Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences

PDF

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Articles 31 - 60 of 564

Full-Text Articles in Entire DC Network

ผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองที่เน้นการออกกำลังกายแบบมัลติฟิดัสต่ออาการปวดของผู้ที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรัง, สิริรัตน์ สิริสุรชัชวาล Jan 2022

ผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองที่เน้นการออกกำลังกายแบบมัลติฟิดัสต่ออาการปวดของผู้ที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรัง, สิริรัตน์ สิริสุรชัชวาล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยกึ่งทดลองนี้ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองที่เน้นการออกกำลังกายแบบมัลติฟิดัสต่ออาการปวดของผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างมากกว่า 3 เดือนขึ้นไป อายุ 20-59 ปี เข้ารับบริการแผนกผู้ป่วยนอกศัลยกรรมกระดูก โรงพยาบาลชลบุรี คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์ที่กำหนดแบบเจาะจงเข้ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ 22 คน และกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองที่เน้นการออกกำลังกายแบบมัลติฟิดัส 22 คน ระยะเวลา 6 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมิน Short Form McGill Pain Questionnaire (SFMPQ) และแบบประเมินการจัดการตนเอง (SM) ตรวจสอบความเชื่อมั่นของแบบประเมินโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาชเท่ากับ 0.70 และ 0.81 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา, Dependent Sample t-test และ Independent Sample t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรัง ภายหลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองที่เน้นการออกกำลังกายแบบมัลติฟิดัส มีอาการปวดต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองที่เน้นการออกกำลังกายแบบมัลติฟิดัสอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรัง กลุ่มหลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองที่เน้นการออกกำลังกายแบบมัลติฟิดัส มีอาการปวดต่ำกว่ากลุ่มหลังได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อความร่วมมือในการออกกำลังกายของผู้ป่วยภายหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ, สุดารัตน์ ทิพย์พินิจ Jan 2022

ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อความร่วมมือในการออกกำลังกายของผู้ป่วยภายหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ, สุดารัตน์ ทิพย์พินิจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาในครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อความร่วมมือในการออกกำลังกายของผู้ป่วยภายหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยภายหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ จำนวน 40 คน ที่มารับบริการเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี จับคู่ให้มีความใกล้เคียงกันในเรื่อง เพศและอายุ และคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มอย่างง่ายเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการการจัดการตนเองเป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ เครื่องมือที่เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและแบบประเมินความร่วมมือในการออกกำลังกาย เครื่องมือกำกับการทดลอง คือ แบบประเมินการจัดการตนเอง ทดสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน มีค่าความตรงเท่ากับ 1.00 และ .94 และมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .73 และ .79 และทดสอบความเที่ยงของโปรแกรมมีความสอดคล้องสูง (100 %) เมื่อนำไปทดลองใช้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมมีความเที่ยง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายและการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยสรุปดังนี้ ค่าเฉลี่ยคะแนนความร่วมมือในการออกกำลังกายของผู้ป่วยหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจในกลุ่มควบคุม เท่ากับ 9.30 (SD = 4.91) และกลุ่มทดลอง เท่ากับ 21.30 (SD = 3.20) ค่าเฉลี่ยความร่วมมือในการออกกำลังกายของผู้ป่วยหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจในกลุ่มทดลอง ภายหลังได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t= 9.16, df=32.65, p<0.000)


ความคาดหวังและความพึงพอใจของผู้ใช้สนามบาสเกตบอลที่มีต่อสิ่งอำนวยความสะดวกด้านกีฬาบาสเกตบอลในกรุงเทพมหานคร, สิทธินนท์ สงวนทรัพย์ Jan 2022

ความคาดหวังและความพึงพอใจของผู้ใช้สนามบาสเกตบอลที่มีต่อสิ่งอำนวยความสะดวกด้านกีฬาบาสเกตบอลในกรุงเทพมหานคร, สิทธินนท์ สงวนทรัพย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และเปรียบเทียบความคาดหวังและความพึงพอใจของผู้ใช้สนามบาสเกตบอลที่มีต่อสิ่งอำนวยความสะดวกด้านกีฬาบาสเกตบอลในกรุงเทพมหานคร วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง คือ คนที่มาใช้สนามบาสเกตบอลในการดูแลของสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว-กรุงเทพมหานคร อย่างน้อย 5 ครั้ง/เดือน ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 385 คน โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ ผ่านระบบ Google Form เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยส่งลิงค์ทางเพจเฟสบุ๊คศูนย์กีฬาและศูนย์เยาวชน 8 เพจ มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ พบว่าค่าที่ได้คือ 0.92 และค่าความเที่ยงของแบบสอบถามที่ได้คือ 0.93 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนสถิติในการทดสอบสมมติฐาน ความคาดหวังและความพึงพอใจโดยใช้วิธีหาค่าเฉลี่ยด้วยการสถิติการทดสอบค่า t โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.5 เพื่อเปรียบเทียบและใช้วิธีการวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันเพื่อหาค่า r และหาระดับความสัมพันธ์ของความคาดหวังและความพึงพอใจ ผลการวิจัย พบว่า ความคาดหวังด้านผลิตภัณฑ์หลัก ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ ด้านการบริการของเจ้าหน้าที่ มีความแตกต่างจากความพึงพอใจต่อสิ่งอำนวยความสะดวกด้านกีฬาบาสเกตบอลในกรุงเทพมหานครในทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ส่วนความคาดหวังมีความสัมพันธ์กันในทางบวกกับความพึงพอใจต่อสิ่งอำนวยความสะดวกด้านกีฬาบาสเกตบอลในกรุงเทพมหานครโดยมีระดับความสัมพันธ์โดยรวมทั้ง 3 ด้านที่ค่อนข้างต่ำ โดยมีระดับความสัมพันธ์ปานกลาง 1 ด้าน คือ การบริการของเจ้าหน้าที่ และมีระดับความสัมพันธ์ค่อนข้างต่ำ 2 ด้าน คือ ด้านผลิตภัณฑ์หลัก และ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ ตามลำดับ สรุปผลการวิจัย ความคาดหวังและความพึงพอใจของผู้ใช้สนามบาสเกตบอลที่มีต่อสิ่งอำนวยความสะดวกด้านกีฬาบาสเกตบอลในกรุงเทพมหานคร มีความสัมพันธ์กันในทางบวกและมีระดับความสัมพันธ์โดยรวมที่ค่อนข้างต่ำและเปรียบเทียบโดยรวมและเปรียบเทียบรายด้านมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทุกด้าน


Senescent White Blood Cells In Colorectal Carcinoma Patients, Khin Aye Thin Jan 2022

Senescent White Blood Cells In Colorectal Carcinoma Patients, Khin Aye Thin

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Colorectal cancer (CRC) and ageing can contribute to changes in immune cells including immuno-senescence. The objectives of the study were to determine if the senescence marker (p16INK4A) was expressed more at higher levels in peripheral white blood cells in CRC compared to age-matched healthy controls. Another aim was to determine the phenotypic changes of T cells, NK cells and monocytes during ageing and CRC in case-control studies. Cases were patients with CRC and controls were matched with cases based on age. Peripheral immune cells were analysed for p16INK4A using immunofluorescence and immunophenotypes were determined with flow cytometry. Correlation studies with …


Analysis Of Vocs From Exhaled Breath For The Diagnosis Of Hepatocellular Carcinoma, Thanikarn Suk-Aram Jan 2022

Analysis Of Vocs From Exhaled Breath For The Diagnosis Of Hepatocellular Carcinoma, Thanikarn Suk-Aram

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Background: Volatile organic compounds (VOCs) were shown as promising biomarkers for hepatocellular carcinoma (HCC) diagnosis. We aimed to investigate the performance of VOCs for diagnosing early-stage HCC in patients at-risk for HCC. Methods: VOCs were identified in exhaled breath samples collected from 90 early-stage HCC patients, 90 cirrhotic patients, 91 HBV-infected patients, and 95 healthy volunteers using thermal desorption-gas chromatography/field-asymmetric ion mobility spectrometry. The VOC levels were compared between the four groups. An association between VOCs and HCC was determined using logistic regression analysis. Diagnostic performance of VOCs was estimated using the AUROC and compared to serum alpha-fetoprotein (AFP). Results: …


ภาวะซึมเศร้า รูปแบบการป้องกันทางจิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของผู้สูงอายุ ในชมรมผู้สูงอายุ ศูนย์บริการสาธารณสุข 7, ชนนี ปีตะนีละผลิน Jan 2022

