Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Sociology Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 31 - 44 of 44

Full-Text Articles in Sociology

แนวทางพัฒนาโครงการโรงเรียนวิวัฒน์พลเมืองราชทัณฑ์ด้วยกระบวนการลูกเสือเพื่อคืนคนดีสู่สังคม, จตุพร ธิราภรณ์ Jan 2018

แนวทางพัฒนาโครงการโรงเรียนวิวัฒน์พลเมืองราชทัณฑ์ด้วยกระบวนการลูกเสือเพื่อคืนคนดีสู่สังคม, จตุพร ธิราภรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการดำเนินการของโครงการวิวัฒน์พลเมืองราชทัณฑ์ด้วยกระบวนการลูกเสือ และเพื่อศึกษาปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในโครงการวิวัฒน์พลเมืองราชทัณฑ์ด้วยกระบวนการลูกเสือ นำไปสู่แนวทางการพัฒนาโครงการวิวัฒน์พลเมืองราชทัณฑ์ด้วยกระบวนการลูกเสือ โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากกลุ่มตัวอย่างโดยผู้วิจัยกำหนดขอบเขตและกลุ่มตัวอย่างของการวิจัยที่เข้าร่วมโครงการวิวัฒน์พลเมืองราชทัณฑ์ด้วยกระบวนการลูกเสือ ได้แก่ บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับโครงการวิวัฒน์พลเมืองราชทัณฑ์ด้วยกระบวนการลูกเสือ ของ กรมราชทัณฑ์ นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านอาชญาวิทยา ด้านทัณฑวิทยา ด้านทัณฑปฏิบัติ ด้านการวิจัยและการติดตามประเมินผล และด้านกระบวนการลูกเสือ จำนวน 20 คน และผู้ผ่านการอบรมตามโครงการวิวัฒน์พลเมืองราชทัณฑ์ด้วยกระบวนการลูกเสือ จำนวน 10 คน การสุ่มตัวอย่างใช้แบบที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจง และการสุ่มตัวอย่างแบบลูกโซ่ โดยใช้วิธีการพรรณนาข้อมูลร่วมกับการวิเคราะห์เนื้อหาข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัญหาการดำเนินการของโครงการที่สำคัญ คือ ปัญหาด้านนโยบายและภารกิจของกรมราชทัณฑ์ ปัญหาด้านงบประมาณ ปัญหาด้านระบบราชการ และปัญหาข้อจำกัดด้านบุคลากรและตัวผู้ต้องราชทัณฑ์ 2) ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จของโครงการวิวัฒน์พลเมืองราชทัณฑ์ด้วยกระบวนการลูกเสือ ได้แก่ ปัจจัยภายในของโครงการที่พบว่ากระบวนการลูกเสือที่นำมาบูรณาการประยุกต์ใช้กับโครงการโรงเรียนวิวัฒน์พลเมืองราชทัณฑ์ด้วยกระบวนการลูกเสือ รวมถึงปัจจัยภายนอกโครงการเป็นการสร้างความมีส่วนร่วมจากภาคประชาสังคมโดยนำเอาบุคคลทั่วไปที่มีความรู้ทางการลูกเสือให้เข้ามามีส่วนในการอบรมผู้ต้องขังในระบบเรือนจำโดยใช้กระบวนการของลูกเสือ และ 3) แนวทางในการพัฒนาโครงการวิวัฒน์พลเมืองราชทัณฑ์ด้วยกระบวนการลูกเสือให้มีประสิทธิภาพ คือ การกำหนดนโยบายของผู้บริหารต้องสามารถใช้ได้อย่างต่อเนื่องเพื่อความยั่งยืนของโครงการ การสร้างเครือข่ายร่วมกับภาคประชาสังคมที่มีความความรู้ความเข้าใจ หรือใช้ระบบว่าจ้างให้ธุรกิจภายนอกที่มีความรู้ความชำนาญมากกว่ารับไปดำเนินการแทน เพื่อเป็นการลดภาระด้านงบประมาณ อีกทั้งมีการวางแผนขั้นตอนการปฏิบัติงานของบุคลากรที่รับผิดชอบโครงการให้ชัดเจน และมีการกำหนดคุณสมบัติของผู้ต้องราชทัณฑ์ที่จะเข้าอบรมตามโครงการให้มีความเหมาะสมเพื่อเป็นการเตรียมตัวก่อนออกสู่สังคมต่อไป


