Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Marine Biology Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Theses/Dissertations

2020

Articles 1 - 5 of 5

Full-Text Articles in Marine Biology

องค์ประกอบทางชีวเคมีและผลของเมือกจากทากทะเล Onchidium Sp. ต่ออัตราการเติบโตของเบนทิคไดอะตอม, กัณพจน์ เตชะวงค์เสถียร Jan 2020

องค์ประกอบทางชีวเคมีและผลของเมือกจากทากทะเล Onchidium Sp. ต่ออัตราการเติบโตของเบนทิคไดอะตอม, กัณพจน์ เตชะวงค์เสถียร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สิ่งมีชีวิตหลายชนิดในทะเลสร้างและหลั่งเมือกเพื่อใช้ในกิจกรรมการดำรงชีวิตและกระบวนการทางสรีระอย่างหลากหลาย เช่น การเคลื่อนที่ การป้องกันตัว และการหาอาหาร กล่าวได้ว่าเมือกมีความสำคัญต่อกิจกรรมการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตหลายชนิด โดยเฉพาะกับมอลลัสก์ เมือกจากมอลลัสก์นอกจากถูกใช้ในกิจกรรมการดำรงชีวิตของตัวมอลลัสก์เองแล้ว ยังมีประโยชน์ต่อสังคมสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศโดยรอบด้วย การศึกษานี้จึงมุ่งเน้นศึกษาองค์ประกอบทางชีวเคมีของเมือกจากทากทะเล Onchidium และผลของเมือกจากทากทะเลต่ออัตราการเติบโตของเบนทิคไดอะตอม เมือกจากทากทะเล Onchidium ถูกเจือจางความเข้มข้นแบ่งเป็น 100% 75% 50% และ 25% ในน้ำทะเลเพื่อศึกษาความเข้มข้นที่เหมาะสมในการเพาะเลี้ยงเบนทิคไดอะตอม นอกจากนี้เมือกจากทากทะเลอีกส่วนถูกบ่มในชุดจำลองน้ำขึ้น-น้ำลงเป็นเวลา 0 1 2 4 และ 8 รอบน้ำขึ้น-น้ำลง ก่อนนำไปเพาะเลี้ยงเบนทิคไดอะตอม 3 ชนิด ได้แก่ Navicula sp., Nitzschia sp., และ Thalassiosira sp. ผลการศึกษาพบว่าองค์ประกอบชีวเคมีของเมือกจากทากทะเล Onchidium มีส่วนประกอบหลักคือ น้ำ (82.5%) และองค์ประกอบอินทรียสารประกอบด้วย โปรตีน (40%) คาร์โบไฮเดรต (13.33%) และไขมัน (0.19%) ผลของเมือกจากทากทะเลต่ออัตราการเจริญเติบโตของเบนทิคไดอะตอมมีความแตกต่างกันในแต่ละสภาพของเมือกและชนิดพันธุ์ของเบนทิคไดอะตอม เมือกที่หลั่งใหม่และเมือกที่เข้มข้นยับยั้งและลดการเติบโตของ Navicula sp. และ Nitzschia sp. ในขณะที่เมือกที่เจือจางและมีอายุมากเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตของเบนทิคไดอะตอมทั้งสองชนิด อย่างไรก็ตามเมือกจากทากทะเลไม่ส่งผลต่ออัตราการเติบโตของ Thalassiosira sp. ในทุกสภาพของเมือก กล่าวได้ว่าทากทะเล Onchidium อาจมีส่วนสำคัญต่อโครงสร้างชุมชนระบบนิเวศชายฝั่งทำหน้าที่เป็น intertidal ecosystem engineer ที่ส่งเสริมการลงเกาะและเจริญเติบโตของชุมชนเบนทิคไดอะตอม


Marine Influence On Chemical Composition Of Aerosol In Thailand, Jariya Kayee Jan 2020

Marine Influence On Chemical Composition Of Aerosol In Thailand, Jariya Kayee

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study was focused on atmospheric aerosols covering aerosols over both continent and ocean. Continent's aerosols were collected from two coastal cities, Bangkok and Chonburi, and one in-land city, Chiangrai. To investigate seasonal variation and air-sea-land influences on chemical composition of aerosols, metals, lead isotope and water-soluble inorganic ions were examined coupled with air mass trajectory analysis. The study was divided into 3 parts. The first part, PM2.5 samples were collected in Bangkok and Chonburi during January 2018 to April 2019. The results revealed the highest PM2.5 concentrations in NE monsoon, and the lowest in SW monsoon. During NE monsoon, …


Variation Of Symbiodiniaceae In Broadcaster Acropora Humilis And Brooder Pocillopora Damicornis Corals, Suppakarn Jandang Jan 2020

