Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Communication Technology and New Media Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

PDF

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Theses/Dissertations

2019

Articles 1 - 30 of 71

Full-Text Articles in Communication Technology and New Media

พฤติกรรมผู้บริโภคและคุณค่าตราสินค้าของแอปเปิ้ลวอทช์, ปรัชธินีย์ ชนะโอภาส Jan 2019

พฤติกรรมผู้บริโภคและคุณค่าตราสินค้าของแอปเปิ้ลวอทช์, ปรัชธินีย์ ชนะโอภาส

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงสำรวจในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมผู้บริโภคต่อสินค้า Apple Watch ซึ่งได้แก่ การรับรู้ของผู้บริโภค ทัศนคติของผู้บริโภค พฤติกรรมการซื้อสินค้า และความพึงพอใจของผู้บริโภค และ 2) คุณค่าตราสินค้า Apple ของผู้บริโภค อันประกอบด้วย การตระหนักรู้ในตราสินค้า การเชื่อมโยงตราสินค้า คุณภาพของตราสินค้าที่ถูกรับรู้ และความภักดีต่อตราสินค้า โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเพศชายและเพศหญิง อายุระหว่าง 25-35 ปี จำนวน 211 คน ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร รวมถึงเป็นผู้ซื้อและใช้สินค้า Apple Watch มาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริโภคมีพฤติกรรมต่อ Apple Watch และคุณค่าตราสินค้าต่อ Apple ทั้ง 4 ตัวแปรย่อยในเชิงบวกทุกตัวแปรย่อยที่วัด นอกจากนั้น พฤติกรรมผู้บริโภคต่อสินค้า Apple Watch ทั้ง 4 ตัวแปรย่อย มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับคุณค่าตราสินค้า Apple อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


การเปิดรับข่าวสาร ความรู้ และภาพลักษณ์กองทัพเรือ ของผู้ใช้เฟซบุ๊กแฟนเพจกองประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ, นงลักษณ์ จิตต์อารีย์ Jan 2019

การเปิดรับข่าวสาร ความรู้ และภาพลักษณ์กองทัพเรือ ของผู้ใช้เฟซบุ๊กแฟนเพจกองประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ, นงลักษณ์ จิตต์อารีย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) ด้วยการใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจ (Survey research) โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ (Online questionnaire) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และทำการศึกษากับกลุ่มตัวอย่างเฉพาะผู้ติดตามเฟซบุ๊กแฟนเพจกองประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ จำนวน 200 คน ช่วงเวลาที่เก็บแบบสอบถามคือเดือนมิถุนายน 2563 และประมวลผลข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS ผลการวิจัย มีดังนี้ 1) ผู้ติดตามเฟซบุ๊กแฟนเพจกองประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ รู้จักเฟซบุ๊กแฟนเพจจากที่เพื่อนแบ่งปัน (Share) ข้อมูลในช่องทางออนไลน์ อาทิ เว็บไซต์ เฟซบุ๊ก ไลน์ เป็นต้น 2) ค่าเฉลี่ยการเปิดรับข่าวสารโดยรวมอยู่ในระดับน้อย 3) ความถี่ในการเห็นโพสต์จากหน้า New Feed 1 - 2 ครั้งต่อสัปดาห์ 4) ความถี่ในการเข้าชมแฟนเพจ 1 - 2 ครั้ง ต่อสัปดาห์ 5) ค่าเฉลี่ยระยะเวลาในการเข้าชมแฟนเพจแต่ละครั้งน้อยกว่า 15 นาที 6) มีความสนใจในเนื้อหาของเพจเรื่องการชี้แจงเหตุการณ์ที่สังคมกำลังให้ความสนใจเกี่ยวกับกองทัพเรือมากที่สุด 7) มีความรู้เกี่ยวกับกองทัพเรืออยู่ในระดับสูง 8) มีความคิดเห็นต่อภาพลักษณ์กองทัพเรือในเชิงบวกอยู่ในระดับมากที่สุด 9) มีความคิดเห็นต่อภาพลักษณ์กองทัพเรือในเชิงบวกด้านการดำเนินงานของกองทัพเรือมากที่สุด 10) การเปิดรับข่าวสาร ไม่มีความสัมพันธ์กับ ความรู้เกี่ยวกับกองทัพเรือ 11) การเปิดรับข่าวสาร มีความสัมพันธ์กับ ความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพลักษณ์กองทัพเรือ 12) ความรู้เกี่ยวกับกองทัพเรือ มีความสัมพันธ์กับ ความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพลักษณ์กองทัพเรือ


พฤติกรรมผู้ปกครองต่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยผ่านยูทูบ, ณัฐนรี ทินนโชติ Jan 2019

พฤติกรรมผู้ปกครองต่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยผ่านยูทูบ, ณัฐนรี ทินนโชติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงสำรวจในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมผู้ปกครองต่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยผ่าน YouTube รวมถึงศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติและพฤติกรรมของผู้ปกครองต่อการรับชม YouTube ของเด็ก โดยเก็บข้อมูลกับผู้ปกครอง อายุระหว่าง 26 ถึง 56 ปี และมีบุตรหลานที่กำลังศึกษาในชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึง 3 จำนวน 217 คน ผลการวิจัยพบว่า โดยรวมผู้ปกครองมีทัศนคติเชิงบวกต่อการรับชม YouTube ของเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งทัศนคติด้านการรับชม YouTube ทำให้เกิดการเรียนรู้ใหม่ๆ พัฒนาการด้านภาษา และพัฒนาการจากความรู้ต่างประเทศ และผู้ปกครองส่วนใหญ่มีพฤติกรรมเชิงบวกต่อการรับชม YouTube โดยเน้นไปที่ด้านการให้ความรู้กับเด็กเกี่ยวกับสื่อ นอกจากนี้ยังพบว่า ทัศนคติรวมและพฤติกรรมของผู้ปกครองต่อการรับชม YouTube ของเด็กมีความสัมพันธ์กันในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


The Relationship Between Brand Experience And Brand Equity Of Marimekko, Bundaree Deewong Jan 2019

The Relationship Between Brand Experience And Brand Equity Of Marimekko, Bundaree Deewong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objectives of this research are as of following: to explore brand experience and brand equity of Marimekko and to explore the relationship among these two variables. The respondents of this research are two hundred and three Thai women who are first-jobbers, living in Bangkok, aged between 18 to 25 years old and recently bought Marimekko’s products in the past six months. The results depicted that the respondents had a positive opinion on brand experience of Marimekko (M = 3.67). Emotional experience receives the highest mean score (M = 4.18). In contrast, the lowest mean score was social experience (M …


The Effect Of Sales Promotion Types On Consumer Behavior, Warisra Wacharakorn Jan 2019

The Effect Of Sales Promotion Types On Consumer Behavior, Warisra Wacharakorn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objective of this research was to explore the effect of sales promotion type on consumer attitude and consumer purchase intention. The independent variable of this study included price-off and premium sales promotion. In addition, this research also explored the relationship between consumer attitude towards sales promotion type and consumer purchase intention. The dependent variables were consumer attitude and consumer purchase intention. The product used in the experiment was drinking water, a low involvement product. The study was conducted using the posttest only design. The data was collected from seventy seven undergraduate students at Chulalongkorn University at the end of …


การพัฒนาแบบจำลองการวัดแนวคิดมุ่งเน้นตราสินค้าขององค์กรที่ไม่ใช่ภาคธุรกิจเพื่อประยุกต์ใช้ในการสื่อสารองค์กร, กนก อมรปฏิพัทธ์ Jan 2019

การพัฒนาแบบจำลองการวัดแนวคิดมุ่งเน้นตราสินค้าขององค์กรที่ไม่ใช่ภาคธุรกิจเพื่อประยุกต์ใช้ในการสื่อสารองค์กร, กนก อมรปฏิพัทธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจองค์ประกอบการวัดแนวคิดมุ่งเน้นตราสินค้า 2) พัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของมาตรวัดแนวคิดมุ่งเน้นตราสินค้า และ 3) ตรวจสอบแบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุแนวคิดมุ่งเน้นตราสินค้ากับผลการดำเนินงานขององค์กรที่ไม่ใช่ภาคธุรกิจ โดยในกระบวนการพัฒนามาตรวัดนี้ เริ่มต้นจากการทบทวนความหมายระดับแนวคิด และองค์ประกอบของการวัดแนวคิดมุ่งตราสินค้า จากนั้นจึงดำเนินการเก็บข้อมูล และวิเคราะห์ผลข้อมูล 3 ขั้นตอนตามลำดับ ดังนี้ 1) การสัมภาษณ์เชิงลึกกับนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 11 ท่าน เพื่อนำไปพัฒนาเนื้อหาข้อคำถามเพิ่มเติม 2) การประเมินมิติของการวัด และ 3) การตรวจสอบหลักฐานความตรงตามโครงสร้าง การสำรวจทางไปรษณีย์ในระยะที่หนึ่งกับกลุ่มตัวอย่างซึ่งทำงานอยู่ในระดับบริหาร และระดับผู้จัดการชาวไทยที่รับผิดชอบหลักในงานบริหารทรัพยากรมนุษย์ งานวางแผนกลยุทธ์การตลาดองค์กร และงานสื่อสารองค์กรที่ไม่ใช่ภาคธุรกิจ จำนวน 114 คน ผลการประเมินมิติที่เหมาะสมตรงตามโครงสร้างการวัดใช้วิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ โดยมีเนื้อหาข้อคำถามรวมจำนวน 59 ข้อ สามารถจำแนกได้เป็น 7 องค์ประกอบตามกรอบแนวคิด คือ มิติค่านิยมมุ่งเน้นตราสินค้า 1) การมุ่งเน้นตราสินค้าภายใน 2) วัฒนธรรมตราสินค้า มิติบรรทัดฐานมุ่งเน้นตราสินค้า 3) การสื่อสารแบบผสมผสาน 4) การมีเป้าประสงค์ร่วมกัน มิติสัญลักษณ์มุ่งเน้นตราสินค้า 5) การบริหารเอกลักษณ์ตราสินค้า และมิติพฤติกรรมมุ่งเน้นตราสินค้า 6) การสร้างสัมพันธ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก 7) การสร้างสัมพันธ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน ส่วนผลการวิเคราะห์แบบจำลองการวัดจากชุดข้อมูลที่สำรวจทางไปรษณีย์ในระยะที่สอง จำนวน 235 คน ยืนยันองค์ประกอบตามโครงสร้างและได้มาตรวัดที่มีข้อคำถามทั้งหมดจำนวน 49 ข้อ ซึ่งผ่านเกณฑ์การทดสอบคุณภาพความเที่ยง ความตรงเชิงเหมือน และความตรงเชิงจำแนก นอกจากนี้ ผลการตรวจสอบทิศทางความสัมพันธ์ พบว่า องค์ประกอบวัฒนธรรมตราสินค้าส่งผลต่อการดำเนินงานองค์กรในภาพรวม และองค์ประกอบการมุ่งเน้นตราสินค้าภายใน กับการสร้างสัมพันธ์ผู้มีส่วนได้ส่วนภายในส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย


รูปแบบการดำเนินชีวิต พฤติกรรมการเปิดรับสื่อ และพฤติกรรมการซื้ออาหารเพื่อสุขภาพของมิลเลนเนียลไทย, ณัฐชนา ศรีวิทยา Jan 2019

รูปแบบการดำเนินชีวิต พฤติกรรมการเปิดรับสื่อ และพฤติกรรมการซื้ออาหารเพื่อสุขภาพของมิลเลนเนียลไทย, ณัฐชนา ศรีวิทยา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้บริโภคมิลเลนเนียลไทยสายสุขภาพ พฤติกรรมการเปิดรับสื่อ พฤติกรรมการซื้ออาหารเพื่อสุขภาพ ตลอดจนความสัมพันธ์ของพฤติกรรมการเปิดรับสื่อและพฤติกรรมการซื้ออาหารเพื่อสุขภาพของมิลเลนเนียลไทย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้บริโภคมิลเลนเนียลจำนวน 400 คน เกิดในช่วงปี พ.ศ. 2523 – 2543 และเคยซื้ออาหารเพื่อสุขภาพในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการวิเคราะห์เชิงพรรณนา การวิเคราะห์ปัจจัยหรือองค์ประกอบ และสถิติการวิเคราะห์เชิงอนุมานโดยใช้การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการดำเนินชีวิตของมิลเลนเนียลไทยสายสุขภาพ แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มรูปแบบการดำเนินชีวิตแบบใส่ใจสุขภาพ (The Health-conscious group) 2) กลุ่มรูปแบบการดำเนินชีวิตแบบรักนวัตกรรมและห่วงใยสิ่งแวดล้อม (The innovation and environment lover group) และ 3) กลุ่มรูปแบบการดำเนินชีวิตแบบตามกระแสนิยม (The fashionable group) พฤติกรรมการเปิดรับสื่อที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับสุขภาพในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมิลเลนเนียลเลือกใช้เว็บไซต์สื่อสังคมออนไลน์มากที่สุด ด้านพฤติกรรมการซื้ออาหารเพื่อสุขภาพ พบว่า มิลเลนเนียลนิยมซื้อน้ำผักผลไม้สกัด เครื่องดื่มสมุนไพร สถานที่ที่นิยมซื้ออาหารเพื่อสุขภาพ ได้แก่ ซูเปอร์มาร์เก็ต ห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ ทั้งนี้ พฤติกรรมการเปิดรับสื่อเกี่ยวกับสุขภาพทั้งในด้านความถี่ในการเปิดรับสื่อเกี่ยวกับสุขภาพ และระยะเวลาในการเปิดรับสื่อเกี่ยวกับสุขภาพ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้ออาหารเพื่อสุขภาพในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01


ภาพสะท้อนความโรแมนติกของผู้ก่อการร้ายในภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร, ณัฐวุฒิ นาคง Jan 2019

ภาพสะท้อนความโรแมนติกของผู้ก่อการร้ายในภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร, ณัฐวุฒิ นาคง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้มุ่งศึกษาลักษณะของผู้ก่อการร้ายที่ตัวละครวายร้ายสะท้อนในภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร การสร้างความโรแมนติกให้กับตัวละครวายร้าย และ สัมพันธ์ระหว่างผู้ก่อการร้ายและตัวละครวายร้าย โดยอาศัยแนวคิดการก่อการร้าย แนวคิดโรแมนติกนิยมและการสร้างตัวละคร และ แนวคิดภาพตัวแทนและการจำลอง เพื่อวิเคราะห์ตัวบท (Textual Analysis) ของภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโรดังต่อไปนี้ Avengers: Age of Ultron Captain America: Civil War Black Panther Avengers: Infinity War และ Endgame และ Aquaman ผลการศึกษาพบว่าตัวละครวายร้ายในภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโรเป็นภาพตัวแทนของผู้ก่อการร้ายที่มีความโรแมนติกและความเป็นมนุษย์มากขึ้น ขัดแย้งกับความเชื่อที่ผิดเกี่ยวกับผู้ก่อการร้ายที่แพร่หลาย ภาพของผู้ก่อการร้ายจึงสอดคล้องกับความเป็นจริงมากขึ้น นอกจากนี้ตัวละครวายร้ายยังนำเสนอคุณค่าและปัญหาทางสังคมที่เป็นที่สนใจในสังคมสมัยใหม่ เช่น การเหยียดชาติพันธุ์ การทำลายสิ่งแวดล้อม การใช้ความรุนแรง ฯลฯ ตัวละครวายร้ายที่มีความโรแมนติกยังสะท้อนการถดถอยของความเชื่อมั่นที่สาธารณะมีต่อระบบและสถาบันทางการปกครองที่มีแนวคิดอนุรักษ์นิยม อย่างไรก็ตามภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโรยังคงนำเสนอแนวคิดพัฒนาการนิยมแบบฉาบฉวยและสนับสนุนแนวคิดอนุรักษ์นิยมที่มีความเสี่ยงต่อการทำให้ผู้ชมนิ่งเฉยหรือต่อต้านการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ความย้อนแย้งระหว่างอนุรักษ์นิยมและพัฒนาการนิยมนี้อาจเป็นผลมาจากความพยายามของผู้ผลิตในการสร้างความหลากหลายให้แก่ตัวละครให้สอดคล้องสังคมปัจจุบันเพื่อขยายกลุ่มผู้ชมและผลประโยชน์ทางการเงิน อนึ่งแนวคิดและทฤษฎีทางด้านความงามเช่น ทวินิยม และ กลวิธีการเล่าเรื่องสามารถเสริมสร้างความรู้สึกสมจริงให้แก่ภาพตัวแทนและส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางอารมณ์ที่ผู้บริโภคมีต่อภาพตัวแทน


การสื่อสารการตลาดของผู้มีอิทธิพลด้านความงามที่มีความหลากหลายทางเพศและการรับรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมตอบสนองของผู้บริโภค, นันท์ชญา เดชผล Jan 2019

การสื่อสารการตลาดของผู้มีอิทธิพลด้านความงามที่มีความหลากหลายทางเพศและการรับรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมตอบสนองของผู้บริโภค, นันท์ชญา เดชผล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการสื่อสารการตลาดของผู้มีอิทธิพลด้านความงามที่มีความหลากหลายทางเพศ (2) ศึกษาการรับรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมตอบสนองของผู้บริโภคที่มีต่อการสื่อสารการตลาดของผู้มีอิทธิพลด้านความงามที่มีความหลากหลายทางเพศ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมตอบสนองของผู้บริโภคที่มีต่อการสื่อสารการตลาดของผู้มีอิทธิพลด้านความงามที่มีความหลากหลายทางเพศ (4) ศึกษาความแตกต่างทางลักษณะประชากรที่มีต่อการรับรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมตอบสนองของผู้บริโภคที่มีต่อการสื่อสารการตลาดของผู้มีอิทธิพลด้านความงามที่มีความหลากหลายทางเพศ โดยผลการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า ผู้มีอิทธิพลด้านความงามที่มีความหลากหลายทางเพศมีแนวทางในการสื่อสารการตลาดให้น่าสนใจโดยใช้ลักษณะเฉพาะของผู้มีความหลากหลายทางเพศ ทั้งวิธีการพูด น้ำเสียง ลักษณะท่าทาง ความกล้าแสดงออก และความคิดสร้างสรรค์ ช่วยเพิ่มมิติในการสื่อสารการตลาดให้น่าสนใจ ทั้งนี้ผู้มีอิทธิพลด้านความงามที่มีความหลากหลายทางเพศให้ความสำคัญกับเนื้อหาที่จะสร้างมากกว่าตัวตนในเรื่องเพศ และเข้าใจว่าการสนับสนุนการสื่อสารเรื่องความงามของผู้มีความหลากหลายทางเพศเป็นการแสดงจุดยืนที่ดีของตราสินค้าในเรื่องความเท่าเทียมทางเพศซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคยุคใหม่ให้ความสำคัญ นอกจากนี้ผลการวิจัยเชิงปริมาณพบว่า ผู้บริโภคกลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้โดยรวมอยู่ในระดับสูงและทัศนคติโดยรวมอยู่ในระดับค่อนข้างสูง โดยประเด็นที่มีทัศนคติอยู่ในระดับสูง คือ การติดตามผู้มีอิทธิพลด้านความงามที่มีความหลากหลายทางเพศเพราะเนื้อหาที่น่าสนใจโดยไม่ได้คำนึงถึงเรื่องเพศ ด้านพฤติกรรมตอบสนองโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ประเด็นที่มีการตอบสนองน้อยที่สุด คือ การแสดงความคิดเห็น (Comment)


