Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Business Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 511 - 525 of 525

Full-Text Articles in Business

นวัตกรรมระบบปรับปัจจัยคันเซ ตามบริบทที่เปลี่ยนอัตโนมัติ, กิตติพงษ์ สาครเสถียร Jan 2017

นวัตกรรมระบบปรับปัจจัยคันเซ ตามบริบทที่เปลี่ยนอัตโนมัติ, กิตติพงษ์ สาครเสถียร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความก้าวหน้าในภาคอุตสาหกรรมซึ่งพัฒนามาสู่ยุคที่ 4 เกิดขึ้นได้ด้วยเทคโนโลยีและระบบการผลิตอันชาญฉลาด ความก้าวหน้าดังกล่าวดำเนินควบคู่มากับความเปลี่ยนแปลงด้านความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งต้องการผลิตภัณฑ์ที่มีความเฉพาะตัวการพัฒนาผลิตภัณฑ์หลากหลายเทคนิคถูกสร้างขึ้นมา หรือต่อยอดเพื่อรองรับความต้องการใหม่ๆโดยมีวัตถุประสงค์ในการให้ผู้บริโภคเป็นศูนย์กลางของแนวความคิดและการออกแบบผลิตภัณฑ์ ศาสตร์ด้านคันเซเอนจิเนียริงคือหนึ่งในศาสตร์ที่มุ่งเน้นอารมณ์และความรู้สึกของผู้บริโภคเป็นสำคัญ ด้วยแนวคิดการหาความสัมพันธ์ขององค์ประกอบของรูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์ และองค์ประกอบการออกแบบส่วนต่างๆ กับความสัมพันธ์ของอารมณ์ด้านต่างๆที่ผู้บริโภครู้สึกได้รับการยอมรับในแวดวงการออกแบบเพื่อสื่อสารอารมณ์ อย่างไรก็ดีศาสตร์ดังกล่าวยังมีจุดด้อยบางประการได้แก่ ความล้าสมัยของข้อมูลที่ถูกสำรวจ และการนำมาใช้ของของข้อมูล วัตถุประสงค์ในการพัฒนาระบบฯ ที่ผู้วิจัยต้องการ คือออกแบบระบบที่สามารถช่วยแนะนำรูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่แล้ว ไปจนถึงการออกแบบรูปลักษณ์ใหม่ที่เหมาะกับผู้ใช้ซึ่งมีความแตกต่างกัน และเป็นระบบที่สามารถสร้างชุดสมการและนำมาใช้ได้ง่ายและรวดเร็วผู้วิจัยจึงเลือกใช้ข้อดีจากเทคนิคด้านเหมืองข้อมูลและอาศัยการเรียนรู้ของเครื่องจักรเพื่อช่วยให้ระบบสามารถคัดแยะผู้ใช้ได้อย่างแม่นยำและเลือกใช้โมเดลวิศวกรรมคันเซที่ถูกสร้างขึ้นด้วยเทคนิคการจัดหมวดหมู่โดยวิธีการต้นไม้ตัดสินใจภายใต้แนวคิดหลักของวิศวกรรมคันเซ


ระบบนวัตกรรมสำหรับการถอดองค์ความรู้ประเภทฝังลึกในองค์กร, มินทร์รตา ศุภานิชไชยศิริ Jan 2017

ระบบนวัตกรรมสำหรับการถอดองค์ความรู้ประเภทฝังลึกในองค์กร, มินทร์รตา ศุภานิชไชยศิริ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคในการจัดการความรู้และการถอดความรู้ฝังลึกในองค์กร 2) เพื่อพัฒนาต้นแบบแอพพลิเคชั่นของระบบนวัตกรรมสำหรับการถอดองค์ความรู้ประเภทฝังลึกในองค์กร และ 3) เพื่อศึกษาการนำต้นแบบแอพพลิเคชั่นของระบบนวัตกรรมสำหรับการถอดองค์ความรู้ประเภทฝังลึกในองค์กรออกสู่ตลาดในเชิงพาณิชย์ วิธีการดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสมคือเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการสนทนากลุ่มย่อยกับผู้บริหารและผู้ทรงคุณวุฒิด้านการจัดการความรู้จำนวน 24 ท่าน จาก 5 หน่วยงาน ผู้วิจัยใช้เครื่องมือการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ ATLAS ti ในการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสนทนากลุ่ม ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณเป็นการสำรวจข้อมูลจากการบูรณาการคำถามเพื่อถอดองค์ความรู้โดยผู้บริหารและผู้ทรงคุณวุฒิด้านการจัดการความรู้จำนวน 26 ท่านที่เข้าร่วมการสัมมนาการจัดการความรู้ ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย (ค่าเฉลี่ยเลขคณิตและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน) ต้นแบบที่พัฒนาขึ้นได้รับการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน และ 18 ท่าน ผ่านการสัมภาษณ์เชิงคุณภาพหลังทดลองใช้แอพพลิเคชั่น ขั้นตอนสุดท้ายคือการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้สถิติการวิเคราะห์ข้อมูลค่าเฉลี่ยเลขคณิตและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานจากการสำรวจการยอมรับเทคโนโลยีกับผู้ใช้งานแอพพลิเคชั่นจำนวน 60 ท่านจากองค์กรภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน จำนวน 6 หน่วยงาน ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาอุปสรรคในการจัดการความรู้และการถอดความรู้ฝังลึกในองค์กรคือ การเปลี่ยนแปลงนโยบายองค์กร การขาดแรงจูงใจ การขาดความต่อเนื่องในการดำเนินกิจกรรมการจัดการความรู้ ขาดระบบสนับสนุนสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ การไม่ให้ความร่วมมือจากคนในองค์กร พฤติกรรมของคนและวัฒนธรรมในองค์กร ขาดการเตรียมคำถามในการสัมภาษณ์เชิงคุณภาพที่ดี ความไม่ต่อเนื่องในการสัมภาษณ์ การแปลความของผู้ถูกสัมภาษณ์ที่ไม่ถูกต้อง และผู้สัมภาษณ์ขาดประสบการณ์ แอพพลิเคชั่นการถอดองค์ความรู้ประเภทฝังลึกในองค์กรนี้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ (product innovation) ในการพัฒนาต้นแบบแอพพลิเคชั่นพบว่าคำถามหลักและคำถามรองเป็นส่วนประกอบหลักในกระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้ ผลจากการสำรวจการยอมรับเทคโนโลยีต้นแบบพบว่าผู้ใช้งานให้คะแนนในระดับสูง การนำต้นแบบแอพพลิเคชั่นออกสู่ตลาดในเชิงพาณิชย์ ประกอบด้วยการเลือกใช้สัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าโดยไม่เด็ดขาด (non-exclusive licensing agreement) กลยุทธ์การกำหนดราคาเป็นแบบการใช้คุณค่าเป็นฐาน และรูปแบบธุรกิจเป็นผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ด้านการจัดการความรู้


การพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อผู้พิการทางการเห็น สำหรับการทำธุรกรรมทางการเงิน ผ่านเครื่องรับจ่ายเงินอัตโนมัติ (เอทีเอ็ม: Atm), วรท กอวัฒนสกุล Jan 2017

การพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อผู้พิการทางการเห็น สำหรับการทำธุรกรรมทางการเงิน ผ่านเครื่องรับจ่ายเงินอัตโนมัติ (เอทีเอ็ม: Atm), วรท กอวัฒนสกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับการใช้เทคโนโลยีของผู้พิการทางการเห็นในการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านเครื่องเอทีเอ็ม รวมถึงเพื่อศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยีที่ใช้อำนวยความสะดวก อันเป็นที่ยอมรับจากผู้พิการทางการเห็น สำหรับการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านเครื่องเอทีเอ็ม วิธีการดำเนินการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและปริมาณ ด้วยวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการทดลอง โดยใช้วิธีการสังเกตการณ์ การทำแบบสอบถาม และการสัมภาษณ์เชิงลึกจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง กลุ่มตัวอย่างประกอบไปด้วย ผู้พิการทางการเห็น กลุ่มผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันการเงิน และผู้บริหารจากธนาคารแห่งประเทศไทย ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับการใช้เทคโนโลยีของผู้พิการทางการเห็นในการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านเครื่องเอทีเอ็มประกอบไปด้วย ปัจจัยด้านการร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง (Cooperation) ด้านการยอมรับจากสังคม (Social Acceptance) ด้านความง่ายในการใช้งานของเทคโนโลยี (Ease of use) ความมีประโยชน์ (Usefulness) ในการนำอุปกรณ์ที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวันมาสนับสนุนการทำธุรกรรมทางการเงินที่เครื่องเอทีเอ็มได้ ด้านความปลอดภัยในการทำธุรกรรม (Safety) และด้านความปลอดภัยของระบบเครื่องเอทีเอ็ม (Security) โดยจากการพัฒนาและการทดลองเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก พบว่า การนำเทคโนโลยี USSD มาประยุกต์ใช้ มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจรวมสูงสุดที่ 4.59 ในระดับมากที่สุด มีความเร็วเฉลี่ยรวมทั้งกระบวนการ ไม่รวมเวลาการเข้าถึงเครื่องเอทีเอ็ม 56.39 วินาที ซึ่งเร็วกว่าวิธีการปกติ (ใช้บัตรเอทีเอ็ม แบบคนปกติ) ร้อยละ 17.93 (68.71 วินาที)


ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการรับรู้ความน่าเชื่อถือของการสื่อสารแบบปากต่อปากของร้านอาหารบนเฟซบุ๊ก, ชาญฤทธิ์ คงธนารัตน์ Jan 2017

ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการรับรู้ความน่าเชื่อถือของการสื่อสารแบบปากต่อปากของร้านอาหารบนเฟซบุ๊ก, ชาญฤทธิ์ คงธนารัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันความนิยมการใช้งานเว็บไซต์สังคมออนไลน์สูงขึ้น (เช่น เฟซบุ๊ก) ส่งผลให้รูปแบบการสื่อสารแบบปากต่อปาก (WOM) เกิดความเปลี่ยนแปลง เกิดการสื่อสารแบบปากต่อปากบนอินเทอร์เน็ตรูปแบบใหม่ (eWOM) ที่เพิ่มมิติด้านความสัมพันธ์ของผู้รับสารและผู้ส่งสาร จุดประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อที่จะศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการรับรู้ความน่าเชื่อถือของ eWOM บนเว็บไซต์สังคมออนไลน์และการนำข้อมูลจาก eWOM ไปใช้ แบบจำลองการชักจูงสองทางถูกใช้ในการวิเคราะห์ความโน้มน้าวของสาร การศึกษานี้เลือกเฟซบุ๊กเป็นตัวแทนเว็บไซต์สังคมออนไลน์ การเก็บข้อมูลทำโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์และออฟไลน์ตามสัดส่วนสถิติประชากรศาสตร์ของผู้ใช้เฟซบุ๊กในประเทศไทย จากนั้นจึงใช้การวิเคราะห์เส้นทางโดยใช้โปรแกรม SPSS และ SMARTPLS 3.0 ตามลำดับ ผลการศึกษาพบว่าตัวแปรที่ส่งผลต่อการรับรู้ความน่าเชื่อถือสูงสุดคือความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูล ถัดมาคือคะแนนของบทวิจารณ์ ความแข็งแรงของข้อมูล และความสอดคล้องของบทวิจารณ์ ตามลำดับ ผลการศึกษายังช่วยยืนยันการศึกษาในอดีตว่า หากผู้บริโภครับรู้ว่าบทวิจารณ์มีความน่าเชื่อถือก็มีแนวโน้มที่จะนำข้อมูลไปใช้ สุดท้าย Post Hoc Analysis พบว่าระดับความเกี่ยวพันมีส่วนในการควบคุมผลของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรบางตัว (ทั้งสองประเภท) ต่อการรับรู้ความน่าเชื่อถือของการสื่อสารแบบปากต่อปากบนอินเทอร์เน็ต


ความเป็นไปได้ของการขนส่งสินค้าภายในประเทศไทยด้วยตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 12 ฟุต :กรณีศึกษาผู้ให้บริการขนส่งสินค้าอุปโภคบริโภคทางถนน, ธีรชัย เรืองพรวิสุทธิ์ Jan 2017

ความเป็นไปได้ของการขนส่งสินค้าภายในประเทศไทยด้วยตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 12 ฟุต :กรณีศึกษาผู้ให้บริการขนส่งสินค้าอุปโภคบริโภคทางถนน, ธีรชัย เรืองพรวิสุทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของการขนส่งสินค้าด้วยตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 12 ฟุต ในประเทศไทย ซึ่งจะทำการศึกษาการขนส่งสินค้าอุปโภคบริโภค (อาหารแห้ง ซอสปรุงรส ของใช้ส่วนตัวและสินค้าเบ็ดเตล็ดทั่วไป) ภายในประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดต้นทุนการดำเนินงานและลดระยะเวลาในกระบวนการทำงาน ซึ่งจะสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิการทำงานและโอกาสทางการแข่งขันทางธุรกิจของของผู้ให้บริการขนส่งสินค้าภายในประเทศได้
วิธีการดำเนินการวิจัยประกอบด้วยขั้นตอน 1. ทบทวนวรรณกรรมเพื่อศึกษาคุณสมบัติของตู้คอนเทนเนอร์และการนำมาประยุกต์ใช้ในการขนส่งสินค้า 2. การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ทำให้ทราบถึงเหตุผล ความคิดเห็นในการนำตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 12 ฟุต มาใช้ ทั้งในประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น 3. สำรวจข้อมูลของผู้ให้บริการขนส่งสินค้าอุปโภคบริโภคทางถนนที่เป็นกรณีศึกษา โดยได้รวบรวมข้อมูลข้อมูลเวลาการปฏิบัติงานจริงในกิจกรรม การคัดแยก การจัดเรียง การจัดเส้นทางขนส่งและการขนถ่ายสินค้า รวมถึงการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนคงที่ ต้นทุนแปรผันและต้นทุนดำเนินงานทั้งหมด ต่อจากนั้นนำข้อมูลที่รวบรวมได้มาคาดคะเนต้นทุนที่เกิดขึ้นหากนำตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 12 ฟุตมาใช้ เทียบกับต้นทุนที่เกิดขึ้นในกรณีที่ไม่ใช้ตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 12 ฟุต ด้วยการจำลองการดำเนินงานภายใต้ปริมาณและสถานการณ์ขนส่งสินค้าที่เกิดขึ้นจริงในช่วงวันที่ 1ตุลาคม 2560 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2560
ผลการเปรียบเทียบต้นทุนแสดงให้เห็นว่า การใช้ตู้คอนเทนเนอร์ 12 ฟุตจะช่วยลดระยะเวลาในการขนถ่ายสินค้า เพราะไม่ต้องเสียเวลานำสินค้าออกมาจากรถขนส่งขนาดใหญ่มาถ่ายลงรถขนส่งขนาดเล็กที่ศูนย์กระจายสินค้าปลายทาง ทำให้รถขนส่งสามารถทำรอบการขนส่งได้มากขึ้น อย่างไรก็ดี เนื่องจากความจำเป็นที่จะต้องลงทุนในตู้คอนเทนเนอร์ 12 ฟุต ความคุ้มคา่ในการใช้ตู้คอนเทนเนอร์ประเภทนี้จึงขึ้นอยู่กับความสามารถในการใช้ประโยชน์จากความจุของตู้คอนเทนเนอร์ (Utilization) ซึ่งต้องอาศัยการจัดเส้นทางขนส่งที่ดีและปริมาณสินค้าที่มากพอในระดับหนึ่ง อนึ่ง ความคุ้มค่าในการใช้ตู้คอนเทนเนอร์ 12 ฟุตจะมากขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของค่าแรง


พฤติกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งทะเลของนักศึกษาระดับปริญญาตรีบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกของประเทศไทย, ณัชชารีย์ ชัยศิริจิรสิน Jan 2017

พฤติกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งทะเลของนักศึกษาระดับปริญญาตรีบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกของประเทศไทย, ณัชชารีย์ ชัยศิริจิรสิน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งทะเลของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่กำลังศึกษาอยู่ในเขตพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกของประเทศไทย โดยการศึกษาปัจจัยด้านทัศนคติและความตระหนักทางการอนุรักษ์ที่มีผลต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งทะเล ศึกษาโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างนักศึกษา 800 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาแสดงผลในรูปแบบอัตราร้อยละ ใช้สถิติการอนุมานในการทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์ปัจจัย (Factor analysis) และหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยอนุรักษ์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งทะเลโดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า (1) นักศึกษาต่างเพศ ต่างชั้นปี และต่างสาขาวิชามีพฤติกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งทะเลไม่แตกต่างกัน และ (2) พฤติกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งทะเลของนักศึกษามีความสัมพันธ์เชิงบวกกับปัจจัยอนุรักษ์ เช่น ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งทะเล การรับข่าวสารจากสื่อมวลชนและสื่อเฉพาะกิจ การเห็นแบบอย่าง รวมทั้งทัศนคติและความตระหนักในการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งทะเลของนักศึกษา


การเตรียมการของประเทศไทยในการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการควบคุมระบบป้องกันเพรียงที่เป็นอันตรายในเรือ ค.ศ.2001, ฉัตรชัย เวชสาร Jan 2017

การเตรียมการของประเทศไทยในการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการควบคุมระบบป้องกันเพรียงที่เป็นอันตรายในเรือ ค.ศ.2001, ฉัตรชัย เวชสาร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงการเตรียมความพร้อมของประเทศไทยในการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการควบคุมระบบป้องกันเพรียงที่เป็นอันตรายในเรือ ค.ศ. 2001 ขององค์การทางทะเลระหว่างประเทศซึ่งอนุสัญญาที่องค์การทางทะเลระหว่างประเทศบัญญัติขึ้นเพื่อกำหนดมาตรฐานและแนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยในการเดินเรือ การรักษาความปลอดภัยในการขนส่งระหว่างประเทศและคุ้มครองสิ่งแวดล้อมทางทะเลที่เกิดจากเรือรวมทั้งเพื่อเป็นกลไกในการสร้างความร่วมมือทางวิชาการระหว่างประเทศสมาชิก จากการศึกษาพบว่า หากประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาฉบับนี้ย่อมก่อให้เกิดผลดีมากกว่าผลเสียทั้งในฐานะรัฐเจ้าของธง รัฐเจ้าของเมืองท่า และเป็นประโยชน์ต่อเจ้าของเรือหรือบริษัทผู้บริหารเรือทั้งด้านการประหยัดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาตัวเรือ ค่าใช้จ่ายในด้านความสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง การที่ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาจะทำให้ประเทศไทยต้องมีพันธกรณีในการอนุวัติการกฎหมาย ซึ่งต้องมีการแก้ไขหรือปรับปรุงกฎหมายภายในให้มีความสอดคล้องกับอนุสัญญาฯ หากแม้ประเทศไทยยังมิได้เข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาฉบับนี้ แต่ประเทศไทยก็สามารถที่จะมีการหยิบและเลือก (Pick and Choose) โดยการนำเอาหลักการหรือข้อบัญญัติของอนุสัญญามาบัญญัติเอาไว้ในกฎหมายภายในของประเทศไทยในอนาคตได้ หากเห็นว่าหลักการหรือข้อบัญญัติอื่นใดเป็นประโยชน์ในการยกระดับมาตรฐานเรือไทยในด้านที่เกี่ยวกับการรักษาสภาพแวดล้อมทางทะเล


การศึกษาและวิเคราะห์หลักสูตรผู้นำการดำน้ำ (Dive Leader) ที่เหมาะสมกับการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งของประเทศไทย, ปรัชณาพร ประมวลสุข Jan 2017

การศึกษาและวิเคราะห์หลักสูตรผู้นำการดำน้ำ (Dive Leader) ที่เหมาะสมกับการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งของประเทศไทย, ปรัชณาพร ประมวลสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษาหลักสูตรผู้นำการดำน้ำที่เหมาะสมกับการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งของประเทศไทย เพื่อเป็นการเสริมสร้างขีดความสามารถของบุคลากรที่ประกอบอาชีพในอุตสาหกรรมดำน้ำประเทศไทยและมีส่วนร่วมในการจัดระเบียบอุตสาหกรรมดำน้ำประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมดำน้ำ ประกอบด้วย นักวิชาการ และผู้ปฏิบัติงานในอาชีพ รวมจำนวน 24 คน โดยใช้รูปแบบการวิจัยด้วยเทคนิคเดลฟาย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือแบบสอบถามปลายเปิด และแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 4 ระดับ และสถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่มีความสอดคล้องกันทุกประการ สามารถสรุปได้ ดังนี้ ประเด็นที่หนึ่ง มาตรฐานหลักสูตรผู้นำการดำน้ำควรเน้นทักษะด้านความปลอดภัยในการดำน้ำและการจัดการสถานการณ์ฉุกเฉิน ประเด็นที่สอง หน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับ ดูแลประสานงานเกี่ยวกับหลักสูตร ควรเป็นองค์กรในรูปแบบสมาคมหรือสมาพันธ์และควรเป็นหน่วยงานที่สามารถให้ความรู้และสามารถดำเนินการที่เกี่ยวข้องในการจัดการเรียนการสอนได้ ประเด็นที่สาม หัวข้อหลักสูตรที่เหมาะสม ควรมีหัวข้อเกี่ยวกับผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมทางทะเลที่เกิดจากกิจกรรมดำน้ำ ประเด็นที่สี่ รายได้ส่วนหนึ่งจากธุรกิจดำน้ำควรนำมาเป็นเงินที่ใช้ในการส่งเสริมอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล


กระบวนการปลดระวางเรือกักเก็บและผลิตปิโตรเลียม กรณีศึกษา การปลดระวางเรือกักเก็บและผลิตปิโตรเลียม ลีเวค อรุโณทัย, วนิช สนพิพัฒน์ Jan 2017

