Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Other Mental and Social Health Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

2019

Discipline
Institution
Keyword
Publication
Publication Type
File Type

Articles 91 - 97 of 97

Full-Text Articles in Other Mental and Social Health

ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน การสนับสนุนจากครอบครัว กับคุณภาพชีวิตและสุขภาพจิตของผู้สูงอายุอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์, ธัญญารัตน์ จีนเฮ็ง Jan 2019

ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน การสนับสนุนจากครอบครัว กับคุณภาพชีวิตและสุขภาพจิตของผู้สูงอายุอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์, ธัญญารัตน์ จีนเฮ็ง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาภาคตัดขวางเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน การสนับสนุนจากครอบครัว กับคุณภาพชีวิตและสุขภาพจิตของผู้สูงอายุอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และมีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์การคัดเข้า จำนวน 381 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ระหว่างเดือน สิงหาคม - ตุลาคม พ.ศ. 2562 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากนั้นหาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Chi-square, t-test, One-way ANOVA และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 65.9) มีอายุเฉลี่ย 70 ปี จบการศึกษาสูงสุดในระดับประถมศึกษา (ร้อยละ 85.3) ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร (ร้อยละ 42.5) รองลงมาไม่ได้ประกอบอาชีพ และประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป (ร้อยละ 34.1 และ 16.0 ตามลำดับ) มีรายได้ประจำน้อยกว่าหรือเท่ากับ 3,000 บาท/เดือน (ร้อยละ 78.2) มีสถานภาพสมรส (ร้อยละ 59.6) การพักอาศัยส่วนใหญ่อยู่กับบุตร (ร้อยละ 64.04) และไม่ได้เป็นสมาชิกของชมรมหรือสังคม (ร้อยละ 69.6) ส่วนมากมีโรคประจำตัว (ร้อยละ 68.5) ได้แก่ ความดันโลหิตสูง (ร้อยละ 58.79) เบาหวาน และไขมันในเลือดสูง (ร้อยละ 31.76 และ 23.62 ตามลำดับ) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มติดสังคมมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 19.12 ได้รับการสนับสนุนจากครอบครัวอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.14 มีคุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 92.63 ประมาณครึ่งหนึ่งของกลุ่มตัวอย่างมีสุขภาพจิตเท่ากับคนทั่วไป ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 46.73 จากการหาความสัมพันธ์ พบว่า อาชีพหลัก รายได้ประจำ สถานภาพสมรส โรคประจำตัว …


ภาวะวิตกกังวล ความเครียด และปัจจัยที่เกี่ยวข้องในมารดาของผู้ป่วยกุมารศัลยศาสตร์หลังผ่าตัด ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, ญาดาพร ยอดสวัสดิ์ Jan 2019

ภาวะวิตกกังวล ความเครียด และปัจจัยที่เกี่ยวข้องในมารดาของผู้ป่วยกุมารศัลยศาสตร์หลังผ่าตัด ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, ญาดาพร ยอดสวัสดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เหตุผลของการทำวิจัย : จากการศึกษาที่ผ่านมา พบว่ามารดาที่ดูแลบุตรในโรคต่าง ๆ มีภาวะวิตกกังวลแต่การศึกษาโดยตรงถึงภาวะวิตกกังวลและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ในมารดาของกลุ่มผู้ป่วยกุมารศัลยศาสตร์หลังผ่าตัด ยังไม่ค่อยมีในประเทศไทย วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความชุกของภาวะวิตกกังวลและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในมารดาของผู้ป่วยกุมารศัลยศาสตร์หลังผ่าตัด ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ รูปแบบการวิจัย : การศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง สถานที่ทำการศึกษา : โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ตัวอย่างและวิธีการศึกษา : เก็บรวบรวมข้อมูลจากมารดาของผู้ป่วยกุมารศัลยศาสตร์หลังได้รับการผ่าตัดแก้ไขทั้งแบบผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก ที่เข้ารับการรักษาในกุมารศัลยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จำนวน 105 คน โดยใช้แบบสอบถามแบบตอบด้วยตนเองซึ่งประกอบ ด้วย 1. แบบสอบถามข้อมูลข้อมูลส่วนบุคคล (สำหรับมารดา) 2. แบบสอบถามประวัติของเด็ก 3. แบบวัดภาวะวิตกกังวล ใช้ของ STAI Form-Y1,Y2 4. แบบวัดความเครียดของมารดาใช้ของ The Parental Stress Scale: Pediatric Intensive Care Unit, PSS:PICU วิเคราะห์ข้อมูลใช้ Univariate analysis (ได้แก่ T-test และ Chi-Square) เพื่อทดสอบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะวิตกกังวลและใช้ Multivariate Analysis เพื่อหาปัจจัยทำนายภาวะวิตกกังวลในมารดากลุ่มนี้ ผลการศึกษา : พบความชุกของภาวะวิตกกังวลภาวะวิตกกังวลอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 63.5 มีพื้น นิสัยวิตกกังวลอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 53.3 โดยปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะวิตกกังวลจากการวิเคราะห์โดยวิธี multivariate analysis พบว่ามี 4 ปัจจัย ได้แก่ 1) จำนวนสมาชิกในครอบครัวมากกว่า 4 คน 2) การผ่าตัดชนิดผ่าตัดใหญ่ 3) พื้นนิสัยวิตกกังวลระดับในปานกลาง-รุนแรง 4) ความเครียดด้านการตอบสนองทางด้านพฤติกรรมและอารมณ์ของลูก สรุป : ภาวะวิตกกังวลของมารดาในการศึกษาครั้งนี้มีผลการศึกษาใกล้เคียงกับการศึกษาในโรคอื่นๆ โดยผลการศึกษาในครั้งนี้ทำให้บุคลากรทางการแพทย์ตระหนักถึงความสำคัญในการคัดกรองและให้การช่วยเหลือที่เหมาะสมต่อไป


การติดสื่อสังคมออนไลน์และภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ กรุงเทพมหานคร, นัฏฐิกา แก้วคำปา Jan 2019

การติดสื่อสังคมออนไลน์และภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ กรุงเทพมหานคร, นัฏฐิกา แก้วคำปา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการติดสื่อสังคมออนไลน์และภาวะซึมเศร้า ความสัมพันธ์ของปัจจัยอื่น ๆ รวมทั้งลักษณะการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ และความชุกของการติดสื่อสังคมออนไลน์ ของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ กรุงเทพมหานคร การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนาโดยศึกษา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง ดำเนินการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ สังกัดศูนย์บริการสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร โดยเลือกจากชมรมผู้สูงอายุจากการแบ่งกลุ่มเขตของ กรุงเทพมหานคร 6 เขต เลือกมาเขตละ 1 ชมรม เพื่อเป็นตัวแทนประชากรของแต่ละกลุ่มเขต จำนวนทั้งสิ้น 212 คน ผู้เข้าร่วมวิจัยตอบแบบบสอบถามจำนวน 3 ชุดด้วยตนเอง ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบทดสอบการติดสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media Addiction Screening Scale: S - MASS) 3) แบบคัดกรองภาวะซึมเศร้า ฉบับภาษาไทย (PHQ - 9) และผู้วิจัยเก็บข้อมูลการใช้สื่อสังคมออนไลน์จากอุปกรณ์ที่ผู้เข้าร่วมวิจัยใช้ย้อนหลัง 6 วัน ด้วยแอพพลิเคชั่น Usage Time - App Usage Manager ด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เพื่ออธิบายลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าสูงสุด และค่าต่ำสุด ใช้สถิติเชิงอนุมาน เพื่อหาความสัมพันธ์และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการติดสื่อสังคมออนไลน์และภาวะซึมเศร้าได้แก่ Chi square, t - test, Pearson’s correlation, one way ANOVA และใช้การวิเคราะห์การถดถอย Logistic regression และ Multiple linear regression เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยทำนายการติดสื่อสังคมออนไลน์ และภาวะซึมเศร้า โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติไว้ที่ระดับน้อยกว่า 0.05 ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ กรุงเทพมหานคร มีคะแนนเฉลี่ยของการติดสื่อสังคมออนไลน์เท่ากับ 16.57 ± 8.625 คะแนน มีระดับการติดสื่อสังคมออนไลน์ความเสี่ยงต่ำ …


ต้นทุนชีวิตและพฤติกรรมเสี่ยงต่อความรุนแรงในวัยรุ่น กลุ่มนักเรียนอาชีวศึกษา ระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ สังกัดสถาบันอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร, ศิวาพร หาระทา Jan 2019

ต้นทุนชีวิตและพฤติกรรมเสี่ยงต่อความรุนแรงในวัยรุ่น กลุ่มนักเรียนอาชีวศึกษา ระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ สังกัดสถาบันอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร, ศิวาพร หาระทา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจต้นทุนชีวิตและศึกษาพฤติกรรมเสี่ยงที่สามารถเกิดขึ้นได้ของกลุ่มนักเรียนอาชีวศึกษา ระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ สังกัดสถาบันอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร จำนวน 433 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (proportional stratified random sampling) เก็บข้อมูลระหว่างกุมภาพันธ์ – ตุลาคม พ.ศ.2562 เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล, แบบสำรวจต้นทุนชีวิต และ แบบประเมินพฤติกรรมเสี่ยงต่อความรุนแรง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่าต้นทุนชีวิตอยู่ในระดับพอใช้ ได้แก่ ด้านพลังตัวตน(ร้อยละ69.69) ด้านพลังครอบครัว(ร้อยละ69.33) ด้านพลังสร้างปัญญา(ร้อยละ63.79) ด้านพลังเพื่อนและกิจกรรม(ร้อยละ61.13) และต้นทุนชีวิตอยู่ในระดับต่ำ คือ ด้านพลังชุมชน(ร้อยละ49.11) ต้นทุนชีวิตและพฤติกรรมเสี่ยงต่อความรุนแรงไม่ได้มีความสัมพันธ์กัน แต่จะมีความสัมพันธ์กันแต่ละรายด้านย่อยในระดับที่ต่ำ


การตัดสินใจคงอยู่ในองค์กรของรัฐ หลังสำเร็จการศึกษาของนักศึกษาพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ในเขตกรุงเทพมหานคร, อนุกูล หุ่นงาม Jan 2019

การตัดสินใจคงอยู่ในองค์กรของรัฐ หลังสำเร็จการศึกษาของนักศึกษาพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ในเขตกรุงเทพมหานคร, อนุกูล หุ่นงาม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากปัญหาความขาดแคลนบุคลากรทางการพยาบาลในภาครัฐ ส่งผลให้การบริการด้านสุขภาพไม่ทั่วถึง และเกิดอุปสรรคในการทำงาน นักศึกษาพยาบาล เป็นส่วนหนึ่งที่ถูกผลิตเพื่อเป็นบุคลากรในอนาคต ที่มีอิทธิพลในการคงอยู่ในองค์กรของรัฐ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์ (1) ศึกษาอัตราของการตัดสินใจคงอยู่ในองค์กรของรัฐ หลังสำเร็จการศึกษา ของนักศึกษาพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ในเขตกรุงเทพมหานคร (2) ศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจคงอยู่ในองค์กรของรัฐ หลังสำเร็จการศึกษา ของนักศึกษาพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 4 ที่กำลังศึกษาอยู่ในวิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 226 คน แบบวัดที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลด้านบุคคล ด้านครอบครัว สังคม และความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยการตัดสินใจคงอยู่ในองค์กร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์สถิติถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า องค์กรที่นักศึกษาตัดสินใจเลือกหลังจบการศึกษาคือ องค์กรราชการ มีอัตราการคงอยู่ ร้อยละ 65.9 และปัจจัยด้านองค์กรมีผลต่อความคิดเห็นด้านการคงอยู่ในองค์กรรัฐอยู่ในระดับสูง (= 3.84, SD = 0.35) โดยเฉพาะในด้านองค์กรที่ตัดสินใจเลือกต้องก่อให้เกิดการเรียนรู้และเพิ่มพูนประสบการณ์ (OR = 1.70) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ปัจจัยด้านครอบครัวมีผลต่อความคิดเห็นด้านการคงอยู่ในองค์กรรัฐอยู่ในระดับสูง (= 3.78, SD = 0.63) โดยปัจจัยในภาพรวมด้านครอบครัว (OR = 2.02) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ปัจจัยด้านเพื่อนมีผลต่อความคิดเห็นด้านการคงอยู่ในองค์กรรัฐอยู่ในระดับปานกลาง (= 3.24, SD = 0.55) จะเห็นได้ว่า ปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างมากและเห็นได้ชัดเจน ที่มีผลต่อการคงอยู่ในองค์กรของรัฐ คือ ปัจจัยด้านครอบครัวและปัจจัยด้านองค์กร ตามลำดับ


Empathy Heals: The Effects Of Patient-Centered Communication On Women Oncology Patients In Gender-Discordant Dyads, Emily Cooper Jan 2019

Empathy Heals: The Effects Of Patient-Centered Communication On Women Oncology Patients In Gender-Discordant Dyads, Emily Cooper

Regis University Student Publications (comprehensive collection)

Patient-centered communication (PCC) is an important component of healthcare. It is defined as a version of healthcare that is both respectful and responsive to the patient’s needs, values, and preferences while encouraging shared clinical decision-making between a patient and their physician. PCC has numerous benefits for the patient, including but not limited to increases in trust, social support, self-care skills, emotional management, and reduced suffering. However, there are populations that face substantially reduced quality of PCC, such as cancer patients. This may be due to circumstances unique to cancer diagnoses, such as the nature of the disease itself, particular difficulty …


Processing Youth Adventure Wellness Experiences: Poetic Representations Of Youth’S Peace Bus Experiences, Ty Th Nguyen Jan 2019

Processing Youth Adventure Wellness Experiences: Poetic Representations Of Youth’S Peace Bus Experiences, Ty Th Nguyen

Theses and Dissertations (Comprehensive)

This narrative inquiry explored how youth are processing their Peace Bus program experiences two and a half years after program completion. The purpose was to gain an understanding of (1) what program components the participants reflect on, (2) how they conceptualize their program experiences, and (3) what factors contribute to their reflection processes. This research sought to address the gap in literature where little is understood about the ongoing experiences of program participants of adventure wellness programs and the processes that lead to positive changes. As the researcher, I conducted a qualitative study using narrative inquiry and poetic representation methods. …