Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Educational Assessment, Evaluation, and Research

Theses/Dissertations

Chulalongkorn University

Articles 121 - 128 of 128

Full-Text Articles in Education

การพัฒนาระบบวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในวิชาเคมีโดยใช้แบบสอบวินิจฉัยสามระดับร่วมกับการสะท้อนข้อมูลย้อนกลับด้วยคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4, สุรเดช อนันตสวัสดิ์ Jan 2017

การพัฒนาระบบวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในวิชาเคมีโดยใช้แบบสอบวินิจฉัยสามระดับร่วมกับการสะท้อนข้อมูลย้อนกลับด้วยคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4, สุรเดช อนันตสวัสดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) สำรวจมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในวิชาเคมีเรื่องพันธะเคมีของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) พัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของแบบสอบวินิจฉัยสามระดับในวิชาเคมี 3) พัฒนาระบบวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในวิชาเคมีโดยใช้แบบสอบวินิจฉัยสามระดับร่วมกับการสะท้อนข้อมูลย้อนกลับด้วยคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 4) ตรวจสอบคุณภาพระบบฯ โดยแบ่งการดำเนินงานของเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การสำรวจมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อน ระยะที่ 2 การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพระบบฯ ระยะที่ 3 การทดลองใช้และประเมินความพึงพอใจระบบฯ ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 200 คน สำหรับใช้ในการทดลองระบบฯ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์ แบบสอบวินิจฉัยสองระดับ แบบสอบวินิจฉัยสามระดับ ระบบวินิจฉัย แบบประเมินคุณภาพระบบฯ และแบบประเมินความพึงพอใจต่อระบบฯ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติบรรยาย ได้แก่ ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความยาก อำนาจจำแนก ตามทฤษฎีแบบดั้งเดิมและตามทฤษฎีแนวใหม่(IRT) การวิเคราะห์ความเที่ยง และความตรงตามเกณฑ์สัมพันธ์โดยใช้สถิติแคปปา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผลการสำรวจมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อน พบว่า นักเรียนมีมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนเรื่องพันธะเคมี จำนวน 40 มโนทัศน์ มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนมากที่สุดคือ สมการไอออนิกสุทธิเขียนได้เฉพาะเมื่อผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นเป็นตะกอนเท่านั้น 2. ผลการพัฒนาแบบสอบวินิจฉัยสามระดับ พบว่า แบบสอบวินิจฉัยสามระดับที่พัฒนาขึ้นมีคุณภาพผ่านเกณฑ์ตามทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม (CTT) และตามทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ (IRT) สามารถคัดเลือกเข้าสู่ระบบวินิจฉัยได้จำนวน 80 ข้อ จากแบบสอบวินิจฉัยจำนวน 90 ข้อ 3. ผลการพัฒนาระบบฯ พบว่า การออกแบบระบบฯ มีขั้นตอนทั้งสิ้น 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การออกแบบระบบการลงทะเบียน 2) การออกแบบลำดับของการแสดงข้อสอบและข้อมูลย้อนกลับ 3)การออกแบบหน้าจอของระบบ 4) การออกแบบรายงานผลการทดสอบ 5) การออกแบบคู่มือการใช้ระบบ และการทำงานของระบบมี 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การลงทะเบียนเข้าสู่ระบบทดสอบ 2) การดำเนินการทดสอบและ 3) การรายงานผลการทดสอบ 4. ผลการตรวจสอบคุณภาพระบบฯก่อนใช้งานจริง พบว่า …


การพัฒนาแบบวัดทักษะการเขียนเชิงวิเคราะห์สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, หทัยชนก กูรมะสุวรรณ Jan 2017

