Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

PDF

Chulalongkorn University

Journal

2014

Keyword

Articles 61 - 81 of 81

Full-Text Articles in Education

The Application Of Thai Folk Games In Critical Reflection To Sustain Self-Care For Chronically Ill People In A Philanthropic Primary Health Care Unit, Prasak Santiparp, Suwithida Charungkiatkul, Kiatiwan Amatayakul Jan 2014

The Application Of Thai Folk Games In Critical Reflection To Sustain Self-Care For Chronically Ill People In A Philanthropic Primary Health Care Unit, Prasak Santiparp, Suwithida Charungkiatkul, Kiatiwan Amatayakul

Journal of Education Studies

The purpose of this study was to develop a sustainable self-care program for chronically ill persons, who practiced self-care through attitude transformation. There were 2 phases of the study: phase 1 developed a sustainable self-care program from a literature review. Phase 2 was the experimental study of the intervention?s effects which comprised 12 weekly hour-long sessions. We collected data of self-care knowledge, attitudes, self-care practices and drug use of participants through personal interviews at baseline and 12 weeks later, which were analyzed by t-test, controlled for age, gender, and socioeconomic status. The results showed that Boone?s non-formal educational conceptual model …


The Development Of A Program To Enhance Self-Esteem And Social Skills Of Non-Formal Education Students, Hongfah Theerawongnukul, Archanya Ratana-Ubol, Ying Keeratiburana Jan 2014

The Development Of A Program To Enhance Self-Esteem And Social Skills Of Non-Formal Education Students, Hongfah Theerawongnukul, Archanya Ratana-Ubol, Ying Keeratiburana

Journal of Education Studies

The study aimed to: 1) analyze situations in terms of problems and needs in enhancing the self-esteem and social skills for non-formal education students, 2) develop and implement the program, and 3) study the relevant factors that support and limit the implementation of the program. The research and development design was divided into 4 phases: 1) Planning, by survey research, using interviews to collect information from administrators and teachers and using questionnaires to collect information from 396 non-formal education students in the Bangkok area; 2) Design of a planned program and program Implementation: the nature of the proposed research was …


แนวทางการพัฒนาศักยภาพของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ด้วยกระบวนการจัดการความรู้เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างท้องที่กับท้องถิ่นในการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง, พชรภัทร พึงรำพรรณ, จรูญศรี มาดิลกโกวิท Jan 2014

แนวทางการพัฒนาศักยภาพของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ด้วยกระบวนการจัดการความรู้เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างท้องที่กับท้องถิ่นในการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง, พชรภัทร พึงรำพรรณ, จรูญศรี มาดิลกโกวิท

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาบทบาท ลักษณะและรูปแบบ ความร่วมมือของกำนันผู้ใหญ่บ้านในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างท้องที่กับท้องถิ่นเพื่อพัฒนา ความเข้มแข็งของชุมชน ตลอดจนปัจจัยเงื่อนไขในการส่งเสริมความร่วมมือ ๒) เพื่อวิเคราะห์การจัดการความรู้ของกำนันผู้ใหญ่บ้านในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างท้องที่กับท้องถิ่นเพื่อพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชน ผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญประกอบด้วย ๑) ผู้บังคับบัญชา/กำกับดูแล ระดับอำเภอ จำนวน ๑๒ คน ๒) ผู้บริหาร/สมาชิกสภา และข้าราชการ/ลูกจ้างองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน ๒๐ คน ๓) กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จำนวน ๑๒ คน ๔) ผู้นำชุมชน/ผู้นำกลุ่มกิจกรรมต่างๆ จำนวน ๘ คน วิธีดำเนินการวิจัยใช้การศึกษาเอกสาร การสังเกตุแบบไม่มีส่วนร่วมและมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า ๑) บทบาทความร่วมมือระหว่างท้องที่และท้องถิ่นเป็นบทบาทอย่างเป็นทางการตามที่กฎหมายระบุไว้ให้ทำร่วมกัน และบทบาทอย่างไม่เป็นทางการที่พึงปฏิบัติร่วมกันเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชน ลักษณะความร่วมมือ ได้แก่ การวางแผน การลงมือปฏิบัติ และการติดตาม ประเมินผล โดยรูปแบบความร่วมมือ ประกอบด้วย รูปแบบการวางแผนการจัดตั้งกลุ่ม/กิจกรรม รูปแบบ การลงมือปฏิบัติหรือการขับเคลื่อน รูปแบบการติดตามส่งเสริมสนับสนุนหรือการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ๒) การจัดการความรู้ในการส่งเสริมความร่วมมือ ประกอบด้วย การแสวงหาความรู้ การสร้างความรู้ การจัด เก็บความรู้ การนำความรู้ไปใช้ และการเรียนรู้และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งทั้งหมดมีความจำเป็นต่อการส่งเสริมความรู้ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในการนำมาพัฒนาศักยภาพของตน เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกับ ท้องถิ่นในการพัฒนาชุมชนให้เกิดความเข้มแข็ง


