Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Engineering Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Electrical and Electronics

PDF

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Articles 31 - 60 of 174

Full-Text Articles in Engineering

Mitigating Sinkhole Attack On Low-Power And Lossy Networks With Traffic Aware Scheduling Algorithm Using Dual Parent Mechanism, Tay Zar Bhone Maung Jan 2021

Mitigating Sinkhole Attack On Low-Power And Lossy Networks With Traffic Aware Scheduling Algorithm Using Dual Parent Mechanism, Tay Zar Bhone Maung

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Low-Power and Lossy Networks (LLN) are networks where all the routers and IoT devices are working on a limited power, memory, and computational energy. Due to the constrained structures of LLN networks such as limited resources, lossy connection and lack of physical security, security attacks can occur when routing in an LLN network. The Routing Protocol for Low-Power and Lossy Networks (RPL) was developed to meet the needs of multiple applications in the fields of Wireless Sensor Networks (WSN) and Internet of Things (IoT). Some sensor nodes in a RPL network are not strong enough to withstand a variety of …


Deep Learning With Attention Mechanism For Iterative Face Super-Resolution, Krit Duangprom Jan 2021

Deep Learning With Attention Mechanism For Iterative Face Super-Resolution, Krit Duangprom

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Face images are widely used in many applications, such as face recognition and face identification. Regarding security, face identification is used to track the crimes. However, the camera's low resolution and environmental degradation problem hinders the face application's performance. In this thesis, we study face image super-resolution to restore the image from low-resolution to high-resolution. We proposed deep learning with an attention mechanism for iterative face super-resolution that included an image super-resolution network and face alignment network combined. The input low-resolution image is enlarged into a super-resolution face image. Then, the image has repeatedly estimated the alignment to enhance the …


Identification And Counting White Blood Cell Subtypes With Convolutional Neural Network, Singgih Bekti Worsito Jan 2021

Identification And Counting White Blood Cell Subtypes With Convolutional Neural Network, Singgih Bekti Worsito

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

White blood cell (WBC) has five subtypes namely neutrophil, eosinophil, basophil, lymphocyte, and monocyte which play specific roles in the immune system and against diseases. The object detection model applied to microscopic objects is introduced to assist experts in performing tasks in blood analysis. Unbalanced cell composition of WBC subtypes to be detected is a challenge in building a model in Convolutional Neural Network (CNN). This research aims to build models in recognizing and counting WBC subtypes with neural networks constructed from augmented data enrichment. CNN is demonstrated in this study with the YOLOv5s, YOLOv5l, and YOLOv5x models to detect …


Real-Time Image Super-Resolution Reconstruction For System On Chip Fpga, Watchara Ruangsang Jan 2021

Real-Time Image Super-Resolution Reconstruction For System On Chip Fpga, Watchara Ruangsang

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In recent years, image super-resolution (SR) techniques based on Convolutional Neural Network (CNN) have achieved impressive attention from computer vision scholars and artificial intelligence (AI) companies. Due to the necessity of using the SR algorithms in real-world applications, designing an efficient and lightweight SR algorithm that improves the sharpness and visual quality of the SR results is a critical issue in real-time hardware implementation. To address these issues, we proposed the Multi-FusNet of Cross Channel Network (MFCC) network by constructing the groups of Residual-in-Residual architecture under the multi-path cascading framework. Additionally, a residual connection is used to transfer the low-level …


กลยุทธ์การจัดสรรแบบเหมาะที่สุดของการผลิตพลังงานร่วมที่มีตัวกักเก็บพลังงานความร้อนและแบตเตอรี่สำหรับระบบจัดการพลังงานภายในอาคารภายใต้ความไม่แน่นอนของความต้องการโหลดไฟฟ้า, ปะริชาดา ไตรรัตน์ Jan 2021

กลยุทธ์การจัดสรรแบบเหมาะที่สุดของการผลิตพลังงานร่วมที่มีตัวกักเก็บพลังงานความร้อนและแบตเตอรี่สำหรับระบบจัดการพลังงานภายในอาคารภายใต้ความไม่แน่นอนของความต้องการโหลดไฟฟ้า, ปะริชาดา ไตรรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้นำเสนอกลยุทธ์การจัดสรรพลังงานแบบเหมาะที่สุดของระบบจัดการพลังงานภายในอาคาร ที่มีกำลังสำรองพร้อมจ่าย ตัวกักเก็บพลังงานความร้อน และตัวกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ ภายใต้ความไม่แน่นอนของความต้องการโหลด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดต้นทุนการดำเนินการรวม และการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์รวม ซึ่งกำหนดเป็นรูปแบบการดำเนินงานเชิงเศรษฐศาสตร์แบบเหมาะที่สุด และการดำเนินงานเชิงสิ่งแวดล้อมแบบเหมาะที่สุด ตามลำดับ การจัดสรรพลังงานอาศัยการทำนายความต้องการโหลดไฟฟ้าในการวางแผนเพื่อปรับกลยุทธ์ การทำนายความการโหลดไฟฟ้าใช้แบบจำลองโครงข่ายประสาทเทียม ซึ่งประกอบด้วย 2 แบบ ได้แก่ แบบจำลองสำหรับวันทำการ และแบบจำลองสำหรับวันสุดสัปดาห์ หลังจากนั้น เรานำเสนอแนวทางการออกแบบขนาดตัวกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ที่เหมาะสม เพื่อประยุกต์ใช้กับระบบจัดการพลังงานภายในอาคาร การทดลองเชิงตัวเลขอาศัยข้อมูลห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่แห่งหนึ่งที่มีขนาดความต้องการโหลดไฟฟ้าสูงสุด 24 เมกะวัตต์ พบว่า ขนาดตัวกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ 4.2 เมกะวัตต์ชั่วโมง จะให้ต้นทุนการดำเนินการรวมมีค่าต่ำสุด เมื่อทดลองกับระบบจัดการพลังงานภายในอาคารที่เสนอใหม่ และเปรียบเทียบกับระบบจัดการพลังงานภายในอาคารก่อนหน้า ซึ่งไม่มีกำลังสำรองพร้อมจ่าย และตัวกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ พบว่า ระบบที่เสนอใหม่มีต้นทุนการดำเนินการรวมลดลงร้อยละ 9.68 และการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์รวมลดลงร้อยละ 0.25 สำหรับกรณีที่มีความไม่แน่นอน และต้นทุนการดำเนินการรวมลดลงร้อยละ 1.26 สำหรับกรณีที่ระบุ จะสังเกตว่า ตัวกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่เป็นองค์ประกอบสำคัญในการลดการซื้อพลังงานไฟฟ้าจากโครงข่ายไฟฟ้าได้ นอกจากนี้ เราพิจารณาการดำเนินงานอเนกประสงค์แบบเหมาะที่สุด เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างต้นทุนการดำเนินรวม กับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์รวม เรานำเสนอการทำให้เป็นบรรทัดฐานของฟังก์ชันวัตถุประสงค์ และกำหนดฟังก์ชันอเนกประสงค์ เป็นผลรวมเชิงเส้นของฟังก์ชันวัตถุประสงค์ทั้งสอง เมื่อทดลองเชิงตัวเลข พบว่าความสัมพันธ์มีรูปแบบเป็นสมรรถนะการแลกเปลี่ยน กล่าวคือ เมื่อการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์รวมมีค่าต่ำที่สุด ต้นทุนการดำเนินการรวมจะมีค่าสูงที่สุด ในขณะที่เมื่อต้นทุนการดำเนินการรวมมีค่าต่ำที่สุด การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์รวมจะมีค่าสูงที่สุด ผลลัพธ์นี้ช่วยให้เลือกจุดทำงานของระบบจัดการพลังงานภายในอาคารได้ รวมไปถึงวิเคราะห์การไหลของพลังงานสำหรับการดำเนินงานอเนกประสงค์แบบเหมาะที่สุด ผลการทดลองเชิงตัวเลขแสดงให้เห็นว่า เมื่อกำหนดให้ตัวถ่วงน้ำหนักมีค่าเท่ากับ 0.9 ระบบที่เสนอใหม่มีต้นทุนการดำเนินการรวมลดลงร้อยละ 7.33 แต่การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์รวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.27


การประยุกต์ใช้การวัดอิมพีแดนซ์กับการตรวจสอบสภาพให้ซึมผ่านได้ของเยื่อหุ้มเซลล์, พัชรพล กังวาลโชคชัย Jan 2021

