Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Communication Technology and New Media Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 30 of 78

Full-Text Articles in Communication Technology and New Media

Black Female Athletes’ Use Of Social Media For Activism: An Intersectional And Cyberfeminist Analysis Of U.S. Hammer-Thrower, Gwen Berry's 2019 And 2021 Podium Protests, Ariel Newell Dec 2022

Black Female Athletes’ Use Of Social Media For Activism: An Intersectional And Cyberfeminist Analysis Of U.S. Hammer-Thrower, Gwen Berry's 2019 And 2021 Podium Protests, Ariel Newell

Electronic Theses, Projects, and Dissertations

Much attention has been paid to Black male athlete activism both historically and in the contemporary movement for black lives. Black female athletes have also made historic contributions as activists, and they continue to do so. However, Black female athlete activism has not always been acknowledged or heard. This is a problem, as Black women in American sports and society face overlapping racial and gender inequities and injustices that distinctly marginalize and oppress them. However, some Black female athlete activists (BFAAs) have begun using social media to challenge media narratives about themselves, to redefine what it means to be a …


Three Essays On The Political Economy Of Cultural Production And Creative Labor, Luke Pretz Oct 2022

Three Essays On The Political Economy Of Cultural Production And Creative Labor, Luke Pretz

Doctoral Dissertations

This dissertation investigates the relationships between capital, cultural production, and creative labor. Essay one theorizes the basis for the intensification of pop music stardom following the introduction of on-demand streaming technology. Prior to the emergence of on-demand streaming, record labels and broadcasters had a mutualistic relationship, wherein the near cost-free music provided by record labels formed the basis for radio broadcasts, which in turn formed the basis for the consumption of that music. Following the emergence of on-demand streaming the mutualistic relationship was ruptured. Broadcasters, in the form of streaming platforms, transitioned to the cost-efficient cultivation of masses of highly …


The Pandemic Is Not Killing Us, The Police Are Killing Us: How The Change In The Subjective Reality Of Nigerian Citizens Brought About The #Endsars Protests, Olabode Adefemi Lawal Aug 2022

The Pandemic Is Not Killing Us, The Police Are Killing Us: How The Change In The Subjective Reality Of Nigerian Citizens Brought About The #Endsars Protests, Olabode Adefemi Lawal

Electronic Theses, Projects, and Dissertations

Using the theory of the social construction of reality, I researched the multiple roles of social media in the Nigerian #EndSARS protests. I interviewed 16 Nigerian protesters from the #EndSARS movement for this study: eight participated in-person while eight protested in-person and digitally (hybrid). Participants were asked a series of scripted questions regarding the #EndSARS protests to understand the roles social media played in shaping the subjective reality of Nigerians during that time. Using thematic analysis, this thesis proposes that the change in the subjective reality of some Nigerians contributed to the October 2020 #EndSARS protests. This thesis also compares …


Georgia Southern University's Communication During Covid-19 Analyzed Using The Discourse Of Renewal Theory, Jessica Hickman May 2022

Georgia Southern University's Communication During Covid-19 Analyzed Using The Discourse Of Renewal Theory, Jessica Hickman

Honors College Theses

This research aims to analyze how Georgia Southern University handled COVID-19 through a public relations perspective using the discourse of renewal theory. In order to do this, this research looks at the communication sent from the University to the faculty, staff, and students during the time periods of March to April of 2020 and July to August of 2020. The three research questions this research will examine are: how did the University apply the discourse of renewal theory to speak to the students, faculty, and staff regarding COVID-19, how did the University use its email system to communicate with the …


Muslim Fashion Influencers Shaping Modesty In The Twenty-First Century On Social Media, Awa Sanno May 2022

Muslim Fashion Influencers Shaping Modesty In The Twenty-First Century On Social Media, Awa Sanno

Student Theses and Dissertations

The depiction of Muslim women in Western media has been a long-running joke, as they are framed to be oppressed by the burdens of their religion and the hijab. However, Muslim women have used the power of social media to counter that narrative through their large followings as fashion influencers, digital creators, food bloggers, makeup artists, lifestyle bloggers, musicians, and so much more. Specifically, Muslim fashion influencers are changing and redefining the notion of modesty throughout their posted content on social media. Many people in Muslim communities see this redefinition of modesty as a conflict with the "proper" ways of …


Because Potato, Candice Evers May 2022

Because Potato, Candice Evers

MFA in Illustration & Visual Culture

This thesis project explores the phenomenological qualities of the internet; asking, since the internet is difficult to grasp, what other modes of investigation might we have available? Using an investigative framework set forth by Jack Halberstam, this thesis declines to come to knowledge solely through understanding the formal, the structural, the highly visible and mainstream. The literature that I have gathered provides a range of modes for interrogating the simultaneously central and inconsequential subject of my thesis itself: the potato. Juxtaposing the physical, political and material conditions of the potato the internet’s least academic mode of knowing: the meme. Analyzing …


The Great Resignation: A Content Analysis Of News Sources' Portrayals Of The Covid-19 Labor Shortage., Mackenzie Williams May 2022

The Great Resignation: A Content Analysis Of News Sources' Portrayals Of The Covid-19 Labor Shortage., Mackenzie Williams

College of Arts & Sciences Senior Honors Theses

When workers left the labor market in large numbers during the COVID-19 pandemic, proclamations of a labor shortage emerged extensively throughout the news. In this study, I analyze the coverage of the worker shortage among three news sources with different political orientations. Several themes emerged from analyzing a total of 75 articles. The findings showed that the perspective shown in the article, the cause of the labor shortage, restaurant worker portrayal, support of solutions, and opinion of the labor shortage all differed based on the political identity of the news source. This research supports previous findings that show there is …


Monsters In Media: A Textual Analysis Of True Crime In Narrative Journalism, Rachel Sansano Apr 2022

Monsters In Media: A Textual Analysis Of True Crime In Narrative Journalism, Rachel Sansano

Honors Theses

True crime podcasts are a favorite among listeners everywhere. Their dramatic, intriguing, real-world stories have a way of pulling in people. Once you have been sucked into this community there is no escaping. For armchair detectives everywhere, true crime podcasts are an entertainment staple. These podcasts tell us stories of the worst criminals known to man. But is there more to these episodes than just a surface-level story? What are the deeper messages that these podcasts are sending?

This paper will look at the use of new journalism styles in new media formats. More specifically, this article looks at narrative …


Come Close And Listen: Exploring The Intimacy Of Audio Media, Eleanor Kingwell Sharples Hoover Apr 2022

Come Close And Listen: Exploring The Intimacy Of Audio Media, Eleanor Kingwell Sharples Hoover

Honors Theses

This thesis aims to demonstrate the power of the audio medium to connect speaker and listener, as a result of the uniquely intimate nature of the medium. By understanding how speakers and listeners connect through audio, the research reveals that the audio medium is a sustainable media outlet, one that is durable despite changes in culture in the media market, that has transformed over time, all while keeping itself within the principal constraints of its original form, that being sound as conveyed to a listener. Three interviews were conducted with individuals situated in different areas of the audio media landscape; …


Sharing The News: The Role Of Social Media In News Diffusion And Audience Building In Media Houses In Kenya, Isaac Swila Feb 2022

Sharing The News: The Role Of Social Media In News Diffusion And Audience Building In Media Houses In Kenya, Isaac Swila

Theses & Dissertations

The purpose of the study is to assess how media houses in Kenya are using social media to diffuse their news content and build loyal audiences in a competitive media environment. It uses two media houses, the Nation Media Group and Royal Media Services as case studies. The study aimed at attaining four specific objectives: to examine how social media platforms, facilitate diffusion of news content in media houses in Kenya; to examine whether sharing of news on social media lead to growth of digital audiences; to examine the strategies legacy media stations in Kenya, use to disseminate news content …


