Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Business Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 31 - 60 of 525

Full-Text Articles in Business

การปรับปรุงนโยบายการเติมเต็มสินค้าคงคลัง : กรณีศึกษา บริษัทค้าปลีกวัสดุก่อสร้าง, วจนวรรณ จันทวี Jan 2022

การปรับปรุงนโยบายการเติมเต็มสินค้าคงคลัง : กรณีศึกษา บริษัทค้าปลีกวัสดุก่อสร้าง, วจนวรรณ จันทวี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ธุรกิจค้าปลีกสินค้า เป็นธุรกิจที่ต้องมีการบริหารจัดการสินค้าคงคลังที่เหมาะสม เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันกับผู้แข่งขันรายอื่นๆ โดยส่วนใหญ่แล้วการดำเนินงานภายใต้ธุรกิจ ลักษณะนี้มักไม่ทราบค่าความต้องการซื้อของลูกค้าได้ล่วงหน้า อีกทั้งลักษณะความต้องการสินค้า ยังมีลักษณะผันผวน ดังนั้นเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของการบริหารจัดการสินค้าคงคลังแล้ว บริษัทควรมีนโยบายในการเติมเต็มสินค้าคงคลังที่เหมาะสม เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ภายใต้ต้นทุนการบริหารจัดการที่เหมาะสม จากการศึกษาพบว่าในปัจจุบันบริษัทไม่ได้มีการกำหนด นโยบายในการเติมเต็มสินค้าคงคลัง ทั้งมิติทางด้านปริมาณ และเวลาในการสั่งซื้อ ทำให้เกิดปัญหา การจัดเก็บสินค้าคงคลังที่มากเกินไป ในขณะเดียวกันสินค้าบางประเภทกลับเกิดปัญหาสินค้าขาด มือ งานวิจัยฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง โดย แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 ส่วนหลัก ได้แก่การพยากรณ์ความต้องการสินค้า และการกำหนด นโยบายการเติมเต็มสินค้าคงคลังภายใต้ระยะเวลานำ และรอบการสั่งที่คงที่ ในส่วนขั้นตอนการ พยากรณ์ความต้องการสินค้านั้นพบว่าวิธีการที่เหมาะสมกับสินค้าแต่ละรายการสามารถให้ค่าความ คลาดเคลื่อนจากการพยากรณ์ไม่เกิน 10% ซึ่งสามารถใช้เป็นมาตรฐานในการกำหนดปริมาณสินค้า คงคลังสำรองเพื่อความปลอดภัย และระดับคงคลังเป้าหมาย (OUL) เมื่อดำเนินการทดสอบ นโยบายที่นำเสนอ พบว่าปริมาณสินค้าคงคลังสามารถลดลงได้มากถึง 41% ลดต้นทุนรวมลงได้ 25% และสามารถปรับปรุงความสามารถในการให้บริการเป็น 95% ได้


การพิจารณาเลือกที่ตั้งศูนย์กระจายสินค้าที่เหมาะสม กรณีศึกษา : บริษัทขนส่งด่วนระหว่างประเทศ, วัศพจน์ ตากวิริยะนันท์ Jan 2022

การพิจารณาเลือกที่ตั้งศูนย์กระจายสินค้าที่เหมาะสม กรณีศึกษา : บริษัทขนส่งด่วนระหว่างประเทศ, วัศพจน์ ตากวิริยะนันท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยฉบับนี้เป็นการประยุกต์ใช้กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ (Analytic Hierarchy Process) ในการเลือกทำเลที่ตั้งศูนย์กระจายสินค้าแห่งใหม่ของบริษัทกรณีศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาปัจจัยที่มีผลต่อการพิจารณาเลือกที่ตั้งศูนย์กระจายสินค้าและหาพื้นที่ที่มีความเหมาะสมในการจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้านอกจากนี้ยังใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนในการประกอบการตัดสินใจเพิ่มเติม จากการศึกษาพบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกทำเลที่ตั้งประกอบไปด้วยทั้งหมด 8 ปัจจัยคือ ปัจจัยด้วยการขนส่ง ปัจจัยด้านแหล่งสินค้า ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ปัจจัยด้านแรงงาน ปัจจัยด้านการเงิน ปัจจัยด้านสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ ปัจจัยด้านชุมชน และปัจจัยด้านสภาพการแข่งขันทางธุรกิจ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวจะนำมาใช้ในการพิจารณาทำเลที่ตั้งทางเลือกทั้งหมด 2 แห่ง คือ ถนนเทพารักษ์ กม. 8 จังหวัดสมุทรปราการ และถนนบางนา-ตราด จังหวัดกรุงเทพมหานคร ผลจากการศึกษาตามกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์พบว่าปัจจัยที่สำคัญ 3 ลำดับแรกที่ส่งผลต่อการเลือกทำเลที่ตั้งของศูนย์กระจายสินค้าแห่งใหม่ของบริษัทกรณีศึกษา คือ ปัจจัยด้านการขนส่ง ปัจจัยด้านแหล่งสินค้า และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งคิดเป็น 71.6 เปอร์เซ็นต์ของค่าน้ำหนักความสำคัญของปัจจัยทั้งหมด ส่วนทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดคือ ถนนเทพารักษ์ กม. 8 จังหวัดสมุทรปราการ โดยผลวิเคราะห์ความเหมาะสมนั้นก็มีความสอดคล้องกับผลลัพธ์ดังกล่าว ซึ่งสามารถนำมาวิเคราะห์เพื่อสรุปผล อภิปรายผล และวิเคราะห์เหมาะสมในการลงทุนสร้างศูนย์กระจายสินค้าในพื้นที่ที่ได้จากการใช้กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์


รูปแบบการส่งคืนภาชนะใช้ซ้ำได้สำหรับการสั่งอาหารออนไลน์, สิริพงศ์ เพ็ญสิริพงศ์ Jan 2022

รูปแบบการส่งคืนภาชนะใช้ซ้ำได้สำหรับการสั่งอาหารออนไลน์, สิริพงศ์ เพ็ญสิริพงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความนิยมของแอพพลิเคชันสั่งอาหารออนไลน์ที่เพิ่มขึ้นมาพร้อมกับปริมาณขยะพลาสติก ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งซึ่งก่อให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมตามมา งานวิจัยนี้ต้องการศึกษาแนวทางการ ลดขยะพลาสติกโดยใช้แนวคิดโลจิสติกส์ย้อนกลับ และเศรษฐกิจหมุนเวียนในการหารูปแบบการใช้ งานภาชนะใช้ซ้ำได้ที่ผู้บริโภคยอมรับ โดยการเก็บแบบสอบถามจากผู้ใช้บริการแอพพลิเคชันสั่ง อาหารออนไลน์ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ใช้วิธีการวิเคราะห์การถดถอยเชิงอันดับใน การหาปัจจัยของผู้บริโภคที่ส่งผลต่อระดับการยอมรับการใช้งานภาชนะใช้ซ้ำได้ ประกอบไปด้วย ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ปัจจัยด้านพฤติกรรมการบริโภค และปัจจัยด้านทัศนคติต่อสิ่งแวดล้อม ผลการวิจัยพบว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะยอมรับการใช้งานภาชนะใช้ซ้ำได้ และยอมรับ การคืนภาชนะด้วยการมารับคืนถึงที่ผ่านไรเดอร์ อย่างไรก็ตามผู้บริโภคมีความกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย ที่เพิ่มขึ้น และความสะอาดของภาชนะโดยกว่า 3 ใน 4 ยอมรับค่าใช้จ่ายได้สูงสุดไม่เกินร้อยละ 5 เท่านั้น ผลการวิเคราะห์การถดถอยพบว่าทัศนคติต่อปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผล ต่อระดับการยอมรับการใช้งานภาชนะใช้ซ้ำได้ ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์เดียวที่ส่งผลต่อระดับ การยอมรับ คือ อายุ ปัจจัยที่มีอิทธิพลอื่น ๆ ได้แก่ รูปแบบการเดินทางในชีวิตประจำวัน และ ความถี่ในการใช้บริการสั่งอาหาร โดยพบว่าผู้มีอายุน้อยมีโอกาสที่จะยอมรับการใช้งานภาชนะใช้ซ้ำ ได้สูงกว่าผู้มีอายุมาก ทั้งนี้เป็นที่น่าสังเกตว่ารายได้และระดับการศึกษาไม่ส่งผลต่อระดับการ ยอมรับการใช้งานภาชนะใช้ซ้ำได้ และผู้ใช้ยานพาหนะส่วนบุคคลในการเดินทางยอมรับการใช้งาน มากกว่าผู้ใช้ระบบขนส่งสาธารณะ


อิทธิพลของฤดูกาลต่ออุปสงค์ของเครื่องปรับอากาศ : กรณีศึกษา บริษัท Abc, อติญา วงศ์แก้ว Jan 2022

อิทธิพลของฤดูกาลต่ออุปสงค์ของเครื่องปรับอากาศ : กรณีศึกษา บริษัท Abc, อติญา วงศ์แก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ศึกษาผลของฤดูกาลในการขายต่อปริมาณจำหน่ายเครื่องปรับอากาศ และศึกษา และประเมินวิธีพยากรณ์ที่เหมาะสมในการพยากรณ์ความต้องการสินค้าเครื่องปรับอากาศภายใต้ผลของฤดูกาล โดยข้อมูลที่นำมาศึกษา คือ ปริมาณยอดขายสินค้าที่ร้านค้าขายให้กับผู้บริโภค (Sell-out) เนื่องจากผู้วิจัยต้องการศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เกิดขึ้นจริงของเครื่องปรับอากาศใน 5 รายการสินค้า ตั้งแต่เดือนมกราคม 2014 จนถึงเดือนธันวาคม 2018 โดยแบ่งเป็น 2 ชุดข้อมูล คือ ชุดข้อมูลที่ 1 ปริมาณยอดขายสินค้าย้อนหลังตั้งแต่เดือนมกราคม 2014 จนถึงเดือนธันวาคม 2017 ชุดข้อมูลที่ 2 ปริมาณยอดขายสินค้าย้อนหลังตั้งแต่เดือนมกราคมจนถึงเดือนธันวาคม 2018 เพื่อใช้ในการเลือกเทคนิคการพยากรณ์ที่เหมาะสมสำหรับแต่ละรายการ โดยเปรียบเทียบการพยากรณ์ในรูปแบบแนวโน้มฤดูกาลแบบบวก และรูปแบบแนวโน้มฤดูกาลแบบคูณ


