Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Communication Technology and New Media Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 30 of 82

Full-Text Articles in Communication Technology and New Media

Chatting Online: An Ethnographic Case Study Of Educator Discourse On Social Media, Lindsay J. Russell Dec 2019

Chatting Online: An Ethnographic Case Study Of Educator Discourse On Social Media, Lindsay J. Russell

UNLV Theses, Dissertations, Professional Papers, and Capstones

This study sought to examine the online discussions of teachers located in the Southwestern area of the United States regarding social justice issues on social media. Specifically, it looked to discover how educators in this region are attempting to assert agency when faced with socially inequitable situations. Teachers in this region are hired as public employees in a state that penalizes public workers for exhibiting opinions (SRS § 288.260, 1969).

The study utilized Cultural Historical Activity Theory along with Critical Multiculturalism to demonstrate that our present actions are culturally and historically situated while illuminating hegemonic forces. The study found that …


Social Media, Journalism And Crisis: Twitter Representation Of #Syrianrefugees In Western News Media, Ahmad Khaled Alshallal Dec 2019

Social Media, Journalism And Crisis: Twitter Representation Of #Syrianrefugees In Western News Media, Ahmad Khaled Alshallal

Dissertations

Generally, there have been conflicts in the world regarding media coverage especially on #SyrianRefugees in Western media. It is undebatable that the Western states have political stability and peace; thus, they remain better hosts for asylum seekers and other refugees who come in search of greener pastures. However, current trends have hindered such countries from being ideal hubs because citizens have basic fears including those related to national security. Refugee situations have attracted lots of controversies over the years to the point that the concern is evident in the media. This dissertation explores the crisis of Syrian refugees and the …


Superhero Tv– Analyzing The Narrative Techniques Of The Cw’S The Flash (2014 - Present) & The Netflix Original Program Daredevil (2015 - 2018), Dasmond R. Mcmillan Dec 2019

Superhero Tv– Analyzing The Narrative Techniques Of The Cw’S The Flash (2014 - Present) & The Netflix Original Program Daredevil (2015 - 2018), Dasmond R. Mcmillan

Theses and Dissertations

Shaped by contemporary television industry distribution practices and the phenomenon of binge-viewing culture, Netflix introduced its version of narrative storytelling via original drama series that rival traditional linear broadcast network series narratives. This thesis project is a textual analysis that evaluates the separate narrative strategies of two different, but very similar, superhero television drama series that appear on two different distribution platforms. In this thesis, I analyze and compare the Netflix original series Daredevil (2015 – 2018) to The CW series The Flash (2014 – present) to find out if they share any narrative similarities or differences with linear TV …


Can Cooler Heads Prevail? New Media Technology And Affective Polarization, Brian Kendall Watson Jun 2019

Can Cooler Heads Prevail? New Media Technology And Affective Polarization, Brian Kendall Watson

LSU Doctoral Dissertations

Are new media technologies stirring up negative partisan feelings in the American public? Can researchers find ways of using new media tools to reduce affective polarization? Relying on a series of experiments featuring online newsfeeds and social media discussions, this dissertation seeks to answer these questions by testing the influence of partisan news and political discussions in realistic Internet environments. Two custom news “portals” (2016, 2018) expose participants to actual partisan news content. Two Facebook discussion experiments (2017, 2019) randomly assign participants to start real political discussions on their personal social media accounts, using discussion-initiation strategies designed to reduce partisan …


#Whyididntreport: Using Social Media Analysis To Inform Issues With Sexual Assault Reporting, Jordyn Warren Jun 2019

#Whyididntreport: Using Social Media Analysis To Inform Issues With Sexual Assault Reporting, Jordyn Warren

LSU Master's Theses

The #MeToo movement allowed victims of sexual assault to go public with their stories. When Dr. Christine Blasey Ford came forward with allegations against Supreme Court nominee Brett Kavanaugh in September of 2018, she was scrutinized by President Trump for not reporting the incident to authorities “when it happened nearly 30 years ago.” Promptly, #WhyIDidntReport came to fruition on Twitter, uncovering the shame victims feel and the complexities behind why so many individuals didn’t and still don’t report their assaults. Victim-service agencies “provide victims with support and services to facilitate their physical and emotional recovery, offer protection from future victimizations, …


An Examination Of Sound Resource Libraries And Their Applications At Bowling Green State University, Madeleine Grimm May 2019

An Examination Of Sound Resource Libraries And Their Applications At Bowling Green State University, Madeleine Grimm

Honors Projects

In this applied research project, I have explored the uses and limitations of sound resources at Bowling Green State University for student projects. My goal has been to create a stock music library for students on campus to have easy access to for class projects and portfolio work. In this project I address: How can a university best manage its stock music and sound resources; are there any standards for best practices or outstanding examples? What sound resources currently exist for student use in general and at BGSU? How are these sound resources currently managed at BGSU? What are the …


Must Stay Woke: Black Celebrity Voices Of Dissent In The Post Post-Racial Era, Lily Kunda Apr 2019

Must Stay Woke: Black Celebrity Voices Of Dissent In The Post Post-Racial Era, Lily Kunda

Institute for the Humanities Theses

In today’s racially charged climate there is an expectation that black celebrities cry out #BlackLivesMatter, get on the field to #TakeAKnee and be #UnapologeticallyBlack whenever they are in the spotlight. This climate transcends what was once seen as a post-racial America— a time where the media portrayed race as no longer being an issue— and encourages black celebrities to address racism. Prior research on black celebrities by Sarah J. Jackson, Ellis Cashmore, bell hooks, James Baldwin and others acknowledges the historical burden placed on black celebrities to publicly discuss racism and represent blackness in order to challenge dominant narratives. Today, …


The Visual Presidency Of Donald Trump's First Hundred Days: Political Image Making And Digital Media, Ryan T. Strand Jan 2019

The Visual Presidency Of Donald Trump's First Hundred Days: Political Image Making And Digital Media, Ryan T. Strand

Senior Honors Projects, 2010-2019

From frequent scrum photos of the president holding up signed executive orders in the Oval Office to images of the president energetically sitting behind the wheel of a Mack truck parked outside his back door, like previous administrations, visuals have been central to Donald Trump's presidency. This chapter analyzes the visuals on White House social media accounts (i.e., Twitter and Facebook) in Trump's first 100 days office and explores how his administration used visuals as an essential vehicle for storytelling, image building, and persuading. Building on previous research on the communicative functions of visual symbols in politics, the chapter finds …


พฤติกรรมผู้บริโภคและคุณค่าตราสินค้าของแอปเปิ้ลวอทช์, ปรัชธินีย์ ชนะโอภาส Jan 2019

พฤติกรรมผู้บริโภคและคุณค่าตราสินค้าของแอปเปิ้ลวอทช์, ปรัชธินีย์ ชนะโอภาส

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงสำรวจในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมผู้บริโภคต่อสินค้า Apple Watch ซึ่งได้แก่ การรับรู้ของผู้บริโภค ทัศนคติของผู้บริโภค พฤติกรรมการซื้อสินค้า และความพึงพอใจของผู้บริโภค และ 2) คุณค่าตราสินค้า Apple ของผู้บริโภค อันประกอบด้วย การตระหนักรู้ในตราสินค้า การเชื่อมโยงตราสินค้า คุณภาพของตราสินค้าที่ถูกรับรู้ และความภักดีต่อตราสินค้า โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเพศชายและเพศหญิง อายุระหว่าง 25-35 ปี จำนวน 211 คน ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร รวมถึงเป็นผู้ซื้อและใช้สินค้า Apple Watch มาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริโภคมีพฤติกรรมต่อ Apple Watch และคุณค่าตราสินค้าต่อ Apple ทั้ง 4 ตัวแปรย่อยในเชิงบวกทุกตัวแปรย่อยที่วัด นอกจากนั้น พฤติกรรมผู้บริโภคต่อสินค้า Apple Watch ทั้ง 4 ตัวแปรย่อย มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับคุณค่าตราสินค้า Apple อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


