Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Communication Technology and New Media

Chulalongkorn University

Theses/Dissertations

Articles 31 - 60 of 342

Full-Text Articles in Entire DC Network

อิทธิพลของยูทูบเบอร์สายรีวิวอาหารต่อพฤติกรรมการรับประทานตามของกลุ่มผู้ใช้ยูทูบ, อังค์ริสา ธีระพันธ์ Jan 2022

อิทธิพลของยูทูบเบอร์สายรีวิวอาหารต่อพฤติกรรมการรับประทานตามของกลุ่มผู้ใช้ยูทูบ, อังค์ริสา ธีระพันธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสำรวจพฤติกรรมการเปิดรับสื่อจากคลิปวิดีโอของยูทูบเบอร์สายรีวิวอาหารของผู้ใช้ยูทูบ 2) เพื่ออธิบายปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับประทานอาหารตามยูทูบเบอร์สายรีวิวอาหาร เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ในรูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ด้วยการแจกแบบสอบถามออนไลน์ (Online Questionnaire) จากกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่มีประสบการณ์ในการรับชมคลิปวิดีโอรีวิวอาหารในเว็บไซต์ยูทูบ จำนวน 384 คน และนำผลมาวิเคราะห์ใน SPSS ผลการวิจัย พบว่า 1) การเปิดรับสื่อคลิปวิดีโอยูทูบเบอร์สายรีวิวอาหารมีอิทธิพลต่อผู้ใช้ยูทูบ 2) อิทธิพลที่ผู้ใช้ยูทูบได้รับจากการรับชมคลิปวิดีโอยูทูบเบอร์สายรีวิวอาหารด้านการปฏิสัมพันธ์ส่งผลต่อพฤติกรรมการรับประทานตามมากที่สุด รองลงมา ด้านความไว้วางใจ ด้านความชอบ ด้านความเกี่ยวพัน


การโหยหาอดีตและการประกอบสร้างความทรงจำร่วมในแนวเพลงซินธ์ป๊อปของโพลีแคท และ วรันธร เปานิล, สุพิชญา คำเขียน Jan 2022

การโหยหาอดีตและการประกอบสร้างความทรงจำร่วมในแนวเพลงซินธ์ป๊อปของโพลีแคท และ วรันธร เปานิล, สุพิชญา คำเขียน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์เรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการนำเสนอการโหยหาอดีต และ วิเคราะห์การประกอบสร้างความทรงจำร่วมจากแนวเพลงซินธ์ป๊อปของศิลปินโพลีแคท และ วรันธร เปานิล ผู้วิจัยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิเคราะห์ตัวบทจาก ผลงานเพลงของทั้งสองศิลปินจากแพลตฟอร์มออนไลน์ และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างสรรค์ ร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ประพันธ์เพลง แฟนเพลง และผู้เชี่ยวชาญที่ให้มุมมองวิชาการในด้านดนตรีศึกษากับมิติเชิงสังคม รวมทั้งสิ้น 23 คน ผลการวิจัยพบว่า การโหยหาอดีตในแนวเพลงซินธ์ป๊อปของทั้งสองศิลปิน มีกลวิธีในการนำเสนอผ่านองค์ประกอบต่าง ๆ ของเพลง ได้แก่ เนื้อเพลง (Lyrics) คีตประพันธ์ (Form) จังหวะ (Tempo) และ สีสันของเสียง (Tone color) โดยภาพรวมของผลงานเพลงทั้งหมด มุ่งถ่ายทอดเนื้อหาผ่าน 2 ประเด็นหลัก ได้แก่ มุมมองเกี่ยวกับเรื่องความรัก และ ช่วงเวลาสำคัญของชีวิต แฟนเพลงสามารถเชื่อมโยงการโหยหาอดีตที่เกิดขึ้นในระดับปัจเจกบุคคล ได้จากตัวแปรสำคัญ คือ ประสบการณ์การใช้ชีวิต (Live experience) ซึ่งสัมพันธ์กับอารมณ์และความรู้สึก (Emotional and feeling) ที่เกิดขึ้นระหว่างการฟังเพลงนั้นในอดีตเป็นหลัก สำหรับองค์ประกอบของคีตประพันธ์พบว่า โครงสร้างของเพลงแบบ ABC ที่มีการวนซ้ำในตำแหน่งครอรัสของเพลง เป็นแบบแผนที่เสริมให้เพลงซินธ์ป๊อปเกิดท่อนที่จดจำ และแฟนเพลงสามารถเชื่อมโยงเนื้อหาผ่านเพลงกับเรื่องราวของอดีตของตนเองได้ ในส่วนของสีสันของเสียง พบว่า ซินธิไซเซอร์ เป็นเครื่องดนตรีหลักที่ส่งเสริมอัตลักษณ์ (Identity) ของแนวเพลงเป็นซินธ์ป๊อปให้แฟนเพลงสามารถเชื่อมโยงกับเสน่ห์ในยุค 80s อาทิ สภาพสังคมความเป็นอยู่ หรือ แฟชั่นเครื่องแต่งกาย ที่ได้รับความนิยมในยุคนั้น และองค์ประกอบส่วนของจังหวะ เป็นตัวแปรสำคัญในการส่งเสริมอารมณ์เพลง ให้ผู้ฟังสามารถเลือกเชื่อมโยงความรู้สึกจากประสบการณ์อดีตที่เกิดขึ้นได้แตกต่างกันตามบุคคล เมื่อพิจารณาการสื่อสารเนื้อหาเกี่ยวกับการโหยหาอดีตผ่านเพลง กล่าวโดยสรุปได้ว่า ในมุมของศิลปิน อาศัยกระบวนการในการการถ่ายทอดแรงบันดาลใจร่วมกับ การนำเสนอเอกลักษณ์ของความเก่าคลาสสิค แบบ 80s ที่สะท้อนผ่านตัวตนของตนเอง ในขณะเดียวกับแฟนเพลงสามารถรับรู้และเชื่อมโยงเอกลักษณ์นั้น ร่วมกับประสบการณ์ส่วนตัวอันนำไปสู่การโหยหาอดีตจากแนวเพลงซินธ์ป๊อปได้ และสำหรับการประกอบสร้างความทรงจำร่วม ผู้วิจัยทำการวิเคราะห์ตัวบทผ่านสื่อคอนเสิร์ต ซึ่งเป็นเหตุการณ์ (Event) ที่มีร่วมกันระหว่างศิลปินและแฟนเพลง พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความทรงจำร่วมผ่านเพลงซินธ์ป๊อปของโพลีแคท และ วรันธร เปานิล ประกอบไปด้วย 1) ประสบการณ์ส่วนตัว 2) รสนิยมในการฟังเพลง (Personal …


อิทธิพลของอินฟลูเอนเซอร์บนติ๊กต็อกที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าแบบฉับพลันในกลุ่มผู้บริโภคสินค้าความงาม, จิรัชญา อมรสถิตย์พันธ์ Jan 2022

