Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Engineering Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Theses/Dissertations

2019

Discipline
Institution
Keyword
Publication
File Type

Articles 3631 - 3660 of 4424

Full-Text Articles in Engineering

ผลของการเติมซิลิคอนในกระบวนการอะลูมิไนซิงแบบผงต่อชั้นเคลือบบนเหล็ก, บวรรัตน์ เอมทิพย์ Jan 2019

ผลของการเติมซิลิคอนในกระบวนการอะลูมิไนซิงแบบผงต่อชั้นเคลือบบนเหล็ก, บวรรัตน์ เอมทิพย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กระบวนการอะลูมิไนซิงเป็นวิธีการปรับปรุงผิวชิ้นงานที่รู้จักกันดี โดยการสร้างชั้นเคลือบอะลูมิไนด์ เช่น นิกเกิลอะลูมิไนด์ (NixAly) บนนิกเกิลอัลลอยด์ (nick alloys) และเหล็กอะลูมิไนด์ (FexAly) บนเหล็กกล้า (steel) โดยชั้นเคลือบอะลูมิไนด์สามารถปรับปรุงความต้านทานการเกิดออกซิเดชันให้แก่ชิ้นงานได้โดยการเป็นแหล่งที่มาของอะลูมิเนียมในการเกิดชั้นอะลูมิเนียมออกไซด์ (Al2O3) ในงานวิจัยนี้ได้ศึกษาเกี่ยวกับการเติมซิลิคอนไดออกไซด์ (SiO2) ในกระบวนการอะลูมิไนซิงแบบผงบนชิ้นงานเหล็ก (Fe 99.45 wt.%) เพื่อปรับปรุงความต้านทานการเกิดออกซิเดชันแก่ชิ้นงาน โดยเติมซิลิคอนไดออกไซด์ในสองอัญรูปได้แก่ ควอตซ์ (Quartz) และแกลบ (Rice Husk Ash: RHA) กระบวนการอะลูมิไนซิงทำที่อุณหภูมิ 1000°C เป็นเวลา 2.25 ชั่วโมง เติมซิลิคอนไดออกไซด์ 9, 13.5 และ 18 wt.% และทดสอบออกซิเดชันที่อุณหภูมิ 1000°C เป็นเวลารวม 200 ชั่วโมง นำชิ้นงานที่ผ่านกระบวนการอะลูมิไนซิงมาวิเคราะห์เฟสที่เกิดขึ้นของชั้นเคลือบโดยเทคนิค X-ray diffractometer (GIXD), วิเคราะห์โครงสร้างจุลภาคของชิ้นงานและความหนาของชั้นเคลือบด้วยกล้องจุลทรรศน์แสง (Optical microscope), วิเคราะห์โครงสร้างจุลภาคและปริมาณธาตุในชั้นเคลือบด้วย Scanning Electron Microscope (SEM) และ energy dispersive spectroscope (EDS) ชิ้นงานที่ผ่านกระบวนการอะลูมิไนซิงโดยเติมควอตซ์และแกลบสามารถสร้างชั้นเคลือบเหล็กอะลูมิไนด์ได้ ชิ้นงานที่เติมควอตซ์มีความต้านทานการเกิดออกซิเดชันที่ดีกว่าชิ้นงานอะลูมิไนซิงในช่วง 150 ชั่วโมงแรก และดีกว่าชิ้นงานที่เติมแกลบ โดยชิ้นงานที่เติมควอตซ์น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นในช่วงแรก 0 – 40 ชั่วโมง มาจากการโตของอะลูมิเนียมออกไซด์ ทำให้อัตราการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักต่ำกว่าชิ้นงานที่เติมแกลบ จากนั้นทั้งชิ้นงานที่เติมควอตซ์และแกลบพบว่าน้ำหนักจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วซึ่งเป็นผลมาจากข้อบกพร่อง (defect) ในชั้นเคลือบ


ผลของการเติมโคบอลต์ และนิกเกิลในโลหะผสมพิเศษเนื้อพื้นนิกเกิลเกรดอินโคเนล 738 ที่มีการเติมอะลูมิเนียมเพิ่ม 1% โดยน้ำหนัก ด้วยกระบวนการหลอมแบบอาร์ค ต่อโครงสร้างจุลภาค และความเสถียรของเฟสแกมมาไพรม์, วิชชเวศร์ ก่อธรรมนิเวศน์ Jan 2019

ผลของการเติมโคบอลต์ และนิกเกิลในโลหะผสมพิเศษเนื้อพื้นนิกเกิลเกรดอินโคเนล 738 ที่มีการเติมอะลูมิเนียมเพิ่ม 1% โดยน้ำหนัก ด้วยกระบวนการหลอมแบบอาร์ค ต่อโครงสร้างจุลภาค และความเสถียรของเฟสแกมมาไพรม์, วิชชเวศร์ ก่อธรรมนิเวศน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลของการเติมธาตุนิกเกิล และโคบอลต์ ในปริมาณที่แตกต่างกันในโลหะผสมพิเศษเนื้อพื้นนิกเกิลเกรดอินโคเนล 738 ที่เติมอะลูมิเนียมเพิ่ม 1% โดยน้ำหนัก และหลอมละลายแบบอาร์กสุญญากาศ ผลการทดลองที่ได้หลังจากชิ้นงานผ่านกรรมวิธีทางความร้อนมาตรฐาน ซึ่งประกอบด้วยการทำละลาย ที่อุณหภูมิ 1175oC เป็นเวลา 4 ชั่วโมง และ การบ่มแข็ง ที่อุณหภูมิ 845oC เป็นเวลา 24 ชั่วโมง แสดงให้เห็นว่าการเพิ่มธาตุผสมนิกเกิล ลงในโลหะผสมพิเศษเนื้อพื้นนิกเกิลจะเป็นการเพิ่มความเสถียรของโครงสร้างพื้น รวมทั้งนิกเกิลยังเป็นธาตุหลักที่ใช้ในการ สร้างอนุภาคแกมมาไพรม์ อีกด้วย ในขณะที่การเพิ่มธาตุผสมโคบอลต์ ส่งผลให้อัตราการโตของอนุภาคแกมมาไพรม์ลดลง โดยหลังการจำลองการใช้งานที่อุณหภูมิ 900oC เป็นเวลา 400 ชั่วโมง ชิ้นงานที่มีการเติมธาตุผสมโคบอลต์ 6 %โดยน้ำหนัก จะมีขนาดอนุภาคแกมมาไพรม์เล็กที่สุดคือขนาด 0.086 ตารางไมครอน และหลังจำลองการใช้งานที่อุณหภูมิ 1000oC เป็นเวลา 400 ชั่วโมง ชิ้นงานที่มีการเติมธาตุผสมโคบอลต์ 4.5 %โดยน้ำหนัก จะมีขนาดอนุภาคแกมมาไพรม์เล็กที่สุดคือขนาด 1.041 ตารางไมครอน นอกจากนี้ยังพบว่าตัวอย่างที่มีการเพิ่มธาตุผสมอะลูมิเนียม 1% โดยน้ำหนัก จะมีอัตราการโตของอนุภาคไพรม์ ทั้งกรณีหลังจำลองการใช้งานที่อุณหภูมิ 900oC เป็นเวลา 400 ชั่วโมง และกรณีหลังการจำลองการใช้งานที่อุณหภูมิ 1000oC เป็นเวลา 400 ชั่วโมง มีค่ามากกว่า ชิ้นงานที่ไม่มีการเติม ธาตุผสมอะลูมิเนียมเพิ่ม


การพัฒนาระบบอ่านมิเตอร์อัตโนมัติสนับสนุนการจัดการไฟฟ้าดับโดยใช้เทคโนโลยี Lorawan, จิตติวัชร์ สมุหศิลป์ Jan 2019

การพัฒนาระบบอ่านมิเตอร์อัตโนมัติสนับสนุนการจัดการไฟฟ้าดับโดยใช้เทคโนโลยี Lorawan, จิตติวัชร์ สมุหศิลป์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Automatic Meter Reading (AMR) เป็นส่วนสำคัญของระบบไฟฟ้าส่วนจำหน่ายที่สามารถให้ข้อมูลจากลูกค้าเพื่อการตรวจสอบค่าวัดที่จำเป็นต่อระบบไฟฟ้า และด้วยความช่วยเหลือของเทคโนโลยีการสื่อสารจึงสามารถใช้ AMR ช่วยเหลือในระบบจัดการไฟฟ้าดับได้ เมื่อเกิดการขัดข้อง AMR จะส่งการแจ้งเตือนไฟฟ้าดับไปยังผู้ให้บริการ (Utilities) เพื่อประเมินสถานการณ์ และส่วนสำคัญอีกส่วนหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือรูปแบบการสื่อสารของ AMR ซึ่งปัจจุบันมีระบบการสื่อสารที่ได้มีบทบาทมากขึ้น เช่น LoRaWAN ที่เป็น Low Power Wide Area Network (LPWAN) ที่ให้การส่งสัญญาณในระยะไกลโดยใช้พลังงานที่ต่ำ อย่างไรก็ตามมันยังมีข้อจำกัดบางประการ เช่น ความเร็วในการส่ง ขนาดของข้อมูล หรือ ความจุของเครือข่าย การนำมาใช้งานร่วมกับ AMR เพื่อใช้งานในระบบจัดการไฟฟ้าดับจึงจำเป็นต้องหาอัลกอริธึมที่เหมาะสมสำหรับการใช้งานดังกล่าว บทความนี้จึงจะศึกษาถึงวิธีการใช้ LoRaWan ร่วมกับ AMR ในการอ่านค่าวัดหรือสถานะและพัฒนาอัลกอริธึมที่เหมาะสมเพื่อใช้งาน LoRaWAN ร่วมกับระบบจัดการไฟฟ้าดับดังกล่าว


ระบบวิเคราะห์ความสูงและการเคลื่อนที่ของเมฆแบบเวลาจริงโดยใช้ภาพถ่ายแบบสเตอริโอ, ชยากร ประเสริฐเสรี Jan 2019

ระบบวิเคราะห์ความสูงและการเคลื่อนที่ของเมฆแบบเวลาจริงโดยใช้ภาพถ่ายแบบสเตอริโอ, ชยากร ประเสริฐเสรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กล้องถ่ายภาพทั่วฟ้า คืออุปกรณ์ใช้สังเกตการณ์สภาพอากาศที่ติดตั้งบริเวณภาคพื้นชนิดหนึ่ง โดยให้มุมมองการถ่ายภาพตั้งฉากกับพื้นโลก ข้อมูลจากอุปกรณ์ดังกล่าวนำไปใช้ในการประเมิณปริมาณเมฆที่ปกคลุมบริเวณเหนือกล้อง และบอกทิศทางการเคลื่อนที่ของกลุ่มเมฆได้ แต่ไม่สามารถบอกข้อมูลความสูงและความเร็วของเมฆซึ่งเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์และถูกนำไปใช้งานในหลายแขนง เช่น การบิน การพยากรณ์อากาศและการพยากรณ์พลังงานแสงอาทิตย์ เป็นต้น วิทยานิพนธ์นี้เสนอการพัฒนาระบบวิเคราะห์ความสูงและการเคลื่อนที่ของเมฆแบบเวลาจริงโดยใช้ภาพถ่ายแบบสเตอริโอ เพื่อใช้ประมาณความสูงฐานเมฆรวมถึงความเร็วของกลุ่มเมฆที่เคลื่อนที่เหนือรัศมีของระบบถ่ายภาพ โดยใช้กล้อง Canon EOS M100 สองตัว ที่ถูกควบคุมการถ่ายภาพให้พร้อมกันและส่งภาพถ่ายขึ้นคลาวด์ด้วยบอร์ดคอมพิวเตอร์ Raspberry Pi ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้ใช้หลักการวิเคราะห์สามเหลี่ยมระยะทางในการประมาณความสูงเมฆ และได้พัฒนากระบวนการปรับเทียบระบบถ่ายภาพขึ้นใหม่ ซึ่งทำให้การวิเคราะห์ความสูงฐานเมฆมีความแม่นยำขึ้น การทดสอบวัดระยะทำโดยการวัดระยะทางกับอาคารที่ทราบระยะโดยใช้ Google map พบว่ามีความผิดพลาดน้อยกว่า 6% สำหรับเป้าหมายที่ระยะน้อยกว่า 200 เมตรและประมาณ 8% สำหรับเป้าหมายที่ระยะ 1,200 เมตร และการทดลองวัดความเร็วรถยนต์พบว่าอัลกอริทึมที่ใช้มีความสอดคล้องกับการวัดความเร็วเมฆโดยผิดพลาดที่น้อยกว่า 10%


การวางแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าร่วมกับระบบกักเก็บพลังงานประเภทแบตเตอรี่โดยพิจารณาการตอบสนองของโรงไฟฟ้าต่อการเปลี่ยนแปลงของโหลด, กีรติ รัตนประทุม Jan 2019

การวางแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าร่วมกับระบบกักเก็บพลังงานประเภทแบตเตอรี่โดยพิจารณาการตอบสนองของโรงไฟฟ้าต่อการเปลี่ยนแปลงของโหลด, กีรติ รัตนประทุม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศไทยที่เปลี่ยนแปลงไปอันเป็นผลมาจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาของเทคโนโลยีในการผลิตไฟฟ้า ภาครัฐจึงจำเป็นต้องพิจารณาวางแผนการผลิตไฟฟ้าให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ไฟฟ้าที่มีแนวโน้มสูงขึ้นและมีความผันผวนในอนาคต โดยต้องคำนึงถึงการกระจายสัดส่วนเชื้อเพลิงและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไปพร้อม ๆ กัน ในปัจจุบันโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เริ่มเข้าสู่ระบบไฟฟ้าในสัดส่วนสูง ซึ่งส่งผลต่อความผันผวนของการผลิตไฟฟ้าและความต้องการใช้ไฟฟ้าอันมีสาเหตุมาจากปัญหาเรื่องความไม่สามารถพึ่งพาได้ของโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนเหล่านี้ ดังนั้นผู้ควบคุมระบบไฟฟ้าจึงต้องพิจารณาจัดเตรียมโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงพาณิชย์เพื่อมารองรับกำลังการผลิตของโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนที่อาจจะขาดหายไปจากระบบไฟฟ้า อย่างไรก็ตาม ความสามารถในการผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงพาณิชย์อาจไม่สามารถตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของความต้องการใช้ไฟฟ้าที่แตกต่างกันมาในแต่ละชั่วโมงได้อย่างทันทีทันใด วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ จึงนำเสนอหลักการในการวางแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าร่วมกับระบบกักเก็บพลังงานประเภทแบตเตอรี่ ซึ่งสามารถคำนวณขนาดพิกัดติดตั้งของแบตเตอรี่ได้จากกำลังผลิตที่คาดว่าจะไม่สามารถพึ่งพาได้จากโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน เพื่อช่วยลดภาระในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ อีกทั้งพิจารณาการตอบสนองของโรงไฟฟ้าต่อการเปลี่ยนแปลงของโหลดโดยแบ่งลักษณะความต้องการใช้ไฟฟ้าออกเป็น 5 ระดับ และจำแนกประเภทของโรงไฟฟ้าให้มีความสอดคล้องกับระดับความต้องการใช้ไฟฟ้า มีการทดสอบกระบวนการวางแผนที่นำเสนอโดยสร้างกรณีศึกษาโดยใช้ฐานข้อมูลตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ พ.ศ. 2561-2580 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 (PDP2018 Rev.1) ผลลัพธ์ที่ได้แสดงให้เห็นว่า การวางแผนก่อสร้างโรงไฟฟ้าและติดตั้งแบตเตอรี่ตามวิธีที่นำเสนอนั้น ทำให้ดัชนีความเชื่อถือได้ค่าดีขึ้น และอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เฉลี่ยของระบบไฟฟ้ามีค่าลดลง โดยมีกำลังผลิตไฟฟ้าที่สามารถรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่มีความผันผวนได้อย่างเพียงพอ อย่างไรก็ตามต้นทุนค่าใช้จ่ายต่อหน่วยเฉลี่ยมีสูงขึ้นเล็กน้อยเนื่องมากจากกำลังผลิตรวมในระบบไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น


ระบบควบคุมไฟฟ้าแสงสว่างถนนอัจฉริยะโดยใช้การสื่อสารแบบเครือข่าย, ณธวัฒน์ สุขะไท Jan 2019

ระบบควบคุมไฟฟ้าแสงสว่างถนนอัจฉริยะโดยใช้การสื่อสารแบบเครือข่าย, ณธวัฒน์ สุขะไท

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้นำเสนอระบบควบคุมไฟฟ้าแสงสว่างถนนอัจฉริยะด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารแบบเครือข่ายซึ่งคือ LoRaWAN ในการควบคุมการส่องสว่างของไฟถนนในช่วงเวลากลางคืนให้มีการใช้ไฟฟ้าน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ การประหยัดพลังงานของระบบนี้ทำได้โดยการใช้ Sensor ในการตรวจสอบการเคลื่อนไหวของวัตถุและทำการตรวจสอบการจราจรบนถนน ระบบไฟฟ้าแสงสว่างถนนจะถูกควบคุมด้วยอุปกรณ์การสื่อสารผ่านระบบ LoRaWAN ที่เรียกว่า Endpoint Module ซึ่งจะทำการรับและส่งข้อมูลเข้าสู่ Gateway ก่อนจะส่งข้อมูลไปประมวลผลที่ TheThingsNetwork ซึ่งจะทำหน้าที่เป็น Server หลักในการสื่อสารและประมวลผล และทำการสั่งการกลับไปยัง Endpoint Module ซึ่งจะทำหน้าที่ควบคุมระบบไฟฟ้าแสงสว่างถนน โดยระบบจะทำการลดความสว่างของโคมไฟตามการตรวจจับของ Sensor ถ้าไม่มียานพาหนะผ่าน จากการศึกษาพบว่าระบบสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีเสถียรภาพที่ดีและระยะทางของการทำงานที่ไกลเกินกว่า 2 กฺิโลเมตร จากการลดแสงสว่างของดวงโคม สามารถทำการประหยัดพลังงานที่ใช้ได้เกินกว่า 40% ในถนนแบบ M Class ประมาณ 30% ใน P Class และ10-20% ใน C Class มีงบประมาณในการติดตั้งระบบอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่มากนักรวมถึงสามารถพัฒนาต่อไปได้อีก ซึ่งจากการคำนวณทางด้านงบประมาณ จะเห็นได้ว่าสามารถคืนทุนได้เร็วในประมาณ 2 ปี ในถนนประเภท M Class และ P Class แต่จะคืนทุนได้ช้าในถนนประเภท C Class ซึ่งจะใช้เวลาถึง 10 ปี ทำให้การติดตั้งนั้นควรทำการติดตั้งในถนน M Class และ P Class เป็นหลักเนื่องจากสามารถประหยัดพลังงานได้ดีและคืนทุนได้ไว


การพัฒนาระบบวัดช่วงเวลาเดินทางผ่านของชีพจรสำหรับการประมาณค่าความดันโลหิตแบบไร้ปลอกแขน, ทิพย์นิรินทร์ วัจนะรัตน์ Jan 2019

การพัฒนาระบบวัดช่วงเวลาเดินทางผ่านของชีพจรสำหรับการประมาณค่าความดันโลหิตแบบไร้ปลอกแขน, ทิพย์นิรินทร์ วัจนะรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวัดความดันโลหิตด้วยเครื่องวัดความดันแบบออสซิลโลเมตริกเป็นวิธีที่ถูกใช้งานในทางการแพทย์อย่างแพร่หลาย แต่ด้วยข้อจำกัดของการมีปลอกแขนทำให้ไม่สามารถใช้วัดความดันโลหิตในผู้ป่วยบางกลุ่มได้ งานวิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงมีจุดมุ่งหมายพัฒนาอุปกรณ์ต้นแบบในการบันทึกสัญญาณโฟโตเพลตทีสโมแกรม (PPG) 2 ช่องพร้อมกับสัญญาณคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG) เพื่อนำไปประมาณค่าความดันโลหิตแบบไร้ปลอกแขนด้วยเทคนิคการวัด pulse arrival time (PAT) เปรียบเทียบกับ pulse transit time (PTT) โดย PAT เป็นช่วงเวลาระหว่าง R-wave ของ ECG กับจุดยอดของ PPG ที่ปลายนิ้ว และ PTT เป็นช่วงเวลาระหว่างจุดยอดของ PPG ที่ข้อพับบริเวณข้อศอก กับ PPG ที่ปลายนิ้ว โดยให้อาสาสมัครจำนวน 5 คนออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความดันโลหิตและวัดสัญญาณ ทั้งนี้ได้ออกแบบการทดลองและประเมินความแม่นยำภายใต้แนวทางของมาตรฐาน IEEE Std 1708™-2014 ผลการทดลองการประมาณค่าความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว (SBP) พบว่า PAT มีแนวโน้มผกผันกับ SBP เป็นไปตามทฤษฎี ในขณะที่ PTT ไม่แสดงถึงความสัมพันธ์กับ SBP ที่ชัดเจน การประมาณค่าความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัว (DBP) ไม่แสดงถึงแนวโน้มความสัมพันธ์กับทั้ง PAT และ PTT ส่วนผลการทดลองประมาณค่า SBP ซ้ำภายใน 90 วันพบว่าเฉพาะ PAT มีความสามารถในการวัดซ้ำได้ดี โดยสรุปแล้ว PAT มีความสามารถในการประมาณค่าความดันโลหิต SBP แสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการพัฒนาระบบการวัดความดันโลหิตแบบไร้ปลอกแขนให้แม่นยำมากขึ้นเพื่อประยุกต์ใช้ในทางการแพทย์ในอนาคต


การประยุกต์ใช้โครงข่ายประสาทเพื่อตรวจจับเซลล์หลายชนิดผ่านกล้องจุลทรรศน์เชิงซ้อนด้วยตัวรับรู้ภาพ, ณัทกร เกษมสำราญ Jan 2019

การประยุกต์ใช้โครงข่ายประสาทเพื่อตรวจจับเซลล์หลายชนิดผ่านกล้องจุลทรรศน์เชิงซ้อนด้วยตัวรับรู้ภาพ, ณัทกร เกษมสำราญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สำหรับงานทางด้านการตรวจหาและนับจำนวนเซลล์ภายในห้องปฏิบัติการ จะให้ความสำคัญในการวิเคราะห์จำนวนเซลล์ เช่น การตรวจเลือด ปัสสาวะ อุจาระ เสมหะ เป็นต้น จากการมองด้วยตาผ่านกล้องจุลทรรศน์นานนับชั่วโมงติดต่อกันและเป็นลักษณะงานทำซ้ำจะส่งผลให้เกิดอาการล้าสายตาจนก่อให้เกิดความคลาดเคลื่อนได้ จึงมีแนวคิดในการสร้างอุปกรณ์ที่ช่วยลดระยะเวลาในการนับคัดแยกเซลล์ขนาดเล็กที่มีความแม่นยำอย่างอัตโนมัติ ซึ่งส่งผลให้การวินิจฉัยโรคทำได้รวดเร็วมากขึ้นเป็น ชุดกล้องอัจฉริยะ “ไมโครซิสดีซีเอ็น” สำหรับกล้องจุลทรรศน์ (“MicrosisDCN” intelligent camera for microscope : Microbes Diagnosis with Deep Convolutional Neural Network) สำหรับแยกชนิดและนับจำนวนเซลล์ขนาดเล็กด้วยโครงข่ายประสาท เป็นชุดอุปกรณ์สำหรับสวมชุดกล้องเข้ากับท่อเลนส์ใกล้ตา (Eyepiece lens tube) ของกล้องจุลทรรศน์เชิงซ้อน (Compound microscope) สามารถบ่งบอกจำนวนเซลล์ขนาดเล็กด้วยโครงข่ายประสาทที่นับได้ในพื้นที่มาตรฐานการมองเห็นของชุดกล้อง จากพื้นที่ขอบเขตการมองเห็นของตัวรับรู้ภาพภายในชุดกล้องมีหน่วยเป็น 11.89 40X “field images” to equal standard area หรือ 11.9 คูณจำนวนเซลล์ต่อ HPF (High Power Field) ระบบมีความสามารถในการจำแนกเซลล์ขนาดเล็ก 3 คลาส ได้แก่ เม็ดเลือดแดง (Red blood cell : RBC) เม็ดเลือดขาว (White blood cell : WBC) และเกล็ดเลือด (Platelets) ที่มีค่า Mean Average Precision (mAP) สูงถึง 0.8681 หรือร้อยละ 86.81 และค่าความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ย (Mean Absolute Error : MAE) ของ RBC 1.06 WBC 0.06 และ Platelets 4.23


การพัฒนาต้นแบบเพื่อควบคุมการใช้พลังงานสำหรับระบบจัดการพลังงานในโรงงานผลิตไฟฟ้าพลังงานความร้อน, ประกาศิต ศรีประไหม Jan 2019

การพัฒนาต้นแบบเพื่อควบคุมการใช้พลังงานสำหรับระบบจัดการพลังงานในโรงงานผลิตไฟฟ้าพลังงานความร้อน, ประกาศิต ศรีประไหม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมมีการขยายตัวมากขึ้นทำให้มีการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ และมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีแนวทางที่ให้ภาคอุตสาหกรรมมีการควบคุมการใช้พลังงานอย่างประหยัด และมีประสิทธิภาพ แนวทางหนึ่งที่จะช่วยลดปัญหาดังกล่าวข้างต้นคือการจัดการพลังงานในโรงงานดังนั้นในวิทยานิพนธ์นี้จึงได้นำความรู้เรื่องระบบจัดการพลังงานไฟฟ้า (Energy Management System, EMS) และการนำอุปกรณ์ IoT2040 มาใช้ในการมอนิเตอร์จากระยะไกลเพื่อเป็นแนวทางสำหรับการควบคุมการใช้พลังงานไฟฟ้าสำหรับระบบจัดการพลังงาน ภายในระบบได้สร้างอัลกอริทึม เพื่อจำลองการควบคุมการใช้พลังงานไฟฟ้า โดยนำค่าจากการวัดพลังงานจากเครื่องใช้ไฟฟ้าจริงมาจำลองเพื่อใช้ทดสอบอัลกอริทึมที่คิดขึ้นมาผ่านอุปกรณ์ Programmable Logic Controller (PLC) S7-1200 โดยทำงานผ่าน Webserver และนำIoT2040 มาใช้มอนิเตอร์ในระยะไกลโดยใช้ Node-Red สร้างในส่วนแสดงผล และเชื่อมต่ออุปกรณ์ ซึ่งจะแสดงผลผ่านระบบ Cloud ของ ThingSpeak ผลที่ได้รับจากการควบคุมด้วยอัลกอริทึม คือ การควบคุมการใช้ไฟฟ้าในช่วงพีคได้รวมถึงการใช้พลังงานที่น้อยลง และมีระบบแจ้งเตือนทางเมล์ และทางไลน์แอปพลิเคชัน เมื่อค่าพลังงานเกินกว่าค่าที่กำหนด ประโยชน์ที่ได้รับจากงานวิจัยนี้ คือ การนำอัลกอริทึมมาประยุกต์ใช้ในการประหยัดพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรม การนำอุปกรณ์ IoT มาใช้เพื่อให้สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นๆได้ง่ายรวมถึงเป็นแนวทางให้แก่บุคคลทั่วไปได้รับรู้ และสร้างความเข้าใจถึงขั้นตอนการทำงานของอัลกอริทึม เพื่อเป็นแนวทางสำหรับนำไปพัฒนาต่อยอดสู่ระบบจัดการพลังงานภายในโรงงานอุตสาหกรรมอย่างเต็มรูปแบบในอนาคต


การซิงโครไนซ์สัญลักษณ์โอเอฟดีเอ็มบนช่องสัญญาณเฟดดิงแบบพหุวิถี, พฤกษ์ สระศรีทอง Jan 2019

การซิงโครไนซ์สัญลักษณ์โอเอฟดีเอ็มบนช่องสัญญาณเฟดดิงแบบพหุวิถี, พฤกษ์ สระศรีทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เสนอวิธีการซิงโครไนซ์สัญลักษณ์โอเอฟดีเอ็มบนช่องสัญญาณเฟดดิงแบบพหุวิถี เพื่อหาตำแหน่งเริ่มต้นของสัญลักษณ์โอเอฟดีเอ็มที่ทำให้ได้รับข้อมูลได้อย่างถูกต้อง โดยได้เสนอวิธีการซิงโครไนซ์สองวิธีที่แตกต่างกัน วิธีแรกคือการซิงโครไนซ์ด้วยไซคลิกพรีฟิกซ์ร่วมกับการประมาณค่าการแผ่เวลาประวิงของช่องสัญญาณที่มีการแผ่ออกทางเวลาเพื่อประมาณค่าตำแหน่งเริ่มต้นที่แท้จริงของสัญลักษณ์โอเอฟดีเอ็ม ส่วนวิธีที่สองเสนอการหาค่าต่ำสุดของผลต่างกำลังงานของคลื่นพาห์ย่อยระหว่างเวลาที่ติดกัน เพื่อหาช่วงเวลาที่ปลอดภัยจากการแทรกแซงระหว่างสัญลักษณ์ จากผลการทดสอบวิธีแรกพบว่า การซิงโครไนซ์ร่วมกับการประมาณการแผ่เวลาประวิงซึ่งไม่ต้องการความรู้ช่องสัญญาณเพิ่มเติมสามารถให้สมรรถนะที่เทียบเคียงได้กับวิธีการซิงโครไนซ์ด้วยไซคลิกพรีฟิกซ์แบบดั้งเดิมที่ใช้ข้อมูลเวลาประวิงกำลังงาน ในส่วนผลการทดสอบวิธีที่สองนั้นพบว่า การหาค่าต่ำสุดของผลต่างกำลังงานของคลื่นพาห์ย่อยระหว่างเวลาที่ติดกันสามารถให้สมรรถนะที่เหนือกว่าวิธีการดั้งเดิมที่ใช้ผลต่างกำลังงานเช่นเดียวกันเป็นอย่างมาก อีกทั้งสามารถทำงานในช่องสัญญาณที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะแก่การนำไปประยุกต์ใช้กับภาครับในยานพาหนะความเร็วสูง


การศึกษาการเจริญเติบโตและสารต้านอนุมูลอิสระในผักชีโดยใช้แหล่งกำเนิดแสงแอลอีดี, มาโนช แสนหลวง Jan 2019

การศึกษาการเจริญเติบโตและสารต้านอนุมูลอิสระในผักชีโดยใช้แหล่งกำเนิดแสงแอลอีดี, มาโนช แสนหลวง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมที่มีการเพาะปลูกพืชผักอยู่มากมาย หนึ่งในนั้นคือการปลูกผักชี (Coriandrum sativum) เกษตรกรนิยมปลูกผักชีในแถบภาคกลางของประเทศไทย ซึ่งจะปลูกได้ดีในช่วงฤดูหนาวทำให้ผักชีมีราคาถูกในช่วงฤดูนี้ แต่ฤดูอื่นจะปลูกผักชีได้ยากมากขึ้นเนื่องจากสภาพอากาศแบบร้อนชื้นในประเทศไทย อีกทั้งศัตรูพืชที่มาทำลายผักชี ทำให้ผักชีมีราคาสูง การนำแสงเทียมมาใช้ในการเพาะปลูกพืชจึงนิยมมากขึ้น ซึ่งสามารถเลือกปลูกในพื้นที่ปิด ควบคุมปัจจัยสภาพแวดล้อมได้อีกทั้งยังควบคุมผลผลิตได้ตลอดทั้งปี โดยงานวิจัยนี้จะออกแบบและสร้างหลอดไฟที่เหมาะสมสำหรับการปลูกผักชีต่อการเพิ่มการเจริญเติบโตในด้านความสูง จำนวนใบ จำนวนก้าน น้ำหนักสดและแห้ง อีกทั้งยังวิเคราะห์ถึงปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระที่อยู่ในผักชีอีกด้วย ทั้งนี้งานวิจัยจะเน้นการศึกษาผลของแสงทั้ง 3 สีซึ่งมีผลต่อการเจริญเติบโตของต้นผักชี ประกอบไปด้วยแสงสี Red (660 nm), Blue (447 nm) และ Far-red (730 nm) นำมาสร้างเป็นหลอดแอลอีดี 6 แบบคือ R:B:Fr = 10:4:1, 10:2:1, 10:1:1 และ R:B = 10:4, 10:2, 10:1 โดยใช้ค่า PPFD (Photosynthetic Photon Flux Density) ที่ 2 ระดับคือ 150±10 และ 250±10 µmol/m2/s เปรียบเทียบกับการปลูกผักชีด้วยแสงอาทิตย์ รวม 13 การทดลอง จากผลการทดลองพบว่าการใช้หลอดไฟแอลอีดีในการเพาะปลูกผักชีส่งผลดีกว่าการปลูกด้วยแสงอาทิตย์ทุกรูปแบบ ที่ระดับความเข้มแสงทั้ง 2 ระดับ การเลือกใช้แสงที่ค่า PPFD ที่สูงกว่าส่งผลต่อการเจริญเติบโตของผักชีทุกด้าน จากการวิเคราะห์แสงสีพบว่าแสงสี Far-red ส่งผลต่อความสูงของต้นผักชีอย่างมาก แต่จะทำให้จำนวนใบและก้าน รวมถึงน้ำหนักสดและน้ำหนักแห้งลดลง ส่วนแสงสี Blue ทำให้จำนวนใบและจำนวนก้านของผักชีเพิ่มมากขึ้น มีน้ำหนักแห้งมีมากแต่ปริมาณน้ำหนักสดมีค่าลดลงตามสัดส่วนของแสงสี Blue ที่เพิ่มมากขึ้น ในส่วนของสารต้านอนุมูลอิสระพบว่าแสงสี Blue ช่วยทำให้ปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระเพิ่มมากขึ้นแต่แสงสี Far-red ทำให้ปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระในผักชีลดน้อยลง เมื่อพิจารณาถึงสารต้านอนุมูลอิสระโดยรวมพบว่าผักชีที่ได้รับแสงจากหลอดแอลอีดีมีปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระมากกว่าผีกชีที่ได้รับแสงอาทิตย์ แต่เมื่อพิจารณาถึงปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระจากน้ำหนักของผักชีที่เท่ากันเป็นปริมาณ 1 กรัมพบว่าผักชีภายใต้แสงอาทิตย์กลับมีปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับผักชีที่ได้รับแสงจากหลอดแอลอีดี


การประยุกต์ใช้การจัดเรียงรูปแบบโครงข่ายแบบสถิตและการควบคุมแทปหม้อแปลงเพื่อลดการใช้กำลังไฟฟ้าจากกริดให้ต่ำที่สุดสำหรับระบบผลิตไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์, วัชริศ สืบอุดม Jan 2019

การประยุกต์ใช้การจัดเรียงรูปแบบโครงข่ายแบบสถิตและการควบคุมแทปหม้อแปลงเพื่อลดการใช้กำลังไฟฟ้าจากกริดให้ต่ำที่สุดสำหรับระบบผลิตไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์, วัชริศ สืบอุดม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ระบบไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ (Photovoltaic, PV) เป็นหนึ่งในการผลิตไฟฟ้าแบบกระจายตัวที่มีการเติบโตทั่วโลก การเพิ่มปริมาณของระบบไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ในระบบโดยการใช้ต้นทุนต่ำเป็นสิ่งที่น่าสนใจในการศึกษา ขนาดกำลังการผลิตติดตั้งของระบบไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์นั้นถูกจำกัดด้วยข้อจำกัดต่าง ๆ เช่น ข้อจำกัดด้านความร้อนของสายส่ง ข้อจำกัดด้านแรงดันไฟฟ้า หรือแม้กระทั้งปัญหาเกี่ยวกับการออกแบบระบบป้องกัน การจัดเรียงรูปแบบโครงข่ายถูกควบคุมด้วยผู้ประกอบการระบบจำหน่ายในประเทศไทยจะเป็น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคและการไฟฟ้านครหลวง โดยการจัดเรียงรูปแบบโครงข่ายสามารถทำเพื่อวัตุประสงค์ต่าง ๆ เช่น การลดกำลังสูญเสียในระบบไฟฟ้า การทำโหลดสมดุล และการแก้ไขความผิดพร่องในระบบไฟฟ้า ส่วนหม้อแปลงไฟฟ้านั้นเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการเพิ่มหรือลดระดับแรงดันไฟฟ้า วิทยานิพนธ์เล่มนี้จึงได้นำเสนอการลดการใช้กำลังไฟฟ้าจากกริดให้ต่ำที่สุดสำหรับระบบผลิตไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์โดยใช้การจัดเรียงรูปแบบโครงข่ายแบบสถิตและการควบคุมแทปหม้อแปลง ปัญหาถูกจำลองผ่านการไหลของกำลังไฟฟ้าเพื่อจะหาระบบที่ทำให้การใช้กำลังไฟฟ้าจากกริดมีค่าน้อยสุดภายใต้ข้อจำกัดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นข้อจำกัดด้านความร้อนหรือข้อจำกัดด้านแรงดันไฟฟ้าของระบบ ขั้นตอนวิธีในการดำเนินการมีดังต่อไปนี้ เริ่มต้นจากการหาช่วงเวลาที่จะนำมาทดสอบโดยใช้ข้อมูลของโปรไฟล์การใช้ไฟและข้อมูลโปรไฟล์ของระบบไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ ต่อมาจะเป็นการจัดเรียงรูปแบบโครงข่ายแบบสถิต ต่อมาจะเป็นขั้นตอนการกำหนดขนาดของกำลังการผลิตติดตั้งของระบบไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์และการกำหนดตำแหน่งของแทปหม้อแปลงไฟฟ้า สุดท้ายจะเป็นการจำลองการไหลของกำลังไฟฟ้าเพื่อหากำลังไฟฟ้าจากกริด จากผลการทดสอบเราจะสามารถหาขนาดกำลังผลิตติดตั้งของระบบไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์แต่ละตำแหน่ง


การคำนวณราคากลางและการคิดค่าผ่านสาย สำหรับตลาดซื้อขายไฟฟ้าเพียร์ทูเพียร์แบบล่วงหน้าหนึ่งวันในระบบจำหน่าย, ศักดิ์สิทธิ์ สุขชัยศรี Jan 2019

การคำนวณราคากลางและการคิดค่าผ่านสาย สำหรับตลาดซื้อขายไฟฟ้าเพียร์ทูเพียร์แบบล่วงหน้าหนึ่งวันในระบบจำหน่าย, ศักดิ์สิทธิ์ สุขชัยศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบัน เทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์มีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีราคาถูกลง ทำให้ผู้ใช้ไฟฟ้าบางรายสามารถผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้เอง และขายให้ผู้ใช้ไฟฟ้ารายอื่นในบริเวณข้างเคียงได้ เกิดเป็นโครงสร้างการซื้อขายไฟฟ้ารูปแบบใหม่ เรียกว่า ตลาดซื้อขายไฟฟ้ารูปแบบเพียร์ทูเพียร์ ที่ให้อิสระในการซื้อขายไฟฟ้าระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายไฟฟ้าภายใต้เงื่อนไขและการจัดการภายในตลาด ทั้งนี้การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายผู้เป็นเจ้าของและให้บริการระบบโครงข่ายไฟฟ้า อาจสูญเสียรายได้ในโครงข่ายไฟฟ้าจำหน่ายที่มีการซื้อขายไฟฟ้าในตลาดเพียร์ทูเพียร์ ดังนั้นจึงต้องมีการเรียกเก็บค่าผ่านสายจำหน่ายเพื่อคืนเงินลงทุน วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้จำลองตลาดซื้อขายไฟฟ้าเพียร์ทูเพียร์แบบล่วงหน้าหนึ่งวัน โดยนำเสนอกลไกการหาราคากลางซื้อขายไฟฟ้าและแนวทางการตัดสินข้อเสนอของผู้เสนอราคาแต่ละราย อีกทั้งยังได้นำเสนอแนวทางการคิดค่าผ่านสายจำหน่ายจากการซื้อขายในตลาดเพียร์ทูเพียร์เพื่อคืนเงินลงทุนให้การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย นอกจากนี้ยังได้นำเสนอแนวทางการประเมินประสิทธิภาพของกลไกการตัดสินราคาซื้อขายไฟฟ้าในตลาดเพียร์ทูเพียร์ รวมไปถึงการประเมินอัตราผลตอบแทนการลงทุนของการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายจากการคิดค่าผ่านสายจำหน่าย จากผลการศึกษาพบว่า ด้วยกลไกที่นำเสนอนี้ทำให้ผู้เข้าร่วมตลาดได้ผลประโยชน์จากการซื้อขายในตลาดซื้อขายไฟฟ้าเพียร์ทูเพียร์มากกว่าการซื้อขายไฟฟ้ากับโครงข่ายไฟฟ้าหลัก และจากการประเมินอัตราผลตอบแทนการลงทุนของการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย พบว่าแนวการคิดค่าผ่านสายจำหน่ายที่ได้นำเสนอนี้ สามารถคืนเงินลงทุนให้การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายได้อย่างเหมาะสม


การพัฒนาอุปกรณ์ประกอบมิเตอร์เพื่อการเก็บข้อมูลที่สามารถวิเคราะห์ฮาร์มอนิกของผู้ใช้ไฟฟ้าได้, สาธิต เฟื่องรอด Jan 2019

การพัฒนาอุปกรณ์ประกอบมิเตอร์เพื่อการเก็บข้อมูลที่สามารถวิเคราะห์ฮาร์มอนิกของผู้ใช้ไฟฟ้าได้, สาธิต เฟื่องรอด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้นำเสนอการพัฒนาอุปกรณ์ประกอบมิเตอร์เพื่อการเก็บข้อมูลที่สามารถวิเคราะห์ฮาร์มอนิกของผู้ใช้ไฟฟ้าได้ เนื่องจากปัจจุบันนั้นมิเตอร์เอเอ็มอาร์ไม่สามารถเก็บข้อมูลรูปคลื่นแรงดันและรูปคลื่นกระแสได้ ซึ่งการวิเคราะห์ฮาร์มอนิกจำเป็นต้องใช้ข้อมูลเชิงสถิติจากการวัดค่าปริมาณทางไฟฟ้าจากมิเตอร์เอเอ็มอาร์ที่ติดตั้งให้กับผู้ใช้ไฟฟ้า โครงสร้างหลักประกอบไปด้วย ไมโครคอนโทรลเลอร์ ESP32 (Node MCU-32S) เป็นตัวควบคุมการทำงานร่วมกับมอดูลวัดค่าแรงดันและกระแสไฟฟ้ากระแสสลับในการวัดสัญญาณแรงดันและกระแสตามอัตราการสุ่มข้อมูลต่อหนึ่งรูปคลื่น โดยไมโครคอนโทรลเลอร์ ESP32 ประมวลผลสัญญาณแรงดันและกระแสเพื่อเก็บข้อมูลไปยังหน่วยความจำภายนอก (SD Card) และการนำข้อมูลที่บันทึกได้ไปวิเคราะห์ลำดับฮาร์มอนิกด้วยกระบวนการแปลงฟูเรียร์แบบเร็ว (FFT) ในโปรแกรม MATLAB ทำให้ลดความยุ่งยากในการวัดและวิเคราะห์ฮาร์มอนิก ไม่ต้องติดตั้งอุปกรณ์สำหรับวิเคราะห์ฮาร์มอนิกเพิ่มเข้าไปในระบบไฟฟ้า ไม่ต้องติดตั้งเครื่องวัดคุณภาพไฟฟ้าที่มีราคาแพงในการวิเคราะห์คุณภาพไฟฟ้า การแสดงผลผ่านโปรแกรมได้อย่างรวดเร็ว ความแม่นยำ และแนวทางการแก้ไขลำดับฮาร์มอนิกที่ส่งผลกระทบต่อระบบไฟฟ้าในระบบจำหน่ายของการไฟฟ้า


โฟโตลูมิเนสเซนส์ของโครงสร้างนาโนแกลเลียมอาร์เซไนด์บิสไมด์ควอนตัมริง, อภิรักษ์ สร้อยสน Jan 2019

โฟโตลูมิเนสเซนส์ของโครงสร้างนาโนแกลเลียมอาร์เซไนด์บิสไมด์ควอนตัมริง, อภิรักษ์ สร้อยสน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้นำเสนอการปลูกโครงสร้างนาโน GaAsBi ควอนตัมริงบนแผ่นฐาน GaAs ด้วยระบบเอพิแทกซีลำโมเลกุล (MBE) ชิ้นงานถูกศึกษาสัณฐานวิทยาด้วยกล้องจุลทรรศน์แรงอะตอม (AFM) และ สมบัติเชิงแสงด้วยโฟโตลูมิเนสเซนส์สเปกโทรสโกปี (PL) โครงสร้างนาโนควอนตัมริงถูกปลูกโดยใช้เทคนิคดรอพเล็ทเอพิแทกซี (Droplet Epitaxy) หยด GaBi ถูกปล่อยลงบนแผ่นฐาน GaAs ในอัตราส่วน Ga:Bi 0.95:0.05, 0.90:0.10 และ 0.85:0.15 ตามลำดับ หยดโลหะถูกขึ้นรูปผลึกภายใต้ความดันไอของ As เพื่อเปลี่ยนหยดโลหะให้เป็นโครงสร้างนาโน GaAsBi ควอนตัมริง ปัจจัยที่สำคัญในการเกิดโครงสร้างนาโนควอนตัมริง คือ ความหนาของหยด GaBi, อุณหภูมิของแผ่นฐานในขณะปล่อยหยดโลหะ, และความดันไอของ As กล่าวคือ ความหนาของหยด GaBi ต้องมากกว่า 5 ML เพื่อขนาดโครงสร้างนาโนควอนตัมริงที่เหมาะสม เส้นผ่านศูนย์กลางของควอนตัมริงปลูกที่อุณหภูมิ 225°C มีขนาดน้อยกว่าที่อุณหภูมิ 300°C เนื่องจาก หยด GaBi สามารถแพร่ออกจากจุดศูนย์กลางของหยดได้น้อยกว่าที่อุณหภูมิปลูกต่ำ ความดันไอของ As ต้องมากพอและถูกปล่อยอย่างรวดเร็วขณะทำกระบวนการตกผลึก โครงสร้างนาโนควอนตัมริง และควอนตัมดอท สามารถเกิดได้ด้วยกระบวนการตกผลึกที่ช้าและเร็ว ตามลำดับ เนื่องจากลักษณะเฉพาะของแหล่งกำเนิดไอ As งานวิจัยนี้จึงจำกัดขอบเขตเฉพาะโครงสร้างนาโนควอนตัมริงเท่านั้น โฟโตลูมิเนสเซนส์ของโครงสร้างนาโน GaAsBi ควอนตัมริงกลบทับด้วย GaAs ซึ่งปลูกที่อุณหภูมิสูง (500°C) และอุณหภูมิต่ำ (300°C) ถูกศึกษา สำหรับการกลบทับที่อุณหภูมิสูง ชิ้นงานแสดงการเปล่งแสงที่เด่นชัดของ LT-GaAs เท่านั้น อันเป็นผลเนื่องมาจากการอบขณะที่ปลูกชั้นกลบทับ สำหรับการกลบทับที่อุณหภูมิต่ำ ชิ้นงานแสดงการเปล่งแสงช่วงความยาวคลื่นอินฟราเรดใกล้ของโครงสร้างนาโน GaAsBi ควอนตัมริง อย่างไรก็ตาม ชิ้นงานมีความเข้มของแสงต่ำเนื่องจากความเป็นผลึกของชั้นกลบทับที่ต่ำ


ระบบบริหารจัดการพลังงานครัวเรือนที่เป็นไปตามโพรโทคอล Homekit และ Echonet Lite, อธิวัฒน์ ภูชำนิพัฒนนันท์ Jan 2019

ระบบบริหารจัดการพลังงานครัวเรือนที่เป็นไปตามโพรโทคอล Homekit และ Echonet Lite, อธิวัฒน์ ภูชำนิพัฒนนันท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้นำเสนอระบบบริหารจัดการพลังงานครัวเรือนซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมคำนวณแบบ รวมศูนย์ ประกอบด้วยคอนโทรลเลอร์ 1 ตัวและเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน 4 ชนิด ได้แก่ ตู้เย็น หลอดแอลอีดี เครื่องทำน้ำอุ่น และเครื่องปรับอากาศ โดยเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมดถูกปรับปรุงและพัฒนาให้กลายเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าชาญฉลาดที่สามารถสื่อสารแบบไร้สายผ่านโพรโทคอล ECHONET Lite ร่วมกับอุปกรณ์อื่น ๆ ในโพรโทคอลเดียวกันได้ นอกจากนี้ยังนำเสนอการพัฒนาเกตเวย์สำหรับสื่อสารกับอุปกรณ์หรือตัวแทนปัญญาที่ใช้โพรโทคอลอื่น ซึ่งในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้นำเสนอเกตเวย์สำหรับสื่อสารกับโพรโทคอล HomeKit การปรับปรุงและพัฒนาตู้เย็นและหลอดแอลอีดีเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าชาญฉลาดทำได้โดยการศึกษาการทำงานของวงจรควบคุมและส่วนประกอบที่ทำหน้าที่ของเครื่องใช้ไฟฟ้า จากนั้นออกแบบวงจรควบคุมใหม่โดยสามารถทำงานร่วมกับส่วนประกอบของเครื่องใช้ไฟฟ้าเดิมได้ จากนั้นแทนที่วงจรควบคุมด้วยวงจรที่ออกแบบขึ้น โดยให้มีการดัดแปลงวัสดุโครงสร้างเท่าที่จำเป็น เครื่องใช้ไฟฟ้าชาญฉลาดสามารถทำงานได้ตามฟังก์ชันการทำงานปกติเมื่อไม่ได้เชื่อมต่อกับเครือข่าย และจะมีความสามารถเกี่ยวกับการเพิ่มประโยชน์ใช้สอยหรือการประหยัดพลังงานมากขึ้นเมื่อสามารถรับ/ส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายไปยังคอนโทรลเลอร์เพื่อประมวลผลและสั่งการได้ เครื่องใช้ไฟฟ้าชาญฉลาดทำงานโดยการประโยชน์ใช้สอยให้มากที่สุด ไม่ใช้พลังงานอย่างสูญเปล่า อัลกอริทึมการเรียนรู้ของเครื่องถูกนำมาใช้เพื่อทดสอบการติดต่อสื่อสารระหว่างตู้เย็นชาญฉลาดและคอนโทรลเลอร์ด้วยโพรโทคอล ECHONET Lite ซึ่งสามารถลดการใช้พลังงานของตู้เย็นลงได้อย่างน้อย 6.38\% และลดช่วงเวลาการเก็บรักษาอาหารในอุณหภูมิที่สูงเกินไปได้อย่างน้อย 33.54\% ซึ่งผู้ใช้งานสามารถประนีประนอมระหว่างช่วงเวลาในการเก็บรักษาอาหารที่อุณหภูมิอุ่นเกินไปให้สูงขึ้นแลกกับการลดการใช้พลังงานลงได้อีก หรือการทำงานเพื่อลดค่าไฟฟ้าเนื่องจากการคิดค่าไฟฟ้าด้วยอัตราตามช่วงเวลาของการใช้ หรือเข้าร่วมมาตรการความร่วมมือลดการใช้ไฟฟ้า สำหรับการทำงานของหลอดแอลอีดีนั้น ตัวควบคุมสามารถเรียนรู้การเลือกความสว่างที่เหมาะสมได้


การประเมินการส่งผ่านข้อมูลส่วนตัวของเเอปพลิเคชันโดยวิเคราะห์จากนโยบายความเป็นส่วนตัว, เมธัส นาคเสนีย์ Jan 2019

การประเมินการส่งผ่านข้อมูลส่วนตัวของเเอปพลิเคชันโดยวิเคราะห์จากนโยบายความเป็นส่วนตัว, เมธัส นาคเสนีย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โมไบล์เเอปพลิเคชันในปัจจุบันได้ขอเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้บริการเพื่อที่จะนำข้อมูลเหล่านี้ไปพัฒนาการให้บริการ เช่น ข้อมูลส่วนตัว อีเมล ซึ่งการนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้มีทั้งจุดประสงค์ในการใช้ข้อมูลในทางที่ดีเเละไม่ดี จึงเป็นเรื่องที่ผู้ใช้บริการควรตระหนักถึง ทั้งนี้ผู้ใช้บริการสามารถตรวจสอบรายละเอียดการนำข้อมูลไปใช้จากเเหล่งที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย ได้เเก่ นโยบายความเป็นส่วนตัว เเต่เนื่องจากนโยบายความเป็นส่วนตัวมีข้อความที่ยาวเเละทำความเข้าใจได้ยาก ผู้ใช้บริการอาจพลาดส่วนสำคัญจากการอ่านนโยบายความเป็นส่วนตัวได้ ดังนั้นวิทยานิพนธ์นี้จึงได้ตั้งข้อสมมุติฐานเพื่อทำการพิสูจน์สมมุติฐานว่าการประเมินการส่งผ่านข้อมูลส่วนตัวของเเอปพลิเคชันสามารถวิเคราะห์ได้จากข้อความในนโยบายความเป็นส่วนตัวหรือไม่ โดยการใช้การเรียนรู้ด้วยเครื่องเข้ามาช่วยเพื่อที่จะประเมินการส่งผ่านของข้อมูลส่วนตัวเเทนการอ่านจากนโยบายความเป็นส่วนตัว


การสร้างแบบจำลองเชิงรูปนัยของเครือข่ายแถวคอยแบบหลายหน่วยบริการ โดยใช้สโตแคสติกเพทริเน็ตส์, พิมพร บุญอินทร์ Jan 2019

การสร้างแบบจำลองเชิงรูปนัยของเครือข่ายแถวคอยแบบหลายหน่วยบริการ โดยใช้สโตแคสติกเพทริเน็ตส์, พิมพร บุญอินทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ระบบเครือข่ายแถวคอยเชิงรูปนัยครอบคลุมแบบจำลองระดับสูง เพื่อช่วยในการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของความพร้อมใช้งานของลูกค้าที่เข้ามารับบริการ และทรัพยากรที่ให้บริการ ผู้ออกแบบกระบวนการทางธุรกิจสามารถปรับการสร้างเครือข่ายแถวคอยเพื่อรับมือกับข้อจำกัดด้านเวลาในลักษณะแบบสุ่ม ผู้วิจัยตั้งเป้าหมายที่จะจัดทำสโตแคสติกแถวคอยเชิงรูปนัยแบบหลายหน่วยบริการในวิทยานิพนธ์นี้ เพื่อรองรับระบบเครือข่ายแถวคอยที่ซับซ้อนแบบหลายหน่วยบริการ พฤติกรรมการให้บริการแบบสุ่มจะถูกพิจารณาและแปลงเป็นสโตแคสติกเพทริเน็ตส์ ชุดของกฎการจับคู่ถูกกำหนดเพื่อแปลงเครือข่ายแถวคอยแบบหลายหน่วยบริการเป็นสโตแคสติกเพทริเน็ตส์ อีกทั้งผู้วิจัยได้สาธิตการสร้างกราฟมาร์คอฟพร้อมการแจกแจงความน่าจะเป็นของเครือข่ายแถวคอย


เครื่องมือประเมินความสามารถในการใช้งานเชิงฮิวริสติกสำหรับแอปพลิเคชันแอนดรอยด์เพื่อเด็กอายุ 6 – 12 ปี, ณัฏฐิกา ศรีเกียรติวงศ์ Jan 2019

เครื่องมือประเมินความสามารถในการใช้งานเชิงฮิวริสติกสำหรับแอปพลิเคชันแอนดรอยด์เพื่อเด็กอายุ 6 – 12 ปี, ณัฏฐิกา ศรีเกียรติวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การออกแบบโมไบล์แอปพลิเคชันสำหรับเด็กนั้นมีความแตกต่างจากการออกแบบโมไบล์แอปพลิเคชันสำหรับผู้ใช้งานที่เป็นผู้ใหญ่เนื่องจากเด็กมีพฤติกรรมและพัฒนาการที่ต่างกับผู้ใหญ่ และยังต้องคำนึงถึงประสบการณ์ของผู้ใช้และความสามารถในการใช้งานอีกด้วย การประเมินเชิงฮิวริสติกเป็นวิธีการประเมินความสามารถในการใช้งานส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ที่ได้รับความนิยม โดยให้ผู้เชี่ยวชาญด้านความสามารถในการใช้งานทำการเปรียบเทียบการออกแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้กับแนวทางการออกแบบหรือฮิวริสติกว่ามีความขัดแย้งกับแนวทางการออกแบบแต่ละข้อหรือไม่ แต่เนื่องจากแนวทางการออกแบบมีเป็นจำนวนมากจึงทำให้เป็นภาระในการประเมิน ทำให้บ่อยครั้งเกิดการตรวจพบข้อผิดพลาดได้ไม่ครบถ้วน จึงทำให้การประเมินเชิงฮิวริสติกมีประสิทธิภาพไม่ดีนัก งานวิจัยนี้ได้ทำการรวบรวมและปรับปรุงแนวทางการออกแบบความสามารถในการใช้งานเชิงฮิวริสติกสำหรับโมไบล์แอปพลิเคชันเพื่อเด็กอายุ 6–12 ปี มาจากหลายแหล่ง แล้วนำไปประเมินความเหมาะสมโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้สำหรับโมไบล์แอปพลิเคชัน แนวทางการออกแบบที่ได้จะแบ่งออกเป็น 12 หมวด รวมทั้งหมด 94 รายการ จากนั้นได้ทำการพัฒนาเครื่องมือประเมินความสามารถในการใช้งาน ซึ่งสามารถประเมินจากรหัสต้นฉบับของแอปพลิเคชันแอนดรอยด์ตามแนวทางการออกแบบเฉพาะในส่วนที่สามารถตรวจสอบได้อย่างอัตโนมัติจำนวน 25 รายการ เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของผู้ประเมินในการประเมินความสามารถในการใช้งานส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ จากการทดสอบการประเมินความสามารถในการใช้งานของ 5 แอปพลิเคชันสำหรับเด็กบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ตามรายการประเมิน 25 รายการที่สามารถตรวจสอบได้อย่างอัตโนมัติพบว่า เครื่องมือสามารถตรวจหาข้อผิดพลาดในการออกแบบที่ผู้ประเมินทั้งที่เป็นผู้มีประสบการณ์ด้านการออกแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้และที่เป็นนักพัฒนาแอปพลิเคชันไม่สามารถตรวจพบได้ ในขณะที่เครื่องมือเองยังมีข้อจำกัดที่ทำให้ตรวจไม่พบข้อผิดพลาดที่ผู้ประเมินตรวจพบได้เช่นกัน ถึงอย่างนั้นก็ตามค่าเฉลี่ยของจำนวนจุดที่พบข้อผิดพลาดในการออกแบบเมื่อประเมินด้วยเครื่องมือมีค่ามากกว่าค่าเฉลี่ยของผู้ประเมินทั้งสองกลุ่มที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และจากการทดสอบประสิทธิภาพด้านเวลายังพบว่า เครื่องมือสามารถช่วยลดเวลาในการประเมินได้อีกด้วย


การประมาณค่าปริมาณไอน้ำในบรรยากาศในทันทีด้วยการประมวลผลข้อมูลจีเอ็นเอสเอส แบบจุดเดี่ยวความละเอียดสูงในประเทศไทย, ชัยยุทธ เจริญผล Jan 2019

การประมาณค่าปริมาณไอน้ำในบรรยากาศในทันทีด้วยการประมวลผลข้อมูลจีเอ็นเอสเอส แบบจุดเดี่ยวความละเอียดสูงในประเทศไทย, ชัยยุทธ เจริญผล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงคเพื่อศึกษากระบวนการและเทคนิคการประมวลผลแบบ PPP (Precise Point Positioning) เพื่อประมาณค่าปริมาณไอน้ำในบรรยากาศ หรือ PWV (Precipitable Water Vapor) แบบทันที (Real-Time) ที่มีความถูกต้องเพียงพอสำหรับการประยุกต์ใช้ในแบบจำลองการพยากรณ์อากาศเชิงเลขและการพยากรณ์อากาศระยะสั้น (Weather Nowcasting) ด้วยซอฟต์แวร์ BNC (Federal Agency of Cartography and Geodesy (BKG) NTRIP Client) ซึ่งได้ถูกปรับปรุงเพื่อเพิ่มความถูกต้องในการประมวลผลข้อมูล GNSS ประกอบไปด้วย การปรับปรุงแบบจำลองและค่าความแปรปรวนของสัญญาณรบกวนให้เหมาะสมในกระบวนการประมาณค่าคลาดเคลื่อนเนื่องจากชั้นบรรยากาศโทรโพสเฟียร์ และพัฒนาฟังก์ชั่นปรับแก้ค่าคลาดเคลื่อนเนื่องจากแรงมหาสมุทร โดยจะประมวลผลร่วมกับค่าแก้วงโคจรและนาฬิกาดาวเทียมแบบทันที ผลการศึกษาพบว่าค่าคลาดเคลื่อนทางดิ่งที่เกิดจากชั้นบรรยากาศโทรโพสเฟียร์ หรือ ZTD (Zenith Tropospheric Delay) แบบทันทีมีค่า RMSE ของค่าต่าง ZTD ระหว่างค่าที่ได้จากการประมวลผลข้อมูล GNSS เปรียบเทียบกับค่าอ้างอิงที่ได้จาก CSRS (Canadian Spatial Reference System PPP tool) มีค่าน้อยกว่า 15 มม. ซึ่งมีค่าอยู่ในเกณฑ์ความถูกต้องที่เพียงพอต่อการนำใช้งานในแบบจำลอง NWP และการแปลงค่า ZTD เป็นค่า PWV แบบทันทีด้วยแบบจำลองความดันและอุณหภูมิท้องถิ่นที่พัฒนาขึ้นในงานศึกษาวิจัยพบว่าค่า RMSE ของ PWV เปรียบเทียบกับชุดข้อมูล ERA5 (European Centre for Medium-Range Weather Forecasts (ECMWF) Re-Analysis) เฉลี่ยทุกสถานีมีค่าน้อยกว่า 3 มม. ซึ่งมีค่าความถูกต้องอยู่ในเกณฑ์ที่เพียงพอสำหรับนำไปใช้ในแบบจำลองพยากรณ์อากาศเชิงเลขสำหรับการพยากรณ์อากาศระยะสั้น


การปรับปรุงแบบจำลองสโตคาสติคสำหรับการรังวัดดาวเทียมจีเอ็นเอสเอสด้วยโครงข่ายสถานีฐานวีอาร์เอส, ธเนศ จงรุจินันท์ Jan 2019

การปรับปรุงแบบจำลองสโตคาสติคสำหรับการรังวัดดาวเทียมจีเอ็นเอสเอสด้วยโครงข่ายสถานีฐานวีอาร์เอส, ธเนศ จงรุจินันท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

หลักการของการรังวัดดาวเทียมจีเอ็นเอสเอสด้วยโครงข่ายสถานีฐานวีอาร์เอสคือการนำข้อมูลการรับสัญญาณโดยสถานีฐานหลายสถานีมาประมวลผลร่วมกันเพื่อคำนวณค่าแก้ที่อยู่ในรูปแบบของสถานีฐานวีอาร์เอส การพัฒนาวิธีการแบบใหม่ได้มุ่งเน้นไปที่แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ในการลดค่าคลาดเคลื่อนที่ขึ้นกับระยะทางเพื่อที่จะได้ค่าการวัดของสถานีฐานวีอาร์เอสที่มีความถูกต้องสูง อย่างไรก็ตามเป็นการยากที่แบบจำลองทางคณิตศาสตร์จะลดค่าคลาดเคลื่อนประเภทนี้ได้โดยสมบูรณ์เป็นผลให้ยังคงมีค่าคลาดเคลื่อนหลงเหลืออยู่ในค่าการวัดของสถานีฐานวีอาร์เอส งานวิจัยนี้ได้เสนอการปรับปรุงแบบจำลองสโตคาสติค 2 แนวทางและได้ประเมินประสิทธิภาพโดยเปรียบเทียบกับแบบจำลองสโตคาสติคที่ใช้ในมาตรฐานทั่วไป แนวทางที่หนึ่ง แบบจำลองสโตคาสติค MINQUE เป็นวิธีการทางสถิติที่มีการประมาณค่าสมาชิกแต่ละตัวของเมทริกซ์ความแปรปรวนร่วมได้อย่างครบถ้วน อย่างไรก็ตามจะต้องใช้ epoch จำนวนมากพอในการหาคำตอบ ผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่าแบบจำลองสโตคาสติค MINQUE เพิ่มความถูกต้องเชิงตำแหน่งทางราบประมาณ 5% (0.7 มิลลิเมตร) และทางดิ่ง 6% (0.9 มิลลิเมตร) ค่า F-ratio ที่มากกว่าแสดงถึงความน่าเชื่อถือของเลขปริศนาที่เพิ่มขึ้น แนวทางที่สอง คือการใช้แบบจำลองสโตคาสติค RIU ซึ่งเป็นการให้น้ำหนักค่าสังเกตตามค่าเศษเหลือของการประมาณค่าภายในช่วง วิธีนี้ใช้ข้อมูล 1 epoch ในการคำนวณเมทริกซ์ความแปรปรวนร่วม ผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่าแบบจำลองสโตคาสติค RIU เพิ่มความถูกต้องเชิงตำแหน่งทางราบประมาณ 4% (0.7 มิลลิเมตร) และทางดิ่ง 1% (0.4 มิลลิเมตร) และสามารถเพิ่มอัตราความสำเร็จของการหาเลขปริศนาจาก 86% เป็น 95%


การคำนวณหาดัชนีความแห้งแล้งและพืชพรรณจากอุณหภูมิพื้นผิวของข้อมูลดาวเทียมแลนด์แซท 8 และเปรียบเทียบกับผลผลิตข้าวในจังหวัดอุบลราชธานี, ธีรภัทร์ ถิระพล Jan 2019

การคำนวณหาดัชนีความแห้งแล้งและพืชพรรณจากอุณหภูมิพื้นผิวของข้อมูลดาวเทียมแลนด์แซท 8 และเปรียบเทียบกับผลผลิตข้าวในจังหวัดอุบลราชธานี, ธีรภัทร์ ถิระพล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความแห้งแล้งเป็นปัญหาที่สำคัญต่อเกษตรกรรมของประเทศไทย เมื่อความแห้งแล้งเกิดขึ้นรุนแรงทำให้ผลผลิตของพืชผลทางการเกษตรเสียหายมากขึ้นด้วย ดังนั้นปัญหานี้ควรได้รับการติดตาม วางแผน และแก้ไขอย่างใกล้ชิด งานวิจัยนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อคำนวณหาดัชนีความแห้งแล้ง อุณหภูมิพื้นผิว และหาความสัมพันธ์กับผลผลิตข้าว โดยใช้ข้อมูลจากภาพถ่ายจากดาวเทียม Landsat 8 ระบบ OLI และ TIRS ที่ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีในปี พ.ศ. 2556 - 2561 นำมาคำนวณหาค่าอุณหภูมิพื้นผิว (LST) ด้วยวิธี Radiative Transfer Equation-Based Method (RTE) และคำนวณหาดัชนีที่เกี่ยวข้องกับความแห้งแล้งคือ ดัชนีผลต่างความแห้งแล้ง (NDDI) และดัชนีความสมบูรณ์พืชพรรณ (VHI) จากนั้นนำมาหาความสัมพันธ์กับผลผลิตข้าว ซึ่งผลที่ได้พบว่า ดัชนีความแห้งแล้งและอุณหภูมิพื้นผิว ที่คำนวณได้สอดคล้องกับสภาพภูมิอากาศของพื้นที่และรายงานของหน่วยงานราชการ ผลการหาความสัมพันธ์พบว่าเมื่ออุณหภูมิพื้นผิวมีค่าสูงขึ้นทำให้ผลผลิตข้าวน้อยลง ในทางตรงกันข้าม เมื่ออุณหภูมิพื้นผิวมีค่าต่ำลงผลผลิตข้าวก็มากขึ้นเช่นกัน ส่วนดัชนีความสมบูรณ์พืชพรรณและดัชนีผลต่างความแห้งแล้งมีแนวโน้มไปในทิศทางเดียวกับผลผลิตข้าวคือ เมื่อดัชนีทั้งสองมีค่าต่ำลงผลผลิตข้าวก็ต่ำลงและเมื่อดัชนีทั้งสองมีค่าสูงขึ้นผลผลิตข้าวมากขึ้น


การประเมินประสิทธิภาพของการรังวัดดาวเทียมจากโครงข่ายแบบจลน์ในทันทีในประเทศไทย : กรณีศึกษาการกระจายตัวของจุดทดสอบ, นิทัศพงษ์ นิวาศานนท์ Jan 2019

การประเมินประสิทธิภาพของการรังวัดดาวเทียมจากโครงข่ายแบบจลน์ในทันทีในประเทศไทย : กรณีศึกษาการกระจายตัวของจุดทดสอบ, นิทัศพงษ์ นิวาศานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สถานีอ้างอิงพิกัดแบบรับสัญญาณต่อเนื่องถาวร (Continuously Operating Reference Station : CORS) ติดตั้งขึ้นเพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านการกำหนดพิกัดแบบจลน์ในเวลาจริงในรูปแบบโครงข่าย (Network – based Real Time Kinematic, NRTK) สำหรับประเทศไทย กรมที่ดินประยุกต์ใช้และดำเนินการเป็นรูปแบบของโครงข่าย RTK ด้วยสถานีอ้างอิงเสมือน (Virtual Reference Station, VRS) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 เป็นต้นมา ระบบ NRTK ประกอบด้วย CORS จำนวน 114 สถานี ครอบคลุมทุกภูมิภาคของประเทศไทย โดยมีระยะห่างระหว่างสถานี ตั้งแต่ 25 กิโลเมตร จนถึง 200 กิโลเมตร โดยประมาณ มี (ค่าเฉลี่ยของระยะห่างระหว่างสถานี คือ 80 กิโลเมตร) ส่งผลให้ระยะห่างระหว่าง CORS ที่ประกอบกันเป็นโครงข่ายสามเหลี่ยม (ลูป) มีขนาดที่แตกต่างกันออกไปตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ งานวิจัยนี้มีเป้าประสงค์เพื่อทดสอบความถูกต้องของค่าพิกัดทางราบในแนวกันชน (Buffer line) ที่แตกต่างกัน โดยการรังวัดด้วยโครงข่ายดาวเทียมแบบจลน์ด้วยวิธี VRS เปรียบเทียบกับวิธีสถิต (Static survey) แบบสัมพัทธ์ ที่อยู่ใกล้กับ CORS ในตำแหน่งเดียวกัน โดยมีหมุดทดสอบจำนวน 2,122 หมุด อยู่ภายในลูปของ CORS การแบ่งระยะแนวกันชนจาก CORS ออกเป็น 4 ระยะได้แก่ 15, 30, 45 และมากกว่า 45 กิโลเมตร ผลจากการศึกษาพบว่า รากที่สองของค่าคลาดเคลื่อนเฉลี่ย (Root Mean Square Error, RMSE) ของหมุดทดสอบที่อยู่ในแนวกันชนของแต่ละระยะ มีค่า RMSE ทางราบ 0.026 , 0.036 , 0.037 และ 0.039 …


การพัฒนากระบวนการเมมเบรนแบบผสมผสาน (ฟอร์เวิร์ดออสโมซิส และเมมเบรนชนิดนาโนฟิลเตรชัน) เพื่อการปรับปรุงคุณภาพน้ำบาดาลสำหรับใช้ในอุตสาหกรรม, เอื้ออนุช ศรีน้อย Jan 2019

การพัฒนากระบวนการเมมเบรนแบบผสมผสาน (ฟอร์เวิร์ดออสโมซิส และเมมเบรนชนิดนาโนฟิลเตรชัน) เพื่อการปรับปรุงคุณภาพน้ำบาดาลสำหรับใช้ในอุตสาหกรรม, เอื้ออนุช ศรีน้อย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัญหาในการนำน้ำบาดาลมาใช้คือ ความกระด้างของน้ำ ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดตระกรันในระบบ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการกำจัดความกระด้างด้วยกระบวนการเมมเบรนผสมผสาน(ฟอร์เวิร์ดออสโมซิส-อัลตราฟิลเตรชัน/นาโนฟิลเตรชัน) โดยทดลองกับน้ำบาดาลสังเคราะห์ สารดึงที่ถูกนำมาใช้ในกระบวนการฟอร์เวิร์ดออสโมซิสได้แก่ 1) โซเดียมคลอไรด์ 2) แมกนีเซียมซัลเฟต และ 3) อีดีทีเอ ซึ่งพารามิเตอร์ที่พิจารณาในกระบวนการนี้คือ ค่าฟลักซ์ของสารดึงหลังผ่านกระบวนการ ผลการศึกษาพบว่าสารดึงทั้ง 3 ชนิดมีความดันออสโมติกมากกว่าน้ำบาดาล โดยสารละลายโซเดียมคลอไรด์ และแมกนีเซียมซัลเฟตที่ความเข้มข้น 0.6 โมลต่อลิตร ให้ค่าฟลักซ์เท่ากับเท่ากับ 5.74 และ 4.82 ลิตรต่อตารางเมตร ชั่วโมง ในการเลือกใช้สารดึงจำเป็นต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมของกระบวนการที่ใช้ฟื้นฟูสภาพด้วย ซึ่งในงานวิจัยนี้ได้เลือกใช้กระบวนการนาโนฟิลเตรชันในการฟื้นฟูสภาพสารดึง เนื่องจากมีเปอร์เซ็นต์การกำจัดที่สูงกว่าอัลตราฟิลเตรชัน และจากการออกแบบการทดลองด้วยโปรแกรม Minitab พบว่าสารสะลายแมกนีเซียมซัลเฟตให้ฟลักซ์ที่สูงที่สุด นอกจากนี้คุณภาพน้ำที่ได้จากกระบวนการนาโนฟิลเตรชันมีความกระด้างและซิลิกาผ่านเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำสำหรับระบบหล่อเย็นของ Japanese Refigeration and Air Conditioning Industry Association (JRA)


ผังการไหลและวัฏจักรชีวิตของการจัดการกรดซัลฟิวริกจากแบตเตอรี่ชนิดตะกั่ว-กรด, กนกพร อินแตง Jan 2019

ผังการไหลและวัฏจักรชีวิตของการจัดการกรดซัลฟิวริกจากแบตเตอรี่ชนิดตะกั่ว-กรด, กนกพร อินแตง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ประเทศไทยในปี พ.ศ. 2558-2560 มีปริมาณแบตเตอรี่ใช้แล้วชนิดตะกั่ว-กรดคิดเป็นร้อยละ 88 จากแบตเตอรี่ใช้แล้วทั้งหมด ซึ่งองค์ประกอบหลักอย่างตะกั่ว และ พลาสติกมีการรีไซเคิลอย่างเป็นระบบ แต่กรดซัลฟิวริกในแบตเตอรี่นั้น มักถูกจัดการโดยการปล่อยผสมรวมกับน้ำเสียของโรงงานหรือปรับสภาพแล้วแยกตะกอนที่เกิดขึ้นไปฝังกลบ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงเปรียบเทียบแนวทางการจัดการกรดซัลฟิวริกใช้แล้วจากแบตเตอรี่ตะกั่ว-กรด ผลการศึกษาพบว่าปริมาณของแบตเตอรี่ตะกั่ว-กรดและปริมาณกรดซัลฟิวริกในประเทศไทยด้วยการสร้างแผนผังการไหล พบว่ามีการส่งออกแบตเตอรี่มากกว่าการนำเข้า และ ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาแบตเตอรี่ตะกั่ว-กรดใช้แล้วมีแนวโน้มถูกจัดการอย่างถูกต้องที่เพิ่มขึ้น การตกผลึกยิปซัมด้วยการเติมแคลเซียมไฮดรอกไซด์ พบว่าปริมาณตะกอนแคลเซียมซัลเฟตที่เกิดขึ้นแปรผันตามค่าพีเอชสุดท้ายของสารละลายตะกอนที่ได้ส่วนใหญ่เป็นยิปซัมในระบบผลึกเป็นโมโนคลินิก เมื่อเพิ่มความเข้มข้นของกรด ผลึกรูปแผ่นมีขนาดและมีอัตราส่วนความยาวต่อความกว้างลดลง ขณะที่ผลึกรูปแท่งและรูปเข็มมีความยาวและปริมาณเพิ่มขึ้นและ การตกตะกอนแคลเซียมซัลเฟตจากกรดซัลฟิวริกใช้แล้วจากแบตเตอรี่ ด้วยแคลเซียมไฮดรอกไซด์ร้อยละ10 พบว่าโลหะที่เจือปน เช่น แมกนีเซียม มีผลทำให้ขนาดของผลึกเล็กลงเมื่อเทียบกับผลึกยิปซัมจากธรรมชาติ ตะกอนที่ได้เป็นยิปซัมในระบบผลึกเป็นโมโนคลินิกและ เกิดขึ้นรูปแท่งเพียงอย่างเดียวในการเปรียบเทียบผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมของการจัดการกรดซัลฟิวริกใช้แล้ว1ตัน ทั้ง 3 วิธี ได้แก่ การฟื้นฟูสภาพเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่การปรับสภาพให้เป็นกลาง และ การผลิตเป็นยิปซัมในโปรแกรม SimaPro 8.3 และ ใช้วิธีการคำนวณผลกระทบ CML-IA baseline พบว่าผลกระทบหลักของทั้ง 3 วิธี คือ ด้านการก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อมนุษย์ ด้านการก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อแหล่งน้ำจืด และ ด้านการก่อให้เกิดสภาวะความเป็นกรด โดยสาเหตุหลักของแต่ละวิธีมาจากการใช้ไฟฟ้า ตะกอนไปหลุมฝังกลบ และ น้ำเสีย ตามลำดับ


การทำปุ๋ยหมักจากเศษใบจามจุรีกับเศษผักผลไม้ด้วยระบบภาชนะปิดขนาดเล็ก, ไพฑูรย์ พัชรบำรุง Jan 2019

การทำปุ๋ยหมักจากเศษใบจามจุรีกับเศษผักผลไม้ด้วยระบบภาชนะปิดขนาดเล็ก, ไพฑูรย์ พัชรบำรุง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ได้ทำการทดลองทำปุ๋ยหมักระบบภาชนะปิดแบบใช้อากาศขนาดห้องปฏิบัติการที่ขนาด 1.25 ลิตร ด้วยของเสียอินทรีย์ภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แก่ เศษผักผลไม้ (VFW) เศษใบจามจุรี (LW) และเศษกิ่งไม้ (WW) ร่วมกับปุ๋ยหมักสมบูรณ์ (MC) จากการทำปุ๋ยหมักภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยแบ่งชุดการทดลองออกเป็น 4 ชุดที่ซึ่งมีการเติมอากาศที่แตกต่างกัน ได้แก่ ชุดการทดลอง A ซึ่งไม่มีจำนวนรอบในการเติมอากาศ ชุดการทดลอง B ซึ่งมีจำนวนรอบในการเติมอากาศ 8 รอบต่อวัน ชุดการทดลอง C ซึ่งมีจำนวนรอบในการเติมอากาศ 4 รอบต่อวันและชุดการทดลอง D ซึ่งมีจำนวนรอบในการเติมอากาศ 2 รอบต่อวัน และ 5 อัตราส่วนวัตถุดิบที่แตกต่างกัน ได้แก่ การทดลองอัตราส่วนที่ 1 ซึ่งมี VFW เป็นหลัก การทดลองอัตราส่วนที่ 2 ซึ่งมี LW เป็นหลัก การทดลองอัตราส่วนที่ 3 ซึ่งมี WW เป็นหลัก การทดลองอัตราส่วนที่ 4 ซึ่งมี VFW และ LW ในปริมาตรเท่ากันและการทดลองอัตราส่วนที่ 5 ซึ่งมี VFW LW และ WW ในปริมาตรเท่ากัน รวมทั้งสิ้น 20 การทดลอง ภายในระยะเวลา 20 วัน และใช้เกณฑ์คุณภาพเบื้องต้น เกณฑ์คุณภาพและการสูญเสียน้ำหนักในการวัดคุณภาพของปุ๋ยหมัก ผลการทดลองพบว่า การทดลองที่ 4 และชุดการทดลอง B มีผลทำให้ปุ๋ยหมักจากการทดลองผ่านเกณฑ์คุณภาพเบื้องต้นครบทุกตัวแปรมากที่สุด การทดลองที่ 4 และชุดการทดลอง A มีผลทำให้ปุ๋ยหมักจากการทดลองผ่านเกณฑ์คุณภาพมากที่สุด และส่วนการทดลองที่ 1 และชุดการทดลอง A มีผลทำให้ปุ๋ยหมักจากการทดลองมีการสูญเสียน้ำหนักมากที่สุด สรุปผลการทดลองได้ว่า อัตราส่วนวัตถุดิบที่เป็น VFW และ LW ในปริมาตรเท่ากัน และชุดการทดลองที่มีจำนวนรอบในการเติมอากาศ 4 …


การบำบัดน้ำเสียความเข้มข้นทีเคเอ็นสูงโดยระบบร่วมถังโปรยกรองและถังกรองกึ่งไร้อากาศ, ชุตาภา มงคลอุปถัมภ์ Jan 2019

การบำบัดน้ำเสียความเข้มข้นทีเคเอ็นสูงโดยระบบร่วมถังโปรยกรองและถังกรองกึ่งไร้อากาศ, ชุตาภา มงคลอุปถัมภ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาการบำบัดน้ำเสียทีเคเอ็นความเข้มข้นสูง โดยใช้ระบบถังโปรยกรองร่วมกับถังกรองกึ่งไร้อากาศที่พีเอช 6 เพื่อป้องกันกลิ่นของก๊าซแอมโมเนีย โดยใช้น้ำเสียสังเคราะห์ซึ่งเตรียมจากน้ำตาลกลูโคสที่ความเข้มข้น 2,000 มก.ซีโอดี/ล.และ 150 มก.ไนโตรเจน/ล. โดยแบ่งออกเป็น 4 การทดลอง คือ การทดแทนน้ำเสียใหม่ร้อยละ 16 32 50 และ 68 โดยเดินระบบในถังโปรยกรองเพื่อกำจัดซีโอดีและบำบัดแอมโมเนียไปเป็นไนเตรทแล้วบำบัดต่อด้วยถังกรองกึ่งไร้อากาศเพื่อกำจัดไนเตรทแล้วเวียนน้ำกลับไปที่ถังโปรยกรองก่อนจะถ่ายน้ำที่บำบัดแล้วออกและทดแทนด้วยน้ำเสียสังเคราะห์ใหม่ไปเรื่อยๆ จนประสิทธิภาพของระบบคงที่ ผลการทดลองพบว่าประสิทธิภาพในการบำบัดซีโอดีของระบบโดยรวมคิดเป็น ร้อยละ 97-98 เป็นประสิทธิภาพของถังกรองไร้อากาศร้อยละ 86-93 และถังโปรยกรองอีกร้อยละ 19-75 และมีอัตราการบำบัดซีโอดีสูงสุดของถังกรองกึ่งไร้อากาศและถังโปรยกรองอยู่ที่ 459.82±13.44 และ 117.80±8.45 มก.ซีโอดี/ล.-วัน ตามลำดับ มีประสิทธิภาพในการบำบัดแอมโมเนียของทั้งระบบอยู่ที่ร้อยละ 53-100 และมีอัตราไนตริฟิเคชันจำเพาะสูงสุดที่ถังโปรยกรองอยู่ที่ 1.37 ก.-ไนโตรเจน/ตร.ม.-วัน และมีอัตราดีไนตริฟิเคชันจำเพาะสูงสุดที่ถังกรองกึ่งไร้อากาศอยู่ที่ 6.15±0.56 ก.-ไนโตรเจน/ตร.ม.-วัน ดังนั้นสามารถสรุปได้ว่าระบบร่วมนี้ที่การทดแทนน้ำเสียร้อยละ 50 ดีที่สุด ซึ่งมีประสิทธิภาพในการบำบัดไนโตรเจนทั้งหมดได้สูงถึงร้อยละ 37 และมีประสิทธิภาพในการบำบัดแอมโมเนียที่ถังโปรยกรองสูงถึงร้อยละ 97 แต่ประสิทธิภาพในการบำบัดไนเตรทที่ถังกรองกึ่งไร้อากาศและซีโอดีของแต่ละการทดแทนน้ำเสียมีประสิทธิภาพไม่แตกต่างกันมากนักอยู่ที่ประมาณร้อยละ 95-99


การประยุกต์ใช้เถ้าลอยและกากคอนกรีตในการผลิตฉนวนกันความร้อนและกำแพงกั้นเสียง, ชัชพงศ์ ณ ป้อมเพชร Jan 2019

การประยุกต์ใช้เถ้าลอยและกากคอนกรีตในการผลิตฉนวนกันความร้อนและกำแพงกั้นเสียง, ชัชพงศ์ ณ ป้อมเพชร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาการใช้เถ้าลอยและกากคอนกรีตเป็นองค์ประกอบในการขึ้นรูปมอร์ตาร์ในลักษณะของการแทนที่ปูนซีเมนต์ และแทนที่มวลรวมละเอียดตามลำดับ โดยเถ้าลอยที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ เถ้าลอยถ่านหินลิกไนต์ เถ้าลอยถ่านหินบิทูมินัส และเถ้าลอยจากเตาเผาขยะชุมชน ส่วนกากคอนกรีตที่ใช้ในการศึกษาคือกากคอนกรีตจากโรงผลิตคอนกรีต งานวิจัยนี้ได้ศึกษาทั้งสมบัติทางเคมี และสมบัติทางกายภาพของเถ้าลอยและกากคอนกรีต รวมถึงสมบัติเพื่อการนำมอร์ตาร์ที่มีเถ้าลอยและกากคอนกรีตเป็นองค์ประกอบไปใช้ประโยชน์ ได้แก่ การรับแรงอัด สมบัติเชิงความร้อน และสมบัติเชิงเสียงของผลิตภัณฑ์ สำหรับเถ้าลอยและมอร์ตาร์ที่มีเถ้าลอยเป็นองค์ประกอบได้ศึกษาการชะละลายโลหะหนักด้วยวิธี Toxicity Characteristic Leaching Procedures (TCLP) วิธี Synthetic Precipitation Leaching Procedure (SPLP) และวิธี Waste Extraction Test (WET) เพิ่มเติม จากการศึกษาพบว่าเพื่อให้ได้มอร์ตาร์ที่มีความต้านแรงอัดตามมาตรฐาน มอก. 59-2561 จะสามารถใช้เถ้าลอยแทนที่ปูนซีเมนต์ได้ร้อยละ 25 - 50 สำหรับกากคอนกรีตสามารถใช้แทนที่มวลรวมละเอียดได้ถึงร้อยละ 100 ในด้านสมบัติเชิงความร้อนพบว่าผลิตภัณฑ์มีค่าสภาพการนำความร้อนอยู่ระหว่าง 0.08 – 0.33 วัตต์ต่อเมตรเคลวิน ซึ่งถือว่ามีสมบัติเป็นฉนวนกันความร้อนที่ดี แต่ในด้านสมบัติเชิงเสียงพบว่าผลิตภัณฑ์ยังมีสมบัติไม่ถึงเกณฑ์ของกำแพงกั้นเสียงที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยกำหนด สำหรับการศึกษาปริมาณโลหะหนักในเถ้าลอยพบว่าโดยส่วนใหญ่มีค่าไม่เกินมาตรฐานยกเว้นปริมาณตะกั่ว (Pb) และสารหนู (As) ในเถ้าลอยจากเตาเผาขยะชุมชนที่ชะละลายด้วยวิธี TCLP และเถ้าลอยถ่านหินลิกไนต์ชะละลายด้วยวิธี WET ตามลำดับ แต่เมื่อนำเถ้าลอยขึ้นรูปเป็นมอร์ตาร์พบว่าผลิตภัณฑ์มีปริมาณโลหะหนักโดยส่วนใหญ่ลดลงและมีค่าไม่เกินมาตรฐาน


การลดก๊าซเรือนกระจกจากการอนุรักษ์พลังงานและการจัดการขยะมูลฝอยของอาคาร : กรณีศึกษาอาคารศูนย์การค้า, ณัฐวดี ปลื้มชิงชัย Jan 2019

การลดก๊าซเรือนกระจกจากการอนุรักษ์พลังงานและการจัดการขยะมูลฝอยของอาคาร : กรณีศึกษาอาคารศูนย์การค้า, ณัฐวดี ปลื้มชิงชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

อาคารศูนย์การค้าเป็นหนึ่งในอาคารพาณิชย์ที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณที่สูงมากต่อปี ทุกกิจกรรมในอาคารสามารถเป็นแหล่งกำเนิดของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทั้งการใช้พลังงานและการเกิดขยะมูลฝอย งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้พลังงานและการจัดการขยะมูลฝอยในอาคาร โดยใช้การประเมินคาร์บอนฟุตปริ้นท์องค์กร เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากมาตรการอนุรักษ์พลังงาน และการจัดการขยะมูลฝอยจากข้อเสนอแนะ ทั้งนี้ ได้ทำการศึกษากิจกรรม จากอาคารศูนย์การค้าในเขตเทศบาลนครนครราชสีมาจำนวน 5 อาคาร ใช้ระยะเวลาศึกษาและรวบรวมข้อมูลเป็นระยะเวลา 1 ปี (ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงธันวาคม พ.ศ.2561) จากการศึกษาพบว่ากิจกรรมหลักที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกในทุกอาคารคือการใช้พลังงานไฟฟ้า โดยปริมาณการใช้พลังงานมีความสอดคล้องกับขนาดของพื้นที่ เช่นเดียวกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้นตามขนาดพื้นที่อาคารอย่างมีนัยสำคัญ และเศษอาหารเป็นสัดส่วนที่พบมากที่สุดในสัดส่วนของขยะมูลฝอยที่จะถูกส่งกำจัดยังหลุมฝังกลบ จากการศึกษามาตรการอนุรักษ์พลังงานและวิเคราะห์ MAC จะแสดงผลประโยชน์การลงทุนของมาตรการอนุรักษ์พลังงานดังกล่าว ทั้งประโยชน์ในแง่สิ่งแวดล้อมที่จะสามารถลดก๊าซเรือนกระจกและในแง่ทางเศรษฐศาตร์ที่จะลดต้นทุนในการดำเนินกิจการ การศึกษาทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นแนวทางการประเมินคาร์บอนฟุตปริ้นท์องค์กร (CFO), การวิเคราะห์ Marginal Abatement Cost (MAC), การวิเคราะห์มาตรการอนุรักษ์พลังงาน และแนวทางการจัดการขยะมูลฝอย จะเป็นข้อมูลตัวอย่างที่อาคารศูนย์การค้าทั่วไปสามารถนำไปปฏิบัติเพื่อช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอาคารได้เช่นเดียวกัน


การทำนายปริมาณการใช้สารส้มในระบบผลิตน้ำประปาของการประปาส่วนภูมิภาคสาขาอุดรธานี โดยใช้โปรแกรมเหมืองข้อมูล, จินตวัฒน์ ละชินลา Jan 2019

การทำนายปริมาณการใช้สารส้มในระบบผลิตน้ำประปาของการประปาส่วนภูมิภาคสาขาอุดรธานี โดยใช้โปรแกรมเหมืองข้อมูล, จินตวัฒน์ ละชินลา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นการประยุกต์ใช้โปรแกรม RapidMiner V.9.2 ใช้ทำนายปริมาณสารส้มที่ใช้ในระบบผลิตน้ำประปาของการประปาส่วนภูมิภาคสาขาอุดรธานี โดยข้อมูลอินพุต 4 ตัวแปร คือ ความเป็นกรด-ด่างของน้ำดิบ ความขุ่นของน้ำดิบ ความเป็นกรด-ด่างของน้ำก่อนกรอง และความขุ่นของน้ำก่อนกรอง ข้อมูลเอาต์พุต คือ ปริมาณสารส้ม ในการสร้างแบบจำลองใช้ข้อมูลตั้งแต่ตุลาคม 2556 ถึงเมษายน 2561 จำนวน 4,029 ชุด ใช้ทฤษฎี 6 ทฤษฎี ดังนี้ W-LinearRegression W-MultilayerPerceptron W-REPTree W-M5P W-M5Rules และ Gradient Boosted Tree (GBT) และทดลองทั้งหมด 24 รูปแบบ เพื่อหาแบบจำลองที่ดีที่สุดในแต่ละรูปแบบ จากนั้นตรวจสอบแบบจำลองโดยใช้ข้อมูลชุดเดิมที่ใช้สร้างแบบจำลองและข้อมูลตั้งแต่พฤษภาคม 2561 ถึงเมษายน 2562 จำนวน 1,089 ชุด นอกจากนี้นำมาประยุกต์ใช้ลดปริมาณการใช้สารส้ม การวิเคราะห์ความอ่อนไหว จากการทดลองสรุปได้ว่า แบบจำลองที่สามารถใช้ในแต่ละรูปแบบได้ มีทั้งหมด 10 แบบจำลอง ซึ่งแบบจำลองที่มีประสิทธิภาพที่ดีที่สุด คือ แบบจำลองที่ 8 ใช้ในโรงผลิตน้ำบ้านนิคมในช่วงฤดูร้อนเท่านั้น โดยใช้ทฤษฎี GBT ได้ค่า RMSE เท่ากับ 2.049 ค่า MAE เท่ากับ 1.264 เมื่อนำแบบจำลองทั้ง 10 แบบจำลองมาใช้งาน พบว่า แบบจำลองที่ 1 5 6 และ 7 ใช้ในโรงผลิตน้ำบ้านถ่อน แบบจำลองที่ 2 8 และ 9 ใช้ในโรงผลิตน้ำบ้านนิคม แบบจำลองที่ 3 และ 10 ใช้ร่วมทั้งโรงผลิตน้ำบ้านถ่อนและบ้านนิคม และแบบจำลองที่ 4 ใช้ได้ทั้ง 3 โรงผลิตน้ำเฉพาะฤดูร้อน เมื่อนำมาประยุกต์ใช้ลดปริมาณการใช้สารส้ม พบว่า แบบจำลองที่ลดปริมาณการใช้สารส้มได้มากที่สุด คือ …