Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Sociology Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 30 of 44

Full-Text Articles in Sociology

มุมมองอาชญาวิทยาสิ่งแวดล้อมต่อการลักลอบล่าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย, ณัฐพล บัวบุตร Jan 2018

มุมมองอาชญาวิทยาสิ่งแวดล้อมต่อการลักลอบล่าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย, ณัฐพล บัวบุตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหา สาเหตุ และปัจจัยที่นำไปสู่ปัญหาการลักลอบ ล่าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย วิเคราะห์ผลการศึกษาและบรรยายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น พร้อมเสนอมาตรการแก้ไขปัญหาการลักลอบล่าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) การวิจัยภาคสนาม (Field Research) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จากกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) ได้แก่ กลุ่มนายพราน กลุ่มผู้บังคับใช้กฎหมาย และกลุ่มองค์กรอิสระด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า รวม 13 คน ผลการศึกษา มีข้อมูลทางสถิติแสดงว่าสภาพปัญหาการลักลอบล่าสัตว์ป่าผิดกฎหมายมีความรุนแรงมากที่สุดในพื้นที่ป่า ภาคตะวันตกของประเทศไทย รองลงมาเป็นพื้นที่ป่าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยรูปแบบการลักลอบล่าสัตว์ป่าในบริบทของประเทศไทย แบ่งออกเป็น 4 ลักษณะ ได้แก่ (1) เพื่อการดำรงชีพ (2) เพื่อการค้า (3) เพื่อการพักผ่อน และ (4) เพื่อการแข่งขันหรือกีฬา สาเหตุของการลักลอบล่าสัตว์ป่าผิดกฎหมายเกิดจาก (1) ปัญหาความยากจนของครัวเรือน (Poverty) (2) ความต้องการโอกาสทางสังคม (Social Opportunity) (3) แรงกดดันทางสังคม (Social Pressures) (4) ค่านิยมเฉพาะกลุ่ม (Group Value) (5) ความเชื่อท้องถิ่น (Local Belief) (6) การเพิ่มมูลค่าของสัตว์ป่าในทางเศรษฐศาสตร์ (Wildlife Economic Value Added) (7) การเข้ามาของกลุ่มนายทุนนอกพื้นที่ (Capitalist) (8) ช่องว่างของการบังคับใช้กฎหมาย (Legal Gap) และ (9) การไม่เกรงกลัวต่อการกระทำความผิด (Intrepidity of commit an offence) ซึ่งสามารถสรุปกลุ่มเป็น 5 ปัจจัย ได้แก่ (1) ความไม่เสมอภาคทางสังคม (Social Inequality) (2) ความอ่อนแอของกระบวนการยุติธรรมทางอาญา (Weakness of …


การตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมในสถานศึกษา: กรณีศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, อู่ธนา สุระดะนัย Jan 2018

การตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมในสถานศึกษา: กรณีศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, อู่ธนา สุระดะนัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่อง การตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมในสถานศึกษา กรณีศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้น ศึกษาสาเหตุและปัจจัยที่ส่งผลให้นักเรียน นิสิต อาจารย์ และบุคลากรในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเสี่ยงต่อการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรม ทั้งด้านกายภาพ ปัจจัยที่เอื้อต่อการประกอบอาชญากรรม ลักษณะของเหยื่ออาชญากรรม และช่องโอกาสในการเกิดอาชญากรรม ตลอดจนศึกษาแนวทางหรือ มาตรการที่ช่วยลดการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรม โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และเขียนรายงานต่อไป จากการศึกษาพบว่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีอาชญากรรมเกิดขึ้นทุกปี โดยเหยื่ออาชญากรรมเป็นนักเรียน นิสิต อาจารย์ รวมถึงบุคลากรในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณโดยรอบสถานศึกษา ซึ่งประเภทอาชญากรรมที่พบคือ อาชญากรรมต่อทรัพย์ ต่อชีวิตร่างกายและต่อเพศ จากการศึกษาวิเคราะห์สถิติคดียังพบอีกว่า มีแนวโน้มที่บุคลากรในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมประเภทดังกล่าว โดยมีสาเหตุและปัจจัยระดับปัจเจกบุคคลที่ทำให้ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมได้แก่ 1) พฤติกรรม 2) บุคลิกภาพ และ 3) ลักษณะทางชีวภาพ เมื่อพิจารณาถึงความตระหนักถึงความปลอดภัยพบว่า นิสิตและบุคลากร ตลอดจนประชาชนที่อาศัยอยู่โดยรอบสถานศึกษานั้นไม่ค่อยจะระมัดระวังตนเองหรือทรัพย์สิน มีความประมาท ประกอบกับจำนวนเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยต่อบุคลากรและต่อพื้นที่ไม่เพียงพอต่อการดูแล และไม่มีความชำนาญในพื้นที่ ตลอดจนขาดความชำนาญและขาดประสิทธิภาพในการป้องกันอาชญากรรม ในส่วนของโครงสร้างทางกายภาพ พบว่า สถานศึกษามีประตูเข้า-ออกหลายช่องทางหากมีเหตุอาชญากรรมเกิดขึ้นอาชญากรสามารถหลบหนีได้ง่าย อีกทั้งถนนภายในและภายนอกของสถานศึกษาบางแห่งมีแสงไฟส่องสว่างน้อย บางจุดไม่มีกล้องวงจรปิด โดยเฉพาะในช่วงที่มีการก่อสร้างปรับภูมิทัศน์ พื้นที่ดังกล่าวกลายเป็นจุดเสี่ยงที่จะเกิดอาชญากรรมได้


บทบาทของท่าอากาศยานในการป้องกันการกระทำผิดขององค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ: ศึกษากรณีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ, ฉัตรวดี ศิริโภค Jan 2018

บทบาทของท่าอากาศยานในการป้องกันการกระทำผิดขององค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ: ศึกษากรณีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ, ฉัตรวดี ศิริโภค

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่องบทบาทของท่าอากาศยานในการป้องกันการกระทำผิดขององค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ : ศึกษากรณีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของท่าอากาศยาน ปัญหาอุปสรรคของท่าอากาศยาน และการพัฒนาแนวทางของท่าอากาศยาน ในการป้องกันการกระทำผิดขององค์กรอาชญากรรม ข้ามชาติ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) การรวบรวมกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และศึกษากรณีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ รวมถึงการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth interview) ผู้บริหารของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเหตุอาชญากรรมข้ามชาติที่เกิดขึ้น ณ ท่าอากาศยาน รวมทั้งการสังเกตการณ์ปฏิบัติงานของพนักงานตรวจค้นภายในท่าอากาศยาน และทำการสัมภาษณ์ประชาชนผู้มาใช้บริการ ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ผลการศึกษาพบว่าอุตสาหกรรมการบินยังคงเป็นเป้าหมายสำคัญของกลุ่มองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ รวมทั้งกลุ่มก่อการร้าย นอกจากนี้การหลั่งไหลของชาวต่างชาติที่เข้ามาในประเทศไทย ทำให้เกิดปัญหาด้านความมั่นคง การกระทำผิดขององค์กรอาชญากรรมข้ามชาติที่ท่าอากาศยาน ประกอบด้วย การลักลอบขนงาช้าง การลักลอบขนสัตว์ป่า การลักลอบขนยาเสพติด การเข้าเมืองที่ผิดกฎหมาย รวมถึงการกระทำที่เป็นการแทรกแซงอันมิชอบด้วยกฎหมาย (Acts of Unlawful Interference) เป็นต้น จากการศึกษาพบว่าผู้มาใช้บริการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีความเชื่อถือและวางใจในมาตรการระบบรักษาความปลอดภัยที่ดี บทบาทของท่าอากาศยานในการป้องกันการกระทำผิดขององค์กรอาชญากรรมข้ามชาตินั้น พนักงานตรวจค้นจะต้องมีจิตสำนึกในการปฏิบัติงาน ซึ่งมีส่วนสำคัญในการคัดกรองวัตถุต้องสงสัยมิให้มีการนำออกไปจากราชอาณาจักร โดยการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการเพิ่มขีดความสามารถด้านการรักษาความปลอดภัยให้เป็นไปตามมาตรฐานขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ รวมถึงการสร้างการมีส่วนร่วมจากชุมชนบริเวณโดยรอบท่าอากาศยาน เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างชุมชนที่สามารถช่วยเป็นหูเป็นตาในการป้องกันอาชญากรรมให้กับท่าอากาศยาน อย่างไรก็ตามมีกฎหมายที่บังคับใช้กับมาตรการระบบรักษาความปลอดภัยของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ทั้งการก่อการร้ายในเขตอากาศยาน ที่เป็นกฎหมายภายในประเทศ และกฎหมายระหว่างประเทศ ดังนั้นควรมีการทบทวนและหาแนวทางในการปฎิบัติให้แก่ท่าอากาศยานในความรับผิดชอบของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ที่อาจต้องมีการเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยตามระดับความเสี่ยงของท่าอากาศยานทั้ง 6 แห่ง รวมถึงท่าอากาศยานแห่งใหม่ที่ ทอท. จะต้องรับผิดชอบเพิ่มเติมในอนาคต


การประเมินการนำนโยบายการช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรมไปสู่การปฏิบัติ, ภาคิน ดำภูผา Jan 2018

การประเมินการนำนโยบายการช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรมไปสู่การปฏิบัติ, ภาคิน ดำภูผา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

อาชญากรรมเป็นปรากฏการณ์ของสังคมซึ่งเกิดจากความบกพร่องในการป้องกันอาชญากรรมของรัฐ เหยื่ออาชญากรรมจึงสมควรได้รับการช่วยเหลือในรูปแบบรัฐสวัสดิการจากนโยบายการช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรม วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ประเมินกระบวนการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ ศึกษาสภาพและผลการดำเนินงานตามนโยบาย วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินนโยบาย และจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายในการช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรม การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน การวิจัยเชิงปริมาณเป็นการสืบค้นข้อมูลแนวกว้างจากกลุ่มตัวอย่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการดำเนินนโยบายการช่วยเหลืออาชญากรรมโดยใช้การวิจัยเชิงสำรวจ การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการสืบค้นข้อมูลแนวลึกเพื่ออธิบายข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้การวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์โดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดอันดับ วิเคราะห์การถดถอยพหูคูณ ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์เนื้อหา สรุปประมวลผลเป็นความเรียง การผสมการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพใช้วิธีเปรียบเทียบผลการศึกษาที่ได้แบบประเด็นต่อประเด็น ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาหลักเป็นความเพียงพอของทรัพยากร การประชาสัมพันธ์สิทธิ์การได้รับการช่วยเหลือและเยียวยาจากภาครัฐ เหยื่ออาชญากรรมยังมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายการช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรมน้อย การดำเนินการช่วยเหลือและเยียวยาเหยื่ออาชญากรรมยังมีความล่าช้า งบประมาณในการช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรมยังมีไม่เพียงพอ พนักงานสอบสวนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติยังทราบว่ากรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพมีเจ้าหน้าที่ประจำอยู่ที่สถานีตำรวจภูธรเมืองน้อย นอกจากนี้ ปัจจัยด้านนโยบาย การบริหารจัดการ การประชาสัมพันธ์ การจัดสรรทรัพยากร การพัฒนาระบบช่วยเหลือและเยียวยา คณะกรรมการและอุทธรณ์ และปฏิบัติการช่วยเหลือและเยียวยา เป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินนโยบาย อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอแนะในการดำเนินนโยบายในการช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรมในอนาคต ควรมีการกำหนดเกณฑ์ในการพิจารณาให้ชัดเจนและไม่คลุมเครือ ประชาสัมพันธ์การรับรู้สิทธิ์ให้เข้าถึงประชาชนทุกกลุ่ม เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในนโยบายการช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรมเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายได้อย่างทั่วถึง เพื่อลดช่องว่างในการเข้าถึงการช่วยเหลือประชาชนของภาครัฐ ควรจัดตั้งกองทุนสำหรับช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรมโดยเฉพาะ โดยเงินกองทุนมาจากเงินประเดิมที่รัฐบาลจัดสรรให้ เงินอุดหนุนจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคอุทิศให้ เงินที่ได้รับจากต่างประเทศหรือองค์กรระหว่างประเทศ ดอกผลและผลประโยชน์ที่เกิดจากกองทุน และไม่ควรให้เงินและทรัพย์สินของกองทุนต้องส่งคืนคลังเป็นรายได้แผ่นดินในแต่ละปีงบประมาณ


Sex-Composition Of Children And Fertility Desire In Vietnam, Hai Yen Thi Nguyen Jan 2018

Sex-Composition Of Children And Fertility Desire In Vietnam, Hai Yen Thi Nguyen

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This thesis aims to investigate whether the variation in sex composition of children can explain the variation of Vietnamese women's fertility desire. Vietnam has experienced rapid fertility decline since the middle of the 20th century but within a broader context of strong cultural norms regarding son preference. Thus, the sex composition of children is one of the key determinants of reproductive behavior within Vietnam. To my knowledge, no previous study has examined the relationship between sex composition of children and women's fertility desires in Vietnam. Using data from the 2014 Vietnam Multiple Indicator Cluster Survey (MICS) I investigate the association …


Direct And Indirect Impacts Of Education On Subjective Well-Being Of Older Persons In Vietnam : Gender Differences, Truc Ngoc Hoang Dang Jan 2018

Direct And Indirect Impacts Of Education On Subjective Well-Being Of Older Persons In Vietnam : Gender Differences, Truc Ngoc Hoang Dang

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Vietnam, like many developing countries, is undergoing a rapid pace of population ageing but within a resource limited context. Therefore, understanding the factors that are important to later life well-being has become a key policy issue. Using data from the 2011 Vietnam National Aging Survey, this thesis aims to investigate gender differences in the direct and indirect impacts of education on subjective well-being of older Vietnamese based on four domains: happiness, life satisfaction, loneliness, and depression (N=2,789, including 1,683 females and 1,106 males). The results from path analysis show that those with higher level of education are happier and more …


Clmv Male Migrant Sex Workers In Bangkok : Livelihoods And Social Protection, Ob-Orm Utthasit Jan 2018

Clmv Male Migrant Sex Workers In Bangkok : Livelihoods And Social Protection, Ob-Orm Utthasit

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Due to the lucrative business of sex industry in Thailand, it welcomes not only Thai sex workers to engage in sex industry, but also migrant sex workers from neighboring countries including Cambodia, Lao PDR, Myanmar, and Vietnam. The high incomes of sex industry convince not only the female migrants, but also male migrants either heterosexual or homosexual identified to engage in sexual services. These migrant sex workers are experiencing more barriers that the local due to their migrants' legal status. Because sex work is not considered a legitimate form of employment, these migrant sex workers are unable to exercise their …


Chin Diaspora And Their Social Networks In Thailand : Implications For Development In Myanmar, Pau Sian Lian Jan 2018

Chin Diaspora And Their Social Networks In Thailand : Implications For Development In Myanmar, Pau Sian Lian

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Due to socioeconomic and political reasons, Chin ethnic people from the western part of Myanmar have been migrating to inner part of the country and abroad. Economic growth and requirement of low skill labor in Thailand since the 1980s have been the pull factors for low skill migrants from its neighbors, including Myanmar. Chin people came to Thailand not only for economic opportunities but also for onward migration. The purpose of this research is to explore the social networks of Chin diaspora in Thailand and their implication to the economic and political development of their home community in Myanmar. With …


Women Political Participation In Myanmar’S House Of Representatives, Thu Thu Swe Jan 2018

Women Political Participation In Myanmar’S House Of Representatives, Thu Thu Swe

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The thesis mainly discusses about main obstacles and challenges for women to participate in political activities in Myanmar including economic factor, social factor, political factor, and the ways how women are empowered to participate in political activities in Myanmar by using both primary and secondary data. The primary concept for this study is based on women empowerment processes which are included four different pathways in which women are changed –material (economy), perceptual (knowledge and skill), cognitive (self-confident and self-esteemed) and relational (bargaining power). Moreover, the thesis analyses actor's roles in these four pathways. The thesis found out external factors namely …


Economic Security And Development: The Impacts Of Inca Inchi Contract-Farming As An Agricultural Business Model In Kachin State, Myanmar, Zaw Ban Jan 2018

Economic Security And Development: The Impacts Of Inca Inchi Contract-Farming As An Agricultural Business Model In Kachin State, Myanmar, Zaw Ban

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In Myanmar, Inca Inchi is one of the new economic businesses that made changes to the agriculture sector with both its advantages to the quality of life of the people and a high selling price which generates an economic benefit. This study tries to explore the overall social and economic impact that Inca Inchi contract-farming as a business model has had on the security and development specifically for the farmers who signed the contracts with the Inca Inchi companies in the Kachin state, Myanmar. Sample size in Myitkyina Township represented total population. Quantitative data collection method based on primary data …


ค่าจ้างและความต้องการทำงานเพิ่มของแรงงานนอกระบบ: กรณีศึกษาในประเทศไทย, ผกามาศ เลียงธนะฤกษ์ Jan 2018