Variation Of Symbiodiniaceae In Broadcaster Acropora Humilis And Brooder Pocillopora Damicornis Corals, Suppakarn Jandang

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Reef-building corals sustain a symbiotic relationship with single-cell algae belonging to family Symbiodiniaceae. Symbiotic algae contribute up to 50-95% of the metabolic needs by supplying photosynthetic products to the coral host. Therefore, the symbiosis between corals and Symbiodiniaceae is essential for the development and survival of coral reefs. Over the past years, significant losses and changes in coral reef ecosystems have been caused by anthropogenic activities and natural phenomena. Thus, relevant national organizations have raised awareness regarding the conservation of coral populations. Our Reef Biology Research Group, Department of Marine Science, Chulalongkorn University have been producing corals using a sexual …


การใช้ซูแซนเทลลีในการฟื้นตัวการฟอกขาวของปะการังดอกกะหล่ำ Pocillopora Damicornis ในห้องปฏิบัติการ, กมลพร พัฒนศิริ Jan 2020

การใช้ซูแซนเทลลีในการฟื้นตัวการฟอกขาวของปะการังดอกกะหล่ำ Pocillopora Damicornis ในห้องปฏิบัติการ, กมลพร พัฒนศิริ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว เกิดขึ้นเมื่อสภาวะแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยเฉพาะเมื่ออุณหภูมิน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น และ ความเค็มของน้ำทะเลลดต่ำลง เมื่อเกิดการฟอกขาวปะการังมีการปรับตัวต่อสภาวะนี้แตกต่างกัน และปะการังที่เกิดฟอกขาวบางส่วนสามารถรับซูแซนเทลลีจากมวลน้ำและเกิดการร่วมอาศัยใหม่อีกครั้งเพื่อฟื้นตัวจากการฟอกขาว เพื่อให้ทราบบทบาทของซูแซนเทลลีในการฟื้นตัวของปะการังฟอกขาว การศึกษาครั้งนี้ จึงแบ่งการทดลอง 3 การทดลองหลัก ได้แก่ 1) ผลของอุณหภูมิ (27 30 และ 33 องศาเซลเซียส) และความเค็ม (10 20 และ 30 psu) ต่อการเติบโตของซูแซนเทลลี 2) ผลของอุณหภูมิและความเค็มต่อการฟอกขาวของปะการังดอกกะหล่ำ และ 3) การใช้ซูแซนเทลลีในการฟื้นตัวการฟอกขาวของปะการังดอกกะหล่ำ โดยในการศึกษาครั้งนี้ใช้ปะการังดอกกะหล่ำ Pocillopora damicornis ซึ่งเก็บจาก 3 สถานีบริเวณเกาะแสมสาร ได้แก่ สถานีเขาหมาจอ เกาะปลาหมึก และจุดดำน้ำหาดเทียน และทำการศึกษาในห้องปฏิบัติการ ผลการศึกษาพบว่า เมื่อปะการังอยู่ที่ระดับอุณหภูมิสูง 33 องศาเซลเซียส ภายใต้ระดับความเค็ม 10 psu พบการฟอกขาวสูงถึง 50-90% และพบซูแซนเทลลีหลุดออกมาในมวลน้ำด้วยความเข้มข้นเซลล์มากที่สุด และที่ภายใต้สภาวะเดียวกันนี้ ซูแซนเทลลีไม่สามารถเติบโตได้ เซลล์ส่วนใหญ่ตายในวันที่ 4 ของการทดลอง โดยพบความหนาแน่นน้อยที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มการทดลองอื่น และเซลล์ที่พบในกลุ่มการทดลองนี้มีสีจางลง และสูญเสียรงควัตถุภายในเซลล์อย่างชัดเจนเมื่อเปรียบเทียบกับเซลล์ปกติ ชี้ให้เห็นว่า อุณหภูมิสูง 33 องศาเซลเซียส และความเค็มต่ำ 10 psu ส่งผลต่อการเติบโตของซูแซนเทลลีและการฟอกขาวของปะการัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออยู่ภายใต้สองปัจจัยร่วมกัน และเมื่อให้ซูแซนเทลลีกับปะการังที่ฟอกขาว พบว่า กิ่งปะการังที่ฟอกขาวประมาณ 5% สามารถฟื้นตัวจากการฟอกขาวได้ หากภายหลังฟอกขาวอุณหภูมิค่อยๆลดต่ำลงจนถึงระดับควบคุม


ผลของชนิดและขนาดของไมโครพลาสติกต่อภาวะเครียดจากออกซิเดชันและการเปลี่ยนแปลงทางมิญชวิทยาของหอยแมลงภู่ Perna Viridis, จุฑามาศ โพธาขวัญประชา Jan 2020

