Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Engineering Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Theses/Dissertations

2019

Discipline
Institution
Keyword
Publication
File Type

Articles 3661 - 3690 of 4424

Full-Text Articles in Engineering

เครื่องมือประเมินความสามารถในการใช้งานเชิงฮิวริสติกสำหรับแอปพลิเคชันแอนดรอยด์เพื่อเด็กอายุ 6 – 12 ปี, ณัฏฐิกา ศรีเกียรติวงศ์ Jan 2019

เครื่องมือประเมินความสามารถในการใช้งานเชิงฮิวริสติกสำหรับแอปพลิเคชันแอนดรอยด์เพื่อเด็กอายุ 6 – 12 ปี, ณัฏฐิกา ศรีเกียรติวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การออกแบบโมไบล์แอปพลิเคชันสำหรับเด็กนั้นมีความแตกต่างจากการออกแบบโมไบล์แอปพลิเคชันสำหรับผู้ใช้งานที่เป็นผู้ใหญ่เนื่องจากเด็กมีพฤติกรรมและพัฒนาการที่ต่างกับผู้ใหญ่ และยังต้องคำนึงถึงประสบการณ์ของผู้ใช้และความสามารถในการใช้งานอีกด้วย การประเมินเชิงฮิวริสติกเป็นวิธีการประเมินความสามารถในการใช้งานส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ที่ได้รับความนิยม โดยให้ผู้เชี่ยวชาญด้านความสามารถในการใช้งานทำการเปรียบเทียบการออกแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้กับแนวทางการออกแบบหรือฮิวริสติกว่ามีความขัดแย้งกับแนวทางการออกแบบแต่ละข้อหรือไม่ แต่เนื่องจากแนวทางการออกแบบมีเป็นจำนวนมากจึงทำให้เป็นภาระในการประเมิน ทำให้บ่อยครั้งเกิดการตรวจพบข้อผิดพลาดได้ไม่ครบถ้วน จึงทำให้การประเมินเชิงฮิวริสติกมีประสิทธิภาพไม่ดีนัก งานวิจัยนี้ได้ทำการรวบรวมและปรับปรุงแนวทางการออกแบบความสามารถในการใช้งานเชิงฮิวริสติกสำหรับโมไบล์แอปพลิเคชันเพื่อเด็กอายุ 6–12 ปี มาจากหลายแหล่ง แล้วนำไปประเมินความเหมาะสมโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้สำหรับโมไบล์แอปพลิเคชัน แนวทางการออกแบบที่ได้จะแบ่งออกเป็น 12 หมวด รวมทั้งหมด 94 รายการ จากนั้นได้ทำการพัฒนาเครื่องมือประเมินความสามารถในการใช้งาน ซึ่งสามารถประเมินจากรหัสต้นฉบับของแอปพลิเคชันแอนดรอยด์ตามแนวทางการออกแบบเฉพาะในส่วนที่สามารถตรวจสอบได้อย่างอัตโนมัติจำนวน 25 รายการ เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของผู้ประเมินในการประเมินความสามารถในการใช้งานส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ จากการทดสอบการประเมินความสามารถในการใช้งานของ 5 แอปพลิเคชันสำหรับเด็กบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ตามรายการประเมิน 25 รายการที่สามารถตรวจสอบได้อย่างอัตโนมัติพบว่า เครื่องมือสามารถตรวจหาข้อผิดพลาดในการออกแบบที่ผู้ประเมินทั้งที่เป็นผู้มีประสบการณ์ด้านการออกแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้และที่เป็นนักพัฒนาแอปพลิเคชันไม่สามารถตรวจพบได้ ในขณะที่เครื่องมือเองยังมีข้อจำกัดที่ทำให้ตรวจไม่พบข้อผิดพลาดที่ผู้ประเมินตรวจพบได้เช่นกัน ถึงอย่างนั้นก็ตามค่าเฉลี่ยของจำนวนจุดที่พบข้อผิดพลาดในการออกแบบเมื่อประเมินด้วยเครื่องมือมีค่ามากกว่าค่าเฉลี่ยของผู้ประเมินทั้งสองกลุ่มที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และจากการทดสอบประสิทธิภาพด้านเวลายังพบว่า เครื่องมือสามารถช่วยลดเวลาในการประเมินได้อีกด้วย


การประมาณค่าปริมาณไอน้ำในบรรยากาศในทันทีด้วยการประมวลผลข้อมูลจีเอ็นเอสเอส แบบจุดเดี่ยวความละเอียดสูงในประเทศไทย, ชัยยุทธ เจริญผล Jan 2019

การประมาณค่าปริมาณไอน้ำในบรรยากาศในทันทีด้วยการประมวลผลข้อมูลจีเอ็นเอสเอส แบบจุดเดี่ยวความละเอียดสูงในประเทศไทย, ชัยยุทธ เจริญผล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงคเพื่อศึกษากระบวนการและเทคนิคการประมวลผลแบบ PPP (Precise Point Positioning) เพื่อประมาณค่าปริมาณไอน้ำในบรรยากาศ หรือ PWV (Precipitable Water Vapor) แบบทันที (Real-Time) ที่มีความถูกต้องเพียงพอสำหรับการประยุกต์ใช้ในแบบจำลองการพยากรณ์อากาศเชิงเลขและการพยากรณ์อากาศระยะสั้น (Weather Nowcasting) ด้วยซอฟต์แวร์ BNC (Federal Agency of Cartography and Geodesy (BKG) NTRIP Client) ซึ่งได้ถูกปรับปรุงเพื่อเพิ่มความถูกต้องในการประมวลผลข้อมูล GNSS ประกอบไปด้วย การปรับปรุงแบบจำลองและค่าความแปรปรวนของสัญญาณรบกวนให้เหมาะสมในกระบวนการประมาณค่าคลาดเคลื่อนเนื่องจากชั้นบรรยากาศโทรโพสเฟียร์ และพัฒนาฟังก์ชั่นปรับแก้ค่าคลาดเคลื่อนเนื่องจากแรงมหาสมุทร โดยจะประมวลผลร่วมกับค่าแก้วงโคจรและนาฬิกาดาวเทียมแบบทันที ผลการศึกษาพบว่าค่าคลาดเคลื่อนทางดิ่งที่เกิดจากชั้นบรรยากาศโทรโพสเฟียร์ หรือ ZTD (Zenith Tropospheric Delay) แบบทันทีมีค่า RMSE ของค่าต่าง ZTD ระหว่างค่าที่ได้จากการประมวลผลข้อมูล GNSS เปรียบเทียบกับค่าอ้างอิงที่ได้จาก CSRS (Canadian Spatial Reference System PPP tool) มีค่าน้อยกว่า 15 มม. ซึ่งมีค่าอยู่ในเกณฑ์ความถูกต้องที่เพียงพอต่อการนำใช้งานในแบบจำลอง NWP และการแปลงค่า ZTD เป็นค่า PWV แบบทันทีด้วยแบบจำลองความดันและอุณหภูมิท้องถิ่นที่พัฒนาขึ้นในงานศึกษาวิจัยพบว่าค่า RMSE ของ PWV เปรียบเทียบกับชุดข้อมูล ERA5 (European Centre for Medium-Range Weather Forecasts (ECMWF) Re-Analysis) เฉลี่ยทุกสถานีมีค่าน้อยกว่า 3 มม. ซึ่งมีค่าความถูกต้องอยู่ในเกณฑ์ที่เพียงพอสำหรับนำไปใช้ในแบบจำลองพยากรณ์อากาศเชิงเลขสำหรับการพยากรณ์อากาศระยะสั้น


การปรับปรุงแบบจำลองสโตคาสติคสำหรับการรังวัดดาวเทียมจีเอ็นเอสเอสด้วยโครงข่ายสถานีฐานวีอาร์เอส, ธเนศ จงรุจินันท์ Jan 2019

การปรับปรุงแบบจำลองสโตคาสติคสำหรับการรังวัดดาวเทียมจีเอ็นเอสเอสด้วยโครงข่ายสถานีฐานวีอาร์เอส, ธเนศ จงรุจินันท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

หลักการของการรังวัดดาวเทียมจีเอ็นเอสเอสด้วยโครงข่ายสถานีฐานวีอาร์เอสคือการนำข้อมูลการรับสัญญาณโดยสถานีฐานหลายสถานีมาประมวลผลร่วมกันเพื่อคำนวณค่าแก้ที่อยู่ในรูปแบบของสถานีฐานวีอาร์เอส การพัฒนาวิธีการแบบใหม่ได้มุ่งเน้นไปที่แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ในการลดค่าคลาดเคลื่อนที่ขึ้นกับระยะทางเพื่อที่จะได้ค่าการวัดของสถานีฐานวีอาร์เอสที่มีความถูกต้องสูง อย่างไรก็ตามเป็นการยากที่แบบจำลองทางคณิตศาสตร์จะลดค่าคลาดเคลื่อนประเภทนี้ได้โดยสมบูรณ์เป็นผลให้ยังคงมีค่าคลาดเคลื่อนหลงเหลืออยู่ในค่าการวัดของสถานีฐานวีอาร์เอส งานวิจัยนี้ได้เสนอการปรับปรุงแบบจำลองสโตคาสติค 2 แนวทางและได้ประเมินประสิทธิภาพโดยเปรียบเทียบกับแบบจำลองสโตคาสติคที่ใช้ในมาตรฐานทั่วไป แนวทางที่หนึ่ง แบบจำลองสโตคาสติค MINQUE เป็นวิธีการทางสถิติที่มีการประมาณค่าสมาชิกแต่ละตัวของเมทริกซ์ความแปรปรวนร่วมได้อย่างครบถ้วน อย่างไรก็ตามจะต้องใช้ epoch จำนวนมากพอในการหาคำตอบ ผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่าแบบจำลองสโตคาสติค MINQUE เพิ่มความถูกต้องเชิงตำแหน่งทางราบประมาณ 5% (0.7 มิลลิเมตร) และทางดิ่ง 6% (0.9 มิลลิเมตร) ค่า F-ratio ที่มากกว่าแสดงถึงความน่าเชื่อถือของเลขปริศนาที่เพิ่มขึ้น แนวทางที่สอง คือการใช้แบบจำลองสโตคาสติค RIU ซึ่งเป็นการให้น้ำหนักค่าสังเกตตามค่าเศษเหลือของการประมาณค่าภายในช่วง วิธีนี้ใช้ข้อมูล 1 epoch ในการคำนวณเมทริกซ์ความแปรปรวนร่วม ผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่าแบบจำลองสโตคาสติค RIU เพิ่มความถูกต้องเชิงตำแหน่งทางราบประมาณ 4% (0.7 มิลลิเมตร) และทางดิ่ง 1% (0.4 มิลลิเมตร) และสามารถเพิ่มอัตราความสำเร็จของการหาเลขปริศนาจาก 86% เป็น 95%


การคำนวณหาดัชนีความแห้งแล้งและพืชพรรณจากอุณหภูมิพื้นผิวของข้อมูลดาวเทียมแลนด์แซท 8 และเปรียบเทียบกับผลผลิตข้าวในจังหวัดอุบลราชธานี, ธีรภัทร์ ถิระพล Jan 2019

การคำนวณหาดัชนีความแห้งแล้งและพืชพรรณจากอุณหภูมิพื้นผิวของข้อมูลดาวเทียมแลนด์แซท 8 และเปรียบเทียบกับผลผลิตข้าวในจังหวัดอุบลราชธานี, ธีรภัทร์ ถิระพล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความแห้งแล้งเป็นปัญหาที่สำคัญต่อเกษตรกรรมของประเทศไทย เมื่อความแห้งแล้งเกิดขึ้นรุนแรงทำให้ผลผลิตของพืชผลทางการเกษตรเสียหายมากขึ้นด้วย ดังนั้นปัญหานี้ควรได้รับการติดตาม วางแผน และแก้ไขอย่างใกล้ชิด งานวิจัยนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อคำนวณหาดัชนีความแห้งแล้ง อุณหภูมิพื้นผิว และหาความสัมพันธ์กับผลผลิตข้าว โดยใช้ข้อมูลจากภาพถ่ายจากดาวเทียม Landsat 8 ระบบ OLI และ TIRS ที่ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีในปี พ.ศ. 2556 - 2561 นำมาคำนวณหาค่าอุณหภูมิพื้นผิว (LST) ด้วยวิธี Radiative Transfer Equation-Based Method (RTE) และคำนวณหาดัชนีที่เกี่ยวข้องกับความแห้งแล้งคือ ดัชนีผลต่างความแห้งแล้ง (NDDI) และดัชนีความสมบูรณ์พืชพรรณ (VHI) จากนั้นนำมาหาความสัมพันธ์กับผลผลิตข้าว ซึ่งผลที่ได้พบว่า ดัชนีความแห้งแล้งและอุณหภูมิพื้นผิว ที่คำนวณได้สอดคล้องกับสภาพภูมิอากาศของพื้นที่และรายงานของหน่วยงานราชการ ผลการหาความสัมพันธ์พบว่าเมื่ออุณหภูมิพื้นผิวมีค่าสูงขึ้นทำให้ผลผลิตข้าวน้อยลง ในทางตรงกันข้าม เมื่ออุณหภูมิพื้นผิวมีค่าต่ำลงผลผลิตข้าวก็มากขึ้นเช่นกัน ส่วนดัชนีความสมบูรณ์พืชพรรณและดัชนีผลต่างความแห้งแล้งมีแนวโน้มไปในทิศทางเดียวกับผลผลิตข้าวคือ เมื่อดัชนีทั้งสองมีค่าต่ำลงผลผลิตข้าวก็ต่ำลงและเมื่อดัชนีทั้งสองมีค่าสูงขึ้นผลผลิตข้าวมากขึ้น


การประเมินประสิทธิภาพของการรังวัดดาวเทียมจากโครงข่ายแบบจลน์ในทันทีในประเทศไทย : กรณีศึกษาการกระจายตัวของจุดทดสอบ, นิทัศพงษ์ นิวาศานนท์ Jan 2019

การประเมินประสิทธิภาพของการรังวัดดาวเทียมจากโครงข่ายแบบจลน์ในทันทีในประเทศไทย : กรณีศึกษาการกระจายตัวของจุดทดสอบ, นิทัศพงษ์ นิวาศานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สถานีอ้างอิงพิกัดแบบรับสัญญาณต่อเนื่องถาวร (Continuously Operating Reference Station : CORS) ติดตั้งขึ้นเพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านการกำหนดพิกัดแบบจลน์ในเวลาจริงในรูปแบบโครงข่าย (Network – based Real Time Kinematic, NRTK) สำหรับประเทศไทย กรมที่ดินประยุกต์ใช้และดำเนินการเป็นรูปแบบของโครงข่าย RTK ด้วยสถานีอ้างอิงเสมือน (Virtual Reference Station, VRS) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 เป็นต้นมา ระบบ NRTK ประกอบด้วย CORS จำนวน 114 สถานี ครอบคลุมทุกภูมิภาคของประเทศไทย โดยมีระยะห่างระหว่างสถานี ตั้งแต่ 25 กิโลเมตร จนถึง 200 กิโลเมตร โดยประมาณ มี (ค่าเฉลี่ยของระยะห่างระหว่างสถานี คือ 80 กิโลเมตร) ส่งผลให้ระยะห่างระหว่าง CORS ที่ประกอบกันเป็นโครงข่ายสามเหลี่ยม (ลูป) มีขนาดที่แตกต่างกันออกไปตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ งานวิจัยนี้มีเป้าประสงค์เพื่อทดสอบความถูกต้องของค่าพิกัดทางราบในแนวกันชน (Buffer line) ที่แตกต่างกัน โดยการรังวัดด้วยโครงข่ายดาวเทียมแบบจลน์ด้วยวิธี VRS เปรียบเทียบกับวิธีสถิต (Static survey) แบบสัมพัทธ์ ที่อยู่ใกล้กับ CORS ในตำแหน่งเดียวกัน โดยมีหมุดทดสอบจำนวน 2,122 หมุด อยู่ภายในลูปของ CORS การแบ่งระยะแนวกันชนจาก CORS ออกเป็น 4 ระยะได้แก่ 15, 30, 45 และมากกว่า 45 กิโลเมตร ผลจากการศึกษาพบว่า รากที่สองของค่าคลาดเคลื่อนเฉลี่ย (Root Mean Square Error, RMSE) ของหมุดทดสอบที่อยู่ในแนวกันชนของแต่ละระยะ มีค่า RMSE ทางราบ 0.026 , 0.036 , 0.037 และ 0.039 …


การพัฒนากระบวนการเมมเบรนแบบผสมผสาน (ฟอร์เวิร์ดออสโมซิส และเมมเบรนชนิดนาโนฟิลเตรชัน) เพื่อการปรับปรุงคุณภาพน้ำบาดาลสำหรับใช้ในอุตสาหกรรม, เอื้ออนุช ศรีน้อย Jan 2019

การพัฒนากระบวนการเมมเบรนแบบผสมผสาน (ฟอร์เวิร์ดออสโมซิส และเมมเบรนชนิดนาโนฟิลเตรชัน) เพื่อการปรับปรุงคุณภาพน้ำบาดาลสำหรับใช้ในอุตสาหกรรม, เอื้ออนุช ศรีน้อย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัญหาในการนำน้ำบาดาลมาใช้คือ ความกระด้างของน้ำ ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดตระกรันในระบบ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการกำจัดความกระด้างด้วยกระบวนการเมมเบรนผสมผสาน(ฟอร์เวิร์ดออสโมซิส-อัลตราฟิลเตรชัน/นาโนฟิลเตรชัน) โดยทดลองกับน้ำบาดาลสังเคราะห์ สารดึงที่ถูกนำมาใช้ในกระบวนการฟอร์เวิร์ดออสโมซิสได้แก่ 1) โซเดียมคลอไรด์ 2) แมกนีเซียมซัลเฟต และ 3) อีดีทีเอ ซึ่งพารามิเตอร์ที่พิจารณาในกระบวนการนี้คือ ค่าฟลักซ์ของสารดึงหลังผ่านกระบวนการ ผลการศึกษาพบว่าสารดึงทั้ง 3 ชนิดมีความดันออสโมติกมากกว่าน้ำบาดาล โดยสารละลายโซเดียมคลอไรด์ และแมกนีเซียมซัลเฟตที่ความเข้มข้น 0.6 โมลต่อลิตร ให้ค่าฟลักซ์เท่ากับเท่ากับ 5.74 และ 4.82 ลิตรต่อตารางเมตร ชั่วโมง ในการเลือกใช้สารดึงจำเป็นต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมของกระบวนการที่ใช้ฟื้นฟูสภาพด้วย ซึ่งในงานวิจัยนี้ได้เลือกใช้กระบวนการนาโนฟิลเตรชันในการฟื้นฟูสภาพสารดึง เนื่องจากมีเปอร์เซ็นต์การกำจัดที่สูงกว่าอัลตราฟิลเตรชัน และจากการออกแบบการทดลองด้วยโปรแกรม Minitab พบว่าสารสะลายแมกนีเซียมซัลเฟตให้ฟลักซ์ที่สูงที่สุด นอกจากนี้คุณภาพน้ำที่ได้จากกระบวนการนาโนฟิลเตรชันมีความกระด้างและซิลิกาผ่านเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำสำหรับระบบหล่อเย็นของ Japanese Refigeration and Air Conditioning Industry Association (JRA)


ผังการไหลและวัฏจักรชีวิตของการจัดการกรดซัลฟิวริกจากแบตเตอรี่ชนิดตะกั่ว-กรด, กนกพร อินแตง Jan 2019

ผังการไหลและวัฏจักรชีวิตของการจัดการกรดซัลฟิวริกจากแบตเตอรี่ชนิดตะกั่ว-กรด, กนกพร อินแตง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ประเทศไทยในปี พ.ศ. 2558-2560 มีปริมาณแบตเตอรี่ใช้แล้วชนิดตะกั่ว-กรดคิดเป็นร้อยละ 88 จากแบตเตอรี่ใช้แล้วทั้งหมด ซึ่งองค์ประกอบหลักอย่างตะกั่ว และ พลาสติกมีการรีไซเคิลอย่างเป็นระบบ แต่กรดซัลฟิวริกในแบตเตอรี่นั้น มักถูกจัดการโดยการปล่อยผสมรวมกับน้ำเสียของโรงงานหรือปรับสภาพแล้วแยกตะกอนที่เกิดขึ้นไปฝังกลบ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงเปรียบเทียบแนวทางการจัดการกรดซัลฟิวริกใช้แล้วจากแบตเตอรี่ตะกั่ว-กรด ผลการศึกษาพบว่าปริมาณของแบตเตอรี่ตะกั่ว-กรดและปริมาณกรดซัลฟิวริกในประเทศไทยด้วยการสร้างแผนผังการไหล พบว่ามีการส่งออกแบตเตอรี่มากกว่าการนำเข้า และ ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาแบตเตอรี่ตะกั่ว-กรดใช้แล้วมีแนวโน้มถูกจัดการอย่างถูกต้องที่เพิ่มขึ้น การตกผลึกยิปซัมด้วยการเติมแคลเซียมไฮดรอกไซด์ พบว่าปริมาณตะกอนแคลเซียมซัลเฟตที่เกิดขึ้นแปรผันตามค่าพีเอชสุดท้ายของสารละลายตะกอนที่ได้ส่วนใหญ่เป็นยิปซัมในระบบผลึกเป็นโมโนคลินิก เมื่อเพิ่มความเข้มข้นของกรด ผลึกรูปแผ่นมีขนาดและมีอัตราส่วนความยาวต่อความกว้างลดลง ขณะที่ผลึกรูปแท่งและรูปเข็มมีความยาวและปริมาณเพิ่มขึ้นและ การตกตะกอนแคลเซียมซัลเฟตจากกรดซัลฟิวริกใช้แล้วจากแบตเตอรี่ ด้วยแคลเซียมไฮดรอกไซด์ร้อยละ10 พบว่าโลหะที่เจือปน เช่น แมกนีเซียม มีผลทำให้ขนาดของผลึกเล็กลงเมื่อเทียบกับผลึกยิปซัมจากธรรมชาติ ตะกอนที่ได้เป็นยิปซัมในระบบผลึกเป็นโมโนคลินิกและ เกิดขึ้นรูปแท่งเพียงอย่างเดียวในการเปรียบเทียบผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมของการจัดการกรดซัลฟิวริกใช้แล้ว1ตัน ทั้ง 3 วิธี ได้แก่ การฟื้นฟูสภาพเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่การปรับสภาพให้เป็นกลาง และ การผลิตเป็นยิปซัมในโปรแกรม SimaPro 8.3 และ ใช้วิธีการคำนวณผลกระทบ CML-IA baseline พบว่าผลกระทบหลักของทั้ง 3 วิธี คือ ด้านการก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อมนุษย์ ด้านการก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อแหล่งน้ำจืด และ ด้านการก่อให้เกิดสภาวะความเป็นกรด โดยสาเหตุหลักของแต่ละวิธีมาจากการใช้ไฟฟ้า ตะกอนไปหลุมฝังกลบ และ น้ำเสีย ตามลำดับ


การทำปุ๋ยหมักจากเศษใบจามจุรีกับเศษผักผลไม้ด้วยระบบภาชนะปิดขนาดเล็ก, ไพฑูรย์ พัชรบำรุง Jan 2019

การทำปุ๋ยหมักจากเศษใบจามจุรีกับเศษผักผลไม้ด้วยระบบภาชนะปิดขนาดเล็ก, ไพฑูรย์ พัชรบำรุง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ได้ทำการทดลองทำปุ๋ยหมักระบบภาชนะปิดแบบใช้อากาศขนาดห้องปฏิบัติการที่ขนาด 1.25 ลิตร ด้วยของเสียอินทรีย์ภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แก่ เศษผักผลไม้ (VFW) เศษใบจามจุรี (LW) และเศษกิ่งไม้ (WW) ร่วมกับปุ๋ยหมักสมบูรณ์ (MC) จากการทำปุ๋ยหมักภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยแบ่งชุดการทดลองออกเป็น 4 ชุดที่ซึ่งมีการเติมอากาศที่แตกต่างกัน ได้แก่ ชุดการทดลอง A ซึ่งไม่มีจำนวนรอบในการเติมอากาศ ชุดการทดลอง B ซึ่งมีจำนวนรอบในการเติมอากาศ 8 รอบต่อวัน ชุดการทดลอง C ซึ่งมีจำนวนรอบในการเติมอากาศ 4 รอบต่อวันและชุดการทดลอง D ซึ่งมีจำนวนรอบในการเติมอากาศ 2 รอบต่อวัน และ 5 อัตราส่วนวัตถุดิบที่แตกต่างกัน ได้แก่ การทดลองอัตราส่วนที่ 1 ซึ่งมี VFW เป็นหลัก การทดลองอัตราส่วนที่ 2 ซึ่งมี LW เป็นหลัก การทดลองอัตราส่วนที่ 3 ซึ่งมี WW เป็นหลัก การทดลองอัตราส่วนที่ 4 ซึ่งมี VFW และ LW ในปริมาตรเท่ากันและการทดลองอัตราส่วนที่ 5 ซึ่งมี VFW LW และ WW ในปริมาตรเท่ากัน รวมทั้งสิ้น 20 การทดลอง ภายในระยะเวลา 20 วัน และใช้เกณฑ์คุณภาพเบื้องต้น เกณฑ์คุณภาพและการสูญเสียน้ำหนักในการวัดคุณภาพของปุ๋ยหมัก ผลการทดลองพบว่า การทดลองที่ 4 และชุดการทดลอง B มีผลทำให้ปุ๋ยหมักจากการทดลองผ่านเกณฑ์คุณภาพเบื้องต้นครบทุกตัวแปรมากที่สุด การทดลองที่ 4 และชุดการทดลอง A มีผลทำให้ปุ๋ยหมักจากการทดลองผ่านเกณฑ์คุณภาพมากที่สุด และส่วนการทดลองที่ 1 และชุดการทดลอง A มีผลทำให้ปุ๋ยหมักจากการทดลองมีการสูญเสียน้ำหนักมากที่สุด สรุปผลการทดลองได้ว่า อัตราส่วนวัตถุดิบที่เป็น VFW และ LW ในปริมาตรเท่ากัน และชุดการทดลองที่มีจำนวนรอบในการเติมอากาศ 4 …


การบำบัดน้ำเสียความเข้มข้นทีเคเอ็นสูงโดยระบบร่วมถังโปรยกรองและถังกรองกึ่งไร้อากาศ, ชุตาภา มงคลอุปถัมภ์ Jan 2019

การบำบัดน้ำเสียความเข้มข้นทีเคเอ็นสูงโดยระบบร่วมถังโปรยกรองและถังกรองกึ่งไร้อากาศ, ชุตาภา มงคลอุปถัมภ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาการบำบัดน้ำเสียทีเคเอ็นความเข้มข้นสูง โดยใช้ระบบถังโปรยกรองร่วมกับถังกรองกึ่งไร้อากาศที่พีเอช 6 เพื่อป้องกันกลิ่นของก๊าซแอมโมเนีย โดยใช้น้ำเสียสังเคราะห์ซึ่งเตรียมจากน้ำตาลกลูโคสที่ความเข้มข้น 2,000 มก.ซีโอดี/ล.และ 150 มก.ไนโตรเจน/ล. โดยแบ่งออกเป็น 4 การทดลอง คือ การทดแทนน้ำเสียใหม่ร้อยละ 16 32 50 และ 68 โดยเดินระบบในถังโปรยกรองเพื่อกำจัดซีโอดีและบำบัดแอมโมเนียไปเป็นไนเตรทแล้วบำบัดต่อด้วยถังกรองกึ่งไร้อากาศเพื่อกำจัดไนเตรทแล้วเวียนน้ำกลับไปที่ถังโปรยกรองก่อนจะถ่ายน้ำที่บำบัดแล้วออกและทดแทนด้วยน้ำเสียสังเคราะห์ใหม่ไปเรื่อยๆ จนประสิทธิภาพของระบบคงที่ ผลการทดลองพบว่าประสิทธิภาพในการบำบัดซีโอดีของระบบโดยรวมคิดเป็น ร้อยละ 97-98 เป็นประสิทธิภาพของถังกรองไร้อากาศร้อยละ 86-93 และถังโปรยกรองอีกร้อยละ 19-75 และมีอัตราการบำบัดซีโอดีสูงสุดของถังกรองกึ่งไร้อากาศและถังโปรยกรองอยู่ที่ 459.82±13.44 และ 117.80±8.45 มก.ซีโอดี/ล.-วัน ตามลำดับ มีประสิทธิภาพในการบำบัดแอมโมเนียของทั้งระบบอยู่ที่ร้อยละ 53-100 และมีอัตราไนตริฟิเคชันจำเพาะสูงสุดที่ถังโปรยกรองอยู่ที่ 1.37 ก.-ไนโตรเจน/ตร.ม.-วัน และมีอัตราดีไนตริฟิเคชันจำเพาะสูงสุดที่ถังกรองกึ่งไร้อากาศอยู่ที่ 6.15±0.56 ก.-ไนโตรเจน/ตร.ม.-วัน ดังนั้นสามารถสรุปได้ว่าระบบร่วมนี้ที่การทดแทนน้ำเสียร้อยละ 50 ดีที่สุด ซึ่งมีประสิทธิภาพในการบำบัดไนโตรเจนทั้งหมดได้สูงถึงร้อยละ 37 และมีประสิทธิภาพในการบำบัดแอมโมเนียที่ถังโปรยกรองสูงถึงร้อยละ 97 แต่ประสิทธิภาพในการบำบัดไนเตรทที่ถังกรองกึ่งไร้อากาศและซีโอดีของแต่ละการทดแทนน้ำเสียมีประสิทธิภาพไม่แตกต่างกันมากนักอยู่ที่ประมาณร้อยละ 95-99


การประยุกต์ใช้เถ้าลอยและกากคอนกรีตในการผลิตฉนวนกันความร้อนและกำแพงกั้นเสียง, ชัชพงศ์ ณ ป้อมเพชร Jan 2019

การประยุกต์ใช้เถ้าลอยและกากคอนกรีตในการผลิตฉนวนกันความร้อนและกำแพงกั้นเสียง, ชัชพงศ์ ณ ป้อมเพชร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาการใช้เถ้าลอยและกากคอนกรีตเป็นองค์ประกอบในการขึ้นรูปมอร์ตาร์ในลักษณะของการแทนที่ปูนซีเมนต์ และแทนที่มวลรวมละเอียดตามลำดับ โดยเถ้าลอยที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ เถ้าลอยถ่านหินลิกไนต์ เถ้าลอยถ่านหินบิทูมินัส และเถ้าลอยจากเตาเผาขยะชุมชน ส่วนกากคอนกรีตที่ใช้ในการศึกษาคือกากคอนกรีตจากโรงผลิตคอนกรีต งานวิจัยนี้ได้ศึกษาทั้งสมบัติทางเคมี และสมบัติทางกายภาพของเถ้าลอยและกากคอนกรีต รวมถึงสมบัติเพื่อการนำมอร์ตาร์ที่มีเถ้าลอยและกากคอนกรีตเป็นองค์ประกอบไปใช้ประโยชน์ ได้แก่ การรับแรงอัด สมบัติเชิงความร้อน และสมบัติเชิงเสียงของผลิตภัณฑ์ สำหรับเถ้าลอยและมอร์ตาร์ที่มีเถ้าลอยเป็นองค์ประกอบได้ศึกษาการชะละลายโลหะหนักด้วยวิธี Toxicity Characteristic Leaching Procedures (TCLP) วิธี Synthetic Precipitation Leaching Procedure (SPLP) และวิธี Waste Extraction Test (WET) เพิ่มเติม จากการศึกษาพบว่าเพื่อให้ได้มอร์ตาร์ที่มีความต้านแรงอัดตามมาตรฐาน มอก. 59-2561 จะสามารถใช้เถ้าลอยแทนที่ปูนซีเมนต์ได้ร้อยละ 25 - 50 สำหรับกากคอนกรีตสามารถใช้แทนที่มวลรวมละเอียดได้ถึงร้อยละ 100 ในด้านสมบัติเชิงความร้อนพบว่าผลิตภัณฑ์มีค่าสภาพการนำความร้อนอยู่ระหว่าง 0.08 – 0.33 วัตต์ต่อเมตรเคลวิน ซึ่งถือว่ามีสมบัติเป็นฉนวนกันความร้อนที่ดี แต่ในด้านสมบัติเชิงเสียงพบว่าผลิตภัณฑ์ยังมีสมบัติไม่ถึงเกณฑ์ของกำแพงกั้นเสียงที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยกำหนด สำหรับการศึกษาปริมาณโลหะหนักในเถ้าลอยพบว่าโดยส่วนใหญ่มีค่าไม่เกินมาตรฐานยกเว้นปริมาณตะกั่ว (Pb) และสารหนู (As) ในเถ้าลอยจากเตาเผาขยะชุมชนที่ชะละลายด้วยวิธี TCLP และเถ้าลอยถ่านหินลิกไนต์ชะละลายด้วยวิธี WET ตามลำดับ แต่เมื่อนำเถ้าลอยขึ้นรูปเป็นมอร์ตาร์พบว่าผลิตภัณฑ์มีปริมาณโลหะหนักโดยส่วนใหญ่ลดลงและมีค่าไม่เกินมาตรฐาน


การลดก๊าซเรือนกระจกจากการอนุรักษ์พลังงานและการจัดการขยะมูลฝอยของอาคาร : กรณีศึกษาอาคารศูนย์การค้า, ณัฐวดี ปลื้มชิงชัย Jan 2019

การลดก๊าซเรือนกระจกจากการอนุรักษ์พลังงานและการจัดการขยะมูลฝอยของอาคาร : กรณีศึกษาอาคารศูนย์การค้า, ณัฐวดี ปลื้มชิงชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

อาคารศูนย์การค้าเป็นหนึ่งในอาคารพาณิชย์ที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณที่สูงมากต่อปี ทุกกิจกรรมในอาคารสามารถเป็นแหล่งกำเนิดของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทั้งการใช้พลังงานและการเกิดขยะมูลฝอย งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้พลังงานและการจัดการขยะมูลฝอยในอาคาร โดยใช้การประเมินคาร์บอนฟุตปริ้นท์องค์กร เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากมาตรการอนุรักษ์พลังงาน และการจัดการขยะมูลฝอยจากข้อเสนอแนะ ทั้งนี้ ได้ทำการศึกษากิจกรรม จากอาคารศูนย์การค้าในเขตเทศบาลนครนครราชสีมาจำนวน 5 อาคาร ใช้ระยะเวลาศึกษาและรวบรวมข้อมูลเป็นระยะเวลา 1 ปี (ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงธันวาคม พ.ศ.2561) จากการศึกษาพบว่ากิจกรรมหลักที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกในทุกอาคารคือการใช้พลังงานไฟฟ้า โดยปริมาณการใช้พลังงานมีความสอดคล้องกับขนาดของพื้นที่ เช่นเดียวกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้นตามขนาดพื้นที่อาคารอย่างมีนัยสำคัญ และเศษอาหารเป็นสัดส่วนที่พบมากที่สุดในสัดส่วนของขยะมูลฝอยที่จะถูกส่งกำจัดยังหลุมฝังกลบ จากการศึกษามาตรการอนุรักษ์พลังงานและวิเคราะห์ MAC จะแสดงผลประโยชน์การลงทุนของมาตรการอนุรักษ์พลังงานดังกล่าว ทั้งประโยชน์ในแง่สิ่งแวดล้อมที่จะสามารถลดก๊าซเรือนกระจกและในแง่ทางเศรษฐศาตร์ที่จะลดต้นทุนในการดำเนินกิจการ การศึกษาทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นแนวทางการประเมินคาร์บอนฟุตปริ้นท์องค์กร (CFO), การวิเคราะห์ Marginal Abatement Cost (MAC), การวิเคราะห์มาตรการอนุรักษ์พลังงาน และแนวทางการจัดการขยะมูลฝอย จะเป็นข้อมูลตัวอย่างที่อาคารศูนย์การค้าทั่วไปสามารถนำไปปฏิบัติเพื่อช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอาคารได้เช่นเดียวกัน


การทำนายปริมาณการใช้สารส้มในระบบผลิตน้ำประปาของการประปาส่วนภูมิภาคสาขาอุดรธานี โดยใช้โปรแกรมเหมืองข้อมูล, จินตวัฒน์ ละชินลา Jan 2019

การทำนายปริมาณการใช้สารส้มในระบบผลิตน้ำประปาของการประปาส่วนภูมิภาคสาขาอุดรธานี โดยใช้โปรแกรมเหมืองข้อมูล, จินตวัฒน์ ละชินลา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นการประยุกต์ใช้โปรแกรม RapidMiner V.9.2 ใช้ทำนายปริมาณสารส้มที่ใช้ในระบบผลิตน้ำประปาของการประปาส่วนภูมิภาคสาขาอุดรธานี โดยข้อมูลอินพุต 4 ตัวแปร คือ ความเป็นกรด-ด่างของน้ำดิบ ความขุ่นของน้ำดิบ ความเป็นกรด-ด่างของน้ำก่อนกรอง และความขุ่นของน้ำก่อนกรอง ข้อมูลเอาต์พุต คือ ปริมาณสารส้ม ในการสร้างแบบจำลองใช้ข้อมูลตั้งแต่ตุลาคม 2556 ถึงเมษายน 2561 จำนวน 4,029 ชุด ใช้ทฤษฎี 6 ทฤษฎี ดังนี้ W-LinearRegression W-MultilayerPerceptron W-REPTree W-M5P W-M5Rules และ Gradient Boosted Tree (GBT) และทดลองทั้งหมด 24 รูปแบบ เพื่อหาแบบจำลองที่ดีที่สุดในแต่ละรูปแบบ จากนั้นตรวจสอบแบบจำลองโดยใช้ข้อมูลชุดเดิมที่ใช้สร้างแบบจำลองและข้อมูลตั้งแต่พฤษภาคม 2561 ถึงเมษายน 2562 จำนวน 1,089 ชุด นอกจากนี้นำมาประยุกต์ใช้ลดปริมาณการใช้สารส้ม การวิเคราะห์ความอ่อนไหว จากการทดลองสรุปได้ว่า แบบจำลองที่สามารถใช้ในแต่ละรูปแบบได้ มีทั้งหมด 10 แบบจำลอง ซึ่งแบบจำลองที่มีประสิทธิภาพที่ดีที่สุด คือ แบบจำลองที่ 8 ใช้ในโรงผลิตน้ำบ้านนิคมในช่วงฤดูร้อนเท่านั้น โดยใช้ทฤษฎี GBT ได้ค่า RMSE เท่ากับ 2.049 ค่า MAE เท่ากับ 1.264 เมื่อนำแบบจำลองทั้ง 10 แบบจำลองมาใช้งาน พบว่า แบบจำลองที่ 1 5 6 และ 7 ใช้ในโรงผลิตน้ำบ้านถ่อน แบบจำลองที่ 2 8 และ 9 ใช้ในโรงผลิตน้ำบ้านนิคม แบบจำลองที่ 3 และ 10 ใช้ร่วมทั้งโรงผลิตน้ำบ้านถ่อนและบ้านนิคม และแบบจำลองที่ 4 ใช้ได้ทั้ง 3 โรงผลิตน้ำเฉพาะฤดูร้อน เมื่อนำมาประยุกต์ใช้ลดปริมาณการใช้สารส้ม พบว่า แบบจำลองที่ลดปริมาณการใช้สารส้มได้มากที่สุด คือ …


การวิเคราะห์ผังการไหลและการประเมินวัฏจักรชีวิตของทองคำจากกระบวนการรีไซเคิลซากแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ของคอมพิวเตอร์, วริษฐา พงษ์หิรัญ Jan 2019

การวิเคราะห์ผังการไหลและการประเมินวัฏจักรชีวิตของทองคำจากกระบวนการรีไซเคิลซากแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ของคอมพิวเตอร์, วริษฐา พงษ์หิรัญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปริมาณซากแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ชนิดแผงวงจรหลักและการ์ดแสดงผลของคอมพิวเตอร์ประเภทตั้งโต๊ะที่เกิดขึ้นในประเทศไทยระหว่างปี พ.ศ. 2558-2561 สามารถจำแนกตามแหล่งกำเนิดได้แก่ ครัวเรือน สำนักงานและโรงแรม/อะพาร์ตเมนต์ อุตสาหกรรมและการนำเข้าและส่งออก โดยพบว่าปริมาณมากกว่าร้อยละ 68 ถูกจัดการโดยผู้ประกอบการที่ไม่ใช่โรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งยังไม่มีการควบคุมกระบวนการหรือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากกระบวนการอย่างชัดเจน งานวิจัยนี้จึงศึกษาเปรียบเทียบผลกระทบของกระบวนการรีไซเคิลซากแผงวงจรชนิดที่มีโลหะมีค่าสูงได้แก่ หน่วยความจำ ซีพียูและส่วนประกอบของการ์ดแสดงผล ที่ใช้กรดกัดทองเป็นสารชะละลายทองคำโดยมีและไม่มีการจัดการของเสีย และเลือกกระบวนการที่ใช้สารประกอบไซยาไนด์เป็นสารชะละลายโดยมีการจัดการของเสียอย่างเหมาะสมเป็นกรณีอ้างอิง กระบวนการที่ใช้กรดกัดทองเป็นสารชะละลายสามารถนำกลับคืนทองคำได้เฉลี่ยร้อยละ 95.25 ที่ความบริสุทธิ์ของทองคำแตกต่างกันตามองค์ประกอบของสารชะละลายแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์แต่ละชนิด โดยปริมาณสารเคมีที่ใช้และทองคำที่นำกลับคืนจากกระบวนการรีไซเคิลซากแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ด้วยกรดกัดทองและสารประกอบไซยาไนด์จะถูกวิเคราะห์ในผังการไหลและประเมินผลกระทบด้วยโปรแกรม SimaPro เวอร์ชัน 9.0.0.35 ตามลำดับ ซึ่งงานวิจัยพบว่า แนวทางในการลดผลกระทบของกระบวนการคือ การแยกโลหะชนิดอื่นๆออกจากน้ำเสียเพื่อเข้าสู่กระบวนการนำกลับคืนและบำบัดน้ำเสียส่วนที่เหลือ ส่วนตะกอนสามารถกำจัดด้วยวิธีการฝังกลบหรือการเผาทำลายในเตาเผาเฉพาะของเสียอันตรายตามความเหมาะสม ทั้งนี้ กระบวนการที่ใช้กรดกัดทองจะสามารถให้ผลกระทบต่ำกว่ากระบวนการที่ใช้สารประกอบไซยาไนด์ที่มีการจัดการของเสียอย่างเหมาะสม เมื่อมีการลดการใช้สารเคมีด้วยการชะละลายซ้ำตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไป


การใช้ประโยชน์จากกากตะกอนอุตสาหกรรมเลนส์แว่นตาพลาสติก, ศรัณย์พร อุ่นเพชร Jan 2019

การใช้ประโยชน์จากกากตะกอนอุตสาหกรรมเลนส์แว่นตาพลาสติก, ศรัณย์พร อุ่นเพชร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาการจัดการของเสียจากอุตสาหกรรมเลนส์แว่นตาพลาสติก ใช้การวิเคราะห์ผังการไหลของวัสดุ คัดเลือกของเสียจากการศึกษาผังการไหลของวัสดุที่ส่งไปหลุมฝังกลบ และยังนำมาใช้ประโยชน์ได้อีก ได้แก่ ตะกอนเจียแม่พิมพ์ ตะกอนบำบัดน้ำเสียโรงแม่พิมพ์ และตะกอนบำบัดน้ำเสียรวมแบบชีวภาพ ศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของตะกอน พบว่าตะกอนบำบัดน้ำเสียโรงแม่พิมพ์มีซีเรียมอยู่ และตะกอนทั้งสามชนิดยังพบว่ามีซิลิกา และอะลูมินา เป็นองค์ประกอบ จึงศึกษาแนวทางการนำกลับซีเรียมจากตะกอนบำบัดน้ำเสียโรงแม่พิมพ์ และนำตะกอนทั้ง 3 ชนิดมาใช้ประโยชน์เป็นวัสดุทดแทนทราย ในการผลิตมอร์ต้าร์ ใช้อัตราส่วนปูนซีเมนต์ต่อทรายเท่ากับ 1 : 2 และอัตราส่วนน้ำต่อปูนซีเมนต์เท่ากับ 0.55 และ 0.50 ศึกษาอัตราส่วนแทนที่ของเสียลงในทราย ร้อยละ 10, 20, 30, 40 และ 50 โดยน้ำหนัก เวลาบ่ม 7, 14 และ 28 วัน การศึกษาการนำกลับซีเรียม ความบริสุทธิ์สูงสุดของซีเรียมร้อยละ 38.28 ชนิดของกรดและอุณหภูมิมีผลต่อความบริสุทธิ์ของซีเรียม ผลการศึกษาการผลิตมอร์ต้าร์ที่แทนที่ทรายมากขึ้นด้วยตะกอนบำบัดน้ำเสียรวม และตะกอนบำบัดน้ำเสียโรงแม่พิมพ์ พบว่าความหนาแน่น และกำลังรับแรงอัดลดลง ส่วนการดูดซึมน้ำเพิ่มขึ้น ส่วนมอร์ต้าร์ที่แทนที่ทรายด้วยตะกอนเจียแม่พิมพ์ เมื่อแทนที่มากขึ้น ส่งผลให้ความหนาแน่น และกำลังรับแรงอัดเพิ่มขึ้นจนถึงจุดหนึ่งแล้วต่ำลง ส่วนการดูดซึมน้ำพบว่าไม่เปลี่ยนแปลง เมื่อเทียบกับมาตรฐานปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ (มอก. 15-2547) พบว่ามอร์ต้าร์ที่แทนที่ทรายด้วยตะกอนบำบัดน้ำเสียรวม และตะกอนบำบัดน้ำเสียโรงแม่พิมพ์ไม่ผ่านมาตรฐานทุกอัตราส่วนที่ทำการศึกษา ส่วนมอร์ต้าร์ที่แทนที่ทรายด้วยตะกอนเจียแม่พิมพ์พบว่าผ่านมาตรฐานทุกอัตราส่วนที่ทำการศึกษา โดยอัตราส่วนที่เหมาะสมในการแทนที่ตะกอนเจียแม่พิมพ์คือร้อยละ 30 โดยน้ำหนัก และเวลาบ่ม 28 วัน การทดสอบการชะละลายของโลหะหนักจากมอร์ต้าร์ พบว่าค่าการชะละลายของโลหะหนักไม่เกินตามที่มาตรฐานกำหนด


ผลของความเข้มข้นน้ำเข้าและอัตราการเวียนน้ำในการบำบัดซีโอดีและไนโตรเจน ด้วยถังกรองชีวภาพแบบเติมอากาศแยกชั้นชนิดไหลขึ้น, ยุทธกิจ ชูสุทธิ์ Jan 2019

ผลของความเข้มข้นน้ำเข้าและอัตราการเวียนน้ำในการบำบัดซีโอดีและไนโตรเจน ด้วยถังกรองชีวภาพแบบเติมอากาศแยกชั้นชนิดไหลขึ้น, ยุทธกิจ ชูสุทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาผลของอัตราการเวียนน้ำต่อประสิทธิภาพในการกำจัดไนโตรเจนและค่าจลนพลศาสตร์ของถังกรองชีวภาพแบบเติมอากาศแยกชั้นชนิดไหลขึ้น โดยใช้ถังปฏิกิริยาทรงกระบอกปริมาตร 10 ลิตร ใส่ตัวกลางพลาสติกพื้นที่ผิวจำเพาะ 859 ตร.ม.ต่อลบ.ม.เต็มปริมาตรถัง ด้านบน 60% ของถังเป็นส่วนเติมอากาศและด้านล่าง 40% ของถังเป็นส่วนไม่เติมอากาศ ใช้น้ำเสียสังเคราะห์มีค่าซีโอดีและแอมโมเนียม-ไนโตรเจนเริ่มต้น 500 มก./ล. และ 50 มก.ไนโตรเจน/ล. ตามลำดับ ระยะเวลาเก็บกักน้ำเสีย 8 ชั่วโมง คิดเป็นภาระบรรทุกซีโอดี 1.58 กิโลกรัมซีโอดีต่อลูกบาศก์เมตรต่อวัน ทดลองเปลี่ยนค่าอัตราการเวียนน้ำกลับต่อน้ำเสียเข้าระบบ (MLR) อยู่ที่ 0.5:1 1:1 2:1 และ 5:1 ผลการทดลองพบว่าการบำบัดซีโอดีในทุกอัตราการเวียนน้ำมีประสิทธิภาพไม่แตกต่างกันอยู่ที่ 95.0±0.7% มีซีโอดีออกไปกับน้ำทิ้ง 26±4 มิลลิกรัมต่อลิตร ความแตกต่างอยู่ที่การกำจัดไนโตรเจนทั้งหมด ที่ MLR 0.5:1 1:1 2:1 และ 5:1 มีประสิทธิภาพในการกำจัดไนโตรเจนทั้งหมด 34.8% 47.1% 62.0% และ 76.2% มีความเข้มข้นของไนเตรต-ไนโตรเจนในน้ำทิ้ง 31.4±0.4 25.6±0.3 18.3±0.5 และ 10.6±0.2 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลำดับ ในการทดลองหาค่าจลนพลศาสตร์โดยเปลี่ยนความเข้มข้นของน้ำเสียเข้า ใช้ระยะเวลาเก็บกักน้ำเสีย 8 ชั่วโมง MLR 2:1 โดยความเข้มข้นซีโอดีต่อแอมโมเนียม-ไนโตรเจนในน้ำเสียขาเข้าเป็น 100:10 200:20 500:50 1000:100 และ 1500:150 มิลลิกรัมต่อลิตร พบว่าปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเป็นอันดับที่ 1 ทั้งหมด โดยช่วงที่ไม่มีการเติมอากาศ (แอนอกซิก) มีค่าคงที่ของปฏิกิริยา (k1) สำหรับการบำบัดซีโอดีอยู่ที่ 0.842 ชั่วโมง-1 และค่า k1 สำหรับการกำจัดไนเตรต-ไนโตรเจนอยู่ที่ 2.07 ชั่วโมง-1 ขณะเดียวกันช่วงที่มีการเติมอากาศ (ออกซิก) มีค่า k1 สำหรับการบำบัดซีโอดีอยู่ที่ 2.41 ชั่วโมง-1 และค่า k1 การเกิดไนเตรต-ไนโตรเจนอยู่ที่ 0.194 …


ออกแบบระบบคำนวณเงินนำส่งกองทุนคุ้มครองเงินฝากและกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน, แพรววินิต กันทะวิน Jan 2019

ออกแบบระบบคำนวณเงินนำส่งกองทุนคุ้มครองเงินฝากและกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน, แพรววินิต กันทะวิน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อแก้ไขสาเหตุการคำนวณเงินนำส่งไม่ถูกต้อง ลดรอบเวลาการทำงาน และลดเวลาปฏิบัติงานของพนักงานระดับกลางในกระบวนการคำนวณเงินนำส่งกองทุนคุ้มครองเงินฝากและกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน โดยแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 4 ส่วนได้แก่ การเพิ่มกระบวนการตรวจสอบและแก้ไขข้อมูลอัตโนมัติในกระบวนการรับข้อมูลเข้าระบบสำรองข้อมูล การเปลี่ยนผู้ตรวจสอบในกระบวนการป้อนข้อมูลเข้าระบบบัญชี การปรับปรุงกระบวนการคำนวณเงินนำส่งให้เป็นมาตรฐาน และการประยุกต์ใช้ระบบอัตโนมัติแบบหุ่นยนต์เพื่อทดแทนการปฏิบัติงานของพนักงาน ผลการวิจัยพบว่า สามารถตรวจสอบและแก้ไขสาเหตุการคำนวณเงินนำส่งไม่ถูกต้องได้ รอบเวลาการทำงานลดลงจากเดิม 26 วัน เหลือ 10 วัน และเวลาปฏิบัติงานของพนักงานลดลงจากเดิม 577 นาที เหลือ 85 นาที


ความสัมพันธ์ของอัตราส่วนสูตรน้ำยาโฟมที่มีผลต่อความแข็งของเบาะรถยนต์, จารุวัตร จินดาทองประภา Jan 2019

ความสัมพันธ์ของอัตราส่วนสูตรน้ำยาโฟมที่มีผลต่อความแข็งของเบาะรถยนต์, จารุวัตร จินดาทองประภา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ เพื่อศึกษาหาความสัมพันธ์ของอัตราส่วนสูตรน้ำยาโฟมเบาะรถยนต์ที่มีต่อความแข็งของเบาะรถยนต์ เนื่องจากพบปัญหาเบาะรถยนต์มีค่าความแข็งที่ไม่ได้ตรงตามมาตรฐานของลูกค้าจำนวนมาก ถึง 34.95 เปอร์เซ็นต์ ของลูกค้าที่มีการผลิตสูงสุดในโรงงานกรณีศึกษา วิเคราะห์สาเหตุด้วยแผนภูมิก้างปลา พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อค่าความแข็งของโฟมนั้นคือ สูตรน้ำยาโฟม ซึ่งประกอบด้วย 1) น้ำยาโฟม PA ที่มีส่วนผสมระหว่าง Polyol น้ำ สารลดแรงตึงผิว สารฟู เจล และซิลิโคน ในสัดส่วนเท่ากัน 2) น้ำยาโฟม PC ที่มีส่วนผสมระหว่าง โคพอลิเมอร์ (ระหว่าง Polyoxyalkylenepolol กับ styrene-acrylonitrile polymer) สารลดแรงตึงผิว สารฟู เจล และซิลิโคน ในสัดส่วนเท่ากัน 3) น้ำยาโฟม ISO หรือ ที่เรียกว่า ไอโซไซยาเนต ออกแบบการทดลองโดยมีสูตรน้ำยาโฟมเป็น 3 ปัจจัย และ ระดับของปัจจัยละ 3 ระดับ ทั้งหมด 27 การทดลอง ภายใต้ข้อจำกัดของ ระยะเวลาในการบ่ม 6 นาที และ อุณหภูมิของแม่พิมพ์ 65 องศาเซลเซียส วิเคราะห์ผลการทดลองด้วยโปรแกรม Minitab โดยใช้การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณและการถดถอยแบบขั้นตอนผสมระหว่างการเลือกแบบก้าวหน้าและการตัดทิ้งแบบถอยหลัง ซึ่งพบว่าที่ระดับความเชื่อมั่นที่ 95 % นั้น PA, PC, ISO, ISO*ISO และ ISO*PC มีผลต่อค่าความแข็งของโฟมเบาะรถยนต์อย่างมีนัยสำคัญโดยที่ค่าความแข็งของโฟมเบาะรถยนต์มีทิศทางเพิ่มขึ้นนั้นเมื่อ น้ำยาโฟม PC และ น้ำยาโฟม ISO เพิ่มปริมาณขึ้น ขณะที่เมื่อเพิ่มปริมาณ น้ำยาโฟม PA นั้นมีผลต่อค่าความแข็งของโฟมเบาะรถยนต์ในทิศทางลดลง โดยค่าความแข็งและปัจจัยต่างๆมีความสัมพันธ์กันดังสมการ ค่าความแข็งของโฟม = 4551 - 2.991 PC - 30.70 ISO - 0.2407 PA + …


การบำบัดน้ำเสียความเข้มข้นต่ำโดยถังปฏิกรณ์ฟิล์มชีวภาพชนิดตัวกลางเคลื่อนที่, วราลี วิศาลโภคะ Jan 2019

การบำบัดน้ำเสียความเข้มข้นต่ำโดยถังปฏิกรณ์ฟิล์มชีวภาพชนิดตัวกลางเคลื่อนที่, วราลี วิศาลโภคะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาการบำบัดน้ำเสียความเข้มข้นต่ำโดยถังปฏิกรณ์ฟิล์มชีวภาพชนิดตัวกลางเคลื่อนที่ (Moving Bed Biofilm Reactor, MBBR) ในการศึกษาทำการทดลองในระดับห้องปฏิบัติการโดยใช้ถังปฏิกรณ์ปริมาตร 2 ลิตร (ปริมาตรถังที่ยังไม่มีตัวกลาง) จำนวน 2 ถังต่ออนุกรมกัน เติมตัวกลางพลาสติกของบริษัท Aqwise ปริมาณร้อยละ 50 ของปริมาตรถัง เดินระบบแบบต่อเนื่องด้วยน้ำเสียสังเคราะห์ความเข้มข้นบีโอดี 50-200 มก./ล. และควบคุมอัตราการเติมอากาศที่ 2.5 ล./นาที การทดลองช่วงแรกทำการทดลองโดยเปลี่ยนแปลงค่าอัตราภาระสารอินทรีย์ต่อพื้นที่ตัวกลาง (Surface Area Loading Rate, SALR) ที่เข้าถังแรกเท่ากับ 2.0, 3.0, 3.9, 7.9 ก.ซีโอดี/ตร.ม.-วัน และความเข้มข้นแอมโมเนียคงที่ 20 มก./ล. เวลากักน้ำถังละ 3 ชม. ผลการทดลองพบว่า ทั้ง 4 สภาวะที่ทำการเดินระบบ มีประสิทธิภาพการบำบัดสารอินทรีย์และบำบัดแอมโมเนียไนโตรเจนเฉลี่ย ร้อยละ 97.9 และ 98.9 ตามลำดับ และเมื่ออัตราภาระสารอินทรีย์ต่อพื้นที่ตัวกลางเพิ่มขึ้น ฟิล์มชีวภาพที่ยึดเกาะตัวกลางจะมีความหนามากขึ้น อัตราการหลุดของฟิล์มชีวภาพสูงขึ้น ส่งผลให้ปริมาณจุลชีพแขวนลอยในระบบเพิ่มขึ้น ที่อัตราภาระสารอินทรีย์ต่อพื้นที่ตัวกลางสูงสุดที่ 7.9 ก.ซีโอดี/ตร.ม.-วัน ปริมาณจุลชีพที่ยึดเกาะบนตัวกลางมีค่าสูงถึง 6,650 มก.ของแข็งแขวนลอยระเหยได้/ล.ของถังปฏิกรณ์ ปริมาณจุลชีพแขวนลอยมีค่าเท่ากับ 141.2 มก.ของแข็งแขวนลอยระเหยได้/ล. การทดลองช่วงที่ 2 เป็นการศึกษาผลของเวลากักน้ำต่อการทำงานของระบบ MBBR ทำการเปลี่ยนแปลงค่าเวลากักน้ำที่ 4, 3, 2 และ 1 ชั่วโมง โดยกำหนดอัตราภาระสารอินทรีย์ต่อพื้นที่ตัวกลางคงที่ที่ 4.87 ก.บีโอดี/ตร.ม./วัน ผลการทดลองพบว่า เวลากักน้ำไม่มีผลต่อประสิทธิภาพการกำจัดซีโอดี โดยระบบสามารถกำจัดซีโอดีได้มากกว่าร้อยละ 90 ทั้ง 4 สภาวะที่เดินระบบ แต่เวลากักน้ำมีผลกับประสิทธิภาพการบำบัดแอมโมเนีย โดยเมื่อเวลากักน้ำลดลงส่งผลให้ประสิทธิภาพการบำบัดแอมโมเนียของระบบสูงขึ้น เนื่องจากที่เวลากักน้ำต่ำ จุลชีพแขวนลอยในระบบมีปริมาณน้อยลง ส่งผลให้จุลชีพที่ยึดเกาะบนตัวกลางเจริญเติบโตได้ดี ดังนั้นที่เวลากักน้ำต่ำสุด ฟิล์มชีวภาพที่ยึดเกาะบนตัวกลางจึงมีความหนามากที่สุด โดยมีค่าสูงถึง 8,670 มก.ของแข็งแขวนลอยระเหยได้/ล.ของถังปฏิกรณ์ ส่วนปริมาณจุลชีพแขวนลอยจะมีค่าต่ำสุด โดยมีค่าเท่ากับ 52.6 มก.ของแข็งแขวนลอยระเหยได้/ล. …


การออกแบบพื้นที่หยิบความเร็วสูงสำหรับผลิตภัณฑ์แสงสว่าง, จินตชาติ ชาติพาณิชย์ Jan 2019

การออกแบบพื้นที่หยิบความเร็วสูงสำหรับผลิตภัณฑ์แสงสว่าง, จินตชาติ ชาติพาณิชย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ศูนย์กระจายสินค้าเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญในการควบคุมการไหลของสินค้าในห่วงโซ่อุปทานเพื่อให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้ในระดับค่าใช้จ่ายกับค่าแรงงานที่เหมาะสมศูนย์กระจายสินค้าจึงต้องทำความเข้าใจและใช้ประโยชน์จากการวิเคราะห์รูปแบบความต้องการลูกค้าจากข้อมูลในอดีตดังเช่นศูนย์กระจายสินค้าไฟฟ้าแสงสว่างของบริษัทกรณีศึกษาที่ทำหน้าที่จัดเก็บและกระจายสินค้าที่มีขนาดน้ำหนักและรูปทรงที่แตกต่างกันอีกทั้งยังแตกหักง่ายจึงต้องอาศัยความระมัดระวังในการขนย้าย จากสภาพและธรรมชาติของสินค้าที่กล่าวมาข้างต้นส่งผลให้กิจกรรมการหยิบเป็นกิจกรรมที่อาศัยชั่วโมงแรงงาน-คนมากที่สุดโดยสูญเสียไปกับการเดินทางและการค้นหาสินค้า นอกจากการวิเคราะห์ข้อมูลของศูนย์กระจายสินค้าที่ศึกษาเบื้องต้นพบว่ารูปแบบคำสั่งซื้อส่วนใหญ่ของลูกค้ามีลักษณะที่มีจำนวนรายการต่อคำสั่งซื้อและปริมาณสินค้าอยู่ในระดับที่ต่ำในขณะที่อาศัยนโยบายการจัดเก็บแบบสุ่มและจัดเก็บในหน่วยของพาเลทความไม่สอดคล้องกันของรูปแบบความต้องการและวิธีการจัดเก็บส่งผลให้เวลาเฉลี่ยในการหยิบต่อคำสั่งซื้ออยู่ในระดับที่ต่ำกว่าที่ผู้บริหารกำหนดไว้ที่ 10 นาทีต่อคำสั่งซื้อ ดังนั้นวิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงนำเสนอการประยุกต์ใช้ Fast Picking Area (FPA) เพื่อลดเวลาในการเดินทางลงสำหรับการออกแบบการทดลองจะพิจารณาปัจจัยด้านขนาดพื้นที่ของ FPA, การจัดอันดับสินค้า, การปันส่วนพื้นที่สินค้า และ การจัดวางสินค้าโดยอาศัยการนำข้อมูลในอดีตไปทดสอบแบบจำลองสถานการณ์แบบ Monte Carlo เพื่อเปรียบเทียบและวิเคราะห์ผลการออกแบบซึ่งผลการออกแบบที่ดีที่สุดสามารถลดเวลาการทำงานเฉลี่ยรวมต่อปีลงได้ 2768 ชั่วโมงเทียบเท่ากับการลดแรงงานคนลง 1.33 FTE ส่งผลให้เวลาเฉลี่ยในการหยิบต่อคำสั่งซื้ออยู่ที่ 7.9 นาทีต่อคำสั่งซื้อซึ่งเร็วกว่าเวลาที่ทำได้ในปัจจุบันที่ 10 นาทีต่อคำสั่งซื้อ


การแก้ปัญหาการจัดสรรพนักงานบนสายการผลิตรูปตัวยูแบบหลายสายของระบบเซลลูล่าร์แบบมากวัตถุประสงค์, จุไรรัตน์ ฉิมระฆัง Jan 2019

การแก้ปัญหาการจัดสรรพนักงานบนสายการผลิตรูปตัวยูแบบหลายสายของระบบเซลลูล่าร์แบบมากวัตถุประสงค์, จุไรรัตน์ ฉิมระฆัง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การแก้ปัญหาการจัดสรรพนักงานบนสายการผลิตรูปตัวยูแบบหลายสายของระบบเซลลูล่าร์แบบมากวัตถุประสงค์ เป็นการแก้ปัญหาโดยพิจารณาวัตถุประสงค์ทั้งหมดไปพร้อมๆกัน ซึ่งจัดเป็นปัญหาแบบยาก (NP-Hard) มีความยุ่งยากและซับซ้อนของปัญหา ดังนั้นจึงต้องอาศัยฮิวริสติก (Heuristic) และเมตาฮิวริสติก (Meta-Heuristic) มาช่วยในการแก้ปัญหา งานวิจัยนี้จึงนำเสนออัลกอริทึม วิธีการเชิงวิวัฒนาการโดยใช้ผลต่างแบบหลายวัตถุประสงค์ (MODE) เปรียบเทียบสมรรถนะอัลกอริทึมกับวิธีการเชิงวิวัฒนาการแบบหลายวัตถุประสงค์โดยยึดหลักการจำแนก (MOEA/D) และวิธีเชิงพันธุกรรมแบบการจัดลำดับที่ไม่ถูกครอบงำ III (NSGA-III) ในการแก้ปัญหาการจัดสรรพนักงานบนสายการผลิตรูปตัวยูแบบหลายสายแบบของระบบเซลลูล่าร์แบบมากวัตถุประสงค์ ซึ่งประกอบไปด้วย 5 วัตถุประสงค์ ได้แก่ เวลาว่างของพนักงานน้อยที่สุด จำนวนพนักงานน้อยที่สุด อรรถประโยชน์การทำงานของพนักงานมากที่สุด เวลาเดินของพนักงานน้อยที่สุด และความแตกต่างเวลาเดินของพนักงานน้อยที่สุด ผลการทดลองพบว่า MODE มีสมรรถนะที่ดีกว่า MOEA/D และ NSGA-III ในด้านการลู่เข้าของคำตอบ ด้านการลู่เข้าและความหลากหลายของคำตอบ ด้านความหลากหลายของคำตอบ ในปัญหาขนาดเล็ก กลางและใหญ่ ในขณะเดียวกันด้านอัตราส่วนของคำตอบที่ไม่ถูกครอบงำเทียบกับกลุ่มคำตอบที่อัลกอริทึมหาได้ และด้านอัตราส่วนของคำตอบที่ไม่ถูกครอบงำเทียบกับกลุ่มคำตอบที่แท้จริงจะเห็นได้ชัดเจนตั้งแต่ปัญหาขนาดกลางขึ้นไป ส่วนด้านเวลาที่ใช้ในการค้นหาคำตอบด้วยคอมพิวเตอร์ (CPU Time) อัลกอริทึม MOEA/D ใช้เวลาในการค้นหาคำตอบน้อยที่สุด รองลงมาคือ NSGA-III และ MODE ตามลำดับ


การจัดทำแผนพัฒนาด้านเครื่องจักรและเทคโนโลยีเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสู่ระบบดิจิทัล, ชนิกานต์ มุสิกทอง Jan 2019

การจัดทำแผนพัฒนาด้านเครื่องจักรและเทคโนโลยีเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสู่ระบบดิจิทัล, ชนิกานต์ มุสิกทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาองค์กร ดังนั้นเพื่อเป็นการตอบรับนโยบาย ประเทศไทย 4.0 ในการช่วยขับเคลื่อนประเทศ และเป็นแนวทางในการดำเนินงานให้กับภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน ให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ให้เกิดมูลค่าทางธุรกิจนอกเหนือจากการค้า อีกทั้งยังเพิ่มศักยภาพและประสิทธิภาพในการทำธุรกิจ โรงงานกรณีศึกษา (ธุรกิจสิ่งพิมพ์ปลอดการปลอมแปลง) จึงมีความจำเป็นต้องทำการศึกษาและวิเคราะห์ และจัดทำแผนพัฒนาการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงไปสู่การทำงานระบบดิจิทัล (Digital Transformation) ซึ่งส่วนประกอบที่สำคัญในฐานะองค์กรรัฐวิสาหกิจประเภทอุตสาหกรรมการผลิต คือการเตรียมความพร้อมด้านเครื่องจักรอัตโนมัติ เทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมที่ทันสมัย ด้วยรากฐานของระบบการผลิตแบบยืดหยุ่น โดยมุ่งเน้นที่จะปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานให้สู่รูปแบบโรงงานอัจฉริยะ (Smart Factory) ซึ่งเป็นการผสานการทำงานโดยเครื่องจักรอัตโนมัติและพนักงานผู้ควบคุมเครื่องจักร โดยมีการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ เข้าด้วยกันผ่านทางเครือข่ายซึ่งครอบคลุมการเก็บรวบรวมข้อมูล การควบคุม การสื่อสาร และการบริหารจัดการระบบ ซึ่งจะช่วยขจัดปัญหาข้อมูลที่กระจัดกระจายในแผนกต่างๆ ของโรงงาน สามารถเฝ้าติดตามสถานะของอุปกรณ์ต่างๆ ได้แบบเรียลไทม์ งานวิจัยนี้จึงได้จัดทำแผนพัฒนาด้านเครื่องจักรและการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาใช้ในองค์กร ได้แก่ ระบบสารสนเทศการผลิต ระบบเชื่อมโยงข้อมูล ระบบการตรวจติดตามสถานะ ระบบ RFID เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับระบบการผลิตและระบบการบริหารสินค้าคงคลังของโรงงานให้สามารถรองรับระบบดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถปรับตัวให้เข้ากับกระแสการเปลี่ยนแปลงในตลาดทั้งในด้านการให้บริการที่รวดเร็วและเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อสร้างความอยู่รอดในอนาคตให้กับองค์กรได้อย่างมั่นคง


การปรับปรุงค่าความแข็งของเบาะรถยนต์เพื่อลดแรงกดที่ก้นของผู้ขับขี่, ณัฐพงค์ ลี้วุฒิวิชัย Jan 2019

การปรับปรุงค่าความแข็งของเบาะรถยนต์เพื่อลดแรงกดที่ก้นของผู้ขับขี่, ณัฐพงค์ ลี้วุฒิวิชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การใช้เบาะนั่งรถยนต์ที่เหมาะสมสามารถช่วยแก้ปัญหาความล้าจากการขับรถยนต์เป็นเวลานาน โดยการปรับปรุงค่าความแข็งของโฟมเบาะรองนั่งรถยนต์ที่สามารถลดแรงกดทับซึ่งเกิดขึ้นจากการนั่งขับรถยนต์เป็นเวลานาน จากการทดลองนั่งเบาะรองนั่งรถยนต์ที่มี 3 ค่าความแข็ง ได้แก่ 235.4 N , 276.4 N และ 313.9 N ที่มีรูปร่างเหมือนกันกับผู้เข้าร่วมการทดลอง 15 คน ตลอด 3 ช่วงระยะเวลา ได้แก่ 10 นาที , 20 นาที และ 30 นาที โดยเก็บข้อมูล 4 ตัวชี้วัด ได้แก่ แรงดันสูงสุด พื้นที่แรงดันในช่วงสูง พื้นที่ผิวสัมผัส และแรงดันเฉลี่ย ทุก ๆ 1 นาที ด้วยเครื่องมือวัด Pressure Mapping System ผลการศึกษาพบว่าค่าความแข็งของโฟมและระยะเวลาในการนั่งขับรถยนต์ 30 นาทีมีผลต่อการทดลองที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 โดยพบว่าค่าแรงดันสูงสุด พื้นที่แรงดันในช่วงสูง และแรงดันเฉลี่ย มีค่าลดลงตามค่าความแข็งที่ลดลง แต่พื้นที่ผิวสัมผัสมีค่าเพิ่มขึ้นตามค่าความแข็งที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเวลาเปลี่ยนแปลงทำให้พื้นที่แรงดันในช่วงสูง พื้นที่ผิวสัมผัส และแรงดันเฉลี่ย มีค่าสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญตลอดระยะเวลา 30 นาที แต่ค่าแรงดันสูงสุดไม่เปลี่ยนแปลงตามระยะเวลา สรุปผลการทดลองโฟมหมายเลขที่1 ที่มีค่าความแข็ง 235.4N จะทำให้มีพื้นที่ผิวสัมผัสมาก และค่าแรงดันสูงสุด พื้นที่แรงดันในช่วงสูง แรงดันเฉลี่ยน้อยตามไปด้วย เนื่องจากพื้นที่ผิวสัมผัสมากจะเพิ่มประสิทธิภาพของเบาะรองนั่งในการกระจายน้ำหนักของผู้นั่งได้ดีซึ่งจะช่วยลดพื้นที่แรงดันในช่วงสูง แรงดันเฉลี่ยและแรงดันสูงสุดบริเวณปุ่มกระดูกก้นได้มาก จะได้ผลดีกับเพศหญิงมากกว่าเพศชาย


การประยุกต์ใช้ตะกอนจากอุตสาหกรรมเหมืองแร่หินเพื่อการผลิตอิฐเผา, ณัฐวุฒิ ธงชัย Jan 2019

การประยุกต์ใช้ตะกอนจากอุตสาหกรรมเหมืองแร่หินเพื่อการผลิตอิฐเผา, ณัฐวุฒิ ธงชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการวิเคราะห์หาสัดส่วนดินตะกอนจากอุตสาหกรรมเหมืองหินไปขึ้นรูปผลิตภัณฑ์เป็นอิฐดินตะกอนโดยใช้ดินเหนียวเป็นส่วนผสม งานวิจัยเริ่มจาก1) วิเคราะห์คุณสมบัติของตะกอนเพื่อหาองค์ประกอบของแร่ธาตุและสารประกอบที่พบในดินตะกอน 2) ทำการออกแบบการทดลองเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์อิฐดินตะกอนจากเหมืองหิน โดยมีตัวแปรต้นได้แก่ สัดส่วนผสมระหว่างตะกอนจากเหมืองและดินเหนียวตั้งแต่ร้อยละ 40 ถึง80 โดยน้ำหนัก และเผาที่อุณหภูมิ 900, 1000 และ1100 องศาเซลเซียส 3) ทำการทดสอบคุณสมบัติเชิงกลและเชิงกายภาพของผลิตภัณฑ์แล้วสรุปผลงานวิจัย จากการศึกษาพบว่าที่อุณหภูมิ 1100 องศาเซลเซียส และสัดส่วนของดินตะกอนต่อดินเหนียวเป็น 60:40 ให้ความต้านแรงอัดสูงสุด เท่ากับ 43.67 เมกกะปาสคาล ซึ่งสูงกว่าอิฐมอญและอิฐดินเผา คิดเป็น 49.95 และ33.6 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ในขณะที่ค่าอัตราการดูดซึมน้ำของอิฐดินตะกอนจากเหมืองที่สัดส่วนดังกล่าวมีค่าเท่ากับ 11.53 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสูงกว่าอิฐมอญและอิฐดินเผาถึง 53.87 และ 67.63 เปอร์เซ็นต์ ส่วนค่าความหนาแน่นและค่าสูญเสียน้ำหนักของอิฐดินตะกอนจากเหมืองมีค่าเท่ากับ 1.37 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร และ 17.37 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ นอกจากนี้ต้นทุนการผลิตของอิฐดินตะกอนจากเหมืองมีค่าต่ำกว่าอิฐดินเผา 24.76 เปอร์เซ็นต์


การปรับปรุงกระบวนการผสมยางมาสเตอร์แบท Epdm ไม่มีน้ำมัน โดยใช้หลักการซิกซ์ ซิกมา, นภนิกันติ์ วงศ์ทรัพย์สกุล Jan 2019

การปรับปรุงกระบวนการผสมยางมาสเตอร์แบท Epdm ไม่มีน้ำมัน โดยใช้หลักการซิกซ์ ซิกมา, นภนิกันติ์ วงศ์ทรัพย์สกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการผสมซึ่งจะสื่อออกมาในรูปของคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่ได้ของบริษัทกรณีศึกษาและปรับปรุงกระบวนการผสม EPDM ที่ไม่ใช่น้ำมัน โดยใช้แนวคิด ซิกซ์ ซิกมา ซึ่งประกอบไปด้วย 5 ขั้นตอนหลักที่สำคัญที่เรียกว่า DMAIC ได้แก่ ขั้นตอนกำหนดปัญหา (Define phase) , ขั้นตอนการวัดเพื่อใช้หาสาเหตุของปัญหา (Measure phase) , ขั้นตอนการวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุของปัญหา (Analyze phase) ,ขั้นตอนการปรับปรุงกระบวนการ (Improve phase) และสุดท้ายคือขั้นตอนการควบคุมกระบวนการ (Control phase) หลังจากใช้ขั้นตอน DMAIC ของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการจะลดลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยค่าความหนืดมูนนี่เฉลี่ยที่ได้จากกระบวนการหลังปรับปรุง มีค่าเข้าใกล้ค่าที่คาดหวังหรือค่าเป้าหมายมากขึ้นและได้สะท้อนไปยังดัชนีความสามารถในกระบวนการที่เพิ่มขึ้น (Cpk) จาก -1.25 ถึง 3.92 นอกจากนี้ผลลัพธ์ของวิธี Response Surface Design เผยให้เห็นถึงการตั้งค่าสภาวะกระบวนการผสมยาง EPDM non-oil มาสเตอร์แบทที่เหมาะสมดังนี้: เวลาผสม ~ 14 (นาที), ระยะห่างระหว่างลูกกลิ้ง (nip gap) ~ 1.10 (มิลลิเมตร) และจำนวนรอบของการรีดผ่าน nip gap ~ 9 (รอบ) ผลการวิจัยยังแสดงให้เห็นว่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานที่ลดลงจาก 0.45 เป็น 0.30


การพัฒนาระบบการบำรุงรักษาของเครื่องจักรกลหนักสำหรับการก่อสร้างถนน, ปาริสา ศิริพันธุ์ Jan 2019

การพัฒนาระบบการบำรุงรักษาของเครื่องจักรกลหนักสำหรับการก่อสร้างถนน, ปาริสา ศิริพันธุ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบซ่อมบำรุงเครื่องจักรกลหนักสำหรับงานก่อสร้างถนน เครื่องจักรกลหนักในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ รถเกลี่ยดิน รถบดสั่นสะเทือน รถบรรทุกน้ำ รถขุดไฮดรอลิก รถบรรทุกสิบล้อ รถบดล้อยางและรถตักล้อยาง หากเครื่องจักรใดเสียหรือทำงานผิดปกติจะส่งผลกระทบต่อการทำงานของเครื่องจักรอื่น ๆ ในขั้นตอนต่อไปและทำให้การก่อสร้างถนนอาจเกิดความล่าช้า จากกรณีศึกษานี้พบว่าเครื่องจักรมีความล้มเหลวเรื้อรังและเกิดลุกลามจนทำให้เครื่องจักรหยุดทำงาน ในขณะเดียวกันพบว่ามีการรั่วไหลของของเหลวและมีสัดส่วนการเสียของเครื่องจักรสูง เมื่อทำการวิเคราะห์หาสาเหตุพบว่าเกิดจากสามสาเหตุหลักได้แก่ (1) ขาดการจัดการการบำรุงรักษาในการปฏิบัติงาน (2) ขาดทัศนคติที่ดีต่อการบำรุงรักษาและ (3) ขาดระบบรายงานการบำรุงรักษา การดำเนินงานวิจัยนี้จึงได้พัฒนาระบบการบำรุงรักษาด้วยการนำการบำรุงรักษาด้วยตนเองและระบบรายงานการบำรุงรักษามาประยุกต์ใช้ ได้มีการนำวงจรเดมมิ่งและการมีส่วนร่วมของบุคลากรมาใช้เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดการปรับปรุง มีผลทำให้บุคลากรในองค์กรมีการพัฒนาอย่างเป็นระบบและมีทัศนคติต่องานบำรุงรักษาที่ดีขึ้น เมื่อดำเนินการระบบการบำรุงรักษานี้เป็นเวลาหนึ่งปีกับหกเดือน พบว่าการรั่วไหลของของเหลวลดลง 84% ประสิทธิภาพการใช้ของเหลวเพิ่มขึ้นจาก 22% เป็น 70% และสัดส่วนการเสียของเครื่องจักรลดลง 53% นอกจากนี้ค่าบำรุงรักษาสามารถลดลงได้ 34-86%


การศึกษาการเกิดเศษโลหะของเหล็กกล้าไร้สนิม ในกระบวนการผลิตวาล์วควบคุมแรงดัน สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์, พยุห์ เกิดจงรักษ์ Jan 2019

การศึกษาการเกิดเศษโลหะของเหล็กกล้าไร้สนิม ในกระบวนการผลิตวาล์วควบคุมแรงดัน สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์, พยุห์ เกิดจงรักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเกิดเศษโลหะของเหล็กกล้าไร้สนิม เนื่องจากพบปัญหาเศษโลหะติดอยู่ในรูของชิ้นงาน จากการเก็บข้อมูลของเสียระหว่างเดือนสิงหาคม-ตุลาคม พ.ศ.2562 ในไลน์การผลิตที่ 1 และไลน์การผลิตที่ 2 พบว่าทั้งสองไลน์การผลิตมีสัดส่วนของเสียเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 0.11 หรือคิดเป็น 1,130 PPM ต่อเดือน ในการดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 5 ระยะ โดยในระยะที่ 1 ทำการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา พบว่าปัญหาเศษโลหะติดอยู่ในรูชิ้นงานเกิดในกระบวนการกลึงปาดหน้าด้วยมีดตัดหยาบเนื่องจากลักษณะของเศษโลหะที่เกิดปัญหากับเศษโลหะในกระบวนการมีความใกล้เคียงกันทั้งขนาดและรูปร่าง ระยะที่ 2 ศึกษาทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการเกิดเศษโลหะ โดยพบว่ามีปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการแตกหักและทิศทางของเศษโลหะคือเงื่อนไขการตัด ที่ประกอบด้วย ความลึกตัด อัตราป้อนตัดและความเร็วรอบสปินเดิล ระยะที่ 3 กำหนดขั้นตอนในวิธีดำเนินการวิจัย ระยะที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ปัจจุบันเศษโลหะมีโอกาสตกลงไปในรูของชิ้นงานทุกระยะตัด จากผลการเปลี่ยนเงื่อนไขการตัด พบว่าเงื่อนไขที่เหมาะสมคือเงื่อนไขที่ 1 คือการเพิ่มความลึกตัดให้มากสุดที่ไม่ส่งผลต่อขนาดของชิ้นงาน เนื่องจากเศษโลหะจะมีความหนาเพิ่มขึ้นทำให้แตกหักง่าย มีความโค้งงอที่ลดลง จาก 2.04-3.12 มิลลิเมตร เป็น 0.56-1.48 มิลลิเมตร ทิศทางการแตกหักจะชนกับชิ้นงานทำให้กระเด็นไปทางอื่น ผลทดลองกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 20 ข้อมูล ไม่พบปัญหาเศษโลหะติดอยู่ในรูชิ้นงานเนื่องจากขนาดของเศษโลหะที่เล็กลง สรุปได้ว่าเงื่อนไขการตัดหลังปรับปรุงมีความเหมาะสมในการลดโอกาสที่ทำให้เศษโลหะติดค้างในรูชิ้นงานได้ และระยะที่ 5 สรุปผลการทดลอง ข้อเสนอแนะและอุปสรรคในการทดลอง


การคัดแยกของเสียอัตโนมัติในกระบวนการผลิตหัวอ่านเขียนด้วยวิธีการประมวลผลภาพดิจิตอลและการจดจำรูปแบบ, พลวุฒิ จตุราวิชานันท์ Jan 2019

การคัดแยกของเสียอัตโนมัติในกระบวนการผลิตหัวอ่านเขียนด้วยวิธีการประมวลผลภาพดิจิตอลและการจดจำรูปแบบ, พลวุฒิ จตุราวิชานันท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ เพื่อพัฒนาอัลกอริทึมที่ใช้ในการตรวจสอบและคัดแยกคุณภาพหัวอ่านเขียนฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟในสายการผลิต ปัจจุบันนี้กระบวนการตรวจสอบคัดแยกชิ้นงานดำเนินงานโดยพนักงานที่มีทักษะในการตรวจสอบชิ้นงาน ซึ่งขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของพนักงานโดยตรง และทำให้เกิดความผิดพลาดจากการตัดสินโดยพนักงานที่ไม่มีทักษะในการตรวจสอบชิ้นงาน จึงมีการพัฒนาการตรวจสอบและคัดแยกคุณภาพชิ้นงาน โดยการประยุกต์ใช้กล้องถ่ายภาพและเทคนิคการประมวลผลภาพดิจิตอลเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลภาพ โดยพิจารณาจำนวนแผ่นอิเล็กโทรด ค่าพื้นที่นูนและค่าความเยื้องศูนย์ จากนั้นใช้คุณสมบัติการวัดของขอบเขตภาพเพื่อปรับปรุงอัลกอริทึมตรวจสอบและคัดแยกคุณภาพของหัวอ่านเขียนฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟในกระบวนการผลิต โดยทำการทดลองกับหัวอ่านเขียนทั้งหมด 30 ชิ้น เพื่อเก็บข้อมูลและ นำข้อมูลที่เก็บมาได้ไปวิเคราะห์หาค่าเป้าหมายของ 1. จำนวนแผ่นอิเล็กโทรด มีค่าเป้าหมายเท่ากับ 9 แผ่น 2. ค่าพื้นที่นูน มีค่าเป้าหมายอยู่ระหว่าง 3906 - 5590 และ 3. ค่าความเยื้องศูนย์ มีค่าเป้าหมายอยู่ระหว่าง 7.89 - 8.40 เพื่อใช้ในการฝึกอัลกอริทึม (Training) ให้เกิดการรู้จำค่าเป้าหมาย และ ขั้นตอนสุดท้ายคือการทดลองอัลกอริทึม โดยการตรวจสอบชิ้นงาน 10 ชิ้น หลังผลการทดลองพบว่า อัลกอริทึมสามารถตรวจสอบและคัดแยกคุณภาพชิ้นงานได้ถูกต้อง 100%


การลดขนาดรอยบิ่นบนแผ่นเวเฟอร์ชนิดบางพิเศษและพื้นที่ทางตัดแคบสำหรับกระบวนการตัดแผ่นเวเฟอร์, วรวิช สนามทอง Jan 2019

การลดขนาดรอยบิ่นบนแผ่นเวเฟอร์ชนิดบางพิเศษและพื้นที่ทางตัดแคบสำหรับกระบวนการตัดแผ่นเวเฟอร์, วรวิช สนามทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

รอยบิ่นคือปัญหาใหญ่ของประบวนการตัดแผ่นเวเฟอร์ เมื่อรอยบิ่นนั้นมีขนาดใหญ่และกินพื้นที่เข้าไปในบริเวณพื้นที่ใช้งานของตัวไดเนื่องจากขนาดของรอยบิ่นมีขนาดใหญ่กว่าบริเวณพื้นที่ปลอดข้อบกพร่อง ดังนั้นคุณภาพของการตัดแผ่นเวเฟอร์ที่ดีต้องมีขนาดรอยบิ่นที่เล็ก หรือดีที่สุดคือไม่เกิดรอยบิ่นขึ้นเลย ในขณะที่วงจรจรวมในปัจจุบันมีราคาไม่สูงมากนัก และขนาดของตัวผลิตภัณฑ์มีแนวโน้มเล็กลงอย่างต่อเนื่อง หลายบริษัทจึงสนใจแผ่นเวเฟอร์ชนิดบางพิเศษ (แผ่นเวเฟอร์ที่มีความหนาไม่เกิน 100 ไมโครเมตร) และยังสนใจการเพิ่มจำนวนไดต่อแผ่นเวเฟอร์ให้มากขึ้นเพื่อเป็นการประหยัดต้นทุน แต่การตัดแผ่นเวเฟอร์จะลำบากมากขึ้นเมื่อจำนวนไดในแผ่นเวเฟอร์มีมากขึ้น เพราะการเพิ่มจำนวนไดในแผ่นเวเฟอร์จะส่งผลให้ขนาดของพื้นที่ทางตัดแคบลง สำหรับโรงงานกรณีศึกษา ลูกค้าลดขนาดพื้นที่ทางตัดจาก 80 ไมโครเมตร ให้เหลือเพียง 60 ไมโครเมตร ซึ่งชุดค่าการปรับที่ใช้อยู่ในปัจจุบันไม่สามารถตัดแผ่นเวเฟอร์ชนิดนี้ได้เพราะค่าเฉลี่ยของขนาดของรอยบิ่นมีขนาดใหญ่ 14 ไมโครเมตร ซึ่งมากกว่าขนาดของพื้นที่ปลอดข้อบกพร่อง 13.5 ไมโครเมตร จึงจำเป็นต้องทำการปรับปรุงกระบวนการตัดแผ่นเวเฟอร์ เพื่อลดขนาดรอยบิ่นที่เกิดจากกระบวนการตัดให้เล็กลง ซึ่งเทคนิคการปรับปรุงที่ใช้คือวิธีของซิกซ์-ซิกม่า โดยหาปัจจัยนำเข้าที่ส่งผลต่อรอยบิ่นและหาชุดค่าการปรับที่เหมาะสมเพื่อที่จะทำให้ขนาดของรอยบิ่นเล็กที่สุด ประกอบไปด้วย ความหนาของใบมีดผงเพชร 20 ไมโครเมตร, ความเร็วรอบตัด 50,000 รอบต่อนาที, และความเร็วป้อนตัด 39 มิลลิเมตรต่อวินาที ซึ่งส่งผลให้ค่าเฉลี่ยของขนาดของรอยบิ่นที่กระบวนการตัดแผ่นเวเฟอร์ลดลงจาก 14 ไมโครเมตร เหลือเพียง 4.5 ไมโครเมตร หรือค่าเฉลี่ยของขนาดของรอยบิ่นมีขนาดเล็กลง 67.86 เปอร์เซ็นต์


การวิเคราะห์ปัจจัยในกระบวนการผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนที่ส่งผลต่อค่าคุณสมบัติเชิงกล, สัจจะพจน์ คชวัฒน์ Jan 2019

การวิเคราะห์ปัจจัยในกระบวนการผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนที่ส่งผลต่อค่าคุณสมบัติเชิงกล, สัจจะพจน์ คชวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยของกระบวนการผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนที่ส่งผลต่อค่าคุณสมบัติเชิงกลของโรงงานตัวอย่างดำเนินการทดลองโดยควบคุมอุณหภูมิหลังรีดละเอียด (FT) ที่ 830, 850, 870ºC ปริมาณธาตุ Boron(B) ที่ 10, 20, 30 ppm และอุณหภูมิชดเชยที่ขอบ (Te) ที่ 10, 20, 30ºC จากนั้นนำชิ้นงานไปตรวจวัดค่าคุณสมบัติเชิงกล ได้แก่ ค่าความเค้นจุดคราก ค่าความเค้นแรงดึงสูงสุด และค่าร้อยละของการยืดตัว รวมถึงตรวจสอบโครงสร้างจุลภาคในเนื้อเหล็ก ผลการทดสอบพบว่า (1) อิทธิพลหลักของทั้ง 3 ปัจจัย ได้แก่ อุณหภูมิหลังรีดละเอียด (FT), ปริมาณธาตุ Boron (B) และ อุณหภูมิชดเชยที่ขอบ (Te) มีผลต่อการผันแปรค่าเชิงกลของเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน ขณะที่ปฏิสัมพันธ์ของตัวแปรทั้งสามไม่มีอิทธิพลทางสถิติที่ระดับ α=0.05 (2) การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิอุณหภูมิหลังรีดละเอียด (FT) มีผลให้ค่าความเค้นจุดคราก (YS) และค่าความเค้นแรงดึงสูงสุด (TS) เพิ่มขึ้น ขณะที่ค่าร้อยละการยืดตัว (EL) ลดลง (3) การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิชดเชยที่ขอบ (Te) และปริมาณBoron (B) จะส่งผลให้ค่าร้อยละการยืดตัว (EL) เพิ่มขึ้น ขณะที่ค่าความเค้นจุดคราก (YS) และค่าความเค้นแรงดึงสูงสุด (TS) มีค่าลดลง (4) ระดับปัจจัยที่ส่งผลให้เหล็กมีคุณสมบัติความแข็งแรงต่ำสุดและมีความยืดสูงสุด ได้แก่ อุณหภูมิหลังรีดละเอียด (FT) 830ºC, ปริมาณBoron (B) 30 ppm และอุณหภูมิชดเชยที่ขอบ (Te) 30ºC ให้ผลลัพธ์ค่าความเค้นจุดคราก 206±5.0 MPa ค่าความเค้นแรงดึงสูงสุด 306±4.0 MPa และค่าร้อยละการยืดตัว 50±1.0% (5) ระดับปัจจัยที่ส่งผลให้เหล็กมีคุณสมบัติความแข็งแรงสูงสุดและมีความยืดต่ำสุด ได้แก่ อุณหภูมิหลังรีดละเอียด (FT) 870ºC, ปริมาณBoron (B) 10 ppm และอุณหภูมิชดเชยที่ขอบ (Te) 10ºC …


การจัดตารางการผลิตโดยวิธีการฮิวริสติกส์ สำหรับกระบวนการบรรจุยาสีฟัน, สุวัฑฒิพงศ์ พรหมจันทร์ Jan 2019

การจัดตารางการผลิตโดยวิธีการฮิวริสติกส์ สำหรับกระบวนการบรรจุยาสีฟัน, สุวัฑฒิพงศ์ พรหมจันทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มุ่งเน้นการพัฒนาฮิวริสติกสำหรับปัญหาการบรรจุยาสีฟัน (TFP) ซึ่งมีความซับซ้อนของผลิตภัณฑ์ (สูตร และขนาด) รวมถึงข้อจำกัดต่างๆ ของเครื่องบรรจุและถังเก็บ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องบรรจุที่มีความเร็วและความสามารถในการบรรจุยาสีฟันแต่ละขนาดที่แตกต่างกัน ส่งผลทำให้งานบางงานไม่สามารถผลิตบนเครื่องจักรบางเครื่องได้ นอกจากนี้ยังมีถังเก็บที่มีจำนวนจำกัด และขนาดที่แตกต่างกัน อีกทั้งไม่สามารถนำถังบรรจุมาใช้บรรจุมากกว่าหนึ่งเครื่องในเวลาเดียวกันได้ ส่งผลทำให้การจัดตารางการผลิตมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ผู้วิจัยทำการแก้ปัญหา TFP ด้วยวิธีการสองขั้นตอน (Two-phase Method) โดยการสร้างคำตอบขั้นต้นด้วยกฎการส่งมอบงานเร็วสุด (EDD) แล้วทำการปรับปรุงคำตอบเริ่มต้นโดยนำแนวคิดการค้นหาคำตอบในการย่านใกล้เคียงแบบแปรผัน (Variable Neighborhood Search) และได้ทำการทดสอบฮิวริสติกด้วยข้อมูลตัวอย่างจากบริษัทผลิตสินค้าอุปโภคบริโภครายใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย จากนั้นทำการเปรียบเทียบกับการแผนงานในปัจจุบันพบว่าฮิวริสติกที่นำเสนอสามารถลดเวลาปิดงาน (Makespan) ลงโดยเฉลี่ย 20% หรือคิดเป็นมูลค่า 12 ล้านบาทต่อปี จากการลดเวลาทำงานล่วงเวลา (Overtime)