Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Urban, Community and Regional Planning Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Discipline
Institution
Keyword
Publication Year
Publication
Publication Type
File Type

Articles 571 - 600 of 5886

Full-Text Articles in Urban, Community and Regional Planning

ปัจจัยในการตัดสินใจซื้อคอนโดมิเนียม ของ บริษัทออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) และ ทาวน์เฮาส์ ของ บริษัทบริทาเนีย จำกัด (มหาชน) ระดับราคา 3-6 ล้านบาท ในช่วงวิกฤตโควิด-19 ของกลุ่มเจนเนอร์เรชั่นวาย, กษิดิศ เตชะวิเชียร Jan 2022

ปัจจัยในการตัดสินใจซื้อคอนโดมิเนียม ของ บริษัทออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) และ ทาวน์เฮาส์ ของ บริษัทบริทาเนีย จำกัด (มหาชน) ระดับราคา 3-6 ล้านบาท ในช่วงวิกฤตโควิด-19 ของกลุ่มเจนเนอร์เรชั่นวาย, กษิดิศ เตชะวิเชียร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ช่วงวิกฤตโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจและสังคมอย่างมากโดยเฉพาะธุรกิจภาคอสังหาริมทรัพย์ เกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิงและมีแนวโน้มไม่กลับมาเหมือนเดิม ทั้งปัจจัยในการตัดสินใจเลือกซื้อที่อยู่อาศัยและกลุ่มผู้บริโภคที่ซื้อที่อยู่อาศัย ซึ่งกลุ่มเจนเนอร์เรชั่นวายกลายเป็นกลุ่มที่มีความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยและอาศัยอย่างแท้จริง (Real Demand) ทั้งโครงการคอนโดมิเนียมและทาวน์เฮาส์ อีกทั้งเป็นเป้าหมายหลักที่บริษัทพัฒนาธุรกิจอสังหาฯ ส่วนใหญ่ให้ความสนใจทั้งในช่วงวิกฤตโควิด-19 และช่วงหลังวิกฤตโควิด-19 ผู้วิจัยมีความสนใจศึกษาปัจจัยในการตัดสินใจซื้อคอนโดมิเนียมและทาวน์เฮาส์ของกลุ่มเจนเนอร์เรชั่นวาย ในช่วงวิกฤตโควิด-19 โดยมีปัจจัยที่ควบคุม คือ อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน ราคาใกล้เคียงกัน และ บริษัทเดียวกัน เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยในการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยของกลุ่มเจนเนอร์เรชั่นวาย ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ซื้อคอนโดมิเนียมที่ได้จากการสุ่ม มีช่วงอายุ 29-35 ปี (Y2) มากที่สุด มีปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสามอันดับแรก ได้แก่ ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ปัจจัยโควิด-19 และปัจจัยทำเลที่ตั้ง ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่ซื้อทาวน์เฮาส์ที่ได้จากการสุ่ม มีช่วงอายุ 22-28 ปี (Y1) มากที่สุด มีปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสามอันดับแรก ได้แก่ ปัจจัยโควิด-19 ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ปัจจัยลักษณะบ้าน ซึ่งปัจจัยโควิด-19 และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยมากที่สุด โดยปัจจัยโควิด-19 ไม่ได้ทำให้ความสามารถในการซื้อของผู้บริโภคลดลง ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในด้านของราคาและโปรโมชั่น ช่วยให้ระยะเวลาในการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภครวดเร็วขึ้น ส่วนใหญ่มีระยะเวลาในการตัดสินใจหนึ่งเดือนหรือน้อยกว่า


แนวทางการพัฒนาสภาพแวดล้อมของรีสอร์ทเพื่อสุขภาพในการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ในช่วงวิกฤตโควิด-19, ณัฐชานันท์ สิริปิยพัทธ์ Jan 2022

แนวทางการพัฒนาสภาพแวดล้อมของรีสอร์ทเพื่อสุขภาพในการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ในช่วงวิกฤตโควิด-19, ณัฐชานันท์ สิริปิยพัทธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในประเทศไทย เป็นการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ที่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติให้ความสนใจเดินทางมาใช้บริการภายในรีสอร์ทเพื่อสุขภาพของประเทศไทย โดยมีจุดประสงค์ที่แตกต่างกันในแต่ละบุคคล ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 รีสอร์ทเพื่อสุขภาพได้รับผลกระทบเป็นอย่างมากและต้องปรับตัวเพื่อผ่านพ้นวิกฤตในครั้งนี้ บทความวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการปรับตัวของรีสอร์ทเพื่อสุขภาพในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 แนวทางการบริหารจัดการความเสี่ยง กลุ่มเป้าหมาย การตลาด การบริการ ลักษณะทางกายภาพ การบริหารจัดการภายในองค์กรและแนวทางการพัฒนารีสอร์ทเพื่อสุขภาพเมื่อเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคที่มีความคล้ายคลึงกันในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ งานวิจัยนี้จึงมีกรณีศึกษา 3 แห่งและเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ประกอบการหรือผู้บริหาร จำนวน 4 คน ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการแพทย์ จำนวน 2 คน ผู้บริโภครีสอร์ทเพื่อสุขภาพ จำนวน 30 คน รวมเป็นจำนวน 36 คน และการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ผลการศึกษาพบว่า 1) ด้านกลุ่มเป้าหมายรีสอร์ทเพื่อสุขภาพต้องพึ่งพานักท่องเที่ยวชาวไทยเป็นหลักในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 2) ด้านการตลาดรีสอร์ทเพื่อสุขภาพมีการปรับลดราคาและรูปแบบกิจกรรมให้เหมาะสมกับนักท่องเที่ยวชาวไทย 3) ผู้บริโภคส่วนใหญ่มีพฤติกรรมเดินทางท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพมากขึ้น โดยมีปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเดินทางไปยังรีสอร์ทเพื่อสุขภาพ คือ ปัจจัยทางด้านราคา รองลงมา คือ ปัจจัยด้านการบริการภายในรีสอร์ทเพื่อสุขภาพ 4) ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ลงความเห็นว่าการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและรีสอร์ทเพื่อสุขภาพในประเทศไทยมีแนวโน้มเติบโตภายหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นแนวทางในการปรับตัวของรีสอร์ทเพื่อสุขภาพในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างไรก็ตามภาครัฐควรมีนโยบายช่วยเหลือผู้ประกอบการเพิ่มเติม ในรูปแบบระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาว เพื่อเป็นการช่วยเหลือภาคการท่องเที่ยวของประเทศไทยในยามวิกฤต


กระบวนการจัดหาวัสดุก่อสร้างมือสองมาประยุกต์ใช้ในการต่อเติมที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อย : กรณีศึกษามูลนิธิสวนแก้ว, ณัชชา โพธิ์อุลัย Jan 2022

กระบวนการจัดหาวัสดุก่อสร้างมือสองมาประยุกต์ใช้ในการต่อเติมที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อย : กรณีศึกษามูลนิธิสวนแก้ว, ณัชชา โพธิ์อุลัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

มูลนิธิสวนแก้ว เป็นองค์กรที่มีนโยบายเปิดรับบริจาควัสดุก่อสร้างมือสอง หรือสิ่งของเหลือใช้ ที่เจ้าของไม่ต้องการใช้แล้ว และพบว่าวัสดุก่อสร้างมือสองเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ผู้มีรายได้น้อย สามารถนำวัสดุไปใช้ในการก่อสร้าง ต่อเติม หรือซ่อมแซม ที่อยู่อาศัยของตนเองได้ในราคาย่อมเยา ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษากระบวนการคัดแยกประเภทวัสดุก่อสร้างในมูลนิธิสวนแก้ว รวมถึงติดตามวัสดุมือสองเหล่านั้น ซึ่งผู้วิจัยได้ศึกษากลุ่มตัวอย่างจำนวน 12 หลัง โดยเก็บข้อมูลจากการสำรวจ และการสัมภาษณ์ผู้อยู่อาศัยร่วมกับแรงงานก่อสร้าง เพื่อให้เห็นวิธีการนำวัสดุก่อสร้างมือสองมาประยุกต์ใช้ รวมถึงปัญหาและวิธีการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ผลการศึกษา พบว่ามูลนิธิสวนแก้ว แบ่งวัสดุก่อสร้างมือสองออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่ ไม้ชนิดต่างๆ วัสดุปูพื้นและหลังคา วัสดุช่องเปิดประตูหน้าต่าง วัสดุสุขภัณฑ์ และวัสดุเบ็ดเตล็ด ส่วนในการนำวัสดุมือสองไปประยุกต์ใช้กับบ้านทั้ง 12 หลัง พบว่ามีปัญหาจากการใช้งานที่แตกต่างกัน โดยแบ่งปัญหาที่เกิดขึ้นเป็น 2 ประเภท คือ การใช้วัสดุตรงตามประเภทการใช้งานแล้วเกิดปัญหา สาเหตุจากการที่เจ้าของบ้าน หรือแรงงานก่อสร้าง ขาดความเข้าใจในวิธีการใช้งานของวัสดุมือสองและวิธีการก่อสร้าง และการใช้วัสดุไม่ตรงตามประเภทการใช้งานแล้วเกิดปัญหา สาเหตุจากเจ้าของบ้านไม่ได้วัสดุตามที่ต้องการ เนื่องจากวัสดุที่ถูกนำมาวางขายในมูลนิธิสวนแก้ว มีรูปแบบไม่ซ้ำเดิมในแต่ละวัน เพราะเป็นของที่ได้จากการรับบริจาค รวมถึงเจ้าของบ้านต้องการประหยัดค่าใช้จ่าย หรืองบประมาณไม่เพียงพอ จึงต้องเลือกวัสดุอื่นมาประยุกต์ใช้แทน และจากคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญสามารถแบ่งวิธีการแก้ปัญหาเป็น 2 รูปแบบ คือการแก้ปัญหาแบบชั่วคราวด้วยการใช้วัสดุเดิมที่เจ้าของบ้านเลือกใช้ ที่กระทบต่อค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด และการแก้ปัญหาแบบยั่งยืน ด้วยการเปลี่ยนวัสดุหรือวิธีก่อสร้างใหม่ ซึ่งรูปแบบนี้จะเหมาะกับผู้ที่มีความพร้อมในการจ่ายที่มากกว่า ดังนั้น แม้ว่าการนำวัสดุมือสองมาใช้ในการก่อสร้างหรือต่อเติมที่อยู่อาศัย จะสามารถตอบโจทย์ให้ผู้มีรายได้น้อยได้ในระดับหนึ่ง แต่หากไม่เข้าใจในคุณสมบัติของวัสดุ และไม่เข้าใจในวิธีก่อสร้าง ก็จะพบปัญหาจากการใช้วัสดุเหล่านี้ ซึ่งในการแก้ปัญหาเบื้องต้นสำหรับผู้มีรายได้น้อย ในการนำวัสดุมือสองไปใช้งาน พบว่า 1. ควรเลือกวัสดุมือสองให้ตรงตามประเภทการใช้งาน 2. ควรเลือกวัสดุมือสองที่ยังอยู่ในสภาพที่สามารถใช้งานได้ และ 3. ควรเตรียมความพร้อมของวัสดุมือสองก่อนนำไปใช้งาน ซึ่งถ้าหากผู้มีรายได้น้อยสามารถนำวัสดุมือสองไปใช้ในการก่อสร้างได้อย่างถูกวิธีก็จะส่งผลต่อการลดปัญหาจากการใช้วัสดุได้อีกทางหนึ่ง


การศึกษาหลักเกณฑ์พื้นที่สีเขียวในรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการที่อยู่อาศัยประเภทอาคารชุดพักอาศัยรวม เขตกรุงเทพมหานคร, นภสร จินดาพงษ์ Jan 2022

การศึกษาหลักเกณฑ์พื้นที่สีเขียวในรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการที่อยู่อาศัยประเภทอาคารชุดพักอาศัยรวม เขตกรุงเทพมหานคร, นภสร จินดาพงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โครงการที่อยู่อาศัยประเภทอาคารชุดพักอาศัยรวมที่มีจำนวนห้องพักตั้งแต่ 80 ห้อง หรือมีพื้นที่ใช้สอยตั้งแต่ 4,000 ตร.ม. ขึ้นไปต้องจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยหนึ่งในหลักเกณฑ์คือ พื้นที่สีเขียว ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดความน่าอยู่ของเมือง ตลอด 30 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่การประกาศใช้การจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมในปีพ.ศ. 2535 หลักเกณฑ์พื้นที่สีเขียวไม่มีการเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์และสภาพสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน ในงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการปรับปรุงหลักเกณฑ์พื้นที่สีเขียวให้ดีขึ้น โดยกำหนดกรอบการวิจัยคือ การศึกษาโครงการอาคารชุดพักอาศัยรวมที่ผ่านการพิจารณาในปีพ.ศ. 2561 เป็นกรณีศึกษา และจัดทำข้อเสนอแนะการปรับปรุงหลักเกณฑ์พื้นที่สีเขียว ผลการศึกษาแบ่งเป็น 2 ลักษณะคือ การวิจัยเชิงเอกสารพบว่า พื้นที่สีเขียวทุกประเภทสามารถทำได้เกินจากหลักเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนดไว้ ซึ่งสอดคล้องกับการสัมภาษณ์กลุ่มที่ปรึกษาผู้จัดทำรายงานว่า ปัจจัยสำคัญที่สุดในการจัดทำพื้นที่สีเขียว คือ การทำให้ผ่านหลักเกณฑ์ขั้นต่ำ โดยไม่คำนึงว่าจะต้องเกินมากน้อยเพียงไร ซึ่งแสดงให้เห็นจากตัวเลขพื้นที่สีเขียวรวมที่หลักเกณฑ์ขั้นต่ำกำหนดไว้ 1 ตร.ม. ต่อ 1 คนนั้นมีค่าเฉลี่ยเกินเพียง 1.07 ตร.ม. ต่อ 1 คน ปัจจัยสำคัญรองลงมาคือ ชนิดพันธุ์ไม้ยืนต้น เพราะต้องนำไปคำนวณการดูดซับคาร์บอน โดยกลุ่มที่ปรึกษาขอให้กลุ่มผู้ออกแบบเลือกใช้ชนิดพันธุ์จากตารางอ้างอิงที่ถูกทำขึ้นในปีพ.ศ. 2538 และยังใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน จากการสัมภาษณ์กลุ่มผู้ออกแบบพบว่า ไม่สามารถนำชนิดพันธุ์เหล่านั้นมาใช้ได้จริง เพราะตารางอ้างอิงนี้ไม่ได้ตรวจทานเพิ่มเติมมาถึง 28 ปีแล้ว ซึ่งสอดคล้องกับการสำรวจพบว่าชนิดพันธุ์ในเล่มรายงานไม่ตรงกับในโครงการจริง พิสูจน์ได้ว่าหลักเกณฑ์การดูดซับคาร์บอนนี้ไม่สามารถปฏิบัติจริงได้เพราะชนิดพันธุ์ที่ใช้ในการคำนวณไม่ได้นำมาใช้จริง และเมื่อรวมกับการสัมภาษณ์กลุ่มผู้เชี่ยวชาญพื้นที่สีเขียว จึงได้นำมาสู่ข้อเสนอแนะการปรับปรุงหลักเกณฑ์พื้นที่สีเขียว ได้แก่ 1) หลักเกณฑ์พื้นที่สีเขียวรวม 1 ตร.ม. ต่อ 1 คน ต้องมีข้อกำหนดหลักเกณฑ์ขั้นต่ำมากขึ้น เนื่องด้วยหลักเกณฑ์เดิมไม่เพียงพอต่อสถานการณ์การอยู่อาศัยที่มีความหนาแน่นขึ้นมากกว่า 30 ปีที่ผ่านมา 2) หลักเกณฑ์ขั้นต่ำประเภทอื่นๆ ควรถูกนำมาประเมินเพื่อให้สอดคล้องต่อสถานการณ์สิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของผู้คนในปัจจุบัน 3) หลักเกณฑ์การดูดซับคาร์บอนต้องปรับปรุงให้ปฏิบัติได้จริง เพื่อให้สิ่งที่ปรากฎในเล่มรายงานส่งผลไปยังการพัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นได้ต่อไป


การเตรียมการด้านที่อยู่อาศัยก่อนเกษียณของแรงงานก่อสร้างในเขตกรุงเทพมหานคร : กรณีศึกษา บริษัทรับเหมาก่อสร้างขนาดใหญ่ 4 แห่ง, ทศพล นิลเปรม Jan 2022

การเตรียมการด้านที่อยู่อาศัยก่อนเกษียณของแรงงานก่อสร้างในเขตกรุงเทพมหานคร : กรณีศึกษา บริษัทรับเหมาก่อสร้างขนาดใหญ่ 4 แห่ง, ทศพล นิลเปรม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันประเทศไทยมีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ พ.ศ. 2554 ประเทศไทยมีประชากรผู้สูงอายุทั้งหมด จากร้อยละ 12 และใน พ.ศ. 2564 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 18 จากประชากรรวมทั้งประเทศ ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวพบว่าสถิติผู้มีงานทำทั่วประเทศที่มีอายุ 50-59 ปี มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี และยังเป็นไปในทิศทางเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกันกับสัดส่วนแนวโน้มแรงงานก่อสร้างในเขตกทม. ที่เพิ่มจาก ร้อยละ 12 ในพ.ศ. 2553 เป็นร้อยละ 16 ใน พ.ศ. 2564 จากจำนวนแรงงานก่อสร้างรวมทั้งประเทศ จึงอาจกล่าวได้ว่ายิ่งมีแรงงานก่อสร้างที่อยู่อาศัยในแคมป์มากขึ้นจะมีสัดส่วนแรงงานที่ต้องสูงอายุมากขึ้น ซึ่งแรงงานก่อสร้างที่พักอาศัยในแคมป์คนงาน หลังจากเกษียณอายุแล้วไม่สามารถอาศัยอยู่ในแคมป์ได้ แรงงานกลุ่มนี้ก่อนวัยเกษียณอายุส่วนใหญ่จะมีลักษณะสังคม เศรษฐกิจ กรรมสิทธิ์ การเตรียมการด้านที่อยู่อาศัยหลังเกษียณอายุอย่างไร โดยงานวิจัยนี้ได้ศึกษากลุ่มตัวอย่างจากกลุ่มแรงงานก่อสร้างที่ปฏิบัติงานอยู่ในโครงการก่อสร้าง และพักอยู่ในแคมป์คนงานที่รับผิดชอบโดย 4 บริษัทกรณีศึกษา ซึ่งเป็นบริษัทรับเหมาก่อสร้างขนาดใหญ่ที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อวิเคราะห์ และสรุปผลการเตรียมการด้านที่อยู่อาศัยก่อนเกษียณจากการเก็บแบบสอบถามแรงงานก่อสร้างชาวไทย 400 ตัวอย่าง และชาวเมียนมา 400 ตัวอย่าง ร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึก 20 คน จากแรงงานกลุ่มประชากรแรงงานก่อสร้าง จำนวน 2,471 คน จากการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างแรงงานก่อสร้างชาวไทย มีกลุ่มที่เตรียมการ และไม่เตรียมการด้านที่อยู่อาศัยก่อนเกษียณ ร้อยละ 84.25 และ 15.75 ตามลำดับ ทั้งสองกลุ่มมีปัจจัยที่เหมือนกันในด้านสังคม ส่วนใหญ่มีสถานะสมรส, มีบุตร 1 คน, ตำแหน่งกรรมกร ด้านเศรษฐกิจ ส่วนใหญ่มีรายได้ต่อคนต่อเดือน น้อยกว่า 12,000 บาท, รายจ่ายต่อคนต่อเดือน 5,000-10,000 บาท, มีการออมเงินในบัญชีเงินฝาก, มีสิทธิ์ประกันสังคม, ไม่มีโรคประจำตัว, จะหยุดทำงานก่อสร้างเมื่ออายุ 55-60 ปี, จะทำเกษตรกรรมหลังเกษียณ ด้านที่อยู่อาศัยภูมิลำเนาเดิม ส่วนใหญ่มีที่ตั้งภูมิลำเนาเดิมอยู่ภาคอีสาน, ไม่มีปัญหาในที่อยู่อาศัย, กลุ่มที่มีปัญหาส่วนใหญ่ต้องการซ่อมแซมในส่วนที่ชำรุด, มีงบประมาณที่คาดไว้ น้อยกว่า 100,000 บาท, ด้วยเงินออม, มีการออมเงินไว้บางส่วนน้อยกว่า 20,000 บาท, จะดำเนินการ 3-5 ปีข้างหน้า และมีปัจจัยที่แตกต่างกันในด้านที่อยู่อาศัยในภูมิลำเนาเดิม …


กลยุทธ์การปรับเปลี่ยนรูปแบบทางสถาปัตยกรรมโครงการบ้านจัดสรรประเภทบ้านเดี่ยว ระหว่างปี พ.ศ.2559-2565 กรณีศึกษา 4 บริษัทมหาชนจำกัด, พรชัย ประสงค์ฉัตรชัย Jan 2022

กลยุทธ์การปรับเปลี่ยนรูปแบบทางสถาปัตยกรรมโครงการบ้านจัดสรรประเภทบ้านเดี่ยว ระหว่างปี พ.ศ.2559-2565 กรณีศึกษา 4 บริษัทมหาชนจำกัด, พรชัย ประสงค์ฉัตรชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การปรับเปลี่ยนรูปแบบทางสถาปัตยกรรมเป็นหัวใจของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Product) ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในช่วงพ.ศ.2559-2565 ประเทศไทยประสบปัญหาโควิด-19 ในปี 2563 จากนั้นพบว่าอัตราการขายบ้านเดี่ยวโครงการบ้านจัดสรรในเขตกรุงเทพและปริมณฑลสูงขึ้นกว่าที่อยู่อาศัยประเภทอื่น งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์และการปรับเปลี่ยนรูปแบบทางสถาปัตยกรรมบ้านเดี่ยวในโครงการบ้านจัดสรรในระดับราคา 5-10 ล้านบาทที่เปิดขายในช่วงปี พ.ศ. 2559 – 2565 ของบริษัทที่มีรายได้จากบ้านแนวราบมากที่สุด 4 บริษัทได้แก่ 1) บมจ. เอพี(ไทยแลนด์) (AP) 2) บมจ.เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น (SC) 3) บมจ. แสนสิริ (SIRI) 4) บมจ. ศุภาลัย (SPALI) โดยรวบรวมแบบบ้านทั้ง 4 บริษัทจากแบบเริ่มต้น 13 แบบใน 18 โครงการ และศึกษา 1) รวบรวมข้อมูลกลยุทธ์จากรายงานประจำปี56-1 และรวบรวมแบบบ้านจากเว็บไซต์รีวิวโครงการ 2) สัมภาษณ์การดำเนินกลยุทธ์และสัมภาษณ์สอบทานการปรับเปลี่ยนรูปแบบบ้าน ผลการศึกษาพบว่าในช่วงก่อน พ.ศ.2563 มีการดำเนินกลยุทธ์องค์กรแตกต่างกันแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลยุทธ์องค์กรมุ่งเน้นการพัฒนากายภาพ จำนวน 2 บริษัทคือ AP และ SC และอีก 2 บริษัทมีกลยุทธ์มุ่งเน้นการพัฒนาการอยู่อาศัยและพัฒนาสังคมคือ SIRI และ SPALI เมื่อได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกและการแพร่ระบาดโควิด-19 ทำให้ทั้ง 4 บริษัทปรับกลยุทธ์องค์กรในทิศทางเดียวกันคือมุ่งการพัฒนาการอยู่อาศัยเพื่อตอบสนองกลุ่มลูกค้าที่แตกต่างกัน นำไปสู่การปรับเปลี่ยนกลยุทธ์พัฒนาผลิตภัณฑ์จากฐานกลยุทธ์เดิมที่แตกต่างกันในแต่ละบริษัท โดยพบว่ากลุ่มลูกค้ามี 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่มีรายได้ค่อนข้างสูง จำนวน 2 บริษัทคือ AP และ SC และอีก 2 บริษัทเน้นกลุ่มรายได้ไม่สูงคือ SIRI และ SPALI และภาพรวมการดำเนินกลยุทธ์การพัฒนาผลิตภัณฑ์ทุกบริษัทปรับเพิ่มกลยุทธ์จากฐานกลยุทธ์เดิม จำแนกได้เป็นกลยุทธ์ 1) กลยุทธ์การพัฒนาขนาดพื้นที่ใช้สอย (AP) 2) กลยุทธ์ด้านความยืดหยุ่นพื้นที่ใช้สอยพัฒนาFunction (SC) 3) กลยุทธ์ความยืดหยุ่นพื้นที่และการออกแบบที่โดดเด่น (SIRI) …


การปรับตัวของร้านค้าปลีกในช่วงตั้งแต่ พ.ศ.2561-2565 ที่มีความสอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภค : กรณีศึกษา รูปแบบร้านค้าอยู่กับที่และรูปแบบร้านค้าเคลื่อนที่ ประเภทธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม, ศิวกร สิงหเดช Jan 2022

การปรับตัวของร้านค้าปลีกในช่วงตั้งแต่ พ.ศ.2561-2565 ที่มีความสอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภค : กรณีศึกษา รูปแบบร้านค้าอยู่กับที่และรูปแบบร้านค้าเคลื่อนที่ ประเภทธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม, ศิวกร สิงหเดช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในการดำรงชีวิต มีความเกี่ยวข้องจากทั้งที่อยู่อาศัย แหล่งงาน สาธารณูปโภค และสาธารณูปการ ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญส่วนหนึ่งในการดำรงชีวิต โดยจะพบว่าตั้งแต่ก่อนปี 2561 ลักษณะการใช้ชีวิตโดยทั่วไปแบบดั้งเดิมเป็นลักษณะที่ ผู้รับบริการต้องเข้าหาผู้ให้บริการ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่เริ่มต้นตั้งแต่ปลายปี 2562 และมีการแพร่ระบาดมากขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี 2563 ทางภาครัฐประกาศหยุดการดำเนินการต่าง ๆภายในประเทศ ทั้งการประกาศปิดห้างสรรพสินค้า ตลาด แหล่งชุมชนและการเดินทางข้ามจังหวัด ส่งผลกระทบโดยตรงต่อร้านค้าในธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่สามารถเปิดให้บริการแบบเดิมได้ จากการปรับตัวของผู้ประกอบการร้านค้าในช่วงปี 2564 ถึง 2565 พบว่าผู้ประกอบการหลายรายมีการปรับรูปแบบร้านค้าเพื่อเพิ่มช่องทางในการจำหน่ายและเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคที่หลากหลาย จากร้านค้าดั้งเดิมที่เป็นลักษณะการเช่าพื้นที่ภายในห้างสรรพสินค้า มีการปรับตัวเป็นลักษณะการเช่าพื้นที่ภายนอก(Stand-alone) ในรูปแบบร้านค้าอยู่กับที่ หรือบางรายมีการปรับเป็นลักษณะรถขายอาหารเคลื่อนที่(Food truck)ในรูปแบบร้านค้าเคลื่อนที่ เป็นลักษณะของการให้บริการแบบที่ ผู้ให้บริการเข้าหาผู้รับบริการ การศึกษาครั้งนี้แบ่งการเก็บข้อมูลรูปแบบร้านค้าอยู่กับที่และรูปแบบร้านค้าเคลื่อนที่ เป็น 3 ส่วน คือ 1)ลักษณะกายภาพและการบริหารจัดการของร้านค้า 2)พฤติกรรมของผู้บริโภค 3)ปัจจัยและเหตุผลในการตัดสินใจของผู้ประกอบการ จากผลการศึกษาร้านค้าในผู้ประกอบการรายเดียวกัน พบว่า ลักษณะร้านค้าแบบดั้งเดิมจะให้ความสำคัญกับพื้นที่ให้บริการลูกค้าเพื่อให้สอดคล้องกับพื้นที่ตั้งที่มีศักยภาพสูง มีปริมาณการเข้ามาของกลุ่มคนในพื้นที่จำนวนมากและมีความหลากหลาย ซึ่งจะแตกต่างจากร้านค้าที่เกิดจากการปรับตัว ที่เลือกเข้าหากลุ่มผู้บริโภค ทั้งในย่านชุมชนและทางสัญจรหลักในพื้นที่ เพื่ออำนวยความสะดวกในการให้บริการใกล้กับแหล่งที่อยู่อาศัย โดยอธิบายเพิ่มเติมได้ว่า ขนาดพื้นที่ร้านค้าที่แตกต่างกัน จะส่งผลต่อรูปแบบการให้บริการ จำนวนพนักงาน และช่วงเวลาในการเปิดให้บริการ ตามแต่ละลักษณะของร้านค้า สาธารณูปโภคและสาธารณูปการโดยรอบพื้นที่ โดยลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่จัดจำหน่ายจะขึ้นอยู่กับข้อจำกัดของพื้นที่ร้านค้าที่สามารถทำได้ ส่วนพฤติกรรมผู้บริโภคที่เข้ามาใช้บริการในวันธรรมดาและวันหยุดแตกต่างกัน ตามลักษณะของตำแหน่งที่ตั้งร้านค้า ระยะทางและช่วงเวลาในการเข้าใช้บริการ ส่วนผู้ประกอบการตัดสินใจปรับลักษณะการใช้งานพื้นที่ร้านค้าดั้งเดิมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมถึงขยายโมเดลธุรกิจร้านค้าใหม่ๆ ลดต้นทุนให้เกิดความคล่องตัว และรองรับการให้บริการเดลิเวอรี่ เพื่อเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้นจากพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปในช่วงที่ผ่านมา จากงานวิจัยพบว่าการนำข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) มาปรับใช้ช่วยให้เกิดประโยชน์ในการเข้าใจลักษณะของพื้นที่รวมถึงการเข้าถึงตำแหน่งที่ตั้งของร้านค้า ซึ่งช่วยให้ผู้ประกอบการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ ในขณะเดียวกันผลการศึกษาในเรื่องดังกล่าว ผู้วิจัยทำการศึกษาเฉพาะด้านกายภาพและพฤติกรรมผู้บริโภคเท่านั้น หากผู้ที่มีความสนใจอาจศึกษาในด้านของการลงทุนธุรกิจร้านค้าปลีกเพิ่มเติมเพื่อเป็นแนวทางการตัดสินใจและลดความผิดพลาดในการลงทุนเพิ่มมากขึ้น


กลยุทธ์การปรับตัวของโรงแรม ภายใต้แนวคิดเวิร์คเคชั่น (Workation) : กรณีศึกษา โรงแรมเซ็นทรา บาย เซ็นทารา มาริส รีสอร์ท จอมเทียน โรงแรมเดอะเบย์วิว พัทยา โรงแรมเวอร์โซ หัวหิน และโรงแรมแอทที บูทีค, ศุภวิทย์ ราศรี Jan 2022

กลยุทธ์การปรับตัวของโรงแรม ภายใต้แนวคิดเวิร์คเคชั่น (Workation) : กรณีศึกษา โรงแรมเซ็นทรา บาย เซ็นทารา มาริส รีสอร์ท จอมเทียน โรงแรมเดอะเบย์วิว พัทยา โรงแรมเวอร์โซ หัวหิน และโรงแรมแอทที บูทีค, ศุภวิทย์ ราศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เวิร์คเคชั่น เป็นแนวคิดสนับสนุนการท่องเที่ยวแบบทำงานไปด้วย ท่องเที่ยวไปด้วย และโครงการเวิร์คเคชั่นไทยแลนด์ โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เป็นโครงการที่สนับสนุนการใช้แนวคิดนี้ ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวทางการปรับตัวของโรงแรม งานวิจัยนี้นี้มุ่งศึกษากลยุทธ์การปรับตัวของโรงแรมภายใต้แนวคิดเวิร์คเคชั่น (Workation) จากโรงแรมที่ร่วมโครงการเวิร์คเคชั่นไทยแลนด์ ในจังหวัดชลบุรีและประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 4 แห่ง โดยรวมข้อมูลลักษณะการดำเนินงาน กลยุทธ์การปรับตัว และผลการดำเนินงาน ในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2563 – 2565 นำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบ เพื่อนำไปสู่ข้อสรุปแนวทางการนำแนวคิดเวิร์คเคชั่นมาประยุกต์ใช้กับโรงแรม ผลการศึกษาพบว่า 1) โครงการเวิร์คเคชั่นไทยแลนด์ ใช้วิธีการเสนอขายสินค้าและบริการให้กับผู้ซื้อคือ กลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ที่ต้องการให้พนักงานไปเวิร์คเคชั่น กับกลุ่มผู้ขายคือโรงแรมที่มีความสนใจกลุ่มลูกค้านี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยว สร้างมิติใหม่ของการท่องเที่ยวและยกระดับสถานประกอบการแบบเวิร์คเคชั่น และกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล 2) กลยุทธ์ทางการตลาดที่โรงแรมให้ความสำคัญ คือ กลยุทธ์ความแตกต่าง (Differentiation) ในการจัดสภาพแวดล้อมภายในโครงการที่โดดเด่น และการเน้นช่องทางการขายทางภาครัฐและบริษัทรวมถึงโครงการเวิร์คเคชั่นไทยแลนด์เพิ่มมากขึ้น 3) กลยุทธ์ทางกายภาพที่โรงแรมให้ความสำคัญ คือ กลยุทธ์การปรับสภาพแวดล้อมภายในโรงแรม โดยการเพิ่มปริมาณของจำนวนชุดโต๊ะนั่งทำงานในบริเวณพื้นที่ส่วนกลางของโครงการ แต่รูปแบบของเครื่องเรือนยังไม่เป็นไปตามหลักการยศาสตร์ พร้อมกับปรับปรุงระบบอินเทอร์เน็ตไร้สาย และ 4) ผลการดำเนินงานพบว่า แนวโน้มส่วนใหญ่ของโรงแรมกรณีศึกษา มีแนวโน้มด้านอัตราเข้าพักเพิ่มขึ้น สัดส่วนรายได้จากอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้น และแนวโน้มสัดส่วนช่องทางการขายด้านช่องทางการขายภาครัฐและบริษัทเพิ่มขึ้น จากการปรับตัวโดยรวมพบว่า โรงแรมกรณีศึกษาที่มีการบริหารงานอย่างอิสระมีการปรับทั้งกลยุทธ์และสภาพแวดล้อมทางกายภาพมากที่สุด ทั้งนี้แนวคิดเวิร์คเคชั่นเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนกลยุทธ์การปรับตัวของธุรกิจทั้ง 4 กรณีศึกษา ผลการดำเนินงานทางธุรกิจย่อมมีองค์ประกอบและปัจจัยหลากหลายในบริบทที่แตกต่างกัน งานวิจัยนี้พบว่าโรงแรมที่เข้าร่วมโครงการมีความสนใจในการนำแนวคิดเวิร์คเคชั่นมาปรับใช้ธุรกิจ โดยเห็นว่าโครงการเวิร์คเคชั่นไทยแลนด์ควรมีการจัดทำรายละเอียดของโครงการอย่างมีแบบแผนที่ชัดเจนมากขึ้น พร้อมกับควรให้การสนับสนุนแก่สถานประกอบการเพิ่มเติมทั้งในด้านองค์ความรู้ในการพัฒนาสภาพแวดล้อมเพื่อการเวิร์คเคชั่น การออกแบบตามหลักการยศาสตร์ (Ergonomic design) การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล และการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนให้กับบริษัทหรือพนักงานที่สนใจไปเวิร์คเคชั่น ประสานงานกับท้องถิ่นเพื่อที่จะให้เกิดมิติการท่องเที่ยวแบบเวิร์คเคชั่นอย่างเป็นระบบนิเวศน์ (Ecosystem) และจัดให้มีผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำเพื่อยกระดับสถานประกอบการแบบเวิร์คเคชั่นต่อไปในอนาคต


รูปแบบการปรับปรุงทางกายภาพของสินทรัพย์รอการขายประเภทบ้านเดี่ยวในเขตพื้นที่ กรุงเทพฯ ของบริษัท บริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) Bam, อรจิรา ศรีสวัสดิ์ Jan 2022

รูปแบบการปรับปรุงทางกายภาพของสินทรัพย์รอการขายประเภทบ้านเดี่ยวในเขตพื้นที่ กรุงเทพฯ ของบริษัท บริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) Bam, อรจิรา ศรีสวัสดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากการเติบโตแบบก้าวกระโดดของปริมาณทรัพย์สินรอการขายซึ่งเป็นผลมาจากช่วงวิกฤตเศรษฐกิจใน พ.ศ. 2540 ทําให้เกิดการจัดตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์เพื่อเข้าบริหารหนี้เสียจากสถาบันการเงิน โดยภาพรวมทรัพย์สินรอการขายของไทย มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่พ.ศ. 2555 และหลังจากพ.ศ. 2559 เป็นการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องแบบชะลอตัวลง บทความนี้มีประเด็นคําถามในงานวิจัยคือ ปัจจัยทางกายภาพด้านใดที่มีความสําคัญและส่งผลต่อการจําหน่าย ทรัพย์สินรอการขายประเภทที่อยู่อาศัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการปรับปรุงทางกายภาพของสินทรัพย์ดังกล่าว พร้อมศึกษาแนวทางและนโยบายการจัดการทรัพย์สินรอการขายของบริษัท บริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จํากัด (มหาชน) หรือ บสก. ซึ่งการวิจัยครั้งนี้ได้มีการเก็บข้อมูลโดยการสืบค้นจากข้อมูลเอกสารแนวคิดทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับบ้าน มือสองประเภททรัพย์สินรอการขาย และศึกษาจากฐานข้อมูลอนุกรมเวลาเป็นข้อมูลการซื้อขายสินทรัพย์ของบสก.โดยตรง ซึ่ง ข้อมูลที่นํามาวิเคราะห์อยู่ในช่วง พ.ศ. 2541-2562 รวมระยะเวลา 21 ปี ต่อมาเป็นขั้นตอนการสํารวจทรัพย์สินรอการขายใน ปัจจุบัน เพื่อนําข้อมูลดังกล่าวไปสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญและผู้บริหาร ถึงแนวทางการบริหารจัดการสินทรัพย์ของเจ้าหน้าที่ แล้ว จึงวิเคราะห์ มุมมองสอดคล้อง เพื่อทราบถึงปัจจัยทางกายภาพด้านที่ส่งผลสําคัญต่อการจําหน่ายสินทรัพย์ดังกล่าวของบสก. จากการศึกษาพบว่าบริษัทฯมีสินทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัยทั้งหมด 9,136 รายการ มูลค่า 16,008 ล้านบาท การ กระจุกตัวจะอยู่ที่จังหวัดกรุงเทพฯมากที่สุดมี 3,592 รายการ มูลค่า 7,770 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 48 ของสินทรัพย์รวม และหากศึกษาการกระจุกตัวของจํานวนและราคาสินทรัพย์จะพบว่าบ้านเดี่ยวเป็นทรัพย์ที่มีเหลือขายมากที่สุดรวม 735 รายการ มูลค่ารวม 3,874 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 49 ต่อมาเมื่อจําแนกสินทรัพย์ตามหลักเกณฑ์ของบสก. จะพบว่าทรัพย์ ราคา 5-10 ล้านบาทจะเหลือขายมากที่สุดมี 221 รายการ คิดเป็นร้อยละ 30 ของสินทรัพย์ประเภทบ้านเดี่ยว ทั้งนี้จากการ วิเคราะห์ทําให้ทราบว่าระยะเวลาการถือครองบ้านของบสก.เฉลี่ยอยู่ที่ 3.2 ปี ส่วนระยะเวลาการถือครองบ้านหลังนํามา ปรับปรุงนั้นอยู่ที่ 2.1 ปี ลดลงจากค่าเฉลี่ยร้อยละ 34 โดยก่อนนํามาปรับปรุงทรัพย์ดังกล่าวจะเป็นทรัพย์ที่คงค้างอยู่เป็น เวลานานและยังไม่ได้รับการสนใจ แต่เมื่อนําทรัพย์มาพัฒนาก็สามารถจําหน่ายได้รวดเร็วขึ้น โดยบ้านที่จําหน่ายออกได้เร็วกว่า ค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือบ้านที่มุ่งเน้นการปรับปรงุ รูปลักษณค์ ือความสะอาดและทาสีภายนอกใหม่ ส่วนบ้านที่จําหน่ายออกได้ล่าชา้ กว่าค่าเฉลี่ยคือบ้านที่ปรับปรุงใหม่และทาสีใหม่ทั้งหลังมีสภาพพร้อมอยู่แต่ก็มีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้น ทําให้จําหน่ายยาก


กระบวนการตัดสินใจซื้อทาวน์โฮมระดับราคาปานกลาง ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 : กรณีศึกษา โครงการทาวน์โฮม ที่เปิดขายระหว่าง พ.ศ. 2563-2565 ในเขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร, อัจฉรารัช เอี่ยมสำอางค์ Jan 2022

กระบวนการตัดสินใจซื้อทาวน์โฮมระดับราคาปานกลาง ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 : กรณีศึกษา โครงการทาวน์โฮม ที่เปิดขายระหว่าง พ.ศ. 2563-2565 ในเขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร, อัจฉรารัช เอี่ยมสำอางค์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สถานการณ์โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อรูปแบบการใช้ชีวิตทำให้ต้องอาศัยอยู่ที่บ้านมากขึ้น จึงส่งผลให้ที่อยู่อาศัยมีความสำคัญมากขึ้นกว่าเดิม ในงานวิจัยฉบับนี้จึงมุ่งศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการตัดสินใจซื้อทาวน์โฮมระดับราคาปานกลาง เขตดอนเมือง ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ปี 2563-2565 มีการรวบรวมข้อมูลโดยการสำรวจและการสัมภาษณ์ผู้ซื้อ จำนวน 80 ตัวอย่าง ซึ่งเป็นโครงการทาวน์โฮมของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (บริษัทใน SET) 2 โครงการ และโครงการทาวน์โฮมของบริษัทที่จดทะเบียนนอกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (บริษัทนอก SET) 2 โครงการ รวมเป็น 4 โครงการ วิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบลักษณะผู้ซื้อรวมถึงกระบวนการตัดสินใจซื้อทาวน์โฮมในช่วงโควิด-19 ผลการศึกษาพบว่า 1) ผู้ซื้อทาวน์โฮมระดับราคาปานกลาง ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 เป็นกลุ่มอายุ 24-30 ปี คิดเป็นร้อยละ 57 ประกอบอาชีพค้าขาย/ขายของออนไลน์ คิดเป็นร้อยละ 28 มีรายได้เฉลี่ยครัวเรือนมากกว่า 100,000 ขึ้นไป/เดือน คิดเป็นร้อยละ 45 โดยผู้ซื้อส่วนใหญ่มีลักษณะที่อยู่อาศัยเดิมเป็นการเช่าคอนโดมิเนียมอยู่ คิดเป็นร้อยละ 28 2) กระบวนการตัดสินใจซื้อแบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน คือ (1) การตระหนักรู้ถึงปัญหา เกิดจากที่อยู่อาศัยเดิมเป็นการเช่ามีพื้นที่ใช้สอยไม่เพียงพอ จึงมีความต้องการพื้นที่ใช้สอยมากขึ้น และความเป็นเจ้าของบ้าน (home ownership) (2) การค้นหาข้อมูล ผ่านสื่อโฆษณาจากเฟสบุ๊ค รวมถึงการค้นหาข้อมูลต่อในเว็บไซต์โดยใช้คำค้นหาว่าโครงการบ้านในดอนเมือง (3) การประเมินทางเลือก หลังจากผู้ซื้อได้ข้อมูลจึงเดินทางไปเยี่ยมชม 2 โครงการ และมีความสนใจโครงการอยู่ 1 โครงการ โดยมีการพิจารณาปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ จึงทำให้ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ตัดสินใจซื้อบ้านเร็วขึ้น (4) การตัดสินใจซื้อ ใช้ระยะเวลาในการตัดสินใจซื้อทาวน์โฮม ในช่วงโควิด-19 อยู่ที่ 5-7 เดือน โดยครอบครัวและตนเองมีส่วนร่วมในการตัดสินใจครั้งนี้ (5) ความรู้สึกหลังการซื้อ มีความพึงพอใจกับพื้นที่ทำห้องอเนกประสงค์ และสวนสาธารณะเป็นอย่างมากที่ตอบสนองการใช้งานในช่วงสถานการณ์โควิด-19 เป็นอย่างดี 3) ผู้ซื้อทาวน์โฮมมีเหตุผลสำคัญในการตัดสินใจซื้อบ้านหลังนี้ คือ มีพื้นที่ทำห้องอเนกประสงค์ได้หลากหลาย อัตราดอกเบี้ยที่ถูกลงสะท้อนไปยังระยะเวลาในการผ่อนชำระที่ลดลง และโปรโมชั่น ส่วนลด ของแถมที่มีความคุ้มในการซื้อบ้านในครั้งนี้ 4) ปัจจัยสถานการณ์โควิด-19 กับการตัดสินใจซื้อทาวน์โฮม ได้แก่ ทำเลที่ตั้งใกล้แหล่งสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านผลิตภัณฑ์ …


พลวัตการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่นครปากเซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในช่วง ค.ศ. 2000-2020, แสงสุกสัน พันทุวง Jan 2022

พลวัตการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่นครปากเซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในช่วง ค.ศ. 2000-2020, แสงสุกสัน พันทุวง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา นครปากเซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจและสังคมอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินและสิ่งปกคลุมดินในเมือง รวมถึงการขยายตัวของเมืองอย่างไร้ทิศทาง ที่อาจสร้างปัญหาต่อคุณภาพชีวิตของประชากรและสิ่งแวดล้อมของเมืองในอนาคต งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพลวัตของการใช้ประโยชน์ที่ดินของเมืองในนครปากเซ และศึกษาปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการขยายตัวของเมืองในระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา โดยการวิเคราะห์ใช้ข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินจากภาพถ่ายดาวเทียมปี 2000, 2010 และ 2020 โดยใช้แบบจำลองมาร์คอฟ (Markov Model) ในซอฟต์แวร์ TerrSet 2020 ตรวจสอบรูปแบบการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินและสิ่งปกคลุมดินใน 3 ช่วงเวลา ได้แก่ ปี 2000-2010, 2010-2020 และ 2000-2020 นอกจากนั้นยังวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการขยายตัวของเมืองด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกเจ้าหน้าที่จากกรมโยธาธิการและการขนส่งระดับแขวง ระดับเมือง และ อาจารย์ที่สอนในมหาวิทยาลัยจำปาสัก ผลการวิจัยพบว่าพื้นที่ป่าไม้มีความน่าจะเปลี่ยนเป็นพื้นที่ประเภทเบ็ดเตล็ดมากที่สุด รองลงมาคือพื้นที่เกษตรกรรม ส่งผลให้พื้นที่ป่าไม้ และพื้นที่เกษตรกรรมมีพื้นที่ลดลงมากกว่าที่ดินประเภทอื่น โดยในช่วงปี 2000-2020 มีการสูญเสียพื้นที่ป่าไป 93.4 ตร.กม. (ร้อยละ 18.60) และพื้นที่เกษตรกรรมลดลง 1.49 ตร.กม. (ร้อยละ 0.26) ส่วนพื้นที่เบ็ดเตล็ดเพิ่มขึ้นอย่างมากโดยเพิ่มขึ้น 74.96 ตร.กม. (ร้อยละ 14.87) รองลงมาเป็นพื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้างมีพื้นที่เพิ่มขึ้น 18.04 ตร.กม. (ร้อยละ 3.61) สำหรับปัจจัยสำคัญที่ส่งผลทำให้นครปากเซขยายตัวไปทางทิศตะวันออกมากที่สุดมี 5 ปัจจัยสำคัญได้แก่ (1) ปัจจัยด้านความใกล้เขตการศึกษา (ใกล้เขตมหาวิทยาลัย) (2) ปัจจัยด้านความใกล้เส้นทางสายหลัก (3) ปัจจัยด้านภูมิประเทศที่ไม่เสี่ยงต่อภัยน้ำท่วมที่เกิดจากแม่น้ำโขง และแม่น้ำเชโดน (4) ปัจจัยด้านนโยบาย และแผนการพัฒนาเมืองที่ภาครัฐกำหนด และ (5) ปัจจัยด้านความใกล้เขตอุตสาหกรรม โดยผลการวิจัยจะสามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับนักวางแผนและนักพัฒนาเมือง รวมถึงหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาพื้นที่เมืองอย่างยั่งยืนทั้งทางด้านเศรษฐกิจ และสังคม


ผลกระทบจากปรากฏการณ์การลดลงของจำนวนประชากรต่อโครงสร้างพื้นฐานด้านการศึกษา กรณีศึกษาจังหวัดอุดรธานี, สิรวิชญ์ ปัทมะสุวรรณ์ Jan 2022

ผลกระทบจากปรากฏการณ์การลดลงของจำนวนประชากรต่อโครงสร้างพื้นฐานด้านการศึกษา กรณีศึกษาจังหวัดอุดรธานี, สิรวิชญ์ ปัทมะสุวรรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายการลดลงของประชากรที่ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างพื้นฐานทางการศึกษา กล่าวคือโรงเรียนของรัฐ ที่เป็นสาธารณูปการขั้นพื้นฐานที่มีความสำคัญ ซึ่งปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นผลกระทบในมิติหนึ่งจากการลดลง ของประชากรในพื้นที่ คล้ายกับภาพความเสื่อมถอยของโครงสร้างพื้นฐาน ตามบริบทของปรากฏการณ์ เมืองหดที่ถูกกล่าวถึงในระดับสากล โดยมีระเบียบวิธีวิจัย ได้แก่ การวิเคราะห์ข้อมูลสถิติที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้เกี่ยวข้องกับการบริหารการศึกษา ผลการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงจำนวนและสัดส่วน รวมถึงการกระจายตัวของประชากรแสดงให้เห็นว่า การลดลงของประชากรเกิดขึ้นในระดับโครงสร้าง ประชากรวัยเด็กเป็นกลุ่มที่มีการลดลงอย่างชัดเจนที่สุดทั้งในพื้นที่เมืองและชนบท สอดคล้องกับจำนวนนักเรียนที่ลดลงในโรงเรียนของรัฐที่ทำให้โรงเรียนส่วนใหญ่ในจังหวัดอุดรธานีมีขนาดที่เล็กลง ขณะที่อัตราการลดของประชากรวัยเด็กที่มีแนวโน้มสูงขึ้นในทุกช่วงปีทำให้ภาพปรากฏการณ์ของโรงเรียนถูกยุบชัดเจนมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงขนาดสะท้อนถึงสถานภาพโรงเรียนในแต่ละช่วงปี การถูกยุบ ลดขนาด ขยายขนาด เกิดขึ้นทั้งในพื้นที่เมืองและชนบทด้วยสัดส่วนที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่การวิเคราะห์สหสัมพันธ์เชิงพื้นที่แบบครอบคลุม ไม่พบรูปแบบของการพึ่งพาหรือสหสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนแต่ละแห่งในภาพรวมของจังหวัดอย่างชัดเจน เนื่องจากการลดลงของนักเรียนในโรงเรียนแต่ละแห่งอาจไม่ได้มีความสัมพันธ์กันด้วยปัจจัยเชิงภูมิศาสตร์เพียงปัจจัยเดียว นอกเหนือปัจจัยอัตราการเกิดต่ำที่ทำให้จำนวนนักเรียนในโรงเรียนลดลงในภาพรวมแล้ว การลดลงของจำนวนนักเรียนในโรงเรียนขนาดเล็กที่อยู่ในพื้นที่ชานเมืองและพื้นที่ชนบทเกิดจากการย้ายถิ่นเข้าสู่โรงเรียนที่มีขนาดใหญ่ซึ่งถูกมองว่ามีความพร้อมมากกว่าในพื้นที่เมือง ขณะที่โรงเรียนขนาดเล็กในพื้นที่ชนบทต้องดิ้นรนในการสร้างคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานที่ส่วนกลางได้กำหนดไว้ภายใต้ภาวะข้อจำกัดด้านงบประมาณและบุคลากรเพื่อไม่ให้ถูกยุบ ซึ่งเป็นความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นระหว่างโรงเรียนขนาดใหญ่ในพื้นที่เมืองและโรงเรียนขนาดเล็กในพื้นที่ชนบทห่างไกล งานวิจัยนี้จึงมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในประเด็นการจัดการให้บริการด้านการศึกษาอย่างทั่วถึงและมีส่วนร่วม และการส่งเสริมให้เกิดการกระจายอำนาจ โดยผลักดันให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามีบทบาทด้านการศึกษาเพื่อความคล่องตัวในการบริหารจัดการ และรับมือกับปัญหาที่มีความเฉพาะเจาะจงเชิงพื้นที่มากยิ่งขึ้น


Housing Choices Of Myanmar Migrants Working In The Central Business District Of Bangkok, Hsu Yee Win Jan 2022

Housing Choices Of Myanmar Migrants Working In The Central Business District Of Bangkok, Hsu Yee Win

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Urban migrant workers play a vital role in the economic growth of a country. As housing is a fundamental human need that greatly impacts individual and societal well-being, it is crucial to ensure the welfare of urban migrant workers. While several studies have explored the factors that influence urban migrants' housing choices, limited attention has been paid to the spatial distribution of housing and housing choices among urban migrant workers in Thailand. This study aims to fill this gap by examining the housing locations and determinants of housing choices among Myanmar migrants working in the Central Business District (CBD) of …


The Perspectives Of Stakeholders On Definition, Critical Criteria, And Supporting Measures For Affordable Housing In Bangkok, Panissara Kitisuthatham Jan 2022

The Perspectives Of Stakeholders On Definition, Critical Criteria, And Supporting Measures For Affordable Housing In Bangkok, Panissara Kitisuthatham

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research aims to explore stakeholder perspectives on developing affordable housing in Bangkok through in-depth interviews and questionnaires. The study investigates three areas: definitions, critical criteria, and supporting measures. The data will be collected from stakeholders representing three sectors: the public sector, the private sector, and academia and non-governmental organizations. This research has established a framework for developing in-depth interviews and questionnaire surveys as part of its study from case studies of affordable housing development in other countries. During the literature review of case studies from other countries, it was discovered that affordable housing targets not only low-income households but …


Public-Private Partnerships For Implementing Sponge City Development : A Case Study Of Xiamen City, China, Ting Su Jan 2022

Public-Private Partnerships For Implementing Sponge City Development : A Case Study Of Xiamen City, China, Ting Su

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

To mitigate the disasters caused by extreme weather induced by climate change in cities, the Chinese government has proposed the implementation of sponge cities in recent years. However, the construction of sponge cities is characterized by significant investments, long project cycles, and many risks. It is difficult to implement the project only by relying on government investment. Therefore, Public-private Partnership (PPP) model is gradually applied to sponge cities' implementation. As a model of urban infrastructure implementation, PPP can significantly reduce stakeholders' risks in some respects and accelerate infrastructure implementation in sponge cities. However, the PPP model has some disadvantages. Therefore, …


Assessing The Potential Of Developing An Ecosystem For Electric Scooters In Bangkok, Thailand, Rosyad Yan Wibowo Jan 2022

Assessing The Potential Of Developing An Ecosystem For Electric Scooters In Bangkok, Thailand, Rosyad Yan Wibowo

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The rising need for mobility induces challenges to providing a sustainable mode of transportation. The absence in providing door-to-door service by public transportation gives the opportunity for micromobility to take a position. With millions of people commuting every day, Thailand's capital city requires more choices in transportation. E-scooters can travel short distances in a vehicle and are not affected by traffic. However, under the current regulation, e-scooters are not recognized as a mode of transportation in Bangkok which question the existence of the ecosystem of e-scooters in the city. To address the problems, this research focuses on exploring the potential …


Process And Stakeholder Relations In The Development Of City Festival To Stimulate The Creative Economy : The Case Study Of Chiang Mai Blooms, Atikarn Arunchot Jan 2022

Process And Stakeholder Relations In The Development Of City Festival To Stimulate The Creative Economy : The Case Study Of Chiang Mai Blooms, Atikarn Arunchot

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Festivals relate to the creative economy in diverse ways, in which collaboration and relationships of stakeholders in the festival development process are significant factors that lead to positive impact of the festival. The aims of this paper are to examine the development process of the Chiang Mai Blooms as a city festival, the relationship of the stakeholders involved in the festival to promote the creative economy, and the factors promoting collaboration among festival stakeholders to drive the creative economy. The qualitative data was collected by conducting interviews and using questionnaires, and the secondary data was gathered from the related news …


Relationship Of The Relocation Decision And Job Location Of Klong Toei Community's Residents, Shu Hsuan Tang Jan 2022

Relationship Of The Relocation Decision And Job Location Of Klong Toei Community's Residents, Shu Hsuan Tang

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study investigates the relationship between job location and the willingness to relocate of informal settlement residents, using the Klong Toei community in Bangkok as a case study. Informal settlements have emerged due to urbanization and rapid economic growth, especially in developing countries. The Klong Toei community, which has evolved around the Port Authority of Thailand, has become the largest informal settlement in Bangkok. The port authority has tried to reclaim the land occupied by the community and provide relocation options to residents. However, the relocation process encounters challenges as many residents fear losing their livelihoods and express concerns about …


Equipamiento Para El Turismo Rural. Recuperar La Identidad Cultural Del Llanero, Jeimmy Alejandra Chamorro Niño Jan 2022

Equipamiento Para El Turismo Rural. Recuperar La Identidad Cultural Del Llanero, Jeimmy Alejandra Chamorro Niño

Arquitectura

Hoy en día los jóvenes campesinos están emigrando a los cascos urbanos para trabajar en otras actividades diferentes a la agricultura y la ganadería, debido a esto se está disminuyendo y envejeciendo la población y se están perdiendo las tradiciones campesinas llaneras.

El trabajo de investigación presente en este documento busca recuperar las costumbres, la cultura del campesino llanero y la pluriactividad en la zona rural por medio de la articulación de un equipamiento de apoyo al turismo rural en el municipio de Arauca. Este cuenta con diferentes actividades como talleres de artesanía, talleres de danzas, paseos a caballo, también …


Galería Casa Taller "Entretejiendo Infancias Fragmentadas": Caso Barrio Santa Fe (Bogotá, Colombia), Jair Alejandro Molina Arias, Jhon Michael García Garzón, José Miguel Muñoz Caro Jan 2022

Galería Casa Taller "Entretejiendo Infancias Fragmentadas": Caso Barrio Santa Fe (Bogotá, Colombia), Jair Alejandro Molina Arias, Jhon Michael García Garzón, José Miguel Muñoz Caro

Arquitectura

La galería casa taller es una solución arquitectónica a la problemática enfocada hacia la primera infancia de la zona de tolerancia del centro de Bogotá, ya que esta zona es el principal foco de vulnerabilidad de la ciudad. En donde se ven expuestos a todo tipo de violación de sus derechos y a un sano crecimiento. El estudio nos llevó a enfocarnos en tres (3) poblaciones, las cuales son las más afectadas por este tipo de problemática, estas son las madres trabajadoras sexuales, las familias venezolanas y comunidades indígenas, específicamente los Embera Katio. Estas comunidades tienen en común que se …


Tales Of Urban Livability- Vermont Avenue In Los Angeles As Told By Tree Canopy Cover, Hoi Cheng Wong Jan 2022

Tales Of Urban Livability- Vermont Avenue In Los Angeles As Told By Tree Canopy Cover, Hoi Cheng Wong

Pomona Senior Theses

As city-goers and residents of urban and suburban spaces, we are constantly on the move. It is no surprise that we often neglect the static trees and plants that seemingly blend into the background of our day-to-day rush to our next destination. Unfortunately, once we do have a chance to pause to take a look around us, or to pause long enough to feel the heat of the sun beaming down on our bare skin, we are decades too late in realizing the absence of trees at the location in which we are standing. This thesis contributes critical insight to …


Escuela Taller: Cultivos Del Pasado. Caso Sáchica (Boyacá - Colombia), María Camila Duque Guzmán Jan 2022

Escuela Taller: Cultivos Del Pasado. Caso Sáchica (Boyacá - Colombia), María Camila Duque Guzmán

Arquitectura

El presente archivo quiere dar a conocer el proceso experimentado a lo largo del presente semestre, iniciando con la selección del tema de trabajo, pasando por el desarrollo y actualización del protocolo, la formulación de los objetivos, hipótesis y conclusiones, la selección del marco teórico, la salida de campo el proceso de recoger información y las diversas actividades planteadas para esta salida, el proceso de análisis e identificación de las diversas determinantes del lugar, hasta la formulación de La escuela taller cultivos del pasado, un proyecto arquitectónico que busca estimular a las personas en un oficio como lo es la …


Centro De Producción E Investigación Agrícola (Cepia). Espacios Colectivos Desde La Memoria Productiva Y La Hibridación Cultural En Icononzo, Tolima, Andrés Felipe Roso Guio, Jorge Esteban Espitia Riaño, Daniel Steven Sánchez Suárez Jan 2022

Centro De Producción E Investigación Agrícola (Cepia). Espacios Colectivos Desde La Memoria Productiva Y La Hibridación Cultural En Icononzo, Tolima, Andrés Felipe Roso Guio, Jorge Esteban Espitia Riaño, Daniel Steven Sánchez Suárez

Arquitectura

Esta investigación científica nace desde la premisa de reconocer cómo las dinámicas de migración territorial consecuencia de los conflictos en Colombia, tienen un impacto sobre las distintas raíces culturales a través de la hibridación cultural, del mismo modo su instrumentalización arquitectónica como parte de un proceso de paz que reúne diferentes actores entre reincorporados de las FARC y víctimas del conflicto, en cuyo caso, el uso de saberes colectivos centrados en la subsistencia y proyecto de vida desde una visión agrícola, funcionan como eje de cooperación y colectividad.


Vivienda Rural Que Contribuye A La Prevalencia De La Identidad Cultural Del Llanero, Aprovechando Un Subproducto Agroindustrial, Camilo Andres Macualo Pérez Jan 2022

Vivienda Rural Que Contribuye A La Prevalencia De La Identidad Cultural Del Llanero, Aprovechando Un Subproducto Agroindustrial, Camilo Andres Macualo Pérez

Arquitectura

El proyecto busca resolver varias problemáticas que afectan la zona rural del municipio de Arauca, incluyendo la falta de infraestructura, equipamientos y vivienda rural adecuada, así como el déficit habitacional, la falta de seguridad y el deficiente manejo de los subproductos agroindustriales. Se diseñan viviendas rurales que contribuyen preservando las costumbres e identidad del llanero, utilizando un sistema constructivo que aprovecha la cascarilla de arroz. También se busca generar una economía estable para los habitantes de la zona rural a través de unidades productivas agrícolas y estrategias de trabajo cooperativo.


Sustainable Energy Imaginaries: Utilizing Mie Optics To Reengineer Photobioreactors And Reimagine The Socio-Spatial Conditions Of Autonomous Energy Production, Spencer Morgan Checkoway Jan 2022

Sustainable Energy Imaginaries: Utilizing Mie Optics To Reengineer Photobioreactors And Reimagine The Socio-Spatial Conditions Of Autonomous Energy Production, Spencer Morgan Checkoway

Senior Projects Spring 2022

In order to build a more sustainable future, society must transition toward carbon negative energy production and infrastructure. Algae photobioreactors have proven to be an efficient producer of lipid rich oil which can be synthesized into carbon neutral biodiesel. However, the neutrality of such a technology rests in its ability to yield adequate algal biomass through photosynthesis. In order to reach maximum quantum efficiency of algal cells, solar flux must be transformed so that photon absorption can occur without oversaturating the constituent matter. This project looks at the scattering effects of iridocyte-like structures and their potential to create cost effective …


Towards A Revised Approach To Designing From The Outside In: Contextualizing The Preliminary Proposal For The Fourth Addition To Bard College Library, Aidan Galloway Jan 2022

Towards A Revised Approach To Designing From The Outside In: Contextualizing The Preliminary Proposal For The Fourth Addition To Bard College Library, Aidan Galloway

Senior Projects Fall 2022

Before creating the new, architects are faced with the existing. An enormous oak tree might be within the bounds of the site you’ve been hired to build a house on. Do you cut it down, or leave it? A tall brick building might be next door. Do you imitate its scale, its materiality, its style, or do you create something that looks entirely different?

These kinds of questions, while perhaps always fundamental to architecture, were especially pertinent in mid-to-late-twentieth century debates surrounding “context” as architects like Robert Venturi and Denise Scott Brown challenged the conventions of “orthodox” Modern architecture. “Frank …


Pabellón Urbano-Arquitectónico Ecosostenible Y Efímero, Teusaquillo - Bogotá, Sneider Alejandro Bernal Quintero Jan 2022

Pabellón Urbano-Arquitectónico Ecosostenible Y Efímero, Teusaquillo - Bogotá, Sneider Alejandro Bernal Quintero

Arquitectura

Generar un circuito de recorridos histórico- culturales en un espacio determinado (culatas urbanas calle 26) de 5608 M2 cuya finalidad y búsqueda es el de incentivar la ocupación, la integración y el uso, responsable del espacio urbano de la ciudad, por diferentes integrantes del contexto urbano, tales como los habitantes del sector (vecinos) habitantes itinerantes (personas que pasan por el lugar) y habitantes específicos (personas que practican skate) los cuales comparten un mismo sentido de la memoria cultural e histórica de la ciudad y tomando como referente la configuración simbólica del cementerio central desde su configuración original hasta su estado …


Food Systems Financing Action Plan, Noah Holmes Foster Jan 2022

Food Systems Financing Action Plan, Noah Holmes Foster

Master of Urban and Regional Planning Capstone Projects

Food insecurity is a well-documented issue in Virginia and throughout the United States. Food enterprises, especially those in under-resourced communities, often lack access to the credit needed to start or expand their operations due to the narrow profit margins of food enterprises. Community development financial institutions (CDFIs), such as Virginia Community Capital (VCC) address this issue by providing low-interest financing to food businesses that can increase food security and strengthen local economies. Food systems financing is a developing field for VCC and other CDFIs, and changes to standard practices are required to ensure that lending is as accessible as possible …


Challenges Of Ngos In Facilitating Access To Health Care Services For The Urban Poor In Slums During The Covid-19 Pandemic: A Case Study Of Kampala, Uganda||ความท้าทายขององค์กรนอกภาครัฐในการช่วยเหลือการเข้าถึงบริการการดูแลสุขภาพสำหรับคนจนเมืองในชุมชนแออัดในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กรณีศึกษา กรุงกัมปาลา ประเทศยูกันดา, Brendah Kyaterekera Jan 2022

Challenges Of Ngos In Facilitating Access To Health Care Services For The Urban Poor In Slums During The Covid-19 Pandemic: A Case Study Of Kampala, Uganda||ความท้าทายขององค์กรนอกภาครัฐในการช่วยเหลือการเข้าถึงบริการการดูแลสุขภาพสำหรับคนจนเมืองในชุมชนแออัดในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กรณีศึกษา กรุงกัมปาลา ประเทศยูกันดา, Brendah Kyaterekera

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study investigates the challenges NGOs face in providing healthcare access to the urban poor during the COVID-19 pandemic, using cases of slum communities in Kampala, the capital city of Uganda. The COVID-19 pandemic has disproportionately affected vulnerable populations, including those living in slums characterized by overcrowding, inadequate infrastructure, and limited access to basic services, especially access to healthcare, a fundamental right of people. During the past years, the pandemic has further restricted the already limited accessibility to healthcare services for the urban poor. The primary research methodology employed in this study is case study research, using in-depth interviews, observations, …


Assessing The Physical Conditions Of Motorcycle Taxi Stands And Comfort Conditions Of The Drivers In The Central Business District Of Bangkok, Nissa Phloimontri Jan 2022

Assessing The Physical Conditions Of Motorcycle Taxi Stands And Comfort Conditions Of The Drivers In The Central Business District Of Bangkok, Nissa Phloimontri

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research explores the current physical conditions of motorcycle taxi stands located near the BTS stations in the central business district (CBD) and the comfort conditions experienced by motorcycle taxi drivers at those stands. Stand conditions were assessed using design and location standards for transit stops. A total of 25 stands were surveyed and compared with design standards, considering factors such as location, physical form, and features. Stands that share similar characteristics were classified into stand typologies. Based on the environmental comfort model, questionnaires and in-depth interviews were conducted to evaluate the comfort levels of drivers, encompassing physical, functional, and …