2021

การออกแบบและพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมความพร้อมทางการเรียนของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การวิจัยอิงการออกแบบ, ชนาสร นิ่มนวล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โปรแกรมการส่งเสริมความพร้อมทางการเรียนของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 1 เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างครูกับผู้ปกครองในการสนับสนุนให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ให้เกิดความรู้ ทักษะ และทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้ ตลอดจนสามารถปรับตัวในช่วงระยะรอยเชื่อมต่อระหว่างชั้นอนุบาลสู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ได้อย่างราบรื่น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักการออกแบบและต้นแบบโปรแกรมส่งเสริมความพร้อมทางการเรียนฯ และวิเคราะห์ผลที่เกิดขึ้นกับเด็กจากการนำต้นแบบโปรแกรมส่งเสริมความพร้อมทางการเรียนฯ สู่การปฏิบัติ การวิจัยนี้ใช้แนวคิดการวิจัยการออกแบบโดยแบ่งการดำเนินงานเป็น 3 ระยะ ในระยะที่ 1 เป็นการศึกษาประสบการณ์ผู้ใช้จากครูและผู้ปกครองที่คัดเลือกด้วยวิธีการแบบก้อนหิมะจำนวน 10 คน ระยะที่ 2 เป็นการนำข้ออ้างเชิงเหตุผลร่วมกับข้อมูลจากผลการศึกษาประสบการณ์ผู้ใช้มาออกแบบหลักการและต้นแบบโปรแกรมส่งเสริมความพร้อมทางการเรียนฯ และระยะที่ 3 เป็นการนำการต้นแบบโปรแกรมส่งเสริมความพร้อมทางการเรียนของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 1 ไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 29 คน ผู้ปกครองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 29 คน และครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 2 คน นำมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และถอดบทเรียนจากการวิจัยเป็นหลักการออกแบบใหม่สำหรับโปรแกรมการส่งเสริมความพร้อมทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) หลักการออกแบบที่ใช้ในการออกแบบโปรแกรมฯ ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) องค์ประกอบเชิงสาระ ประกอบด้วย 1.1) การจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความพร้อมทางการเรียน 1.2) การประสานความร่วมมือกับผู้ปกครองในการส่งเสริมความพร้อมทางการเรียน และ 1.3) การทำงานร่วมกันระหว่างครูและผู้ปกครองและ 2) องค์ประกอบเชิงกระบวนการ ประกอบด้วย 2.1) กระบวนการส่งเสริมความพร้อมที่โรงเรียน 2.2) กระบวนการประสานความร่วมมือกับผู้ปกครอง และ 2.3) กระบวนการส่งเสริมความพร้อมที่บ้าน ซึ่งดำเนินงานคู่ขนานกันตลอดโปรแกรม โดยโปรแกรมฯ แบ่งการดำเนินงานเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เตรียมการก่อนเปิดเรียน ระยะที่ 2 ส่งเสริมการปรับตัวสู่โรงเรียนใหม่ ระยะที่ 3 สร้างรอยเชื่อมต่อในการเรียนรู้ ใช้ระยะเวลาทั้งสิ้น 101 ชั่วโมง 2) ผลการใช้โปรแกรมส่งเสริมความพร้อมทางการเรียนฯ พบว่า 2.1) นักเรียนที่เข้าร่วมการวิจัย จำนวน 29 …


การพัฒนาโปรแกรมการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมตามแนวคิดเซเฟอร์และการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถทางสังคมของเด็กอนุบาล, รังสิรัศม์ วงศ์อุปราช Jan 2021

การพัฒนาโปรแกรมการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมตามแนวคิดเซเฟอร์และการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถทางสังคมของเด็กอนุบาล, รังสิรัศม์ วงศ์อุปราช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโปรแกรมการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมตามแนวคิดเซเฟอร์และการเรียนรู้แบบร่วมมือ และ 2) ศึกษาผลของการใช้โปรแกรมการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมฯ ที่มีต่อความสามารถทางสังคมของเด็กอนุบาล ตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง คือ เด็กอนุบาลชั้นปีที่ 3 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 12 คน การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยและพัฒนา ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 การเตรียมการ ขั้นที่ 2 การพัฒนาโปรแกรมการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมฯ (ฉบับตั้งต้น) ขั้นที่ 3 การพัฒนาโปรแกรมการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมฯ (ฉบับนำร่อง) ขั้นที่ 4 การพัฒนาโปรแกรมการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมฯ (ฉบับทดลอง) และขั้นที่ 5 การนำเสนอ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินความสามารถทางสังคมของเด็กอนุบาล ประกอบด้วย 2 ด้าน ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และการทำงานร่วมกับผู้อื่น วิเคราะห์ข้อมูลวิจัยโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และค่าขนาดอิทธิพล ผลการวิจัย มีดังนี้ 1) โปรแกรมการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมฯ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความสามารถทางสังคมของเด็กอนุบาลชั้นปีที่ 3 ซึ่งถูกออกแบบมาให้มีความเป็นระบบ จัดสาระและทักษะให้เด็กเรียนรู้อย่างเป็นลำดับจากเรื่องใกล้ตัวไปสู่ไกลตัว และจากทักษะง่ายไปสู่ทักษะที่ซับซ้อนขึ้น ผ่านการทำกิจกรรมกลุ่มแบบคละความสามารถตามบทบาทที่ได้รับมอบหมาย ควบคู่ไปกับการสะท้อนการเรียนรู้และได้รับข้อมูลย้อนกลับ โปรแกรมนี้มีลักษณะเป็นกิจกรรมเสริมหลักสูตร จัดในช่วงหลังเลิกเรียน 12 สัปดาห์ ๆ ละ 4 วัน ๆ ละ 30 - 45 นาที มีองค์ประกอบ 7 ข้อ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ ระยะเวลา บริบท สาระ ขั้นตอน และการประเมินผล ประกอบด้วย สาระ 5 เรื่อง ได้แก่ การตระหนักรู้ตนเอง การจัดการตนเอง การตระหนักรู้สังคม ทักษะสัมพันธภาพ และการตัดสินใจอย่างรับผิดชอบ …


บทบาทของผู้ดูแลเด็กในการสร้างรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาจากสถานรับเลี้ยงเด็กสู่โรงเรียนอนุบาลในกรุงเทพมหานคร, เมธิกานต์ กลิ่นทุม Jan 2020