Promoting Climate Change Mitigation & Supporting Ngos: Converging The Theory Of Planned Behavior & The Elaboration Likelihood Model, Passant Mostafa Halawa Jan 2022

Promoting Climate Change Mitigation & Supporting Ngos: Converging The Theory Of Planned Behavior & The Elaboration Likelihood Model, Passant Mostafa Halawa

Theses and Dissertations

In the 21st century, public opinion's attention in developed nations has increasingly been directed to climate change and the urgency for humanity to take action. The main discourse is that climate change would have devastating consequences on a global scale, threatening humanity’s existence. However, in most developing countries climate change is generally not regarded as an important topic and climate change messages suffer from poor public engagement. Most recent research has investigated climate change communication efficiency in developed countries. The novelty of this study lies in understanding the effectiveness of climate change messages in the Egyptian context. More specifically this …


อิทธิพลของประสบการณ์ลูกค้า ภาพลักษณ์ตราสินค้าสีเขียว และอัตนิยมเชิงวัฒนธรรมต่อความตั้งใจซื้อสินค้าของร้านกาแฟแบบบริการเต็มรูปแบบ, ไปรยา เจษฎานฤสาร Jan 2022

อิทธิพลของประสบการณ์ลูกค้า ภาพลักษณ์ตราสินค้าสีเขียว และอัตนิยมเชิงวัฒนธรรมต่อความตั้งใจซื้อสินค้าของร้านกาแฟแบบบริการเต็มรูปแบบ, ไปรยา เจษฎานฤสาร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของประสบการณ์ลูกค้าจากช่องทางที่หลากหลาย ประสบการณ์ลูกค้าทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านความสอดคล้อง 2) ด้านการเชื่อมต่อ 3) ด้านการผสมผสาน 4) ด้านความยืดหยุ่น และ 5) ด้านเฉพาะบุคคล ภาพลักษณ์ตราสินค้าสีเขียว อัตนิยมเชิงวัฒนธรรม ความเป็นสากลนิยมที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าของร้านกาแฟแบบบริการเต็มรูปแบบ และเพื่อวิเคราะห์ตัวแปร ได้แก่ ประสบการณ์ลูกค้าจากช่องทางที่หลากหลาย ภาพลักษณ์ตราสินค้าสีเขียว อัตนิยมเชิงวัฒนธรรม ความเป็นสากลนิยม และความตั้งใจซื้อ โดยงานวิจัยชิ้นนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจ เก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างที่มีกำลังซื้อ และอยู่ในช่วงอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป จำนวน 400 ตัวอย่าง เมื่อนำมาวิเคราะห์การถดถอยแบบเส้นตรงพหุคูณ (Multiple Linear Regression) พบว่า ประสบการณ์ลูกค้าจากช่องทางที่หลากหลาย ความเป็นสากลนิยม และภาพลักษณ์ตราสินค้าสีเขียวที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าของร้านกาแฟแบบบริการเต็มรูปแบบมากที่สุดตามลำดับ คิดเป็นร้อยละ 33.40 ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 อย่างไรก็ตาม ผู้วิจัยต้องการทราบว่า ตัวแปรประสบการณ์ลูกค้ามีตัวแปรในทุก ๆ ด้านที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อ หรือมีตัวแปรย่อยด้านใดที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าของร้านกาแฟแบบบริการเต็มรูปแบบ จึงทำการทดสอบสมมติฐานที่ 2 เมื่อทำการทดสอบเพิ่มเติมโดยทำการแยกตัวแปรย่อยของตัวแปรประสบการณ์ลูกค้าออกเป็น 5 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการเชื่อมต่อ ด้านการผสมผสาน ด้านความสอดคล้อง ด้านความยืดหยุ่น และด้านเฉพาะบุคคล พบว่า ตัวแปรย่อยด้านความสอดคล้อง และด้านความยืดหยุ่นมีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าของร้านกาแฟแบบบริการเต็มรูปแบบมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 33.40 ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 และไม่มีตัวแปรอื่น ๆ มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้ออย่างมีนัยสำคัญระดับ 0.05


อิทธิพลของคุณลักษณะบุคคลและคุณลักษณะความเชื่อ ต่อพฤติกรรมผู้บริโภคกลุ่มวัยเริ่มต้นทำงาน, กัญญารัตน์ วิโรจนะ Jan 2022

อิทธิพลของคุณลักษณะบุคคลและคุณลักษณะความเชื่อ ต่อพฤติกรรมผู้บริโภคกลุ่มวัยเริ่มต้นทำงาน, กัญญารัตน์ วิโรจนะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงสำรวจในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) คุณลักษณะบุคคล (ได้แก่ คุณลักษณะพื้นฐาน และคุณลักษณะประกอบ) คุณลักษณะความเชื่อ และพฤติกรรมของผู้บริโภคกลุ่มวัยเริ่มต้นทำงาน (ได้แก่ ด้านโหราศาสตร์ ด้านความเชื่อลางร้าย ด้านเครื่องรางนำโชค ด้านการพนัน ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านสลากกินแบ่ง) และ 2) อิทธิพลของคุณลักษณะบุคคลและคุณลักษณะความเชื่อ ต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคกลุ่มวัยเริ่มต้นทำงาน โดยเก็บข้อมูลผ่านช่องทางออนไลน์จากกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ 23 – 29 ปี เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และมีงานทำในปัจจุบัน จำนวน 403 คน ผลการวิจัยพบว่า คุณลักษณะพื้นฐานที่มีผลต่อคุณลักษณะความเชื่อของผู้บริโภคกลุ่มวัยเริ่มต้นทำงาน ได้แก่ ความต้องการด้านวัตถุ ความต้องการด้านร่างกาย และความไม่มั่นคงทางอารมณ์ ส่วนคุณลักษณะประกอบที่มีผลต่อคุณลักษณะความเชื่อของผู้บริโภคกลุ่มวัยเริ่มต้นทำงาน ได้แก่ การอยู่กับปัจจุบัน และคุณลักษณะความเชื่อ มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ ด้านโหราศาสตร์ ด้านความเชื่อลางร้าย ด้านเครื่องรางนำโชค ด้านการพนัน ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านสลากกินแบ่ง โดยคุณลักษณะความเชื่อมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมด้านโหราศาสตร์มากที่สุด


การเล่าเรื่อง ความเกี่ยวพัน และการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคต่อการวิจารณ์ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวด้วยการสื่อสารวิทยาศาสตร์ของยูทูบเบอร์ด้านความงาม, กรภัค พัฒนคงภัทร์ Jan 2022

การเล่าเรื่อง ความเกี่ยวพัน และการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคต่อการวิจารณ์ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวด้วยการสื่อสารวิทยาศาสตร์ของยูทูบเบอร์ด้านความงาม, กรภัค พัฒนคงภัทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และอธิบายวิธีการสื่อสารและการเล่าเรื่องทางวิทยาศาสตร์ในการวิจารณ์ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวของยูทูบเบอร์ด้านความงาม และอธิบายอิทธิพลของความถี่การเปิดรับการสื่อสารวิทยาศาสตร์ การรับรู้ต่อการสื่อสารวิทยาศาสตร์ ความชื่นชอบการเล่าเรื่องทางวิทยาศาสตร์ และความเกี่ยวพันกับเนื้อหาข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ต่อการตัดสินใจซื้อ โดยใช้การวิจัยแบบผสมผสาน เริ่มจากการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกยูทูบเบอร์ความงาม จำนวน 1 ช่อง ได้แก่ GURUCHECK ร่วมกับการวิเคราะห์การเล่าเรื่องทางวิทยาศาสตร์ของยูทูบเบอร์ความงาม จำนวน 3 ช่อง ได้แก่ ingck GURUCHECK และ EB.Bahboh จำนวน 15 ตอน และการวิจัยเชิงปริมาณด้วยการวิจัยเชิงสำรวจ ใช้แบบสอบถามออนไลน์เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 400 คน ผลการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า การสื่อสารวิทยาศาสตร์ของยูทูบเบอร์ด้านความงามประกอบด้วย ยูทูบเบอร์นำความเชี่ยวชาญของตนเองมานำเสนอเป็นเนื้อหาในรูปแบบคลิปวิจารณ์ โดยมีวิธีการสื่อสารแบบกึ่งเผยแพร่กึ่งสนทนาแลกเปลี่ยนความเห็นด้วยการสนทนนาผ่านการผลิตคลิปวิจารณ์และการเล่าเรื่องด้วยมุมมองทางวิทยาศาสตร์ผ่านยูทูบ ทั้งนี้ผลที่เกิดกับผู้ชมเป็นผลด้านความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาและการได้รับข้อมูลผลิตภัณฑ์ตามความต้องการ และพบว่าผู้ชมมีส่วนร่วมในการวิจารณ์ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวผ่านการแสดงความคิดเห็นและแบ่งปันเนื้อหาวิดีโอบนสื่อสังคม การเล่าเรื่องทางวิทยาศาสตร์ของยูทูบเบอร์ฯ พบว่า มีความสอดคล้องในด้านการใช้ภาษา สัญลักษณ์ และเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับผู้ชม มีการเล่าเรื่องผ่านตัวละครแบบผลิตภัณฑ์เป็นวีรบุรุษ ปัญหาสุขภาพผิวเป็นวายร้าย และผู้ชมเป็นเหยื่อ มีการสร้างปมปัญหาเป็นเรื่องเกี่ยวกับการบำรุงรักษาผิวหรือการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์บำรุงผิว โดยดำเนินเรื่องตามลำดับเหตุการณ์ แก่นเรื่องที่นำเสนอ ได้แก่ ทุกสิ่งอย่างที่เกิดขึ้นล้วนมีเหตุ-ปัจจัย และเช็คก่อนใช้ อ่านฉลากและส่วนผสมก่อนซื้อ ทั้งนี้มีการโน้มน้าวใจด้วยหลักฐานและการรับรองเหตุผลที่ใช้ประกอบการเล่าเรื่องทางวิทยาศาสตร์ ผลการวิจัยเชิงสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างติดตามช่องยูทูบวิจารณ์ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวในระดับมาก มีความถี่การรับชมการวิจารณ์ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวอยู่ที่ 2-3 วัน/สัปดาห์ การรับรู้ต่อการสื่อสารวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับมากที่สุด ความชื่นชอบการเล่าเรื่องทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับมากที่สุด ความเกี่ยวพันกับเนื้อหาข้อมูลทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับมากที่สุด และการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคอยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ความเกี่ยวพันกับเนื้อทางวิทยาศาสตร์ (ß = 0.431) ความชื่นชอบตัวละคร (ß = 0.233) การรับรู้ต่อการมีส่วนร่วม (ß = 0.211) การรับรู้ต่อเนื้อหา (ß = - 0.144) การรับรู้ต่อผลการสื่อสาร (ß = 0.115) และความชื่นชอบการถ่ายทอดปัญหาและการดำเนินเรื่อง (ß = - 0.094) มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05


ภาพตัวแทนแม่บ้านในละครโทรทัศน์ไทยกับความเป็นจริงของชีวิตแม่บ้าน, ณัฐนันท์ สมพึ่งทอง Jan 2022

ภาพตัวแทนแม่บ้านในละครโทรทัศน์ไทยกับความเป็นจริงของชีวิตแม่บ้าน, ณัฐนันท์ สมพึ่งทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษา เรื่อง “ภาพตัวแทนและความเป็นจริงของแม่บ้านในละครโทรทัศน์ไทย” มีจุดประสงค์เพื่อ ศึกษาภาพตัวแทนและความเป็นจริงของแม่บ้านในละครโทรทัศน์ไทย โดยใช้กลุ่มตัวอย่างละครโทรทัศน์ทั้งหมด 7 เรื่อง คือ เพลิงนาง ปมเสน่หา เพลิงปริศนา เขยบ้านไร่ สะใภ้ไฮโซ สะใภ้ไร้ศักดินา เรยา ฉันชื่อบุษบา นำมาเปรียบเทียบกับชีวิตจริงของผู้หญิงที่ประกอบอาชีพแม่บ้านที่ทำงานอยู่ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร และใช้ชีวิตพักอาศัยอยู่ในบ้านนายจ้าง ผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จำนวน 7 คน และ ศึกษาปัจจัยเชิงโครงสร้างทางสังคมที่มีผลต่อภาพตัวแทนของแม่บ้านในละครโทรทัศน์ไทย ผลการศึกษาพบว่า ตัวบทสร้างภาพตัวแทนของแม่บ้านในละครโทรทัศน์ไทย ให้มีภาพแทนของแม่บ้านที่เป็นผู้สนับสนุนนายจ้าง ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับความเป็นจริงของชีวิตแม่บ้าน พบว่า แม่บ้านในชีวิตจริงมีสถานะเป็นลูกจ้างที่ทำงานให้นายจ้าง แม่บ้านในละครโทรทัศน์กับชีวิตจริงของแม่บ้าน มีความแตกต่างในด้านลักษณะทางประชากรศาสตร์ สวัสดิการ การได้รับความเท่าเทียม การแต่งกาย และมีความคล้ายคลึงในส่วนของปัจจัยทางสังคมด้านเศรษกิจและด้านการศึกษา ในส่วนของปัจจัยเชิงโครงสร้างทางสังคมมีผลต่อภาพตัวแทนของแม่บ้านในละครโทรทัศน์ไทย มีดังนี้ 1) ด้านปิตาธิปไตย ละครโทรทัศน์สะท้อนให้เห็นถึงชุดความคิดของคนในสังคมที่ว่า“งานบ้าน เป็นงานของเพศหญิง” ในละครโทรทัศน์ไม่มีตัวละครพ่อบ้านปรากฏให้เห็นแบบปกติทั่วไปเหมือนตัวละครแม่บ้าน หากมีตัวละครที่มีลักษณะและบทบาทใกล้เคียง ก็มักถูกเรียกต่างออกไปไม่ถูกเรียกว่า “พ่อบ้าน” และมีหน้าที่เฉพาะเจาะจงอย่างชัดเจน เช่น คนสวน คนขับรถ 2) ด้านชนชั้น ภาพตัวละครแม่บ้านถูกจัดวางอยู่ในชนชั้นกรรมาชีพ (Proletariat) ซึ่งอยู่ในระดับชนชั้นต่ำของสังคมไทย 3) ด้านระบบทุนนิยม ภาพตัวละครแม่บ้านในละครโทรทัศน์ถูกภาวะเศรษฐกิจทุนนิยมที่ตรึงเครียดกดทับ ด้วยความยากจนที่บีบคั้น แม่บ้านจึงกลายเป็นผู้ที่ยอมรับกับความขัดแย้งและความเป็นศัตรูกันโดยธรรมชาติของนายจ้าง-ลูกจ้าง ยินยอมอยู่ในความสัมพันธ์แบบการขูดรีดเพื่อรายได้ในการเลี้ยงชีพ กล่าวคือ ภาพแม่บ้านในละครโทรทัศน์ถูกกดขี่ด้านการไม่ให้แสดงความคิดเห็น ไม่มีขอบเขตของงานบ้านและไม่มีเวลาการทำงานที่ชัดเจน ลักษณะงานของแม่บ้านทำลายเส้นแบ่งระหว่างเวลาและสถานที่ของการทำงาน (Work) กับเวลา และสถานที่ของการใช้ชีวิต เพราะผลผลิตของการผลิตอยู่ในรูปของอวัตถุ (Immaterial) ไม่ใช่การผลิตสินค้าที่เป็นวัตถุ (Material) ทำให้แยกงานกับชีวิตออกจากกันไม่ได้ และการใส่เครื่องแบบชุดแม่บ้านชาวตะวันตก สามารถทำให้คนในสังคมรับรู้ว่าพวกเขาเป็นใคร มีความสำคัญอย่างไรในสถานที่ที่พวกเขาทำงานอยู่ นำมาซึ่งการเกิดสัญญะของภาพตัวแทน 4) ด้านระบบการศึกษา ภาพแม่บ้านในละครโทรทัศน์เป็นผู้ที่มีระดับการศึกษาที่ไม่สูง 5) ด้านสิทธิแรงงาน ภาพแม่บ้านในละครโทรทัศน์ไม่ถูกนำเสนอเรื่องสวัสดิการที่ชัดเจน แต่ถูกนำเสนอทางอ้อมว่า ไม่มีวันหยุด และมีชั่วโมงทำงานที่ไม่แน่นอน 6) ด้านระบบสื่อมวลชนผลิตซ้ำภาพตัวแทน ลักษณะการสร้างภาพตัวละครในละครโทรทัศน์ (Portrayed) เป็นสิ่งที่สะท้อนจากผู้ผลิตรายการที่คาดว่าคนกลุ่มนั้นควรจะมีลักษณะอย่างไรในละครโทรทัศน์ ทำให้เกิดการผลิตซ้ำภาพตัวแทนของตัวละครที่นำเสนอในลักษณะเหมารวม เช่น แม่บ้านเป็นผู้ที่มีฐานะต่ำต้อย เป็นคนอีสาน เป็นผู้ไร้อำนาจ ต้องแสดงความนอบน้อม …


ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภค, ธาณุพรรณ ณ สงขลา Jan 2022

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภค, ธาณุพรรณ ณ สงขลา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณด้วยวิธีการสำรวจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่ออธิบายความห่วงใยต่อสิ่งแวดล้อม ทัศนคติต่อการซื้อรถยนต์ไฟฟ้า บรรทัดฐานกลุ่ม การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม การรับรู้คุณค่า และความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภค 2) เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของความห่วงใยต่อสิ่งแวดล้อมที่มีต่อ ทัศนคติต่อการซื้อรถยนต์ไฟฟ้า บรรทัดฐานกลุ่ม การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม และการรับรู้คุณค่าของผู้บริโภค 3) เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของทัศนคติต่อการซื้อรถยนต์ไฟฟ้า บรรทัดฐานกลุ่ม การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม และการรับรู้คุณค่า ที่มีต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภค โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคชาวไทยเจเนอเรชันเอกซ์ (Generation X) และผู้บริโภคเจเนอเรชันวาย (Generation Y) จำนวนทั้งสิ้น 500 คน ซึ่งต้องมีช่วงอายุอยู่ระหว่าง 27 - 58 ปี ไม่ได้เป็นเจ้าของรถยนต์ไฟฟ้า และต้องเคยได้ยินหรือรู้จักเกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้า โดย ผลวิจัยพบว่า ความห่วงใยต่อสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อ การรับรู้คุณค่า การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม ทัศนคติต่อการซื้อรถยนต์ไฟฟ้า และบรรทัดฐานกลุ่ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ ยังพบอีกว่า การรับรู้คุณค่า บรรทัดฐานกลุ่ม และการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ทัศนคติต่อการซื้อรถยนต์ไฟฟ้าไม่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้า


การเปิดรับ ทัศนคติ และความตั้งใจซื้อของผู้บริโภคที่มีต่อโฆษณาในรูปแบบวิดีโอสั้นบนแอปพลิเคชันติ๊กต๊อกของผลิตภัณฑ์ความงาม, นวียา แดงบุหงา Jan 2022

การเปิดรับ ทัศนคติ และความตั้งใจซื้อของผู้บริโภคที่มีต่อโฆษณาในรูปแบบวิดีโอสั้นบนแอปพลิเคชันติ๊กต๊อกของผลิตภัณฑ์ความงาม, นวียา แดงบุหงา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากร การเปิดรับ ทัศนคติ และความตั้งใจซื้อของผู้บริโภคที่มีต่อโฆษณาในรูปแบบวิดีโอสั้นบนแอปพลิเคชันติ๊กต๊อกของผลิตภัณฑ์ความงาม รวมถึงเพื่ออธิบายอิทธิพลของการเปิดรับและทัศนคติของผู้บริโภคต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ความงาม งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ ด้วยการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามออนไลน์ จากกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร และเคยเห็นโฆษณาแบบวิดีโอสั้นของผลิตภัณฑ์ความงามบนติ๊กต๊อก จำนวนทั้งสิ้น 400 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้บริโภคที่มีอาชีพแตกต่างกัน มีการเปิดรับโฆษณาในรูปแบบวิดีโอสั้นของผลิตภัณฑ์ความงามบนติ๊กต๊อกแตกต่างกัน 2) ผู้บริโภคที่มีเพศและอาชีพแตกต่างกัน มีทัศนคติต่อโฆษณาในรูปแบบวิดีโอสั้นของผลิตภัณฑ์ความงามบนติ๊กต๊อกแตกต่างกัน 3) ผู้บริโภคที่มีเพศและอาชีพแตกต่างกัน มีความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ความงามแตกต่างกัน 4) ปัจจัยด้านการเปิดรับและทัศนคติมีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ความงาม โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001


อิทธิพลของการสื่อสารการตลาดโดยใช้ชื่อศิลปินในแฮชแท็กทวิตเตอร์ต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของกลุ่มผู้ใช้ทวิตเตอร์ทั่วไปและกลุ่มผู้ชื่นชอบศิลปิน, สรรค์ โรจนทัพพะ Jan 2022

อิทธิพลของการสื่อสารการตลาดโดยใช้ชื่อศิลปินในแฮชแท็กทวิตเตอร์ต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของกลุ่มผู้ใช้ทวิตเตอร์ทั่วไปและกลุ่มผู้ชื่นชอบศิลปิน, สรรค์ โรจนทัพพะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากร การเปิดรับการสื่อสารการตลาดโดยใช้ชื่อศิลปินผ่านแฮชแท็กในทวิตเตอร์ ทัศนคติต่อตราสินค้า การรับรู้ตราสินค้าประเภทเกี่ยวพันต่ำ และการตัดสินใจซื้อสินค้าของกลุ่มผู้ใช้ทวิตเตอร์ทั่วไปและกลุ่มผู้ชื่นชอบศิลปิน รวมทั้งเพื่ออธิบายอิทธิพลของปัจจัยด้านการเปิดรับการสื่อสารการตลาด ทัศนคติต่อตราสินค้า และการรับรู้ตราสินค้าประเภทเกี่ยวพันต่ำที่มีต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของกลุ่มผู้ใช้ทวิตเตอร์ทั่วไปและกลุ่มผู้ชื่นชอบศิลปิน งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจ ด้วยการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามออนไลน์ จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มผู้ใช้ทวิตเตอร์ทั่วไป จำนวน 200 คน และกลุ่มผู้ชื่นชอบศิลปิน จำนวน 200 คน โดยประมวลผลในโปรแกรม SPSS ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มผู้ใช้ทวิตเตอร์ทั่วไปและกลุ่มผู้ชื่นชอบศิลปินมีการเปิดรับ ทัศนคติ การรับรู้ตราสินค้า และการตัดสินใจซื้อสินค้าแตกต่างกันอย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 โดยกลุ่มผู้ชื่นชอบศิลปินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มผู้ใช้ทวิตเตอร์ทั่วไปในทุก ๆ ปัจจัย 2) กลุ่มผู้ใช้ทวิตเตอร์ทั่วไปที่มีอายุ 18 – 24 ปี จะมีทัศนคติ การรับรู้ตราสินค้า และการตัดสินใจซื้อสินค้ามากกว่าอายุ 25 – 31 ปี 3) กลุ่มผู้ใช้ทวิตเตอร์ทั่วไปที่มีระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีและปริญญาตรีจะมีทัศนคติ การรับรู้ตราสินค้า และการตัดสินใจซื้อสินค้ามากกว่าระดับการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี 4) กลุ่มผู้ชื่นชอบศิลปินที่มีเพศและอายุที่ต่างกันมีทัศนคติต่อตราสินค้าแตกต่างกัน 5) ปัจจัยด้านการเปิดรับ ทัศนคติ และการรับรู้ตราสินค้ามีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001


อิทธิพลของผู้นำทางความคิดด้านความงามบนอินสตาแกรม ต่อทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภค, อภิชญา ศรีเทวฤทธิ์ Jan 2022

อิทธิพลของผู้นำทางความคิดด้านความงามบนอินสตาแกรม ต่อทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภค, อภิชญา ศรีเทวฤทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะของผู้นำทางความคิดด้านความงามบนอินสตา แกรม และศึกษาอิทธิพลของคุณลักษณะของผู้นำทางความคิดด้านความงามบนอินสตาแกรม ต่อทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภค โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเพศหญิง อายุระหว่าง 25-34 ปี ที่มีการกดติดตามข้อมูลจากช่องทางอินสตาแกรมของผู้นำทางความคิดด้านความงามอย่างน้อย 3 ใน 10 คน ที่ผู้วิจัยได้กำหนดไว้ และได้ติดตามข้อมูลอย่างน้อย 1 ครั้ง ใน 1 เดือนที่ผ่านมา จำนวน 400 คน ผลการวิจัยพบว่า คุณลักษณะของผู้นำทางความคิดด้านความงามทั้งสามด้านมีอิทธิพลต่อทัศนคติของผู้บริโภค โดยคุณลักษณะด้านความน่าเชื่อถือมีอิทธิพลต่อทัศนคติต่อผู้นำทางความคิดของผู้บริโภคมากที่สุด สำหรับการทดสอบอิทธิพลของคุณลักษณะของผู้นำทางความคิดต่อพฤติกรรมของผู้บริโภค พบว่า คุณลักษณะทั้งสามด้านมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมความตั้งใจซื้อของผู้บริโภค โดยคุณลักษณะด้านการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกึ่งความจริงมีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อมากที่สุด และมีเพียงคุณลักษณะด้านการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกึ่งความจริงคุณลักษณะเดียวที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคด้านการมีส่วนร่วม นอกจากนี้ การวิจัยยังพบว่าทัศนคติต่อผู้นำทางความคิดของผู้บริโภคมีอิทธิพลต่อทั้งพฤติกรรมการมีส่วนร่วมและความตั้งใจซื้อของผู้บริโภค


Generation Z Consumers’ Behavior On Jones’ Salad’S Online Marketing Communications, Pitchaya Watcharodomprasert Jan 2022

Generation Z Consumers’ Behavior On Jones’ Salad’S Online Marketing Communications, Pitchaya Watcharodomprasert

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objective of this research was to study consumer behavior on Jones’ Salad’s online marketing communications. Two hundred and thirty-eight people who are current customers purchasing Jones’ Salad once a month, exposed to the brand’s online marketing communications in the past three months, and aged between 18 and 25 years old residing in Thailand, were asked to complete online questionnaire survey. The findings in the cognitive part reveal that Jones’ Salad’s online platforms, especially Facebook and Instagram, are significant communication platforms among its Generation Z’s customers. The majority of the samples rely on Jones’ Salad online media for brand information. …


The Influence Of Human-Like Virtual Influencers On Intention To Purchase Beauty Products Among Chinese Female Gen Z, Sheng Liu Jan 2022

The Influence Of Human-Like Virtual Influencers On Intention To Purchase Beauty Products Among Chinese Female Gen Z, Sheng Liu

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objectives of this research include exploring consumers’ perceived trust, brand awareness, and purchase intention via human-like virtual influencers; and examining the influence of human-like virtual influencers on consumers’ perceived trust, brand awareness, and purchase intention based on the empirical research, especially by adapting the SMIV model. A total of 260 Chinese female Gen Z respondents between the ages of 18 and 25 were eligible to complete an online questionnaire survey. The results depicted that human-like virtual influencers’ informative value (β= 0.196 p < .001) and entertainment value (β= 0.181 p < .001), trustworthiness (β= 0.142 p < .01), similarity (β= 0.115 p < .05), and attractiveness (β= 0.292 p < .001) to the audiences strongly influence their trust in branded posts, which further influence purchase intentions (β= 0.198, p < .01).


The Chinese Media Narrative Of Thailand As A Tourist Destination After The Legalization Of Cannabis (For Medical Purposes Or Health Concerns), Shuang Deng Jan 2022

The Chinese Media Narrative Of Thailand As A Tourist Destination After The Legalization Of Cannabis (For Medical Purposes Or Health Concerns), Shuang Deng

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Thailand, a world-renowned tourist destination, officially decriminalized cannabis (for medical purposes or health concerns) in June 2022. This policy has aroused widespread international attention and discussion. This study aims to analyze Chinese media narratives on the legalization of cannabis in Thailand and Chinese netizens' attitudes toward this policy. The research uses content analysis to analyze posts of 4 Chinese social media accounts related to Thailand (3 Mainland China, and 1 Thai-Taiwan). Posts about Thailand’s legalization of cannabis on Chinese social media Weibo from Jan 2022 - Oct 2022 are collected. Chinese media mostly adopted a neutral attitude when narrating the …


ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้จุดจูงใจทางเพศ กับอารมณ์ ทัศนคติ และความตั้งใจสมัครสมาชิกของผู้บริโภคของสถานออกกำลังกาย, โกศล สรวมศรี Jan 2022

ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้จุดจูงใจทางเพศ กับอารมณ์ ทัศนคติ และความตั้งใจสมัครสมาชิกของผู้บริโภคของสถานออกกำลังกาย, โกศล สรวมศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงสำรวจในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การรับรู้จุดจูงใจทางเพศ อารมณ์ ทัศนคติ และความตั้งใจสมัครสมาชิกของผู้บริโภคของสถานออกกำลังกาย และ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้จุดจูงใจทางเพศ กับอารมณ์ ทัศนคติ และความตั้งใจสมัครสมาชิกของผู้บริโภคของสถานออกกำลังกาย โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลผ่านช่องทางออนไลน์จากกลุ่มตัวอย่าง อายุระหว่าง 23 – 42 ปี จำนวน 205 คน โดยเป็นผู้ที่มีการออกกำลังกายในฟิตเนสอย่างน้อย 2 ครั้ง ต่อสัปดาห์ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้จุดจูงใจทางเพศ อารมณ์ ทัศนคติ และความตั้งใจสมัครสมาชิกปานกลางค่อนไปทางมาก นอกจากนั้น การรับรู้จุดจูงใจทางเพศยังมีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับอารมณ์ ทัศนคติ และความตั้งใจสมัครสมาชิกของผู้บริโภค กล่าวคือ ยิ่งกลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้จุดจูงใจทางเพศมากเพียงใด ก็จะยิ่งมีอารมณ์ ทัศนคติ และความตั้งใจสมัครสมาชิกในเชิงบวกเช่นเดียวกัน นอกจากนั้น กลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ใช้บริการฟิตเนสเป็นประจำ มีอารมณ์ในเชิงบวกมากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ใช้บริการฟิตเนสเป็นครั้งคราว


ทัศนคติต่อโฆษณาแฝงในเนื้อหาในบริการโอทีทีแบบเก็บค่าสมาชิกการหลีกเลี่ยงโฆษณา การยอมรับด้านสิทธิ และความตั้งใจซื้อของผู้บริโภค, มัควัฒน์ บุญอาจ Jan 2022

ทัศนคติต่อโฆษณาแฝงในเนื้อหาในบริการโอทีทีแบบเก็บค่าสมาชิกการหลีกเลี่ยงโฆษณา การยอมรับด้านสิทธิ และความตั้งใจซื้อของผู้บริโภค, มัควัฒน์ บุญอาจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจการเปิดรับ ทัศนคติต่อโฆษณาแฝงในเนื้อหาในบริการโอทีทีแบบเก็บค่าสมาชิก การหลีกเลี่ยงโฆษณา การยอมรับด้านสิทธิ และความตั้งใจซื้อของผู้บริโภค 2) อธิบายความแตกต่างของทัศนคติต่อโฆษณาแฝงในเนื้อหาในบริการโอทีทีแบบเก็บค่าสมาชิก การหลีกเลี่ยงโฆษณา การยอมรับด้านสิทธิ และความตั้งใจซื้อของผู้บริโภคที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษาแตกต่างกันและ 3) อธิบายอิทธิพลของทัศนคติต่อโฆษณาแฝงในเนื้อหาในบริการโอทีทีแบบเก็บค่าสมาชิก การหลีกเลี่ยงโฆษณา การยอมรับด้านสิทธิ และความตั้งใจซื้อของผู้บริโภค เป็นการวิจัยเชิงปริมาณในรูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์เป็นเครื่องมือเก็บข้อมูล จำนวนรวม 200 คน วิเคราะห์ด้วยสถิติอ้างอิงเพื่อทดสอบความแตกต่างด้วยวิธีวิเคราะห์ t-test และ One Way ANOVA ทดสอบอิทธิพลของตัวแปรด้วยวิธีการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Linear Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างรับชมเนื้อหารายการแบบเก็บค่าสมาชิกด้วยโทรศัพท์สมาร์ทโฟนมากที่สุด มีความถี่ในการรับชมเนื้อหารายการแบบเก็บค่าสมาชิกเฉลี่ย 4 วันต่อสัปดาห์ และในแต่ละวันรับชม 2-3 ชั่วโมง มีทัศนคติโดยรวมต่อโฆษณาแฝงในเนื้อหารายการแบบเก็บค่าสมาชิกอยู่ในระดับปานกลาง มีพฤติกรรมการหลีกเลี่ยงโฆษณาแฝงในเนื้อหารายการแบบเก็บค่าสมาชิกโดยรวมอยู่ในระดับบางครั้ง มีการยอมรับด้านสิทธิของผู้บริโภคโดยรวมต่อโฆษณาแฝงจากการรับชมเนื้อหารายการแบบเก็บค่าสมาชิกอยู่ในระดับมาก และมีความตั้งใจซื้อสินค้าหรือบริการโฆษณาแฝงจากการรับชมเนื้อหารายการแบบเก็บค่าสมาชิกโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ผลการทดสอบสมมติฐานสรุปได้ว่า ผู้บริโภคที่มีเพศและระดับการศึกษาแตกต่างกันมีพฤติกรรมการหลีกเลี่ยงการรับชมโฆษณาแฝงในเนื้อหารายการแบบเก็บค่าสมาชิกแตกต่างกัน และอายุแตกต่างกันมีทัศนคติต่อโฆษณาแฝงในเนื้อหารายการแบบเก็บค่าสมาชิกแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้พบว่า ทัศนคติต่อโฆษณาแฝงในเนื้อหารายการแบบเก็บค่าสมาชิก (β = 0.516) มีอิทธิพลเชิงบวก ในขณะที่พฤติกรรมการหลีกเลี่ยงการรับชมโฆษณาแฝงจากการรับชมเนื้อหารายการแบบเก็บค่าสมาชิก (β = -0.128) มีอิทธิพลเชิงลบต่อการตั้งใจซื้อสินค้าโฆษณาแฝงจากการรับชมเนื้อหารายการแบบเก็บค่าสมาชิก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


พฤติกรรมการแสวงหาข้อมูล การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจในข้อมูลด้านกัญชาเพื่อการแพทย์ของผู้บริโภค, ศโรภาส น้อยศรี Jan 2022

พฤติกรรมการแสวงหาข้อมูล การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจในข้อมูลด้านกัญชาเพื่อการแพทย์ของผู้บริโภค, ศโรภาส น้อยศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจตัวแปรพฤติกรรมการแสวงหาข้อมูลด้านกัญชาเพื่อการแพทย์ของผู้บริโภค การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจในข้อมูลด้านกัญชาเพื่อการแพทย์ของผู้บริโภค โดยเจาะจงที่ด้านสื่อออนไลน์ซึ่งเป็นสื่อที่จำเป็นต้องใช้ความกระตือรือร้น และการอยากได้มาซึ่งข้อมูลในเชิงรุก และเพื่ออธิบายความสัมพันธ์ของพฤติกรรมการแสวงหาข้อมูล และการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจในข้อมูลด้านกัญชาเพื่อการแพทย์ของผู้บริโภค โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ ด้วยวิธีวิจัยเชิงสำรวจ ด้วยการใช้แบบสอบถามออนไลน์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ประชากรของงานวิจัย คือ กลุ่มบุคคลทั่วไปที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และเป็นผู้ที่มีการค้นหาข้อมูลด้านกัญชาเพื่อการแพทย์อย่างน้อย 1 ครั้ง ในช่วงเวลา 6 เดือนที่ผ่านมา จำนวน 205 คน และนำข้อมูลมาประมวลผลด้วยโปรแกรม SPSS (Statistic Package for the social Sciences) ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการแสวงหาข้อมูลด้านกัญชาเพื่อการแพทย์อยู่ในระดับบางครั้งบางคราว มีการใช้ประโยชน์ข้อมูลด้านกัญชาเพื่อการแพทย์นั้นอยู่ในระดับปานกลาง และมีความพึงพอใจในข้อมูลด้านกัญชาเพื่อการแพทย์อยู่ในระดับปานกลาง ผลการทดสอบสมมติฐานการวิจัยจำนวน 2 ข้อ ปรากฏดังนี้ พฤติกรรมการแสวงหาข้อมูล มีความสัมพันธ์กับการใช้ประโยชน์ข้อมูลด้านกัญชาเพื่อการแพทย์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 โดยมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง พฤติกรรมการแสวงหาข้อมูล มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในข้อมูลด้านกัญชาเพื่อการแพทย์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 โดยมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง


ปัจจัยที่ส่งผลต่อทัศนคติและความตั้งใจซื้อเครื่องประดับโชคลางของผู้บริโภค, ศุภิสรา กรมขันธ์ Jan 2022

ปัจจัยที่ส่งผลต่อทัศนคติและความตั้งใจซื้อเครื่องประดับโชคลางของผู้บริโภค, ศุภิสรา กรมขันธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณด้วยวิธีการวิจัยเชิงสำรวจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาบรรทัดฐานกลุ่ม การหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอน บุคลิกภาพแบบ 5 องค์ประกอบ ทัศนคติต่อเครื่องประดับโชคลาง และความตั้งใจซื้อเครื่องประดับโชคลางของผู้บริโภค 2. วิเคราะห์ปัจจัย (บรรทัดฐานกลุ่ม การหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอน และบุคลิกภาพแบบ 5 องค์ประกอบ) ที่มีอิทธิพลต่อทัศนคติต่อเครื่องประดับโชคลาง และความตั้งใจซื้อเครื่องประดับโชคลางของผู้บริโภค 3. อธิบายความสัมพันธ์ของทัศนคติต่อเครื่องประดับโชคลางและความตั้งใจซื้อเครื่องประดับโชคลาง 4. อธิบายความสัมพันธ์ของบรรทัดฐานกลุ่มและบุคลิกภาพแบบ 5 องค์ประกอบ ของผู้บริโภค และ 5. อธิบายความสัมพันธ์ของการหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอนและบุคลิกภาพแบบ 5 องค์ประกอบของผู้บริโภค โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ (Online questionnaire) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มคนเจเนอเรชันวาย (Gen Y) ในประเทศไทย ที่มีอายุระหว่าง 23 - 42 ปี จำนวน 250 คน โดยผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญกับบรรทัดฐานกลุ่ม ในระดับปานกลาง (M = 3.62) มีการหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอนในระดับสูง (M = 4.21) มีบุคลิกภาพแบบ 5 องค์ประกอบในระดับปานกลาง (M = 3.75) มีทัศนคติต่อเครื่องประดับโชคลางในระดับปานกลาง (M = 3.73) และมีความตั้งใจซื้อเครื่องประดับโชคลางในระดับปานกลาง (M = 3.63) ผลจากการวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นแบบพหุพบว่า บรรทัดฐานกลุ่มและบุคลิกภาพแบบ 5 องค์ประกอบ มีอิทธิพลต่อทัศนคติ (β = 0.51 และ 0.26 ตามลำดับ) และต่อความตั้งใจซื้อเครื่องประดับโชคลางของผู้บริโภค (β = 0.49 และ 0.25 ตามลำดับ) ในขณะที่ การหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอนมีอิทธิพลต่อทัศนคติและความตั้งใจซื้อเครื่องประดับโชคลางของผู้บริโภคอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ ยังพบว่า บรรทัดฐานกลุ่ม (r = 0.34) และการหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอน (r …


พฤติกรรมการแบ่งปันเนื้อหาลูกบนสื่อสังคมออนไลน์ของพ่อแม่คนไทย, ณัฐสริดา จันทร์น้อย Jan 2022

พฤติกรรมการแบ่งปันเนื้อหาลูกบนสื่อสังคมออนไลน์ของพ่อแม่คนไทย, ณัฐสริดา จันทร์น้อย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการแบ่งปันเนื้อหาลูกบนสื่อสังคมออนไลน์ของพ่อแม่คนไทย 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการแบ่งปันเนื้อหาลูกบนสื่อสังคมออนไลน์ของพ่อแม่คนไทย โดยอาศัยระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน ประกอบด้วย แบบสอบถามออนไลน์เป็นพ่อแม่คนไทย จำนวน 412 คน ที่มีอายุระหว่าง 18 – 45 ปี และมีลูกอายุต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ ควบคู่กับการสัมภาษณ์เชิงลึก พ่อแม่คนไทย 6 ประเภท ประเภทละ 2 คน รวมทั้งหมด 12 คน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 93.4 เป็นพ่อแม่ที่แบ่งปันเนื้อหาลูกบนสื่อสังคมออนไลน์ด้วยเหตุผลสำคัญคือ แรงจูงใจด้านอารมณ์ แรงจูงใจด้านปฏิสัมพันธ์ทางสังคม และแรงจูงใจด้านเทคโนโลยีส่วนพ่อแม่ที่ไม่แบ่งปันเนื้อหาลูกมีเหตุผลสำคัญ คือ เรื่องสิทธิความเป็นส่วนตัว และเกรงผลกระทบด้านลบที่มีต่อลูกในอนาคต ทั้งนี้พ่อแม่ส่วนใหญ่เริ่มแบ่งปันเนื้อหาในช่วงขวบปีแรกของลูก โดยแบ่งปันด้วยความถี่น้อยกว่าเดือนละครั้ง ผ่านแพลตฟอร์มเฟซบุ๊ก และมีการตั้งค่าผู้เข้าถึงเนื้อหา อย่างไรก็ตามพ่อแม่ส่วนใหญ่เลือกขอความยินยอมจากลูกก่อนแบ่งปันเนื้อหาเพียงบางครั้ง และมีถึงร้อยละ 22.1 ที่ไม่เคยขอความยินยอมจากลูกก่อนแบ่งปันเนื้อหาเลย ด้วยเหตุผลเรื่องลูกยังเด็ก ลูกยังไม่มีวิจารณญาณเพียงพอในการตัดสินใจ และมั่นใจว่าพ่อแม่เองสามารถเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูก ทั้งนี้ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการแบ่งปันเนื้อหาลูกบนสื่อสังคมออนไลน์ ประกอบด้วย ปัจจัยภายใน ได้แก่ ปัจจัยด้านความรู้ และปัจจัยภายนอก ได้แก่ ปัจจัยด้านการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ปัจจัยด้านเทคโนโลยี และปัจจัยด้านวัฒนธรรมและกระแสสังคม ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการขอความยินยอมจากลูกก่อนแบ่งปันเนื้อหา ประกอบด้วย ปัจจัยภายใน ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านความรู้ ปัจจัยด้านอารมณ์ และปัจจัยภายนอก ได้แก่ ปัจจัยด้านการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ปัจจัยด้านเทคโนโลยี ปัจจัยด้านวัฒนธรรมและกระแสสังคม ปัจจัยด้านกฎหมายและปัจจัยด้านรางวัล ผลการวิจัยครั้งนี้สะท้อนให้เห็นว่าพฤติกรรมการแบ่งปันเนื้อหาลูกบนสื่อสังคมออนไลน์ของพ่อแม่คนไทยสามารถสร้างพื้นที่แบ่งปันเรื่องราวที่เป็นความสุข ความทรงจำและเชื่อมสัมพันธ์กับผู้อื่น อย่างไรก็ตามในการแบ่งปันเนื้อหาลูกบนสื่อสังคมออนไลน์ พ่อแม่ต้องคำนึงถึงผลกระทบทางลบต่อลูกที่อาจจะเกิดขึ้นทั้งปัจจุบันและอนาคต โดยเฉพาะเรื่องสิทธิความเป็นส่วนตัวและการเปิดให้ลูกร่วมตัดสินใจในเรื่องของลูกที่มักถูกละเลยจากพ่อแม่คนไทย


ความรุนแรงบนฐานเพศสภาพในซีรีส์วาย, ปณต สิริจิตราภรณ์ Jan 2022

ความรุนแรงบนฐานเพศสภาพในซีรีส์วาย, ปณต สิริจิตราภรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรุนแรงบนฐานเพศสภาพที่ปรากฏในซีรีส์วาย ผลกระทบจากการนำเสนอความรุนแรงดังกล่าวและแนวทางในการนำเสนอเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเพศหลากหลายในซีรีส์วายให้มีความเหมาะสมตามมาตรฐานจริยธรรมสื่อ โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ตัวบทซีรีส์วาย รวมถึงสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มนักสิทธิมนุษยชน นักกิจกรรมด้านความเป็นธรรมทางเพศ และกลุ่มผู้ชมที่ทำงานภายใต้เครือข่ายภาคประชาสังคมด้านสิทธิความหลากหลายทางเพศ ที่เป็นบุคคลเพศหลากหลาย ผลการวิจัยพบว่า ความรุนแรงบนฐานเพศสภาพที่ปรากฏในซีรีส์วาย มีดังนี้ 1) การใช้กำลังประทุษร้าย 2) การแสดงออกถึงความเหยียดหยามทางวาจา 3) การกระทำทางเพศอันปราศจากความยินยอม 4) การปฏิบัติต่อคู่รักเสมือนอีกฝ่ายเป็นสมบัติของตน และ 5) การแบ่งแยกบทบาททางเพศ โดยที่ความรุนแรงเหล่านี้มักถูกนำเสนอออกมาในเชิงโรแมนติไซส์ อันเป็นการลดทอนความรุนแรงลง รวมทั้งยังละเลยที่จะถ่ายทอดให้เห็นถึงผลกระทบที่ตามมาของความรุนแรงนั้น ๆ ซึ่งการนำเสนอเช่นนี้ส่งผลกระทบดังนี้ คือ 1) ปัญหาความรุนแรงบนฐานเพศสภาพถูกลดความสำคัญ 2) สร้างภาพจำหรือภาพลักษณ์เหมารวมให้กับกลุ่มบุคคลเพศหลากหลาย 3) สร้างความกดดันแก่บุคคลเพศหลากหลาย ให้พยายามเปลี่ยนแปลงตนเองเพื่อให้ได้รับการยอมรับ และ 4) เรื่องสิทธิต่าง ๆ ของบุคคลเพศหลากหลายถูกละเลย ในส่วนของแนวทางการนำเสนอเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเพศหลากหลาย พบว่ามีแนวทางดังนี้ 1) การสร้างสรรค์เนื้อหาสื่อที่เกี่ยวข้องกับบุคคลเพศหลากหลายควรจะมีความหลากหลายมากขึ้น อาทิ ด้านตัวละคร ด้านเนื้อหา 2) สื่อควรนำเสนอประเด็นความรุนแรงบนฐานเพศสภาพออกมาอย่างครอบคลุมรอบด้าน และ 3) การอาศัยความร่วมมือหรือการมีส่วนร่วมจากฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อผลิตสื่อที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับบุคคลเพศหลากหลายให้มีความสร้างสรรค์


Women In American Pop Music: Christina Aguilera’S Impact On Cultural Narratives, Chin Wai (Rosie) Wong Jan 2022

Women In American Pop Music: Christina Aguilera’S Impact On Cultural Narratives, Chin Wai (Rosie) Wong

Undergraduate Honors Theses

Pop music as a mainstream medium is often more enjoyed than critically studied. Former studies and literatures point out a major issue that many American female pop music artists face. These artists are often confined in a box that reduces their full human-being attributes to a narrowed view, where their identity is portrayed in a diminishing and inaccurate way. Despite this narrowed narrative of what a woman should be, this box has become a norm that many female artists must adhere to in order to achieve mainstream success. This paper responds to this phenomenon by analyzing Christina Aguilera’s music, spanning …


กลวิธีการเล่าเรื่องจากประสบการณ์ตรงของผู้ประพันธ์ในวรรณกรรมโรคซึมเศร้า, นันทพร ตงสาลี Jan 2022

กลวิธีการเล่าเรื่องจากประสบการณ์ตรงของผู้ประพันธ์ในวรรณกรรมโรคซึมเศร้า, นันทพร ตงสาลี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการเล่าเรื่องของหนังสือที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการถ่ายทอดประสบการณ์ตรงของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าและความคิดเห็นของผู้รับสาร โดยเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้วิธีการศึกษาเนื้อหาจากวรรณกรรมร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึกกับนักเขียนและผู้รับสาร ผลการวิจัยพบว่า 1) หนังสือที่เขียนโดยผู้ประพันธ์ชาวไทยทุกเรื่องเล่าถึงบรรยากาศภายในบ้านและปัญหาความสัมพันธ์ภายในครอบครัว ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าเรื่องเล่าของผู้ประพันธ์ชาวไทยผูกติดกับปัญหาครอบครัว และสถานที่ที่พบการเล่าถึงรองลงมาคือโรงพยาบาลที่ผู้ประพันธ์เข้ารับการรักษาโรคซึมเศร้า 2) หนังสือฉบับแปลที่เขียนโดยผู้ประพันธ์ชาวเกาหลีใต้เล่าถึงบรรยากาศภายในบ้านและปัญหาความสัมพันธ์ภายในครอบครัวเช่นเดียวกับที่พบในเรื่องเล่าที่เขียนโดยผู้ประพันธ์ชาวไทย อาจสันนิษฐานได้ว่าด้วยค่านิยมการเลี้ยงดูของครอบครัวชาวเอเชียที่ใกล้เคียงกันจึงทำให้เกิดลักษณะร่วมนี้ขึ้น ในขณะที่เรื่องที่เขียนโดยชาวตะวันตก ไม่ได้เล่าถึงรายละเอียดเกี่ยวกับครอบครัวเท่าใดนัก เน้นไปที่การเล่าถึงสภาพสังคมที่ให้ค่ากับวัตถุจนเป็นปัญหาที่ส่งผลต่อสุขภาพจิตของผู้คนในสังคมและนำไปสู่การป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ทั้งนี้ แก่นความคิดหลักที่พบในทุกเรื่องที่นำมาศึกษาคือการมีความหวังที่ผู้ป่วยจะสามารถรักษาโรคซึมเศร้าให้หายหรือมีอาการดีขึ้นได้ ขณะเดียวกันผู้ป่วยไม่ได้กำลังเผชิญกับโรคนี้อยู่เพียงลำพัง อย่างน้อยยังมีผู้ประพันธ์ที่กำลังเผชิญและต่อสู้กับโรคนี้อยู่ด้วยเช่นกัน หนังสือประเภทนี้จึงเป็นเหมือนเพื่อนที่เข้าใจสิ่งที่ผู้ป่วยกำลังเผชิญอยู่และคอยเป็นกำลังใจให้ และ 3) ผู้รับสารคิดว่าหนังสือประเภทนี้เป็นประโยชน์ต่อทุกคน แต่ที่ควรอ่านเป็นพิเศษคือครอบครัวและคนที่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยเพื่อที่จะได้เข้าใจและระวังไม่กระทำการใดๆ ที่อาจเป็นการซ้ำเติมให้ผู้ป่วยมีอาการแย่ลง ขณะเดียวกันผู้ที่ต้องระวังความเหมาะสมของเนื้อหาและสภาพจิตใจของตนเองเป็นพิเศษก่อนอ่านคือผู้อ่านที่เป็นผู้ป่วยและสภาพจิตใจยังไม่มั่นคงนัก เนื่องจากเนื้อหาของบางเรื่องอาจกระตุ้นให้นึกถึงเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในอดีตได้