Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Biomedical Engineering and Bioengineering Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

2017

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Articles 1 - 5 of 5

Full-Text Articles in Biomedical Engineering and Bioengineering

การพัฒนาเครื่องพลาสมาเย็นแบบเจ็ตที่ความดันบรรยากาศสำหรับการทำให้เลือดแข็งตัว, ณัฐนพิญช์ จรูญศักดิ์ Jan 2017

การพัฒนาเครื่องพลาสมาเย็นแบบเจ็ตที่ความดันบรรยากาศสำหรับการทำให้เลือดแข็งตัว, ณัฐนพิญช์ จรูญศักดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาเครื่องพลาสมาเย็นแบบเจ็ตที่ความดันบรรยากาศสำหรับการทำให้เลือดแข็งตัวที่ประกอบด้วย 2 ส่วนหลักคือ แหล่งจ่ายไฟฟ้าแรงดันสูงความถี่สูงชนิดกระแสสลับ แบบฟลายแบค (Fly back) ที่ควบคุมการทำงานด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์และพลาสมาโปรบด้วยวัสดุอุปกรณ์ที่หาได้ในประเทศ โดยออกแบบให้สามารถปรับตั้งค่าความถี่และดิวตี้ไซเคิลผ่านระบบไมโครคอนโทรลเลอร์ได้ที่ความถี่ 30 35 และ 40 kHz และเปอร์เซ็นต์ดิวตี้ไซเคิล 30 40 50 และ 70 % ตามลำดับ ส่วนการปรับตั้งค่าของไฟฟ้าแรงดันสูงเป็นการปรับด้วยมือได้ตั้งแต่ 0.1 ถึง 15 kVrms จากผลการทดลองพบว่า แหล่งจ่ายไฟฟ้าแรงดันสูงความถี่สูงชนิดกระแสสลับที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพการทำงานเท่ากับ 74.28 % การศึกษาผลกระทบของตัวแปรต่างๆต่อความยาวและอุณหภูมิของพลาสมาเจ็ต พบว่าค่าไฟฟ้าแรงดันสูง ความถี่ เปอร์เซ็นต์ดิวตี้ไซเคิล และอัตราการไหลของก๊าซอาร์กอน เป็นตัวแปรสำคัญที่ส่งผลต่อความสม่ำเสมอของเปลวพลาสมา ผลการวิเคราะห์คุณสมบัติของพลาสมาด้วยเครื่อง Optical Emission Spectroscopy (OES) พบว่า มีอุณหภูมิของอิเล็กตรอนที่ความถี่ต่างๆและที่อัตราการไหลต่างๆที่มีค่าเท่ากับ 0.43 eV และความหนาแน่นของอิเล็กตรอนของพลาสมาอยู่ในช่วง 5.46x109 – 1.74x1012 cm-3 ซึ่งสามารถระบุได้ว่าพลาสมาแบบเจ็ตที่พัฒนาขึ้นเป็นพลาสมาเย็น จากผลทดสอบการแข็งตัวของเลือดด้วยเครื่องพลาสมาเย็นแบบเจ็ตที่พัฒนาขึ้น พบว่า ที่ระยะห่างระหว่างปลายโปรบกับกระจกสไลด์ 1 เซนติเมตร พลาสมาเย็นแบบเจ็ตที่พัฒนาขึ้นสามารถทำให้เลือดที่ผสมสารต้านการแข็งตัวของเลือด EDTA ปริมาณ 2.5 µL. ให้แข็งตัวภายในเวลาประมาณ 20 วินาที ได้เร็วกว่าเลือดผสมสาร EDTA ที่ไม่ผ่านการฉายด้วยพลาสมาและเลือดผสมสาร EDTA ที่ผ่านการเป่าด้วยก๊าซอาร์กอนที่อัตราการไหลของก๊าซอาร์กอน 5 L/min


Effects Of Curcumin-Loaded Bacterial Cellulose Films On Cancer Cells, Chayut Subtaweesin Jan 2017