การประยุกต์ใช้การวัดอิมพีแดนซ์กับการตรวจสอบสภาพให้ซึมผ่านได้ของเยื่อหุ้มเซลล์, พัชรพล กังวาลโชคชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้ศึกษาการตรวจสอบสภาพให้ซึมผ่านได้ของเยื่อหุ้มเซลล์ที่เกิดจากอิเล็กโตรพอเรชัน ด้วยการประยุกต์ใช้การวิเคราะห์อิมพีแดนซ์. วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ คือ เพื่อทดลองวัดอิมพีแดนซ์ของเซลล์โดยอาศัยระบบของไหลจุลภาคเพื่อควบคุมทิศทางของสนามไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าในการวัด และเพื่อประยุกต์ใช้การวัดอิมพีแดนซ์เพื่อตรวจสอบพฤติกรรมอิเล็กโตรพอเรชันของเซลล์. เซลล์ทั้งหมด 3 ชนิด ถูกใช้ในงานวิจัยนี้ ได้แก่ เซลล์ดอกอัญชัน, เซลล์มาโครฟาจ J774 และเซลล์มะเร็งสุนัขชนิดมาสต์เซลล์. การวัดค่าอิมพีแดนซ์ใช้ความถี่อยู่ในช่วง 10 kHz ถึง 100 kHz. การประยุกต์ใช้ระบบของไหลจุลภาค ทำให้สามารถกระตุ้นให้เกิดอิเล็กโตรพอเรชัน ได้ด้วยแรงดันต่ำในช่วงตั้งแต่ 2 Vp ถึง 4 Vp. Corrected total cell fluorescence (CTCF) ถูกพิจารณาประกอบในการตรวจสอบสภาพให้ซึมผ่านได้ของเยื่อหุ้มเซลล์ร่วมกับการวัดอิมพีแดนซ์. เงื่อนไขที่เหมาะสมสำหรับการทำอิเล็กโตรพอเรชันแบบชั่วคราวกับเซลล์มะเร็งสุนัขชนิดมาสต์เซลล์ คือ 2.5 Vp, ความถี่ 20 kHz และจำนวนลูกคลื่น 50 cycles (ทั้งหมด 15 ครั้ง) ซึ่งให้ประสิทธิภาพ 50%. การแยกความแตกต่างเซลล์ที่เกิดอิเล็กโตรพอเรชันแบบชั่วคราวและแบบถาวร กระทำโดยใช้สีย้อมฟลูออเรสเซนต์ Yo-Pro-1 และ Propidium iodide (PI) ร่วมกัน. สภาพให้ซึมผ่านได้ของเยื่อหุ้มเซลล์สามารถตรวจสอบได้ผ่านการวัดค่าความนำไฟฟ้า. ขนาดของการเปิดช่องของเยื่อหุ้มเซลล์สามารถตรวจสอบได้ในเชิงปริมาณ จากความแตกต่างระหว่างค่าความนำไฟฟ้ากรณีไม่มีเซลล์ถูกจับยึด และกรณีหลังป้อนพัลส์ไฟฟ้าสำหรับกระตุ้นการเปิดช่องของเยื่อหุ้มเซลล์ (∆GC). การคืนสภาพของเยื่อหุ้มเซลล์ตามเวลาไม่สามารถตรวจสอบได้ด้วยการวัดค่าความนำไฟฟ้าในงานวิจัยนี้ เนื่องจากความนำไฟฟ้าของสารละลายมีค่าสูงขึ้นตามเวลา ซึ่งสวนทางกับค่าการเปลี่ยนแปลงความนำไฟฟ้าที่เกิดจากการคืนสภาพของเยื่อหุ้มเซลล์. นอกจากนี้ แรงดันของพัลส์ที่สูงขึ้นเพียงเล็กน้อย อาจทำให้เยื่อหุ้มเซลล์เสียสภาพโดยถาวรได้. ทว่า เมื่อลดขนาดแรงดันไฟฟ้าหรือจำนวนลูกคลื่นลง การเกิดอิเล็กโตรพอเรชันจะไม่สามารถสังเกตได้อย่างชัดเจน.


การพัฒนาขั้นตอนวิธีสำหรับจำแนกโรคอ้อยที่พบมากในประเทศไทย, ณัฏฐ์ภัค ลาวัลย์วงศ์ Jan 2021

การพัฒนาขั้นตอนวิธีสำหรับจำแนกโรคอ้อยที่พบมากในประเทศไทย, ณัฏฐ์ภัค ลาวัลย์วงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สำหรับการจำแนกโรคอ้อยที่พบมากบนพันธุ์ขอนแก่น 3 ซึ่งเป็นพันธุ์อ้อยที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในประเทศไทย จะให้ความสำคัญในการวิเคราะห์โรคที่ส่งผลรุนแรงต่อใบอ้อย เช่น โรคที่เกิดจากแบคทีเรีย เชื้อรา และแมลง จากการตรวจหาและระบุโรคที่เกิดขึ้นในอ้อยซึ่งต้องการผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์และเวลา จึงมีแนวคิดในการสร้างระบบที่ช่วยในการจำแนกโรคอ้อยที่มีความแม่นยำอย่างอัตโนมัติ ซึ่งส่งผลให้การวินิจฉัยโรคทำได้รวดเร็วมากขึ้น เป็นระบบอัจฉริยะสำหรับจำแนกประเภทและลักษณะอาการของโรคอ้อย (Intelligent System Diagnosis Sugarcane Diseases with Deep Convolutional Neural Network) เป็นระบบที่ให้ผู้ใช้งานอัพโหลดรูปภาพใบอ้อย สามารถบ่งบอกโรคอ้อยและระบุสาเหตุพร้อมวิธีการป้องกันหรือควบคุม โดยระบบมีความสามารถในการจำแนกชนิดของโรคอ้อย 5 คลาส ได้แก่ โรคเส้นกลางใบแดง (Red Rot) โรคราสนิม (Rust) โรคใบจุดวงแหวน (Ring Spot) โรคใบขาว (White Leaf) และใบสมบูรณ์ (Normal) ที่มีค่า Mean Average Precision (mAP) สูงถึง 0.8681 หรือร้อยละ 86.81


สถาปัตยกรรมระบบพลังงานอัจฉริยะแบบคลาวด์ ด้วยการประมวลผลเชิงกระจายในคลัสเตอร์ที่ร่วมสมาพันธ์การออร์เคสเตรตคอนเทนเนอร์, กิตติพัฒน์ แสงแก่นเพ็ชร์ Jan 2021

สถาปัตยกรรมระบบพลังงานอัจฉริยะแบบคลาวด์ ด้วยการประมวลผลเชิงกระจายในคลัสเตอร์ที่ร่วมสมาพันธ์การออร์เคสเตรตคอนเทนเนอร์, กิตติพัฒน์ แสงแก่นเพ็ชร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้นำเสนอสถาปัตยกรรมระบบพลังงานอัจฉริยะแบบคลาวด์ ด้วยการประมวลผลเชิงกระจายและใช้เทคโนโลยีการร่วมสมาพันธ์การออร์เคสเตรตคอนเทนเนอร์ เทคโนโลยีคอนเทนเนอร์จะช่วยในการย้ายแอพลิเคชันและการปรับปรุงรุ่นแอพลิเคชันได้สะดวก โดยทั่วไปข้อมูลจากอุปกรณ์ไอโอทีต่าง ๆ จะรวมศูนย์การจัดเก็บข้อมูล และประมวลผลอยู่ที่ส่วนกลาง งานวิจัยนี้ได้นำสถาปัตยกรรมระบบการประมวลผลเชิงกระจาย ที่สามารถเร่งความเร็วการประมวลผลให้เร็วกว่าแบบรวมศูนย์ นอกจากนี้วิทยานิพนธ์นี้เสนอสถาปัตยกรรมระบบอื่น ๆ เพื่อเป็นประโยชน์เชิงการศึกษาความเป็นไปได้ของการประยุกต์ในทางปฏิบัติสำหรับการใช้เทคโนโลยีคอนเทนเนอร์ คิวเบอร์เนเทส และการร่วมสมาพันธ์คิวเบอร์เนเทส โดยได้นำเสนอการทดสอบสถาปัตยกรรมแบบต่าง ๆ และใช้ระบบทดสอบในโครงการความร่วมมือในการพัฒนาแพลทฟอร์มรองรับศูนย์กลางข้อมูลไอโอทีคลาวด์ หรือ IoTcloudServe@TEIN นอกจากนี้ได้ต่อยอดสถาปัตยกรรมระบบในโครงการ OF@TEIN++ ในการทดสอบการร่วมสมาพันธ์การออร์เคสเตรตคอนเทนเนอร์ระหว่างคลัสเตอร์ในความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเทศไทย มหาวิทยาลัยมาลายา ประเทศมาเลเซีย และ สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกวางจู ประเทศเกาหลีใต้ จากนั้นได้ต่อยอดสถาปัตยกรรมระบบต่อเนื่องในโครงการ OF@TEIN+++ เพื่อนำเสนอการจัดลำดับชั้นของการแบ่งทรัพยากรในการแยกกลุ่มภาระของคลัสเตอร์ที่ร่วมสมาพันธ์ และท้ายสุดได้นำเสนอแนวทางประยุกต์สถาปัตยกรรมในบริบทของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย


การวิเคราะห์การคำนวณพิกัดอัตราค่าไฟฟ้าฐานในโครงสร้างพิกัดอัตราค่าไฟฟ้าของประเทศไทย, นภัทร ภักดีสุวรรณ์ Jan 2021

การวิเคราะห์การคำนวณพิกัดอัตราค่าไฟฟ้าฐานในโครงสร้างพิกัดอัตราค่าไฟฟ้าของประเทศไทย, นภัทร ภักดีสุวรรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าที่ดีจะสะท้อนถึงต้นทุนในการจัดหาไฟฟ้าที่เหมาะสมและเป็นธรรมทั้งในส่วนของผู้ผลิตไฟฟ้าและจัดจำหน่ายไฟฟ้า อย่างไรก็ตามอัตราค่าไฟฟ้าที่ใช้จัดเก็บจากผู้ใช้ไฟฟ้าอาจยังมีความไม่ชัดเจน ทำให้ไม่สามารถระบุที่มาของอัตราค่าไฟฟ้าและสะท้อนถึงสถานะทางการเงินที่แท้จริงของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ได้ เช่น ต้นทุนในการก่อสร้างโรงไฟฟ้า ระบบสายส่ง ระบบจำหน่าย และ ค่าการผลิตพลังงานไฟฟ้า เป็นต้น วิทยานิพนธ์นี้จึงได้วิเคราะห์การคำนวณพิกัดอัตราค่าไฟฟ้าฐานในโครงสร้างพิกัดอัตราค่าไฟฟ้าให้สามารถสะท้อนถึงต้นทุนที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยมีการพิจารณาถึงอัตราค่าพลังงานไฟฟ้าแยกตามเขตพื้นที่เพื่อทำให้การไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง สามารถปรับปรุงอัตราค่าไฟฟ้าใหม่ให้สอดคล้องกับต้นทุนของการไฟฟ้าในแต่ละพื้นที่ได้มากยิ่งขึ้น