บทบาทของผู้ดูแลเด็กในการสร้างรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาจากสถานรับเลี้ยงเด็กสู่โรงเรียนอนุบาลในกรุงเทพมหานคร, เมธิกานต์ กลิ่นทุม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของผู้ดูแลเด็กในการสร้างรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาจากสถานรับเลี้ยงเด็กสู่โรงเรียนอนุบาลในกรุงเทพมหานคร ใน 2 ด้าน ได้แก่ 1) การส่งเสริมความพร้อมทางการเรียน และ 2) การสร้างรอยเชื่อมต่อทางการศึกษา ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ดูแลเด็กที่ดูแลเด็กอายุ 2-3 ปี จำนวน 291 คน จากสถานรับเลี้ยงเด็กในกรุงเทพมหานคร 3 สังกัด ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักพัฒนาสังคมกรุงเทพมหานคร และ กรมกิจการเด็กและเยาวชน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า บทบาทผู้ดูแลเด็กในการสร้างรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาจากสถานรับเลี้ยงเด็กโรงเรียนอนุบาล โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เท่ากับ 4.25 ด้านที่มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ด้านการส่งเสริมความพร้อมทางการเรียน เท่ากับ 4.62)ส่วนด้านการสร้างรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาอยู่ในระดับมาก เท่ากับ 3.89 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า 1) การส่งเสริมความพร้อมทางการเรียน ผู้ดูแลเด็กมีค่าเฉลี่ยคะแนนการปฏิบัติด้านอารมณ์และสังคมสูงที่สุด เท่ากับ 4.78 รองลงมาคือ ด้านสุขภาพและร่างกาย เท่ากับ 4.68 ด้านภาษาและการสื่อสาร เท่ากับ 4.58 และ ด้านสติปัญญา เท่ากับ 4.43 ตามลำดับ และ 2) การสร้างรอยเชื่อมต่อทางการศึกษา พบว่า ผู้ดูแลเด็กมีค่าเฉลี่ยคะแนนการปฏิบัติสูงที่สุด คือ การสื่อสารและสร้างความร่วมมือกับผู้ปกครอง เท่ากับ 3.98 รองลงมาคือ การพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง เท่ากับ 3.85 และ การสร้างความต่อเนื่องทางการศึกษาให้แก่เด็ก เท่ากับ 3.80 ตามลำดับ ปัญหาที่ผู้ดูแลเด็กพบมากที่สุด คือ การสร้างรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาจากสถานรับเลี้ยงเด็กสู่โรงเรียนอนุบาล เนื่องจากการขาดความร่วมมือจากผู้ปกครองในการเตรียมความพร้อมเด็กเพื่อปรับตัวเข้าสู่โรงเรียนอนุบาล โดยมีข้อเสนอแนะว่า ผู้ดูแลเด็กควรให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญในการเตรียมความพร้อมทางการเรียนให้แก่เด็กเพื่อใช้ในการปรับตัวเข้าสู่โรงเรียนอนุบาล ส่วนด้านการส่งเสริมความพร้อมทางการเรียน พบว่า ผู้ดูแลเด็กให้ความสำคัญกับการส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์และสังคม ด้านสุขภาพและร่างกาย และด้านภาษาและการสื่อสาร มากกว่า การส่งเสริมด้านสติปัญญา ซึ่งสอดคล้องกับข้อเสนอแนะว่า ผู้ดูแลเด็กควรส่งเสริมพัฒนาการอย่างเหมาะสมกับวัยให้ครบทั้ง 4 ด้านอย่างเป็นองค์รวม


ผลการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยโดยใช้กลยุทธ์การเขียนเชิงโต้ตอบและแนวสมดุลภาษาที่มีต่อความสามารถในการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1, สิโรดมภ์ จุ้ยเปี่ยม Jan 2020

ผลการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยโดยใช้กลยุทธ์การเขียนเชิงโต้ตอบและแนวสมดุลภาษาที่มีต่อความสามารถในการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1, สิโรดมภ์ จุ้ยเปี่ยม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยโดยใช้กลยุทธ์การเขียนเชิงโต้ตอบและแนวสมดุลภาษาที่มีต่อความสามารถในการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 2) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการเขียนของกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยโดยใช้กลยุทธ์การเขียนเชิงโต้ตอบและแนวสมดุลภาษากับค่าเฉลี่ยคะแนนของกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยแบบปกติ ตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนวัดธาตุทอง สังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร จำนวน 50 คน โดยห้อง 1/1 จำนวน 25 คน เป็นกลุ่มทดลอง ที่จัดการเรียนการสอนภาษาไทยโดยใช้กลยุทธ์การเขียนเชิงโต้ตอบและแนวสมดุลภาษา และห้อง 1/2 จำนวน 25 คน เป็นกลุ่มควบคุม ที่จัดการเรียนการสอนภาษาไทยแบบปกติ ระยะเวลาทดลอง 10 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบทดสอบความสามารถในการเขียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) หลังการทดลอง ค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการเขียนของกลุ่มทดลองสูงขึ้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) หลังการทดลอง ค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการเขียนของกลุ่มทดลองสูงกว่าค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการเขียนของกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การพัฒนากระบวนการให้การศึกษาสำหรับผู้ปกครองในการส่งเสริมสุขภาวะทางอารมณ์แก่เด็กวัยอนุบาลโดยใช้แนวคิดจิตตปัญญาศึกษาและการชี้แนะด้วยจิตวิทยาเชิงบวก, ณฐิณี เจียรกุล Jan 2020

การพัฒนากระบวนการให้การศึกษาสำหรับผู้ปกครองในการส่งเสริมสุขภาวะทางอารมณ์แก่เด็กวัยอนุบาลโดยใช้แนวคิดจิตตปัญญาศึกษาและการชี้แนะด้วยจิตวิทยาเชิงบวก, ณฐิณี เจียรกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากระบวนการให้การศึกษาสำหรับผู้ปกครองในการส่งเสริมสุขภาวะทางอารมณ์แก่เด็กวัยอนุบาลโดยใช้แนวคิดจิตตปัญญาศึกษาและการชี้แนะด้วยจิตวิทยาเชิงบวก 2) ศึกษาผลการใช้กระบวนการฯ ที่พัฒนาขึ้นที่มีต่อความสามารถของผู้ปกครองในการส่งเสริมสุขภาวะทางอารมณ์แก่เด็กวัยอนุบาล และ 3) ศึกษาผลการใช้กระบวนการฯ ที่มีต่อสุขภาวะทางอารมณ์ของเด็กวัยอนุบาล ตัวอย่างในการศึกษาผลการใช้กระบวนการฯ ได้แก่ ผู้ปกครอง จำนวน 9 คน และเด็กวัยอนุบาล จำนวน 9​ คน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมใช้เวลาทั้งสิ้น 7 เดือน แบ่งเป็น การวิเคราะห์ชุมชนอย่างมีส่วนร่วม 2 เดือน และการพัฒนากระบวนการฯ 5 เดือน เครื่องมือที่ใช้การวิจัย ได้แก่ แบบประเมินตนเองของผู้ปกครอง แนวคำถามในการสัมภาษณ์ แบบบันทึกการสังเกต แบบบันทึกย่อ และแบบบันทึกภาคสนามประจำวัน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ผลรวม และค่าเฉลี่ย ร่วมกับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) กระบวนการให้การศึกษาสำหรับผู้ปกครองในการส่งเสริมสุขภาวะทางอารมณ์แก่เด็กวัยอนุบาลโดยใช้แนวคิดจิตตปัญญาศึกษาและการชี้แนะด้วยจิตวิทยาเชิงบวก ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ (1) การสร้างชุมชนแห่งความไว้วางใจ (2) การใคร่ครวญภายใน (3) การออกแบบเส้นทาง (4) การเติมเต็มความเข้าใจ และ (5) การถอดประสบการณ์แบบมีส่วนร่วม และ 7 กลยุทธ์การขับเคลื่อน ได้แก่ กลยุทธ์ความสัมพันธ์แบบเพื่อนร่วมทาง กลยุทธ์การรับฟังด้วยใจ กลยุทธ์การเสริมพลังจากเครือข่ายสนับสนุน กลยุทธ์การตัดสินใจร่วมกัน กลยุทธ์การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ กลยุทธ์คำถามอันทรงพลัง และกลยุทธ์การปฏิบัติอย่างต่อเนื่องในชีวิตจริง กระบวนการฯ ถูกออกแบบมาอย่างเป็นระบบแต่ยืดหยุ่น สร้างให้เกิดพลังการร่วมคิดร่วมทำเพื่อเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติ กิจกรรมการเรียนรู้เป็นแบบออนไลน์ แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ การเรียนรู้ร่วมกันในกลุ่มใหญ่และการให้คำแนะนำรายบุคคล 2) หลังการใช้กระบวนการฯ ผู้ปกครองที่ยังคงอยู่ในกระบวนการฯ จำนวน 9 คน มีความสามารถในการส่งเสริมสุขภาวะทางอารมณ์แก่เด็กสูงขึ้น และ 3) หลังการใช้กระบวนการฯ เด็กมีระดับสุขภาวะทางอารมณ์เพิ่มสูงขึ้น


บทบาทผู้ปกครองในการส่งเสริมการเล่นแก่เด็กวัยอนุบาลในกรุงเทพมหานคร, แพร นากชื่น Jan 2020

บทบาทผู้ปกครองในการส่งเสริมการเล่นแก่เด็กวัยอนุบาลในกรุงเทพมหานคร, แพร นากชื่น

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะการเล่นของเด็กวัยอนุบาล และ 2) วิเคราะห์บทบาทผู้ปกครองในการส่งเสริมการเล่นแก่เด็กวัยอนุบาลในกรุงเทพมหานคร ใน 2 ด้าน ได้แก่ การจัดสภาพแวดล้อม และการสนับสนุนการเล่น ตัวอย่าง คือ ผู้ปกครองของเด็กอนุบาลอายุ 3 - 6 ปี จำนวน 432 คน จากโรงเรียน 4 สังกัด ได้แก่ สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยเป็น ดังนี้ 1) เด็กวัยอนุบาลเล่นใน 3 ลักษณะ ได้แก่ (1) การเล่นในมิติเชิงสติปัญญา พบการเล่นสร้างสูงที่สุด คิดเป็นร้อยละ 98.5 (2) การเล่นในมิติเชิงร่างกาย พบการเล่นโดยใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กสูงที่สุด คิดเป็นร้อยละ 97 และ (3) การเล่นในมิติเชิงสังคม พบการเล่นร่วมกันมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 83.9 2) ผู้ปกครองมีบทบาทในการส่งเสริมการเล่นแก่เด็กวัยอนุบาลในภาพรวม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.10 โดยการสนับสนุนการเล่นมีค่าเฉลี่ยคะแนนการปฏิบัติสูงที่สุด เท่ากับ 4.32 รองลงมาคือ การจัดสภาพแวดล้อม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.88


การพัฒนากระบวนการฝึกอบรมตามแนวคิดการพัฒนาบทเรียนร่วมกันและหลักการชี้แนะโดยเพื่อน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของครูผู้ดูแลเด็ก, ปวรา ชูสังข์ Jan 2019

การพัฒนากระบวนการฝึกอบรมตามแนวคิดการพัฒนาบทเรียนร่วมกันและหลักการชี้แนะโดยเพื่อน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของครูผู้ดูแลเด็ก, ปวรา ชูสังข์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากระบวนการฝึกอบรมฯ และ 2) ศึกษาผลการใช้กระบวนการฝึกอบรมฯ มีการดำเนินการวิจัย 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 สร้างกระบวนการฝึกอบรมฯ และเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ระยะที่ 2 นำร่องการใช้กระบวนการฝึกอบรมฯ และเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ระยะที่ 3 ทดลองใช้กระบวนการฝึกอบรมฯ ตัวอย่าง คือ ครูศูนย์พัฒนาเด็กเทศบาลนครนครปฐม จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินความสามารถการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของครูผู้ดูแลเด็ก และแบบประเมินความคิดเห็นต่อกระบวนการฝึกอบรมตามแนวคิดการพัฒนาบทเรียนร่วมกันและหลักการชี้แนะโดยเพื่อน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย การทดสอบที แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน สถิติทดสอบวิลคอกซัน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. กระบวนการฝึกอบรมฯ ที่พัฒนาขึ้น ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมความสามารถในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของครูผู้ดูแลเด็ก ด้านการเตรียมการก่อนจัดประสบการณ์การเรียนรู้ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และการจัดสภาพแวดล้อมที่สอดคล้องกับการสอน มีหลักการสำคัญ คือ 1) ทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ ต่อเนื่อง ตามกระบวนการพัฒนาและปรับปรุงการสอนที่สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตในการทำงานปกติของครู บนพื้นฐานความไว้วางใจและเคารพซึ่งกันและกันของครู 2) ตั้งเป้าหมายในการพัฒนาและปรับปรุงการสอนโดยคำนึงถึงวิธีการคิดและการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ 3) สลับบทบาทการเป็นผู้ให้และผู้รับการชี้แนะโดยเท่าเทียม ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แบ่งปันความรู้ในการทำงานร่วมกัน และการพัฒนาทักษะทางวิชาชีพ 4) สังเกตการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนตามปกติของสมาชิกกลุ่ม โดยใช้ประเด็นการสังเกตและการให้ข้อมูลย้อนกลับที่ผู้รับการชี้แนะกำหนดไว้ 5) วิเคราะห์ และสะท้อนคิดจากข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์ และให้ข้อมูลย้อนกลับโดยส่งเสริมให้ผู้สอนประเมินตนเองเพื่อนำผลที่ได้ไปใช้วางแผนพัฒนาตนเอง และมีขั้นตอนของกระบวนการฝึกอบรมฯ 4 ขั้นตอน คือ 1) สร้างกลุ่มสมาชิก 2) กำหนดเป้าหมายการพัฒนาเด็กร่วมกัน 3) พัฒนาการสอน 4) สะท้อนผลการพัฒนา กระบวนการฝึกอบรมฯ ใช้ระยะเวลาดำเนินการ 50 ชั่วโมง 2. ผลการใช้กระบวนการฝึกอบรมฯ พบว่า ความสามารถในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของครูผู้ดูแลเด็กหลังเข้าร่วมกระบวนการฝึกอบรมฯ สูงกว่าก่อนเข้าร่วมกระบวนการฝึกอบรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 โดยด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุด คือ การจัดสภาพแวดล้อมที่สอดคล้องกับการสอน รองลงมา คือ การเตรียมการก่อนจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ตามลำดับ นอกจากนี้ หลังจากเข้าร่วมกระบวนการฝึกอบรมฯ พบว่า ครูผู้ดูเด็กร่วมกันแสดงความคิดเห็นในการออกแบบแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ สามารถเขียนแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ได้ครบถ้วนทุกองค์ประกอบ …


การพัฒนากระบวนการเสริมสร้างความสามารถในการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครูอนุบาลโดยใช้หลักการประเมินเพื่อการเรียนรู้และชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ, วณิชชา สิทธิพล Jan 2019

การพัฒนากระบวนการเสริมสร้างความสามารถในการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครูอนุบาลโดยใช้หลักการประเมินเพื่อการเรียนรู้และชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ, วณิชชา สิทธิพล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการใช้กระบวนการเสริมสร้างความสามารถในการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครูอนุบาลโดยใช้หลักการประเมินเพื่อการเรียนรู้และชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ ผู้เข้าร่วมการวิจัย คือ ครูอนุบาลชั้นปีที่ 1 – 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จำนวน 8 คน แบบแผนการวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนา ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 การเตรียมการ ขั้นที่ 2 การพัฒนากระบวนการฯ (ฉบับตั้งต้น) ขั้นที่ 3 การพัฒนากระบวนการฯ (ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1) ขั้นที่ 4 การพัฒนากระบวนการฯ (ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2) และขั้นที่ 5 การนำเสนอกระบวนการฯ ฉบับสมบูรณ์ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมินความสามารถในการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครูอนุบาล แนวคำถามสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง บันทึกย่อ และแบบสะท้อนความคิด วิเคราะห์ข้อมูลโดยนับความถี่ หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย มีดังนี้ 1) กระบวนการฯ ที่พัฒนาขึ้น มุ่งพัฒนาครูอนุบาลให้มีความสามารถในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนอย่างเป็นระบบ ผ่านการทำงานแบบร่วมมือรวมพลัง เน้นการสะท้อนความคิด แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเชื่อมโยงการเรียนรู้ลงสู่การปฏิบัติจริงในห้องเรียน ประกอบด้วย 9 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา 4) กลยุทธ์ 5) ขั้นตอนการเสริมสร้างฯ 6) บทบาทของผู้ที่เกี่ยวข้อง 7) ลักษณะการดำเนินการ 8) ระยะเวลา และ 9) การประเมินผล กระบวนการฯ ตั้งอยู่บนหลักการ 6 ประการ คือ 1) กำหนดเป้าหมายเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กให้ชัดเจน 2) ฝึกฝนทักษะการสังเกตตามสภาพจริงและการสืบสอบแบบร่วมมือรวมพลัง 3) สนับสนุนให้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ สะท้อนความคิดทางบวก และให้ข้อมูลย้อนกลับอย่างต่อเนื่อง 4) สนับสนุนให้ประเมินตนเองและประเมินโดยเพื่อน 5) เปิดโอกาสให้เป็นผู้นำทางความคิดและการตัดสินใจทางวิชาการ 6) …


บทบาทครูในการส่งเสริมความเข้มแข็งทางจิตใจของเด็กวัยอนุบาลในโรงเรียนเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล, อภิพร เป็งปิง Jan 2018

บทบาทครูในการส่งเสริมความเข้มแข็งทางจิตใจของเด็กวัยอนุบาลในโรงเรียนเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล, อภิพร เป็งปิง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาบทบาทครูในการส่งเสริมความเข้มแข็งทางจิตใจของเด็กวัยอนุบาลในโรงเรียนเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ใน 2 ด้าน ได้แก่ การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ และการจัดการเรียนรู้ ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูประจำชั้นระดับอนุบาล 1-3 จำนวน 456 คน ในโรงเรียนเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 4 สังกัด ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร/องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบสังเกตและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ ครูอนุบาลมีบทบาทในการส่งเสริมความเข้มแข็งทางจิตใจของเด็กวัยอนุบาลในระดับมาก (x̅ = 4.23) โดยด้านการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยคะแนนการปฏิบัติ (x̅ = 4.36) สูงกว่าด้านการจัดการเรียนรู้ (x̅ = 4.10) เมื่อพิจารณารายละเอียดแต่ละด้าน พบว่า 1) ด้านการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ ครูเป็นแบบอย่างที่ดีของผู้ที่มีความเข้มแข็งทางจิตใจโดยการเป็นผู้ที่รับฟังผู้อื่นอย่างตั้งใจ ส่งเสริมให้มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีในห้องเรียน ปลูกฝังให้เด็กเป็นผู้พูดและผู้ฟังที่ดีครูเป็นบุคคลที่เด็กให้ความไว้วางใจ และให้ความร่วมมือกับผู้ปกครองในการดูแลเด็ก สร้างบรรยากาศที่ให้เด็กมีส่วนร่วมในห้องเรียน มีตารางกิจวัตรประจำวันที่แน่นอนเพื่อให้เด็กคาดเดาเหตุการณ์ได้ มองข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในห้องเรียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้และเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้การแก้ปัญหาจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง 2) ด้านการจัดการเรียนรู้ ครูสอนทักษะทางสังคมให้เด็กโดยการเป็นแบบอย่างของผู้ที่แก้ปัญหาอย่างใจเย็น ปฏิบัติตามข้อตกลงในชั้นเรียนที่ทำร่วมกัน สอนให้เด็กรู้จักขอบคุณและขอโทษผู้อื่น สนับสนุนให้เด็กประเมินและควบคุมอารมณ์ของตนเอง จัดประสบการณ์ในชั้นเรียนให้มีความหลากหลายและคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็ก ให้การเสริมแรง ด้วยคำชมเมื่อเด็กแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสม เปิดโอกาสให้เด็กเล่นอย่างอิสระและฝึกแก้ปัญหาด้วยตัวเอง ครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการจัดเตรียมสื่อ อุปกรณ์ และให้ความช่วยเหลือเด็กตามความเหมาะสม


สภาพและปัญหาของครูในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาสำหรับเด็กวัยอนุบาล, ปรียาภรณ์ คงแก้ว Jan 2018

สภาพและปัญหาของครูในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาสำหรับเด็กวัยอนุบาล, ปรียาภรณ์ คงแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาของครูในการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาสำหรับเด็กอนุบาลใน 3 ด้าน ได้แก่ การวางแผนการจัดการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ และการประเมินผลการจัดการเรียนรู้ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือครูอนุบาลในโรงเรียนสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการการ ศึกษานิเทศก์ และครูแกนนำระดับปฐมวัย หลักสูตรการจัดกิจกรรมการบูรณาการตามแนวทางสะเต็มศึกษาในระดับปฐมวัย จำนวน 278 คน จาก 4 ภูมิภาค เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกตพฤติกรรม และแบบสำรวจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า สภาพการปฏิบัติของครูในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ แบบสะเต็มศึกษาสำหรับเด็กอนุบาล มีระดับการปฏิบัติในระดับมาก (X ̅ = 4.00) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยคะแนนการปฏิบัติสูงที่สุด คือด้านการวางแผนการจัดการเรียนรู้ (X ̅ = 4.09) รองลงมาคือ ด้านการประเมินผลการจัดการเรียนรู้ (X ̅ = 4.00) และด้านการจัดการเรียนรู้ (X ̅ = 3.92) ตามลำดับ ปัญหาของครูในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาสำหรับเด็กอนุบาล ที่พบมากที่สุด คือ ด้านการจัดการเรียนรู้ ในประเด็นการสนับสนุนให้เด็กมีส่วนร่วมในการออกแบบและแก้ไขปัญหาที่มีลักษณะแปลกใหม่ รองลงมาคือ ด้านการประเมินผลการจัดการเรียนรู้ ในประเด็นการประเมินวิธีการทำงานเกี่ยวกับการใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายในการนำเสนอชิ้นงาน และด้าน การวางแผนการจัดการเรียนรู้ในประเด็นการคัดเลือกสาระการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับปัญหาในชีวิตประจำวันของเด็ก


การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนกลางเป็นภาษาต่างประเทศ โดยใช้แนวคิดการสอนแบบบอกเล่าและวิธีสอนแบบฟัง-พูดเพื่อส่งเสริมความสามารถในการฟัง-พูด สำหรับเด็กอนุบาล, พรนภา อำนวยไพศาล Jan 2018

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนกลางเป็นภาษาต่างประเทศ โดยใช้แนวคิดการสอนแบบบอกเล่าและวิธีสอนแบบฟัง-พูดเพื่อส่งเสริมความสามารถในการฟัง-พูด สำหรับเด็กอนุบาล, พรนภา อำนวยไพศาล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนกลางเป็นภาษาต่างประเทศโดยใช้แนวคิดการสอนแบบบอกเล่าและวิธีสอนแบบฟัง-พูด เพื่อส่งเสริมความสามารถในการฟัง-พูดสำหรับเด็กอนุบาลและ 2) ศึกษาผลของรูปแบบฯ ที่มีต่อความสามารถในการฟัง-พูดสำหรับเด็กอนุบาล ตัวอย่างคือ เด็กอนุบาลชั้นปีที่ 3 จำนวน 19 คน โรงเรียนอนุบาลธีรานุรักษ์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบฯ ระยะที่ 2 การนำร่อง รูปแบบฯ ระยะที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบฯ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินความสามารถในการฟัง-พูด และแบบบันทึกความสามารถในการฟัง-พูด วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบฯ ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ วัตถุประสงค์ เนื้อหา ขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน ระยะเวลาในการใช้รูปแบบฯ และ การประเมินผล โดยรูปแบบฯ มีขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน 3 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นนิทานเปิดประสบการณ์ 2) ขั้นฝึกเล่าและขยายประสบการณ์ และ 3) ขั้นทบทวนความเข้าใจ เนื้อหาของ รูปแบบฯ ประกอบด้วย คำศัพท์ภาษาจีนจำนวน 84 คำ และประโยคเบื้องต้น 12 ประโยค ใช้เวลาดำเนินการทั้งสิ้น 36 ชั่วโมง 2. ผลการทดลองใช้รูปแบบฯ พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการฟัง-พูดของกลุ่มตัวอย่างหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนด้านการแสดงพฤติกรรมการฟังสูงกว่าด้านการแสดงพฤติกรรมการพูด


การศึกษาบทบาทครูในการส่งเสริมพฤติกรรมความปลอดภัยของเด็กวัยอนุบาลในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, เปมิกา ไทยชัยภูมิ Jan 2018

การศึกษาบทบาทครูในการส่งเสริมพฤติกรรมความปลอดภัยของเด็กวัยอนุบาลในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, เปมิกา ไทยชัยภูมิ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาบทบาทครูในการส่งเสริมพฤติกรรมความปลอดภัยของเด็กวัยอนุบาลใน 3 ด้าน ได้แก่ การจัดสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย การดูแลและปกป้องคุ้มครอง และการสอนเกี่ยวกับความปลอดภัย ตัวอย่างคือ ครูประจำชั้นอนุบาลในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 397 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า บทบาทครูในการส่งเสริมพฤติกรรมความปลอดภัยของผู้ตอบแบบสอบถามโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X= 3.64) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ทั้งสามด้านอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการดูแลและปกป้องคุ้มครอง (X= 3.76) รองลงมาคือ ด้านการจัดสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย (X= 3.75) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านการสอนเกี่ยวกับความปลอดภัย (X= 3.52) ตามลำดับ


สภาพและปัญหาของครูในการสร้างรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาของเด็กอนุบาลเพื่อเข้าสู่ชั้นประถมศึกษา, จิตโสภิณ โสหา Jan 2017

สภาพและปัญหาของครูในการสร้างรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาของเด็กอนุบาลเพื่อเข้าสู่ชั้นประถมศึกษา, จิตโสภิณ โสหา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มุ่งศึกษาสภาพและปัญหาของครูในการสร้างรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาของเด็กอนุบาลเพื่อเข้าสู่ชั้นประถมศึกษาใน 3 ด้าน ได้แก่ การวางแผนการดำเนินงานการสร้างรอยเชื่อมต่อ การสร้างความร่วมมือกับผู้ที่เกี่ยวข้องในการสร้างรอยเชื่อมต่อ และการส่งเสริมความพร้อมทางการเรียน ตัวอย่างคือ ครูประจำชั้นของเด็กอายุ 5 ถึง 6 ปี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 323 คน เขตกรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพของครูในการสร้างรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาของเด็กอนุบาลเพื่อเข้าสู่ชั้นประถมศึกษาอยู่ในระดับมาก (x̅=3.99) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยคะแนนสูงสุดคือ การส่งเสริมความพร้อมทางการเรียน (x̅=4.26) รองลงมาคือ การวางแผนการดำเนินงานการสร้างรอยเชื่อมต่อ (x̅=3.91) และค่าเฉลี่ยคะแนนต่ำสุดคือ การสร้างความร่วมมือกับผู้ที่เกี่ยวข้องในการสร้างรอยเชื่อมต่อ (x̅=3.81) ตามลำดับ 2. ปัญหาของครูในการสร้างรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาของเด็กอนุบาลเพื่อเข้าสู่ชั้นประถมศึกษาใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการวางแผนการดำเนินงานการสร้างรอยเชื่อมต่อพบว่า (1) การไม่เชื่อมต่อระหว่างหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานและหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย (2) การมีนโยบายที่เร่งให้เด็กอ่านออกเขียนได้ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และการวัดประเมินผล ด้านการสร้างความร่วมมือกับผู้ที่เกี่ยวข้องในการสร้างรอยเชื่อมต่อพบว่า (1) การขาดความเข้าใจในการเรียนการสอนระดับอนุบาล พัฒนาการและการเรียนรู้ของผู้บริหาร ครูประถมศึกษา และผู้ปกครอง (2) การขาดโอกาสในการสร้างความรู้ความเข้าใจร่วมกันของครูอนุบาลและครูประถมศึกษา และด้านส่งเสริมความพร้อมทางการเรียนพบว่า (1) ความแตกต่างของเด็กและครอบครัวเป็นรายบุคคลที่ส่งผลต่อความพร้อมของเด็ก (2) ผู้ปกครองมีความคาดหวัง และความกังวลใจในการสอบเข้าเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (3) ครูประถมศึกษาปีที่ 1 มีความคาดหวังเกี่ยวกับความพร้อมด้านวิชาการที่เกินกว่าพัฒนาการของเด็ก


บทบาทครูในการจัดสุนทรียประสบการณ์สำหรับเด็กวัยอนุบาลในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, เอมสินธุ รามสูต Jan 2017

บทบาทครูในการจัดสุนทรียประสบการณ์สำหรับเด็กวัยอนุบาลในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, เอมสินธุ รามสูต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทครูในการจัดสุนทรียประสบการณ์สำหรับเด็กวัยอนุบาลในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ใน 3 ด้าน ได้แก่ การเป็นแบบอย่างทางสุนทรียะการเป็นผู้จัดบริบท และการเป็นผู้จัดกิจกรรม ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูอนุบาล จำนวน 400 คน ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จาก 4 ภูมิภาค เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต และแบบสำรวจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
ครูอนุบาลมีบทบาทในการจัดสุนทรียประสบการณ์สำหรับเด็กอนุบาลอยู่ในระดับมาก โดยการเป็นแบบอย่างทางสุนทรียะ มีค่าเฉลี่ยคะแนนการปฏิบัติสูงที่สุด รองลงมา คือ การเป็นผู้จัดกิจกรรม และการเป็นผู้จัดบริบทตามลำดับ เมื่อพิจารณารายละเอียดแต่ละด้าน พบว่า
1) ด้านการเป็นแบบอย่างทางสุนทรียะ ครูอนุบาลเป็นแบบอย่างทางความคิดความรู้สึก โดยการฟังเพลง ชมวิวทิวทัศน์รอบตัว มองเห็นถึงความแตกต่างของเด็กรายบุคคล และครูอนุบาลเป็นแบบอย่างทางการแสดงออก โดยการแต่งกายเรียบร้อยและถูกต้องตามกาลเทศะ มีอารมณ์ขัน ร่าเริง นำพาให้เด็กก้าวข้ามสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดด้วยใจที่สงบเย็น สื่อสารผ่านพูดด้วยน้ำเสียงธรรมชาติแต่มักใช้เสียงดังเมื่อต้องการควบคุมชั้นเรียน
2) ด้านการเป็นผู้จัดบริบท ครูอนุบาลจัดสภาพแวดล้อมให้มีสุนทรียะ โดยตกแต่งห้องเรียนให้สอดคล้องกับเนื้อหาหรือความสนใจของเด็ก ด้วยอุปกรณ์ศิลปะ ผลงานเด็ก และของใช้มากที่สุด รวมถึงจัดพื้นที่โล่งกว้างบริเวณตรงกลางของห้องเรียนเพื่อให้สอดคล้องกับกิจกรรมที่หลากหลาย และครูอนุบาลจัดเตรียมสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ที่สร้างแรงบันดาลใจ โดยใช้สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ตามที่โรงเรียนจัดสรรให้ ซึ่งยังขาดคุณภาพและความหลากหลายเนื่องจากติดปัญหาด้านงบประมาณและการประยุกต์ใช้สื่อจากท้องถิ่น
3) ด้านการเป็นผู้จัดกิจกรรม ครูอนุบาลจัดประสบการณ์ที่หลากหลาย โดยการพาเด็กออกไปเดินเล่นชมธรรมชาตินอกห้องเรียน พบข้อจำกัดในการจัดกิจกรรมศิลปะแขนงต่าง ๆ ที่หลากหลาย เนื่องจากขาดประสบการณ์และความรู้ความเข้าใจในการจัดกิจกรรมศิลปะ รวมทั้งไม่มีเวลาในการจัดเตรียมสื่อ และครูอนุบาลตอบสนองต่อการแสดงออกของเด็ก โดยการชื่นชมและให้กำลังใจเด็กที่แสดงออกหรือสร้างสรรค์ผลงานที่แตกต่าง แต่ยังขาดการประเมินพัฒนาการทางสุนทรียะอย่างเป็นระบบ ไม่พบการจดบันทึกพฤติกรรมหรือคำพูดเด็กขณะทำกิจกรรม


บทบาทครูในการสร้างรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาของเด็กเพื่อเข้าสู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1, กมลทิพย์ นิ้มคธาวุธ Jan 2017

บทบาทครูในการสร้างรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาของเด็กเพื่อเข้าสู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1, กมลทิพย์ นิ้มคธาวุธ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ ศึกษาบทบาทครูในการสร้างรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาของเด็กเพื่อเข้าสู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ใน 3 ประเด็น คือ 1) การส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ 2) การทำงานร่วมกันของครู และ3) การส่งเสริมความร่วมมือกับผู้ปกครอง ตัวอย่าง ได้แก่ ครูชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 4 สังกัด ในกรุงเทพมหานคร ได้แก่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักงานการศึกษากรุงเทพมหานคร และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จำนวนทั้งสิ้น 337 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ และค่าร้อยละ ผลการวิจัยเป็นดังนี้ 1) การส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ พบว่า ด้านการสร้างทัศนคติที่ดีต่อการมาโรงเรียน ครูจัดกิจกรรมแก่เด็กเพื่อให้เกิดความคุ้นเคยกับครูและโรงเรียน และปรับเปลี่ยนแผนการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับเด็กในปีการศึกษานั้น คิดเป็นร้อยละ 49.3 เท่ากัน ครูจัดสภาพแวดล้อมห้องเรียนให้มีพื้นที่มุมหนังสือ คิดเป็นร้อยละ 76.3 และปรับห้องเรียนตามลักษณะของกิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 70.6 ส่วนด้านการส่งเสริมการปรับตัว ครูส่งเสริมพัฒนาการด้านการพึ่งพาตนเอง เรื่องการดูแลความสะอาดของร่างกายมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 93.5 ซึ่งสูงกว่าพัฒนาการด้านอื่น ๆ และใช้สื่อประเภทนิทานเพื่อพัฒนาเด็กมากกว่าวิธีอื่น 2) การทำงานร่วมกันของครู พบว่า ด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูล ครูแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับการใช้แบบฝึกหัดใบงานและใบความรู้ คิดเป็นร้อยละ 23.5 และพัฒนาการทุกด้านของเด็ก คิดเป็นร้อยละ 37.1 ส่วนด้านการวางแผนการทำงาน ครูใช้การประชุมร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้อง คิดเป็นร้อยละ 26.2 พัฒนาหลักสูตรรอยเชื่อมต่อโดยร่วมกันกำหนดวิธีการวัดและประเมินผลเด็ก คิดเป็นร้อยละ 16.2 และประเมินผลของการทำงานโดยคำนึงถึงพัฒนาการและความก้าวหน้าของเด็กมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 11 3) การส่งเสริมความร่วมมือกับผู้ปกครอง พบว่า ด้านการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี ใช้การสื่อสารกับผู้ปกครองผ่านการโทรศัพท์ คิดเป็นร้อยละ 72.7 ครูแลกเปลี่ยนข้อมูลพฤติกรรมที่ต้องการความเอาใจใส่ คิดเป็นร้อยละ 78.3 ส่วนด้านการสร้างความเป็นหุ้นส่วน ครูสื่อสารกับผู้ปกครองเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการตามวัย คิดเป็นร้อยละ 65 และเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมกับการเรียนรู้ของเด็ก โดยการเป็นผู้ช่วยสอนการบ้านเด็ก คิดเป็นร้อยละ 68


การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดสะเต็มศึกษาและการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสื่อสารของเด็กอนุบาล, กัญจนา ศิลปกิจยาน Jan 2017

การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดสะเต็มศึกษาและการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสื่อสารของเด็กอนุบาล, กัญจนา ศิลปกิจยาน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดสะเต็มศึกษา และการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสื่อสารของเด็กอนุบาล และ 2) ศึกษาผลการใช้กระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดสะเต็มศึกษาและการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสื่อสารของเด็กอนุบาล ตัวอย่าง คือ เด็กอนุบาลชั้นปีที่ 2 ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนชลประทานสงเคราะห์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 32 คน การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนฯ ระยะที่ 2 การนำร่องกระบวนการเรียนการสอนฯ ที่พัฒนาขึ้น และระยะที่ 3 การทดลองใช้กระบวนการเรียนการสอนฯ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดความสามารถในการสื่อสาร และแบบบันทึกพฤติกรรมการสื่อสาร วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. กระบวนการเรียนการสอนฯ มีองค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา ขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน ระยะเวลาการใช้กระบวนการ และการประเมินผล โดยมีขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน คือ ขั้นเสนอปัญหา ขั้นสืบสอบ ขั้นเชื่อมโยงความรู้ และขั้นประมวลผลการเรียนรู้ 2. ผลการทดลองใช้กระบวนการเรียนการสอนฯ สำหรับข้อมูลเชิงปริมาณ พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการสื่อสารหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง และระหว่างการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยด้านที่สูงที่สุด คือ การเล่าเรื่องหรือเหตุการณ์ รองลงมา คือ การสร้างสัญลักษณ์ และสุดท้าย คือ การสนทนาโต้ตอบ ในส่วนของข้อมูลเชิงคุณภาพ พบว่า การใช้สื่อที่เป็นรูปธรรม การใช้เทคนิคต่าง ๆ และการใช้กิจกรรมกลุ่ม ทำให้เด็กมีความกระตือรือร้นในการสนทนาโต้ตอบ การลงมือปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอช่วยให้เด็กสามารถเก็บรายละเอียดของเหตุการณ์เพื่อใช้ต่อเติมในการเล่าเรื่องได้ดีขึ้น นอกจากนี้เด็กใช้สัญลักษณ์ได้ดีขึ้น โดยช่วงแรกเป็นการวาดภาพที่สะท้อนถึงสิ่งที่เรียนรู้ ต่อมามีการเพิ่มเติมรายละเอียดและบริบทของภาพ รวมทั้งมีการนำเสนอสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่ได้เรียนรู้


การวิเคราะห์แนวปฏิบัติของครูในการสร้างรอยเชื่อมต่อจากบ้านสู่โรงเรียนอนุบาล, พนิตกานต์ อรรถสุขวัฒนา Jan 2017

การวิเคราะห์แนวปฏิบัติของครูในการสร้างรอยเชื่อมต่อจากบ้านสู่โรงเรียนอนุบาล, พนิตกานต์ อรรถสุขวัฒนา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ วิเคราะห์แนวปฏิบัติของครูในการสร้างรอยเชื่อมต่อจากบ้านสู่โรงเรียนอนุบาลใน 2 ด้าน ได้แก่ การส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ และ การสร้างความสัมพันธ์กับเด็ก ครอบครัว และชุมชน ตัวอย่าง ได้แก่ ครูอนุบาลที่สอนเด็กวัย 3 ปี จำนวน 315 คน จากจำนวน 3 สังกัด ในกรุงเทพมหานคร ได้แก่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละและวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยเป็นดังนี้ 1) การส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ พบว่า ในด้านการจัดการเรียนรู้ โรงเรียนอนุบาลมีนโยบายการวางแผนกิจกรรมหรือจัดหลักสูตรในประเด็นการจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมให้เด็กปรับตัวมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 70.7 มีการกำหนดเวลาที่ชัดเจนในการจัดการเรียนรู้โดยมีแผนกิจกรรมเพื่อส่งเสริมรอยเชื่อมต่อตลอดปีการศึกษา คิดเป็นร้อยละ 58.6 ครูอนุบาลเปิดโอกาสให้เด็กทำกิจกรรมอย่างเหมาะสมตามเวลา คิดเป็นร้อยละ 87.6 และใช้การประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้โดยศึกษาเด็กเป็นรายบุคคลด้วยวิธีการสังเกตมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 87.9 ในด้านการเสริมสร้างทักษะการปรับตัว ครูอนุบาลสร้างทัศนคติที่ดีต่อการมาโรงเรียน โดยจัดสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัยและคล้ายบ้านมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 75.2 ครูอนุบาลจัดกิจกรรมส่งเสริมความพร้อม โดยส่งเสริมให้เด็กมีอิสระในการทำกิจกรรมผ่านการเล่น คิดเป็นร้อยละ 87 โดยส่งเสริมความพร้อมด้านร่างกายในเรื่อง การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 91.5 ด้านอารมณ์และสังคม ในเรื่องการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการทำกิจกรรมต่าง ๆ คิดเป็นร้อยละ 91.2 ด้านสติปัญญา ในเรื่องการจัดกิจกรรมให้เด็กได้สังเกตและสำรวจสิ่งต่างๆ คิดเป็นร้อยละ 91.2 ด้านภาษาในเรื่องการพูดและการสื่อสารผ่านการเล่านิทาน คิดเป็นร้อยละ 91.9 และในด้านการจัดสภาพแวดล้อมทำให้เด็กมีส่วนร่วมและสนใจ ครูอนุบาลจัดสภาพแวดล้อมและเตรียมอุปกรณ์เพื่อให้เด็กช่วยเหลือตนเองมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 83.4 2) การสร้างความสัมพันธ์กับเด็ก ครอบครัวและชุมชน พบว่า ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างครูกับเด็ก ครูอนุบาลสร้างความสัมพันธ์ที่มั่นคงและสร้างความคุ้นเคยกับเด็กเป็นรายบุคคล คิดเป็นร้อยละ 86.6 ในประเด็นการรับมือกับความรู้สึกแยกจากของเด็ก ครูอนุบาลใช้การรับมือกับเด็กเป็นรายบุคคล คิดเป็นร้อยละ 84 ส่วนในประเด็นการสื่อสารที่หลากหลายร่วมกันในทางบวก ครูอนุบาลใช้การสนทนารายกลุ่มในการพูดคุยสื่อสารกับเด็กมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 77.2 และในด้านความสัมพันธ์ระหว่างครูกับครอบครัวเด็ก ครูอนุบาลใช้การประชุมผู้ปกครองในการแลกเปลี่ยนและส่งต่อข้อมูลเด็กมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 86.6 การสร้างข้อตกลงร่วมกันระหว่างครูกับผู้ปกครองใช้การพูดคุย คิดเป็นร้อยละ 89.3 …


การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนกิจกรรมเสรีตามแนวคิดเครื่องมือทางปัญญาและการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างเอ็กเซ็กคิวทีฟฟังก์ชันส์ของเด็กอนุบาล, ดุษฎี อุปการ Jan 2017

การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนกิจกรรมเสรีตามแนวคิดเครื่องมือทางปัญญาและการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างเอ็กเซ็กคิวทีฟฟังก์ชันส์ของเด็กอนุบาล, ดุษฎี อุปการ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนการสอนกิจกรรมเสรีตามแนวคิดเครื่องมือทางปัญญาและการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างเอ็กเซ็กคิวทีฟฟังก์ชันส์ของเด็กอนุบาล และ 2) เพื่อศึกษาผลของการใช้กระบวนการเรียนการสอนกิจกรรมเสรีฯ การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1) การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนกิจกรรมเสรีฯ 2) การนำร่องกระบวนการเรียนการสอนกิจกรรมเสรีฯ และ 3) การศึกษาผลของการใช้กระบวนการเรียนการสอนกิจกรรมเสรีฯ กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กอนุบาลชั้นปีที่ 2 โรงเรียนบ้านน้ำพี้มิตรภาพที่ 214 จังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 35 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 18 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 17 คน ระยะเวลาในการดำเนินการวิจัย 16 เดือน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบประเมินหัวใจและดอกไม้ 2) แบบประเมินเอ็กเซ็กคิวทีฟฟังก์ชันส์ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.96 และ 3) แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมที่สะท้อนเอ็กเซ็กคิวทีฟฟังก์ชันส์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม และขนาดอิทธิพล ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. กระบวนการเรียนการสอนกิจกรรมเสรีตามแนวคิดเครื่องมือทางปัญญาและการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างเอ็กเซ็กคิวทีฟฟังก์ชันส์ของเด็กอนุบาล ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ แนวคิดพื้นฐาน หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กระบวนการเรียนการสอน และการประเมิน โดยมีหลักการ 5 ประการ ได้แก่ 1) พัฒนาการและการเรียนรู้เกิดขึ้นในบริบทของการอยู่ร่วมกันในสังคม 2) อารมณ์และความสนใจจากภายในที่มีความหมายต่อตัวเด็กส่งผลต่อการเรียนรู้ 3) การเรียนรู้เกี่ยวกับการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายและการทำงานของสมองผ่านการลงมือปฏิบัติเกิดเป็นพัฒนาการ 4) กระบวนการเรียนรู้เกิดขึ้นโดยความสนใจจากภายใน มุ่งจุดสนใจ รับรู้ ลงมือปฏิบัติ จดจำ แล้วนำมาจัดระบบสร้างรูปแบบของตนเอง และ 5) ภาษาเป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนประสบการณ์ภายนอกสู่ความเข้าใจที่เกิดขึ้นภายใน ซึ่งกระบวนการเรียนการสอนมี 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นกระตุ้นสมอง 2) ขั้นหยุดคิดก่อนเล่น 3) ขั้นเล่นร่วมกัน และ …


บทบาทของผู้ปกครองในการสร้างรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาจากโรงเรียนอนุบาลสู่โรงเรียนประถมศึกษา, พัชรัตน์ ลออปักษา Jan 2017

บทบาทของผู้ปกครองในการสร้างรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาจากโรงเรียนอนุบาลสู่โรงเรียนประถมศึกษา, พัชรัตน์ ลออปักษา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาบทบาทของผู้ปกครองในการสร้างรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาจากโรงเรียนอนุบาลสู่โรงเรียนประถมศึกษาใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการส่งเสริมความพร้อมของเด็ก ด้านการสร้างความร่วมมือกับโรงเรียน และด้านการเตรียมความพร้อมของครอบครัว ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ปกครองของเด็กประถมศึกษาที่กำลังศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่1 ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 416 คน จากโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ผู้ปกครองมีบทบาทในการสร้างรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาจากโรงเรียนอนุบาลสู่โรงเรียนประถมศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับปฏิบัติระดับมาก (X̄=3.93) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยคะแนนการปฏิบัติสูงที่สุด คือ ด้านการเตรียมความพร้อมของครอบครัว (X̄=4.06) รองลงมา คือ ด้านการส่งเสริมความพร้อมของเด็ก (X̄=4.04) และ ด้านการสร้างความร่วมมือกับโรงเรียน (X̄=3.69) ตามลำดับ ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ปกครองจำนวน 16 คน สรุปได้ ดังนี้ 1) ด้านการส่งเสริมความพร้อมของเด็ก พบว่า องค์ประกอบการรับมือกับความเปลี่ยนแปลง ผู้ปกครองส่งเสริมเด็กด้านทักษะการพึ่งพาตนเองด้วยการฝึกเด็กให้ช่วยเหลือตนเอง โดยอธิบายถึงความสำคัญให้เด็กเห็นความสำคัญก่อน (14 คน) และ องค์ประกอบการเรียนรู้ ผู้ปกครองส่งเสริมให้เด็กมีความรู้เกี่ยวกับสังคมและสิ่งรอบตัวผ่านการพาเด็กไปเที่ยว หรือทำกิจกรรมในช่วงวันหยุด (15 คน) 2) ด้านการสร้างความร่วมมือกับโรงเรียน พบว่า องค์ประกอบการมีส่วนร่วมกับโรงเรียน ผู้ปกครองสร้างเครือข่ายความร่วมมือ โดยการขอช่องทางการติดต่อกับเพื่อนผู้ปกครอง และพบปะ พูดคุยแลกเปลี่ยนกัน โดยใช้เวลาในช่วงเช้าที่ไปส่งเด็ก หรือรับเด็กตอนเย็นหลังเลิกเรียน (11คน) ผู้ปกครองคุยกับครูเกี่ยวกับพัฒนาการและวิธีการสอนเด็กในช่วงเช้าที่ไปส่งเด็ก หรือรับเด็กตอนเย็นหลังเลิกเรียน และแลกเปลี่ยนช่องทางการติดต่อกับครูประจำชั้น ติดตามข้อมูลของโรงเรียนผ่านทางแอพพลิเคชั่นไลน์ สมุดจดการบ้าน และจดหมายของโรงเรียน (11 คน) และองค์ประกอบการสนับสนุนการเรียนรู้ ผู้ปกครองสนับสนุนการเรียนรู้ที่บ้านผ่านการจัดพื้นที่ให้เด็กทำงานตามความเหมาะสมของแต่ละครอบครัว (16 คน) 3) ด้านการเตรียมความพร้อมของครอบครัว พบว่า องค์ประกอบการเตรียมพร้อมก่อนเข้าโรงเรียน ผู้ปกครองหาข้อมูลของโรงเรียนประถมศึกษาตั้งแต่เด็กอยู่ชั้นอนุบาล 2 ผ่านอินเตอร์เน็ต สอบถามจากคนใกล้ตัว และไปสำรวจโรงเรียนด้วยตนเองพร้อมกับเด็ก (13 คน) และองค์ประกอบการให้ความช่วยเหลือเมื่อเด็กเข้าโรงเรียน ผู้ปกครองสังเกตพฤติกรรมของเด็ก ซักถามเด็กช่วงเย็น และให้คำแนะนำแก่เด็ก …


บทบาทของผู้ปกครองในการเสริมสร้างรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาที่ราบรื่นจากบ้านสู่โรงเรียนอนุบาล, สิริธิดา ชินแสงทิพย์ Jan 2017

บทบาทของผู้ปกครองในการเสริมสร้างรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาที่ราบรื่นจากบ้านสู่โรงเรียนอนุบาล, สิริธิดา ชินแสงทิพย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ วิเคราะห์บทบาทของผู้ปกครองในการเสริมสร้างรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาที่ราบรื่นจากบ้านสู่โรงเรียนอนุบาล ใน 2 ด้าน ได้แก่ การส่งเสริมความพร้อมและการปรับตัวของเด็ก และการมีส่วนร่วมกับโรงเรียน ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ปกครองของเด็กอายุ 3 ปี จำนวน 352 คน ในโรงเรียนเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 3 สังกัด ได้แก่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จำนวน 322 คน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 20 คน และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ การหาค่าเฉลี่ย การหาค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ผู้ปกครองมีบทบาทในการเสริมสร้างรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาที่ราบรื่นจากบ้านสู่โรงเรียนอนุบาล อยู่ในระดับมาก โดยด้านการส่งเสริมความพร้อมและการปรับตัวของเด็กมีค่าเฉลี่ยการปฏิบัติสูงสุด รองลงมาคือ ด้านการมีส่วนร่วมกับโรงเรียน ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ พบว่า ผู้ปกครองให้ความสำคัญกับการเลือกโรงเรียนใกล้บ้าน มีสถานที่ร่มรื่น และมีแนวคิดทางการศึกษาและการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับธรรมชาติและวัยของเด็ก ในด้านส่งเสริมความพร้อมและการปรับตัวของเด็ก ผู้ปกครองให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมเด็กก่อนเข้าโรงเรียนอนุบาล ในเรื่องการปรับตัวเข้ากับเพื่อน การควบคุมอารมณ์ การช่วยเหลือตนเอง โดยเตรียมเด็กให้มีความพร้อมในด้านร่างกายผ่านการเล่นและการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน มีการปรับตารางกิจวัตรประจำวันให้สอดคล้องกับโรงเรียนก่อนเปิดภาคเรียนเป็นเวลา 2 สัปดาห์ พาเด็กไปเยี่ยมชมโรงเรียน เล่านิทานและพูดคุยเกี่ยวกับโรงเรียนให้เด็กฟัง ส่วนด้านการมีส่วนร่วมกับโรงเรียน เมื่อเด็กเข้าโรงเรียน ผู้ปกครองมีส่วนร่วมกับกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียน ทำให้เด็กรู้สึกปลอดภัย มั่นใจ และไว้วางใจในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในห้องเรียน