Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Business Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Operations and Supply Chain Management

Chulalongkorn University

Theses/Dissertations

Articles 181 - 186 of 186

Full-Text Articles in Business

A Study Of Criteria For Air Cargo Terminal Classification Model, Treephis Rodbundith Jan 2017

A Study Of Criteria For Air Cargo Terminal Classification Model, Treephis Rodbundith

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Global air cargo transportation has performed a significant role to the trade industry over the past decades for goods delivery. Airlines transport approximately 51.3 million metric tons of goods, or more than one third of worldwide trade or USD 6.8 trillion by value annually. Air cargo terminal is a key success of airlines in the supply chain network at airports. This study is aimed to explore and analyze important criteria of air cargo terminals on the integration of 63 criteria from previous researches of practical operations and International Air Transport Association regulated standard services. To examine reviewed criteria, this paper …


พฤติกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งทะเลของนักศึกษาระดับปริญญาตรีบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกของประเทศไทย, ณัชชารีย์ ชัยศิริจิรสิน Jan 2017

พฤติกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งทะเลของนักศึกษาระดับปริญญาตรีบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกของประเทศไทย, ณัชชารีย์ ชัยศิริจิรสิน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งทะเลของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่กำลังศึกษาอยู่ในเขตพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกของประเทศไทย โดยการศึกษาปัจจัยด้านทัศนคติและความตระหนักทางการอนุรักษ์ที่มีผลต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งทะเล ศึกษาโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างนักศึกษา 800 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาแสดงผลในรูปแบบอัตราร้อยละ ใช้สถิติการอนุมานในการทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์ปัจจัย (Factor analysis) และหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยอนุรักษ์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งทะเลโดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า (1) นักศึกษาต่างเพศ ต่างชั้นปี และต่างสาขาวิชามีพฤติกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งทะเลไม่แตกต่างกัน และ (2) พฤติกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งทะเลของนักศึกษามีความสัมพันธ์เชิงบวกกับปัจจัยอนุรักษ์ เช่น ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งทะเล การรับข่าวสารจากสื่อมวลชนและสื่อเฉพาะกิจ การเห็นแบบอย่าง รวมทั้งทัศนคติและความตระหนักในการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งทะเลของนักศึกษา


การเตรียมการของประเทศไทยในการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการควบคุมระบบป้องกันเพรียงที่เป็นอันตรายในเรือ ค.ศ.2001, ฉัตรชัย เวชสาร Jan 2017

การเตรียมการของประเทศไทยในการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการควบคุมระบบป้องกันเพรียงที่เป็นอันตรายในเรือ ค.ศ.2001, ฉัตรชัย เวชสาร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงการเตรียมความพร้อมของประเทศไทยในการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการควบคุมระบบป้องกันเพรียงที่เป็นอันตรายในเรือ ค.ศ. 2001 ขององค์การทางทะเลระหว่างประเทศซึ่งอนุสัญญาที่องค์การทางทะเลระหว่างประเทศบัญญัติขึ้นเพื่อกำหนดมาตรฐานและแนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยในการเดินเรือ การรักษาความปลอดภัยในการขนส่งระหว่างประเทศและคุ้มครองสิ่งแวดล้อมทางทะเลที่เกิดจากเรือรวมทั้งเพื่อเป็นกลไกในการสร้างความร่วมมือทางวิชาการระหว่างประเทศสมาชิก จากการศึกษาพบว่า หากประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาฉบับนี้ย่อมก่อให้เกิดผลดีมากกว่าผลเสียทั้งในฐานะรัฐเจ้าของธง รัฐเจ้าของเมืองท่า และเป็นประโยชน์ต่อเจ้าของเรือหรือบริษัทผู้บริหารเรือทั้งด้านการประหยัดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาตัวเรือ ค่าใช้จ่ายในด้านความสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง การที่ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาจะทำให้ประเทศไทยต้องมีพันธกรณีในการอนุวัติการกฎหมาย ซึ่งต้องมีการแก้ไขหรือปรับปรุงกฎหมายภายในให้มีความสอดคล้องกับอนุสัญญาฯ หากแม้ประเทศไทยยังมิได้เข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาฉบับนี้ แต่ประเทศไทยก็สามารถที่จะมีการหยิบและเลือก (Pick and Choose) โดยการนำเอาหลักการหรือข้อบัญญัติของอนุสัญญามาบัญญัติเอาไว้ในกฎหมายภายในของประเทศไทยในอนาคตได้ หากเห็นว่าหลักการหรือข้อบัญญัติอื่นใดเป็นประโยชน์ในการยกระดับมาตรฐานเรือไทยในด้านที่เกี่ยวกับการรักษาสภาพแวดล้อมทางทะเล


A Three-Echelon Multi-Commodity Location-Routing Problem, Patanapong Sanghatawatana Jan 2017

A Three-Echelon Multi-Commodity Location-Routing Problem, Patanapong Sanghatawatana

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research studies the problem of distribution network design. The purposes of this study are 1) to develop the mathematical model for redesign of current distribution network by focusing on reducing total distribution cost and 2) to develop new solution approach for large-scale complicated problem. This research formulates mixed integer linear programming for the three-echelon two-commodity Location Routing Problem (LRP). The objective function is to minimize facility operating and closure cost and distance cost. Due to large-scale of LRP, which is NP-hardness, this research proposes new sequential solution approach as following steps; 1) decomposing the LRP into two subproblems based …


Strategic Fit For Outsourcing Of Pharmaceutical Manufacturing: A Scenario Study In Thailand, Sompong Apithamsoonthorn Jan 2017

Strategic Fit For Outsourcing Of Pharmaceutical Manufacturing: A Scenario Study In Thailand, Sompong Apithamsoonthorn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Outsourcing is recognized as one of the critical factors for efficient execution of pharmaceutical supply chain management, many pharmaceutical companies engage in international outsourcing of services (IOS) to survive in global highly competitive business. Since the key success factors for both domestic & international alliances are partnership characteristics and strategic fit management, but there is no empirical research on this issue in Thai pharmaceutical partnership offshore outsourcing. Therefore, this survey of Thai and foreign companies, both contract providers (CPs) and contract manufacturers (CMs), seeks to indicate significant relationships among both outsourcing strategic fit type and partnership type, including outsourcing performance …


กระบวนการปลดระวางเรือกักเก็บและผลิตปิโตรเลียม กรณีศึกษา การปลดระวางเรือกักเก็บและผลิตปิโตรเลียม ลีเวค อรุโณทัย, วนิช สนพิพัฒน์ Jan 2017

กระบวนการปลดระวางเรือกักเก็บและผลิตปิโตรเลียม กรณีศึกษา การปลดระวางเรือกักเก็บและผลิตปิโตรเลียม ลีเวค อรุโณทัย, วนิช สนพิพัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบและวิเคราะห์ ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อรายงานการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมกับมาตราฐาน ระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการรื้อถอนการปลดระวางเรือกักเก็บและผลิตปิโตรเลียมตลอดจนเสนอแนะแนวทางที่เหมาะสมต่อการรื้อถอนและการปลดระวางเรือกักเก็บและผลิตปิโตรเลียม โดยศึกษาจากกรณีศึกษาการปลดระวางเรือกักเก็บและผลิตปิโตรเลียม ลีเวค อรุโณทัย โดยงานวิจัยนี้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านการปลดระวางเรือกักเก็บและผลิตปิโตรเลียมจำนวน 20 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติเชิงพรรณนาแสดงผลในรูปแบบอัตราร้อยละเพื่อทดสอบขั้้นตอนและวิเคราะห์โดยการเปรียบเทียบระหว่างความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญกับมาตราฐาน ระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการรื้อถอนการปลดระวางเรือกักเก็บและผลิตปิโตรเลียม ผลการศึกษาพบว่า (1) ผู้เชี่ยวชาญด้านการปลดระวางเรือกักเก็บและผลิตปิโตรเลียมเห็นด้วยกับรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการปลดระวางเรือกักเก็บและผลิตปิโตรเลียมและ (2) รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการปลดระวางเรือกักเก็บและผลิตปิโตรเลียม กรณีศึกษาการปลดระวางเรือกักเก็บและผลิตปิโตรเลียม ลีเวค อรุโณทัย เป็นแนวทางการปลดระวางเรือกักเก็บและผลิตปิโตรเลียมที่เหมาะสมและสอดคล้องตามกฎหมายภายในประเทศและต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการรื้อถอนสิ่งติดตั้ง ทั้งนี้ผลการศึกษาสามารถนำมาจัดทำแนวทางปฏิบัติในการรื้อถอนเรือกักเก็บและผลิตปิโตรเลียมที่เหมาะสมในอนาคตอันจะเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องสืบไป