Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Engineering Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Electrical and Electronics

PDF

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Articles 1 - 30 of 183

Full-Text Articles in Engineering

การแก้ปัญหาการแวะผ่านหลายจุดสำหรับการรับส่งที่มีการจำกัดด้านระยะทางด้วยขั้นตอนวิธีเชิงพันธุกรรม, พีรายุ เพ็งสุวรรณ์ Jan 2023

การแก้ปัญหาการแวะผ่านหลายจุดสำหรับการรับส่งที่มีการจำกัดด้านระยะทางด้วยขั้นตอนวิธีเชิงพันธุกรรม, พีรายุ เพ็งสุวรรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันธุรกิจการขนส่งอาหารและพัสดุมีการเติบโตสูงขึ้นอย่างมาก ต้นทุนในธุรกิจนี้แปรผันตามปัจจัยต่าง ๆ หนึ่งในนั้นคือปัจจัยด้านระยะทาง ซึ่งจะส่งผลต่อต้นทุนเชื้อเพลิงที่ใช้ในการขนส่ง การพัฒนาระบบการจัดการเส้นทางที่มีประสิทธิภาพจะช่วยเลือกเส้นทางที่ใช้ต้นทุนในการขนส่งอย่างเหมาะสม และช่วยเพิ่มความพร้อมในการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ งานวิจัยนี้ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับเส้นทางของผู้ขนส่งโดยการเพิ่มจำนวนผู้ใช้บริการที่ผู้ขนส่งสามารถให้บริการได้ในการเดินทางแต่ละครั้ง รวมถึงให้อิสระในการกำหนดระยะทางที่ต้องการเดินทางในแต่ละครั้งตามความสะดวกของผู้ขนส่งด้วย ดังนั้นเส้นทางที่มีประสิทธิภาพสูงสุดจึงหมายถึงเส้นทางที่สามารถให้บริการผู้รับส่งสินค้าเป็นจำนวนมากที่สุดภายใต้เงื่อนไขระยะทางสูงสุดที่ถูกกำหนดโดยผู้ขนส่ง การค้นหาเส้นทางที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ดังกล่าวเป็นปัญหามีความซับซ้อนทางเวลาสูง ดังนั้นจึงต้องเลือกใช้ขั้นตอนวิธีที่เหมาะสมในการแก้ปัญหา ซึ่งงานวิจัยนี้เล็งเห็นว่าขั้นตอนวิธีเชิงพันธุกรรมที่ประยุกต์ขั้นตอนวิธีแบบฮิวริสติกอื่น ๆ ในการหาคำตอบร่วมกันสามารถลดระยะเวลาในการหาคำตอบของปัญหานี้ได้ โดยคำตอบนั้นมีคุณภาพสูงใกล้เคียงกับขั้นตอนวิธีแบบเอาแต่แรงเมื่อจำนวนจุดให้บริการไม่เกิน 7 คู่ เพื่อให้ครอบคลุมตามจุดประสงค์ของผู้ใช้งานทั้งด้านคุณภาพและระยะเวลาในการหาคำตอบ ขั้นตอนวิธีเชิงพันธุกรรมที่งานวิจัยนี้นำเสนอมีรูปแบบที่แตกต่างกัน 2 รูปแบบ โดยทั้ง 2 จะมีจุดเด่นที่แตกต่างกันคือ รูปแบบที่มีจุดเด่นด้านคุณภาพของคำตอบ และรูปแบบที่มีจุดเด่นด้านระยะเวลาการหาคำตอบ


การทำนายการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ด้วยการเรียนรู้ของเครื่อง, ภูมิพัฒน์ หงส์ธนากรหิรัญ Jan 2023

การทำนายการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ด้วยการเรียนรู้ของเครื่อง, ภูมิพัฒน์ หงส์ธนากรหิรัญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ผู้เขียนได้เสนอโมเดลการเรียนรู้ของเครื่องที่เกิดจากการผสานการทำนายร่วมกันระหว่างโมเดลที่ต่างชนิดกัน เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการทำนายค่าพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากเซลล์แสงอาทิตย์ให้มีความแม่นยำยิ่งขึ้น ในการศึกษาครั้งนี้ได้นำข้อมูลจากระบบฐานข้อมูลของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 5 เมกะวัตต์ ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ตั้งอยู่ที่ อ.ทับสะแก จ.ประจวบคีรีขันธ์ และข้อมูลสภาพอากาศย้อนหลังจากเว็บไซต์ Solcast และ OpenWeatherMap มาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ เมื่อได้ตัวแปรที่ส่งผลกระทบต่อปริมาณการผลิตจึงนำข้อมูลย้อนหลังไปเรียนรู้ผ่านโมเดลการเรียนรู้ของเครื่องชนิดต่างๆ เพื่อนำผลการทำนายที่ได้มาเปรียบเทียบประสิทธิภาพการทำนายร่วมกับโมเดลที่เสนอโดยงานวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้เสนอการทำนายร่วมกันโดยใช้โมเดลการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นและโมเดลแรนดอมฟอเรสต์ เพื่อเป็นการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำนาย ผู้วิจัยได้เสนอการปรับจูนค่าไฮเปอร์พารามิเตอร์และเพิ่มโมเดลบูสท์ชนิดต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพโมเดล เมื่อกระบวนการเรียนรู้เสร็จสิ้นนำโมเดลการเรียนรู้ที่ได้ไปทำนายข้อมูลชุดตรวจสอบและชุดทดสอบ จากนั้นจึงนำผลการทำนายที่ได้ไปประเมินประสิทธิภาพการทำนายโดยหาค่า MAE, RMSE และ R^2 ระหว่างค่าพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จริงกับผลที่ได้จากการทำนาย จากผลการทำนายพบว่าโมเดลการเรียนรู้ของเครื่องที่เสนอในการทดลองนี้ให้ประสิทธิภาพสูงที่สุดโดยมีค่า R^2 มากกว่า 94% ซึ่งแสดงถึงความสามารถในการทำนายที่ดี ซึ่งส่งผลให้การนำข้อมูลผลการทำนายที่ได้ไปวิเคราะห์แนวโน้มการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการพลังงานดียื่งขึ้น


Task Assignment And Path Planning Of Multiple Unmanned Aerial Vehicles Using Integer Linear Programming, Imran Saeed Mirza Jan 2023

Task Assignment And Path Planning Of Multiple Unmanned Aerial Vehicles Using Integer Linear Programming, Imran Saeed Mirza

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้นำเสนอสูตรโปรแกรมเชิงเส้นจำนวนเต็มเพื่อการมอบหมายงานและการวางแผนเส้นทางให้กับอากาศยานไร้คนขับหลายลำกลุ่มโดรนจะได้รับมอบหมายให้เยี่ยมภารกิจให้ครบทุกเป้าหมายและเดินทางกลับไปยังตำแหน่งเริ่มต้นโดยมีเป้าหมายให้ได้ผลรวมของระยะทางที่โดรนทุกตัวเดินทางมีค่าน้อยที่สุดในขณะเดียวกันไม่อนุญาตให้มีทัวร์ย่อยใดๆเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดมีการทดลองทดสอบเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของสูตรที่ได้นำเสนอโดยใช้จำนวนโดรนและจำนวนงานที่หลากหลายผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่าการเพิ่มจำนวนโดรนโดยทั่วไปสามารถช่วยลดระยะทางรวมและลดระยะเวลาในการทำภารกิจให้เสร็จสิ้นได้ข้อดีของวิธีที่เสนอคือให้ผลเฉลยที่เหมาะสุดแต่ใช้เวลาในการคำนวณเพื่อค้นหาผลเฉลยก็นานด้วยดังนั้นจึงได้ทำการทดลองโดยกำหนดจำนวนโดรนและภาระงานที่ขนาดแตกต่างกันจากการทดสอบโดยใช้คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กที่มีหน่วยประมวลผลเพนเทียม10หน่วยความจำแรม8GBและหน่วยความจำเอสเอสดีขนาด256GBพบว่าระบบที่มีงานไม่เกิน27การหาผลเฉลยเหมาะสมที่สุดทำได้ภายในไม่กี่นาทีโดยไม่ขึ้นกับจำนวนโดรนที่ใช้งานแต่สำหรับงานจำนวนมากที่เกินขีดจำกัดนี้จะไม่สามารถได้ผลเฉลยแม้ว่าจะใช้เวลาจำลองไปแล้วเกินหนึ่งชั่วโมงก็ตาม


การควบคุมกำลังไฟฟ้าไหลย้อนอย่างเหมาะที่สุดสำหรับโพรซูเมอร์ด้วยพีวีอินเวอร์เตอร์, กานตนาถ ราชฉวาง Jan 2023

