Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Educational Assessment, Evaluation, and Research

Theses/Dissertations

Chulalongkorn University

2019

Articles 1 - 20 of 20

Full-Text Articles in Education

การพัฒนาคลังข้อสอบอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการวัดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของนักศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีทางการศึกษา: การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบพหุมิติ, จิราภรณ์ มีสง่า Jan 2019

การพัฒนาคลังข้อสอบอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการวัดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของนักศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีทางการศึกษา: การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบพหุมิติ, จิราภรณ์ มีสง่า

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโมเดลการวัดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของนักศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีทางการศึกษา 2) พัฒนาคลังข้อสอบอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการวัดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของนักศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีทางการศึกษา 3) ประเมินประสิทธิภาพคลังข้อสอบอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการวัดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของนักศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีทางการศึกษา ตัวอย่างการวิจัยเป็นนักศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีทางการศึกษาชั้นปีที่ 4 จำนวน 1,631 คน ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบวัดเชิงสถานการณ์แบบหลายตัวเลือก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ตรวจสอบโมเดลการวัด ได้แก่ Chi-Square, GFI, AGFI และ RMSEA สถิติที่ใช้ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ ได้แก่ ค่าพารามิเตอร์อำนาจจำแนก, ค่าพารามิเตอร์ความยาก, INFIT MNSQ, OUTFIT MNSQ, G2, AIC, และ BIC ผลการวิจัยพบว่า 1. โมเดลการวัดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของนักศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีทางการศึกษามี ความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-square= 22.23, df=16, p=0.14, GFI=0.99, AGFI=0.98, RMSEA=0.02) 2. คลังข้อสอบอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการวัดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของนักศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีทางการศึกษา แบ่งออกเป็น 5 ส่วน คือ 1. การจัดการผู้ใช้งาน 2. การจัดการข้อสอบ 3. การจัดการการสอบ 4. การประเมินผลการสอบ และ 5. การจัดการคะแนน ซึ่งคลังข้อสอบมีข้อสอบจำนวน 279 ข้อ มีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.60 -1.00 มีค่าเฉลี่ยพารามิเตอร์ความยากเท่ากับ 0.069 และค่าเฉลี่ยพารามิเตอร์อำนาจจำแนกเท่ากับ 0.862 เมื่อสุ่มข้อสอบมาจากคลังข้อสอบเพื่อจัดชุด และตรวจสอบคุณภาพแบบวัด มีจำนวน 78 ข้อ มีค่า MNSQ อยู่ระหว่าง .75 ถึง 1.19 อยู่ในเกณฑ์ทุกข้อ มีค่าความเที่ยงแบบ EAP ทั้งฉบับเท่ากับ 0.707 การตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างด้วยวิธีการวิเคราะห์พหุมิติ พบว่า โมเดลการวัดแบบพหุมิติ (G2 = 53729.526, …


การพัฒนาระบบการทดสอบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์แบบไฮบริด โดยใช้วิธีดัชนีลำดับความสำคัญสูงสุด และวิธีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานแบบจำกัดความก้าวหน้า, รังสิมาภรณ์ หนูน้อย Jan 2019

การพัฒนาระบบการทดสอบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์แบบไฮบริด โดยใช้วิธีดัชนีลำดับความสำคัญสูงสุด และวิธีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานแบบจำกัดความก้าวหน้า, รังสิมาภรณ์ หนูน้อย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาระบบการทดสอบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์แบบไฮบริด โดยใช้วิธีดัชนีลำดับความสำคัญสูงสุด และวิธีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานแบบจำกัดความก้าวหน้า และเพื่อประเมินคุณภาพระบบการทดสอบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์แบบไฮบริดโดยการประเมินแบบอิงมาตรฐาน การประเมินฮิวริสติค และการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานต่อระบบการทดสอบ โดยงานวิจัยครั้งนี้ศึกษาภายใต้ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบ 3 พารามิเตอร์ การพัฒนาระบบ การทดสอบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์แบบไฮบริด ใช้ข้อสอบแบบฝึกพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของสถาบันภาษาอังกฤษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 640 ข้อ มีการตรวจสอบคุณภาพข้อสอบกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ จำนวน 1,109 คน และทดลองใช้ระบบทดสอบกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 74 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินคุณภาพระบบ ประกอบด้วยแบบประเมินอิงมาตรฐาน แบบประเมินฮิวริสติค และแบบประเมิน ความพึงพอใจของผู้ใช้งานต่อระบบ การทดสอบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์แบบไฮบริด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเบ้และความโด่ง ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. การพัฒนาระบบการทดสอบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์แบบไฮบริด โดยใช้วิธีดัชนีลำดับความสำคัญสูงสุด และวิธีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานแบบจำกัดความก้าวหน้า ซึ่งทดสอบผ่านระบบออนไลน์ ระบบที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ 1) รูปแบบของระบบการทดสอบ 2) การทดสอบ ซึ่งประกอบไปด้วย จุดเริ่มต้นการทดสอบ การประมาณค่าความสามารถผู้สอบด้วยวิธีการประมาณค่าด้วยความเป็นไปได้สูงสุด (MLE) การคัดเลือกข้อสอบด้วยวิธีดัชนีลำดับความสำคัญสูงสุด (MPI) การควบคุมการใช้ข้อสอบซ้ำด้วยวิธีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานแบบจำกัดความก้าวหน้า (PR-SE) การยุติการทดสอบ (≤0.3) และ 3) การรายงานผลการทดสอบ 2. ผลการประเมินคุณภาพระบบการทดสอบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์แบบไฮบริด ด้วยการประเมิน แบบอิงมาตรฐานภาพรวมระบบการทดสอบมีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด (M= 4.59, SD = 0.35) ผลการประเมินระบบ แบบฮิวริสติคภาพรวมระบบการทดสอบมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก (M= 4.42, SD= 0.33) และผลการประเมิน ความพึงพอใจของผู้ใช้งานต่อระบบการทดสอบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์แบบไฮบริด ภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจระดับมากต่อระบบการทดสอบ (M=3.91, SD= 0.50)


Guidelines For Stakeholders' Accountability In Cambodian Students' Reading Literacy: Msem With Dyadic Data, Nil Damnang Jan 2019

Guidelines For Stakeholders' Accountability In Cambodian Students' Reading Literacy: Msem With Dyadic Data, Nil Damnang

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The main purpose of this study was to propose the guidelines for stakeholders’ accountability in Cambodian students’ reading literacy. By using, two research instruments — face-to-face questionnaire with 5 liker-scale and reading task which accounted by students only— the total of 29 primary school principals, 41 school teachers, 427 parents/caregivers and 427 students who were studying at grade 5 and 6 were the sample size. After double translation from English to Khmer language, these instruments were used to pilot with 212 and indicated the extraction of communalities ranked from .257 to .936 and the Cronbach’s alpha reliability coefficients estimated from …


การพัฒนาเครื่องมือวัด โมเดลเชิงสาเหตุ และแนวทางการเตรียมความพร้อมครูสะเต็ม: การวิเคราะห์โมเดลพหุระดับจำแนกข้ามกลุ่ม, กรวุฒิ แผนพรหม Jan 2019

การพัฒนาเครื่องมือวัด โมเดลเชิงสาเหตุ และแนวทางการเตรียมความพร้อมครูสะเต็ม: การวิเคราะห์โมเดลพหุระดับจำแนกข้ามกลุ่ม, กรวุฒิ แผนพรหม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การส่งเสริมให้นิสิตนักศึกษาครูมีสมรรถนะครูสะเต็มที่ดีเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนสะเต็มของนิสิตนักศึกษาครูให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งควรมีแนวทางการเตรียมความพร้อมครูสะเต็มที่มีประสิทธิภาพและสามารถนำไปปฏิบัติได้ การได้มาซึ่งแนวทางการเตรียมความพร้อมครูสะเต็มที่ดีสถาบันผลิตครูหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องควรมีข้อมูลเกี่ยวกับสมรรถนะครูสะเต็มตามกรอบ TPACK เพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนาแนวทางการเตรียมความพร้อมครูสะเต็มให้มีประสิทธิภาพ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวัดสมรรถนะครูสะเต็ม 2) พัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ของโมเดลเชิงสาเหตุพหุระดับจำแนกข้ามกลุ่มของสมรรถนะครูสะเต็ม 3) วิเคราะห์ระดับสมรรถนะครูสะเต็ม สภาพการเตรียมความพร้อมครูสะเต็ม และการสนับสนุนจากหลักสูตรและโรงเรียนฝึกประสบการณ์วิชาชีพ และ 4) พัฒนาแนวทางการเตรียมความพร้อมครูสะเต็ม จากผลการวิเคราะห์โมเดลเชิงสาเหตุพหุระดับจำแนกข้ามกลุ่มของสมรรถนะครูสะเต็ม มีการดำเนินการวิจัย 3 ระยะ ระยะที่ 1 เป็นการพัฒนาเครื่องมือวัดสมรรถนะครูสะเต็มตามกรอบ TPACK-STEM เก็บรวบรวมข้อมูลจากนิสิตนักศึกษาครูชั้นปีที่ 5 สาขาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี จำนวน 310 คน เพื่อนำมาวิเคราะห์คุณภาพของเครื่องมือด้านความตรงเชิงเนื้อหา ความเที่ยงแบบสอดคล้องภายใน และความตรงเชิงโครงสร้าง ด้วยโปรแกรม SPSS, Mplus และ R ระยะที่ 2 เป็นการศึกษาสภาพสมรรถนะครูสะเต็มของนิสิตนักศึกษาครู สภาพการเตรียมความพร้อมครูสะเต็ม การสนับสนุนจากหลักสูตรและโรงเรียนฝึกประสบการณ์วิชาชีพ และวิเคราะห์โมเดลเชิงสาเหตุพหุระดับของสมรรถนะครูสะเต็ม เก็บรวบรวมข้อมูลพหุระดับจากนิสิตนักศึกษาครูชั้นปีที่ 5 สาขาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีจำนวน 537 คน ระดับหลักสูตรจากอาจารย์นิเทศก์แต่ละสาขาของนิสิตนักศึกษาครูจำนวน 401 คนจาก 37 มหาวิทยาลัย และระดับโรงเรียนจากครูพี่เลี้ยงของนิสิตนักศึกษาครูจำนวน 486 คนจาก 124 โรงเรียน เพื่อนำมาวิเคราะห์สภาพการเตรียมความพร้อมครูสะเต็ม และการสนับสนุนจากหลักสูตรและโรงเรียนฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ด้วยค่าสถิติบรรยาย สถิติทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ด้วยโปรแกรม SPSS และวิเคราะห์โมเดลเชิงสาเหตุพหุระดับจำแนกข้ามกลุ่มของสมรรถนะครูสะเต็ม ด้วยโปรแกรม Mplus และระยะที่ 3 เป็นการวิเคราะห์และสังเคราะห์ผลการวิจัยในระยะที่ 2 มาใช้พัฒนาแนวทางการเตรียมความพร้อมครูสะเต็มให้มีประสิทธิภาพ ผลการวิจัยพบว่า 1. เครื่องมือวัดสมรรถนะครูสะเต็มที่สร้างขึ้นตามโมเดลการวัดสมรรถนะครูสะเต็มแบบพหุมิติ (multidimensional) มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานทั้งความเที่ยง (Cronbach’s alpha= .938 - .953; Omega= .939 - .954) ความตรงเชิงเนื้อหา (IOC= 0.67-1.00) และความตรงเชิงโครงสร้าง (chi-square (93, N=310) …


การวิจัยและพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันเพื่อสนับสนุนการใช้การวิเคราะห์วาทกรรมพลเมืองของครูในการส่งเสริมความเป็นพลเมืองของนักเรียน, กัมปนาท ไชยรัตน์ Jan 2019

การวิจัยและพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันเพื่อสนับสนุนการใช้การวิเคราะห์วาทกรรมพลเมืองของครูในการส่งเสริมความเป็นพลเมืองของนักเรียน, กัมปนาท ไชยรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วาทกรรมพลเมืองมีความสำคัญอย่างมากต่อการจัดการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองเพราะเป็นการแสดงการให้ความสนใจในประเด็นของสังคมรอบตัวผ่านกระบวนการแสดงความคิดเห็นที่ต้องใช้วาทศิลป์บนพื้นฐานของเหตุผลและหาข้อสรุปในประเด็นนั้น ๆ ร่วมกัน การวิจัยในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อพัฒนาเครื่องมือสังเกตชั้นเรียนเพื่อวิเคราะห์ลักษณะของวาทกรรมพลเมืองในชั้นเรียน 2) เพื่อวิเคราะห์บทบาทของครูในการส่งเสริมวาทกรรมพลเมืองและพฤติกรรมที่สะท้อนความเป็นพลเมืองของนักเรียนในชั้นเรียน 3) เพื่อออกแบบและพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันที่ส่งเสริมให้ครูใช้วาทกรรมพลเมืองในการพัฒนาความเป็นพลเมืองของนักเรียน และ 4) เพื่อประเมินผลการใช้งานโมบายแอปพลิเคชันที่พัฒนาขึ้นในมุมมองของผู้ใช้ การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นการวิเคราะห์วาทกรรมพลเมืองในชั้นเรียน ผู้วิจัยพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือสังเกตชั้นเรียนโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 คน เพื่อนำใช้บันทึกข้อมูลพฤติกรรมของครูและนักเรียน จำนวน 8 ชั้นเรียนและบันทึกเสียงระหว่างการอภิปรายในชั้นเรียน โดยตัวอย่างวิจัยคือครูสังคมศึกษา จำนวน 6 คน และนักเรียนระดับมัธยมศึกษาจำนวน 232 คน จากนั้นจึงนำข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้มาวิเคราะห์ตามกรอบวาทกรรมพลเมืองของ Habermas เพื่อศึกษาบทบาทของครูในการส่งเสริมวาทกรรมพลเมืองและวิเคราะห์พฤติกรรมที่แสดงออกถึงคุณลักษณะความเป็นพลเมืองของนักเรียนในชั้นเรียน ระยะที่ 2 เป็นการพัฒนาฟังก์ชันการทำงานหลักของโมบายแอปพลิเคชัน คือ ชุดคำถามแบบสถานการณ์จำลองเพื่อใช้ประเมินทักษะการวิเคราะห์วาทกรรมพลเมืองของครู และชุดคำถามสำหรับวิเคราะห์คุณลักษณะความเป็นพลเมืองของนักเรียน และระยะที่ 3 เป็นการพัฒนาโครงสร้างและฟังก์ชันการทำงานของโมบายแอปพลิเคชันอื่นเพิ่มเติมและนำโมบายแอปพลิเคชันไปทดลองใช้กับครูสังคมศึกษาจำนวน 10 คน และประเมินผลการใช้งานด้วยแบบสอบถามมาตรประมาณค่า 7 ระดับ ผลการวิจัยพบว่า 1. เครื่องมือสังเกตชั้นเรียนที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้ในการสังเกตชั้นเรียนเพื่อให้ได้ข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์วาทกรรมในชั้นเรียน 2. บทบาทของครูในการส่งเสริมวาทกรรมพลเมืองที่พบในแต่ละชั้นเรียนมีความแตกต่างกัน ในภาพรวมของทุกชั้นเรียน พบว่า ครูมีบทบาทในการอำนวยการเข้าถึงการอภิปรายและการสร้างความเท่าเทียมในชั้นเรียนในระดับมาก การสนับสนุนการใช้เหตุผลและวิจารณญาณในระดับปานกลาง และการร่วมสร้างข้อสรุปในชั้นเรียนในระดับน้อย และพบว่านักเรียนมีพฤติกรรมที่บ่งชี้ถึงความเป็นพลเมืองในด้านต่าง ๆ ในระดับที่แตกต่างกัน ได้แก่ การเปิดใจรับฟังและการคิดอย่างมีเหตุผลและวิจารณญาณอยู่ในระดับมาก การมีส่วนร่วมตัดสินใจเพื่อส่วนรวมอยู่ในระดับปานกลาง และการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องอยู่ในระดับน้อย 3. โมบายแอปพลิเคชันที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยฟังก์ชันการทำงานหลัก 2 ด้าน ได้แก่ 1) สถานการณ์จำลองสำหรับครูเพื่อประเมินทักษะการวิเคราะห์วาทกรรมพลเมือง 2 ประเภท ได้แก่ สถานการณ์แบบคำอธิบายและสถานการณ์แบบบทสนทนา รวมจำนวน 20 สถานการณ์ 2) ชุดคำถามสำหรับวิเคราะห์คุณลักษณะความเป็นพลเมืองของนักเรียนและคำแนะนำสำหรับครูในการปรับปรุงการสอน จำนวน 12 ข้อ และมีฟังก์ชันการทำงานที่พัฒนาเพิ่มเติม ได้แก่ การให้ความรู้และแนวทางการจัดอภิปรายในชั้นเรียนเพื่อสร้างเป็นวาทกรรมพลเมือง และการแนะนำแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่ได้จาการสังเคราะห์งานวิจัยที่ครูสามารถนำไปปรับใช้ในห้องเรียนเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง 4. โมบายแอปพลิเคชันมีความง่ายในการใช้งาน มีประโยชน์จากการใช้งาน และมีคุณค่าของการใช้งานในระดับค่อนข้างสูง


ระบบสารสนเทศในการสะท้อนคิดของครูเพื่อสนับสนุนชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียน: การวิจัยส่วนต่อประสานกับผู้ใช้แดชบอร์ด, ยุมนา ศรีจันทร์ดี Jan 2019

ระบบสารสนเทศในการสะท้อนคิดของครูเพื่อสนับสนุนชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียน: การวิจัยส่วนต่อประสานกับผู้ใช้แดชบอร์ด, ยุมนา ศรีจันทร์ดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์คุณลักษณะที่จำเป็นและองค์ประกอบที่สำคัญของการสะท้อนคิดของครูเพื่อสนับสนุนชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียน 2) เพื่อออกแบบและพัฒนาส่วนต่อประสานของระบบสารสนเทศในการสะท้อนคิดของครู เพื่อสนับสนุนชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียน และ 3) เพื่อวิเคราะห์ผลที่เกิดขึ้นจากการใช้ระบบสารสนเทศในการสะท้อนคิดของครูเพื่อสนับสนุนชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียน แบ่งการวิจัยออกเป็น 3 ระยะได้แก่ ระยะที่ 1 การวิเคราะห์คุณลักษณะที่จำเป็นและองค์ประกอบที่สำคัญของการสะท้อนคิดของครู เป็นการสังเคราะห์เอกสารงานวิจัย และการสัมภาษณ์ครูจำนวน 20 คน เกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติในชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสภาพปัจจุบัน และประสบการณ์ในการสะท้อนคิดที่ผ่านมาของครู ได้ตัวอย่างโดยการเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่ 2 การออกแบบและพัฒนาระบบและส่วนต่อประสานของระบบสารสนเทศในการสะท้อนคิดของครู ด้วยการสัมภาษณ์ครูเกี่ยวกับความความปรารถนาของครูเกี่ยวกับระบบส่วนต่อประสานของระบบสารสนเทศกับผู้ใช้ (interface) และนำข้อมูลที่ได้มากำหนดการออกแบบระบบสารสนเทศ และทดสอบระบบด้วยกระบวนการ A/B testing โดยศึกษานิเทศก์ 5 คน และครู 4 คน ระยะที่ 3 การศึกษาผลจากการใช้ระบบสารสนเทศในการสะท้อนคิดของครู โดยใช้การวิจัยกึ่งทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายและการสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ ผลการวิจัยพบว่า 1. คุณลักษณะที่จำเป็นในการสะท้อนคิดของครูเพื่อสนับสนุนชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ประกอบด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจ การสืบเสาะค้นหาข้อมูล และ การยอมรับฟังความเห็นของผู้อื่น โดยมีองค์ประกอบสำคัญคือ 1) การมีส่วนร่วม 2) การคิดวิเคราะห์ 3) ทักษะการสื่อสาร และ 4) ทักษะการสังเกต 2. ขั้นตอนการออกแบบระบบสารสนเทศประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลักคือ 1) การนำเข้าและการจัดเก็บข้อมูล ซึ่งออกแบบขั้นตอนหลักตามวิธีการปฏิบัติในชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 2) การประมวลผล โดยการรวบรวมผ่านการสะท้อนคิดของแต่ละบุคคล และ 3) การนำเสนอสารสนเทศ โดยนำเสนอในรูปแบบของแดชบอร์ด (Dashboard) ระบบสารสนเทศในการสะท้อนคิดได้รับออกแบบในลักษณะฐานข้อมูลออนไลน์ มีการประมวลผลแบบปัจจุบัน และจากการทดสอบระบบสารสนเทศด้วยกระบวนการ A/B testing พบว่า ระบบสารสนเทศมีรูปแบบค่อนข้างดี เนื้อหามีความครอบคลุมและมีความเหมาะสม ระบบสารสนเทศสามารถใช้งานได้จริง และค่อนข้างมีประสิทธิภาพ 3. ผลจากการใช้ระบบสารสนเทศในการสะท้อนคิดของครู พบว่า ค่าเฉลี่ยของการดำเนินงานในชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ และการสะท้อนคิดของกลุ่มทดลองทั้ง 2 กลุ่ม อยู่ในระดับที่สูงกว่ากลุ่มควบคุมในทุกด้าน จากการสัมภาษณ์พบว่า ระบบสารสนเทศช่วยให้การดำเนินงานของครูในการรวมกลุ่มชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพมีความสะดวกมากขึ้น ประกอบกับการรวมกลุ่มโดยไม่ต้องเผชิญหน้าและไม่ถูกจำกัดด้วยเวลาเป็นการลดภาวะความกดกันในการแสดงความเห็นและเป็นการเปิดโอกาสในการแสดงความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่


ความสอดคล้องระหว่างหลักสูตรและวิทยานิพนธ์บัณฑิตศึกษาสาขาวิจัยการศึกษา : การประยุกต์ใช้การทำเหมืองข้อความของฐานข้อมูลประเทศไทยและสากล, สุขุมาลย์ หนกหลัง Jan 2019

ความสอดคล้องระหว่างหลักสูตรและวิทยานิพนธ์บัณฑิตศึกษาสาขาวิจัยการศึกษา : การประยุกต์ใช้การทำเหมืองข้อความของฐานข้อมูลประเทศไทยและสากล, สุขุมาลย์ หนกหลัง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความสอดคล้องหลักสูตร และวิทยานิพนธ์ไม่เพียงแต่จะสร้างความมั่นใจในการใช้หลักสูตร แต่จะช่วยปรับปรุงหลักสูตรให้เหมาะสมกับผู้เรียนอีกด้วย ทั้งนี้การวิเคราะห์ความสอดคล้องของหลักสูตรมีข้อมูลที่อยู่ในลักษณะข้อความจึงทำให้การวิเคราะห์มีความยุ่งยากและเสียเวลา การทำเหมืองข้อความจึงเหมาะกับการวิเคราะห์ในบริบทนี้ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อวิเคราะห์ความสอดคล้องระหว่างคุณลักษณะของหลักสูตร และคุณลักษณะวิทยานิพนธ์สาขาวิจัยการศึกษาของประเทศไทยด้วยทำเหมืองข้อความ 2) เพื่อวิเคราะห์ความสอดคล้องระหว่างคุณลักษณะของหลักสูตร และคุณลักษณะวิทยานิพนธ์สาขาวิจัยการศึกษาของสากลด้วยการทำเหมืองข้อความ 3) เพื่อเปรียบเทียบความสอดคล้องระหว่างคุณลักษณะของหลักสูตร และคุณลักษณะวิทยานิพนธ์ของสาขาวิจัยการศึกษาประเทศไทยและสากล 4) เพื่อศึกษารูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะด้านการสอนของอาจารย์ คุณลักษณะด้านการวิจัยของอาจารย์ และความสอดคล้องคุณลักษณะของหลักสูตรและคุณลักษณะวิทยานิพนธ์สาขาวิจัยการศึกษา ข้อมูลหลักสูตรและวิทยานิพนธ์ของประเทศไทยเก็บรวบรวมจากเอกสารกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ในช่วงปี 2550-2561 และฐานข้อมูล THAILIS ในส่วนของข้อมูลสากลเก็บรวบรวมข้อมูลจากมหาวิทยาลัยที่ติดอันดับ 1–10 ในสาขาจิตวิทยาการศึกษา จาก USNEWS 2019 ด้วยฐานข้อมูล ProQuest และข้อมูลจากเว็บไซต์แต่ละมหาวิทยาลัย การรวบรวมข้อมูลของประเทศไทยมีหลักสูตรที่มีข้อมูลครบถ้วน 8 แห่งและวิทยานิพนธ์ จำนวน 735 เล่ม นอกจานั้นสามารถรวบรวมหลักสูตรจิตวิทยาการศึกษาจากมหาวิทยาลัยชั้นนำ 10 อันดับของโลกได้จำนวน 7 หลักสูตรและวิทยานิพนธ์จำนวน 763 เล่ม จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการทำเหมืองข้อความ การวิเคราะห์เครือข่ายข้อความ และการวิเคราะห์สมนัย ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1. ความสอดคล้องของหลักสูตรและวิทยานิพนธ์สาขาวิจัยการศึกษาประเทศไทยแต่ละมหาวิทยาลัยไม่แตกต่างกันมากนัก (closeness= .092–.224) โดยมหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยตั้งอยู่ในภาคเหนือตอนล่าง ที่เน้นการสอนวัดผลและวิจัยการศึกษา มีคำสอดคล้องครอบคลุมระหว่างคำที่ปรากฏในหลักสูตรกับคำที่ปรากฏในวิทยานิพนธ์มากที่สุด (closeness = .224) 2. ความสอดคล้องของหลักสูตรและวิทยานิพนธ์สาขาวิจัยการศึกษาแต่มหาวิทยาลัยในสากลมมีค่าใกล้เคียงกัน (closeness = .197–.260) โดยมหาวิทยาลัยรัฐบาลตั้งอยู่ตอนกลางส่วนบนของสหรัฐอเมริกา เป็นมหาวิทยาลัยที่มีคำที่ปรากฏในหลักสูตรกับคำที่ปรากฏในวิทยานิพนธ์ในโมเดลมากที่สุด 3. หลักสูตรวิจัยการศึกษาของ 10 มหาวิทยาลัยชั้นนำมีความสอดคล้องระหว่างหลักสูตรและวิทยานิพนธ์มากกว่า หลักสูตรวิจัยการศึกษาของประเทศไทย อีกทั้งพบข้อสังเกตได้ว่า มีคำที่เกี่ยวกับวิธีวิทยาขั้นสูงปรากฏในหลักสูตรวิจัยในมหาวิทยาลัยชั้นนำแต่ไม่ค่อยพบในหลักสูตรไทย ยกเว้นในมหาวิทยาลัยในภาคกลาง เน้นวิจัยการศึกษา เช่น คำว่า grounded analysis, visual analysis, social network analysis, single case research, supervised machine learning 4. การสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐาน การใช้โปรแกรมทางสถิติที่ทันสมัย การตีพิมพ์ในระดับชาติน้อยกว่า 10 ฉบับ และการตีพิมพ์ในระดับนานาชาติมีแนวโน้มที่จะมีความสอดคล้องคุณลักษณะของหลักสูตรและคุณลักษณะวิทยานิพนธ์สาขาวิจัยการศึกษาอยู่ในระดับสูง


การพัฒนากิจกรรมส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางการพยาบาลโดยการวิเคราะห์บทสนทนาในการเรียนรู้แบบร่วมมือรวมพลังโดยใช้คอมพิวเตอร์สนับสนุน, อภิสิทธิ์ ตามสัตย์ Jan 2019

การพัฒนากิจกรรมส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางการพยาบาลโดยการวิเคราะห์บทสนทนาในการเรียนรู้แบบร่วมมือรวมพลังโดยใช้คอมพิวเตอร์สนับสนุน, อภิสิทธิ์ ตามสัตย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ทักษะการแก้ปัญหาทางการพยาบาลเป็นหัวใจสำคัญของวิชาชีพพยาบาล แต่นักศึกษาพยาบาลยังมีทักษะการแก้ปัญหาไม่ค่อยสูง แม้จะจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือรวมพลังโดยใช้คอมพิวเตอร์สนับสนุน การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ทักษะการเรียนรู้แบบร่วมมือ ทักษะการแก้ปัญหาทางการพยาบาล และความต้องการจำเป็นที่ควรพัฒนาของนักศึกษาพยาบาล 2) ออกแบบและพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้แบบร่วมมือรวมพลัง และทักษะการแก้ปัญหาทางการพยาบาลโดยใช้แนวคิด CSCL และการวิเคราะห์บทสนทนา และ 3) ประเมินผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ CSCL กับนักศึกษาพยาบาลและอาจารย์พยาบาล และพัฒนาหลักการใหม่สำหรับการส่งเสริมการเรียนรู้แบบ CSCL การวิจัยมี 3 ระยะ ระยะที่ 1 ขั้นวิเคราะห์และสำรวจความต้องการจำเป็น ตัวอย่างวิจัยเป็นนักศึกษาพยาบาลที่ได้จากการสุ่มจำนวน 240 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามเพื่อวัดการเรียนรู้แบบร่วมมือรวมพลังที่เป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ และแบบทดสอบสถานการณ์เพื่อวัดทักษะการแก้ปัญหาทางการพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย และดัชนี PNImodified ระยะที่ 2 ขั้นการออกแบบและพัฒนากิจกรรม โดยอิงข้อมูลจากการสัมภาษณ์อาจารย์พยาบาล 3 คน และนักศึกษาพยาบาล 3 คน ระยะที่ 3 ขั้นการประเมินและสะท้อนผลการทดลองใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ CSCL กับนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 จำนวน 6 คน และอาจารย์พยาบาล 1 คน มีการสังเคราะห์บทเรียนที่เรียนรู้จากการทดลองเพื่อนำเสนอหลักการออกแบบใหม่สำหรับพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ ผลการวิจัยสรุปได้ดังต่อไปนี้ 1. โดยภาพรวมนักศึกษาพยาบาลมีการเรียนรู้แบบร่วมมือรวมพลังในระดับสูง และมีทักษะการแก้ปัญหาทางการพยาบาลในระดับน้อย โดยมีความต้องการจำเป็นต้องได้รับการพัฒนามากที่สุดในด้านการประเมินภาวะสุขภาพ รองลงมา คือ การระบุวินิจฉัยทางการพยาบาล การวางแผนการพยาบาลและการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาล และการประเมินผลลัพธ์ที่คาดหวังจากการปฏิบัติการพยาบาล 2. ข้ออ้างเชิงเหตุผลที่ใช้ในการกำหนดหลักการออกแบบและพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ขึ้นอยู่กับแนวคิด CSCL และการวิเคราะห์บทสนทนา หลักการออกแบบกิจกรรม CSCL ประกอบด้วยหลักการเชิงสาระ ประกอบด้วย 1) การสร้างสถานการณ์ปัญหา 2) การฝึกใช้เครื่องมือ CSCL สม่ำเสมอ 3) การสนทนาเชิงสาระ ส่วนหลักการออกแบบเชิงกระบวนการมี 3 ขั้นตอน คือ 1) การสร้างความรู้ ความเข้าใจในการใช้กระบวนการพยาบาล 2) การฝึกกระบวนการทำงานเป็นกลุ่มในการแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่อง และ 3) การประเมินผลการเรียนรู้ด้วยการป้อนกลับและการสะท้อนคิด 3. ผลผลิตของการวิจัย คือ 1) …


การพัฒนารูปแบบการสร้างสมรรถนะการประเมินของผู้บริหารระดับต้นมหาวิทยาลัย: การประยุกต์ใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ, อรจิรา ธรรมไชยางกูร Jan 2019

การพัฒนารูปแบบการสร้างสมรรถนะการประเมินของผู้บริหารระดับต้นมหาวิทยาลัย: การประยุกต์ใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ, อรจิรา ธรรมไชยางกูร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งที่มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะการประเมินสำหรับผู้บริหารระดับต้นของมหาวิทยาลัย 2) พัฒนารูปแบบการสร้างสมรรถนะการประเมินสำหรับผู้บริหารระดับต้นของมหาวิทยาลัยโดยประยุกต์ใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ และ 3) ตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการสร้างสมรรถนะการประเมินสำหรับผู้บริหารระดับต้นของมหาวิทยาลัย โดยประยุกต์ใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณคือแบบสอบถาม และเชิงคุณภาพคือแบบสัมภาษณ์เชิงลึก ซึ่งใช้เทคนิคเดลฟายในการพัฒนารูปแบบการสร้างสมรรถนะ และตรวจสอบความถูกต้องตามหลักเกณฑ์การวัดประสิทธิภาพ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. การสำรวจความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะการประเมินระดับต้นของผู้บริหารมหาวิทยาลัยพบว่า ดัชนีความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับสมรรถนะการประเมินภาพรวมมีค่าเท่ากับ 0.53 โดยจัดว่ามีความจำเป็นในการพัฒนาเร่งด่วน (PNI>0.4) คือ ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน ด้านการทบทวนสอบผลการเรียนรู้ และด้านการประเมินคุณภาพภายใน โดยมีค่า PNI เท่ากับ 0.92 0.64 และ 0.59 ตามลำดับ 2. รูปแบบสมรรถนะการประเมินของผู้บริหารระดับต้นของมหาวิทยาลัยประกอบด้วย 4 ขั้นตอนหลัก 5ขั้นตอนย่อย โดยขั้นตอนหลักประกอบด้วย 1) ขั้นปัจจัยนำเข้า เป็นการจัดประชุมเตรียมความพร้อมให้มีค่านิยม วิสัยทัศน์ พันธกิจทางการประเมินในทิศทางเดียวกัน 2) ขั้นกระบวนการ เป็นขั้นตอนหลักในการอบรมให้ได้รับการเสริมสร้างสมรรถนะการประเมิน 3) ขั้นผลผลิต คือผลลัพธ์ที่ได้หรือสมรรถนะการประเมินของผู้บริหารระดับต้น 4) ขั้นข้อมูลย้อนกลับ เป็นการตัดสินสมรรถนะการประเมินและมีการส่งข้อมูลสะท้อนกลับ ส่วนในขั้นกระบวนการจะประกอบด้วย 5 ขั้นตอนย่อย คือ ประชุมรวมกลุ่ม วิเคราะห์ปัญหาและความต้องการ การออกแบบกิจกรรม ขั้นตอนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนวัตกรรม 3. การตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการสร้างสมรรถนะโดยประเมินประสิทธิผล 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านความเหมาะสม ด้านความเป็นไปได้ ด้านการนำไปใช้ประโยชน์ และด้านความถูกต้อง ซึ่งผลการประเมิน พบว่า ในภาพรวมทั้ง 4 ด้าน มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.60 อยู่ในระดับดีมาก เมื่อพิจารณาตามรายด้าน พบว่า ด้านความเหมาะสมมีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 4.78 อยู่ในระดับดีมาก รองลงมาคือ ด้านการนำไปใช้ประโยชน์ ด้านความเป็นไปได้ และด้านความถูกต้อง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.59 4.55 และ 4.49 ตามลำดับ โดยกลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยของสมรรถนะการประเมินภายหลังเข้าร่วมกิจกรรมมีค่าสูงกว่าค่าคะแนนเฉลี่ยของสมรรถนะการประเมินก่อนเข้าร่วมกิจกรรมในทุกด้านสมรรถนะการประเมิน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การพัฒนากลยุทธ์ส่งเสริมมูลค่าเพิ่มจากความร่วมมือรวมพลังระหว่างโรงเรียนกับชุมชน : โมเดลพหุสมาชิก, ณัฐพล อนันต์ธนสาร Jan 2019

การพัฒนากลยุทธ์ส่งเสริมมูลค่าเพิ่มจากความร่วมมือรวมพลังระหว่างโรงเรียนกับชุมชน : โมเดลพหุสมาชิก, ณัฐพล อนันต์ธนสาร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความร่วมมือรวมพลังระหว่างโรงเรียนกับชุมชนจากแหล่งการเรียนรู้มีความสำคัญต่อการพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ระดับความร่วมมือรวมพลังระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของนักเรียน โรงเรียน และชุมชน 2) วิเคราะห์โมเดลเชิงสาเหตุของความร่วมมือรวมพลังระหว่างโรงเรียนกับชุมชนในแต่ละระดับ 3) วิเคราะห์มูลค่าเพิ่มจากความร่วมมือรวมพลังระหว่างโรงเรียนกับชุมชนในแต่ละระดับ และ 4) วิเคราะห์กลยุทธ์ส่งเสริมความร่วมมือรวมพลังระหว่างโรงเรียนกับชุมชน โดยมีรายละเอียดของการวิจัยเริ่มจากการวิเคราะห์และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระดับความร่วมมือรวมพลังของโรงเรียนกับชุมชนในแต่ละระดับจากข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจำนวน 841 คน ครู 29 คน ผู้บริหารโรงเรียน 29 คน และผู้ปฏิบัติงานในแหล่งการเรียนรู้ในจังหวัดเชียงใหม่ 16 คน และทำการวิเคราะห์โมเดลพหุสมาชิกเพื่อหาอิทธิพลของความร่วมมือรวมพลังระหว่างโรงเรียนกับชุมชนในแต่ละระดับ และทำการวิเคราะห์มูลค่าเพิ่มของความร่วมมือรวมพลังระหว่างโรงเรียนกับชุมชนในแต่ละระดับ โดยมีตัวแปรตามเป็นโอกาสในการเรียนรู้ของนักเรียน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ประโยชน์ของโรงเรียน และประโยชน์ของชุมชน รวมทั้งการศึกษาลักษณะของความร่วมมือรวมพลังระหว่างโรงเรียนกับชุมชนที่ทำให้มีมูลค่าเพิ่มสูง และใช้ข้อมูลและผลการวิเคราะห์ที่ได้ในข้างต้น มาวิเคราะห์และนำเสนอกลยุทธส่งเสริมความร่วมมือรวมพลัระหว่างโรงเรียนกับชุมชนกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ค่าเฉลี่ยความร่วมมือรวมพลังระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ระดับนักเรียน โรงเรียน และชุมชน มีค่ามาก (ค่าต่ำสุด = 3.71 และ ค่าสูงสุด. = 4.55 จากคะแนนเต็ม 5) และยังพบว่า นักเรียนที่ไปแหล่งการเรียนรู้ที่ชอบมีระดับการร่วมมือรวมพลังฯ มากกว่าแหล่งการเรียนรู้ที่ชอบน้อย และโรงเรียนเอกชนมีระดับความร่วมมือรวมพลังระหว่างโรงเรียนกับชุมชนสูงกว่าโรงเรียนประเภทอื่น ๆ 2. โมเดลพหุสมาชิกของความร่วมมือรวมพลังระหว่างโรงเรียนกับชุมชนมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (WAIC = 840.5) โดยตัวแปรความร่วมมือรวมพลังระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ความสามารถในการเรียนรู้จากประสบการณ์ และโอกาสในการเรียนรู้ส่งอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ตัวแปรระยะทางระหว่างโรงเรียนกับแหล่งการเรียนรู้ส่งอิทธิพลต่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3. ผลการวิเคราะห์มูลค่าเพิ่ม พบว่า ตัวแปรที่มีผลต่อมูลค่าเพิ่มในแต่ละระดับ คือ ความชอบของนักเรียนต่อแหล่งการเรียนรู้ ประเภทของแหล่งการเรียนรู้ และปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการสร้างมูลค่าเพิ่มต่างระดับ ยกเว้นในระดับครูที่ประเภทของแหล่งการเรียนรู้มีผลต่อมูลค่าเพิ่มน้อย 4. การศึกษาลักษณะของโรงเรียนที่มีมูลค่าเพิ่มสูง พบว่า โรงเรียนจะเลือกแหล่งการเรียนรู้ตามความต้องการของนักเรียนและผลประโยชน์ที่ได้รับ โดยโรงเรียนจะให้ครูค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวกับแหล่งการเรียนรู้และเข้าไปสำรวจแหล่งการเรียนรู้ และสร้างความร่วมมือระหว่างโรงเรียนและชุมชนอย่างเป็นทางการกับแหล่งการเรียนรู้ ครูและผู้ปฏิบัติงานในแหล่งการเรียนรู้ร่วมกันวางแผนจัดกิจกรรมโดยเน้นการแก้ปัญหาร่วมกันในสถานการณ์จริง 5. กลยุทธ์ส่งเสริมความร่วมมือรวมพลังระหว่างโรงเรียนกับชุมชนจากการทำกิจกรรมทั้ง 8 ประเภท แบ่งเป็นบทบาทของโรงเรียน และบทบาทของแหล่งการเรียนรู้