ภาวะซึมเศร้า รูปแบบการป้องกันทางจิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของผู้สูงอายุ ในชมรมผู้สูงอายุ ศูนย์บริการสาธารณสุข 7, ชนนี ปีตะนีละผลิน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ภาวะซึมเศร้าถือเป็นปัญหาทางสุขภาพจิตที่พบได้ในผู้สูงอายุ ผู้ที่อยู่ในวัยนี้ต้องเผชิญกับความเสื่อมจากกระบวนการของความชราภาพและวิกฤตต่าง ๆ ในชีวิต หากสามารถปรับตัวได้เพียงจำกัดหรือเลือกใช้รูปแบบการป้องกันทางจิตที่ไม่เหมาะสม นั่นอาจนำไปสู่การเกิดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุได้ โดยการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความชุกของภาวะซึมเศร้า รูปแบบการป้องกันทางจิต และปัจจัยที่เกี่ยวข้องของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ ศูนย์บริการสาธารณสุข 7 กรุงเทพมหานคร เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้สูงอายุ 129 คน ในศูนย์บริการสาธารณสุข 7 กรุงเทพมหานคร โดยขอให้อาสาสมัครตอบชุดแบบสอบถามที่ประกอบด้วย แบบประเมินรูปแบบการป้องกันทางจิต (DSQ–60) แบบวัดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุไทย (TGDS–30) แบบสอบถามการมีส่วนร่วมในสังคมของผู้สูงอายุ แบบสอบถามเหตุการณ์ความเครียดในชีวิตในช่วง 1 ปี และแบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน (Chula ADL Index) โดยผลการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างพบผู้สูงอายุมีภาวะซึมเศร้าร้อยละ 9.3 สำหรับรูปแบบการป้องกันทางจิตที่ถูกใช้บ่อยที่สุด คือ adaptive defense mechanisms โดยเฉพาะอย่างยิ่งรูปแบบ altruism และ sublimation กลไกการป้องกันทางจิตแบบปรับตัวได้นี้มีความสัมพันธ์เชิงลบกับภาวะซึมเศร้า อีกทั้งการเป็นเพศชาย มีโรคทางจิตเวช มีการพึ่งพิงในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ระดับปานกลาง มีความเครียดในชีวิตด้านเศรษฐกิจในระดับปานกลางถึงสูงและด้านสังคมในระดับสูง มักเลือกใช้การป้องกันทางจิตรูปแบบ passive–aggression หรือ reaction formation และการไม่ค่อยได้ใช้การป้องกันทางจิตรูปแบบ sublimation สามารถทำนายภาวะซึมเศร้าในกลุ่มตัวอย่างนี้ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยสรุปหนึ่งในสิบของผู้สูงอายุในการศึกษานี้มีภาวะซึมเศร้าเมื่อเทียบกับผลการวิจัยก่อนหน้านี้ เกือบทั้งหมดของกลุ่มตัวอย่างเลือกใช้การป้องกันทางจิตแบบ adaptive defense styles ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้า ดังนั้นควรมีการนำปัจจัยตัวความเครียดทางจิตใจสังคมในช่วงที่ผ่านมาและประวัติการเจ็บป่วยทางจิตเวชมาใช้คัดกรอง อีกทั้งส่งเสริมการใช้การป้องกันทางจิตแบบปรับตัวได้จะเป็นประโยชน์ต่อการป้องกันภาวะซึมเศร้าเพื่อใช้ดูแลผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ


สุขภาพจิตและความหลากหลายทางเพศของนิสิตปริญญาตรีชั้นปีที่ 1, ธนาวุฒิ สิงห์สถิตย์ Jan 2022

สุขภาพจิตและความหลากหลายทางเพศของนิสิตปริญญาตรีชั้นปีที่ 1, ธนาวุฒิ สิงห์สถิตย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล เพศสภาพ และสุขภาพจิตของนิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้วิจัยส่งแบบสอบถามออนไลน์และแบบกระดาษไปยังนิสิตกลุ่มดังกล่าวทั้งสิ้น 5,700 คน และได้รับชุดข้อมูลตอบกลับมาจำนวน 1,472 คน คิดเป็นร้อยละ 25.8 ของนิสิตชั้นปีที่ 1 ทั้งหมด ผู้วิจัยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2563 ถึงมกราคม 2564 ด้วยแบบสอบถามทั้งหมด 4 ส่วน ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามเพศสภาพ (SOGI) แบบสอบถามสุขภาวะทางจิตสังคม (Psychosocial wellbeing) และแบบสอบถามสุขภาพจิตคนไทย (TMHQ) ทำให้ชุดข้อมูลที่สมบูรณ์ตามเกณฑ์คัดเข้ามีจำนวน 1,431 คน ถูกนำมาวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา เพื่อแสดงข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง รวมถึงการวิเคราะห์ตัวแปรที่สัมพันธ์กับสุขภาพจิตด้วยสถิติ Chi-square test, Fisher’s exact test, Pearson’s correlation และ Logistic regression โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากกลุ่มตัวอย่างพบว่า ร้อยละ 40.8 มีอาการทางสุขภาพจิต มีอาการซึมเศร้า (34.2%) อาการวิตกกังวล (16.3%) อาการทางกาย (15.8%) และอาการโรคจิต (15.1%) ตามลำดับ ซึ่งร้อยละ 89.5 ของกลุ่มตัวอย่างสามารถปรับตัวทางสังคมได้ระดับสูง สำหรับตัวแปรที่สามารถทำนายโอกาสเกิดอาการทางสุขภาพจิตทั้ง 4 อาการ คือการมีสุขภาวะทางจิตสังคมในระดับกลางถึงต่ำ ด้านเพศสภาพ พบว่าเพศกำเนิดหญิงทำนายเกือบทุกอาการทางสุขภาพจิต ยกเว้นอาการวิตกกังวล และกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBT) ทำนายอาการวิตกกังวล ด้านการศึกษา พบว่ากลุ่มคณะที่เรียนและความชอบในสาขาวิชาที่เรียนน้อยถึงน้อยมาก ทำนายโอกาสอาการทางสุขภาพจิตเกือบทุกด้าน อีกทั้งการมีค่าใช้จ่ายไม่เพียงพอยังทำนายอาการทางกาย อาการซึมเศร้า และอาการโรคจิต โดย 1 ใน 3 ของกลุ่มตัวอย่างมีอาการซึมเศร้า ซึ่งกลุ่มที่มีความหลายหลายทางเพศแบบไบเซ็กชวลเป็นกลุ่มที่มีอัตราของอาการซึมเศร้ามากที่สุด ดังนั้น ปัจจัยที่สัมพันธ์กับอาการทางสุขภาพจิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ความเพียงพอของรายได้ กลุ่มคณะ ความชอบในสาขาที่เรียน และสุขภาวะทางจิตสังคม ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ควรได้รับการพิจารณาหากทำการศึกษาเกี่ยวกับสุขภาพจิตของนักศึกษาชั้นปีที่ 1


ความเครียดของนักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3 ที่เรียนกวดวิชาเพื่อสอบเข้ามัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาและโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์, วิจิตราภรณ์ สมชัย Jan 2022

ความเครียดของนักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3 ที่เรียนกวดวิชาเพื่อสอบเข้ามัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาและโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์, วิจิตราภรณ์ สมชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความเครียดมาจากหลายสาเหตุระหว่างที่เรียน ซึ่งหนึ่งในความเครียดหลักคือการสอบเข้าโรงเรียนมัธยมปลาย โดยนักเรียนจะเตรียมตัวและพยายามอย่างมากเพื่อเข้าศึกษาในโรงเรียนมัธยมปลายที่มีศักยภาพสูง เนื่องจากโรงเรียนดังกล่าวอาจช่วยให้พวกเขาได้เข้าสู่มหาวิทยาลัย คณะ และอาชีพในฝันดังที่ตั้งใจไว้ ทำให้ผู้วิจัยสนใจศึกษาระดับความเครียดและความสัมพันธ์ของปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนกวดวิชาเพื่อสอบเข้าชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาและโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ โดยทำการวิจัยเชิงพรรณนา ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งเพื่อเก็บข้อมูลจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 312 คน ซึ่งเรียนกวดวิชาภายในตึกมาบุญครองและตึกสยามสเคปเพื่อสอบเข้าสอบโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาและโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ โดยให้ข้อมูลเกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัว ครอบครัว การเรียน การสอบแข่งขัน เพื่อนและสิ่งแวดล้อม และแบบวัดความเครียดสวนปรุงซึ่งเป็นแบบวัดที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในการวัดความเครียดของคนไทย ซึ่งในการศึกษานี้ผู้วิจัยเลือกใช้ฉบับปรับปรุงโดยชัยชนะ นิ่มนวล และภควัฒน์ วงษ์ไทย จำนวน 22 ข้อ ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างถูกวิเคราะห์ด้วยสถิติ Chi-square test, Logistic regression, และ Independent t-test ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความเครียดในระดับรุนแรงร้อยละ 62.82 รองลงมาคือระดับความเครียดสูง ระดับเล็กน้อยและระดับปานกลางเท่ากับร้อยละ 14.74, 12.50, และ 9.94 ตามลำดับ โดยปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียดของนักเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ เพศ อายุ หนี้สินในครอบครัว ความสัมพันธ์กับครอบครัว การเรียนที่ส่งผลต่อความเครียด เหตุผลที่เลือกโรงเรียนเนื่องมาจากครอบครัวแนะนำให้สอบเข้า รวมถึงมาลองข้อสอบหรือมาสอบตามเพื่อน และระดับความพึงพอใจในการเตรียมตัวของตนเอง สำหรับปัจจัยที่สามารถทำนายความเครียดสูงของนักเรียน ได้แก่ นักเรียนเพศหญิง ครอบครัวมีหนี้สิน การเรียนส่งผลต่อความเครียด ความพึงพอใจในการเตรียมตัวระดับปานกลาง และเหตุผลในการเลือกโรงเรียนคือการมาลองสอบหรือการมาสอบตามเพื่อน โดยสรุปแล้วนักเรียนกลุ่มนี้มีความเครียดระดับสูงถึงรุนแรงเนื่องจากการสอบแข่งขันเพื่อเข้าสู่โรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีศักยภาพสูงมีความหมายต่ออนาคตของพวกเขา ดังนั้น ผู้เรียนเอง ครอบครัว เพื่อน ครู และภาคส่วนที่เกี่ยวข้องควรให้การส่งเสริมดูสุขภาพจิตและคอยดูแลตรวจสอบเกี่ยวกับความเครียดของนักเรียนด้วย