มาตรการทางเลือกทดแทนโทษประหารชีวิต, นฤมล ถินทอง Jan 2018

มาตรการทางเลือกทดแทนโทษประหารชีวิต, นฤมล ถินทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบมาตรการทางเลือกทดแทนโทษประหารชีวิตที่เหมาะสมในประเทศไทย เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค ของการนำมาตรการทางเลือกทดแทนโทษประหารชีวิตมาใช้ในประเทศไทย เพื่อเสนอแนวมาตรการทางเลือกที่เหมาะสมเพื่อทดแทนโทษประหารชีวิต วิทยานิพนธ์เป็นงานวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) คือ การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Methodology) โดยการใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ และเชิงคุณภาพ (Qualitative Methodology) ด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ผู้วิจัยได้เลือกวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบโควต้า (Quota sampling) จากกลุ่มบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม คือ ตำรวจ อัยการ ศาล ราชทัณฑ์ ในกรุงเทพมหานครฯ และปริมณฑล จำนวน 210 ราย สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพได้ใช้วิธีการเจาะจง (Purposive Sampling) จากผู้เชี่ยวชาญในกระบวนการยุติธรรม จำนวน 6 ราย ผลการศึกษาพบว่า 1) บุคลากรและผู้เชี่ยวชาญในกระบวนการยุติธรรมเห็นด้วยต่อการใช้โทษประหารชีวิต ในกรณีที่โทษประหารชีวิตเป็นโทษสูงสุดทางอาญา มีความเหมาะสมกับความผิด มีส่วนในการข่มขู่มิให้ผู้ใดกระทำความผิดอีก การตัดโอกาสในการกระทำความผิดซ้ำ อย่างไรก็ตามโทษประหารชีวิตไม่สามารถแก้ไขความผิดพลาดของกระบวนการยุติธรรมและไม่ได้ทำให้สถิติอาชญากรรมลดลง 2) บุคลากรและผู้เชี่ยวชาญในกระบวนการยุติธรรมส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับการยกเลิกโทษประหารชีวิต โดยเห็นว่า โทษประหารชีวิตที่นำมาใช้ไม่สามารถควบคุมการกระทำผิดของคนในสังคม อย่างไรก็ตามหากจะต้องมีการยกเลิกโทษประหารชีวิตกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นว่าควรยกเลิกโทษประหารชีวิตโดยข้อกำหนดของกฎหมายเป็นอันดับแรก ส่วนการยกเลิกโทษประหารชีวิตโดยการลดฐานความผิดที่มีโทษประหารชีวิตลงจากเดิม และการยกเลิกโทษประหารชีวิตโดยข้อเท็จจริง (การยกเลิกในทางปฏิบัติ)นั้น ผู้เชี่ยวชาญเห็นว่าวิธีการเหล่านี้ยังไม่ใช่วิธีการยกเลิกโทษประหารชีวิตอย่างแท้จริง 3) บุคลากรและผู้เชี่ยวชาญในกระบวนการยุติธรรมกลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อมาตรการทางเลือกทดแทนโทษประหารชีวิตในแต่ละรูปแบบนั้นมีจำนวนใกล้เคียงกัน คือ โทษจำคุกตลอดชีวิตโดยไม่มีการอภัยโทษ โทษจำคุกตลอดชีวิตโดยให้มีการอภัยโทษ และวิธีลงโทษที่ควรนำมาใช้แทนโทษประหารชีวิตอันดับสุดท้าย คือโทษจำคุกระยะยาวโดยมีการกำหนดระยะเวลาขั้นต่ำ (ไม่น้อยกว่า 20 ปี แต่ไม่เกิน 40 ปี) ข้อเสนอแนะของการศึกษา คือ หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมควรมีการจำกัดปริมาณการประหารชีวิต เช่น การใช้โทษอื่นแทนโทษประหารชีวิต การแก้ไขฟื้นฟูควรมีมาตรการที่ดี และงบประมาณที่เพิ่มขึ้น เพื่อให้การแก้ไขฟื้นฟูมีประสิทธิภาพ และเพื่อให้หันมาใช้การแก้ไขฟื้นฟูมากกว่าการแก้แค้นทดแทน รัฐควรมีการปรับโครงสร้างทางสังคม สถานภาพ การศึกษา และทางเศรษฐกิจให้ ประชาชนในสังคมได้มีความเสมอภาค และเท่าเทียม รวมทั้งมีรายได้ และคุณภาพชีวิตที่ดีเพื่อป้องกันการเกิดอาชญากรรม กรมราชทัณฑ์ควรเสนอทางเลือกอื่นนอกเหนือจากโทษประหารชีวิตที่มีผลในการตัดผู้กระทำผิดออกไปจากสังคม เช่น โทษจำคุกตลอดชีวิตโดยไม่มีการอภัยโทษ รัฐควรจัดสรรงบประมาณให้แก่กรมราชทัณฑ์ในการสร้างเรือนจำความมั่นคงสูงเพื่อคุมขังผู้กระทำผิดร้ายแรง และควรเริ่มพัฒนามาตรการทางเลือกในการลงโทษรูปแบบอื่น ๆ ที่สามารถใช้ทดแทนโทษประหารชีวิตได้