การวิเคราะห์สมรรถนะของโพรโทคอลการควบคุมการเข้าถึงตัวกลางแบบฟูลดูเพลกซ์อสมมาตรในกรณีที่มีสถานีซ่อนเร้น, ธีศิษฎ์ ศรีประเสริฐ Jan 2021

การวิเคราะห์สมรรถนะของโพรโทคอลการควบคุมการเข้าถึงตัวกลางแบบฟูลดูเพลกซ์อสมมาตรในกรณีที่มีสถานีซ่อนเร้น, ธีศิษฎ์ ศรีประเสริฐ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้นำเสนอการจำลองทำงานของโพรโทคอลการเข้าถึงตัวกลางแบบฟูลดูเพลกซ์แบบอสมมาตรด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ในการประเมินสมรรถนะของระบบทั้งในสภาวะที่มีและไม่มีสถานีซ่อนเร้น ในงานวิจัยนี้เริ่มจากการศึกษามาตรฐานโพรโทคอล IEEE802.11 และประเมินค่าทรูพุตของระบบโดยพิจารณาถึงผลกระทบของการมีอยู่ของสถานีซ่อนเร้น ผลการทดสอบพบว่าสถานีซ่อนเร้นเป็นปัญหาหลักของโพรโทคอลการเข้าถึงตัวกลางที่อาศัยกลไกการจับมือสองทาง กล่าวคือ ค่าทรูพุตของระบบลดลงจากกรณีที่ไม่มีสถานีซ่อนเร้นอย่างมีนัยสำคัญ ในทางปฏิบัติ การใช้กลไกการจับมือแบบสี่ทางเป็นวิธีที่ถูกนำมาใช้งานเพื่อแก้ปัญหาของสถานีซ้อนเร้น ผลการทดสอบด้วยโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นกับตัวอย่างโครงข่ายกรณีศึกษาแสดงให้เห็นว่าการเพิ่มกระบวนการการขอการส่งแพ็กเก็ตอาร์ทีเอสและการตอบรับด้วยแพ็กเก็ตซีทีเอสเป็นกลไกที่ช่วยลดผลกระทบของสถานีซ้อนเร้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องตรงกับงานวิจัยที่มีอยู่เดิม ผู้เขียนได้ทำการพัฒนาโปรแกรมต่อยอดให้สามารถจำลองการทำงานของระบบการสื่อสารแบบฟูลดูเพลกซ์แบบอสมมาตร เพื่อใช้ในการศึกษา วิเคราะห์ และประเมินสรรถนะ ในการใช้งานโปรแกรมสามารถกำหนดให้สถานีอยู่ ณ ตำแหน่งใด ๆ ก็ได้ เพื่อให้สามารถจำลองสถานการณ์ที่มีสถานีซ้อนเร้นในรูปแบบต่างกันได้ตามต้องการ โดยได้ทำการจำลองในหลาย ๆ สถานการณ์ ในขนาดหน้าต่างช่วงชิง 16 และ 32 ผลการทดสอบพบว่าการที่สถานีไม่มีการซ่อนเร้นกันเลยทำให้ไม่สามารถสร้างฟูลดูเพลกซ์ได้ เนื่องจากสัญญารบกวนกันของสถานีที่อยู่ใกล้กัน เมื่อนำวิธีผลกระทบจากการยึดได้ มาใช้งาน ผลการทดสอบทำให้สามารถสร้างสร้างฟูลดูเพลกซ์ได้ และได้ค่าทรูพุตที่ดีขึ้น ในการทดลองต่อไปคือการทำในรูปแบบที่มีสถานีซ่อนเร้นกัน ผลการทดลองพบว่าสามารถสร้างสร้างฟูลดูเพลกซ์ได้ และเมื่อนำวิธีผลกระทบจากการยึดได้ มาใช้งานทำให้ค่าทรูพุตดีขึ้นประมาณ 5-10 % โดยประมาณ การทดลองต่อไปเป็นการทดลองเพิ่มสถานีส่งให้มากขึ้น ผลการทดลองพบว่าค่าทรูพุตจะลดลงตามลำดับจำนวนสถานีทั้งในกรณีที่ใช้ผลกระทบจากการยึดได้ และไม่ใช้เพราะสถานีที่มากขึ้นจะทำการแย่งกันส่งสัญญาณชนกัน และสิ่งที่สังเกตที่ได้จากการทดลองของการใช้ผลกระทบจากการยึดได้ ก็คือสถานีปลายทางจะรับข้อมูลได้อย่างยุติธรรมมากขึ้น


การพยากรณ์โหลดไฟฟ้าของเกาะพะงันและการประยุกต์ใช้ระบบกักเก็บพลังงานแบตเตอรี่กับการตัดยอดโหลดไฟฟ้า, ภาคภูมิ น้อยวรรณะ Jan 2021

การพยากรณ์โหลดไฟฟ้าของเกาะพะงันและการประยุกต์ใช้ระบบกักเก็บพลังงานแบตเตอรี่กับการตัดยอดโหลดไฟฟ้า, ภาคภูมิ น้อยวรรณะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้นําเสนอการประยุกต์ใช้ระบบกักเก็บพลังงานแบตเตอรี่กับการตัดยอดโหลดไฟฟ้าเพื่อให้โหลดไฟฟ้ารวมสูงสุดรายปีของเกาะพะงันมีค่าไม่เกินพิกัดการรับโหลดกำลังไฟฟ้าของสายเคเบิลใต้น้ำ การประยุกต์ใช้ระบบกักเก็บพลังงานแบตเตอรี่กับการตัดยอดโหลดไฟฟ้าต้องอาศัยการพยากรณ์โหลดไฟฟ้ารวมสูงสุดและเวลาที่เกิดโหลดไฟฟ้ารวมสูงสุด เราพัฒนาแบบจําลองวิธีปรับให้เรียบด้วยเอ็กซ์โปเนนเชียลของโฮลท์-วินเทอร์ร่วมกับแบบจําลองโครงข่ายประสาทเทียม (Integrated Holt-Winters Exponential Smoothing and Artificial Neural Networks; IHWANN) เพื่อพยากรณ์โหลดไฟฟ้ารายชั่วโมงล่วงหน้า 1 วัน ผลการทดลองเชิงตัวเลขแสดงให้เห็นว่าแบบจำลอง IHWANN มีความแม่นยํามากกว่าแบบจําลองวิธีปรับให้เรียบด้วยเอ็กซ์โปเนนเชียลของโฮลท์-วินเทอร์ (Holt-Winters Exponential Smoothing) และแบบจําลองโครงข่ายประสาทเทียม (Artificial Neural Networks) หลังจากนั้น เราประยุกต์ใช้งานแบบจำลอง IHWANN ร่วมกับระบบกักเก็บพลังงานแบตเตอรี่เพื่อตัดยอดโหลดไฟฟ้าโดยกำหนดให้โหลดไฟฟ้ารวมสูงสุดรายปีของเกาะพะงันมีค่าไม่เกินพิกัดการรับโหลดของสายเคเบิลใต้น้ำ อีกทั้ง เรานําเสนอการออกแบบขนาดของระบบกักเก็บพลังงานแบตเตอรี่ และเวลาเหมาะที่สุดสำหรับการติดตั้งระบบกักเก็บพลังงานแบตเตอรี่ 2 ขั้น โดยขั้นตอนวิธีอย่างง่ายของการหาค่าเหมาะที่สุดเชิงการจัด (Combinatorial Optimization) เมื่อเปรียบเทียบระหว่างการออกแบบระบบกักเก็บพลังงานแบตเตอรี่ 1 ขั้น กับการออกแบบระบบกักเก็บพลังงานแบตเตอรี่ 2 ขั้น พบว่าการออกแบบระบบกักเก็บพลังงานแบตเตอรี่ 1 ขั้น มีอัตราผลตอบแทนภายใน (Internal Rate of Return; IRR) -30.079% และการออกแบบระบบกักเก็บพลังงานแบตเตอรี่แบบ 2 ขั้นมีอัตราผลตอบแทนภายใน -11.296% ดังนั้น การออกแบบระบบกักเก็บพลังงานแบตเตอรี่ 2 ขั้นมีความเหมาะสมในการลงทุนมากว่าการออกแบบระบบกักเก็บพลังงานแบตเตอรี่ 1 ขั้น


การกำหนดขนาดที่เหมาะสมของระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่โดยคำนึงถึงการจัดสรรกำลังผลิตและพลังงานหมุนเวียนที่มีความผันผวนในระบบผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย, อัจฉรา ยิ้มประไพ Jan 2021

การกำหนดขนาดที่เหมาะสมของระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่โดยคำนึงถึงการจัดสรรกำลังผลิตและพลังงานหมุนเวียนที่มีความผันผวนในระบบผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย, อัจฉรา ยิ้มประไพ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันมีการส่งเสริมให้นำพลังงานหมุนเวียนเข้ามาใช้งานมากยิ่งขึ้น เนื่องจากไม่มีค่าเชื้อเพลิง เป็นพลังงานสะอาด ซึ่งแหล่งเชื้อเพลิงหลักที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย คือ เชื้อเพลิงฟอสซิล ซี่งแนวโน้มจะขาดแคลนและมีราคาสูงในอนาคต ดังนั้นพลังงานหมุนเวียนที่มีความผันผวน ได้แก่ พลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม จึงกลายมาเป็นทางเลือกที่น่าสนใจเพื่อนำมาใช้ผลิตไฟฟ้า แต่การเพิ่มขึ้นของพลังงานนี้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของความต้องการใช้ไฟฟ้า เนื่องจากไม่สามารถควบคุมและไม่สามารถพยากรณ์ได้อย่างแน่นอน และส่งผลต่อการทำงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า จึงเสนอให้นำระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่เข้ามาใช้งานในระบบไฟฟ้า เพื่อพัฒนาระบบไฟฟ้าให้มีความยืดหยุ่น และมีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น และราคาการติดตั้งยังมีแนวโน้มที่ลดลงอีกด้วย วิทยานิพนธ์ฉบับนี้นำเสนอการหาขนาดของระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ที่เหมาะสม เมื่อมีการเพิ่มขึ้นของพลังงานหมุนเวียนที่มีความผันผวน และทำงานร่วมกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าในแผนการเดินเครื่องแบบเดิม เพื่อตอบสนองต่อความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เปลี่ยนแปลงไป โดยที่ต้นทุนในระบบไฟฟ้านั้นต่ำที่สุด ซึ่งทำการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ และพิจารณาราคาการติดตั้งระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ร่วมด้วย ในงานนี้พิจารณาการเพิ่มขึ้นของพลังงานหมุนเวียนที่มีความผันผวนในแต่ละการทดสอบ โดยใช้ข้อมูลความต้องการใช้ไฟฟ้าและแผนการเดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จากผลการวิเคราะห์พบว่าสามารถหาขนาดที่เหมาะสมของระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ได้ เมื่อมีพลังงานหมุนเวียนที่มีความผันผวนเพิ่มขึ้น 90% โดยทำงานร่วมกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและได้ผลของต้นทุนของระบบที่ต่ำที่สุดเมื่อพิจารณาราคาในการติดตั้งของระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ร่วมด้วย