การติดตามการทำงานของต่อมใต้สมองในผู้ป่วยที่หายจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, กฤติน อู่สิริมณีชัย Jan 2022

การติดตามการทำงานของต่อมใต้สมองในผู้ป่วยที่หายจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, กฤติน อู่สิริมณีชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความเป็นมา: ไวรัส SARS-CoV-2 อาจส่งผลกระทบต่อต่อมใต้สมองและเป็นสาเหตุส่วนหนึ่งทำให้เกิดกลุ่มอาการหรือความผิดปกติที่ยังคงพบต่อเนื่องหลังจากติดเชื้อโควิด-19 ในผู้ป่วยบางรายหรือที่เรียกว่า "Long COVID-19 syndrome" อย่างไรก็ตามข้อมูลผลกระทบของไวรัสต่อต่อมใต้สมองยังมีอยู่อย่างจำกัด วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินความอัตราการเกิดความผิดปกติของต่อมใต้สมองในผู้ป่วยที่หายจากการติดเชื้อโควิด-19 วิธีการวิจัย: ศึกษาความผิดปกติของการผลิตฮอร์โมนของต่อมใต้สมองในผู้ป่วยในช่วง 1เดือนหลังจากการหายจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในอาสามัครอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โดยอาศัยการตรวจระดับฮอร์โมนต่อมใต้สมองส่วนหน้าและ Fixed-dose glucagon stimulation test (FD-GST) เพื่อบ่งบอกภาวะพร่องฮอร์โมนต่อมใต้สมอง และประเมินความสัมพันธ์ระหว่างภาวะพร่องฮอร์โมนต่อมใต้สมอง กับความรุนแรงของโรคโควิด-19 และภาวะ Long COVID-19 syndrome ผลการศึกษา: จากผู้เข้าร่วมวิจัย 25 คน 18 คน (72%) มีความรุนแรงปานกลางระหว่างการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 และ 7 คน (28%) เป็นกลุ่มผู้ป่วยรุนแรงน้อย พบความชุกของภาวะ Long COVID-19 ใน 80% ของผู้เข้าร่วมวิจัย ภาวะพร่องฮอร์โมนต่อมใต้สมองพบใน 12% ของผู้เข้าร่วมวิจัย จากการที่มีระดับของ GH ผิดปกติหลังทำ FD-GST และ 8% แสดงความผิดปกติของระดับ cortisol จาก FD-GST อย่างไรก็ตามไม่พบความผิดปกติของฮอร์โมนต่อมใต้สมองส่วนหน้าอื่นๆ นอกจากนี้พบว่ากลุ่มที่มีความผิดปกติของฮอร์โมนต่อมใต้สมองพบว่ามีความสัมพันธ์กับความรุนแรงของอาการเหนื่อยล้าซึ่งเป็นอาการที่พบบ่อยของ Long COVID-19 syndrome โดยอาศัย Piper Fatigue Scale (p=0.003) สรุป: หนึ่งเดือนหลังจากการวินิจฉัยโรคโควิด-19 พบหลักฐานของความผิดปกติของต่อมใต้สมองร้อยละ 12 ซึ่งสัมพันธ์กับระดับอาการเหนื่อยล้า การศึกษาแสดงหลักฐานของผลกระทบของไวรัสที่มีต่อต่อมใต้สมองและแสดงถึงความจำเป็นในการติดตามอาการและระดับฮอร์โมนในผู้ป่วยหลังติดเชื้อไวรัสโควิด-19


การศึกษาระดับภูมิคุ้มกันหลังจากติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในผู้ใหญ่ที่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน, วราลี เติบศิริ Jan 2022

การศึกษาระดับภูมิคุ้มกันหลังจากติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในผู้ใหญ่ที่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน, วราลี เติบศิริ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้ทำขึ้นเพื่อประเมินระดับภูมิคุ้มกันในผู้ใหญ่หลังจากที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในผู้ที่เคยได้รับวัคซีนมาก่อนเทียบกับผู้ที่รับวัคซีนเข็มกระตุ้นด้วย AZD1222 ภายหลังจากที่ได้รับวัคซีนครบ โดยใช้อาสาสมัครเป็นบุคลากรทางการแพทย์ ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย แบ่งเป็นกลุ่มติดเชื้อคือเป็นผู้ที่ติดเชื้อไวรัสหลังจากได้รับวัคซีน CoronaVac ครบ และกลุ่มเข็มกระตุ้นคือเป็นผู้ที่ได้รับวัคซีน AZD1222 หลังจากได้รับวัคซีน CoronaVac ครบ และวัดระดับภูมิคุ้มกันเป็น surrogate virus neutralization test (sVNT) ต่อ wild-type และ Omicron variant (BA.1) ที่ 3 และ 6 เดือนหลังจากติดเชื้อหรือหลังได้วัคซีนเข็มกระตุ้น อาสาสมัครบุคลากรทางการแพทย์ทั้งหมด 50 ราย แบ่งเป็นกลุ่มติดเชื้อ 25 ราย และกลุ่มเข็มกระตุ้น 25 ราย มีค่ามัธยฐานของระดับ sVNT ต่อ wild-type ที่ 3 เดือน คือ 97.87% (IQR 97.78%-97.94%) ในกลุ่มติดเชื้อและ 97.60% (IQR 94.6%-98%) ในกลุ่มเข็มกระตุ้น (p=0.21) ในขณะที่ค่ามัธยฐานของระดับ sVNT ที่ 6 เดือน คือ 97.68% (IQR 95.86%-97.92%) ในกลุ่มติดเชื้อสูงกว่า 92.6% (IQR 79.8%-97.9%) ในกลุ่มเข็มกระตุ้น (p=0.04) โดยสรุป ภูมิคุ้มกันต่อไวรัสโคโรนา 2019 ต่อ wild-type ที่ 3 เดือน ในผู้ที่ได้รับวัคซีน CoronaVac สองครั้งและมีประวัติการติดเชื้อมีระดับใกล้เคียงและไม่ด้อยกว่ากับกลุ่มที่ได้รับ AZD1222 เข็มกระตุ้น อย่างไรก็ตาม กลุ่มที่ติดเชื้อจะมีภูมิคุ้มกันที่ 6 เดือน ดีกว่ากลุ่มที่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น


การศึกษาความชุกของภาวะหินปูนเกาะที่ขอบลิ้นหัวใจไมตรัลในผู้ป่วยลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบระดับรุนแรงที่เข้ารับการรักษาเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกเทียมผ่านสายสวนโดยไม่ต้องผ่าตัดโดยใช้การตรวจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจภาพสองมิติและเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์, อลาณณา วิเชียรธวัชชัย Jan 2022

การศึกษาความชุกของภาวะหินปูนเกาะที่ขอบลิ้นหัวใจไมตรัลในผู้ป่วยลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบระดับรุนแรงที่เข้ารับการรักษาเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกเทียมผ่านสายสวนโดยไม่ต้องผ่าตัดโดยใช้การตรวจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจภาพสองมิติและเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์, อลาณณา วิเชียรธวัชชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความสำคัญและวัตถุประสงค์ของการวิจัย: ภาวะหินปูนเกาะที่ขอบลิ้นหัวใจไมตรัลเป็นภาวะที่เกิดตามกระบวนการเสื่อมตามวัย ซึ่งเกิดจากการที่มีแคลเซียมและไขมันมาสะสมที่บริเวณดังกล่าวจนกลายเป็นหินปูน การมีหินปูนเกาะที่ขอบลิ้นหัวใจไมตรัลมีความสัมพันธ์ในการเพิ่มอุบัติการณ์การเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด หัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคลิ้นหัวใจไมตรัลทั้งชนิดรั่วและตีบ ปัจจุบันยังไม่มีวิธีมาตรฐานในการวินิจฉัยและการประเมินความรุนแรงของภาวะหินปูนเกาะที่ขอบลิ้นหัวใจไมตรัล แต่มักใช้การตรวจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจภาพสองมิติและการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ในการวินิจฉัย เนื่องจากพยาธิสรีรวิทยาและความเสี่ยงในการเกิดของภาวะหินปูนเกาะที่ขอบลิ้นหัวใจไมตรัลและลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบมีความคล้ายกัน จึงทำการศึกษาหาความชุกของภาวะหินปูนเกาะที่ขอบลิ้นหัวใจไมตรัลในผู้ป่วยลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบระดับรุนแรง ความสัมพันธ์ของการตรวจด้วยวิธีต่างๆในการวินิจฉัยและแบ่งระดับความรุนแรงของภาวะหินปูนเกาะที่ขอบลิ้นหัวใจไมตรัล รวมไปถึงความสัมพันธ์ของภาวะหินปูนเกาะที่ขอบลิ้นหัวใจไมตรัลกับการเกิดโรคลิ้นหัวใจไมตรัลทั้งชนิดตีบหรือรั่ว วิธีการดำเนินวิจัย: การศึกษานี้ทำในผู้ป่วยลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบระดับรุนแรงที่เข้ารับการรักษาเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกเทียมผ่านสายสวนโดยไม่ต้องผ่าตัดของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ตั้งแต่ พฤษภาคม 2556 ถึง ธันวาคม 2564 โดยหากไม่มีภาพจากการตรวจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจภาพสองมิติและการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ก่อนเข้ารับการรักษาด้วยการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกเทียมผ่านสายสวนโดยไม่ต้องผ่าตัดในระบบของโรงพยาบาลจะไม่ได้เข้าร่วมในการศึกษา ข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วยได้จากเวชระเบียน วินิจฉัยและประเมินระดับความรุนแรงของภาวะหินปูนเกาะที่ขอบลิ้นหัวใจไมตรัลจาก 3 วิธี โดยใช้เกณฑ์การแบ่งระดับความรุนแรงแบบเป็นระบบที่ดัดแปลงมาจากวิธีการที่คิดขึ้นโดยเมโยคลินิกและคลีฟแลนด์คลินิก การวินิจฉัยโรคลิ้นหัวใจไมตรัลตีบโดยใช้แนวทางการวินิจฉัยจากชมรมคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกาปี 2552 และ วินิจฉัยโรคลิ้นหัวใจไมตรัลรั่วโดยใช้แนวทางการวินิจฉัยจากชมรมคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกาปี 2560 มีการประเมินหาความเที่ยงของผู้ประเมินทั้งในกรณีคนเดียวกันและผู้ประเมินต่างคนกันร่วมด้วย ผลการศึกษาหลักคือเพื่อศึกษาความชุกของภาวะหินปูนเกาะที่ขอบลิ้นหัวใจไมตรัลแบบรุนแรงในผู้ป่วยกลุ่มนี้ นอกจากนี้ยังต้องการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการวินิจฉัยภาวะหินปูนเกาะที่ขอบลิ้นหัวใจไมตรัลโดยใช้การตรวจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจภาพสองมิติ การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ด้วยวิธีประเมินปริมาณหินปูนรอบวง และการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ด้วยการวัดคะแนนแคลเซียม รวมไปถึงศึกษาความสัมพันธ์ของการเกิดภาวะลิ้นหัวใจไมตรัลตีบหรือลิ้นหัวใจไมตรัลรั่วในผู้ป่วยที่มีภาวะหินปูนเกาะที่ขอบลิ้นหัวใจไมตรัล ผลการศึกษา: จากผู้ป่วยลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบระดับรุนแรงที่เข้ารับการรักษาเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกเทียมผ่านสายสวนโดยไม่ต้องผ่าตัดที่ศึกษาทั้งสิ้น 188 คน มีอายุเฉลี่ย 81±8 ปี พบว่ามีภาวะหินปูนเกาะที่ขอบลิ้นหัวใจไมตรัลแบบรุนแรง 47 คน (25%) และมีอายุเฉลี่ย 83±8 ปี โดยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (63%) ในกลุ่มภาวะหินปูนเกาะที่ขอบลิ้นหัวใจไมตรัลแบบรุนแรงพบว่ามีโรคลิ้นหัวใจตีบระดับรุนแรง 4.26% ระดับปานกลาง 19.15% ระดับน้อย 55.32% และมีโรคลิ้นหัวใจรั่วระดับรุนแรง 2.13% ระดับปานกลาง 19.15% ระดับน้อย 72.34% นอกจากนี้ยังความชุกของโรคลิ้นหัวใจตีบระดับปานกลางและรุนแรงพบในกลุ่มที่มีภาวะหินปูนเกาะที่ขอบลิ้นหัวใจไมตรัลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่พบหินปูนเกาะที่ขอบลิ้นหัวใจไมตรัล (p < 0.001) แต่ไม่พบความสัมพันธ์ดังกล่าวในโรคลิ้นหัวใจรั่วระดับปานกลางและรุนแรง (p = 0.484) จากการศึกษาพบว่าการวินิจฉัยและประเมินระดับความรุนแรงของภาวะหินปูนเกาะที่ขอบลิ้นหัวใจไมตรัลมีความสอดคล้องกันในแต่ละวิธี โดยเปรียบเทียบผลการวินิจฉัยของการตรวจจากคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจภาพสองมิติกับเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Spearman’s rho 0.9114), การตรวจจากคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจภาพสองมิติกับคะแนนแคลเซียม (Spearman’s rho 0.8979) และการตรวจจากเอกซเรย์คอมพิวเตอร์กับคะแนนแคลเซียม (Spearman’s rho 0.989) นอกจากนี้เมื่อทดสอบความสอดคล้องกันของผลการวินิจฉัยจากทั้ง 3 วิธีพบว่ามีความสอดคล้องกันดี (Kappa 0.7245) สรุปผล: หนึ่งในสี่ของผู้ป่วยลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบระดับรุนแรงที่เข้ารับการรักษาเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกเทียมผ่านสายสวนโดยไม่ต้องผ่าตัดพบว่ามีภาวะหินปูนเกาะที่ขอบลิ้นหัวใจไมตรัลแบบรุนแรงร่วมด้วย โดยในผู้ป่วยกลุ่มนี้พบว่ามีโรคลิ้นหัวใจไมตรัลตีบระดับปานกลางถึงรุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ การวินิจฉัยระดับความรุนแรงของภาวะหินปูนเกาะที่ขอบลิ้นหัวใจไมตรัลจากการตรวจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจภาพสองมิติ การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ด้วยวิธีประเมินปริมาณหินปูนรอบวง และการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ด้วยการวัดคะแนนแคลเซียมพบว่ามีความสอดคล้องกันดี จากการศึกษานี้จึงแนะนำว่าสามารถใช้วิธีการใดก็ได้จาก 3 วิธีที่กล่าวมาในการวินิจฉัยและแบ่งระดับความรุนแรงของภาวะหินปูนเกาะที่ขอบลิ้นหัวใจไมตรัล


ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเหนื่อยหน่ายของคู่ชีวิตของผู้ป่วยจิตเภท, อภิวาท ศรีกาสี Jan 2022

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเหนื่อยหน่ายของคู่ชีวิตของผู้ป่วยจิตเภท, อภิวาท ศรีกาสี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเหนื่อยหน่ายของคู่ชีวิตของผู้ป่วยจิตเภท และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง เพศ ระยะเวลาในการดูแลผู้ป่วย สัมพันธภาพระหว่างผู้ป่วยกับคู่ชีวิต ความเครียด การสนับสนุนทางสังคม ภาระการดูแลผู้ป่วย การรับรู้การถูกตีตราของคู่ชีวิต ด้านผู้ป่วยเป็นอาการทางบวก และอาการทางลบ กับความเหนื่อยหน่ายของคู่ชีวิตของผู้ป่วยจิตเภท กลุ่มตัวอย่าง คือ คู่ชีวิตของผู้ป่วยโรคจิตเภทที่เข้ารับการรักษา ในโรงพยาบาลจิตเวชและโรงพยาบาลระดับตติยภูมิที่มีแผนกผู้ป่วยนอกจิตเวช ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 180 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของคู่ชีวิตของผู้ป่วยจิตเภท แบบประเมินความเหนื่อยหน่ายของคู่ชีวิตของผู้ป่วยจิตเภท แบบวัดการรับรู้ความเครียด แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม แบบประเมินสัมพันธภาพของคู่ชีวิตกับผู้ป่วยจิตเภท แบบประเมินความรู้สึกเป็นภาระการดูแลผู้ป่วย แบบประเมินการรับรู้ตราบาป แบบประเมินอาการทางบวกผู้ป่วยจิตเภท และแบบประเมินอาการทางลบผู้ป่วยจิตเภท แบบสอบถามทุกชุดได้รับการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน และคำนวณค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคได้เท่ากับ .85, .94, .92, .75, .94, .98, .89 และ .82 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบทีและสถิติค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1. ระดับความเหนื่อยหน่ายของคู่ชีวิตผู้ป่วยจิตเภท ด้านอาการอ่อนล้าทางอารมณ์อยู่ในระดับต่ำ (Mean=11.02, SD=10.83) ด้านการมองข้ามความเป็นบุคคลของผู้ป่วยและผู้อื่นอยู่ในระดับปานกลาง (Mean=6.36, SD=8.06) และด้านความไม่สมหวังในผลสำเร็จของผู้ดูแลอยู่ในระดับสูง (Mean=13.45, SD=9.64) 2. สัมพันธภาพผู้ป่วยกับคู่ชีวิต และการสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางลบกับความเหนื่อยหน่ายของคู่ชีวิตผู้ป่วยโรคจิตเภทในระดับต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r= -0.450) และ -.154 ตามลำดับ) 3. อาการทางลบมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความเหนื่อยหน่ายของคู่ชีวิตผู้ป่วยโรคจิตเภท ในระดับต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r= .305) 4. อาการทางบวกมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความเหนื่อยหน่ายของคู่ชีวิตผู้ป่วยโรคจิตเภท ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r= .509) 5. ภาระการดูแลผู้ป่วยและการรับรู้การรถูกตีตราของคู่ชีวิตมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความเหนื่อยหน่ายของคู่ชีวิตผู้ป่วยโรคจิตเภทในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r= .779 และ .711 ตามลำดับ) 6. ความเครียดมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความเหนื่อยหน่ายของคู่ชีวิตผู้ป่วยโรคจิตเภทในระดับสูงมาก …


ความตรงและความเที่ยงของแบบประเมินผลกระทบของสุขภาพช่องปากสำหรับทีเอ็มดี ฉบับภาษาไทย, รลดา พรธิฤทธิ์ Jan 2022

ความตรงและความเที่ยงของแบบประเมินผลกระทบของสุขภาพช่องปากสำหรับทีเอ็มดี ฉบับภาษาไทย, รลดา พรธิฤทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวชี้วัดที่ใช้ประเมินคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากชนิด แบบประเมินผลกระทบของสุขภาพช่องปากสำหรับเท็มโพโรแมนดิบิวลาร์ดิสออเดอร์ ฉบับภาษาไทย และทดสอบคุณสมบัติการวัดทางจิตวิทยาของแบบประเมิน วิธีการวิจัยทำโดยการแปลแบบประเมินต้นฉบับภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยและดัดแปลงข้ามวัฒนธรรม รวมถึงทดสอบความตรงเชิงเนื้อหาด้วยการหาค่าดัชนีความเที่ยงตรงของเนื้อหา โดยทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรมบดเคี้ยวและความเจ็บปวดช่องปากใบหน้าจำนวน 5 ท่าน จากนั้นนำแบบประเมินไปทดสอบกับผู้ป่วยคนไทย แบ่งเป็นกลุ่มผู้ป่วยทีเอ็มดี 110 คน และกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่มีภาวะทีเอ็มดีซึ่งเป็นกลุ่มควบคุม 110 คน การทดสอบความเที่ยงภายในใช้การคำนวณค่าสัมประสิทธิ์ครอนบาคแอลฟาจากคะแนน OHIP-TMDs ของกลุ่มผู้ป่วยทีเอ็มดี ทดสอบความตรงเชิงโครงสร้างด้วยวิธีการตรวจสอบจากกลุ่มที่แตกต่างกัน โดยประเมินความแตกต่างของคะแนนของ OHIP-TMDs ระหว่างผู้ป่วยทีเอ็มดีและกลุ่มควบคุม รวมถึงทดสอบความเที่ยงจากการทดสอบซ้ำโดยผู้ป่วยทีเอ็มดี 30 คน กำหนดระยะเวลาห่างกัน 2 วัน และใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ภายในชั้นในการคำนวณ การทดสอบทั้งหมดจะกำหนดการทดสอบทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการวิจัยพบว่าแบบประเมินผลกระทบของสุขภาพช่องปากสำหรับเท็มโพโรแมนดิบิวลาร์ดิสออเดอร์ ฉบับภาษาไทยที่ถูกพัฒนาขึ้นมีคุณสมบัติการวัดทางจิตวิทยาที่ดี โดยแบบประเมินมีความตรงและความเที่ยงเมื่อนำมาศึกษาในผู้ป่วยคนไทย ซึ่งคะแนนของ OHIP-TMDs ระหว่างกลุ่มผู้ป่วยทีเอ็มดีและกลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แสดงถึงความตรงเชิงโครงสร้าง รวมถึงมีค่าดัชนีความเที่ยงตรงของเนื้อหาที่ระดับ 0.92 ค่าสัมประสิทธิ์ครอนบาคแอลฟาที่ระดับ 0.942 และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ภายในชั้นที่ระดับ 0.808 ดังนั้นแบบประเมิน OHIP-TMDs จึงมีแนวโน้มที่จะนำไปใช้ทางคลินิกสำหรับการประเมินและการจัดการภาวะทีเอ็มดีในกลุ่มผู้ป่วยคนไทยได้


The Infection Dynamics, Co-Infection, Multi-Gene Phylogeny, And Molecular Screening Of Plasmodium Caprae Infection In Goats And Mosquito Species, Hoang Lan Anh Nguyen Jan 2022

The Infection Dynamics, Co-Infection, Multi-Gene Phylogeny, And Molecular Screening Of Plasmodium Caprae Infection In Goats And Mosquito Species, Hoang Lan Anh Nguyen

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Ungulate malaria parasites, including Plasmodium caprae that infects the domestic goats, have received little attention. There are only few studies about the prevalence and mitochondrial genome analyses. This study, therefore, aimed to investigate the natural infection dynamics of P. caprae and its mosquito vectors. Besides, genome analyses based on nuclear genes of P. caprae and other related haemosporidian parasites were also carried out to obtain an in depth understanding about their evolutionary history and origin. A total of 423 goat blood samples were collected during rainy seasons from 2018 to 2021 to assess the malaria infection status. In addition, 1,019 …


ผลของโปรแกรมการพยาบาลสนับสนุนการจัดการตนเองต่ออาการหายใจลำบากในผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, ราเชนร์ สุโท Jan 2022

ผลของโปรแกรมการพยาบาลสนับสนุนการจัดการตนเองต่ออาการหายใจลำบากในผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, ราเชนร์ สุโท

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยแบบกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการพยาบาลสนับสนุนจัดการตนเอง ต่ออาการหายใจลำบากในผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง อายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงแบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองกลุ่มละ 30 คน จับคู่ทั้งสองกลุ่มให้มีคุณสมบัติใกล้เคียงกันในเรื่อง เพศ อายุ และระดับความรุนแรงของอาการหายใจลำบาก กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลปกติ ในขณะที่กลุ่มทดลองเข้าร่วมโปรแกรมการพยาบาลสนับสนุนการจัดการตนเอง ประกอบด้วย 1) การประเมิน (assess) 2) การให้คำแนะนำ (advise) 3) การทำความตกลง (agree) 4) การช่วยเหลือ (assist) 5) การติดตามและประเมินผล (arrange) ต่อเนื่องนาน 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินอาการหายใจลำบาก และแบบประเมินพฤติกรรมการจัดการอาการหายใจลำบากซึ่งมีค่าความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 1 และ .88 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .97 และ .89 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา เปรียบเทียบความแตกต่างด้วยการทดสอบที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ค่าเฉลี่ยคะแนนอาการหายใจลำบากของผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในกลุ่มทดลองหลังการได้รับโปรแกรมการพยาบาลสนับสนุนจัดการตนเองน้อยกว่าก่อนการได้รับโปรแกรมการพยาบาลสนับสนุนจัดการตนเอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ค่าเฉลี่ยคะแนนอาการหายใจลำบากของผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการพยาบาลสนับสนุนจัดการตนเองน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


สมดุลงานและชีวิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการทำงานที่บ้านของพนักงานบริษัทโทรคมนาคมแห่งหนึ่งในภาคเหนือ ประเทศไทย, นิชา วงศ์คีรีพิบูลย์ Jan 2022

สมดุลงานและชีวิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการทำงานที่บ้านของพนักงานบริษัทโทรคมนาคมแห่งหนึ่งในภาคเหนือ ประเทศไทย, นิชา วงศ์คีรีพิบูลย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับสมดุลงานและชีวิต รวมถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในช่วงการทำงานที่บ้านของพนักงานบริษัทโทรคมนาคมแห่งหนึ่งในภาคเหนือ ศึกษาโดยการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างพนักงานบริษัทโทรคมนาคมเป้าหมาย จำนวน 600 คน โดยไม่มีการสุ่มตัวอย่าง ผ่านแบบสอบถามออนไลน์ให้กับพนักงาน ทำการศึกษาระหว่างเดือน กุมภาพันธ์ ถึง พฤษภาคม พ.ศ. 2565 แบบสอบถามประกอบด้วย ข้อมูลปัจจัยด้านบุคคล ปัจจัยด้านงาน ปัจจัยด้านการทำงานที่บ้าน และแบบประเมินสมดุลงานและชีวิต วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ประกอบด้วย การวิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่างตัวแปรสองตัว และ การวิเคราะห์การถดถอยลอจิสติกเชิงพหุ ผลการศึกษาพบว่า คะแนนสมดุลงานและชีวิตคิดเป็นร้อยละค่าเฉลี่ยเท่ากับ 69.2 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 14.2) เมื่อควบคุมตัวกวนด้วยการวิเคราะห์การถดถอยลอจิสติกเชิงพหุ พบปัจจัยที่สัมพันธ์กับระดับสมดุลงานและชีวิตต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ประกอบด้วย เพศหญิง (OR=2.22, 95% CI 1.17-4.22) การมีบุตรเป็นเด็กเล็ก (OR=2.61, 95% CI 1.10-6.19) ภาระงานมาก (OR=5.41, 95% CI 2.62-11.15) ในทางตรงกันข้าม ปัจจัยที่สัมพันธ์กับระดับสมดุลงานและชีวิตสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ประกอบด้วย ความสัมพันธ์กับครอบครัวแน่นแฟ้น (OR=0.39, 95% CI 0.19-0.81) การพักผ่อนเพียงพอ (OR=0.07, 95% CI 0.01-0.36) การสนับสนุนจากองค์กรมาก (OR=0.43, 95% CI 0.21-0.87) ความพึงพอใจในงานมาก (OR=0.42, 95% CI 0.21-0.83) การเปลี่ยนแปลงเวลาเริ่มและเลิกงานได้มาก (OR=0.23, 95% CI 0.10-0.53) ดังนั้นองค์กรควรกำหนดนโยบายและมาตรการตามปัจจัยดังกล่าว เพื่อเป็นการส่งเสริมสมดุลงานและชีวิตที่ดีให้กับพนักงานที่มีการทำงานที่บ้าน


ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของอาการโรคหืดในพนักงานทำความสะอาด ณ โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร, ศิวกร สันตินิภานนท์ Jan 2022

ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของอาการโรคหืดในพนักงานทำความสะอาด ณ โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร, ศิวกร สันตินิภานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

อาชีพพนักงานทำความสะอาดเป็นอาชีพหนึ่งที่มีความเสี่ยงสูงในการสัมผัสกับปัจจัยเสี่ยงสารเคมีจากการทำงาน พนักงานทำความสะอาดมีการสัมผัสสารที่ใช้ในขั้นตอนการทำความสะอาดที่หลายชนิดก่อให้เกิดโรคหืดได้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของอาการโรคหืดในกลุ่มพนักงานทำความสะอาด ณ โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ประกอบด้วย ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านการทำงาน ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม และข้อมูลเกี่ยวกับอาการทางระบบการหายใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์อาการโรคหืดและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง โดยใช้สถิติ Multiple logistic regression ผลการศึกษาพบว่า มีผู้เข้าร่วมการศึกษาจำนวน 340 คน ความชุกของอาการโรคหืดในพนักงานทำความสะอาดเท่ากับร้อยละ 16.2 (95%CI: 12.4-20.5) และปัจจัยที่เกี่ยวข้องของอาการโรคหืด พบว่าผู้ที่มีคนในบ้านสูบบุหรี่มีอัตราส่วนแต้มต่อของการมีอาการโรคหืดเป็น 4.13 เท่า (OR 4.13, 95%CI: 2.12-8.02) ของผู้ที่ไม่มีคนในบ้านสูบบุหรี่ ผู้ที่มีอาการภูมิแพ้ทางจมูกมีอัตราส่วนแต้มต่อของการมีอาการโรคหืดเป็น 4.08 เท่า (OR 4.08, 95%CI: 2.00-8.30) ของผู้ที่ไม่มีอาการภูมิแพ้ทางจมูก ผู้ที่มีเชื้อราในบ้านมีอัตราส่วนแต้มต่อของการมีอาการโรคหืดเป็น 2.40 เท่า (OR 2.40, 95CI: 1.11-5.16) ของผู้ที่ไม่มีเชื้อราในบ้าน ผู้ที่สูบบุหรี่มีอัตราส่วนแต้มต่อของการมีอาการโรคหืดเป็น 2.77 เท่า (OR 2.77, 95%CI: 1.29-5.96) ของผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ และผู้ที่ปฏิบัติงานในห้องครัวมีอัตราส่วนแต้มต่อของการมีอาการโรคหืดเป็น 2.18 เท่า (OR 2.18, 95%CI: 1.10-4.31) ของผู้ที่ไม่ได้ปฏิบัติงานในห้องครัว สรุปผลการศึกษา พนักงานทำความสะอาดมีแนวโน้มที่จะมีอาการโรคหืดมากกว่าประชากรทั่วไป สถานประกอบการควรจัดให้มีแนวทางการจัดการสุขภาพที่เหมาะสม เช่น การเฝ้าระวังสุขภาพกับผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง การอบรมให้ความรู้เพื่อลดปัจจัยเสี่ยง เช่น การเลิกบุหรี่ การจัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลที่เหมาะสม เป็นต้น


ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มอาการป่วยเหตุอาคาร ของผู้ปฏิบัติงานภายในท่าอากาศยานแห่งหนึ่งในประเทศไทย, ศุภสิน วงศ์บุญตัน Jan 2022

ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มอาการป่วยเหตุอาคาร ของผู้ปฏิบัติงานภายในท่าอากาศยานแห่งหนึ่งในประเทศไทย, ศุภสิน วงศ์บุญตัน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันผู้คนมีแนวโน้มที่จะใช้ชีวิตและทำงานในอาคารซึ่งมีระบบระบายอากาศแบบปิดมากขึ้น การศึกษาที่ผ่านมามีผู้ได้รับผลกระทบจาก “กลุ่มอาการป่วยเหตุอาคาร (Sick Building Syndrome, SBS)” จำนวนไม่น้อยทั่วโลก โดยเฉพาะที่ทำงานในอาคารสำนักงานและตึกสูง การศึกษาภาคตัดขวางนี้เป็นการศึกษาแรกที่ศึกษาความชุกของกลุ่มอาการป่วยเหตุอาคารของผู้ปฏิบัติงานในอาคารท่าอากาศยาน และศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีต่อกลุ่มอาการป่วยเหตุอาคารในหลายมิติ ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและใช้ผลตรวจวัดคุณภาพอากาศภายในอาคารของท่าอากาศยานนานาชาติแม่ฟ้าหลวง เชียงราย มีผู้เข้าร่วมการศึกษาจำนวน 402 คน ผลการศึกษาพบความชุกอยู่ที่ร้อยละ 29.4 โดยปัจจัยที่พบว่ามีความสัมพันธ์กับกลุ่มอาการป่วยเหตุอาคารป่วยเหตุอาคารได้แก่ อายุที่น้อยกว่า 40 ปี เพศหญิง ระดับการศึกษาปริญญาตรีขึ้นไป เวลาในการใช้หน้าจอมากกว่าครึ่งของเวลางาน ความเครียดจากงาน และกลิ่นไม่พึงประสงค์ การปรับปรุงสภาพแวดล้อมและการปฏิบัติงานรวมถึงการวินิจฉัยกลุ่มอาการป่วยเหตุอาคารเป็นกุญแจสำคัญในการแก้ไขปัญหา การศึกษาในเรื่องผลกระทบต่อการปฏิบัติงานยังคงเป็นประเด็นสำคัญสำหรับการศึกษาในอนาคต


ความแม่นยำของการตรวจคัดกรองการได้ยินด้วยการทดสอบเสียงกระซิบในผู้ประกอบอาชีพขับรถโดยสารสาธารณะของบริษัทสัมปทานเดินรถแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ, สุทธิเนตร วรรณตรง Jan 2022

ความแม่นยำของการตรวจคัดกรองการได้ยินด้วยการทดสอบเสียงกระซิบในผู้ประกอบอาชีพขับรถโดยสารสาธารณะของบริษัทสัมปทานเดินรถแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ, สุทธิเนตร วรรณตรง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาค่าความไวและความจําเพาะของการทดสอบการได้ยินด้วยเสียงกระซิบ (Whispered voice test: WVT) เปรียบเทียบกับการทดสอบด้วยเสียงบริสุทธิ์ (Pure tone audiometry: PTA) ในการคัดกรองการได้ยินในผู้ขับรถสาธารณะ อีกทั้งศึกษาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการสูญเสียการได้ยิน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามตอบด้วยตนเอง และข้อมูลผลการทดสอบการได้ยินด้วย WVT และ PTA ดำเนินการในผู้ประกอบอาชีพขับรถโดยสารสาธารณะของบริษัทสัมปทานเดินรถแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 170 คน วินิจฉัยภาวะสูญเสียการได้ยินตามเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก พ.ศ. 2534 (WHO (1991)) และ พ.ศ. 2563 (WHO (2020)) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน รวมถึงการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก ผลการศึกษา เมื่อวินิจฉัยตามเกณฑ์ WHO (1991) และ WHO (2020) พบว่า ค่าความไว (95% CI) ของ WVT ในการคัดกรองการสูญเสียการได้ยินระดับเล็กน้อยเป็นต้นไป ร้อยละ 77.66 (73.23 – 82.09) และ ร้อยละ 85.86 (82.15 – 89.56) ในขณะที่ค่าความไวของ WVT ในคัดกรองการสูญเสียการได้ยินระดับปานกลางเป็นต้นไป ร้อยละ 70.10 (65.23 – 74.96) และ ร้อยละ 73.85 (69.18 – 78.52) สำหรับค่าความจำเพาะ (95% CI) ของ WVT ในการคัดกรองการสูญเสียการได้ยินระดับเล็กน้อยเป็นต้นไป ร้อยละ 51.97 (46.66 – 57.28) และ ร้อยละ 44.40 (39.12 – 49.68) ในขณะที่ค่าความจำเพาะของ WVT ในการคัดกรองการสูญเสียการได้ยินระดับปานกลางเป็นต้นไปร้อยละ 96.55 (94.61 – 98.49) และ ร้อยละ 82.46 …


หมอนรองหน้าอกเพื่อลดอาการปวดต้นคอหลังการส่องกล้องท่อน้ำดีและตับอ่อน, อชิรญา ปลอดอักษร Jan 2022

หมอนรองหน้าอกเพื่อลดอาการปวดต้นคอหลังการส่องกล้องท่อน้ำดีและตับอ่อน, อชิรญา ปลอดอักษร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การส่องกล้องทางเดินน้ำดีและตับอ่อน (ERCP) เป็นหัตถการมาตรฐานสำหรับการตรวจประเมินและรักษาโรคของท่อน้ำดีและตับอ่อน นิยมจัดท่าผู้ป่วยในท่านอนคว่ำ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยจำเป็นต้องหมุนศีรษะไปทางด้านขวา 80 องศาตลอดระยะเวลาทำหัตถการ ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดอาการปวดคอหลังทำการส่องกล้องได้ และในปัจจุบันยังไม่มีอุปกรณ์ที่ออกแบบมาสำหรับช่วยจัดท่าผู้ป่วยเพื่อลดอาการปวดคอ ในงานการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดอุบัติการณ์การปวดคอของผู้ป่วยหลังเข้ารับการส่องกล้องท่อน้ำดีและตับอ่อน และประเมินความพึงพอใจของแพทย์ผู้ส่องกล้อง โดยสุ่มผู้ป่วยทั้งหมด 250 ราย แบ่งเป็นกลุ่มใช้หมอนรองหน้าอก 125 ราย และกลุ่มควบคุม 125 ราย หมอนที่ถูกออกแบบตามหลักการยศาสตร์ช่วยทำให้เกิดการหมุนของกระดูกสันหลังส่วนอก เพื่อชดเชยการทำงานของกระดูกสันหลังส่วนคอ ผู้วิจัยเข้าประเมินอาการปวดคอของผู้ป่วยก่อนการทำ ERCP, หลังการทำ ERCP 1 ชั่วโมง, 1 วัน และ 7 วัน โดยใช้ Visual analog scale (0-10) รวมถึงความยากในการสอดกล้องและความพึงพอใจของแพทย์โดยใช้แบบประเมินคะแนน 0-10 ผลการศึกษาพบว่าอุบัติการณ์อาการปวดคอหลังการทำ ERCP 1 วัน มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างสองกลุ่ม โดยในกลุ่มใช้หมอนพบร้อยละ 19.2 และในกลุ่มควบคุมพบร้อยละ 30.4 (p = 0.041) อาการปวดคอระดับปานกลางถึงรุนแรงในกลุ่มควบคุมสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.032) ความยากในการสอดกล้องและความต้องการในการยกไหล่ของผู้ป่วยขณะทำหัตถการลดลงในกลุ่มใช้หมอน (p = 0.001 และ p = 0.002 ตามลำดับ) แม้ว่าการประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วยระหว่างสองกลุ่มจะไม่มีความแตกต่างกัน (p = 0.082) อย่างไรก็ตามคะแนนความพึงพอใจของแพทย์ผู้ส่องกล้องในกลุ่มใช้หมอนสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001)


ผลของการฝึกด้วยแรงต้านควบคู่กับการเพ่งความตั้งใจในรูปแบบที่แตกต่างกันที่มีต่อขนาดและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขา, พศวัต ศรีทอง Jan 2022

ผลของการฝึกด้วยแรงต้านควบคู่กับการเพ่งความตั้งใจในรูปแบบที่แตกต่างกันที่มีต่อขนาดและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขา, พศวัต ศรีทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ : การวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อเพื่อศึกษาผลของการฝึกด้วยแรงต้านควบคู่กับการเพ่งความตั้งใจในรูปแบบที่แตกต่างกันที่มีต่อขนาดและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขา วิธีดำเนินการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ เป็น นิสิตมหาวิทยาลัยเพศชายที่ไม่ได้ฝึกด้วยแรงต้านอย่างเป็นประจำมาไม่น้อยกว่า 6 เดือน จำนวน 24 คน อายุระหว่าง 18 – 30 ปี แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 8 คน ได้แก่ กลุ่มที่ 1 การเพ่งความตั้งใจแบบภายใน กลุ่มที่ 2 การเพ่งความตั้งใจแบบภายนอก กลุ่มที่ 3 ฝึกด้วยรูปแบบปกติ ทั้ง 3 กลุ่มฝึกด้วยท่าแมชชีนเลคเอ็กเทนชั่น ฝึก 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ ก่อนการฝึกและหลังการฝึกทำการทดสอบพื้นที่หน้าตัดของกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเหยียดเข่าแบบเกร็งค้าง ความแข็งแรงสูงสุดเพียงหนึ่งครั้งของกล้ามเนื้อเหยียดเข่า ช่วงฝึกสัปดาห์ที่ 1 และช่วงฝึกสัปดาห์ที่ 6 ทำการทดสอบคลื่นไฟฟ้าของกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติ กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัย : ภายหลังการฝึก 6 สัปดาห์ ทั้ง 3 กลุ่มมีค่าเฉลี่ยของพื้นที่หน้าตัดของกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเหยียดเข่าแบบเกร็งค้าง ความแข็งแรงสูงสุดเพียงหนึ่งครั้งของกล้ามเนื้อเหยียดเข่า เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างทั้ง 3 กลุ่ม การทดสอบคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้าพบว่ากลุ่มที่ 1 มีค่าเฉลี่ยคลื่นไฟฟ้ามากกว่ากลุ่มที่ 2 และกลุ่มที่ 3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปผลการวิจัย : การฝึกด้วยแรงต้านร่วมกับการเพ่งความตั้งใจแบบภายในสามารถพัฒนาขนาด และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขาได้ไม่แตกต่างจากการเพ่งความตั้งใจแบบภายนอก และการฝึกด้วยรูปแบบปกติ สำหรับผู้ที่ต้องการเพิ่มการทำงานของกล้ามเนื้อ สามารถใช้การเพ่งความตั้งใจแบบภายในเพื่อกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อมัดที่เฉพาะเจาะจง


ผลของการฝึกด้วยท่าย่อยของการยกน้ำหนักต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวและกล้ามเนื้อรยางค์ช่วงล่างในพนักงานสำนักงานเพศหญิง, ภานุวัฒน์ ธนาเลิศสมบูรณ์ Jan 2022

ผลของการฝึกด้วยท่าย่อยของการยกน้ำหนักต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวและกล้ามเนื้อรยางค์ช่วงล่างในพนักงานสำนักงานเพศหญิง, ภานุวัฒน์ ธนาเลิศสมบูรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกด้วยท่าย่อยของการยกน้ำหนักต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวและกล้ามเนื้อรยางค์ช่วงล่างในพนักงานสำนักงานเพศหญิง วิธีการดำเนินวิจัย กลุ่มตัวอย่างคือพนักงานสำนักงานเพศหญิงอายุ 25-45 ปี จำนวน 29 คน อายุเฉลี่ย 31.9±3.96 แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มฝึกด้วยท่าย่อยของการยกน้ำหนักจำนวน 14 คน และกลุ่มควบคุมจำนวน 15 คน โดยการสุ่มแบบจับทีละคู่ตามช่วงอายุและค่าดัชนีมวลกาย กลุ่มฝึกด้วยท่าย่อยของการยกน้ำหนักทำการฝึก 2 วันต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ และกลุ่มควบคุมให้ดำเนินชีวิตประจำวันตามปกติ ทดสอบตัวแปรสรีรวิทยาทั่วไป ความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว ความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อของรยางค์ช่วงล่าง ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรยางค์ช่วงบนและความยืดหยุ่น ใช้การวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของตัวแปรต่างๆ ระหว่างกลุ่มฝึกด้วยท่าย่อยของการยกน้ำหนักและกลุ่มควบคุม เปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังฝึกของแต่ละกลุ่ม ใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำ (2x2) และทำการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ โดยใช้วิธีการทดสอบของแอลเอสดีที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า หลังการฝึก 8 สัปดาห์ กลุ่มฝึกด้วยท่าย่อยของการยกน้ำหนักมีความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว (1.11±0.31) ความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อรยางค์ช่วงล่าง (28.76±4.64, 18.43±3.39) ความแข็งแรงของรยางค์ช่วงบน (22.76±2.65) และความยืดหยุ่น (4.29±1.20) เพิ่มขึ้นจากก่อนการทดลองและมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 สรุปผลการวิจัย การฝึกด้วยท่าย่อยของการยกน้ำหนักสามารถนำมาใช้ออกกำลังกายสำหรับกลุ่มพนักงานสำนักงานเพศหญิง ซึ่งมีกิจกรรมทางกายน้อยหรือเพิ่งเริ่มออกกำลังกายแบบในแรงต้านได้ มีความปลอดภัยภายใต้การควบคุมของผู้ฝึกสอนและช่วยพัฒนาความแข็งแรงและความทนทานของร่างกายได้หลากหลายส่วนในเวลาเดียวกัน ได้แก่ รยางค์ช่วงบน แกนกลางลำตัวและรยางค์ช่วงล่าง รวมถึงเพิ่มความยืดหยุ่นของร่างกายได้เป็นอย่างดี


Development Of Patient-Centered Care Scales Of Dentists In Primary Health Care Of Thailand: A Multigroup Analysis, Yutthana Khamnil Jan 2022

Development Of Patient-Centered Care Scales Of Dentists In Primary Health Care Of Thailand: A Multigroup Analysis, Yutthana Khamnil

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Purposes: 1. to develop a conceptual construct of patient-centered dental care for primary care dentists in Thailand. 2. to create reliable and valid instruments to measure patient-centered care from both the patient's and dentist's perspectives. 3. to test the measurement invariance of the two scales 4. To examine the effect of personal attributes of patients and dentists on the level of patient-centered care. Materials and Methods: In Phase 1, preliminary questionnaires were developed through a comprehensive process involving a literature review, in-depth interviews, content validity tests, cognitive interviews, and pre-tests. Exploratory factor analysis (EFA) was used to identify the constructs. …


Intention To Obtain Silver Diamine Fluoride Treatment For Dental Caries Among Elderly, Ratchawipa Nakphu Jan 2022

Intention To Obtain Silver Diamine Fluoride Treatment For Dental Caries Among Elderly, Ratchawipa Nakphu

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Aims: To evaluate the intention of the elders to use the Silver Diamine Fluoride (SDF) treatment for stopping dental caries progression after being informed Materials and Methods: The elders aged 60-90 years old who are independent and can read Thai were recruited. A questionnaire-guided interview was performed to the elders after introduction of the SDF treatment. The questionnaire-guided interview was guided by the Theory of Reason Action (TRA) composed of 23 questions of 7 constructs including behavioral belief, evaluation of behavioral outcome, normative belief, motivation to comply, attitude towards behavior, subjective norm and intention. The intention to do the SDf …


Exploring Roles Of Mir-885-5p In Hepatocellular Carcinoma, Archittapon Nokkeaw Jan 2022

Exploring Roles Of Mir-885-5p In Hepatocellular Carcinoma, Archittapon Nokkeaw

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Hepatocellular carcinoma (HCC), the most prevalent form of liver cancer, exerts a significant burden on Southeast Asian countries and stands as the third leading cause of cancer-related mortality worldwide. Despite this alarming impact, effective treatments for HCC are lacking, resulting in low survival rates and high recurrence rates. Therefore, a comprehensive understanding of the disease's underlying mechanisms is crucial for the development of novel and potent therapies. Recently, it has been recognized that microRNAs (miRNAs) play a vital role in tumorigenesis, including HCC. Our bioinformatic analysis has highlighted hsa-miR-885-5p as a potential candidate miRNA due to its downregulation in HCC …


Effects Of Different Serum Supplements On Piggybac Cd19 Chimeric Antigen Receptor T Cells, Mulita Sanyanusin Jan 2022

Effects Of Different Serum Supplements On Piggybac Cd19 Chimeric Antigen Receptor T Cells, Mulita Sanyanusin

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Chimeric Antigen Receptor (CAR) T cell is a novel therapy for relapse and refractory hematologic malignancy. Characteristics of CAR T cells is associated with clinical efficacy and toxicity. Type of serum supplements used during cultivation affect the immunophenotype and function of viral-based CAR T cells. This study explores the effect of serum supplements on non-viral piggyBac transposon CAR T cell production. PiggyBac CD19 CAR T cells were expanded in cultured conditions containing either fetal bovine serum, human AB serum, human platelet lysate or xeno-free serum replacement. Then, the effect of different serum supplements on cell expansion, transfection efficiency, immunophenotypes and …


Comparison Of Radiation Dose And Image Quality Between Fast Kvp Switching Dual-Energy Ct And Routine Single-Energy Ct For Whole Abdomen At King Chulalongkorn Memorial Hospital, Chanthawan Khemkhangboon Jan 2022

Comparison Of Radiation Dose And Image Quality Between Fast Kvp Switching Dual-Energy Ct And Routine Single-Energy Ct For Whole Abdomen At King Chulalongkorn Memorial Hospital, Chanthawan Khemkhangboon

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Abdominal computed tomography (CT) using a single energy protocol is a common imaging procedure in hospitals. As CT technology has continued to evolve, dual-energy protocols (DECT) have emerged as a new option. A spectral CT scanner with fast kVp switching was installed at King Chulalongkorn Memorial Hospital in 2017, and its clinical utility in emergency patients has not yet been studied. This study aims to compare the radiation dose and image quality between DECT and SECT in abdominal CT for emergency patients. The study retrospectively collected CT data from 130 standard-sized adult patients who underwent contrast-enhanced using the 256-slice MDCT. …


A Randomized Controlled Trial Comparing The Diagnostic Yield Of Using Rapid On-Site Cytology Evaluation (Rose) And Without Using Rose In Radial Probe Endobronchial Ultrasound (R-Ebus) Guided Sheath Transbronchial Lung Biopsy With Bronchial Brushing In Peripheral Pulmonary Lesions, Kulchamai Silathapanasakul Jan 2022

A Randomized Controlled Trial Comparing The Diagnostic Yield Of Using Rapid On-Site Cytology Evaluation (Rose) And Without Using Rose In Radial Probe Endobronchial Ultrasound (R-Ebus) Guided Sheath Transbronchial Lung Biopsy With Bronchial Brushing In Peripheral Pulmonary Lesions, Kulchamai Silathapanasakul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

BACKGROUND: Radial Probe Endobronchial Ultrasonography (RP-EBUS) guided transbronchial biopsy with bronchial brushing is an effective way of tissue assessment for evaluating peripheral lung lesion combined with Rapid on-site Evaluation (ROSE). Our study aimed to evaluate the efficacy of ROSE add on RP-EBUS guided sheath transbronchial lung biopsy to improve the overall diagnostic yield. OBJECTIVES: The purpose of this study was to compare the diagnosis yield of peripheral lung lesions or nodules from the ROSE add on Radial Probe Endobronchial Ultrasonography (RP-EBUS) guided sheath transbronchial biopsy with bronchial brushing compared to the control group. METHODS: In this prospective randomized controlled trial …


Comparison Of Extubation Success Between Prophylactic Helmet Niv And Facemask Niv In High Risk Postextubation Patients;A Randomized Controlled Trial, Napat Jirawat Jan 2022

Comparison Of Extubation Success Between Prophylactic Helmet Niv And Facemask Niv In High Risk Postextubation Patients;A Randomized Controlled Trial, Napat Jirawat

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Background: Post-extubation respiratory failure is a common complication in planned extubated patients, which increases mortality, particularly in high-risk patients. Noninvasive ventilation (NIV) with a facemask effectively prevents post-extubation respiratory failure, but helmet NIV use immediately after extubation is still unproven. Objective: To compare the success rates of extubation with prophylactic helmet NIV and facemask NIV in the first 48 hours in patients at high risk of developing post-extubation respiratory failure. Methods: The study was a single-center randomized controlled trial. The data were analyzed for 114 patients at high risk of extubation failure between June 2022 and June 2023. Patients were …


Anxiety And Social Experience Stressors Of Lgbt In Thailand, Bunatta Aritatpokin Jan 2022

Anxiety And Social Experience Stressors Of Lgbt In Thailand, Bunatta Aritatpokin

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The enhancement of the quality of life, according to the Sustainable Development Goals set by the United Nations (UN-SDG), places importance in equality for all groups of people, in all aspects. In this regard, although the Thailand sphere has been praised for its efforts to demonstrate its progressiveness regarding equality for groups who are more vulnerable to stressors, in practice, it is still quite lacking which could cause issues with mental health, such as anxiety and other stressors. This descriptive cross sectional quantitative research study explores the anxiety and social experience stressors of once such group - those of different …