กระบวนการปลดระวางเรือกักเก็บและผลิตปิโตรเลียม กรณีศึกษา การปลดระวางเรือกักเก็บและผลิตปิโตรเลียม ลีเวค อรุโณทัย, วนิช สนพิพัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบและวิเคราะห์ ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อรายงานการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมกับมาตราฐาน ระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการรื้อถอนการปลดระวางเรือกักเก็บและผลิตปิโตรเลียมตลอดจนเสนอแนะแนวทางที่เหมาะสมต่อการรื้อถอนและการปลดระวางเรือกักเก็บและผลิตปิโตรเลียม โดยศึกษาจากกรณีศึกษาการปลดระวางเรือกักเก็บและผลิตปิโตรเลียม ลีเวค อรุโณทัย โดยงานวิจัยนี้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านการปลดระวางเรือกักเก็บและผลิตปิโตรเลียมจำนวน 20 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติเชิงพรรณนาแสดงผลในรูปแบบอัตราร้อยละเพื่อทดสอบขั้้นตอนและวิเคราะห์โดยการเปรียบเทียบระหว่างความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญกับมาตราฐาน ระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการรื้อถอนการปลดระวางเรือกักเก็บและผลิตปิโตรเลียม ผลการศึกษาพบว่า (1) ผู้เชี่ยวชาญด้านการปลดระวางเรือกักเก็บและผลิตปิโตรเลียมเห็นด้วยกับรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการปลดระวางเรือกักเก็บและผลิตปิโตรเลียมและ (2) รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการปลดระวางเรือกักเก็บและผลิตปิโตรเลียม กรณีศึกษาการปลดระวางเรือกักเก็บและผลิตปิโตรเลียม ลีเวค อรุโณทัย เป็นแนวทางการปลดระวางเรือกักเก็บและผลิตปิโตรเลียมที่เหมาะสมและสอดคล้องตามกฎหมายภายในประเทศและต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการรื้อถอนสิ่งติดตั้ง ทั้งนี้ผลการศึกษาสามารถนำมาจัดทำแนวทางปฏิบัติในการรื้อถอนเรือกักเก็บและผลิตปิโตรเลียมที่เหมาะสมในอนาคตอันจะเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องสืบไป


ตัวแบบการกำหนดราคาของการประกันภัยโรคร้ายแรงโดยใช้อัตราความชุกในประเทศไทย, รติกร แย้มสรวล Jan 2017

ตัวแบบการกำหนดราคาของการประกันภัยโรคร้ายแรงโดยใช้อัตราความชุกในประเทศไทย, รติกร แย้มสรวล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประมาณค่าความรุนแรงของการเปลี่ยนสถานะสำหรับการประกันภัยโรคร้ายแรงและคำนวณหาอัตราเบี้ยประกันภัยสุทธิสำหรับการประกันภัยโรคร้ายแรงที่คุ้มครอง 6 โรค ได้แก่ โรคมะเร็งระยะลุกลาม โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากการขาดเลือด โรคหลอดเลือดในสมองแตกหรืออุดตัน โรคไตวายเรื้อรัง โรคตับวายและโรคหลอดลมปอดอุดกั้นเรื้อรังขั้นรุนแรง โดยใช้อัตราความชุกในการประมาณค่าอัตราอุบัติการณ์ของโรคร้ายแรงที่ไม่ทราบค่า ซึ่งใช้ตัวแบบหลายสถานะ(multiple state model) และฟังก์ชันคงตัวเป็นช่วง (piecewise constant function) ในการประมาณค่าความรุนแรงของการเปลี่ยนสถานะจากสถานะสุขภาพดีไปยังสถานะเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงและสมมติให้ความรุนแรงของเสียชีวิตของทั้งคนสุขภาพดีและผู้ป่วยด้วยโรคร้ายแรงเป็นไปตามตัวแบบ Gompertz-Makeham (GM) ข้อมูลที่ใช้ในงานวิจัยคือ 1) จำนวนประชากรกลางปี 2) จำนวนการตายของประชากรไทย จำแนกตามกลุ่มอายุและเพศ 3) จำนวนการตาย และ 4) จำนวนการป่วย จำแนกตามกลุ่มอายุ เพศและสาเหตุการตายและการป่วยตามบัญชีจำแนกโรคระหว่างประเทศฉบับแก้ไขครั้งที่ 10 (ICD-10) ตั้งแต่ปี พ.ศ.2554-2558 จากสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข ผลการศึกษาพบว่าความรุนแรงของการเปลี่ยนสถานะจากสถานะเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงไปยังสถานะเสียชีวิตเนื่องจากโรคร้ายแรงประมาณได้ด้วยตัวแบบ GM(4,0) ทั้งเพศชายและเพศหญิง และจากสถานะเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงไปยังสถานะเสียชีวิตเนื่องจากสาเหตุอื่น ๆ นอกเหนือจากโรคร้ายแรง สามารถประมาณได้ด้วยตัวแบบ GM(1,2) และ GM(2,2) สำหรับเพศชายและหญิงตามลำดับ เบี้ยประกันภัยสุทธิจ่ายครั้งเดียวสำหรับการประกันภัยโรคร้ายแรงแผนกำหนดผลประโยชน์ไม่ครอบคลุมการเสียชีวิต (Stand-alone benefit) และแผนกำหนดผลประโยชน์ครอบคลุมการเสียชีวิต (Acceleration benefit) มีค่าเพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้นและเบี้ยประกันภัยสำหรับเพศชายมีค่าสูงกว่าเพศหญิงทุกกลุ่มอายุ


การคำนวณหาเบี้ยประกันภัยสำหรับสัญญาแนบท้ายการประกันภัยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงโดยใช้ตัวแบบหลายสถานะ, วิริยะ เก้าเอี้ยน Jan 2017

การคำนวณหาเบี้ยประกันภัยสำหรับสัญญาแนบท้ายการประกันภัยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงโดยใช้ตัวแบบหลายสถานะ, วิริยะ เก้าเอี้ยน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคำนวณหาเบี้ยประกันภัยสุทธิสำหรับสัญญาแนบท้ายการประกันภัยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงที่จ่ายผลประโยชน์ตามระยะของโรค 4 ระยะหลัก โดยใช้ข้อมูลจากอัตราอุบัติการณ์การวินิจฉัยพบมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงจากสถาบันวิจัยมะเร็งแห่งประเทศไทยและงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงที่เป็นประชากรไทย ซึ่งได้มีการระบุอัตราการรอดชีวิตที่ 5 ปีและอัตราส่วนของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงในแต่ละระยะ สำหรับอัตราการเสียชีวิตรวมทุกสาเหตุจะใช้อัตรามรณะตามตารางมรณะไทยประจำปีพ.ศ. 2560 ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) วิธีการหาความน่าจะเป็นที่เกี่ยวข้องจะใช้ตัวแบบหลายสถานะและกระบวนการลูกโซ่มาร์คอฟ เพื่อให้สอดคล้องกับการแบ่งระยะของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง การคำนวณเบี้ยประกันภัยสุทธิใช้หลักการของการเท่ากันของมูลค่าปัจจุบันทางประกันภัย โดยผลประโยชน์ของสัญญาแนบท้ายการประกันภัยตัวอย่างกำหนดไว้แบ่งเป็น 2 กรณีคือกรณีที่ 1 ให้ผลประโยชน์ 1,000,000 บาทจ่ายเมื่อวินิจฉัยพบว่าเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงสำหรับทุกระยะของโรคหรือเสียชีวิตด้วยโรคดังกล่าว และกรณีที่ 2 ที่กำหนดให้ผลประโยชน์สำหรับแต่ะละระยะของมะเร็งไม่เท่ากัน โดยผลประโยชน์จ่ายเมื่อวินิจฉัยพบหรือเสียชีวิตจากมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงระยะที่ 1 เท่ากับ 1,000,000 บาท ส่วนระยะที่ 2,3, และ 4 จะมีค่าเป็น 2,3 และ 4 เท่าของระยะที่ 1 ในขณะที่ระยะเวลาคุ้มครองและจ่ายเบี้ยประกันภัยของสัญญาแนบท้าย 5 ปี และ กำหนดให้อัตราดอกเบี้ยคงที่ตลอดการคุ้มครองเท่ากับร้อยละ 4 ต่อปี ผลการศึกษาพบว่าเบี้ยประกันภัยสุทธิมีค่าเพิ่มขึ้นตามอายุของผู้เอาประกันภัย เมื่อกำหนดผลประโยชน์ในกรณีที่ 1 เบี้ยประกันภัยสุทธิมีค่าอยู่ระหว่าง 56.28 บาทถึง 1451.45 บาทสำหรับเพศชายและมีค่าระหว่าง 33.11 บาทถึง 1027.95 บาทสำหรับเพศหญิง และเมื่อกำหนดผลประโยชน์ในกรณีที่ 2 เบี้ยประกันภัยสุทธิมีค่าอยู่ระหว่าง 173.02 บาทถึง 4487.95 บาทสำหรับเพศชายและมีค่าระหว่าง 101.85 บาทถึง 3175.32 บาทสำหรับเพศหญิง เบี้ยประกันภัยสุทธิของเพศชายมีค่าสูงกว่าของเพศหญิง โดยมีความแตกต่างไม่สม่ำเสมอในแต่ละอายุทั้งสองกรณี ในขณะที่เบี้ยประกันภัยสุทธิเมื่อกำหนดผลประโยชน์แบบกรณีที่ 2 มีค่าสูงกว่าแบบกรณีที่ 1 ทุกอายุและเพศ เมื่อเปรียบเทียบกับเบี้ยประกันภัยสุทธิของการประกันชีวิตที่มีระยะเวลาการคุ้มครองและจ่ายเบี้ยประกันภัย 5 ปีที่ใช้อัตราดอกเบี้ยเท่ากับร้อยละ 4 ต่อปี โดยให้ผลประโยชน์คุ้มครองการเสียชีวิตทุกสาเหตุเท่ากับ 1,000,000 บาทพบว่าเบี้ยประกันภัยสุทธิของกรณีที่ 1 คิดเป็นประมาณร้อยละ 3.48-7.37 ของเบี้ยประกันภัยสุทธิของการประกันชีวิตชั่วระยะเวลา 5 ปีสำหรับเพศชายและประมาณร้อยละ 4.09-12.83 ของเบี้ยประกันภัยสุทธิของการประกันชีวิตชั่วระยะเวลา 5 ปีสำหรับเพศหญิง ส่วนในกรณีที่ 2 คิดเป็นประมาณร้อยละ 10.71-22.70 ของเบี้ยประกันภัยสุทธิของการประกันชีวิตชั่วระยะเวลา 5 …


บทบาทของชุมชนในการฟื้นฟูตลาดเก้าห้องเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในจังหวัดสุพรรณบุรี, วชิรภรณ์ สกุลดิษฐ Jan 2017

บทบาทของชุมชนในการฟื้นฟูตลาดเก้าห้องเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในจังหวัดสุพรรณบุรี, วชิรภรณ์ สกุลดิษฐ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาถึงพัฒนาการของชุมชนตลาดเก้าห้อง 2) เพื่อศึกษาบทบาทของชุมชนในการฟื้นฟูชุมชนตลาดเก้าห้อง 3) เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน และเสนอแนะแนวทางการฟื้นฟูและการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนตลาดเก้าห้อง อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนที่ยั่งยืน การศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 5 กลุ่มได้แก่ กลุ่มผู้นำชุมชน กลุ่มเจ้าหน้าที่ของรัฐ กลุ่มผู้ถือครองที่ดิน กลุ่มผู้อาศัยอยู่ในชุมชน และ กลุ่มนักท่องเที่ยว ผลการศึกษาการวิจัยพบว่า 1) บริบทชุมชนจากพัฒนาการของชุมชนตลาดเก้าห้อง แบ่งออกเป็น 6 ยุค ได้แก่ ยุคการตั้งถิ่นฐาน ยุคขยายตัวสู่ยุครุ่งเรือง ยุคเศรษฐกิจซบเซาช่วงที่ 1 ยุคเริ่มต้นการฟื้นฟูชุมชน ยุคเศรษฐกิจซบเซาช่วงที่ 2 และยุคการฟื้นฟูด้วยการหนุนเสริมการท่องเที่ยว พัฒนาการของชุมชนแสดงให้เห็นว่า ชุมชนมีเอกลักษณ์เป็นตลาดเก่าที่ตั้งที่อยู่บริเวณริมน้ำ มีความโดดเด่นในด้านการค้าและเศรษฐกิจมาตั้งแต่อดีตและมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่สะท้อนผ่านประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อและรูปแบบสถาปัตยกรรมบ้านเรือนที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน 2) บทบาทของชุมชนมีความเด่นชัดในช่วงยุคแห่งการฟื้นฟูชุมชนเมื่อเกิดโครงการฟื้นฟูด้านต่างๆ และชุมชนเริ่มมีบทบาทในการทำงานร่วมกัน 3) การทำงานของชุมชนในรูปแบบเครือข่ายและขั้นตอนการมีส่วนร่วมเป็นบทบาทสำคัญของชุมชนในการฟื้นฟู ชุมชนตลาดเก้าห้องมีการเข้าถึงข่าวสาร การปรึกษาหารือ และมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้อย ทำให้โครงการไม่มีประสิทธิภาพ 4) แนวทางการฟื้นฟูชุมชนจะต้องมุ่งเน้นการสร้างบทบาทของคนในชุมชนให้เกิดความเข้มแข็ง และมีบทบาทในการขับเคลื่อนอย่างชัดเจนในทุกกระบวนการ และทุกขั้นตอน โดยต้องอยู่บนพื้นฐานของความสมัครใจในการทำงานร่วมกันทั้งกับคนภายในชุมชน และหน่วยงานภายนอก ดังนั้นในการฟื้นฟูชุมชนตลาดเก้าห้องต้องสร้างคนรุ่นใหม่ และส่งเสริมให้มีบทบาทในชุมชนมากขึ้น เพื่อเป็นหลักในการขับเคลื่อนการฟื้นฟูชุมชนในอนาคต เพื่อให้เกิดการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน


การคำนวณเบี้ยประกันชีวิตของกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบอิควิตี้ลิ้งระยะยาวภายใต้อัตรามรณะไทย, ปฏิญญา มากระจัน Jan 2017

การคำนวณเบี้ยประกันชีวิตของกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบอิควิตี้ลิ้งระยะยาวภายใต้อัตรามรณะไทย, ปฏิญญา มากระจัน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อคำนวณเบี้ยประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบอิควิตี้ลิ้งระยะยาวที่มีเวลาครบกำหนดกรมธรรม์ 10 ปี ถึง 30 ปี ของผู้เอาประกันภัยอายุ 50 ปี 55 ปี และ 60 ปี ส่วนแรกเป็นการประมาณค่าอัตรามรณะของผู้สูงอายุไทยด้วยตัวแบบอินเวอร์สเมคแฮมร่วมกับวิธีโคล-กิสเกอร์ และพยากรณ์อัตรามรณะด้วยตัวแบบลี-คาร์เตอร์ ส่วนที่สองเป็นการประมาณโครงสร้างอัตราดอกเบี้ยจากตัวแบบ Cox-Ingersoll-Ross (CIR) และในส่วนสุดท้ายเป็นการประมาณค่าคอลออปชั่นแบบยูโรเปี่ยนออปชั่น โดยตัวแบบแบล็คโชลส์ ข้อมูลที่ใช้ในงานวิจัยประกอบด้วยข้อมูลจำนวนประชากรปลายปี และจำนวนประชากรตายระหว่างปี พ.ศ.2545 - 2559 แยกตามเพศและอายุ จากกระทรวงมหาดไทย และกระทรวงสาธารณสุข ตามลำดับ ข้อมูลพันธบัตรรัฐบาลไทยระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2541 ถึง วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2559 จากสมาคมตราสารหนี้ไทย และข้อมูลราคาปิดของหุ้น SET50 จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตั้งแต่ มกราคม พ.ศ. 2541 ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2559 ผลการศึกษาพบว่าเบี้ยประกันภัยมีค่าลดลงอย่างต่อเนื่องเมื่อวันครบกำหนดสัญญามีค่าเพิ่มขึ้น โดยเบี้ยประกันภัยของผู้เอาประกันภัยที่มีอายุมากมีค่าน้อยกว่าเบี้ยประกันภัยของผู้เอาประกันภัยอายุน้อย เนื่องจากกรมธรรม์นี้ให้ผลประโยชน์เมื่อครบกำหนดสัญญา เบี้ยประกันภัยของเพศหญิงมีค่ามากกว่าของเพศชายเมื่อเปรียบเทียบในช่วงอายุเดียวกันและวันครบกำหนดสัญญาเดียวกัน ดังนั้นการประกันชีวิตแบบอิควิตี้ลิ้งจึงเหมาะสำหรับผู้สูงอายุ และเหมาะกับสัญญาประกันภัยแบบระยะยาว ที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป


The Relationships Among Counterfeit Users' Social Class, Perceived Counterfeit Proliferation, Luxury Brand Values And Patronage Intention: A Moderating Effect Of Need For Status, Natee Srisomthavil Jan 2017

The Relationships Among Counterfeit Users' Social Class, Perceived Counterfeit Proliferation, Luxury Brand Values And Patronage Intention: A Moderating Effect Of Need For Status, Natee Srisomthavil

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Literature reviews have shown that three main gaps prevail in literature of counterfeit luxury brands. First, there is a mixed result regarding the effects on counterfeits. Second, past studies did not explore the interaction effects of consumers' need for status with the relationships between counterfeit product consumption and luxury fashion brand values. Third, past studies that explored the effects of counterfeits on original luxury brand values did not clearly define the dimensions of the value being studied. To address the gaps in the literature, this research studies the relationships between the social class of the counterfeit luxury fashion brand users, …


นวัตกรรมน้ำมันเตากำมะถันต่ำจากการผสมน้ำมันไพโรไลซิสสาหร่ายขนาดเล็กและน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้ว, ศุภฤกษ์ อร่ามกิจโพธา Jan 2017

นวัตกรรมน้ำมันเตากำมะถันต่ำจากการผสมน้ำมันไพโรไลซิสสาหร่ายขนาดเล็กและน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้ว, ศุภฤกษ์ อร่ามกิจโพธา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

น้ำมันไพโรไลซิสจากสาหร่ายขนาดเล็กเป็นทางเลือกของเชื้อเพลิงหมุนเวียนที่สามารถนำไปใช้ทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิลได้ เนื่องจากมีค่าความร้อนที่ดีและมีปริมาณกำมะถันต่ำ ส่วนน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้วเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของเชื้อเพลิงทดแทนที่มีราคาต่ำและเป็นขยะอันตรายที่มีการสนับสนุนให้ถูกนำกลับมาใช้ใหม่ จากที่องค์กรทางทะเลระหว่างประเทศประกาศให้มีการใช้น้ำมันเตากำมะถันต่ำ (กำมะถันน้อยกว่า 0.5% โดยน้ำหนัก) ในการขนส่งทางเรือ มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 และการผลิตน้ำมันเตากำมะถันต่ำจากเชื้อเพลิงปิโตรเลียมยังมีข้อจำกัดด้านต้นทุนและกระบวนการในการผลิต ผู้วิจัยพบว่าการผสมน้ำมันระหว่างน้ำมันไพโรไลซิสจากสาหร่ายขนาดเล็กและน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้ว มีความเป็นไปได้ในการนำมาผลิตน้ำมันเตากำมะถันต่ำเพื่อตอบสนองความต้องการในอนาคต ในงานวิจัยนี้เลือกน้ำมันไพโรไลซิสที่ผลิตจากสาหร่ายสไปรูลิน่าเนื่องจากการเก็บเกี่ยวที่ง่ายและได้ผลผลิตน้ำมันสูง โดยนำสาหร่ายแห้งมาผ่านกระบวนการไพโรไลซิสด้วยเครื่องปฏิกรณ์ไพโรไลซิสแบบต่อเนื่องขนาด 3 ลิตร และน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้วได้จากโรงงานปรับปรุงคุณภาพน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้วด้วยกระบวนการตกตะกอนและกรองเพื่อแยกน้ำและสิ่งปนเปื้อนออก น้ำมันทั้ง 2 ชนิดถูกผสมด้วยอัตราส่วน 100:0, 80:20, 50:50, 20:80 และ 0:100 เพื่อทำการทดสอบคุณสมบัติตามมาตรฐาน ISO 8217 ซึ่งเป็นมาตรฐานของน้ำมันเตาที่ใช้ในเรือขนส่ง
ผลการศึกษาที่ได้ พบว่าการผสมน้ำมันไพโรไลซิสจากสาหร่ายขนาดเล็กในอัตราส่วน 20% และน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้วในอัตราส่วน 80% ซึ่งเรียกในงานวิจัยนี้ว่า MLB20 มีความเป็นไปได้ในการใช้ผลิตน้ำมันเตากำมะถันต่ำในเชิงพาณิชย์มากที่สุด โดยมีคุณสมบัติที่สำคัญดังนี้ ความหนาแน่นที่ 15 องศาเซลเซียส 910.9 kg/m3 ความหนืดที่ 50 องศาเซลเซียส 87.26 mm2/s ปริมาณกำมะถัน 0.461% โดยน้ำหนัก ปริมาณขี้เถ้า 0.515% โดยน้ำหนัก ปริมาณน้ำ 4.1% โดยน้ำหนัก และค่าความเป็นกรด 5.4 mg KOH/g โดยพบว่า MLB20 มีคุณสมบัติผ่านเกณฑ์ของ ISO 8217 ทั้งหมด ยกเว้นเพียงปริมาณขี้เถ้า ปริมาณน้ำและค่าความเป็นกรด ซึ่งสามารถนำไปใช้พัฒนาในงานวิจัยในเชิงพาณิชย์ต่อไป