Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medical Biochemistry Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

2017

Articles 1 - 5 of 5

Full-Text Articles in Medical Biochemistry

บทบาทของระดับ Glypican-3 และ Sulfatase-2 ในเลือดในการวินิจฉัยโรคมะเร็งตับที่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี, พิมพ์ทอง ทวีทองคำ Jan 2017

บทบาทของระดับ Glypican-3 และ Sulfatase-2 ในเลือดในการวินิจฉัยโรคมะเร็งตับที่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี, พิมพ์ทอง ทวีทองคำ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โรคมะเร็งตับ (HCC) เป็นโรคที่มีอุบัติการณ์สูงเมื่อเทียบกับโรคมะเร็งชนิดอื่น ในประเทศแถบเอเชียมักพบผู้ป่วยโรคมะเร็งตับซึ่งมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี จากการศึกษาก่อนหน้านี้พบว่าเอนไซม์ Sulfatase-2 (SULF2) มีการแสดงออกเพิ่มสูงขึ้นในบริเวณเนื้อเยื่อมะเร็งตับ เอนไซม์ชนิดนี้สามารถกระตุ้นการเจริญของเซลล์มะเร็งตับได้ผ่านกระบวนการ desulfation ภายในโมเลกุล Glypican-3 (GPC3) ซึ่งทำหน้าที่เป็นแหล่งกักเก็บของลิแกนด์ชนิด Wnt และมีการรายงานว่า GPC3 มีการแสดงออกเพิ่มสูงขึ้นในบริเวณเนื้อเยื่อมะเร็งตับเช่นเดียวกับ SULF2 การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินบทบาทในการวินิจฉัยโรคมะเร็งตับของ SULF2 และ GPC3 ในผู้ป่วยโรคมะเร็งตับจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ผลการวิเคราะห์การแสดงออกที่เปลี่ยนไปในระดับ mRNA ของ SULF2 และ GPC3 ด้วยเทคนิค Real-time PCR (RT-PCR) พบว่าในตัวอย่างเลือดของผู้ป่วยโรคมะเร็งตับ (N=93) มีระดับ mRNA ของทั้งสองยีนสูงที่สุดเมื่อเทียบกับกลุ่มผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (N=98) และกลุ่มผู้มีสุขภาพดี (N=50) (SULF2: 25.26± 38.10 และ 8.74±17.30 และ 5.33±12.78, P<0.001; GPC3: 32.47±35.38 และ 16.27±28.30 และ 3.67 ±4.45, P<0.001) ผลการวิเคราะห์ระดับโปรตีนในซีรั่มด้วยเทคนิค Enzyme-linked immunosorbent assay (ELISA) พบปริมาณ SULF2 สูงสุดในผู้ป่วยโรคมะเร็งตับ (N=146) เมื่อเทียบกับกลุ่มผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (N=119) และกลุ่มผู้มีสุขภาพดี (N = 50) เช่นกัน (27.51±10.17 และ 18.56±5.21 และ 15.81±4.30 ng/ml, P<0.001) ขณะที่สามารถตรวจพบ GPC3 ได้มากที่สุดในกลุ่มผู้ป่วยโรคมะเร็งตับ เมื่อเปรียบเทียบความสามารถในการเป็นตัวบ่งชี้ทางชีวภาพพบว่าระดับ SULF2 และ GPC3 ในซีรั่มเพียงชนิดเดียวมีประสิทธิภาพด้อยกว่า AFP แต่เมื่อนำ AFP ร่วมกับ SULF2 มาพิจารณาร่วมด้วยพบว่า AFP ร่วมกับ SULF2 มีประสิทธิภาพในการจำแนกผู้ป่วยมะเร็งตับจากผู้ไม่ได้เป็นมะเร็งตับได้ดีที่สุด นอกจากนี้ระดับของ SULF2 และ GPC3 ภายในซีรั่มสัมพันธ์กับระยะเวลาการรอดชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็งตับอีกด้วย (P < 0.001). การศึกษานี้จึงสรุปได้ว่า SULF2 และ GPC3 ภายในซีรั่มของผู้ป่วยสามารถนำไปใช้เป็นตัวบ่งชี้ทางชีวภาพและตัวพยากรณ์โรคมะเร็งตับที่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีได้


