Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Political Science

PDF

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Articles 31 - 60 of 178

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

การท่องเที่ยวเชิงภูมิรัฐศาสตร์: กรณีศึกษาลาดักห์, ชมพูนุท คชโส Jan 2021

การท่องเที่ยวเชิงภูมิรัฐศาสตร์: กรณีศึกษาลาดักห์, ชมพูนุท คชโส

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ลาดักห์เป็นเมืองหนึ่งที่ซ่อนตัวอยู่ในหุบเขาและเทือกเขาที่สลับทับซ้อนกันในทางเหนือของประเทศอินเดีย เป็นพื้นที่ชายแดนที่รายรอบไปด้วยความขัดแย้งในทางการเมืองระหว่างประเทศจากเพื่อนบ้านอย่างจีนและปากีสถาน โดยเฉพาะจีนที่ได้เกิดการกระทบกระทั่งกันมาตั้งแต่ครั้งอดีตจนถึงปัจจุบันจากการพยายามแย่งชิงพื้นที่และอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนบางส่วนของลาดักห์ ลาดักห์จึงได้ถูกทำให้เป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ที่รัฐบาลภายใต้ยุคของชวาหะลาล เนห์รู อินทิรา คานธี มานโมฮัน ซิงห์ และนเรนทรา โมดิ ได้นำมาใช้เพื่อสร้างอำนาจให้แก่อินเดียด้วยการทำให้เป็นพื้นที่ท่องเที่ยว โดยประโยชน์ที่จะได้จากการท่องเที่ยวก็คือการนำมาซึ่งการพัฒนาโครงสร้างของพื้นที่ให้เจริญ ไม่ว่าจะเป็น ระบบสาธารณูปโภค ระบบขนส่งและคมนาคม การศึกษา เศรษฐกิจ ชีวิตความเป็นอยู่ของคนในพื้นที่ รวมไปถึงการทำให้พื้นที่รกร้างว่างเปล่านั้นเต็มไปด้วยผู้คนซึ่งก็คือนักท่องเที่ยวจากหลากหลายประเทศ โดยที่อินเดียใช้ประโยชน์จากภูมิรัฐศาสตร์ของลาดักห์ที่มีทรัพยากรทางธรรมชาติอันสวยงาม มีทรัพยากรทางรากฐานทางวัฒนธรรมที่แปลกใหม่ชวนค้นหาสำหรับโลกภายนอก เพื่อดึงดูดให้เกิดการเดินทางเข้าไปยังพื้นที่ จากสถานที่ที่ไม่ค่อยมีใครเคยได้ยินชื่อ จนกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นที่รู้จักในหมู่นักเดินทางมากขึ้น การดำเนินนโยบายของอินเดียแสดงออกถึงการมีสิทธิดำเนินนโยบายจากเจ้าของพื้นที่ด้วยการลงทุน การพัฒนาในพื้นที่ และเป็นการตอกย้ำถึงเขตแดนและอาณาบริเวณด้วยการใช้พยานอย่างนักท่องเที่ยวที่ต้องเดินทางเข้าประเทศอินเดียเพื่อไปยังเมืองลาดักห์ให้เป็นหลักฐานที่ประจักษ์ต่อเวทีโลก แต่เมื่อลาดักห์กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวมีชื่อและมีความสำคัญก็ส่งผลกระทบต่อจีน เพราะนั่นแสดงว่าจีนต้องมีท่าทีที่ระมัดระวังในการดำเนินนโยบายต่อพื้นที่ชายแดนจีน-อินเดีย หากจีนมีท่าที่เป็นอันตรายและก้าวร้าว ก็จะทำให้ทั่วโลกประณามจีนในฐานะที่ไม่มีสิทธิบุกรุกอาณาเขตของประเทศอื่นและเป็นผู้ทำลายสันติภาพระหว่างประเทศ จีนเองจึงต้องมียุทธศาสตร์ใหม่ที่ผ่านการไตร่ตรองมาอย่างรอบคอบหากจะเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับลาดักห์ การสร้างให้เกิดการท่องเที่ยวในลาดักห์ของอินเดียจึงไม่ใช่แนวทางการสร้างให้เกิดความร่วมมือตามแนวชายแดนเพื่อลดความขัดแย้งกับจีน แต่เป็นการแสวงหาอำนาจจากข้อได้เปรียบทางภูมิรัฐศาสตร์เพื่อตั้งตนเป็นปฏิปักษ์กับความขัดแย้ง ในดินแดนที่มีความมั่นคงจากการพัฒนาและความเจริญ เพื่อป้องกันไม่ให้จีนก้าวล่วงเข้ามารุกล้ำในพื้นที่ของอินเดียอีกต่อไป


นโยบายด้านกลาโหมของสหราชอาณาจักรภายใต้โกลบอลบริเทน กับการหันหาสู่ภูมิภาค อินโด-แปซิฟิก : กรณีศึกษากรอบความร่วมมือทางกลาโหมระหว่างสหราชอาณาจักร-ออสเตรเลีย, จิรัฏฐ์ เหราบัตย์ Jan 2021

นโยบายด้านกลาโหมของสหราชอาณาจักรภายใต้โกลบอลบริเทน กับการหันหาสู่ภูมิภาค อินโด-แปซิฟิก : กรณีศึกษากรอบความร่วมมือทางกลาโหมระหว่างสหราชอาณาจักร-ออสเตรเลีย, จิรัฏฐ์ เหราบัตย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงกรอบความร่วมมือ กลไก และผลประโยชน์ทางด้านกลาโหมที่ถูกสร้างร่วมกันระหว่าง สหราชอาณาจักรกับออสเตรเลีย ผ่านนโยบายโกลบอลบริเทนในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก โดยอาศัยกรอบการวิเคราะห์จากทฤษฎี สัจนิยมเชิงโครงสร้าง เพื่อนำมาวิเคราะห์ผลประโยชน์และเป้าหมายสูงสุดของความร่วมมือทางกลาโหมระหว่าง 2 รัฐนี้ รวมถึงพฤติกรรมของสหราชอาณาจักรผ่านนโยบายฯในภูมิภาคแห่งนี้ ท่ามกลางสภาพแวดล้อมเชิงยุทธศาสตร์ที่กำลังเปลี่ยนแปลง และถูกท้าทายของจีน ซึ่งถือเป็นเป็นภัยคุกคามต่อผลประโยชน์และความมั่นคงของทั้ง 2 รัฐดังกล่าว งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพโดยอาศัยวิธีการวิจัยเอกสารเป็นหลัก โดยเน้นศึกษานโยบายและยุทธศาสตร์ทางด้านกลาโหมและความมั่นคงของสหราชอาณาจักร และตัวแสดงที่เกี่ยวข้องที่มีต่อภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก ผลการศึกษาพบว่าการสร้างประโยชน์ร่วมกันระหว่างสหราชอาณาจักรกับประเทศออสเตรเลียผ่านกรอบความร่วมมือทางด้านกลาโหมภายใต้นโยบายโกลบอลบริเทนนั้น ได้สร้างโอกาสในการเปิดกว้างของพื้นที่ปฏิบัติการในทุกมิติทางการรบ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นการขยายอำนาจอิทธิพลของสหราชอาณาจักรเข้ามาในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก ในเวลาเดียวกันประเทศออสเตรเลียที่ได้แสวงหาประโยชน์ในด้านต่างๆ จากภูมิภาคแห่งนี้ได้รับประโยชน์ทางด้านกลาโหมและความมั่นคงจากการเลือกดำเนินนโยบายที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในภูมิภาคและสภาพการเมืองโลก จะเห็นได้ว่าทั้ง 2 รัฐนี้ล้วนได้ประโยชน์จากการร่วมมือกันทางด้านกลาโหมเพื่อรักษาผลประโยชน์แห่งชาติของตน ซึ่งในเวลาเดียวกันก็เป็นการสร้างแนวร่วมที่แข็งแกร่งในการทัดทานรัฐที่เป็นดั่งภัยคุกคามร่วมในมิติต่างๆ ในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก ซึ่งถือได้ว่าเป็นกระบวนการหนึ่งของการถ่วงดุลอำนาจตามแนวคิดทฤษฎีสัจนิยมเชิงรับอย่างแท้จริง


การดำเนินนโยบายความมั่นคงของฟิลิปปินส์ต่อจีนในกรณีพิพาททะเลจีนใต้ ค.ศ.2010-2016, ณัฐเชษฐ์ เสงี่ยมพงษ์ Jan 2021

การดำเนินนโยบายความมั่นคงของฟิลิปปินส์ต่อจีนในกรณีพิพาททะเลจีนใต้ ค.ศ.2010-2016, ณัฐเชษฐ์ เสงี่ยมพงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการศึกษาการดำเนินนโยบายของประเทศจีนในการขยายอาณาเขตทางทะเลบริเวณทะเลจีนใต้ และศึกษาการดำเนินการของประเทศฟิลิปปินส์หลังจากการดำเนินการของจีนที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติทางทะเล เพื่อนำมาสู่งการวิเคราะห์การกระทำของฟิลิปปินส์หลังถูกกระทบด้านความมั่นคงจากการขยายอิทธิพลของจีนในพื้นที่พิพาททะเลจีนใต้ ผลวิจัยพบว่าจากการที่จีนยังคงยืนยันการอ้างสิทธิ์ในกรณีพิพาททะเลจีนใต้ เป็นความพยายามที่ต้องการครอบครองทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ทะเลจีนใต้ อีกทั้งต้องการขยายเศรษฐกิจประเทศของตนเพื่อตอบสนองต่อวิสัยทัศน์ Chinese Dream ซึ่งมีความต้องการครอบครองเส้นทางคมนาคมในพื้นที่ เพื่อเป็นประตูทางทะเลของประเทศออกสู่มหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก ส่งผลกระทบด้านความมั่นคงต่อประเทศพิพาทอย่างประเทศฟิลิปปินส์ ทำให้การดำรงชีวิตของประชาชนฟิลิปปินส์มีความไม่ปลอดภัยจากการดำรงชีพตามวิถีเดิมของตน อีกทั้งประเด็นทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ทับซ้อน ฟิลิปปินส์จึงต้องมียุทธศาสตร์ขึ้นมาเพื่อรองรับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในการขยายอิทธิพลทางทะเลของประเทศจีน เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันตน อีกทั้งได้พยายามสร้างพันธมิตรเพื่อสร้างความสมดุลขึ้นในระบบระหว่างประเทศ โดยได้ใช้ความสัมพันธ์ที่มีมายาวนานกับมหาอำนาจโลกอย่างสหรัฐฯ และญี่ปุ่น เข้ามามีบทบาทสำคัญในการกำหนดยุทธศาสตร์ของประเทศ ซึ่งงานวิจัยนี้จะทำให้เห็นความพยายามของฟิลิปปินส์ที่ดำเนินนโยบายในการป้องกันประเทศในการถูกผลกระทบจากประเทศมหาอำนาจที่พยายามขยายอิทธิพล จนกระทบต่อความมั่นคงของประเทศตนเองแล้วกำหนดออกมาเป็นยุทธศาสตร์ของประเทศ ซึ่งนับได้ว่าเป็นตัวอย่างในการดำเนินการที่ดีในการป้องกันประเทศ


การเปลี่ยนแปลงเชิงสถาบันของระบบสาธารณสุขประเทศแคนาดาอันเป็นผลจากการรับมือโรคระบาดระหว่างไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดเอ (H1n1) และโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (Covid-19), พรนภัส วรรัตนานุรักษ์ Jan 2021

การเปลี่ยนแปลงเชิงสถาบันของระบบสาธารณสุขประเทศแคนาดาอันเป็นผลจากการรับมือโรคระบาดระหว่างไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดเอ (H1n1) และโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (Covid-19), พรนภัส วรรัตนานุรักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การเกิดขึ้นของโรคระบาดส่งผลสำคัญต่อระบบสาธารณสุขของประเทศแคนาดาในฐานะที่เป็นสถาบันหนึ่งที่คงอยู่มาอย่างยาวนาน อีกทั้งยังเป็นปัจจัยสำคัญที่เข้ามาสั่นคลอนความมีเสถียรภาพของระบบสาธาณสุขซึ่งหยั่งรากลึกเชิงโครงสร้างมาจนถึงปัจจุบันส่งผลให้สถาบันดังกล่าวต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงเพื่อรับมือกับโรคระบาดที่เกิดขึ้น โดยการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายในระบบสาธารณสุขของแคนาดาเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไปซึ่งเน้นไปที่การเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายเพื่อเตรียมพร้อมตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉิน โดยเรียกการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวว่า ‘การเปลี่ยนแปลงแบบเบี่ยงเบน (Institutional Drift)’ การเปลี่ยนแปลงเช่นนี้สะท้อนให้เห็นว่าระบบสาธารณสุขของประเทศแคนาดาไม่มีความพร้อมในการรับมือกับโรคระบาดมาตั้งแต่ต้นและทำได้เพียงรับมือสถานการณ์แบบเฉพาะหน้าเท่านั้น บทความนี้ทำการศึกษาระบบสาธารณสุขของประเทศแคนาดาผ่านกรอบทฤษฎีเส้นทางการพัฒนาของสถาบัน (Path dependence) และการเปลี่ยนแปลงเชิงสถาบัน (Institutional change) โดยมีการเปรียบเทียบการรับมือกับโรคระบาด 2 โรค ในช่วงเวลาที่ต่างกันระหว่างโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดเอ (H1N1) และโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID-19)


ญี่ปุ่นกับการนำเสนอ “ภาพลักษณ์การไม่ยอมแพ้” ในโตเกียวโอลิมปิกส์ 2020, กนกนันท์ ธูปะเตมีย์ Jan 2021

ญี่ปุ่นกับการนำเสนอ “ภาพลักษณ์การไม่ยอมแพ้” ในโตเกียวโอลิมปิกส์ 2020, กนกนันท์ ธูปะเตมีย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาภาพลักษณ์ของชาติที่ญี่ปุ่นต้องการนำเสนอจากการยืนหยัดจัดโอลิมปิกท่ามกลางการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 นี้ โดยเน้นวิเคราะห์ภาพลักษณ์ที่เกิดขึ้นและแนวทางการสร้างภาพลักษณ์นั้น อันประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ สาระ และกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ แล้วเปรียบเทียบกับภาพลักษณ์และแนวทางการสร้างในโตเกียวโอลิมปิกส์ 2020 ยุคก่อนการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และในโตเกียวโอลิมปิกส์ 1964 จากการศึกษาพบว่าภาพลักษณ์ ‘ไม่ยอมแพ้’ ของญี่ปุ่นใน ค.ศ.2021 เห็นได้จากการนำยุทธศาสตร์การป้องกันโรคและการใช้คำพูดสร้างความเชื่อมั่นของผู้นำไปปฏิบัติเพื่อเตรียมความพร้อมภายในประเทศและแสดงให้นานาชาติเห็นว่าญี่ปุ่นพร้อมจัดโอลิมปิกอย่างปลอดภัยแล้ว เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ภาพลักษณ์ในตอนนั้นคือการฟื้นฟูบูรณะจากภัยพิบัติที่ญี่ปุ่นต้องเผชิญในปี ค.ศ.2011 ด้วยยุทธศาสตร์การเติบโตทางเศรษฐกิจของ ‘อาเบะโนมิกส์’ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวซึ่งเกิดขึ้นไปพร้อม ๆ กับการฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานของประเทศที่ได้รับความเสียหาย และภาพลักษณ์ของโตเกียวโอลิมปิกส์ 1964 คือการกลับสู่ประชาคมโลกที่มีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำ ในฐานะประเทศรักสันติ ด้วยยุทธศาสตร์การเร่งพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีของประเทศให้ทัดเทียมกับประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำอื่น ๆ และการปลูกฝังความเป็นสากลให้ประชากรญี่ปุ่น ก่อนการจัดโอลิมปิกฤดูร้อนของญี่ปุ่นแต่ละครั้งที่ผ่านมา ญี่ปุ่นอยู่ในบริบทที่ประเทศต้องเผชิญกับความสูญเสียอย่างมาก โตเกียวโอลิมปิกส์ 1964 เกิดหลังจากการแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 โตเกียวโอลิมปิกส์ 2020 เกิดหลังจากภัยพิบัติแผ่นดินไหวใหญ่และสึนามิ ค.ศ.2011 และต้องเลื่อนการจัดงานเพราะการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 การฟื้นฟูประเทศอย่างไม่ลดละตามนโยบายของผู้นำ ประกอบกับการร่วมด้วยช่วยกันของประชากรญี่ปุ่น ทำให้ประเทศญี่ปุ่นสามารถจัดโอลิมปิกให้เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ในสายตาชาวโลกได้


สงครามโลกครั้งที่ 1 กับการระบุตัวตนของสยามในสังคมระหว่างประเทศ, ศิวพล ชมภูพันธุ์ Jan 2021

สงครามโลกครั้งที่ 1 กับการระบุตัวตนของสยามในสังคมระหว่างประเทศ, ศิวพล ชมภูพันธุ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้ศึกษาสงครามโลกครั้งที่ 1 กับการระบุตัวตนของสยามในสังคมระหว่างประเทศผ่านกรอบแนวคิดเรื่องสังคมระหว่างประเทศของสำนักอังกฤษและแนวคิดเรื่องการระบุตัวตนของชาติ จากการศึกษาพบว่า สงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นจุดสัมฤทธิผลสูงสุดในกระบวนการระบุตัวตนของสยามในสังคมระหว่างประเทศอันเป็นผลมาจากการแสดงบทบาทระหว่างประเทศของการเป็นรัฐสมัยใหม่ อีกทั้งยังเป็นการแสดงผลของการผสมผสานความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานของสถาบันระหว่างประเทศให้เป็นที่ประจักษ์แก่นานาอารยประเทศ ในอีกด้านหนึ่ง การระบุตัวตนของสยามจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้ถูกนำมาใช้เป็นโอกาสในการเมืองภายในด้วยการเสริมสร้างความสำคัญให้แก่ระบอบราชาธิปไตยและการยกพระราชสถานะของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวให้สูงเด่นยิ่งขึ้น


เสนาภิวัฒน์ของระบบกฎหมายไทยในช่วงระบอบรัฐประหาร 2557 - 2562, ดวงกมล ประดิษฐ์ด้วง Jan 2021

เสนาภิวัฒน์ของระบบกฎหมายไทยในช่วงระบอบรัฐประหาร 2557 - 2562, ดวงกมล ประดิษฐ์ด้วง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบังคับใช้กฎหมายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในปี พ.ศ.2557 – 2562 ก่อนเลือกตั้ง ตามหลักเสรีประชาธิปไตย ตลอดจนศึกษาการวางฐานทางรัฐธรรมนูญและกฎหมายในการสืบทอดอำนาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ วิธีการศึกษาดำเนินการใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการค้นคว้ารวบรวมข้อมูลทางเอกสารทางรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ จากแหล่งข้อมูลในการศึกษามาจากบทบัญญัติกฎหมาย หนังสือ บทความวารสาร งานวิจัยวิทยานิพนธ์ ข้อมูลสถิติหรือเอกสารเผยแพร่ทางราชการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลสารสนเทศจากเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ตลอดจนการศึกษากฎหมาย รวมถึงการสัมภาษณ์เชิงลึก เพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูลและสามารถนำมาปรับใช้กับงานวิจัยชิ้นนี้ ผลการวิจัยสรุปว่า คณะรัฐประหารรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พยายามใช้กฎหมายฉบับต่าง ๆ ดังนี้ ประการแรก การใช้กฎหมายทั่วไป ประการที่สอง การใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 และประการสุดท้าย การใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เพื่อเป็นเครื่องมือในการเข้ามาควบคุมทางการเมือง ซึ่งไม่สอดคล้องกับหลักเสรีประชาธิปไตย อีกทั้ง ยังส่งผลต่อการวางรากฐานค้ำจุนให้กับระบอบรัฐประหารในระยะยาวอีกด้วย การวิจัยนี้จึงเสนอให้มีแนวทางในการแก้ไขปัญหาการใช้กฎหมายของคณะรัฐประหารดังกล่าวให้มีความสอดคล้องกับหลักเสรีประชาธิปไตย โดยอาศัยหลักประชาธิปไตยและหลักนิติธรรมควบคู่กัน ในลักษณะเป็นกลไกที่ส่งเสริมซึ่งกันและกันคือ การใช้กฎหมายเป็นกรอบในการควบคุมและจำกัดการใช้อำนาจ (rule of law) ของคณะรัฐประหารทุกช่วงเวลา เพื่อป้องกันการเข้ามารัฐประหาร รวมถึงคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนไม่ให้ถูกละเมิดจากการใช้อำนาจดังกล่าว ฉะนั้น หากประเทศไทยสามารถทำให้หลักการนิติธรรมสามารถเกิดได้อย่างเป็นรูปธรรม หลักการดังกล่าวนั้นก็จะช่วยส่งเสริมระบอบประชาธิปไตยสามารถทำงานตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจได้อย่างมีประสิทธิภาพ


นโยบายต่างประเทศของฟิลิปปินส์ต่อจีนสมัยประธานาธิบดีโรดริโก ดูเตอร์เต ในระหว่าง ค.ศ.2016-2021: ความต่อเนื่องและการเปลี่ยนแปลง, กมลรัตน์ สุขิโต Jan 2021

นโยบายต่างประเทศของฟิลิปปินส์ต่อจีนสมัยประธานาธิบดีโรดริโก ดูเตอร์เต ในระหว่าง ค.ศ.2016-2021: ความต่อเนื่องและการเปลี่ยนแปลง, กมลรัตน์ สุขิโต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ศึกษาแนวคิดของประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ซึ่งเป็นผู้กำหนดนโยบายต่างประเทศเพื่อสร้างสมดุลระหว่างความมั่นคงกับผลประโยชน์ของชาติและเพื่อทำความเข้าใจบริบทการเมืองระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สารนิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาว่าเพราะเหตุใดนโยบายต่างประเทศของฟิลิปปินส์ต่อจีนในสมัยของนายดูเตอร์เตจึงเปลี่ยนท่าทีจากแข็งกร้าวเป็นประนีประนอม ในระหว่าง ค.ศ.2016-2021 สารนิพนธ์ฉบับนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่เน้นวิเคราะห์ข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งเอกสารวิชาการ งานวิจัย และข้อมูลข่าวในสื่อต่างๆ โดยใช้กระบวนการศึกษาสภาพทางจิตวิทยาการเมืองของผู้นำโลก (The Political Psychology of World Leaders) ของ วาลเลอรี่ ฮัดสัน (Valerie Hudson) ที่อธิบายถึงพฤติกรรมการตอบสนองทางจิตวิทยาของผู้นำที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกดำเนินนโยบายต่างประเทศอย่างใดอย่างหนึ่ง ผลการศึกษาพบว่านายดูเตอร์เตปรับท่าทีหลายครั้งในนโยบายต่างประเทศต่อจีน เริ่มจากสร้างความสัมพันธ์ที่เป็นมิตรและสร้างสรรค์มากขึ้น พยายามมีส่วนร่วมกับจีนเพื่อแสวงหาผลประโยชน์และลดแรงกดดันจากกรณีพิพาททางทะเลในอดีตเมื่อเทียบกับจุดยืนที่คงความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกาไว้ แต่ก็แสดงจุดยืนในเรื่องกรณีพิพาททางทะเลว่าฟิลิปปินส์จะไม่ยอมรับการดำเนินการใดๆของจีนที่จะล้ำเส้นในพื้นที่สิทธิ์ทางทะเล ความคิดและการแสดงออกในนโยบายของนายดูเตอร์เตนั้นมาจากแนวคิดชาตินิยมของเขาและความเข้าใจรับรู้ผ่านประสบการณ์ของตนเองในอดีตต่อสถานการณ์ต่างประเทศของฟิลิปปินส์ ที่นำมาตีความการตัดสินใจกำหนดนโยบายต่างประเทศโดยเลือกระบุตนเองให้เข้ากับบทบาท สถานภาพที่ต้องการ เลือกเป้าหมาย เลือกวิธีกระทำ เพื่อให้บรรลุถึงความพอใจในความเป็นตัวตนของตนเองเพราะต้องการให้ประชาชนยอมรับว่านโยบายต่างประเทศที่ดำเนินต่อจีนนั้นเหมาะสมและชอบธรรมภายใต้การเป็นผู้นำฟิลิปปินส์ของเขา


นโยบาย The Great Firewall กับความสำเร็จของ Unicorn จีน, พิมพ์ใจ วรรณพงษ์ Jan 2021

นโยบาย The Great Firewall กับความสำเร็จของ Unicorn จีน, พิมพ์ใจ วรรณพงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของจีนที่มีผลต่อความสำเร็จของสตาร์ทอัพจีนระดับยูนิคอร์น (Startup Unicorn) :โดยจากการพิจารณาผ่านคำอธิบายในทฤษฎีรัฐพัฒนา (Developmental state) และแนวคิดด้านการรักษาความมั่นคงของประเทศ ปัจจัยที่สำคัญเกิดจากการที่รัฐบาลจีนต้องการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ จึงสนับสนุนด้านพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศของจีนโดยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน จัดตั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และส่งเสริมด้านการพัฒนาธุรกิจจนทำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการขยายตัวของธุรกิจสตาร์ทอัพในจีน นอกจากนี้ ปัจจัยที่สำคัญอีกประการหนึ่งเกิดจากการใช้นโยบาย The Great Firewall of China ที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการรักษาอำนาจอธิปไตยทางอินเตอร์เน็ต (Internet sovereignty) แต่กลับส่งผลทางอ้อมในการกีดกันบริษัทจากต่างชาติที่เป็นคู่แข่งของบริษัทสตาร์ทอัพในจีน ทำให้บริษัทสตาร์ทอัพของจีนสามารถเติบโตขึ้นเป็นระดับยูนิคอร์น


ความท้าทายของประเทศไทยในการบังคับใช้ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและ สิทธิทางการเมือง (Iccpr) ต่อเหตุการณ์ชุมนุมในสมัยรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา พ.ศ.2562-2564., วิลาสินี จันทร์วุฒิวงศ์ Jan 2021

ความท้าทายของประเทศไทยในการบังคับใช้ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและ สิทธิทางการเมือง (Iccpr) ต่อเหตุการณ์ชุมนุมในสมัยรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา พ.ศ.2562-2564., วิลาสินี จันทร์วุฒิวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษา ความท้าทายของประเทศไทยในการบังคับใช้กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมือง ข้อที่21 (ICCPR) ต่อเหตุการณ์ชุมนุม ในสมัยรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา พ.ศ.2562-2564 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงการบังคับใช้กฎหมายที่เกินกว่าความจำเป็นจากเหตุการณ์การชุมนุมในห้วงเวลานี้ และมุ่งเน้นถึงความสำคัญของหลักสิทธิมนุษยชน และเสรีภาพต่อการแสดงออกทางการเมืองของประชาชน เพื่อให้เข้าใจถึงปัญหาและอุปสรรค อันเป็นความท้าทายของประเทศไทยในการปรับใช้กติการะหว่างประเทศ ว่าเพราะเหตุใดถึงไม่สามารถบังคับใช้กับประเทศไทยได้โดยสมบูรณ์ ต่อการเกิดขึ้นของสถานการณ์ความรุนแรงของผู้บังคับใช้กฎหมายที่ลิดรอนเสรีภาพ รวมถึงยังสร้างความเสียหายต่อทรัพย์สิน และชีวิตของประชาชนอย่างประจักษ์ นับเป็นการละเมิดสิทธิพลเมืองภายใต้กติการะหว่างประเทศ ดังนั้นผู้เขียนจึงนำแนวคิด ระบอบระหว่างประเทศเชิงซ้อน (International regime complex) มาศึกษาถึงปรากฎการณ์ดังกล่าว ซึ่งจากการศึกษาพบว่า กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง มิได้มีความสอดคล้องกับผลประโยชน์แห่งชาติของประเทศไทย เเละการไม่มีอำนาจศูนย์กลางในการบังคับใช้กฎหมายต่อผู้ละเมิด ส่งผลให้ประเทศไทยยังคงละเมิดกติกาดังกล่าวได้ ซึ่งการไม่ยึดโยงกับเจตนารมณ์ด้านสิทธิมนุษยชนอันเป็นจุดมุ่งหมายหลักของความร่วมมือระหว่างประเทศนี้ นับเป็นความท้าทายที่สำคัญของประเทศไทย


ยุทธศาสตร์ความมั่นคงของสหราชอาณาจักรต่ออินโดแปซิฟิกภายใต้วิสัยทัศน์โกลบอลบริเตน, วริทธิ์ เสนาวัตร Jan 2021

ยุทธศาสตร์ความมั่นคงของสหราชอาณาจักรต่ออินโดแปซิฟิกภายใต้วิสัยทัศน์โกลบอลบริเตน, วริทธิ์ เสนาวัตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิสัยทัศน์ Global Britain กำหนดการหันเข้าหาโลกของสหราชอาณาจักรภายหลังการลาออกจากสหภาพยุโรป แผนยุทธศาสตร์องค์รวมทำให้วิสัยทัศน์ Global Britain มีความเป็นรูปธรรมากขึ้น โดยกำหนดให้สหราชอาณาจักรมีบทบาทเชิงรุกที่สำคัญในโลก ซึ่งสหราชอาณาจักรเลือกหันเหจุดเน้นทางยุทธศาสตร์มาสู่อินโดแปซิฟิกเพราะอินโดแปซิฟิกมีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการเมืองมากมายต่อสหราชอาณาจักร ผ่านการประกอบสร้างความมั่นคงในอินโดแปซิฟิก สหราชอาณาจักรรับรู้ว่าจีนเป็นภัยคุกคามจากการขึ้นมามีอำนาจและความก้าวร้าวที่เพิ่มขึ้น รวมกับ ความแตกต่างระหว่างอุดมการณ์และการปฏิบัติของสหราชอาณาจักรและจีน ทำให้จีนถูกปฏิบัติเป็นภัยคุกคามจากรัฐบาลสหราชอาณาจักรผู้ประกอบสร้างความมั่นคง ซึ่งถูกส่งผ่านไปให้ผู้รับสารคือสาธารณชนสหราชอาณาจักรผ่านการรายงานของสื่อมวลชน ซึ่งสาธารณชนสหราชอาณาจักรยอมรับว่า จีนเป็นภัยคุกคาม ต่อ ความมั่นคงทางสาธาณะสุข ความมั่นคงทางไซเบอร์ เป็นภัยคุกคามต่ออุดมการณ์เสรีนิยมของสหราชอาณาจักร เมื่อประชาชนเชื่อว่าจีนเป็นภัยคุกคามต่อผลประโยชน์แห่งชาติ รัฐบาลสหราชอาณาจักรจึงมีความชอบธรรมในการเข้ามาสู่ภูมิภาคอินโดแปซิฟิกอย่างเร่งด่วน เพื่อเข้ามาปกป้องผลประโยชน์และตอบสนองต่อภัยคุกคาม การเข้ามาสู่อินโดแปซิฟิกยังได้รับการส่งเสริมจากพันธมิตรทั้ง ออสเตรเลียและสหรัฐฯ ซึ่งนำมาสู่ นโยบายต่างๆ ในการเข้ามามีบทบาทในภูมิภาค ทั้งระยะสั้น ได้แก่ การส่งกองเรือ Carrier Strike Group (CSG) และระยะยาว ได้แก่ กรอบการหันเหความสนใจมาสู่อินโดแปซิฟิก (Indo-Pacific Tilt framework)


ทิศทางความร่วมมือด้านพลังงานของไทยกับญี่ปุ่นในช่วงการเปลี่ยนผ่านทางพลังงาน, เวทิศ ธนกรดิษฐ์ Jan 2021

ทิศทางความร่วมมือด้านพลังงานของไทยกับญี่ปุ่นในช่วงการเปลี่ยนผ่านทางพลังงาน, เวทิศ ธนกรดิษฐ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจะตอบคำถามว่า แนวคิดเรื่องการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานโลก ส่งผลกระทบต่อความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างไทยและญี่ปุ่นอย่างไร จากการศึกษาพบว่า การเปลี่ยนผ่านทางพลังงานโลก ทำให้ทั้งประเทศไทยและญี่ปุ่นกำหนดเป้าหมายด้านพลังงานไปในทิศทางเดียวกันเพื่อมุ่งไปสู่การสร้างนโยบายด้านพลังงานที่สอดรับกับกรอบการเปลี่ยนผ่านพลังงานโลก โดยญี่ปุ่นได้วางตัวเองเป็นผู้นำด้านการเปลี่ยนแปลงนโยบายพลังงานในภูมิภาคเอเชีย และเข้ามาให้ความช่วยเหลือด้านเทคโนโลยีแก่ประเทศต่าง ๆ รวมถึงการสร้างความร่วมมือด้านพลังงานกับประเทศไทย ซึ่งเป็นฐานการผลิตที่สำคัญของญี่ปุ่นในภูมิภาค ลักษณะเช่นนี้ชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มของการพึ่งพิงระหว่างประเทศ และอาจเป็นเครื่องมือกำหนดความร่วมมือด้านพลังงานอื่น ๆ ของทั้งสองต่อไปในอนาคต


บทเรียนจากสมรภูมิ: สงครามลับในลาวกับการปรับยุทธศาสตร์ต่อต้านการก่อความไม่สงบของไทย, สุริยัน จิ๋วเจริญ Jan 2021

บทเรียนจากสมรภูมิ: สงครามลับในลาวกับการปรับยุทธศาสตร์ต่อต้านการก่อความไม่สงบของไทย, สุริยัน จิ๋วเจริญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาการเปลี่ยนแปลงหลักนิยมและแนวทางการต่อสู้คอมมิวนิสต์ที่กองทัพไทยได้กำหนดขึ้นมาเพื่อเป็นแนวทางการเอาชนะสงครามประชาชน สารนิพนธ์นี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งได้ใช้กรอบแนวคิดการเรียนรู้เชิงนโยบายความมั่นคง มีจุดยืนว่าการเปลี่ยนแปลงหลักนิยมและแนวทางการต่อต้านการก่อความไม่สงบของไทยมีการเรียนรู้เป็นสองชั้น คือ การเรียนรู้ระดับบุคคลและการเรียนรู้ระดับองค์กร ชั้นที่หนึ่งคือประสบการณ์ส่วนบุคคลของนายทหารไทยกลุ่มหนึ่งที่เคยเข้าร่วมสงครามลับในลาวเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่ง หนึ่งในบทเรียนสำคัญที่สุดจากประสบการณ์ในสงครามคือการตระหนักถึงข้อจำกัดพื้นฐานและความไม่มีประสิทธิภาพของยุทธศาสตร์ตั้งแนวป้องกันนอกประเทศของสหรัฐอเมริกา และการต่อต้านการก่อความไม่สงบที่เน้นการใช้กำลังทหารเข้าปราบปรามอย่างรุนแรงตามแบบอย่างปฏิบัติการของสหรัฐอเมริกาในสงครามเวียดนามซึ่งรัฐบาลทหารไทยสมัยนั้นได้นำมาใช้เป็นหลักนิยมความมั่นคงของชาติ อย่างไรก็ตามการเรียนรู้ในระดับบุคคลถึงแม้ว่าจะเป็นส่วนสำคัญยิ่ง แต่ก็ยังถือว่าเป็นเพียงก้าวแรกเท่านั้น หลังจากสงครามลับในลาวสิ้นสุดลง นายทหารกลุ่มหนึ่งได้กลับมายังประเทศไทยและได้รับมอบภารกิจการต่อสู้คอมมิวนิสต์ นายทหารกลุ่มนั้นนำโดยพลเอกสายหยุด เกิดผล ได้ปรับเปลี่ยนหลักนิยมและแนวทางการต่อต้านการก่อความไม่สงบขึ้นใหม่ ซึ่งมุ่งเน้นการเอาชนะจิตใจประชาชนและสร้างความชอบธรรมทางการเมืองโดยใช้มาตรการพัฒนาเศรษฐกิจและการเมือง ขยายบทบาทงานด้านกิจการพลเรือนของกองทัพ รวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้ก่อความไม่สงบที่ยอมมอบตัวให้เข้าร่วมเป็น “ผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย” ชั้นที่สองคือการเรียนรู้ระดับองค์กรที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนหลักนิยม เกิดจากปัจจัยสำคัญยิ่งคือการเปลี่ยนแปลงของรัฐบาลทหารที่ปกครองประเทศมากว่าสิบห้าปี ได้สร้างโอกาสสู่การเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยเช่นเดียวกับเปิดโอกาสให้เกิดการปรับหลักนิยมความมั่นคงของชาติ เป็นช่วงเวลาที่พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ผู้ซึ่งให้การสนับสนุนและมีบทบาทหลักต่อการใช้หลักนิยมใหม่ ได้ก้าวเข้ามาดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกและนายกรัฐมนตรี การยกระดับไปสู่หลักนิยมใหม่นี้เกิดขึ้นภายใต้การนำของเขา


การดำเนินนโยบายมุ่งใต้ใหม่ของไต้หวันในฐานะเครื่องมือในการสร้างมิตรประเทศ, ณัชพล สังขะโห Jan 2021

การดำเนินนโยบายมุ่งใต้ใหม่ของไต้หวันในฐานะเครื่องมือในการสร้างมิตรประเทศ, ณัชพล สังขะโห

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตอบคำถามว่าไต้หวันพยายามถ่วงดุลอำนาจจีน โดยใช้นโยบายมุ่งใต้ใหม่ (New Southbound Policy) เป็นเครื่องมืออย่างไร จากการศึกษาพบว่า นโยบายมุ่งใต้ใหม่ (New Southbound Policy) เป็นเครื่องมือของไต้หวันในการถ่วงดุลอำนาจจีนแบบละมุนละม่อม (soft balancing) โดยผลักดันให้เกิดการสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับ “มิตรประเทศ” เป้าหมายยุทธศาสตร์ของไต้หวัน 18 ประเทศ ซึ่งให้ความสำคัญกับบุคคลเป็นศูนย์กลาง (people-centered) และแลกเปลี่ยนความรู้และทรัพยากรระหว่างไต้หวันกับประเทศเป้าหมายยุทธศาสตร์ในด้านต่าง ๆ เช่น การค้า การศึกษา การเกษตร การท่องเที่ยว การแพทย์ สังคมและวัฒนธรรม เป็นต้น เพื่อลดการพึ่งพาทางเศรษฐกิจจากจีนและเป็นการสร้าง “แนวร่วม” ที่มีผลประโยชน์และเป้าหมายร่วมกัน (like-minded nations) เนื่องจากมิตรประเทศต้องพึ่งพาเศรษฐกิจกับไต้หวัน จึงต้องรักษาผลประโยชน์ของตน อีกทั้งเป็นการรวมกลุ่มของมิตรประเทศค่านิยมทางการเมืองร่วมกันจากการเป็นรัฐประชาธิปไตย จึงเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างความมั่นคงของไต้หวันในการยับยั้งจีนไม่ให้คุกคามไต้หวันจากหลักการจีนเดียวและเป็นการรักษาสถานะเดิมที่เป็นอยู่ของไต้หวัน


นโยบายการเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคตะวันออกกลางของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, ธำรงศักดิ์ สุนทรภัค Jan 2021

นโยบายการเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคตะวันออกกลางของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, ธำรงศักดิ์ สุนทรภัค

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ทำให้สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ตัดสินใจดำเนินนโยบายต่างประเทศเพื่อยกระดับขีดความสามารถของตนในมิติต่าง ๆ ให้โดดเด่นในเวทีระหว่างประเทศมากขึ้น โดยใช้กรอบการวิเคราะห์นโยบายต่างประเทศ 3 ระดับ ได้แก่ ระดับบุคคล ระดับรัฐ และระดับระหว่างประเทศ เป็นกรอบแนวคิดหลัก ผู้วิจัยพบว่าปัจจัยระดับบุคคลคือปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการกำหนดนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มากที่สุด โดยเฉพาะ Mohammed bin Zayed al-Nahyan มกุฎราชกุมารแห่งรัฐอาบูดาบีที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกลในการบริหารราชการแผ่นดินและมีอิทธิพลต่อกระบวนการกำหนดนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มากขึ้นตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 2000 เป็นต้นมา ทำให้สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ปรับเปลี่ยนนโยบายต่างประเทศจากการวางตัวเป็นกลางและมุ่งสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับนานาประเทศเป็นนโยบายต่างประเทศที่พยายามมุ่งพัฒนาขีดความสามารถในมิติต่าง ๆ ได้แก่ การทูต เศรษฐกิจ เทคโนโลยี พลังงาน และการทหาร ให้โดดเด่นอย่างชัดเจน เพื่อเป็นหลักประกันความมั่นคงให้กับประเทศในระยะยาวท่ามกลางสถานการณ์ระหว่างประเทศที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วมากขึ้น


บทบาทการเมืองของคู่สมรสนายกรัฐมนตรีในเวทีระหว่างประเทศ : กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหว่าง ละเอียด พิบูลสงคราม และนราพร จันทร์โอชา, วิลาสินี พวงมาลัย Jan 2020

บทบาทการเมืองของคู่สมรสนายกรัฐมนตรีในเวทีระหว่างประเทศ : กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหว่าง ละเอียด พิบูลสงคราม และนราพร จันทร์โอชา, วิลาสินี พวงมาลัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์เล่มนี้ได้ศึกษาถึงบทบาทและอิทธิพลทางการเมืองของคู่สมรสนายกรัฐมนตรีไทย ในการส่งเสริม สนับสนุนงานของนายกรัฐมนตรีและรัฐบาล ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ โดยมีกรณีศึกษาคือ ละเอียด พิบูลสงคราม และ นราพร จันทร์โอชา ที่มีความแตกต่างกันทั้งในด้านของบริบทระหว่างประเทศ วิธีการ และอุดมการณ์ที่คู่สมรสนายกรัฐมนตรีใช้ในการส่งเสริมบทบาทและอิทธิพลของตนในเวทีระหว่างประเทศ โดยงานชิ้นนี้ได้ใช้กรอบแนวคิดด้วยกัน 3 กรอบเพื่อประกอบในการวิเคราะห์บทบาทและอิทธิพลทางการเมืองระหว่างประเทศของคู่สมรสนายกรัฐมนตรี ได้แก่ การทูตเชิงวัฒนธรรม ชาตินิยม และสตรีนิยม โดยงานชิ้นนี่มุ่งเน้นที่จะนำเสนอด้วยกัน 3 อย่าง ได้แก่1)ข้อมูลบทบาทและอิทธิพลทางการเมืองในเวทีระหว่างประเทศของคู่สมรสนายกรัฐมนตรี 2) การศึกษาวิเคราะห์ภารกิจ/กิจกรรมและบทบาทของคู่สมรสนายกรัฐมนตรีในการส่งเสริม สนับสนุน และขับเคลื่อนภาพลักษณ์ของไทยในเวทีระหว่างประเทศ และ 3)เปรียบเทียบและวิเคราะห์บทบาทของละเอียดและนราพร ในการสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลภายใต้บริบทการเมืองรัฐนิยมและความเป็นชาตินิยมของไทยในเวทีระหว่างประเทศ


ยุทธศาสตร์การดำเนินนโยบายตามรัฐมหาอำนาจของกัมพูชาต่อจีน ปีค.ศ. 2012-2019, ณัฎฐิกา ธงชัย Jan 2020

ยุทธศาสตร์การดำเนินนโยบายตามรัฐมหาอำนาจของกัมพูชาต่อจีน ปีค.ศ. 2012-2019, ณัฎฐิกา ธงชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาถึงปัจจัยที่ทำให้กัมพูชาเลือกใช้ยุทธศาสตร์การดำเนินนโยบายตามรัฐมหาอำนาจ (Bandwagon) กับจีน ระหว่างปี ค.ศ. 2012-2019 ถึงแม้กัมพูชาจะได้รับความเสี่ยง และผลกระทบที่ตามมามากมายจากการลงทุนและการให้ความช่วยเหลือจากจีนไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมวัฒนธรรม แต่กัมพูชาก็ยังคงเลือกดำเนินยุทธศาสตร์การดำเนินนโยบายตามรัฐมหาอำนาจกับจีนและสอดคล้องกับจีนในทุกมิติ โดยใช้การดำเนินนโยบายตามรัฐมหาอำนาจเพื่อผลตอบแทน (Bandwagon for profit) และทฤษฎีสัจนิยมใหม่ ของ Randall L. Schweller เป็นกรอบแนวคิด ผลจากการศึกษาพบว่าปัจจัยที่ทำให้กัมพูชาเลือกใช้ยุทธศาสตร์การดำเนินนโยบายตามรัฐมหาอำนาจกับจีน แบ่งออกเป็น ปัจจัยภายนอก ได้แก่ 1) การคานอำนาจกับประเทศเพื่อนบ้าน 2) ความไม่เชื่อมั่นในกลไกของอาเซียน 3) แรงกดดันของสหรัฐฯ ที่ต่อต้านระบอบการเมืองเผด็จการของกัมพูชา และ 4) การสนับสนุนของจีนทางการทูตในเวทีภูมิภาคและระหว่างประเทศ และ ปัจจัยภายใน ได้แก่ 1) ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และความช่วยเหลือจากจีน 2) การลงทุนและความช่วยเหลือของจีนเอื้อต่อการคอร์รัปชันของเจ้าหน้าที่รัฐ ชนชั้นนำทางการเมืองในระดับประเทศและท้องถิ่น ข้าราชการ และภาคธุรกิจ และ 3) การรักษาอำนาจและการสร้างความชอบธรรมของระบอบฮุนเซน ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่ทำให้กัมพูชาเลือกดำเนินยุทธศาสตร์การดำเนินนโยบายตามรัฐมหาอำนาจกับจีน


การจัดการแรงงานข้ามชาติโรฮิงญาของประเทศมาเลเซีย, บูรณิจฉ์ ตันติวุฒิพงศ์ Jan 2020

การจัดการแรงงานข้ามชาติโรฮิงญาของประเทศมาเลเซีย, บูรณิจฉ์ ตันติวุฒิพงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาการจัดการแรงงานข้ามชาติโรฮิงญาของประเทศมาเลเซีย โดยศึกษาความมั่นคงของมนุษย์ต่อการจัดการแรงงานชาวโรฮิงญาประเทศมาเลเซีย เพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์แนวทางการจัดการแก้ไขปัญหาด้านแรงงานทั้งจากรัฐบาลมาเลเซีย และองค์กรนอกภาครัฐ ภายใต้กรอบแนวคิดความมั่นคงของมนุษย์ (Human Security) ที่มีพื้นฐานมาจากแนวคิด (Critical Security) และแนวคิดการย้ายถิ่นเป็นส่วนประกอบของการวิเคราะห์ จากการศึกษาพบว่า ประเทศมาเลเซียได้มีบทบาทสำคัญต่อการจัดการแรงงาน จากการดำเนินการด้านนโยบายหรือการจัดการ โดยการให้ความช่วยเหลือแรงงานทำให้สามารถดำรงชีวิตตามแนวทางขั้นพื้นฐานตามหลักสิทธิมนุษยชน และความมั่นคงของมนุษย์ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญต่อการมีคุณภาพชีวิตที่ปลอดภัย ผ่านมาตรการทางด้านกฎหมายต่างๆ ทำให้แรงงานต่างชาติสามารถได้รับสิทธิ์เช่นเดียวกับแรงงานมาเลเซียภายใต้พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ การรับเงินทดแทนหรือประกันสังคม รวมทั้ง ได้มีการลงนามในตราสารด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศหลายฉบับ รวมถึง อนุสัญญาพื้นฐานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ หรือ ILO ว่าด้วยการบังคับใช้แรงงาน ทำให้มาเลเซียทราบถึงมาตรการที่รัฐดำเนินการเพื่อปกป้องแรงงานข้ามชาติ แม้ว่ารัฐบาลมาเลเซียได้ให้ความสำคัญต่อความมั่นคงมนุษย์ของแรงงานต่างชาติ แต่ยังไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากลเท่าที่ควร จึงเกิดเป็นการประสานความร่วมมือร่วมกันระหว่างรัฐบาลมาเลเซีย กับองค์กรนอกภาครัฐ อย่าง สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ หรือ UNHCR และ กลุ่มเคลื่อนไหวด้านแรงงานในประเทศมาเลเซีย อย่างกลุ่ม Tenaganita ที่ได้มีการสนับสนุนให้มีการจัดการแก้ไขปัญหาตามแบบสากล เพื่อให้มีกรอบแนวทางการดำเนินการไปในทิศทางเดียวกัน ทั้งนี้ องค์กรนอกภาครัฐเป็นเพียงแค่ส่วนส่งเสริมแต่ไม่สามารถเข้าไปแทรกแซงการเมืองภายในของมาเลเซียได้ ทำให้การจัดการแรงงานต่างชาติจึงยังเป็นการให้ความสำคัญ และพึ่งพาภาครัฐมากกว่าที่จะเป็นการเน้นบทบาทของแรงงานอย่างแท้จริง


การทูตสาธารณะกับกิจการพลเรือนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : ศึกษายุทธศาสตร์ การทูตสาธารณะของกองทัพไทยในปฏิบัติการรักษาสันติภาพที่ดาร์ฟูร์ภายใต้ Unamid, พงศ์เชษฐ พรหมรักษ์ Jan 2020

การทูตสาธารณะกับกิจการพลเรือนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : ศึกษายุทธศาสตร์ การทูตสาธารณะของกองทัพไทยในปฏิบัติการรักษาสันติภาพที่ดาร์ฟูร์ภายใต้ Unamid, พงศ์เชษฐ พรหมรักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ของสารนิพนธ์นี้เพื่อพิจารณาเป้าหมายและการดำเนินการตามยุทธศาสตร์การทูตสาธารณะของกองทัพไทยในระหว่างการเข้าร่วมการปฏิบัติการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติในดาร์ฟูร์ภายใต้ UNAMID การวิจัยนี้ศึกษาการริเริ่มการทูตสาธารณะที่ผ่านมาของประเทศไทย รวมถึงการผสานกิจการพลเรือนในยุทธศาสตร์ความมั่นคงภายใน โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพร่วมกับการวิเคราะห์เอกสาร การศึกษานี้มีข้อค้นพบหลัก ได้แก่ ก) ยุทธศาสตร์การทูตสาธารณะของกองทัพไทยในระหว่างปฏิบัติรักษาสันติภาพที่ดาร์ฟูร์ ได้ผสานการดำเนินงานด้านกิจการพลเรือนเข้ากับโครงการความช่วยเหลือด้านการพัฒนา เพื่อแสดงคุณค่าและประโยชน์ของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการสนับสนุนความเป็นอยู่ที่ดีทางด้านเศรษฐกิจที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ; ข) กลุ่มเป้าหมายหลักของการทูตสาธารณะคือ หน่วยงานต่างๆด้านการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ กองกำลังของประเทศอื่นๆ ในการปฏิบัติการรักษาสันติภาพ และประเทศภายในกรอบความร่วมมือแบบใต้ - ใต้ ค) จุดมุ่งหมายหลักของยุทธศาสตร์การทูตสาธารณะคือ การส่งเสริมการยอมรับของนานาชาติต่อความพร้อมของประเทศไทย ในการสนับสนุนความร่วมมือด้านการพัฒนาระหว่างประเทศ และความสามารถของกองทัพไทยในการแก้ไขปัญหาความมั่นคงภายใน โดยใช้การดำเนินการกิจการพลเรือนตามแนวทางของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สารนิพนธ์นี้ สรุปด้วยข้อเสนอแนะด้านนโยบายสำหรับการทูตสาธารณะของประเทศไทยในอนาคต ซึ่งมีส่วนที่ต้องปรับปรุงคือ ควรมีการประชาสัมพันธ์งานกิจการพลเรือนของกองทัพไทยที่มีหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักนิยมและการถ่ายทอดความรู้ให้กับหน่วยงานของซูดาน ส่วนของข้อเสนอแนะเพิ่มเติมคือ กองทัพไทยควรขับเคลื่อนการทูตสาธารณะผ่านงานด้านกิจการพลเรือนเพื่อสนับสนุนการดำเนินนโยบายต่างประเทศ และการดำเนินการกิจการพลเรือนในปฏิบัติการรักษาสันติภาพซึ่งเป็นจุดแสดงสมรรถนะด้านความมั่นคง


การศึกษาความสัมพันธ์ไทย-จีนผ่านโครงการรถไฟความเร็วสูงระหว่างในปี ค.ศ. 2013-2020, เอกพจน์ ฮ้อแสงชัย Jan 2020

การศึกษาความสัมพันธ์ไทย-จีนผ่านโครงการรถไฟความเร็วสูงระหว่างในปี ค.ศ. 2013-2020, เอกพจน์ ฮ้อแสงชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้ต้องการศึกษาความล่าช้าในการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ซึ่งถือเป็นโครงการที่สำคัญในการสานความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับจีนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านเศรษฐกิจ เนื่องจากความร่วมมือดังกล่าวถือเป็นปัจจัยที่เกื้อหนุนการพัฒนาเศรษฐกิจของไทยและจีนผ่านการสร้างระบบเครือข่ายการคมนาคมขนส่งในภูมิภาค ทั้งนี้ การที่จีนให้การรับรองรัฐบาลรัฐประหารในไทยที่นำโดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในปี ค.ศ. 2014 เปิดโอกาสให้จีนเข้ามาผลักดันให้รัฐบาลไทยเร่งดำเนินการสานต่อโครงการดังกล่าว ซึ่งหลายฝ่ายคาดว่า ด้วยความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างรัฐบาลทั้งสองจะทำให้การดำเนินการโครงการฯ เป็นไปได้อย่างรวดเร็ว แต่ในความเป็นจริงเกิดความล่าช้ามาโดยทั้งสองฝ่ายไม่สามารถบรรลุข้อตกลงได้อย่างรวดเร็ว จากการศึกษาครั้งนี้พบว่า ความล่าช้าดังกล่าวเกิดจากความพยายามของรัฐบาลไทยที่ต้องการรักษาสมดุลระหว่างความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับจีนและความชอบธรรมภายในประเทศ ในขณะที่รัฐบาลไทยให้ฝ่ายจีนเป็นผู้ดำเนินการโครงการฯ โดยปราศจากคู่แข่ง แต่ก็พยายามแสดงให้สาธารณชนเห็นว่าการมีความสัมพันธ์ที่ดีกับจีนมิได้ทำให้ไทยต้องอ่อนข้อและอาจทำให้ประเทศไทยเสียผลประโยชน์แห่งชาติดังที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ จึงส่งผลให้การเจรจาไม่สามารถหาข้อยุติได้โดยง่าย ซึ่งสร้างความไม่พึงพอใจให้กับฝ่ายจีนและกลายมาเป็นประเด็นปัญหาท้าทายต่อรัฐบาลในการดำเนินความสัมพันธ์กับจีน กรณีศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า ถึงแม้ว่ารัฐบาลพลเอกประยุทธ์ฯ จะมีอำนาจเด็ดขาดในการดำเนินนโยบายแต่ยังคงต้องรักษาความชอบธรรมของระบอบการปกครองแบบเผด็จการท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมืองที่รุนแรงในไทยที่มีมาตลอดทศวรรษนับตั้งแต่การรัฐประหารโค้นล้มรัฐบาลพันตำรวจเอกทักษิณ ชินวัตร ในปี ค.ศ. 2006


ธุรกิจกองทัพกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในเมียนมา ค.ศ. 1958-2020, เอนกชัย เรืองรัตนากร Jan 2020

ธุรกิจกองทัพกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในเมียนมา ค.ศ. 1958-2020, เอนกชัย เรืองรัตนากร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กองทัพเมียนมา หรือตัตมะด่อ (Tatmadaw) เป็นตัวแสดงหลักที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและเศรษฐกิจของเมียนมา วิทยานิพนธ์นี้มุ่งวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองภายใต้อำนาจของกองทัพเมียนมากับการขยายธุรกิจของกองทัพเมียนมานับตั้งแต่ได้รับเอกราชจากอังกฤษจนถึงปัจจุบัน โดยต้องการพิจารณาว่าการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลาสำคัญส่งผลต่อผลประโยชน์ทางธุรกิจของกองทัพอย่างไร และในทางกลับกัน อำนาจทางเศรษฐกิจนี้ส่งผลต่อการรักษาและขยายอำนาจทางการเมืองของกองทัพเมียนมาอย่างไร การศึกษานี้วิเคราะห์ผ่านกรอบแนวคิดว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่าง ‘รูปแบบของความสัมพันธ์พลเรือน-ทหาร’ กับ ‘ระดับการควบคุมของทหารต่อธุรกิจกองทัพ’ ของ Ayesha Siddiqa ผลการศึกษาพบว่า ‘อำนาจทางการเมือง’ กับ ‘อำนาจทางเศรษฐกิจ’ ของกองทัพเมียนมาเป็นเงื่อนไขเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน กองทัพเมียนมาได้อาศัยอำนาจทางการเมืองเพื่ออำนวยความสะดวกแก่การสร้างและดำเนินธุรกิจของตนเอง ธุรกิจของกองทัพสามารถปรับตัวและยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่เกิดขึ้น และขยายตัวมากขึ้นออกไปครอบคลุมธุรกิจทุกประเภท ทั้งในรูปของเครือบริษัทที่ดำเนินการโดยกระทรวงกลาโหม อย่างเครือบริษัท UMEHL และเครือบริษัท MEC, ธุรกิจที่ดำเนินการโดยหน่วยงานย่อยต่างๆ ในกระทรวงกลาโหม, ธุรกิจของหน่วยทหารในระดับภูมิภาค รวมถึงเอื้อให้เกิดระบบ ทุนนิยมแบบเครือญาติ (Nepo-capitalism) และระบบทุนนิยมแบบเครือข่ายบริวาร (Crony capitalism) ในทางกลับกัน กองทัพเมียนมาก็ใช้อำนาจทางเศรษฐกิจที่ตนเองครอบครองเพื่อรักษาและขยายอำนาจทางการเมืองของตนเองให้เข้มแข็งมากขึ้นกว่าเดิม อันจะเป็นหลักประกันว่าตนเองจะสามารถควบคุมธุรกิจให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่พึงพอใจได้ กองทัพจึงดำเนินการเสริมสร้างศักยภาพทางการทหาร, สะสมความมั่งคั่งในหมู่ผู้นำทหาร, สนับสนุนสวัสดิการเพื่อสร้างความจงรักภักดีในเหล่าเจ้าหน้าที่ทหาร และทหารเกษียณอายุ, ก่อตั้งมวลชนจัดตั้ง และให้การสนับสนุนขบวนการชาตินิยมที่ฝักใฝ่กองทัพ ตลอดจนเปิดโอกาสให้พลเรือนเข้ามาประกอบอาชีพในธุรกิจของกองทัพ เพื่อขยายความนิยมทางการเมืองของตนเองออกไปสู่ภาคพลเรือนในช่วงการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง การศึกษายังพบว่า อำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจของกองทัพเมียนมาที่ปราศจากการควบคุมและตรวจสอบจากรัฐบาลหรือหน่วยงานใดๆ เป็นอุปสรรคสำคัญที่บ่อนเซาะการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยของเมียนมา ให้กลายเป็นเพียงการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบอบประชาธิปไตยภายใต้กองทัพผู้พิทักษ์ระบอบเดิมเท่านั้น


กระบวนการส่งผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมากลับประเทศต้นทางด้วยความสมัครใจ: บทวิเคราะห์สาเหตุความล่าช้าและผลกระทบ, ชุติมา ทองเต็ม Jan 2020

กระบวนการส่งผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมากลับประเทศต้นทางด้วยความสมัครใจ: บทวิเคราะห์สาเหตุความล่าช้าและผลกระทบ, ชุติมา ทองเต็ม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษากระบวนการกลับคืนถิ่นฐานโดยความสมัครใจ เพื่อศึกษาสาเหตุและผลกระทบที่เกิดจากความล่าช้า รวมทั้งนำเสนอข้อท้าทาย โอกาส และข้อเสนอเชิงนโยบาย มีกรอบการศึกษาช่วงระยะเวลาสถานการณ์พัฒนาเชิงบวกจนถึงก่อนหน้าที่จะเกิดสถานการณ์โรคโควิด 19 ในปี ค.ศ. 2020 โดยมีสมมติฐานว่านโยบายของ รัฐไทย รัฐเมียนมา และUNHCR ส่งผลต่อการตัดสินใจของผู้หนีภัยฯ ในการกลับประเทศต้นทางโดยความสมัครใจ ซึ่งสัมพันธ์กับนโยบายรัฐที่ตั้งอยู่บนกรอบแนวคิดเรื่องรัฐชาติและความมั่นคงแห่งชาติ จึงเป็นข้อจำกัดสำคัญที่ทำให้เกิดความล่าช้าขึ้น การศึกษาพบว่า รัฐไทยพยายามผลักดันให้เกิดการกลับประเทศต้นทางโดยสมัครใจ แต่ในขณะที่รัฐเมียนมายังไม่มีความชัดเจน ไม่ได้มีโครงสร้างสถาบันรองรับแนวทางเพื่อไปสู่การสร้างสันติภาพอย่างแท้จริง และยังไม่สามารถขจัดสาเหตุความขัดแย้งระหว่างรัฐและกลุ่มชาติพันธุ์ชนกลุ่มน้อย รวมทั้งไม่ได้มีนโยบายรัฐในระยะยาวที่ตอบรับการกลับประเทศอย่างยั่งยืน อีกทั้ง UNHCR ไม่สามารถผลักดันเร่งรัดการทำงานของรัฐไทยและเมียนมาให้เกิดความร่วมมือได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้การจัดการยืดเยื้อต่อไป และอาจเป็นเพียงโครงการนำร่องที่ไม่ได้เกิดผลการกลับประเทศต้นทางอย่างยั่งยืน รวมทั้งการพัฒนาสวัสดิภาพความมั่นคงของมนุษย์สำหรับผู้หนีภัยฯ ไม่มีประสิทธิผล ประชากรกลุ่มนี้ยังมีความกังวลใจ และมีความไม่มั่นคง (ทางร่างกาย กฎหมาย วัตถุ และสังคมและจิตใจ) ข้อเสนอของผู้วิจัย คือ ปรับวิกฤติให้เป็นโอกาส ปรับรื้อระดับโครงสร้างนโยบายต่อผู้หนีภัยฯ จากมุมมองเก่าในการรักษาไว้ซึ่งความมั่นคงของรัฐเป็นสำคัญ สู่ความมุ่งมั่นใหม่ในการยกระดับการพัฒนาความมั่นคงมนุษย์อย่างยั่งยืน ยืนยันท่าทีจากคำมั่นที่รัฐไทยให้ไว้ต่อประชาคมระหว่างประเทศ สนับสนุนอาเซียนในการคลี่คลายวิกฤติการณ์เมียนมาในปัจจุบัน รวมทั้งหาทางออกที่คำถึงถึงปัจเจกในประเด็นการให้สัญชาติ และการจัดการที่ครอบคลุมในเรื่องพื้นที่พักพิงชั่วคราวที่จะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง


การจัดระเบียบแรงงานแม่บ้านชาวอินโดนีเซียในสิงคโปร์, ฐิติรัตน์ เชื้อพุทธ Jan 2020

การจัดระเบียบแรงงานแม่บ้านชาวอินโดนีเซียในสิงคโปร์, ฐิติรัตน์ เชื้อพุทธ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ตั้งแต่ปี 1990 - 2020 ประเทศสิงคโปร์เป็นประเทศที่มีชื่อเสียงเชิงลบต่อการใช้ความรุนแรงต่อแม่บ้านข้ามชาติ และปัญหาสวัสดิการขั้นพื้นฐานในการคุ้มครองแม่บ้านข้ามชาติ ปรากฏบนสื่อทั้งในและต่างประเทศ ก่อให้เกิดปัญหาที่กระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับอินโดนีเซีย และกระทบภาพลักษณ์เลือกปฏิบัติต่อพลเมืองที่มีฐานะด้อยในสังคม สารนิพนธ์ฉบับนี้จึงมุ่งศึกษา การจัดระเบียบแรงงานแม่บ้านชาวอินโดนีเซียในสิงคโปร์ โดยใช้กรอบแนวคิดเรื่องการควบคุมโดยรัฐ เพื่ออธิบายการตอบสนองของรัฐบาลสิงคโปร์ต่อแรงกดดันของรัฐบาลอินโดนีเซียและภาคประชาสังคมในสิงคโปร์ ผลการศึกษาพบว่า ตลอด 3 ห้วงทศวรรษที่ผ่านมา รัฐบาลสิงคโปร์ตอบสนองข้อเรียกร้องดีขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยมุ่งเน้นการปรับปรุงแก้ไขสวัสดิการขั้นพื้นฐานตาม พ.ร.บ. การว่าจ้างแรงงานต่างชาติ และเพิ่มบทลงโทษในประมวลกฎหมายอาญาต่อนายจ้างที่ละเมิดสิทธิของแรงงานต่างชาติ โดยการตอบสนองของรัฐบาลสิงคโปร์นั้นเป็นเพราะรัฐบาลตระหนักว่าแรงงานแม่บ้านต่างชาติเป็นแรงงานนอกระบบ (informal sector) ที่สำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของสิงคโปร์ที่เติบโตอย่างรวดเร็วในยุคโลกาภิวัตน์ หากรัฐบาลไม่ปรับปรุงกฎระเบียบให้ทันสมัย ปัญหานี้อาจลุกลามเป็นปัญหาระหว่างประเทศ กระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศ และกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของสิงคโปร์ในระยะยาว กระนั้น การปรับปรุงกฎระเบียบของรัฐบาลสิงคโปร์ก็จำกัดเฉพาะกฎหมายภายในประเทศ และต้องไม่เป็นปัญหาที่นายจ้างสิงคโปร์แบกรับไม่ไหว รวมทั้งหลีกเลี่ยงข้อตกลงระหว่างประเทศกับอินโดนีเซีย ที่อาจกระทบต่อความเป็นอิสระในการกำหนดนโยบายภายใน


บทบาทของศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ กองบัญชาการกองทัพไทยในการเก็บกู้ทุ่นระเบิด ตามอนุสัญญาออตตาวาระหว่าง พ.ศ. 2553-2563, พิชชาพร อุปพงศ์ Jan 2020

บทบาทของศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ กองบัญชาการกองทัพไทยในการเก็บกู้ทุ่นระเบิด ตามอนุสัญญาออตตาวาระหว่าง พ.ศ. 2553-2563, พิชชาพร อุปพงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาบทบาทของศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ กองบัญชาการกองทัพไทยในการปฏิบัติตามพันธกรณีข้อที่ 5 อนุสัญญาออตตาวาด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือด้านการเก็บกู้ทุ่นระเบิดร่วมกับศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติกัมพูชาและวิเคราะห์การเสริมสร้างความร่วมมือดังกล่าวและอุปสรรคด้วยทฤษฎีเสรีนิยมเชิงสถาบันและทฤษฎีระบอบ โดยมองทฤษฎีระบอบในกรอบของเสรีนิยมเชิงสถาบัน จากการศึกษาพบว่า ศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ กองบัญชาการกองทัพไทยเป็นตัวแสดงที่มีบทบาทในการธำรงไว้ซึ่งระบอบห้ามทุ่นระเบิดด้วยการพยายามปฏิบัติตามพันธกรณีในอนุสัญญาออตตาวา เพื่อให้สามารถกำจัดทุ่นระเบิดในพื้นที่ประเทศไทยให้หมดไปซึ่งรวมไปถึงพื้นที่ที่ยังไม่ได้รับการปักปันเขตแดนในชายแดน ไทย-กัมพูชา ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือด้านการเก็บกู้ทุ่นระเบิดกับศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิด กัมพูชา ซึ่งเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมผ่านโครงการนำร่องด้านความร่วมมือในการเก็บกู้ทุ่นระเบิดตามแนวชายแดนไทย – กัมพูชา เมื่อปรับใช้ทฤษฎีเสรีนิยมเชิงสถาบันและทฤษฎีระบอบเข้ากับผลการศึกษาจากข้อมูลเชิงปฐมภูมิและทุติยภูมิพบว่าศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ กองบัญชาการกองทัพไทยประสบความสำเร็จในฐานะตัวแสดงที่ริเริ่มและปฏิบัติในโครงการดังกล่าวซึ่งสามารถสนับสนุนความร่วมมือระหว่างทั้งสองหน่วยงานได้เนื่องจากสามารถสร้างความรู้และความเข้าใจให้กับตัวแสดงภายในประเทศอื่นๆที่มีอิทธิพลต่อการสร้างความร่วมมือของทั้งสองหน่วยงาน อย่างไรก็ตาม พบว่ามีอุปสรรคในการเสริมสร้างความร่วมมือเช่นกัน ได้แก่ ความไม่ไว้วางใจและความหวาดระแวงของฝ่ายกัมพูชา การขาดเอกภาพของหน่วยงานในประเทศกัมพูชา สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19และการปรับเปลี่ยนวงรอบการบังคับบัญชาของคณะผู้บังคับบัญชาการของศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ กองบัญชาการกองทัพไทย


บทบาทของเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (Aun) ต่อกระบวนการพัฒนาสู่ความเป็นนานาชาติด้านการศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เทียนทอง วชิรวิชัย Jan 2020

บทบาทของเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (Aun) ต่อกระบวนการพัฒนาสู่ความเป็นนานาชาติด้านการศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เทียนทอง วชิรวิชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาบทบาทของเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน หรือ AUN ต่อกระบวนการพัฒนาสู่ความเป็นนานาชาติด้านการศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา 2 ประการ คือ เพื่อศึกษากระบวนการดำเนินงานและบทบาทของเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนต่อจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในฐานะองค์กรระหว่างประเทศที่สนับสนุนทางด้านการศึกษาแก่สมาชิกในภูมิภาค และเพื่อศึกษาปัจจัยเกื้อหนุนและ/หรืออุปสรรคต่อการดำเนินงานของเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนในการส่งเสริมกระบวนการพัฒนาสู่ความเป็นนานาชาติของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยใช้กรอบแนวคิดทฤษฎีว่าด้วยเรื่องของการสร้างเครือข่าย (Networking) การบูรณาการภายในภูมิภาค (Regional Integration) และ ความเป็นนานาชาติของสถาบันอุดมศึกษา (Internationalization of Higher Education) เป็นแนวทางในการวิเคราะห์ จากการศึกษาพบว่า AUN มีบทบาททางอ้อมในการส่งเสริมความเป็นนานาชาติของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยผ่าน การสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างกันของสมาชิกที่มีเป้าประสงค์เดียวกันในหัวเรื่องต่างๆอย่าง AUN Thematic Network ที่นำมาสู่การเกิดขึ้นของบูรณาการในระดับภูมิภาคซึ่งได้สร้างมาตรฐานและแนวทางการพัฒนาสำหรับสมาชิกให้เป็นไปในรูปแบบเดียวกัน โดยเชื่อมโยงกับองค์ความรู้จากภายนอกภูมิภาคที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล แต่ยังคงไว้ซึ่งความเป็นแกนกลางของอาเซียนในการดำเนินกิจกรรมและโครงการต่างๆ ผ่านกลไกที่มีอยู่แล้วหรือพัฒนาขึ้นเอง ทั้งนี้ ปัจจัยเกื้อหนุนที่สำคัญต่อการดำเนินงานของ AUN เพื่อส่งเสริมความร่วมมือของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คือเรื่องของทำเลที่ตั้ง ความสอดคล้องทางด้านนโยบายกับรัฐไทย และความเข้าใจของรัฐบาลไทยในการให้อิสระต่อการบริหารจัดการตนเอง ส่วนอุคสรรคสำคัญต่อการดำเนินงานของ AUN คือเรื่องของงบประมาณสนับสนุนที่มีจำนวนน้อยหากเทียบกับสัดส่วนของโครงการและกิจกรรมในแต่ละปี จึงทำให้เกิดความล่าช้าและการติดขัดในการบริหารจัดการ


อินโดนีเซียกับการจัดการปัญหาวิกฤตการณ์ด้านมนุษยธรรมชาวโรฮีนจา, พิชญุตม์ บงกชพรรณราย Jan 2020

อินโดนีเซียกับการจัดการปัญหาวิกฤตการณ์ด้านมนุษยธรรมชาวโรฮีนจา, พิชญุตม์ บงกชพรรณราย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์หัวข้อ “อินโดนีเซียกับการจัดการปัญหาวิกฤตการณ์ด้านมนุษยธรรม ชาวโรฮีนจา” เป็นการศึกษาการจัดการของอินโดนีเซียต่อชาวโรฮีนจาที่อพยพเข้ามาในประเทศตั้งแต่ ปี ค.ศ. 2015 ผ่านแนวคิดกระบวนการประกอบสร้างประเด็นความมั่นคง โดยมีข้อถกเถียงสำคัญว่า แม้รัฐบาลอินโดนีเซียจะให้ความช่วยเหลือแก่ชาวโรฮีนจาที่อพยพเข้ามาภายในประเทศ แต่การช่วยเหลือนั้นเป็นไปอย่างจำกัดและเป็นไปตามหลักมนุษยธรรมเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว รัฐบาลอินโดนีเซียได้พยายามทำให้ชาวโรฮีนจากลายเป็นประเด็นความมั่นคงภายในประเทศ และพยายามยกระดับปัญหาโรฮีนจาให้เป็นประเด็นความมั่นคงในระดับระหว่างประเทศ จากการศึกษาพบว่า รัฐบาลอินโดนีเซียได้จัดการกับชาวโรฮีนจาที่อพยพเข้ามาผ่านการทำให้เป็นประเด็นความมั่นคงภายในประเทศ โดยการสร้างวาทกรรม “การย้ายถิ่นแบบไม่ปกติ” เพื่อทำให้ชาวโรฮีนจากลายเป็นภัยคุกคามต่อรัฐ ดังนั้น อินโดนีเซียจึงได้สกัดกั้นการเข้ามา และผลักเรือของชาวโรฮีนจาออกจากเขตแดนของตน รวมถึงกักขังชาวโรฮีนจาให้อยู่ในค่ายทหาร พวกเขาไม่ได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานทั้งการเข้าถึงการรักษาพยาบาล การทำงาน และการเดินทาง นอกจากนี้ อินโดนีเซียยังได้ทำให้ปัญหาโรฮีนจากลายเป็นประเด็นความมั่นคงในระดับระหว่างประเทศผ่านเวทีอาเซียน และกระบวนการบาหลี โดยอินโดนีเซียได้พยายามเรียกร้องให้ประเทศสมาชิกต่าง ๆ ได้เข้ามาช่วยเหลือและหาวิธีแก้ไขปัญหาโรฮีนจา เพื่อที่จะต้องการลดภาระที่อินโดนีเซียต้องแบกรับ อย่างไรก็ตาม อินโดนีเซียไม่สามารถโน้มน้าวอาเซียน และกระบวนการบาหลีให้จัดการแก้ไขปัญหาโรฮีนจาได้ ส่งผลให้ปัญหาโรฮีนจาไม่ได้รับการแก้ไข


พัฒนาการกลุ่มอนุรักษ์นิยมสุดขั้วในขบวนการต่อต้านทักษิณ, วสุชน รักษ์ประชาไท Jan 2020

พัฒนาการกลุ่มอนุรักษ์นิยมสุดขั้วในขบวนการต่อต้านทักษิณ, วสุชน รักษ์ประชาไท

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาพัฒนาการการเคลื่อนไหวกลุ่มอนุรักษ์นิยมสุดขั้วในขบวนการต่อต้านทักษิณ โดยพยายามตอบคำถามว่า กลุ่มอนุรักษ์นิยมสุดขั้วในขบวนการต่อต้านทักษิณมีพัฒนาการทางความคิดและปฏิบัติการเคลื่อนไหวอย่างไร ส่งผลต่อขบวนการต่อต้านทักษิณในภาพรวมและต่อการเมืองไทยอย่างไร ผ่านกรอบแนวคิดขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม 3 แนวคิดได้แก่ แนวคิดระดมทรัพยากร แนวคิดโครงสร้างโอกาสทางการเมือง และแนวคิดกระบวนการสร้างและจัดระเบียบกรอบโครงความคิด การเก็บข้อมูลประกอบด้วยการวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกแกนนำกลุ่มการเคลื่อนไหวจำนวน 5 คน และผู้เข้าร่วมการเคลื่อนไหวจำนวน 20 คน การศึกษาพบว่า กลุ่มอนุรักษ์นิยมสุดขั้วในขบวนการต่อต้านทักษิณมีการเปลี่ยนแปลงทางความคิดและปฏิบัติการเคลื่อนไหวในลักษณะที่เป็นพลวัต พวกเขาเติบโตในช่วงเวลาที่อยู่ภายใต้ขบวนการพันธมิตรฯ ต่อมาได้แยกออกจากขบวนการใหญ่เพื่อขยายฐานมวลชนและกำหนดประเด็นการต่อสู้ใหม่ที่เน้นการปกป้องชาติ-ศาสน์-กษัตริย์ จนทำให้เกิดความขัดแย้งกับกลุ่มพลังอื่น ๆ ในขบวนการ อย่างไรก็ตามกลุ่มอนุรักษ์นิยมสุดขั้วได้สมานความขัดแย้งกับกลุ่มอื่น ๆ ในช่วงก่อนเกิดขบวนการกปปส. และเข้าร่วมกับขบวนการต่อต้านทักษิณขบวนการใหญ่อีกครั้งในปี พ.ศ.2556 – 2557 โดยตลอดระยะเวลาการเคลื่อนไหว กลุ่มอนุรักษ์นิยมสุดขั้วมีบทบาทเป็นผู้ปลุกกระแสต่อต้านทักษิณและจัดตั้งมวลชนให้พร้อมสำหรับการชุมนุม ซึ่งส่งผลให้ขบวนการต่อต้านทักษิณในภาพรวมเกิดความต่อเนื่อง เปิดโอกาสให้ทหารมีพื้นที่ในการเมืองไทย และมวลชนที่เข้าร่วมเคลื่อนไหวเริ่มปฏิเสธกระบวนการแก้ไขปัญหาตามระบอบประชาธิปไตย


การรณรงค์ทางการเมืองบนโลกออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านอำนาจ: กรณีศึกษาเฟซบุ๊กเพจ “ล้านชื่อต้านล้างผิด” “The Mettad” และ “ลุงตู่ตูน”ในช่วงการเลือกตั้ง 2562, ทัตเทพ ดีสุคนธ์ Jan 2020

การรณรงค์ทางการเมืองบนโลกออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านอำนาจ: กรณีศึกษาเฟซบุ๊กเพจ “ล้านชื่อต้านล้างผิด” “The Mettad” และ “ลุงตู่ตูน”ในช่วงการเลือกตั้ง 2562, ทัตเทพ ดีสุคนธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาการรณรงค์ทางการเมืองผ่านเฟซบุ๊กเพจ “ล้านชื่อต้านล้างผิด” “THE METTAD” และ “ลุงตู่ตูน” ซึ่งมีลักษณะเป็นเฟซบุ๊กเพจนิรนามที่ไม่สามารถระบุตัวตนของผู้ก่อตั้งเพจได้ชัดเจน แต่ผลิตเนื้อหาเพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านอำนาจของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์และโจมตีคู่แข่งทางการเมืองมาอย่างต่อเนื่องในช่วงฤดูกาลเลือกตั้ง 2562 เพื่อตอบคำถามหลักว่า เฟซบุ๊กเพจเหล่านี้มีลักษณะ บทบาท และนัยสำคัญที่เหมือนหรือต่างจากการรณรงค์ทางการเมืองผ่านช่องทางอื่น ๆ ของรัฐบาลอย่างไร โดยศึกษาในเชิงคุณภาพด้วยแนวทางการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และการวิจัยเอกสาร เพื่อสำรวจรูปแบบและประเด็นที่เฟซบุ๊กทั้ง 3 เพจใช้ในการรณรงค์ ลักษณะความคิดเห็นของผู้ใช้เฟซบุ๊กที่ปรากฏบนเพจ รวมถึงประเด็นที่ถูกหยิบยกไปขยายผลทางการเมือง ผลการศึกษาพบว่า แม้เฟซบุ๊กทั้ง 3 เพจจะนิยมใช้รูปแบบการนำเสนอที่สอดคล้องไปตามวัฒนธรรม การสื่อสารบนสื่อสังคมออนไลน์ยุคปัจจุบัน แต่ประเด็นส่วนใหญ่ที่หยิบยกมาสนับสนุนรัฐบาลและโจมตีคู่แข่งกลับยังคง ผูกโยงอยู่กับชุดอุดมการณ์ซึ่งครองอำนาจนำในสังคมไทย ได้แก่ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ แตกต่างจากการรณรงค์ผ่านช่องทางอื่น ๆ ที่มักสนับสนุนรัฐบาลด้วยการนำเสนอนโยบายและผลงาน โดยไม่ปรากฏการโจมตีคู่แข่งด้วยชุด อำนาจนำมากนัก นอกจากนั้น ผู้ใช้เฟซบุ๊กส่วนใหญ่มักแสดงความคิดเห็นไปในเชิงสนับสนุนเนื้อหาที่เพจนำเสนอ จนอาจทำให้เฟซบุ๊กเพจนิรนามเหล่านี้กลายเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ห้องเสียงสะท้อน (Echo Chamber) บนโลกออนไลน์ซึ่งรวมกลุ่มคนที่สนับสนุนรัฐบาลพลเอกประยุทธ์เข้ามาไว้ด้วยกัน โดยไม่ได้แพร่กระจายเนื้อหาไปสู่กลุ่มคนที่มีอุดมการณ์แบบอื่น ๆ มากนัก อย่างไรก็ตาม บางประเด็นที่เฟซบุ๊กเพจนิรนามร่วมกันนำเสนอเพื่อโจมตีคู่แข่งทางการเมืองกลับไม่ได้ถูกพูดถึงอยู่ภายในห้องเสียงสะท้อนบนโลกออนไลน์เท่านั้น แต่ยังถูกหยิบยกไปขยายผลทางการเมืองบนโลกจริงผ่านการให้สัมภาษณ์ของบุคคลสาธารณะและการยื่นฟ้องร้องดำเนินคดีโดยบุคคลต่าง ๆ ด้วย จนอาจแสดงให้เห็นถึงพลังอีกแง่หนึ่งของ เฟซบุ๊กเพจนิรนามซึ่งเป็นหนึ่งในกลไกที่ทำงานอยู่เบื้องหลังการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง 2562 และคงจะถูกนำมาประยุกต์ใช้อย่างเข้มข้นมากขึ้นในการเลือกตั้งครั้งต่อ ๆ ไป


นโยบายการท่องเที่ยวของญี่ปุ่นภายใต้อาเบะโนมิกส์, มาฆมาส ลัดพลี Jan 2020

นโยบายการท่องเที่ยวของญี่ปุ่นภายใต้อาเบะโนมิกส์, มาฆมาส ลัดพลี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษานโยบายการท่องเที่ยวของญี่ปุ่นภายใต้อาเบะโนมิกส์ และวิเคราะห์ถึงผลลัพธ์ของนโยบายการท่องเที่ยวดังกล่าวด้วยกรอบแนวคิดทฤษฎีการเมืองเกี่ยวพัน เมื่อนายชินโซะ อาเบะ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีในปี ค.ศ. 2012 ญี่ปุ่นต้องเผชิญกับทั้งปัจจัยภายในประเทศและปัจจัยภายนอกประเทศที่ล้วนแล้วแต่เกี่ยวพันกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจัยภายในอย่างผลกระทบจากเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติเมื่อปี ค.ศ. 2011 และปัจจัยภายนอกอย่างการผงาดขึ้นมาของจีน ซึ่งจีนใช้อำนาจทางเศรษฐกิจในการต่อรองประเด็นข้อพิพาทเรื่องหมู่เกาะเซนกากุกับญี่ปุ่นโดยการกีดกันทางการค้าและแทรกแซงการท่องเที่ยวของญี่ปุ่น ทำให้รัฐบาลอาเบะ มองว่า แม้จีนจะจำเป็นต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของญี่ปุ่น แต่การกระทำนี้ของจีนก็ถือเป็นภัยคุกคามของญี่ปุ่นเช่นกัน จึงกลายเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดนโยบายการท่องเที่ยวเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของญี่ปุ่นในระยะยาวพร้อมกับการตอบโต้การผงาดขึ้นมาของจีนด้วย จากการศึกษาพบว่า ในสมัยรัฐบาลอาเบะนโยบายการท่องเที่ยวได้ถูกให้ความสำคัญอย่างมากและถูกบรรจุในศรที่สามที่เรียกว่า "ยุทธศาสตร์การเติบโต" ภายใต้กลยุทธ์อาเบะโนมิกส์ด้วย ซึ่งจากปัจจัยข้างต้นส่งผลให้รัฐบาลอาเบะกำหนดนโยบายหรือมาตรการต่างๆ เพื่อรองรับการขยายตัวของกลุ่มตลาดจากประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีอัตราการบริโภคเติบโตอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับมาตรการเหล่านี้ที่หันไปให้ความสำคัญกับกลุ่มตลาดใหม่อย่างนักท่องเที่ยวจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็เพื่อกระจายความเสี่ยงและลดการพึ่งพาจีน ซึ่งสามารถตอบสนองต่อเป้าหมายในการตอบโต้และสกัดกั้นการผงาดขึ้นมาของจีนได้อย่างละมุนละม่อมด้วย อย่างไรก็ตาม แม้ว่านโยบายการท่องเที่ยวภายใต้กลยุทธ์อาเบะโนมิกส์จะประสบความสำเร็จจนทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง แต่บางมาตรการนั้นกลับกลายเป็นช่องโหว่ที่สร้างผลกระทบต่อคนในชาติและยังลุกลามกลายเป็นปัญหาข้ามชาติด้วย ซึ่งรัฐบาลญี่ปุ่นจำเป็นต้องหาแนวทางจัดการปัญหาเหล่านี้เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยั่นในระยะยาวต่อไป


จีนในโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eec) กับการวางสมดุลในนโยบายต่างประเทศไทยต่อมหาอำนาจ, ภูริจักษ์ วิมลาภิรัต Jan 2020

จีนในโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eec) กับการวางสมดุลในนโยบายต่างประเทศไทยต่อมหาอำนาจ, ภูริจักษ์ วิมลาภิรัต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาความสำคัญของประเทศจีน ที่ได้ “ปักหมุด” ทางยุทธศาสตร์การเข้ามาลงทุนในโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ของประเทศไทย โดยใช้กรอบแนวคิดของการป้องกันความเสี่ยง (Hedging) ที่เป็นการเข้ารวมกลุ่มสมัครพรรคพวกกับรัฐที่เข้มแข็งกว่าเพื่อผลประโยชน์ (Bandwagoning For Profit) มาเพื่อวิเคราะห์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศไทยและประเทศจีน โดยเป้าหมายสำคัญในการป้องกันความเสี่ยงที่จะทำให้ประเทศไทยเกิดสภาวะพึ่งพาต่อประเทศใดประเทศหนึ่งมากเกินไป จนอาจจะทำให้เสียสมดุลที่ส่งผลกระทบต่ออธิปไตยและผลประโยชน์แห่งชาติของประเทศไทย จากการศึกษาพบว่า นโยบายต่างประเทศของไทยได้หันเข้าหาประเทศจีนมากกว่าสหรัฐฯอย่างชัดเจน ซึ่งได้ส่งผลกระทบให้ประเทศไทยเสียสมดุล (Balance) ในความสัมพันธ์ระหว่างมหาอำนาจขั้วตรงข้ามไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จนทำให้ประเทศไทยต้องพบกับความเสี่ยง และความยากลำบากจากการขาดอิสระในการกำหนดนโยบายต่างประเทศที่จะต้องยึดถือเอาลำดับความสำคัญ (Prioritize) ในการรักษาความสัมพันธ์ที่มีกับประเทศจีนเป็นหลัก จึงมีข้อเสนอแนะในการยึดจุดยืนของประเทศไทยจากการที่อยู่ในยุทธศาสตร์ของมหาอำนาจทั้งสอง (Cooperative Security Locations) โดยหากประเทศไทยดำเนินนโยบายต่างประเทศที่รักษาสมดุลระหว่างมหาอำนาจทั้งสองได้อย่างดี ย่อมจะก่อให้เกิดผลประโยชน์แห่งชาติสูงสุดแก่ประเทศไทย รัฐบาลไทยจึงต้องตระหนักถึงความสำคัญในประเด็นนี้ก่อนที่จะสายเกินไป เพื่อที่จะนำพาประเทศไปในทิศทางที่ถูกต้อง และสร้างสมดุลอันนำมาซึ่งความมั่นคง รวมถึงการผลักดันด้านเศรษฐกิจให้กับประเทศไทย ภายใต้บริบทยุคโลกาภิวัตน์ในปัจจุบัน