การวิเคราะห์ฉันทามติและการทำหน้าที่ต่างกันระหว่างผู้ประเมินในการวิเคราะห์ความสอดคล้องในแนวเดียวกัน: การประยุกต์ใช้โมเดลการวิเคราะห์ฉันทามติเชิงวัฒนธรรม, ศิธรา จุฑารัตน์ Jan 2019

การวิเคราะห์ฉันทามติและการทำหน้าที่ต่างกันระหว่างผู้ประเมินในการวิเคราะห์ความสอดคล้องในแนวเดียวกัน: การประยุกต์ใช้โมเดลการวิเคราะห์ฉันทามติเชิงวัฒนธรรม, ศิธรา จุฑารัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประยุกต์ใช้โมเดลการวิเคราะห์ฉันทามติเชิงวัฒนธรรมเพื่อวิเคราะห์ความสอดคล้องระหว่างผู้ประเมินในการศึกษาความสอดคล้องในแนวเดียวกัน 2) เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพของโมเดลการวิเคราะห์ฉันทามติเชิงวัฒนธรรมในการการวิเคราะห์ความสอดคล้องระหว่างผู้ประเมินในการศึกษาความสอดคล้องในแนวเดียวกัน 3) เพื่อศึกษาผลการประยุกต์ใช้โมเดลการวิเคราะห์ฉันทามติเชิงวัฒนธรรมในการวิเคราะห์ความสอดคล้องระหว่างผู้ประเมินและการทำหน้าที่ต่างกันของผู้ประเมินในการประเมินความสอดคล้องในแนวเดียวกันระหว่างมาตรฐานและตัวชี้วัดกับข้อสอบในการประเมินระดับชั้นเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น การดำเนินการศึกษาแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ระยะที่ 2 ศึกษาผลการประมาณความสอดคล้องระหว่างผู้ประเมินด้วยการจำลองแบบมอนติคาร์โล แบ่งเป็น การจำลองข้อมูล การประเมินประสิทธิภาพของการประมาณค่าของโมเดล และการวิเคราะห์ผลการจำลองข้อมูล ระยะที่ 3 ศึกษาผลการประยุกต์ใช้โมเดลการวิเคราะห์ฉันทามติเชิงวัฒนธรรมในการวิเคราะห์ความสอดคล้องในแนวเดียวกันระหว่างมาตรฐานและตัวชี้วัดกับข้อสอบ ในการประเมินระดับชั้นเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) โมเดลการวิเคราะห์ฉันทามติเชิงวัฒนธรรมในการศึกษาครั้งนี้มี 2 โมเดล โมเดล GCM หรือ MC-GCM เป็นโมเดลวิเคราะห์ข้อมูลในบริบทการประเมินที่ให้คะแนนแบบ (0, 1) จะมีพารามิเตอร์ของข้อคำถาม ซึ่งประกอบด้วยพารามิเตอร์ตำแหน่งคะแนนฉันทามติกับพารามิเตอร์ความยากของข้อคำถาม พารามิเตอร์ของผู้ประเมิน ประกอบด้วยพารามิเตอร์ความสามารถของผู้ประเมินกับพารามิเตอร์ความลำเอียงในการประเมิน โมเดล LTRM หรือ MC-LTRM เป็นโมเดลการวิเคราะห์ข้อมูลในบริบทการประเมินที่ให้คะแนนแบบมาตรประมาณค่า ประกอบด้วยพารามิเตอร์ 2 กลุ่ม คือ พารามิเตอร์ของข้อคำถาม ประกอบด้วยพารามิเตอร์ตำแหน่งคะแนนฉันทามติของการประเมินกับพารามิเตอร์ความยากของคำถามประเมิน พารามิเตอร์ของผู้ประเมิน ประกอบด้วยพารามิเตอร์ความสามารถของผู้ประเมิน กับพารามิเตอร์ความลำเอียงในการประเมิน 2) ผลการตรวจสอบประสิทธิภาพของการวิเคราะห์ความสอดคล้องระหว่างผู้ประเมินด้วยการจำลองข้อมูล พบว่า โมเดล MC-GCM และโมเดล MC-LTRM สามารถประมาณค่าพารามิเตอร์ได้ใกล้เคียงกับค่าจริงของพารามิเตอร์ที่กำหนดไว้ โดยมีค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนยกกำลังสอง และค่าความลำเอียงในการประมาณค่าที่เข้าใกล้ 0 และมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างค่าจริงและค่าที่ได้จากการประมาณค่าของโมเดลในระดับสูง ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างค่าจริงและค่าที่ได้จากการประมาณค่ามีความสัมพันธ์กันในระดับสูง และมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิเคราะห์อิทธิพลของตัวแปรอิสระที่ส่งผลต่อการประมาณค่า พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการประมาณค่าของโมเดลทั้งสอง คือ การทำหน้าที่ต่างกันของผู้ประเมิน ซึ่งส่งผลต่อค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนยกกำลังสองและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างค่าจริงและค่าที่ได้จากการประมาณค่าของโมเดลในการประมาณค่าพารามิเตอร์ความสามารถของผู้ประเมิน และความยากของรายการประเมินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3) ผลการวิเคราะห์ความสอดคล้องในแนวเดียวกันด้วยโมเดลการวิเคราะห์ฉันทามติเชิงวัฒนธรรม พบว่า ไม่มีการทำหน้าที่ต่างกันระหว่างผู้ประเมิน โดยมีผลการประเมิน ดังนี้ 3.1) ผลคะแนนการประเมินระดับความซับซ้อนทางปัญญาของข้อสอบในการประเมินระดับชาติ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีตำแหน่งคะแนนการประเมินอยู่ในตำแหน่งคะแนนประเมินระดับ 2 (เข้าใจ) ถึงระดับ 4 (ประยุกต์ใช้) 3.2) ผลการประเมินความสอดคล้องในแนวเดียวกันระหว่างมาตรฐานและตัวชี้วัดกับข้อสอบในการประเมินระดับชั้นเรียน มีตำแหน่งคะแนนการประเมินจะอยู่ในเทรชโฮลด์ที่ 4 …


รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลการศึกษาของนักศึกษาวิชาชีพครูในมหาวิทยาลัยราชภัฏโดยใช้การประเมินแบบเสริมพลังอำนาจ, สมภัสสร บัวรอด Jan 2019

รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลการศึกษาของนักศึกษาวิชาชีพครูในมหาวิทยาลัยราชภัฏโดยใช้การประเมินแบบเสริมพลังอำนาจ, สมภัสสร บัวรอด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลการศึกษาของนักศึกษาวิชาชีพครูที่ประยุกต์ใช้การประเมินแบบเสริมพลังอำนาจ 2) ศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการวัดและประเมินผลการศึกษาของนักศึกษาวิชาชีพครูที่ประยุกต์ใช้การประเมินแบบเสริมพลังอำนาจ และ 3) ประเมินคุณภาพของรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลการศึกษาของนักศึกษาวิชาชีพครูที่ประยุกต์ใช้การประเมินแบบเสริมพลังอำนาจ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย นักศึกษาวิชาชีพครู ครูพี่เลี้ยง และอาจารย์นิเทศก์โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบด้วยค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุ สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลการศึกษาของนักศึกษาวิชาชีพครูที่ประยุกต์ใช้การประเมินแบบเสริมพลังอำนาจ ประกอบไปด้วย 7 ขั้นตอน ได้แก่ 1) เตรียมความพร้อม 2) กำหนดวิสัยทัศน์หรือพันธกิจที่ยอมรับร่วมกัน 3) เก็บข้อมูลสถานภาพปัจจุบัน 4) วางแผนการดำเนินงาน 5) ประเมินกระบวนการดำเนินงาน 6) ประเมินผลลัพธ์ และ 7) แลกเปลี่ยนเรียนรู้ รวมเวลาในการดำเนินกิจกรรม 22 สัปดาห์ ในแต่ละขั้นตอนใช้กลยุทธ์และหลักการของการประเมินแบบเสริมพลังอำนาจโดยใช้แอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตควบคู่กับการลงพื้นที่ในการดำเนินกิจกรรม 2) รูปแบบที่สร้างขึ้นสามารถพัฒนาสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลการศึกษาของนักศึกษาวิชาชีพครูได้จริง นักศึกษาวิชาชีพครูในกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความรู้ความเข้าใจและทักษะปฏิบัติด้านการวัดและประเมินผลการศึกษาสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่มีเจตคติต่อการวัดและประเมินผลการศึกษาไม่แตกต่างกัน นักศึกษาสาขาการศึกษาปฐมวัยมีคะแนนความรู้ความเข้าใจด้านการวัดและประเมินผลการศึกษาสูงกว่าสาขาวิชาพลศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ด้านทักษะปฏิบัติ นักศึกษาสาขาการศึกษาปฐมวัย สาขาเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์ศึกษามีคะแนนทักษะปฏิบัติสูงกว่าสาขาวิชาพลศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่มีเจตคติต่อการวัดและประเมินผลการศึกษาไม่แตกต่างกัน 3) รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลการศึกษาของนักศึกษาวิชาชีพครูที่ประยุกต์ใช้การประเมินแบบเสริมพลังอำนาจมีคุณภาพตามมาตรฐานด้านอรรถประโยชน์ ด้านความเป็นไปได้ ด้านความเหมาะสม และด้านความถูกต้อง