การคัดเลือกผู้ให้บริการบุคคลที่ 3 โดยการใช้กระบวนการตัดสินใจ แบบวิเคราะห์ลำดับชั้น : กรณีศึกษาบริษัทจำหน่ายสินค้าประเภทมอเตอร์ไฟฟ้า, อรจิรา บุญเล็ก Jan 2022

การคัดเลือกผู้ให้บริการบุคคลที่ 3 โดยการใช้กระบวนการตัดสินใจ แบบวิเคราะห์ลำดับชั้น : กรณีศึกษาบริษัทจำหน่ายสินค้าประเภทมอเตอร์ไฟฟ้า, อรจิรา บุญเล็ก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาและค้นคว้าอิสระนี้จะเป็นการศึกษาการคัดเลือกผู้ให้บริการโลจิสติกส์บุคคลที่ 3 (3PL) ในบริษัทกรณีศึกษา บริษัทจำหน่ายมอเตอร์ไฟฟ้า วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยในการคัดเลือกผู้ให้บริการและเพื่อคัดเลือกผู้ให้บริการโลจิสติกส์บุคคลที่ 3 ให้เหมาะสมต่อการดำเนินธุรกิจ และสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพในการขนส่งสินค้าและบริการ ผู้ศึกษาได้ทำการศึกษา รวบรวมปัจจัยและคัดเลือกเกณฑ์หลักที่ใช้ในการคัดเลือก ด้วยการจัดลำดับความสำคัญของปัจจัย โดยวิเคราะห์ Rough Step-wise Weight Assessment Ratio Analysis (R-SWARA) จากปัจจัย หลัก 6 ปัจจัย ประกอบด้วย การส่งมอบ ต้นทุน เทคโนโลยีสารสนเทศ ประสิทธิภาพทางการเงิน สิ่งที่จับต้องไม่ได้เช่น ชื่อเสียงและประสบการณ์ และการปฏิบัติงาน โดยมีการนำเกณฑ์หลัก หลังจากการจัดลำดับมาใช้ในการคัดเลือกผู้ให้บริการ 3PL ในการศึกษานี้ วิเคราะห์เลือกบริษัทผู้ ให้บริการ 3PL 4 ราย ด้วยวิธีวิเคราะห์ Analytic Hierarchy Process (AHP) ผู้ศึกษาจะใช้ แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด 7 ท่าน ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ผู้เชี่ยวชาญให้น้ำหนักความสำคัญมากที่สุดคือ การส่งมอบ รองลงมาต้นทุน เทคโนโลยี สารสนเทศ ประสิทธิภาพทางการเงิน การปฎิบัติงานและสิ่งที่จับต้องไม่ได้ ตามลำดับ ซึ่งผลคะแนน รวมทางเลือกบริษัทผู้ให้บริการโลจิสติกส์บุคคลที่ 3 บริษัท B มีคะแนนความสำคัญสูงสุด รองลงมา เป็นบริษัท A บริษัท C และ บริษัท D ซึ่งบริษัท B และ A เป็นบริษัทที่บริษัทกรณีศึกษาใช้บริการ อยู่ในปัจจุบัน


ถอดบทเรียนการใช้หญ้าแฝกแก้ปัญหาดินดานเพื่อทำการเกษตร : กรณีศึกษา พื้นที่หมู่บ้านรอบศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรี, วิศรุตา วิเชียร Jan 2022

ถอดบทเรียนการใช้หญ้าแฝกแก้ปัญหาดินดานเพื่อทำการเกษตร : กรณีศึกษา พื้นที่หมู่บ้านรอบศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรี, วิศรุตา วิเชียร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อถอดบทเรียนการใช้หญ้าแฝกแก้ปัญหาดินดานเพื่อทำการเกษตร และเสนอแนวทางในการรณรงค์ส่งเสริมการใช้หญ้าแฝกแก้ปัญหาดินดานเพื่อทำการเกษตร ดำเนินการศึกษาโดยใช้เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) เป็นเครื่องมือในการศึกษาและรวบรวมข้อมูล พิจารณาคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive random) จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มหน่วยงานภาครัฐที่ขับเคลื่อนการใช้หญ้าแฝก คือ เจ้าหน้าที่จากศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 3 ท่าน และเจ้าหน้าที่จากสถานีพัฒนาที่ดินเพชรบุรี 1 ท่าน 2) กลุ่มภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง คือ เครือข่ายคนรักษ์แฝก 3 ท่าน และ 3) กลุ่มอาชีพเกษตร ในพื้นที่หมู่บ้านเป้าหมายในการขยายผลและถ่ายทอดเทคโนโลยี 8 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลในรูปแบบการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (content analysis) และการตีความ (interpretation) ตามกรอบการวิจัยเชิงย้อนรอย (Expost facto research) โดยวิเคราะห์ตามกรอบแนวคิดทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง (Theory of change) ในลักษณะการพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า การที่กลุ่มเกษตรกรมีการใช้ประโยชน์จากหญ้าแฝกแก้ปัญหาดินดานเพื่อทำการเกษตรที่ประสบผลสำเร็จ จุดเริ่มต้นมาจากการมีบทบาทผู้นำ (Actors) ในการขับเคลื่อนที่ชัดเจน กล่าวคือ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ สถานีพัฒนาที่ดินเพชรบุรี และภาคีเครือข่ายคนรักษ์แฝก สร้างความร่วมมือกันในลักษณะเครือข่ายเพื่อกำหนดกลยุทธ์การดำเนินงาน (Activity) ที่เน้นหนักในด้านการสนับสนุน (Input) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องให้กับกลุ่มเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง คือ 1) กลยุทธ์การถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการใช้หญ้าแฝกแก้ปัญหาดินดาน 2) กลยุทธ์การแจกจ่ายพันธุ์กล้าหญ้าแฝก 3) กลยุทธ์การติดตามประเมินผล และ 4) กลยุทธ์การบริหารจัดการ ซึ่งบทบาทผู้นำ (Actors) และกลยุทธ์การดำเนินงาน (Activity) เปรียบเสมือนตัวแปรสำคัญที่สามารถสร้างความเชื่อมโยงและความร่วมมือระหว่างกลุ่มเกษตรกร ส่งผลให้เกิดการรวมกลุ่มของเกษตรและนำหญ้าแฝกไปใช้แก้ปัญหาดินดานในพื้นที่ เกิดผลการเปลี่ยนแปลงภายหลังจากการใช้หญ้าแฝกใน 3 มิติ คือ 1) ในแง่ของ Output คือ ดินดานลดน้อยลง พืชให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น 2) ในแง่ของ Outcome คือ กลุ่มเกษตรกรยอมรับหญ้าแฝก ปรับเปลี่ยนวิธีการทำเกษตรที่คำนึงถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรดินตามกรอบเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) …


ทัศนคติผู้บริโภคต่อธุรกิจขนส่งสัตว์เลี้ยงพร้อมระบบติดตามระหว่างกรุงเทพฯ – เชียงใหม่, ณิชากร เพ็ชรตุ่น Jan 2022

ทัศนคติผู้บริโภคต่อธุรกิจขนส่งสัตว์เลี้ยงพร้อมระบบติดตามระหว่างกรุงเทพฯ – เชียงใหม่, ณิชากร เพ็ชรตุ่น

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ทัศนคติผู้บริโภคต่อธุรกิจขนส่งสัตว์เลี้ยงพร้อมระบบติดตามระหว่างกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ เป็นการศึกษาเพื่อเสาะหาช่องทางในการทำธุรกิจขนส่งสัตว์เลี้ยงแบบใหม่ ที่คาดว่าจะสามารถตอบสนองต่อพฤติกรรมการบริโภคและตลาดสัตว์เลี้ยงที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยผู้วิจัยได้คำนวณต้นทุน และราคาค่าขนส่ง ซึ่งมีทั้งหมด 5 ราคา โดยแยกตามขนาด จากนั้นก็ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถาม ซึ่งถามถึงลักษณะทางประชากรศาสตร์ของเจ้าของสัตว์เลี้ยงความถี่ในการพาสัตว์เลี้ยงไปเที่ยว ลักษณะทางประชากรศาสตร์ของสัตว์เลี้ยงและการยอมรับราคาฟังก์ชั่นต่าง ๆ ในการติดตามการขนส่งสัตว์เลี้ยง คุณลักษณะการบริการและเหตุผลที่ต้องการใช้บริการ ผลการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่ของเจ้าของสัตว์เลี้ยง ยอมรับราคาที่ตั้งไว้ที่ 2,400 บาท (XS), 3,000 บาท (S), 3,800 บาท (M), 4,600 บาท (L), 5,300 บาท (XL) และ 6,100 บาท (XXL) มีความเห็นด้วยกับคุณลักษณะการให้บริการที่ตั้งไว้ และมีเหตุผลในการใช้บริการคือการท่องเที่ยว การย้ายถิ่นฐาน และการยกให้เจ้าของใหม่ สำหรับการยอมรับราคา ตัวแปรที่มีอิทธิพลคือเงินเดือนของเจ้าของสัตว์เลี้ยง โดยพบว่ายิ่งฐานเงินเดือนน้อยลง ยิ่งมีแนวโน้มปฏิเสธมากขึ้นและในส่วนที่เกี่ยวกับฟังก์ชั่นที่จ่ายเงินเพิ่ม พบว่า สายพันธุ์ มีอิทธิพลมากที่สุดในการยอมรับฟังก์ชั่น โดยเจ้าของสัตว์เลี้ยงพันธุ์เฟรนช์ บูลด็อก มีแนวโน้มยอมรับมากกว่าสายพันธุ์อื่น เนื่องจากความอ่อนแอตามสายพันธุ์ที่มีแนวโน้มที่จะป่วยหรือเกิดความผิดปกติมากกว่าสายพันธุ์อื่น


การศึกษาอุปสรรคและการปรับใช้การจองระวางเรือผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์, ณิชกานต์ อินทะวงศ์ Jan 2022

