Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences

PDF

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Articles 541 - 564 of 564

Full-Text Articles in Entire DC Network

Effectiveness Of The Family Planning Intervention To Improve Reproductive Health Of Married Female Adolescents In Urban Slums Of Dhaka, Bangladesh : A Quasi-Experimental Study, Fauzia Akhter Huda Jan 2017

Effectiveness Of The Family Planning Intervention To Improve Reproductive Health Of Married Female Adolescents In Urban Slums Of Dhaka, Bangladesh : A Quasi-Experimental Study, Fauzia Akhter Huda

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Background: In Bangladesh, early marriage and childbearing has led to an adolescent fertility rate that is among the highest in the Asia pacific. More than half of the pregnancies (53%) among married adolescents in the country's urban slums is being unintended and is largely due to non-use or discontinuation of use of modern contraceptive methods. This study was aimed to assess the effectiveness of a married adolescent girls' club (MAG club) in terms of measuring differences in knowledge, attitude, practices, and unmet need for family planning among the married adolescent girls in urban slums of Dhaka, Bangladesh. Methods: This was …


Factors Influencing Quality Of Life Among Elderly Population With Type 2 Diabetes Mellitus: A Clinic Based Cross Sectional Study In Kathmandu Valley, Kriti Adhikari Jan 2017

Factors Influencing Quality Of Life Among Elderly Population With Type 2 Diabetes Mellitus: A Clinic Based Cross Sectional Study In Kathmandu Valley, Kriti Adhikari

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Background: Diabetes is one of the four priority non communicable disease whose worldwide prevalence is at an increasing trend and is accompanied by deterioration of quality of life especially that of the elderly population. Several factors contribute to influence quality of life among the elderly; therefore, this study aims to identify the factors that influence quality of life among elderly population of Kathmandu valley, Nepal Methods: A cross sectional survey was conducted among random sample of 310 elderly diabetic patients visiting diabetic clinic of Kathmandu Diabetes and Thyroid center in Kathmandu valley, Nepal. Translated Nepali version of WHOQOL BREF was …


Intelligent Pill Box To Improve Medical Adherence In Elderly With Hypertension : A Randomized Controlled Trial, Nanthakan Sungsuman Woodham Jan 2017

Intelligent Pill Box To Improve Medical Adherence In Elderly With Hypertension : A Randomized Controlled Trial, Nanthakan Sungsuman Woodham

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Background: Antihypertension medical adherence is important for controlling blood pressure in hypertension patients. Adherence to antihypertension medication among elderly Thai persons in the rural area is low, which contributes to uncontrolled blood pressure.
Objective: To examine whether an intreated education program and innovative pill box improves adherence to medications and to improve controlling blood pressure among Thai elderly persons with hypertension.
Methods: A randomized controlled trial. 200 elderly persons with hypertension who received at least one hypertension medication, at least once daily, were randomized into two groups. One group received the usual education program (control group) and the second group …


Prevalence Of Healthy Aging And Factors Associated In Thai Urban Elderly Bangkok Thailand, Onsiri Pitisuttithum Jan 2017

Prevalence Of Healthy Aging And Factors Associated In Thai Urban Elderly Bangkok Thailand, Onsiri Pitisuttithum

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Population aging is a global phenomenon affecting many countries including Thailand. Many challenges come with aging population such as economical, social and healthcare system challenges, and healthy aging is the key to these problems. Only a few studies have focused on the prevalence and associated factors of healthy aging in Thailand. This study aims to estimate prevalence of healthy aging and identify factors related to healthy aging among Thai urban elderly in Bangkok, Thailand. Data for this cross-sectional study were collected by face-to-face interviews using questionnaires at Lumpini park, Bangkok between April to May 2018. A total of 200 older …


Knowledge, Attitude, And Behavior Regarding Medical Social Work Among Health Care Professionals In Oncology Hospital- Ho Chi Minh City- Vietnam, Quynh Xuan Nguyen Truong Jan 2017

Knowledge, Attitude, And Behavior Regarding Medical Social Work Among Health Care Professionals In Oncology Hospital- Ho Chi Minh City- Vietnam, Quynh Xuan Nguyen Truong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Understanding the knowledge, attitude and behavior of healthcare providers about medical social work is very important to understand the challenges that social worker might face in multidiscipline teams or hospital settings; and the feasibility of adopting new policies. This study is designed to investigate knowledge attitude and behavior among healthcare professional towards medical social work in Oncology hospital in Ho Chi Minh city. The data of this cross-sectional study was collected by face - to face interviews with full-time medical staffs who have working in the Oncology hospital for more than one years. Based on the literature review and previous …


The Effectiveness Of A Diabetes Mellitus Pictorial Diary Handbook Program For Middle Aged And Elderly Type 2 Diabetes Mellitus Patients: A Quasi Experimental Study At Health Promoting Hospitals Taladnoi Saraburi Province Thailand, Rapat Eknithiset Jan 2017

The Effectiveness Of A Diabetes Mellitus Pictorial Diary Handbook Program For Middle Aged And Elderly Type 2 Diabetes Mellitus Patients: A Quasi Experimental Study At Health Promoting Hospitals Taladnoi Saraburi Province Thailand, Rapat Eknithiset

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The Pictorial Diary Handbook Program is a nonpharmacological treatment, designed for diabetes mellitus type 2 aged 50-70-year-old in Taladnoi, Horathep, and Khokyai Primary Care Unit which was based on Protection Motivation Theory. The general objective of this quasi-experimental study was to develop the Pictorial Diary Handbook Program for diabetes mellitus type 2 aged 50-70-year-old in Saraburi, Thailand. The specific objectives of this research were to 1) To compare the Biomarkers (Hba1c, FBS, BMI) between diabetes mellitus type II patients in the intervention group and the control group 2) To compare knowledge, perceived, and practice regarding self-care behavior on diet control, …


Quality Of Life Among Hypertension Population Age 45 Yearsand Above In Kathmandu Valley Nepal: A Hospital Based Cross-Sectional Study, Sasmrita Bastola Jan 2017

Quality Of Life Among Hypertension Population Age 45 Yearsand Above In Kathmandu Valley Nepal: A Hospital Based Cross-Sectional Study, Sasmrita Bastola

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The importance of the issue, in recent years, the disease has a high prevalence of the disease is higher in countries with low income. But there is a constant among the countries with high income. According to the World Health Organization It is estimated that in the year 2573 population of almost 23.6 million people will die from cardiovascular disease. The main cause of heart disease and intracranial hemorrhage. The main purpose of this research. To study the factors that affect quality of life. Patients with hypertension aged 45 years and over at the hospital. In the city of Kathmandu, …


Pretreatment Prognostic Factors To Predict Survival Outcome In Advanced Non-Small Cell Lung Cancer With First Line Treatment In Thailand: A Retrospective Cohort Study, Sureerat Jaruhathai Jan 2017

Pretreatment Prognostic Factors To Predict Survival Outcome In Advanced Non-Small Cell Lung Cancer With First Line Treatment In Thailand: A Retrospective Cohort Study, Sureerat Jaruhathai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Background: Tumor genetic information and biologic markers are often used as prognostic factors. However, these have limited applicable in real daily practice due to their high cost . Objective: To evaluate which inexpensive, convenient simple prognostic factors are associated with survival outcome with first line treatment among patients with advanced non-small cell lung cancer (NSCLC). Methods: Retrospectively reviewed the charts of patients diagnosed with having advanced NSCLC with no previous treatment seen at King Chulalongkorn Memorial Hospital and Police General Hospital during 1 January 2008-31 Dec 2013. Results: A total of 301 patients were included in the study; 68.1% males. …


Patient's Perception And Satisfaction On Dental Implant Therapy By Postgraduate Dental Students And Experienced Dentists, Pat Vipattanaporn Jan 2017

Patient's Perception And Satisfaction On Dental Implant Therapy By Postgraduate Dental Students And Experienced Dentists, Pat Vipattanaporn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Objective: To evaluate and compare patient's perception and satisfaction between patients who received dental treatment from postgraduate dental students and experienced dentists. Material and methods: This descriptive cross-sectional study was performed in patients who received the dental implant from Faculty of dentistry Chulalongkorn University. A data collection of patient's perception and satisfaction was done by questionnaire which was sent by mail. The questionnaire contained 23 statements including 7 statements of demographic data, 7 statements of perception, and 9 statements of satisfaction. The patient had to answer through the one-best-answer multiple choices and visual analog scale (VAS). Results: The 382 participants …


Knowledge, Attitude And Cultural Factors Towards Utilization Of Insecticide Treated Nets (Itns) Among Rakhine Ethnic Group In Ann Township, Rakhine State, Myanmar, Aung Phyo Oo Jan 2017

Knowledge, Attitude And Cultural Factors Towards Utilization Of Insecticide Treated Nets (Itns) Among Rakhine Ethnic Group In Ann Township, Rakhine State, Myanmar, Aung Phyo Oo

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study is to find associations between general characteristic, knowledge, attitudes and cultural factors on malaria prevention toward utilization of insecticidal nets (ITNs) among Rakhine ethnic groups, in Ann Township, Rakhine State, Myanmar. An analytic cross sectional study was conducted among 420 Rakhine ethnic groups aged more than 18 years old from 10 villages in Ann Township. Data were collected by using face-to-face interview. The study found only 3.6% of respondents had good knowledge level, 19.0% good attitude level and 38.8% good practice level towards utilization of ITNs. Female participants were 8.015 times had good practice level than male (p-value <0.001, AOR 8.015, 95% CI = 3.395-18.923). High school level participants likely to use ITNs for 14.518 times than lower education level (p-vale <0.001, AOR 14.518, 95% CI = 4.642-45.408). Married participants were 13.753 times done good practice (p-vale <0.001, AOR 13.753, 95% CI = 4.371-43.267) and widowed participants were 5.403 times done good practice than singles (p-vale 0.039, AOR 5.403, 95% CI = 1.085-26.909). Regarding the cultural factors, participants who always worked from dawn to night time were 2.203 times had good practice level than who never work at that time (p-vale 0.032, AOR 2.203, 95% CI = 1.070-4.536). Regarding knowledge level of the participants, moderate and good knowledge level were 5.125 times had good practice level than lower knowledge level participants (p-vale <0.001, AOR 5.125, 95% CI = 1.062-6.429). Health education and encouragement of people should be done to improve knowledge and utilization to use insecticide treated nets.


The Effect Of Religious Intervention On Depression And Quality Of Life Among Indonesian Elderly: A Quasi-Experimental Study, Bayu Anggileo Pramesona Jan 2017

The Effect Of Religious Intervention On Depression And Quality Of Life Among Indonesian Elderly: A Quasi-Experimental Study, Bayu Anggileo Pramesona

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Purpose: This study aimed to investigate the effect of religious intervention on depression and quality of life among Indonesian elderly in nursing homes (NHs). Methods: This was a quasi-experimental study with repeated measures. Sixty elderly residents at three NHs in three districts in Yogyakarta, Indonesia with the Geriatric Depression Scale (GDS) score of 5 to 11 were recruited and purposively assigned to the religious intervention group (combining 36 sessions of listening to Qur'anic recital and three sessions of attending a sermon by a preacher), n=30) and the control group (treatment as usual/TAU, n=30). The primary outcome was depression, measured by …


ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวต่อพฤติกรรมการเตรียมลำไส้เพื่อการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ทางทวารหนักในผู้สูงอายุ, กรพัชชา คล้ายพิกุล Jan 2017

ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวต่อพฤติกรรมการเตรียมลำไส้เพื่อการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ทางทวารหนักในผู้สูงอายุ, กรพัชชา คล้ายพิกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ เป็นงานวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการเตรียมลำไส้ของผู้สูงอายุที่เข้ารับการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ทางทวารหนัก ระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มารับการตรวจวินิจฉัยความผิดปกติของลำไส้ และเข้ารับการตรวจวินิจฉัยด้วยการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ทางทวารหนัก มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเข้า จำนวน 44 คน จับคู่กลุ่มตัวอย่างด้วย เพศ อายุ และชนิดของยาระบาย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 22 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัว ของ Ryan & Sawin (2009) เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยมี 3 ชุด คือเครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัว เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามวัดพฤติกรรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัว และ เครื่องมือกำกับการทดลอง ได้แก่ แบบวัดความรู้การเตรียมลำไส้ก่อนการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ทางทวารหนัก เครื่องมือผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน แบบวัดพฤติกรรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวต่อพฤติกรรมการเตรียมลำไส้ก่อนการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่มีค่าความเที่ยง 0.72 และแบบวัดความรู้การเตรียมลำไส้เพื่อการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ทางทวารหนัก มีค่าความเที่ยง 0.70 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ Mann Withney U test. ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ พฤติกรรมการเตรียมลำไส้ของผู้สูงอายุที่เข้ารับการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ทางทวารหนัก กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05


ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสิ้นยินดีของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า เขตภาคใต้, วนิดา อาแว Jan 2017

ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสิ้นยินดีของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า เขตภาคใต้, วนิดา อาแว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะสิ้นยินดีของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรร ได้แก่ เพศ อายุ ความรุนแรงของอาการย้ำคิดย้ำทำ ภาวะซึมเศร้า การทำหน้าที่ทางสังคม ความวิตกกังวล และเหตุการณ์ความเครียดในชีวิต กับภาวะสิ้นยินดีของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยอายุ 20 -59 ปี ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคซึมเศร้า สามารถฟัง พูดภาษาไทยได้ ร่วมมือดี ยินยอมในการให้ข้อมูล และไม่มีอาการทางจิต รับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลจิตเวชสังกัดกรมสุขภาพจิต เขตภาคใต้ โดยวิธีสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 144 ราย เครื่องมือที่ใช้ คือ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบวัดอาการย้ำคิดย้ำทำ 3) แบบวัดภาวะซึมเศร้า 4) แบบประเมินการทำหน้าที่ทางสังคม 5) แบบวัดความวิตกกังวล 6) แบบวัดเหตุการณ์เครียดในชีวิต และ 7) แบบวัด Temporal experience of pleasure scale (TEPS) เครื่องมือผ่านการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน และหาค่าความเที่ยงโดยใช้สูตรแอลฟ่าครอนบาค พบค่า ความเที่ยงของแบบสอบถาม ชุดที่ 2, 3, 4, 5 และ 7 เท่ากับ 0.98, 0.94, 0.85, 0.95 และ 0.92 ตามลำดับ ส่วนเแบบวัดเหตุการณ์เครียดในชีวิตหาค่าความเที่ยงภายนอกโดยวิธีการวัดซ้ำ พบค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.83 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติไคสแควร์และสถิติสหสัมพันธ์พอยท์ไบซีเรียล ผลวิจัย พบว่า 1. ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า มีภาวะสิ้นยินดี คิดเป็นร้อยละ 62.5 ( x = 3.52, S.D. = 1.03) 2. อายุ มีความสัมพันธ์กับภาวะสิ้นยินดีของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (rpb =.163) …


ผลของโปรแกรมฮิวแมนนิจูดต่อความวิตกกังวลของผู้สูงอายุที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักโรคหัวใจ, อัจฉราภรณ์ อยู่ยังเกตุ Jan 2017

ผลของโปรแกรมฮิวแมนนิจูดต่อความวิตกกังวลของผู้สูงอายุที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักโรคหัวใจ, อัจฉราภรณ์ อยู่ยังเกตุ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความวิตกกังวลของผู้สูงอายุที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักโรคหัวใจก่อนและหลังได้รับโปรแกรมฮิวแมนนิจูด และ 2) เปรียบเทียบความวิตกกังวลของผู้สูงอายุที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักโรคหัวใจระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมฮิวแมนนิจูดกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักโรคหัวใจ โรงพยาบาลราชวิถี โดยมีความวิตกกังวลขณะเผชิญอยู่ในระดับปานกลาง จำนวน 44 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 22 คน โดยทำการจับคู่ด้านอายุ เพศ และประสบการณ์ในการเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักโรคหัวใจ ทั้งนี้กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ส่วนกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมฮิวแมนนิจูด เป็นระยะเวลา 3 วัน วันละ 1 ครั้ง ครั้งละ 20-30 นาที เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ โปรแกรมฮิวแมนนิจูด เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินความวิตกกังวลขณะเผชิญ (The State Anxiety Inventory: Form X-I) ของ Spielberger et al. (1983) ฉบับแปลไทยโดย นิตยา คชภักดี และคณะ (2526 อ้างถึงใน พรพิศ เดชยศดี, 2550) มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ค่าเฉลี่ยคะแนนความวิตกกังวลของผู้สูงอายุที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักโรคหัวใจหลังได้รับโปรแกรมฮิวแมนนิจูดต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฮิวแมนนิจูดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<.05) 2. ค่าเฉลี่ยคะแนนความวิตกกังวลของผู้สูงอายุที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักโรคหัวใจกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมฮิวแมนนิจูดต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<.05)


การจำแนกเพศโดยการวัดมือและเท้าในประชากรไทย, เมทินี ร่มโพธิ์ทอง Jan 2017

การจำแนกเพศโดยการวัดมือและเท้าในประชากรไทย, เมทินี ร่มโพธิ์ทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การระบุเพศ เป็นหนึ่งในกระบวนการตรวจพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลทางนิติมานุษยวิทยา แม้ในปัจจุบันจะมีการตรวจพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลอยู่หลายวิธี แต่ในกรณีที่สภาพศพได้รับความเสียหายอย่างมาก หรือพบเป็นเพียงชิ้นส่วนของศพ อาจทำให้เกิดความยุ่งยากในการตรวจพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลด้วยสารพันธุกรรม การระบุเพศจะเป็นการจำกัดวงแคบลงเพื่อใช้ในการเปรียบเทียบข้อมูลก่อนและภายหลังการเสียชีวิต งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาค่าการวัดของขนาดของมือและเท้าเพื่อใช้ในการระบุเพศในประชากรไทย ทำการวิจัยโดยเก็บข้อมูลจากอาสาสมัครคนไทย จำนวน 400 คน (ชาย 200 คน หญิง 200 คน) อายุระหว่าง 20 - 60 ปี ทำการวัดขนาดของมือทั้งหมด 8 ตัวแปร และขนาดของเท้า ทั้งหมด 3 ตัวแปร ด้วยดิจิตอลคาลิเปอร์และบอร์ดวัดกระดูก ในหน่วยเซนติเมตรโดยให้ค่าความถูกต้องในระดับ 3 ทศนิยม คำนวณค่าทางสถิติเชิงพรรณนา พร้อมทั้งการวิเคราะห์การจำแนกเพศโดยใช้ค่า Cut-off point สถิติ Logistic regression analysis และคำนวณความถูกต้องในการจำแนกเพศด้วยโปรแกรม SPSS version 22 ผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยของมือและเท้าทุกตัวแปรในเพศชายมีขนาดใหญ่กว่าเพศหญิง และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.01) การวิเคราะห์การจำแนกเพศโดยการวัดขนาดของมือและเท้าในประชากรไทยด้วยค่า Cut-off point มีค่าความถูกต้องของการจำแนกเพศอยู่ในช่วงร้อยละ 76.25 - 93.5 และ 79.5 - 93.75 ตามลำดับ และเมื่อนำค่า Cut-off point ไปใช้ในการจำแนกเพศในกลุ่มทดสอบที่เป็นผู้เสียชีวิต จำนวน 100 ราย พบว่าสามารถจำแนกเพศได้โดยมีค่าความถูกต้องเฉลี่ยอยู่ในช่วงร้อยละ 74 - 94 และ 63 -75 ตามลำดับ ส่วนการสร้างสมการถดถอยโลจิสติคจากขนาดของมือและเท้าจากตำแหน่งอ้างอิงต่างๆ มีค่าความถูกต้องของการจำแนกเพศโดยใช้ขนาดของมือและเท้าอยู่ในช่วงร้อยละ 92 - 93.5 และ 94 - 96 ตามลำดับ และเมื่อนำสมการไปใช้ในกลุ่มทดสอบ พบว่าสามารถจำแนกเพศได้โดยมีความถูกต้องเฉลี่ยร้อยละ 82 - 94 และ 84 ตามลำดับ การศึกษาในครั้งนี้พบว่า ขนาดของมือและเท้าสามารถใช้ในการจำแนกเพศในประชากรไทยและมีค่าความถูกต้องที่เชื่อถือได้ โดยวิธีการวิเคราะห์สมการถดถอยโลจิสติคมีค่าความถูกต้องของการจำแนกเพศสูงกว่าการใช้ค่า Cut-off point จึงควรนำสมการถดถอยโลจิสติคที่ได้ไปใช้ในการจำแนกเพศในประชากรไทย