แนะนำหนังสือ, ชยุตม์ ภิรมย์สมบัติ Jan 2014

แนะนำหนังสือ, ชยุตม์ ภิรมย์สมบัติ

Journal of Education Studies

No abstract provided.


The Development Of Competency-Based Performance Assessment Model To Develop Employees In The Security Industry, Piraphat Wansangkaew, Sakarin Yuphong, Akkarat Poolkrajang, Panpetch Chininthorn Jan 2014

The Development Of Competency-Based Performance Assessment Model To Develop Employees In The Security Industry, Piraphat Wansangkaew, Sakarin Yuphong, Akkarat Poolkrajang, Panpetch Chininthorn

Journal of Education Studies

The purpose of this research was to develop a competency-based performance assessment model to develop employees in the security industry. The sample of this study was 26 security officers who worked in factories in Bangkok and vicinity. The purposive selection method was applied in the research and the research tools were a knowledge assessment form, performance assessment form (skills), and behavior assessment form. The statistics used in this research were mean, percentage, standard deviation, index of item-objective congruence: IOC, and content validity index: CVI. The research results revealed that the experts? opinions regarding the development of the competency-based performance assessment …


The Development Of A Program To Enhance Personal Financial Management Knowledge, Understanding, And Skills For Middle-Aged Adults, Kanidtha Vidthayanon, Worarat Pathumcharoenwattana, Patrapon Mahakhan Jan 2014

The Development Of A Program To Enhance Personal Financial Management Knowledge, Understanding, And Skills For Middle-Aged Adults, Kanidtha Vidthayanon, Worarat Pathumcharoenwattana, Patrapon Mahakhan

Journal of Education Studies

The four objectives of the development of a non-formal education program to enhance personal financial management knowledge, understanding and skills for middle-aged adults are to: 1) study the stage, problem, and learning needs in personal financial management for middle-aged adults; 2) develop a non-formal education program to enhance the knowledge, understanding and skills of personal financial management for middle-aged adults; 3) study the results and effects of the non-formal education program that will enhance the knowledge, understanding and skills of personal financial management for middle-aged adults; and 4) analyze the success factors and obstacles that will affect the use of …


คิดนอกกรอบ, บุษกร เลิศวีระศิริกุล Jan 2014

คิดนอกกรอบ, บุษกร เลิศวีระศิริกุล

Journal of Education Studies

No abstract provided.


โอสถวิถีไทย: การพึ่งพาตนเองเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน, อาทิชา วงศ์สุวรรณ, กรรณิการ์ สัจกุล Jan 2014

โอสถวิถีไทย: การพึ่งพาตนเองเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน, อาทิชา วงศ์สุวรรณ, กรรณิการ์ สัจกุล

Journal of Education Studies

การศึกษาโอสถวิถีไทย: การพึ่งพาตนเองเพี่อการพัฒนาที่ยั่งยืนมีความมุ่งหมายเพี่อแสดงให้เห็น แนวทางในการเปิดพื้นที่ให้โอสถวิถีไทยในสังคมไทยให้มีการสืบทอดและนำไปสู่การพี่งพาตนเองและการ พัฒนาที่ยั่งยืนแทนการพัฒนาไปสู่ความทันสมัยซึ่งนอกจากส่งผลต่อสภาพแวดล้อมและวิถีชีวิตแล้วยัง มีผลต่อกระบวนทัศน์การแพทยในปัจจุบันที่มีวิธีีการคิดแบบวิทยาศาสตร์เชิงประจักษ์ ในขณะที่โอสถวิถี ไทยเน้นการรักษาด้วยการเชื่อมโยงมนุษย์ สังคม สิ่งแวดล้อม เข้าด้วยกันอย่างสมดุล ที่สำคัญการดูแล สุขภาพจะเป็นทั้งการดูแลวิถีชีวิตและวิธีคิดของมนุษย์ควบคู่กัน ทำให้คุณค่าของโอสถวิถีไทยมีหลายมิติ โดยเฉพาะคุณค่าบนรากฐานวัฒนธรรม และนำไปสู่คุณค่าในการหล่อเลี้ยงชีวิตให้เติบโต โดยที่ชุมชน สามารถตอบปัจจัยสีได้เอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพี่งตนเองได้ทั้งอาหารและยา นอกจากนี้ยังมีคุณค่า ของความเป็นเอกลักษณ์ไทย ภูมิปัญญาของชาติ เช่น ยาและอาหารพื้นบ้านเป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดกัน มาอย่างมีเหตุมีผลอยู่ในตัวเอง สิ่งเหล่านี้นับว่าเป็นองค์ความรู้ที่ส่งผ่านมาหลายชั่วอายุคน ดังนั้นการ สืบทอดองค์ความรู้ว่าด้วยโอสถวิถีไทยไว้เพี่อเป็นฐานความรู้ ฐานทรัพยากรให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา และ ได้นำไปใช้เพี่อการพี่งตนเองตลอดจนการนำไปพัฒนาต่อไปจงเป็นเรึ่องสำคัญยิ่งโดยการสืบทอดโอสถวิถีไทยจะสำเร็จได้ด้วยการศึกษาและการสืบทอดผ่านวิถีชีวิต นอกจากนี้ยังเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนที่เหมาะสมกับสังคมและวัฒนธรรมของไทยที่สุด


จับกระแสการศึกษาโลก, ศรีไพร โชติจิรวัฒนา Jan 2014

จับกระแสการศึกษาโลก, ศรีไพร โชติจิรวัฒนา

Journal of Education Studies

No abstract provided.


เปิดประเด็น, สิวะโชติ ศรีสุทธิยากร Jan 2014

เปิดประเด็น, สิวะโชติ ศรีสุทธิยากร

Journal of Education Studies

No abstract provided.


เปิดประเด็น, ใจทิพย์ ณ สงขลา Jan 2014

เปิดประเด็น, ใจทิพย์ ณ สงขลา

Journal of Education Studies

No abstract provided.


การพัฒนากลยุทธ์การบริหารเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก, พัชรินทร์ จันทาพูน, ปิยะพงษ์ สุเมตติกุล Jan 2014

การพัฒนากลยุทธ์การบริหารเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก, พัชรินทร์ จันทาพูน, ปิยะพงษ์ สุเมตติกุล

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพี่อ ๑) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การบริหารเครือข่ายความร่วมมือเพี่อการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก และ ๒) พัฒนากลยุทธ์การบริหารเครือข่ายความร่วมมือเพี่อการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานเก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่าง ๓๙๐โรงเรียนเครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยายและวิเคราะห์ ลำดับความต้องการจำเป็นด้วยเทคนิค PNI Modified และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์โรงเรียนขนาดเล็กดีเด่น จำนวน ๔ โรงเรียน เครื่องมีอที่ใช้คือแบบสัมภาษณ์ โดยกำหนดกลยุทธ์จากตาราง SWOT Matrix ตรวจสอบกลยุทธ์โดยการประเมินและการเสวนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ จำนวน ๑๘ คน ผลการวิจัยพบว่า ๑) สภาพปัจจุบันของการบริหารเครือข่ายความร่วมมือเพี่อการพัฒนา โรงเรียนขนาดเล็กโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยของระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (X = 3.92) สภาพที่ พึงประสงค์ของการบริหารเครือข่ายความร่วมมือเพี่อการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยของระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (X = 3.95) และค่าดัชนีความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหาร เครือข่ายความร่วมมือเพี่อการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กโดยภาพรวมมีค่า PNI Modified = 0.28 ๒) กลยุทธ์การบริหารเครือข่ายความร่วมมือเพี่อการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก ประกอบด้วย ๓ กลยุทธ์หลัก คือ (๑) กลยุทธ์กระตุ้นการก่อตั้งเครือข่ายความร่วมมือ (๒) กลยุทธ์พัฒนาการดำเนินงานของเครือข่าย ความร่วมมือ และ (๓) กลยุทธ์การประเมินผลและการปรับปรุงงานของเครือข่ายความร่วมมือ