การควบคุมกำลังไฟฟ้าไหลย้อนอย่างเหมาะที่สุดสำหรับโพรซูเมอร์ด้วยพีวีอินเวอร์เตอร์, กานตนาถ ราชฉวาง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้นำเสนอการจัดการพลังงานเพื่อควบคุมกำลังไฟฟ้าไหลย้อนอย่างเหมาะที่สุดด้วยพีวีอินเวอร์เตอร์ของโพรซูเมอร์ กำลังไฟฟ้าไหลย้อนที่เกิดขึ้นจะถูกจำกัดปริมาณด้วยแนวคิดการพิจารณาโครงข่ายไฟฟ้าทำหน้าที่เป็นระบบกักเก็บพลังงานเสมือน แนวคิดดังกล่าวจะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับปริมาณไฟฟ้าไหลย้อนของโพรซูเมอร์ อีกทั้งสร้างรายได้ให้แก่ผู้ดูแลโครงข่ายระบบจำหน่าย ผ่านทางอัตรารับซื้อพลังงานไฟฟ้าไหลย้อนที่ต่ำกว่าอัตราค่าไฟฟ้า โดยส่วนต่างของอัตราถือเป็นค่าบริการฝากพลังงาน ผลการศึกษา กรณีระบบการจัดการพลังงานที่นำเสนอควบคุมพีวีอินเวอร์เตอร์ของโพรซูเมอร์เพียงอย่างเดียว โดยอนุญาตให้มีกำลังไฟฟ้าไหลย้อนที่จำกัด พบว่า จะช่วยลดค่าไฟฟ้าสุทธิ ลดการจำกัดปริมาณการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ และช่วยลดปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าสุทธิ โดยมีพารามิเตอร์ที่ส่งผลต่อสมรรถนะของระบบการจัดการพลังงาน คือ อัตราค่าบริการฝากพลังงาน และขีดจำกัดกำลังไฟฟ้าไหลย้อน เมื่อทดสอบในกรณีที่กำหนดขีดจำกัดกำลังไฟฟ้าไหลย้อนมีค่าเท่ากับร้อยละ 10 ของความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดของโพรซูเมอร์ เพื่อหลีกเลี่ยงโอกาสที่จะเกิดผลกระทบแรงดันเกินในระบบจำหน่าย พบว่า ระบบจัดการพลังงานที่สามารถสั่งการโหลดที่ควบคุมได้ ร่วมกับการควบคุมพีวีอินเวอร์เตอร์ จะยิ่งส่งผลต่อการช่วยลดค่าไฟฟ้าสุทธิลงได้อีกอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ ทดลองใช้งานฟังก์ชันการช่วยรักษาแรงดันของอินเวอร์เตอร์โดยเลือกใช้แบบปรับค่าตัวประกอบกำลังตามกำลังไฟฟ้าจริงที่ไหลผ่านจุดเชื่อมต่อ โดยให้การควบคุมค่าตัวประกอบกำลังมีค่าอยู่ในช่วง 0.9 นำหน้า ถึง 0.9 ล้าหลัง ผลลัพธ์จากการทดสอบแสดงให้เห็นว่าการใช้งานฟังก์ชันดังกล่าวมีส่วนช่วยให้ขนาดของแรงดันกระจายตัวอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดได้ดียิ่งขึ้น ลดการปรับแท็ปของหม้อแปลงรักษาแรงดัน จากโดยเฉลี่ยวันละประมาณ 10 เหลือ 6 ครั้งต่อวัน ขณะที่ พลังงานสูญเสียในระบบจำหน่ายแรงดันปานกลางมีค่าเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 0.03 เมื่อเทียบกับกรณีไม่ใช้งานฟังก์ชันรักษาแรงดันของพีวีอินเวอร์เตอร์ อย่างไรก็ดี ผลกระทบดังกล่าวสามารถละเลยได้


การพัฒนาพิพิธภัณฑ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเสมือน สำหรับการเยี่ยมชมพร้อมกันหลายราย, ญาดา อังสนานนท์ Jan 2023

การพัฒนาพิพิธภัณฑ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเสมือน สำหรับการเยี่ยมชมพร้อมกันหลายราย, ญาดา อังสนานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้สร้างพิพิธภัณฑ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในโลกเสมือนจริงสำหรับการใช้งานบนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ครอบคลุมตัวอาคารทั้งหลัง และสร้างนิทรรศการในโลกเสมือนที่จัดแสดงเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้ใกล้เคียงกับนิทรรศการจริงที่จัดแสดงอยู่บนชั้น 4 ของอาคาร ในระบบที่สร้างขึ้นนี้สามารถรองรับผู้ใช้งานได้พร้อมกันได้หลายราย โดยผู้ใช้แต่ละรายสามารถสร้างสรรค์ตัวละครใหม่ ๆ ที่หลากหลายเพื่อแสดงความเป็นตัวตนบนโลกเสมือนได้อย่างอิสระและมีเอกลักษณ์ที่เป็นของตนเอง ผู้เข้าเยี่ยมชมสามารถปรับเปลี่ยนมุมมองของกล้องให้มีระยะใกล้ไกลได้ช่วยให้อ่านเนื้อหาและข้อความต่าง ๆ ได้ และสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ ไม่ว่าจะเป็นการเดิน วิ่ง กระโดด หรือแม้กระทั่งการเทเลพอร์ตไปยังจุดต่าง ๆ ภายในมีการนำเสนอความรู้ทางประวัติศาสตร์ในรูปแบบของ เสียงบรรยาย รูปภาพ วีดิทัศน์ และข้อความ ทำให้ผู้เยี่ยมชมสามารถเรียนรู้ประวัติศาสตร์และเหตุการณ์สำคัญของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมกันกับผู้อื่นได้ตลอดทุกช่วงเวลาโดยไม่จำเป็นต้องอยู่ในสถานที่เดียวกัน ผลการทดลองในเบื้องต้นกับผู้ใช้งานที่ไม่คุ้นเคยกับเทคโนโลยีโลกเสมือนพบว่าผู้ใช้งานรู้สึกตื่นเต้นและพึงพอใจกับประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับจากการท่องไปในโลกพิพิธภัณฑ์เสมือนแห่งนี้ ที่ได้รับการพัฒนาให้มีความสมจริงและเข้าถึงได้ง่าย จึงนับเป็นจุดเริ่มต้นของการนำเทคโนโลยีโลกเสมือนมาประยุกต์ใช้ให้เกิดเป็นมิติใหม่ของการเผยแพร่เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้อย่างกว้างขวาง


การลดค่าพีเอพีอาร์สำหรับสัญญาณโอเอฟดีเอ็มโดยใช้ เทคนิคการเรียนรู้ของเครื่อง, ทยากร มหกรเพชร Jan 2023

การลดค่าพีเอพีอาร์สำหรับสัญญาณโอเอฟดีเอ็มโดยใช้ เทคนิคการเรียนรู้ของเครื่อง, ทยากร มหกรเพชร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์ใช้ซัพพอร์ตเวคเตอร์แมชชีนและโครงข่ายประสาทเทียมสำหรับเลือกค่าของสัญญาณโทนสำรองที่เหมาะสมในการลดค่าพีเอพีอาร์ของสัญญาณโอเอฟดีเอ็ม ทดสอบและประเมินประสิทธิภาพของเทคนิคการลดค่าพีเอพีอาร์ที่พัฒนาขึ้นเปรียบเทียบกับระบบที่ใช้กระบวนการค้นหาแบบเต็มรูปแบบซึ่งได้การลดค่าพีเอพีอาร์ที่ดีที่สุด ในงานวิจัยได้พัฒนาโปรแกรมจำลองสัญญาณโอเอฟดีเอ็มเพื่อคำนวณค่าพีเอพีอาร์ของระบบโดยพิจารณาทั้งกรณีที่ใช้และไม่ใช้เทคนิคการลดค่าพีเอพีอาร์ด้วยเทคนิคการสำรองโทน สร้างชุดข้อมูลสำหรับการฝึกและการทดสอบ พัฒนาและประยุกต์ใช้การเรียนรู้ของเครื่องโดยใช้ซัพพอร์ตเวคเตอร์แมชชีนและโครงข่ายประสาทเทียมในการเลือกคลื่นพาห์ย่อยสำรองที่เหมาะสม ทดสอบและเปรียบเทียบสมรรถนะการลดค่าพีเอพีอาร์ของอัลกอริทึมที่พัฒนาขึ้นโดยประเมินจากค่าการความน่าจะเป็นสะสมเพิ่มเติม จากการศึกษาพบว่าทั้งสองเทคนิคสามารถช่วยลดปัญหาพีเอพีอาร์ได้โดยที่วิธีโครงข่ายประสาทเทียมมีผลลัพธ์ที่ดีกว่าซัพพอร์ตเวคเตอร์แมชชีน จึงสามารถประยุกต์ใช้กับกับเทคนิคการสำรองโทนได้เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง


การจำแนกเซลล์เม็ดเลือดแดงและเซลล์เม็ดเลือดขาวด้วยแบบจำลองทรานฟอร์มเมอร์สำหรับวิธีการแบ่งภาพเชิงความหมายร่วมกับการตรวจจับวัตถุ, ภูมิพัฒน์ เจริญธนานุวัฒน์ Jan 2023

การจำแนกเซลล์เม็ดเลือดแดงและเซลล์เม็ดเลือดขาวด้วยแบบจำลองทรานฟอร์มเมอร์สำหรับวิธีการแบ่งภาพเชิงความหมายร่วมกับการตรวจจับวัตถุ, ภูมิพัฒน์ เจริญธนานุวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การตรวจเซลล์ลิมโฟบลาสติกเฉียบพลันในภาพฟิล์มเลือดเป็นวิธีการวินิจฉัยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว การใช้การแบ่งภาพเชิงความหมายของเซลล์เม็ดเลือดขาวเฉียบพลันสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาระบบการวิเคราะห์โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย ในขอบเขตของการวิเคราะห์ฟิล์มส่วนปลาย วิธีการเรียนรู้เชิงลึก โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงข่ายประสาทเทียมแบบคอนโวลูชันมักถูกนำมาใช้ ปัจจุบัน โมเดลที่ใช้ทรานฟอร์มเมอร์สำหรับงานแบ่งภาพความหมายส่วนใหญ่ให้ผลลัพธ์ในเชิงความแม่นยำที่สูง ในการศึกษานี้ SegFormer ซึ่งเป็นแบบจำลองที่ใช้ทรานฟอร์มเมอร์สำหรับการแบ่งภาพความหมาย ถูกนำมาใช้เพื่อแบ่งส่วนและจำแนกเซลล์เม็ดเลือดขาวเฉียบพลันโดยใช้กลยุทธ์การฝึกอบรมที่แตกต่างกันสี่แบบ ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดเกิดขึ้นได้โดยมีค่าเฉลี่ยของจุดตัด-โอเวอร์-ยูเนี่ยน (IoU) เท่ากับ 0.821 และความแม่นเฉลี่ย 0.917


การพัฒนาห้องปฏิบัติการวิจัยระบบโทรคมนาคมเสมือน, ศิวนาถ เจียรวงศ์ตระกูล Jan 2023

การพัฒนาห้องปฏิบัติการวิจัยระบบโทรคมนาคมเสมือน, ศิวนาถ เจียรวงศ์ตระกูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อพัฒนาห้องปฏิบัติการวิจัยโทรคมนาคมของสาขาสื่อสาร ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าในโลกเสมือนผ่านการจำลองจากสถานที่จริง ที่ตั้งอยู่ชั้น 13 ของอาคารเจริญวิศวกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นช่องทางสื่อการสอนออนไลน์อีกทางเลือกหนึ่งสำหรับเรียนรู้เนื้อหาเกี่ยวกับสัญญาณทางวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร โดยอาศัยกิจกรรมการจับคู่ระหว่างฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์กับรูปสัญญาณในรูปแบบของเกม แพลตฟอร์มการเรียนรู้ที่จัดทำขึ้นสามารถรองรับผู้เล่นจำนวนหลายรายด้วยระบบโฟตอน ฟิวชัน และผู้เรียนสามารถเข้าถึงได้ผ่านเว็บบราวเซอร์โดยใช้เทคโนโลยีเว็บจีแอล จากผลการศึกษาพบว่า ห้องปฏิบัติวิจัยโทรคมนาคมในโลกเสมือน เป็นแพลตฟอร์มที่ผู้เรียนผู้สอนสามารถใช้ช่วยสนับสนุนการเรียนการสอนเกี่ยวกับทฤษฎีของสัญญาณได้ มีข้อดีตรงที่ผู้เรียนได้รับประสบการณ์การเรียนรู้สมัยใหม่ที่ให้ความเพลิดเพลินใจ ทำให้สามารถจดจำได้ดีมากขึ้นและเรียนรู้ได้อย่างมีความสุข นับเป็นการเพิ่มช่องทางในการเรียนการสอนให้อีกหนึ่งช่องทางที่มีประสิทธิภาพ ไม่จำกัดจากระยะทาง อันประโยชน์ต่อการช่วยลดการแพร่ระบาดของโรคระบาดโควิด 19 ได้อีกด้วย


การวางแผนขยายกําลังผลิตไฟฟ้าร่วมกับระบบกักเก็บพลังงานโดยคํานึงถึงรูปแบบการผลิตไฟฟ้าของพลังงานหมุนเวียน การสมดุลกําลังไฟฟ้ารายชั่วโมงตลอดทั้งปี เงื่อนไขบังคับเชิงพื้นที่ และการตอบสนองของโรงไฟฟ้าต่อการเปลี่ยนแปลงโหลด, รฐนนท์ เดี่ยววิไล Jan 2022

การวางแผนขยายกําลังผลิตไฟฟ้าร่วมกับระบบกักเก็บพลังงานโดยคํานึงถึงรูปแบบการผลิตไฟฟ้าของพลังงานหมุนเวียน การสมดุลกําลังไฟฟ้ารายชั่วโมงตลอดทั้งปี เงื่อนไขบังคับเชิงพื้นที่ และการตอบสนองของโรงไฟฟ้าต่อการเปลี่ยนแปลงโหลด, รฐนนท์ เดี่ยววิไล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวางแผนขยายกำลังผลิตไฟฟ้านั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้ระบบผลิตไฟฟ้าที่มีความพร้อมจ่าย มีเสถียรภาพและความเชื่อถือได้เพียงพอที่จะรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าในอนาคตได้ เพื่อให้ได้ระบบไฟฟ้าที่สามารถทำได้จริง ผู้วางแผนขยายกำลังผลิตไฟฟ้าจึงต้องมีเครื่องมือช่วยในการวางแผนที่สามารถพิจารณาถึงเงื่อนไขต่างๆ ทั้งทางเศรษฐศาสตร์ ทางเทคนิค ทางสิ่งแวดล้อม และเงื่อนไขที่สนใจอื่นๆ เช่น เงื่อนไขบังคับเชิงพื้นที่ เป็นต้น นอกจากนี้ในปัจจุบันมีแนวโน้มที่ระบบผลิตไฟฟ้าจะพึ่งพาการผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนมากขึ้นเพื่อลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้เครื่องมือดังกล่าวต้องสามารถวางแผนขยายกำลังผลิตไฟฟ้าที่มีความยืดหยุ่นเพียงพอที่จะรองรับความไม่แน่นอนและความผันผวนจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน ซึ่งการใช้ระบบกักเก็บพลังงานก็เป็นแนวทางหนึ่งที่ใช้เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นดังกล่าว วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงนำเสนอวิธีการวางแผนขยายกำลังผลิตไฟฟ้าร่วมกับระบบกักเก็บพลังงานโดยคำนึงถึงรูปแบบการผลิตไฟฟ้าของพลังงานหมุนเวียน การสมดุลกำลังไฟฟ้ารายชั่วโมง เงื่อนไขบังคับเชิงพื้นที่ และการตอบสนองของโรงไฟฟ้าต่อการเปลี่ยนแปลงโหลด โดยจะนำเสนอวิธีสร้างแบบจำลองการผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่เสมือนจริง มีการนำเสนอวิธีการแบ่งระดับความต้องการใช้ไฟฟ้า และเงื่อนไขสมดุลกำลังไฟฟ้าของกำลังผลิตไฟฟ้าและความต้องการใช้ไฟฟ้าในแต่ระดับตามความสามารถในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงโหลดของโรงไฟฟ้า นอกจากนี้ยังมีการพิจารณาเงื่อนไขจำเพาะเชิงพื้นที่ในการตัดสินใจเพิ่มโรงไฟฟ้าเพื่อให้มั่นใจว่าโรงไฟฟ้าใหม่จะสามารถสร้างได้จริงตามแผน และท้ายที่สุด วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ยังนำเสนอวิธีวางแผนขยายกำลังผลิตไฟฟ้าร่วมกับระบบกักเก็บพลังงาน ซึ่งประกอบไปด้วยแบบจำลองการสั่งการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าร่วมกับระบบกักเก็บพลังงาน การคำนวณดัชนีความเชื่อถือได้ร่วมกับระบบกักเก็บพลังงาน และการตัดสินใจขยายขนาดระบบกักเก็บพลังงาน วิธีการที่นำเสนอนี้ถูกทดสอบกับฐานข้อมูลสำหรับจัดทำแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ พ.ศ. 2566-2580 เพื่อจัดทำแผนขยายกำลังผลิตไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย


การวางแผนวิทยุของการใช้ระบบ 5g และ 6g ร่วมกันสำหรับการบริการบรอดแบนด์เคลื่อนที่, ศุภชาติ จีนคง Jan 2022