อิทธิพลของอินฟลูเอนเซอร์บนติ๊กต็อกที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าแบบฉับพลันในกลุ่มผู้บริโภคสินค้าความงาม, จิรัชญา อมรสถิตย์พันธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของอินฟลูเอนเซอร์บนติ๊กต็อกที่ส่งผลต่อแรงกระตุ้นให้ซื้อสินค้าและพฤติกรรมการซื้อสินค้าแบบฉับพลันในกลุ่มผู้บริโภคสินค้าความงาม โดยมีตัวแปรที่ศึกษาได้แก่ ทัศนคติต่ออินฟลูเอเซอร์ ความเชื่อใจต่ออินฟลูเอนเซอร์ ภาพลักษณ์ของอินฟลูเอนเซอร์ แรงกระตุ้นให้ซื้อสินค้า และการซื้อสินค้าแบบฉับพลัน ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณใช้เทคนิคการสำรวจ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ผู้บริโภคสินค้าความงาม ทั้งเพศชายและหญิง อายุ 18 ปีขึ้นไป ที่มีพฤติกรรมการซื้อสินค้าแบบฉับพลันหลังรับชมวิดีโอของอินฟลูเอนเซอร์บนติ๊กต็อก จำนวน 384 คน และใช้แบบสอบถามออนไลน์ (Survey Monkey) ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อนำมาวิเคราะห์การถดถอยค่าคงที่ (Simple Regression) และการถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regression) ผลการวิจัยพบว่า อิทธิพลของอินฟลูเอนเซอร์บนติ๊กต็อก แรงกระตุ้นให้ซื้อสินค้า และการซื้อสินค้าแบบฉับพลันในกลุ่มผู้บริโภคสินค้าความงามมีอิทธิพลเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณพบว่า ทุกตัวแปรในอิทธิพลของ อินฟลูเอนเซอร์มีอิทธิพลต่อแรงกระตุ้นให้ซื้อสินค้า โดยทัศนคติต่ออินฟลูเอนเซอร์มีอิทธิพลมากที่สุดอยู่ที่ 0.300 รองลงมา คือ ภาพลักษณ์ของอินฟลูเอนเซอร์อยู่ที่ 0.222 และความเชื่อใจต่ออินฟลูเอนเซอร์ คือ ตัวแปรที่มีอิทธิพลน้อยที่สุดอยู่ที่ 0.169 นอกจากนี้ การวิเคราะห์การถดถอยค่าคงที่ยังพบว่า แรงกระตุ้นให้ซื้อสินค้ามีอิทธิพลต่อการซื้อสินค้าแบบฉับพลันอยู่ที่ 0.702


การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการของตราสินค้าที่มีเนื้อหาความหลากหลายทางเพศการเปิดรับสื่อ ทัศนคติ และพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค, ฆฤณา มหกิจเดชาชัย Jan 2022

การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการของตราสินค้าที่มีเนื้อหาความหลากหลายทางเพศการเปิดรับสื่อ ทัศนคติ และพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค, ฆฤณา มหกิจเดชาชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการใช้สื่อและเนื้อหาในการสื่อสารการตลาดที่มีเนื้อหาความหลากหลายทางเพศในประเทศไทย (2) ศึกษาการเปิดรับสื่อ ทัศนคติ และพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคต่อสินค้าและบริการที่มีเนื้อหาความหลากลายทางเพศ (3) ศึกษาความแตกต่างกันในการเปิดรับสื่อ ทัศนคติ และพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคที่มีเพศสภาพแตกต่างกัน ต่อสินค้าและบริการที่มีเนื้อหาความหลากหลายทางเพศ และ (4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับสื่อ ทัศนคติ และพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค โดยเก็บข้อมูลกับกลุ่มผู้บริโภคตัวอย่างทั้งเพศชาย เพศหญิง และเพศวิถีอื่น ๆ (LGBTQIA+) ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 430 คน ในช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2566 ผลการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า ตราสินค้ามีการใช้ลักษณะเนื้อหาการสื่อสารการตลาดบนสื่อออนไลน์ที่ปรากฎมากที่สุด คือ เนื้อหาที่มีคำแสดงถึงความหลากหลายทางเพศโดยอ้อม ส่วนลักษณะเนื้อหาการสื่อสารการตลาดบนสื่อออนไลน์ที่ปรากฎน้อยที่สุด คือ เนื้อหาที่สัญลักษณ์สีรุ้ง และช่องทางที่ตราสินค้าใช้ในการสื่อสารที่ปรากฎมากที่สุด คือ เฟซบุ๊ก ส่วนช่องทางที่ใช้ในการสื่อสารที่ปรากฎน้อยที่สุด คือ เว็บไซต์ต่าง ๆ นอกจากนี้ผลการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณพบว่า กลุ่มผู้บริโภคตัวอย่างโดยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 18-26 ปี สถานภาพโสด มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 25,001-35,000 บาทมากที่สุดนั้น มีการรับเปิดสื่อสารการตลาดเนื้อหาความหลากหลายทางเพศอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีการเปิดรับสูงบนช่องทางสื่อเฟซบุ๊ก และสื่อสารการตลาดในรูปแบบสื่อที่พรีเซนเตอร์ผู้มีความหลากหลายทางเพศเป็นผู้แสดงหรือนำเสนอสินค้าในระดับสูง ส่วนทัศนคติต่อการสื่อสารการตลาดเนื้อหาความหลากหลายทางเพศนั้นอยู่ในระดับสูง โดยเห็นว่าเป็นเนื้อหาที่มีความทันสมัย ส่วนพฤติกรรมการซื้อต่อการสื่อสารการตลาดเนื้อหาความหลากหลายทางเพศโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง อีกทั้งผู้บริโภคที่มีเพศสภาพแตกต่างกันจะมีการเปิดรับสื่อ ทัศนคติ และพฤติกรรมการซื้อต่อสินค้าและบริการที่มีเนื้อหาความหลากหลายทางเพศแตกต่างกัน และการเปิดรับสื่อ ทัศนคติ และพฤติกรรมการซื้อนั้นมีความสัมพันธ์กัน


การจัดการการสื่อสารของเครือข่ายกลุ่มแฟนดอมชาวไทยเพื่อสนับสนุนศิลปินไทยในประเทศจีน, ชวัลอร โภวาที Jan 2022

การจัดการการสื่อสารของเครือข่ายกลุ่มแฟนดอมชาวไทยเพื่อสนับสนุนศิลปินไทยในประเทศจีน, ชวัลอร โภวาที

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลยุทธ์การจัดการเครือข่าย กลวิธีการสื่อสารภายในกลุ่ม ปัญหาและอุปสรรคในการจัดการการสื่อสารของกลุ่มแฟนดอมชาวไทยเพื่อสนับสนุนศิลปินไทยในประเทศจีน งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสังเกตแบบมีส่วนร่วม วิเคราะห์เนื้อหาของแต่ละกลุ่ม ร่วมกับสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากแฟนคลับ 2 กลุ่ม ผู้นำกลุ่มและแอดมินบ้านแฟนเบสของกลุ่ม 2 กลุ่ม รวมทั้งหมด 16 คน ผลการวิจัยพบว่า แฟนดอมมีการจัดการเครือข่ายผ่านพื้นที่สื่อออนไลน์ในการสร้างกิจกรรม เพื่อสนับสนุน สร้างชื่อเสียงของศิลปิน และสร้างความสัมพันธ์แฟนดอมผ่านรูปแบบเครือข่ายการสื่อสารแบบทุกช่องทาง ที่ทำให้สมาชิกทั้งหมดในแฟนดอมสามารถทำการสื่อสารได้อย่างอิสระผ่านสื่อออนไลน์ สร้างความสัมพันธ์ในเครือข่ายให้ดียิ่งขึ้น แฟนดอมจะมีการจัดการปัญหาและอุปสรรคอยู่เสมอ เพื่อรักษาเครือข่าย ชื่อเสียงศิลปิน เพิ่มความสัมพันธ์ของสมาชิกของแฟนดอมให้เหนี่ยวแน่นยิ่งขึ้น และช่วยให้แฟนดอมสามารถธำรงต่อไปได้ยาวนาน