การพัฒนารูปแบบการประเมินหลักสูตรการอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรี:การประยุกต์ใช้การประเมินพหุแนวคิด, อังค์วรา วงษ์รักษา Jan 2019

การพัฒนารูปแบบการประเมินหลักสูตรการอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรี:การประยุกต์ใช้การประเมินพหุแนวคิด, อังค์วรา วงษ์รักษา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. พัฒนารูปแบบการประเมินหลักสูตรการอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรี โดยประยุกต์ใช้การประเมินพหุแนวคิด และ2. เพื่อทดลองใช้ และประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการประเมินหลักสูตรการอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรี ที่พัฒนาขึ้น แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรการอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรี แนวคิดการประเมินหลักสูตร การประเมินโครงการ ผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรและการสอน การวัดและประเมินผล และหลักสูตรการอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรีจำนวน 38 คน หน่วยทดลองประกอบด้วย 2 หน่วยได้แก่หลักสูตรเทคโนโลยีไฟฟ้า และหลักสูตรการจัดการสำนักงาน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกข้อมูลการสนทนากลุ่ม แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการประเมินหลักสูตร และแบบประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการประเมินหลักสูตร การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติภาคบรรยาย และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสามารถสรุปได้ดังนี้ 1. รูปแบบการประเมินหลักสูตรการอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรี โดยประยุกต์ใช้การประเมินพหุแนวคิด เป็นบูรณาการการประเมิน 3 แนวคิดได้แก่ 1) แนวคิด CIPIEST model 2) แนวคิด Discrepancy model และ 3) แนวคิด Utilization –focused evaluation ซึ่งมีองค์ประกอบของรูปแบบการประเมินประกอบด้วย 6 องค์ประกอบได้แก่ 1) วัตถุประสงค์และการออกแบบการประเมิน โดยมีองค์ประกอบตัวบ่งชี้ เกณฑ์การประเมินหลักสูตรประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ 29 ตัวบ่งชี้ 2) วิธีการประเมิน 3) การเก็บรวบรวมข้อมูล 4) การวิเคราะห์ข้อมูล 5) รายงานผลการประเมิน และ6) การให้ข้อมูลป้อนกลับ โดยมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด 2. การทดลองใช้รูปแบบการประเมินหลักสูตรการอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรี พบว่าทั้งสองหลักสูตรสามารถดำเนินการได้ครบถ้วนตามองค์ประกอบ และตัวบ่งชี้ที่กำหนด และมีผลการประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการประเมินหลักสูตรทั้ง 5 มาตรฐาน ได้แก่มาตรฐานด้านอรรถประโยชน์ มาตรฐานด้านความเป็นไปได้ มาตรฐานด้านความเหมาะสม มาตรฐานด้านความถูกต้อง และมาตรฐานด้านความรับผิดชอบต่อการประเมิน อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุดทุกรายการ


การพัฒนาเครื่องมือประเมินการสังเกตชั้นเรียนและการให้ข้อมูลป้อนกลับของครู โดยใช้เครื่องมือที่มีวิดีโอเป็นฐาน, วรัญญู ฉายาบรรณ์ Jan 2019

การพัฒนาเครื่องมือประเมินการสังเกตชั้นเรียนและการให้ข้อมูลป้อนกลับของครู โดยใช้เครื่องมือที่มีวิดีโอเป็นฐาน, วรัญญู ฉายาบรรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การสังเกตชั้นเรียนและการให้ข้อมูลป้อนกลับเป็นสมรรถนะของครูที่สนับสนุนคุณลักษณะของนักเรียนไปสู่เป้าหมายทางการศึกษา การวิจัยนี้มี 3 ระยะ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์สภาพการสังเกตชั้นเรียนและการให้ข้อมูลป้อนกลับของครูในมุมมองครูและมุมมองนักเรียน (2) พัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือประเมินการสังเกตชั้นเรียนและการให้ข้อมูลป้อนกลับของครู ทั้งเครื่องมือที่มีวิดีโอเป็นฐาน และมาตรประมาณค่า และ (3) วิเคราะห์และเปรียบเทียบรูปแบบการสังเกตชั้นเรียนและการให้ข้อมูลป้อนกลับของครูจากเครื่องมือที่มีวิดีโอเป็นฐานและมาตรประมาณค่า ทั้งนี้ระยะแรกเป็นขั้นการวิเคราะห์สภาพการสังเกตนักเรียนในชั้นเรียนและการให้ข้อมูลป้อนกลับของครูในมุมมองครูและมุมมองนักเรียน ผู้ให้ข้อมูลเป็นครูและนักเรียนชั้นประถมศึกษาจำนวน 36 คน เก็บข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่สองเป็นการพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือประเมินการสังเกตชั้นเรียนและการให้ข้อมูลป้อนกลับของครู โดยเครื่องมือที่มีวิดีโอเป็นฐานประกอบด้วยชุดคำถามสำหรับแอนิเมชัน 3 วิดีโอ ตรวจสอบคุณภาพในด้านความสมจริง ความตรงเฉพาะหน้า และความเที่ยงระหว่างผู้ประเมินโดยใช้สถิติแคปปา ส่วนมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ผ่านการตรวจสอบในด้านความตรงเฉพาะหน้า ความตรงเชิงเนื้อหาด้วยดัชนี IOC ความตรงเชิงโครงสร้างด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และความเที่ยงเชิงความสอดคล้องภายในด้วยสัมประสิทธิ์แอลฟา ระยะที่สาม วิเคราะห์และเปรียบเทียบรูปแบบการสังเกตชั้นเรียนและการให้ข้อมูลป้อนกลับของครูประถมศึกษาจำนวน 47 คน ที่ตอบเครื่องมือที่มีวิดีโอเป็นฐานและมาตรประมาณค่า ใช้การวิเคราะห์เนื้อหาแบบดั้งเดิมและการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงแก่นสาระด้วยโปรแกรม MAXQDA ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ลักษณะของพฤติกรรมที่ครูสังเกตชั้นเรียน มี 3 ด้าน ได้แก่ 1) การสังเกตชั้นเรียนด้านความรู้ ประกอบด้วย การรู้ชัดและการรู้ไม่จริง 2) การสังเกตชั้นเรียนด้านความรู้สึก ประกอบด้วย อารมณ์ทางบวกและอารมณ์ทางลบ และ 3) การสังเกตชั้นเรียนด้านพฤติกรรม ประกอบด้วย พฤติกรรมที่สนับสนุนการเรียนการสอนและพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ และวิธีการให้ข้อมูลป้อนกลับที่ครูใช้ แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) การให้ข้อมูลป้อนกลับทั่วไป 2) การให้ข้อมูลป้อนกลับทางบวก และ 3) การให้ข้อมูลป้อนกลับทางลบ 2. เครื่องมือที่มีวิดีโอเป็นฐานที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยแอนิเมชัน 3 วิดีโอ ซึ่งออกแบบคำถามเป็นปลายเปิดเกี่ยวกับพฤติกรรมของนักเรียนที่ให้ครูสังเกตและเสนอข้อมูลป้อนกลับ รวมทั้งให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินความสมจริงของสถานการณ์ในวิดีโออยู่ในระดับที่ยอมรับได้ มีความตรงเฉพาะหน้า และมีค่าความเที่ยงระหว่างผู้ประเมินด้วยสถิติแคปปาอยู่ในช่วง .607 - .866 ส่วนมาตรประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 26 ข้อ มีความตรงเฉพาะหน้า ส่วนความตรงเชิงเนื้อหาด้วยดัชนี IOC มีค่า .670 – 1 ขณะที่ผลจากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันบ่งชี้ว่ามีความตรงเชิงโครงสร้าง โดยโมเดลการวัดการสังเกตชั้นเรียนมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ …


การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมการนำผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของการศึกษาสู่การปฏิบัติในห้องเรียนโดยใช้การคิดออกแบบของครู : การวิจัยการนำสู่การปฏิบัติอิงการออกแบบ, กษิดิศ ครุฑางคะ Jan 2019

การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมการนำผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของการศึกษาสู่การปฏิบัติในห้องเรียนโดยใช้การคิดออกแบบของครู : การวิจัยการนำสู่การปฏิบัติอิงการออกแบบ, กษิดิศ ครุฑางคะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การขับเคลื่อนนโยบายทางการศึกษาที่ผ่านมาประสบปัญหาในกระบวนการการนำสู่การปฏิบัติ การส่งเสริมให้ครูนำแนวคิดของการคิดออกแบบมาใช้ในการดำเนินงานคาดหวังว่าจะทำให้ผู้เรียนบรรลุผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของการศึกษา (DOE) งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความพร้อมของครู และการสร้างหลักการออกแบบและพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมการนำ DOE สู่การปฏิบัติโดยใช้การคิดออกแบบของครู การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การวิเคราะห์ความพร้อมและความต้องการจำเป็นของครูด้านการคิดออกแบบ โดยใช้การวิจัยเชิงสำรวจ ตัวอย่างวิจัยเป็นครูระดับประถมศึกษา จำนวน 674 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มหลายขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุนาม (three-way MANOVA) และดัชนี PNImodified ระยะที่ 2 การกำหนดหลักการออกแบบและการพัฒนาต้นแบบโปรแกรมฯ โดยอิงผลการวิจัยประสบการณ์ผู้ใช้จากการสัมภาษณ์ครูจำนวน 7 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่ 3 การประเมินและสะท้อนผลที่เกิดจากการทดลองใช้ต้นแบบโปรแกรมฯ ผลการถอดบทเรียนจากการนำสู่การปฏิบัตินำไปสู่การกำหนดหลักการออกแบบใหม่สำหรับการสร้างโปรแกรมฯ ที่เหมาะสมยิ่งขึ้น ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ครูมีความพร้อมด้านการนำ DOE สู่การปฏิบัติโดยใช้การคิดออกแบบในระดับสูง และมีระดับความพร้อมของครูแตกต่างกัน โดยครูที่มีประสบการณ์ทำงานน้อยกว่า 5 ปี มีความพร้อมสูงกว่าครูที่ประสบการณ์มากกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ข้ออ้างเชิงเหตุผลที่นำมาใช้ในการกำหนดหลักการออกแบบ คือ แนวคิดการเสริมสร้างความมั่นใจในการสร้างสรรค์ การประเมินแบบเสริมพลังอำนาจ และชุมชนการเพิ่มคุณภาพแบบเครือข่าย หลักการออกแบบต้นแบบโปรแกรมฯ ประกอบด้วยคุณลักษณะของโปรแกรมมี 2 ประการ คือ 1) การสร้างกรอบคิดติดยึดด้านการคิดออกแบบ และ 2) การสร้างความมั่นใจในการสร้างสรรค์ ผ่านกระบวนการ 6 กระบวนการ 3. ผลการใช้ต้นแบบโปรแกรมฯ พบว่าครูที่เข้าร่วมกิจกรรมมีทักษะการคิดออกแบบเพิ่มสูงขึ้น ผู้เรียนมีคุณลักษณะตาม DOE เพิ่มสูงขึ้น มีการเสนอหลักการออกแบบใหม่ เป็นหลักการออกแบบระดับทั่วไป 6 ข้อ และหลักการออกแบบระดับพื้นที่ 7 ข้อ นอกจากนี้ ยังยืนยันแนวคิดที่นำมาใช้เป็นข้ออ้างเชิงหตุผลในการสร้างหลักการออกแบบ


การพัฒนาแชทบอทเพื่อส่งเสริมความเป็นผู้ประกอบการของนักเรียน : คราวด์ซอร์สซิ่งและการวิเคราะห์ข้อความ, ชนัญญา สุขสมวัฒน์ Jan 2019

การพัฒนาแชทบอทเพื่อส่งเสริมความเป็นผู้ประกอบการของนักเรียน : คราวด์ซอร์สซิ่งและการวิเคราะห์ข้อความ, ชนัญญา สุขสมวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การสอนเพื่อส่งเสริมความเป็นผู้ประกอบการเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับผู้เรียน ให้มีคุณลักษณะ สมรรถนะ และทักษะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อออกแบบโครงสร้างการสนทนาสำหรับใช้ในการพัฒนาแชทบอทเพื่อวัดคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการของนักเรียน และการจัดกิจกรรมส่งเสริมความเป็นผู้ประกอบการจากมุมมองของผู้สอนและผู้เกี่ยวข้องโดยการทำคราวด์ซอร์สซิ่ง 2) เพื่อออกแบบแชทบอทและโครงสร้างการสนทนาโต้ตอบระหว่างนักเรียนและหุ่นยนต์ (บอท) เพื่อวิเคราะห์และส่งเสริมคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการของนักเรียน 3) เพื่อตรวจสอบและประเมินผลการใช้งานแชทบอทที่มีต่อการส่งเสริมคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการของนักเรียน และวิเคราะห์ความถูกต้องและความเหมาะสมของแชทบอทที่พัฒนาขึ้น การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การออกแบบโครงสร้างการสนทนาเพื่อวัดคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการ ตัวอย่างวิจัย คือผู้สอนที่มีประสบการณ์ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความเป็นผู้ประกอบการ จำนวน 13 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ผู้สอน และข้อมูลจากกลุ่มคนสาธารณะบนสื่อสังคม (social media) ด้วยการทำคราวด์ซอร์สซิ่ง (crowdsourcing) ระยะที่ 2 การออกแบบแชทบอทเพื่อส่งเสริมความเป็นผู้ประกอบการและการวิเคราะห์ข้อความจากคำตอบของกลุ่มคนสาธารณะเพื่อนำมาสร้างเป็นคลังข้อมูลให้หุ่นยนต์ (บอท) ได้เรียนรู้ และระยะที่ 3 การทดลองใช้และประเมินแชทบอท ตัวอย่างวิจัย คือครูมัธยมศึกษาที่สอนรายวิชาความเป็นผู้ประกอบการจำนวน 2 คน และนักเรียนที่ทดลองใช้แชทบอทจำนวน 8 คน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. คุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการมี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การทำงานเชิงรุก 2) การสร้างนวัตกรรม 3) การยอมรับความเสี่ยง 4) ความเป็นอิสระในการบริหารงาน และ 5) การแข่งขันเชิงรุก กิจกรรมส่งเสริมความเป็นผู้ประกอบการมี 6 ประเภท ได้แก่ 1) กิจกรรมเน้นความสนใจของผู้เรียน 2) กิจกรรมเน้นการวิเคราะห์ตนเอง 3) กิจกรรมเน้นการวางแผนและความเป็นผู้นำ 4) กิจกรรมเน้นการติดตามข่าวสาร 5) กิจกรรมที่เป็นกรณีศึกษา และ 6) กิจกรรมเน้นการเป็นผู้ประกอบการ โดยข้อมูลส่วนนี้นำมาใช้ในการกำหนดโครงสร้างการสนทนาภายในแชทบอท 2. แชทบอทที่พัฒนาขึ้นจัดทำในรูปแบบ Keyword Recognition Chatbot สามารถตรวจจับคำตอบจากคำสำคัญที่กำหนดเพื่อใช้ในการต่อบทสนทนา ทำให้ข้อคำถามที่สร้างขึ้นมีความชัดเจน มีการกำหนดตัวเลือกหรือขอบเขตในการตอบชัดเจน มีการสร้างคลังข้อมูลสำหรับให้หุ่นยนต์ (บอท) ได้เรียนรู้ 3. ผลการทดลองใช้แชทบอท พบว่าผู้สอนและผู้เรียนเห็นว่าแชทบอทมีความเหมาะสมด้านการนำไปใช้งาน ให้ผลการประเมินถูกต้อง และช่วยส่งเสริมความเป็นผู้ประกอบการ


การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมการเชื่อมโยงการวิจัยกับการปฏิบัติงานทางการพยาบาลคลินิกโดยใช้การเรียนรู้บนฐานไอซีที : การวิจัยการออกแบบ, ทีปทัศน์ ชินตาปัญญากุล Jan 2019

การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมการเชื่อมโยงการวิจัยกับการปฏิบัติงานทางการพยาบาลคลินิกโดยใช้การเรียนรู้บนฐานไอซีที : การวิจัยการออกแบบ, ทีปทัศน์ ชินตาปัญญากุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การบูรณาการงานวิจัยสู่การปฏิบัติการพยาบาลเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นที่พยาบาลวิชาชีพทุกคนควรให้ความสำคัญ เพื่อพัฒนาความสามารถของวิชาชีพและส่งเสริมคุณภาพการดูแล การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการทำงานและประเมินความต้องการจำเป็นของพยาบาลในการส่งเสริมทำงานแบบเชื่อมโยงงานวิจัยกับการปฏิบัติ 2) พัฒนาหลักการออกแบบและต้นแบบโปรแกรมเพื่อส่งเสริมการทำงานแบบเชื่อมโยงการปฏิบัติงานที่อิงหลักฐานเชิงประจักษ์ (EBP) กับการปฏิบัติงานที่นำไปสู่การสร้างหลักฐานเชิงประจักษ์ (PBE) ตามแนวคิดการเรียนรู้บนฐานไอซีที และ 3) วิเคราะห์ผลการใช้โปรแกรมส่งเสริมการทำงานแบบ EBP-PBE nexus และถอดบทเรียนเป็นหลักการออกแบบใหม่ การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ระยะแรก การวิเคราะห์และสำรวจความต้องการจำเป็น โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยการวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น ตัวอย่างวิจัยคือ พยาบาลวิชาชีพ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เลือกตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 489 คน และผู้ให้ข้อมูลจำนวน 10 คน เครื่องมือวิจัยที่ใช้คือ แบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีคุณภาพด้านความตรงเชิงเนื้อหา ความเที่ยงและความตรงเชิงโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย กำหนดความต้องการจำเป็น โดยใช้สูตร PNImodified และการวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่สอง การพัฒนาหลักการออกแบบต้นแบบโปรแกรมส่งเสริมการทำงานแบบ EBP-PBE nexus โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยการวิจัยการออกแบบ ผู้วิจัยนำข้อมูลความต้องการจำเป็น และแนวคิดเชิงทฤษฎีมากำหนดหลักการออกแบบโปรแกรม ประกอบด้วย แนวคิดทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน แนวคิดพยาบาลพี่เลี้ยงเพื่อส่งเสริมการทำงานโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ และแนวคิดการจัดการเรียนรู้บนฐานไอซีที และระยะที่สาม การประเมินและสะท้อนผล เป็นการนำต้นแบบโปรแกรมส่งเสริมการทำงานแบบ EBP-PBE nexus ไปทดลองใช้กับตัวอย่างวิจัยเป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ ซึ่งเป็นพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต จำนวน 17 คน เพื่อประเมินผลการใช้ต้นแบบและนำผลที่เกิดขึ้นไปกำหนดหลักการออกแบบใหม่ ผลการวิจัยพบว่า 1) พยาบาลวิชาชีพมีความต้องการจำเป็นที่ควรได้รับการพัฒนา ได้แก่ ความต้องการจำเป็นด้านการเชื่อมโยงการวิจัยกับการปฏิบัติ ด้านเจตคติที่ดีต่อการทำงานแบบ EBP-PBE nexus ด้านการนำความรู้ไปใช้ในการทำงาน และด้านความตั้งใจในการทำงานแบบ EBP-PBE nexus 2) หลักการเชิงสาระสำหรับต้นแบบโปรแกรม มีองค์ประกอบหลัก 3 ประการ ได้แก่ การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้เพื่อให้เกิดเจตคติที่ดี การสนับสนุนการทำงานด้วยหลักฐานเชิงประจักษ์โดยพี่เลี้ยง และการส่งเสริมการเรียนรู้โดยใช้ไอซีที มีกระบวนการส่งเสริมการดำเนินงานในต้นแบบโปรแกรม 6 ขั้นตอน ได้แก่ (1) การศึกษาบริบทการทำงานของพยาบาลแต่ละหน่วยงาน 2) การกำหนดตัวอย่างบทความวิจัยที่ตรงกับความสนใจของพยาบาล (3) การสืบค้นและประเมินผลงานวิจัยด้วยตนเอง …


การออกแบบและพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมการถ่ายโยงการเรียนรู้ด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครู, พัชราภรณ์ ทัพมาลี Jan 2019

การออกแบบและพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมการถ่ายโยงการเรียนรู้ด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครู, พัชราภรณ์ ทัพมาลี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ครูยังมีข้อจำกัดในการถ่ายโยงสิ่งที่เรียนรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหาของผู้เรียนในสภาพบริบทที่ซับซ้อน การวิจัยนี้จึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อ (1) ประเมินความต้องการจำเป็นของครูด้านเจตคติต่อการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน การเรียนรู้ด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน และทักษะด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน (2) สร้างหลักการออกแบบและพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมการถ่ายโยงการเรียนรู้ฯ (3) ประเมินและสะท้อนผลการทดลองใช้โปรแกรมส่งเสริมการถ่ายโยงการเรียนรู้ฯ การศึกษาครั้งนี้แบ่งการวิจัยออกเป็น 3 ระยะ ระยะแรก ขั้นวิเคราะห์และสำรวจ ตัวอย่างวิจัยเป็นครู จำนวน 564 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ และวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นโดยใช้เทคนิค Modified Priority Needs Index (PNImodified) ระยะที่สอง ขั้นการออกแบบและพัฒนา โดยสัมภาษณ์ครูจำนวน 8 คน ระยะที่สาม ขั้นประเมินและสะท้อนผล โดยนำโปรแกรมส่งเสริมฯ ไปทดลองใช้กับครู และวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงความสามารถในการถ่ายโยงการเรียนรู้ และพัฒนาหลักการออกแบบใหม่ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ความต้องการจำเป็นที่ครูทุกสังกัดต้องได้รับการพัฒนามากที่สุด คือ ด้านการเรียนรู้ด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน รองลงมา คือ ด้านทักษะด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน และด้านเจตคติต่อการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน 2. ข้ออ้างเชิงเหตุผลที่ใช้ในการสร้างหลักการออกแบบโปรแกรมส่งเสริมการถ่ายโยงการเรียนรู้ฯ คือ แนวคิดโรงเรียนในฐานะชุมชนการเรียนรู้ (SLC) และการปฏิบัติงานแบบสะท้อนคิด องค์ประกอบของหลักการออกแบบเชิงเนื้อหาสาระประกอบด้วย 1) การสร้างความเข้าใจในกระบวนการทำวิจัยโดยใช้การวิจัยแบบร่วมมือรวมพลัง 2) การส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการวิจัยในชั้นเรียนผ่านการฝึกปฏิบัติในบริบทจริง และ 3) การส่งเสริมการสะท้อนคิดและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง 3. ผลผลิตสำคัญของการวิจัยการออกแบบมี 4 ประการ คือ 1) โปรแกรมส่งเสริมการถ่ายโยงการเรียนรู้ด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน 2) ความสามารถในการถ่ายโยงการเรียนรู้ของครูที่สูงขึ้น 3) การยืนยันแนวคิด SLC และการปฏิบัติงานแบบสะท้อนคิดที่ใช้เป็นข้ออ้างเชิงเหตุผลในการกำหนดหลักการออกแบบ และ 4) การเสนอหลักการออกแบบใหม่ 15 ข้อ


การพัฒนาต้นแบบที่เหมาะสมในการส่งเสริมความรอบรู้ด้านการเงินของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต : การประยุกต์ใช้โมสต์และสมาร์ท, ธีรยุทธ พิริยะอารยะกูล Jan 2019

การพัฒนาต้นแบบที่เหมาะสมในการส่งเสริมความรอบรู้ด้านการเงินของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต : การประยุกต์ใช้โมสต์และสมาร์ท, ธีรยุทธ พิริยะอารยะกูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลเชิงสาเหตุของความรอบรู้ด้านการเงินของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 2) วิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการส่งเสริมความรอบรู้ด้านการเงินของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต 3) พัฒนาต้นแบบที่เหมาะสมในการส่งเสริมความรอบรู้ด้านการเงินของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตโดยประยุกต์ใช้ MOST และ SMART และ 4) ศึกษาผลการใช้ต้นแบบที่เหมาะสมในการส่งเสริมความรอบรู้ด้านการเงินของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตโดยใช้การสำรวจ วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 4 ระยะ การวิจัยระยะที่ 1 และระยะที่ 2 ใช้การวิจัยเชิงสำรวจในการวิเคราะห์ความรอบรู้ด้านการเงินของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตและความต้องการจำเป็น ตัวอย่างวิจัย ประกอบด้วย นิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตจำนวน 1,494 คน จากสถาบันอุดมศึกษารัฐ สถาบันอุดมศึกษาเอกชน และสถานศึกษานอกสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย แบบวัดความรู้ทางการเงินมีความตรงเชิงเนื้อหา (IOC) มีค่าอยู่ระหว่าง .428 ถึง 1.000 มีค่าความเที่ยง (KR20) เท่ากับ .783 มีค่าความยากอยู่ระหว่าง .533 ถึง .783 มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .278 ถึง .764 แบบวัดเจตคติทางการเงินและพฤติกรรมทางการเงินมีความตรงเชิงเนื้อหา (IOC) มีค่าอยู่ระหว่าง .714 ถึง 1.000 และมีความเที่ยงแบบความสอดคล้องภายในได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคอยู่ระหว่าง .692 ถึง .951 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงบรรยาย ค่าดัชนี PNI แบบปรับปรุง และการวิเคราะห์ตัวแปรพหุนาม การวิจัยระยะที่ 3 เป็นการประยุกต์ใช้ MOST แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนแรก เป็นการวิเคราะห์การศึกษาความรอบรู้ด้านการเงินจากเอกสาร สกัดและพัฒนาองค์ประกอบของต้นแบบที่เหมาะสม ขั้นตอนที่สอง เป็นการคัดเลือกสื่อการเรียนการสอนและคุณลักษณะของเนื้อหาการเรียนการสอนตามคุณลักษณะของต้นแบบที่เหมาะสม มาตรวจสอบการตอบสนองต่อต้นแบบที่เหมาะสมด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลจำนวน 10 คน ในการวิจัยระยะนี้ใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและการประมาณค่าขนาดอิทธิพล การวิจัยระยะที่ 4 เป็นการประยุกต์ใช้ SMART ด้วยการสำรวจ (experimental survey) ในการวิเคราะห์การใช้ต้นแบบที่เหมาะสม ตัวอย่างวิจัย ประกอบด้วย นิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตจำนวน 232 คน จากสถาบันอุดมศึกษารัฐ สถาบันอุดมศึกษาเอกชน และสถานศึกษานอกสังกัดฯ เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามคุณลักษณะของต้นแบบที่เหมาะสม …


การพัฒนาเครื่องมือวัดตัวแปรที่มีความอ่อนไหว: การประยุกต์อาร์อาร์ทีและเอสดีเอสในการวัดเจตคติของครูต่อเพศวิถี, ภาณุวัฒน์ เข็มกลัด Jan 2019

การพัฒนาเครื่องมือวัดตัวแปรที่มีความอ่อนไหว: การประยุกต์อาร์อาร์ทีและเอสดีเอสในการวัดเจตคติของครูต่อเพศวิถี, ภาณุวัฒน์ เข็มกลัด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาเครื่องมือวัดตัวแปรที่มีความอ่อนไหว โดยประยุกต์ใช้เทคนิค RRT และ SDS 2) เปรียบเทียบคุณสมบัติทางจิตมิติของเครื่องมือที่ใช้ในการวัดตัวแปรที่มีความอ่อนไหวระหว่างเครื่องมือที่ประยุกต์ใช้เทคนิค RRT เครื่องมือที่ประยุกต์ใช้เทคนิค RRT ร่วมกับ SDS เครื่องมือที่ใช้การถามโดยตรง และเครื่องมือที่ใช้การถามโดยตรงร่วมกับ SDS และ 3) เปรียบเทียบเจตคติของครูที่มีต่อเพศวิถีซึ่งวัดได้จากเครื่องมือที่พัฒนาขึ้น ระหว่างครูที่มีภูมิหลังแตกต่างกัน ตัวอย่างในการวิจัยคือ ครูผู้สอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 และ เขต 2 และสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จำนวน 267 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือในการวิจัย ประกอบด้วย แบบวัดเจตคติของครูที่มีต่อเพศวิถี จำนวน 4 รูปแบบ ได้แก่ (1) เครื่องมือที่ประยุกต์ใช้เทคนิค RRT (2) เครื่องมือที่ประยุกต์ใช้เทคนิค RRT ร่วมกับ SDS (3) เครื่องมือที่ใช้การถามโดยตรง และ (4) เครื่องมือที่ใช้การถามโดยตรงร่วมกับ SDS ในการวิเคราะห์ข้อมูล ดำเนินการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐานและสถิติอ้างอิง ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์การกระจาย ความเบ้ ความโด่ง การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทาง การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน การวิเคราะห์ค่าความเที่ยงด้วยสูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค การตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบ การสร้างเกณฑ์แปลผลคะแนนโดยอ้างอิงบรรทัดฐานจากคะแนนทีปกติ และการวิเคราะห์เพื่อประมาณค่าคะแนนข้อคำถามรายข้อตามเทคนิค RRT ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. เครื่องมือวัดตัวแปรที่มีความอ่อนไหวโดยประยุกต์ใช้เทคนิค RRT และ SDS ที่พัฒนาขึ้นในการวิจัยครั้งนี้เป็นเครื่องมือวัดเจตคติของครูที่มีต่อเพศวิถี ซึ่งมี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ การตีตราทางเพศ การประเมินค่าและความรู้สึก ความเชื่อเรื่องความเท่าเทียมกันทางสังคม และการแสดงออกต่อผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ ประกอบด้วย 4 รูปแบบ แต่ละรูปแบบมีลักษณะสำคัญและผลการตรวจสอบคุณภาพ ดังนี้ 1) เครื่องมือที่ประยุกต์ใช้เทคนิค RRT มีลักษณะข้อคำถามเป็นแบบเลือกตอบ (ใช่/ไม่ใช่) จำนวน 31 …