Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Sports Medicine Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

PDF

Theses/Dissertations

Medical Sciences

2019

Articles 1 - 2 of 2

Full-Text Articles in Sports Medicine

ผลของการฝึกออกกำลังกายที่ความหนักระดับปานกลางต่อการออกซิเดชันของไขมันในขณะพักฟื้นหลังออกกำลังกายในอุณหภูมิร้อนและเย็นของหญิงอ้วน, ปริมล แก้วผลึก Jan 2019

ผลของการฝึกออกกำลังกายที่ความหนักระดับปานกลางต่อการออกซิเดชันของไขมันในขณะพักฟื้นหลังออกกำลังกายในอุณหภูมิร้อนและเย็นของหญิงอ้วน, ปริมล แก้วผลึก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การออกกำลังกายเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการลดไขมันและน้ำหนักสำหรับคนอ้วน การเพิ่มการออกซิเดชันของไขมันขณะพักฟื้นภายหลังเสร็จสิ้นการออกกำลังกายเป็นประเด็นที่น่าสนใจ และมีงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับอุณหภูมิแวดล้อมที่ส่งผลต่อการออกซิเดชันของไขมันขณะพักฟื้นภายหลังการออกกำลังกายเพียงหนึ่งครั้งในหญิงอ้วน แต่ยังไม่มีการศึกษาในหญิงอ้วนที่มีการฝึกออกกำลังกาย งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาในเพศหญิงที่มีภาวะอ้วนจำนวน 16 คน อายุ 18-50 ปี มีดัชนีมวลกาย 27.5-40 กิโลกรัมต่อเมตร2 มีประจำเดือนปกติ โดยทำการศึกษาในช่วง follicular phase ของประจำเดือนเท่านั้น ผู้เข้าร่วมวิจัยควบคุมอาหารเป็นเวลา 1 เดือน และเข้าโปรแกรมการฝึกออกกำลังกายบนลู่วิ่งสายพานที่ความหนักระดับปานกลาง (50-60% heart rate reserve (HRR) ระยะเวลา 30-60 นาที) เป็นเวลา 1 เดือน จากนั้นทำการทดสอบการออกกำลังกาย 2 ครั้ง ที่ความหนัก 60%HRR เวลา 60 นาที และพักฟื้นนาน 60 นาที ในอุณหภูมิร้อน (HT; 31-32°C) ครั้งหนึ่ง และเย็น (CT; 22-23°C) อีกครั้งหนึ่ง ตามลำดับที่สุ่มไว้ มีการประเมินการออกซิเดชันของซับสเตรท และการใช้พลังงานรวมตลอดการทดสอบ ผลการศึกษาพบว่าขณะพักฟื้นในที่เย็นมีการออกซิเดชันของไขมันสูงกว่าในที่ร้อนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (CT; 56.0 ± 24.6 mg.kg-1.h-1 vs. HT; 39.7 ± 27.5 mg.kg-1.h-1, p < 0.001) และขณะพักฟื้นในที่ร้อนมีการออกซิเดชันของคาร์โบไฮเดรทมากกว่าในที่เย็นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (HT; 104.0 ± 46.9 mg.kg-1.h-1 vs. CT; 64.6 ± 40.5 mg.kg-1.h-1, p < 0.001) ทั้งนี้ไม่พบความแตกต่างของการใช้พลังงานรวมขณะพักฟื้นในทั้งสองอุณหภูมิ (HT; 70.5 ± 19.6 kcal.h-1 vs. CT; 71.3 ± 13.7 kcal.h-1, p = 0.846) สรุปว่าปริมาณการออกซิเดชันของไขมันขณะพักฟื้นในอุณหภูมิเย็นมากกว่าในอุณหภูมิร้อน ดังนั้นการพักฟื้นในอุณหภูมิเย็นภายหลังการฝึกออกกำลังกายในระดับปานกลาง จึงควรเป็นทางเลือกที่ดีในการลดไขมันและน้ำหนักสำหรับคนอ้วน


การเปรียบเทียบการเกิดภาวะเอียงของกระดูกเชิงกรานขณะวิ่งที่ระดับความหนักปานกลางในกลุ่มนักวิ่งมือใหม่และนักวิ่งสันทนาการเพศหญิง, หทัยภัทร ทิพยุทธ Jan 2019

การเปรียบเทียบการเกิดภาวะเอียงของกระดูกเชิงกรานขณะวิ่งที่ระดับความหนักปานกลางในกลุ่มนักวิ่งมือใหม่และนักวิ่งสันทนาการเพศหญิง, หทัยภัทร ทิพยุทธ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการวิ่งที่ระดับความหนักปานกลางต่อระยะเวลาการเกิดภาวะเอียงของกระดูกเชิงกราน (pelvic drop) ในนักวิ่งมือใหม่ และนักวิ่งสันทนาการเพศหญิง และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแนวการเอียงของกระดูกเชิงกราน (pelvic alignment)กับอัตราการเต้นของหัวใจ (heart rate; HR), การใช้ออกซิเจน (VO2 uptake), ค่าความรู้สึกเหนื่อย (Rating of Perceived Exertion; RPE), ค่าความรู้สึกล้าของขา (Rating of Perceived Exertion for legs; RPElegs) และความล้าของกล้ามเนื้อ Gluteus medius และ Gluteus maximus กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยครั้งนี้อายุระหว่าง 18 - 35 ปี เป็นนักวิ่งมือใหม่ (ประสบการณ์น้อยกว่า 1 ปี) 27 คน และนักวิ่งสันทนาการ (ประสบการณ์ 2 - 4 ปี) 27 คน ซึ่งทั้งสองกลุ่มได้รับการทดสอบประสิทธิภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุด (VO2max) และวิ่งบนลู่วิ่ง 30 นาที ที่ระดับความหนักปานกลางที่อัตราเร็วที่เลือกเอง (นักวิ่งมือใหม่; 5.87 ± 0.62 กม./ชม. vs. นักวิ่งสันทนาการเพศหญิง; 6.44 ± 0.58 กม./ชม.) โดยอยู่ในช่วงอัตราการเต้นหัวใจที่ 40 - 59% ของอัตราการเต้นหัวใจสำรองสูงสุด (heart rate reserve; HRR) ขณะทดสอบบนลู่วิ่ง 30 นาที นักวิ่งทั้งสองกลุ่มจะถูกบันทึกค่าอัตราการเต้นของหัวใจ, การใช้ออกซิเจน, ค่าความรู้สึกเหนื่อย, ค่าความรู้สึกล้าของขา และวัดการทำงานของกล้ามเนื้อ (muscle activity) จากสัญญาณไฟฟ้า (electromyography; EMG) ที่กล้ามเนื้อ Gluteus medius และ Gluteus maximus ทุก ๆ …