การวางแผนวิทยุของการใช้ระบบ 5g และ 6g ร่วมกันสำหรับการบริการบรอดแบนด์เคลื่อนที่, ศุภชาติ จีนคง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในอนาคตอันใกล้เทคโนโลยี 6G จะเริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างมาก 6G มีจุดมุ่งหมายที่จะให้บริการด้วยอัตราข้อมูลที่สูงถึงระดับ Tbps และมี Latency ต่ำมาก ซึ่งการนำเทคโนโลยี 6G เข้ามาใช้งานจะช่วยแก้ปัญหาความคับคั่งของ Traffic ในช่วงเวลาที่มีอุปกรณ์ใช้งานจำนวนมากได้ ในอนาคตจะมีบริการที่ต้องการใช้อัตราข้อมูลที่สูงขึ้นอีกมาก เช่น Virtual Reality (VR) Extended Reality (XR) และ Hologram ซึ่งเป็นบริการที่ต้องการอัตราข้อมูลระดับสูง โดยการนำเทคโนโลยี 6G เข้ามาให้บริการจะสามารถช่วยให้สามารถใช้งานเทคโนโลยีเหล่านี้ได้เพียงพอ วิทยานิพนธ์นี้มีจุดประสงค์ประเมินและเสนอแนวทางการวางแผนวิทยุของระบบ 5G และ 6G ให้ใช้งานร่วมกัน ซึ่งพิจารณาจากอัตราการใช้งานข้อมูลรวมสำหรับบริการบรอดแบนด์เคลื่อนที่ ในพื้นที่ต่าง ๆ อัตราข้อมูลการให้บริการของสถานีฐานทั้ง 5G และ 6G และพื้นที่ครอบคลุมของทั้ง 5G และ 6G ที่คำนวณจากการสูญเสียเชิงวิถี และแสดงตำแหน่งและพื้นที่ครอบคลุมของสถานีฐานบนพื้นที่ที่กำหนด วิทยานิพนธ์นี้แสดงผลการวิเคราะห์บนพื้นที่ตัวอย่าง Dense Urban เทียบเท่าได้กับพื้นที่ศูนย์การค้าย่านสยามสแควร์ และพื้นที่ตัวอย่าง Urban เทียบเท่าได้กับพื้นที่ชุมชนอยู่อาศัยในตำบลบางปู จังหวัดสมุทรปราการ โดยเลือกใช้งานสถานีฐานของ 5G ให้ครอบคลุมพื้นที่ให้บริการทั้งหมด และใช้สถานีฐานของ 6G ในตำแหน่งที่มีผู้คนใช้งานเป็นจำนวนมาก ซึ่งผลลัพธ์ของงานวิทยานิพนธ์นี้สามารถนำไปใช้วิเคราะห์ในการวางพื้นที่ติดตั้งโครงข่ายเบื้องต้น เพื่อตั้งสถานีฐาน 5G และ 6G สำหรับขยายพื้นที่ให้บริการต่อไปในอนาคต


A Four-Element Mimo Antenna For Ultra-Wideband Communications With A Rejection Band, Aale Muhammad Jan 2022

A Four-Element Mimo Antenna For Ultra-Wideband Communications With A Rejection Band, Aale Muhammad

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This thesis presents the design and development of a four-element multiple-input multiple-output (MIMO) ultra-wideband antenna with a rejection band. This antenna is proposed for the application of ultra-wideband (UWB) technology, an advanced short-range wireless communication technology with fast and stable data transmission. The antenna operates in a wide frequency range from 3.1 to 10.6 GHz, which is intended for UWB communication technology. In addition, it can suppress the WLAN frequency band (4.8 to 6.2 GHz). This frequency suppression is necessary to avoid interference from WLAN signals, which usually have a higher power density. The antenna provides a bidirectional radiation pattern …


Optimal Operation Schedule Of Battery Energy Storage System For Supporting Variable Renewable Energy In Generation System, Chalermjit Klansupar Jan 2022

Optimal Operation Schedule Of Battery Energy Storage System For Supporting Variable Renewable Energy In Generation System, Chalermjit Klansupar

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Variable renewable energy (VRE) generation alters residual demand curves, leading to high operating costs for conventional generators. Additionally, the variable nature of VRE causes a mismatch between electricity demand and generation, resulting in greater expected energy not supplied (EENS) values, which represent a critical component of power generation costs. To alleviate the impact of VRE, utility-scale battery energy storage systems (BESSs) provide ancillary services. The BESSs’ general applications are spinning reserve, regulation, and ramping. This paper proposes a method to determine daily operation schedules for grid-scale BESSs, compensating for the negative impacts of VRE on operating costs, power generation reliability …


Genetic Algorithm Based Deep Multi-Route Self-Attention For Single Image Super-Resolution, Nisawan Ngambenjavichaikul Jan 2022

Genetic Algorithm Based Deep Multi-Route Self-Attention For Single Image Super-Resolution, Nisawan Ngambenjavichaikul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Image restoration, such as single image super-resolution (SISR), is a long-established low-level vision issue that intends to regenerate high-resolution (HR) images from low-resolution (LR) input counterparts. While state-of-the-art image super-resolution models are based on the well-known convolutional neural network (CNN), many self-attention-based or transformer-based experiment attempts have been conducted. They have shown promising performance on vision problems. A powerful baseline model based on the swin transformer adopts the shifted window approach. It enhances the capability by restricting the model to compute the self-attention function only on non-superimpose local windows while enabling cross-window relations. However, the architecture design is manually fixed. …


Effect Of Drop-Out Layers Inside Recurrent Neural Networks In Household Load Forecast Application, Sanaullah Soomro Jan 2022

Effect Of Drop-Out Layers Inside Recurrent Neural Networks In Household Load Forecast Application, Sanaullah Soomro

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Ensuring precise power load forecasting is highly important in planning the secure, steady, and cost-effective functioning of the power system. Grid planning and decision-making can be based on accurate long- and short-term power load forecasting. Recently, machine learning techniques have gained widespread adoption for both long- and short-term power load forecasting. Specifically, the Long Short-Term Memory (LSTM) is customized for time series data analysis. This research proposes an LSTM model for forecasting the power load of a single house containing electrical appliances over the next 20 days. We conducted a comparative analysis of the impact of dropout layers in load …


Performance Analysis Of Jpeg Xr With Deep Learning-Based Image Super-Resolution, Taingliv Min Jan 2022

Performance Analysis Of Jpeg Xr With Deep Learning-Based Image Super-Resolution, Taingliv Min

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The demand for efficient high-level image and video codec compression has widely increased. Conventional image compression methods such as JPEG XR use a high quantization parameter (QP) to produce a highly compressed file for any given image. However, higher QP has unpleasing artifacts that lead to perceptual quality degradation. A feasible solution to tackle this limitation is to reduce the high-resolution image size by downsampling it before encoding it with JPEG XR. Then, the super-resolution algorithm is applied to the resultant low-resolution image to reconstruct the high-resolution result. In this research, we downsample the input image before JPEG XR. Then, …


Applications Of Deep Learning Framework And Localization To Intelligent Radio Spectrum Monitoring, Truong Thanh Le Jan 2022

Applications Of Deep Learning Framework And Localization To Intelligent Radio Spectrum Monitoring, Truong Thanh Le

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In this thesis, the author proposed an intelligent radio spectrum monitoring system with implemented deep learning framework. Deep learning is a powerful method to handle hard tasks automatically. The system uses the RTL-SDR USB dongle as the sensor to collect the spectrum data. This dongle is a low-cost device that can measure the signal from 500kHz to 1700MHz. The maximum bandwidth of measurement is 2MHz. The main functions of this system are to collect the spectrum data and then detect the representation signals and extract their characteristics, such as bandwidth, center frequency, modulation type, and capacity. The modulation classification task …


Functional Split In 5g Cloud Radio Access Network Using Particle Swarm Optimization, Wai Phyo Jan 2022

Functional Split In 5g Cloud Radio Access Network Using Particle Swarm Optimization, Wai Phyo

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The Cloud Radio Access Network (C-RAN) is an innovative approach that has the potential to significantly reduce the expenses of setting up and operating wireless networks. C-RAN's placement of RAN functions, which strives to reduce bandwidth utilization and computation costs, is a critical component. In this study, our main goal is to reduce the costs associated with functionally placing the RAN while accounting for the computational expense and the front-haul bandwidth usage among various users. To achieve this, we propose to apply Particle Swarm Optimization (PSO) to achieve effective allocation of computational resources and the front-haul bandwidth, ensuring an efficient …


Online Self-Learning System For Prediabetes Patients, Ye Moe Myint Jan 2022

Online Self-Learning System For Prediabetes Patients, Ye Moe Myint

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This thesis implements a web-based application that combines a 3D learning center and educational game to facilitate the monitoring, management, and treatment of patients with prediabetes mellitus, by providing exercise plans and controlled diets. The application utilizes advanced web technologies, 3D modeling, and gamification principles to create an engaging learning experience. User-centered design ensures usability, and testing demonstrates positive outcomes, including increased knowledge, motivation, and engagement. This research contributes to digital health interventions by empowering prediabetes patients with informed decision-making and healthy habits. Future directions include expanding the application, refining the user interface, and evaluating long-term impact on prediabetes management.