การเปิดรับข่าวสาร ความรู้ และภาพลักษณ์กองทัพเรือ ของผู้ใช้เฟซบุ๊กแฟนเพจกองประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ, นงลักษณ์ จิตต์อารีย์ Jan 2019

การเปิดรับข่าวสาร ความรู้ และภาพลักษณ์กองทัพเรือ ของผู้ใช้เฟซบุ๊กแฟนเพจกองประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ, นงลักษณ์ จิตต์อารีย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) ด้วยการใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจ (Survey research) โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ (Online questionnaire) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และทำการศึกษากับกลุ่มตัวอย่างเฉพาะผู้ติดตามเฟซบุ๊กแฟนเพจกองประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ จำนวน 200 คน ช่วงเวลาที่เก็บแบบสอบถามคือเดือนมิถุนายน 2563 และประมวลผลข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS ผลการวิจัย มีดังนี้ 1) ผู้ติดตามเฟซบุ๊กแฟนเพจกองประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ รู้จักเฟซบุ๊กแฟนเพจจากที่เพื่อนแบ่งปัน (Share) ข้อมูลในช่องทางออนไลน์ อาทิ เว็บไซต์ เฟซบุ๊ก ไลน์ เป็นต้น 2) ค่าเฉลี่ยการเปิดรับข่าวสารโดยรวมอยู่ในระดับน้อย 3) ความถี่ในการเห็นโพสต์จากหน้า New Feed 1 - 2 ครั้งต่อสัปดาห์ 4) ความถี่ในการเข้าชมแฟนเพจ 1 - 2 ครั้ง ต่อสัปดาห์ 5) ค่าเฉลี่ยระยะเวลาในการเข้าชมแฟนเพจแต่ละครั้งน้อยกว่า 15 นาที 6) มีความสนใจในเนื้อหาของเพจเรื่องการชี้แจงเหตุการณ์ที่สังคมกำลังให้ความสนใจเกี่ยวกับกองทัพเรือมากที่สุด 7) มีความรู้เกี่ยวกับกองทัพเรืออยู่ในระดับสูง 8) มีความคิดเห็นต่อภาพลักษณ์กองทัพเรือในเชิงบวกอยู่ในระดับมากที่สุด 9) มีความคิดเห็นต่อภาพลักษณ์กองทัพเรือในเชิงบวกด้านการดำเนินงานของกองทัพเรือมากที่สุด 10) การเปิดรับข่าวสาร ไม่มีความสัมพันธ์กับ ความรู้เกี่ยวกับกองทัพเรือ 11) การเปิดรับข่าวสาร มีความสัมพันธ์กับ ความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพลักษณ์กองทัพเรือ 12) ความรู้เกี่ยวกับกองทัพเรือ มีความสัมพันธ์กับ ความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพลักษณ์กองทัพเรือ


พฤติกรรมผู้ปกครองต่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยผ่านยูทูบ, ณัฐนรี ทินนโชติ Jan 2019

พฤติกรรมผู้ปกครองต่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยผ่านยูทูบ, ณัฐนรี ทินนโชติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงสำรวจในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมผู้ปกครองต่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยผ่าน YouTube รวมถึงศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติและพฤติกรรมของผู้ปกครองต่อการรับชม YouTube ของเด็ก โดยเก็บข้อมูลกับผู้ปกครอง อายุระหว่าง 26 ถึง 56 ปี และมีบุตรหลานที่กำลังศึกษาในชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึง 3 จำนวน 217 คน ผลการวิจัยพบว่า โดยรวมผู้ปกครองมีทัศนคติเชิงบวกต่อการรับชม YouTube ของเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งทัศนคติด้านการรับชม YouTube ทำให้เกิดการเรียนรู้ใหม่ๆ พัฒนาการด้านภาษา และพัฒนาการจากความรู้ต่างประเทศ และผู้ปกครองส่วนใหญ่มีพฤติกรรมเชิงบวกต่อการรับชม YouTube โดยเน้นไปที่ด้านการให้ความรู้กับเด็กเกี่ยวกับสื่อ นอกจากนี้ยังพบว่า ทัศนคติรวมและพฤติกรรมของผู้ปกครองต่อการรับชม YouTube ของเด็กมีความสัมพันธ์กันในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


The Relationship Between Brand Experience And Brand Equity Of Marimekko, Bundaree Deewong Jan 2019

The Relationship Between Brand Experience And Brand Equity Of Marimekko, Bundaree Deewong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objectives of this research are as of following: to explore brand experience and brand equity of Marimekko and to explore the relationship among these two variables. The respondents of this research are two hundred and three Thai women who are first-jobbers, living in Bangkok, aged between 18 to 25 years old and recently bought Marimekko’s products in the past six months. The results depicted that the respondents had a positive opinion on brand experience of Marimekko (M = 3.67). Emotional experience receives the highest mean score (M = 4.18). In contrast, the lowest mean score was social experience (M …


The Effect Of Sales Promotion Types On Consumer Behavior, Warisra Wacharakorn Jan 2019

The Effect Of Sales Promotion Types On Consumer Behavior, Warisra Wacharakorn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objective of this research was to explore the effect of sales promotion type on consumer attitude and consumer purchase intention. The independent variable of this study included price-off and premium sales promotion. In addition, this research also explored the relationship between consumer attitude towards sales promotion type and consumer purchase intention. The dependent variables were consumer attitude and consumer purchase intention. The product used in the experiment was drinking water, a low involvement product. The study was conducted using the posttest only design. The data was collected from seventy seven undergraduate students at Chulalongkorn University at the end of …


การพัฒนาแบบจำลองการวัดแนวคิดมุ่งเน้นตราสินค้าขององค์กรที่ไม่ใช่ภาคธุรกิจเพื่อประยุกต์ใช้ในการสื่อสารองค์กร, กนก อมรปฏิพัทธ์ Jan 2019