ค่าจ้างและความต้องการทำงานเพิ่มของแรงงานนอกระบบ: กรณีศึกษาในประเทศไทย, ผกามาศ เลียงธนะฤกษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ด้วยเหตุที่ประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงวัยที่แรงงานมีแนวโน้มลดลง การหาแรงงานมาทดแทนในตลาดแรงงานจึงเป็นประเด็นที่ควรศึกษา เนื่องจากแรงงานที่ต้องการจะทำงานเพิ่มกว่าร้อยละ 80 เป็นแรงงานนอกระบบ การศึกษาครั้งนี้จึงสนใจศึกษาปัจจัยที่ส่งอิทธิพลต่อความต้องการจะทำงานเพิ่มของแรงงานนอกระบบ โดยเฉพาะค่าจ้าง ทั้งระดับค่าจ้าง และประเภทค่าจ้างที่ได้รับ (รายเดือน/ไม่ใช่รายเดือน) รวมถึงปัจจัยอื่นๆ ทางประชากร เศรษฐกิจ และสังคม โดยใช้ข้อมูลการสำรวจแรงงานนอกระบบ พ.ศ.2560 สำรวจโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่าง คือ แรงงานนอกระบบที่เป็นลูกจ้าง และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ Multiple linear regression และ Tobit Model ผลการศึกษา พบว่า ค่าจ้างเป็นปัจจัยหลักที่ส่งอิทธิพลต่อความต้องการจะทำงานเพิ่ม ผู้ที่มีรายได้จากค่าจ้างเมื่อเทียบกับผู้อื่นน้อยกว่า 1,000 บาทต่อเดือน มีความต้องการจะทำงานเพิ่มมากกว่า 4.9 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ซึ่งเป็นไปตามทฤษฎีการโค้งกลับของเส้นอุปทานแรงงาน และผู้ที่ได้รับค่าจ้างประเภทรายชั่วโมง และผู้ที่ได้รับค่าจ้างประเภทรายวันหรือรายสัปดาห์จะมีความต้องการทำงานเพิ่มมากกว่าผู้ที่ได้รับค่าจ้างประเภทรายเดือน 57.1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และ 26.7 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ตามลำดับ ข้อค้นพบนี้ของแรงงานนอกระบบของไทยสอดคล้องกับแนวคิดตามทฤษฎี Instant Gratification ที่ยิ่งระยะเวลาในการรอผลตอบแทนยิ่งน้อยความต้องการจะทำงานเพิ่มยิ่งสูงมากขึ้นมาก และหากศึกษาเฉพาะกลุ่มลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างแบบไม่ใช่รายเดือน พบว่า ผู้ที่ได้รับค่าจ้างแบบไม่ใช่รายเดือนและมีทักษะแรงงานในระดับสูงมีความต้องการจะทำงานเพิ่มมากกว่าผู้ที่มีทักษะต่ำ 30.2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์


เส้นทางชีวิตของนักโทษเด็ดขาดหญิงที่กระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติดประเภทยาไอซ์, ดนิตา กอบกุลธนชัย Jan 2018

เส้นทางชีวิตของนักโทษเด็ดขาดหญิงที่กระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติดประเภทยาไอซ์, ดนิตา กอบกุลธนชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่อง "เส้นทางชีวิตของนักโทษเด็ดขาดหญิงที่กระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติดประเภท ยาไอซ์"นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเส้นทางชีวิตของนักโทษเด็ดขาดหญิงที่กระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติดประเภทยาไอซ์ และจุดเปลี่ยนในแต่ละช่วงวัยที่นำไปสู่การกระทำผิดซ้ำ รวมถึงแนวทางในการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำ การศึกษานี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากเอกสารและการสัมภาษณ์ เชิงลึก (In-depth Interview) นักโทษเด็ดขาดหญิงที่กระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติดประเภทยาไอซ์จำนวน 12 คนซึ่งควบคุมตัวอยู่ในทัณฑสถานหญิงกลาง และเรือนจำกลางเพชรบุรี อีกทั้งสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ผู้ มีประสบการณ์การทำงานเกี่ยวข้องกับนักโทษเด็ดขาดหญิงที่กระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติด ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ผู้ปฎิบัติและผู้บริหารเรือนจำ ผลการศึกษาพบว่านักโทษเด็ดขาดหญิงที่กระทำผิดซ้ำในคดี ยาเสพติดประเภทยาไอซ์กระทำผิดครั้งแรกในช่วงอายุ 20 – 29 ปี และกระทำผิดซ้ำเป็นครั้งที่สองและสามในช่วงอายุ 30 – 39 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้นมีจำนวนเท่ากัน รายได้เฉลี่ยต่อเดือนประมาณ 10,000-19,999 บาท มีประวัติติดยาเสพติด คดีที่กระทำผิดในครั้งแรก คือ คดีจำหน่ายยาเสพติด และคดีครอบครองเพื่อจำหน่ายยาเสพติด คดีที่กระทำผิดในครั้งที่สองและสาม คือ คดีครอบครองเพื่อจำหน่ายยาเสพติด ส่วนใหญ่เคยได้รับการอภัยโทษ และปัจจุบันเป็นผู้ต้องขังชั้นเยี่ยม ตัวแปรที่เป็นจุดเปลี่ยนในเส้นทางชีวิตซึ่งนำไปสู่การกระทำผิดซ้ำพบว่ามี 4 ตัวแปร ได้แก่ 1) ความสัมพันธ์ในครอบครัวช่วงวัยรุ่น 2) การคบหาเพื่อนในช่วงวัยรุ่น 3) ความกดดันทางสังคมในช่วงผู้ใหญ่ตอนต้น และ 4) บทบาททางเพศในช่วงผู้ใหญ่ตอนต้น นอกจากนั้นยังพบว่าความคิดความเชื่อในการใช้ยาเสพติดเพื่อลดน้ำหนักเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่นำไปสู่การกระทำผิด ข้อเสนอแนะจากผลการศึกษาและแนวทางป้องกันการกระทำผิดซ้ำ ดังนี้ 1) เสริมสร้างความรักความเข้าใจในครอบครัว 2) เลือกคบเพื่อนที่ดี 3) ไม่ให้คุณค่าเงินตรามากเกินไปจนนำไปสู่การกระทำผิด 4) ผู้นำครอบครัวควรประกอบอาชีพที่มั่นคงและเป็นหลักให้ครอบครัวได้ 5) ให้ข้อเท็จจริงในเรื่องของการเสพยาเสพติดว่าไม่ส่งผลต่อการลดน้ำหนักแต่จะทำลายสุขภาพของผู้เสพ 6) จัดโครงการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อย 7) จัดทำ MOU ร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ในการป้องกันการกระทำผิดซ้ำ 8) จัดตั้งศูนย์ Care เพื่อส่งเสริมและประสานงานในการจัดหางานให้แก่ผู้พ้นโทษ และให้คำปรึกษาแนะนำ


ปฏิสัมพันธ์ของการจัดการเชิงสุขภาวะในเรือนจำ: ศึกษากรณีประสบการณ์ของผู้ต้องขัง "กะเทย" และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ, ใจเอื้อ ชีรานนท์ Jan 2018

ปฏิสัมพันธ์ของการจัดการเชิงสุขภาวะในเรือนจำ: ศึกษากรณีประสบการณ์ของผู้ต้องขัง "กะเทย" และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ, ใจเอื้อ ชีรานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัย "ปฏิสัมพันธ์ของการจัดการเชิงสุขภาวะในเรือนจำ : ศึกษากรณีประสบการณ์ของผู้ต้องขัง "กะเทย" และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาถึงประสบการณ์ของผู้ต้องขังกะเทย (เส้นทางชีวิต ประสบการณ์ชีวิตการเป็นกะเทย การต่อรอง ปฏิสัมพันธ์ การรับรู้อัตลักษณ์ สังคมและวัฒนธรรมในเรือนจำ) และประสบการณ์ของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ (สัมพันธภาพเชิงอำนาจ การบริหารจัดการ ระเบียบข้อบังคับ) ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นเชิงสุขภาวะ ตลอดจนวิเคราะห์ถึงปฏิสัมพันธ์ของการจัดการเชิงสุขภาวะในเรือนจำระหว่างผู้ต้องขังกะเทยและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ อันจะนำไปสู่แนวทางการจัดการเชิงสุขภาวะในเรือนจำที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของผู้ต้องขัง การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ตามแนวคิดปรากฏการณ์วิทยา (Phenomenology Approach) เป็นการศึกษาปรากฎการณ์ชีวิตที่บุคคลได้ประสบมา (Life Experience) โดยมีผู้ต้องขัง "กะเทย" และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ ซึ่งเป็นตัวแสดงหลักในการทำหน้าที่ผู้ถ่ายทอดเรื่องเล่า จากประสบการณ์ในการถูกคุมขังในเรือนจำและจากประสบการณ์การปกครองดูแล ให้คำปรึกษา ใกล้ชิดกับผู้ต้องขัง "กะเทย" โดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ (Informal Interview) การสัมภาษณ์ เชิงลึก (In-depth Interview) ประกอบกับการสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participation Observation) โดยใช้วิธีการเลือกสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ในเรือนจำจังหวัดอุทัยธานี จากการกำหนดคุณลักษณะของประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยและเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 2 กลุ่ม คือผู้ต้องขังกะเทยและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ ผลการศึกษาพบว่าองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในการศึกษาปฏิสัมพันธ์ของการจัดการเชิงสุขภาวะในเรือนจำ คือ มิติของความเป็นมนุษย์ โดยมีกลุ่มบุคคลสำคัญสองกลุ่มคือ "ผู้ต้องขัง" และ "เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ" การจัดการเชิงสุขภาวะในเรือนจำจะเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดนั้น ขึ้นอยู่กับปฏิสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติและผู้ต้องขัง ซึ่งต่างมีความต้องการเชิงสุขภาวะที่ดี อุปสรรคสำคัญในการจัดการเชิงสุขภาวะของผู้ต้องขังกะเทย มาจากการขาดความตระหนักในสิทธิความเป็นมนุษย์ที่ครอบคลุมการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังที่มีความหลากหลายทางเพศ และข้อจำกัดทางกฎหมาย นโยบาย และระเบียบข้อบังคับที่สอดคล้องกับเพศกำเนิดเท่านั้น ข้อเสนอแนะจากการศึกษา การสร้างความตระหนักในสิทธิความเป็นมนุษย์ การทบทวนและปรับปรุงกฎหมาย รวมถึงนโยบายต่าง ๆ ของกรมราชทัณฑ์ให้มีความสอดคล้องและครอบคลุมถึงการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังกะเทยหรือผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ เพื่อให้สอดคล้องกับการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิดตามมาตรฐานสากล


เส้นทางชีวิตเยาวชนชายขอบที่เข้าโครงการฟื้นฟูเยียวยา และพัฒนาคุณภาพชีวิตของเทศบาลนครขอนแก่น, จิรเมธ ไฉนศิริยุทธิ์ Jan 2018

เส้นทางชีวิตเยาวชนชายขอบที่เข้าโครงการฟื้นฟูเยียวยา และพัฒนาคุณภาพชีวิตของเทศบาลนครขอนแก่น, จิรเมธ ไฉนศิริยุทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเส้นทางชีวิตเยาวชนชายขอบที่เข้าร่วมโครงการฟื้นฟูเยียวยาและพัฒนาคุณภาพชีวิตของเทศบาลนครขอนแก่น มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเส้นทางชีวิตเยาวชนชายขอบว่าปัจจัยแวดล้อมลักษณะใดที่ทำให้เยาวชนตกเป็นเยาวชนชายขอบ ตลอดจนศึกษาแนวทางการฟื้นฟูเยียวยาเด็กและเยาวชนชายขอบที่โครงการฟื้นฟูเยียวยาและพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก เยาวชนชายขอบในสังคมเมืองที่ทางเทศบาลดำเนินโครงการฯอยู่ โดยการวิจัยครั้งนี้ ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ เพื่อหาข้อสรุปต่อไป จากการศึกษาพบว่าปัจจัยพื้นฐานที่ส่งผลให้เยาวชนตกเป็นเยาวชนชายขอบ ประกอบไปด้วย 1) ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ 2) ด้านครอบครัว และ 3) ปัจจัยด้านเพื่อน ซึ่งปัจจัยพื้นฐานเหล่านี้มีอิทธิพลต่อการกำหนดทิศทางพฤติกรรมของเด็กชายขอบเป็นอย่างมาก ซึ่งเมื่อตกเป็นเยาวชนชายขอบแล้วพฤติกรรมเบี่ยงเบนที่เยาวชนชายมักกระทำ คือ เสพสารเสพติด ทะเลาะวิวาท และการเข้าแก๊งรถซิ่ง ส่วนเยาวชนหญิง จากการสัมภาษณ์พบว่า พฤติกรรมเบี่ยงเบนที่เกิดขึ้น เป็นผลจากการถูกกระทำ โดยปัญหาหลักที่เยาวชนหญิงถูกกระทำคือ การถูกล่วงละเมิดทางเพศ และถูกล่อลวงให้ทำสิ่งที่ผิดกฎหมาย ซึ่งในตัวเยาวชนชายขอบแต่ละคนมีจุดวกกลับที่แตกต่างกันออกไป เมื่อเข้าโครงการฟื้นฟูเยียวยาและพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก เยาวชนชายขอบของเทศบาลนครขอนแก่น ทางโครงการฯมีแนวทางการบำบัดฟื้นฟู โดยมุ่งเน้นการปรับแนวคิด ให้การศึกษา และสร้างอาชีพ โดยมีเครือข่ายที่ทำงานด้านเด็กและเยาวชนคอยสนับสนุน เพื่อคืนเยาวชนที่มีคุณภาพให้กับสังคมต่อไป การศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยเสนอแนะแนวทางการฟื้นฟูเยียวยาเยาวชนชายขอบ ดังนี้ ประการแรก ครอบครัวเป็นปัจจัยพื้นฐานที่ส่งผลต่อตัวเยาวชนโดยตรง การอบรมบ่มนิสัยบุตรหลานและการปลูกฝังสิ่งที่ถูกต้องเป็นสิ่งที่มีความจำเป็น และปฎิบัติตนให้เป็นแบบอย่าง รวมทั้งเป็นที่ปรึกษาที่ดี คอยให้กำลังใจบุตรหลาน ประการที่สอง หน่วยงานราชการ ควรสอดส่องเยาวชนเพื่อลดความเสี่ยงต่อการมอมเมา และการเกิดอาชญากรรม และประการสุดท้าย ชุมชนต้องมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขเยาวชนที่เดินทางหลงผิด โดยพร้อมที่จะเข้าใจ แก้ไข และให้โอกาส สร้างให้เกิดความรักในชุมชน และเกิดชุมชนแข็งแรงเพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนที่ยั่งยืน


ความรุนแรงในสถานที่ทำงาน: ศึกษากรณีเจ้าหน้าที่และบุคลากรของโรงพยาบาลตำรวจ, รมิดา แสงสวัสดิ์ Jan 2018

ความรุนแรงในสถานที่ทำงาน: ศึกษากรณีเจ้าหน้าที่และบุคลากรของโรงพยาบาลตำรวจ, รมิดา แสงสวัสดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่อง "ความรุนแรงในสถานที่ทำงาน: ศึกษากรณีเจ้าหน้าที่และบุคลากรของโรงพยาบาลตำรวจ" มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบและรูปแบบของความรุนแรงในสถานที่ทำงาน สาเหตุของความรุนแรงในสถานที่ทำงาน และเพื่อแสวงหาแนวทางในการป้องกันและการแก้ไขความรุนแรงในสถานที่ทำงานของเจ้าหน้าที่และบุคลากรในโรงพยาบาลตำรวจ ระเบียบวิธีวิจัย คือ วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน โดยกลุ่มตัวอย่างและผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือเจ้าหน้าที่และบุคลากรของโรงพยาบาลตำรวจ รวมทั้งสิ้น 204 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบออนไลน์และแบบกรอกข้อมูลลงกระดาษสำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ และเป็นแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ สถิติที่ใช้ คือ หาค่าร้อยละ หาค่าเฉลี่ยเลขคณิต หาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาค่าวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบจำแนกทางเดียว จากผลการวิจัย พบว่า ด้านผลกระทบและรูปแบบของความรุนแรงในสถานที่ทำงานกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่พบเจอกับความรุนแรงทางวาจามากที่สุด ในลักษณะของการใช้น้ำเสียงตะคอก และการกล่าวตำหนิ/กล่าวโทษ ผู้กระทำความรุนแรงทั้งทางวาจาและร่างกายที่พบในสถานที่ทำงานมากที่สุด คือ ผู้ร่วมงานภายในหน่วยงานเดียวกัน ผลกระทบที่ได้รับจากเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ไม่ได้รับบาดเจ็บใดๆ และยังคงทำงานปกติ แต่ในบางรายกระทบต่อความรู้สึก จิตใจ และเลือกที่จะหยุดงาน ย้ายหน่วยงานหรือลาออก ด้านการจัดการกับความรุนแรง กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ใช้วิธีพูดคุยหรือบอกเล่าให้บุคคลอื่นรับฟัง และในกรณีที่ไม่บอกเล่าเหตุการณ์ต่อบุคคลอื่น พบว่าเห็นเป็นเรื่องไม่สำคัญและกลัวถูกมองในแง่ลบ ด้านสาเหตุของความรุนแรง กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นว่า ปัจจัยที่เป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมทางสังคมมีโอกาสส่งผลให้เกิดความรุนแรงได้มากที่สุด ซึ่งประกอบด้วย ความกดดันจากสภาวะเร่งรีบในการปฏิบัติงาน สภาวะแวดล้อมในการทำงานที่มีความเครียด และความกดดันที่เกิดจากความผิดพลาด ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างเห็นว่าความแตกต่างทางศาสนาและความเชื่อส่งผลต่อความรุนแรงในสถานที่ทำงานน้อยที่สุด แนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงควรยึดความแตกต่างเฉพาะบุคคล รูปแบบหรือลักษณะของความรุนแรงที่เกิดขึ้น และมีการนำเทคโนโลยีสำหรับการป้องกันความปลอดภัยมาใช้ นอกจากนี้ผู้บริหารขององค์กรสามารถนำผลการวิจัยมาใช้ในการจัดตั้งโครงการอบรมเพื่อเป็นการสร้างความตระหนักรู้ถึงภัยและผลกระทบของปัญหา และยังเป็นส่วนช่วยในการเตรียมความพร้อมสำหรับการจัดการ หรือการรับมือกับปัญหาความรุนแรงในสถานที่ทำงาน