การศึกษาอุปสรรคและการปรับใช้การจองระวางเรือผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์, ณิชกานต์ อินทะวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการการระบบการจองระวางเรืออิเล็กทรอนิกส์ของผู้ขนส่งสินค้าทางทะเล 2. เพื่อศึกษาปัญหาที่พบจากการใช้บริการการระบบการจองระวางเรืออิเล็กทรอนิกส์ของผู้ขนส่งสินค้าทางทะเล 3.เพื่อเป็นแนวทางในการปรับใช้การให้บริการระบบการจองระวางเรืออิเล็กทรอนิกส์ของผู้ขนส่งสินค้าทางทะเลอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่ทำการส่งออกสินค้าทางเรือในรูปแบบตู้คอนเทนเนอร์จากประเทศไทยออกไปต่างประเทศจำนวน 340 ราย และการวิจัยเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์ในเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 5 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ การวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยี ได้แก่ การรับรู้ความง่ายในการใช้งาน และสภาพแวดล้อมภายนอกมีอิทธิพลต่อการเลือกใช้บริการการจองระวางเรือผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ขนส่งสินค้าทางทะเลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน (Beta = .581) มีความสำคัญต่อการเลือกใช้บริการการจองระวางเรือผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ขนส่งสินค้าทางทะเลมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการรับรู้ความง่ายในการใช้งาน (Beta = .441) นอกจากนั้น ยังพบปัญหาการใช้บริการการจองระวางเรือผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ขนส่งสินค้าทางทะเล ได้แก่ ความไม่เสถียรของระบบ ความไม่คุ้นเคยกับระบบ ระบบขาดความยืดหยุ่นการเข้าไปแก้ไขข้อมูลได้ไม่สะดวก บริษัทสายเรือแต่ละแห่งใช้ระบบที่ไม่เหมือนกัน ระบบข้อมูลแตกต่างกัน ความล่าช้าในการตอบรับการจอง การจองไม่เป็นไปตามที่ต้องการ มีข้อจำกัดในการส่งข้อมูลและการเรียกดูข้อมูลย้อนหลัง กระบวนการด้านข้อมูลเอกสารการขนส่งระหว่างประเทศ และการให้บริการดำเนินการจัดการให้เป็นไปตามความต้องการของผู้ใช้บริการเป็นกระบวนการที่มีความสำคัญ การพัฒนาระบบอย่างต่อเนื่องหรือการโฆษณาผ่านทางช่องทางต่าง ๆ เพื่อผลักดันให้ลูกค้าหันมาเลือกใช้บริการ ตอบสนองความต้องการอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการวางแผนเส้นทางบริการระดับปฏิบัติการในอุตสาหกรรมการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ ช่วยส่งเสริมความได้เปรียบในการแข่งขัน และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพช่องทางการให้บริการ เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาการให้บริการประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น


นวัตกรรมกังหันลมแกนนอนขนาดเล็กแบบไร้เพลาสำหรับผลิตกระแสไฟฟ้าจากระบบลมระบายอุตสาหกรรม, วชิระ พุทธิแจ่ม Jan 2022

นวัตกรรมกังหันลมแกนนอนขนาดเล็กแบบไร้เพลาสำหรับผลิตกระแสไฟฟ้าจากระบบลมระบายอุตสาหกรรม, วชิระ พุทธิแจ่ม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ลมระบายที่ถูกปล่อยทิ้งจากภาคอุตสาหกรรมเป็นแหล่งพลังงานลมที่มีศักยภาพสูงในการผลิตกระแสไฟฟ้า เนื่องจากการไหลของลมสม่ำเสมอ มีความเร็วลมสูง แต่การผลิตกระแสไฟฟ้าจากลมระบายอุตสาหกรรมยังไม่เป็นที่แพร่หลายเนื่องจากพบว่าเกิดผลกระทบเชิงลบต่อประสิทธิภาพของระบบระบายอากาศเมื่อนำกังหันลมแบบดั้งเดิมไปใช้ ผู้วิจัยได้สร้างนวัตกรรมกังหันลมแกนนอนแบบไร้เพลาเพื่อแก้ไขข้อจำกัดเหล่านี้ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและสร้างต้นแบบนวัตกรรมกังหันลมแกนนอนแบบไร้เพลาสำหรับผลิตกระแสไฟฟ้าจากลมระบายอุตสาหกรรม ศึกษาการยอมรับผลิตภัณฑ์จากมุมมองลูกค้า และประเมินความสามารถในการลงทุนเชิงพาณิชย์ งานวิจัยนี้มี 5 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนแรก ทำการศึกษาทฤษฎี งานวิจัย สิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องเพื่อหาช่องว่างในการวิจัย นำสนอแนวคิดสร้างสรรค์แบบอเนกนัย แล้วเลือกแบบที่มีความเป็นไปได้มาทำม็อคอัพเพื่อพิสูจน์แนวคิด ผลการศึกษาพบว่าต้นแบบกังหันลมแกนนอนแบบไร้เพลาสามารถหมุนได้ที่ความเร็วลม 5 เมตรต่อวินาทีขึ้นไป ขั้นตอนที่สอง ทำการออกแบบและสร้างต้นแบบกังหันลมแกนนอนแบบไร้เพลา ศึกษาการไหลของลมระบายผ่านกังหันลมแกนนอนแบบไร้เพลาโดยโปรแกรมสร้างแบบจำลองการไหลและการทดสอบจากต้นแบบจริงในห้องปฏิบัติการ ศึกษาผลกระทบต่อระบบลมระบายเมื่อติดตั้งใช้งานและความสามารถในการผลิตกระแสไฟฟ้าของต้นแบบกังหันลมแกนนอนแบบไร้เพลาที่มุมของแกนยึดใบพัดที่ต่างกัน พบว่าในเชิงเทคนิคต้นแบบกังหันลมแกนนอนแบบไร้เพลาที่มีมุมของแกนยึดใบพัดตั้งแต่ 105 ถึง 150 องศา สามารถหมุนได้ที่ความเร็วรอบในช่วง 25 ถึง 275 รอบต่อนาที เมื่อความเร็วลมตั้งแต่ 4 เมตรต่อวินาทีขึ้นไป มีศักยภาพในการผลิตกระแสไฟฟ้าและมีความเป็นไปได้ในการปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น โดยที่ลมระบายสามารถไหลผ่านกังหันลมแกนนอนแบบไร้เพลาสู่ภายนอกได้ โดยไม่ทำให้เกิดผลกระทบเชิงลบต่อประสิทธิภาพการระบายลม ขั้นตอนที่สาม ทำการออกแบบและปรับปรุงต้นแบบสำหรับการทดสอบภาคสนาม พบว่ากังหันลมแกนนอนแบบไร้เพลาสามารถติดตั้งและใช้งานในพื้นที่ที่จำกัดได้ โดยไม่มีผลกระทบเชิงลบต่อระบบลมระบายเช่นเดียวกับผลในห้องปฏิบัติงานและทราบถึงแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีประสิทธิภาพในการผลิตกระแสไฟฟ้าสูงขึ้นและมีความคุ้มค่ามากขึ้นในมุมมองของผู้บริโภคต่อไป ขั้นตอนที่สี่ ทำการศึกษาการยอมรับนวัตกรรมด้วยแบบสอบถาม โดยการสำรวจกลุ่มเป้าหมายจำนวน 322 คน พบว่าผู้ประเมินเห็นคุณค่าของนวัตกรรม มีการยอมรับเทคโนโลยีในระดับสูง และมีความสนใจอย่างมากที่จะนำกังหันลมแกนนอนแบบไร้เพลาไปใช้งาน ขั้นตอนสุดท้าย จัดทำแผนการนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ โดยการจัดตั้งธุรกิจแบบสตาร์ทอัพดำเนินการผลิตกังหันลมแกนนอนแบบไร้เพลาสำหรับผลิตกระแสไฟฟ้าจากลมระบายอุตสาหกรรม ใช้เงินทุนเริ่มต้น 100 ล้านบาท จากการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางการเงิน ธุรกิจนี้มีความเป็นไปได้ในเชิงพาณิชย์ โดยมีระยะเวลาคืนทุนเท่ากับ 3.17 ปี อัตราผลการตอบแทนการลงทุนคือ ร้อยละ 16.1 มูลค่าปัจจุบันในการลงทุนเของโครงการนี้เป็นบวก โครงการนี้มีความเป็นไปได้ในการทำธุรกิจ


Innovation Process Of Amorphous Cellulose - Graphene Oxide Hybrid Structure For Water Treatment In A Shrimp Farm, Kongkiat Phuphantrakun Jan 2022

Innovation Process Of Amorphous Cellulose - Graphene Oxide Hybrid Structure For Water Treatment In A Shrimp Farm, Kongkiat Phuphantrakun

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Amorphous cellulose-graphene oxide bead composites are popularly employed in water purification. However, the existing fabrication methods of amorphous cellulose (AC) and amorphous cellulose-graphene oxide (ACGO) beads are complicated with many chemical use, multi-step, time and energy-consuming. In this research, we proposed an efficient method for fabricating amorphous cellulose-graphene oxide (ACGO) beads using less chemical under a simple 2-step approach. The production process of AC and ACGO beads was successfully fabricated via sulfuric acid (H2SO4) gelatinization and regeneration using eucalyptus paper as a raw material. The cellulose gel was droplet-extruded into deionized (DI) water and transformed into a solid bead via …


ผลกระทบเชิงเศรษฐกิจของการจัดตั้งสายการบินขนส่งเฉพาะสินค้าระยะไกล สัญชาติไทย, ชวัลวิทย์ โตจิต Jan 2022

ผลกระทบเชิงเศรษฐกิจของการจัดตั้งสายการบินขนส่งเฉพาะสินค้าระยะไกล สัญชาติไทย, ชวัลวิทย์ โตจิต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบเชิงเศรษฐกิจของการจัดตั้งสายการบินขนส่งเฉพาะสินค้าระยะไกล สัญชาติไทย และวิเคราะห์โอกาสการจัดตั้งสายการบินขนส่งเฉพาะสินค้าระยะไกล สัญชาติไทย ดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกโดยผู้ให้ข้อมูลแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งสินค้าทางอากาศ, สถาบันการศึกษา, สายการบิน, ตัวแทนการขนส่งสินค้าทางอากาศ และผู้ประกอบการส่งออก จำนวน 31 คน แล้วนำมาวิเคราะห์ ด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) การจัดตั้งสายการบินขนส่งเฉพาะสินค้าระยะไกล สัญชาติไทย ส่งผลกระทบเชิงเศรษฐกิจทั้งในระดับจุลภาคและมหภาคต่อประเทศ ประกอบไปด้วย ด้านการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้านการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในทุกภาคส่วน ด้านการแข่งขันในตลาด ด้านรายรับและรายจ่ายของรัฐบาล ด้านการบูรณาการทางการค้าและเศรษฐกิจ จวบจนถึงผลกระทบต่อผู้บริโภคภายในประเทศ และ 2) จากการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจขนส่งสินค้าทางอากาศ ให้ความคิดเห็นว่า โอกาสในการจัดตั้งสายการบินขนส่งเฉพาะสินค้าระยะไกล สัญชาติไทยนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องหาแนวทางในการพัฒนาและส่งเสริมเพื่อเพิ่มปริมาณของสินค้าสำหรับการส่งออก ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศให้เพิ่มมากขึ้น จนถึงระดับที่การให้บริการของเครื่องบินประเภทผู้โดยสารในปัจจุบันไม่สามารถรองรับไหว จนจำเป็นต้องจัดตั้งสายการบินขนส่งเฉพาะสินค้าระยะไกล สัญชาติไทยมาให้บริการ ผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านโลจิสติกส์