ผลของประเภทผู้สนับสนุนสินค้าในโฆษณาสินค้าแฟชั่นและประเภทบัญชีอินสตาแกรมต่อการตอบสนองของผู้บริโภค, ณัฏฐริณีย์ รินศิริกุล Jan 2022

ผลของประเภทผู้สนับสนุนสินค้าในโฆษณาสินค้าแฟชั่นและประเภทบัญชีอินสตาแกรมต่อการตอบสนองของผู้บริโภค, ณัฏฐริณีย์ รินศิริกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงทดลอง แบบ 2x2 แฟคเทอเรียล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบหลักและผลกระทบร่วมกันของประเภทผู้สนับสนุนสินค้าในโฆษณาสินค้าแฟชั่น(บุคคลที่มีชื่อเสียง และบุคคลธรรมดา) และประเภทบัญชีอินสตาแกรม (บัญชีอินสตาแกรมของตราสินค้า และบัญชีอินสตาแกรมของผู้สนับสนุนสินค้า) ที่มีต่อการตอบสนองของผู้บริโภค ได้แก่ ทัศนคติต่องานโฆษณา ทัศนคติต่อตราสินค้า ความสัมพันธ์ทางสังคมกึ่งความจริง และความตั้งใจซื้อ โดยเก็บข้อมูลกับนิสิตที่ศึกษาในระดับชั้นปริญญาตรี จุฬาลงกรณ์หาวิทยาลัย จำนวน 129 คน ในช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2566 ผลการวิจัยพบว่า ประเภทผู้สนับสนุนสินค้าในโฆษณาสินค้าแฟชั่นส่งผลกระทบหลักต่อการตอบสนองของผู้บริโภค ในด้านทัศนคติต่องานโฆษณา ความสัมพันธ์ทางสังคมกึ่งความจริง และความตั้งใจซื้ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ประเภทบัญชีอินสตาแกรมนั้นไม่ส่งผลกระทบหลักต่อการตอบสนองด้านใด ๆ ของผู้บริโภค นอกจากนั้น ประเภทผู้สนับสนุนสินค้าในโฆษณาสินค้าแฟชั่น และประเภทบัญชีอินสตาแกรม ยังส่งผลกระทบร่วมกันต่อการตอบสนองของผู้บริโภคในด้านทัศนคติต่องานโฆษณาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


การพัฒนาต้นแบบอินโฟกราฟิกเพื่อสื่อสารการปฏิบัติตนทางกายภาพบำบัดทางไกล ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (โควิด-19), ธิติ เจริญยศ Jan 2022

การพัฒนาต้นแบบอินโฟกราฟิกเพื่อสื่อสารการปฏิบัติตนทางกายภาพบำบัดทางไกล ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (โควิด-19), ธิติ เจริญยศ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1. ออกแบบและสร้างสรรค์ชิ้นงานอินโฟกราฟิกโดยอ้างอิงแนวคิดทฤษฎีการสื่อสารทางสุขภาพ จำนวน 6 ชิ้นงาน ใน 2 ประเด็นได้แก่ การออกกำลังกายเพื่อการฟื้นฟูหลังการติดเชื้อไวรัสโคโรนา และ การจัดการอาการหอบเหนื่อย โดยอ้างอิงทฤษฎีการสื่อสารสุขภาพ 3 ทฤษฎีได้แก่ ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อทางสุขภาพ (Health belief model : HBM), ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมเชิงพุทธิปัญญา (Social cognitive : SC) และ ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน (Theory of planned behavior : TPB) และ 2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจด้านเนื้อหา, การออกแบบ และการนำไปปฏิบัติ ในกลุ่มบุคคลทั่วไป และกลุ่มนักกายภาพบำบัดปฏิบัติการ กลุ่มละ 5 คน พบว่าในประเด็นการออกกำลังกายเพื่อการฟื้นฟูหลังการติดเชื้อไวรัสโคโรนา ทั้ง 2 กลุ่มมีความพึงพอใจด้านเนื้อหาและด้านการนำไปปฏิบัติ ในชิ้นงานที่อ้างอิงจากแนวคิด HBM มากที่สุด ด้านการออกแบบ ทั้ง 2 กลุ่มมีความพึงพอใจในชิ้นงานที่อ้างอิงจากแนวคิด TPB มากที่สุด ในประเด็นการจัดการอาการหอบเหนื่อย พบกว่ากลุ่มบุคคลทั่วไปมีความพึงพอใจด้านเนื้อหา และการออกแบบในชิ้นงานที่ อ้างอิงจากแนวคิด HBM และ SC เท่ากัน และพึงพอใจในชิ้นงานที่อ้างอิงแนวคิด TBP ด้านการนำไปปฏิบัติมากที่สุด ขณะที่นักกายภาพบำบัดปฏิบัติการมีความพึงพอใจด้านเนื้อหา, การออกแบบ และการนำไปปฏิบัติ ในชิ้นงานที่อ้างอิงจากแนวคิด HBM มากที่สุด


ภาพลักษณ์ประเทศแหล่งกำเนิด ทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภคซีรีส์วาย, ธีระเดช พรหมมะ Jan 2022

ภาพลักษณ์ประเทศแหล่งกำเนิด ทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภคซีรีส์วาย, ธีระเดช พรหมมะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเรื่อง “ภาพลักษณ์ประเทศแหล่งกำเนิด ทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภคซีรีย์วาย” ใช้ระเบียบวิธีแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) ในรูปแบบเชิงคุณภาพ (Qualitative) และเชิงปริมาณ (Quantitative) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาพลักษณ์ประเทศแหล่งกำเนิดซีรีส์วาย ทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภค 2) ศึกษาความสัมพันธ์ของภาพลักษณ์ประเทศแหล่งกำเนิดของซีรีส์วายและทัศนคติต่อองค์ประกอบซีรีส์วายของผู้บริโภค และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ของภาพลักษณ์ประเทศแหล่งกำเนิดของซีรีส์วายและพฤติกรรมของผู้บริโภค การศึกษาครั้ง ได้ศึกษาซีรีส์วายทั้งหมด 3 ประเทศแหล่งกำเนิด ได้แก่ ซีรีส์วายประเทศไทย ซีรีส์วายประเทศญี่ปุ่น และซีรีส์วายประเทศเกาหลีใต้ โดยมีการเก็บข้อมูลใน 2 รูปแบบได้แก่การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Dept Interview) จากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านซีรีส์วายหรือผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมซีรีส์วาย ทั้งหมด 4 คน ซึ่งบทบาทหน้าที่ที่แตกต่างกัน ได้แก่ ผู้ผลิต สื่อ นักการตลาด และนักวิชาการ ในส่วนของเชิงปริมาณใช้เครื่องมือแบบสอบถามออนไลน์ในกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการรับชมซีรีส์วาย โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 400 คน งานวิจัยครั้งนี้ใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Person’s Product Moment Correlation Coefficient) เพื่อใช้ในการทดสอบสมมุติฐาน ผลการวิจัยพบว่า ภาพลักษณ์ประเทศแหล่งกำเนิดซีรีส์วาย มีความสัมพันธ์กับทัศนคติของผู้บริโภคต่อองค์ประกอบซีรีส์วายโดยตัวแปรทั้งสองมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันในระดับสูง และภาพลักษณ์ประเทศแหล่งกำเนิดของซีรีส์วายมีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคโดยตัวแปรทั้งสองมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันในระดับต่ำ


อิทธิพลของคุณลักษณะของผู้มีอิทธิพลทางความคิดด้านสุขภาพ ต่อทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภค, ปภัสราภา ศิริสุนทร Jan 2022

อิทธิพลของคุณลักษณะของผู้มีอิทธิพลทางความคิดด้านสุขภาพ ต่อทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภค, ปภัสราภา ศิริสุนทร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงสำรวจในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา: 1) คุณลักษณะของผู้มีอิทธิพลทางความคิดด้านสุขภาพ (ได้แก่ ความน่าเชื่อถือ ความเชี่ยวชาญ ความน่าไว้วางใจ ความน่าดึงดูดใจ ความชื่นชอบ ความเหมือนกับกลุ่มเป้าหมาย และความคุ้นเคย) ทัศนคติ (ได้แก่ ทัศนคติต่อผู้มีอิทธิพลทางความคิดด้านสุขภาพ และทัศนคติต่อตราสินค้า) และพฤติกรรมของผู้บริโภค (ได้แก่ ความตั้งใจซื้อ และการสื่อสารแบบบอกต่อผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์) และ 2) อิทธิพลของคุณลักษณะของผู้มีอิทธิพลทางความคิดด้านสุขภาพ ต่อทัศนคติ และพฤติกรรมของผู้บริโภค โดยใช้แบบสอบถาม เก็บข้อมูลผ่านช่องทางออนไลน์ จาก 1) กลุ่มตัวอย่างที่ติดตามคุณเบเบ้ (ธันย์ชนก ฤทธินาคา) ที่มีอายุระหว่าง 24 - 30 ปี ทั้งเพศชายและเพศหญิง ที่รับชมคลิปวิดีโอจำนวนอย่างน้อย 3 ครั้งใน 1 เดือนที่ผ่านมา จำนวน 292 คน และ 2) กลุ่มตัวอย่างที่ติดตามคุณดาว (วิภา อาทิตย์อุไร) และรับชมคลิปวิดีโอจำนวน 3 ครั้งใน 1 เดือนที่ผ่านมา จำนวน 298 คน รวมทั้งหมด 590 คน ผลการวิจัยพบว่า คุณลักษณะของผู้มีอิทธิพลทางความคิดด้านสุขภาพ ทัศนคติ และพฤติกรรมผู้บริโภคของกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนั้น คุณลักษณะของผู้มีอิทธิพลทางความคิดด้านสุขภาพ ด้านความน่าไว้วางใจ และด้านความน่าดึงดูดใจมีอิทธิพลต่อทัศนคติมากที่สุด ในขณะที่ด้านความเหมือนกับกลุ่มเป้าหมายมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคมากที่สุด และสุดท้ายทัศนคติยังมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคอีกด้วย


ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารด้านการท่องเที่ยวกับการตัดสินใจท่องเที่ยวต่างประเทศหลังสถานการณ์โควิด-19, พราวศินี พันธ์ทา Jan 2022

ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารด้านการท่องเที่ยวกับการตัดสินใจท่องเที่ยวต่างประเทศหลังสถานการณ์โควิด-19, พราวศินี พันธ์ทา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจการเปิดรับข่าวสารด้านการท่องเที่ยวและการตัดสินใจท่องเที่ยวต่างประเทศ ศึกษาความแตกต่างของลักษณะทางประชากร และอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสารด้านการท่องเที่ยวกับการตัดสินใจท่องเที่ยวต่างประเทศหลังสถานการณ์โควิด-19 ของนักท่องเที่ยวไทย โดยการวิจัยในครั้งนี้ เป็นการทำวิจัยเชิงปริมาณ ในรูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มเป้าหมายคือนักท่องเที่ยวไทยที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพและปริมณฑล อายุ 18 – 39 ปี ที่มีแนวโน้มท่องเที่ยวต่างประเทศหลังสถานการณ์โควิด-19 (ปี 2566 – 2567) รวมจำนวนทั้งสิ้น 410 ตัวอย่าง ผลการวิจัยพบว่า นักท่องเที่ยวไทยมีการเปิดรับข่าวสารด้านการท่องเที่ยวผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตมากที่สุด รองลงมาคือ สื่อบุคคล ในขณะที่สื่อมวลชน สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อเฉพาะกิจ กลุ่มตัวอย่างแทบไม่เคยหรือไม่เปิดรับเลย โดยสื่ออินเทอร์เน็ต ยังเป็นสื่อหลักที่นักท่องเที่ยวไทยนิยมหาข้อมูลข่าวสารการท่องเที่ยว ในส่วนของความต้องการเนื้อหาข่าวสารเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ยังคงให้ความสำคัญทางด้านความปลอดภัย โดยยังมีความต้องการข่าวสารด้านโควิด-19 อยู่ นอกจากนี้นักท่องเที่ยวยังมีแนวโน้มในการตัดสินใจไปท่องเที่ยวต่างประเทศภายในปี 2567 อย่างแน่นอน โดยอยากไปประเทศใหม่ที่ยังไม่เคยไป โดยให้ความสำคัญในเรื่องของการประเมินผลก่อนการตัดสินใจ โดยเหตุผลหลักของความต้องการท่องเที่ยวต่างประเทศของนักท่องเที่ยวไทย คือ ความสวยงามของประเทศนั้นเป็นอันดับแรก รองลงมาคือ ต้องการพักผ่อนหย่อนใจ ซึ่งสืบเนื่องช่วงที่มีการระบาดโควิด-19 นักท่องเที่ยวไทยมีความจำเป็นต้องกักตัวจากโควิด-19 ทำให้ไม่สามารถท่องเที่ยวต่างประเทศเป็นระยะเวลานาน


ปัจจัยพยากรณ์การตัดสินใจซื้ออสังหาริมทรัพย์ประเภทบ้านเดี่ยวมือสองของกลุ่มผู้บริโภค, วนัชภรณ์ จรูญโรจน์ ณ อยุธยา Jan 2022

ปัจจัยพยากรณ์การตัดสินใจซื้ออสังหาริมทรัพย์ประเภทบ้านเดี่ยวมือสองของกลุ่มผู้บริโภค, วนัชภรณ์ จรูญโรจน์ ณ อยุธยา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงปริมาณครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างทางลักษณะประชากร และสำรวจการเปิดรับสื่อ การสื่อสารการตลาด และการรับรู้ความเสี่ยง ของกลุ่มผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครที่มีต่อการตัดสินใจซื่ออสังหาริมทรัพย์ประเภทบ้านเดี่ยวมือสอง รวมถึงอธิบายความสามารถในการพยากรณ์การตัดสินใจซื้อบ้านเดี่ยวมือสอง จากปัจจัยด้านการเปิดรับสื่อ การสื่อสารการตลาด และการรับรู้ความเสี่ยงของกลุ่มผู้บริโภค โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร และมีความสนใจซื้อบ้านเดี่ยวมือสอง จำนวน 400 คน ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะประชากรของกลุ่มผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครที่แตกต่างกันในด้านเพศ/อายุ/อาชีพ/จำนวนสมาชิกอาศัยในบ้านเดียวกัน มีการตัดสินใจซื้ออสังหาริมทรัพย์ประเภทบ้านเดี่ยวมือสองแตกต่างกันที่นัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ลักษณะประชากรที่มีการตัดสินซื้อระดับสูงที่สุด คือ LGBTIQ+/อายุ 41-60 ปี/อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน/จำนวนสมาชิกภายในบ้าน 1-2 คนส่วนผู้บริโภคที่มีระดับการศึกษา/รายได้เฉลี่ยต่อเดือน/สถานภาพแตกต่างกัน มีการตัดสินใจซื้ออสังหาริมทรัพย์ประเภทบ้านเดี่ยวมือสองที่ไม่แตกต่างกันที่นัยสำคัญทางสถิติ 0.05 การเปิดรับข้อมูลโดยรวม, การรับรู้การสื่อสารการตลาดโดยรวม และการรับรู้ความเสี่ยงโดยรวมสามารถพยากรณ์การตัดสินใจซื้ออสังหาริมทรัพย์ประเภทบ้านเดี่ยวมือสองของกลุ่มผู้บริโภคกรุงเทพมหานครที่นัยสำคัญทางสถิติ 0.05 โดยตัวแปรอิสระดังกล่าว สามารถพยากรณ์การตัดสินใจซื้อได้ร้อยละ 41 โดยปัจจัยการรับรู้ความเสี่ยงสามารถพยากรณ์การตัดสินใจซื้ออย่างมีนัยสำคัญมากที่สุด รองลงมาเป็นการเปิดรับข้อมูล และการรับรู้การสื่อสารการตลาด ตามลำดับ เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้


อิทธิพลของการรับรู้ตราสินค้าบุคคลทางการเมืองต่อพฤติกรรมของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง, รมิดา จิตติมิตร Jan 2022

อิทธิพลของการรับรู้ตราสินค้าบุคคลทางการเมืองต่อพฤติกรรมของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง, รมิดา จิตติมิตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงสำรวจผ่านช่องทางออนไลน์ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) อธิบายการรับรู้ตราสินค้าบุคคลทางการเมือง (ชัชชาติ สิทธิพันธุ์) และพฤติกรรมการเลือกตั้ง 2) วิเคราะห์อิทธิพลของการรับรู้ตราสินค้าบุคคลทางการเมืองที่มีต่อพฤติกรรมการเลือกตั้ง 3) วิเคราะห์อิทธิพลของทัศนคติต่อการสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ที่มีต่อความผูกพันบนสื่อสังคมออนไลน์ 4) วิเคราะห์อิทธิพลของความสอดคล้องกับภาพลักษณ์ของตนเองในฐานะตัวแปรกำกับ ที่มีต่อความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ตราสินค้าบุคคลทางการเมืองกับพฤติกรรมการเลือกตั้ง และ 5) วิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างเจเนอเรชันในแง่ของตัวแปรต่าง ๆ โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งในกรุงเทพมหานคร จำนวน 465 คน มีอายุระหว่าง 18 – 58 ปี และติดตามหรือเคยเห็นสื่อสังคมออนไลน์ของชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อย่างน้อย 3 ครั้ง ในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้ตราสินค้าบุคคลทางการเมืองในระดับสูง โดยเฉพาะมิติด้านความน่าไว้วางใจ และมีพฤติกรรมการเลือกตั้งในระดับที่ดี นอกจากนี้ การรับรู้ตราสินค้าบุคคลทางการเมืองมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเลือกตั้งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ รวมไปถึงทัศนคติต่อการสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์มีอิทธิพลต่อความผูกพันบนสื่อสังคมออนไลน์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ความสอดคล้องกับภาพลักษณ์ของตนเองยังส่งผลเชิงลบต่อความตั้งใจในการแนะนำ และความตั้งใจในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง อีกทั้งในแต่ละเจนเนอเรชันมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในแง่ของการรับรู้ตราสินค้าบุคคลทางการเมือง ความสอดคคล้องกับภาพลักษณ์ของตนเอง และทัศนคติต่อการสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ด้วย


อิทธิพลของการเปิดรับข่าวสารต่อการยอมรับการใช้งานโทเคนดิจิทัลในอุตสาหกรรมบันเทิงในกลุ่มผู้บริโภคเจนเนอเรชันวาย, วรเชษฐ์ อนุ Jan 2022

อิทธิพลของการเปิดรับข่าวสารต่อการยอมรับการใช้งานโทเคนดิจิทัลในอุตสาหกรรมบันเทิงในกลุ่มผู้บริโภคเจนเนอเรชันวาย, วรเชษฐ์ อนุ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาอิทธิพลของการเปิดรับข่าวสารและเพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสารและการยอมรับการใช้งานโทเคนดิจิทัลในอุตสาหกรรมบันเทิงในกลุ่มผู้บริโภคเจนเนอเรชันวาย โดยการใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณด้วยวิธีการสำรวจผ่านช่องทางออนไลน์ (Survey Research) ในการวิจัยครั้งนี้มีกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 419 คน โดยมีการเก็บข้อมูลในกลุ่มสังคมออนไลน์ในกลุ่มผู้บริโภคที่เกิดในปี พ.ศ. 2524 – 2543 และรู้จักโทเคนดิจิทัลในอุตสาหกรรมบันเทิง และมีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิตสมการโครงสร้าง (Structural Equation Model: SEM) โดยมีการกำหนดระดับนัยยะสำคัญทางสถิติที่ .05 ผลการวิจัยพบว่าการเปิดรับข่าวสารมีอิทธิพลต่อการยอมรับการใช้งานโทเคนดิจิทัลในอุตสาหกรรมบันเทิงในทางอ้อม ซึ่งมีโครงสร้างดังต่อไปนี้การเปิดรับข่าวสารมีอิทธิพลต่อการรับรู้ความเสี่ยง ความไว้วางใจ ความคาดหวังในความพยายาม ความคาดหวังด้านประสิทธิภาพและสภาพสิ่งอำนวยความสะดวกนอกจากนี้ผลการวิจัยยังพบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจมีเพียง 3 ปัจจัยได้แก่ คความไว้วางใจ ความคาดหวังในความพยายามและความคาดหวังด้านประสิทธิภาพ ขณะที่ความตั้งใจใช้งานไม่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้งานแต่ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้งานคือสภาพสิ่งอำนวยความสะดวก


การรายงานข่าวโควิด-19 บนแพลตฟอร์มติ๊กต๊อกของไทยรัฐ, ว่านเพิง หยู Jan 2022

การรายงานข่าวโควิด-19 บนแพลตฟอร์มติ๊กต๊อกของไทยรัฐ, ว่านเพิง หยู

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเนื้อหา รูปแบบ/หน้าที่ และแนวทางของการรายงานข่าวโควิด-19 บนแพลตฟอร์มติ๊กต๊อกของไทยรัฐ โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) สำรวจเนื้อหาที่เกี่ยวกับโรคโควิด-19 ที่นำเสนอบนแพลตฟอร์มติ๊กต๊อกของสำนักข่าวไทยรัฐ ระหว่างวันที่ 2 มิถุนายน 2563 ถึง วันที่ 30 กันยายน 2565 จำนวน 179 คลิป หลังจากนั้นนำเนื้อหาที่เกี่ยวข้องมาวิเคราะห์และประมวลผล และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้ดูแลบัญชีไทยรัฐบนแพลตฟอร์มติ๊กต๊อก ผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาการ และแฟนคลับบนแพลตฟอร์มติ๊กต๊อกของไทยรัฐ เพื่ออธิบายผลการวิจัยเพิ่มเติม ผลการวิจัยพบว่า สำนักข่าวไทยรัฐมีการนำเสนอข่าวโควิด-19 ในประเด็นสำคัญ เช่น สถานการณ์การแพร่ระบาด นโยบายการควบคุมโรคระบาด การบริหารจัดการวัคซีน วิธีการดูแลตัวเอง/แนวทางการป้องกัน และมาตรการเยียวยา เป็น สำหรับรูปแบบ/หน้าที่ในการนำเสนอมีทั้งการสื่อสารสุขภาพ รูปแบบบันเทิงสารสนเทศ และสื่อสร้างความผูกพัน ในส่วนของแนวทางในการนำเสนอพบว่า มีทั้งแนวทางการให้ข่าวสาร แนวทางการให้ความรู้ และแนวทางการชักจูงใจ ผู้วิจัยเสนอว่าการใช้แพลตฟอร์มติ๊กต๊อกในการรายงานข่าวมีข้อดีในการผลิตเนื้อหาได้รวดเร็วและยังสามารถเข้าถึงผู้ชมได้ง่าย เพิ่มศักยภาพในการสื่อสารสุขภาพและสร้างการมีส่วนร่วมในการสื่อสารช่วงระบาดได้ แต่ขณะเดียวกันยังยังขาดประสิทธิภาพในการเล่าเรื่องเชิงวารสารศาสตร์ และต้องระมัดระวังเรื่องความถูกต้องและคววามน่าเชื่อถือของข้อมูลบนแพลตฟอร์มด้วย


แรงจูงใจ การเปิดรับสื่อ และพฤติกรรมการบริโภคสินค้าเครื่องประดับเสริมดวงของผู้บริโภคเพศชาย, ศศิชา เตียวลักษณ์ Jan 2022

แรงจูงใจ การเปิดรับสื่อ และพฤติกรรมการบริโภคสินค้าเครื่องประดับเสริมดวงของผู้บริโภคเพศชาย, ศศิชา เตียวลักษณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) แรงจูงใจ การเปิดรับสื่อ และพฤติกรรมการบริโภคสินค้าเครื่องประดับเสริมดวงของผู้บริโภคที่มีเพศสภาพเป็นชาย 2) อิทธิพลของแรงจูงใจ การเปิดรับสื่อ และทัศนคติที่มีต่อพฤติกรรมการบริโภคสินค้าเครื่องประดับเสริมดวง และ 3) เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจ การเปิดรับสื่อ และพฤติกรรมการบริโภคสินค้าเครื่องประดับเสริมดวงของผู้บริโภคที่มีเพศสภาพเป็นชาย เป็นการวิจัยเชิงสำรวจใช้แบบสอบถามผ่านช่องทางออนไลน์ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างคือผู้บริโภคที่มีเพศสภาพเป็นชาย อายุระหว่าง 18 – 60 ปี มีถิ่นที่อยู่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ และ ปริมณฑล และเคยบริโภคสินค้าเครื่องประดับเสริมดวงในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา จำนวน 400 คน ผลวิจัยพบว่า แรงจูงใจและการเปิดรับสื่อมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคสินค้าเครื่องประดับเสริมดวงของผู้บริโภคที่มีเพศสภาพเป็นชาย ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ในระดับสูงและปานกลางตามลำดับ และตัวแปรทั้ง 3 ได้แก่ แรงจูงใจ การเปิดรับสื่อและทัศนคติล้วนมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคเครื่องประดับเสริมดวงของผู้บริโภคที่มีเพศสภาพเป็นชาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และสามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมในการบริโภคสินค้าเครื่องประดับเสริมดวงของผู้บริโภคที่มีเพศสภาพเป็นชายของกลุ่มตัวอย่างรวมได้ร้อยละ 62 โดยค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยของตัวแปรทัศคติมีค่าร้อยละ 62.1 (ค่า Beta =0.621) ตัวแปรแรงจูงใจมีค่าร้อยละ 16.8 (ค่า Beta =0.168) และตัวแปรการเปิดรับสื่อมีค่าร้อยละ 14 (Beta =0.140)


อิทธิพลของความเหมือนกันของผู้บริโภคกับตราสินค้า และเนื้อหาโฆษณาบนอินสตาแกรมรีลส์ต่อพฤติกรรมผู้บริโภค, อภิกษณา จิตรเกาะ Jan 2022

อิทธิพลของความเหมือนกันของผู้บริโภคกับตราสินค้า และเนื้อหาโฆษณาบนอินสตาแกรมรีลส์ต่อพฤติกรรมผู้บริโภค, อภิกษณา จิตรเกาะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเหมือนกันของผู้บริโภคกับตราสินค้าที่มีอิทธิพลต่อทัศนคติต่อเนื้อหาโฆษณาบนอินสตาแกรมรีลส์ และอธิบายอิทธิพลของทัศนคติต่อเนื้อหาโฆษณาบนอินสตาแกรมรีลส์ที่มีต่อทัศนคติต่อตราสินค้า ความเต็มใจในการส่งต่อ และความตั้งใจซื้อของผู้บริโภคเจเนอเรชันซี ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ เทคนิควิจัยเชิงสำรวจด้วยแบบสอบถามออนไลน์ มีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริโภคเจเนอเรชันซี มีอายุระหว่าง 18 – 26 ปี ทุกเพศสภาพ ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน โดยกระจายแบบสอบถามผ่านช่องทางอินสตาแกรม เฟซบุ๊ก และทวิตเตอร์ ในช่วงเดือนมีนาคม พ.ศ.2566 ผลการวิจัยพบว่า ความเหมือนกันของผู้บริโภคกับตราสินค้าของกลุ่มผู้บริโภคเจเนอเรชันซีมีอิทธิพลเชิงบวกต่อทัศนคติต่อเนื้อหาโฆษณาบนอินสตาแกรมรีลส์ที่แสดงความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเนื้อหาโฆษณาบนอินสตาแกรมรีลส์ที่แสดงผลิตภัณฑ์เท่านั้น ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ ยังพบว่า ทัศนคติต่อเนื้อหาโฆษณาบนอินสตาแกรมรีลส์ที่แสดงความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และทัศนคติต่อเนื้อหาโฆษณาที่แสดงผลิตภัณฑ์เท่านั้น มีอิทธิพลเชิงบวกต่อทัศนคติต่อตราสินค้า ความเต็มใจในการส่งต่อ และความตั้งใจซื้อ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05


Thailand Generation Z Consumers’ Brand Perception Of Bonchon Restaurantin Thailand, Aditep Jirattikorn Jan 2022

Thailand Generation Z Consumers’ Brand Perception Of Bonchon Restaurantin Thailand, Aditep Jirattikorn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The present study is dedicated to investigating the Thailand generation z consumer’s brand perception of the brand Bonchon. This study aims to learn how generation z in Thailand perceives all aspects of the brand Bonchon in addition, this study also aims to cover whether Korean pop culture has an effect on how the consumer perceives the brand. Generation z participants in Thailand (n=227) who is a customer of Bonchon were asked to complete the questionnaire. The questionnaire is designed to discover respondents' cognitive, emotional, language, and actions toward the brand Bonchon. The research adopted certain theories on branding and consumer …


Perception Of Women Entrepreneurs On Social Media Use For Marketing Communication In Qatar, Aisha Ali A.T.Al-Khulaifi Jan 2022

Perception Of Women Entrepreneurs On Social Media Use For Marketing Communication In Qatar, Aisha Ali A.T.Al-Khulaifi

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research aimed to understand the social media use of women entrepreneurs for marketing communication in Qatar. It is based on a qualitative approach, using an in-depth, semistructured interview. Participants were ten women entrepreneurs who have been running their businesses for at least six years, aged between 25 and 45. This research employed a question guideline as the research instrument based on five questions such as reasons for using social media for marketing, usage of social media for marketing, benefits, challenges, and professional benefits. The findings showed that the reasons for social media usage focus on ease of access and …


The Influence Of Perceived Risk And Perceived Value On Consumer Adoption Of Cryptocurrency, Athit Rodpangtiam Jan 2022

The Influence Of Perceived Risk And Perceived Value On Consumer Adoption Of Cryptocurrency, Athit Rodpangtiam

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The purpose of this research is to study the perceptions of risk and value of cryptocurrency adopters from the social media platform Reddit by assessing the influence of Perceived Risk (PR) and Perceived Value (PV) on their intention to adopt cryptocurrency. Demographic factors of (Gender, Age, Education Level, Income, Investment Experience) were analyzed as control variables. The study within this paper was conducted with a quantitative approach through the utilization of a survey technique. Data was gathered through purposive sampling, and 200 respondents from the Cryptocurrency News & Discussion subreddit were studied among a sample of 1444 respondents. The data …


East Asian Tourists’ Exposure To Social Media Advertising, Attitude, And Their Purchasing Behavior With Hotels In Bangkok, Chaitach Sirisachdecha Jan 2022

East Asian Tourists’ Exposure To Social Media Advertising, Attitude, And Their Purchasing Behavior With Hotels In Bangkok, Chaitach Sirisachdecha

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The ultimate goal of this research was to study the correlations between East Asian tourists' exposure to social media advertisements by hotels in Bangkok, their attitude toward the advertisements, and their purchasing behavior. The primary reason for conducting this study is the COVID-19 pandemic's effect on the hospitality industry within Bangkok and the expectation of an increase in the tourist population visiting Bangkok at the end of 2022 and the beginning of 2023. East Asian tourists were targeted for this study because they have historically been the demographic that had most visited Thailand. Two hundred respondents were requested to complete …


The Hong Kong Consumers' Perceptions Of Boys' Love Dramas And Their Attitudes Toward Thailand And The Gay Community, Chung Yan Chan Jan 2022

The Hong Kong Consumers' Perceptions Of Boys' Love Dramas And Their Attitudes Toward Thailand And The Gay Community, Chung Yan Chan

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research aimed to explore Hong Kong consumers' perceptions and attitudes toward Thai Boys' Love (BL) dramas, Thailand, and the gay community. To conduct the research, a qualitative approach is used with the instrument of in-depth interviews. A total of twelve Hong Kong consumers participated in this study. They are aged between 18-30 years old. The results depicted that Over-the-top (OTT) streaming platforms and reference groups contributed to the distribution and exposure of Thai BL dramas in the Hong Kong market. Aesthetic elements, actors, storyline, and Thailand culture are the elements that attract participants to watch Thai BL dramas continually. …


Source Characteristics, Attitude, And Purchase Intention Toward Fashion Product With Inclusive Advertising, Diskul Skuldist Jan 2022

Source Characteristics, Attitude, And Purchase Intention Toward Fashion Product With Inclusive Advertising, Diskul Skuldist

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research was conducted in a quantitative manner. The research objectives were to explore and to test the relationships of source characteristics, attitudes toward inclusive advertising of fashion products and purchase intention toward fashion product with inclusive advertising among generation Z and Y with an inclusive model, Asianna Scott as a research subject. 213 respondents were acquired in total. The findings showed that Miss Scott received a positive score in all characteristics. The respondents indicated that they would have a positive attitude toward inclusive fashion advertising. The respondents also revealed that they would have a positive purchase intention toward fashion …


Credibility Of Travel Influencer On Millennial Traveling Behavior, Papitchayapa Boonsub Jan 2022

Credibility Of Travel Influencer On Millennial Traveling Behavior, Papitchayapa Boonsub

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objectives of this study was to understand the credibility of travel influencers among millennial travelers and how they motivate millennial travelers' travel behavior. It is based on a qualitative methodology that involves use of in-depth interviews. Twelve millennial travelers both domestic and international between the ages of 25 and 40 were interviewed. They had to organize the trip within a year and follow to travel influencers. This study employed a question guideline as the research instrument based on four dimension which are demographics and media usages, attitude towards travel influences, source of credibility, and travel behavior. The findings revealed …


The Influence Of Perceived Value, User Engagement, And Emotions On Usage Intention Of Thai Tiktok Users, Phakkhaporn Dancharoenpol Jan 2022

The Influence Of Perceived Value, User Engagement, And Emotions On Usage Intention Of Thai Tiktok Users, Phakkhaporn Dancharoenpol

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objectives of this research were to explore perceived value, user engagement, emotions, and usage intention of Thai TikTok users, as well as to investigate the influence of perceived value, user engagement, and emotions on TikTok usage intention. An online survey was employed to collect data from 289 participants who were TikTok users, aged between 18-38 years old. The findings showed that the respondents had high perceived value (M = 4.01), high engagement (M = 3.78), emotions (M = 3.75), and high usage intention (M = 3.97) towards TikTok. Furthermore, the results of the multiple regression analysis depicted that perceived …


Perceived Image Of Samui Island From Local Stakeholders, Ponatip Phetrat Jan 2022

Perceived Image Of Samui Island From Local Stakeholders, Ponatip Phetrat

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objective of this research was to explore the perceived image of Samui island from local stakeholders. An in-depth interview was selected as the research instrument for this study. The data is collected from 15 respondents who were local stakeholders of Samui island, they are those who live and work in Samui for more than 10 years, aged between 24-45 years old. The findings indicated that according to brand associations in terms of attributes the respondents perceived Samui island as “beach” “nature” and “cultural tourist destination” also, respondents perceived Samui as having “friendly” “lively” “complicated” and “easy-going” personalities. In terms …


The Relationship Between Source Credibility, Advertising Recognition, And Purchase Intention On Snack Products, Pornsit Cheawkamolpat Jan 2022

The Relationship Between Source Credibility, Advertising Recognition, And Purchase Intention On Snack Products, Pornsit Cheawkamolpat

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objectives of this research were to study source credibility, advertising recognition, and purchase intention on snack products and was explore the relationship between source credibility, advertising recognition, and purchase intention oMaster of Arts (Communication Arts)n snack products. This research employed online survey and used online questionnaire to collect data through 208 respondents, who were Thai, aged between 18-38 years old, and must follow Kin Nhom page for the past three months. The results depicted that the respondents highly perceived that Kin Nhom page was credible (M = 4.14). Moreover, the respondents acknowledged that contents from Kin Nhom page were …


The Impact Of Oppo's Brand Equity On Purchasing Intentions Of Thai Consumers, Xiaoyuhui Yang Jan 2022

The Impact Of Oppo's Brand Equity On Purchasing Intentions Of Thai Consumers, Xiaoyuhui Yang

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Among the objective of this research are to study the brand equity and purchase intention of Oppo consumers and the relationship between brand equity and the purchase intention of Oppo consumers. The total number of participants in this study is two hundred and forty-two Thai consumers aged 18-45, who were required to complete the online questionnaire. The result portraited that, in general, Thai consumers’ perception toward the Oppo brand’s equity is positive with an average mean value (M = 3.25). There are four detentions under brand equity, esteem received the highest mean score (M = 3.4), and differentiation received the …


Brand Image Of Nike Products Among Consumer Generation Z In Thailand, Zhefu Murong Jan 2022

Brand Image Of Nike Products Among Consumer Generation Z In Thailand, Zhefu Murong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objective of this research was to study the brand image of Nike products among consumer generation Z in Thailand. Based on the quantitative research approach, two hundred of Nike's current consumers aged between 18 to 25 years old in Thailand, who had purchased/owned Nike’s products before, were asked to complete an online questionnaire to study the brand image. The research findings illustrated that most of Nike's generation Z consumers considered Nike to own a positive brand image. The result of the study in each brand image factor shows that most of the respondents have positive attitude toward Nike whether …


กระบวนการสร้างสรรค์และการเล่าเรื่องผ่านภาพยนตร์โฆษณาไทย ที่ได้รับการยกย่องในมาตรฐานระดับนานาชาติ Come Back 2021, ไอรดา ชูรัตน์ Jan 2022

กระบวนการสร้างสรรค์และการเล่าเรื่องผ่านภาพยนตร์โฆษณาไทย ที่ได้รับการยกย่องในมาตรฐานระดับนานาชาติ Come Back 2021, ไอรดา ชูรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากระบวนการสร้างสรรค์ภาพยนตร์โฆษณาไทย ที่ได้รับการยกย่องในมาตรฐานระดับนานาชาติ 2) เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการเล่าเรื่องภาพยนตร์โฆษณาไทย ที่ได้รับการยกย่องในมาตรฐานระดับนานาชาติ 3) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยการสื่อสารที่เอื้อให้ภาพยนตร์โฆษณาไทย ได้รับการยกย่องในมาตรฐานระดับนานาชาติ จากการศึกษาภาพยนตร์โฆษณาไทย COME BACK 2021 ด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) บุคคลเบื้องหลังความสำเร็จรางวัลคานส์ ไลออนส์ (Cannes Lions) หมวดเอนเตอร์เทนเมนท์ (Entertainment) ได้แก่ นักสร้างสรรค์ (Creative) บริษัทตัวแทนโฆษณา TBWA Thailand ผู้กำกับจากสุเนต์ตา เฮ้าส์ และกรรมการตัดสินผลงานโฆษณาระดับนานาชาติ ประกอบกับการศึกษาข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อวิเคราะห์ข้อมูล (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า (1) กระบวนการสร้างสรรค์ภาพยนตร์โฆษณาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของผลงานประกอบด้วย 1) ความเชื่อใจในการสร้างสรรค์ 2) จุดร่วมกันความคิดเห็นก่อนเริ่มกระบวนการ 3) การชี้นำแนวความคิดด้วยไอเดียที่แข็งแกร่ง 4) การตรวจสอบความคิดระหว่างการสร้างสรรค์ 5) การคัดเลือกผู้กำกับที่มีความเชี่ยวชาญ 6) การพัฒนาชิ้นงานตามความคิดเห็นของผู้กำกับ (2) รูปแบบการเล่าเรื่องภาพยนตร์โฆษณาประกอบด้วยลักษณะ 5 ต. 1) ตลกด้วยบทถ่ายทำและนักแสดง 2) แตกต่างจากแบรนด์คู่แข่ง 3) ตอบปัญหาผู้บริโภคด้วยสินค้า 4) ติดตามการเล่าเรื่องที่สร้างอารมณ์ร่วม 5) ตอกย้ำด้วยข้อความหลักแบรนด์ (3) ปัจจัยการสื่อสารที่เอื้อให้ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติประกอบด้วย 1) ถ่ายทอดความเชื่อของแบรนด์ที่ชัดเจน 2) มอบคุณค่าให้ผู้รับชม 3) ขายของอย่างมีศักยภาพ 4) สร้างอารมณ์ร่วมให้ผู้รับชม 5) คุณภาพการถ่ายทำ


พฤติกรรมการซื้อและปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสติกเกอร์ไลน์ของผู้หญิงวัยทำงาน, คุณากร จันทร์ไพศรี Jan 2022

พฤติกรรมการซื้อและปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสติกเกอร์ไลน์ของผู้หญิงวัยทำงาน, คุณากร จันทร์ไพศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อสำรวจพฤติกรรมการซื้อสติกเกอร์ไลน์ของผู้หญิงวัยทำงาน 2) เพื่อสำรวจปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการซื้อสติกเกอร์ไลน์ของผู้หญิงวัยทำงาน 3) เพื่อสำรวจความตั้งใจซื้อสติกเกอร์ไลน์ของผู้หญิงวัยทำงาน 4) เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการซื้อสติกเกอร์ไลน์ของผู้หญิงวัยทำงานต่อความตั้งใจซื้อสติกเกอร์ไลน์ของผู้หญิงวัยทำงาน โดยเป็นวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ใช้การวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่างผู้หญิง ที่มีอายุระหว่าง 22-41 ปี และมีการซื้อสติกเกอร์ไลน์ อย่างน้อย 1 ครั้ง ต่อ 3 เดือน จำนวน 205 คน ผลการศึกษาพบว่า ผู้หญิงวัยทำงานมีความชื่นชอบสติกเกอร์ไลน์ในรูปแบบสไตล์น่ารัก และชอบคาแรคเตอร์สติกเกอร์ไลน์ แบบผู้หญิง และมีพฤติกรรมการซื้อสติกเกอร์ไลน์ โดยรวมอยู่ในระดับ มาก ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการซื้อสติกเกอร์ไลน์ที่นำมาวิเคราะห์ 6 ปัจจัย ได้แก่ 1) ลักษณะเฉพาะของคาแรคเตอร์ 2) คุณค่าทางประโยชน์ใช้สอย 3) คุณค่าทางสังคม 4) คุณค่าทางอารมณ์ 5) ความพึงพอใจของผู้ซื้อ 6) ความภักดีของแบรนด์/ครีเอเตอร์ เมื่อพิจารณาค่าสัมประสิทธ์ถดถอย พบว่า ตัวแปร 4 ตัวที่มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความตั้งใจซื้อสติกเกอร์ไลน์ของผู้หญิงวัยทำงาน เรียงลำดับจากค่ามากไปหาค่าน้อยที่สุด ประกอบด้วย ความพึงพอใจของผู้ซื้อ คุณค่าทางอารมณ์ ความภักดีที่มีต่อแบรนด์/ครีเอเตอร์ ลักษณะเฉพาะของคาแรคเตอร์ ขณะที่ตัวแปร อีก 2 ตัว ได้แก่ คุณค่าด้านประโยชน์ใช้สอย และคุณค่าทางสังคม ไม่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสติกเกอร์ไลน์ของผู้หญิงวัยทำงาน