การสื่อสารการแสดงเพื่อเสริมสร้างการรับรู้ การใช้ประโยชน์ และความพึงพอใจจากการเรียนรู้ภาษาอังกฤษในรายการ Loukgolf's English Room, ภัคจิรา เอกศิริ Jan 2019

การสื่อสารการแสดงเพื่อเสริมสร้างการรับรู้ การใช้ประโยชน์ และความพึงพอใจจากการเรียนรู้ภาษาอังกฤษในรายการ Loukgolf's English Room, ภัคจิรา เอกศิริ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการสร้างสรรค์เนื้อหาของรายการ Loukgolf’s English Room ที่พัฒนาจากสื่อสารการแสดง และเพื่อศึกษาการรับรู้ การใช้ประโยชน์ ความพึงพอใจ ของผู้ชมที่มีต่อการเรียนภาษาอังกฤษและการใช้ชีวิตในรายการ Loukgolf’s English Room โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) คลิปวิดีโอรายการ Loukgolf’s English Room ที่ออกอากาศตั้งแต่เดือนมกราคม-ธันวาคม พ.ศ.2562 รวมจำนวนทั้งหมด 47 ตอน การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลักจากกลุ่มผู้ผลิตรายการ (Key Informants) และการสนทนาแบบกลุ่ม (Focus group) กับกลุ่มผู้ชมรายการจำนวน 12 คน ที่เคยรับชมรายการตั้งแต่ 12 ตอนขึ้นไป ผลการวิจัยพบว่า รายการ Loukgolf’s English Room เป็นรายการเอดูเทนเมนต์ที่เรียนรู้ภาษาอังกฤษผ่านการสนทนาระหว่างพิธีกรและแขกรับเชิญ ซึ่งแขกรับเชิญเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงทั้งในและนอกวงการบันเทิง โดยการคัดเลือกประเด็นที่นำเสนอจะพิจารณาจากความน่าสนใจและมีประโยชน์จากเรื่องราวของแขกรับเชิญ และจัดลำดับเรื่องที่นำเสนอด้วยการเรียงตามลำดับเวลาหรือช่วงเวลาที่สำคัญในชีวิตของแขกรับเชิญ ซึ่งเมื่อผู้วิจัยได้วิเคราะห์ลักษณะเนื้อหารายการพบว่า เนื้อหารายการส่วนใหญ่เป็นเรื่องการทำงานของแขกรับเชิญมากที่สุด นอกจากนี้พิธีกรยังมีทักษะในการสื่อสารการแสดง เช่น การจัดการความคิด จินตนาการ และอารมณ์ความรู้สึก การจัดการภาษากาย และการจัดการใช้เสียง รวมถึงวิธีการสอนภาษาอังกฤษของพิธีกรที่มักจะสอดแทรกในระหว่างการพูดคุยกับแขกรับเชิญ ทั้งนี้จากการสนทนากลุ่มผู้ชมทั้ง 2 กลุ่ม พบว่า ผู้ชมมีการรับรู้ด้านเนื้อหาเรื่องของภาษาอังกฤษและข้อคิดที่ได้จากพิธีกรและแขกรับเชิญ ส่วนการนำไปใช้ประโยชน์และความพึงพอใจของผู้ชมมี 6 ด้าน คือ 1) การได้รับข้อมูลข่าวสารและคำแนะนำต่าง ๆ 2) การลดความรู้สึกไม่มั่นใจในตัวเอง 3) การเรียนรู้เกี่ยวกับสังคมและโลกกว้าง 4) เพื่อจะได้หาความรู้พื้นฐานในการติดต่อสัมพันธ์กับผู้คน 5) เพื่อฆ่าเวลา และ 6) เพื่อหาแบบแผนในการดำเนินชีวิต


ภาพลักษณ์นักการเมืองรุ่นใหม่และแนวโน้มการสนับสนุนของผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรก, ปัญจพล ตั้งวิริยะ Jan 2019

ภาพลักษณ์นักการเมืองรุ่นใหม่และแนวโน้มการสนับสนุนของผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรก, ปัญจพล ตั้งวิริยะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้มีจุดประสงค์เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรการเปิดรับสื่อเกี่ยวกับนักการเมืองรุ่นใหม่ การรับรู้ภาพลักษณ์นักการเมืองรุ่นใหม่ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรก และแนวโน้มการสนับสนุนของผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรก โดยศึกษากับนักการเมืองรุ่นใหม่ 3 คน ประกอบด้วย นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ นายพริษฐ์ วัชรสินธุ และนายเขตรัฐ เหล่าธรรมทัศน์ โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ ด้วยวิธีวิจัยเชิงสำรวจ โดยประชากรของงานวิจัย คือ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรกที่มีอายุ 18-25 หรือผู้ที่เกิดระหว่างปี 2537-2544 ซึ่งเป็นผู้ที่ยังไม่เคยมีประสบการณ์ในการเลือกตั้งสมาชิกผู้แทนราษฎร ในเขตกรุงเทพมหานครฯและปริมณฑลจำนวน 400 คน และนำมาประมวลผลข้อมูลผ่านโปรแกรม SPSS ผลการทดสอบสมมติฐานการวิจัยจำนวน 3 ข้อ ปรากฏดังนี้ 1. การเปิดรับสื่อเกี่ยวกับนักการเมืองรุ่นใหม่กับการรับรู้ภาพลักษณ์นักการเมืองรุ่นใหม่ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรกมีความสัมพันธ์กัน ในระดับต่ำ 2. การรับรู้ภาพลักษณ์นักการเมืองรุ่นใหม่กับแนวโน้มการสนับสนุนของผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรก มีความสัมพันธ์กัน ในระดับต่ำ 3. การเปิดรับสื่อเกี่ยวกับนักการเมืองรุ่นใหม่กับแนวโน้มการสนับสนุนของผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรกมีความสัมพันธ์กัน ในระดับต่ำ


การสื่อสารอัตลักษณ์ความเป็นไทยผ่านการเป็นเจ้าภาพการประกวดมิสยูนิเวิร์ส 2018 ประเทศไทย, ปริศญา คูหามุข Jan 2019

การสื่อสารอัตลักษณ์ความเป็นไทยผ่านการเป็นเจ้าภาพการประกวดมิสยูนิเวิร์ส 2018 ประเทศไทย, ปริศญา คูหามุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1)​ เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ความเป็นไทยที่ถูกถ่ายทอดผ่านการเป็นเจ้าภาพจัดประกวดมิสยูนิเวิร์ส 2018 ในประเทศไทย (2)​ เพื่อศึกษาการรับรู้ของผู้ชมชาวไทยและผู้ชมชาวต่างชาติที่มีต่อการสื่อสารอัตลักษณ์ความเป็นไทย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)​ จากเทปบันทึกการถ่ายทอดสด การประกวดมิสยูนิเวิร์ส​ 2018 รอบชิงชนะเลิศ​ และใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In Depth interview)​ กับผู้จัดการประกวด และผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอัตลักษณ์ไทย​ร่วมกับ​การวิเคราะห์เอกสาร (Documentary analysis)​ จากแหล่งข้อมูลที่เป็น​สื่อสังคมออนไลน์​ ได้แก่ เว็บไซต์ ยูทูบ และเฟซบุ๊ก​ ผลการวิจัย 1. การเป็นเจ้าภาพจัดประกวดมิสยูนิเวิร์ส 2018 ประเทศไทยนำเสนออัตลักษณ์ทางด้านวัฒนธรรมมากกว่าอัตลักษณ์ทางด้านธรรมชาติ ผ่านวิธีการสื่อสาร 5 รูปแบบ คือ วีดิทัศน์ การแสดง กราฟิกแบ็กกราวนด์ วัตถุที่จับต้องได้ และบุคคล โดยการสื่อสารอัตลักษณ์ความเป็นไทยแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ 1. ลักษณะอัตลักษณ์ความเป็นไทยแบบดั้งเดิม เช่น สถานที่ทางธรรมชาติ ภาษาไทย 2. ลักษณะที่ไม่ใช่อัตลักษณ์ความเป็นไทยแบบดั้งเดิม เช่น การไหว้ ดนตรีไทย นาฏศิลป์ไทย มวยไทย ประเพณีลอยโคม ช่อดอกไม้ จิตรกรรมลายกระหนกไทย สถาปัตยกรรมไทย เครื่องประดับไหล่ช่อฟ้า ทั้งนี้ความเป็นไทยที่ถูกคัดเลือกให้นำเสนอบนเวทีระดับโลกล้วนเป็นวัฒนธรรมหลวงหรือประเพณีหลวง (Great tradition) ซึ่งเป็นวัฒนธรรมระดับชาติหรือเป็นที่รู้จักกันดีและแสดงความเป็นตัวตนของชาตินั้น ๆ 2. ผู้ชมชาวไทยและผู้ชมชาวต่างชาติมีการรับรู้และทัศนคติแตกต่างกัน โดยผู้ชมชาวไทยสามารถรับรู้และเข้าใจอัตลักษณ์ความเป็นไทยได้มากกว่าผู้ชมชาวต่างชาติ ในภาพรวมผู้ชมทั่วโลกมีทัศนคติที่ดีต่อการเป็นเจ้าภาพจัดประกวดมิสยูนิเวิร์ส 2018 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ในขณะเดียวกันผู้ชมชาวไทยมีทัศนคติต่อการสื่อสารอัตลักษณ์ความเป็นไทยแตกต่างกัน โดยส่วนใหญ่ชื่นชมการนำเสนออัตลักษณ์ความเป็นไทยบนเวทีระดับโลก แต่ผู้ชมชาวไทยบางกลุ่มไม่เห็นด้วยกับการสื่อสารอัตลักษณ์ความเป็นไทยที่ไม่ใช่ดั้งเดิมและลดทอนความเป็นไทย เช่น เครื่องประดับไหล่ “ช่อฟ้า” ในรอบชุดว่ายน้ำ และ กราฟิกแบ็กกราวนด์ลายกระหนกไทยที่ลดทอดลายละเอียดที่สื่อถึงเอกลักษณ์ไทยลงไป


การสื่อสารเพื่อประกอบสร้างอัตลักษณ์นักแข่งอีสปอร์ตในประเทศไทย, ศุภกฤตษ์ จิตตภัทราวงศ์ Jan 2019

การสื่อสารเพื่อประกอบสร้างอัตลักษณ์นักแข่งอีสปอร์ตในประเทศไทย, ศุภกฤตษ์ จิตตภัทราวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่อง “การสื่อสารเพื่อประกอบสร้างอัตลักษณ์นักแข่งอีสปอร์ตในประเทศไทย”เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.) อธิบายลักษณะการสื่อสารเพื่อประกอบสร้างอัตลักษณ์ของนักแข่งอีสปอร์ต 2.) อธิบายลักษณะการสื่อสารอัตลักษณ์นักแข่งอีสปอร์ตต่อบุคคลภายนอกบนพื้นที่สาธารณะ และ 3.) อธิบายลักษณะการรับรู้อัตลักษณ์นักแข่งอีสปอร์ต จากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth interview) กับนักแข่งอีสปอร์ตในประเทศไทย ผู้เกี่ยวข้องกับอีสปอร์ตต่าง ๆ เช่น นักวิชาการ ผู้ฝึกสอนอีสปอร์ต ผู้สนับสนุน นักกีฬา เป็นอาทิ สัมภาษณ์แบบกลุ่ม (Focus group) การสังเกตการณ์อย่างไม่มีส่วนร่วมในพื้นที่การแข่งขันอีสปอร์ต (Non-participant Observation) พร้อมทั้งศึกษาเอกสารต่าง ๆ (Document analysis) ประกอบด้วย ผลการศึกษาพบว่า นักแข่งอีสปอร์ตมีการประกอบสร้างอัตลักษณ์ใน 2 พื้นที่ คือ 1.) โลกกายภาพ (Physical world) ผ่านการให้ความหมาย ตัวตนและภาพปรากฏ ลักษณะภาษาที่ใช้ และกระบวนการแข่งขันอีสปอร์ต 2.) พื้นที่โลกเสมือน (Virtual world) ผ่านการขยายตัว การตั้งชื่อ การสร้างตัวตนทั้ง 2 พื้นที่จะรวมเป็นอัตลักษณ์นักแข่งอีสปอร์ตและสื่อสารเพื่อรื้อสร้าง ประกอบสร้าง และต่อต้านภาพเหมารวมของสังคม การรับรู้และถอดรหัสอัตลักษณ์ของนักแข่งอีสปอร์ตของบุคคลคนในสังคมพบว่าการรับรู้อัตลักษณ์ของนักแข่งอีสปอร์ตจะมีการรับรู้อัตลักษณ์ผ่านการนิยามความหมาย รวมทั้งตัวตนและภาพปรากฏของนักแข่งอีสปอร์ตที่ไม่มีการแยกพื้นที่หรือช่วงเวลาเป็นสำคัญ อีกทั้งการรับรู้และถอดรหัสอัตลักษณ์นักแข่งอีสปอร์ตจะมีลักษณะที่แตกต่างกันตามความใกล้ชิด การติดตาม ซึ่งส่งผลต่อการยอมรับอัตลักษณ์นักแข่งอีสปอร์ต


กระบวนการคัดเลือก พัฒนาบทบาทนักแสดง และการเพิ่มมูลค่าให้กับนักแสดงซีรีส์วาย, ธันวา ว่องนราธิวัฒน์ Jan 2019

กระบวนการคัดเลือก พัฒนาบทบาทนักแสดง และการเพิ่มมูลค่าให้กับนักแสดงซีรีส์วาย, ธันวา ว่องนราธิวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษากระบวนการคัดเลือกนักแสดง และ การพัฒนาบทบาทนักแสดงสำหรับตัวละครคู่หลักในซีรีส์วาย และ เพื่อศึกษาการเพิ่มมูลค่าให้กับนักแสดงซีรีส์วาย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์แบบเชิงลึก และ การสังเกต กับบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องใน กระบวนการคัดเลือกนักแสดง พัฒนาบทบาทนักแสดง และ การเพิ่มมูลค่าให้กับนักแสดงซีรีส์วาย ได้แก่ ผู้กำกับซีรีส์วาย นักแสดงซีรีส์วาย ผู้จัดการนักแสดงซีรีส์วาย และ แบรนด์สินค้าที่ใช้นักแสดง ซีรีส์วายจำนวน 8 ท่าน จากซีรีส์ ด้ายแดง และ ธารไทป์ เดอะซีรีส์ ผลการวิจัยพบว่ากระบวนการคัดเลือกนักแสดงซีรีส์วายสามารถแบ่งได้เป็น 3 รูปแบบ ดังนี้การคัดเลือกแบบเปิด การคัดเลือกแบบปิด และ การคัดเลือกแบบผสม ซึ่งกระบวนการคัดเลือกนักแสดงซีรีส์วาย สามารถแบ่งได้เป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้ การเตรียมการทดสอบนักแสดง การทดสอบนักแสดงซีรีส์วาย และ การพิจารณาการคัดเลือกนักแสดง ซึ่งมีข้อค้นพบที่แตกต่างกับซีรีส์ทั่วไปคือกระบวนการคัดเลือกนักแสดงซีรีส์วายต้องมีการศึกษานิยายวายเพื่อวิเคราะห์บทบาทนักแสดง และ ต้องมีการทดสอบในเรื่องของเคมีคู่ของนักแสดงซีรีส์วาย ในการพัฒนาบทบาทนักแสดงซีรีส์วายสามารถแบ่งได้เป็น 4 ขั้นตอนดังนี้ การเวิร์คช็อปด้านการแสดง การเตรียมบุคลิกภาพภายนอกให้ตรงตามตัวละคร การพัฒนาทักษะพิเศษให้กับนักแสดง และ การสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีของทีมงานซีรีส์วาย ซึ่งมีข้อค้นพบที่แตกต่างกับซีรีส์ทั่วไปตรงที่ ทีมงานซีรีส์วายควรมีการสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีของทีมงานซีรีส์วายให้กับนักแสดง ในการเพิ่มมูลค่าให้กับนักแสดงซีรีส์วาย แบ่งได้เป็น 7 ขั้นตอนดังนี้ การพัฒนาทักษะให้กับตัวเอง การเตรียมตัวให้พร้อมเป็นส่วนหนึ่งกับแบรนด์สินค้า การใช้โซเชียลมีเดียในการเพิ่มมูลค่าให้กับนักแสดง การเดินสายโปรโมทกับสื่อมวลชน การสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับนักแสดงซีรีส์วาย การทำให้เกิดกระแสกับคู่ของตัวเอง และ การสร้างผลงานใหม่ ๆ ซึ่งมีข้อค้นพบที่แตกต่างกับซีรีส์ทั่วไปตรงที่นักแสดงซีรีส์วายห้ามเปิดตัวคู่รักในที่สาธารณะ นักแสดงซีรีส์วายควรมีจิตสำนึก และ ความรู้เพื่อที่จะสามารถเพิ่มมูลค่า และ รักษาไว้ซึ่งมูลค่าที่สร้างไว้เกี่ยวกับเรื่อง 3 เรื่องดังต่อไปนี้ ความไวต่อวัฒนธรรม การสร้างการมีส่วนร่วม และ ความถูกต้องทางการเมือง


Heuristics Used In Credibility Judgment Of Health Information On Facebook, Yaninee Petcharanan Jan 2019

Heuristics Used In Credibility Judgment Of Health Information On Facebook, Yaninee Petcharanan

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Facebook users worldwide had been facing challenges of information credibility. This study aimed to address this issue among Thai Facebook users by focusing on health information in particular, through a lens of heuristic approach. Data were collected from 50 informants by in-depth interviews and 480 responses from online surveys. All participants were at least 18 years old with a minimum of one year experience in using Facebook. The results revealed three different processes and five heuristics, namely, reputation heuristic, authority heuristic, expectancy violation heuristic, persuasive intense heuristic, and bandwagon heuristics that participants adopted when making a credibility judgment of health …


การเปิดรับข่าวสารและการยอมรับนวัตกรรมบัตรเดบิตเพื่อการท่องเที่ยวของผู้บริโภค, ฉัตรพิไลย หอมไกรลาศ Jan 2019

การเปิดรับข่าวสารและการยอมรับนวัตกรรมบัตรเดบิตเพื่อการท่องเที่ยวของผู้บริโภค, ฉัตรพิไลย หอมไกรลาศ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่อง “การเปิดรับข่าวสารและการยอมรับนวัตกรรมบัตรเดบิตเพื่อการท่องเที่ยวของผู้บริโภค” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปิดรับข่าวสารและการยอมรับนวัตกรรมของผู้บริโภค และความแตกต่างของลักษณะทางประชากรของผู้บริโภคต่อการเปิดรับข่าวสารและการยอมรับนวัตกรรมในการเลือกใช้บัตรเดบิตเพื่อการท่องเที่ยว โดยเป็นงานวิจัยเชิงปริมาณซึ่งใช้วิธีรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามเก็บกลุ่มตัวอย่างจำนวน 204 คน ที่มีบัตรเดบิตเพื่อการท่องเที่ยวและเคยมีการใช้เพื่อซื้อสินค้าและบริการในต่างประเทศอย่างน้อย 1 ครั้งในช่วงเวลา 1 ปีที่ผ่านมา ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างให้คะแนนการเปิดรับข่าวสารผ่านช่องทางสื่อออนไลน์สูงที่สุด ในช่องทางการค้นหา (Search Engine) เช่น Google เป็นต้น, เฟซบุ๊ก, บล็อกเกี่ยวกับการท่องเที่ยว และเว็บไซต์ธนาคารผู้ให้บริการตามลำดับ และกลุ่มตัวอย่างยอมรับนวัตกรรมที่มีคุณลักษณะในประเด็นความสามารถเรียนรู้วิธีการใช้งานบัตรเดบิตเพื่อการท่องเที่ยวได้ด้วยตัวเอง การใช้งานบัตรเดบิตเพื่อการท่องเที่ยวทำให้การซื้อสินค้าและบริการในต่างประเทศเป็นไปได้โดยง่าย ความสามารถเห็นการเคลื่อนไหวของธุรกรรมได้ทันที และการมีความสะดวกสบายในการใช้บัตรเดบิตเพื่อการท่องเที่ยวสำหรับซื้อสินค้าและบริการในต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ลักษณะทางประชากรด้าน เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ที่แตกต่างกันของผู้บริโภคไม่มีความแตกต่างในการเปิดรับข่าวสารและการยอมรับนวัตกรรมในการเลือกใช้บัตรเดบิตเพื่อการท่องเที่ยว


การรับรู้ แรงจูงใจ และพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียลต่อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม, จุฑาลักษณ์ ทองประทุน Jan 2019

การรับรู้ แรงจูงใจ และพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียลต่อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม, จุฑาลักษณ์ ทองประทุน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ในรูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจการรับรู้คุณค่าของผลิตภัณฑ์ แรงจูงใจด้านสิ่งแวดล้อม และพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียล รวมถึงวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้คุณค่าของผลิตภัณฑ์กับพฤติกรรมการซื้อ และความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจด้านสิ่งแวดล้อมกับพฤติกรรมการซื้อ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง คือ บุคคลเพศชายและเพศหญิงที่มีอายุระหว่าง 24-39 ปี อาศัยอยู่ในประเทศไทย และเป็นบุคคลที่รู้จัก เคยซื้อ หรือมีประสบการณ์กับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จำนวน 205 คน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้คุณค่าของผลิตภัณฑ์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีการรับรู้คุณค่าด้านสิ่งแวดล้อมมากที่สุด ในส่วนของแรงจูงใจด้านสิ่งแวดล้อม กลุ่มตัวอย่างมีแรงจูงใจด้านสิ่งแวดล้อมในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง แต่มีแรงจูงใจภายในอยู่ในระดับมาก ส่วนแรงจูงใจภายนอกอยู่ในระดับปานกลาง ในส่วนของพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญกับการเลือกซื้อเครื่องสำอางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยพิจารณาจากคุณภาพที่ได้มาตรฐานของผลิตภัณฑ์ในระดับมากที่สุด จากการทดสอบสมมติฐานเพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า การรับรู้คุณค่าของผลิตภัณฑ์มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยเป็นความสัมพันธ์ในระดับปานกลาง และพบว่า แรงจูงใจด้านสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยเป็นความสัมพันธ์ในระดับปานกลางเช่นเดียวกัน


การเลือกเปิดรับ ความผูกพัน และการใช้ประโยชน์รายการ “R U Ok” บนยูทูบของคนวัยทำงาน, ทรรศสม เพชรพรหมศร Jan 2019

การเลือกเปิดรับ ความผูกพัน และการใช้ประโยชน์รายการ “R U Ok” บนยูทูบของคนวัยทำงาน, ทรรศสม เพชรพรหมศร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจการเลือกเปิดรับ ความผูกพันและการใช้ประโยชน์รายการ R U OK บนยูทูบของคนวัยทำงาน และเพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่าง การเลือกเปิดรับ ความผูกพัน และการใช้ประโยชน์รายการ R U OK บนยูทูบของคนวัยทำงาน งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มผู้ฟังรายการ R U OK บนยูทูบ วัยทำงาน อายุ 23 – 45 ปี ฟังรายการ จำนวน 200 คน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการเลือกเปิดรับอยู่ในระดับต่ำ มีความถี่ในการรับฟังรายการ 1 วัน/สัปดาห์ ระยะเวลาการรับฟังรายการแต่ละครั้ง 21 – 30 นาที โดยมีลักษณะในการรับฟังรายการแบบรับฟังตั้งแต่ต้นตอน จนจบเป็นบางครั้ง ด้านความผูกพันพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความผูกพันต่อรายการ R U OK บนยูทูบโดยรวมอยู่ในระดับต่ำ กลุ่มตัวอย่างมีการใช้ประโยชน์รายการ R U OK บนยูทูบโดยรวมอยู่ในระดับสูง โดยเป็นการใช้ประโยชน์ด้านข่าวสาร ด้านการกำหนดเอกลักษณ์ของปัจเจกบุคคล ด้านการรวมกลุ่มและการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ด้านความบันเทิง และด้านการตัดสินใจ ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ความถี่ในการรับชมรายการ R U OK บนยูทูบ ไม่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันโดยรวมต่อรายการของผู้ฟังวัยทำงาน ในขณะที่ ความผูกพันต่อรายการ R U OK บนยูทูบโดยรวมมีความสัมพันธ์กับการใช้ประโยชน์จากการรับชมรายการ R U OK บนยูทูบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งนี้เป็นความสัมพันธ์ระดับต่ำมากและมีทิศทางแบบแปรตามกัน เมื่อพิจารณาอย่างละเอียดพบว่า ความผูกพันโดยรวมมีความสัมพันธ์กับการใช้ประโยชน์ ด้านการตัดสินใจ ด้านการรวมกลุ่มและการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม และด้านการกำหนดเอกลักษณ์ของปัจเจกบุคคล ขณะที่ด้านข่าวสารและด้านความบันเทิงพบว่าไม่มีความสัมพันธ์


คุณลักษณะของผู้นำทางความคิดด้านการท่องเที่ยวบนเฟซบุ๊กกับทัศนคติและพฤติกรรมของผู้ติดตาม, พิม ศิริสวัสดิ์ Jan 2019

คุณลักษณะของผู้นำทางความคิดด้านการท่องเที่ยวบนเฟซบุ๊กกับทัศนคติและพฤติกรรมของผู้ติดตาม, พิม ศิริสวัสดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงสำรวจในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) คุณลักษณะของผู้นำทางความคิดด้านการท่องเที่ยวบนเฟซบุ๊ก และ 2) อิทธิพลของผู้นำทางความคิดด้านการท่องเที่ยวบนเฟซบุ๊กต่อทัศนคติและพฤติกรรมของผู้ติดตาม โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเพศชายและเพศหญิง อายุระหว่าง 25 – 34 ปี อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร กดติดตามเพจ ZuvapitSnap และเพจ I Roam Alone และภายในระยะเวลา 3 เดือนที่ผ่านมาได้เข้าไปติดตามข้อมูลจากทั้ง 2 เพจ จำนวน 441 คน โดยผลการวิจัยพบว่า คุณลักษณะของผู้นำทางความคิดด้านการท่องเที่ยวบนเฟซบุ๊กเพจ ZuvapitSnap และเพจ I Roam Alone แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในส่วนของเพจ ZuvapitSnap คุณลักษณะด้านความน่าเชื่อถือมีอิทธิพลต่อทัศนคติของผู้ติดตามที่มีต่อเนื้อหาที่ผู้นำทางความคิดนำเสนอ และพฤติกรรมการท่องเที่ยวของผู้ติดตามมากที่สุด ขณะที่คุณลักษณะด้านปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกึ่งความจริงมีอิทธิพลต่อทัศนคติของผู้ติดตามที่มีต่อผู้นำทางความคิด และพฤติกรรมการมีส่วนร่วมบนเฟซบุ๊กของผู้ติดตามมากที่สุด สำหรับเพจ I Roam Alone คุณลักษณะด้านความน่าเชื่อถือมีอิทธิพลต่อทัศนคติและพฤติกรรมของผู้ติดตามมากที่สุด


ผู้มีอิทธิพลทางความคิดระดับจุลภาคแนวไลฟ์สไตล์บนอินสตาแกรม การสื่อสารผ่านภาพ และความผูกพันของผู้ติดตาม, พีร์ บุญวิวัฒนาการ Jan 2019

ผู้มีอิทธิพลทางความคิดระดับจุลภาคแนวไลฟ์สไตล์บนอินสตาแกรม การสื่อสารผ่านภาพ และความผูกพันของผู้ติดตาม, พีร์ บุญวิวัฒนาการ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลเชิงลึกของผู้มีอิทธิพลทางความคิดระดับจุลภาคแนวไลฟ์สไตล์บนอินสตาแกรม การสื่อสารผ่านภาพ และความผูกพันของผู้ติดตาม โดยใช้วิธีวิจัย 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) สัมภาษณ์เชิงลึกเจ้าของเพจไลฟ์สไตล์ 3 เพจ และวิเคราะห์เอกสารที่เกี่ยวข้อง 2) วิเคราะห์ภาพโดยใช้ชุดภาพบนหน้าหลักจากแต่ละเพจ 3 ภาพ 3) สัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ติดตามเพจที่มีความผูกพันสูง 15 คน ผลการวิจัยด้านข้อมูลเชิงลึกพบว่า ผู้มีอิทธิพลทางความคิดระดับจุลภาคแนวไลฟ์สไตล์บน อินสตาแกรม มีภูมิหลังที่สนใจกิจกรรมนอกห้องเรียน เป็นกลุ่มคนเจเนอเรชั่นวายที่เติบโตในเมืองหลวง มีการศึกษาสูง และเป็นผู้ที่มีความสามารถพิเศษ มีที่มาจากการเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการเล่นแอปพลิเคชันอินสตาแกรม โดยจุดเปลี่ยนเริ่มขึ้นจากการทดลองเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ มีแนวคิดหลักในการนำเสนอเนื้อหาที่ให้พลังด้านบวกและเอกลักษณ์ส่วนตัวของตัวเอง ผลงานมีการสื่อสารแบบตรงประเด็นชัดเจน รวมถึงมีเทคนิคที่ช่วยส่งเสริมให้ผลงานมีความน่าสนใจมากขึ้น มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นในด้านความสดใสร่าเริงและความเป็นตัวของตัวเอง มีไลฟ์สไตล์ที่ชื่นชอบการท่องเที่ยวและชอบไปร้านกาแฟ การสื่อสารผ่านภาพบนอินสตาแกรมเพจไลฟ์สไตล์พบว่า ด้านเนื้อหามีการสื่อความหมายโดยตรง และชัดเจน ด้านของสีมีการใช้โทนพาสเทลที่มีความละมุน ด้านการจัดองค์ประกอบเชิงพื้นที่จะมีการสร้างจุดสนใจในภาพเสมอ ด้านแสงมีการใช้แสงแบบนุ่มนวลที่มีความสว่าง และด้านการแสดงออกของอารมณ์ภาพในภาพรวมจะสื่อถึงไลฟ์สไตล์ที่มีความสดใส ความเยาว์วัยและเป็นด้านบวก ด้านความผูกพันของผู้ติดตามที่มีต่อเนื้อหาพบว่า ผู้ติดตามมีการกดถูกใจเป็นประจำ กดบันทึกและแบ่งปันเนื้อหาค่อนข้างบ่อย แต่มีการแสดงความคิดเห็นที่ค่อนข้างน้อย ส่วนความผูกพันของผู้ติดตามที่มีต่อตัวบุคคลพบว่า ผู้ติดตามมีการสร้างความผูกพันใกล้ชิด เนื่องจากต้องการติดตามเนื้อหาอย่างใกล้ชิดและไม่ให้พลาด ผู้ติดตามมีความหลงใหลและชื่นชอบในตัวตนของเจ้าของเพจ และผู้ติดตามเกิดความผูกมัดที่มีความตั้งใจจะติดตามและสนับสนุนเจ้าของเพจตลอดไป


สื่อสังคมออนไลน์กับการสื่อสารอัตลักษณ์แห่งสันติภาพอิสลามในสังคมไทย, ภาณุวัฒน์ บุหงาแดง Jan 2019

สื่อสังคมออนไลน์กับการสื่อสารอัตลักษณ์แห่งสันติภาพอิสลามในสังคมไทย, ภาณุวัฒน์ บุหงาแดง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1.) เพื่อศึกษารูปแบบ และวิธีการสื่อสารสื่อสารอัตลักษณ์แห่งสันติภาพอิสลามบนสื่อสังคมออนไลน์ และ 2.) เพื่อศึกษาลักษณะของอัตลักษณ์แห่งสันติภาพในอิสลามที่สื่อสารบนสื่อสังคมออนไลน์ของกลุ่มต่างๆตามโครงสร้างสังคมมุสลิมในประเทศไทย จากการเก็บรวบรวม และศึกษาข้อมูลด้วยระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ ผ่านการวิเคราะห์รูปแบบ และวิธีการสื่อสาร รวมถึงลักษณะของอัตลักษณ์แห่งสันติภาพอิสลามที่ปรากฏบนเฟซบุ๊กเพจ ตลอดจนการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้บริหารองค์กรหรือผู้ดูแลเพจต่างๆ ตามหมวดโครงสร้างสังคมมุสลิมในประเทศไทยทั้ง 5 กลุ่มได้แก่ 1.) กลุ่มนักการเมือง และข้าราชการระดับสูง 2.) กลุ่มผู้นำศาสนา 3.) กลุ่มนักเคลื่อนไหวทางสังคม 4.) กลุ่มนักธุรกิจ และ 5.) กลุ่มมุสลิมบล็อกเกอร์ ผลการศึกษาพบว่าอัตลักษณ์ปัจเจก หรือการระบุตัวตนทางสังคม และบทบาทการขับเคลื่อนสันติภาพอิสลามของแต่ละกลุ่มส่งผลให้ประเด็นของเนื้อหา รูปแบบ วิธีการสื่อสาร ตลอดจนการนิยามอัตลักษณ์แห่งสันติภาพอิสลามนั้นมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป อย่างไรก็ตามคุณลักษณะของอัตลักษณ์ที่ปรากฏทั้งหมดชี้ให้เห็นว่าทุกกลุ่มล้วนหยิบนำคำสอนทางศาสนาจากคัมภีร์อัลกุรอาน และจริยวัตรของศาสดามาเป็นแนวทางสำคัญในการนำเสนออัตลักษณ์แห่งสันติภาพอิสลามบนสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งปรากฏการณ์ทั้งหมดสรุปได้ว่าภูมิทัศน์สื่อออนไลน์นั้นมีบทบาทสำคัญในการมอบพื้นที่ซึ่งเอื้อให้เกิดการประกอบสร้างภาพของศาสนาอิสลามใหม่ในแง่มุมที่แตกต่างจากการนำเสนอของสื่อมวลชน ที่มักจะนำเสนอภาพตัวแทนในด้านลบ และภาพที่เต็มไปด้วยความรุนแรง ตลอดจนการมอบความเป็นอิสระให้กลุ่มต่างๆ ได้มีบทบาทในการสื่อสารเพื่อสร้างการรับรู้ถึงตัวตนของศาสนาอิสลามที่มุ่งเน้นถึงหลักสันติภาพ อย่างเท่าเทียม และปราศจากการผูกขาดการนำเสนอเนื้อหาจากองค์กรสื่อขนาดใหญ่เหมือนที่ผ่านมา


แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในกลุ่มบุคคลวัยเกษียณและการสื่อสารรณรงค์ลดบริโภคเค็ม, วันวิสา เวชประสิทธิ์ Jan 2019

แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในกลุ่มบุคคลวัยเกษียณและการสื่อสารรณรงค์ลดบริโภคเค็ม, วันวิสา เวชประสิทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงปริมาณในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับสื่อ ทัศนคติ แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพของบุคคลวัยเกษียณ และสารโน้มน้าวใจในการสื่อสารรณรงค์ลดบริโภคเค็ม รวมถึงการศึกษาความแตกต่างด้านดังกล่าวในลักษณะประชากรที่แตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคคลวัยเกษียณที่อาศัยในกรุงเทพมหานครจำนวน 400 คน ซึ่งเก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม ผ่านการฝากลิ้งก์บนสื่อออนไลน์และอาศัยการบอกต่อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมานในการทดสอบสมมติฐานเพื่อหาความแตกต่างและความสัมพันธ์ของตัวแปร โดยกำหนดนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า การเปิดรับสื่อรณรงค์ของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คือ สื่อออนไลน์ เช่น เฟซบุ๊ก เว็บไซต์ และยูทูป โดยมีทัศนคติต่อสารโน้มน้าวใจระดับสูงมาก สารที่กลุ่มตัวอย่างให้คแนนสูง ได้แก่ ข้อความรณรงค์บอกความรุนแรงของโรค และข้อความรณรงค์ที่สามารถปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างยังมีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด จากการหาความแตกต่างทางประชากรพบว่า บุคคลวัยเกษียณที่มีระดับการศึกษาและแหล่งรายได้ต่างกัน มีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ด้านการหาความสัมพันธ์พบว่า ทัศนคติต่อสารโน้มน้าวใจมีความสัมพันธ์กับแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 การเปิดรับสื่อมีความสัมพันธ์กับทัศนคติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และการเปิดรับสื่อมีความสัมพันธ์กับแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01


ข่าวปลอมทางการเมืองบนเฟซบุ๊กในช่วงการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2562, วิศรุต วงษ์น้อม Jan 2019

ข่าวปลอมทางการเมืองบนเฟซบุ๊กในช่วงการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2562, วิศรุต วงษ์น้อม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ลักษณะที่โดดเด่นของข่าวสารปลอมทางการเมืองบนเฟซบุ๊กในช่วงการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562 (2) ปัจจัยที่นำไปสู่การตรวจสอบข้อเท็จจริง และ (3) กระบวนการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับนักการเมืองและพรรคการเมือง โดยใช้วิธีเชิงปริมาณ (Quantitative Methodology) คือ การวิเคราะห์เนื้อหาข่าวสารที่น่าสงสัยว่าจะเป็นข่าวปลอมทางการเมืองที่ปรากฏบนเพจทางการเมืองทั้งสองกลุ่มจำนวน 12 เพจ ได้แก่ (1) กลุ่มเพจที่สนับสนุนพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาและพรรคพลังประชารัฐ (Pro-military) และ (2) กลุ่มเพจที่สนับสนุนนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจและพรรคอนาคตใหม่ (Pro-democracy) และใช้วิธีเชิงคุณภาพ (Qualitative Methodology) คือ การสัมภาษณ์ผู้ติดตามเพจทั้ง 27 คน ผลการศึกษาลักษณะที่โดดเด่นของข่าวสารปลอมทางการเมืองที่เกิดขึ้นในช่วงการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562 โดยการวิเคราะห์เนื้อหาพบว่า ข่าวปลอมทางการเมืองในช่วงการเลือกตั้งเป็นข่าวสารปลอมที่ถูกจัดว่าเป็นการโจมตีนักการเมืองและพรรคการเมืองและมีวิธีการนำเสนอที่ทำให้ผู้ติดตามเพจทางการเมืองเข้าใจผิด (Misleading) นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาผ่านกรณีศึกษาทั้งสองคือ (1) กรณีของพลเอกประยุทธ์จันทร์โอชาและพรรคพลังประชารัฐ นั้นที่เกี่ยวข้องกับพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จะเป็นข่าวสารปลอมทางการเมืองด้วยการสร้างเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการออกนโยบายสาธารณะโดยข่าวปลอมดังกล่าวถูกจัดประเภทเป็นคลิกเบท (Click Bait) ที่มีรูปแบบการนำเสนอคล้ายกับสำนักข่าวกระแสหลัก (Imposter) และมีเนื้อหาที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นโดยสมบูรณ์ (Fabrication) (2) กรณีของนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ และพรรคอนาคตใหม่ จะเป็นข่าวสารทางการเมืองที่เป็นทฤษฎีสมคบคิด (Conspiracy Theory) และที่ผูกโยงเรื่องราวทางการเมืองเช่น the storyline to major political events such as changes in political regime, mass political conflicts, and interference attempt in the election by the US government ที่มาจาการผู้เขียนบทความที่ไม่มีตัวตนอยู่จริง (fictitious personas) ทั้งนี้ การสัมภาษณ์เชิงลึกชี้ให้เห็นสถานการณ์และแรงจูงใจที่นำไปสู่การตรวจสอบข้อเท็จจริง ได้แก่ (1) การแบ่งขั้วทางการเมือง (Political Polarization) (2) การเปิดรับและติดตามเพจทางการเมือง (3) ความสะดวกในการตรวจสอบบนแพลตฟอร์มออนไลน์ …


คุณลักษณะของผู้มีอิทธิพลทางความคิดระดับจุลภาคบนอินสตาแกรมในกลุ่มสินค้าคลีนความผูกพันต่อเนื้อหา และความตั้งใจซื้อของสตรีวัยเริ่มต้นทำงาน, ปวีณา ชิ้นศุภร Jan 2019

คุณลักษณะของผู้มีอิทธิพลทางความคิดระดับจุลภาคบนอินสตาแกรมในกลุ่มสินค้าคลีนความผูกพันต่อเนื้อหา และความตั้งใจซื้อของสตรีวัยเริ่มต้นทำงาน, ปวีณา ชิ้นศุภร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายคุณลักษณะของผู้มีอิทธิพลทางความคิดระดับจุลภาคบนอินสตาแกรมในกลุ่มสินค้าคลีน และอธิบายความสัมพันธ์ของการรับรู้คุณลักษณะและความตั้งใจซื้อ โดยใช้การวิจัยแบบผสมผสาน เริ่มจากวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เจ้าของอินสตาแกรมอาหารคลีน เจ้าของธุรกิจอาหารคลีน และนักการตลาด จำนวน 8 คน การวิเคราะห์เนื้อหาอินสตาแกรมกลุ่มสินค้าคลีนจำนวน 5 เพจ และการวิจัยเชิงปริมาณ ด้วยการวิจัยเชิงสำรวจด้วยแบบสอบถามออนไลน์ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน ผลการวิจัยบ่งชี้ว่า ผู้มีอิทธิพลทางความคิดระดับจุลภาคบนอินสตาแกรมในกลุ่มสินค้าคลีน เป็นผู้บริโภคในระดับสังคมเดียวกันหรือใกล้เคียงกันกับผู้บริโภคทั่วไป มีความสนใจและสื่อสารเนื้อหาที่เกี่ยวกับประเด็นด้านสุขภาพ มีผู้จำนวนติดตามอยู่ระหว่าง 5,000 – 50,000 คน โดยมีคุณลักษณะสำคัญ อาทิ แสดงออกถึงความสนใจในเรื่องสุขภาพหรือสินค้าคลีน มีบุคลิกภาพหรือไลฟ์สไตล์ที่สอดคล้องหรือเกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพหรือสินค้าคลีน นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับสินค้าคลีน อย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ ใช้ภาษาสื่อสารกับผู้ติดตามอย่างเป็นกันเองในการนำเสนอเนื้อหาหรือตอบคอมเม้น เป็นผู้บริโภคสินค้าคลีนหรือมีประสบการณ์ตรงกับสินค้า สำหรับรูปแบบเนื้อหาที่โพสต์บนอินสตาแกรมมากที่สุดคือ รูปภาพเดี่ยว และสาระเนื้อหาที่พบมากที่สุดคือ การบอกเล่าประสบการณ์การบริโภคสินค้า (Review) โดยมักจะแทรกเนื้อหาเชิงการตลาด (Tied-in) ผลการวิจัยเชิงสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการติดตามบัญชีผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดที่จำนวน 5-10 บัญชี และอ่านโพสต์ในลักษณะดูเฉพาะรูปภาพมากที่สุด นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้คุณลักษณะของผู้มีอิทธิพลทางความคิดระดับจุลภาค ด้านการแสดงออกถึงความสนใจในเรื่องสุขภาพหรือสินค้าคลีนมากที่สุด มีความผูกพันต่อเนื้อหามากที่สุดคือการกดไลค์โพสต์ ผลการทดสอบสมมติฐานสรุปได้ว่า การรับรู้คุณลักษณะของผู้มีอิทธิพลทางความคิดระดับจุลภาคมีความสัมพันธ์เชิงบวก กับความผูกพันต่อเนื้อหา และความตั้งใจซื้ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมในการแก้ปีชงของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร, บดีศร อัฑฒ์วงศ์ไพศาล Jan 2019

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมในการแก้ปีชงของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร, บดีศร อัฑฒ์วงศ์ไพศาล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปิดรับสื่อ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการแก้ปีชงของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจ ด้วยเครื่องมือการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม จำนวนทั้งสิ้น 400 คน บุคคลนั้นจะเป็นผู้ที่เคยแก้ปีชง จำนวน 200 คน และไม่เคยแก้ปีชง จำนวน 200 คน ซึ่งจะประมวลผลโดยใช้โปรแกรมSPSS ผลการวิจัยพบว่าผู้ที่เคยแก้ปีชงและไม่เคยแก้ปีชงนั้นมีการเปิดรับสื่อ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการแก้ปีชงที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ 0.001 สำหรับผู้ที่เคยแก้ปีชงนั้นมีการเปิดรับสื่อและความถี่เกี่ยวกับการแก้ปีชงประเภทสื่อมวลชนในระดับต่ำ ประเภทสื่อรูปแบบใหม่อยู่ในระดับปานกลาง และประเภทสื่อบุคคลในระดับปานกลาง โดยมีทัศนคติเกี่ยวกับความเชื่อเรื่องปีชงอยู่ในระดับเชื่อมั่นปานกลาง ทั้งนี้ผู้ที่เคยแก้ปีชงนั้นมีพฤติกรรมในการแก้ปีชงในระดับปานกลาง ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายในการแก้ปีชงอยู่ที่ 101 – 500 บาท สำหรับผู้ที่ไม่เคยแก้ปีชงนั้นมีการเปิดรับสื่อและความถี่เกี่ยวกับการแก้ปีชงประเภทสื่อมวลชนในระดับต่ำ ประเภทสื่อรูปแบบใหม่ในระดับต่ำ และประเภทสื่อบุคคลในระดับต่ำ โดยทัศนคติเกี่ยวกับความเชื่อเรื่องปีชงอยู่ในระดับไม่เชื่อมั่น ทั้งนี้ผู้ที่ไม่เคยแก้ปีชงนั้นมีพฤติกรรมในการไปแก้ปีชง (ที่คาดว่าจะทำเมื่อไปแก้ปีชง) ในระดับต่ำ ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายที่คิดจะใช้เมื่อไปแก้ปีชงอยู่ที่ต่ำกว่า 100 บาท


ทัศนคติ ความพึงพอใจ และแนวโน้มพฤติกรรมของผู้บริโภคต่อการให้บริการตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภค (C2c), ไวยกรณ์ จริตไวทย์ Jan 2019

ทัศนคติ ความพึงพอใจ และแนวโน้มพฤติกรรมของผู้บริโภคต่อการให้บริการตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภค (C2c), ไวยกรณ์ จริตไวทย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตัวแปรพยากรณ์ที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อของผู้บริโภคต่อการให้บริการตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภค (C2C) โดยมีปัจจัยที่ใช้ศึกษา 3 ปัจจัย ได้แก่ 1. ทัศนคติต่อการสื่อสารตลาดแบบบูรณาการ (IMC) 2. ความพึงพอใจต่อบริการหลังการขาย และ 3. การมีส่วนร่วมของผู้บริโภค โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจด้วยการเก็บข้อมูลแบบสอบถามออนไลน์ กับกลุ่มตัวอย่างอายุระหว่าง 25-49 ปี เป็นผู้เคยซื้อสินค้าออนไลน์จากผู้ขายรายย่อยผ่านผู้ให้บริการตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) แบบการเลือกตัวแปรโดยวิธีเพิ่มตัวแปรอิสระแบบขั้นตอน (Stepwise Regression) ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจต่อบริการหลังการขายมากที่สุด โดยพึงพอใจมากต่อเงื่อนไขการบริการหลังการขายที่มีความเป็นธรรม จากการวิเคราะห์ด้วยวิธีการถดถอยเชิงพหุคูณแบบขั้นตอน พบว่า สมการพยากรณ์ความตั้งใจซื้อของผู้บริโภคที่ดีที่สุด คือ “ความตั้งใจซื้อของผู้บริโภค = 3.402 + (0.145)บริการหลังการขาย” โดยสามารถพยากรณ์ความตั้งใจซื้อได้ร้อยละ 02 ทั้งนี้ ที่บริการหลังการขายสามารถพยากรณ์ความตั้งใจซื้อ อาจเป็นไปได้ว่า เงื่อนไขการบริการหลังการขายที่มีความเป็นธรรม สามารถทำให้ผู้บริโภคเกิดความพึงพอใจ และนำไปสู่ความตั้งใจซื้อของผู้บริโภคได้


Loyalty Of Taylor Swift's Fans And Their Uses Of Social Media During Crisis Regarding Music Ownership Controversy, Nidawan Asavataweechok Jan 2019

Loyalty Of Taylor Swift's Fans And Their Uses Of Social Media During Crisis Regarding Music Ownership Controversy, Nidawan Asavataweechok

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objectives of this research were to study fans loyalty, fans’ perception on crisis management of Taylor Swift, and their uses of social media and to explore the relationship among these three variables. Two hundred and twenty-three respondents who are Taylor Swift’s fans, aged between 18 and 35 years old were asked to complete an online questionnaire survey. The results depicted that the respondents had a positive opinion about fans loyalty (M = 4.39). Moreover, the respondents had a positive perception on crisis management of Taylor Swift (M = 4.53) and use social media in a positive way (M = …


ปัจจัยกำหนดพฤติกรรมการซื้อสินค้าสำหรับของเด็กช่วงก่อนวัยเรียนของแม่เจเนอเรชันวาย, คณัสวรรณ อัศวจงรัก Jan 2019

ปัจจัยกำหนดพฤติกรรมการซื้อสินค้าสำหรับของเด็กช่วงก่อนวัยเรียนของแม่เจเนอเรชันวาย, คณัสวรรณ อัศวจงรัก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยกำหนดพฤติกรรมการซื้อสินค้าสำหรับเด็กช่วงก่อนวัยเรียนของแม่เจเนอเรชันวาย และ 2) อิทธิพลของปัจจัยกำหนดพฤติกรรมการซื้อสินค้าสำหรับเด็กช่วงก่อนวัยเรียนต่อความตั้งใจซื้อของแม่เจเนอเรชันวาย โดยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ และใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างแม่เจเนอเรชันวายในกรุงเทพมหานคร ที่มีอายุ 26-43 ปี และมีบุตรช่วงก่อนวัยเรียน อายุ 2-5 ปี จำนวน 613 ชุด ผ่านช่องทางออนไลน์ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยกำหนดพฤติกรรมการซื้อสินค้าทั้ง 4 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล (บุคลิกภาพ และการหาข้อมูล) ปัจจัยทางจิตวิทยา (แรงจูงใจ และทัศนคติต่อการซื้อ) ปัจจัยทางสังคม (อิทธิพลของกลุ่มอ้างอิง และอิทธิพลของการบอกต่อผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์) และปัจจัยทางวัฒนธรรม (ความเป็นคติรวมหมู่) ล้วนมีความสำคัญต่อการซื้อสินค้ารถเข็นเด็ก (สินค้าประเภทเน้นประโยชน์ใช้สอย) และเสื้อผ้าเด็ก (สินค้าประเภทเน้นความเพลิดเพลินทางอารมณ์) นอกจากนั้น ผลการศึกษาอิทธิพลของปัจจัยกำหนดพฤติกรรมการซื้อทั้ง 4 ปัจจัยต่อความตั้งใจซื้อสินค้า พบว่า บุคลิกภาพแบบไม่มั่นคงทางอารมณ์ มีอิทธิพลเชิงลบต่อการซื้อสินค้าทั้งสองประเภท ในขณะที่การหาข้อมูล ทัศนคติต่อการซื้อ และอิทธิพลของกลุ่มอ้างอิงด้านค่านิยมในการแสดงออก มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความตั้งใจซื้อสินค้าทั้งสองประเภท


อิทธิพลของการใช้บุคลิกภาพต้นแบบและรูปแบบการโฆษณา บนแอปพลิเคชันรายงานคุณภาพอากาศที่มีต่อทัศนคติและความตั้งใจซื้อ, ณัชชา กมลพันธ์ Jan 2019

อิทธิพลของการใช้บุคลิกภาพต้นแบบและรูปแบบการโฆษณา บนแอปพลิเคชันรายงานคุณภาพอากาศที่มีต่อทัศนคติและความตั้งใจซื้อ, ณัชชา กมลพันธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยประยุกต์ใช้ร่วมกับการวิจัยกึ่งทดลอง แบบ 2x2 แฟคทอเรียล เพื่อศึกษาอิทธิพลหลักและอิทธิพลร่วมของ 2 ปัจจัย ได้แก่ 1) การออกแบบ แอปพลิเคชันรายงานคุณภาพอากาศโดยใช้บุคลิกภาพต้นแบบ (บุคลิกภาพต้นแบบนักปราชญ์และบุคลิกภาพต้นแบบตัวตลก) และ 2) รูปแบบโฆษณาออนไลน์ (Native Ads และ Banner Ads) ที่มีต่อทัศนคติ ต่อแอปพลิเคชัน ทัศนคติต่อตราสินค้า และความตั้งใจซื้อของผู้บริโภค โดยจัดการสำรวจและเก็บข้อมูลแบบสอบถามออนไลน์จากนิสิตระดับปริญญาตรีของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 120 คน ในช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2563 ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบบุคลิกภาพต้นแบบและรูปแบบโฆษณาออนไลน์มีอิทธิพลหลักและ อิทธิพลร่วมต่อทัศนคติต่อตราสินค้าและความตั้งใจซื้อของผู้บริโภค โดยการออกแบบแอปพลิเคชันรายงานคุณภาพอากาศโดยใช้บุคลิกภาพต้นแบบนักปราชญ์และโฆษณาออนไลน์ Native Ads มีอิทธิพลต่อทัศนคติ ต่อตราสินค้าและความตั้งใจซื้อของผู้บริโภคมากกว่าการใช้บุคลิกภาพต้นแบบตัวตลกและโฆษณาออนไลน์ Banner Ads การวิจัยครั้งนี้สามารถใช้เป็นแหล่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการสื่อสารการตลาดเกี่ยวกับ เรื่องสิ่งแวดล้อมและสุขภาพผ่านแอปพลิเคชัน สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่มีอายุระหว่าง 18-23 ปี เพื่อให้เกิดทัศนคติเชิงบวกและความตั้งใจซื้อ โดยแบ่งออกเป็น 2 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการออกแบบแอปพลิเคชัน ควรเน้นการให้ข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อผู้บริโภค และ 2) ด้านการโฆษณาออนไลน์ ควรทำโฆษณาให้มีรูปแบบที่สอดแทรกไปกับเนื้อหาของแพลตฟอร์มต่าง ๆ และไม่ทำให้ผู้บริโภครู้สึกได้ว่ากำลังเปิดรับโฆษณา


รูปแบบการดำเนินชีวิต และการเปิดรับข่าวสารเพื่อการเตรียมตัวเข้าสู่วัยผู้สูงอายุของผู้หญิงก่อนวัยผู้สูงอายุ, ดวงหทัย สว่างภพ Jan 2019

รูปแบบการดำเนินชีวิต และการเปิดรับข่าวสารเพื่อการเตรียมตัวเข้าสู่วัยผู้สูงอายุของผู้หญิงก่อนวัยผู้สูงอายุ, ดวงหทัย สว่างภพ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์จัดกลุ่มและอธิบายรูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้หญิงก่อนวัยผู้สูงอายุ รวมถึงเพื่อสำรวจการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพ การเงินและที่อยู่อาศัยของผู้หญิงก่อนวัยผู้สูงอายุ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ด้วยวิธีการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้หญิง อายุ 45-59 ปี อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 410 คน และทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยการวิเคราะห์เชิงพรรณนา (Descriptive Analysis) และการวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor Analysis) ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้หญิงก่อนวัยผู้สูงอายุ สามารถแบ่งได้เป็น 9 กลุ่ม ดังนี้ 1. กลุ่มดูดีมีระดับ 2. กลุ่มวางแผนชีวิตพิชิตเป้าหมาย 3. กลุ่มจิตใจเอื้อเฟื้อช่วยเหลือสังคม 4. กลุ่มกล้าคิดกล้าตัดสินใจ 5. กลุ่มทันยุคทันสมัย 6. กลุ่มสาวแกร่ง 7. กลุ่มเติบโตอย่างมั่นคง 8. กลุ่มสบาย ๆ ใส่ใจตัวเอง 9. กลุ่มอนุรักษ์นิยม การเปิดรับข่าวสารเพื่อการเตรียมตัวเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ พบว่า ผู้หญิงก่อนวัยผู้สูงอายุเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับมาก ผลิตภัณฑ์ด้านการเงินโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และผลิตภัณฑ์ด้านที่อยู่อาศัยโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ทั้งนี้ ผู้หญิงก่อนวัยผู้สูงอายุมีการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพ และการเงินผ่านสื่อใหม่อยู่ในระดับมาก ขณะที่ผลิตภัณฑ์ด้านที่อยู่อาศัยมีการเปิดรับข่าวสารผ่านสื่อใหม่อยู่ในระดับปานกลาง