ปัจจัยโลจิสติกส์ที่ส่งผลต่อความประสงค์จะใช้แพลทฟอร์มอีคอมเมิร์ซ, ณัฏฐชัย วัฒนาธิบดี Jan 2022

ปัจจัยโลจิสติกส์ที่ส่งผลต่อความประสงค์จะใช้แพลทฟอร์มอีคอมเมิร์ซ, ณัฏฐชัย วัฒนาธิบดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ระบุตัวแปรทางด้านคุณภาพการบริการโลจิสติกส์ที่กระทบต่อความประสงค์จะใช้แพลทฟอร์มอีคอมเมิร์ซ 2. เพื่อวิเคราะห์ระดับของอิทธิพลแต่ละปัจจัยต่อการใช้แพลทฟอร์มอีคอมเมิร์ซ โดยงานวิจัยนี้ได้แบ่งตัวแปรต้นออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ได้แก่ กลุ่มคุณภาพการบริการแพลทฟอร์มอีคอมเมิร์ซประกอบไปด้วย การออกแบบเวปไซต์และแอพพลิเคชั่น ความง่ายในการเข้าใช้งาน คุณภาพของข้อมูล ตัวเลือกในการชำระเงิน และ ความปลอดภัยในการใช้งาน และกลุ่มที่ 2 ได้แก่กลุ่มที่กำหนดคุณภาพการบริการโลจิสติกส์ซึ่งประกอบไปด้วย ความเร็วในการจัดส่ง ตัวเลือกในการจัดส่ง คุณภาพในการจัดส่ง นโยบายการคืนสินค้า ต้นทุนการจัดส่ง และ ข้อมูลในการจัดส่ง โดยมีตัวแปรตามคือ ความพึงพอใจโดยรวมของผู้ใช้บริการแพลทฟอร์มอีคอมเมิร์ซ และ ความประสงค์จะใช้แพลทฟอร์มอีคอมเมิร์ซ งานวิจัยนี้ยืนยันได้ว่าคุณภาพการบริการที่สามารถรับรู้ได้ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการและส่งอิทธิพลต่อไปยังความประสงค์จะใช้แพลทฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ข้อมูลในการวิจัยนี้ได้รวบรวมมาจากแบบสอบถามซึ่งมีจำนวนตัวอย่างทั้งหมด 373 ชุด ประกอบไปด้วยผู้ที่มีอายุระหว่าง 25 – 44 ปี หรือเจนวายและมีประสบการณ์การซื้อสินค้าออนไลน์ทั้ง 2 แพลทฟอร์มอีคอมเมิร์ซยอดนิยมในประเทศไทย และใช้โมเดลสมการโครงสร้างในการยืนยันความสัมพันธ์ ผลการวิเคราะห์ระบุได้ว่ากลุ่มคุณภาพการบริการโลจิสติกส์มีอิทธิพลมากกว่าการบริการอื่นๆ ต่อความประสงค์จะใช้แพลทฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ทั้งนี้ ความเร็วในการจัดส่ง มีความสำคัญที่สุดในกลุ่มคุณภาพการบริการโลจิสติกส์


ปัจจัยที่มีผลต่ออำนาจการต่อรองของโรงคัดบรรจุทุเรียนในจังหวัดจันทบุรี, พรพากย์ คุณวัฒน์ Jan 2022

ปัจจัยที่มีผลต่ออำนาจการต่อรองของโรงคัดบรรจุทุเรียนในจังหวัดจันทบุรี, พรพากย์ คุณวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ในงานวิจัยคือ ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่ออำนาจต่อรองของเกษตรกรต่อล้งต่างชาติที่จังหวัดจันทบุรี ด้วยการประเมินความสำคัญของปัจจัยต่างๆในหลายมิติที่มีต่ออำนาจต่อรองของล้งและต่อกำไรของเกษตรกร ผ่านการสำรวจความคิดเห็นของเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียน ที่จังหวัดจันทบุรี จำนวน 100 คน แบ่งเป็นวิธีสัมภาษณ์ตัวต่อตัว 67 คนและใช้แบบสอบถามออนไลน์ ผ่านช่องทาง google sheet 33 คน โดยกลุ่มปัจจัยที่ทำการศึกษาประกอบด้วย ลักษณะความสัมพันธ์หว่างเกษตรกรกับล้งต่างชาติ ลักษณะของอุตสาหกรรม การเข้าถึงทรัพยากร ลักษณะของเกษตรกร และลักษณะของผลิตภัณฑ์ ผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นของเกษตรกรเกี่ยวกับค่าอิทธิพลของปัจจัยที่มีต่ออำนาจต่อรองและต่อกำไรของเกษตรกรด้วย 5-point Likert Scale พบว่า ในความคิดเห็นของเกษตรกร ปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างมากที่จะเสริมให้ล้งมีอำนาจต่อรองสูง คือ การรวมกลุ่มกันของล้ง และการพึ่งพาล้งของเกษตรกร นอกจากนี้ เกษตรกรยังให้ความเห็นว่า ล้งต่างชาติมีอำนาจต่อรองในระดับที่ค่อนข้างสูงอยู่แล้วในขณะนี้ ในขณะที่นโยบายของรัฐ ไม่ส่งเสริมอะไรอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งด้านการส่งเสริมมาตรฐานคุณภาพผลผลิต การยกระดับคุณภาพของผลผลิต หรือมาตรการที่ป้องกันไม่ให้ล้งต่างชาติมีการรวมตัวกัน จากผลการศึกษา จึงจำเป็นที่จะต้องดำเนินการไม่ให้ล้งต่างชาติมีอำนาจต่อรองสูงเกินไป โดยเกษตรกรไทยไม่พึ่งพาล้งมากเกินจำเป็น และดำเนินมาตรการไม่ให้เกิดการรวมกลุ่มกันของล้ง โดยรัฐบาลจะต้องเพิ่ม ช่องทางการจัดหน่ายให้กับเกษตรกร ไม่ว่าจะเป็นเปิดตลาดใหม่ในต่างประเทศ หรือ ส่งพ่อค้าชาวไทยเข้าไปเปิดตลาดในประเทศจีน และมีมาตรการให้เกิดการแข่งขันระหว่างล้ง เพื่อไม่ให้ล้งต่างชาติเกิดการรวมตัวกัน


การปรับปรุงกระบวนการเคลื่อนย้ายตู้คอนเทนเนอร์เปล่าจากท่าเรือแหลมฉบัง – สถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง ลาดกระบัง ของธุรกิจสายเรือกรณีศึกษา, มรกต ภู่มรกต Jan 2022

การปรับปรุงกระบวนการเคลื่อนย้ายตู้คอนเทนเนอร์เปล่าจากท่าเรือแหลมฉบัง – สถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง ลาดกระบัง ของธุรกิจสายเรือกรณีศึกษา, มรกต ภู่มรกต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการการเคลื่อนย้ายตู้คอนเทนเนอร์เปล่าในปัจุบัน และแนวทางการปรับปรุงในการเคลื่อนย้ายตู้คอนเทนเนอร์เปล่าจากท่าเรือแหลมฉบังไปยังสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง ลาดกระบังได้อย่างมีประสิทธิภาพ ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลจากตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเคลื่อนย้ายตู้คอนเทนเนอร์เปล่าจากท่าเรือแหลมฉบัง ข้อมูลทางสถิติปริมาณนำเข้าตู้คอนเทนเนอร์เปล่าที่ท่าเรือแหลมฉบัง ปริมาณรถบรรทุกเข้า-ออกท่าเรือแหลมฉบัง และระยะเวลาขนส่งจากท่าเรือแหลมฉบังไปยังสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง ลาดกระบัง ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการขนเคลื่อนย้ายตู้คอนเทนเนอร์ในปัจจุบันสามารถดำเนินการได้ 2 รูปแบบได้แก่รูปแบบทางถนน และทางรถไฟ ปัญหาและแนวทางการปรับปรุงสามารถสรุปประเด็นหลักที่ควรปรับปรุง 3 ประเด็นสำคัญเรียงตามลำดับได้ดังนี้ 1. กระบวนการขนส่ง 2. การปฏิบัติงานภายในท่าเรือ 3. ขั้นตอนพิธีการศุลกากร โดยแนวทางปรับปรุงได้แก่ กระบวนการขนส่ง และการปฎิบัติงานภายในท่าเรือสามารถดำเนินการปรับปรุงนำระบบนัดหมายเข้ามาประยุกต์ใช้ในการดำเนินงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการ ลดปัญหาความหนาแน่นภายในท่าเรือ และการเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งจากทางถนนเป็นรูปแบบการขนส่งทางรถไฟ ขั้นตอนพิธีการศุลกากรสามารถปรับปรุงได้ด้วยกันพัฒนาการติดต่อสื่อสารผ่านทางออนไลน์ เพื่อลดขั้นตอนและระยะเวลาการเดินทาง และผลการเปรียบเทียบต้นทุนของรูปแบบการขนส่งทางถนนและทางรถไฟพบว่า ทางรถไฟสามารถประหยัดต้นทุน 4% สำหรับตู้ขนาด 20 ฟุต และ 25% สำหรับตู้ขนาด 40 ฟุต ซึ่งการวางแผนการเลือกใช้รูปแบบการขนส่งทั้ง สองรูปแบบผสมผสามกัน 2 วิธี โดยขึ้นอยู่กับอัตราส่วนที่เหมาะสมในการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์จากท่าเรือแหลมฉบังไปยังสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง ลาดกระบังให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด


ผลกระทบของความเป็นธรรมต่อความไว้วางใจที่มีต่อร้านขายยาค้าส่งในโซ่อุปทานยา, ศิวิมล ประสาธนากร Jan 2022