ความชุกของไวรัสที่มาจากยุงในผู้ป่วยที่มีไข้เฉียบพลัน ในประเทศไทย, 2558-2559, วริษฐา เพ็ชรสม Jan 2017

ความชุกของไวรัสที่มาจากยุงในผู้ป่วยที่มีไข้เฉียบพลัน ในประเทศไทย, 2558-2559, วริษฐา เพ็ชรสม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ไข้เฉียบพลัน หมายถึง มีอาการไข้โดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด อาการไข้เกิดขึ้นภายใน 1 สัปดาห์ ตามคำจำกัดความ การมีไข้ หมายถึง มีอุณหภูมิของร่างกายเกิน 37.5 องศาเซลเซียส ตามคำจำกัดความ จะให้มีไข้ไม่เกิน 1 สัปดาห์ ในผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรงดี ไข้เฉียบพลันที่ไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด หรือลักษณะอาการบ่งบอกที่แน่ชัดว่ามีสาเหตุจากอะไร พบได้บ่อย (ในรายที่มีไข้และรู้สาเหตุที่แน่ชัด เช่น เป็นฝี มีหนองการอักเสบของแขนและขา โรคทางเดินหายใจ เช่น ไข้หวัดใหญ่ เราก็จะไม่เรียกว่า ไข้เฉียบพลัน) ไข้เฉียบพลันในประเทศไทย จึงมีสาเหตุมาจากหลายอย่าง แต่ที่พบบ่อย เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัส เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเขตร้อน (tropical) ซึ่งเป็นเขตที่มียุงชุกชุม เพราะมีสภาพแวดล้อม ได้แก่ มีป่าไม้ แหล่งน้ำ อุณหภูมิ และความชื้น ที่เหมาะสมต่อการแพร่พันธุ์ของยุง ซึ่งยุงเป็นพาหะของโรคติดเชื้อไวรัส ที่เป็นสาเหตุของไข้เฉียบพลัน ในประเทศไทย ได้แก่ ไวรัสเดงกี่ (dengue virus) ไวรัสชิคุนกุนยา (chikungunya virus) และไวรัสซิกา (Zika virus) โดยในการศึกษานี้ จะศึกษาความชุกของไข้เลือดออก ไวรัสชิคุนกุนยา และไวรัสซิกา ในผู้ป่วยที่มีไข้เฉียบพลัน ในประเทศไทย ช่วงปี พ.ศ. 2558 - 2559 โดยการตรวจวินิจฉัยไวรัสเดงกี่ จากผู้ป่วยไข้เฉียบพลันทั้งหมด 1,918 ราย ด้วยเทคนิค Semi-nested RT-PCR ตรวจวินิจฉัยไวรัสชิคุนกยา 1,753 ราย และไวรัสซิกา 1,949 ราย ด้วย Real-time RT-PCR จากนั้นเลือกตัวอย่างผู้ป่วยไข้เฉียบพลันที่ทราบจำนวนวันเป็นไข้ มาทั้งหมด 367 ราย เพื่อมาตรวจหาโปรตีน NS1, IgM และ IgG antibodies (Dengue markers) ด้วย ELISA พบว่าการติดเชื้อไวรัสเดงกี่ ทั้งหมด 181 …


การวิเคราะห์ท่าทางการว่ายน้ำใต้น้ำหลังการกระโดดระหว่างการกระโดดที่ระยะทางแตกต่างกันในนักกีฬาว่ายน้ำชาย อายุ 18-25 ปี, ปนัดดา ลี้ยาง Jan 2017

การวิเคราะห์ท่าทางการว่ายน้ำใต้น้ำหลังการกระโดดระหว่างการกระโดดที่ระยะทางแตกต่างกันในนักกีฬาว่ายน้ำชาย อายุ 18-25 ปี, ปนัดดา ลี้ยาง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาท่าทางการเคลื่อนไหวใต้น้ำหลังกระโดดน้ำ โดยมุ่งศึกษาเปรียบเทียบว่าการกระโดดน้ำด้วยระยะทางที่แตกต่างกันส่งผลต่อตัวแปรที่สัมพันธ์ต่อประสิทธิภาพในช่วงการเคลื่อนไหวใต้น้ำอย่างไร วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาว่ายน้ำชายอายุระหว่าง 18 – 25 ปี จำนวน 13 คน มีความถนัดในการกระโดดน้ำท่าเท้านำเท้าตาม (Track Start) และเคยเข้าร่วมการแข่งขันระดับกีฬาแห่งชาติ กีฬามหาวิทยาลัย หรือการแข่งขันว่ายน้ำชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย โดยกำหนดให้นักกีฬากระโดดน้ำท่าเท้านำเท้าตามที่ระยะกระโดดใกล้ และระยะที่ไกล (บันทึกภาพการเคลื่อนไหวใต้น้ำโดยกล้องความถี่สูงจำนวน 6 ตัว วิเคราะห์การเคลื่อนไหวด้วยโปรแกรม Qualisys Motion Capture เพื่อหาระยะที่ศีรษะลงลึกที่สุดจากผิวน้ำ ระยะที่เท้าลงลึกที่สุดจากผิวน้ำ ระยะทางที่เริ่มเตะขาครั้งแรก ความเร็วแนวราบขณะเตะขาใต้น้ำ และความเร็วแนวราบขณะว่ายน้ำใต้น้ำ นำค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของตัวแปรดังกล่าวมาเปรียบเทียบระหว่างระยะทางในการกระโดดด้วยด้วยค่าทีรายคู่ (Paired t-test) และเปรียบเทียบช่วงว่ายน้ำใต้น้ำทั้ง 3 รอบการเตะด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวชนิดวัดซ้ำ (One–way ANOVA with repeated measures ) โดยกำหนดระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value ≤ .05 ผลการวิจัย: ระยะทางกระโดดไกลส่งผลให้ ระยะที่ศีรษะและเท้าลงลึกที่สุด ลึกน้อยกว่า ในขณะที่ระยะทางที่เริ่มเตะขาครั้งแรกไกลกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับการกระโดดใกล้ อย่างมีนัยสำคัญ ส่งผลให้ช่วงว่ายน้ำใต้น้ำมีความเร็วในการเคลื่อนที่ในแนวราบไม่ต่างกัน ในทางตรงกันข้ามเมื่อกระโดดที่ระยะใกล้ ความเร็วในแนวราบของการเตะขารอบที่ 1 น้อยกว่ารอบที่ 3 อย่างมีนัยสำคัญ สรุปผลการวิจัย: แม้ว่าการกระโดดน้ำแบบเท้านำเท้าตามที่ระยะใกล้ ใช้เวลาในการมุดน้ำไม่แตกต่างจากการกระโดดที่ระยะไกล แต่การกระโดดที่ระยะไกลจะส่งผลให้ศีรษะและเท้าลงลึกน้อยกว่าโดยอยู่ในระดับความลึกที่เหมาะสมต่อการว่ายน้ำใต้น้ำ จึงมีความเร็วในแนวราบของการว่ายไม่แตกต่างกันของการตีขาทั้ง 3 รอบ ส่งผลให้ใช้เวลาในช่วงออกตัวน้อยกว่าการกระโดดที่ใกล้


ผลของรูปแบบการออกกำลังกายด้วยท่าฝึกโขนเบื้องต้นที่มีต่อสมรรถภาพในการปฏิบัติกิจกรรม การทรงตัวและคุณภาพชีวิตในผู้สูงอายุ, ลดาวัลย์ ชุติมากุล Jan 2017

ผลของรูปแบบการออกกำลังกายด้วยท่าฝึกโขนเบื้องต้นที่มีต่อสมรรถภาพในการปฏิบัติกิจกรรม การทรงตัวและคุณภาพชีวิตในผู้สูงอายุ, ลดาวัลย์ ชุติมากุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของการออกกำลังกายด้วยท่าฝึกโขนเบื้องต้นต่อสมรรถภาพในการปฏิบัติกิจกรรม การทรงตัว คุณภาพชีวิตและภาวะกลัวการล้มในผู้สูงอายุไทย รูปแบบการออกกำลังกายด้วยท่าฝึกโขนเบื้องต้นมีคุณภาพผ่านการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ โดยการหาความตรงเชิงเนื้อหาจากการประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิ มีดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.86 ส่วนการทดสอบความเที่ยงมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.98 จากนั้นนำรูปแบบการออกกำลังกายด้วยท่าฝึกโขนเบื้องต้นมาศึกษาในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นอาสาสมัครผู้สูงอายุจำนวน 44 คน อายุ 60-65 ปี แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มออกกำลังกายด้วยท่าฝึกโขนเบื้องต้น ใช้เวลา 60 นาทีต่อวัน ความถี่ 3 วันต่อสัปดาห์ ระยะเวลา 12 สัปดาห์ ระดับความหนัก 45-55% ของอัตราการเต้นหัวใจสำรอง และกลุ่มควบคุมดำเนินชีวิตประจำวันตามปกติ เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการทดลอง 12 สัปดาห์ ทดสอบสมรรถภาพในการปฏิบัติกิจกรรม ได้แก่ การยืนนั่งบนเก้าอี้ การงอแขนยกน้ำหนัก การยืนยกเท้าขึ้นลงในเวลา 2 นาที การนั่งเก้าอี้แตะปลายเท้า การทำมือไขว้หลังแตะกัน การเดินไปกลับระยะ 8 ฟุต และดัชนีมวลกาย ประเมินความสามารถในการทรงตัวประกอบด้วย การทรงตัวขณะยืนอยู่กับที่โดยเครื่อง BioSway และการทรงตัวขณะทำกิจกรรมด้วยแบบประเมินของเบิร์ก ประเมินคุณภาพชีวิตโดยเครื่องมือวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย และภาวะกลัวการล้มโดยแบบสอบถาม ข้อมูลที่เก็บรวบรวมนำมาวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทำการเปรียบเทียบตัวแปรก่อนและหลังการทดลองโดยใช้การทดสอบค่าทีรายคู่ และเปรียบเทียบตัวแปรหลังการศึกษาระหว่างกลุ่มโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม กำหนดระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติเท่ากับ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มออกกำลังกายด้วยท่าฝึกโขนเบื้องต้นมีสมรรถภาพในการปฏิบัติกิจกรรมดีขึ้นจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ การยืนยกเท้าขึ้นลงในเวลา 2 นาที การนั่งเก้าอี้แตะปลายเท้า การเดินไปกลับระยะ 8 ฟุต และดัชนีมวลกาย แต่การทรงตัวขณะยืนอยู่กับที่และขณะทำกิจกรรม คุณภาพชีวิตและภาวะกลัวการล้มไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนกลุ่มควบคุมทุกตัวแปรไม่มีความแตกต่างระหว่างก่อนและหลังการทดลอง เมื่อพิจารณาความแตกต่างระหว่างกลุ่มหลังการทดลอง 12 สัปดาห์พบว่า สมรรถภาพในการปฏิบัติกิจกรรมที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ การยืนนั่งบนเก้าอี้ การยืนยกเท้าขึ้นลงในเวลา 2 นาที การนั่งเก้าอี้แตะปลายเท้า การเดินไปกลับระยะ 8 ฟุต และคุณภาพชีวิตด้านร่างกายของกลุ่มออกกำลังกายด้วยท่าฝึกโขนเบื้องต้นแตกต่างกับกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนการทรงตัวขณะยืนอยู่กับที่และขณะทำกิจกรรม ภาวะกลัวการล้มไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปได้ว่า การออกกำลังกายด้วยท่าฝึกโขนเบื้องต้นทำให้สมรรถภาพในการปฏิบัติกิจกรรมของผู้สูงอายุดีขึ้น โดยส่งผลต่อความแข็งแรงและความอดทนกล้ามเนื้อขา ความอดทนของระบบการไหลเวียนโลหิตและการหายใจ ความยืดหยุ่นกล้ามเนื้อขา การทรงตัวขณะเคลื่อนไหวกับความคล่องแคล่ว …


การศึกษาความสัมพันธ์ของระดับการติดสีสารมิวซินในชิ้นเนื้อของผู้ป่วยโรคผื่นผิวหนังลูปัสอีริย์ธีมาโตซัส ชนิดดิสคอยด์ กับการเป็นการเป็นโรคลูปัสอีริย์ทีมาโตซัสทั่วร่างในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, เบญจพร ศรีสันติธรรม Jan 2017

การศึกษาความสัมพันธ์ของระดับการติดสีสารมิวซินในชิ้นเนื้อของผู้ป่วยโรคผื่นผิวหนังลูปัสอีริย์ธีมาโตซัส ชนิดดิสคอยด์ กับการเป็นการเป็นโรคลูปัสอีริย์ทีมาโตซัสทั่วร่างในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, เบญจพร ศรีสันติธรรม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มา: การติดสีของสารมิวซินในชั้นหนังแท้เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ใช้ช่วยในการวินิจฉัยโรคผื่นผิวหนังลูปัสอีริย์ทีมาโตซัส ชนิดดิสคอยด์ และในการะบวนเกิดโรค สารมิวซินในชั้นหนังแท้เป็นสิ่งที่ทำให้ผื่นผิวหนังอักเสบมากขึ้น อย่างไรก็ตามยังไม่เคยมีการศึกษาว่าการติดสีของสารมิวซินเป็นปัจจัยบอกการเกิดโรคลูปัสอีริย์ทีมาโตซัสทั่วร่างในผู้ป่วยมาก่อน
วัตถุประสงค์: ต้องการศึกษาความสามารถในการพยากรณ์การเกิดโรคลูปัสอีริย์ทีมาโตซัสทั่วร่าง (เอสแอลอี) ในผู้ป่วยโรคผื่นผิวหนังลูปัสอีริย์ทีมาโตซัส ชนิดดิสคอยด์ โดยใช้ระดับการติดสีของสารมิวซินในชั้นหนังแท้เป็นงานวิจัยแบบ exploratory study เพื่อมุ่งหวังงานวิจัยต่อยอด
วิธีการศึกษา: การวิจัย ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยการสืบค้นผู้ป่วยที่วินิจฉัยว่าเป็นโรคผื่นผิวหนังลูปัสอีริย์ทีมาโตซัส ชนิดดิสคอยด์จากการผลพยาธิวิทยา ตั้งแต่ปี 2554-2560 จำนวน 77 คน ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย นำชิ้นเนื้อมาย้อมสี H&E, PAS, Alcian blue เพื่อยืนยันการวินิจฉัย และประเมินการติดสีมิวซินจากชั้น papillary dermis, supficial reticular dermis, deep reticular dermis โดยให้คะแนน 0-3 ในแต่ละชั้น (mucin score) หลังจากนั้นเก็บข้อมูลการวินิจฉัยโรคลูปัสอีริย์ทีมาโตซัสทั่วร่างและผลทางห้องปฏิบัติการของผู้ป่วยจากเวชระเบียน
ผลการศึกษา: : พบผู้ป่วยโรคผื่นผิวหนังลูปัสอีริย์ทีมาโตซัส ชนิดดิสคอยด์อย่างเดียว จำนวน 49 คน ผู้ป่วยโรคผื่นผิวหนังลูปัสอีริย์ทีมาโตซัส ชนิดดิสคอยด์ที่พัฒนาเป็นโรคลูปัสอีริย์ทีมาโตซัสทั่วร่าง จำนวน 8 คน ผู้ป่วยโรคลูปัสอีริย์ทีมาโตซัสทั่วร่างที่มีผื่นผิวหนังลูปัสอีริย์ทีมาโตซัสชนิดดิสคอยด์ภายหลัง จำนวน 5 คน และผู้ป่วยโรคลูปัสอีริย์ทีมาโตซัสทั่วร่างที่มีผื่นผิวหนังลูปัสอีริย์ทีมาโตซัสชนิดดิสคอยด์ พร้อมกันขณะวินิจฉัย จำนวน 15 คน พบว่าค่าเฉลี่ยของการติดสีสารมิวซิน [OR=0.97 (95%CI0.49-1.92)] ค่าสูงสุดของการติดสีสารมิวซิน [OR=0.98 (95%CI0.6-1.58)] การติดสีของสารมิวซินแต่ละชั้นหนังแท้ [Papillary dermis : OR=0.7 (95%0.31-1.57), Superficial reticular dermis: OR=1.06 (95%CI0.62-1.85), Deep reticular dermis: OR=1.04 (95%CI0.64-1.66)] และการพบการติดสีของสารมิวซิน [OR=1.01 (95%CI0.31-3.32] ในชิ้นเนื้อของผู้ป่วยผื่นผิวหนังลูปัสอีริย์ทีมาโตซัสชนิดดิสคอยด์ ไม่สัมพันธ์กับการเป็นโรคโรคลูปัสอีริย์ทีมาโตซัสทั่วร่าง โดยปรับปัจจัยเรื่องของเพศและการกระจายของผื่น นอกจากนี้ยังพบว่าค่าเฉลี่ยของการติดสีสารมิวซินมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในผู้ป่วยโรคผื่นผิวหนังลูปัสอีริย์ทีมาโตซัสชนิดดิสคอยด์ที่สูบบุหรี่และไม่สูบบุหรี่ …


การเปลี่ยนแปลงระดับแองจิโอเทนซินทูในซีรั่มผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรังก่อนและหลังรักษาหายด้วยยาต้านเชื้อไวรัสที่ออกฤทธิ์โดยตรง, ณิชา ธีราทร Jan 2017

การเปลี่ยนแปลงระดับแองจิโอเทนซินทูในซีรั่มผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรังก่อนและหลังรักษาหายด้วยยาต้านเชื้อไวรัสที่ออกฤทธิ์โดยตรง, ณิชา ธีราทร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บทนำ: ในสัตว์ทดลอง แองจิโอเทนซินทูทำให้เกิดพังผืดในตับผ่านระบบเรนิน-แองจิโอเทนซิน-แองจิโอเทนซินทู ต่อมามีการค้นพบระบบแองจิโอเทนซินทู-แองจิโอเทนซิน-(1-7)-ตัวรับแมสซึ่งมีผลให้พังผืดในตับลดน้อยลง การรักษาไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรังหายขาดส่งผลลดพังผืดในตับโดยมีหลักฐานทั้งทางพยาธิวิทยาและรังสีวิทยา นอกจากนี้ การตรวจไซโตไคน์จากเลือดสามารถแสดงการลดลงของสารที่ทำให้เกิดพังผืดและการเพิ่มขึ้นของสารที่สลายพังผืดในตับได้เช่นกัน วัตถุประสงค์: ศึกษาการเปลี่ยนแปลงระดับแองจิโอเทนซินทูหลังจากรักษาไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรังหายขาดด้วยยาต้านเชื้อไวรัสที่ออกฤทธิ์โดยตรง ระเบียบวิธีการวิจัย: การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบไปข้างหน้าในผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรังที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านเชื้อไวรัสที่ออกฤทธิ์โดยตรงในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ระหว่างเดือนกรกฎาคม 2560 ถึงเดือนกันยายน 2561 โดยคัดผู้ป่วยที่มีปัจจัยกระทบต่อระบบแองจิโอเทนซินทูออก เก็บข้อมูลผู้ป่วยและตัวอย่างเลือดก่อนและหลังจากหยุดการรักษาสัปดาห์ที่ 12 ตรวจระดับแองจิโอเทสซินทูด้วยวิธีวิธีเอนไซม์ลิงค์อิมมูโนซอร์เบนท์เอสเสย์ และวัดความยืดหยุ่นของตับก่อนรักษาและหลังรักษา 48 สัปดาห์ ผลการศึกษา: ผู้ป่วย 40 คน อายุเฉลี่ย 57±10.4 ปี เป็นผู้ชายร้อยละ 52 ค่ามัธยฐานความยืดหยุ่นของตับลดลงจาก 14.3 kPa เป็น 8.6 kPa ที่สัปดาห์ที่ 48 ค่ามัธยฐานของระดับแองจิโอเทนซินทูในซีรั่ม ก่อนรักษาเท่ากับ 149.0 ng/mL (พิสัยระหว่างควอไทล์ 115.4 pg/mL) เพิ่มขึ้นเป็น 286.88 pg/mL (พิสัยระหว่างควอไทล์ 191.1 pg/mL) หลังจากหยุดรักษาสัปดาห์ที่ 12 (p<0.001) สรุป: หลังจากรักษาไวรัสตับอักเสบซีหายขาดด้วยยาต้านเชื้อไวรัสที่ออกฤทธิ์โดยตรง ค่าความยืดหยุ่นของตับลดลงและแองจิโอเทนซินทูในซีรั่มเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


ความชุกของความผิดปกติจากการตรวจหัวใจด้วยคลื่นสะท้อนความถี่สูงในผู้สูงอายุที่ติดเชื้อและไม่ติดเชื้อเอชไอวีในประเทศไทยภายหลังได้รับการรักษา, วีระยุทธ ธิมาภรณ์ Jan 2017

ความชุกของความผิดปกติจากการตรวจหัวใจด้วยคลื่นสะท้อนความถี่สูงในผู้สูงอายุที่ติดเชื้อและไม่ติดเชื้อเอชไอวีในประเทศไทยภายหลังได้รับการรักษา, วีระยุทธ ธิมาภรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มา: ในยุคของการรักษาการติดเชื้อเอชไอวีด้วยยาต้านไวรัสที่มีประสิทธิภาพสูง โรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือดได้กลายเป็นปัญหาสำคัญในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี มีการศึกษาพบความผิดปกติหลายประการจากการตรวจหัวใจด้วยคลื่นสะท้อนความถี่สูงรวมถึงความผิดปกติในช่วงการคลายตัวของหัวใจ ซึ่งยังไม่มีข้อมูลนี้ในประชากรไทยสูงอายุ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกของความผิดปกติของหัวใจที่ตรวจพบด้วยคลื่นสะท้อนความถี่สูงในผู้ป่วยไทยวัยสูงอายุที่ติดเชื้อเอชไอวีโดยไม่มีอาการและสามารถควบคุมปริมาณไวรัสได้เปรียบเทียบกับผู้ที่ไม่ติดเชื้อ
วิธีการศึกษา: การศึกษาโดยสังเกตการณ์ ณ จุดเวลาใด โดยมีกลุ่มควบคุมที่ได้รับการแบ่งกลุ่มตัวอย่างแบบโควตาโดยกลุ่มอายุและเพศเดียวกัน มีผู้เข้าร่วมการศึกษาทั้งสิ้น 398 คนที่ไม่มีโรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือดและเป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวี 298 คน (ร้อยละ 75) และได้รับการตรวจหัวใจด้วยคลื่นสะท้อนความถี่สูง แปลผลโดยผู้สังเกตการณ์คนเดียวที่ไม่ทราบสถานะการติดเชื้อเอชไอวีของผู้เข้าร่วมการศึกษา
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีมีมัธยฐานของจำนวน CD4 614 เซลล์/ลบ.มม. ร้อยละ 97.35 สามารถควบคุมปริมาณไวรัสได้ และได้รับยาต้านไวรัสเป็นระยะเวลาที่มัธยฐาน 16.2 ปี พบความชุกของความผิดปกติในช่วงการบีบตัวของหัวใจ ร้อยละ 1.1 ความผิดปกติในช่วงการคลายตัวของหัวใจร้อยละ 24.2 และความดันหลอดเลือดปอดสูง ร้อยละ 3.7 โดยไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มไม่ติดเชื้อ และผลการตรวจหัวใจด้วยคลื่นสะท้อนความถี่สูงระหว่างสองกลุ่มตัวอย่างไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อายุ > 60ปี, ดัชนีมวลกาย > 23 กก./ตร.ม., ความเสี่ยง ASCVD สูง, ความดันโลหิตสูง, เบาหวาน, กลุ่มอาการเมแทบอลิก มีความสัมพันธ์กับความผิดปกติในช่วงการคลายตัวของหัวใจ และ เพศหญิง, การได้รับยากลุ่มสแตติน และ ดัชนีปริมาตรของหัวใจห้องบนซ้าย > 34 มล./ตร.ม. มีความสัมพันธ์กับความดันหลอดเลือดปอดสูง
สรุปผล: ความชุกของความผิดปกติในช่วงการบีบตัวของหัวใจและความดันระบบไหลเวียนปอดสูงของผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีชาวไทยวัยสูงอายุในการศึกษานี้ต่ำ ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของความผิดปกติในช่วงการคลายตัวของหัวใจและผลการตรวจหัวใจด้วยคลื่นสะท้อนความถี่สูงเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ไม่ติดเชื้อที่กลุ่มอายุและเพศเดียวกัน


สุขภาพจิตและระยะเวลาความสัมพันธ์ของชายรักชาย ณ สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย, เอกเทพ ไมเกิ้ล Jan 2017

สุขภาพจิตและระยะเวลาความสัมพันธ์ของชายรักชาย ณ สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย, เอกเทพ ไมเกิ้ล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ชายรักชายเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงเรื่องสุขภาพจิตเนื่องจากสภาพสังคมที่ไม่ยอมรับ, การเหยียดเพศ, แบ่งแยกเรื่องเพศ เกิดเป็นตราบาป การเปิดเผยรสนิยมทางเพศจึงเป็นความกดดันของกลุ่มชายรักชายให้ต้องปิดบังและไม่สามารถเป็นตัวของตัวเองทางเพศได้ ก่อให้เกิดความเครียดความกดดัน จนอาจเป็นปัญหาทางสุขภาพจิตได้ จากงานวิจัยในปัจจุบันเกี่ยวกับสุขภาพจิตของชายรักชายยังมีข้อมูลขัดแย้งกัน บางรายงานพบว่าชายรักชายมีปัญหาสุขภาพจิตมากกว่ารักต่างเพศ แต่บางงานวิจัยพบว่าไม่แตกต่างกัน ประเทศไทยมีสภาพสังคมและวัฒนธรรมที่มีลักษณะเฉพาะ แม้จะเปิดกว้างมากขึ้นในเรื่องชายรักชาย แต่ก็มีการกีดกันทางเพศอยู่ นอกจากนี้งานวิจัยด้านสุขภาพจิตของกลุ่มชายรักชายในประเทศไทยยังมีจำกัด งานวิจัยฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาสุขภาพจิตของชายรักชายว่าเป็นอย่างไรและมีปัจจัยใดบ้างที่เกี่ยวข้อง ความสัมพันธ์เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญต่อสุขภาพจิต ความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดมั่นคง พึ่งพาได้เมื่อต้องการจะส่งผลให้มีสุขภาพจิตที่ดี แต่งานวิจัยส่วนใหญ่ศึกษาความสัมพันธ์ในกลุ่มรักต่างเพศ จึงยังมีงานวิจัยจำกัดในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างชายรักชาย งานวิจัยนี้จึงมีอีกจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของชายรักชายในประเทศไทย ทั้งระยะเวลาความสัมพันธ์ รูปแบบความสัมพันธ์ ทั้งยังวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาพจิตและระยะเวลาของความสัมพันธ์ในชายรักชายอีกด้วย งานวิจัยฉบับนี้เป็นการศึกษาแบบตัดขวาง ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง ผ่านการพิจารณาจริยธรรมแล้วและได้ขอความยินยอมจากผู้เข้าร่วมวิจัย ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล, แบบสอบถามความรักสามเหลี่ยมของสเติร์นเบิร์ก, แบบสอบถามสุขภาพทั่วไปและแบบประเมินวัดดัชนีความสุขคนไทยในผู้เข้าร่วมชายรักชาย 106 คนในสมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย และวิเคราะห์ผลด้วยสถิติร้อยละ, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, independent samples t - test, one - way ANOVA, Spearman correlation และ multiple linear regression จากการศึกษาพบว่า ชายรักชายมีอายุเฉลี่ย 27.6 ปี ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง วุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป ชายรักชายร้อยละ 87.6 มีคะแนนแบบสอบถามสุขภาพทั่วไปอยู่ในเกณฑ์ปกติ และชายรักชายที่น่าจะมีความผิดปกติทางจิตเวชมีความผิดปกติด้านอาการวิตกกังวล และนอนไม่หลับมากที่สุด และเมื่อเปรียบเทียบกับประชากรทั่วไปพบว่าสุขภาพจิตของชายรักชายไม่แตกต่างจากประชากรทั่วไป มีปัจจัยที่สัมพันธ์กับสุขภาพจิตเมื่อวัดด้วยแบบสอบถามสุขภาพทั่วไปคือ สถานภาพสมรสของบิดามารดาและจำนวนแฟนโดยชายรักชายที่เคยมีแฟนมาแล้ว 1-4 คนมีคะแนนที่ได้จากแบบสอบถามสุขภาพทั่วไปมากกว่าชายรักชายที่ไม่เคยมีแฟน และชายรักชายที่มีสถานภาพสมรสของบิดามารดาแบบบิดามารดาอยู่ด้วยกัน และบิดามารดาหย่าร้างหรือแยกกันอยู่ มีคะแนนมากกว่าชายรักชายที่มีบิดาและ/หรือมารดาเสียชีวิต เรื่องความสัมพันธ์ของชายรักชาย พบว่าระยะเวลาความสัมพันธ์กับคนรักเฉลี่ย 26.5 เดือน รูปแบบความสัมพันธ์ส่วนใหญ่เป็นแบบความรักที่สมบูรณ์แบบ ส่วนปัจจัยที่สัมพันธ์กับระยะเวลาความสัมพันธ์กับคนรักที่ยาวนาน คือ อายุ 28-36 ปีและรายได้ 38,001 - 54,000 บาท/เดือน สรุป ชายรักชายโดยทั่วไปมีสุขภาพจิตอยู่ในเกณฑ์ปกติและไม่แตกต่างจากประชากรทั่วไปซึ่งมีความสัมพันธ์กับสถานภาพสมรสของบิดามารดาและจำนวนแฟน และมีระยะเวลาที่คบหากับคนรักเฉลี่ย 26.5 เดือน มีความสัมพันธ์กับอายุและรายได้การศึกษาฉบับนี้ทำให้เข้าใจสุขภาพจิตและความสัมพันธ์ของชายรักชาย อาจเป็นแนวทางศึกษาวิจัยการส่งเสริมสุขภาพจิตในกลุ่มชายรักชายต่อไป


Potentials Of Ivabradine To Improve Cardiac Function In Dogs With Naturally Occurring, Asymptomatic Degenerative Mitral Valve Disease, Prapawadee Pirintr Jan 2017

Potentials Of Ivabradine To Improve Cardiac Function In Dogs With Naturally Occurring, Asymptomatic Degenerative Mitral Valve Disease, Prapawadee Pirintr

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The main hypothesis of the present study is that ivabradine (1.0 mg/kg, orally, twice daily) can reduce heart rate (HR), myocardial oxygen consumption (MVO2) and improve cardiac function in dogs with degenerative mitral valve disease (DMVD) partly due to a reduction of cardiomyocyte apoptosis. In order to test the hypothesis, this study was divided into three parts. The first part aimed to determine the appropriate single oral dose of ivabradine for reduction of HR and MVO2 as assessed by rate-pressure product (RPP= HR x systolic blood pressure). Once the appropriate dose was achieved, the second part was conducted to investigate …


Potentials Of Ivabradine To Improve Cardiac Function In Dogs With Naturally Occurring, Asymptomatic Degenerative Mitral Valve Disease, Prapawadee Pirintr Jan 2017

Potentials Of Ivabradine To Improve Cardiac Function In Dogs With Naturally Occurring, Asymptomatic Degenerative Mitral Valve Disease, Prapawadee Pirintr

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The main hypothesis of the present study is that ivabradine (1.0 mg/kg, orally, twice daily) can reduce heart rate (HR), myocardial oxygen consumption (MVO2) and improve cardiac function in dogs with degenerative mitral valve disease (DMVD) partly due to a reduction of cardiomyocyte apoptosis. In order to test the hypothesis, this study was divided into three parts. The first part aimed to determine the appropriate single oral dose of ivabradine for reduction of HR and MVO2 as assessed by rate-pressure product (RPP= HR x systolic blood pressure). Once the appropriate dose was achieved, the second part was conducted to investigate …