การพัฒนาแบบวัดทักษะการเขียนเชิงวิเคราะห์สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, หทัยชนก กูรมะสุวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแบบวัดทักษะการเขียนเชิงวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 2) เพื่อตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดการเขียนเชิงวิเคราะห์สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่พัฒนาขึ้น ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียน โพธิสารพิทยากร รวมทั้งหมด 180 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1) แบบวัดทักษะ การเขียนเชิงวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 2) เกณฑ์การประเมินสำหรับผู้ตรวจ ตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดด้วยการวิเคราะห์ ค่าสถิติพื้นฐาน ความตรงเชิงโครงสร้างด้วยเทคนิคกลุ่มรู้ชัด ความเที่ยงของการตรวจให้คะแนนระหว่างผู้ตรวจ ความแปรปรวนร่วมแบบสองทาง และสัมประสิทธิ์ การสรุปอ้างอิงด้วยโปรแกรม SPSS และโปรแกรม EduG ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) แบบวัดทักษะการเขียนเชิงวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นมีลักษณะเป็นข้อสอบอัตนัย ประกอบด้วยองค์ประกอบจำนวน 7 องค์ประกอบ ได้แก่ เนื้อเรื่อง ลำดับความคิด กลไกภาษา ไวยากรณ์ การวิเคราะห์เนื้อหา การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ และการวิเคราะห์หลักการ แบบวัดประกอบด้วยข้อมูลจำนวน 4 ข้อมูล ข้อคำถาม 12 ข้อ ข้อละ 5 คะแนน รวม 60 คะแนน และเกณฑ์การประเมินสำหรับผู้ตรวจ แบบแยกองค์ประกอบ ให้คะแนนตามองค์ประกอบทักษะการคิดวิเคราะห์และองค์ประกอบทักษะการเขียน 2) คุณภาพของแบบวัดทักษะการเขียนเชิงวิเคราะห์สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น มีความตรงเชิงเนื้อหา ≥ 0.5 ทุกข้อ มีค่าความเที่ยงของการตรวจให้คะแนนระหว่างผู้ตรวจสูง (rxy= .962-.994) มีความตรงเชิงโครงสร้างจากเทคนิคกลุ่มรู้ชัด (F= .440, p= .645) 3) ความแปรปรวนของคะแนนระหว่างผู้สอบ ผู้ตรวจและข้อคำถาม มีผลต่อสัมประสิทธิ์การสรุปอ้างอิง มากที่สุด รวมถึงมีความแปรปรวนของคะแนนของผู้สอบ และ 4) แบบวัดทักษะการเขียนเชิงวิเคราะห์สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่ใช้ผู้ตรวจ 1 คน ข้อคำถามจำนวน 9 ข้อขึ้นไป และกรณีผู้ตรวจ 2 คน ข้อคำถามจำนวน 6 ข้อขึ้นไป มีค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงของคะแนนสำหรับนำไปใช้ตัดสินใจเชิงสัมพัทธ์ มากกว่า .70 และแบบวัดทักษะการเขียนเชิงวิเคราะห์สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่ใช้ผู้ตรวจ 1 คน ข้อคำถามจำนวน 12 …


การพัฒนาคุณลักษณะเฉพาะของข้อสอบและแบบสอบการรู้เคมีสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย, ณัฐพล สิทธิกุล Jan 2017