Hybrid Gns3 And Mininet-Wifi Emulator For Survivable Sdn Backbone Network Supporting Wireless Iot Traffic, May Pyone Han Jan 2021

Hybrid Gns3 And Mininet-Wifi Emulator For Survivable Sdn Backbone Network Supporting Wireless Iot Traffic, May Pyone Han

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This thesis has designed and implemented an emulated testbed for fault-tolerant delay awareness routing for wireless sensor traffic by using software-defined networking (SDN) at the backbone network. In this work, the hybrid form of GNS3 and Mininet-WiFi emulation network testbed is proposed to build an emulated SDN-based backbone network in GNS3 and an emulated IPv6 over Low Power Personal Area Network (6LoWPAN) in Mininet-WiFi. Three virtual machines are used to set up the hybrid emulated SDN-based network testbed. The Mininet-WiFi platform which is used to build the emulated 6LoWPAN sensor network is installed in two virtual machines separately and the …


การจัดสรรแหล่งผลิตไฟฟ้าแบบกระจายหลายตำแหน่งในระบบจำหน่ายไฟฟ้าแบบเรเดียลโดยพิจารณาการลดการสูญเสียกำลังไฟฟ้าและการจำกัดปริมาณการรับซื้อไฟฟ้า, กฤตภาส เพียรวิบูลย์ Jan 2021

การจัดสรรแหล่งผลิตไฟฟ้าแบบกระจายหลายตำแหน่งในระบบจำหน่ายไฟฟ้าแบบเรเดียลโดยพิจารณาการลดการสูญเสียกำลังไฟฟ้าและการจำกัดปริมาณการรับซื้อไฟฟ้า, กฤตภาส เพียรวิบูลย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้ศึกษาการหาขนาดที่เหมาะสมของแหล่งผลิตไฟฟ้าแบบกระจายหลายตัวในระบบจำหน่ายไฟฟ้าแบบเรเดียล และ ศึกษาผลกระทบของการลดการสูญเสียกำลังไฟฟ้าและการจำกัดปริมาณรับซื้อไฟฟ้าของระบบที่มีแหล่งผลิตไฟฟ้าแบบกระจายหลายตัว นอกจากนี้วิทยานิพนธ์ได้ศึกษาผลกระทบของการลดการสูญเสียกำลังไฟฟ้าและการจำกัดปริมาณรับซื้อไฟฟ้าของระบบที่มีแหล่งผลิตไฟฟ้าแบบกระจายหลายตัวร่วมกับเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงาน กรณีศึกษาถูกแบ่งเป็น 3 ส่วน ดังนี้ กรณีศึกษาที่ 1 การเปรียบเทียบวิธีการจัดสรรแหล่งผลิตไฟฟ้า กรณีศึกษาที่ 2 ผลกระทบของวิธีการจัดสรรแหล่งผลิตไฟฟ้าเมื่อมีจำนวนแหล่งผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้น และ กรณีศึกษาที่ 3 ผลการจำลองเวลาจริงของการหาค่าขนาดที่เหมาะสมของการจัดสรรแหล่งผลิตไฟฟ้า วิทยานิพนธ์ใช้ข้อมูลการผลิตไฟฟ้าของแหล่งผลิตไฟฟ้าแบบกระจายตัวจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ข้อมูลความต้องการโหลดแบบผู้อยู่อาศัยและแบบเชิงอุตสาหกรรมจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และ ระบบทดสอบ IEEE-33 บัส การจำลองหาขนาดที่เหมาะสมของแหล่งผลิตไฟฟ้า ใช้โปรแกรม Power Factory – DIgSILENT และ MATLAB ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าวิธีที่นำเสนอของวิทยานิพนธ์สามารถใช้แก้ปัญหาของการจัดสรรแหล่งผลิตไฟฟ้าแบบกระจายตัวเมื่อพิจารณาดรรชนีความอ่อนไหวที่มีค่ามากที่สุดในระบบ ผลการทดลองของกรณีศึกษาที่ 2 แสดงให้เห็นว่า ระบบไฟฟ้ามีจุดอิ่มตัวของค่าการลดลงของกำลังไฟฟ้าเมื่อมีการเพิ่มจำนวนการติดตั้งแหล่งผลิตไฟฟ้า โดยค่าการลดลงของกำลังไฟฟ้าไม่มีความแตกต่างทางนัยสำคัญที่จุดอิ่มตัว ผลการทดลองสำหรับกรณีศึกษาที่ 3 แสดงให้เห็นว่าการจัดสรรขนาดแหล่งผลิตไฟฟ้าแบบกระจายตัวเมื่อมีการพิจารณาการลดการสูญเสียกำลังไฟฟ้าและการจำกัดปริมาณการรับซื้อไฟฟ้า สามารถลดปริมาณเฉลี่ยการจำกัดปริมาณรับซื้อไฟฟ้าของระบบได้อย่างมีนัยสำคัญ โดยที่มีพลังงานไฟฟ้าสูญเสียไม่แตกต่างกันระหว่างการพิจารณาการจำกัดปริมาณการรับซื้อไฟฟ้ากับไม่พิจารณาการจำกัดปริมาณการรับซื้อไฟฟ้า สำหรับการจัดสรรแหล่งผลิตไฟฟ้าแบบกระจายตัวเมี่อมีการใช้แหล่งผลิตไฟฟ้าแบบกระจายตัวและระบบกักเก็บพลังงาน ผลลัพธ์แสดงให้เห็นว่าการจัดสรรขนาดแหล่งผลิตไฟฟ้าแบบกระจายตัวเมื่อมีการพิจารณาการลดการสูญเสียกำลังไฟฟ้าและการจำกัดปริมาณการรับซื้อไฟฟ้า สามารถลดปริมาณเฉลี่ยการจำกัดปริมาณรับซื้อไฟฟ้าของระบบได้อย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตาม วิธีนี้ไม่สามารถทำให้ระบบมีพลังงานไฟฟ้าสูญเสียต่ำกว่ากรณีการจัดสรรแหล่งผลิตไฟฟ้าแบบกระจายตัวเมื่อพิจารณาเฉพาะการลดการสูญเสียกำลังไฟฟ้าได้


การวิเคราะห์ประโยชน์ด้านเศรษฐศาสตร์ของระบบผลิตไฟฟ้าแบบกระจายตัวสำหรับการให้บริการเสริมด้านกำลังไฟฟ้าเสมือนในประเทศไทย, ภูวศรัณย์ พิสุทธไทรงาม Jan 2021

การวิเคราะห์ประโยชน์ด้านเศรษฐศาสตร์ของระบบผลิตไฟฟ้าแบบกระจายตัวสำหรับการให้บริการเสริมด้านกำลังไฟฟ้าเสมือนในประเทศไทย, ภูวศรัณย์ พิสุทธไทรงาม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การเพิ่มขึ้นของความจุกำลังการผลิตติดตั้งของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบกระจายตัวในประเทศไทยอาจลดการพึ่งพาระบบผลิตไฟฟ้าแบบดั้งเดิม ซึ่งเป็นผู้ให้บริการหลักในการบริการเสริมของระบบไฟฟ้า เมื่อปริมาณบริการเสริมลดจำนวนลง ระบบไฟฟ้าอาจพบกับปัญหาในหลายด้าน เช่น ไฟฟ้าดับ และ คุณภาพไฟฟ้าต่ำ ดังนั้น ได้มีการเสนอแนวคิดของการนำระบบผลิตไฟฟ้าแบบกระจายตัวมาเป็นผู้ให้บริการเสริม สำหรับการศึกษาครั้งนี้เน้นที่การศึกษาการนำเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบกระจายตัวมาให้บริการกำลังไฟฟ้าเสมือน และศึกษาความคุ้มค่าในด้านเศรษฐศาสตร์เมื่อนำเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบกระจายตัวมาช่วยเหลือเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบดั้งเดิมในการจายกำลังไฟฟ้าเสมือน โดยอาจส่งผลต่อปริมาณกำลังไฟฟ้าสำรองพร้อมจ่ายของโรงไฟฟ้าที่สั่งเดินเครื่อง โปรแกรม DIgSILENT และวิธีการแบ่งต้นทุนกำลังไฟฟ้าสำรองถูกใช้ในการดำเนินการศึกษาครั้งนี้ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการให้บริการกำลังไฟฟ้าเสมือนจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบกระจายตัวทำให้เกิดความคุ้มค่าทางด้านเศรษฐศาสตร์ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มปริมาณกำลังไฟฟ้าสำรองพร้อมจ่ายจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบดั้งเดิม


ระบบควบคุมเครื่องปรับอากาศสำหรับที่อยู่อาศัยโดยใช้ขอบข่ายงานการเรียนรู้ของเครื่องบนคลาวด์, อรรถวุฒิ อิสระวิริยะกุล Jan 2021