Reactive Oxygen Species-Induced Global Dna Hypomethylation In Bladder Cancer Is Mediated Via Increased Formation Of 8-Hydroxy-2'-Deoxyguanosine, Patcharawalai Whongsiri Jan 2017

Reactive Oxygen Species-Induced Global Dna Hypomethylation In Bladder Cancer Is Mediated Via Increased Formation Of 8-Hydroxy-2'-Deoxyguanosine, Patcharawalai Whongsiri

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Oxidative stress, as a consequence of the elevated reactive oxygen species (ROS), has been implicated in various chronic diseases including cancers by, for examples, causing oxidative DNA damage and altering epigenetic regulation. Long interspersed element-1 (LINE-1) is an only active retrotransposable elements in human DNA, comprising up to 17% of the whole genome. LINE-1 hypomethylation is reported in bladder cancer and evidently it is a consequence of oxidative stress. In this study, we investigated the expression of 5-methylcytosine (5-mC), 8-hydroxydeoxyguanosine (8-OHdG), LINE-1-endoced protein (ORF1p), histone H3K9me3 and HP1 alpha in bladder cancer tissues. Mechanistic insight into how oxidative stress affected …


บทบาทของกลุ่มโปรตีนเอ็มทอร์ 2 ต่อการเติมหมู่ฟอสเฟตบนโปรตีนเทาที่เกี่ยวข้องกับโรคอัลไซเมอร์, นราวิชญ์ พชรกุลนนท์ Jan 2017

บทบาทของกลุ่มโปรตีนเอ็มทอร์ 2 ต่อการเติมหมู่ฟอสเฟตบนโปรตีนเทาที่เกี่ยวข้องกับโรคอัลไซเมอร์, นราวิชญ์ พชรกุลนนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โรคอัลไซเมอร์ เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคสมองเสื่อม เกิดจากโปรตีน Aβ และ tau ที่ตกตะกอนภายในและภายนอกเซลล์ประสาทตามลำดับ และเกิดเป็น amyloid beta plaques และ neurofibrillary tangles (NFT) โปรตีน mTOR complexes ซึ่งเป็น serine/threonine protein kinase ถูกจัดกลุ่มออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ mTORC1 และ mTORC2 โดย mTORC1 นั้นมีบทบาทสำคัญในกระบวนการทางชีวภาพต่าง ๆ เช่น การสังเคราะห์โปรตีน และการแบ่งตัวของเซลล์ ในขณะที่ mTORC2 นั้นเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ของเซลล์ อย่างไรก็ตามยังไม่พบหลักฐานการศึกษาว่า mTORC2 มีความเกี่ยวข้องกับกลไกการควบคุมการเติมหมู่ฟอสเฟตมากผิดปกติ (hyperphosphorylation) ของโปรตีน tau หรือไม่ ดังนั้น งานวิจัยนี้ต้องการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง mTORC2 กับการเกิดการเติมหมู่ฟอสเฟตมากผิดปกติบนโปรตีน tau โดยตรวจสอบการทำงานโปรตีนด้วยเทคนิค western blot analysis พบว่า การทำงานที่ลดลงของ mTOR complexes ภายใต้สภาวะบ่มเซลล์ด้วย AZD8055 และสภาวะยับยั้งการแสดงออกของยีน RICTOR สามารถลดปริมาณ pTau (Ser214) ได้ นอกจากนี้ จากการศึกษาตำแหน่งของโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับ mTORC2 และ tau พบว่าโปรตีนเหล่านี้น่าจะมีปฏิสัมพันธ์กัน จึงทำการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง mTORC2 และ tau ด้วยเทคนิค affinity purification mass spectrometry เพื่อค้นหาโปรตีนที่ทำงานร่วมกันเป็นระบบ เมื่อวิเคราะห์ผลการทดลอง พบว่า mTORC2 และ tau อาจจะไม่ได้จับกันโดยตรง อย่างไรก็ตาม มีโปรตีนตัวกลางที่เกี่ยวข้องกับทั้ง mTORC2 และ tau โดยเฉพาะโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างของเซลล์ คือ gelsolin, plectin, cytoplasmic dynein …