การพัฒนาแบบจำลองการวัดแนวคิดมุ่งเน้นตราสินค้าขององค์กรที่ไม่ใช่ภาคธุรกิจเพื่อประยุกต์ใช้ในการสื่อสารองค์กร, กนก อมรปฏิพัทธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจองค์ประกอบการวัดแนวคิดมุ่งเน้นตราสินค้า 2) พัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของมาตรวัดแนวคิดมุ่งเน้นตราสินค้า และ 3) ตรวจสอบแบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุแนวคิดมุ่งเน้นตราสินค้ากับผลการดำเนินงานขององค์กรที่ไม่ใช่ภาคธุรกิจ โดยในกระบวนการพัฒนามาตรวัดนี้ เริ่มต้นจากการทบทวนความหมายระดับแนวคิด และองค์ประกอบของการวัดแนวคิดมุ่งตราสินค้า จากนั้นจึงดำเนินการเก็บข้อมูล และวิเคราะห์ผลข้อมูล 3 ขั้นตอนตามลำดับ ดังนี้ 1) การสัมภาษณ์เชิงลึกกับนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 11 ท่าน เพื่อนำไปพัฒนาเนื้อหาข้อคำถามเพิ่มเติม 2) การประเมินมิติของการวัด และ 3) การตรวจสอบหลักฐานความตรงตามโครงสร้าง การสำรวจทางไปรษณีย์ในระยะที่หนึ่งกับกลุ่มตัวอย่างซึ่งทำงานอยู่ในระดับบริหาร และระดับผู้จัดการชาวไทยที่รับผิดชอบหลักในงานบริหารทรัพยากรมนุษย์ งานวางแผนกลยุทธ์การตลาดองค์กร และงานสื่อสารองค์กรที่ไม่ใช่ภาคธุรกิจ จำนวน 114 คน ผลการประเมินมิติที่เหมาะสมตรงตามโครงสร้างการวัดใช้วิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ โดยมีเนื้อหาข้อคำถามรวมจำนวน 59 ข้อ สามารถจำแนกได้เป็น 7 องค์ประกอบตามกรอบแนวคิด คือ มิติค่านิยมมุ่งเน้นตราสินค้า 1) การมุ่งเน้นตราสินค้าภายใน 2) วัฒนธรรมตราสินค้า มิติบรรทัดฐานมุ่งเน้นตราสินค้า 3) การสื่อสารแบบผสมผสาน 4) การมีเป้าประสงค์ร่วมกัน มิติสัญลักษณ์มุ่งเน้นตราสินค้า 5) การบริหารเอกลักษณ์ตราสินค้า และมิติพฤติกรรมมุ่งเน้นตราสินค้า 6) การสร้างสัมพันธ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก 7) การสร้างสัมพันธ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน ส่วนผลการวิเคราะห์แบบจำลองการวัดจากชุดข้อมูลที่สำรวจทางไปรษณีย์ในระยะที่สอง จำนวน 235 คน ยืนยันองค์ประกอบตามโครงสร้างและได้มาตรวัดที่มีข้อคำถามทั้งหมดจำนวน 49 ข้อ ซึ่งผ่านเกณฑ์การทดสอบคุณภาพความเที่ยง ความตรงเชิงเหมือน และความตรงเชิงจำแนก นอกจากนี้ ผลการตรวจสอบทิศทางความสัมพันธ์ พบว่า องค์ประกอบวัฒนธรรมตราสินค้าส่งผลต่อการดำเนินงานองค์กรในภาพรวม และองค์ประกอบการมุ่งเน้นตราสินค้าภายใน กับการสร้างสัมพันธ์ผู้มีส่วนได้ส่วนภายในส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย


รูปแบบการดำเนินชีวิต พฤติกรรมการเปิดรับสื่อ และพฤติกรรมการซื้ออาหารเพื่อสุขภาพของมิลเลนเนียลไทย, ณัฐชนา ศรีวิทยา Jan 2019

รูปแบบการดำเนินชีวิต พฤติกรรมการเปิดรับสื่อ และพฤติกรรมการซื้ออาหารเพื่อสุขภาพของมิลเลนเนียลไทย, ณัฐชนา ศรีวิทยา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้บริโภคมิลเลนเนียลไทยสายสุขภาพ พฤติกรรมการเปิดรับสื่อ พฤติกรรมการซื้ออาหารเพื่อสุขภาพ ตลอดจนความสัมพันธ์ของพฤติกรรมการเปิดรับสื่อและพฤติกรรมการซื้ออาหารเพื่อสุขภาพของมิลเลนเนียลไทย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้บริโภคมิลเลนเนียลจำนวน 400 คน เกิดในช่วงปี พ.ศ. 2523 – 2543 และเคยซื้ออาหารเพื่อสุขภาพในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการวิเคราะห์เชิงพรรณนา การวิเคราะห์ปัจจัยหรือองค์ประกอบ และสถิติการวิเคราะห์เชิงอนุมานโดยใช้การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการดำเนินชีวิตของมิลเลนเนียลไทยสายสุขภาพ แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มรูปแบบการดำเนินชีวิตแบบใส่ใจสุขภาพ (The Health-conscious group) 2) กลุ่มรูปแบบการดำเนินชีวิตแบบรักนวัตกรรมและห่วงใยสิ่งแวดล้อม (The innovation and environment lover group) และ 3) กลุ่มรูปแบบการดำเนินชีวิตแบบตามกระแสนิยม (The fashionable group) พฤติกรรมการเปิดรับสื่อที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับสุขภาพในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมิลเลนเนียลเลือกใช้เว็บไซต์สื่อสังคมออนไลน์มากที่สุด ด้านพฤติกรรมการซื้ออาหารเพื่อสุขภาพ พบว่า มิลเลนเนียลนิยมซื้อน้ำผักผลไม้สกัด เครื่องดื่มสมุนไพร สถานที่ที่นิยมซื้ออาหารเพื่อสุขภาพ ได้แก่ ซูเปอร์มาร์เก็ต ห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ ทั้งนี้ พฤติกรรมการเปิดรับสื่อเกี่ยวกับสุขภาพทั้งในด้านความถี่ในการเปิดรับสื่อเกี่ยวกับสุขภาพ และระยะเวลาในการเปิดรับสื่อเกี่ยวกับสุขภาพ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้ออาหารเพื่อสุขภาพในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01


ภาพสะท้อนความโรแมนติกของผู้ก่อการร้ายในภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร, ณัฐวุฒิ นาคง Jan 2019

ภาพสะท้อนความโรแมนติกของผู้ก่อการร้ายในภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร, ณัฐวุฒิ นาคง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้มุ่งศึกษาลักษณะของผู้ก่อการร้ายที่ตัวละครวายร้ายสะท้อนในภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร การสร้างความโรแมนติกให้กับตัวละครวายร้าย และ สัมพันธ์ระหว่างผู้ก่อการร้ายและตัวละครวายร้าย โดยอาศัยแนวคิดการก่อการร้าย แนวคิดโรแมนติกนิยมและการสร้างตัวละคร และ แนวคิดภาพตัวแทนและการจำลอง เพื่อวิเคราะห์ตัวบท (Textual Analysis) ของภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโรดังต่อไปนี้ Avengers: Age of Ultron Captain America: Civil War Black Panther Avengers: Infinity War และ Endgame และ Aquaman ผลการศึกษาพบว่าตัวละครวายร้ายในภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโรเป็นภาพตัวแทนของผู้ก่อการร้ายที่มีความโรแมนติกและความเป็นมนุษย์มากขึ้น ขัดแย้งกับความเชื่อที่ผิดเกี่ยวกับผู้ก่อการร้ายที่แพร่หลาย ภาพของผู้ก่อการร้ายจึงสอดคล้องกับความเป็นจริงมากขึ้น นอกจากนี้ตัวละครวายร้ายยังนำเสนอคุณค่าและปัญหาทางสังคมที่เป็นที่สนใจในสังคมสมัยใหม่ เช่น การเหยียดชาติพันธุ์ การทำลายสิ่งแวดล้อม การใช้ความรุนแรง ฯลฯ ตัวละครวายร้ายที่มีความโรแมนติกยังสะท้อนการถดถอยของความเชื่อมั่นที่สาธารณะมีต่อระบบและสถาบันทางการปกครองที่มีแนวคิดอนุรักษ์นิยม อย่างไรก็ตามภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโรยังคงนำเสนอแนวคิดพัฒนาการนิยมแบบฉาบฉวยและสนับสนุนแนวคิดอนุรักษ์นิยมที่มีความเสี่ยงต่อการทำให้ผู้ชมนิ่งเฉยหรือต่อต้านการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ความย้อนแย้งระหว่างอนุรักษ์นิยมและพัฒนาการนิยมนี้อาจเป็นผลมาจากความพยายามของผู้ผลิตในการสร้างความหลากหลายให้แก่ตัวละครให้สอดคล้องสังคมปัจจุบันเพื่อขยายกลุ่มผู้ชมและผลประโยชน์ทางการเงิน อนึ่งแนวคิดและทฤษฎีทางด้านความงามเช่น ทวินิยม และ กลวิธีการเล่าเรื่องสามารถเสริมสร้างความรู้สึกสมจริงให้แก่ภาพตัวแทนและส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางอารมณ์ที่ผู้บริโภคมีต่อภาพตัวแทน


การสื่อสารการตลาดของผู้มีอิทธิพลด้านความงามที่มีความหลากหลายทางเพศและการรับรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมตอบสนองของผู้บริโภค, นันท์ชญา เดชผล Jan 2019

การสื่อสารการตลาดของผู้มีอิทธิพลด้านความงามที่มีความหลากหลายทางเพศและการรับรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมตอบสนองของผู้บริโภค, นันท์ชญา เดชผล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการสื่อสารการตลาดของผู้มีอิทธิพลด้านความงามที่มีความหลากหลายทางเพศ (2) ศึกษาการรับรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมตอบสนองของผู้บริโภคที่มีต่อการสื่อสารการตลาดของผู้มีอิทธิพลด้านความงามที่มีความหลากหลายทางเพศ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมตอบสนองของผู้บริโภคที่มีต่อการสื่อสารการตลาดของผู้มีอิทธิพลด้านความงามที่มีความหลากหลายทางเพศ (4) ศึกษาความแตกต่างทางลักษณะประชากรที่มีต่อการรับรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมตอบสนองของผู้บริโภคที่มีต่อการสื่อสารการตลาดของผู้มีอิทธิพลด้านความงามที่มีความหลากหลายทางเพศ โดยผลการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า ผู้มีอิทธิพลด้านความงามที่มีความหลากหลายทางเพศมีแนวทางในการสื่อสารการตลาดให้น่าสนใจโดยใช้ลักษณะเฉพาะของผู้มีความหลากหลายทางเพศ ทั้งวิธีการพูด น้ำเสียง ลักษณะท่าทาง ความกล้าแสดงออก และความคิดสร้างสรรค์ ช่วยเพิ่มมิติในการสื่อสารการตลาดให้น่าสนใจ ทั้งนี้ผู้มีอิทธิพลด้านความงามที่มีความหลากหลายทางเพศให้ความสำคัญกับเนื้อหาที่จะสร้างมากกว่าตัวตนในเรื่องเพศ และเข้าใจว่าการสนับสนุนการสื่อสารเรื่องความงามของผู้มีความหลากหลายทางเพศเป็นการแสดงจุดยืนที่ดีของตราสินค้าในเรื่องความเท่าเทียมทางเพศซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคยุคใหม่ให้ความสำคัญ นอกจากนี้ผลการวิจัยเชิงปริมาณพบว่า ผู้บริโภคกลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้โดยรวมอยู่ในระดับสูงและทัศนคติโดยรวมอยู่ในระดับค่อนข้างสูง โดยประเด็นที่มีทัศนคติอยู่ในระดับสูง คือ การติดตามผู้มีอิทธิพลด้านความงามที่มีความหลากหลายทางเพศเพราะเนื้อหาที่น่าสนใจโดยไม่ได้คำนึงถึงเรื่องเพศ ด้านพฤติกรรมตอบสนองโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ประเด็นที่มีการตอบสนองน้อยที่สุด คือ การแสดงความคิดเห็น (Comment)


การสื่อสารการแสดงเพื่อเสริมสร้างการรับรู้ การใช้ประโยชน์ และความพึงพอใจจากการเรียนรู้ภาษาอังกฤษในรายการ Loukgolf's English Room, ภัคจิรา เอกศิริ Jan 2019

การสื่อสารการแสดงเพื่อเสริมสร้างการรับรู้ การใช้ประโยชน์ และความพึงพอใจจากการเรียนรู้ภาษาอังกฤษในรายการ Loukgolf's English Room, ภัคจิรา เอกศิริ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการสร้างสรรค์เนื้อหาของรายการ Loukgolf’s English Room ที่พัฒนาจากสื่อสารการแสดง และเพื่อศึกษาการรับรู้ การใช้ประโยชน์ ความพึงพอใจ ของผู้ชมที่มีต่อการเรียนภาษาอังกฤษและการใช้ชีวิตในรายการ Loukgolf’s English Room โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) คลิปวิดีโอรายการ Loukgolf’s English Room ที่ออกอากาศตั้งแต่เดือนมกราคม-ธันวาคม พ.ศ.2562 รวมจำนวนทั้งหมด 47 ตอน การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลักจากกลุ่มผู้ผลิตรายการ (Key Informants) และการสนทนาแบบกลุ่ม (Focus group) กับกลุ่มผู้ชมรายการจำนวน 12 คน ที่เคยรับชมรายการตั้งแต่ 12 ตอนขึ้นไป ผลการวิจัยพบว่า รายการ Loukgolf’s English Room เป็นรายการเอดูเทนเมนต์ที่เรียนรู้ภาษาอังกฤษผ่านการสนทนาระหว่างพิธีกรและแขกรับเชิญ ซึ่งแขกรับเชิญเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงทั้งในและนอกวงการบันเทิง โดยการคัดเลือกประเด็นที่นำเสนอจะพิจารณาจากความน่าสนใจและมีประโยชน์จากเรื่องราวของแขกรับเชิญ และจัดลำดับเรื่องที่นำเสนอด้วยการเรียงตามลำดับเวลาหรือช่วงเวลาที่สำคัญในชีวิตของแขกรับเชิญ ซึ่งเมื่อผู้วิจัยได้วิเคราะห์ลักษณะเนื้อหารายการพบว่า เนื้อหารายการส่วนใหญ่เป็นเรื่องการทำงานของแขกรับเชิญมากที่สุด นอกจากนี้พิธีกรยังมีทักษะในการสื่อสารการแสดง เช่น การจัดการความคิด จินตนาการ และอารมณ์ความรู้สึก การจัดการภาษากาย และการจัดการใช้เสียง รวมถึงวิธีการสอนภาษาอังกฤษของพิธีกรที่มักจะสอดแทรกในระหว่างการพูดคุยกับแขกรับเชิญ ทั้งนี้จากการสนทนากลุ่มผู้ชมทั้ง 2 กลุ่ม พบว่า ผู้ชมมีการรับรู้ด้านเนื้อหาเรื่องของภาษาอังกฤษและข้อคิดที่ได้จากพิธีกรและแขกรับเชิญ ส่วนการนำไปใช้ประโยชน์และความพึงพอใจของผู้ชมมี 6 ด้าน คือ 1) การได้รับข้อมูลข่าวสารและคำแนะนำต่าง ๆ 2) การลดความรู้สึกไม่มั่นใจในตัวเอง 3) การเรียนรู้เกี่ยวกับสังคมและโลกกว้าง 4) เพื่อจะได้หาความรู้พื้นฐานในการติดต่อสัมพันธ์กับผู้คน 5) เพื่อฆ่าเวลา และ 6) เพื่อหาแบบแผนในการดำเนินชีวิต


ภาพลักษณ์นักการเมืองรุ่นใหม่และแนวโน้มการสนับสนุนของผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรก, ปัญจพล ตั้งวิริยะ Jan 2019

ภาพลักษณ์นักการเมืองรุ่นใหม่และแนวโน้มการสนับสนุนของผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรก, ปัญจพล ตั้งวิริยะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้มีจุดประสงค์เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรการเปิดรับสื่อเกี่ยวกับนักการเมืองรุ่นใหม่ การรับรู้ภาพลักษณ์นักการเมืองรุ่นใหม่ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรก และแนวโน้มการสนับสนุนของผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรก โดยศึกษากับนักการเมืองรุ่นใหม่ 3 คน ประกอบด้วย นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ นายพริษฐ์ วัชรสินธุ และนายเขตรัฐ เหล่าธรรมทัศน์ โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ ด้วยวิธีวิจัยเชิงสำรวจ โดยประชากรของงานวิจัย คือ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรกที่มีอายุ 18-25 หรือผู้ที่เกิดระหว่างปี 2537-2544 ซึ่งเป็นผู้ที่ยังไม่เคยมีประสบการณ์ในการเลือกตั้งสมาชิกผู้แทนราษฎร ในเขตกรุงเทพมหานครฯและปริมณฑลจำนวน 400 คน และนำมาประมวลผลข้อมูลผ่านโปรแกรม SPSS ผลการทดสอบสมมติฐานการวิจัยจำนวน 3 ข้อ ปรากฏดังนี้ 1. การเปิดรับสื่อเกี่ยวกับนักการเมืองรุ่นใหม่กับการรับรู้ภาพลักษณ์นักการเมืองรุ่นใหม่ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรกมีความสัมพันธ์กัน ในระดับต่ำ 2. การรับรู้ภาพลักษณ์นักการเมืองรุ่นใหม่กับแนวโน้มการสนับสนุนของผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรก มีความสัมพันธ์กัน ในระดับต่ำ 3. การเปิดรับสื่อเกี่ยวกับนักการเมืองรุ่นใหม่กับแนวโน้มการสนับสนุนของผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรกมีความสัมพันธ์กัน ในระดับต่ำ


การสื่อสารอัตลักษณ์ความเป็นไทยผ่านการเป็นเจ้าภาพการประกวดมิสยูนิเวิร์ส 2018 ประเทศไทย, ปริศญา คูหามุข Jan 2019

การสื่อสารอัตลักษณ์ความเป็นไทยผ่านการเป็นเจ้าภาพการประกวดมิสยูนิเวิร์ส 2018 ประเทศไทย, ปริศญา คูหามุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1)​ เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ความเป็นไทยที่ถูกถ่ายทอดผ่านการเป็นเจ้าภาพจัดประกวดมิสยูนิเวิร์ส 2018 ในประเทศไทย (2)​ เพื่อศึกษาการรับรู้ของผู้ชมชาวไทยและผู้ชมชาวต่างชาติที่มีต่อการสื่อสารอัตลักษณ์ความเป็นไทย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)​ จากเทปบันทึกการถ่ายทอดสด การประกวดมิสยูนิเวิร์ส​ 2018 รอบชิงชนะเลิศ​ และใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In Depth interview)​ กับผู้จัดการประกวด และผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอัตลักษณ์ไทย​ร่วมกับ​การวิเคราะห์เอกสาร (Documentary analysis)​ จากแหล่งข้อมูลที่เป็น​สื่อสังคมออนไลน์​ ได้แก่ เว็บไซต์ ยูทูบ และเฟซบุ๊ก​ ผลการวิจัย 1. การเป็นเจ้าภาพจัดประกวดมิสยูนิเวิร์ส 2018 ประเทศไทยนำเสนออัตลักษณ์ทางด้านวัฒนธรรมมากกว่าอัตลักษณ์ทางด้านธรรมชาติ ผ่านวิธีการสื่อสาร 5 รูปแบบ คือ วีดิทัศน์ การแสดง กราฟิกแบ็กกราวนด์ วัตถุที่จับต้องได้ และบุคคล โดยการสื่อสารอัตลักษณ์ความเป็นไทยแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ 1. ลักษณะอัตลักษณ์ความเป็นไทยแบบดั้งเดิม เช่น สถานที่ทางธรรมชาติ ภาษาไทย 2. ลักษณะที่ไม่ใช่อัตลักษณ์ความเป็นไทยแบบดั้งเดิม เช่น การไหว้ ดนตรีไทย นาฏศิลป์ไทย มวยไทย ประเพณีลอยโคม ช่อดอกไม้ จิตรกรรมลายกระหนกไทย สถาปัตยกรรมไทย เครื่องประดับไหล่ช่อฟ้า ทั้งนี้ความเป็นไทยที่ถูกคัดเลือกให้นำเสนอบนเวทีระดับโลกล้วนเป็นวัฒนธรรมหลวงหรือประเพณีหลวง (Great tradition) ซึ่งเป็นวัฒนธรรมระดับชาติหรือเป็นที่รู้จักกันดีและแสดงความเป็นตัวตนของชาตินั้น ๆ 2. ผู้ชมชาวไทยและผู้ชมชาวต่างชาติมีการรับรู้และทัศนคติแตกต่างกัน โดยผู้ชมชาวไทยสามารถรับรู้และเข้าใจอัตลักษณ์ความเป็นไทยได้มากกว่าผู้ชมชาวต่างชาติ ในภาพรวมผู้ชมทั่วโลกมีทัศนคติที่ดีต่อการเป็นเจ้าภาพจัดประกวดมิสยูนิเวิร์ส 2018 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ในขณะเดียวกันผู้ชมชาวไทยมีทัศนคติต่อการสื่อสารอัตลักษณ์ความเป็นไทยแตกต่างกัน โดยส่วนใหญ่ชื่นชมการนำเสนออัตลักษณ์ความเป็นไทยบนเวทีระดับโลก แต่ผู้ชมชาวไทยบางกลุ่มไม่เห็นด้วยกับการสื่อสารอัตลักษณ์ความเป็นไทยที่ไม่ใช่ดั้งเดิมและลดทอนความเป็นไทย เช่น เครื่องประดับไหล่ “ช่อฟ้า” ในรอบชุดว่ายน้ำ และ กราฟิกแบ็กกราวนด์ลายกระหนกไทยที่ลดทอดลายละเอียดที่สื่อถึงเอกลักษณ์ไทยลงไป


การสื่อสารเพื่อประกอบสร้างอัตลักษณ์นักแข่งอีสปอร์ตในประเทศไทย, ศุภกฤตษ์ จิตตภัทราวงศ์ Jan 2019

การสื่อสารเพื่อประกอบสร้างอัตลักษณ์นักแข่งอีสปอร์ตในประเทศไทย, ศุภกฤตษ์ จิตตภัทราวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่อง “การสื่อสารเพื่อประกอบสร้างอัตลักษณ์นักแข่งอีสปอร์ตในประเทศไทย”เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.) อธิบายลักษณะการสื่อสารเพื่อประกอบสร้างอัตลักษณ์ของนักแข่งอีสปอร์ต 2.) อธิบายลักษณะการสื่อสารอัตลักษณ์นักแข่งอีสปอร์ตต่อบุคคลภายนอกบนพื้นที่สาธารณะ และ 3.) อธิบายลักษณะการรับรู้อัตลักษณ์นักแข่งอีสปอร์ต จากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth interview) กับนักแข่งอีสปอร์ตในประเทศไทย ผู้เกี่ยวข้องกับอีสปอร์ตต่าง ๆ เช่น นักวิชาการ ผู้ฝึกสอนอีสปอร์ต ผู้สนับสนุน นักกีฬา เป็นอาทิ สัมภาษณ์แบบกลุ่ม (Focus group) การสังเกตการณ์อย่างไม่มีส่วนร่วมในพื้นที่การแข่งขันอีสปอร์ต (Non-participant Observation) พร้อมทั้งศึกษาเอกสารต่าง ๆ (Document analysis) ประกอบด้วย ผลการศึกษาพบว่า นักแข่งอีสปอร์ตมีการประกอบสร้างอัตลักษณ์ใน 2 พื้นที่ คือ 1.) โลกกายภาพ (Physical world) ผ่านการให้ความหมาย ตัวตนและภาพปรากฏ ลักษณะภาษาที่ใช้ และกระบวนการแข่งขันอีสปอร์ต 2.) พื้นที่โลกเสมือน (Virtual world) ผ่านการขยายตัว การตั้งชื่อ การสร้างตัวตนทั้ง 2 พื้นที่จะรวมเป็นอัตลักษณ์นักแข่งอีสปอร์ตและสื่อสารเพื่อรื้อสร้าง ประกอบสร้าง และต่อต้านภาพเหมารวมของสังคม การรับรู้และถอดรหัสอัตลักษณ์ของนักแข่งอีสปอร์ตของบุคคลคนในสังคมพบว่าการรับรู้อัตลักษณ์ของนักแข่งอีสปอร์ตจะมีการรับรู้อัตลักษณ์ผ่านการนิยามความหมาย รวมทั้งตัวตนและภาพปรากฏของนักแข่งอีสปอร์ตที่ไม่มีการแยกพื้นที่หรือช่วงเวลาเป็นสำคัญ อีกทั้งการรับรู้และถอดรหัสอัตลักษณ์นักแข่งอีสปอร์ตจะมีลักษณะที่แตกต่างกันตามความใกล้ชิด การติดตาม ซึ่งส่งผลต่อการยอมรับอัตลักษณ์นักแข่งอีสปอร์ต


กระบวนการคัดเลือก พัฒนาบทบาทนักแสดง และการเพิ่มมูลค่าให้กับนักแสดงซีรีส์วาย, ธันวา ว่องนราธิวัฒน์ Jan 2019

กระบวนการคัดเลือก พัฒนาบทบาทนักแสดง และการเพิ่มมูลค่าให้กับนักแสดงซีรีส์วาย, ธันวา ว่องนราธิวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษากระบวนการคัดเลือกนักแสดง และ การพัฒนาบทบาทนักแสดงสำหรับตัวละครคู่หลักในซีรีส์วาย และ เพื่อศึกษาการเพิ่มมูลค่าให้กับนักแสดงซีรีส์วาย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์แบบเชิงลึก และ การสังเกต กับบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องใน กระบวนการคัดเลือกนักแสดง พัฒนาบทบาทนักแสดง และ การเพิ่มมูลค่าให้กับนักแสดงซีรีส์วาย ได้แก่ ผู้กำกับซีรีส์วาย นักแสดงซีรีส์วาย ผู้จัดการนักแสดงซีรีส์วาย และ แบรนด์สินค้าที่ใช้นักแสดง ซีรีส์วายจำนวน 8 ท่าน จากซีรีส์ ด้ายแดง และ ธารไทป์ เดอะซีรีส์ ผลการวิจัยพบว่ากระบวนการคัดเลือกนักแสดงซีรีส์วายสามารถแบ่งได้เป็น 3 รูปแบบ ดังนี้การคัดเลือกแบบเปิด การคัดเลือกแบบปิด และ การคัดเลือกแบบผสม ซึ่งกระบวนการคัดเลือกนักแสดงซีรีส์วาย สามารถแบ่งได้เป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้ การเตรียมการทดสอบนักแสดง การทดสอบนักแสดงซีรีส์วาย และ การพิจารณาการคัดเลือกนักแสดง ซึ่งมีข้อค้นพบที่แตกต่างกับซีรีส์ทั่วไปคือกระบวนการคัดเลือกนักแสดงซีรีส์วายต้องมีการศึกษานิยายวายเพื่อวิเคราะห์บทบาทนักแสดง และ ต้องมีการทดสอบในเรื่องของเคมีคู่ของนักแสดงซีรีส์วาย ในการพัฒนาบทบาทนักแสดงซีรีส์วายสามารถแบ่งได้เป็น 4 ขั้นตอนดังนี้ การเวิร์คช็อปด้านการแสดง การเตรียมบุคลิกภาพภายนอกให้ตรงตามตัวละคร การพัฒนาทักษะพิเศษให้กับนักแสดง และ การสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีของทีมงานซีรีส์วาย ซึ่งมีข้อค้นพบที่แตกต่างกับซีรีส์ทั่วไปตรงที่ ทีมงานซีรีส์วายควรมีการสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีของทีมงานซีรีส์วายให้กับนักแสดง ในการเพิ่มมูลค่าให้กับนักแสดงซีรีส์วาย แบ่งได้เป็น 7 ขั้นตอนดังนี้ การพัฒนาทักษะให้กับตัวเอง การเตรียมตัวให้พร้อมเป็นส่วนหนึ่งกับแบรนด์สินค้า การใช้โซเชียลมีเดียในการเพิ่มมูลค่าให้กับนักแสดง การเดินสายโปรโมทกับสื่อมวลชน การสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับนักแสดงซีรีส์วาย การทำให้เกิดกระแสกับคู่ของตัวเอง และ การสร้างผลงานใหม่ ๆ ซึ่งมีข้อค้นพบที่แตกต่างกับซีรีส์ทั่วไปตรงที่นักแสดงซีรีส์วายห้ามเปิดตัวคู่รักในที่สาธารณะ นักแสดงซีรีส์วายควรมีจิตสำนึก และ ความรู้เพื่อที่จะสามารถเพิ่มมูลค่า และ รักษาไว้ซึ่งมูลค่าที่สร้างไว้เกี่ยวกับเรื่อง 3 เรื่องดังต่อไปนี้ ความไวต่อวัฒนธรรม การสร้างการมีส่วนร่วม และ ความถูกต้องทางการเมือง


Heuristics Used In Credibility Judgment Of Health Information On Facebook, Yaninee Petcharanan Jan 2019

Heuristics Used In Credibility Judgment Of Health Information On Facebook, Yaninee Petcharanan

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Facebook users worldwide had been facing challenges of information credibility. This study aimed to address this issue among Thai Facebook users by focusing on health information in particular, through a lens of heuristic approach. Data were collected from 50 informants by in-depth interviews and 480 responses from online surveys. All participants were at least 18 years old with a minimum of one year experience in using Facebook. The results revealed three different processes and five heuristics, namely, reputation heuristic, authority heuristic, expectancy violation heuristic, persuasive intense heuristic, and bandwagon heuristics that participants adopted when making a credibility judgment of health …


​ Manga In China’S Reform Era: Transformation, Assimilation And Imagination Of Popular Culture, Danhui Chen Jan 2019

​ Manga In China’S Reform Era: Transformation, Assimilation And Imagination Of Popular Culture, Danhui Chen

Senior Projects Spring 2019

Senior Project submitted to The Division of Social Studies of Bard College.


การเปิดรับข่าวสารและการยอมรับนวัตกรรมบัตรเดบิตเพื่อการท่องเที่ยวของผู้บริโภค, ฉัตรพิไลย หอมไกรลาศ Jan 2019

การเปิดรับข่าวสารและการยอมรับนวัตกรรมบัตรเดบิตเพื่อการท่องเที่ยวของผู้บริโภค, ฉัตรพิไลย หอมไกรลาศ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่อง “การเปิดรับข่าวสารและการยอมรับนวัตกรรมบัตรเดบิตเพื่อการท่องเที่ยวของผู้บริโภค” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปิดรับข่าวสารและการยอมรับนวัตกรรมของผู้บริโภค และความแตกต่างของลักษณะทางประชากรของผู้บริโภคต่อการเปิดรับข่าวสารและการยอมรับนวัตกรรมในการเลือกใช้บัตรเดบิตเพื่อการท่องเที่ยว โดยเป็นงานวิจัยเชิงปริมาณซึ่งใช้วิธีรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามเก็บกลุ่มตัวอย่างจำนวน 204 คน ที่มีบัตรเดบิตเพื่อการท่องเที่ยวและเคยมีการใช้เพื่อซื้อสินค้าและบริการในต่างประเทศอย่างน้อย 1 ครั้งในช่วงเวลา 1 ปีที่ผ่านมา ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างให้คะแนนการเปิดรับข่าวสารผ่านช่องทางสื่อออนไลน์สูงที่สุด ในช่องทางการค้นหา (Search Engine) เช่น Google เป็นต้น, เฟซบุ๊ก, บล็อกเกี่ยวกับการท่องเที่ยว และเว็บไซต์ธนาคารผู้ให้บริการตามลำดับ และกลุ่มตัวอย่างยอมรับนวัตกรรมที่มีคุณลักษณะในประเด็นความสามารถเรียนรู้วิธีการใช้งานบัตรเดบิตเพื่อการท่องเที่ยวได้ด้วยตัวเอง การใช้งานบัตรเดบิตเพื่อการท่องเที่ยวทำให้การซื้อสินค้าและบริการในต่างประเทศเป็นไปได้โดยง่าย ความสามารถเห็นการเคลื่อนไหวของธุรกรรมได้ทันที และการมีความสะดวกสบายในการใช้บัตรเดบิตเพื่อการท่องเที่ยวสำหรับซื้อสินค้าและบริการในต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ลักษณะทางประชากรด้าน เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ที่แตกต่างกันของผู้บริโภคไม่มีความแตกต่างในการเปิดรับข่าวสารและการยอมรับนวัตกรรมในการเลือกใช้บัตรเดบิตเพื่อการท่องเที่ยว


การรับรู้ แรงจูงใจ และพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียลต่อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม, จุฑาลักษณ์ ทองประทุน Jan 2019

การรับรู้ แรงจูงใจ และพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียลต่อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม, จุฑาลักษณ์ ทองประทุน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ในรูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจการรับรู้คุณค่าของผลิตภัณฑ์ แรงจูงใจด้านสิ่งแวดล้อม และพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียล รวมถึงวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้คุณค่าของผลิตภัณฑ์กับพฤติกรรมการซื้อ และความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจด้านสิ่งแวดล้อมกับพฤติกรรมการซื้อ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง คือ บุคคลเพศชายและเพศหญิงที่มีอายุระหว่าง 24-39 ปี อาศัยอยู่ในประเทศไทย และเป็นบุคคลที่รู้จัก เคยซื้อ หรือมีประสบการณ์กับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จำนวน 205 คน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้คุณค่าของผลิตภัณฑ์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีการรับรู้คุณค่าด้านสิ่งแวดล้อมมากที่สุด ในส่วนของแรงจูงใจด้านสิ่งแวดล้อม กลุ่มตัวอย่างมีแรงจูงใจด้านสิ่งแวดล้อมในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง แต่มีแรงจูงใจภายในอยู่ในระดับมาก ส่วนแรงจูงใจภายนอกอยู่ในระดับปานกลาง ในส่วนของพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญกับการเลือกซื้อเครื่องสำอางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยพิจารณาจากคุณภาพที่ได้มาตรฐานของผลิตภัณฑ์ในระดับมากที่สุด จากการทดสอบสมมติฐานเพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า การรับรู้คุณค่าของผลิตภัณฑ์มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยเป็นความสัมพันธ์ในระดับปานกลาง และพบว่า แรงจูงใจด้านสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยเป็นความสัมพันธ์ในระดับปานกลางเช่นเดียวกัน


การเลือกเปิดรับ ความผูกพัน และการใช้ประโยชน์รายการ “R U Ok” บนยูทูบของคนวัยทำงาน, ทรรศสม เพชรพรหมศร Jan 2019

การเลือกเปิดรับ ความผูกพัน และการใช้ประโยชน์รายการ “R U Ok” บนยูทูบของคนวัยทำงาน, ทรรศสม เพชรพรหมศร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจการเลือกเปิดรับ ความผูกพันและการใช้ประโยชน์รายการ R U OK บนยูทูบของคนวัยทำงาน และเพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่าง การเลือกเปิดรับ ความผูกพัน และการใช้ประโยชน์รายการ R U OK บนยูทูบของคนวัยทำงาน งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มผู้ฟังรายการ R U OK บนยูทูบ วัยทำงาน อายุ 23 – 45 ปี ฟังรายการ จำนวน 200 คน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการเลือกเปิดรับอยู่ในระดับต่ำ มีความถี่ในการรับฟังรายการ 1 วัน/สัปดาห์ ระยะเวลาการรับฟังรายการแต่ละครั้ง 21 – 30 นาที โดยมีลักษณะในการรับฟังรายการแบบรับฟังตั้งแต่ต้นตอน จนจบเป็นบางครั้ง ด้านความผูกพันพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความผูกพันต่อรายการ R U OK บนยูทูบโดยรวมอยู่ในระดับต่ำ กลุ่มตัวอย่างมีการใช้ประโยชน์รายการ R U OK บนยูทูบโดยรวมอยู่ในระดับสูง โดยเป็นการใช้ประโยชน์ด้านข่าวสาร ด้านการกำหนดเอกลักษณ์ของปัจเจกบุคคล ด้านการรวมกลุ่มและการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ด้านความบันเทิง และด้านการตัดสินใจ ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ความถี่ในการรับชมรายการ R U OK บนยูทูบ ไม่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันโดยรวมต่อรายการของผู้ฟังวัยทำงาน ในขณะที่ ความผูกพันต่อรายการ R U OK บนยูทูบโดยรวมมีความสัมพันธ์กับการใช้ประโยชน์จากการรับชมรายการ R U OK บนยูทูบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งนี้เป็นความสัมพันธ์ระดับต่ำมากและมีทิศทางแบบแปรตามกัน เมื่อพิจารณาอย่างละเอียดพบว่า ความผูกพันโดยรวมมีความสัมพันธ์กับการใช้ประโยชน์ ด้านการตัดสินใจ ด้านการรวมกลุ่มและการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม และด้านการกำหนดเอกลักษณ์ของปัจเจกบุคคล ขณะที่ด้านข่าวสารและด้านความบันเทิงพบว่าไม่มีความสัมพันธ์


คุณลักษณะของผู้นำทางความคิดด้านการท่องเที่ยวบนเฟซบุ๊กกับทัศนคติและพฤติกรรมของผู้ติดตาม, พิม ศิริสวัสดิ์ Jan 2019

คุณลักษณะของผู้นำทางความคิดด้านการท่องเที่ยวบนเฟซบุ๊กกับทัศนคติและพฤติกรรมของผู้ติดตาม, พิม ศิริสวัสดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงสำรวจในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) คุณลักษณะของผู้นำทางความคิดด้านการท่องเที่ยวบนเฟซบุ๊ก และ 2) อิทธิพลของผู้นำทางความคิดด้านการท่องเที่ยวบนเฟซบุ๊กต่อทัศนคติและพฤติกรรมของผู้ติดตาม โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเพศชายและเพศหญิง อายุระหว่าง 25 – 34 ปี อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร กดติดตามเพจ ZuvapitSnap และเพจ I Roam Alone และภายในระยะเวลา 3 เดือนที่ผ่านมาได้เข้าไปติดตามข้อมูลจากทั้ง 2 เพจ จำนวน 441 คน โดยผลการวิจัยพบว่า คุณลักษณะของผู้นำทางความคิดด้านการท่องเที่ยวบนเฟซบุ๊กเพจ ZuvapitSnap และเพจ I Roam Alone แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในส่วนของเพจ ZuvapitSnap คุณลักษณะด้านความน่าเชื่อถือมีอิทธิพลต่อทัศนคติของผู้ติดตามที่มีต่อเนื้อหาที่ผู้นำทางความคิดนำเสนอ และพฤติกรรมการท่องเที่ยวของผู้ติดตามมากที่สุด ขณะที่คุณลักษณะด้านปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกึ่งความจริงมีอิทธิพลต่อทัศนคติของผู้ติดตามที่มีต่อผู้นำทางความคิด และพฤติกรรมการมีส่วนร่วมบนเฟซบุ๊กของผู้ติดตามมากที่สุด สำหรับเพจ I Roam Alone คุณลักษณะด้านความน่าเชื่อถือมีอิทธิพลต่อทัศนคติและพฤติกรรมของผู้ติดตามมากที่สุด


ผู้มีอิทธิพลทางความคิดระดับจุลภาคแนวไลฟ์สไตล์บนอินสตาแกรม การสื่อสารผ่านภาพ และความผูกพันของผู้ติดตาม, พีร์ บุญวิวัฒนาการ Jan 2019

ผู้มีอิทธิพลทางความคิดระดับจุลภาคแนวไลฟ์สไตล์บนอินสตาแกรม การสื่อสารผ่านภาพ และความผูกพันของผู้ติดตาม, พีร์ บุญวิวัฒนาการ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลเชิงลึกของผู้มีอิทธิพลทางความคิดระดับจุลภาคแนวไลฟ์สไตล์บนอินสตาแกรม การสื่อสารผ่านภาพ และความผูกพันของผู้ติดตาม โดยใช้วิธีวิจัย 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) สัมภาษณ์เชิงลึกเจ้าของเพจไลฟ์สไตล์ 3 เพจ และวิเคราะห์เอกสารที่เกี่ยวข้อง 2) วิเคราะห์ภาพโดยใช้ชุดภาพบนหน้าหลักจากแต่ละเพจ 3 ภาพ 3) สัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ติดตามเพจที่มีความผูกพันสูง 15 คน ผลการวิจัยด้านข้อมูลเชิงลึกพบว่า ผู้มีอิทธิพลทางความคิดระดับจุลภาคแนวไลฟ์สไตล์บน อินสตาแกรม มีภูมิหลังที่สนใจกิจกรรมนอกห้องเรียน เป็นกลุ่มคนเจเนอเรชั่นวายที่เติบโตในเมืองหลวง มีการศึกษาสูง และเป็นผู้ที่มีความสามารถพิเศษ มีที่มาจากการเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการเล่นแอปพลิเคชันอินสตาแกรม โดยจุดเปลี่ยนเริ่มขึ้นจากการทดลองเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ มีแนวคิดหลักในการนำเสนอเนื้อหาที่ให้พลังด้านบวกและเอกลักษณ์ส่วนตัวของตัวเอง ผลงานมีการสื่อสารแบบตรงประเด็นชัดเจน รวมถึงมีเทคนิคที่ช่วยส่งเสริมให้ผลงานมีความน่าสนใจมากขึ้น มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นในด้านความสดใสร่าเริงและความเป็นตัวของตัวเอง มีไลฟ์สไตล์ที่ชื่นชอบการท่องเที่ยวและชอบไปร้านกาแฟ การสื่อสารผ่านภาพบนอินสตาแกรมเพจไลฟ์สไตล์พบว่า ด้านเนื้อหามีการสื่อความหมายโดยตรง และชัดเจน ด้านของสีมีการใช้โทนพาสเทลที่มีความละมุน ด้านการจัดองค์ประกอบเชิงพื้นที่จะมีการสร้างจุดสนใจในภาพเสมอ ด้านแสงมีการใช้แสงแบบนุ่มนวลที่มีความสว่าง และด้านการแสดงออกของอารมณ์ภาพในภาพรวมจะสื่อถึงไลฟ์สไตล์ที่มีความสดใส ความเยาว์วัยและเป็นด้านบวก ด้านความผูกพันของผู้ติดตามที่มีต่อเนื้อหาพบว่า ผู้ติดตามมีการกดถูกใจเป็นประจำ กดบันทึกและแบ่งปันเนื้อหาค่อนข้างบ่อย แต่มีการแสดงความคิดเห็นที่ค่อนข้างน้อย ส่วนความผูกพันของผู้ติดตามที่มีต่อตัวบุคคลพบว่า ผู้ติดตามมีการสร้างความผูกพันใกล้ชิด เนื่องจากต้องการติดตามเนื้อหาอย่างใกล้ชิดและไม่ให้พลาด ผู้ติดตามมีความหลงใหลและชื่นชอบในตัวตนของเจ้าของเพจ และผู้ติดตามเกิดความผูกมัดที่มีความตั้งใจจะติดตามและสนับสนุนเจ้าของเพจตลอดไป


สื่อสังคมออนไลน์กับการสื่อสารอัตลักษณ์แห่งสันติภาพอิสลามในสังคมไทย, ภาณุวัฒน์ บุหงาแดง Jan 2019

สื่อสังคมออนไลน์กับการสื่อสารอัตลักษณ์แห่งสันติภาพอิสลามในสังคมไทย, ภาณุวัฒน์ บุหงาแดง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1.) เพื่อศึกษารูปแบบ และวิธีการสื่อสารสื่อสารอัตลักษณ์แห่งสันติภาพอิสลามบนสื่อสังคมออนไลน์ และ 2.) เพื่อศึกษาลักษณะของอัตลักษณ์แห่งสันติภาพในอิสลามที่สื่อสารบนสื่อสังคมออนไลน์ของกลุ่มต่างๆตามโครงสร้างสังคมมุสลิมในประเทศไทย จากการเก็บรวบรวม และศึกษาข้อมูลด้วยระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ ผ่านการวิเคราะห์รูปแบบ และวิธีการสื่อสาร รวมถึงลักษณะของอัตลักษณ์แห่งสันติภาพอิสลามที่ปรากฏบนเฟซบุ๊กเพจ ตลอดจนการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้บริหารองค์กรหรือผู้ดูแลเพจต่างๆ ตามหมวดโครงสร้างสังคมมุสลิมในประเทศไทยทั้ง 5 กลุ่มได้แก่ 1.) กลุ่มนักการเมือง และข้าราชการระดับสูง 2.) กลุ่มผู้นำศาสนา 3.) กลุ่มนักเคลื่อนไหวทางสังคม 4.) กลุ่มนักธุรกิจ และ 5.) กลุ่มมุสลิมบล็อกเกอร์ ผลการศึกษาพบว่าอัตลักษณ์ปัจเจก หรือการระบุตัวตนทางสังคม และบทบาทการขับเคลื่อนสันติภาพอิสลามของแต่ละกลุ่มส่งผลให้ประเด็นของเนื้อหา รูปแบบ วิธีการสื่อสาร ตลอดจนการนิยามอัตลักษณ์แห่งสันติภาพอิสลามนั้นมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป อย่างไรก็ตามคุณลักษณะของอัตลักษณ์ที่ปรากฏทั้งหมดชี้ให้เห็นว่าทุกกลุ่มล้วนหยิบนำคำสอนทางศาสนาจากคัมภีร์อัลกุรอาน และจริยวัตรของศาสดามาเป็นแนวทางสำคัญในการนำเสนออัตลักษณ์แห่งสันติภาพอิสลามบนสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งปรากฏการณ์ทั้งหมดสรุปได้ว่าภูมิทัศน์สื่อออนไลน์นั้นมีบทบาทสำคัญในการมอบพื้นที่ซึ่งเอื้อให้เกิดการประกอบสร้างภาพของศาสนาอิสลามใหม่ในแง่มุมที่แตกต่างจากการนำเสนอของสื่อมวลชน ที่มักจะนำเสนอภาพตัวแทนในด้านลบ และภาพที่เต็มไปด้วยความรุนแรง ตลอดจนการมอบความเป็นอิสระให้กลุ่มต่างๆ ได้มีบทบาทในการสื่อสารเพื่อสร้างการรับรู้ถึงตัวตนของศาสนาอิสลามที่มุ่งเน้นถึงหลักสันติภาพ อย่างเท่าเทียม และปราศจากการผูกขาดการนำเสนอเนื้อหาจากองค์กรสื่อขนาดใหญ่เหมือนที่ผ่านมา