Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Comparative Literature Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Theses/Dissertations

2018

Discipline
Institution
Keyword
Publication

Articles 61 - 69 of 69

Full-Text Articles in Comparative Literature

การแปลมุกตลกในการ์ตูนเรื่อง พีนัทส์ ของชาลส์ เอ็ม ชูลซ์, ชณิชชา พนาวัฒนวงศ์ Jan 2018

การแปลมุกตลกในการ์ตูนเรื่อง พีนัทส์ ของชาลส์ เอ็ม ชูลซ์, ชณิชชา พนาวัฒนวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์เล่มนี้เป็นการศึกษาการแปลมุกตลกในตัวบทที่คัดสรรจากการ์ตูนเรื่อง พีนัทส์ ของ ชาลส์ เอ็ม ชูลซ์ สมมติฐานในการวิจัยคือ การแปลมุกตลกในตัวบทที่คัดสรรอาจใช้แนวทางของเคลาส์ ไคน์เดิล (Klaus Kaindl) เพื่อวิเคราะห์ตัวบทตามลักษณะสำคัญและโครงสร้างของการ์ตูนช่อง แนวคิด Visual Narrative Grammar ของ นีล โคห์น (Neil Cohn) เพื่อวิเคราะห์ลำดับการเล่าเรื่อง รายงานการวิจัยการนำเสนอความตลกที่รวบรวมโดย นารีรัตน์ บุญช่วย และทฤษฎีอารมณ์ขัน 3 ทฤษฎี ได้แก่ ทฤษฎีข่มท่าน (Disparage Theory) ของ โทมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes) ทฤษฎีผิดฝาผิดตัว (Incongruity Theory) ของ อิมมานูเอล คานต์ (Immanuel Kant) และทฤษฎีปลดปล่อย (Release Theory) ของ ซีคมุนท์ ฟร็อยท์ (Sigmund Freud) เพื่อศึกษาลักษณะและกลวิธีการสร้างมุกตลกและวิเคราะห์มุกตลก รวมทั้งกลวิธีการแปล แบบตีความ (Interpretive Approach) และแนวทางการจัดการทางภาษา (Language Manipulation) ของฌอง เดอลิล (Jean Delisle) เพื่อแปลตัวบทให้เกิดสมมูลภาพเทียบเท่ากับตัวบทต้นฉบับทั้งในด้าน โครงสร้างและความหมาย ผลการศึกษาคือ แนวทางของเคลาส์ ไคน์เดิล และ Visual Narrative Grammar ของ นีล โคห์น สามารถใช้วิเคราะห์ตัวบทโดยรวมและลำดับการเล่าเรื่องของตัวบทที่คัดสรรได้ตามลำดับ และการ วิเคราะห์มุกตลกในตัวบทที่คัดสรรนั้นสามารถใช้การนำเสนอความตลกที่รวบรวมโดย นารีรัตน์ บุญช่วย และ ทฤษฎีอารมณ์ขัน 3 ทฤษฎี ได้แก่ ทฤษฎีข่มท่าน ของ โทมัส ฮอบส์ ทฤษฎีผิดฝาผิดตัว ของ อิมมานูเอล คานต์ และทฤษฎีปลดปล่อย ของ ซีคมุนท์ ฟร็อยท์ ได้ …


กลุ่มการเมืองในการ์ตูนการเมืองของชัย ราชวัตร, บัญชา คามิน, และเซีย ระหว่าง พ.ศ.2550-2558, กรวุฒิ นิยมศิลป์ Jan 2018

กลุ่มการเมืองในการ์ตูนการเมืองของชัย ราชวัตร, บัญชา คามิน, และเซีย ระหว่าง พ.ศ.2550-2558, กรวุฒิ นิยมศิลป์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาเนื้อหาและกลวิธีการเสียดสีในการ์ตูนการเมืองของชัย ราชวัตร, บัญชา คามิน, และเซีย ระหว่าง พ.ศ. 2550-2558 และเพื่อศึกษาบริบททางการเมืองและสังคมที่เกิดความขัดแย้งระหว่างกลุ่มการเมืองเสื้อเหลืองกับกลุ่มการเมืองเสื้อแดง ความขัดแย้งดังกล่าวเป็นประเด็นให้นักเขียนแต่ละคนสร้างภาพลักษณ์เชิงบวกให้กลุ่มการเมืองที่ตนสนับสนุน และเสียดสีกลุ่มการเมืองฝ่ายตรงข้าม ในการ์ตูนการเมืองของชัย ราชวัตรมีการเสียดสีผ่านโครงสร้างการ์ตูนการเมืองและกลวิธีทางภาษา โครงสร้างการ์ตูนการเมืองมีลักษณะคล้ายกับมุกตลก ส่วนกลวิธีทางภาษา คือ การใช้ภาษาที่ผิดจากขนบหรือมาตรฐานทางภาษา กลวิธีการเสียดสีในการ์ตูนการเมืองของชัย ราชวัตรมีจุดมุ่งหมายเพื่อนำเสนอภาพลักษณ์เชิงลบของกลุ่มการเมืองเสื้อแดง ในฐานะผู้ทุจริตและก่อความวุ่นวายให้กับประเทศ ขณะเดียวกันมีการนำเสนอภาพลักษณ์เชิงบวกให้กลุ่มการเมืองเสื้อเหลืองในฐานะผู้ใช้สันติวิธี ในการเรียกร้องความยุติธรรม ในการ์ตูนการเมืองของบัญชา คามินมีการเสียดสีผ่านภาพล้อตัวละครซึ่งเป็นกลวิธีที่บิดเบือนเรือนร่างและพฤติกรรมของตัวละครนักการเมืองให้มีความผิดเพี้ยน กลวิธีการเสียดสีในการ์ตูนการเมืองของบัญชา คามินมีจุดมุ่งหมายเพื่อนำเสนอภาพลักษณ์เชิงลบให้กับกลุ่มการเมืองเสื้อแดงในฐานะผู้ที่มีความโลภ และตกเป็นทาสประชานิยม ขณะเดียวกันมีการนำเสนอภาพลักษณ์เชิงบวกให้กลุ่มการเมืองเสื้อเหลืองในฐานะผู้ที่มีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ในการ์ตูนการเมืองของเซียมีการเสียดสีผ่านการใช้สัญลักษณ์ เซียมักจะใช้สัญลักษณ์สองลักษณะ คือ สัญลักษณ์ซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไป เพื่อสื่อถึงพฤติกรรมการเมืองที่เป็นไปตามมาตรฐานของสังคม และสัญลักษณ์ที่เฉพาะของเซีย สื่อให้เห็นพฤติกรรมที่ก่อความวุ่นวายให้กับประเทศชาติ กลวิธีการเสียดสีในการ์ตูนการเมืองของเซียมีจุดมุ่งหมายเพื่อนำเสนอภาพลักษณ์เชิงลบให้กับกลุ่มการเมืองเสื้อเหลืองในฐานะผู้สนับสนุนให้ทหารมีอำนาจในการบริหารประเทศ ส่วนกลุ่มการเมืองเสื้อแดงมีภาพลักษณ์เชิงบวกในฐานะผู้ตกเป็นเหยื่อทางการเมืองของรัฐบาลทหาร


วรรณศิลป์ อำนาจ และการต่อสู้ทางการเมืองในวรรณกรรมของกะต่าย โดนสะโสริท, สุพัชรี เมนะทัต Jan 2018

วรรณศิลป์ อำนาจ และการต่อสู้ทางการเมืองในวรรณกรรมของกะต่าย โดนสะโสริท, สุพัชรี เมนะทัต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่อง"วรรณศิลป์ อำนาจและการต่อสู้ทางการเมืองในวรรณกรรมของกะต่าย โดนสะโสริท" มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์กลวิธีทางวรรณศิลป์ในวรรณกรรมของกะต่าย โดนสะโสริทที่สัมพันธ์กับการสร้างอำนาจและการต่อสู้ทางการเมือง และศึกษาบริบททางการเมือง สังคม และวัฒนธรรมที่สัมพันธ์กับวรรณกรรมดังกล่าว กะต่าย โดนสะโสริท (1904-1959) เป็นนักต่อสู้กู้ชาติลาวในช่วงอาณานิคมฝรั่งเศส เป็นผู้บุกเบิกวงการวรรณกรรมสมัยใหม่ของลาวโดยใช้ภาษาฝรั่งเศสเขียนบันเทิงคดี สารคดีและงานเชิงวิชาการ ผลการวิจัยได้ข้อสรุปสามประการดังนี้ ประการแรก วรรณกรรมของกะต่ายมีวรรณศิลป์โดดเด่นเฉพาะตน ได้แก่การเสียดสียั่วล้อ การแฝงนัย การเล่นคำเล่นสำนวน เพื่อโจมตีเจ้าอาณานิคมและศัตรูทางการเมืองผ่านวรรณกรรมประเภทสารคดี อีกทั้งผสมผสานรูปแบบนิทานพื้นบ้านกับวรรณศิลป์ตะวันตกเพื่อประกอบสร้างความเป็นลาว นอกจากนี้ยังเขียนประวัติศาสตร์นิพนธ์ตามรูปแบบตะวันตกเพื่อตอบโต้การเขียนประวัติศาสตร์นิพนธ์ลาวของชาวตะวันตก ประการที่สอง กะต่ายใช้วรรณกรรมเพื่อแสดงอำนาจและการตอบโต้ทางการเมืองกล่าวคือในยุคต่อสู้กู้ชาติกะต่ายใช้วรรณกรรมเพื่อวิพากษ์วิจารณ์เจ้าอาณานิคม อีกทั้งในเวลาเดียวกันก็เสนอแนวคิดโจมตีขั้วตรงข้ามทางการเมืองด้วย ประการที่สาม วรรณกรรมของกะต่าย โดนสะโสริท ปัญญาชนลาวผู้ได้รับการศึกษาในระบบฝรั่งเศส ใช้ภาษาและรูปแบบวรรณศิลป์รวมถึงแนวคิดแบบฝรั่งเศส ในขณะเดียวกันก็ผสมผสานความเป็นตะวันตกเข้ากับความเป็นพื้นบ้านลาว วรรณกรรมของเขาจึงมีลักษณะพันทางและใช้วรรณศิลป์ในรูปแบบนี้เพื่อโจมตีเจ้าอาณานิคมด้วยเช่นกัน


การศึกษากลวิธีและแนวทางการแปลคำสร้างใหม่ในวรรณกรรมเยาวชนชุดแฮรร์รี่ พอตเตอร์ โดยเจ.เค. โรว์ลิ่ง (J.K.Rowling) กรณีศึกษาจากสำนวนแปลของสุมาลี บำรุงสุข วลีพร หวังซื่อกุล และงามพรรณ เวชชาชีวะ, นภกาญจน์ เชาวลิต Jan 2018

การศึกษากลวิธีและแนวทางการแปลคำสร้างใหม่ในวรรณกรรมเยาวชนชุดแฮรร์รี่ พอตเตอร์ โดยเจ.เค. โรว์ลิ่ง (J.K.Rowling) กรณีศึกษาจากสำนวนแปลของสุมาลี บำรุงสุข วลีพร หวังซื่อกุล และงามพรรณ เวชชาชีวะ, นภกาญจน์ เชาวลิต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีและแนวทางการแปลคำสร้างใหม่จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยในวรรณกรรมเยาวชนชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ ประพันธ์โดยเจ.เค. โรว์ลิ่ง และศึกษาเปรียบเทียบคำแปลคำสร้างใหม่ที่พบในฉบับแปลของสุมาลี บำรุงสุข วลีพร หวังซื่อกุล และงามพรรณ เวชชาชีวะ รวมถึงศึกษาลักษณะและแนวทางการสร้างสรรค์คำสร้างใหม่ในวรรณกรรมชุดนี้ ผู้วิจัยใช้แนวคิดเรื่องการสร้างและการแปลคำสร้างใหม่ของปีเตอร์ นิวมาร์กเป็นเกณฑ์ในการคัดสรรรวบรวมคำสร้างใหม่ จัดแบ่งประเภทคำสร้างใหม่ในต้นฉบับ และเป็นแนวทางในการวิเคราะห์คำแปล คำสร้างใหม่ในฉบับแปล ควบคู่ไปกับแนวทางการสร้างคำในภาษาไทย แนวคิดสมมูลภาพในการแปล แนวคิดบริบทในการแปล และแนวคิดเรื่องลักษณะของวรรณกรรมเยาวชนแนวแฟนตาซี ผลการวิจัยพบว่าคำสร้างใหม่ในต้นฉบับมี 5 ประเภทคือ คำเดิมที่สื่อความหมายใหม่ คำที่ร้อยเรียงขึ้นมาใหม่ คำที่แปรมาจากรากคำอื่นรวมทั้งการสนธิคำ คำปรากฏร่วมใหม่ และคำสร้างใหม่จากอักษรย่อ และพบกลวิธีการแปลคำสร้างใหม่ในฉบับแปล 6 กลวิธีคือ การทับศัพท์ การแปลตรงตัว การแปลตรงตัวประกอบทับศัพท์ การแปลตรงตัวประกอบตีความ การแปลตรงตัวและใช้อักษรย่อตามคำแปล และการตีความและ สรุปเก็บใจความ ในการเปรียบเทียบกลวิธีการแปลของนักแปลพบว่านักแปลใช้ทุกกลวิธีในการแปล คำสร้างใหม่ไปในทิศทางเดียวกันโดยพิจารณาจากลักษณะเด่นในองค์ประกอบของคำควบคู่ไปกับการพิจารณาบริบท และในการแปลคำสร้างใหม่แต่ละประเภท นักแปลใช้กลวิธีในการแปลที่หลากหลายโดยจะมีอย่างน้อยหนึ่งกลวิธีที่นักแปลใช้เหมือนกัน นอกจากนั้นเป็นการใช้กลวิธีที่เหมือนกันระหว่างสุมาลีกับวลีพร และ สุมาลีกับงามพรรณ เนื่องมาจากพบคำสร้างใหม่ในฉบับแปลของสุมาลีมากที่สุด


การถ่ายทอดวัจนลีลาในนวนิยายเรื่อง Days Without End ของ เซบาสเตียน แบร์รี่, ณัฐกรณ์ อังสิริเสณี Jan 2018

การถ่ายทอดวัจนลีลาในนวนิยายเรื่อง Days Without End ของ เซบาสเตียน แบร์รี่, ณัฐกรณ์ อังสิริเสณี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้จัดทำขึ้นด้วยวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะของวัจนลีลา วิเคราะห์ปัญหา การแปล รวมถึงแก้ปัญหาโดยการหาแนวทางการแปล เพื่อถ่ายทอดวัจนลีลาในนวนิยายอิงประวัติศาสตร์เรื่อง Days Without End ของเซบาสเตียน แบร์รี อันไม่เป็นไปตามขนบการประพันธ์นวนิยายบางส่วน ให้ได้บทแปลที่ทำหน้าที่ทั้งสื่อความหมาย และให้อรรถรสแก่ผู้อ่านได้ใกล้เคียงกับต้นฉบับ การถ่ายทอดวัจนลีลาเริ่มจากการศึกษาแนวคิดและระเบียบวิธีที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวัจนลีลาประเภทต่าง ๆ ได้แก่ ทฤษฎีวัจนลีลา ของ พอล ซิมป์สัน (Paul Simpson) ทฤษฎีวัจนลีลาเชิงวจนปฏิบัติศาสตร์ ของ เอลิซาเบธ แบล็ค (Elizabeth Black) และแนวทางการแปลวัจนลีลา ของ ฌ็อง โบส-ไบเออร์ (Jean Boase-Beier) รวมถึงลักษณะการประกอบสร้างทางภาษาเพื่อสร้างความ โดดเด่นให้กับวัจนลีลา และผลงานด้านการแปลวัจนลีลาที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันอันปรากฎในวรรณกรรมเรื่องอื่น หลังจากที่ผู้วิจัยได้รวบรวมแนวคิด ระเบียบวิธี และทฤษฎีข้างต้นแล้วนำมาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์และการแปลเพื่อถ่ายทอดวัจนลีลา พบว่าความรู้ที่ได้จากการศึกษาเหล่านั้นสามารถช่วยแก้ปัญหาการถ่ายทอดวัจนลีลาจากภาษาของต้นฉบับให้เป็นภาษาปลายทางได้เป็นผลสาเร็จ อย่างไรก็ตาม ยังต้องอาศัยองค์ประกอบด้านความรู้ทางประวัติศาสตร์และบริบททางสังคมที่เป็นฉากหลังของ นวนิยายอย่างละเอียดลึกซึ้ง เพื่อช่วยในการทำความเข้าใจเนื้อหาและสารของผู้ประพันธ์อันสะท้อนผ่านวัจนลีลาเหล่านั้นให้ได้ดียิ่งขึ้น


การแปลป้ายพิพิธภัณฑ์ กรณีศึกษาพิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษาวัดหนังราชวรวิหาร, ณัฐสุดา แก่นน้อย Jan 2018

การแปลป้ายพิพิธภัณฑ์ กรณีศึกษาพิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษาวัดหนังราชวรวิหาร, ณัฐสุดา แก่นน้อย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการแปลตัวบทในพิพิธภัณฑ์ และแปลตัวบทต้นฉบับบางส่วนในพิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษาวัดหนังราชวรวิหาร โดยผู้วิจัยเลือกแปลป้ายพิพิธภัณฑ์บรรยายวัตถุที่นำมาจัดแสดงของพิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษาวัดหนังราชวรวิหาร รวมทั้งหมด ๑๙๗ ป้าย คือป้ายพิพิธภัณฑ์บริเวณชั้น ๑ ของนิทรรศการจัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับวิถีชีวิตชาวสวนของชุมชนวัดหนังในอดีต และป้ายพิพิธภัณฑ์บริเวณชั้น ๒ ของนิทรรศการซึ่งจัดแสดงเรื่องยาแผนโบราณของวัดหนัง ผลการศึกษา พบว่าการแปลป้ายแสดงคำบรรยายวัตถุที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ นอกจากจะต้องพิจารณาเลือกใช้คำศัพท์ที่เหมาะสมกับกลุ่มผู้อ่านในวัฒนธรรมปลายทางแล้ว ยังต้องพิจารณาวัตถุที่นำมา จัดแสดงประกอบด้วย เนื่องจากวัตถุที่นำมาจัดแสดงบางชิ้นแม้จะมีชื่อเรียกเหมือนกับคำในวัฒนธรรมปลายทาง แต่ลักษณะเฉพาะของวัตถุชิ้นนั้นไม่เหมือนกับวัตถุในวัฒนธรรมปลายทาง และวัตถุที่นำมา จัดแสดงบางชิ้นไม่พบในวัฒนธรรมปลายทาง โดยผู้วิจัยพบว่าการใช้แนวทางในการวิเคราะห์ตัวบทต้นฉบับ ของคริสติอาเน นอร์ด ทฤษฎีของปีเตอร์ นิวมาร์ก ทฤษฎีหลากรูปแบบ ทฤษฎีเกี่ยวกับการแปลพิพิธภัณฑ์ (Museum Translation) และความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับการแปลพิพิธภัณฑ์ สามารถนำมาใช้ในการศึกษาตัวบทและวิเคราะห์ปัญหาที่พบในการแปลป้ายของพิพิธภัณฑ์เพื่อวัดหนังฯ นำไปสู่แนวทางการแปลป้ายพิพิธภัณฑ์ซึ่งผู้วิจัยจึงจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนคำศัพท์ และโครงสร้างประโยคในภาษาปลายทางที่ใช้ในการแปลใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุที่นำมาจัดแสดง และจะสามารถทำให้ผู้อ่านได้รับความเข้าใจที่ถูกต้องมากที่สุด


Through The Spaceship’S Window: A Bio-Political Reading Of 20th Century Latin American And Anglo-Saxon Science Fiction, Juan David Cruz Jan 2018

Through The Spaceship’S Window: A Bio-Political Reading Of 20th Century Latin American And Anglo-Saxon Science Fiction, Juan David Cruz

Theses and Dissertations

This dissertation consists of a bio-political reading of a wide variety of Latin American, American, and British works of science fiction, written from 1919 to 1989. In this project I have analyzed how works of science fiction in different historical and geographical contexts deal with issues such as eugenics, racism, fear of the alien, the threat of nuclear global conflict, etc. I have made a conscious effort to demonstrate that Latin America has been part of global phenomena such as the Cold War, and has produced a wide and rich corpus of science fiction works that deal with these global …


Insects As Metaphors For Post-Civil War Reconstruction Of The Civic Body In Augustan Age Rome, Olivia Semler Jan 2018

Insects As Metaphors For Post-Civil War Reconstruction Of The Civic Body In Augustan Age Rome, Olivia Semler

Theses and Dissertations

Early Augustan Age literature saw a focus on recovery from a period steeped in the tragic losses of civil war; Vergil, in his Georgics, and Ovid, in his Metamorphoses, employed insects likened to, or transformed into, humans as a way to suggest possible models for recovery. While these models have been studied throughout classical scholarship for their value in proposing a new Roman Golden Age and its tenability, scholars have long overlooked the importance of the insects used in such models, and the ways in which they can substantially alter our understanding of these metaphors. As structures for cultural understanding …


The Miseducation Of Irie Jones In Zadie Smith's White Teeth, Amanda S. Medlock Jan 2018

The Miseducation Of Irie Jones In Zadie Smith's White Teeth, Amanda S. Medlock

Electronic Theses and Dissertations

In this essay, I will discuss Carter G. Woodson’s notion of the “mis-education” black Americans face and its applicability in British novelist, Zadie Smith’s, debut novel, White Teeth. This novel shows how mis-education affects four generations of female Caribbean migrants. My analysis emphasizes how this mis-education shapes the life of Smith’s character, Irie Jones. Throughout the text, Irie suffers from low self-esteem due to her cultural rootlessness. I attribute this rootlessness to the mis-education inherited from her female predecessors. Ultimately, I explore how instead of defeating this familial baggage, she falls victim to it.