กระบวนการสร้างสรรค์ละคร: เครื่องมือการเรียนรู้วิถีประชาธิปไตยของเยาวชน, กุสุมา เทพรักษ์, อุบลวรรณ หงษ์วิทยากร Jan 2014

กระบวนการสร้างสรรค์ละคร: เครื่องมือการเรียนรู้วิถีประชาธิปไตยของเยาวชน, กุสุมา เทพรักษ์, อุบลวรรณ หงษ์วิทยากร

Journal of Education Studies

การพัฒนาเยาวชนเพี่อให้มีวิถีประชาธิปไตยนั้นควรจัดขึ้นสำหรับเยาวชนอายุระหว่าง ๑๔-๑๘ ปี เพราะเป็นช่วงที่มีการพัฒนาความคิดทางการเมืองที่เป็นนามธรรม และสามารถคิดเชิงซับช้อนได้ ประกอบกับเป็นวัยที่กำลังหาความหมายให้กับชิวิตและกำลังก่อร่างตัวตน (Identity) จึงต้องการการแสดงออก และต้องการการยอมรับจากสังคมสูง กระบวนการที่จะใช้พัฒนาวิถีประชาธิปไตยนั้นสอดคล้องกับ ทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนว Constructivism ที่เน้นให้ผู้เรียนรู้สร้างความรู้ด้วยตนเองจากการลงมือทำ จึงทำให้เกิดคุณลักษณะคิดเป็น ทำเป็น เน้นการพัฒนาการคิดและจิตสำนึกผ่านกระบวนการกลุ่มที่มี การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การมีส่วนร่วมในการทำงาน โดยใช้กระบวนการสร้างสรรค์ละครของเยาวชน ทั้งขั้นเตรียมการแสดง การแสดง และการประเมินผลหลังการแสดง เป็นเครี่องมีอที่ใช้เพี่อให้เกิดการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การแสดงความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น การเอาใจเขามาใส่ใจเรา การคิด การเผชิญปัญหา ความรับผิดชอบ และอื่นๆ อีกมากมาย อันนำไปสู่การพัฒนาเยาวชนให้เกิดการ เรียนรู้วิถีประชาธิปไตยได้ในที่สุด


ประสิทธิภาพของการประมาณค่าพารามิเตอร์แบบสุ่มข้อสอบสำหรับโมเดลการตอบสนองข้อสอบ ๑ พารามิเตอร์, ทิพวัลย์ ปัญจมะวัต, ศิริชัย กาญจนวาสี, ชูศักดิ์ ขัมภลิขิต Jan 2014

ประสิทธิภาพของการประมาณค่าพารามิเตอร์แบบสุ่มข้อสอบสำหรับโมเดลการตอบสนองข้อสอบ ๑ พารามิเตอร์, ทิพวัลย์ ปัญจมะวัต, ศิริชัย กาญจนวาสี, ชูศักดิ์ ขัมภลิขิต

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาประสิทธิภาพการประมาณค่าพารามิเตอร์ผู้สอบสำหรับโมเดลการตอบสนองข้อสอบ ๑ พารามิเตอร์ด้วยข้อมูลจำลอง และศึกษาความสอดคล้องกลมกลืนระหว่างโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ระหว่างการประมาณค่าด้วยโมเดลประมาณค่าพารามิเตอร์แบบอิทธิพล เจาะจงข้อสอบกับแบบอิทธิพลสุ่มข้อสอบ ๓ รูปแบบ คือ สุ่มผู้สอบ-เจาะจงข้อสอบ (RPFI), เจาะจงผู้สอบ-สุ่มข้อสอบ (FPRI) และสุ่มผู้สอบ-สุ่มข้อสอบ (RPRI) ข้อมูลจำลองจากโปรแกรม R และประมวลผลด้วยโปรแกรม WinBUGS ด้วยการเชื่อมโยงผ่านคำสั่ง R2WinBUGS package การจำลองข้อมูล ทั้งหมด ๔๘ เงื่อนไข (๔x๓x๔) ประกอบด้วย ลักษณะการแจกแจงก่อนหน้าของความยากข้อสอบ ๔ แบบ ความยาวของแบบทดสอบ ๓ ระดับ และจำนวนผู้สอบ ๔ ขนาดประสิทธิภาพของการประมาณค่า พารามิเตอร์ผู้สอบด้วยข้อมูลจำลองพิจารณาจากความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ และค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนกำลังสอง และความสอดคล้องกลมกลืนระหว่างโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์จากผลการสอบ O-Net วิชาภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และภาษาไทย ปีการศึกษา ๒๕๕๓ ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ ๖ พิจารณาจากค่าสถิติ Akaike Criterion (AIC) ผลการวิจัยพบว่า ๑)โมเดลการประมาณค่าพารามิเตอร์ผู้สอบรูปแบบ FPRI มีประสิทธิภาพใน การประมาณค่าสูงทื่สุด รองลงมาคือ RPFI และ RPRI ตามลำดับ ๒)โมเดลการประมาณค่าพารามิเตอร์ ผู้สอบรูปแบบ FPRI มีค่า AIC ตํ่าที่สุดทั้ง ๓ รายวิชาและในกลุ่มตัวอย่างทุกขนาดรองลงมาคือ RPFI และ RPRI ตามลำดับ


ยุทธศาสตร์การบริหารสถาบันอุดมศึกษาไทยเพื่อส่งเสริมประชาคมอาเซียน, สุนทรี วรรณไพเราะ, ปิยะพงษ์ สุเมตติกุล Jan 2014

ยุทธศาสตร์การบริหารสถาบันอุดมศึกษาไทยเพื่อส่งเสริมประชาคมอาเซียน, สุนทรี วรรณไพเราะ, ปิยะพงษ์ สุเมตติกุล

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหาร สถาบันอุดมศึกษาไทยเพื่อส่งเสริมประชาคมอาเซียน ๒) ศึกษายุทธศาสตร์การบริหารสถาบันอุดมศึกษา เพื่อส่งเสริมประชาคมอาเซียนของสถาบันอุดมศึกษาไทยที่มีความเป็นเลิศ และ ๓) เพื่อพัฒนายุทธศาสตร์ การบริหารสถาบันอุดมศึกษาไทยเพื่อส่งเสริมประชาคมอาเซียน ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน ประชากร และกลุ่มตัวอย่างคือสถาบันอุดมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จำนวน ๑๔๘ สถาบัน และสถาบันอุดมศึกษาไทยที่ประสบความสำเร็จในระดับภูมิภาคเอเชียจำนวน ๙ สถาบัน เครื่องมีอใน การวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย และเทคนิค PNI ประเมินและตรวจสอบยุทธศาสตร์โดยผู้เชี่ยวชาญ ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันของการบริหารสถาบันอุดมศึกษาไทยเพื่อส่งเสริมประชาคม อาเซียน โดยรวมอยู่ในระดับน้อย (? = 2.25) สภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารสถาบันอุดมศึกษาไทย เพื่อส่งเสริมประชาคมอาเชี่ยนโดยรวมอยู่ในระดับมาก (? = 3.74) ค่าดัชนีความต้องการจำเป็นของการ บริหารสถาบันอุดมศึกษาไทยเพื่อส่งเสริมประชาคมมีค่าเฉลี่ย PNI = 6.19 การบริหารสถาบันอุดมศึกษา ไทยเพื่อส่งเสริมประชาคมอาเซียน มี ๔ ยุทธ์ศาสตร์ คือ ๑) ยุทธ์ศาสตร์การพัฒนาบัณฑิตสู่สากล ๒) ยุทธศาสตร์การส่งเสริมความเป็นนานาชาติของสถาบันอุดมศึกษา ๓) ยุทธศาสตร์การพัฒนาเครือข่าย การวิจัยด้านอาเซียน ๔) ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบสารสนเทศด้านอาเซี่ยนเพื่อการบริการประชาชน


รูปแบบการพัฒนาการปฏิบัติงานของผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา, นภกมล ใจชอบสันเทียะ, วลัยพร ศิริภิรมย์, บุญมี เณรยอด Jan 2014

รูปแบบการพัฒนาการปฏิบัติงานของผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา, นภกมล ใจชอบสันเทียะ, วลัยพร ศิริภิรมย์, บุญมี เณรยอด

Journal of Education Studies

วัตถุประสงค์การวิจัย ๑) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาการปฏิบัติงานของผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ๒) พัฒนารูปแบบการพัฒนาการปฏิบัติงานของผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา วิธีดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย ๔ ขั้นตอนคือ (๑) กำหนดกรอบแนวคิด การวิจัย (๒) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาการปฏิบัติงานของผู้อำนวยการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (๓) พัฒนารูปแบบการพัฒนาการปฏิบัติงานของผู้อำนวยการสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษา (๔) ตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ ผลการวิจัยพบว่า ๑) สภาพปัจจุบันของการพัฒนาการปฏิบัติงานของผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตามแนว HPE โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากและเมื่อพิจารณาเป็น รายด้าน พบว่า ส่วนใหญ่มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ยกเว้นด้านบทบาทของฝ่ายฝึกอบรมและพัฒนามีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์การพัฒนาการปฏิบัติงานของผู้อำนวยการสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ๒) รูปแบบการพัฒนาการปฏิบัติงานของผู้อำนวยการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประกอบด้วย (๑) รายละเอียดของรูปแบบ ได้แก่ ชี่อรูปแบบ จุดเน้นของ รูปแบบ เป็นทักษะของบุคลากรฝ่ายฝึกอบรมและพัฒนาตามแนว HPE บทบาทของฝ่ายฝึกอบรมและพัฒนาเป็นผู้ช่วยเหลือวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาการปฏิบัติงาน วิธีีการทำงานของฝ่ายฝึกอบรมและพัฒนาคำนึงถึงช่องว่างระหว่างปัจจุบันและอนาคตหรือสิ่งที่จะต้องพัฒนา ลักษณะสำคัญของรูปแบบ การพัฒนาการปฏิบัติงานมี ๘ ด้าน (๒) แนวทางการนำรูปแบบไปใช้ และจากการประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิ รูปแบบมีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้ของการนำไปใช้อยู่ในระดับมาก


การพัฒนาระบบการเสริมพลังอำนาจการถ่ายโอนความรู้ในคณะแพทยศาสตร์สู่การเป็นองค์กรแห่งความชาญฉลาด, จิรสิทธิ์ เมฆวิชัย, พันธศักดิ์ พลสารัมย์, ปทีป เมธาคุณวุฒิ Jan 2014

การพัฒนาระบบการเสริมพลังอำนาจการถ่ายโอนความรู้ในคณะแพทยศาสตร์สู่การเป็นองค์กรแห่งความชาญฉลาด, จิรสิทธิ์ เมฆวิชัย, พันธศักดิ์ พลสารัมย์, ปทีป เมธาคุณวุฒิ