การศึกษาระดับการแสดงออกของไมโครอาร์เอ็นเอสำหรับการวินิจฉัยโรคมะเร็งตับระยะแรกที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี, ภัทรพร นิ่มเสมอ Jan 2017

การศึกษาระดับการแสดงออกของไมโครอาร์เอ็นเอสำหรับการวินิจฉัยโรคมะเร็งตับระยะแรกที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี, ภัทรพร นิ่มเสมอ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โรคมะเร็งตับเป็นหนึ่งในโรคมะเร็งที่สามารถพบได้ทั่วโลกและมีอัตราการตายเป็นอันดับต้นๆของโลก สาเหตุหลักที่พบเกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ผู้ป่วยโรคมะเร็งตับส่วนใหญ่จะได้รับการวินิจฉัยในระยะท้ายของโรค ส่งผลให้มีอัตราการรอดชีวิตต่ำ ในปัจจุบันไมโครอาร์เอ็นเอมีบทบาทสำคัญในกระบวนการต่างๆภายในร่างกาย รวมทั้งการเกิดมะเร็ง เพราะฉะนั้นจึงสนใจศึกษาระดับการแสดงออกของไมโครอาร์เอ็นเอในซีรั่มที่มีประสิทธิภาพในการวินิจฉัยโรคมะเร็งตับระยะแรกที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี โดยทำการวิเคราะห์รูปแบบการแสดงออกของไมโครอาร์เอ็นเอด้วยเทคนิค NanoString จากนั้นทำการวัดระดับการแสดงออกของตัวแทนไมโครอาร์เอ็นเอ ได้แก่ miR-21-5p และ miR-125b-5p ในชิ้นเนื้อจำนวน 22 ตัวอย่าง และในซีรั่มของกลุ่มควบคุมที่มีสุขภาพดี 50 ราย กลุ่มผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี 92 ราย และกลุ่มผู้ป่วยโรคมะเร็งตับที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี 98 ราย ด้วยเทคนิคเรียลไทม์พีซีอาร์ ผลการศึกษาพบว่า miR-21-5p มีแนวโน้มการแสดงออกสูงขึ้นในชิ้นเนื้อบริเวณส่วนที่เป็นมะเร็ง เมื่อเปรียบเทียบกับบริเวณข้างเคียง (P=0.068) นอกจากนั้น miR-21-5p ในซีรั่มของกลุ่มผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีมีการแสดงออกสูงกว่าในกลุ่มควบคุมที่มีสุขภาพดี และกลุ่มผู้ป่วยโรคมะเร็งตับที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (P=0.0019 และ P<0.001 ตามลำดับ) ในขณะที่การแสดงออกของ miR-21-5p ในซีรั่มของกลุ่มผู้ป่วยโรคมะเร็งตับที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีมีแนวโน้มสูงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่มีสุขภาพดี (P=0.2332) ในทางตรงกันข้าม miR-125b-5p มีการแสดงออกที่ลดลงในชิ้นเนื้อบริเวณส่วนที่เป็นมะเร็ง เมื่อเปรียบเทียบกับบริเวณข้างเคียง (P=0.0391) เช่นเดียวกับการแสดงออกของ miR-125b-5p ในซีรั่มของกลุ่มผู้ป่วยโรคมะเร็งตับที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี พบว่ามีระดับลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และกลุ่มควบคุมที่มีสุขภาพดี (P=0.0234 และ P<0.001 ตามลำดับ) จากการวิเคราะห์ Receiver operating characteristic (ROC) พบว่าพื้นที่ใต้กราฟของการใช้ miR-125-5p ร่วมกับ alpha fetoprotein (AFP) มีค่าเท่ากับ 0.94 ซึ่งสูงกว่าการใช้ AFP หรือ miR-125b-5p เพียงอย่างเดียว ดังนั้น miR-125b-5p และ AFP น่าจะมีประสิทธิภาพในการวินิจฉัยโรคมะเร็งตับระยะแรกที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี


ดีเอ็นเอเมทิลเลชันในเม็ดเลือดขาวและเซลล์เยื่อบุข้อของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม, นิภาภรณ์ ธีระวัฒนพงศ์ Jan 2017

ดีเอ็นเอเมทิลเลชันในเม็ดเลือดขาวและเซลล์เยื่อบุข้อของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม, นิภาภรณ์ ธีระวัฒนพงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โรคข้อเข่าเสื่อมเกิดจากการอักเสบเรื้อรังภายในข้อทำให้กระดูกอ่อนผิวข้อเสื่อมสภาพ และมีการงอกของเนื้อกระดูกบริเวณขอบข้อ และการอักเสบบริเวณเยื่อบุข้อ โดยพบมากในผู้สูงอายุ กระบวนการอักเสบภายในข้อของผู้ป่วยมีผลต่อการความไม่สมดุลของจีโนม การแสดงออกของยีนภายในร่างกาย ซึ่งเกี่ยวข้องกับกระบวนการควบคุมของ DNA methylation ผ่านกลไกของ epigenetics อย่างไรก็ตามการศึกษา LINE-1 methylation กับระดับความรุนแรงของโรคข้อเสื่อมยังมีจำนวนน้อย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจวัดระดับ LINE-1 methylation และความยาวเทโลเมียร์ (relative telomere length, RTL) ในเซลล์เม็ดเลือดขาวของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม และศึกษาผลของ tumor necrosis factor-α (TNF-α) ภาวะเครียดออกซิเดชัน (H2O2) และสารต้านอนุมูลอิสระ (tocopheryl acetate, TA) ต่อระดับ LINE-1 methylation ในเซลล์เยื่อบุข้อ รวมถึงระดับการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคข้อเสื่อม โดยวิเคราะห์ระดับ LINE-1 methylation ด้วย combined bisulfite restriction analysis (COBRA) LINE-1 และวัดระดับการแสดงออกของยีนและ RTL ด้วย quantitative real-time polymerase chain reaction (qRT-PCR) ผลการศึกษาพบระดับ LINE-1 methylation ต่ำลงอย่างมีนัยสำคัญในเซลล์เม็ดเลือดขาวของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม (P=0.008) นอกจากนี้ LINE-1 methylation (r = -0.300, P <0.001) และความยาวเทโลเมียร์ (r = -0.361, P < 0.01) มีความสัมพันธ์เชิงลบกับระดับความรุนแรงของโรคข้อเสื่อมโดยเกณฑ์ภาพถ่ายรังสี Kellgren-Lawrence (KL) grading แต่ไม่มีความสัมพันธ์ทางสถิติกับข้อมูลทางคลินิก แบบประเมิน VAS scores, KOOS, WOMAC และ Lesquense index ในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม และระดับ LINE-1 hypomethylation ในเซลล์เม็ดเลือดขาวส่งผลต่อความเสี่ยงของการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (OR=1.97; 95%CI 1.11-3.49; P=0.02) ส่วนเซลล์เยื่อบุข้อมีระดับ LINE-1 methylation แนวโน้มต่ำลงในระยะเวลา 1 วัน หลังจากได้รับ 10 ng/ml TNF-α, 100 µM H2O2 และ pre-treatment ด้วย 50 µM TA ในทางกลับกันเซลล์เยื่อบุข้อในกลุ่มที่ได้รับ 10 ng/ml TNF-α มีระดับการแสดงออกของยีน IL-1ß, IL-6, MMP-3 และ VEGF สูงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม ผลการศึกษานี้ทำให้สรุปได้ว่า LINE-1 methylation อาจมีบทบาทสำคัญต่อกระบวนการอักเสบและอาจนำมาใช้เป็นตัวบ่งชี้การดำเนินไปของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม