Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 30 of 171

Full-Text Articles in Education

ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะการรู้สารสนเทศทางการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล, ธีรวัฒน์ ช่างปัด Jan 2021

ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะการรู้สารสนเทศทางการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล, ธีรวัฒน์ ช่างปัด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับสมรรถนะการรู้สารสนเทศทางการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล 2) พัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของสมรรถนะการรู้สารสนเทศทางการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล และ 3) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลฯ ที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยผู้วิจัยได้พัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของสมรรถนะการรู้สารสนเทศทางการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 2 - 4 จำนวน 839 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงบรรยาย และการวิเคราะห์อิทธิพลด้วยโมเดลสมการโครงสร้าง (SEM) ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับสมรรถนะการรู้สารสนเทศทางการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล พบว่า นักศึกษาพยาบาลมีสมรรถนะการรู้สารสนเทศทางการพยาบาลโดยรวมอยู่ในระดับค่อนข้างสูง (M = 4.15 , SD = 0.68) 2. โมเดลเชิงสาเหตุของสมรรถนะการรู้สารสนเทศทางการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาลที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วยปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงต่อสมรรถนะการรู้สารสนเทศทางการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล ได้แก่ ปัจจัยด้านการรับรู้ความสามารถของตัวเองด้านการรู้เท่าทันสารสนเทศ (ß = 0.33) ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลสูงที่สุด รองลงมา คือ ปัจจัยด้านเจตคติต่อสารสนเทศ (ß = 0.31) ปัจจัยที่มีอิทธิพลน้อยที่สุด คือ และปัจจัยด้านการปฏิบัติโดยอิงหลักฐานเชิงประจักษ์ (ß = 0.16) ซึ่งโมเดลเชิงสาเหตุของสมรรถนะการรู้สารสนเทศทางการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาลที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (X2 (df=32, N=839) = 117.36, p = .000, CFI = 0.997, GFI = 0.980, AGFI = 0.936, RMSEA = 0.056, SRMR = 0.026)


การพัฒนาแบบตรวจสอบรายการสมรรถนะการประเมินของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร, ขวัญเรือน จอมโคกสูง Jan 2021

การพัฒนาแบบตรวจสอบรายการสมรรถนะการประเมินของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร, ขวัญเรือน จอมโคกสูง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะการประเมินของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร 2) พัฒนาและตรวจสอบคุณภาพแบบตรวจสอบรายการสมรรถนะการประเมินของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การประชุมกลุ่ม ซึ่งประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน ตัวอย่างในการวิจัย คือ ผู้อำนวยการสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 159 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัย ได้แก่ แบบตรวจสอบรายการสมรรถนะการประเมินของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ด้วยสถิติทดสอบทีแบบกลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า 1. สมรรถนะการประเมินของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การประเมินแผนงาน/โครงการ 2) การประเมินหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ 3) การประเมินบุคลากร 4) การประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา 2. การพัฒนาแบบตรวจสอบรายการสมรรถนะการประเมินของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยประเด็นตรวจสอบหลัก 4 ประเด็น จำนวน 88 รายการตรวจสอบ มีความตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.60 – 1.00 มีความเที่ยงทั้งฉบับในระดับ 0.94 ผู้อำนวยการสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานครมีระดับสมรรถนะการประเมินส่วนใหญ่ในระดับเชี่ยวชาญ การเปรียบเทียบสมรรถนะการประเมินของผู้บริหารสถานศึกษาจำแนกตามเพศ อายุ ระดับวุฒิการศึกษา ระดับวิทยฐานะ และขนาดโรงเรียน พบว่า สมรรถนะ การประเมินของผู้บริหารสถานศึกษาไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ผลการเปรียบเทียบสมรรถนะการประเมินของผู้บริหารสถานศึกษาจำแนกตามระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


แนวทางการส่งเสริมคุณลักษณะของนักวิจัยรุ่นเยาว์ในยุคดิจิทัล : การวิเคราะห์ข้ามกรณี, จีรศักดิ์ วงศ์กาญจนฉัตร Jan 2021

แนวทางการส่งเสริมคุณลักษณะของนักวิจัยรุ่นเยาว์ในยุคดิจิทัล : การวิเคราะห์ข้ามกรณี, จีรศักดิ์ วงศ์กาญจนฉัตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

นักวิจัยรุ่นเยาว์ในยุคดิจิทัล เป็นคุณลักษณะของนักเรียนในกระบวนการคิด ค้นคว้า ประยุกต์ใช้สื่อแอปพลิเคชัน และนำเสนอข้อค้นพบความรู้ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อพัฒนาเครื่องมือวัดคุณลักษณะนักวิจัยรุ่นเยาว์ในยุคดิจิทัลของนักเรียน 2) เพื่อวิเคราะห์ และเปรียบเทียบคุณลักษณะนักวิจัยรุ่นเยาว์ในยุคดิจิทัลของนักเรียนที่มีภูมิหลังแตกต่างกัน 3) เพื่อวิเคราะห์การจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมคุณลักษณะนักวิจัยรุ่นเยาว์ในยุคดิจิทัล และปัญหาอุปสรรค ปัจจัยความสำเร็จในการจัดการเรียนรู้ และ 4) เพื่อพัฒนาแนวทางการส่งเสริมคุณลักษณะของนักวิจัยรุ่นเยาว์ในยุคดิจิทัล การดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 3 ระยะ โดยระยะที่ 1 การพัฒนาเครื่องมือวัดคุณลักษณะนักวิจัย รุ่นเยาว์ในยุคดิจิทัล ศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน และทดลองใช้กับนักเรียน ระยะที่ 2 การวิเคราะห์การจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมคุณลักษณะนักวิจัยรุ่นเยาว์ในยุคดิจิทัล โดย เก็บรวบรวมข้อมูลจากนักเรียนจำนวน 645 คน และครูจำนวน 34 คน โดยวิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน จากโรงเรียนสังกัด สพฐ. และสช. ในเขตกรุงเทพฯ เครื่องมือการวิจัยคือแบบสอบถามคุณลักษณะนักวิจัยรุ่นเยาว์ในยุคดิจิทัล และแบบสอบถามการจัดการเรียนรู้ ลักษณะมาตรประเมินค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดย 1) วิเคราะห์ค่าสถิติบรรยาย ความแปรปรวนทางเดียว และสถิติที 2) วิเคราะห์โมเดลเชิงสาเหตุพหุระดับ และ3) วิเคราะห์ข้ามกรณี โดยเลือกครูกรณีศึกษาจำนวน 6 คน จากการจัดกลุ่มด้วยเทคนิค cluster analysis และระยะที่ 3 การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมคุณลักษณะนักวิจัยรุ่นเยาว์ในยุคดิจิทัล โดยนำข้อมูลเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพสังเคราะห์ร่วมกัน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. องค์ประกอบคุณลักษณะนักวิจัยรุ่นเยาว์ในยุคดิจิทัล ประกอบด้วย 6 ด้าน คือ 1) การช่างสงสัย 2) การสืบค้นสำรวจ 3) การร่วมมือกับผู้อื่น 4) การคิดแก้ปัญหา 5) การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ และ 6) การสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เครื่องมือวัดมีคุณภาพด้านความตรง และความเที่ยง โมเดลคุณลักษณะนักวิจัยรุ่นเยาว์ในยุคดิจิทัล มีความตรงเชิงโครงสร้าง พิจารณาค่าดัชนีความสอดคล้องกลมกลืนได้แก่ ไค-สแควร์ (7, N=65) = …


ความเหมาะสมของโมเดลการวัดความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนแบบสะท้อนและแบบก่อตัว : การวิเคราะห์ด้วยสถิติแบบเบส์, พิมพ์ลักษณ์ เจริญวานิชกูร Jan 2021

ความเหมาะสมของโมเดลการวัดความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนแบบสะท้อนและแบบก่อตัว : การวิเคราะห์ด้วยสถิติแบบเบส์, พิมพ์ลักษณ์ เจริญวานิชกูร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความเหมาะสมของโมเดลการวัดความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนระหว่างโมเดลการวัดแบบสะท้อนและแบบก่อตัว 2) เปรียบเทียบความเป็นพลเมืองดิจิทัลและองค์ประกอบของความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนที่มีภูมิหลังต่างกัน โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 450 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบสองขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบวัดความเป็นพลเมืองดิจิทัล จำนวน 46 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติบรรยาย การวิเคราะห์ความแปรปรวน การวิเคราะห์ด้วยสถิติแบบเบส์ และการวิเคราะห์ด้วยสถิติแบบความถี่ ด้วยโปรแกรม Mplus ผลการวิจัยพบว่า 1) โมเดลการวัดความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนแบบสะท้อน (Reflective-Reflective) มีความเหมาะสมมากกว่าโมเดลการวัดแบบก่อตัว (Reflective-Formative) 2) ความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียน เมื่อเปรียบเทียบตามเพศ ระดับชั้น ระยะเวลาที่ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการพักผ่อน และระยะเวลาที่ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อพบปะกับเพื่อนฝูง พบว่ามีความเป็นพลเมืองดิจิทัลแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่เมื่อเปรียบเทียบตามแผนการเรียน ขนาดโรงเรียน และระยะเวลาที่ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษา พบว่ามีความเป็นพลเมืองดิจิทัลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อเปรียบเทียบปฏิสัมพันธ์ระหว่างขนาดโรงเรียนและแผนการเรียน พบว่า โรงเรียนขนาดกลาง นักเรียนที่ศึกษาในแผนการเรียนวิทย์–คณิตและศิลป์–คำนวณมีความเป็นพลเมืองดิจิทัลสูงกว่านักเรียนที่ศึกษาในแผนการเรียนศิลป์–ภาษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 พิจารณาองค์ประกอบของความเป็นพลเมืองดิจิทัล พบว่า องค์ประกอบที่ 1 การรู้ดิจิทัล นักเรียนที่ศึกษาในแผนการเรียนวิทย์–คณิตและศิลป์–คำนวณมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่านักเรียนที่ศึกษาในแผนการเรียนศิลป์–ภาษา นักเรียนที่ศึกษาในโรงเรียนขนาดใหญ่และขนาดใหญ่พิเศษมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่านักเรียนที่ศึกษาในโรงเรียนขนาดกลาง และนักเรียนที่ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษา 5-6 ชั่วโมง มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่านักเรียนที่ใช้เวลา 3-4 ชั่วโมงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 องค์ประกอบที่ 2 การมีส่วนร่วมทางดิจิทัล นักเรียนหญิงมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่านักเรียนชาย นักเรียนที่ศึกษาในแผนการเรียนวิทย์–คณิตและศิลป์–คำนวณมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่านักเรียนที่ศึกษาในแผนการเรียนศิลป์–ภาษา นักเรียนที่ศึกษาในโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่านักเรียนที่ศึกษาในโรงเรียนขนาดกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 องค์ประกอบที่ 3 การรักษาอัตลักษณ์ในโลกดิจิทัล นักเรียนที่ศึกษาในแผนการเรียนวิทย์–คณิตและศิลป์–คำนวณมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่านักเรียนที่ศึกษาในแผนการเรียนศิลป์–ภาษา นักเรียนที่ศึกษาในโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่านักเรียนที่ศึกษาในโรงเรียนขนาดกลาง และนักเรียนที่ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษา 5-6 ชั่วโมง มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่านักเรียนที่ใช้เวลาน้อยกว่า 1 ชั่วโมง 1-2 ชั่วโมง และ 3-4 ชั่วโมง และนักเรียนที่ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษามากกว่า 6 ชั่วโมง มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่านักเรียนที่ใช้เวลาน้อยกว่า 1 ชั่วโมง และ 3-4 ชั่วโมง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 องค์ประกอบที่ 4 การมีจริยธรรมในการใช้ดิจิทัล …


ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสาร การรับรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมทางเพศที่พึงประสงค์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, นรกมล กองสุข Jan 2021

ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสาร การรับรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมทางเพศที่พึงประสงค์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, นรกมล กองสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการเปิดรับข่าวสาร การรับรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมทางเพศที่พึงประสงค์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยลักษณะทั่วไปของประชากรกับระดับการเปิดรับข่าวสาร การรับรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมทางเพศที่พึงประสงค์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสาร การรับรู้ และทัศนคติกับพฤติกรรมทางเพศที่พึงประสงค์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 450 คน ที่ได้จากการสุ่มหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไคสแควร์ และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1)กลุ่มตัวอย่างมีการเปิดรับข่าวสารและการรับรู้อยู่ในระดับน้อย ส่วนทัศนคติและพฤติกรรมทางเพศที่พึงประสงค์อยู่ในมาก 2) ความสัมพันธ์กับปัจจัยลักษณะทั่วไป การเปิดรับข่าวสารมีความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านระดับชั้นและปัจจัยด้านอายุ การรับรู้มีความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านเพศและปัจจัยด้านอายุ ทัศนคติมีความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านเพศและปัจจัยด้านอายุ และพฤติกรรมทางเพศที่พึงประสงค์มีความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านระดับชั้นและปัจจัยด้านอายุ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมทางเพศที่พึงประสงค์ พบว่า การเปิดรับข่าวสารมีระดับความสัมพันธ์ทางลบอยู่ในระดับต่ำ (r = -0.16) การรับรู้ไม่มีความสัมพันธ์ และทัศนคติมีระดับความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับต่ำ (r = 0.31)


แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนในกลุ่มโรงเรียนเมืองฉะเชิงเทรา 3 ตามแนวคิดการตระหนักรู้ทางสังคม, ภานุวัฒน์ ตุ้มสังข์ทอง Jan 2021

แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนในกลุ่มโรงเรียนเมืองฉะเชิงเทรา 3 ตามแนวคิดการตระหนักรู้ทางสังคม, ภานุวัฒน์ ตุ้มสังข์ทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงบรรยายมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนในกลุ่มโรงเรียนเมืองฉะเชิงเทรา 3 ตามแนวคิดการตระหนักรู้ทางสังคม 2) นำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนในกลุ่มโรงเรียนเมืองฉะเชิงเทรา 3 ตามแนวคิดการตระหนักรู้ทางสังคม ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนในกลุ่มโรงเรียนเมืองฉะเชิงเทรา 3 จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 13 โรงเรียน โดยมีผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษา หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้และครูในกลุ่มโรงเรียนเมืองฉะเชิงเทรา 3 จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 214 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ และทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ฐานนิยม ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNI [modified]) และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) การบริหารวิชาการโรงเรียนในกลุ่มโรงเรียนเมืองฉะเชิงเทรา 3 ตามแนวคิดการตระหนักรู้ทางสังคมที่มีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ การพัฒนาหลักสูตร (PNI [modified] = 0.278) รองลงมา คือ ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ (PNI [modified] = 0.260) และ (PNI [modified] = 0.258) ด้านการวัดและประเมินผล ตามลำดับ 2) แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนในกลุ่มโรงเรียนเมืองฉะเชิงเทรา 3 ตามแนวคิดการตระหนักรู้ทางสังคม ประกอบด้วย 3 แนวทางหลัก 6แนวทางย่อย และ 16 วิธีดำเนินการ โดยนำเสนอตามลำดับความต้องการจำเป็น 3 อันดับ ได้แก่ (1) การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นการตระหนักรู้ทางสังคมด้านความไวต่อการรับรู้ทางสังคม (2) การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนเกิดการตระหนักรู้ทางสังคมด้านการเห็นคุณค่าของความหลากหลาย (3) การพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการตระหนักรู้ทางสังคมด้านความไวต่อการรับรู้ทางสังคม


Development Of A Curriculum Based On Content And Language Integrated Learning And Competency-Based Education For Enhancing Business English Writing Ability Of Undergraduate Students, Meassnguon Saint Jan 2021

Development Of A Curriculum Based On Content And Language Integrated Learning And Competency-Based Education For Enhancing Business English Writing Ability Of Undergraduate Students, Meassnguon Saint

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The purposes of this study were 1) to develop a curriculum based on content and language integrated language learning and competency-based education for enhancing business English writing ability of undergraduate students 2) to investigate the effectiveness of a developed curriculum. The research and development process consists of four phases: 1) studying the research problem and significance, and learning approaches, 2) developing a curriculum based on content and language integrated learning and competency-based education, 3) studying the effectiveness of the developed curriculum, and 4) revising and improving the developed curriculum. This pre-experimental research involved 13 undergraduate students in the business major …


Approaches For Developing Academic Management Of Secondary Schools In Cambodia Based On The Concept Of Exemplary Leadership, Soksamnang Pheach Jan 2021

Approaches For Developing Academic Management Of Secondary Schools In Cambodia Based On The Concept Of Exemplary Leadership, Soksamnang Pheach

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The purposes of this study were 1. to examine the exemplary leadership level of Cambodian secondary school students in Battambang Province and to study the priority needs of academic management development of secondary schools in Cambodia based on the concept of exemplary leadership, 2. to develop the approaches for developing the academic management of secondary schools in Cambodia based on the concept of exemplary leadership. The data were collected from 12 sample schools, choosing one school to represent one district. The study informants included school principals, vice-principal, teachers, and students in Battambang province accounting for 169. The research instrument used …


Approaches For Developing Management Towards Excellence Of Schools In Banteay Meanchey Based On The Concept Of Creative Self-Efficacy, Dalin Lim Jan 2021

Approaches For Developing Management Towards Excellence Of Schools In Banteay Meanchey Based On The Concept Of Creative Self-Efficacy, Dalin Lim

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The purposes of this study were to 1) study the conceptual framework for developing management towards excellence of schools in Banteay Meanchey based on the concept of creative self-efficacy, 2) study the priority needs for developing management towards excellence of schools in Banteay Meanchey based on the concept of creative self-efficacy, and 3) propose approaches for developing management towards excellence of schools in Banteay Meanchey based on the concept of creative self-efficacy. The study employed descriptive research approaches. The study sample was the 28 public high schools in Banteay Meanchey province. They were selected using simple random sampling. The informants …


Development Of A Personalized Workplace Learning Program To Enhance The Cultural Intelligence Of Cabin Crew From International Airlines, Dech-Siri Nopas Jan 2021

Development Of A Personalized Workplace Learning Program To Enhance The Cultural Intelligence Of Cabin Crew From International Airlines, Dech-Siri Nopas

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This thesis study employed R&D as a research methodology, and employ a qualitative method to collect the data. It aimed to 1) explore the background of cabin crew from the international airlines concerning cultural intelligence from seven key informants; 2) develop personalized workplace learning programs to enhance the cultural intelligence of cabin crew from the international airlines with seven key informants of the cabin crew and the researcher as a facilitator, and 3) propose a guideline for developing a personalized workplace learning program to enhance the cultural intelligence of cabin crew from the international airlines by developing all the findings …


Approaches To The Development Of Universal Design For Learning To Promote Children's Holistic Development In Private Kindergartens, Rattanatorn Kerdduayboon Metzger Jan 2021

Approaches To The Development Of Universal Design For Learning To Promote Children's Holistic Development In Private Kindergartens, Rattanatorn Kerdduayboon Metzger

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This survey research aimed to, first, study the current and desirable levels of practice regarding the development of Universal Design for Learning (UDL) to promote children’s holistic development in private kindergartens and, second, to recommend approaches to the development of UDL to promote children’s holistic development in private kindergartens. It employed Block Two: Inclusive Instructional Practice by Katz (2012) as a research framework. The research population were 581 private kindergartens in Bangkok. The informants were 379 private kindergarten administrators, heads of the academics, and teachers obtained through random sampling. The research instruments were a questionnaire and a feasibility assessment form. …


An Implementation Of Close Reading Instruction To Promote English Reading Comprehension Of Secondary School Students, Apiwat Piyasakulchai Jan 2021

An Implementation Of Close Reading Instruction To Promote English Reading Comprehension Of Secondary School Students, Apiwat Piyasakulchai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Close reading has become the means to help readers promote comprehension of complex texts. This study implemented the Close Reading instruction for Thai EFL secondary school students and explored their use of close reading strategies. Eighteen secondary school students participated in eleventh weeks to examine the effects of Close Reading instruction on their English reading comprehension. The research instruments were (1) English Reading Comprehension Test, (2) Close Reading Strategies Questionnaire, and (3) Semi-Structured Interview. Results from the paired sample t-test, at a significance level of .05, revealed that students significantly improved reading comprehension after they participated in the Close Reading …


Development Of Extensive Listening Activities For Listening Comprehension Of Thai Secondary School Students, Kaewthida Kampiranon Jan 2021

Development Of Extensive Listening Activities For Listening Comprehension Of Thai Secondary School Students, Kaewthida Kampiranon

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study examined 1) the effects of extensive listening instruction on English listening comprehension of Thai upper secondary students and 2) how students listen via extensive listening instruction. The participants were eighteen students from a public secondary school who enrolled in the elective subject. They were chosen to participate in the 10-week-instruction by convenient sampling. The instruction instrument was extensive listening instruction which comprises 5 teaching stages: 1) Connect to out-of-class 2) Class-based listening 3) Group-based listening 4) Self-based listening 5) Out-of-class listening. There were three research instruments used to collect data 1) a listening comprehension test to assess students’ …


Effects Of Extensive Reading On Reading Fluency And Reading Comprehension Of Primary Grade Students In Bhutanese Esl Context, Kinley Pem Jan 2021

Effects Of Extensive Reading On Reading Fluency And Reading Comprehension Of Primary Grade Students In Bhutanese Esl Context, Kinley Pem

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study explored the effects of extensive reading on reading comprehension and reading fluency of Bhutanese primary grade students. The participants were 16 fourth grade students in one of the primary schools in Bhutan. The study involved 12 weeks of extensive reading instruction. Participants were introduced to extensive reading, acquainted to selecting appropriate books, and a large number of graded readers with enjoyable content were supplied, and participants read as many books as they could. For the quantitative data, pre-and post-test results of reading comprehension and reading fluency were compared using the Wilcoxon signed-rank test. For qualitative data, semi-structured interviews …


The Effects Of Dialogic Teaching In Clil Science Subject On English Oral Communication Ability Of Primary Students In English Program, Suphitchaya Chaiyaratana Jan 2021

The Effects Of Dialogic Teaching In Clil Science Subject On English Oral Communication Ability Of Primary Students In English Program, Suphitchaya Chaiyaratana

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This present study aimed 1) to investigate the effects of dialogic teaching in CLIL Science Subject in enhancing English oral communication ability of third grade students studying in an English program and 2) to explore the opinions of the students towards dialogic teaching in CLIL Science. This present study employed a one group pretest-posttest research design in which forty third grade students studying in an English program at a private school in Phra Nakhon Si Ayutthaya Province participated in the study for the total of 11 weeks. The research instruments employed were 1) English oral communication ability pretest and posttest …


Exploring And Analysis Of Student Engagement In English Writing Grammar Accuracy Based On Teacher Written Corrective Feedback, Thanakorn Santanatanonw Jan 2021

Exploring And Analysis Of Student Engagement In English Writing Grammar Accuracy Based On Teacher Written Corrective Feedback, Thanakorn Santanatanonw

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Whether students benefit from written corrective feedback may depend on their level of engagement with the feedback. To date, student engagement with written corrective feedback has been investigated qualitatively. However, the association between student engagement with feedback and learning outcomes that result from that engagement has not been examined. Moreover, little attention has been paid to secondary students’ engagement with written corrective feedback because most studies have focused on university students. Therefore, this mixed-method experimental study was conducted to discern if there is an association between student engagement with feedback and English writing grammar accuracy and explore how high school …


Development Of Speaking Teaching Activities Using Communicative Language Teaching Approach Through Social Media For Bhutanese Students, Tshetrim Dorji Jan 2021

Development Of Speaking Teaching Activities Using Communicative Language Teaching Approach Through Social Media For Bhutanese Students, Tshetrim Dorji

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study aimed to study the effects of teaching activities using communicative language teaching approach through social media on the speaking ability of Bhutanese students and to find out the student’s perception towards teaching activities using communicative language teaching approach through social media. A total of 32 grade 8 students of one of the government higher secondary schools in Samtse district from Bhutan participated in the study. They were selected using purposive sampling technique. A pretest was administered in the first week followed by ten weeks of treatment sessions. Students were subsequently administered a posttest and perception questionnaire. The quantitative …


การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานด้วยคลาวด์เทคโนโลยี ในสภาพแวดล้อมแบบเกมิฟิเคชันเพื่อพัฒนาการรู้สารสนเทศในบริบทของชุมชน และการมีส่วนร่วมของนิสิตนักศึกษาปริญญาบัณฑิต, ณิชชา ชำนิยนต์ Jan 2021

การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานด้วยคลาวด์เทคโนโลยี ในสภาพแวดล้อมแบบเกมิฟิเคชันเพื่อพัฒนาการรู้สารสนเทศในบริบทของชุมชน และการมีส่วนร่วมของนิสิตนักศึกษาปริญญาบัณฑิต, ณิชชา ชำนิยนต์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการ ของนิสิตนักศึกษาปริญญาบัณฑิตและความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานด้วยคลาวด์เทคโนโลยีในสภาพแวดล้อมแบบเกมิฟิเคชันฯ 3)เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานด้วยคลาวด์เทคโนโลยีในสภาพแวดล้อมแบบเกมิฟิเคชันฯ 4) เพื่อนำเสนอรูปแบบการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานด้วยคลาวด์เทคโนโลยีในสภาพแวดล้อมแบบเกมิฟิเคชันฯ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาสภาพความต้องการคือนิสิตนักศึกษาปริญญาบัณฑิต จำนวน 508 คน และผู้เชี่ยวชาญจำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้คือ 1) แบบสอบถามสภาพปัญหาและความต้องการ และ 2) แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนารูปแบบฯ คือ นิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตจำนวน 33 คน และผู้เชี่ยวชาญจำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยได้แก่ 1) เว็บรูปแบบการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานด้วยคลาวด์เทคโนโลยีในสภาพแวดล้อมแบบเกมิฟิเคชัน ฯ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานด้วยคลาวด์เทคโนโลยีในสภาพแวดล้อมแบบเกมิฟิเคชันฯ 3) แบบวัดการรู้สารสนเทศในบริบทของชุมชน 4) เกณฑ์การประเมินการรู้สารสนเทศในบริบทของชุมชนของผู้เรียน 5) แบบประเมินตนเองในการมีส่วนร่วมในการเรียน 6) แบบตรวจสอบรายการการมีส่วนร่วมในการเรียน และ7) แบบสอบถามความคิดเห็นต่อการใช้รูปแบบฯ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ (One-Way Repeated Measure ANOVA) ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1. รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมี 5 องค์ประกอบได้แก่ 1)กิจกรรมการเรียนรู้ด้วยแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐาน 2) เครื่องมือคลาวด์เทคโนโลยี 3) สภาพแวดล้อมการเรียนรู้แบบเกมิฟิเคชัน 4) แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น และ 5) การวัดและประเมินผล โดยมี 6 ขั้นตอนได้แก่ 1) วางแนวทางและวางแผนในการเรียนรู้จากห้องเรียนสู่ชุมชน 2) ศึกษาและสำรวจแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น 3) อภิปรายแลกเปลี่ยนข้อค้นพบ และสะท้อนความรู้ สิ่งที่ได้รับจากชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่น 4) ผลิตผลงานจากแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น 5) นำเสนอผลงานและสรุปผลการเรียนรู้ และ 6) สะท้อนกลับ 2. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้ฯ พบว่า 1) คะแนนเฉลี่ยการรู้สารสนเทศในบริบทของชุมชนหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำพบว่าผลคะแนนเฉลี่ยการรู้สารสนเทศในบริบทของชุมชนในแต่ละครั้งมีค่าคะแนนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) …


การพัฒนาหนังสือการ์ตูนเออาร์ด้วยเทคนิค Pwim เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านสำหรับนักเรียนประถมศึกษาตอนต้น, พีริยา หาญบำรุงธรรม Jan 2021

การพัฒนาหนังสือการ์ตูนเออาร์ด้วยเทคนิค Pwim เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านสำหรับนักเรียนประถมศึกษาตอนต้น, พีริยา หาญบำรุงธรรม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหนังสือการ์ตูนเออาร์ด้วยเทคนิค PWIM 2) ศึกษาผลการใช้หนังสือการ์ตูนเออาร์ด้วยเทคนิค PWIM กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาผลการใช้หนังสือการ์ตูนเออาร์ด้วยเทคนิค PWIM คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมอย่างละ 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบทดสอบก่อนเรียนและแบบทดสอบหลังเรียน แบบบันทึกการอ่านออกเสียงและการอ่านรู้เรื่อง แผนการจัดการเรียนรู้ หนังสือการ์ตูนเออาร์ด้วยเทคนิค PWIM วิเคราะห์ข้อมูลด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และT-test ผลการวิจัยพบว่า หนังสือการ์ตูนเออาร์มีขั้นตอนการพัฒนาหนังสือการ์ตูนเออาร์ฯ ดังนี้ 1) การศึกษาเอกสารและวิเคราะห์ข้อมูล 2) การออกแบบ 3) การตรวจสอบเนื้อหา 4) การพัฒนาหนังสือ 5) การตรวจสอบสื่อหนังสือ 6) การนำไปใช้ 7) การประเมินผล องค์ประกอบของหนังสือการ์ตูนเออาร์ฯ ประกอบด้วย 1) การ์ตูนแอนิเมชั่น 2 มิติ และการ์ตูนประกอบเรื่อง 2) ตัวชี้วัดภาษาไทย 3) เนื้อเรื่อง 4) ตัวละคร 5) ความเป็นจริงเสริม ขั้นตอนการใช้มี 4 ขั้นตอนดังนี้ 1) การดูรูปภาพและระบุคำศัพท์ 2) การอ่านออกเสียงเพื่อเชื่อมโยงคำและรูป 3) การจัดกลุ่มคำหรือการคิดแบบอุปนัย 4) การนำไปใช้ และผลการวิเคราะห์ความสามารถในการอ่านก่อนเรียนและหลังเรียนของกลุ่มทดลองเก่ง กลาง อ่อนพบว่ากลุ่มทดลองทุกกลุ่มมีความสามารถในการอ่านหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้ผลจากการวิเคราะห์ความสามารถในการอ่านหลังเรียนของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมพบว่ากลุ่มทดลองกลุ่มเก่ง กลาง อ่อนมีความสามารถในการอ่านหลังเรียนสูงกว่ากลุ่มควบคุมกลุ่มเก่ง กลาง อ่อนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานร่วมกับบอร์ดเกมเพื่อส่งเสริมจิตสำนึกในการจัดการขยะเป็นศูนย์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น, วรรณวลี เจนเจนประเสริฐ Jan 2021

การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานร่วมกับบอร์ดเกมเพื่อส่งเสริมจิตสำนึกในการจัดการขยะเป็นศูนย์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น, วรรณวลี เจนเจนประเสริฐ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา ศึกษา และนำเสนอรูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานร่วมกับบอร์ดเกมเพื่อส่งเสริมจิตสำนึกในการจัดการขยะเป็นศูนย์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนพฤติกรรมในการใช้รูปแบบฯ กับคะแนนจิตสำนึกในการจัดการขยะเป็นศูนย์ ตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสตรีวัดมหาพฤฒาราม ในพระบรมราชินูปถัมภ์ จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บอร์ดเกมเพื่อส่งเสริมจิตสำนึกในการจัดการขยะเป็นศูนย์ แบบวัดจิตสำนึกในการจัดการขยะเป็นศูนย์ แบบสังเกตพฤติกรรมในการใช้รูปแบบฯ และแบบวัดพึงพอใจการใช้รูปแบบฯ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที่แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (Paired t-test Dependent Simples) ผลการวิจัย แบ่งออก 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ได้แก่ ผลจากการศึกษาความคิดเห็นจากผู้เชียวชาญเกี่ยวกับร่างรูปแบบ ค่า IOC=0.89 สามารถนำไปทดลองใช้ได้ ระยะที่ 2 ผลคะแนนจิตสำนึกในการจัดการขยะเป็นศูนย์หลังการใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ผลการวิเคราะห์การสังเกตพฤติกรรมการใช้รูปแบบฯ มีค่าเฉลี่ย 4.01 อยู่ในระดับดี ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนจิตสำนึกและคะแนนพฤติกรรมการใช้รูปแบบฯ คะแนนจิตสำนึกหลังเรียนสัมพันธ์กับคะแนนพฤติกรรมการใช้รูปแบบฯ สูง ที่ r=0.785 ผลคะแนนพึงพอใจในการใช้รูปแบบ ฯ มีค่าเฉลี่ย 4.72 อยู่ในระดับดี จึงได้สรุปองค์ประกอบและขั้นตอนของรูปแบบฯ ดังนี้ องค์ประกอบ 4 ประการ ได้แก่ 1. ความเป็นองค์รวม (Holisticity) 2. การเรียนรู้สภาพจริง (Authenticity) 3. ความสอดคล้องกับบริบท (Contextuality) 4. การเรียนรู้แบบสืบเสาะโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based inquiry learning) 5. กระบวนการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ขั้นตอนของรูปแบบฯ ได้แก่ ขั้นที่ 1 เลือกปรากฏการณ์ที่น่าสนใจ (Pick an interesting phenomenon) ขั้นที่ 2 วิเคราะห์คุณค่าของบทเรียนที่มีอยู่ (Point out the Utility of Your …


การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้บนเว็บแอปพลิเคชันโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้อิงประสบการณ์และชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, ศราวุฒิ ช่วยเงิน Jan 2021

การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้บนเว็บแอปพลิเคชันโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้อิงประสบการณ์และชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, ศราวุฒิ ช่วยเงิน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้บนเว็บแอปพลิเคชันโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้อิงประสบการณ์และชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ สังเคราะห์ทฤษฎี หลักการ วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง และข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญตามแนวคิดการเรียนรู้อิงประสบการณ์ เว็บแอปพลิเคชัน การเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน และความสามารถด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน 2) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้บนเว็บแอปพลิเคชันฯ 3) ศึกษาผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้บนเว็บแอปพลิเคชันฯ และ 4) ประเมินผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้บนเว็บแอปพลิเคชันฯ ซึ่งการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/6 โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการคัดเลือกแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด ได้แก่ 1) มีความพร้อมในด้านการใช้เทคโนโลยี 2) มีโทรศัพท์สมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต และ 3) เข้าร่วมด้วยความสมัครใจ และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 4 ด้าน 5 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบประเมินตนเอง (Self – Assessment) 3) แบบทดสอบเป็นแบบอัตนัย 4) แบบประเมินความพึงพอใจต่อการใช้กิจกรรมการเรียนรู้บนเว็บแอปพลิเคชันฯ 5) แบบสังเกตพฤติกรรมนักเรียนการใช้กิจกรรมการเรียนรู้บนเว็บแอปพลิเคชันฯ และ 6) แบบประเมินผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้บนเว็บแอปพลิเคชัน ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษา สังเคราะห์ทฤษฎี แนวคิดการเรียนรู้อิงประสบการณ์และชุมชนเป็นฐานเป็นแนวคิดที่มุ่งสร้างประสบการณ์แก่ผู้เรียนและบูรณาการโดยเข้าไปมีส่วนร่วมในการเข้าใจและแก้ไขปัญหาชุมชน ซึ่งทำให้เกิดการสังเคราะห์กิจกรรมการเรียนรู้ 6 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นวางแผนและกำหนดขอบเขตการเรียนรู้ ขั้นทบทวนประสบการณ์เดิม ขั้นไตร่ตรองและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ขั้นดำเนินการศึกษาและเรียนรู้ ขั้นสรุปและสะท้อนผลการเรียนรู้ และขั้นประยุกต์ใช้ในสถานการณ์จริง 2. ผลการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้บนเว็บแอปพลิเคชันฯ ประกอบด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ทั้ง 6 ขั้นตอนร่วมกับการใช้เว็บแอปพลิเคชันโดยมีฟังก์ชันสำคัญ ได้แก่ การอภิปรายกลุ่ม การตอบคำถาม เกม การวางแผนการทำงาน และการจดบันทึกรายการ โดยใช้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน 3. ผลการทดลองใช้กิจกรรมการเรียนรู้บนเว็บแอปพลิเคชันโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้อิงประสบการณ์และชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน พบว่า 1) ผู้เรียนมีค่าคะแนนเฉลี่ยความสามารถด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้านความรู้ …


แนวทางการพัฒนาครูฝึกในสถานประกอบการ สำหรับเครือข่ายสถานศึกษาอาชีวศึกษาของรัฐ เขตกรุงเทพมหานคร ตามแนวคิดสมรรถนะครูฝึกอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี, ธรรมวรรธน์ สุติวรรธนวัตร Jan 2021

แนวทางการพัฒนาครูฝึกในสถานประกอบการ สำหรับเครือข่ายสถานศึกษาอาชีวศึกษาของรัฐ เขตกรุงเทพมหานคร ตามแนวคิดสมรรถนะครูฝึกอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี, ธรรมวรรธน์ สุติวรรธนวัตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษากรอบแนวคิดสมรรถนะครูฝึกอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีและวิธีการพัฒนาครูฝึกในสถานประกอบการ 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาครูฝึกในสถานประกอบการ และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาครูฝึกในสถานประกอบการตามแนวคิดสมรรถนะครูฝึกอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมวิธีแบบ mixed-methods sequential explanatory design ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ ครูฝึกในสถานประกอบการในเครือข่ายร่วมกับ 18 วิทยาลัยอาชีวศึกษาของรัฐ เขตกรุงเทพมหานคร ตัวอย่างผู้ให้ข้อมูล คือ ครูฝึกในสถานประกอบการและครูนิเทศจากสถานอาชีวศึกษา รวม 402 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมิน แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น PNImodified และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) กรอบแนวคิดสมรรถนะครูฝึกอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ประกอบด้วยกลุ่มสมรรถนะสำคัญ 4 กลุ่ม ได้แก่ (1) กลุ่มสมรรถนะด้านวิชาชีพ (2) กลุ่มสมรรถนะด้านเจตคติ (3) กลุ่มสมรรถนะด้านการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี (4) กลุ่มสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ และกรอบแนวคิดวิธีการพัฒนาครูฝึกในสถานประกอบการ ประกอบด้วยรูปแบบการพัฒนา 3 รูปแบบ ได้แก่ (1) การพัฒนาในเวลาปฏิบัติงาน (2) การพัฒนานอกเวลาปฏิบัติงาน (3) การพัฒนาในรูปแบบผสมผสาน 2) สภาพปัจจุบันของการพัฒนาครูฝึกในสถานประกอบการสำหรับเครือข่ายสถานศึกษาอาชีวศึกษาของรัฐ เขตกรุงเทพมหานคร ตามแนวคิดสมรรถนะครูฝึกอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ทั้ง 4 กลุ่มสมรรถนะอยู่ในระดับปานกลาง ในขณะที่สภาพที่พึงประสงค์ อยู่ในระดับมากที่สุด โดยรูปแบบการพัฒนาที่มีต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ การพัฒนาในเวลาปฏิบัติงาน รองลงมาคือ การพัฒนานอกเวลาปฏิบัติงาน และการพัฒนาแบบผสมผสาน ตามลำดับ 3) แนวทางการพัฒนาครูฝึกในสถานประกอบการ ตามแนวคิดสมรรถนะครูฝึกอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี มีทั้งหมด 7 แนวทาง ดังนี้ สำหรับกลุ่มสมรรถนะทางวิชาชีพ (1) พัฒนาความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะวิชาชีพสู่การปฏิบัติ (2) พัฒนาความสามารถในการเลือกและใช้เครื่องมือ แหล่งเรียนรู้ เพื่อการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย และสำหรับกลุ่มสมรรถนะทางการจัดการเรียนรู้ (3) พัฒนาความสามารถในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ (4) พัฒนาความความสามารถในการวิเคราะห์ผู้เข้ารับการฝึกอบรม (5) พัฒนาความสามารถในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ (6) …


การพัฒนากลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนตามแนวคิดผลลัพท์การเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการจำเป็นของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว, ช่อม่วง ม่วงทอง Jan 2021

การพัฒนากลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนตามแนวคิดผลลัพท์การเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการจำเป็นของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว, ช่อม่วง ม่วงทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการจำเป็นของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้วและกรอบแนวคิดการบริหารวิชาการ 2) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคามของบริหารวิชาการโรงเรียนตามแนวคิดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว 3) พัฒนากลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนตามแนวคิดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ เก็บข้อมูลเชิงปริมาณร่วมกับการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ โรงเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประเภทสามัญศึกษา สังกัดสำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ศึกษา (สพฐ.) ในจังหวัดสระแก้ว รวม 161 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ 1) แบบประเมินความเหมาะสมของกรอบแนวคิดวิจัย 2) แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพึงประสงค์ของการบริหารวิชาการโรงเรียนตามแนวคิดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว 3) แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของ (ร่าง) กลยุทธ์ฯการบริหารวิชาการโรงเรียนตามแนวคิดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว สถิติที่ใช้ในวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการจำเป็นของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว ประกอบด้วย ด้านการส่งเสริมการค้าและการลงทุน ด้านการเป็นแหล่งผลิตสินค้าการเกษตรที่สำคัญของประเทศ และด้านการเป็นเมืองท่องเที่ยวเชื่อมโยงอารยธรรมขอม กรอบแนวคิดการบริหารวิชาการประกอบด้วย การพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีทางการศึกษาและแหล่งเรียนรู้ การวัดและประเมินผล การแนะแนว และการประสานความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับองค์กรอื่น 2) จุดแข็งของการบริหารวิชาการโรงเรียนตามแนวคิดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการจำเป็นของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว คือ การแนะแนว (PNImodified =0.4535) และการวัดและประเมินผล (PNImodified =0.4715) ตามลำดับ จุดอ่อน คือ การพัฒนาหลักสูตร (PNImodified =0.5035) การประสานความร่วมมือกับสถานศึกษาและองค์กรอื่น (PNImodified =0.4848) การพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีทางการศึกษา และแหล่งเรียนรู้ (PNImodified =0.4837) และการจัดการเรียนการสอน (PNImodified =0.4823) ตามลำดับ โอกาสของการบริหารวิชาการโรงเรียนตามแนวคิดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการจำเป็นของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว คือ สภาพนโยบายของรัฐ (PNImodified =0.4740) และสังคม (PNImodified =0.4780) ภาวะคุกคามคือสภาพเทคโนโลยี (PNImodified =0.4861) และเศรษฐกิจ (PNImodified =0.4832) ตามลำดับ 3) …


กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดเพชรบุรี ตามแนวคิดสมรรถนะการเสริมสร้างขีดความสามารถชุมชน, มนัสนันท์ เทียนชัยทัศน์ Jan 2021

กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดเพชรบุรี ตามแนวคิดสมรรถนะการเสริมสร้างขีดความสามารถชุมชน, มนัสนันท์ เทียนชัยทัศน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดเพชรบุรีตามแนวคิดสมรรถนะการเสริมสร้างขีดความสามารถชุมชน และ 2) พัฒนากลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดเพชรบุรีตามแนวคิดสมรรถนะการเสริมสร้างขีดความสามารถชุมชน โดยใช้วิธีการวิจัย เชิงบรรยาย ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารโรงเรียน ครูระดับประถมศึกษา และครูระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1 และเขต 2 ที่เปิดสอนในระดับประถมศึกษาถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น รวมทั้งสิ้น 224 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบประเมินร่างกลยุทธ์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ การแจกแจงความถี่ การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNImodified) และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดเพชรบุรีตามแนวคิดสมรรถนะการเสริมสร้างขีดความสามารถชุมชน ด้านที่มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นในลำดับแรก คือ การวัดและประเมินผล รองลงมา คือ การจัดการเรียนการสอน และการพัฒนาหลักสูตร ตามลำดับ สมรรถนะการเสริมสร้าง ขีดความสามารถชุมชนที่มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นในลำดับแรก คือ สมรรถนะด้านการเป็นผู้ประกอบการ 2) จุดแข็งของ การบริหารวิชาการ คือ การพัฒนาหลักสูตร จุดอ่อนของการบริหารวิชาการ คือ การจัดการเรียนการสอนและการวัดและประเมินผล สมรรถนะการเสริมสร้างขีดความสามารถชุมชนที่เป็นจุดแข็งมากที่สุด คือ สมรรถนะด้านการสร้างความรู้ สมรรถนะที่เป็นจุดอ่อนมากที่สุด คือ สมรรถนะด้านการเป็นผู้ประกอบการ โอกาส คือ ปัจจัยด้านการเมืองและกฎหมาย สังคมและวัฒนธรรม และเทคโนโลยี ภาวะคุกคาม คือ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดเพชรบุรีตามแนวคิดสมรรถนะการเสริมสร้างขีดความสามารถชุมชน ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์หลัก คือ (1) ขับเคลื่อนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา โดยมุ่งเน้นการเสริมสร้างสมรรถนะด้านความเป็นผู้นำ การเป็นผู้ประกอบการ และการระดมทรัพยากรของผู้เรียน มี 2 กลยุทธ์รอง 16 วิธีดำเนินการ (2) พลิกโฉมการจัดการเรียนการสอน โดยมุ่งเน้นการเสริมสร้างสมรรถนะด้านการมีส่วนร่วมและสร้างเครือข่ายในชุมชน การเป็นผู้ประกอบการ และการระดมทรัพยากรของผู้เรียน มี 2 กลยุทธ์รอง 10 วิธีดำเนินการ และ (3) พลิกโฉมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยมุ่งเน้นการเสริมสร้างสมรรถนะด้านการมีส่วนร่วมและสร้างเครือข่ายในชุมชน …


กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนปฐมวัยตามแนวคิดทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ, ระวีวรรณ ทิพยานนท์ Jan 2021

กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนปฐมวัยตามแนวคิดทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ, ระวีวรรณ ทิพยานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษากรอบแนวคิดการบริหารวิชาการโรงเรียนปฐมวัยตามแนวคิดทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ 2) เพื่อวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนปฐมวัยตามแนวคิดทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ และ 3) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนปฐมวัยตามแนวคิดทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ (Multi-phase Mixed Method) เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียนฝ่ายวิชาการหรือหัวหน้างานวิชาการ และครูผู้สอนชั้นปฐมวัย รวมจำนวน 832 คน สุ่มตัวอย่างโรงเรียนและผู้ให้ข้อมูลแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินกรอบแนวคิด แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ และแบบประเมินร่างกลยุทธ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์หา ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNImodified) และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารวิชาการโรงเรียนปฐมวัย ประกอบด้วยงาน 5 ด้าน ได้แก่ (1) การพัฒนาหลักสูตร (2) การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ (3) การพัฒนาสื่อและแหล่งเรียนรู้ (4) การวัดและประเมินผล (5) การนิเทศการศึกษา และกรอบแนวคิดทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ (1) ความจำขณะใช้งาน (2) การยั้งคิดไตร่ตรอง (3) การยืดหยุ่นทางความคิด (4) การควบคุมอารมณ์ (5) การวางแผนและการจัดการ 2) ความต้องการจำเป็น สูงสุดอันดับหนึ่ง คือ การพัฒนาสื่อและแหล่งเรียนรู้ รองลงมา คือ การพัฒนาหลักสูตร การวัดและประเมินพัฒนาการ การนิเทศการศึกษา และการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เมื่อพิจารณาเป็นรายทักษะ ทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จที่มีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ การยั้งคิดไตร่ตรอง รองลงมาคือ การยืดหยุ่นทางความคิด ความจำขณะใช้งาน การควบคุมอารมณ์ การวางแผนและการจัดการ 3) กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนปฐมวัยตามแนวคิดทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ ประกอบด้วย 5 กลยุทธ์หลัก คือ (1) ปฏิรูปหลักสูตร …


การพัฒนาโปรแกรมการฝึกอบรมส่งเสริมความสามารถในการฟื้นพลังของบุคลากรสายสนับสนุนทางการศึกษาที่อยู่ในกลุ่มเจเนอเรชั่น วาย ในสถาบันอุดมศึกษา, กรผกา พัฒนกำพล Jan 2021

การพัฒนาโปรแกรมการฝึกอบรมส่งเสริมความสามารถในการฟื้นพลังของบุคลากรสายสนับสนุนทางการศึกษาที่อยู่ในกลุ่มเจเนอเรชั่น วาย ในสถาบันอุดมศึกษา, กรผกา พัฒนกำพล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. วิเคราะห์ประสบการณ์การใช้ชีวิตและการทำงาน และประสบการณ์การฝึกอบรมที่ส่งผลต่อความสามารถในการฟื้นพลังของบุคลากรสายสนับสนุนทางการศึกษาที่อยู่ในกลุ่มเจเนอเรชั่น วาย 2. วิเคราะห์ผลของการใช้โปรแกรมต้นแบบการฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการฟื้นพลังของบุคลากรสายสนับสนุนทางการศึกษาที่อยู่ในกลุ่มเจเนอเรชั่น วาย ที่ออกแบบขึ้น 3. วิเคราะห์ความคิดเห็นของบุคลากรสายสนับสนุนทางการศึกษาที่อยู่ในกลุ่มเจเนอเรชั่น วาย หลังจากที่ได้ใช้โปรแกรมต้นแบบการฝึกอบรมฯ และ 4. นำเสนอโปรแกรมต้นแบบการฝึกอบรมฯ การวิจัยนี้ประยุกต์แนวคิดเชิงออกแบบ (Design thinking) ในการดำเนินการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การพัฒนาต้นแบบและระยะที่ 2 การทดสอบและวิเคราะห์ผลการใช้โปรแกรมต้นแบบการฝึกอบรมฯ ระยะที่ 1 การพัฒนาต้นแบบดำเนินการเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ขั้นทำความเข้าใจ (Empathize) และขั้นนิยามปัญหา (Define) ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกเกี่ยวกับประสบการณ์ที่ยากลำบากในชีวิตและการทำงาน และประสบการณ์ในการฝึกอบรมจากตัวอย่างวิจัยจำนวน 11 คน เพื่อนำข้อมูลมาสู่ขั้นตอนที่ 2 ขั้นระดมความคิด (Ideate) และขั้นสร้างต้นแบบ (Prototype) โดยการระดมความคิดจากผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน จากนั้นนำข้อมูลที่ได้จากการการสังเคราะห์ทฤษฎี ข้อมูลประสบการณ์ และข้อมูลจากการระดมความคิด มาใช้ในการออกแบบโปรแกรมต้นแบบการฝึกอบรมฯ ผลการวิจัยพบว่าตัวอย่างวิจัยมักเกิดความคิดและความรู้สึกในเชิงลบ และแสดงพฤติกรรมที่ต่อสู้ หลีกเลี่ยงหรือหยุดนิ่งเมื่อเผชิญกับเหตุการณ์ที่ยากลำบาก โดยใช้เทคนิคการมีสติและการผ่อนคลายความเครียดเป็นส่วนใหญ่ นำมาสู่โปรแกรมต้นแบบการฝึกอบรมฯ รูปแบบออนไลน์ ประกอบด้วย 4 หัวข้อกิจกรรม คือ การตระหนักรู้และการยอมรับ การนิยามคุณค่าและการคิดเชิงบวก การสื่อสารเชิงบวกอย่างสร้างสรรค์ และการตั้งเป้าหมายและการค้นหาสิ่งสนับสนุน จัดกิจกรรมครั้งละ 90 นาที โดยใช้แนวคิดการมีสติเป็นแนวคิดหลัก ระยะที่ 2 การทดสอบและวิเคราะห์ผลการใช้โปรแกรมต้นแบบการฝึกอบรมฯ มีกลุ่มตัวอย่างวิจัยจำนวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ 1) โปรแกรมต้นแบบการฝึกอบรมฯ ที่พัฒนาขึ้นจากขั้นตอนในระยะที่ 1 2) แบบประเมินความสามารถในการฟื้นพลังสำหรับผู้ใหญ่ 3) แบบประเมินความพึงพอใจและประโยชน์ที่ได้จากการใช้โปรแกรมต้นแบบการฝึกอบรมฯ และ 4) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างหลังจากการใช้โปรแกรมต้นแบบการฝึกอบรมฯ ผลการวิจัยพบว่าคะแนนความสามารถในการฟื้นพลังก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมต้นแบบการฝึกอบรมฯ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และตัวอย่างวิจัยมีความพึงพอใจในโปรแกรมต้นแบบการฝึกอบรมฯ ในระดับมากที่สุดทุกด้าน …


การพัฒนาหลักสูตรเตรียมความพร้อมทักษะดนตรีไทยสำหรับผู้เรียนปี่พาทย์ในระดับปริญญาตรีตามแนวคิดฐานสมรรถนะ, จิรายุ มีเผือก Jan 2021

การพัฒนาหลักสูตรเตรียมความพร้อมทักษะดนตรีไทยสำหรับผู้เรียนปี่พาทย์ในระดับปริญญาตรีตามแนวคิดฐานสมรรถนะ, จิรายุ มีเผือก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการในการเตรียมความพร้อมด้านทักษะดนตรีไทยของผู้เรียนปี่พาทย์ในปัจจุบัน และ 2) พัฒนาหลักสูตรเตรียมความพร้อมทักษะดนตรีไทยสำหรับผู้เรียนปี่พาทย์ตามแนวคิดฐานสมรรถนะ ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจาก การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 15 คน ประกอบไปด้วย อาจารย์ผู้สอนในรายวิชาทักษะปฏิบัติเครื่องดนตรีไทยในกลุ่มปี่พาทย์ จำนวน 6 คน และผู้เรียนกลุ่มปี่พาทย์ ชั้นปีที่ 1 และปีที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ที่ใช้หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2562 (หลักสูตร 4 ปี) จำนวน 9 คน ตรวจสอบคุณภาพข้อมูลแบบสามเส้า วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การตีความและสรุปแบบอุปนัย และนำเสนอด้วยวิธีพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการในการเตรียมความพร้อมด้านทักษะดนตรีไทยของผู้เรียน ปี่พาทย์ในปัจจุบันมีประเด็นความต้องการทั้งหมด 4 ประเด็น ได้แก่ 1) ด้านบุคลิกภาพ ประกอบด้วย การจับไม้ และท่านั่ง 2) ด้านการบรรเลง ประกอบด้วย การใช้น้ำหนัก การใช้กล้ามเนื้อ การใช้เทคนิค การบรรเลง การตีโขยก และการไล่มือ 3) ด้านการบริหารจัดการเวลาในชั้นเรียน ประกอบด้วย การไม่ได้ทำนองหลักของบทเพลง และข้อจำกัดทางด้านเวลาเรียน และ 4) ด้านอื่น ๆ ประกอบด้วย การแปรทำนอง การจำบทเพลง และการควบคุมความสมดุลของการบรรเลงรวมวง และ 2) เอกสารหลักสูตรเตรียมความพร้อมทักษะดนตรีไทยสำหรับผู้เรียนปี่พาทย์ตามแนวคิดฐานสมรรถนะ ประกอบไปด้วย หลักการและเหตุผล จุดมุ่งหมายของหลักสูตร โครงสร้างหลักสูตร หน่วยการเรียนรู้และสาระการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล แนวทางการจัดการเรียนรู้ สื่อและแหล่งการเรียนรู้ โดยผลการตรวจคุณภาพหลักสูตรมีค่า (M = 4.01 , SD = 0.72) หมายความว่าหลักสูตรเตรียมความพร้อมทักษะดนตรีไทยสำหรับผู้เรียนปี่พาทย์ตามแนวคิดฐานสมรรถนะมีความเหมาะสมมาก


การบ่มเพาะความคิดสร้างสรรค์ทางดนตรี ผ่านกิจกรรมการแปรทำนองของนักเรียนเปียโนระดับต้น, ธฤดี อัศวนภ Jan 2021

การบ่มเพาะความคิดสร้างสรรค์ทางดนตรี ผ่านกิจกรรมการแปรทำนองของนักเรียนเปียโนระดับต้น, ธฤดี อัศวนภ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเกตพัฒนาการทางความคิด สร้างสรรค์ทั้ง 4 ด้านของนักเรียนเปียโนระดับต้น ได้แก่ 1) ความคล่องแคล่วในการคิดทางดนตรี 2) ความยืดหยุ่นทางดนตรี 3) ความเป็นเอกลักษณ์ทางดนตรี 4) ความลื่นไหลตามโครงสร้างทางดนตรี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) การ์ดดอกไม้ในอัตราจังหวะทั้ง 4 ชนิด 2) แผนการสอนกิจกรรม การแปรทำนอง 8 คาบเรียน โดยแบ่งเป็น 2 แบบ ได้แก่ 2.1) แผนการสอนสำหรับนักเรียนเปียโนระดับต้น ที่เรียนน้อยกว่า 1 ปี 2.2) แผนการสอนสำหรับนักเรียนเปียโนระดับต้นที่เรียนมากกว่า 1 ปี ผู้เข้าร่วมการ วิจัยนี้ ได้แก่ นักเรียนเปียโนระดับต้นที่เรียนเปียโนอยู่ที่โรงเรียนดนตรีเอกชนนอกระบบ จำนวน 8 คน ซึ่งมี อายุระหว่าง 7 – 12 ปี การดำเนินงานวิจัยประกอบด้วยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ พัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก จิตวิทยาพัฒนาการเด็ก และทักษะการแปรทำนอง เพื่อนำมา พัฒนาสื่อการสอน และกิจกรรมการแปรทำนองให้เหมาะสมกับช่วงวัยของนักเรียน และมีการวิเคราะห์ ข้อมูลเชิงคุณภาพจากผลงานการแปรทำนองของนักเรียน และสรุปวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการให้ คะแนนความคิดสร้างสรรค์ทางดนตรีทั้ง 4 ด้าน ผลการวิจัยพบว่า ในช่วงคาบเรียนที่ 5 – 8 นักเรียนทุกคนมีคะแนนรวมความคิดสร้างสรรค์ทาง ดนตรีเพิ่มสูงขึ้น และสามารถสรุปผลตามหัวข้อความคิดสร้างสรรค์ทางดนตรีทั้ง 4 ด้าน โดยเรียงลำดับดังนี้ 1) นักเรียนมีคุณลักษณะในการคิดคล่องแคล่วทางดนตรีที่แตกต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะนิสัยการคิดและ ประสบการณ์ทางดนตรีที่มี 2) นักเรียนที่เรียนเปียโนมากกว่า 1 ปี สามารถใช้ช่วงเสียงและจังหวะที่ หลากหลายได้ตั้งแต่ช่วง 4 คาบเรียนแรก ในขณะที่นักเรียนที่เรียนเปียโนระหว่าง 0 - 1 ปี ใช้ช่วงเสียงและ จังหวะได้หลากหลายมากขึ้นในช่วง 4 คาบเรียนหลัง 3) นักเรียนทุกคนมีพัฒนาการที่ดีมากขึ้นเป็น เอกลักษณ์ในแบบฉบับของตนเอง 4) …


การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านโน้ตฉับพลันด้วยรูปแบบจังหวะสำหรับนักเรียนเปียโนระดับกลาง, ชยธร สระน้อย Jan 2021

การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านโน้ตฉับพลันด้วยรูปแบบจังหวะสำหรับนักเรียนเปียโนระดับกลาง, ชยธร สระน้อย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสาระการเรียนรู้ทักษะการอ่านโน้ตฉับพลันสำหรับผู้เรียนเปียโนในระดับกลาง 2) พัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านโน้ตฉับพลันด้วยรูปแบบจังหวะสำหรับผู้เรียนเปียโนในระดับกลาง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบฝึกหัดจากแบบฝึกทักษะการอ่านโน้ตฉับพลันในนักเรียนเปียโนระดับเกรด 4-5 ของมาตรฐานการสอบทักษะดนตรีวิทยาลัยทรินิตี้ และมาตรฐานการสอบทักษะดนตรีเอบีอาร์เอสเอ็ม จำนวน 142 แบบฝึกหัด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบวิเคราะห์ค่าโน้ต 2) แบบวิเคราะห์อัตราจังหวะ 3) แบบวิเคราะห์เครื่องหมายกำหนดความเร็ว และ 4) แบบวิเคราะห์รูปแบบจังหวะ ผลการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 การวิเคราะห์องค์ประกอบด้านจังหวะจากแบบฝึกทักษะการอ่านโน้ตฉับพลันสำหรับเปียโนของสถาบันการสอบทักษะทางดนตรีในระดับกลาง ตอนที่ 2 การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านโน้ตฉับพลันด้วยรูปแบบจังหวะสำหรับผู้เรียนเปียโนระดับกลาง โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 การออกแบบแบบฝึกทักษะด้านจังหวะ โดย การศึกษาและวิเคราะห์แบบฝึกทักษะด้านจังหวะของโรเบิร์ต สตาเรอร์ และ พอล ฮินเดมิท ส่วนที่ 2 การนำเสนอแบบฝึกทักษะการอ่านโน้ตฉับพลันด้วยรูปแบบจังหวะสำหรับผู้เรียนเปียโนระดับกลางของผู้วิจัย โดยนำแนวคิดในการปฏิบัติรูปแบบจังหวะจากสถาบันการสอบทักษะทางดนตรีในระดับกลาง และแนวคิดจากแบบฝึกทักษะด้านจังหวะของโรเบิร์ต สตาเรอร์ และ พอล ฮินเดมิท มาวิเคราะห์เพื่อหาความสัมพันธ์ร่วม จากนั้นจึงออกแบบโครงสร้างของแบบฝึกทักษะการอ่านโน้ตฉับพลันด้วยรูปแบบจังหวะสำหรับนักเรียนเปียโนระดับกลาง เป็นจำนวน 10 แบบฝึกหัด


ผลการจัดกิจกรรมขับร้องประสานเสียงตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือรวมพลังที่มีต่อทักษะการฟังและคุณลักษณะสนับสนุนเกื้อกูล, ธนัญญา จตุรานนท์ Jan 2021

ผลการจัดกิจกรรมขับร้องประสานเสียงตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือรวมพลังที่มีต่อทักษะการฟังและคุณลักษณะสนับสนุนเกื้อกูล, ธนัญญา จตุรานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อเสริมสร้างทักษะการฟังผ่านการจัดกิจกรรมขับร้องประสานเสียงตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือรวมพลัง 2) เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะสนับสนุนเกื้อกูลผ่านการจัดกิจกรรมขับร้องประสานเสียงตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือรวมพลัง ตัวอย่างในงานวิจัยนี้ได้แก่นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม ที่เรียนวิชาขับร้องประสานเสียง จำนวน 17 คน เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบทักษะการฟัง 2) แบบสังเกตพฤติกรรมด้านทักษะการฟัง 3) แบบประเมินตนเองด้านทักษะการฟังของนักเรียน 4) แบบสังเกตพฤติกรรมด้านคุณลักษณะสนับสนุนเกื้อกูล 5) แบบประเมินตนเองคุณลักษณะสนับสนุนเกื้อกูล และ 6) แบบสอบถามสังคมมิติ วิเคราะห์ผลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย (ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (M) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD)) และสถิติเชิงอ้างอิงแบบกลุ่มเดียว (t-Test) วิเคราะห์เชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านทักษะการฟัง นักเรียนมีคะแนนทักษะการฟังสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมขับร้องประสานเสียงตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือรวมพลังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักเรียนสามารถปฏิบัติทักษะการฟังและขับร้องให้ตรงตามระดับเสียงได้ดีและไพเราะมากขึ้นหลังการจัดกิจกรรม 2) ด้านคุณลักษณะสนับสนุนเกื้อกูล นักเรียนมีการแสดงพฤติกรรมด้านการสนับสนุนเกื้อกูลในระดับบ่อยครั้ง (M = 4.19, SD = .31) คะแนนการประเมินตนเองของนักเรียนสูงสุดในด้าน “ฉันรับฟังเมื่อเพื่อนเสนอความคิดเห็น” สอดคล้องกับผลจากการสังเกตของผู้วิจัย นอกจากนี้ยังพบว่ามีเส้นความสัมพันธ์ด้านสังคมมิติเพิ่มขึ้น 30 เส้น และมีความซับซ้อนมากขึ้นหลังการจัดกิจกรรม 6 คาบ