ผลกระทบของความเป็นธรรมต่อความไว้วางใจที่มีต่อร้านขายยาค้าส่งในโซ่อุปทานยา, ศิวิมล ประสาธนากร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาผลกระทบของความเท่าเทียมกันต่อความไว้วางใจที่มีต่อร้านขายยาค้าส่งในโซ่อุปทาน เป็นงานวิจัยเชิงผสม (Mixed Research) ทั้งเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ โดยประชากร คือผู้ประกอบการร้านขายยาปลีก ที่ได้รับอนุญาตให้ขายยาแผนปัจจุบันประเภท (ขย.1) และผู้ประกอบการร้านขายยาค้าส่งในประเทศไทย จากการรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการแจกแบบสอบถามออนไลน์ และเก็บแบบสอบถามเชิงรุกโดยเข้าไปสุ่มสอบถามที่ร้านขายยา ในเขต อำเภอเมือง จังหวัด นนทบุรี จากนั้นนำผลจากแบบสอบถามสัมภาษณ์ผู้ประกอบการร้านขายยาค้าส่ง โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาดังนี้ 1. เพื่อศึกษาผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจด้วยความเท่าเทียม (Business fairness) ของร้านขายยาค้าส่ง (Wholesaler drugstores) ที่จะส่งผลต่อความไว้วางใจ (Trust) และความภักดี (Loyalty) ของร้านขายยาปลีก 2. เพื่อศึกษาผลลัพธ์ของความไว้วางใจ (Trust) ต่อความภักดี (Loyalty) และการแนะนำโดยการบอกต่อ (Recommendation by Word of Mouth) ของร้านขายยาปลีก (Retail drugstores) ที่จะส่งผลต่อความอยู่รอดของธุรกิจร้านขายยาค้าส่ง (Wholesaler drugstores) 3. เพื่อเสนอแนะแนวทางการปรับตัวเพื่อความอยู่รอดทางธุรกิจ (Business survival) ให้กับร้านขายยาค้าส่ง (Wholesaler drugstores) ท่ามกลางสภาวะการแข่งขันที่รุนแรงของธุรกิจยาในยุคปัจจุบัน จากผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยการกระจายความเป็นธรรม (Distributive Fairness) ส่งผลต่อปัจจัยความไว้วางใจ (Trust) ที่ .399 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่นที่ 0.05 แต่เมื่อเปรียบเทียบกับ ปัจจัยความเป็นธรรมตามขั้นตอน (Procedural Fairness) ส่งผลต่อปัจจัยความไว้วางใจ (Trust) ที่ .419 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่นที่ 0.05 เห็นได้ว่าปัจจัยความเป็นธรรมตามขั้นตอน (Procedural Fairness) นั้นส่งผลกับตัวแปรความไว้วางใจ (Trust) มากกว่า ซึ่งไม่สอดคล้องกับงานวิจัยต้นแบบที่การกระจายความเป็นธรรม ส่งผลต่อความไว้วางใจมากกว่า อาจเป็นผลจากระบบสาธารณสุขในประเทศของกลุ่มตัวอย่างที่แตกต่างกัน และช่วงเวลาในการทำการวิจัยอาจส่งผลต่อความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่เปลี่ยนไป ในด้านปัจจัยความไว้วางใจ (Trust) ที่ส่งผลต่อปัจจัยความภักดีของลูกค้า (Customer Loyalty) ที่ .501 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่นที่ 0.05 และปัจจัยความไว้วางใจ (Trust) ที่ส่งผลต่อปัจจัยการแนะนำแบบบอกต่อ (Recommendation by …


การพัฒนากรอบการวัดสมรรถนะสำหรับโซ่อุปทานอุตสาหกรรมการผลิตยาแผนโบราณและสมุนไพรในประเทศไทย, อริสรา จันทรโยธา Jan 2022

การพัฒนากรอบการวัดสมรรถนะสำหรับโซ่อุปทานอุตสาหกรรมการผลิตยาแผนโบราณและสมุนไพรในประเทศไทย, อริสรา จันทรโยธา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนากรอบการวัดสมรรถนะและตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องในการวัดผลการดำเนินงานของโซ่อุปทานอุตสาหกรรมการผลิตยาแผนโบราณและสมุนไพร เพื่อจัดลำดับความสำคัญของตัวชี้วัดในโซ่อุปทานอุตสาหกรรมการผลิตยาแผนโบราณและสมุนไพรในประเทศไทย โดยทำการศึกษาจากผู้เชี่ยวชาญในบริษัทที่ผลิตยาแผนโบราณและสมุนไพรในประเทศไทยที่ผ่านการรับรองมาตรฐานการผลิตยาจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ในการศึกษาประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 1) แบบสอบถามเรื่องตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมการผลิตยาแผนโบราณและสมุนไพรที่ใช้ตัวเลือกตอบเป็นมาตรส่วนประมาณค่าแบบลิเคิร์ต 4 ระดับ และ 2) แบบสอบถามการประเมินตัวชี้วัดที่สำคัญและเหมาะสมสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตยาแผนโบราณและสมุนไพรด้วยวิธีกระบวนการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้น (Analytic Hierarchy Process, AHP) ที่ใช้มุมมองตามหลัก Balanced Scorecard (BSC) 4 มุมมองประกอบกับเพิ่มมุมมองในด้านคุณภาพของยารวมด้วย ผลการวิจัยพบว่าตัวชี้วัดที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงสุดและควรนำมาเป็นตัวชี้วัดอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมการผลิตยาแผนโบราณและสมุนไพรตามกรอบการวัดสมรรถนะ แต่ละมุมมอง มีดังนี้ 1.มุมมองด้านการเงิน คือ ต้นทุนการจัดการโซ่อุปทานทั้งหมดและต้นทุนรวมสินค้าต่อหน่วย 2.มุมมองด้านลูกค้า คือ ความพึงพอใจของลูกค้าด้านคุณภาพของสินค้า 3.มุมมองด้านกระบวนการภายใน คือ ประสิทธิภาพการผลิต 4.มุมมองด้านการเรียนรู้และการเติบโต ประกอบด้วย 3 ตัวชี้วัด คือ 1) มีนโยบายสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมหรือมีการร่วมมือระหว่างโรงงานและหน่วยงานอื่น 2) ด้านเทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐาน และ 3) ด้านการพัฒนาบรรจุภัณฑ์หรือผลิตภัณฑ์ให้มีความทันสมัยหรือปรับเปลี่ยนรูปแบบยาให้เหมาะสม และ 5.มุมมองด้านคุณภาพของยา คือ ความปลอดภัยของยา รวมถึงผู้เชี่ยวชาญให้มุมมองด้านคุณภาพของยาเป็นกรอบการวัดสมรรถนะที่มีความสำคัญมากที่สุด รองลงมาคือมุมมองด้านการเรียนรู้และการเติบโต สำหรับการจัดลำดับตัวชี้วัดที่มีความสำคัญมากที่สุดใน 5 อันดับแรกในการศึกษานี้ ได้แก่ ความปลอดภัยของยา ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการรักษา การพัฒนาบรรจุภัณฑ์หรือผลิตภัณฑ์ให้มีความทันสมัย และเทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐานตามลำดับ ซึ่งผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่ากรอบการวัดสมรรถนะและตัวชี้วัดในมุมมองด้านคุณภาพของยาควรนำมาเป็นส่วนหนึ่งในการวัดผลการดำเนินงานของอุตสาหกรรมการผลิตยาแผนโบราณและสมุนไพร


ข้อเสนอแนะในการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุทางทะเลที่เกิดจากเรือนำเที่ยวทางทะเล จังหวัดภูเก็ต, ชุติมา คงจังหวัด Jan 2022

ข้อเสนอแนะในการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุทางทะเลที่เกิดจากเรือนำเที่ยวทางทะเล จังหวัดภูเก็ต, ชุติมา คงจังหวัด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุทางทะเลที่เกิดจากเรือนำเที่ยวทางทะเลของจังหวัดภูเก็ต และจัดทำข้อเสนอแนะในการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุทางทะเลที่เกิดจากเรือนำเที่ยวทางทะเลของจังหวัดภูเก็ต ใช้เทคนิคเดลฟาย (Delphi Technique) โดยสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญ 3 รอบ ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานภาครัฐ ผู้ปฏิบัติงานหรือประกอบอาชีพ และเจ้าของกิจการธุรกิจ นักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างชาติ และนักวิชาการ รวม 31 คน ผลการศึกษาพบว่า รายละเอียดสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุทางทะเลที่เกิดจากเรือนำเที่ยวทางทะเล ที่พบมากที่สุด ประกอบด้วย 2 สาเหตุหลัก ได้แก่ สภาพอากาศเลวร้าย เปลี่ยนแปลงฉับพลัน ค่าเฉลี่ย 3.64 ± 0.63 (mean ± SD) ฐานนิยม (mode) เท่ากับ 4.00 และการเดินเรือด้วยความเร็วสูง ค่าเฉลี่ย 3.57 ± 0.635 (mean ± SD) ฐานนิยม (mode) เท่ากับ 4.00 ข้อเสนอแนะในการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุที่เกิดจากเรือนำเที่ยวทางทะเล ได้แก่ ควรมีป้ายแสดงข้อมูลที่ชัดเจน เกี่ยวกับข้อปฏิบัติ และข้อห้ามต่างๆที่ท่าเรือแก่นักท่องเที่ยว และควรมีข้อบังคับสำหรับผู้นำเที่ยวในการให้ข้อมูลกับนักท่องเที่ยวตามรายละเอียดบนป้ายดังกล่าวก่อนออกเดินทาง และควรมีหน่วยงานภาครัฐหรือเจ้าหน้าที่จากภาครัฐประจำแต่ละท่าเรือ เพื่อตรวจสอบความพร้อมเรือ ผู้ปฏิบัติงาน นักท่องเที่ยว ก่อนออกเดินทาง


การประมาณค่าอัตรามรณะของผู้สูงอายุไทยโดยใช้วิธีการโฮริอูจิกับโคล และวิธีการมิทรา, ปาณิสรา แย้มสุข Jan 2022