ผลของชนิดและขนาดของไมโครพลาสติกต่อภาวะเครียดจากออกซิเดชันและการเปลี่ยนแปลงทางมิญชวิทยาของหอยแมลงภู่ Perna Viridis, จุฑามาศ โพธาขวัญประชา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ไมโครพลาสติก (MPs) คือพลาสติกที่มีขนาดเล็กกว่า 5 มิลลิเมตรพบการสะสมและการถ่ายทอดของไมโคร พลาสติกในสิ่งมีชีวิตหลายชนิดเป็นจำนวนมาก โดยผ่านห่วงโซ่อาหาร การศึกษาในประเทศไทยพบการศึกษาการสะสมของไมโครพลาสติกในสิ่งแวดล้อมและในสิ่งมีชีวิตเท่านั้น ยังไม่มีการศึกษาถึงผลกระทบของไมโครพลาสติกต่อสัตว์น้ำภายใต้ห้องปฏิบัติการ โดยเฉพาะหอยแมลงภู่ (Perna viridis) ที่มีพฤติกรรมการกรองกิน ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงทำการศึกษาผลกระทบของประเภท ขนาดและความเข้มข้นของไมโครพลาสติกจำลองที่มีต่ออัตราการตายและการสะสมภายในเนื้อเยื่อที่จะส่งผลต่อภาวะเครียดจากออกซิเดชันและการเปลี่ยนแปลงทางมิญชวิทยาในหอยแมลงภู่ P. viridis ในการทดลอง ผลกระทบของไมโครพลาสติกต่อหอยแมลงภู่ ที่ระดับความเข้มข้น 66, 333, 666 และ 1333 ชิ้น/ลิตร จำนวน 3 ขนาดได้แก่ ขนาดเล็ก (<30 ไมโครเมตร), ขนาดกลาง (30-300 ไมโครเมตร) และขนาดใหญ่ (300-1000 ไมโครเมตร) ของไมโครพลาสติก 3 ประเภทคือ พอลิสไตรีน (Polystyrene; PS), พอลิโพรพิลีน (Polypropylene; PP) และพอลิบิวทิลีนซัคซิเนต (Polybutylene succinate; PBS) เป็นเวลา 96 ชั่วโมง ผลการศึกษาพบว่าไมโครพลาสติกขนาดกลางและขนาดใหญ่ส่งผลต่ออัตราการตายครึ่งหนึ่งของหอยแมลงภู่มากสุดในไมโครพลาสติกประเภท PS, PP และ PBS ตามลำดับ ในขณะที่การสะสมไมโครพลาสติกขนาดใหญ่พบภายใน soft tissue ของหอยแมลงภู่ P. viridis มากกว่าขนาดกลางและขนาดเล็ก ที่เวลา 96 ชั่วโมงในส่วนของการตอบสนองต่อภาวะเครียดจากออกซิเดชันพบว่ามีการเพิ่มขึ้นของสารต้านอนุมูลอิสระในเนื้อเยื่อบริเวณต่อมย่อยอาหารและมีการเพิ่มขึ้นของกิจกรรมเอนไซม์ Catalase, Peroxidase และสารต้านอนุมูลอิสระ Glutathione content บริเวณต่อมย่อยอาหาร พบแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของกิจกรรมของสารต้านอนุมูลอิสระตามการเพิ่มขึ้นของไมโครพลาสติกเมื่อเทียบกับชุดควบคุม นอกจากนี้การศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางมิญชวิทยาในบริเวณต่อมย่อยอาหารของหอยแมลงภู่ P. viridis พบลักษณะเซลล์ของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและเซลล์ย่อยอาหารในต่อมย่อยอาหารมีความเสียหาย สังเกตความผิดปกติได้ชัดเจนมากขึ้นตามความเข้มข้นของไมโครพลาสติกที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับชุดควบคุม จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าประเภทและขนาดของไมโครพลาสติกเป็นปัจจัยสำคัญต่อการตอบสนองความเป็นพิษในหอยแมลงภู่ ซึ่งอาจส่งผลให้เพิ่มความเสี่ยงในการส่งผ่านห่วงโซ่อาหารในลำดับขั้นที่สูงขึ้น การตรวจสอบผล กระทบของไมโครพลาสติกจึงเป็นข้อมูลเบื้องต้น ในการคาดการณ์ระดับความเข้มข้นที่เป็นอันตรายต่อหอยแมลงภู่ และเป็นข้อมูลพื้นฐานในการสร้างเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำเพื่อนำไปประกอบการประเมินความเสี่ยงของการปนเปื้อนไมโครพลาสติกในสิ่งแวดล้อมและจัดการผลกระทบจากการปนเปื้อนไมโครพลาสติกในหอยต่อสุขภาพของผู้บริโภค