การพัฒนาคุณลักษณะเฉพาะของข้อสอบและแบบสอบการรู้เคมีสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย, ณัฐพล สิทธิกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของคุณลักษณะเฉพาะของข้อสอบและแบบสอบการรู้เคมี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และ 2) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของข้อสอบและแบบสอบการรู้เคมีสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายขั้นตอนในการวิจัย แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของคุณลักษณะเฉพาะของข้อสอบและแบบสอบการรู้เคมี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และ ระยะที่ 2 การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของข้อสอบและแบบสอบการรู้เคมี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 และ 2 จังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 600 คน เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบการรู้เคมีฯ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบประเมินคุณลักษณะเฉพาะของข้อสอบและแบบสอบฯ และแบบสอบการรู้เคมีฯ ทำการวิเคราะห์ความตรงเชิงเนื้อหา ค่าความยาก ค่าอำนาจจำแนก ความเที่ยงของแบบสอบ และความตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลการวัดการรู้เคมีสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) โดยใช้โปรแกรม SPSS โปรแกรม TAP และโปรแกรม LISREL ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของคุณลักษณะเฉพาะของข้อสอบและแบบสอบการรู้เคมี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย คุณลักษณะเฉพาะของข้อสอบและแบบสอบการรู้เคมีฯ ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย บทนำ คำชี้แจงในการใช้งาน วัตถุประสงค์ของการสอบ มโนทัศน์เกี่ยวกับการรู้เคมี องค์ประกอบการรู้เคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย หลักการสร้าง โครงสร้างของแบบสอบการรู้เคมี คุณลักษณะเฉพาะของข้อสอบการรู้เคมีฯ ตัวอย่างแบบสอบการรู้เคมีฯ และการแปลความหมายของคะแนน โดยมีผลการประเมินคุณภาพในด้านความถูกต้องในระดับมากที่สุด ด้านความเหมาะสมในระดับมาก ด้านความเป็นไปได้ในระดับมาก และผลการประเมินคุณภาพในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (Mean=4.44, SD=0.26) 2. แบบสอบการรู้เคมีสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย มีรูปแบบข้อสอบเป็นแบบเลือกตอบชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 25 ข้อ ครอบคลุมไปด้วย 4 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ ด้านความรู้ทางเคมี, ด้านบริบททางเคมี, ด้านทักษะการเรียนรู้ขั้นสูง และด้านเจตคติต่อเคมี โดยแบบสอบการรู้เคมีฯ มีความยากง่ายที่พอเหมาะ (มีค่าระหว่าง 0.292 - 0.790) สามารถจำแนกกลุ่มผู้สอบได้ดี (มีค่าตั้งแต่ 0.218 – 0.519) มีคุณภาพทั้งด้านความตรงเชิงเนื้อหา …


การพัฒนาระบบการทดสอบที่มีการให้ข้อมูลย้อนกลับทันทีโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์สำหรับผู้เรียนที่มีระดับความสามารถแตกต่างกัน: การประยุกต์ใช้โมเดลการตอบสนองข้อสอบแบบต่อเนื่องของราสซ์, จุฑาภรณ์ มาสันเทียะ Jan 2017

การพัฒนาระบบการทดสอบที่มีการให้ข้อมูลย้อนกลับทันทีโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์สำหรับผู้เรียนที่มีระดับความสามารถแตกต่างกัน: การประยุกต์ใช้โมเดลการตอบสนองข้อสอบแบบต่อเนื่องของราสซ์, จุฑาภรณ์ มาสันเทียะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาระบบการทดสอบที่มีการให้ข้อมูลย้อนกลับทันทีโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ (2) ศึกษาผลการใช้ระบบการทดสอบมีการให้ข้อมูลย้อนกลับทันทีโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ ระหว่างผู้เรียนที่มีระดับความสามารถและได้รับข้อมูลย้อนกลับแตกต่างกัน (3) ประเมินคุณภาพระบบการทดสอบที่มีการให้ข้อมูลย้อนกลับทันทีโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ และ (4) ปรับปรุงระบบการทดสอบที่มีการให้ข้อมูลย้อนกลับทันทีโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ จากโรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร จำนวน 7 โรงเรียน จำนวน 728 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบทดสอบและแบบประเมินซึ่งเป็นปัจจัยนำเข้าของระบบการทดสอบฯ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ 1) สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอบค่าเฉลี่ยของตัวอย่าง 2 กลุ่มแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทาง และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมแบบสองทาง โดยผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการออกแบบและพัฒนาของระบบการทดสอบประกอบด้วย (1) ด้านปัจจัยนำเข้า ประกอบด้วย 1) แบบทดสอบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางด้านพันธุศาสตร์ก่อนและหลังการทดสอบฯ 2) แบบประเมินตนเองด้านความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางด้านพันธุศาสตร์ก่อนและหลังการทดสอบฯ และ 3) แบบทดสอบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางด้านพันธุศาสตร์ที่มีการให้ข้อมูลย้อนกลับทันที (2) ด้านกระบวนการ ประกอบด้วย 3 กระบวนการ ดังนี้ 1) กระบวนการลงทะเบียน 2) กระบวนการทดสอบที่มีการให้ข้อมูลย้อนกลับทันทีโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ 3) กระบวนการประมวลผลการตอบ และ (3) ด้านผลลัพธ์ ประกอบด้วย 1) คะแนนความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางด้านพันธุศาสตร์ก่อนการทดสอบฯ 2) คะแนนความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางด้านพันธุศาสตร์หลังการทดสอบฯ 3) คะแนนความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาเมื่อได้รับข้อมูลย้อนกลับทันที 4) คะแนนการประเมินตนเองด้านความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางด้านพันธุศาสตร์ก่อนการทดสอบฯ และ 5) คะแนนการประเมินตนเองด้านความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางด้านพันธุศาสตร์หลังการทดสอบฯ 2. ผลการใช้ระบบการทดสอบที่มีการให้ข้อมูลย้อนกลับทันทีโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ภายหลังจากการปรับปรุงระบบฯพบว่า ผู้เรียนทุกระดับความสามารถมีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาหลังการทดสอบที่มีการให้ข้อมูลย้อนกลับทันทีสูงกว่าก่อนการทดสอบที่มีการให้ข้อมูลย้อนกลับทันทีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผู้เรียนที่มีระดับความสามารถต่ำมีความสามารถในการแก้โจทย์ฯเมื่อได้รับข้อมูลย้อนกลับแบบบางส่วนโดยใช้การชี้แนะ (PDF) สูงกว่ารูปแบบอื่น ขณะที่ผู้เรียนกลุ่มปานกลางมีความสามารถในการแก้โจทย์ฯเมื่อได้รับข้อมูลย้อนกลับแบบบางส่วนโดยใช้การชี้แนะ (PDF) และแบบบอกผลการตอบ (KORF) สูงกว่าแบบสมบูรณ์โดยใช้การยกตัวอย่าง (FWF) และผู้เรียนกลุ่มสูงมีความสามารถในการแก้โจทย์ฯเมื่อได้รับข้อมูลย้อนกลับแบบบอกผลการตอบ (KORF) สูงกว่าแบบสมบูรณ์โดยใช้การยกตัวอย่าง (FWF) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ …


การพัฒนาแบบวัดการรู้ทางการเมืองของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย, ภัทรสุดา แก้วโวหาร Jan 2017

การพัฒนาแบบวัดการรู้ทางการเมืองของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย, ภัทรสุดา แก้วโวหาร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้เป็นการพัฒนาแบบวัดการรู้ทางการเมืองของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อพัฒนาแบบวัดการรู้ทางการเมืองของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย 2) เพื่อวิเคราะห์คุณภาพแบบวัดการรู้ทางการเมืองของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย 3) เพื่อเปรียบเทียบการรู้ทางการเมืองของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสาธิตฯ กับ นักเรียนในโรงเรียนสังกัด สพฐ. กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย ปีการศึกษา 2560 โดยการสุ่ม กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 797 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบวัดการรู้ทางการเมือง เป็นแบบวัดหลายตัวเลือก ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์ค่าความเที่ยง การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ตัวประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาองค์ประกอบการรู้ทางการเมืองของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย พบว่า มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ความรู้ทางการเมือง ทักษะทางการเมือง และเจตคติทางการเมือง 2. ผลการวิเคราะห์ค่าความเที่ยงของแบบวัดการรู้ทางการเมืองของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย พบว่ามีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.82 ผลการตรวจสอบความตรงของโมเดลพบว่าโมเดลสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่า Chi-square = 108.24, df =83, p = .53, GFI = .98, AGFI = .96 RMR = .03, และ RMSEA = .02 3. ผลจากการทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนการรู้ทางการเมือง ของนักเรียนของโรงเรียนสาธิตฯ มีค่าเฉลี่ยการรู้ทางการเมืองด้านทักษะสูงที่สุด 5.93 ค่าเฉลี่ยด้านความรู้ 5.65 และค่าเฉลี่ยด้านเจตคติ 5.61 นักเรียนของโรงเรียนในสังกัด สพฐ. มีค่าเฉลี่ยการรู้ทางการเมืองด้านทักษะสูงที่สุด 4.75 ค่าเฉลี่ยด้านเจตคติ 4.34 และค่าเฉลี่ยด้านความรู้ 4.18 พบว่า นักเรียนของโรงเรียนสาธิตฯ มีค่าเฉลี่ยการรู้ทางการเมืองทุกด้านสูงกว่านักเรียนโรงเรียนในสังกัด สพฐ. อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การพัฒนาระบบการประเมินคุณภาพภายในที่เน้นการนำผลไปใช้พัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน: การประยุกต์ใช้การประเมินแบบเสริมพลัง, วรวรรณ สังสัพพันธ์ Jan 2017