Socio - Economic Determinants Of Teen Pregnancies In Mozambique, Arnaldo Timoteo Mandlate Jan 2018

Socio - Economic Determinants Of Teen Pregnancies In Mozambique, Arnaldo Timoteo Mandlate

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Teen pregnancy is considered a worldwide public health issue. According to United Nations Population Fund (2014), Mozambique was reported to be the country with the highest teen pregnancy rate in the Southern Africa region. From 2011 to 2015, the proportion of pregnant teens rose significantly from 38% to 46% (IMASIDA, 2015). Thereby, it is important to study factors leading to teen pregnancy incidence in order to draw policy recommendations in the issue. Previous studies in Mozambique applied a qualitative approach. This study fills the literature gaps using the binary logistic regression with a national cross- sectional dataset provided by IMASIDA-Demographic …


Socio-Economic And Demographic Determinants Of Modern Contraceptive Utilization Among Currently Married Women In Myanmar, Kyaw Than Min Jan 2018

Socio-Economic And Demographic Determinants Of Modern Contraceptive Utilization Among Currently Married Women In Myanmar, Kyaw Than Min

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The key purpose of this study is to explore socio-economic and demographic characteristics that influence modern contraceptive use of currently married women aged 15-49 in Myanmar. This study is contributing to fill the literature gaps at the national level. Even though there have been a number of studies on modern contraceptive use and family planning in Myanmar, these studies did not represent the whole nation. This study utilizes data from the Myanmar Demographic and Health Survey (MDHS) 2015-16, a national level cross-sectional dataset. Based on the study, the currently married women in this study included 6,597 women in Myanmar, 51 …


Socio Economic Determinants Of Spousal Violence Against Women In Myanmar, Lin Lin Mar Jan 2018

Socio Economic Determinants Of Spousal Violence Against Women In Myanmar, Lin Lin Mar

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Nowadays, the violence against women by spouses is a hidden social problem embedded in social and cultural norms in Myanmar. However, there are limited numbers of previous studies regarding spousal violence in Myanmar. Some studies utilized a qualitative approach, while some used a quantitative approach in some parts of Myanmar. This study aims to examine whether socioeconomic and demographic factors affecting spousal violence using a quantitative approach to fill the literature gap at the national level. It uses the data from the 2015-16 Myanmar Demographic and Health Survey. The explanatory variables are demographic and socio-economic characteristics of the women, their …


Impact Of Migration And Remittances On Children's Human Capital In Cambodia, Vatana Chea Jan 2018

Impact Of Migration And Remittances On Children's Human Capital In Cambodia, Vatana Chea

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This dissertation investigates the impacts of migration and remittances on human capital development of left-behind children in Cambodia. It contributes new evidence to a controversial debate in the literature on long-term impacts of migration and of remittances on the children. This is from the perspective of education, health, and consumption in remittance-recipient households compared with those in non-recipient ones. It relies on pooled data from Cambodia Socio-Economic Survey of 2009 and 2014, each of which comprises around 12,000 households in both rural and urban areas across all 25 provinces there. To evaluate the impact on household educational investment, the study …


Determinants Of Labor Force Participation Among Older Persons In Myanmar, Zaw Min Latt Jan 2018

Determinants Of Labor Force Participation Among Older Persons In Myanmar, Zaw Min Latt

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Population ageing is occurring in many parts of the world. Likewise, in Myanmar, population is ageing with a fast acceleration. The government is trying to find ways to improve wellbeing of older persons, and labour force participation is one of the important factors to reduce financial insecurity during old age. This study aims to investigate the situation of labour force participation and to identify the demographic and economic factors that influence the decision making of older people to join the labour force in Myanmar. This study uses dataset from the 2012 Survey of Older Persons in Myanmar which is nationally …


Particulate Matter 2.5 : A Case Study Of Measures And Risks In Bangkok During Early 2019, Thanabodee Lekprayura Jan 2018

Particulate Matter 2.5 : A Case Study Of Measures And Risks In Bangkok During Early 2019, Thanabodee Lekprayura

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็กมีที่มาจากหลายปัจจัย อาทิ การพัฒนาทางเศรษฐกิจ ปัญหาสิ่งแวดล้อม รวมถึงความไม่เท่าเทียมกันในสังคม ในช่วงไตรมาสแรกของปี ค.ศ. 2019 กรุงเทพมหานครถูกปกคลุมโดยฝุ่นละอองขนาดเล็กเป็นจำนวนมากหรือที่รู้จักกันในชื่อฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน ผู้ที่อยู่อาศัยในเขตตัวเมืองต่างได้รับผลกระทบจากฝุ่นละออง โดยเฉพาะปัญหาสุขภาพและการลดลงของรายได้ แม้ว่าทางรัฐบาลไทยได้มีการประกาศใช้มาตรการต่าง ๆ ในการรับมือกับปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก ประชากรกลุ่มเสี่ยงที่ซึ่งได้รับผลกระทบเป็นส่วนใหญ่กลับถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มคนที่ไม่ได้รับความสำคัญ ในบริบทนี้ การบังคับใช้มาตรการที่ดีนั้นไม่ควรมุ่งเน้นที่การลดจำนวนฝุ่นละอองขนาดเล็กเพียงอย่างเดียว หากแต่ต้องคำนึงถึงผลกระทบที่กลุ่มประชากรอาจได้รับจากมาตรการเหล่านั้นด้วย การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมาตรการของรัฐในการควบคุมปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กและความเสี่ยงต่าง ๆที่ส่งผลกระทบต่อประชากรกลุ่มเสี่ยงในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในการทำความเข้าใจความซับซ้อนของปัญหานั้น ผู้จัดทำได้ใช้วิธีการศึกษาแบบข้ามสาขาวิชา ผ่านทฤษฎี "สังคมแห่งความเสี่ยง" และทฤษฎี "ความเหลื่อมล้ำทางสิ่งแวดล้อม" โดยใช้วิธีการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม การสัมภาษณ์แบบเชิงลึกกับกลุ่มตัวอย่างที่หลากหลาย และการสืบค้นข้อมูลจากเอกสารในการรวบรวมองค์ความรู้เพื่อหาข้อสรุป จากการศึกษาพบว่าสถานการณ์ของฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอนในพื้นที่กรุงเทพมหานครมีสาเหตุการเกิดหลักจากการคมนาคม มาตรการการป้องกันและการลดฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอนที่บังคับใช้โดยรัฐ โดยมากแล้วเป็นการป้องกันปัญหาระยะสั้น ซึ่งมุ่งเน้นไปที่การลดกิจกรรมในภาคอุตสาหกรรมและการก่อสร้างมากกว่าการให้ความสำคัญกับการป้องกันระยะยาว เช่น การปรับปรุงคุณภาพของเครื่องยนต์และเชื้อเพลิง เป็นต้น นอกจากนี้จากการศึกษากลุ่มประชากรตัวอย่างพบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อความไม่เท่าเทียมในการเผชิญกับผลกระทบจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก ประกอบไปด้วย ภาระทางการเงิน มาตรการของรัฐที่อิงกับสภาพเศรษฐกิจและสังคม ราคาของอุปกรณ์ป้องกันฝุ่นละออง การเข้าถึงแหล่งที่อยู่อาศัยที่ปลอดภัยและความสามารถในการเข้าถึงการบริการของภาครัฐ รวมถึงแหล่งข้อมูลที่จำเป็น


Thai Civil Partnership Is The New Marriage Inequality : Queer Critiques On The Discourses In The Civil Partnership Bill Of State Activism Towards Marriage ‘Equality’, Thanita Wongprasert Jan 2018

Thai Civil Partnership Is The New Marriage Inequality : Queer Critiques On The Discourses In The Civil Partnership Bill Of State Activism Towards Marriage ‘Equality’, Thanita Wongprasert

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

With an equal access to legal registration becoming the international mainstream development agenda and movement of 21st century, Thailand proposed a civil partnership bill developed by the Rights and Liberties Protection Department in 2018. Although the initiative seems promisingly progressive, the drafting, legal product and outcomes that the bill promises to bring lay vigorous ground of criticisms. This thesis is the first English-language academic work that uniquely integrates theoretical outlook and arguments of queer theory where Foucauldian discourse analysis is the key concept applied to critique the discourses codified in the bill. This thesis aims to analyze how Thai discourse …


Development In Sihanoukville Under Chinese Influence, Tom Alexander Buehler Jan 2018

Development In Sihanoukville Under Chinese Influence, Tom Alexander Buehler

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The coastal city of Sihanoukville in Cambodia is undergoing rapid change caused by massive Chinese industrial and real estate investments. Why Sihanoukville is the target of these investments and how these recent developments are affecting the local Cambodians has not been studied so far. Theories of neoliberalism, globalization, and foreign direct investment were used to examine the reasons for investments and conflict theory to analyze the impacts and the consequences of increasing inequality. The research used a mainly qualitative design, including interviews with people involved in the changes. Cambodia strongly welcomes foreign direct investments and at the same time urgently …


ภาวะมีบุตรยากกับความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงการรักษา, ณัฐชานันท์ ไตรวัฒนวงษ์ Jan 2018

ภาวะมีบุตรยากกับความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงการรักษา, ณัฐชานันท์ ไตรวัฒนวงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสถานการณ์การเข้ารับการรักษาการมีบุตรยาก ความเหลื่อมล้ำในการเข้ารับการรักษาระหว่างกรุงเทพมหานครและภาคอื่นๆ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเข้ารับการรักษาการมีบุตรยาก กลุ่มตัวอย่าง คือ สตรีวัยเจริญพันธุ์อายุ 25-44 ปี สมรสเมื่ออายุ 20 ปีขึ้นไป สมรสมาแล้วอย่างน้อย 1 ปี ไม่เคยมีบุตรและมีความต้องการมีบุตร มีเพศสัมพันธ์กับคู่สมรสอย่างสม่ำเสมอ (4-6 ครั้งต่อสัปดาห์) ไม่คุมกำเนิดในระยะ 1 ปีขึ้นไป โดยใช้ข้อมูลจากการสำรวจอนามัยเจริญพันธุ์พ.ศ. 2552 ขนาดตัวอย่าง 278 ราย และข้อมูลจากการสำรวจการเปลี่ยนแปลงทางประชากรและความอยู่ดีมีสุขในบริบทสังคมสูงวัย พ.ศ. 2559 ขนาดตัวอย่าง 130 ราย สำหรับการวิเคราะห์เชิงปริมาณ นอกจากนี้ยังมีการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะเดียวกันอีก 28 ราย สำหรับการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า สตรีที่มีบุตรยากส่วนใหญ่ไม่เข้ารับการรักษาและมีแนวโน้มที่จะไม่เข้ารับการรักษาสูงขึ้น จากร้อยละ 55.9 ในพ.ศ. 2552 เพิ่มเป็นร้อยละ 65.5 ในพ.ศ. 2559 และพบว่า ในปี พ.ศ. 2552 พบความเหลื่อมล้ำในการเข้ารับการรักษาระหว่างกรุงเทพมหานครและภาคอื่นๆ ในขณะที่พ.ศ. 2559 ไม่พบความเหลื่อมล้ำ อย่างไรก็ตามพบว่าในปีพ.ศ. 2552 สตรีที่มีอายุแรกสมรส จำนวนปีที่สมรส จำนวนบุตรที่ต้องการ การวางแผนครอบครัว ระดับการศึกษา การทำงาน และการครอบครองที่อยู่อาศัยที่ต่างกันจะเข้ารับการรักษาแตกต่างกันระหว่างกรุงเทพมหานครและภาคอื่นๆ ในขณะที่ ในปี พ.ศ. 2559 พบว่า สตรีที่มีอายุแรกสมรสแตกต่างกันเท่านั้น ที่จะเข้ารับการรักษาต่างกันระหว่างกรุงเทพมหานครและภาคอื่นๆและเมื่อพิจารณาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเข้ารับการรักษา พบว่า ในปี พ.ศ. 2552 ปัจจัยด้านอายุแรกสมรส จำนวนปีที่สมรส ภาค ระดับการศึกษา การทำงาน และการครอบครองที่อยู่อาศัย มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเข้ารับการรักษาการมีบุตรยาก ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ในขณะที่ในปี พ.ศ. 2559 พบว่า จำนวนปีที่สมรส และการวางแผนครอบครัวเท่านั้นที่มีความสัมพันธ์กับการเข้ารับการรักษาการมีบุตรยาก ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า สตรีที่มีบุตรยากที่เข้ารับการรักษาจะให้ความสำคัญกับการวางแผนครอบครัว และจำนวนปีที่สมรส ในขณะที่ กลุ่มที่ไม่เข้ารับการรักษาจะเห็นคุณค่าการมีบุตรแต่ไม่เห็นความสำคัญของวางแผนครอบครัว อายุแรกสมรส …


อิทธิพลของความรักความเข้าใจในครอบครัวต่อคุณธรรมจริยธรรมของเด็กและเยาวชนไทย, มนทกานติ์ รอดคล้าย Jan 2018

อิทธิพลของความรักความเข้าใจในครอบครัวต่อคุณธรรมจริยธรรมของเด็กและเยาวชนไทย, มนทกานติ์ รอดคล้าย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของความรักความเข้าใจในครอบครัวที่เกิดขึ้นระหว่างเด็กและเยาวชนกับครอบครัวของตนต่อคุณธรรมจริยธรรมของเด็กและเยาวชน โดยศึกษาสถานการณ์ความรักความเข้าใจในครอบครัวและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งศึกษาวิธีการและแนวทางการเลี้ยงดูลูกของพ่อแม่ผู้ปกครอง แบบแผนการวิจัยเป็นแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยข้อมูลเชิงปริมาณที่ใช้นำมาจากข้อมูลทุติยภูมิจากโครงการสำรวจสถานการณ์เด็กและเยาวชนไทย พ.ศ.2558: ตามกรอบคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ที่ได้รับการอนุเคราะห์จากวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และวิเคราะห์ข้อมูลรวมถึงเปรียบเทียบผลการศึกษาด้วยสถิติการถดถอยพหุคูณ ในขณะที่การวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อให้ทราบมุมมองและแนวทางการเลี้ยงดูลูกของพ่อแม่ที่เกี่ยวข้องกับคุณธรรมจริยธรรมของเด็กและเยาวชน ผลการศึกษาพบว่า ความรักความเข้าใจในครอบครัวมีอิทธิพลต่อคุณธรรมจริยธรรมของเด็กเป็นอย่างมากและเป็นไปในทางบวก โดยหากเด็กและเยาวชนได้รับความรักความเข้าใจในครอบครัวมากจะมีความสัมพันธ์ต่อคุณธรรมจริยธรรมส่วนตนให้เป็นไปในทางบวกเช่นกัน นอกจากนี้ปัจจัยลักษณะประชากรของเด็กและเยาวชนบางประการมีอิทธิพลต่อคุณธรรมจริยธรรมของเด็กเช่นกัน ประกอบด้วย ภาคที่อยู่อาศัย เพศ อายุ และการศึกษา ในขณะที่มีปัจจัยลักษณะครัวเรือนเพียงบางประการเท่านั้นที่มีความสัมพันธ์กับคุณธรรมจริยธรรม และปัจจัยลักษณะผู้ปกครองเป็นเพียงปัจจัยเดียวที่ไม่มีความสัมพันธ์กับคุณธรรมจริยธรรม นอกจากนี้ผลการศึกษาเชิงคุณภาพพบว่า พ่อแม่เลี้ยงดูลูกด้วยความเอาใจใส่และพร้อมที่จะให้ความรักความเข้าใจแก่ลูกอยู่เสมอ อีกทั้งยังตระหนักและมุ่งเน้นที่จะปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมพื้นฐานแก่ลูกของตนโดยคุณธรรมหลักที่เน้นปลูกฝังได้แก่ ความซื่อสัตย์และรับผิดชอบต่อหน้าที่โดยมุ่งหวังให้ลูกเป็นคนดีของครอบครัวและสังคม การศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปเป็นแนวทางในการวางแผนและจัดทำยุทธศาสตร์ในการพัฒนาครอบครัวอย่างถูกวิธี เพื่อส่งเสริมการให้ความรักความเข้าใจในครอบครัวอันจะช่วยเสริมสร้างผลผลิตหรือเด็กและเยาวชนที่มีคุณธรรมจริยธรรมอันเป็นสมาชิกของสังคมที่มีคุณภาพ


การปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงระหว่างพิจารณาคดีในประเทศไทยตามข้อกำหนดกรุงเทพ (Bangkok Rules), สตรีรัตน์ แสงวิเชียร์ Jan 2018

การปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงระหว่างพิจารณาคดีในประเทศไทยตามข้อกำหนดกรุงเทพ (Bangkok Rules), สตรีรัตน์ แสงวิเชียร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่อง "การปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงระหว่างพิจารณาคดีในประเทศไทยตามข้อกำหนด (Bangkok Rules" นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงระหว่างพิจารณาคดีในทัณฑสถานหญิงและเรือนจำที่ควบคุมผู้ต้องขังหญิงในประเทศไทยและแนวทางการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงระหว่างพิจารณาคดีในประเทศไทยให้สอดคล้องตามข้อกำหนดกรุงเทพ (Bangkok Rules) การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผู้ต้องขังหญิงระหว่างพิจารณาคดีที่อาศัยอยู่ในเรือนจำ/ทัณฑสถานตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไปจำนวน 9 คน ผู้ซึ่งถูกควบคุมตัวอยู่ในทัณฑสถานหญิงธนบุรี เรือนจำกลางสมุทรสงคราม และเรือนจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อีกทั้งสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานรวม 6 คน และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านทัณฑวิทยา ผลการศึกษาพบว่าปัญหาการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงระหว่างพิจารณาคดีในทัณฑสถานหญิงและเรือนจำ ได้แก่ ปัญหาด้านสถานที่คับแคบไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้ต้องขัง ส่งผลให้ไม่สามารถแยกคุมขังได้ รวมถึงพื้นที่ไม่มีสัดส่วนในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้านงบประมาณจากรัฐไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้ต้องขัง ระยะเวลาทำกิจกรรมส่วนตัวไม่เพียงพอ/การไม่มีน้ำใช้ คุณภาพอาหารของเรือนจำบางแห่งไม่เหมาะสม การเยี่ยมญาติของเรือนจำบางแห่งแตกต่างจากที่อื่น ซึ่งให้เยี่ยมน้อยเกินไป ผู้ต้องขังที่ป่วยเป็นโรคเฉพาะไม่ได้รับการรักษาอย่างเต็มที่ อีกทั้งเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้ต้องขังและขาดเจ้าหน้าที่ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง และขาดมาตรการทางเลือกในการเลี่ยงผู้กระทำผิดเข้าสู่เรือนจำ การค้นพบที่สำคัญในการวิจัยครั้งนี้คือ เรื่องการตรวจค้นตัวผู้ต้องขังที่อดีตเคยมีการค้นลุกล้ำเข้าไปในร่างกาย ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนเป็นอย่างยิ่ง โดยจากการศึกษาไม่พบการปฏิบัติเช่นนั้นแก่ผู้ต้องขังแล้ว ข้อเสนอแนะจากผลการศึกษา มีดังนี้ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย 1)ข้อเสนอให้มีการลดการควบคุมผู้ต้องขังหญิงระหว่างพิจารณาคดีในเรือนจำ 2)ข้อเสนอให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพรบ.ราชทัณฑ์ ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงระหว่างพิจารณาคดีให้มีความชัดเจน 3)ควรมีการใช้มาตรการเลี่ยงโทษจำคุก ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติการต่อทัณฑสถาน 1)ควรเพิ่มอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ในสัดส่วนที่มากขึ้น 2) ควรเพิ่มเวลาการทำกิจกรรมส่วนตัว ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติการต่อเรือนจำชายที่มีแดนหญิง 1) ควรเพิ่มอัตรากำลังเจ้าหน้าที่และเจ้าหน้าที่ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะ 2)ควรปรับปรุงคุณภาพและปริมาณของอาหารให้เพิ่มมากขึ้น 3) ควรเพิ่มการเยี่ยมญาติ 4) ควรให้เจ้าหน้าที่คัดกรองผู้ต้องขังหญิงระหว่างพิจารณาคดีที่มีโรคประจำตัวเพื่อรับการรักษาที่ต่อเนื่องและป้องกันไม่ให้มีอาการที่รุนแรงมากขึ้น


มาตรการป้องกันปัญหาความรุนแรงในนักเรียนอาชีวศึกษาในเขตกรุงเทพ และปริมณฑล, อิสเรศวร์ ลักษมีพิเชษฐ์ Jan 2018

มาตรการป้องกันปัญหาความรุนแรงในนักเรียนอาชีวศึกษาในเขตกรุงเทพ และปริมณฑล, อิสเรศวร์ ลักษมีพิเชษฐ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ศึกษาสภาพปัญหาการใช้ความรุนแรงในนักเรียนอาชีวศึกษา ศึกษาสาเหตุที่ทำให้เกิดการใช้ความรุนแรงในนักเรียนอาชีวศึกษาและศึกษามาตรการป้องกันปัญหาความรุนแรงในนักเรียนอาชีวศึกษาในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยผู้ให้ข้อมูลคนสำคัญประกอบด้วยนักเรียนอาชีวศึกษาใน 5 จังหวัด จำนวน 10 คน เจ้าหน้าที่ภาครัฐและเจ้าหน้าที่ภาคประชาสังคม จำนวน 27 คน ทำการการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์ ผลการศึกษาพบว่า 1. สภาพปัญหาการใช้ความรุนแรงที่ในนักเรียนอาชีวศึกษาในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล พบว่า ระดับความรุนแรงที่เกิดขึ้นนั้น พบว่า ส่วนใหญ่มีระดับความรุนแรงคือได้รับบาดเจ็บ บาดเจ็บสาหัส พิการและเสียชีวิต ความถี่ในการเกิดความรุนแรงในเด็กและเยาวชนมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นตามลำดับเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม นอกจากนั้นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเกิดขึ้นในช่วงวันจันทร์ถึงวันศุกร์ซึ่งเป็นวันปกติที่นักเรียนอาชีวศึกษาใช้ความรุนแรง เวลาส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในก่อนเรียนในช่วงเช้าและหลังเลิกเรียน และเกิดขึ้น 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ มากสุด 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ ส่วนลักษณะของอาวุธที่ใช้ที่ทำให้เกิดการใช้ความรุนแรงของนักเรียนอาชีวศึกษา คือ ไม้ มีด ปืน และอื่นๆ ที่เป็นอาวุธที่สามารถใช้ความรุนแรงได้ ซึ่งจากสภาพปัญหาการที่กล่าวมาทั้งหมดจึงเกิดผลกระทบต่อนักเรียนอาชีวศึกษา สถาบัน/โรงเรียน ครอบครัว ชุมชนและสังคม 2. สาเหตุที่ทำให้เกิดการใช้ความรุนแรงในนักเรียนอาชีวศึกษาในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลมีสาเหตุสำคัญประกอบด้วย สภาพครอบครัว เช่น ครอบครัวไม่มีเวลาดูแล พ่อแม่แยกทางกัน รวมถึงบุคคลอื่นในครอบครัวมีผลต่อการใช้ความรุนแรง รุ่นพี่และเพื่อน ได้รับการปลูกฝังจากกลุ่มเพื่อนและรุ่นพี่ ช่วยกันปลูกฝังสิ่งที่ผิด สภาพสังคมในวิทยาลัยอาชีวศึกษา สภาพสังคมในวิทยาลัยเป็นสิ่งที่หล่อหลอมพฤติกรรมของเด็กนักเรียน รุ่นพี่และรุ่นน้องที่ถ่ายทอดพฤติกรรมที่ผิดต่อสังคมจากรุ่นสู่รุ่น 2.4 สื่อและเทคโนโลยีด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีจึงส่งผลให้รุ่นพี่สามารถให้ข้อมูลและถ่ายทอดกันไปรุ่นสู่รุ่นน้องได้ สถาบันการศึกษามีความขัดแย้งกันซึ่งกันและกันมาอย่างยาวนาน ความกดดันในสถานศึกษาและ กฎหมายและระเบียบปฏิบัติกฎหมายมีการกำหนดโทษเบาจนเกินไป 3. มาตรการป้องกันปัญหาความรุนแรงในนักเรียนอาชีวศึกษาในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลที่สำคัญประกอบด้วย 3.1 มาตรการป้องกันด้านครอบครัว 3.2 มาตรการป้องกันด้านเพื่อนและรุ่นพี่ 3.3 มาตรการป้องกันด้านสภาพสังคมในวิทยาลัยอาชีวศึกษา 3.4 มาตรการป้องกันด้านความกดดัน 3.5 มาตรการป้องกันด้านกฎหมาย 3.6 มาตรการป้องกันด้านสถาบันการศึกษา 3.7 มาตรการป้องกันด้านสื่อและเทคโนโลยี 3.8 มาตรการป้องกันด้านศาสนา


มองผ่านสายตา “มาเฟียรัสเซีย”: การวิเคราะห์รูปแบบองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติในบริบทสังคมไทย, แสงโสม กออุดม Jan 2018

