Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Other Mental and Social Health Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 91 - 108 of 108

Full-Text Articles in Other Mental and Social Health

การรับรู้ความหมายในชีวิตและความเครียดของนิสิตปริญญาตรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กนกวรรณ พงสยาภรณ์ Jan 2017

การรับรู้ความหมายในชีวิตและความเครียดของนิสิตปริญญาตรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กนกวรรณ พงสยาภรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เหตุผลของการทำวิจัย : จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าคนที่มีการรับรู้ความหมายในชีวิตสามารถปรับตัวกับความเครียดได้ดีกว่าคนที่ไม่รู้ความหมายในชีวิต การรับรู้ความหมายในชีวิตของตนจึงมีผลต่อการพัฒนาศักยภาพและการใช้ความสามารถอันแท้จริงที่บุคคลนั้นมี วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาการรับรู้ความหมายในชีวิตและความเครียดของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยระดับปริญญาตรี วิธีการทำวิจัย : เก็บรวบรวมข้อมูลจากนิสิตปริญญาตรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้นปีที่ 1 - 4 ในคณะครุศาสตร์ คณะจิตวิทยา และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จำนวน 427 ราย โดยใช้1. แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2. แบบวัดการรับรู้ความหมายชีวิตฉบับภาษาไทย แปลโดย อรัญญา ตุ้ยคำภีร์ ประกอบด้วย แบบวัดความมุ่งหวังในชีวิต และ แบบวัดแรงจูงใจค้นหาความหมายในชีวิต 3.แบบทดสอบความเครียดสวนปรุง ( ฉบับปรับปรุง ) โดยนายภควัต วงศ์ไทย 4. แบบสอบถามแหล่งความเครียด การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ 1. วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา 2. วิเคราะห์ปัจจัยเกี่ยวข้องกับการรับรู้ความหมายชีวิตและระดับความเครียด 3. ค่าปกติวิสัยโดยวิเคราะห์ค่าคะแนนเฉลี่ย ของการรับรู้ความหมายในชีวิตของกลุ่มตัวอย่าง ผลการศึกษา : 1.นิสิตส่วนใหญ่มีความเครียดระดับต่ำ(ร้อยละ42.2)ถึงปานกลาง(ร้อยละ38.9) 2. นิสิตที่มีการรับรู้ความหมายในชีวิตระดับสูงมีเป็นจำนวนมากกว่านิสิตที่มีการรับรู้ความหมายในชีวิตระดับต่ำ โดยปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ความหมายในชีวิตได้แก่ ความเครียดต่ำ การสามารถเข้าใจเนื้อหาที่เรียนได้อย่างชัดเจน ตารางเรียนในแต่ละสัปดาห์เหมาะสม ไม่มีความขัดแย้งกับคนในครอบครัว พอใจสถานที่พักอาศัย และการมีกลุ่มเพื่อนหรือเพื่อนสนิท สรุป : นิสิตปริญญาตรีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ มีการรับรู้ความหมายในชีวิตระดับสูง ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้การสนับสนุนแนวทางการสร้างเสริมการรับรู้ความหมายในชีวิตแก่นิสิตผ่านทางการศึกษาและกิจกรรมต่างๆของมหาวิทยาลัยและให้การช่วยเหลือนิสิตกลุ่มที่มีความเครียดรุนแรงต่อไป


ผลกระทบจากการใช้และความรุนแรงของการใช้สารเมทแอมเฟตามีนของผู้ใช้สารเมทแอมเฟตามีนที่เข้ารับการบำบัดรักษาในสถานบำบัดรักษาสารเสพติด, เกศสุภา จิระการณ์ Jan 2017

ผลกระทบจากการใช้และความรุนแรงของการใช้สารเมทแอมเฟตามีนของผู้ใช้สารเมทแอมเฟตามีนที่เข้ารับการบำบัดรักษาในสถานบำบัดรักษาสารเสพติด, เกศสุภา จิระการณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยภาคตัดขวางเชิงพรรณนา ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบและความรุนแรงจากการใช้สารเมทแอมเฟตามีน รวมถึงหาความเที่ยงตรงของเครื่องมือวัดผลกระทบจากการใช้สารเสพติด (SOP) ฉบับที่ดัดแปลงภาษาไทย โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ใช้สารเสพติดประเภทเมทแอมเฟตามีน ที่เข้ารับการบำบัดรักษาด้วยปัญหาการใช้เมทแอมเฟตามีนที่สถาบันธัญญารักษ์ แบบผู้ป่วยในหรือผู้ป่วยนอกที่เข้ารับการบำบัดรักษาไม่เกิน 1 สัปดาห์ ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเลือกตามเกณฑ์ (Purposive sampling) จำนวน 106 คน เก็บข้อมูลระหว่างเดือน กรกฎาคม – กันยายน พ.ศ.2560 เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลพื้นฐานทั่วไป แบบประเมินผลกระทบจากการใช้สารเสพติด (SOP) แบบประเมินความรุนแรงในการใช้สารเสพติด (SDS) แบบสัมภาษณ์ Semi-Structured Assessment for Drug Dependence and Alcoholism (SSADDA) ฉบับภาษาไทย และแบบสัมภาษณ์เพื่อการวินิจฉัยโรคทางจิตเวช วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากนั้นหาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Chi-square, Fisher's exact test , t-test, One-way ANOV, การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก ผลการศึกษา พบว่า ผู้ใช้สารเสพติดประเภทเมทแอมเฟตามีนส่วนใหญ่ที่เข้ารับการบำบัดมีระดับความรุนแรงของการติดสารอยู่ในระดับที่รุนแรง คิดเป็นร้อยละ 65.1 มีการติดสารเสพติดตามเกณฑ์ DSM-4 คิดเป็นร้อยละ 84.0 มีการใช้แอลกอฮอล์ก่อนเข้ามารับการรักษาคิดเป็นร้อยละ 51.9 ใช้ยาสูบหรือบุหรี่คิดเป็นร้อยละ 88.7 ปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับความรุนแรงในการติดสารเมทแอมเฟตามีน ได้แก่ การติดแอลกอฮอล์ในชีวิต และโรคที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ ซึ่งระดับความรุนแรงของการติดสารมีความสัมพันธ์กับช่วงที่ใช้สารเมทแอมเฟตามีนจัดที่สุดในชีวิต และช่วงที่ใช้สารจัดที่สุดสามารถทำนายการเกิดความคิดฆ่าตัวตายและการติดแอลกอฮอล์ได้ โดยระดับความรุนแรงในการติดสารเมทแอมเฟตามีนมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตทั้งด้านสุขภาพกาย สุขภาพใจ และคุณภาพชีวิตโดยรวม


แรงจูงใจในการทำงานและความเครียดจากการทำงานของนักกายภาพบำบัด ในโรงพยาบาลเอกชน เขตกรุงเทพมหานคร, กมลทิพย์ รักวงศ์ภัทร Jan 2017

แรงจูงใจในการทำงานและความเครียดจากการทำงานของนักกายภาพบำบัด ในโรงพยาบาลเอกชน เขตกรุงเทพมหานคร, กมลทิพย์ รักวงศ์ภัทร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ของการศึกษา คือ เพื่อหาระดับและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของแรงจูงใจในการทำงานและความเครียดจากการทำงานของนักกายภาพบำบัดในโรงพยาบาลเอกชน เขตกรุงเทพมหานคร โดยเก็บข้อมูลจากนักกายภาพบำบัดที่ทำงานในโรงพยาบาลเอกชน เขตกรุงเทพมหานครที่มีขนาดเตียง 200 เตียงขึ้นไป จำนวน 135 คน ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2560 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2561 ผู้เข้าร่วมการศึกษาตอบแบบสอบถาม 4 ชุด ได้แก่ 1)แบบสอบถามส่วนบุคคล 2)แบบสอบถามปัจจัยการทำงาน 3)แบบสอบถามแรงจูงใจในการทำงาน 4)แบบสอบถามความเครียดด้วยตนเอง ของกรมสุขภาพจิต นำเสนอปัจจัยส่วนบุคคล ระดับแรงจูงใจในการทำงาน ระดับความเครียดจากการทำงาน เป็นค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและแรงจูงใจในการทำงาน ความเครียดจากการทำงาน ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการทำงาน ความเครียดจากการทำงาน และปัจจัยการทำงาน โดยใช้การทดสอบไคลสแควร์ และวิเคราะห์ความถดถอยลอจิสติก เพื่อหาปัจจัยทำนายแรงจูงใจในการทำงาน และความเครียดจากการทำงานของนักกายภาพบำบัดในโรงพยาบาลเอกชน เขตกรุงเทพมหานคร ผลการศึกษา พบว่าแรงจูงใจในการทำงานของนักกายภาพบำบัดในโรงพยาบาลเอกชน เขตกรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับปานกลาง และมีความเครียดจากการทำงานในระดับปกติ และจากการวิเคราะห์ปัจจัยทำนายแรงจูงใจในการทำงานระดับสูง คือ มีความเชี่ยวชาญที่มีใบรับรอง (p < 0.05) และมีปัจจัยการทำงานในระดับดี (p < 0.05) และปัจจัยทำนายความเครียดจากการทำงาน คือ ความมั่นคงในการทำงานในระดับน้อย (p < 0.05) มีบรรยากาศในการทำงานระดับน้อย (P < 0.05) และมีความร่วมมือในระดับต่ำ (p < 0.05) สรุป นักกายภาพบำบัดในโรงพยาบาลเอกชน เขตกรุงเทพมหานครมีแรงจูงใจในการทำงานระดับปานกลาง และแรงจูงใจในการทำงานระดับสูง มีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง คือ มีความเชี่ยวชาญที่ได้รับใบรับรอง และมีปัจจัยการทำงานที่ดี ความเครียดจากการทำงานของนักกายภาพบำบัดในโรงพยาบาลเอกชน เขตกรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับปกติ และปัจจัยของความเครียดจากการทำงาน คือ ความมั่นคงในการทำงานในระดับน้อย บรรยากาศในการทำงานในระดับน้อย และความร่วมมือในระดับต่ำ


ภาวะสุขภาพจิตของนักศึกษาหลักสูตรปฐมวัยและหลักสูตรประถมศึกษาภายหลังการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, กาญจนา ผิวงาม Jan 2017

ภาวะสุขภาพจิตของนักศึกษาหลักสูตรปฐมวัยและหลักสูตรประถมศึกษาภายหลังการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, กาญจนา ผิวงาม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Study) โดยศึกษา ณ จุดเวลาใด เวลาหนึ่ง (Cross Sectional Study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพจิต ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะสุขภาพจิต และ ความพึงพอใจของนักศึกษาหลักสูตรปฐมวัย หลังออกฝึกประสบการณ์ทางวิชาชีพครู ภายหลังการฝึกประสบการณ์ทางวิชาชีพครู ประชากรตัวอย่าง (Sample Population) คือ นักศึกษาหลักสูตรปฐมวัยและหลักสูตรประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ ม.สวนดุสิต ที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวนทั้งสิ้น 200 คน โดยใช้เครื่องมือได้แก่ 1) แบบสอบถามภาวะสุขภาพจิตของนักศึกษาหลักสูตรปฐมวัยและประถมศึกษาที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต 2) แบบประเมินความพึงพอใจในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ของนักศึกษาหลักสูตรปฐมวัยและหลักสูตรประถมศึกษาที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Descriptive Statistics, Chi-square test, T-Test และ Multiple Linear Regression Analysis ผลการศึกษาพบว่า1) ภาวะสุขภาพจิตของนักศึกษาส่วนใหญ่ มีสุขภาพจิตปกติในด้านความเจ็บป่วยทางกายที่เป็นผลจากภาวะทางจิตใจ ร้อยละ 56 มีสุขภาพจิตปกติในด้านภาวะซึมเศร้า ร้อยละ 85.5 มีสุขภาพจิตปกติในด้านความวิตกกังวล ร้อยละ 86.5 มีสุขภาพจิตปกติในด้านภาวะทางจิต ร้อยละ 95.5 และมีสุขภาพจิตปกติในด้านการทำหน้าที่ทางสังคม ร้อยละ 84 2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสุขภาพจิตในด้านความเจ็บป่วยทางกายที่เป็นผลมาจากภาวะทางจิตใจ มี 6 ปัจจัย ด้านภาวะซึมเศร้า มี 7 ปัจจัย ด้านความวิตกกังวล มี 3 ปัจจัย ด้านภาวะทางจิต มี 4 ปัจจัย และด้านการทำหน้าที่ทางสังคม มี 1 ปัจจัย 3) ความพึงพอใจของนักศึกษาหลักสูตรปฐมวัย หลังออกฝึกประสบการณ์ทางวิชาชีพครู ภายหลังการฝึกประสบการณ์ทางวิชาชีพครู พบว่านักศึกษาหลักสูตรปฐมวัยและหลักสูตรประถมศึกษา มีความพึงพอใจในภาพรวม อยู่ในระดับมาก (X= 3.99, S.D. = …


ปัญหาสุขภาพจิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในหญิงขายบริการ ที่มาขอรับความช่วยเหลือจากศูนย์ธารชีวิต พัทยา, จันธนา จันทร Jan 2017

ปัญหาสุขภาพจิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในหญิงขายบริการ ที่มาขอรับความช่วยเหลือจากศูนย์ธารชีวิต พัทยา, จันธนา จันทร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เหตุผลของการทำวิจัย : จากการศึกษาที่ผ่านมา พบว่าหญิงขายบริการที่เข้ามารับความช่วยเหลือจากศูนย์ธารชีวิต มีปัญหา ทางอารมณ์อย่างน้อย รูปแบบใดรูปแบบหนึ่งอย่างไรก็ดี การศึกษาโดยตรงถึงปัญหาสุขภาพจิตในในหญิงขายบริการยังไม่มีในประเทศไทย วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาถึงปัญหาสุขภาพจิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในหญิงขายบริการที่มาขอรับความช่วยเหลือจากศูนย์ธารชีวิต-พัทยา ตัวอย่างและวิธีการศึกษา : เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ป่วยหญิงที่มาขอรับความช่วยเหลือ ณ ศูนย์ธารชีวิต พัทยา จำนวน 222 คน โดยใช้แบบสอบถามแบบตอบด้วยตนเองซึ่งประกอบ ด้วย 1)แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป2)แบบสอบถาม General Heath Questionnaire ฉบับภาษาไทย (Thai GHQ-28) และ 3) แบบสอบถามแรงสนับสนุนทางสังคม (Personal Resource Question, PRQ-85 Part II) วิเคราะห์ข้อมูลใช้ Univariate analysis (ได้แก่ T-test และ Chi-Square) และ Logistic-regression analysis เพื่อทดสอบ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสุขภาพจิต ผลการศึกษา : พบความชุกของปัญหาสุขภาพจิต ร้อยละ 9 โดยปัจจัยเกี่ยวข้องกับสุขภาพจิต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อวิเคราะห์โดยวิธี Logistic regression analysis ได้แก่ ประวัติการดื่มแอลกอฮอล์ > 3 ครั้ง/สัปดาห์ (Adjusted OR = 4.226,95%CI =1.313 - 13.604, p = 0.016) ค่าคะแนนแรงสนับสนุนทางสังคมด้าน ความรู้สึกผูกพันใกล้ชิด (Adjusted OR = 0.798, 95%CI =0.649 - 0.980, p = 0.031) และ ประวัติโรคทางจิตเวชเดิม (Adjusted OR = 18.852,95%CI =3.533-100.605, p = 0.001). สรุป : การศึกษาครั้งนี้พบความชุกของปัญหาสุขภาพจิตในหญิงขายบริการ …


ความเครียดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียดของนิสิตปริญญาตรีที่ได้รับทุนการศึกษาในคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, จารุชา บรรเจิดถาวร Jan 2017

ความเครียดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียดของนิสิตปริญญาตรีที่ได้รับทุนการศึกษาในคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, จารุชา บรรเจิดถาวร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ : การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเครียดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียดของนิสิตปริญญาตรีที่ได้รับทุนการศึกษาในคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิธีการศึกษา : รูปแบบการศึกษาเป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ นิสิตปริญญาตรีที่ได้รับทุนการศึกษาในคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 127 ราย โดยใช้แบบสอบถามตอบด้วยตนเอง 4 ชุด ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล, แบบประเมินความเครียด, แบบประเมินแรงสนับสนุนทางสังคม และแบบประเมินการเห็นคุณค่าในตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติไคสแควร์ ผลการศึกษา : พบว่านิสิตที่ได้รับทุนการศึกษามีความเครียดอยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 54.3 ระดับปานกลาง ร้อยละ 35.5 และมีความเครียดในระดับสูงอยู่ที่ร้อยละ 10.2 โดยปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียดของนิสิตที่ได้รับทุนการศึกษามี 5 ปัจจัย ได้แก่ แรงสนับสนุนทางสังคมด้านข้อมูลข่าวสาร การเห็นคุณค่าในตนเอง หลักสูตรที่ศึกษา ปัญหาความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมชั้นเรียน และปัญหาความสัมพันธ์กับบุคคลในครอบครัว สรุป : นิสิตที่ได้รับทุนการศึกษาส่วนใหญ่มีความเครียดในระดับต่ำ-ปานกลาง อย่างไรก็ตามมีเพียงร้อยละ 10.2 เท่านั้น ที่มีความเครียดในระดับสูง ซึ่งผลการศึกษาครั้งนี้ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถเฝ้าระวังและป้องกันปัญหาต่อไป


ผลของกิจกรรมการจําแนกลักษณะของหินแม่น้ำต่อความสามารถในการทํางานของสมอง ด้านการบริหารจัดการในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีภาวะการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย ในศูนย์ฝึกสมองโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, จินตพิชญ์ คล้ายจินดา Jan 2017

ผลของกิจกรรมการจําแนกลักษณะของหินแม่น้ำต่อความสามารถในการทํางานของสมอง ด้านการบริหารจัดการในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีภาวะการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย ในศูนย์ฝึกสมองโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, จินตพิชญ์ คล้ายจินดา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากศึกษาพบว่ากิจกรรมทางความคิดสามารถป้องกันภาวะสมองเสื่อมได้อย่างมีนัยสําคัญ และพบว่าการให้ผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมได้ออกไปสัมผัสธรรมชาติ สามารถช่วยรักษาไว้ซึ่งทักษะประสาทสัมผัส ทําให้ผ่อนคลายและอารมณ์ดีขึ้นได้ ผู้วิจัยจึงสนใจนําธรรมชาติมาผสมผสานกับการออกแบบกิจกรรมฝึกสมอง โดยคาดหวังว่า นอกจากจะช่วยพัฒนาการทํางานของสมองได้ ยังจะเป็นโอกาสที่ผู้ฝึกจะได้สัมผัสและได้รับการบําบัดจากธรรมชาติไปด้วย เลือกศึกษาผลการทำงานของสมองด้าน Executive Function ในผู้ที่มีภาวะ MCI หลังจากได้ฝึกกิจกรรมการจําแนกลักษณะของหินแม่น้ำ เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้สูงอายุ 24 คน จากแบบสอบถามข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคล, แบบทดสอบสภาพสมองของไทย(TMSE), แบบประเมิน The Montreal Cognitive Assessment (MoCA), แบบประเมินภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุไทย(TGDS), แบบประเมิน Cambridge Neuropsychological Test Automated Battery (CANTAB), ชุดกิจกรรมฝึกสมองการจําแนกลักษณะของหินแม่น้ำ, แบบวัดความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรม ฝึกกิจกรรมในกลุ่มทดลองเป็นระยะเวลา 5 สัปดาห์ แล้วจึงประเมินความสามารถของสมองอีกครั้ง ใช้สถิติเชิงพรรณนาอธิบายลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง ใช้สถิติ Non-parametric Wilcoxon Signed Ranks test วิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลงก่อนและหลังการทดลอง และสถิติ Non-parametric Mann-Whitney test ทดสอบสมมติฐานภายในกลุ่มและวิเคราะห์ค่าความแตกต่างเฉลี่ย (Mean Difference) ของกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่ม พบว่า การฝึกฝนกิจกรรมการจําแนกลักษณะของหินแม่น้ำ ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในการทำงานของสมองที่เกี่ยวข้องกับความสนใจ (Sustained attention)(RVP Mean latency (P=0.065)), (DMS B'' (P=0.076)), (DMS Errors correct color, simultaneous (P=0.073)) และ (DMS Prob error given error (P=0.051)) การเปลี่ยนแปลงนี้มีผลทำให้ executive function ดีขึ้นได้ และข้อมูลแสดงถึงแนวโน้มที่ดีที่ผู้ฝึกได้รับจากการฝึกกิจกรรม (คะแนนรวมจากกิจกรรม (Total Score) ดีขึ้น (P=0.039) และคะแนนความรู้สึกที่เปลี่ยนแปลงไปต่อการออกแบบสีและรูปภาพว่ามีขนาดเหมาะสม (P=0.056))


พฤติกรรมการใช้สื่ออินเทอร์เน็ตของเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในเขตกรุงเทพมหานคร, ฐานิดา ไชยนันทน์ Jan 2017

พฤติกรรมการใช้สื่ออินเทอร์เน็ตของเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในเขตกรุงเทพมหานคร, ฐานิดา ไชยนันทน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง มีวัถตุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่ออินเทอร์เน็ตของเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 435 คน ในเขตกรุงเทพมหานครที่ศึกษาในปีการศึกษา 2559 สถานศึกษาที่สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยใช้การลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ(Stratified Random Sampling) และการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วยแบบสอบถามสำหรับเด็กและแบบสอบถามสำหรับผู้ดูแลหลัก แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 ปัจจัยส่วนบุคคล ส่วนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ต ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยมีพฤติกรรมการใช้สื่ออินเตอร์เน็ต ซึ่งมีจำนวนระยะเวลาของการใช้อินเทอร์เน็ตต่อสัปดาห์เท่ากับ 12 ชั่วโมง และระยะเวลาในการใช้อินเทอร์เน็ตต่อวันเท่ากับ 2 ชั่วโมง ซึ่งเมื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ตของเด็กกับพฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ตของผู้ดูแลหลัก พบว่าระยะเวลาที่เด็กใช้อินเทอร์เน็ตมีความสัมพันธ์กับระยะเวลาที่ผู้ดูแลหลักใช้อินเทอร์เน็ต (ทั้งต่อสัปดาห์และต่อวัน),การกำหนดการใช้อินเทอร์เน็ตให้กับเด็ก และระยะเวลาที่ผู้ดูแลหลักกำหนดให้เด็กใช้อินเทอร์เน็ต โดยปัจจัยที่เป็นตัวทำนายพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของเด็กคือ การกำหนดการใช้อินเทอร์เน็ตให้กับเด็ก ,ระยะเวลาที่ผู้ดูแลหลักกำหนดให้เด็กใช้อินเทอร์เน็ต และอายุของเด็กสามารถทำนายจำนวนระยะเวลาที่เด็กใช้อินเทอร์เน็ตได้


ภาวะสุขภาพจิตและสัมพันธภาพระหว่างคู่สมรสของหญิงในโรงงานอุตสาหกรรมแห่งหนึ่งในเขตนิคมอุตสาหกรรมบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ, ธัญญารัตน์ ใจเย็น Jan 2017

ภาวะสุขภาพจิตและสัมพันธภาพระหว่างคู่สมรสของหญิงในโรงงานอุตสาหกรรมแห่งหนึ่งในเขตนิคมอุตสาหกรรมบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ, ธัญญารัตน์ ใจเย็น

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงภาวะสุขภาพจิตและสัมพันธภาพระหว่างคู่สมรสของหญิงในโรงงานอุตสาหกรรมแห่งหนึ่ง ในเขตนิคมอุตสาหกรรมบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เก็บรวบรวมข้อมูลจากพนักงานหญิงในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตเครื่องสำอาง ไบเออร์สด๊อรฟ (ประเทศไทย) จำกัด เขตนิคมอุตสาหกรรมบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 148 ราย โดยใช้แบบสอบถามแบบตอบด้วยตนเองซึ่งประกอบด้วย 1. แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2. แบบวัดภาวะสุขภาพจิต(Depression Anxiety Stress Scales (DASS - 21))3. แบบประเมินสัมพันธภาพระหว่างคู่สมรส (The Dyadic Adjustment Scale (DAS)) และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS version 22.0 ผลการศึกษา พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีภาวะสุขภาพจิตอยู่ในระดับปกติ ทั้งนี้ พบว่ามีภาวะซึมเศร้า ร้อยละ 35.8 ภาวะวิตกกังวล ร้อยละ 45.6 ความเครียด ร้อยละ 27.2 และพบภาวะสุขภาพจิตร่วมทั้ง 3 ภาวะ ร้อยละ 17.6 ด้านคะแนนสัมพันธภาพระหว่างคู่สมรสอยู่ในระดับปานกลาง(ร้อยละ 89.1) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้า ได้แก่ ความสัมพันธ์กับญาติสามี ภาวะวิตกกังวล ได้แก่ การใช้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ความซื่อสัตย์ของสามี และการถูกสามีใช้คำพูดดูถูกเหยียดหยาม และความเครียด ได้แก่ จำนวนชั่วโมงทำงานเฉลี่ยต่อวัน และการใช้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ส่วนปัจจัยที่สามารถทำนายภาวะซึมเศร้าได้แก่ ความสัมพันธ์กับญาติฝ่ายสามี ปัจจัยทำนายภาวะวิตกกังวล ได้แก่ การใช้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการใช้ความรุนแรงทางวาจาของสามี ปัจจัยทำนายความเครียด ได้แก่ การใช้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และปัจจัยทำนายสัมพันธภาพระหว่างคู่สมรส ได้แก่ อายุ สถานภาพเศรษฐกิจครอบครัว สามีเล่นการพนัน การใช้ความรุนแรงทางวาจา และภาวะซึมเศร้า กล่าวโดยสรุป กว่า 1 ใน 3 ของหญิงในโรงงานอุตสาหกรรมมีภาวะซึมเศร้า ภาวะวิตกกังวล และความเครียด ส่วนสัมพันธภาพระหว่างคู่สมรสพบว่าอยู่ในระดับปานกลาง โดยผลการศึกษาในครั้งนี้เป็นแนวทางให้ผู้ประกอบการและหน่วยบริการส่งเสริมสุขภาพตระหนักถึงความสำคัญในการเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพจิตและสัมพันธภาพระหว่างคู่สมรสรวมทั้งให้การช่วยเหลือที่เหมาะสมต่อไป


คุณภาพการนอนหลับและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่แผนกผู้ป่วยนอกสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา, ธิติมา ณรงค์ศักดิ์ Jan 2017

คุณภาพการนอนหลับและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่แผนกผู้ป่วยนอกสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา, ธิติมา ณรงค์ศักดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพการนอนหลับและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ที่แผนกผู้ป่วยนอกสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา รูปแบบการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่มารับบริการตรวจรักษา ที่แผนกผู้ป่วยนอกสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา จำนวน 187 ราย โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามประเมินคุณภาพการนอนหลับ แบบสอบถามประเมินอาการซึมเศร้า Beck Depression Inventory II (BDI - II) แบบสอบถามประเมินความเชื่อและทัศนคติที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการนอนหลับ และแบบสอบถามประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติตนด้านสุขวิทยาเกี่ยวกับการนอนหลับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย จำนวน ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติไคสแควร์และสถิติการถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษา พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 44.09 ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 72.2 พบความชุกคุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดี ร้อยละ 74.3 ประมาณหนึ่งในสามมีอาการซึมเศร้ารุนแรง ร้อยละ 37.4 และมีพฤติกรรมการปฏิบัติตนด้านสุขวิทยาเกี่ยวกับการนอนหลับระดับต่ำ ร้อยละ 39.6 มีความเชื่อและทัศนคติที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการนอนหลับระดับสูง ร้อยละ 66.8 ปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับคุณภาพการนอนหลับได้แก่ อายุ สถานภาพสมรส ประวัติการดื่มแอลกอฮอล์ ประวัติการสูบบุหรี่ ประวัติการดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีน ความเพียงพอของรายได้ การออกกำลังกาย สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ความรุนแรงของอาการซึมเศร้า จำนวนยาต้านเศร้าที่ได้รับในปัจจุบัน ความเชื่อและทัศนคติที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการนอนหลับ พฤติกรรมการปฏิบัติตนด้านสุขวิทยาเกี่ยวกับการนอนหลับ นอกจากนี้พบว่าปัจจัยทำนายคุณภาพการนอนหลับ ได้แก่ ความรุนแรงของอาการซึมเศร้าระดับปานกลางหรือรุนแรง แสงสว่างในห้อง ความเชื่อทัศนคติที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการนอนหลับที่ระดับสูง การดื่มแอลกอฮอล์ และการมีรายได้ไม่เพียงพอ


ปัญหาและความคาดหวังในชีวิตของวัยรุ่นตั้งครรภ์, นันทพร ปันต๊ะ Jan 2017

ปัญหาและความคาดหวังในชีวิตของวัยรุ่นตั้งครรภ์, นันทพร ปันต๊ะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาหรือผลกระทบที่ต้องเผชิญและความคาดหวังในชีวิตของวัยรุ่นตั้งครรภ์ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ส่วนบุคคลเชิงลึก (In-depth Interview) ผู้ให้ข้อมูลคือวัยรุ่นตั้งครรภ์จำนวน 13 รายที่มารับบริการฝากครรภ์ ณ แผนกสูติกรรม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ผลการวิจัย พบว่าวัยรุ่นตั้งครรภ์มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงดี วัยรุ่นที่กำลังศึกษาอยู่ พบว่ามีความยากลำบากในการบอกผู้ปกครองเนื่องจากกลัวว่าผู้ปกครองจะผิดหวังในตนเอง วัยรุ่นที่มีงานทำแล้ว มีความรู้สึกยินดีต่อการตั้งครรภ์ เนื่องจากตนเองมีรายได้สามารถที่จะเลี้ยงดูตนเองและบุตรได้ ในวัยรุ่นที่กำลังศึกษาอยู่พบว่าได้รับการสนับสนุนให้ได้รับการศึกษาต่ออย่างต่อเนื่องแม้ตั้งครรภ์ ในวัยรุ่นที่ทำงานแล้ว พบว่าได้รับสวัสดิการสังคมจากรัฐบาล โดยสามารถลาคลอดได้เป็นระยะเวลา 90 วันโดยได้รับค่าจ้างเป็นจำนวนครึ่งหนึ่งของเงินเดือนและได้รับเงินสงเคราะห์เมื่อคลอดบุตรเป็นจำนวนเงิน 13,000 บาท วัยรุ่นตั้งครรภ์ 11 จาก 13 รายมีความตั้งใจที่จะกลับเข้าสู่ระบบการศึกษา โดยแบบปกติมีครอบครัวเป็นกำลังสำคัญในการสนับสนุนด้านค่าใช้จ่าย ส่วนในวัยรุ่นตั้งครรภ์ที่ทำงานประจำ มีความตั้งใจที่จะกลับเข้าสู่ระบบการศึกษาทางเลือก โดยต้องการศึกษาต่อเนื่องจากต้องการวุฒิการศึกษาที่สูงขึ้นเพราะเชื่อว่าการมีโอกาสทางการศึกษาจะช่วยทำให้มีความก้าวหน้าทางอาชีพในอนาคต วัยรุ่นตั้งครรภ์จำนวน 7 รายไม่ต้องการความช่วยเหลือใดๆ เนื่องจากได้รับการสนับสนุนจากครอบครัวที่ดีอยู่แล้ว แต่ 6 รายมีความต้องการด้านสังคมใน 3 ด้าน ได้แก่ (1) ต้องการความช่วยเหลือด้านการเงิน เป็นเงินช่วยเหลือรายเดือนในการเลี้ยงดูบุตรหลังคลอด (2) ต้องการคำแนะนำและการให้ความรู้ในการเลี้ยงเด็กแรกเกิด (3) ต้องการให้ประกันสังคมหรือเงินช่วยเหลือค่าคลอดบุตรมีผลบังคับใช้ทันทีหลังคลอดโดยไม่ต้องสำรองเงินของตนเองออกไปก่อน ผลการวิจัยพบว่าวัยรุ่นตั้งครรภ์ในปัจจุบันมีคุณภาพชีวิตที่ดีมากยิ่งขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับการศึกษากับงานวิจัยในอดีต อันเนื่องมาจากในปัจจุบันได้มีพระราชบัญญัติอนามัยเจริญพันธุ์และการแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นที่ส่งเสริมให้วัยรุ่นตั้งครรภ์สามารถศึกษาต่อในโรงเรียนต่อไปได้แม้อยู่ระหว่างการตั้งครรภ์หรือการได้รับสวัสดิการทางสังคมจากสถานที่ทำงานของตนเอง


การศึกษาคุณภาพชีวิตและสมดุลการทำงานในพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, พรรณชนก เดชสิงห์ Jan 2017

การศึกษาคุณภาพชีวิตและสมดุลการทำงานในพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, พรรณชนก เดชสิงห์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เหตุผลของการทำวิจัย : จากการศึกษาที่ผ่านมาในประเทศไทย พบว่าวิชาชีพพยาบาลมีอัตราออกจากงานและขาดแคลนบุคลากรตลอดมา จึงมีความสนใจที่จะศึกษาเพื่อค้นหาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตและสมดุลการทำงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตและสมดุลการทำงานในพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
วิธีการทำวิจัย : เก็บรวบรวมข้อมูลจากพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยจำนวน 348 ราย โดยใช้แบบสอบถามแบบตอบด้วยตนเองซึ่งประกอบด้วย 1. แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปและข้อมูลเกี่ยวกับการทำงาน 2. แบบสอบถามเพื่อประเมินคุณภาพชีวิต (WHOQOL-BREF-THAI) 3. แบบสอบถามความพึงพอใจในงาน ความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน 4.แบบสอบถามความคิดลาออก โอนย้ายจากงาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ t-test และ One-Way ANOVA เพื่อทดสอบปัจจัยที่เกี่ยวข้อง และใช้ Multiple Linear Regression เพื่อหาปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตและสมดุลการทำงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
ผลการศึกษา : พบว่าปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิต มี 13 ปัจจัย ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา แผนก/ฝ่าย ตำแหน่ง ระยะเวลาร่วมงานกับโรงพยาบาล จำนวนเวรเฉลี่ยต่อเดือน ความเพียงพอของรายได้ โอกาสเรียนต่อปริญญาโท/เฉพาะทาง จำนวนชั่วโมงการนอนหลับ ความเพียงพอในการนอนหลับ สัดส่วนความสมดุลของชีวิตกับงานในความเป็นจริง ความคิดโอนย้าย และความคิดลาออก ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสมดุลการทำงาน มี 6 ปัจจัย ได้แก่ ระยะเวลาที่ใช้ในการเดินทางมาทำงาน ความเพียงพอของรายได้ ความเพียงพอในการนอนหลับ การใช้สิทธิ์วันหยุดประจำปี ความคิดโอนย้าย และความคิดลาออก
สรุป : ปัจจัยทำนายที่มีผลต่อคุณภาพชีวิต คือ สัดส่วนความสมดุลของชีวิตกับงานในความเป็นจริง ความเพียงพอในการนอนหลับ ความคิดโอนย้าย ความเพียงพอของรายได้ โอกาสเรียนต่อปริญญาโท/เฉพาะทาง และความคิดลาออก ปัจจัยทำนายสมดุลการทำงาน คือ ความคิดโอนย้าย ความเพียงพอของรายได้ ระยะเวลาที่ใช้ในการเดินทางมาทำงาน และความคิดลาออก
คำสำคัญ : คุณภาพชีวิต, พยาบาลวิชาชีพ, สมดุลการทำงาน


ความเครียดและพฤติกรรมการเผชิญความเครียดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของมารดาเด็กสมาธิสั้นที่แผนกผู้ป่วยนอก หน่วยจิตเวชเด็ก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, มนทิรา แสงฤทธิ์เดช Jan 2017

ความเครียดและพฤติกรรมการเผชิญความเครียดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของมารดาเด็กสมาธิสั้นที่แผนกผู้ป่วยนอก หน่วยจิตเวชเด็ก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, มนทิรา แสงฤทธิ์เดช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา เก็บรวบรวมข้อมูลจากมารดาเด็กสมาธิสั้นที่แผนกผู้ป่วยนอก หน่วยจิตเวชเด็ก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จำนวน 104 ราย โดยใช้แบบสอบถามแบบตอบด้วยตนเองซึ่งประกอบด้วย 1. แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2. แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับโรคสมาธิสั้น 3. แบบวัดความเครียดสวนปรุง 4. แบบวัดพฤติกรรมการเผชิญความเครียดของมารดาเด็กสมาธิสั้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS version 22 เพื่อหาสถิติเชิงพรรณนา คำนวณสถิติเชิงอนุมานเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดและพฤติกรรมการเผชิญความเครียดกับปัจจัยที่เกี่ยวข้อง โดยใช้สถิติ Chi - square, t-test และ One-way ANOVA, Pearson's correlation coefficiency และวิเคราะห์การถดถอย Multiple Logistic Regression Analysis และ Linear Regression Analysis เพื่อหาปัจจัยทำนายของความเครียดและพฤติกรรมการเผชิญความเครียด ผลการศึกษาพบว่า มารดาเด็กสมาธิสั้นมีระดับความเครียดอยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 51.9 มีพฤติกรรมการเผชิญความเครียดหลักแบบมุ่งจัดการกับปัญหา คิดเป็นร้อยละ 91.3 โดยปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการเผชิญความเครียดแบบมุ่งจัดการกับปัญหา ได้แก่ อายุมารดา รายได้ครอบครัวต่อเดือน และความรู้ของมารดาเกี่ยวกับโรคสมาธิสั้น ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการเผชิญความเครียดแบบมุ่งจัดการกับปัญหา ได้แก่ รายได้ครอบครัวต่อเดือน และความรู้ของมารดาเกี่ยวกับโรคสมาธิสั้น


ผลของโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษารูปแบบสื่อมิเดียต่อความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง, ลลนา คันธวัฒน์ Jan 2017

ผลของโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษารูปแบบสื่อมิเดียต่อความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง, ลลนา คันธวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของรูปแบบสื่อมิเดียโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาต่อความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมแบบอำพรางฝ่ายเดียว โดยใช้โปรแกรมสุขภาพจิตศึกษารูปแบบสื่อมิเดียเป็นวิธีการบำบัด มีผู้เข้าร่วมการวิจัยเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดที่เข้ารับการรักษาที่สถาบันประสาทวิทยา กรุงเทพมหานคร รวมทั้งสิ้น 34 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ได้รับสุขภาพจิตศึกษารูปแบบสื่อมิเดียจํานวน 17 ราย และกลุ่มควบคุมที่ได้รับการบำบัดตามปกติจํานวน 17 ราย โดยทําการประเมินทั้งก่อนและหลังใช้โปรแกรมสุขภาพจิตศึกษารูปแบบสื่อมิเดียและเปรียบเทียบผลความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระหว่าง 2 กลุ่มทดลอง โดยใช้แบบประเมินความเครียดของผู้ดูแล แบบประเมินความคาดหวังความสามารถในการดูแล แบบประเมินความภาคภูมิใจในตนเองของผู้ดูแล เพื่อเปรียบเทียบคะแนนความเครียดของผู้ดูแล คะแนนความคาดหวังความสามารถในการดูแล และคะแนนความภาคภูมิใจในตนเอง ผลการศึกษาพบว่า ผู้เข้าร่วมวิจัยมีคะแนนความเครียดลดลงอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P < 0.01) และมีคะแนนความคาดหวังความสามารถของผู้ดูแลและคะแนนความภาคภูมิใจในตนเองเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P < 0.01) เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม ทั้งหลังจบการบําบัดทันทีและหลังจบการบําบัด 1 เดือน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษารูปแบบสื่อมิเดียสามารถลดความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้ โดยการศึกษาวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์และเป็นแนวทางให้กับสุขภาพจิตศึกษารูปแบบสื่อมิเดียเพื่อลดความเครียดที่เกิดขึ้นกับผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และให้เห็นถึงความสำคัญของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง


ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านครอบครัวกับพฤติกรรมของเด็กออทิสติก กลุ่มที่มีระดับอาการน้อย ในโรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์, วัชรพงษ์ ทรัพย์สิทธิกุล Jan 2017

ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านครอบครัวกับพฤติกรรมของเด็กออทิสติก กลุ่มที่มีระดับอาการน้อย ในโรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์, วัชรพงษ์ ทรัพย์สิทธิกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมของเด็กออทิสติกกลุ่มที่มีระดับอาการน้อย, เพื่อศึกษาปัจจัยด้านครอบครัวของเด็กออทิสติกกลุ่มที่มีระดับอาการน้อย และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านครอบครัวกับพฤติกรรมของเด็กออทิสติกกลุ่มที่มีระดับอาการน้อย ที่มารับการรักษาแบบผู้ป่วยนอก ณ โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ เก็บข้อมูลจากผู้ดูแลหลักของเด็กออทิสติกกลุ่มที่มีระดับอาการน้อยช่วงอายุ 4 - 16 ปี ที่มารับการรักษาแบบผู้ป่วยนอก จำนวน 82 คน โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 5 ส่วน 1. แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2. แบบประเมินความสัมพันธ์ภายในครอบครัว 3. แบบสอบถามการปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัว 4. แบบวัดทัศนคติของบิดามารดาต่อการดูแลบุตรออทิสติก 5. แบบสอบถามประเมินพฤติกรรมเด็กออทิสติก วิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมานด้วย Independent sample t- test หรือ One-way ANOVA และวิเคราะห์พหุคูณด้วย Multiple linear regression analysis ผลการวิจัย พบว่า ความสัมพันธ์ภายในครอบครัวอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 82.9 ครอบครัวปฏิบัติหน้าที่อยู่ในระดับดีพอสมควร ร้อยละ 74.4 บิดามารดามีทัศนคติต่อการดูแลบุตรออทิสติกในระดับปานกลาง ร้อยละ 68.3 เด็กมีพฤติกรรมด้านอารมณ์อยู่ในภาวะปกติ ร้อยละ 58.5 ด้านสมาธิภาวะปกติ ร้อยละ 52.4 ด้านความประพฤติภาวะปกติ ร้อยละ 63.4 ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนภาวะมีปัญหา ร้อยละ 65.9 พฤติกรรมเด็กรวม 4 ด้านภาวะปกติ ร้อยละ 46.3 ด้านสัมพันธภาพทางสังคมมีจุดแข็ง ร้อยละ 61.0 จากการวิเคราะห์โดย Stepwise linear regression ปัจจัยพยากรณ์พฤติกรรมด้านความประพฤติในทางบวกของเด็กออทิสติกกลุ่มนี้คือ ความสัมพันธ์ภายในครอบครัวที่ดี ส่วนปัจจัยพยากรณ์พฤติกรรมโดยรวมในทางบวกคือ บิดามารดาเป็นผู้ดูแลหลัก และปัจจัยพยากรณ์พฤติกรรมโดยรวมในทางลบคือ การต้องได้รับการรักษาด้วยยา ผลการวิจัยครั้งนี้ สรุปได้ว่า การที่เด็กออทิสติกจะมีปัญหาพฤติกรรมหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งปัจจัยทางด้านครอบครัว ผู้ดูแล ปัจจัยจากตัวเด็กออทิสติกและปัจจัยทางด้านการดูแลรักษาทางการแพทย์ ดังนั้นการดูแลหรือจัดการกับปัญหาพฤติกรรมของเด็กออทิสติกจึงควรมีการดูแลรักษาแบบองค์รวมเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งกับครอบครัว และตัวเด็กเอง


พลังสำรองของการรู้คิดของพนักงานเกษียณอายุการไฟฟ้านครหลวง ที่คลินิกผู้ป่วยนอก แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลการไฟฟ้านครหลวง, อมรรัตน์ สุขกุล Jan 2017

พลังสำรองของการรู้คิดของพนักงานเกษียณอายุการไฟฟ้านครหลวง ที่คลินิกผู้ป่วยนอก แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลการไฟฟ้านครหลวง, อมรรัตน์ สุขกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เหตุผลของการทำวิจัย : เนื่องด้วยพนักงานเกษียณมีอายุตามช่วงวัยที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดความเสี่ยง ด้านความบกพร่องของการรู้คิด สิ่งหนึ่งที่เป็นปัจจัยปกป้อง คือ พลังสำรองของการรู้คิด ซึ่งการมีพลังสำรองของการรู้คิดในระดับสูงช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะสมองเสื่อม ที่ผ่านมายังไม่มีการศึกษาพลังสำรองของการรู้คิดในผู้สูงอายุไทย วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาพลังสำรองของการรู้คิดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของพนักงานเกษียณอายุการไฟฟ้านครหลวง ที่คลินิกผู้ป่วยนอก แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลการไฟฟ้านครหลวง วิธีการศึกษา : การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา เก็บรวบรวมข้อมูลจากพนักงานเกษียณอายุการไฟฟ้านครหลวง ที่เข้ารับการรักษาที่คลินิกผู้ป่วยนอก แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลการไฟฟ้านครหลวง จำนวน 100 ราย มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ที่มีค่าคะแนน TMSE มากกว่า 23 คะแนน และค่าคะแนน TGDS น้อยกว่า 13 คะแนน โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป แบบสอบถามพลังสำรองของการรู้คิด (Cognitive Reserve Index questionnaire : CRIq) แบบประเมินภาวะสมองของคนไทย Thai Mental state Examination (TMSE) แบบวัดความซึมเศร้าในผู้สูงอายุของไทย (Thai Geriatric Depression Scale : TGDS) แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ดัชนีบาร์เธลเอดีแอล (Barthel Activities of Daily Living Index) แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันดัชนีจุฬาเอดีแอล (The Chula Activities of Daily Living Index) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS version 22 เพื่อหาสถิติเชิงพรรณนา คำนวณสถิติเชิงอนุมานเพื่อหาปัจจัยที่เกี่ยวข้อง และวิเคราะห์การถดถอย Linear Regression Analysis เพื่อหาปัจจัยทำนายของพลังสำรองของการรู้คิดและด้านกิจกรรมยามว่าง ผลการศึกษา : พบว่าพนักงานเกษียณอายุการไฟฟ้านครหลวงมีพลังสำรองของการรู้คิดและกิจกรรมยามว่างอยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 60.0 และ 44.0 ตามลำดับ ปัจจัยทำนายพลังสำรองของการรู้คิด ได้แก่ รายได้ก่อนเกษียณอายุ และคะแนนของแบบทดสอบ TMSE …


ภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี, อำพร เนื่องจากนาค Jan 2017

ภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี, อำพร เนื่องจากนาค

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เหตุผลของการทำวิจัย : โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาสำคัญด้านสาธารณสุขและผู้ป่วยต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่องทั้งด้านร่างกายและด้านจิตใจ การศึกษาภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยเบาหวานพบว่ายังมีการศึกษาจำนวนน้อยในประเทศไทย วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความชุกของภาวะซึมเศร้าและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี วิธีการทำวิจัย : เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง ในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 355 รายที่มารับการรักษาที่คลินิกเบาหวานแผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี ในช่วงเดือนสิงหาคมถึงธันวาคม พ.ศ. 2560 เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินอาการวิตกกังวล และอาการซึมเศร้าฉบับภาษาไทย แบบสอบถามการรับรู้ภาวะสุขภาพ แบบประเมินสภาพและการปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัว สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติไคสแควร์ ฟิชเชอร์เอ็กเซ็ท การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก ผลการศึกษา : กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 55.7 ปี ร้อยละ 60 เป็นเบาหวานมากกว่า 5 ปี ประมาณร้อยละ 25 มีการใช้สมุนไพร พบความชุกของภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เท่ากับร้อยละ 20.8 การรับรู้ภาวะสุขภาพอยู่ในระดับปานกลางเท่ากับร้อยละ 84.8 ปัจจัยที่พบความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อายุมากกว่า 50 ปี ไม่ได้ประกอบอาชีพ มีการใช้ชะเอม สภาพและการปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัวไม่ค่อยดี สรุป : การศึกษาครั้งนี้พบความชุกของภาวะซึมเศร้าถึง 1 ใน 5 ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 และพบปัจจัยส่วนบุคคลและครอบครัวมีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า ผลการศึกษานี้น่าจะให้แนวทางที่เป็นประโยชน์ในการตระหนักถึงภาวะซึมเศร้าและให้การดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2


สุขภาพจิตและระยะเวลาความสัมพันธ์ของชายรักชาย ณ สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย, เอกเทพ ไมเกิ้ล Jan 2017

สุขภาพจิตและระยะเวลาความสัมพันธ์ของชายรักชาย ณ สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย, เอกเทพ ไมเกิ้ล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ชายรักชายเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงเรื่องสุขภาพจิตเนื่องจากสภาพสังคมที่ไม่ยอมรับ, การเหยียดเพศ, แบ่งแยกเรื่องเพศ เกิดเป็นตราบาป การเปิดเผยรสนิยมทางเพศจึงเป็นความกดดันของกลุ่มชายรักชายให้ต้องปิดบังและไม่สามารถเป็นตัวของตัวเองทางเพศได้ ก่อให้เกิดความเครียดความกดดัน จนอาจเป็นปัญหาทางสุขภาพจิตได้ จากงานวิจัยในปัจจุบันเกี่ยวกับสุขภาพจิตของชายรักชายยังมีข้อมูลขัดแย้งกัน บางรายงานพบว่าชายรักชายมีปัญหาสุขภาพจิตมากกว่ารักต่างเพศ แต่บางงานวิจัยพบว่าไม่แตกต่างกัน ประเทศไทยมีสภาพสังคมและวัฒนธรรมที่มีลักษณะเฉพาะ แม้จะเปิดกว้างมากขึ้นในเรื่องชายรักชาย แต่ก็มีการกีดกันทางเพศอยู่ นอกจากนี้งานวิจัยด้านสุขภาพจิตของกลุ่มชายรักชายในประเทศไทยยังมีจำกัด งานวิจัยฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาสุขภาพจิตของชายรักชายว่าเป็นอย่างไรและมีปัจจัยใดบ้างที่เกี่ยวข้อง ความสัมพันธ์เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญต่อสุขภาพจิต ความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดมั่นคง พึ่งพาได้เมื่อต้องการจะส่งผลให้มีสุขภาพจิตที่ดี แต่งานวิจัยส่วนใหญ่ศึกษาความสัมพันธ์ในกลุ่มรักต่างเพศ จึงยังมีงานวิจัยจำกัดในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างชายรักชาย งานวิจัยนี้จึงมีอีกจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของชายรักชายในประเทศไทย ทั้งระยะเวลาความสัมพันธ์ รูปแบบความสัมพันธ์ ทั้งยังวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาพจิตและระยะเวลาของความสัมพันธ์ในชายรักชายอีกด้วย งานวิจัยฉบับนี้เป็นการศึกษาแบบตัดขวาง ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง ผ่านการพิจารณาจริยธรรมแล้วและได้ขอความยินยอมจากผู้เข้าร่วมวิจัย ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล, แบบสอบถามความรักสามเหลี่ยมของสเติร์นเบิร์ก, แบบสอบถามสุขภาพทั่วไปและแบบประเมินวัดดัชนีความสุขคนไทยในผู้เข้าร่วมชายรักชาย 106 คนในสมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย และวิเคราะห์ผลด้วยสถิติร้อยละ, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, independent samples t - test, one - way ANOVA, Spearman correlation และ multiple linear regression จากการศึกษาพบว่า ชายรักชายมีอายุเฉลี่ย 27.6 ปี ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง วุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป ชายรักชายร้อยละ 87.6 มีคะแนนแบบสอบถามสุขภาพทั่วไปอยู่ในเกณฑ์ปกติ และชายรักชายที่น่าจะมีความผิดปกติทางจิตเวชมีความผิดปกติด้านอาการวิตกกังวล และนอนไม่หลับมากที่สุด และเมื่อเปรียบเทียบกับประชากรทั่วไปพบว่าสุขภาพจิตของชายรักชายไม่แตกต่างจากประชากรทั่วไป มีปัจจัยที่สัมพันธ์กับสุขภาพจิตเมื่อวัดด้วยแบบสอบถามสุขภาพทั่วไปคือ สถานภาพสมรสของบิดามารดาและจำนวนแฟนโดยชายรักชายที่เคยมีแฟนมาแล้ว 1-4 คนมีคะแนนที่ได้จากแบบสอบถามสุขภาพทั่วไปมากกว่าชายรักชายที่ไม่เคยมีแฟน และชายรักชายที่มีสถานภาพสมรสของบิดามารดาแบบบิดามารดาอยู่ด้วยกัน และบิดามารดาหย่าร้างหรือแยกกันอยู่ มีคะแนนมากกว่าชายรักชายที่มีบิดาและ/หรือมารดาเสียชีวิต เรื่องความสัมพันธ์ของชายรักชาย พบว่าระยะเวลาความสัมพันธ์กับคนรักเฉลี่ย 26.5 เดือน รูปแบบความสัมพันธ์ส่วนใหญ่เป็นแบบความรักที่สมบูรณ์แบบ ส่วนปัจจัยที่สัมพันธ์กับระยะเวลาความสัมพันธ์กับคนรักที่ยาวนาน คือ อายุ 28-36 ปีและรายได้ 38,001 - 54,000 บาท/เดือน สรุป ชายรักชายโดยทั่วไปมีสุขภาพจิตอยู่ในเกณฑ์ปกติและไม่แตกต่างจากประชากรทั่วไปซึ่งมีความสัมพันธ์กับสถานภาพสมรสของบิดามารดาและจำนวนแฟน และมีระยะเวลาที่คบหากับคนรักเฉลี่ย 26.5 เดือน มีความสัมพันธ์กับอายุและรายได้การศึกษาฉบับนี้ทำให้เข้าใจสุขภาพจิตและความสัมพันธ์ของชายรักชาย อาจเป็นแนวทางศึกษาวิจัยการส่งเสริมสุขภาพจิตในกลุ่มชายรักชายต่อไป