การลักลอบเข้าไปทำงานอย่างผิดกฎหมายของแรงงานไทยในสาธารณรัฐเกาหลี, นิมนตรา ศรีเสน Jan 2018

การลักลอบเข้าไปทำงานอย่างผิดกฎหมายของแรงงานไทยในสาธารณรัฐเกาหลี, นิมนตรา ศรีเสน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่องการลักลอบเข้าไปทำงานอย่างผิดกฎหมายของแรงงานไทยในสาธารณรัฐเกาหลีนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของกระบวนลักลอบเข้าไปทำงานอย่างผิดกฎหมาย ปัจจัยที่ส่งเสริมหรือผลักดันให้แรงงานตัดสินใจเลือกใช้ช่องทางผิดกฎหมาย และศึกษามุมมองของภาครัฐที่มีต่อปัญหาที่เกิดขึ้น ผ่านแนวคิดเรื่องการอพยพแรงงานระหว่างประเทศ แนวคิดการเคลื่อนย้าย และมุมมองทางอาชญาวิทยา เพื่อทำความเข้าใจพลวัตและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของแรงงานเหล่านั้นต่อกระบวนการและสภาวะของการกระทำที่ผิดกฎหมายอาศัยการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยสัมภาษณ์เชิงลึกแรงงานผู้มีประสบการณ์ลักลอบเข้าไปทำงานอย่างผิดกฎหมายในสาธารณรัฐเกาหลี จำนวน 5 คน บริษัทนำเที่ยว เจ้าหน้าที่รัฐ ร่วมกับการสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วมและการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง จากการวิจัยพบว่ารูปแบบของการลักลอบเข้าไปทำงานในสาธารณรัฐเกาหลีมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของการเดินทางจากแต่เดิมที่อาศัยนายหน้าผิดกฎหมายมาสู่การเดินทางด้วยตนเองโดยมีผู้ให้ความช่วยเหลืออยู่ที่ปลายทาง เมื่อเทียบกับการเคลื่อนย้ายที่ผ่านมา พบว่าแรงงานส่วนใหญ่มีระดับของการศึกษาที่สูงขึ้นและมีอายุน้อยลงโดยเฉพาะกับผู้ที่เพิ่งตัดสินใจเดินทางไปทำงานอย่างผิดกฎหมายเป็นครั้งแรก เดิมที ผู้อพยพที่มีภูมิหลังทางเศรษฐกิจที่ยากลำบากเป็นคนกลุ่มหลักที่แสวงหาโอกาสจากตลาดแรงงานที่ผิดกฎหมาย อย่างไรก็ตามจากการศึกษาการเคลื่อนย้ายของแรงงานผิดกฎหมายในปัจจุบันพบว่าการอพยพในลักษณะดังกล่าวเกิดขึ้นในกลุ่มของครอบครอบครัวชนชั้นกลางที่ไม่มีหนี้สินมากขึ้น แม้ว่ารายได้ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการตัดสินใจ แต่ปัจจัยอื่น ๆ อย่างเช่น โอกาสทางเศรษฐกิจ การรู้ช่องว่างทางกฎหมายและบทลงโทษที่ไม่รุนแรง รวมทั้งความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลออนไลน์ และการมีประสบการณ์การเดินทางไปทั่วโลก ล้วนมีบทบาทอย่างมากต่อการกำหนดรูปแบบการอพยพย้ายถิ่นอย่างผิดกฎหมายที่เปลี่ยนแปลงไป


ความร่วมมือระหว่างองค์การภาครัฐและองค์การพัฒนาเอกชนในการป้องกันอาชญากรรม: ศึกษากรณี โครงการรณรงค์ป้องกันการคุกคามทางเพศบนระบบขนส่งสาธารณะในเขตกรุงเทพมหานคร, วรภัทร พึ่งพงศ์ Jan 2018

ความร่วมมือระหว่างองค์การภาครัฐและองค์การพัฒนาเอกชนในการป้องกันอาชญากรรม: ศึกษากรณี โครงการรณรงค์ป้องกันการคุกคามทางเพศบนระบบขนส่งสาธารณะในเขตกรุงเทพมหานคร, วรภัทร พึ่งพงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาสภาพปัญหาการคุกคามทางเพศบนรถโดยสารประจำทางในเขตกรุงเทพมหานครจากทัศนะของผู้ใช้บริการที่เป็นเพศหญิง รวมถึงศึกษามาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าวกับการจัดการเชิงระบบขององค์การภาครัฐและองค์การพัฒนาเอกชนที่ร่วมมือกันในแคมเปญถึงเวลาเผือก และให้ข้อเสนอแนะอันเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงความร่วมมือระหว่างองค์การ วิทยานิพนธ์นี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่เก็บข้อมูลด้วยเทคนิคการวิจัยเอกสาร เสริมกับเทคนิคการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 3 กลุ่มประชากรของประเทศไทย ได้แก่ ผู้ใช้บริการรถโดยสารประจำทางที่เป็นเพศหญิงและเคยตกเป็นเหยื่อการคุกคามทางเพศ จำนวน 13 คน และผู้บริหารและพนักงานระดับปฏิบัติการในสังกัดองค์การภาครัฐและสังกัดองค์การพัฒนาเอกชน จำนวนละ 5 คน รวมเป็นทั้งสิ้น 10 คน ผู้วิจัยได้เลือกวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจง และการสุ่มตัวอย่างแบบลูกโซ่ ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพปัญหาการคุกคามทางเพศบนรถโดยสารประจำทางมีรากเหง้ามาจากมายาคติชายเป็นใหญ่และมองเพศหญิงเป็นวัตถุทางเพศ 2) สภาพแวดล้อมทางกายภาพของรถโดยสารประจำทางยังไม่มีคุณภาพและความปลอดภัยที่เหมาะสม 3) การให้ความช่วยเหลือเหยื่อการคุกคามทางเพศของพนักงานสอบสวนบางคนที่มีทัศนคติขาดความเข้าใจในสภาพปัญหาดังกล่าว 4) มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าวของแคมเปญถึงเวลาเผือก ยังมีการประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รับรู้แก่ประชาชนที่ใช้บริการไม่ครอบคลุมทั่วถึงมากพอ และขาดการนำมุมมองของผู้หญิงที่เคยตกเป็นเหยื่อมาประยุกต์ใช้ในการสร้างมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างเป็นรูปธรรม


การพัฒนารูปแบบนวัตกรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการป้องกันอาชญากรรมในเขตภาคกลาง, สัณหกฤษณ์ บุญช่วย Jan 2018

การพัฒนารูปแบบนวัตกรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการป้องกันอาชญากรรมในเขตภาคกลาง, สัณหกฤษณ์ บุญช่วย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยนี้มีวิธีการดำเนินการวิจัยจุดยืนทางกระบวนทัศน์แบบตีความ (Interpretivism paradigm) มีเป้าหมายเพื่อทำความเข้าใจปรากฏการณ์ทางสังคม ศึกษา และถอดบทเรียนของโครงการนวัตกรรมในด้านการป้องกันอาชญากรรมและความปลอดภัยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกลุ่มตัวอย่างที่มีการบริหารจัดการที่ดี (best practice) และเพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินการบริหารจัดการในโครงการนวัตกรรมด้านการป้องกันอาชญากรรมและความปลอดภัยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละแห่ง โดยเปรียบเทียบปัญหาอุปสรรคในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเพื่อนำไปสู่การค้นหารูปแบบในการบริหารจัดการด้านป้องกันอาชญากรรมและความปลอดภัยที่เหมาะสมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) ในลักษณะของการศึกษาเฉพาะกรณี (case study) ซึ่งมีหน่วยที่ทำการศึกษาคือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 4 องค์กร ได้แก่ เทศบาลนครรังสิต เทศบาลตำบลเจ็ดเสมียน เทศบาลตำบลตะเคียนเตี้ย และองค์การบริหารส่วนตำบลเทพารักษ์ ซึ่งคัดเลือกจากองค์กรที่มีผลการดำเนินงานจากโครงการนวัตกรรมด้านการป้องกันปัญหาอาชญากรรม จนกระทั่งประสบผลสำเร็จได้รับการประเมินเพื่อเข้ารับรางวัลต่าง ๆ ในระดับชาติ จากนั้นเลือกใช้การวิจัยภาคสนาม (field research) ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม (focus group) ผู้เชี่ยวชาญ ผลการศึกษาพบว่า 1) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญต่อประเด็นในการที่จะสร้างความสงบเรียบร้อย การป้องกันอาชญากรรมและความปลอดภัยในท้องถิ่นโดยมีการกำหนดไว้ในแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาและได้แปลงเป็นโครงการนวัตกรรม เนื่องจากการมีบริบททางสังคมที่มีพลวัตย่อมส่งผลโดยตรงต่อการเกิดอาชญากรรม 2) ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จพบว่ามี 6 ปัจจัย ได้แก่ 1) ผู้นำองค์กรที่มีวิสัยทัศน์ 2) สมรรถนะของพนักงานเจ้าหน้าที่ในองค์กร 3) ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติ 4) ศักยภาพขององค์กร 5) ความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายภายนอก และ 6) การมีส่วนร่วมของประชาชน สำหรับปัญหาและอุปสรรคพบว่าเกิดจาก 1) ความยุ่งยากซับซ้อนในการประสานงานกับหน่วยงานราชการภายนอก 2) ความจำเป็นในการต้องพึ่งพิงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และ 3) ปัญหาความกังวลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อเรื่องระเบียบข้อกฎหมาย 3) รูปแบบนวัตกรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการป้องกันอาชญากรรมในเขตภาคกลาง ดังนี้ 1) รูปแบบที่เหมาะสมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตภาคกลางที่มีบริบทความเป็นเมืองคือรูปแบบในการป้องกันอาชญากรรมโดยสภาพแวดล้อมที่เน้นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือปฏิบัติการ 2) รูปแบบที่เหมาะสมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตภาคกลางที่มีบริบทความเป็นชนบท คือรูปแบบในการป้องกันอาชญากรรมโดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในลักษณะเครือข่ายภาคประชาสังคม และ 3) รูปแบบที่เหมาะสมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตภาคกลางที่มีบริบทความเป็นกึ่งเมืองกึ่งชนบท คือรูปแบบในการป้องกันอาชญากรรมโดยเน้นการเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสจะกระทำความผิดในลักษณะเครือข่ายการปรึกษาหารือ


บทลงโทษทางอาญาที่เหมาะสมสำหรับการป้องกันอาชญากรรมเกี่ยวกับมลพิษทางสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย, ยุทธศักดิ์ ศิริสินธว์ Jan 2018

บทลงโทษทางอาญาที่เหมาะสมสำหรับการป้องกันอาชญากรรมเกี่ยวกับมลพิษทางสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย, ยุทธศักดิ์ ศิริสินธว์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่อง "บทลงโทษทางอาญาที่เหมาะสมสำหรับการป้องกันอาชญากรรมเกี่ยวกับมลพิษทางสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย" มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบของบทลงโทษทางอาญา ความรุนแรงของบทลงโทษทางอาญา การบังคับใช้บทลงโทษทางอาญา และแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมบทลงโทษทางอาญาให้เหมาะสมต่อการป้องกันอาชญากรรมเกี่ยวกับมลพิษทางสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง (Documentary Research) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และการสนทนากลุ่ม (Focus Group) จากการศึกษาพบว่า บทลงโทษทางอาญาตามกฎหมายมลพิษทางสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยยังมีความหลากหลายของรูปแบบของบทลงโทษที่น้อยเกินไป มีความรุนแรงของบทลงโทษที่ไม่สอดคล้องต้องกันกับสถานการณ์ในปัจจุบัน และมีการบังคับใช้บทลงโทษที่ไม่มีประสิทธิภาพ จึงส่งผลให้บทลงโทษทางอาญาดังกล่าวยังไม่มีความเหมาะสมสำหรับการป้องกันอาชญากรรมเกี่ยวกับมลพิษทางสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยในปัจจุบัน ดังนั้น ผู้วิจัยจึงได้เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่สำคัญเช่น การเพิ่มเติมรูปแบบของบทลงโทษทางอาญาตามกฎหมายมลพิษทางสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้นด้วยการนำบทลงโทษทางอาญาของประเทศฝรั่งเศส ประเทศเยอรมัน ประเทศอังกฤษ ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศออสเตรเลียมาใช้เป็นกฎหมายต้นแบบ การบังคับใช้บทลงโทษจำคุกตามกฎหมายมลพิษทางสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยเท่าที่จำเป็น การเพิ่มขนาดของบทลงโทษปรับแบบธรรมดาตามกฎหมายมลพิษทางสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยให้มากขึ้นกว่าเดิม เป็นต้น


การเปลี่ยนผ่านสู่ชีวิตในเรือนจำของ "แพะ" ในคดีอาญา, สุพรรณี อ่วมวงษ์ Jan 2018

การเปลี่ยนผ่านสู่ชีวิตในเรือนจำของ "แพะ" ในคดีอาญา, สุพรรณี อ่วมวงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่องการเปลี่ยนผ่านสู่ชีวิตในเรือนจำของ "แพะ" ในคดีอาญาเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษากระบวนการปรับตัวของ "แพะ" ในคดีอาญาก่อนถูกคุมขังและระหว่างถูกคุมขังในเรือนจำ 2) ศึกษาปัญหาในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม "แพะ" ในคดีอาญา 3) ศึกษาผลกระทบของ "แพะ" และครอบครัวของ "แพะ" ในคดีอาญา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) เป็นเครื่องมือหลักในการรวบรวมข้อมูล โดยเป็นการศึกษาวิจัยผ่านเรื่องเล่า (narrative) ของผู้ตกเป็น "แพะ" ในคดีอาญา ศึกษาปัญหาในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม และศึกษาผลกระทบของผู้ตกเป็น "แพะ"และครอบครัวของผู้ตกเป็น "แพะ" ในคดีอาญา จากการศึกษาวิจัย มีข้อค้นพบดังต่อไปนี้ (1) กระบวนการปรับตัวของผู้ตกเป็น "แพะ" ในคดีอาญา มีองค์ประกอบ 2 ประการ ได้แก่ 1.1 ความเป็นชนชั้นและการปรับตัวสู่เรือนจำ ซึ่งประกอบด้วย ชนชั้นของผู้มีฐานะทางสังคมและผู้ที่มีฐานะทางสังคมที่ด้อยกว่า จุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้บริสุทธิ์ตกเป็น "แพะ" ในคดีอาญาโดยมีจุดเปลี่ยน 3 ประการ ได้แก่ การเข้าไปอยู่ในสถานที่เกิดเหตุ การรู้จักกับผู้กระทำผิดหรืออาชญากร และการตกเป็น "แพะ" จากความบกพร่องของกระบวนการยุติธรรม ความวิตกกังวลก่อนเข้าสู่เรือนจำเกิดขึ้น 2 ประการ คือ ความวิตกกังวลต่อตนเอง ความวิตกต่อสมาชิกในครอบครัว 1.2 สภาพแวดล้อมในเรือนจำที่ส่งผลต่อการปรับตัว ได้แก่ มิติเชิงพื้นที่ คือ พื้นที่ภายในบริเวณเรือนจำเนื่องจากมีผู้ต้องขังเป็นจำนวนมากทำให้รู้สึกแออัดทางร่างกายและจิตใจ มิติการปฏิสัมพันธ์ซึ่งเป็นการสนทนาระหว่างผู้ต้องขังรายอื่นมีการเล่าประสบการณ์ของแต่ละคนอาจทำให้ลดความวิตกกังวลและทำให้ไม่สามารถลดความเครียดลงได้เช่นกัน กฎระเบียบที่เคร่งครัด ผู้ที่ตกเป็น "แพะ" และผู้ต้องขังรายอื่นต้องปฏิบัติตามกฎอย่างเคร่งครัดซึ่งกฎระเบียบมีทั้งผลดีและผลเสีย ซึ่งผลดีคือการทำให้เกิดความสงบในการอยู่ในเรือนจำส่วนผลเสียก่อให้เกิดความเครียด ความกดดันในการใช้ชีวิตอยู่ในเรือนจำ และกิจกรรมภายในเรือนจำ ซึ่งทุกเรือนจำจะมีการจัดกิจกรรมให้ผู้ตกเป็น "แพะ"ได้เข้าร่วม ได้แก่ กิจกรรมตามเทศกาลต่างๆ กิจกรรมทางศาสนา ทำงานตามกองงานต่างๆ ซึ่งการทำงานในกองงานนั้นเพื่อเป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ มีจิตใจที่สงบ ไม่ฟุ้งซ่าน และทำให้ร่างกายแข็งแรง (2) กระบวนการปรับตัวระหว่างถูกคุมขังในเรือนจำ มีองค์ประกอบ 8 ประการ ดังนี้ 2.1 ปัจจัยที่ส่งผลต่อกระบวนการปรับตัว …


การคุ้มครองสิทธิและการเข้าถึงความยุติธรรมของคนไร้ที่พึ่งในสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง, ภีมกร โดมมงคล Jan 2018

การคุ้มครองสิทธิและการเข้าถึงความยุติธรรมของคนไร้ที่พึ่งในสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง, ภีมกร โดมมงคล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยเรื่อง "การคุ้มครองสิทธิและการเข้าถึงความยุติธรรมของคนไร้ที่พึ่งในสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง" มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาค้นคว้า กฎหมาย หลักการ แนวปฏิบัติเพื่อคุ้มครองสิทธิ สภาพปัญหา สาเหตุ อุปสรรค ผลกระทบ การเยียวยา สถานการณ์การละเมิดสิทธิและการเข้าไม่ถึงความยุติธรรม และเสนอแนะแนวทางการปฏิบัติที่เหมาะสมต่อการคุ้มครองสิทธิและการเข้าถึงความยุติธรรมของคนไร้ที่พึ่งในสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาโดยใช้วิธีวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed method) คือเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ รวมถึงการศึกษาทบทวนเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (Documentary research) ตามแนวคิดการคุ้มครองสิทธิและการเข้าถึงความยุติธรรม ผลการวิจัยสรุปสาระสำคัญได้ 2 ประการดังต่อไปนี้ ประการแรก การถูกละเมิดสิทธิ (Rights Infringement) พบปัญหาหลายประการทั้งด้านกฎหมาย นโยบาย การปฏิบัติและองค์ความรู้ เช่น (1) พ.ร.บ คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. 2557 กีดกันคนบางกลุ่มออกจากสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งเนื่องจากกฎหมายคุ้มครองเฉพาะกลุ่มที่เกี่ยวข้อง (2) สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งมีกฎระเบียบมากเกินไป ขาดการเชื่อมโยงฐานข้อมูลและขาดระเบียบวิธีการปฏิบัติงานที่ชัดเจนระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (3) คนไร้ที่พึ่งส่วนใหญ่ขาดการรับรู้เรื่องสิทธิของตนเอง (4) เจ้าหน้าที่และบุคลากรไม่เพียงพอ ขาดองค์ความรู้ และทักษะการปฏิบัติงานด้านสังคมสงเคราะห์ ประการที่สอง การเข้าไม่ถึงความยุติธรรม (Inaccessibility to justice) พบปัญหาหลายประการ เช่น (1) เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้วิธีการล่อลวงและควบคุมตัวคนไร้ที่พึ่งเพื่อเข้าสู่กระบวนการคัดกรองคุณสมบัติโดยปราศจากความยินยอม (2) การเลือกปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ในบางสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง (3) สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งยังขาดมาตรการ หลักเกณฑ์และกองทุนการเยียวยากรณีคนไร้ที่พึ่งที่ได้รับการปฏิบัติที่ไม่เหมาะสม (4) คนไร้ที่พึ่งไม่กล้าร้องเรียนปัญหาเนื่องจากเกรงผลกระทบต่อการใช้บริการ ผลการวิจัยในครั้งนี้สามารถนำไปใช้ในการปรับปรุงกฎหมาย นโยบาย ระเบียบ กลไกลและหลักการปฏิบัติในการคุ้มครองสิทธิและการเข้าถึงความยุติธรรมของคนไร้ที่พึ่งในอนาคต


Explaining Barriers And Opportunities For Recycled Pet For Food Packaging In Thailand Through The Lenses Of Organizational Environment Theory, Natawadee Sirithorn Jan 2018

Explaining Barriers And Opportunities For Recycled Pet For Food Packaging In Thailand Through The Lenses Of Organizational Environment Theory, Natawadee Sirithorn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Currently, some plastic-related companies propose a solution of recycled plastic (rPET) for food packaging as a solution for the plastic problem in Thailand. Therefore, the objective of the thesis is to study business behavior in order to understand the rationale of why some company needs to use rPET for food packaging. This study combined two theories which are the organizational environment theory and the institutional theory of CSR to analyze the effect of the internal and the external environment that influence companies to support rPET food packaging. The finding indicates that companies' mission creates an influence on companies to promote …


Stakeholder Analysis Of Socioeconomic Impacts On Chiang Rai-Chiang Khong Rail Project In Chiang Rai Province, Tanthita Sukhopala Jan 2018

Stakeholder Analysis Of Socioeconomic Impacts On Chiang Rai-Chiang Khong Rail Project In Chiang Rai Province, Tanthita Sukhopala

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objectives of this research are (1) to study the impacts of Chiang Rai - Chiang Khong rail project on Chiang Rai provinces, especially the social and economic impacts which are caused by the rail project, positively and negatively and (2) to analyze advantages and disadvantages of Chiang Rai - Chiang Khong rail project on Chiang Rai province. The scope of study covers 2 main areas including (1) the search for different impacts in 3 different train station areas and (2) the search for different impacts between local people who live within 5 kilometers of the area where train station …


Internal Migrant Children And Their Access To Education : A Case Study Of Hlaing Thar Yar Township, Yangon, Myanmar, Thazin Lin Thet Maw Jan 2018

Internal Migrant Children And Their Access To Education : A Case Study Of Hlaing Thar Yar Township, Yangon, Myanmar, Thazin Lin Thet Maw

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research explores the accessibility of primary education for children of migrant families within Myanmar, focusing on children who accompanied their families when they have to move to a new location. In doing so, this research analyzes the issues faced by rural-to-urban migrant children in the process of primary school enrollment. The study also reviews Myanmar's National Education Strategic Plan (2016-2021) to understand the provisions and practices implemented by the government to address the challenges of migrant children's access to primary education. The research was conducted in Hlaing Thar Yar Township in Yangon, Myanmar, which is an area characterized by …


Coping With Drug Abuse In Shan State, Thiri - Jan 2018

Coping With Drug Abuse In Shan State, Thiri -

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

As we look around the study area, especially in the mountain areas and control over the ethnic armed groups areas, it is not hard to see the drug users and the other chemical substances selling and opium cultivation in the mountain areas. According to the drug dependents the opium cultivation can earn more money and easier than the other crops. As Lashio situated on the China- Myanmar Border Highway Road, China is the main producer of the chemical substances and importer to Myanmar. Because of the geographical situation, the study area is abundant in drug substances and chemical tablets. Heroin …


Ulaanbaatar's Ger District Residents: An Analysis Of Development Challenges And Structural Violence, Timothy Shaun Jenkins Jan 2018

Ulaanbaatar's Ger District Residents: An Analysis Of Development Challenges And Structural Violence, Timothy Shaun Jenkins

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study investigates and researches the impact of the Government's policy of putting the 'economy first' by analyzing the situation through the lens of Johan Galtung's concept of Structural Violence. The research answers the question: How does structural violence occur in the ger districts of Ulaanbaatar under the current development challenges? In the 1990's, after the fall of communism, the IMF and the World Bank, along with some leading political figures within the Government of Mongolia, pushed forward with their plans to bring the free market to Mongolia. The World Bank and the IMF introduced the shock-therapy approach with the …


สาเหตุการข่มขืนกระทำชำเราเด็กหญิงอายุต่ำกว่า 13 ปี, ดวงกมล จักกระโทก Jan 2018

สาเหตุการข่มขืนกระทำชำเราเด็กหญิงอายุต่ำกว่า 13 ปี, ดวงกมล จักกระโทก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่อง "สาเหตุการข่มขืนกระทำชำเราเด็กหญิงอายุต่ำกว่า 13 ปี" นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสาเหตุปัจจัยการข่มขืนกระทำชำเราเด็กหญิงอายุต่ำกว่า 13 ปี ลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างผู้กระทำผิดกับเด็กหญิง และแนวทางการป้องกันการข่มขืนกระทำชำเราเด็กหญิง การศึกษานี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกนักโทษเด็ดขาดชายในคดีข่มขืนกระทำชำเราเด็กหญิงอายุต่ำกว่า 13 ปี ซึ่งถูกควบคุมตัวอยู่ในเรือนจำกลางคลองเปรม เรือนจำกลางพระนครศรีอยุธยา และทัณฑสถานวัยหนุ่มกลาง โดยนักโทษเด็ดขาดยินยอมให้ข้อมูล จำนวน 15 คน ผลการศึกษาพบว่า การข่มขืนกระทำชำเราเด็กหญิงมีสาเหตุปัจจัย 3 ส่วน คือ 1) สาเหตุปัจจัยจากตัวผู้กระทำผิด ที่ขาดความรัก ความอบอุ่น ไม่มีความผูกพันกับครอบครัวผู้ให้กำเนิด ไม่ได้รับการขัดเกลาทางสังคมอย่างเหมาะสม ทำให้เป็นคนที่มีการควบคุมตัวเองต่ำ มีบิดาหรือบิดาเลี้ยงเป็นต้นแบบในการดื่มสุรา ผู้กระทำผิดมีชีวิตคู่ที่ล้มเหลว ผิดหวังจากคนรัก 2) เหยื่อที่เหมาะสม คือ เด็กหญิงที่มีความอ่อนแอทั้งร่างกายและจิตใจ ถูกหลอกได้ง่าย และรู้จักคุ้นเคยกับผู้กระทำผิดมาก่อน 3) โอกาส เวลา สถานที่เหมาะสม คือ มีโอกาสอยู่กับเด็กหญิงเพียงลำพังในสถานที่มิดชิด เปลี่ยวมืด ปราศจากการตรวจตราของเจ้าหน้าที่รัฐ แนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว แบ่งได้เป็น 3 แนวทาง คือ 1) การป้องกันจากตัวผู้กระทำความผิด โดยการที่บิดามารดาต้องให้ความรักความอบอุ่น อบรมขัดเกลาทางสังคมบุตรหลาน ให้เป็นคนที่รู้จักให้เกียรติผู้หญิง เป็นตัวอย่างในการประพฤติปฏิบัติตัว หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา เสพยาเสพติด และเสพสื่อลามก 2) การป้องกันจากตัวเด็กหญิง โดยการที่บิดามารดาคอยสอดส่องดูแล ไม่ปล่อยให้เด็กหญิงอยู่กับผู้ชายสองต่อสองในที่ลับตาคน รวมทั้งสอนให้เด็กหญิงมีความเข้าใจสิทธิในร่างกายของตัวเองว่าบุคคลอื่นจะมาล่วงละเมิดในร่างกายของตัวเขาไม่ได้ 3) การป้องกันจากสภาพแวดล้อมและตัดโอกาสในการกระทำผิด โดยการติดกล้องวงจรปิด การตรวจตราของสมาชิกในชุมชนและเจ้าหน้าที่รัฐ และลดพื้นที่เสี่ยง เปลี่ยวร้าง