มองผ่านสายตา “มาเฟียรัสเซีย”: การวิเคราะห์รูปแบบองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติในบริบทสังคมไทย, แสงโสม กออุดม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่อง มองผ่านสายตา "มาเฟียรัสเซีย": การวิเคราะห์รูปแบบองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติในบริบทสังคมไทย มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเพื่อศึกษาพฤติกรรมและรูปแบบการประกอบอาชญากรรมของมาเฟียรัสเซียในประเทศไทย ตลอดจนมูลเหตุจูงใจและทัศนะหรือมุมมองของมาเฟียรัสเซียด้านบริบทสังคมไทยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้ามาประกอบอาชญากรรม อันจะนำไปสู่แนวทางในการป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหาการเข้ามาประกอบอาชญากรรมของมาเฟียรัสเซีย โดยใช้วิธีการในการดำเนินการวิจัย คือ การวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกเจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง เจ้าหน้าที่ตำรวจสากล และผู้ต้องขังเชื้อชาติรัสเซีย ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มผู้กระทำผิดมาเฟียรัสเซียมีพฤติกรรมและรูปแบบการประกอบอาชญากรรม ได้แก่ การปลอมแปลงและคัดลอกข้อมูลด้วยการสกิมมิ่งบัตรอิเล็กทรอนิกส์ การค้าและลักลอบจำหน่ายยาเสพติด การลักลอบนำหญิงสาวจากประเทศยุโรปตะวันออกเข้ามาค้าประเวณี การประกอบธุรกิจการพนัน และการฟอกเงิน ทั้งนี้ มูลเหตุจูงใจที่ทำให้มาเฟียรัสเซียเข้ามากระทำผิดในประเทศไทย เช่น ความต้องการเงินหรือผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ การไม่เกรงกลัวต่อบทลงโทษ ความกดดันที่เกิดขึ้นจากสภาพปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมในประเทศรัสเซีย และผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่มีความทับซ้อนของประเทศไทย อย่างไรก็ตาม ทัศนะหรือมุมมองทางบริบทสังคมไทยด้านสภาพแวดล้อม วัฒนธรรม ระบบการบริหาร สภาพภูมิศาสตร์ และระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยส่งผลต่อกระบวนการตระหนักรู้ของมาเฟียรัสเซีย อันนำมาสู่ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการจัดทำฐานข้อมูลของอาชญากรสัญชาติรัสเซีย ตลอดจนการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างประเทศในการปราบปรามมาเฟียรัสเซีย เป็นต้น


การตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมจากการกระทำผิดในโลกอินเทอร์เน็ต: ศึกษากรณีการรังแกกันในโลกไซเบอร์ในรูปแบบการคุกคามทางเพศในเขตกรุงเทพมหานคร, กชพรรณ มณีภาค Jan 2018

การตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมจากการกระทำผิดในโลกอินเทอร์เน็ต: ศึกษากรณีการรังแกกันในโลกไซเบอร์ในรูปแบบการคุกคามทางเพศในเขตกรุงเทพมหานคร, กชพรรณ มณีภาค

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่อง "การตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมจากการกระทำผิดในโลกอินเทอร์เน็ต: ศึกษากรณีการรังแกกันในโลกไซเบอร์ในรูปแบบการคุกคามทางเพศในเขตกรุงเทพมหานคร" มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัจจัยและผลกระทบจากการตกเป็นเหยื่อการรังแกกันในโลกไซเบอร์ในรูปแบบการคุกคามทางเพศในเขตกรุงเทพมหานคร อันนำไปสู่การแนวทางในการป้องกันหรือลดโอกาสการตกเป็นเหยื่อการรังแกกันในโลกไซเบอร์ ในรูปแบบการคุกคามทางเพศ โดยใช้วิธีการในการดำเนินการวิจัยคือการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ตกเป็นเหยื่อการรังแกกันในโลกไซเบอร์ ในเขตกรุงเทพมหานคร การเลือกประชากรและกลุ่มตัวอย่างด้วยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจงโดยใช้เทคนิคแบบลูกโซ่ ทั้งผู้เสียหายที่เข้าแจ้งความและผู้เสียหายที่ไม่ได้เข้าแจ้งความ จำนวน 10 ราย ผู้วิจัยนำข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์และข้อมูลจากเอกสาร นำมาวิเคราะห์และประมวลผล โดยเชื่อมโยงในลักษณะการพรรณนา ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยการตกเป็นเหยื่อการรังแกกันในโลกไซเบอร์ ในรูปแบบการคุกคามทางเพศ ประกอบด้วย ปัจจัย 3 ปัจจัยหลักคือ 1) พฤติกรรมประมาท บุคลิกภาพอ่อนแอ มั่นใจในตนเองต่ำ และลักษณะทางชีวภาพ เช่น เด็ก ผู้เยาว์ และผู้หญิง 2) ความเป็นนิรนามของพื้นทีไซเบอร์ 3) ภาวะขาดการควบคุมดูแลจากครอบครัวและผู้ปกครอง ผลการศึกษาถึงผลกระทบจากการตกเป็นเหยื่อการรังแกกันในโลกไซเบอร์ ในรูปแบบการคุกคามทางเพศ พบว่า มีผลกระทบต่อ ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และด้านสังคม เช่น ปวดหัว นอนไม่หลับ เครียด หวาดระแวง เป็นโรคซึมเศร้า และเสื่อมเสียชื่อเสียง อีกทั้ง พบว่าผลกระทบในระดับที่รุนแรงที่สุด คือ การคิดฆ่าตัวตาย ผลการศึกษาได้นำมาสู่แนวทางในการป้องกันหรือลดโอกาสการตกเป็นเหยื่อการรังแกกันในโลกไซเบอร์ ในรูปแบบการคุกคามทางเพศ เช่น การจัดการกับพฤติกรรมการเข้าสู่โลกไซเบอร์ และรัฐบาลควรควบคุมสื่อออนไลน์ให้ชัดเจน เช่น การลงทะเบียนการใช้ซิมการ์ด และการขึ้นทะเบียนของสื่อออนไลน์ต่างประเทศ


การศึกษาความเป็นไปได้ทางเทคนิคและทางกฎหมายในการนำ "Blockchain" มาใช้ป้องกันการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินโดยมิชอบ, กรกช ชิระปัญญา Jan 2018

การศึกษาความเป็นไปได้ทางเทคนิคและทางกฎหมายในการนำ "Blockchain" มาใช้ป้องกันการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินโดยมิชอบ, กรกช ชิระปัญญา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ทางเทคนิคและทางกฎหมายในการนำ "Blockchain" มาใช้ป้องกันการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินโดยมิชอบเพื่อศึกษาสภาพปัญหาและรูปแบบ การออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินโดยมิชอบในปัจจุบัน ว่ามีลักษณะและรูปแบบเป็นอย่างไร ศึกษาความเป็นไปได้ทางเทคนิคและทางกฎหมายในการนำ "Blockchain" มาใช้ป้องกันการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินโดยมิชอบ เพื่อเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินโดยมิชอบ และป้องกันปัญหาการคอรัปชั่นของเจ้าหน้าที่ รวมทั้งข้อเสนอเชิงนโยบายในการตัดสินใจนำ"Blockchain" มาใช้ในการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ การศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า Blockchain มีข้อดีในด้านความโปร่งใสในการทำธุรกรรม เนื่องจากระบบดังกล่าวเมื่อได้รับฉันทามติจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว เจ้าหน้าที่ไม่สามารถเข้าไปแก้ไขธุรกรรมดังกล่าวได้อีก รวมทั้งสามารถนำมาใช้ตรวจสอบขั้นตอนและกระบวนการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินว่าเจ้าหน้าที่ได้ปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมายหรือไม่ อีกทั้งป้องกันการปลอมแปลงหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินที่ได้มีการออกไปแล้วได้ ซึ่งสามารถป้องกันการคอร์รัปชั่นของเจ้าหน้าที่ได้เป็นอย่างดีจากการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการนำ Blockchain มาใช้ในการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินเพื่อป้องกันการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินโดยมิชอบ พบว่ามีความเป็นไปได้ทางด้านเทคนิคในการตรวจสอบถ่วงดุลการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินของกรมที่ดินกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นอกจากนั้นยังช่วยลดระยะเวลาการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินจากเดิมที่ใช้ระยะเวลา 153 วัน ลดลงเหลือ เพียง 3 วัน รวมทั้งความเป็นไปได้ทางด้านกฎหมายยังสามารถแก้ไขกฎกระทรวงหรือออกระเบียบที่สามารถแก้ไขเพิ่มเติมในการนำBlockchain มาใช้ในการป้องกันการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินโดยมิชอบแทนวิธีการเดิมในปัจจุบันได้