Effects Of Curcumin-Loaded Bacterial Cellulose Films On Cancer Cells, Chayut Subtaweesin

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In this study, a curcumin-loaded bacterial cellulose films were developed. Bacterial cellulose films were prepared by culturing Gluconacetobacter xylinus in coconut water-based medium. Curcumin, an active substance found in turmeric (Curcuma longa Linn), was then absorbed into never-dried bacterial cellulose pellicles by immersion in 0.5 and 1.0 mg/ml curcumin solutions, with absolute ethanol as solvent, for 24 hours. The curcumin-loaded bacterial cellulose pellicles were then air-dried. Controlled release of curcumin was achieved in buffer solutions containing Tween 80 and methanol additives, at pH 5.5 and 7.4. Curcumin-loaded bacterial cellulose films prepared with curcumin solutions at concentrations of 0.5 and 1.0 …


Metal Artifact Reduction In Computed Tomography At Head And Neck Region, Sornjarod Oonsiri Jan 2017

Metal Artifact Reduction In Computed Tomography At Head And Neck Region, Sornjarod Oonsiri

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The common streak artifacts in computed tomographic images result from the metal implant in patients. Such the artifacts could suppress proper diagnosis or misdiagnosis in computed tomographic images. The purpose of this study is to develop the method for metal artifact reduction using MATLAB software and implement in both phantom and patients for head and neck computed tomographic imaging. The new algorithm of metal artifact reduction in computed tomographic images had been developed using MATLAB software. The homogeneous phantom, Alderson Rando phantom, and patients with a metal implant in the head and neck region had been scanned by Philips Brilliance …


อิทธิพลของสารลดแรงตึงผิวชนิดประจุลบต่อการเกิดเจลของไฟโบรอินไหมไทยและการประยุกต์ใช้ในการควบคุมการปลดปล่อยเคอร์คูมิน, ณัฐกานต์ จันทร์ทอง Jan 2017

อิทธิพลของสารลดแรงตึงผิวชนิดประจุลบต่อการเกิดเจลของไฟโบรอินไหมไทยและการประยุกต์ใช้ในการควบคุมการปลดปล่อยเคอร์คูมิน, ณัฐกานต์ จันทร์ทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาไฮโดรเจลไฟโบรอินไหมไทย (SF) ที่ถูกกระตุ้นด้วยการเติมสารลดแรงตึงผิวประเภทประจุลบชนิดต่างๆ เพื่อประยุกต์ใช้ในการควบคุมการปลดปล่อยเคอร์คูมินและใช้เป็นเจลทากระตุ้นการหายของแผล โดยได้ทำการศึกษาอิทธิพลของสารลดแรงตึงผิวประเภทประจุลบชนิดต่างๆ ได้แก่ sodium octyl sulfate (SOS), sodium dodecyl sulfate (SDS) และ sodium tetradecyl sulfate (STS) ซึ่งมีสูตรโครงสร้างเคมีคล้ายกัน แต่มีความยาวของสายอัลคิลแตกต่างกัน ต่อพฤติกรรมการเกิดเจลไฟโบรอินไหมไทย พบว่าสารลดแรงตึงผิวประเภทประจุลบทั้ง 3 ชนิด สามารถเร่งการเกิดเจล ณ อุณหภูมิ 37oC, pH 7.4 ได้ในช่วงระยะเวลา 14 นาที ถึง 144 ชั่วโมง ขึ้นกับชนิดและความเข้มข้นของสารลดแรงตึงผิว กลไกการเกิดเจลดังกล่าวเป็นการเกิดร่วมกันระหว่างอันตรกิริยาของส่วนที่ไม่ชอบน้ำ อัตรากิริยาของไฟฟ้าสถิตระหว่างโมเลกุลของไฟโบรอินไหมไทยและโมเลกุลของสารลดแรงตึงผิวและการเกิดเจลตามธรรมชาติของไฟโบรอินไหมไทยโดยกลไกดังกล่าวจะกระตุ้นการเกิดโครงสร้างทุติยภูมิชนิด β-sheet ซึ่งมีเสถียรภาพและผันกลับไม่ได้ งานวิจัยนี้ พบว่า ไฮโดรเจลไฟโบรอินไหมไทยที่กระตุ้นด้วย STS 0.09% โดยน้ำหนัก มีระยะเวลาการเกิดเจลรวดเร็ว (20 นาที) เจลมีความคงตัวสูง อัตราการย่อยสลายช้า และสามารถปลดปล่อยเคอร์คูมินได้เนิ่นนาน นอกจากนี้ยังไม่เป็นพิษต่อเซลล์ผิวหนังของหนู เมื่อทดสอบในระดับห้องปฏิบัติการตามมาตรฐาน ISO 10993 part 5 และเมื่อทดสอบประสิทธิภาพของไฮโดรเจลในการยับยั้งการอักเสบและกระตุ้นการหายของแผลชนิดสูญเสียทั้งชั้นในหนูทดลองพบว่า ไฮโดรเจลไฟโบรอินไหมไทยที่ไม่บรรจุและบรรจุเคอร์คูมินสามารถยับยั้งการอักเสบของแผลได้ในช่วง 3 วันแรกของการรักษา และเร่งการหายของแผลโดยการกระตุ้นการสร้างเซลล์เยื่อบุผิวได้ดีเทียบเท่ากับแผลกลุ่มที่รักษาด้วยไฟบรินเจล อันเนื่องมาจากไฟโบรอินไหมมีความเข้ากันได้กับเนื้อเยื่อ และมีอัตราการย่อยสลายที่เหมาะสม ส่วนเคอร์คูมินมีฤทธิ์ในการยับยั้งการอักเสบ จึงสรุปได้ว่า ไฮโดรเจลไฟโบรอินไหมไทยนี้มีประสิทธิภาพในการควบคุมการปลดปล่อยเคอร์คูมินและการกระตุ้นการหายของแผล


การพัฒนาอนุภาคทรงกลมขนาดไมครอนสำหรับนำส่งสารสกัดชาเขียวเพื่อรักษาโรคข้อเสื่อม, ปภาวี ลิขิตเดชาโรจน์ Jan 2017

การพัฒนาอนุภาคทรงกลมขนาดไมครอนสำหรับนำส่งสารสกัดชาเขียวเพื่อรักษาโรคข้อเสื่อม, ปภาวี ลิขิตเดชาโรจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาอนุภาคทรงกลมขนาดไมครอนจากเจลาตินเพื่อนำส่งสารสกัดชาเขียว Epigallocatechin 3-gallate (EGCG) ร่วมกับกรดไฮยาลูรอนิคสำหรับรักษาโรคข้อเสื่อม โดยได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบสมบัติทางเคมี และกายภาพของเจลาติน 4 ชนิดได้แก่ เจลาตินชนิดเอ (GA) เจลาตินชนิดบี (GB) เจลาตินชนิดเอที่ดัดแปรด้วยเอธิลีนไดเอมีน (GE) และเจลาตินชนิดบีที่ดัดแปรด้วยซัคซินิคแอนไฮไดร์ด (GS) พบว่า GE มีปริมาณหมู่อะมิโนอิสระเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ GA ซึ่งเป็นเจลาตินตั้งต้นเนื่องมาจากการคอนจูเกตเอธิลีนไดเอมีนเข้าไปในโครงสร้าง และส่งผลมีค่าศักย์เซต้าเป็นบวกมากขึ้นและมีความชอบน้ำสูง ในขณะที่ GS มีปริมาณหมู่อะมิโนอิสระลดลงเมื่อเทียบกับ GB ซึ่งเป็นเจลาตินตั้งต้นเนื่องจากหมู่อะมิโนอิสระถูกใช้ไปในการคอนจูเกตซัคซินิคแอนไฮไดร์ด อย่างไรก็ตาม ผลสเปกตรัมจากการวิเคราะห์ Fourier-transform infrared spectroscopy ยืนยันการปรากฏของหมู่ฟังก์ชั่นที่แสดงคุณลักษณะเฉพาะของโปรตีนในเจลาตินทั้ง 4 ชนิด เจลาตินทั้ง 4 ชนิดถูกนำมาขึ้นรูปเป็นอนุภาคทรงกลมขนาดไมครอนด้วยเทคนิคอิมัลชั่นชนิดน้ำในน้ำมัน และเชื่อมขวางด้วยความร้อน หรือด้วยสารละลายกลูตารัลดีไฮด์ อนุภาคทรงกลมขนาดไมครอนเจลาตินที่ได้มีขนาดอยู่ในช่วง 43-49 ไมครอน ซึ่งมีความเหมาะสมสำหรับนำไปใช้ฉีดผ่านเข็มฉีดยาได้โดยไม่อุดตัน เมื่อเปรียบเทียบวิธีการเชื่อมขวาง พบว่าอนุภาคที่เชื่อมขวางด้วยสารละลายกลูตารัลดีไฮด์มีความคงตัวมากกว่าอนุภาคที่เชื่อมขวางด้วยความร้อนโดยประเมินจากอัตราส่วนการบวมน้ำและการละลายน้ำของอนุภาค อนุภาคทรงกลมขนาดไมครอน GE ที่เชื่อมขวางด้วยสารละลายกลูตารัลดีไฮด์มีร้อยละการเชื่อมขวางสูงที่สุด เนื่องจากมีหมู่อะมิโนอิสระจำนวนมากสำหรับการเกิดปฏิกิริยาเชื่อมขวางกับหมู่อัลดีไฮด์ของกลูตารัลดีไฮด์ และเมื่อทดสอบอัตราการย่อยสลายทางชีวภาพในระดับห้องปฏิบัติการในสภาวะจำลองร่างกายที่ไม่มีและมีเอนไซม์คอลลาจีเนส พบว่าอนุภาคทรงกลมขนาดไมครอน GE มีอัตราการย่อยสลายช้าที่สุด อนุภาคทรงกลมขนาดไมครอนเจลาตินทั้ง 4 ชนิดไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์ผิวหนังของหนูเมื่อทดสอบในระดับห้องปฏิบัติการตามมาตรฐาน ISO 10993 part 5 และเมื่อนำอนุภาคทรงกลมขนาดไมครอนเจลาตินทั้ง 4 ชนิดไปดูดซับสารสกัดชาเขียว EGCG และทดสอบอัตราเร็วในการปลดปล่อยสาร EGCG ในสภาวะจำลองร่างกายที่ไม่มีและมีเอนไซม์คอลลาจีเนส พบว่าอนุภาค GE สามารถปลดปล่อยสาร EGCG ได้อย่างคงที่และเนิ่นนานที่สุดในทั้ง 2 สภาวะ โดยการปลดปล่อยควบคุมด้วยกลไกการแพร่ของสาร EGCG จากอนุภาคเป็นหลัก ในขณะที่อนุภาค GA GB และ GS ปลดปล่อยสาร EGCG ด้วยกลไกการแพร่และการบวมน้ำหรือการย่อยสลายของอนุภาค จากผลการศึกษา สรุปได้ว่าอนุภาคทรงกลมขนาดไมครอน GE มีประสิทธิภาพเหมาะสมสำหรับการควบคุมการปลดปล่อยสาร EGCG ได้เนิ่นนาน อนุภาคทรงกลมขนาดไมครอน GE ที่กักเก็บสาร EGCG นี้ได้ถูกนำไปผสมกับสารละลายกรดไฮยาลูรอนิคเพื่อเตรียมเป็นยาฉีดสำหรับรักษาโรคข้อเสื่อมในสุนัขต่อไป โดยผู้วิจัยคาดหวังว่ายาฉีดที่พัฒนาขึ้นนี้จะมีประสิทธิภาพในการรักษาโรคข้อเสื่อมได้ดีขึ้น เนื่องจากการออกฤทธิ์ร่วมกันของสารสกัดชาเขียว …