การพัฒนาระบบการประเมินคุณภาพภายในที่เน้นการนำผลไปใช้พัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน: การประยุกต์ใช้การประเมินแบบเสริมพลัง, วรวรรณ สังสัพพันธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการประเมินคุณภาพภายในและการใช้ผลการประเมินคุณภาพภายในพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) พัฒนาระบบการประเมินคุณภาพภายในที่เน้นการนำผลไปใช้พัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยการประยุกต์ใช้การประเมินแบบเสริมพลัง 3) ทดลองใช้และประเมินคุณภาพของระบบการประเมินคุณภาพภายในที่เน้นการนำผลไปใช้พัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยการประยุกต์ใช้การประเมินแบบเสริมพลัง ผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา และครู จำนวน 55 คน รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและศึกษานิเทศก์ จำนวน 5 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านการประเมินและการประกันคุณภาพการศึกษาสำหรับการสนทนากลุ่ม จำนวน 8 คน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยและพัฒนาทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินความต้องการจำเป็น แนวคำถามในการสนทนากลุ่ม แบบประเมินคุณภาพของระบบ แบบประเมินคุณภาพของหลักสูตรอบรม แบบทดสอบความรู้และมโนทัศน์ในการประเมิน และแบบสำรวจรายการพฤติกรรมตามหลักการประเมินแบบเสริมพลัง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย การทดสอบทีและใช้เทคนิค PNImodified ในการจัดอันดับความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. สภาพการประเมินคุณภาพภายในและใช้ผลการประเมิน พบว่าการประเมินคุณภาพภายในเป็นหน้าที่หลักของผู้บริหารสถานศึกษาและครูวิชาการหรือครูผู้รับผิดชอบหลักงานประกันคุณภาพภายใน โดยมีคำสั่งแต่งตั้งผู้รับผิดชอบเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูล และจัดทำรายงานประเมินตนเอง (SAR) ทุกปี สถานศึกษามุ่งเน้นใช้ผลการประเมินมาตรฐานที่ 1 ประเด็นพิจารณาพัฒนาการจากผลการสอบระดับชาติ และมีความต้องการจำเป็นที่จะพัฒนาเรื่องการจัดทำรายงานการประเมินคุณภาพภายในที่อำนวยความสะดวกในการใช้ผลและการสร้างความเข้าใจความตระหนักในการใช้ผลการประเมินคุณภาพภายใน สภาพปัญหาที่สำคัญ คือ การประเมินคุณภาพภายในต้องใช้เวลามากเนื่องจากผู้เกี่ยวข้องให้ข้อมูลล่าช้า 2. ระบบการประเมินคุณภาพภายในที่เน้นการนำผลไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษามีองค์ประกอบที่สัมพันธ์กันคือ วัตถุประสงค์ หลักการ การดำเนินการประเมินแบบเสริมพลังโดยทีมนิเทศ และกลไกการทำงานของระบบ ซึ่งประกอบด้วย 1) ปัจจัยนำเข้า 2) กระบวนการ 3) ผลผลิต และ 4) ข้อมูลป้อนกลับ และผลการตรวจสอบคุณภาพของระบบการประเมินคุณภาพภายในที่เน้นการนำผลไปใช้พัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ระบบการประเมินคุณภาพภายในมีคุณภาพด้านความมีประโยชน์ ด้านความเป็นไปได้ และด้านความเหมาะสมในระดับมาก ส่วนด้านความถูกต้องอยู่ในระดับมากที่สุด 3. ผลการทดลองใช้ระบบการประเมินคุณภาพภายในที่เน้นการนำผลไปใช้พัฒนาคุณภาพการศึกษา พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาและครูมีความรู้ในการประเมินหลังการอบรมสัมมนาสูงกว่าก่อนอบรม มีมโนทัศน์สูงกว่าคะแนนเป้าหมายที่วางไว้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีความพึงพอใจในการอบรมอยู่ในระดับมาก มีพฤติกรรม 10 หลักการตามแนวทางการประเมินแบบเสริมพลังสูงขึ้น และผลการปฏิบัติการใช้ผลการประเมินคุณภาพภายในอยู่ในระดับมาก และสถานศึกษามีผลการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่ในระดับดีเยี่ยม มีบางประเด็นพิจารณาอยู่ในระดับดี 4. ผลการประเมินคุณภาพของระบบการประเมินคุณภาพภายในที่เน้นการนำผลการประเมินไปใช้พัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยผู้ทดลองใช้ระบบดังนี้ โดยทีมนิเทศ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูโรงเรียนขนาดกลาง และขนาดใหญ่ แสดงให้เห็นว่า ระบบมีคุณภาพด้านความมีประโยชน์ ด้านความเป็นไปได้ ด้านความเหมาะสม และด้านความถูกต้อง อยู่ในระดับมากที่สุด และโดยผู้บริหารสถานศึกษาและครูโรงเรียนขนาดเล็ก …


แนวทางการส่งเสริมความซื่อสัตย์ทางวิชาการและความตั้งใจทำงานวิจัยให้มีคุณภาพของนักศึกษาบัณฑิตศึกษา: การประยุกต์วิธีวิทยาคิวแบบปรับเหมาะ, ลภัสพิชชา สุรวาทกุล Jan 2017

แนวทางการส่งเสริมความซื่อสัตย์ทางวิชาการและความตั้งใจทำงานวิจัยให้มีคุณภาพของนักศึกษาบัณฑิตศึกษา: การประยุกต์วิธีวิทยาคิวแบบปรับเหมาะ, ลภัสพิชชา สุรวาทกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การรับรู้สิทธิอันพึงได้รับทางวิชาการ โดยทั่วไปมีความหมายในเชิงลบ นั่นคือ นักศึกษาคาดหวังถึงผลลัพธ์เชิงบวกทางวิชาการ โดยไม่คำนึงถึงความพยายามหรือความสามารถที่แท้จริงของตน ในการวิจัยครั้งนี้ได้ขยายขอบเขตการศึกษา โดยแบ่งเป็นการรับรู้เชิงบวกและเชิงลบ การรับรู้สิทธิอันพึงได้รับทางวิชาการเชิงบวกและเชิงลบนี้มีอิทธิพลต่อสมรรถนะของนักศึกษา ซึ่งหากอาจารย์ผู้สอนรู้ข้อมูลเกี่ยวกับการรับรู้สิทธิอันพึงได้รับทางวิชาการจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนานักศึกษาต่อไป การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ระดับและโปรไฟล์การรับรู้สิทธิอันพึงได้รับทางวิชาการ โดยวิธีวิทยาคิวแบบปรับเหมาะและแบบสอบถามมาตรประมาณค่า และเปรียบเทียบผลลัพธ์และความเหมาะสมระหว่างสองวิธี 2) วิเคราะห์ระดับและโปรไฟล์สภาพแวดล้อมการฝึกวิจัย ความซื่อสัตย์ทางวิชาการ และความตั้งใจทำงานวิจัยที่มีคุณภาพ 3) พัฒนาและตรวจสอบโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างการรับรู้สิทธิอันพึงได้รับทางวิชาการ สภาพแวดล้อมการฝึกวิจัย ความซื่อสัตย์ทางวิชาการและความตั้งใจทำงานวิจัยที่มีคุณภาพ 4) ตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างโปรไฟล์ของนักศึกษา ด้านสิทธิอันพึงได้รับทางวิชาการ ความซื่อสัตย์ทางวิชาการ และความตั้งใจทำงานวิจัยที่มีคุณภาพ กับสภาพแวดล้อมการฝึกวิจัย 5) จัดทำแนวทางการให้คำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อส่งเสริมความซื่อสัตย์ทางวิชาการ และความตั้งใจทำงานวิจัยที่มีคุณภาพของนักศึกษา ตัวอย่างวิจัย คือ นักศึกษาบัณฑิตศึกษา สาขาทางศึกษาศาสตร์ ที่กำลังศึกษาในหลักสูตรที่ต้องทำวิทยานิพนธ์ก่อนจบการศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามวิธีวิทยาคิวแบบปรับเหมาะและแบบสอบถามมาตรประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์องค์ประกอบ การวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณ (MANOVA) ด้วยโปรแกรม SPSS 23 การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ด้วยโปรแกรม Mplus 7.0 และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. องค์ประกอบ ระดับ และโปรไฟล์ของการรับรู้สิทธิอันพึงได้รับทางวิชาการที่วัดด้วยวิธีวิทยาคิวแบบปรับเหมาะมีระดับค่าเฉลี่ยรายองค์ประกอบที่แตกต่างกันชัดเจนกว่าที่วัดด้วยแบบสอบถามมาตรประมาณค่า อย่างไรก็ตามในภาพรวมพบว่า นักศึกษามีการรับรู้เชิงบวกในระดับมาก และมีการรับรู้เชิงลบในระดับปานกลาง 2. นักศึกษามีสภาพแวดล้อมการฝึกวิจัย ความตั้งใจทำงานวิจัยให้มีคุณภาพในระดับมาก และมีความซื่อสัตย์ทางวิชาการในระดับปานกลาง นักศึกษามีการรับรู้สิทธิอันพึงได้รับทางวิชาการเชิงบวก ความตั้งใจทำงานวิจัยให้มีคุณภาพ และความซื่อสัตย์ทางวิชาการแตกต่างกันตามเกรดเฉลี่ยและมหาวิทยาลัย มีการรับรู้สิทธิอันพึงได้รับทางวิชาการเชิงลบแตกต่างกันตามสาขาวิชาและการร่วมงานวิชาการ มีความตั้งใจทำงานวิจัยให้มีคุณภาพแตกต่างกันตามเกรดเฉลี่ยและสาขาวิชา และมีการรับรู้สิทธิอันพึงได้รับทางวิชาการเชิงบวกแตกต่างกันตามสาขาวิชาและมหาวิทยาลัย 3. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความซื่อสัตย์ทางวิชาการสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (ไค-สแควร์ (44, N = 136) = 53.41,p = 0.16; CFI = .99, RMSEA = .04) โดยได้รับอิทธิพลจากสภาพแวดล้อมการฝึกวิจัย การรับรู้สิทธิอันพึงได้รับทางวิชาการเชิงบวกและเชิงลบ สำหรับความตั้งใจทำงานวิจัยให้มีคุณภาพได้รับอิทธิพลจากสภาพแวดล้อมการฝึกวิจัย และการรับรู้สิทธิอันพึงได้รับทางวิชาการเชิงบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. นักศึกษาในกลุ่มมหาวิทยาลัยรัฐบาลและเรียนสาขาการวิจัย มหาวิทยาลัยรัฐบาลและเรียนสาขาที่ไม่ใช่การวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏและเรียนสาขาการวิจัย มีความสอดคล้องระหว่างระดับสภาพแวดล้อมการฝึกวิจัยกับการรับรู้สิทธิอันพึงได้รับทางวิชาการเชิงบวกและเชิงลบความตั้งใจทำงานวิจัยให้มีคุณภาพ และความซื่อสัตย์ทางวิชาการ ในรูปแบบที่เหมาะสม ในขณะที่นักศึกษาในกลุ่มที่เรียนสาขาที่ไม่ใช่ด้านการวิจัย ทั้งในมหาวิทยาลัยเอกชนและมหาวิทยาลัยราชภัฏ มีความสอดคล้องระหว่างระดับของตัวแปรวิจัยดังกล่าวในรูปแบบที่ไม่เหมาะสม …


การเปรียบเทียบพัฒนาการทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และพัฒนาการการรับรู้ความสามารถของตนเองทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่ใช้วิธีการประเมินตนเองต่างกัน:วิธีการรูบริกแอนโนเทตประยุกต์และแบบสอบถามปลายเปิด, อารยา ยุวนะเตมีย์ Jan 2017

การเปรียบเทียบพัฒนาการทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และพัฒนาการการรับรู้ความสามารถของตนเองทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่ใช้วิธีการประเมินตนเองต่างกัน:วิธีการรูบริกแอนโนเทตประยุกต์และแบบสอบถามปลายเปิด, อารยา ยุวนะเตมีย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบพัฒนาการทางทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และพัฒนาการการรับรู้ความสามารถของตนเองทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีระดับความสามารถทางคณิตศาสตร์สูง ปานกลางและต่ำที่ประเมินการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของตนเองโดยใช้วิธีการรูบริกแอนโนเทตประยุกต์และแบบสอบถามปลายเปิด และ 2) เพื่อศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีประเมินการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของตนเองกับระดับความสามารถทางคณิตศาสตร์ที่มีต่อพัฒนาการทางทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และพัฒนาการการรับรู้ความสามารถของตนเองทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น การออกแบบการวิจัยเป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบมีการทดสอบก่อนและหลัง การจัดกระทำและมีกลุ่มควบคุม โดยมีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างเข้าสู่กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 90 คน แบ่งเป็นนักเรียนที่มีความสามารถทางการเรียนคณิตศาสตร์ระดับสูง ปานกลาง และต่ำ ระดับละ 30 คน โดยผู้เรียนในแต่ละระดับความสามารถจะประเมินการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของตนเองด้วยวิธีการ 3 วิธี ได้แก่ วิธีการใช้รูบริกแอนโนเทตประยุกต์ วิธีการใช้แบบสอบถามปลายเปิดและวิธีการไม่ใช้เครื่องมือใดๆ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ 2) แบบวัดการรับรู้ความสามารถของตนเองทางคณิตศาสตร์ 3) แบบฝึกทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ที่มีการประเมินตนเองโดยใช้วิธีการรูบริกแอนโนเทตประยุกต์ 4) แบบฝึกทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ที่มีการประเมินตนเองโดยใช้แบบสอบถามปลายเปิด ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์ ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนที่มีระดับความสามารถทางคณิตศาสตร์สูง ปานกลาง และต่ำที่ประเมินทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของตนเองโดยใช้วิธีการรูบริกแอนโนเทตประยุกต์มีพัฒนาการการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และพัฒนาการ การรับรู้ความสามารถของตนเองทางคณิตศาสตร์สูงกว่านักเรียนที่ใช้แบบสอบถามปลายเปิดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 2. มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีประเมินการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของตนเองกับระดับความสามารถทางคณิตศาสตร์ต่อคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ทางทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แต่ไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีประเมินการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของตนเองกับระดับความสามารถทางคณิตศาสตร์ ต่อคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์การรับรู้ความสามารถทางคณิตศาสตร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05