ระบบควบคุมเครื่องปรับอากาศสำหรับที่อยู่อาศัยโดยใช้ขอบข่ายงานการเรียนรู้ของเครื่องบนคลาวด์, อรรถวุฒิ อิสระวิริยะกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การทำนายพฤติกรรมผู้อยู่อาศัยเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญสำหรับอาคารอัจฉริยะ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เน้นการพัฒนาระบบควบคุมเครื่องปรับอากาศอัจฉริยะ เนื่องจากเครื่องปรับอากาศเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าในอาคารที่กินพลังงานไฟฟ้าสูง และมีความเกี่ยวข้องกับความรู้สึกสบายของผู้อยู่อาศัยโดยตรง จากการศึกษางานวิจัยก่อนหน้า แบบจำลองทำนายความรู้สึกสบายเชิงความร้อนถูกสร้างจากข้อมูลที่เก็บโดยการตอบแบบสอบถาม จากนั้นผลลัพธ์ของแบบจำลองจะถูกใช้ในการควบคุมเครื่องปรับอากาศ การเปิดปิดเครื่องปรับอากาศใช้วิธีกำหนดระยะกระจัด ระหว่างที่อยู่อาศัยกับผู้อยู่อาศัย ซึ่งเมื่อผู้อยู่อาศัยเข้าใกล้ที่อยู่อาศัยมากกว่ารัศมีที่กำหนด ระบบจะสั่งเปิดการทำงาน วิธีการที่กล่าวไปข้างต้นทั้งหมดมีปัญหาคือ หากผู้อยู่อาศัยไม่ป้อนข้อมูล แบบจำลองจะให้ผลลัพธ์ไม่ตรงกับความรู้สึกสบายเชิงความร้อนจริง และการกำหนดระยะรัศมี ไม่สามารถสะท้อนถึงพฤติกรรมที่เป็นกิจวัตร วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงนำเสนอระบบควบคุมเครื่องปรับอากาศด้วยขอบข่ายงานการเรียนรู้ของเครื่องแบบปรับตัวได้ โดยใช้ข้อมูลสภาวะแวดล้อมที่เก็บค่าได้ ข้อมูลสภาพอากาศ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางที่เป็นกิจวัตร ในการสร้างแบบจำลองการทำนายการมาถึงของผู้อยู่อาศัย ซึ่งใช้ในการเปิดปิดเครื่องปรับอากาศโดยอัตโนมัติ และแบบจำลองการจำแนกความรู้สึกสบายเชิงความร้อน ซึ่งใช้ในการปรับอุณหภูมิให้สอดคล้องกับความรู้สึกสบายผู้อยู่อาศัย ระบบที่พัฒนาขึ้นถูกประยุกต์ใช้บนคลาวด์ ทำให้สามารถลดภาระในการประมวลผลของอุปกรณ์ปลายทาง และสามารถพัฒนาเพิ่มเติมโดยปราศจากขีดจำกัดของอุปกรณ์ ระบบที่พัฒนาขึ้นสามารถควบคุมเครื่องปรับอากาศแบบเรียลไทม์ โดยการฝึกสอนแบบจำลองใหม่โดยอัตโนมัติทำให้การทำนายการมาถึงของผู้อยู่อาศัยล่วงหน้า 10 นาทีมีความแม่นยำมากกว่า 90% และการจำแนกความรู้สึกสบายเชิงความร้อน มีค่าเรียกกลับของความรู้สึกสบายมากกว่า 80% ถึงแม้พฤติกรรมของผู้อยู่อาศัยเปลี่ยนแปลงไป


ระบบส่องสว่างอัจฉริยะสำหรับการเลียนแบบแสงในรอบวันและแสงจ้า, สมยศ สันติมาลัย Jan 2021

ระบบส่องสว่างอัจฉริยะสำหรับการเลียนแบบแสงในรอบวันและแสงจ้า, สมยศ สันติมาลัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันเทคโนโลยีด้านแสงประดิษฐ์ได้รับการพัฒนามากขึ้นให้เหมาะสมต่อการใช้ชีวิตของมนุษย์ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมุ่งที่จะพัฒนาระบบส่องสว่างอัจฉริยะสำหรับการเลียนแบบแสงในรอบวันและแสงจ้า โดยผลการวิจัยสามารถสรุปได้ดังนี้ การศึกษาลักษณะการกระจายพลังงานของสเปกตรัม (SPD) แสงในรอบวัน ณ อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม แสดงให้เห็นว่าอุณหภูมิสัมพันธ์ของสี (CCT) และค่าความเข้มของแสงแตกต่างกันในฤดูร้อนและฤดูหนาวเนื่องจากปัจจัยหลักเกี่ยวกับระยะห่างและองศาในการได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ ระบบส่องสว่างถูกพัฒนาขึ้นโดยใช้โปรแกรม RGB–Input software สำหรับคัดเลือกหลอด RGB–LED 2 แบบ ได้แก่ LED–A และ LED–B ซึ่งให้ CCT ในช่วง 3,500 – 10,000 เคลวิน และกำหนดค่าพิกัด x – y บนแผนภาพสี (Chromaticity diagram) ของทั้งสองฤดู โดยพิจารณาจากค่าทางเรดิโอเมทตรี โฟโตแมตรี และค่าความผิดพลาดของ CCT ผลการวิเคราะห์พบว่า LED–A มีประสิทธิภาพในการควบคุมการให้แสงตามกำหนดที่ดีกว่า LED–B การพัฒนาระบบส่องสว่างอัจฉริยะเพื่อเลียนแบบแสงในรอบวันโดยใช้หลอด LED–A และหลอด white–LED สามารถปรับปรุงการให้สีของแสงที่มีพิกัด x – y ของแสงใกล้เคียงกับแสงในรอบวันมากขึ้น โดยมีความสว่างสูงสุดที่ 339 ลักซ์ ค่า CS สูงสุดที่ 0.40 ซึ่งจะเป็นแสงที่เลียนแบบแสงในช่วงบ่ายของทั้งสองฤดู จากผลการทดลองยังพบว่าในระดับความสว่างที่เท่ากัน แสงที่มีองค์ประกอบของคลื่นแสงสีน้ำเงินสูงกว่าจะให้การกระตุ้นที่สูงกว่าอย่างชัดเจน จากการทดสอบโดยใช้ผู้เข้าร่วมการวิจัย จำนวน 32 คน พบว่า ค่าคะแนนเฉลี่ยด้านความพึงพอใจ การออกแบบรูปลักษณ์ที่ทันสมัย และความสะดวกในการใช้งานของระบบไฟแสงประดิษฐ์อัจฉริยะมีค่าคะแนนมากกว่าโคมไฟทางการค้า


Multi-Modal Biometric-Based Human Identification Using Deep Convolutional Siamese Neural Network, Hsu Mon Lei Aung Jan 2021

Multi-Modal Biometric-Based Human Identification Using Deep Convolutional Siamese Neural Network, Hsu Mon Lei Aung

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Biometric recognition is a critical task in security control systems. Although face biometric has long been granted the most accepted and practical biometric for human recognition, it can be easily stolen and imitated. It also has challenges getting reliable facial information from the low-resolution camera. In contrast, a gait physical biometric has been recently used for recognition. It can be more complicated to replicate and can also be taken from reliable information from the poor-quality camera. However, human body recognition has remained a problem since the lack of full-body detail within a short distance. Moreover, the unimodal biometric system still …


Single Image Super-Resolution Using Capsule Generative Adversarial Network, Amir Hajian Jan 2021

Single Image Super-Resolution Using Capsule Generative Adversarial Network, Amir Hajian

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The current research aims to investigate and propose a Generative Adversarial Network (GAN) architecture [53] using capsule network architecture [76] in the discriminator module of the proposed model (Caps-GAN) for Single Image Super-Resolution. Besides, the study aims to develop the proposed SR framework in three scale factors. Finally, the performance of Caps-GAN is compared with other state-of-the-art models. Our Caps-GAN model consists of three fundamental components: the generator module, capsule discriminator module, and combinations of loss functions based on the GAN concept. The proposed generator utilizes the residual in residual dense blocks (RRDB) architecture [28] under a progressively up-sampling framework …


Deployment Of Rfid, Gps And Iot Technology For Medical Specimen Logistic System, Mya Myet Thwe Chit Jan 2021

Deployment Of Rfid, Gps And Iot Technology For Medical Specimen Logistic System, Mya Myet Thwe Chit

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This paper aims to implement a specimen logistic system using RFID technology combined with modern IoT technology in Chulalongkorn hospital. The specimen is a sample collected from the human body. Samples can be urine, saliva, sputum, feces, semen, and other bodily fluids and tissues. Samples are usually collected from the patient and stored in a test tube. Then test tubes are delivered to the corresponding laboratory for examination. Normally, barcodes are tagged over the test tubes for the purpose of recording patient information. In this work, RFID is deployed on the test tube instead for patient data logging. This solution …


Simplified Tone Reservation-Based Techniques For Peak-To-Average Power Ratio Reduction Of Orthogonal Frequency Division Multiplexing Signals, Rafee Al Ahsan Jan 2021

Simplified Tone Reservation-Based Techniques For Peak-To-Average Power Ratio Reduction Of Orthogonal Frequency Division Multiplexing Signals, Rafee Al Ahsan

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Orthogonal Frequency Division Multiplexing (OFDM) is one of the preferred modulation techniques for modern wireless communications networks, due to its high spectral efficiency and immunity to frequency selective channels. However, OFDM signals are known to suffer from a large peak-to-average power ratio (PAPR). OFDM signals with high PAPR values will inevitably be clipped by the power amplifiers (PA), causing signal distortion and out-of-band radiation, that would lead to the deterioration of bit error rate performance. This thesis focuses on a class of PAPR reduction techniques called tone reservation (TR) techniques, which possesses three desirable features, namely high PAPR reduction gain, …


Impact Analysis Of Variable Renewable Energy Integration On Total System Costs And Electricity Generation Revenue And Impact Mitigation, Veeraya Imcharoenkul Jan 2021

Impact Analysis Of Variable Renewable Energy Integration On Total System Costs And Electricity Generation Revenue And Impact Mitigation, Veeraya Imcharoenkul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Variable renewable energy (VRE) integration creates additional costs, called integration costs. These costs have grown with VRE penetration, potentially increasing the total system costs delivered to customers (direct integration costs) and decreasing electricity generation revenue, discouraging investment by generators (indirect integration costs). Thus, integration costs can serve as an economic barrier to the integration of high VRE shares. The main objective of this dissertation is to propose a novel method of determining the impacts of VRE integration on total system costs and electricity generation revenue. With this method, the optimal generation mix and optimal generation schedules at the specific VRE …


Topology Optimization For Cnn Using Neuroevolution, Kevin Richard G. Operiano Jan 2021

Topology Optimization For Cnn Using Neuroevolution, Kevin Richard G. Operiano

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In the recent years, the architecture of the convolutional neural networks has become much deeper and more complex to improve their performance. Consequently, they require large datasets and a considerable amount of computational resources. However, in some applications such as medical imaging analysis, datasets are scarce and difficult to collect. In these cases, deep networks cannot be trained enough, which makes them susceptible to overfitting. Moreover, not all institutions have access to abundant computational resources. Designing a small network that performs as well as a deep network requires expertise and a great effort. Neuroevolution is therefore proposed to automatically discover …


การพัฒนาระบบการบริหารสินทรัพย์ของหม้อแปลงไฟฟ้ากำลังในระบบจำหน่าย, เสฎฐวุฒิ เหลืองไตรรัตน์ Jan 2020

การพัฒนาระบบการบริหารสินทรัพย์ของหม้อแปลงไฟฟ้ากำลังในระบบจำหน่าย, เสฎฐวุฒิ เหลืองไตรรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

หม้อแปลงไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญและราคาสูงที่สุดในระบบไฟฟ้า อายุการใช้งานของหม้อแปลงไฟฟ้าจะขึ้นอยู่กับอายุการใช้งานขององค์ประกอบต่าง ๆ ที่ใช้อยู่ในหม้อแปลงไฟฟ้าซึ่งอายุขององค์ประกอบต่าง ๆ นั้นขึ้นอยู่กับ การใช้งานและสิ่งแวดล้อมที่อยู่โดยรอบ เมื่อหม้อแปลงไฟฟ้าเกิดความเสียหายขึ้นจะส่งผลต่อระบบไฟฟ้าทำให้ไฟฟ้าดับและอาจส่งผลต่อมูลค่าในทางเศรษฐกิจอย่างยิ่ง องค์ประกอบของหม้อแปลงไฟฟ้าที่สามารถบำรุงรักษาหน้างานได้และนำมาใช้เป็นข้อมูลเพื่อทำระบบบริหารสินทรัพย์ในงานวิจัยนี้ประกอบด้วย ปะเก็นและกระเปาะแก้วบรรจุสารดูดความชื้น ส่วนน้ำมันหม้อแปลงมีข้อมูลค่อนข้างจำกัดและขาดความน่าเชื่อถือไม่สามารถนำมาวิเคราะห์ได้อย่างถูกต้อง การวิเคราะห์ทางสถิติที่ใช้ในการศึกษานี้เพื่อหาอายุการใช้งานเฉลี่ย คือ การแจกแจงแบบปกติ ระบบบริหารจัดการสินทรัพย์ในงานวิจัยนี้พัฒนาขึ้นบน Microsoft Excel ที่เขียนโปรแกรมร่วมกับ Visual Basic for Application (VBA) เพื่อทำให้ผู้ใช้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวระบบบริหารจัดการสินทรัพย์มีการกำหนดรหัสสินทรัพย์ บริษัทผู้ผลิต หมายเลขล็อต หมายเลขสัญญา หมายเลขเครื่อง สถานที่ติดตั้งที่ระบุโดย GPS วันที่ติดตั้ง วันที่มีการเปลี่ยนอุปกรณ์แต่ละรายการครั้งล่าสุด ซึ่งผู้ดูแลระบบการบริหารสินทรัพย์จะต้องนำข้อมูลของหม้อแปลงแต่ละใบเข้าสู่ระบบให้ครบถ้วน วันที่ที่จะต้องเปลี่ยนอุปกรณ์แต่ละรายการในครั้งถัดไป ซึ่งได้มาจากการคำนวณเชิงสถิติ ขั้นตอนการคำนวณทางสถิติเริ่มต้นด้วยการกำหนดอายุใช้งานของแต่ละองค์ประกอบเป็นข้อมูลพื้นฐานที่ได้จากประสบการณ์ของทีมงานบำรุงรักษา หรือข้อกำหนดของผู้ผลิตองค์ประกอบนั้น ๆ เมื่อมีการบำรุงรักษาเกิดขึ้นทุกครั้งจะต้องนำเข้าข้อมูลที่ได้จากการบำรุงรักษา เพื่อให้ได้ผลลัพธ์เป็นอายุการใช้งานเฉลี่ยพร้อมกับค่าความแปรปรวนใหม่ ที่ใช้ในการกำหนดวันที่ต้องไปบำรุงรักษาครั้งถัดไปซึ่งทำให้สามารถลดต้นทุนในการบำรุงรักษาหม้อแปลงได้อย่างชัดเจน


การบริหารจัดการหน่วยผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าพลังน้ำบูรณาการร่วมกับระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่เพื่อเพิ่มกำลังผลิตสำรองพร้อมจ่าย, นพวรรณ พัฒนอิ้ว Jan 2020

การบริหารจัดการหน่วยผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าพลังน้ำบูรณาการร่วมกับระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่เพื่อเพิ่มกำลังผลิตสำรองพร้อมจ่าย, นพวรรณ พัฒนอิ้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การเพิ่มขึ้นของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของระบบไฟฟ้า ทำให้ระบบไฟฟ้าจำเป็นต้องมีความยืดหยุ่นเพิ่มขึ้น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) มีเป้าหมายในการเพิ่มความยืดหยุ่นของระบบไฟฟ้า โดยการเพิ่มกำลังผลิตสำรองพร้อมจ่ายจากโรงไฟฟ้าของ กฟผ. อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันกำลังผลิตสำรองพร้อมจ่ายในระบบไฟฟ้าของ กฟผ. ส่วนใหญ่มาจากโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม ซึ่งการใช้โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมเป็นโรงไฟฟ้าหลักในการสนับสนุนกำลังผลิตสำรองพร้อมจ่ายเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง เนื่องจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าต้องทำงานต่ำกว่าพิกัด ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานต่ำและต้นทุนการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ในขณะที่การเพิ่มกำลังผลิตสำรองพร้อมจ่ายจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก เนื่องจากข้อจำกัดกำลังผลิตต่ำสุดของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและการขาดการบริหารจัดการเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่มีหลายเครื่องอย่างบูรณาการ เพื่อแก้ปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น วิทยานิพนธ์นี้จึงนำเสนอแนวคิดการบูรณาการระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำเพื่อขยายย่านการทำงานของโรงไฟฟ้า และพัฒนาอัลกอริทึมสำหรับการบริหารจัดการหน่วยผลิตไฟฟ้า เพื่อประสานการทำงานร่วมกันระหว่างเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่มีหลายเครื่องของโรงไฟฟ้าพลังน้ำกับระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ โดยตัวอย่างที่ใช้เป็นกรณีศึกษาในวิทยานิพนธ์นี้ คือ โรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนรัชชประภา ทั้งนี้อัลกอริทึมของการบริหารจัดการหน่วยผลิตไฟฟ้าที่นำเสนอในงานวิทยานิพนธ์นี้ได้พิจารณาการทำงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าให้สอดคล้องตามข้อจำกัดจากแนวปฏิบัติ ณ ปัจจุบันของโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนรัชชประภาด้วย นอกจากนี้ การทำงานในรูปแบบโรงไฟฟ้าเสมือนยังถูกนำมาประยุกต์ใช้ เพื่อรักษาความสามารถของการทำงานร่วมกันระหว่างศูนย์ควบคุมระบบกำลังไฟฟ้าแห่งชาติและโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนรัชชประภา เพื่อให้การประยุกต์ใช้แนวคิดที่นำเสนอกับระบบจริงเป็นไปได้โดยไม่ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการควบคุม ณ ปัจจุบันของศูนย์ควบคุมระบบกำลังไฟฟ้าแห่งชาติ แนวคิดการบริหารการทำงานของโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนรัชชประภาที่นำเสนอถูกทดสอบโดยการจำลองด้วยโปรแกรม DIgSILENT โดยอาศัยข้อมูลการควบคุมกำลังผลิตของโรงไฟฟ้าขนอมของศูนย์ควบคุมระบบกำลังไฟฟ้าแห่งชาติเพื่อการเปรียบเทียบ ผลการจำลองแสดงให้เห็นว่า 1) เครื่องกำเนิดไฟฟ้าทั้ง 3 เครื่อง ของโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนรัชชประภาสามารถขยายย่านการจ่ายกำลังผลิตได้ตามที่กำหนด ผ่านการประสานการทำงานร่วมกับระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ภายใต้เงื่อนไขกำลังผลิตต่ำสุดและข้อจำกัดจากแนวปฏิบัติการเดินและหยุดการทำงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า 2) ในแต่ละสถานะการผลิตไฟฟ้า ระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่สามารถเลือกทำงานในโหมดอัดประจุหรือโหมดคายประจุได้ ทำให้สามารถรักษาสถานะประจุให้อยู่ในช่วงที่กำหนดได้ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อการจ่ายกำลังผลิตของโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนรัชชประภา และ 3) โรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนรัชชประภาสามารถสนับสนุนกำลังผลิตสำรองพร้อมจ่ายได้เพิ่มมากขึ้นกว่าการทำงานแบบเดิม ส่งผลให้สามารถใช้โรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนรัชชประภาทำงานแทนที่เครื่องกำเนิดไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมขนาดใหญ่ได้ ดังนั้นแนวคิดการบริหารจัดการหน่วยผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าพลังน้ำบูรณาการร่วมกับระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ที่นำเสนอในวิทยานิพนธ์นี้จึงเป็นแนวทางใหม่ในการเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับระบบไฟฟ้าเพื่อรองรับการเพิ่มขึ้นของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนได้


กลยุทธ์การรวบรวมกำลังการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อปฏิบัติการแบบโรงไฟฟ้าเสมือน, สิปปนันท์ บรรณาวิการ Jan 2020

กลยุทธ์การรวบรวมกำลังการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อปฏิบัติการแบบโรงไฟฟ้าเสมือน, สิปปนันท์ บรรณาวิการ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาปฏิบัติการโรงไฟฟ้าเสมือน (Virtual Power Plant: VPP) เพื่อกำหนดรูปแบบธุรกิจของโรงไฟฟ้าเสมือนที่ตอบสนองต่อตลาดซื้อขายไฟฟ้า (Energy market) โดยการสร้างกลยุทธ์การจัดการรวบรวมกำลังการผลิตไฟฟ้า (Power aggregation) ที่รวบรวมจากโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar power plant) ซึ่งเป็นพลังงานหมุนเวียนแบบกระจายขนาดตั้งแต่ 10 เมกะวัตต์ ขึ้นไป หรือที่เรียกว่าผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก (Small Power Producer: SPP) โรงไฟฟ้าเสมือนนั้นจะสร้างกำหนดการเดินเครื่องเพื่อส่งกำลังไฟฟ้าเข้าสู่โครงข่ายไฟฟ้า อ้างอิงตามสัญญาในตลาดซื้อขายไฟฟ้าแบบตลาดขายส่ง (Wholesale market) แบ่งเป็นผลิตภัณฑ์พลังงาน (Energy product) และผลิตภัณฑ์กำลังการผลิตสำรอง (Operating reserve product) โดยมีเป้าหมาย คือ การทำกำไรในการดำเนินธุรกิจของโรงไฟฟ้าเสมือนให้ได้สูงสุดจากการซื้อขายไฟฟ้า นอกจากนี้ คำนึงถึงการควบคุมอัตราการเปลี่ยนแปลงกำลังการผลิตไฟฟ้า (Ramp-rate limit) ให้เป็นไปตามข้อกำหนดของผู้ดูแลระบบโครงข่าย ใช้กระบวนการแก้ปัญหาหาค่าเหมาะที่สุด (Optimization) ด้วยขั้นตอนโปรแกรมเชิงเส้น (Linear programming) เป็นเครื่องมือหลัก ทำให้ทราบกำหนดการกำลังผลิตไฟฟ้า (Power scheduling) ที่เหมาะสมในแต่ละชั่วโมงล่วงหน้า โดยอาศัยราคาซื้อขายพลังงานไฟฟ้าเป็นฐานในการพิจารณา (Price-based unit commitment) ในการศึกษานี้ พิจารณาตลาดซื้อขายไฟฟ้าแบบล่วงหน้า 1 วัน (Day-ahead market) และแบบล่วงหน้า 1 ชั่วโมง (Hour-ahead market) กลยุทธ์ที่นำเสนอนี้จะสร้างมูลค่าทางธุรกิจของโรงไฟฟ้าเสมือน อีกทั้งช่วยควบคุมให้การรวบรวมกำลังผลิตไฟฟ้าแบบกระจายที่จ่ายเข้าสู่ระบบโครงข่ายไฟฟ้ามีความน่าเชื่อถือยิ่งขี้น ผลการศึกษาแสดงผลลัพธ์เปรียบเทียบดัชนีสมรรถนะเชิงรายได้ ในช่วงการทดสอบ 10 วัน กรณีศึกษาโรงไฟฟ้าเสมือนที่รวบรวมกำลังผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์จริงจาก 6 โรงไฟฟ้า สามารถเพิ่มมูลค่าของพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้ในรูปของการทำรายได้ให้กับธุรกิจโดยรวมคิดเป็นอัตราร้อยละ 1.28 และค่าสัมประสิทธิ์ความผันแปรของรายได้โดยรวมดีขึ้นร้อยละ 8.66 (เมื่อเปรียบเทียบกับกรณีโรงไฟฟ้าจริงทั้ง 6 โรงไฟฟ้า แยกดำเนินการแบบรายโรง) จากนั้น สร้างกลยุทธ์การแบ่งสัดส่วนราคาไฟฟ้าให้กับสมาชิก และการกำหนดค่าความปลอดภัยของความสามารถในการจ่ายไฟฟ้าเข้าสู่ระบบจากข้อมูลการพยากรณ์ ด้วยการวิเคราะห์ความไว นอกจากนี้ นำเสนอกลยุทธ์การเพิ่มกำไรในการดำเนินธุรกิจของโรงไฟฟ้าเสมือนด้วยการกำหนดขนาดแบตเตอรี่เสมือน เพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยนพลังงานกับโครงข่ายไฟฟ้าตามกลไกด้านราคาที่เปลี่ยนแปลงแบบรายชั่วโมง ซึ่งผลการทดสอบสามารถเพิ่มผลกำไรให้แก่โรงไฟฟ้าเสมือนได้สูงสุดร้อยละ 1.86 ที่ขนาดความจุของแบตเตอรี่เสมือนที่ร้อยละ 30 ของพิกัดกำลังการผลิตของโรงไฟฟ้าเสมือน


กรณีศึกษาการใช้ระบบกักเก็บพลังงานชนิดล้อตุนกำลังเพื่อรักษาความถี่ของระบบไฟฟ้าขนาดเล็กแบบแยกโดดของอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน, มัชฌิมาศ เขียวคำ Jan 2020

กรณีศึกษาการใช้ระบบกักเก็บพลังงานชนิดล้อตุนกำลังเพื่อรักษาความถี่ของระบบไฟฟ้าขนาดเล็กแบบแยกโดดของอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน, มัชฌิมาศ เขียวคำ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ด้วยข้อจำกัดเชิงพื้นที่ของอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน หากเกิดเหตุขัดข้องในระบบสายส่งที่จ่ายไฟฟ้าให้กับอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน ระบบไฟฟ้าของอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอนจะเข้าสู่การทำงานในสภาวะแยกโดด และพึ่งพาการผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานภายในพื้นที่เพื่อจ่ายไฟให้เพียงพอตามความต้องการของโหลด ในสถานการณ์ดังกล่าวระบบไฟฟ้าจะมีความอ่อนไหวต่อความผันผวนของโหลดและแหล่งจ่ายในพื้นที่เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะความถี่ของระบบไฟฟ้าเป็นปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งที่ควรคำนึงถึง เพราะมีระบบไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่มีความผันผวนเร็วและสูงอย่างพลังงานแสงอาทิตย์ในพื้นที่ รวมถึงความผันผวนของโหลดผู้ใช้ไฟร่วมด้วย ระบบแบตเตอรี่มักเป็นตัวเลือกที่นำมาใช้จัดการความผันผวนที่เกิดขึ้น แต่หากแบตเตอรี่ต้องรองรับภาระความผันผวนเร็วและสูง จะส่งผลให้ขนาดแบตเตอรี่ที่ติดตั้งมีขนาดใหญ่ รวมทั้งความถี่การใช้งานที่สูงก็จะทำให้อายุแบตเตอรี่สั้นลง งานวิทยานิพนธ์นี้จึงนำเสนอการประยุกต์ใช้ระบบล้อตุนกำลังร่วมกับระบบแบตเตอรี่ เพื่อรักษาความถี่ของระบบไฟฟ้าขนาดเล็กของอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอนในสภาวะแยกโดด โดยกำหนดให้รับภาระในส่วนที่มีความผันผวนเร็ว ระบบล้อตุนกำลังเป็นระบบกักเก็บพลังงานทางกลที่มีคุณสมบัติเด่นในเรื่องกำลังไฟฟ้าสูง การตอบสนองรวดเร็ว และอายุการใช้งานยาวนาน จึงเหมาะสำหรับการใช้งานเชิงกำลังไฟฟ้าในช่วงเวลาสั้น ๆ อย่างปัญหาความผันผวนของความถี่ของระบบไฟฟ้า วิทยานิพนธ์นี้นำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาความเบี่ยงเบนความถี่ในระบบไฟฟ้า 2 แนวทาง คือ 1) การควบคุมความถี่โหลดด้วยระบบล้อตุนกำลังร่วมกับระบบแบตเตอรี่และโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำขนาดเล็ก สำหรับความผันผวนเร็ว ปานกลาง และช้า ตามลำดับ และ 2) การปรับเรียบกำลังผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยระบบล้อตุนกำลังและระบบแบตเตอรี่ เพื่อลดความผันผวนของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาจะอาศัยข้อมูลจริงของแหล่งผลิตไฟฟ้าและโหลดในพื้นที่ เพื่อออกแบบแนวทางที่เหมาะสมในการประสานการทำงานของระบบกักเก็บพลังงาน ผลการจำลองด้วยโปรแกรม DIgSILENT แสดงให้เห็นว่าการใช้ระบบล้อตุนกำลังร่วมกับแหล่งพลังงานไฟฟ้าที่มีอยู่ในพื้นที่สามารถช่วยรักษาความถี่ของระบบให้เป็นไปตามมาตรฐาน และการใช้ระบบล้อตุนกำลังเพื่อรองรับความผันผวนเร็วทดแทนภาระงานเดิมของแบตเตอรี่ ทำให้ระบบล้อตุนกำลังที่ใช้มีขนาดเล็กและสามารถช่วยลดขนาดติดตั้งของแบตเตอรี่ รวมถึงลดรอบการทำงานและความเสื่อมจากการใช้งานที่เกิดขึ้นกับแบตเตอรี่ได้ ส่งผลให้อายุการทำงานของแบตเตอรี่ยาวนานขึ้น


การบูรณาการต้นแบบระบบการจัดการพลังงานไฟฟ้าภายในบ้านและการพัฒนาแอปพลิเคชันส่วนต่อประสานกราฟฟิกกับผู้ใช้บนสมาร์ตโฟน, ภูชิต ภัทรสุทธิ Jan 2020

การบูรณาการต้นแบบระบบการจัดการพลังงานไฟฟ้าภายในบ้านและการพัฒนาแอปพลิเคชันส่วนต่อประสานกราฟฟิกกับผู้ใช้บนสมาร์ตโฟน, ภูชิต ภัทรสุทธิ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้นำเสนอการพัฒนาต้นแบบระบบจัดการพลังงานไฟฟ้าภายในบ้าน โดยมีการรวบรวมแนวคิดการพัฒนาระบบจัดการพลังงานไฟฟ้าจากกงานวิจัยที่ผ่านมา พัฒนาให้อยู่ในระบบเดียวกัน นอกจากนั้นยังมีการพัฒนาแอปพลิเคชันบนสมาร์ตโฟนเพื่อควบคุมการทำงานของระบบอีกด้วย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการลดการใช้พลังงานไฟฟ้า ระบบจัดการพลังงานไฟฟ้าที่พัฒนาขึ้นจะมีเซ็นเซอร์ตรวจจับสิ่งแวดล้อมภายในบ้านที่มีความสามารถในการตรวจจับ อุณหภูมิ ความชื้น ค่าความเข้มของแสง และการตรวจจับการเคลื่อนไหวภายในบ้าน นอกจากนี้ยังมีการเชื่อมโยงข้อมูลจากอุปกรณ์ปลั๊กไฟอัจฉริยะที่มีความสามารถในการวัดค่าพลังงานไฟฟ้าและการควบคุมเปิด-ปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าได้ ข้อมูลทั้งหมดจากเซ็นเซอร์ตรวจจับสิ่งแวดล้อมภายในบ้านและอุปกรณ์ปลั๊กไฟอัจฉริยะจะถูกส่งมาประมวลผลในโปรแกรมระบบจัดการพลังงานไฟฟ้าที่พัฒนาขึ้นบนอุปกรณ์ประมวลผล Raspberry Pi โดยระบบที่พัฒนาขึ้นจะมีความสามารถในการแสดงข้อมูลจากเซ็นเซอร์ตรวจวัดสิ่งแวดล้อม การใช้พลังงานไฟฟ้าของอุปกรณ์ต่างๆ ในเวลาปัจจุบัน รวมถึงการควบคุมเปิด-ปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆตามรูปแบบควบคุมที่กำหนดไว้ ในส่วนของแอปพลิเคชันบนสมาร์ตโฟนจะมีการพัฒนาบนระบบ Android มีความสามารถในการแสดงข้อมูลและควบคุมการทำงานของระบบ เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเขาถึงการใช้งานระบบจากที่ไหนก็ได้


การวางตำแหน่งเหมาะที่สุดสำหรับตัวขยายแสงสื่อสารสองทางสำหรับลิงก์อีเทอร์เน็ต 10 กิกะบิตต่อวินาที, วิทวัส วรภมร Jan 2020

การวางตำแหน่งเหมาะที่สุดสำหรับตัวขยายแสงสื่อสารสองทางสำหรับลิงก์อีเทอร์เน็ต 10 กิกะบิตต่อวินาที, วิทวัส วรภมร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้นำเสนอการทดลองวางตัวขยายแสงสื่อสารสองทางสำหรับลิงก์อีเทอร์เน็ตอัตราบิต 10 Gb/s ที่ช่วงความยาวคลื่นในแถบความถี่ซี (1530 - 1565 nm) ตามมาตรฐาน IEEE 802.3ae ซึ่งมีจุดมุ่งหมายคือการขยายระยะทางส่งสัญญาณข้อมูลแสงระหว่างมอดูลรับส่งทั่วไปภายในโครงข่ายรวมกลุ่ม ด้วยการวางอีดีเอฟเอสื่อสารสองทางภายในลิงก์ที่ตำแหน่งต่างกันเช่น ตำแหน่งกึ่งกลางลิงก์, หลังตัวส่งแสง และก่อนหน้าตัวตรวจจับแสง โดยพิจารณาสมการงบกำลังกับงบเวลาขาขึ้นเพื่อคำนวณข้อจำกัดกำลังในลิงก์และโครมาติกดิสเพอร์ชันที่ส่งผลต่อการถ่างออกของสัญญาณข้อมูล จากนั้นวิเคราะห์ไดอะแกรมระดับพบว่าตำแหน่งกึ่งกลางลิงก์ (50%) หรือตำแหน่งตั้งแต่ 30% ถึง 70% ของระยะทางเส้นใยนำแสงโหมดเดี่ยวมาตรฐานสูงสุดในลิงก์เป็นตำแหน่งเหมาะสมที่สุด เมื่อพิจารณาแผนภาพรูปตากับอัตราความผิดพลาดบิตที่ 10-9 และ 10-12 แบ่งการวิเคราะห์เป็น 2 กรณีคือ (1) ผลกระทบจากอุปกรณ์ภายในลิงก์ และ (2) การเปลี่ยนตำแหน่งวางอีดีเอฟเอสื่อสารสองทาง จากผลการทดลองทั้งหมดพบว่าปัญหาโครมาติกดิสเพอร์ชันส่งผลต่อลิงก์มากที่สุดแต่สามารถลดปัญหาด้วยการใช้เส้นใยนำแสงชนิดชดเชยดิสเพอร์ชัน เช่นเดียวกับสัญญาณรบกวนจากการใช้อีดีเอฟเอสามารถลดด้วยการใช้ตัวกรองเฉพาะย่านความถี่แสงแบบปรับค่าได้ที่มีความกว้างสเปกตรัม 1 nm ส่วนตำแหน่งกึ่งกลางลิงก์จะมีค่าอัตราความผิดพลาดบิตดีที่สุดและตำแหน่ง 30% ถึง 70% จะมีค่าใกล้เคียงกัน นอกจากนี้พิจารณาการเปลี่ยนแปลงกำลังบนแพ็กเกตอีเทอร์เน็ตของอีดีเอฟเอ 2 ประเภทคือ อีดีเอฟเอสื่อสารสองทางแบบทั่วไปกับอีดีเอฟเอแบบวิธีส่งเป็นชุดอย่างเร็ว ซึ่งอีดีเอฟเอแบบวิธีส่งเป็นชุดอย่างเร็วมีการเปลี่ยนแปลงกำลังน้อยที่สุด ดังนั้นวิทยานิพนธ์ฉบับนี้สามารถส่งสัญญาณข้อมูลอีเทอร์เน็ตได้ระยะทางสูงสุด 80 km (เส้นใยนำแสงโหมดเดี่ยวมาตรฐาน 80 km ร่วมกับเส้นใยนำแสงชนิดชดเชยดิสเพอร์ชัน 10 km) และ 120 km (เส้นใยนำแสงโหมดเดี่ยวมาตรฐาน 120 km ร่วมกับเส้นใยนำแสงชนิดชดเชยดิสเพอร์ชัน 15 km) ด้วยการใช้อีดีเอฟเอสื่อสารสองทางพร้อมกับตัวกรองเฉพาะย่านความถี่แสงแบบปรับค่าได้ที่มีความกว้างสเปกตรัม 1 nm


การศึกษาเปรียบเทียบเทคนิคการหาตำแหน่งความผิดพร่องบนสายส่งจากข้อมูลทั้งสองปลายสายโดยไม่ใช้พารามิเตอร์ของสายส่ง, จงพุฒิ สิงห์คา Jan 2020

การศึกษาเปรียบเทียบเทคนิคการหาตำแหน่งความผิดพร่องบนสายส่งจากข้อมูลทั้งสองปลายสายโดยไม่ใช้พารามิเตอร์ของสายส่ง, จงพุฒิ สิงห์คา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จวบจนปัจจุบันมีการนำเสนอเทคนิคการคำนวณหาตำแหน่งความผิดพร่องบนสายส่งโดยไม่ใช้พารามิเตอร์ของสายส่งอย่างหลากหลาย ส่วนใหญ่จะคำนวณจากกระแสและแรงดันจากทั้งสองปลายที่ต้องคำนึงถึงการประสานเวลาของข้อมูลจากทั้งสองฝั่ง วิทยานิพนธ์นี้ศึกษาเปรียบเทียบความถูกต้องในการคำนวณตำแหน่งความผิดพร่องของ 4 เทคนิคที่ไม่ใช้พารามิเตอร์ของสายส่ง พร้อมศึกษาพารามิเตอร์ที่มีผลกระทบต่อความแม่นยำ ใช้โปรแกรม MATLAB/SIMULINK จำลองระบบไฟฟ้ากรณีที่เกิดความผิดพร่อง โดยปรับค่าพารามิเตอร์ต่างๆ เช่น ตำแหน่งที่เกิดความผิดพร่อง ความยาวสายส่ง ความต้านทานที่จุดเกิดความผิดพร่อง ชนิดของความผิดพร่อง ความคลาดเคลื่อนของหม้อแปลงเครื่องมือวัด นอกจากนี้ได้ทดสอบใช้ข้อมูลจริงเมื่อเกิดความผิดพร่องบนสายส่งที่ได้จากเครื่องบันทึกความผิดพร่องมาใช้ในการศึกษาเปรียบเทียบด้วย