การประมาณค่าอัตรามรณะของผู้สูงอายุไทยโดยใช้วิธีการโฮริอูจิกับโคล และวิธีการมิทรา, ปาณิสรา แย้มสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อคำนวณเบี้ยประกันภัยของสัญญาประกันชีวิตแบบบำนาญ ส่วนแรกเป็นการประมาณค่าอัตรามรณะของผู้สูงอายุไทยด้วย 6 ตัวแบบ คือ ตัวแบบกอมเพิทซ์ ตัวแบบคานนิสโต ตัวแบบกอมเพิทซ์โดยใช้วิธีการประมาณพารามิเตอร์โฮริอูจิกับโคล ตัวแบบกอมเพิทซ์โดยใช้วิธีการประมาณพารามิเตอร์มิทรา ตัวแบบคานนิสโตโดยใช้วิธีการประมาณพารามิเตอร์โฮริอูจิกับโคล ตัวแบบคานนิสโตโดยใช้วิธีการประมาณพารามิเตอร์มิทรา ข้อมูลที่ใช้ในงานวิจัยประกอบด้วย ข้อมูลจำนวนประชากรปลายปีระหว่างปีพ.ศ. 2558 – 2564 จำแนกตามเพศและรายอายุ จากกระทรวงมหาดไทย และข้อมูลจำนวนการตาย ระหว่างปีพ.ศ. 2559 – 2564 จำแนกตามเพศและรายอายุ จากสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข ทำการเปรียบเทียบค่าอัตรามรณะที่ได้จากแต่ละตัวแบบ แต่ละวิธีการ เพื่อหาตัวแบบที่มีความเหมาะสม ด้วยค่าร้อยละสมบูรณ์ของความคลาดเคลื่อนเฉลี่ย หลังจากนั้นนำอัตรามรณะที่ได้มาคำนวณเบี้ยประกันภัยของแบบประกันภัยตัวอย่างและทำการเปรียบเทียบเบี้ยประกันภัยสุทธิที่ได้และเบี้ยประกันภัยสุทธิที่คำนวณจากตารางบำนาญไทย ปี 2552 เบี้ยประกันภัยของสัญญาประกันชีวิตแบบบำนาญตัวอย่างที่มีระยะเวลาการชำระเบี้ยประกันภัย 10 ปี เป็นรายปี อายุของผู้เอาประกันภัย คือ 30 ถึง 50 ปี คุ้มครองถึงอายุครบ 110 ปี และใช้อัตราดอกเบี้ยร้อยละสองต่อปี พบว่าเมื่อผู้เอาประกันภัยมีอายุมากขึ้น เบี้ยประกันภัยสุทธิจะมีค่ามากขึ้น เบี้ยประกันภัยของเพศชายมีค่าน้อยกว่าเพศหญิงในช่วงอายุ 30 – 36 ปี แต่มากกว่าในช่วงอายุ 37 – 50 ปี นอกจากนี้ เบี้ยประกันภัยสุทธิที่คำนวณจากตารางบำนาญไทย ปี 2552 มีค่ามากกว่าเบี้ยประกันภัยที่คำนวณจากตัวแบบ อีกทั้งยังพบว่าการระบาดของโควิด 19 ไม่ส่งผลต่ออัตรามรณะ


กระบวนการลดการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เชิงเดี่ยวบนพื้นที่สูงกรณีศึกษาน้ำพางโมเดล จังหวัดน่าน, กณภัทร รุ่งเรืองวงศ์ Jan 2022

กระบวนการลดการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เชิงเดี่ยวบนพื้นที่สูงกรณีศึกษาน้ำพางโมเดล จังหวัดน่าน, กณภัทร รุ่งเรืองวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจของเกษตรกรในการลดการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เชิงเดี่ยวบนพื้นที่สูง และเพื่อจัดทำแนวทางในการลดพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เชิงเดี่ยวบนพื้นที่สูง โดยกรณีศึกษาน้ำพางโมเดล จังหวัดน่าน เนื่องจากโครงการนี้เป็นโครงการที่มีการขับเคลื่อนการลดการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้ประสบความสำเร็จ ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการลดการเผาเศษซากวัสดุทางการเกษตร และลด PM 2.5 และช่วยให้เกษตรกรได้ใช้ประโยชน์ในพื้นที่ทำกินของตนได้ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการน้ำพางโมเดล และเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลโครงการน้ำพางโมเดลรวมถึงเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 13 คน โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ด้วยวิธีสัมภาษณ์แบบเจาะลึกรายบุคคล ผลการวิจัยได้ถูกวิเคราะห์และสรุปออกมาเป็น 5 กระบวนการ ประกอบด้วย 1)กระบวนการสร้างความเข้าใจร่วมกัน โดยการจัดตั้งเวทีเพื่อพูดคุยให้ตระหนักถึงปัญหาและคิดหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน จากนั้นจึงเกิดเป็น 2)กระบวนการรวมกลุ่มน้ำพางโมเดล เพื่อความเข้มแข็งในการขับเคลื่อนชุมชนและการรักษาผืนป่า เช่น การเข้าร่วมโครงการและการตั้งวิสาหกิจชุมชน 3)กระบวนการถ่ายทอดความรู้สู่เกษตรกร โดยการจัดอบรมเพื่อพัฒนาและต่อยอดความรู้ด้านการเกษตร 4)กระบวนการร่วมกันสร้างระบบนิเวศป่าคือ การรักษาผืนป่าผ่านกิจกรรมปลูกป่า บวชป่า ทำแนวกันไฟ เป็นต้น และ 5)การสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก ทั้งในด้านเงินทุน ความรู้ รวมถึงกล้าพันธุ์ไม้ เพื่อให้โครงการน้ำพางโมเดลดำเนินต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการศึกษาแนวทางการลดการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เชิงเดี่ยวบนพื้นที่สูงผู้วิจัยได้วิเคราะห์และสรุปแนวทาง ประกอบด้วย 1) การระดมความคิดของเกษตรกรที่เกี่ยวข้อง 2) การสร้างความเชื่อมั่น 3) การประกอบอาชีพเสริม 4) การสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก 5) การจัดตั้งวิสาหกิจชุมชน 6) การพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวในอนาคต โดยความยั่งยืนของโครงการสะท้อนผ่านความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างอย่างยืนเพื่อให้ประชาชนมีสิทธิในที่ดินทำกินควบคู่กับการรักษาผืนป่าให้คงอยู่สืบไป


การวิเคราะห์มิติทางสังคมของการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์, ณัฐดนยา ทิพยจารุโภคา Jan 2022

การวิเคราะห์มิติทางสังคมของการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์, ณัฐดนยา ทิพยจารุโภคา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา วิเคราะห์ เพื่อทำความเข้าใจการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ในมิติทางสังคม สำรวจประเด็นสำคัญ และผลกระทบที่เกิดขึ้นแล้วและอาจจะเกิดขึ้นทางด้านสังคม สุขภาพ ที่อาจจะมาจากการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ โดยผู้วิจัยได้กำหนดระเบียบวิธีการวิจัยหรือกระบวนวิธีการวิจัยประกอบไปด้วยการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์บุคคลจำนวน 20 คน จากนั้นจึงนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและเขียนรายงานผลงานวิจัยในลักษณะเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า จากวิกฤตเศรษฐกิจในปี พ.ศ.2540 โรงพยาบาลเอกชนต้องหาโอกาสใหม่ๆ ทดแทนการรายได้จากกลุ่มลูกค้าที่เป็นคนไทย จึงได้หันไปหากลุ่มลูกค้าจากต่างประเทศซึ่งเป็นประเทศที่มีกำลังซื้อสูง ต่อมารัฐบาลประสบปัญหาขาดดุลเดินสะพัดติดต่อกันหลายปี จึงได้มีการกำหนดนโยบายการพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพของเอเชีย โดยไทยมีการท่องเที่ยวเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว มีกลุ่มสถานพยาบาลเอกชนที่ได้รับมาตรฐานด้านการบริการด้านสุขภาพหลายแห่ง ด้วยจุดแข็งเหล่านี้ จึงพัฒนาแผนและนโยบายเพื่อการเป็นศูนย์กลางสุขภาพ (Medical hub) ในระดับเอเชีย ซึ่งส่วนใหญ่จะถูกมองไปในด้านของผลดีด้านเศรษฐกิจรายได้กำไรที่เพิ่มขึ้นของประเทศ จึงมีประเด็นว่าผลกระทบการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์นั้นมักจะไม่ได้รับการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนเมื่อมีการผลักดันนโยบายนี้ ดังนั้น การศึกษามิติทางสังคมของการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ได้สำรวจประเด็นสำคัญไว้ดังนี้ 1. แนวคิดและนิยามของการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ (Medical Tourism) และนักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ (Medical Tourists) 2. ผลกระทบต่ออัตรากำลังบุคลากรทางการแพทย์และอัตราค่ารักษาพยาบาล 3. ผลกระทบจากโลกาภิวัตน์และกระบวนการทำให้เป็นสินค้า 4. มาตรฐานคุณภาพโรงพยาบาล 5. ผลกระทบด้านการแพร่กระจายปัญหาการแพร่กระจายของเชื้อดื้อยา และโรคติดต่อที่ระบาดครั้งใหญ่ ซึ่งประเด็นเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญ ในอีกมุมหนึ่ง การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์มีส่วนที่ทำให้การรักษาพยาบาลในยุคปัจจุบันเปรียบเสมือนเป็นสินค้าชนิดหนึ่งที่รองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติและกลุ่มคนที่มีฐานะด้านการเงิน เรื่องนี้จึงมีความซับซ้อนและต้องทำความเข้าใจจากหลายแง่มุม และจำเป็นอย่างยิ่งที่ควรจะมีการศึกษาพิจารณาจากแง่มุมที่ไม่ได้มีการพูดถึงมากนัก ทั้งในเรื่องของคำนิยามและความหมายของการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์และนักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ ปรากฏการณ์โลกาภิวัตน์ตามกระแสเสรีนิยมใหม่ซึ่งทำให้เรื่องการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์โยงใยได้กับข้อถกเถียงเรื่องความเป็นธรรมทางสังคมที่เกิดขึ้นจากการส่งเสริมธุรกิจและอุตสาหกรรมนี้ การทำความเข้าใจที่ชัดเจนขึ้นจะนำไปสู่การสร้างแนวทางการเสริมความเป็นธรรมด้านสุขภาพและการกระจายผลประโยชน์ให้สังคมโดยรวมได้ต่อไป


บทบาทของพระสงฆ์ด้านสาธารณสงเคราะห์ในบริบทพุทธศาสนาเพื่อสังคม, พิรญาณ์ แสงปัญญา Jan 2022