A Comparative Study On Artificial Intelligence-Based Methods For Fault Detection, Classification, And Localization In Distribution Lines, Nanda Kumari Jan 2022

A Comparative Study On Artificial Intelligence-Based Methods For Fault Detection, Classification, And Localization In Distribution Lines, Nanda Kumari

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In recent years, supervised machine learning (SML) has demonstrated its effectiveness in pattern recognition and outcome prediction within datasets. The objective of this research is to develop an algorithm that utilizes SML classification and regression equation capabilities to accurately classify and locate faults occurring in electricity distribution lines. The proposed algorithm takes the measured values of electrical current and voltage at one end of the distribution line as input data and outputs the type of fault. The algorithm evaluates its performance by simulating the IEEE 14-bus power system using MATLAB and generating various types of faults at different locations and …


เทคนิคการเพิ่มกระแสผิดพร่องสำหรับอินเวอร์เตอร์ชนิดเชื่อมต่อกริด, ปรีณาพรรณ ปัญญา Jan 2022

เทคนิคการเพิ่มกระแสผิดพร่องสำหรับอินเวอร์เตอร์ชนิดเชื่อมต่อกริด, ปรีณาพรรณ ปัญญา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การเพิ่มขึ้นของการใช้พลังงานไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ และระบบไฟฟ้าแบบไมโคร กริด ทำให้เกิดผลกระทบกับระบบไฟฟ้าดั้งเดิมหลายประการ ประเด็นสำคัญที่กล่าวถึงในวิทยานิพนธ์นี้คือ การเปลี่ยนแปลงของระดับกระแสผิดพร่องในระบบไฟฟ้า เมื่อโครงสร้างของแหล่งกำเนิดไฟฟ้าที่เชื่อมต่ออินเวอร์เตอร์ไม่สามารถจ่ายกระแสผิดพร่องในปริมาณเช่นเดียวกับเครื่องจักรกลซิงโครนัส ทำให้กระแสผิดพร่องมีขนาดน้อยเกินไป โดยเฉพาะเมื่อระบบที่เป็นไมโคร กริดเกิดการแยกโดดออกจากระบบ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้นำเสนอการจ่ายกระแสผิดพร่องของอินเวอร์เตอร์แบบเชื่อมต่อกริด โดยการควบคุมให้อินเวอร์เตอร์จ่ายกระแสผิดพร่องที่มีขนาดมากกว่า 2 เท่าของกระแสพิกัดในขณะที่ยังเชื่อมต่อกับระบบเมื่อเกิดสภาวะแรงดันตก ภายใต้พิกัดกระแสและพิกัดแรงดันของอินเวอร์เตอร์ แนวคิดที่ใช้ในการเพิ่มขนาดกระแสคือ การใช้ความถี่เรโซแนนซ์ของตัวกรองแบบ LCL ที่เป็นวงจรกรองทั่วไปที่ใช้ในอินเวอร์เตอร์ โดยที่อินเวอร์เตอร์สามารถทำงานได้ทั้งสองโหมดและสามารถเปลี่ยนโหมดระหว่างการทำงานแบบปกติ ไปยังโหมดการทำงานเมื่อเกิดความผิดพร่องในระบบ และสามารถกลับมาทำงานได้ในโหมดการทำงานปกติเมื่อกลับเข้าสู่สภาวะปกติได้ โดยทดสอบด้วยผลการจำลองผ่านโปรแกรม Matlab Simulink และอินเวอร์เตอร์ในห้องปฏิบัติการ จากผลการทดสอบทั้งในการจำลองและการทดสอบจริงเมื่อเกิดแรงดันตกหรือความผิดพร่องที่แรงดันที่จุดเชื่อมต่อ อินเวอร์เตอร์จ่ายกระแสรีแอคทีฟความถี่ปกติได้ตามข้อกำหนดของระบบไฟฟ้าได้และสามารถเชื่อมต่อระบบกลับมาในโหมดปกติเมื่อแรงดันกลับเข้าสู่สภาวะปกติได้ อัลกอริทึมที่นำเสนอสามารถจ่ายกระแสความถี่สูงขณะเกิดแรงดันตกที่มีขนาดมากถึง 2.4 เท่าของกระแสพิกัดได้ โดยที่ขนาดกระแสและแรงดันด้านออกของอินเวอร์เตอร์มีขนาดไม่เกินพิกัด ทำให้อินเวอร์เตอร์เชื่อมต่อกับระบบได้โดยไม่ปลดตัวเองออกจากวงจร และกลับคืนสู่การควบคุมในโหมดปกติได้เมื่อแรงดันที่จุดเชื่อมต่อกลับเข้าสู่ค่าปกติ


การหาลักษณะทางไฟฟ้าของเซลล์เม็ดเลือดแดงด้วยอิเล็กโทรโรเทชัน, รักดี บรรดาตั้ง Jan 2022

การหาลักษณะทางไฟฟ้าของเซลล์เม็ดเลือดแดงด้วยอิเล็กโทรโรเทชัน, รักดี บรรดาตั้ง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้ศึกษาการหาลักษณะทางไฟฟ้าของเซลล์เม็ดเลือดแดงด้วยอิเล็กโทรโรเทชัน. ลักษณะทางไฟฟ้าของเซลล์เม็ดเลือดแดงขึ้นอยู่กับค่าพารามิเตอร์ไฟฟ้า ได้แก่ ค่าความเก็บประจุไฟฟ้าเยื่อหุ้มเซลล์ และค่าสภาพนำไฟฟ้าภายในเซลล์. การประมวลผลภาพถูกนำมาประยุกต์ใช้ในการหาอัตราเร็วการหมุนของเซลล์เม็ดเลือดแดงเนื่องจากมีความรวดเร็วและความแม่นยำ. โปรแกรมสำหรับการประมวลผลภาพกระทำบนซอฟต์แวร์ MATLAB. งานวิจัยนี้ได้ทำการทดลองอิเล็กโทรโรเทชันกับเซลล์เม็ดเลือดแดงปกติจำนวน 50 เซลล์ และเซลล์เม็ดเลือดแดงเพาะติดเชื้อมาลาเรียจำนวน 100 เซลล์. อิเล็กโทรดที่ใช้เป็นอิเล็กโทรดแบบ 4 ขั้ว. สัญญาณแรงดันไฟฟ้าที่ใช้ในการทดลองมีขนาด 1.5 – 3 Vp ความถี่ 10 kHz – 5 MHz. ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ขนาดของแรงดันไฟฟ้ามีผลต่ออัตราการหมุนของเซลล์ โดยที่อัตราเร็วการหมุนของเซลล์เม็ดเลือดแดงปกติมากกว่าเซลล์ติดเชื้อมาลาเรีย. ความถี่การหมุนสูงสุดและความถี่ตัดข้ามที่ได้จากอัตราเร็วการหมุน ถูกนำไปใช้วิเคราะห์หาค่าพารามิเตอร์ทางไฟฟ้า. ผลการวิเคราะห์แสดงว่า เซลล์ปกติมีค่าความเก็บประจุไฟฟ้าเยื่อหุ้มเซลล์สูงกว่าเซลล์ติดเชื้อ แต่ค่าสภาพนำไฟฟ้าภายในเซลล์ของเซลล์ปกติต่ำกว่าเซลล์ติดเชื้อ. นอกจากนี้ อิเล็กโทรดขั้วสลับ 2 ชุด ถูกนำมาใช้ทดลองเพื่อเพิ่มปริมาณงานในการทดลอง. ผลการทดลองพบว่าสามารถเพิ่มปริมาณงานการทดลองได้ด้วยอิเล็กโทรดขั้วสลับ. อย่างไรก็ตาม การประกอบชิ้นงานทำได้ยากและใช้เวลานานกว่าอิเล็กโทรดแบบ 4 ขั้ว.


การศึกษาจลนศาสตร์ไฟฟ้าของหยดน้ำในฉนวนเหลวภายใต้สนามไฟฟ้า, วิกานดา นันทนาวุฒิ Jan 2022

การศึกษาจลนศาสตร์ไฟฟ้าของหยดน้ำในฉนวนเหลวภายใต้สนามไฟฟ้า, วิกานดา นันทนาวุฒิ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้ศึกษาจลนศาสตร์ไฟฟ้าของหยดน้ำที่อยู่ในฉนวนเหลว ได้แก่ การเสียรูปร่าง การเคลื่อนที่ การรวมตัว และการแยกตัว ด้วยการทดลองและการจำลองเชิงตัวเลขเพื่อพิจารณาปัจจัยที่ส่งผลต่อจลนศาสตร์ไฟฟ้าของหยดน้ำ. รูปแบบแรกที่ศึกษา คือ หยดน้ำอยู่บนอิเล็กโทรดโดยมีตัวกลางเป็นน้ำมันแร่และน้ำมันทานตะวัน. ผลการทดลองพบว่าการเสียรูปของหยดน้ำเพิ่มขึ้นตามสนามไฟฟ้า. การเสียรูปของหยดน้ำในน้ำมันทานตะวันมีค่าสูงกว่าเนื่องจากคุณสมบัติสภาพยอมสัมพัทธ์ที่สูงและความตึงผิวที่ต่ำของน้ำมัน. เมื่อสนามไฟฟ้าสูงถึงค่าวิกฤต การแยกตัวเกิดขึ้นที่บริเวณปลายแหลมของหยด. การจำลองสามารถแสดงการเสียรูปของหยดน้ำได้แม่นยำและทำนายค่าสนามไฟฟ้าวิกฤตได้. รูปแบบที่สอง คือ การรวมตัวของหยดในน้ำมันแร่และน้ำมันซิลิโคนกับผิวน้ำด้านล่าง. ผลการทดลองพบว่าประจุเพิ่มแรงไฟฟ้าที่กระทำกับหยดน้ำ ช่วยให้ประสิทธิภาพของกระบวนการเชื่อมรวมเพิ่มขึ้นในแง่ของเวลา. อย่างไรก็ตาม หยดน้ำที่มีประจุรวมตัวเพียงบางส่วนที่สนามไฟฟ้าต่ำกว่ากรณีที่ไม่มีประจุ. เมื่อสนามไฟฟ้าสูง หยดน้ำที่มีประจุในน้ำมันแร่ไม่รวมตัวกับผิวน้ำ หรือแตกตัวในระหว่างการเคลื่อนที่. พฤติกรรมดังกล่าวไม่เกิดขึ้นในน้ำมันซิลิโคน เนื่องจากความตึงผิวของน้ำมันมีค่าสูง ช่วยให้หยดน้ำรวมตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ. การจำลองสามารถแสดงการเสียรูปของหยดน้ำที่มีและไม่มีประจุก่อนการรวมตัวได้ใกล้เคียงกับผลการทดลอง รวมทั้งแสดงการรวมตัวรูปแบบสมบูรณ์ของหยดน้ำได้. แม้ว่าการจำลองไม่สามารถแสดงพฤติกรรมอื่นเมื่อสนามไฟฟ้ามีค่าสูง เช่น การแยกตัวของหยดน้ำทุติยภูมิ การไม่รวมตัว หรือ การแตกตัว แต่ผลการจำลองแสดงให้เห็นว่าหยดน้ำในน้ำมันซิลิโคนมีเสถียรภาพดีกว่า ซึ่งเป็นไปในลักษณะเดียวกันกับการทดลอง.


การศึกษาการเบรกดาวน์ทางไฟฟ้าของเม็ดเลือดแดงสําหรับการตรวจจับมาลาเรีย, วีรดา หมัดสี Jan 2022

การศึกษาการเบรกดาวน์ทางไฟฟ้าของเม็ดเลือดแดงสําหรับการตรวจจับมาลาเรีย, วีรดา หมัดสี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

มาลาเรียยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญของโลก ถึงแม้ว่าจำนวนผู้ป่วยจะลดลงทุกปี. การดื้อยาของเชื้อมาลาเรียส่งผลกระทบต่อการควบคุมโรคเป็นอย่างมาก. ดังนั้น การวินิจฉัยของมาลาเรียจำเป็นต้องมีความรวดเร็วและแม่นยำ. ปัจจุบันการตรวจหามาลาเรียมีหลายวิธี เช่น การตรวจหาด้วยกล้องจุลทรรศน์, การตรวจโดยใช้ชุดตรวจ RDTs, การตรวจด้วยวิธีการพีซีอาร์. ขีดจำกัดและความสามารถในการตรวจแต่ละวิธีนั้นมีความแตกต่างกัน. วิทยานิพนธ์นี้ศึกษาการคัดแยกเซลล์เลือดเพาะปกติและเซลล์เลือดเพาะเชื้อมาลาเรีย และการตรวจหาดีเอ็นเอของมาลาเรีย โดยใช้แรงไดอิเล็กโตรโฟเรติก. การสลายเซลล์เลือดเพาะเชื้อมาลาเรียด้วยหลักการอิเล็กโตรพอเร-ชัน. ตัวอย่างที่ใช้สำหรับการทดลอง คือ เซลล์เม็ดเลือดแดงปกติ และเซลล์เลือดเพาะเชื้อมาลาเรีย. การทดลองคัดแยกเซลล์เลือดปกติออกจากเซลล์เลือดเพาะเชื้อมาลาเรียถูกทำที่อัตราส่วนจำนวนเซลล์ 1:10,000. เซลล์เลือดเพาะเชื้อมาลาเรียหลังผ่านกระบวนการคัดแยกจะถูกสลายที่แรงดัน 9 Vp, 100 kHz เพื่อสกัดสารพันธุกรรม. ตัวอย่างที่ได้จากการสลายเซลล์ถูกนำไปขยายปริมาณดีเอ็น-เอด้วยวิธีการพีซีอาร์. ผลิตผลที่ได้จากการทำพีซีอาร์จะถูกนำมาตรวจหาดีเอ็นของมาลาเรียด้วยวิธีการวัดอิมพีแดนซ์เชิงไดอิเล็กโตรโฟเรติก.


การพัฒนาชุดทดสอบสำหรับระบบควบคุมไฟถนนอัตโนมัติ บนแพลตฟอร์มเทคโนโลยี Nb-Iot และ Lora, เกียรติศักดิ์ บุญประเสริฐ Jan 2022

การพัฒนาชุดทดสอบสำหรับระบบควบคุมไฟถนนอัตโนมัติ บนแพลตฟอร์มเทคโนโลยี Nb-Iot และ Lora, เกียรติศักดิ์ บุญประเสริฐ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เสนอการพัฒนาชุดทดสอบสำหรับระบบควบคุมไฟถนนอัตโนมัติ บนแพลตฟอร์มเทคโนโลยี NB-IoTและ LoRa เพื่อพัฒนาระบบควบคุมไฟถนนระยะไกล และเปรียบเทียบการทำงานของระบบสื่อสารแบบ NB-IoT กับ LoRa ดำเนินงานวิจัยโดยศึกษารูปแบบของระบบควบคุมไฟถนนจากการไฟฟ้านครหลวงปัจจุบัน พัฒนาชุดทดสอบสำหรับระบบควบคุมไฟถนนอัตโนมัติ และทดสอบการวัดค่าความแรงสัญญาณต่ำสุดของสัญญาของระบบสื่อสารแต่ละชนิดที่สามารถเชื่อมต่อได้ และสั่งควบคุมการหรี่ไฟโดยผ่านระบบสื่อสารแบบไร้สายด้วยเทคโนโลยี LoRa และ NB-IoT (ทั้งของ AIS และ True) ผลที่ได้จากงานวิจัย (1) ชุดทดสอบระบบควบคุมไฟถนนที่ใช้อุปกรณ์บอร์ด Arduino ที่ใช้อุปกรณ์สื่อสาร NB-IoT AIS: DEVIO NB-SHIELD, NB-IoT Ture: True NB-IoT Developer Board และ LoRa : Heltec WIFI Lora Kit 32 สำหรับควบคุมและมอนิเตอร์ผ่านระบบคลาวด์เว็บไซต์ (2) การเปรียบเทียบสมรรถนะของระบบสื่อสาร NB-IoT ของ Ais, ระบบสื่อสาร NB-IoT ของ true และ LoRa ระบบทั้ง 3 สามารถตอบสนองการทำงานได้ตามโหมดต่างๆได้อย่างถูกต้อง และค่าความแรงสัญญาณต่ำสุดที่สามารถเชื่อมต่อกับระบบได้คือ -93 dBm, -95 dBm และ -111 dBm ตามลำดับ ในส่วนของราคาของอุปกรณ์ของ NB-IoT ของ AIS และ True อยู่ที่ 3,845 บาท และ 3,805 บาท ส่วนของ LoRa อยู่ที่ 4,455 บาท


การตรวจจับและระบุประเภทความผิดพร่องในระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์โดยใช้การเรียนรู้ของเครื่อง, เสฎฐวุฒิ ยิ้วเหี้ยง Jan 2022

การตรวจจับและระบุประเภทความผิดพร่องในระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์โดยใช้การเรียนรู้ของเครื่อง, เสฎฐวุฒิ ยิ้วเหี้ยง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การใช้พลังงานหมุนเวียนโดยเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์มาผลิตกระแสไฟฟ้าได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น แต่เนื่องจากพลังงานแสงอาทิตย์มีความผันผวนค่อนข้างสูงและเสี่ยงต่อการเกิดความผิดพร่อง ทำให้มีความท้าทายในการรวมเข้ากับระบบไฟฟ้าที่ใช้พลังงานแบบดั้งเดิมซึ่งเป็นระบบไฟฟ้าหลัก การเกิดความผิดพร่องในระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์จึงเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ต้องพิจารณาเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือให้ระบบไฟฟ้า วิทยานิพนธ์นี้จึงเสนอแนวทางการตรวจจับและระบุประเภทความผิดพร่องในระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ฝั่งกระแสตรงด้วยเทคนิคการเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning) โดยเปรียบเทียบความแม่นยำระหว่างอัลกอริทึม AdaBoost กับ Gradient Boosting ในการตรวจจับและระบุประเภทความผิดพร่อง 5 ประเภท ได้แก่ การลัดวงจรระหว่างสายภายในสตริง การเปิดวงจร การบังเงาบางส่วน การเสื่อมสภาพของอุปกรณ์ และการลัดวงจรระหว่างสายข้ามสตริง โดยการฝึกและทดสอบอัลกอริทึมมี 4 พารามิเตอร์ที่เป็นอินพุต ได้แก่ กระแสไฟฟ้าแต่ละสตริง แรงดันไฟฟ้าของระบบ กำลังไฟฟ้าของระบบ และความเข้มแสงอาทิตย์ ซึ่งได้มาจากการจำลองความผิดพร่องบนระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 180 W ที่ติดตั้งแบบ 2 สตริง สตริงละ 3 แผง และเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการส่งข้อมูลแบบไร้สาย โดยใช้เทคโนโลยีสื่อสารไร้สาย LoRa เพื่อประหยัดและลดความยุ่งยากในการใช้สายไฟต่อจากอาเรย์เซลล์แสงอาทิตย์มายังศูนย์ควบคุม อีกทั้งยังช่วยลดปัญหาความผิดเพี้ยนของข้อมูลเนื่องจากสายไฟแกว่งจากกระแสลม ผลการทดสอบเปรียบเทียบความแม่นยำในการตรวจจับและระบุประเภทความผิดพร่องแสดงให้เห็นว่าโมเดลที่สร้างจาก Gradient Boosting มีความแม่นยำในการจำแนกประเภทความผิดพร่องภายใต้ชุดข้อมูลความผิดพร่องที่ได้จากการจำลองดังกล่าวมากกว่า AdaBoost อีกทั้งโมเดลที่สร้างจาก Gradient Boosting สามารถตรวจจับและระบุประเภทความผิดพร่องได้อย่างแม่นยำและทำงานได้แบบเรียลไทม์


การหาลักษณะทางไฟฟ้าของเซลล์เม็ดเลือดแดงด้วยวิธีทางกลศาสตร์ไฟฟ้าสำหรับการใช้งานของไหลจุลภาค, กิติภพ วิจิตรนุกูลประดิษฐ์ Jan 2022

การหาลักษณะทางไฟฟ้าของเซลล์เม็ดเลือดแดงด้วยวิธีทางกลศาสตร์ไฟฟ้าสำหรับการใช้งานของไหลจุลภาค, กิติภพ วิจิตรนุกูลประดิษฐ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากสถิติขององค์การอนามัยโลกพบว่า ในปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคมาลาเรียรวมทั้งสิ้น 241 ล้านราย. โรคมาลาเรียเป็นโรคเขตร้อนที่เกิดจากปรสิตในตระกูล Plasmodium และมีผู้เสียชีวิตเกือบ 627,000 รายในช่วงปี 2020. วิทยานิพนธ์นี้ศึกษาลักษณะไดอิเล็กโทรโฟเรซิสของเซลล์เม็ดเลือดแดงในอุปกรณ์ของไหลจุลภาค ซึ่งประกอบด้วยช่องทางไหลจุลภาคและอิเล็กโตรด. จุดประสงค์คือการใช้คุณลักษณะไดอิเล็กโทรโฟเรซิสเพื่อแยกความแตกต่างระหว่างเซลล์เม็ดเลือดแดงปกติ และเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ติดเชื้อมาลาเรีย. ตัวอย่างในการศึกษาประกอบด้วย(1) เซลล์เม็ดเลือดแดงปกติจากอาหารเลี้ยงเซลล์ จากเลือดของอาสาสมัคร และ(2) เซลล์เม็ดเลือดแดงติดเชื้อมาลาเรีย. ช่องทางไหลจุลภาคมีเสาขนาดเล็กรูปร่างที่แตกต่างกันเพื่อสร้างเกรเดียนต์ที่เหมาะสมของสนามไฟฟ้าภายใน. ช่องทางไหลที่มีเสารูปทรงข้าวหลามตัดถูกใช้ในการสังเกตความถี่ตัดข้ามไดอิเล็กโทรโฟเรติก. ช่องทางไหลที่มีเสารูปทรงโค้งถูกใช้ในการหาความเร็วของเซลล์ที่เกิดจากแรงไดอิเล็กโทรโฟเรติกแบบลบที่ความถี่ต่ำ. การศึกษาพบว่า ความถี่ตัดข้ามที่ความถี่ต่ำของเซลล์เม็ดเลือดแดงติดเชื้อมีค่าสูงกว่าเซลล์เม็ดเลือดแดงปกติ. ความถี่ตัดข้ามที่ความถี่สูงของเซลล์ทุกชนิดมีค่าใกล้เคียงกัน. เซลล์เม็ดเลือดแดงที่ติดเชื้อมาลาเรียมีความเร็วเนื่องจากแรงไดอิเล็กโทรโฟเรติกที่ความถี่ต่ำน้อยกว่าเซลล์เม็ดเลือดแดงปกติ. ผลลัพธ์นี้บ่งชี้ว่า การติดเชื้อมาลาเรียทำให้ความจุไฟฟ้าของเยื่อหุ้มเซลล์ลดลงอย่างมาก แต่ทำให้ความนำไฟฟ้าของเยื่อหุ้มเซลล์เพิ่มขึ้น. การเปลี่ยนแปลงของสภาพนำไฟฟ้าของไซโตพลาสซึม ซึ่งไม่สามารถสังเกตได้จากการศึกษานี้ อาจเกิดขึ้นในระยะหลังของการติดเชื้อ.


การวิเคราะห์สนามไฟฟ้าและกระแสไอออนของสายส่งไฟฟ้าแรงสูงกระแสตรงโดยพิจารณาพารามิเตอร์สภาพแวดล้อมของประเทศไทย, แคทรียา ชูพุ่ม Jan 2022

การวิเคราะห์สนามไฟฟ้าและกระแสไอออนของสายส่งไฟฟ้าแรงสูงกระแสตรงโดยพิจารณาพารามิเตอร์สภาพแวดล้อมของประเทศไทย, แคทรียา ชูพุ่ม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้วิเคราะห์ค่าสนามไฟฟ้าและความหนาแน่นของกระแสไอออนของสายส่งไฟฟ้ากระแสตรง (HVDC) แบบพาดในอากาศโดยใช้วิธีไฟไนต์วอลุ่ม. วัตถุประสงค์ของวิทยานิพนธ์คือ การประยุกต์ใช้พลศาตร์ของไหลเชิงคำนวณกับการจำลองการไหลของประจุในอากาศ และวิเคราะห์ผลการจำลองที่ได้ตามการติดตั้งสายชีลด์ สภาพแวดล้อมของลมและอุณหภูมิ. ผลการจำลองของสายส่ง 70 kV HVDC แบบขั้วเดี่ยว มีแนวโน้มคล้ายกันกับผลการวัดความหนาแน่นกระแสไอออนในกรณีไม่มีและมีสายชีลด์. การเพิ่มจำนวนสายชีลด์ที่มีระยะติดตั้งอย่างเหมาะสม ลดค่าสูงสุดของความหนาแน่นกระแสไอออนที่พื้นดินได้มากกว่า 50%. ผลการจำลองของสายส่ง ±500 kV HVDC แบบขั้วคู่สองวงจรใช้ตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงค่าสนามไฟฟ้าและ ความหนาแน่นของกระแสไอออนภายในเขตเดินสายเดียวกันกับสายส่งไฟฟ้ากระแสสลับ (HVAC). การใช้สายตัวนำไฟฟ้าทางเดินไหลกลับที่เฟสล่างช่วยลดค่าสูงสุดที่พื้นดินของความหนาแน่นกระแสไอออนและสนามไฟฟ้าได้ประมาณ 63% และ 25% ตามลำดับ. ผลลัพธ์ของข้อมูลลมในจังหวัดขอนแก่นแสดงให้เห็นว่า ความหนาแน่นกระแสไอออนและสนามไฟฟ้าสูงขึ้นตามความเร็วลมและสัมประสิทธิ์แรงลมเฉือนที่เพิ่มขึ้น. ข้อจำกัดของสายส่ง ±500 kV HVDC คือ ความเร็วลมที่ความสูงอ้างอิงและสัมประสิทธิ์แรงลมเฉือนควรมีค่า 1.6 m/s และ 0.4 ตามลำดับ จึงได้ค่าสูงสุดของสนามไฟฟ้าต่ำกว่าสายส่ง 500 kV HVAC. อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นของสายตัวนำ 1272 MCM ทำให้ความหนาแน่นกระแสไอออนเพิ่มขึ้นและค่าสูงสุดของสนามไฟฟ้าอาจมากกว่าสายส่ง 500 kV HVAC ได้ถึง 38%. ข้อมูลสถิติของลมและอุณหภูมิจึงเป็นพารามิเตอร์สำคัญสำหรับสภาพแวดล้อมทางไฟฟ้าที่จำเป็นต้องพิจารณาในการออกแบบสายส่ง HVDC ใช้งาน.


การพัฒนาการแปลภาษามือไทยด้วยคลังโปรแกรมมีเดียไพพ์, จักรพันธ์ สุทธิแพทย์ Jan 2022

การพัฒนาการแปลภาษามือไทยด้วยคลังโปรแกรมมีเดียไพพ์, จักรพันธ์ สุทธิแพทย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การใช้คอมพิวเตอร์วิทัศน์เพื่อแปลภาษามือไทยได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เพื่อช่วยลดปัญหาในการสื่อสารกับผู้พิการหรือบกพร่องทางการได้ยิน ในการศึกษานี้เป็นการประยุกต์ใช้คลังโปรแกรมมีเดียไพพ์เพื่อแปลภาษามือไทยโดยใช้การจับภาพท่ามือของภาษามือไทยด้วยกล้องเว็บแคมและระบุตำแหน่งสำคัญบนฝ่ามือด้วยคลังโปรแกรมมีเดียไพพ์ เปรียบเทียบผลลัพธ์ที่ได้กับแฟ้มข้อความในรูปแบบตารางที่ได้บันทึกตำแหน่งสำคัญและคำศัพท์ไว้จำนวน 35 คำ ใช้ขั้นตอนวิธีการค้นหาเพื่อนบ้านที่ใกล้ที่สุด K ตัว เพื่อเลือกคำศัพท์ที่ใกล้เคียงกับท่ามือมากที่สุด ประมวลผลด้วยชุดคำสั่งภาษาไพทอนและแสดงผลการแปลบนจอภาพในทันที การประมวลผลใช้เพียงหน่วยประมวลผลกลางของคอมพิวเตอร์ทั่วไปจึงไม่จำเป็นต้องใช้ระบบคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง พบว่าระบบสามารถตรวจจับตำแหน่งสำคัญและแสดงผลการแปลได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความแม่นร้อยละ 85.71


เทคนิคการรีซิงโครไนเซชันเปิดทางสำหรับคอนเวอร์เตอร์ที่เชื่อมต่อกริดชนิดเเหล่งจ่ายเเรงดัน, ณัฐกิตติ์ กิจชีววิทยา Jan 2022

เทคนิคการรีซิงโครไนเซชันเปิดทางสำหรับคอนเวอร์เตอร์ที่เชื่อมต่อกริดชนิดเเหล่งจ่ายเเรงดัน, ณัฐกิตติ์ กิจชีววิทยา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้นำเสนอวิธีการควบคุมคอนเวอร์เตอร์ชนิดแหล่งจ่ายแรงดันที่เป็นคอนเวอร์เตอร์ประเภทสามระดับ โดยให้แนวทางการคำนวณและการออกแบบในแต่ละส่วนอย่างชัดเจนและเรียบง่ายต่อการนำไปประยุกต์ใช้งาน วิธีการควบคุมที่นำเสนอจะประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก 1) การควบคุมของคอนเวอร์เตอร์ชนิดแหล่งจ่ายแรงดัน 2) การควบคุมเสมือนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าซิงโครนัส 3) การควบคุมกระบวนการรีซิงโครไนซ์ เพื่อให้สามารถรองรับการทำงานในโหมดต่างๆ ของไมโครกริดได้ ประกอบด้วย โหมดแยกตัวอิสระ โหมดการเชื่อมต่อกับโครงข่าย และ การเปลี่ยนผ่านระหว่างโหมด วิทยานิพนธ์นี้จะให้ความสำคัญกับโหมดการรีซิงโครไนซ์ที่มีความท้าท้ายเป็นอย่างมาก ดังนั้นจะต้องพัฒนาให้คอนเวอร์เตอร์มีฟังก์ชันการทำงานเสมือนเป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าซิงโครนัสที่มีความยืดหยุ่นในการควบคุมทั้งความถี่และแรงดัน โดยอาศัยส่วนการควบคุมกระบวนการรีซิงโครไนเซชั่นที่ประกอบด้วยเวกเตอร์เฟสล็อกลูป (Vector Phase-Look-Loop: VPLL) และตัวควบคุมแรงดันที่ขั้ว (Terminal Voltage Control) ทำหน้าที่ปรับค่าความแตกต่างของ ความถี่ มุมเฟส และขนาดแรงดันของทางด้านคอนเวอร์เตอร์ให้ซิงโครไนซ์กับทางด้านโครงข่ายไฟฟ้าและสอดคล้องกับมาตรฐาน IEEE 1547-2018 ของการรีซิงโครไนซ์ของไมโครกริดกำหนดไว้ ผลการจำลองการทำงานด้วยโปรแกรม MATLAB/SIMULINK กับผลการทดลองด้วยอินเวอร์เตอร์สามระดับ แสดงให้เห็นว่าแนวคิดที่นำเสนอสามารถทำให้คอนเวอร์เตอร์ทำงานได้ทั้ง 4 โหมดของไมโครกริด และการเปลี่ยนผ่านเป็นไปอย่างราบรื่น อีกทั้งควบคุมให้มุมเฟส ความถี่ และขนาดแรงดันสอดคล้องกับมาตรฐาน IEEE1547-2018 ที่กำหนด


การนับพลัคไวรัสโดยใช้ค่าขีดคู่และขั้นตอนวิธีสันปันน้ำ, นิตยา คำดี Jan 2022

การนับพลัคไวรัสโดยใช้ค่าขีดคู่และขั้นตอนวิธีสันปันน้ำ, นิตยา คำดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การนับจำนวนไวรัสด้วยจำนวน Plaque Forming Unit (PFU) เพื่อทำการทดลองในด้านต่างๆ เช่นการผลิตวัคซีน สามารถทำได้ด้วยการใช้ตาเปล่าซึ่งส่งผลให้เกิดความเหนื่อยล้า ใช้เวลานานและเกิดข้อผิดพลาดได้ง่าย การนับด้วยวิธีที่รวดเร็วและแม่นยำต้องคำนึงหลายปัจจัย เนื่องจาก PFU มีรูปร่างไม่แน่นอน ขอบไม่เด่นชัด ขนาดไม่สม่ำเสมอ รวมถึงความแตกต่างกันของสีระหว่าง PFU และพื้นหลังภายในจานหลุมไม่คงที่ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เสนอสร้างกรรมวิธีการนับ PFU แบบกึ่งอัตโนมัติจากภาพจานเพาะเลี้ยงที่ได้จากกล้องถ่ายรูปทั่วไปที่ไม่มีการควบคุมแสง เริ่มจากการจำแนก PFU กับพื้นหลังด้วยค่าขีดเริ่มเปลี่ยนแบบปรับตัวได้ โดยถ้าเป็น PFU ขนาดเล็กจะใช้ค่าขีดเริ่มเปลี่ยนบริเวณขอบและกลางหลุมแตกต่างกัน ขณะที่ถ้าเป็น PFU ขนาดใหญ่จะใช้ค่าขีดเริ่มเปลี่ยนเดียวกันทั้งหลุม ปัญหาเรื่องสีย้อมที่ต่างกันถูกแก้โดยใช้ผลต่างของสองช่องสัญญาณในปริภูมิสี CIE-XYZ ที่มีการถ่วงน้ำหนักให้ความสว่างของพื้นหลังเท่ากัน การแบ่งพื้นที่ของ PFU ที่ติดกันประกอบด้วยสองส่วนคือ กระบวนการวิธีสันปันน้ำร่วมกับการแปลงระยะทางและการใช้เกณฑ์ขนาดร่วมกับการขยายของจุดศูนย์กลางที่ได้จากภาพการแปลงระยะทางเป็นวงกลม จากการทดลองพบว่าเมื่อปรับค่าถ่วงน้ำหนักให้เหมาะสมแล้ว กรรมวิธีที่นำเสนอสามารถนับ PFU ผิดพลาดน้อยกว่าร้อยละ 10 สำหรับ PFU ที่เป็นสีขาว มีขอบราบเรียบและไม่มีรูตรงกลาง จึงสามารถนำมาใช้กับ PFU ของไวรัสไข้เลือดออก ไวรัสไข้ปวดข้อยุงลายและไวรัสไข้สมองอักเสบ การนับจะได้ผลผิดพลาดมากขึ้นสำหรับ PFU ที่มีสีชมพูปะปน เช่น ไวรัสไข้ซิก้าและ PFU ที่มีขอบฟุ้ง เช่น PFU ของไวรัสโคโรนา