Journal of Education Studies

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพี่อศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาและปัจจัยความสำเร็จของการเสริมพลังอำนาจของการถ่ายโอนความรู้เพี่อพัฒนาระบบการเสริมพลังอำนาจของการถ่ายโอนความรู้ในคณะ แพทยศาสตร์สู่การเป็นองค์กรแห่งความชาญฉลาดซึ่งผลของการวิจัยนี้ได้จากการนำผลการศึกษาวิจัยในผู้บริหารและบุคลากรในคณะแพทยศาสตร์ของรัฐและในกำกับของรัฐจำนวน ๑๒ สถาบันเพี่อสร้างองค์ความรู้แนวคิดวิธีการกลไกหรือระบบการทำงานขององค์กร/ทีมงานตลอดจนการวิเคราะห์ความรู้ที่ ฝังลึกของบุคลากรในการพัฒนาคุณภาพเพี่อเพี่มประสิทธิภาพในการจัดการความรู้โดยเฉพาะในกระบวนเสริมพลังอำนาจการถ่ายโอนความรู้ให้เกิดความรู้ความเข้าใจ และการนำไปปฏิบัติได้จริง อันก่อให้เกิด ประโยชน์ต่อตนเองและประสิทธิผลต่อองค์กรในการนำลงสู่ปฏิบัติให้เกิดประโยชน์กับชุมชนนักปฏิบัติของ สหวิชาชีพ และแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศ ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยความสำเร็จและระบบการเสริมพลังอำนาจการถ่ายโอนความรู้ประกอบด้วย ๑) ปัจจัยนำเข้า คือ ภาวะผู้นำและวัฒนธรรมองค์กรที่ดี ๒) การจัดการกระบวนการที่เหมาะสมและ ๓) ผลลัพธ์/ผลผลิตที่ทำให้เกิดนวัตกรรมที่สร้างสรรค์


มุมห้องเรียน, บุษกร เลิศวีระศิริกุล Jan 2014

มุมห้องเรียน, บุษกร เลิศวีระศิริกุล

Journal of Education Studies

No abstract provided.


ทิศทางการเปิดหลักสูตรนานาชาติของคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เฟื่องอรุณ ปรีดีดิลก Jan 2014

ทิศทางการเปิดหลักสูตรนานาชาติของคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เฟื่องอรุณ ปรีดีดิลก

Journal of Education Studies

การวิจัยเรื่อง ทิศทางการเปิดหลักสูตรนานาชาติของคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีวัตถุประสงค์คือ ๑) เพื่อศึกษาความพร้อมในการเปิดหลักสูตรนานาชาติของคณะครุศาสตร์ ๒) เพื่อ วิเคราะห์ความต้องการของกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการศึกษาในหลักสูตรนานาชาติของคณะครุศาสตร์ และ ๓) เพื่อนำเสนอทิศทางในการเปิดหลักสูตรนานาชาติของคณะครุศาสตร์ วิธีดำเนินการวิจัยใช้การวิจัย เอกสารและการวิจัยเชิงสำรวจ ผลการวิจัยพบว่า คณาจารย์และเจ้าหน้าที่เห็นว่า คณะครุศาลตร์มี ความพร้อมด้านวิชาการระดับมาก ด้านบุคลากร ด้านกายภาพ ด้านวัสดุ อุปกรณ์และสิ่งอำนวย ความสะดวก และด้านอื่นๆ ระดับปานกลาง ผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมพบว่าคณะครุศาสตร์มี จุดแข็งได้แก่ มีชื่อเสียงในระดับประเทศและระดับนานาชาติ จุดอ่อนได้แก่ ขาดแคลนเจ้าหน้าที่ที่สามารถ สื่อสารเป็นภาษาอังกฤษโอกาสได้แก่ นโยบายการเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาของรัฐบาล และอุปสรรค ได้แก่ คณาจารย์และบุคลากรมีภาระงานประจำมาก กลุ่มเป้าหมายต้องการศึกษาในระดับปริญญาโท มากที่สุด สาขาวิชาที่สนใจมากที่สุด คือ บริหารการศึกษา สำหรับทิศทางการเปิดหลักสูตรนานาชาตินั้น คณะฯ มีเป้าหมายเพื่อสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการและสร้างเครือข่ายทางวิชาการในระดับนานาชาติ รวมทั้งเพื่อพัฒนาเยาวชนที่เข้ามาศึกษาให้พร้อมที่จะเป็นพลเมืองของชาติ ภูมิภาค และโลกในศตวรรษ ที่ ๒๑


Proposed Guidelines For Organizing Non-Formal Education To Enhance Career Development For Unskilled Workers In The Kingdom Of Cambodia, Somanita Kheang, Archanya Ratana-Ubol Jan 2014

Proposed Guidelines For Organizing Non-Formal Education To Enhance Career Development For Unskilled Workers In The Kingdom Of Cambodia, Somanita Kheang, Archanya Ratana-Ubol

Journal of Education Studies

The purposes of this research were 1) to analyze and compare the career development in Cambodia with those in Thailand and the United States focusing on curriculum, teacher training and management; and 2) to propose appropriate guidelines for organizing non-formal education to enhance career development for unskilled workers in Cambodia. The research used the analysis form, survey form and the guidelines for in-depth interview with selected experts from the Department of Non-Formal Education in Cambodia, University of Cambodia and the National Institute of Education. The samples were 400 unskilled workers in Phnom Penh, Cambodia, of whom 150 worked in manufacturing, …


คดีทางปกครองที่เกี่ยวข้องกับครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา, ชนิตา รักษ์พลเมือง Jan 2014

คดีทางปกครองที่เกี่ยวข้องกับครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา, ชนิตา รักษ์พลเมือง

Journal of Education Studies

งานวิจัยเรื่องนี้เป็นการศึกษาคำสั่ง/คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่เกี่ยวข้องกับครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งมีการเผยแพร่ในช่วง พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๕๒ โดยมีวัตถุประสงค์ เพี่อวิเคราะห์สภาพ ปัญหาในการฟ้องคดี รวมทั้งแนวการพิจารณาและหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ผู้วิจัยใช้การวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่านับตั้งแต่ศาลปกครองกลางและ ศาลปกครองสูงสุดเปิดทำการเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๔๔ จนถึงสิ้นปี ๒๕๕๒ กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานระดับกระทรวงที่ถูกฟ้องคดีปกครองมากเป็นอันดับสองรองจากกระทรวงมหาดไทย เมึ่อวิเคราะห์คดีดังกล่าวเพี่อจำแนกคดีที่เกี่ยวข้องกับครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา พบว่ามีจำนวนคดีที่ยื่นต่อศาลปกครองสูงสุดมากขึ้นตามลำดับในแต่ละปี ในช่วงแรกสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานถูกยื่นฟ้องมากที่สุด แต่หลังจาก พ.ศ. ๒๔๔๗ สำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษาเป็นหน่วยงานที่ถูกยื่นฟ้องมากที่สุด อย่างไรก็ตามน่าสังเกตุว่าคดีดังกล่าว ส่วนใหญ่ (ร้อยละ ๖๓.๔๔) ศาลจะไม่รับฟ้อง โดยมีเหตุผลจากเงื่อนไขการเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดี โดยเฉพาะ กรณีผู้ฟ้องคดีไม่ใช่ผู้ได้รับความเดีอดร้อนหรือเสียหายมากที่สุดรองลงมาเป็นเงื่อนไขเกี่ยวกับระยะเวลา การฟ้องคดี และการไม่ได้ปฏิบัติตามขั้นตอนหรือวิธีการแก้ไขความเดือดร้อนก่อนฟ้องโดยเฉพาะ กรณีไม่ได้ยื่นอุทรรณ์หรือร้องทุกข์ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายเฉพาะ เช่น พระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๔๔๗ สำหรับประเด็นข้อพิพาท ผู้วิจัยได้ศึกษา แนวทางการพิจารณาคดีที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุศศลและวินัย การบริหารงานวิชาการ สิทธิประโยชน์และสวัสดิการ โดยสรุปจะเห็นว่าแนวใน้มของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ จะมีคดีที่ถูกยื่นฟ้องเพิ่มมากขึ้นแต่ส่วนใหญ่ศาลไม่รับฟ้อง และเมื่อวิเคราะห์แนวทางการพิจารณาคดี และกระบวนการดำเนินคดีทางปกครองประกอบด้วยแล้วสะท้อนให้เห็นว่าทั้งหน่วยงานและครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษายังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายต่างๆ ที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน และกระบวนการพิจารณาของศาลปกครอง การให้ความรู้และอุทธาหรณ์คดีทางปกครองจึงมีความสำคัญ ต่อการปฏิบัติงานราชการ และเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานของรัฐในการวางระบบการทางานที่เหมาะสม ตามวิธีปฏิบัติราชการที่ดี