บทบาทของพระสงฆ์ด้านสาธารณสงเคราะห์ในบริบทพุทธศาสนาเพื่อสังคม, พิรญาณ์ แสงปัญญา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทบาทด้านสาธารณสงเคราะห์ของพระสงฆ์ในบริบทของพุทธศาสนาเพื่อสังคม 2) ศึกษาการดำเนินกิจกรรมสาธารณสงเคราะห์วิถีพุทธของพระสังฆาธิการและภาคีเครือข่ายภายใต้กรอบที่มหาเถรสมาคมกำหนดไว้ 4 รูปแบบ คือ สงเคราะห์ เกื้อกูล พัฒนา บูรณาการ และ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการทำงานสาธารณสงเคราะห์วิถีพุทธในอนาคตของคณะสงฆ์ไทย โดยกำหนดขอบเขตการวิจัย 3 ส่วน คือ 1) ขอบเขตเชิงเนื้อหา กิจกรรมสาธารณสงเคราะห์วิถีพุทธ 4 รูปแบบ ตามที่กล่าวในข้อ 2 จากพระสงฆ์ไทยในอดีตและปัจจุบัน 2) ขอบเขตเชิงพื้นที่ เพื่อศึกษาความเหมือน ความต่างและปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินกิจกรรม วัดที่กำหนดเป็นพื้นที่ศึกษา ได้แก่ (1) วัดห้วยหมู จังหวัดราชบุรี (2) วัดม่วงตารศ จังหวัดนครปฐม (3) วัดญาณเวศกวัน จังหวัดนครปฐม และ (4) วัดสวนแก้ว จังหวัดนนทบุรี 3) ขอบเขตเชิงประชากร กลุ่มเป้าหมายหลักจาก 4 วัดที่ได้กำหนดไว้ในขอบเขตเชิงพื้นที่ รูปแบบการวิจัยใช้วิธีการวิจัยภาคสนาม ประกอบด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อสรุปองค์ความรู้และแนวคิดการทำงานสาธารณสงเคราะห์วิถีพุทธ บทบาทสังคหธุระและพุทธศาสนาเพื่อสังคม เครื่องมือการวิจัยภาคสนามประกอบด้วยแบบบันทึกการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาโดยอิงกรอบแนวคิดทฤษฎีที่กำหนดไว้ในการศึกษาเพื่อสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย สรุปผลการศึกษา พบว่า 1) การดำเนินกิจกรรมสาธารณสงเคราะห์ใน 4 พื้นที่เป้าหมายการศึกษา มีแนวทางที่สอดคล้องตามกรอบการดำเนินงานที่ฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ของมหาเถรสมาคมได้กำหนดไว้ซึ่งมีความโดดเด่นต่างกันไป 2) การดำเนินกิจกรรมสาธารณสงเคราะห์ของพระครูจันทสีลากร พระครูโกวิทสุตสาร และพระราชธรรมนิเทศ เป็นแนวทางที่สอดคล้องไปตามแนวคิดสังคหธุระ 3)การดำเนินกิจกรรมสาธารณสงเคราะห์ของกลุ่มอาสาคิลานธรรม เป็นแนวทางที่สอดคล้องไปตามแนวคิดพุทธศาสนาเพื่อสังคม 4) การดำเนินกิจกรรมของวัดห้วยหมู วัดม่วงตารศ และวัดสวนแก้ว ยังขาดการพัฒนาสังฆพัฒนาทายาท การพัฒนาองค์ความรู้ และการพัฒนาภาคีเครือข่าย ดังนั้นกิจกรรมต่าง ๆ จึงตั้งอยู่บนความเสี่ยงด้านความยั่งยืน 5)การดำเนินกิจกรรมของกลุ่มอาสาคิลานธรรมดำเนินไปอย่างมีระบบ มีหลักการที่ชัดเจน ผู้เข้าร่วมกิจกรรมต้องผ่านการอบรมและการสั่งสมประสบการณ์ จึงเป็นแนวทางที่มุ่งไปสู่ความยั่งยืน 6) การดำเนินกิจกรรมสาธารณสงเคราะห์ของสงฆ์จะยั่งยืนได้ต้องมีการพัฒนาความรู้ความเข้าใจในการการสาธารณสงเคราะห์ การพัฒนาศาสนทายาทและการพัฒนาภาคีเครือข่าย 7) การดำเนินกิจกรรมสาธารณสงเคราะห์ที่ได้ประสิทธิผล ผู้ทำกิจกรรมควรมีคุณลักษณะของจิตอาสา


Corporate Diversification And Stock Risk In Thailand: Evidence From A Global Shock, Miaoqi Su Jan 2022

Corporate Diversification And Stock Risk In Thailand: Evidence From A Global Shock, Miaoqi Su

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objective of this paper is to investigate the impact of corporate diversification on stock risk for 345 companies listed on Stock Exchange of Thailand during the sample period from 4 January 2017 to 30 December 2021 which covers both Covid and pre-Covid period. Furthermore, the differences in effect between Covid and pre-Covid period are also studied. The result shows that diversifying through only business segments and ignoring global diversification increases stock volatility. Furthermore, it also shows that diversifying through only business segments and ignoring global diversification increases stock volatility during the Covid period compared to pre-Covid period. The result …


A Pair Trading Using Reinforcement Learning And Wavelet Decomposition, Panudate Nithinon Jan 2022

A Pair Trading Using Reinforcement Learning And Wavelet Decomposition, Panudate Nithinon

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In this study, we propose a trading optimization methodology for the pair trading strategy. The Johansen cointegration test and the correlation measure are used for pair selection. We apply Deep-Q-network (DQN) technique in which the trainable reinforcement learning agent is designed to directly control the trading positions. The maximum overlap discrete wavelet transformation (MODWT) algorithm is used for generating the trading signal from the spread time series. Wavelet signal preprocessing is used to extract the original time series into cyclic time series components and long-term behavior components. Based on the in-sample performance this trading model successfully solves a profit maximizing …


การวิเคราะห์ต้นทุนโลจิสติกส์สำหรับการนำเข้ามอลต์ระหว่างการใช้เรือสินค้าเทกองกับเรือตู้สินค้า, เสาวลักษณ์ ธัญลักษณ์ภาคย์ Jan 2022

การวิเคราะห์ต้นทุนโลจิสติกส์สำหรับการนำเข้ามอลต์ระหว่างการใช้เรือสินค้าเทกองกับเรือตู้สินค้า, เสาวลักษณ์ ธัญลักษณ์ภาคย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานศึกษาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์ต้นทุนรวมโลจิสติกส์สำหรับการนำเข้า มอลต์ ระหว่างการใช้เรือสินค้าเทกองกับเรือตู้สินค้า โดยทำการศึกษาต้นทุนรวมโลจิสติกส์และ ระยะเวลาในการขนส่งมอลต์จากประเทศออสเตรเลียจนถึงโรงงานที่ตั้งอยู่ที่จังหวัด พระนครศรีอยุธยาด้วยวิธีเรือสินค้าเทกอง โดยปัจจุบันใช้รูปแบบการขนส่งด้วยวิธีเรือตู้สินค้า ผู้วิจัย จะทำการจำลองสถานการณ์ เพื่อทำการเปรียบเทียบกับเส้นทางการขนส่งที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยจะทำการจำลองสถานการณ์ใน 8 รูปแบบ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาต้นทุนรวมโลจิสติกส์และ ระยะเวลา ในการขนส่งมอลต์เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับต้นทุนโลจิสติกส์และระยะเวลารวมของการ ขนส่งมอลต์ในปัจจุบัน โดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ประกอบการการขนส่งสินค้าระหว่าง ประเทศและภายในประเทศที่เกี่ยวข้อง โดยในการศึกษา ผู้วิจัยได้ทำการเปรียบเทียบต้นทุนรวมโลจิสติกส์ 4 ด้านคือ 1. ต้นทุนการขนส่ง (Transportation Cost) 2. ต้นทุนการขนถ่ายสินค้า (Handling Costs) 3. ต้นทุนคลังสินค้า (Warehousing Costs) 4. ต้นทุนค่าใช้จ่ายอื่นๆ (Other Cost) ผลการศึกษา พบว่าสินค้าทางการเกษตรจำพวกสินค้ามอลต์ รูปแบบการขนส่งวิธีเรือสินค้า เทกองมีต้นทุนรวมโลจิสติกส์ต่ำกว่าการขนส่งวิธีเรือตู้สินค้า แต่อย่างไรก็ตามควรพิจารณาถึงปัจจัย อื่นร่วมด้วย อาทิเช่น ระดับน้ำหรือช่วงเวลาที่เหมาะสมในการขนส่งด้วยเรือเทกองในแต่ละ ช่วงเวลาของปี


การวิเคราะห์ปัจจัยกำหนดการส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกของประเทศไทยโดยแบบจำลองแรงโน้มถ่วง, จิดาภา ศรีจำนงค์ Jan 2022

การวิเคราะห์ปัจจัยกำหนดการส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกของประเทศไทยโดยแบบจำลองแรงโน้มถ่วง, จิดาภา ศรีจำนงค์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

มูลค่าการส่งออกพลาสติกของประเทศไทยเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องตามการเพิ่มขึ้นของประชากรและเศรษฐกิจโลก การศึกษาครั้งนี้มุ่งเน้นที่จะศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการส่งออกสินค้าผลิตภัณฑ์พลาสติกของประเทศไทยและการศึกษาครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการส่งออกสินค้าผลิตภัณฑ์พลาสติกของประเทศไทยต่อไปในอนาคต การศึกษานี้เป็นการสร้างแบบจำลองแรงโน้มถ่วงเพื่อเป็นตัวแทนของการส่งออกสินค้าผลิตภัณฑ์พลาสติกของประเทศไทยไปยังประเทศต่างๆ โดยมีการเสนอแบบจำลองทางเลือกเพื่อทำการประเมินว่าตัวแปรด้านโลจิสติกส์ ได้แก่ ระยะห่าง เวลาที่ใช้ในการขนส่ง และต้นทุนที่ใช้ในการขนส่ง ตัวแปรใดเป็นตัวแปรที่ดีที่สุดของตัวแปรด้านโลจิสติกส์ ในการประมาณค่าแบบจำลองจะทำการศึกษาด้วยวิธี Pooled Regression Model, Fixed Effect Model และ Random Effect เพื่อหาแบบจำลองที่เหมาะสมที่สุด โดยใช้ข้อมูลแบบอนุกรมเวลา (รายปี) ของมูลค่าการส่งออกสินค้าผลิตภัณฑ์พลาสติกของประเทศไทย ในช่วงปี พ.ศ. 2547-2561 จากการศึกษาพบว่าตัวแปรระยะทางเป็นตัวแปรด้านโลจิสติกส์ที่เหมาะสมกับแบบจำลองมากที่สุด โดยมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกของประเทศไทย ได้แก่ ขนาดเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า การใช้ภาษากลาง และการใช้พรมแดนร่วมกัน


ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจในการทิ้งหน้ากากอนามัยใช้แล้วในกรุงเทพมหานคร, จิตริน เขมานุรักษ์ Jan 2022

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจในการทิ้งหน้ากากอนามัยใช้แล้วในกรุงเทพมหานคร, จิตริน เขมานุรักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจในการทิ้งหน้ากากอนามัยใช้แล้วในกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและทำการศึกษา ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ปัจจัยด้านความรู้และการรับรู้ถึงปัญหาหน้ากากอนามัยใช้แล้ว และปัญหาขยะของกรุงเทพมหานคร รวมไปถึงปัจจัยด้านนโยบายและการรณรงค์ส่งเสริม ที่แตกต่างกันจะให้ผลทางด้านพฤติกรรมการทิ้งหน้ากากอนามัยใช้แล้วแยกจากขยะทั่วไป (5 ข้อ) ที่แตกต่างกันหรือไม่ โดยการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยกลุ่มประชาที่ทำการศึกษา คือ ผู้ที่ทั้งเคย และไม่เคยทิ้งหน้ากากอนามัยได้อย่างถูกต้องถูกวิธีมาก่อน ซึ่งทำการสำรวจผ่านแบบสอบถาม Google form และได้รับข้อมูลต่อกลับทั้งสิ้น 400 ชุด ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยด้านประชากรณ์ศาสตร์ การที่มี รายได้เฉลี่ยต่อเดือน, จำนวนสมาชิกในครัวเรือน, สภาพที่อยู่อาศัย, ประวัติการติดเชื้อไวรัส COVID-19 ของตนเอง และจำนวนวัคซีนตนได้รับที่แตกต่างกัน มีระดับพฤติกรรมการทิ้งหน้ากากอนามัยใช้แล้วแยกจากขยะทั่วไปแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในส่วนของ ปัจจัยด้านความรู้และการรับรู้ถึงปัญหาหน้ากากอนามัยใช้แล้ว และปัญหาขยะของกรุงเทพมหานคร ทุกๆ ปัจจัยมีระดับพฤติกรรมการทิ้งหน้ากากอนามัยใช้แล้วแยกจากขยะทั่วไปแตกต่างกัน แต่ะจะมีบางข้อความรู้และการรับรู้ถึงปัญหาบางข้อเท่านั้นที่สามารถทำให้เกิดพฤติกรรมการทิ้งหน้ากากอนามัยใช้แล้วแยกจากขยะทั่วไปแตกต่างกัน ได้ทั้ง 5 ข้อ ในขณะที่ ปัจจัยด้านนโยบายและการรณรงค์ส่งเสริม พบว่า การส่งเสริมด้วยการให้ภาครัฐแจกถุงพลาสติก หรือให้ร้านค้าแจกถุงพลาสติก ที่สามารถใช้ในการคัดแยกขยะติดเชื้ออย่าง “หน้ากากอนามัยใช้แล้ว” มีระดับพฤติกรรมการทิ้งหน้ากากอนามัยใช้แล้วแยกจากขยะทั่วไป ไม่แตกต่างกัน


ปัจจัยในการเกิดอุบัติเหตุของรถบรรทุก 6 ล้อ ในเขตภาคตะวันออก บริษัทกรณีศึกษา Abc, ชนมณีทิวา ชาญสมร Jan 2022

ปัจจัยในการเกิดอุบัติเหตุของรถบรรทุก 6 ล้อ ในเขตภาคตะวันออก บริษัทกรณีศึกษา Abc, ชนมณีทิวา ชาญสมร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้จะเป็นการศึกษาปัจจัยที่มีผลให้เกิดอุบัติเหตุของรถบรรทุก 6 ล้อ บริษัทกรณีศึกษา เอบีซี วัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่ายที่บริษัทต้องสูญเสียจากการเกิดอุบัติเหตุในแต่ละปี เช่นลดค่าเบี้ยประกันอุบัติเหตุในกรณีที่รถไม่เคยเกิดอุบัติเหตุในปีนั้นจะได้รับส่วนลดค่าเบี้ยประกันในปีต่อไป เพื่อประเมินปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดอุบัติเหตุจากการขับรถบรรทุกหกล้อของพนักงานและศึกษาพฤติกรรมเสี่ยงในการขับขี่ของพนักงานขับรถบรรทุกเพื่อจัดทำมาตรการป้องกันและแก้ไข ผู้ศึกษาได้ทำการศึกษารวบรวมปัจจัยและคัดเลือกประชากรสมมติฐานด้วยวิธีการ สุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จากปัจจัยหลัก 3 ปัจจัย ประกอบด้วย ปัจจัยด้านผู้ขับขี่ปัจจัยด้านยานพาหนะ ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม โดยเมื่อนำเกณฑ์หลักการจัดลำดับมาใช้ในการศึกษานี้ใช้วิธีวิเคราะห์ด้วยวิธี การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกแบบไบนารี (Binary Logistic Regression) ผู้ศึกษาจะใช้การสุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงแล้วนำมาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีผลให้เกิดอุบัติเหตุ คือ ความเร็วสูงสุดในการขับต่อเที่ยว และช่วงเวลาในการทำงานต่อวัน มีผลอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ


การปรับปรุงกระบวนการคำสั่งซื้อของลูกค้า : กรณีศึกษา บริษัท Freight Forwarder, ชนัสฐา คณะทอง Jan 2022

การปรับปรุงกระบวนการคำสั่งซื้อของลูกค้า : กรณีศึกษา บริษัท Freight Forwarder, ชนัสฐา คณะทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงกระบวนการดำเนินการของแผนกส่งออกทางทะเลของบริษัทตัวแทนขนส่งสินค้าแห่งหนึ่งโดยศึกษาด้วยเงื่อนไขการซื้อขายแบบ FOB, EXW และ CIF โดยงานใช้การศึกษากระบวนการทำงานโดยแผนผัง Flow chart และแผนผัง IDEFO เพื่อระบุกิจกรรมหลักทั้งหมดที่เกี่ยวข้องอย่างละเอียด นอกจากนี้ ศึกษาผ่านแบบสอบถาม พนักงานที่เกี่ยวข้องและลูกค้า เพื่อระบุปัญหาของกิจกรรมที่พบ ซึ่งจากการวิจัยพบว่าปัญหาที่สำคัญที่สุด 3 ประการคือ 1) ความคลาดเคลื่อนของต้นทุนขายและใบแจ้งหนี้ของสายเรือ 2) ความล่าช้าในการแก้ไขหรือยืนยันใบตราส่ง และ 3) ข้อผิดพลาดในการยืนยันการจองระวางเรือ โดยได้ใช้แผนภาพก้างปลาในการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาเหล่านี้ ซึ่งผลจากการศึกษานำไปสู่การนำเสนอแนวทางการปรับปรุงด้วยเครื่องมือ ECRS (การกำจัด, การรวบรวม, การจัดเรียงใหม่ และการทำให้ง่ายขึ้น)


ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับการใช้งาน Online Platform : กรณีศึกษาบริษัท Xyz, ฐิติกร แก้วดวงเด่น Jan 2022

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับการใช้งาน Online Platform : กรณีศึกษาบริษัท Xyz, ฐิติกร แก้วดวงเด่น

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โครงงานพิเศษฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิต่อการยอมรับการใช้งาน เทคโนโลยีสำหรับผู้นำเข้าส่งออกและตัวแทนผู้ให้บริการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศ เนื่องจากปัจจุบันอุตสาหกรรมทางด้านขนส่งสินค้าทางทะเลหรือสาสยเรือนั้นมีการแข่งขันกันสูง มากขึ้นโดยเฉพาะทางด้านบริการ ในแง่ของการบริการทางสายเรือ จึงจำเป็นต้องพัฒนาระบบให้ การทำงาน มีความรวดเร็วในการให้บริการ ถูกต้องแม่นยำ ข้อมูลเข้าถึงได้ง่าย และผู้ใช้บริการรับรู้ ถึงประโยชน์ของการใช้งาน โดยบริษัทกรณีศึกษาเป็นสายการเดินเรือรายใหญ่ โดยใช้แบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้นำเข้าส่งออกและตัวแทนผู้ให้บริการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศ จำนวน 350 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับการใช้งาน Online Platform กรณีศึกษา บริษัสายเรือ XYZ จำนวน 4 ด้าน และความตั้งใจที่จะใช้งาน ผลการศึกษาพบว่า ด้าน ความคาดหวังในประสิทธิภาพ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านอิทธิพลทางสังคม และ ด้านความ ง่ายต่อการใช้งาน ซึ่งพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้ Online Platform อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05 มีจำนวน 3 ปัจจัย คือ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านอิทธิพลทางสังคม และ ด้านความง่ายต่อการใช้งาน


การวิเคราะห์ต้นทุนการจัดการรับคืนสินค้าด้วยการคิดต้นทุนฐานกิจกรรมเกณฑ์เวลา, ทศพร มะโนแสน Jan 2022

การวิเคราะห์ต้นทุนการจัดการรับคืนสินค้าด้วยการคิดต้นทุนฐานกิจกรรมเกณฑ์เวลา, ทศพร มะโนแสน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการวิเคราะห์ต้นทุนการจัดการรับคืนสินค้า โดยใช้แนวคิดการวิเคราะห์ต้นทุนกิจกรรมเกณฑ์เวลามาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ โดยรวบรวมข้อมูลจากบริษัทตัวอย่างแห่งหนึ่งที่ดำเนินธุรกิจจัดหน่ายสินค้าเสื้อผ้าแฟชั่น รองเท้า เครื่องสำอาง และเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ แก่ร้านค้าในกรุงเทพและต่างจังหวัด โดยทำการศึกษาตั้งแต่การรับเรื่องรวบรวมคำสั่งการคืนสินค้า การติดตามสินคืน การรับสินค้าคืน การคัดแยกสภาพสินค้า จนไปถึงการจัดเก็บสินค้า ในการสร้างระบบต้นทุนฐานกิจกรรมเกณฑ์เวลา เริ่มจากการวิเคราะห์กิจกรรมของแผนกต่าง ๆ ที่เก็บรวบรวมข้อมูลไว้ แล้วทำการหาเวลามาตรฐานในการทำงานโดยใช้การจับเวลาทำการคำนวณหาอัตราต้นทุนกำลังการผลิต ทำการคำนวณต้นทุนต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ การศึกษาในครั้งนี้พบว่าต้นทุนประเภทบุคลากร อันได้แก่ เงินเดือนและค่าจ้างพนักงานเป็นต้นทุนที่มีสัดส่วนที่สูง ทำให้ต้นทุนต่อหน่วยผลิตภัณฑ์สูง ซึ่งสะท้อนให้เห็นต้นทุนที่ไม่ได้ใช้งาน การศึกษาจึงได้เสนอแนวทางนโยบายการลดการคืนสินค้า ปรับปรุงกระบวนลดการทำงานที่ซ้ำซ้อนและการพิจารณาทบทวนในการใช้พนักงานร่วมกันเพื่อให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด