Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Communication Technology and New Media

Chulalongkorn University

Theses/Dissertations

2021

Articles 1 - 30 of 69

Full-Text Articles in Entire DC Network

อิทธิพลของปัจจัยความเชื่อในการขายสินค้าตรงทางโทรทัศน์ต่อทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภค, ปีย์รติ กายสิทธิ์ Jan 2021

อิทธิพลของปัจจัยความเชื่อในการขายสินค้าตรงทางโทรทัศน์ต่อทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภค, ปีย์รติ กายสิทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงสำรวจในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยความเชื่อในการขายสินค้าตรงทางโทรทัศน์ ทัศนคติ (ได้แก่ ทัศนคติต่อรายการขายสินค้าตรงทางโทรทัศน์ และทัศนคติต่อตราสินค้า) พฤติกรรมของผู้บริโภค (ได้แก่ การซื้อซ้ำ ความพึงพอใจ การตั้งใจแนะนำ และการตั้งใจติดตาม) 2) อิทธิพลของปัจจัยความเชื่อในการขายสินค้าตรงทางโทรทัศน์ ต่อทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภค และ 3) อิทธิพลของทัศนคติ ต่อพฤติกรรมของผู้บริโภค โดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลออนไลน์ จากกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุระหว่าง 25-40 ปี ที่เคยซื้อผลิตภัณฑ์จากการรับชมรายการขายสินค้าตรงทางโทรทัศน์ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา แบ่งเป็นตราสินค้า Amado 220 คน และตราสินค้า Madame Fin 211 คน รวมทั้งหมด 431 คน ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยความเชื่อในการขายสินค้าตรงทางโทรทัศน์โดยรวม และทัศนคติของผู้บริโภคตราสินค้า Amado และตราสินค้า Madame Fin แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ขณะที่พฤติกรรมผู้บริโภคทั้งสองตราสินค้า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งนี้ ปัจจัยความเชื่อในการขายสินค้าตรงทางโทรทัศน์ทั้ง 3 ด้าน มีอิทธิพลต่อทัศนคติของผู้บริโภคทั้งด้านทัศนคติต่อรายการขายสินค้าตรงทางโทรทัศน์ และทัศนคติต่อตราสินค้า และปัจจัยความเชื่อในการขายสินค้าตรงทางโทรทัศน์ทั้ง 3 ด้าน ยังมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคทั้งด้านการซื้อซ้ำ ความพึงพอใจ การตั้งใจแนะนำ และการตั้งใจติดตาม นอกจากนี้ ทัศนคติของผู้บริโภคยังมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคตราสินค้า Amado และ Madame Finเช่นกัน


อิทธิพลของการออกแบบยูสเซอร์อินเทอร์เฟสสำหรับโมไบล์แอปพลิเคชันต่อความรู้สึกและประสบการณ์ของผู้บริโภค, สุธาทิพย์ มีสุวรรณ Jan 2021

อิทธิพลของการออกแบบยูสเซอร์อินเทอร์เฟสสำหรับโมไบล์แอปพลิเคชันต่อความรู้สึกและประสบการณ์ของผู้บริโภค, สุธาทิพย์ มีสุวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงสำรวจในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การออกแบบยูสเซอร์อินเทอร์เฟสสำหรับโมไบล์แอปพลิเคชัน ความรู้สึกของผู้บริโภค (ได้แก่ อารมณ์ ทัศนคติต่อการใช้งานโมไบล์แอปพลิเคชัน ทัศนคติต่อตราสินค้า และความไว้วางใจได้) และประสบการณ์ของผู้บริโภค (ได้แก่ ความพึงพอใจ ความถี่ในการซื้อ และความภักดีต่อการใช้งานโมไบล์แอปพลิเคชัน) และ 2) อิทธิพลของการออกแบบยูสเซอร์อินเทอร์เฟสสำหรับโมไบล์แอปพลิเคชัน ต่อความรู้สึกและประสบการณ์ของผู้บริโภค โดยใช้แบบสอบถาม เก็บข้อมูลผ่านช่องทางออนไลน์ จาก 1) กลุ่มตัวอย่างอายุระหว่าง 20 – 39 ปี ที่มีการดาวน์โหลดและเคยซื้อสินค้าผ่านโมไบล์แอปพลิเคชันของตราสินค้า UNIQLO อย่างน้อย 1 ครั้ง ในระยะเวลา 2 เดือนที่ผ่านมา จำนวน 325 คน และ 2) กลุ่มตัวอย่างอายุระหว่าง 20 – 39 ปี ที่มีการดาวน์โหลดและเคยซื้อสินค้าผ่านโมไบล์แอปพลิเคชันของตราสินค้า H&M อย่างน้อย 1 ครั้ง ในระยะเวลา 2 เดือนที่ผ่านมา จำนวน 242 คน รวมทั้งหมด 567 คน ผลการวิจัยพบว่า การออกแบบยูสเซอร์อินเทอร์เฟส ความรู้สึกของผู้บริโภค และประสบการณ์ของผู้บริโภคตราสินค้า UNIQLO และตราสินค้า H&M แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยสำหรับตราสินค้า UNIQLO การออกแบบยูสเซอร์อินเทอร์เฟสสำหรับโมไบล์แอปพลิเคชัน ในมิติของสุนทรียศาสตร์ในการออกแบบ และการรับรู้ถึงความมีประโยชน์ มีอิทธิพลต่อความรู้สึกและประสบการณ์ของผู้บริโภคมากที่สุด ขณะที่การออกแบบยูสเซอร์อินเทอร์เฟสสำหรับโมไบล์แอปพลิเคชัน ในมิติของการรับรู้ถึงความเพลิดเพลิน มีอิทธิพลต่อความรู้สึกและประสบการณ์ของผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าผ่านโมไบล์แอปพลิเคชันของตราสินค้า H&M มากที่สุด


The Relationship Between Interest And Attitude Towards Online Sales Promotion, And Impulsive Buying For Cosmetics Among Chinese Generation Z Consumers, Peilin Peng Jan 2021

The Relationship Between Interest And Attitude Towards Online Sales Promotion, And Impulsive Buying For Cosmetics Among Chinese Generation Z Consumers, Peilin Peng

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objectives of this study are as follows: to explore interest in online sales promotion, attitude towards online sales promotion, and impulsive buying behavior for cosmetic consumption among Chinese Generation Z, and to investigate the relationship among these three variables. The research samples of this research were 250 Chinese male and female Generation Z, aged between 18 and 26 years old, who have purchased cosmetics in the past three months and currently residing in China. The results illustrated that respondents had a positive opinion on interest in online sales promotion for cosmetics (M = 3.57), with discount promotion receiving the …


Consumers’ Exposure, Attitude And Purchase Intention Toward Environmental Communications On Oil And Gas Business Facebook Fan Page, Pornswan Wutthirakkhajohn Jan 2021

Consumers’ Exposure, Attitude And Purchase Intention Toward Environmental Communications On Oil And Gas Business Facebook Fan Page, Pornswan Wutthirakkhajohn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objectives of the study is to examine consumers' exposure, attitude, and purchase intention toward environmental communications on oil and gas business Facebook fan page and to explore the relationship between media exposure and consumer attitude as well as consumer attitude and purchase intention. The study was conducted in a quantitative approach by using online questionnaires as a tool to collect data from 200 respondents who are Thai ages between 18 and 34 years old and have recently seen the green content on oil and gas Facebook fan page in the last three months. The result showed that overall respondents …


Consumers’ Perceptions And Attitudes Towards Louis Vuitton And Their Brand Ambassadors, Victor Mechai Siharath Jan 2021

Consumers’ Perceptions And Attitudes Towards Louis Vuitton And Their Brand Ambassadors, Victor Mechai Siharath

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objective of this study was to explore consumers’ perceptions and attitudes towards Louis Vuitton and their brand ambassador, BTS. The study was qualitative in nature. An online focus group discussion was used to collect data from eight participants. The participants were purposively selected and a selection criterion was administered to ensure diversity amongst participants. The participants were consumers of Louis Vuitton, aged between 22-28 years old, and were also aware that BTS are Louis Vuitton’s brand ambassador. This study employed a discussion guideline as the research instrument. The luxury value perception framework was used to explore consumers’ perceptions towards …


Attitude And Responses Of General Public Towards Foodpanda Thailand’S Crisis Communication Management, Ira Siripatarakulthon Jan 2021

Attitude And Responses Of General Public Towards Foodpanda Thailand’S Crisis Communication Management, Ira Siripatarakulthon

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objective of this research was to examine the attitude and responses of the general publics towards a situation crisis communication management which related to a political situation in Thailand. The attitude variable in this study focused on attitudes into crisis communication management in content and the statement release, management of time during the crisis, attitude towards the crisis communication management, and suitable and appropriately management. Meanwhile, the responses variable focused on responses into favorability and credibility, frequently of using the service after the crisis, ways of showing support, movement to boycott, and royalty towards a brand after the crisis. …


Thais' Attitude Towards Product Placement In Gaming Streamers On Youtube, Jiraphat Jirappapa Jan 2021

Thais' Attitude Towards Product Placement In Gaming Streamers On Youtube, Jiraphat Jirappapa

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research aims to explore the attitude of Thai people towards product placement in gaming streamers on Youtube. The research explores the relationship between Thais’ attitudes towards product placement and gaming streamers on Youtube. This quantitative research was conducted through an online survey which collected data from 200 Thai respondents, aged above 18 years old who noticed product placement in gaming streamers’ channel on Youtube. The results from the study reveals that respondents’ attitudes towards product placement in gaming streamers on Youtube, categorized into product integration and video advertisement , result differently based on the categorization of product placement. Respondents …


The Influence Of Samsung Smartphone Social Media Advertising On Thai Consumers’ Attitude And Purchase Intention, Seint Sandi Tun Jan 2021

The Influence Of Samsung Smartphone Social Media Advertising On Thai Consumers’ Attitude And Purchase Intention, Seint Sandi Tun

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study aims to investigate Thai consumers' attitude towards Samsung smartphone social media advertising and their purchase intention toward both the advertised product and brand "Samsung”. Furthermore, it explores the relationship between consumers’ attitude and their purchase intention, as well as the influence of social media advertising by comparing gender and different types of brand users. The quantitative research was conducted through online survey collecting data from 300 respondents whose age range is between 18-40 years. The results revealed that Thai consumers have positive attitude towards Samsung smartphone social media advertising and moderate purchase intention. As a result, from Pearson’s …


การสำรวจปัญหาและแนวทางพัฒนานโยบายเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมคาแรคเตอร์ไทยผ่านมุมมองซอฟต์พาวเวอร์, กฤชพนธ์ ศรีอ่วม Jan 2021

การสำรวจปัญหาและแนวทางพัฒนานโยบายเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมคาแรคเตอร์ไทยผ่านมุมมองซอฟต์พาวเวอร์, กฤชพนธ์ ศรีอ่วม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสำรวจปัญหาและสถานการณ์ของอุตสาหกรรมคาแรคเตอร์ไทย และ 2) เพื่อนำเสนอแนวทางพัฒนานโยบายเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมคาแรคเตอร์ไทยผ่านมุมมองซอฟต์พาวเวอร์ งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในระบบนิเวศอุตสาหกรรมคาแรคเตอร์ ได้แก่ ผู้ผลิตคาแรคเตอร์, อาจารย์มหาวิทยาลัยในสาขาที่เกี่ยวข้อง, หน่วยงานส่งเสริมสนับสนุนจากทั้งภาครัฐและเอกชน, ผู้ผลิตสินค้าคาแรคเตอร์, และกลุ่มผู้บริโภคทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ รวมทั้งหมด 15 ท่าน เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยผู้วิจัยประยุกต์ใช้แนวคิดเกี่ยวกับซอฟต์พาวเวอร์ 6 ด้าน มาเป็นกรอบในการศึกษาแนวทางส่งเสริมต่ออุตสาหกรรมคาแรคเตอร์ไทย ได้แก่ ความเป็นไทย การศึกษา การส่งออกและการร่วมมือระหว่างประเทศ การประยุกต์ใช้ดิจิทัล ผู้ประกอบการจากอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง และภาครัฐ ผลการวิจัยพบว่า อุตสาหกรรมคาแรคเตอร์ไทยเผชิญกับสถานการณ์และปัญหาที่แตกต่างกันตามแต่ละภาคส่วน โดยปัญหาที่เป็นจุดร่วมของทั้งระบบนิเวศคือ ความเข้าใจต่อโครงสร้างของระบบนิเวศอุตสาหกรรมคาแรคเตอร์ และไม่มีหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง เป็นต้น โดยผู้วิจัยหยิบยกปัญหาที่มีความสำคัญเหล่านี้มานำเสนอเป็นแนวทางพัฒนานโยบายเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมคาแรคเตอร์ไทย ประกอบไปด้วย แนวทาง 3 วาระ ได้แก่ วาระที่ 1) แก้ปัญหาและสร้างตัวตนแก่อุตสาหกรรมคาแรคเตอร์ไทย วาระที่ 2) พัฒนาต่อยอดคาแรคเตอร์ไทย วาระที่ 3) สร้างความผูกพันธ์ระหว่างคาแรคเตอร์ไทยกับผู้บริโภคในวงกว้าง ตลอดจนนำเสนอความเป็นไทยในแง่มุมต่าง ๆ ผ่านคาแรคเตอร์ไทย


ลักษณะและกระบวนการสร้างสรรค์มีมจากภาพยนตร์ไทยในสื่อสังคมออนไลน์, กฤษณ์ ทองรอด Jan 2021

ลักษณะและกระบวนการสร้างสรรค์มีมจากภาพยนตร์ไทยในสื่อสังคมออนไลน์, กฤษณ์ ทองรอด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะ การใช้งาน และการเกิดขึ้นของมีมจากภาพยนตร์ไทย และ2) ศึกษากระบวนการสร้างสรรค์มีมจากภาพยนตร์ไทยในสื่อสังคมออนไลน์ โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ตัวบทภาพมีมจากภาพยนตร์ไทย ประกอบด้วยภาพยนตร์ชุดหอแต๋วแตกและภาพยนตร์ร่างทรง ร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้สร้างภาพยนตร์และผู้ผลิตมีมในฐานะผู้ชมภาพยนตร์ จากการศึกษาพบว่ามีมจากภาพยนตร์ไทยนั้นมีลักษณะการสร้างสรรค์ใน 3 ลักษณะ ได้แก่ การจับภาพจากภาพยนตร์ การใช้โปรแกรมตัดต่อ และการใช้ภาพทางการ มีการใช้งานมีมใน 6 ลักษณะ ได้แก่ การทำซ้ำ การเพิ่มองค์ประกอบอื่น การใส่บริบทใหม่ การเพิ่มองค์ประกอบอื่นและใส่บริบทใหม่ การเปลี่ยนแปลงภาพตัวละคร และการเปลี่ยนแปลงบทพูด อีกทั้งประเด็นทางสังคมที่ถูกวิพากษ์อย่างเป็นวงกว้างและสภาพการณ์ทางการเมืองที่มีการกดทับอย่างเป็นระบบมีส่วนช่วยให้เกิดการสร้างมีมเพื่อล้อเลียน นอกจากนั้น การสร้างมีมจากภาพยนตร์ไทยนั้นผู้สร้างมีมได้เริ่มต้นสร้างจากการพิจารณากระแสสังคมหรือประเด็นใดๆที่กำลังถูกพูดถึง จากนั้นจึงหาภาพยนตร์ที่มีความใกล้เคียงหรือสอดคล้องทางบริบทและทำการสร้างมีมเพื่อล้อเลียน


การเล่าเรื่องและการสื่อสารค่านิยมในละครแนววิชาชีพของเกาหลีใต้, ชนาพร ธราวรรณ Jan 2021

การเล่าเรื่องและการสื่อสารค่านิยมในละครแนววิชาชีพของเกาหลีใต้, ชนาพร ธราวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการเล่าเรื่องและการสื่อสารค่านิยมในละครแนววิชาชีพของเกาหลีใต้ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนางานสร้างสรรค์งานละครโทรทัศน์ประเทศไทยและเป็นแนวทางสำหรับผู้ที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับค่านิยมและวัฒนธรรมในละครโทรทัศน์ของเกาหลีใต้ ผ่านการศึกษาตัวบทประกอบกับการสัมภาษณ์เชิงลึกจากตัวแทนของผู้ชมหรือผู้เขียนรีวิวละครเกาหลีใต้และนักวิชาการด้านเกาหลีศึกษาเพื่อเพิ่มมุมมองในการวิเคราะห์ตามวัตถุประสงค์ ผลการวิจัยพบว่าละครแนววิชาชีพของเกาหลีใต้การเล่าเรื่องมีการผสมผสานการเล่าเรื่องในรูปแบบที่หลากหลาย นอกเหนือจากการนำเสนอแนววิชาชีพเพียงอย่างเดียว มีการใช้ตัวละครนำที่เป็นเพศตรงกันข้ามเป็นหลักในการเผชิญกับปัญหา โดยไม่จำเป็นต้องมีความรักแบบชายหญิงเข้ามาเกี่ยวข้อง และมีการใช้สัญญะมาช่วยเข้าในสร้างตัวละคร รวมถึงใช้เรื่องราวภูมิหลังของตัวละครมาเป็นความสามารถในการปฏิบัติวิชาชีพ ในส่วนของการสื่อสารค่านิยมทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านปัจเจกและกลุ่ม ด้านครอบครัว ด้านเพศ และด้านการทำงาน พบว่ามีการสื่อสารผ่านกลวิธีการเล่าเรื่องผ่านบทสนทนาและตัวละครเป็นหลัก แต่มีการใช้กลวิธีการสื่อสารอื่นเข้ามาเพิ่มมิติในการสื่อสารคุณลักษณะของค่านิยม และคุณลักษณะของค่านิยมภายในละครส่วนมากยังคงสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อดั้งเดิมจากลัทธิของขงจื๊อ แต่ได้นำเสนอมุมมองการเปลี่ยนแปลงผ่านยุคสมัยและการเปลี่ยนแปลงผ่านการสร้างสิทธิและทางเลือกให้กับตัวละคร โดยใช้วิชาชีพของตัวละครหลักเข้ามามีส่วนช่วยเพื่อชี้ให้เห็นถึงมุมมองที่แตกต่างเพื่อคลี่คลายสถานการณ์


การบริหารจัดการธุรกิจละครข้ามชาติในอุตสาหกรรมสื่อไทย, ชวนา สุทธินราธร Jan 2021

การบริหารจัดการธุรกิจละครข้ามชาติในอุตสาหกรรมสื่อไทย, ชวนา สุทธินราธร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บทความวิจัยชิ้นนี้มีจุดมุ่งหมายในการศึกษากลยุทธ์และการบริหารจัดการธุรกิจละครข้ามชาติขององค์กรผู้ให้บริการเนื้อหาในประเทศไทย รวมถึงอุปสรรคและแนวโน้มในอนาคตของธุรกิจดังกล่าวในอุตสาหกรรมสื่อไทย ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารจากองค์กรสื่อที่ดำเนินธุรกิจละครข้ามชาติ 6 ราย และนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อข้ามชาติ 2 ราย ผลการศึกษาพบว่า องค์กรผู้ให้บริการเนื้อหาในประเทศไทยไม่ว่ารายใหญ่หรือรายย่อยต่างให้ความสำคัญกับตลาดผู้ชมต่างประเทศ เป้าประสงค์ในการดำเนินธุรกิจเป็นไปเพื่อแสวงหารายได้และฐานผู้ชมที่ใหญ่ขึ้น โอกาสทางธุรกิจและการต่อยอดความสำเร็จ รวมถึงเสริมสร้างอำนาจอ่อนให้แก่ประเทศ ปัจจัยด้านการเมือง เทคโนโลยี วัฒนธรรมและกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลก เป็น 4 ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการกำหนดกลยุทธ์อุตสาหกรรมสื่อไทยในภาพรวมมีจุดเด่นอยู่ที่บุคลากรที่มีความสามารถและเทคโนโลยีการผลิตที่ได้รับการยอมรับ รูปแบบการดำเนินธุรกิจมีทั้งการซื้อขายลิขสิทธิ์ละคร การผลิตร่วมและการรับจ้างผลิต ผลสำเร็จที่เกิดขึ้นสอดคล้องไปกับเป้าประสงค์ คือ องค์กรมีการเติบโตในแง่ของรายได้และฐานผู้ชม อีกทั้งยังได้รับการยอมรับจากตลาดเนื้อหาสากล ทว่าก็ยังมีอุปสรรคจากระบบเซนเซอร์ของประเทศจีนที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ การสนับสนุนจากภาครัฐที่ไม่ต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม ข้อจำกัดทางงบประมาณและรสนิยมที่แย้งกันระหว่างผู้ชมภายในและต่างประเทศ ทั้งนี้ ธุรกิจละครข้ามชาติเป็นธุรกิจที่มีความเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา เนื่องจากขึ้นอยู่กับหลากหลายตัวแปร เมื่อประกอบกับการขาดการผลักดันที่เป็นรูปธรรมจากภาครัฐ จึงทำให้การเติบโตขององค์กรสื่อไทยในธุรกิจนี้ไม่แข็งแรงนัก


การใช้แฮชแท็กบนโซเชียลมีเดีย, ณฐมน โพธา Jan 2021

การใช้แฮชแท็กบนโซเชียลมีเดีย, ณฐมน โพธา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มุ่งศึกษา (1) วัตถุประสงค์การใช้โซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มที่เป็นที่นิยมในไทย ได้แก่ เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ และอินสตาแกรม (2) แฮชแท็กในโซเชียลมีเดียแต่ละแพลตฟอร์ม และ (3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน จากการสำรวจด้วยแบบสอบถามผู้ใช้แฮชแท็กจำนวน 423 คน วิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม ผลการศึกษาพบว่า ผู้ใช้แฮชแท็กส่วนใหญ่ใช้มากกว่า 1 แพลตฟอร์ม โดยใช้แฮชแท็กในทวิตเตอร์มากที่สุด รองลงมา คือ เฟซบุ๊ก และอินสตาแกรม วัตถุประสงค์การใช้แฮชแท็กมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การใช้โซเชียลมีเดีย คือ การตอบสนองด้านข้อมูลเป็นหลัก ซึ่งวัตถุประสงค์การใช้แฮชแท็กยังสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ทั้งสิ้น 10 ด้าน ได้แก่ การค้นหาและติดตามข้อมูล สนับสนุนบุคคลที่ชื่นชอบ การจัดการข้อมูล การกระจายเนื้อหาและเข้าถึงผู้คนจำนวนมาก ประโยชน์ทางธุรกิจและการซื้อขายสินค้า ความสนุกสนานและตลกขบขัน การแสดงความคิดเห็น การสร้างความสัมพันธ์ การนำเสนอตนเอง สื่อความหมายและทดแทนอวัจนภาษา ซึ่งผลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่มจะให้รายละเอียดเพิ่มเติมในแต่ละประเด็น ด้านความแตกต่างระหว่างแพลตฟอร์ม การใช้แฮชแท็กในทวิตเตอร์จะเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสาธารณะและความสนใจส่วนบุคคล ขณะที่การใช้แฮชแท็กในอินสตาแกรมเป็นข้อมูลที่เน้นตนเองเป็นหลัก ส่วนเฟซบุ๊กเป็นการใช้แฮชแท็กในเชิงข้อมูลเกี่ยวกับคนรู้จักและการเน้นข้อความ นอกจากนี้พบว่าผู้ใช้แฮชแท็กตัดสินใจเลือกใช้แฮชแท็กจากปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับตัวเอง สังคม ลักษณะแฮชแท็ก และการรองรับของแพลตฟอร์ม ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า แม้ว่าแฮชแท็กจะถือกำเนิดจากการจัดระเบียบข้อมูล แต่ผลการศึกษาพบว่าการใช้แฮชแท็กสามารถตอบสนองการใช้ประโยชน์ที่หลากหลายตามทฤษฎีการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงศักยภาพการใช้เครื่องมือสื่อสาร เพื่อตอบสนองความต้องการของตนในแต่ละด้าน


การโหยหาอดีตผ่านเพลงไทยสากลในยุค ’90s, ธัญพร เฮงวัฒนอาภา Jan 2021

การโหยหาอดีตผ่านเพลงไทยสากลในยุค ’90s, ธัญพร เฮงวัฒนอาภา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาที่มาและสาเหตุของการเกิดปรากฏการณ์โหยหาอดีตผ่านเพลงไทยสากลในยุค ’90s ในสังคมไทย, พฤติกรรมการสื่อสารที่แสดงถึงการโหยหาอดีตและการสร้างเนื้อหาขึ้นเองของผู้ฟังที่นิยมเพลงไทยสากลยุค ’90s, กระบวนการสื่อความหมายของการโหยหาอดีตผ่านเนื้อหาต่าง ๆ ที่ผู้ผลิตสื่อบันเทิงสร้างขึ้นโดยมีเพลงไทยสากลยุค ’90s เป็นองค์ประกอบ รวมถึงศึกษาการสร้างเนื้อหาและพฤติกรรมการสื่อสารที่แสดงถึงการโหยหาอดีต ที่ศิลปินนักร้องในยุค ’90s และศิลปินยุคปัจจุบันมีต่อแฟนเพลง ผู้วิจัยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยแหล่งข้อมูลประเภทเอกสาร การใช้ข้อมูลเชิงชาติพันธุ์วรรณาจากประสบการณ์ของผู้วิจัย การสัมภาษณ์เชิงลึก และการเข้าสังเกตการณ์แบบเปิดเผยและมีส่วนร่วม โดยใช้แนวคิดเกี่ยวกับการโหยหาอดีต แนวคิดเกี่ยวกับเนื้อหาที่ผู้บริโภคสร้างเอง และแนวคิดเกี่ยวกับการผลิตสื่อเพื่อความรู้สึกโหยหาอดีต เป็นกรอบในการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า ความรู้สึกโหยหาอดีตผ่านเพลงไทยสากลในยุค ’90s เกิดจากมิติปัจเจกบุคคล ได้แก่ การมีบทบาทหน้าที่เพิ่มขึ้นตามวัยจนรู้สึกโหยหาความสดใสและความเป็นอิสระในอดีต และมิติทางสังคม ได้แก่ สภาพการณ์บ้านเมืองและสภาวะโดยรวมของโลกที่ทำให้รู้สึกไม่มีความสุขเหมือนในอดีต ความรู้สึกที่เกิดขึ้นประกอบไปด้วย การโหยหาตัวตนในอดีตและภาพประสบการณ์ส่วนตัว การโหยหาถึงบุคคลที่เกี่ยวข้องในอดีต การโหยหาสภาพสังคม การโหยหาการเปิดรับสื่อ และการโหยหาลักษณะของเพลงไทยสากลในยุค ’90s โดยกลุ่มผู้รับสารจะแสดงออกถึงความรู้สึกเหล่านี้ผ่านพฤติกรรมการใช้สื่อต่าง ๆ ในปัจจุบัน ซึ่งนำไปสู่การสร้างเนื้อหาที่ผู้บริโภคสร้างเอง ที่มีบทบาทอย่างยิ่งในกระบวนการสร้างสรรค์สื่อบันเทิง ส่วนผู้ผลิตสื่อมีวิธีสร้างเนื้อหาเพื่อสื่อความหมายของการโหยหาอดีต ได้แก่ “Remaster” หรือ การปรับปรุงของเดิมให้สดใหม่ “Remake” หรือ การสร้างเนื้อหาใหม่จากโครงสร้างเดิม และ “Reboot” หรือ การสร้างเนื้อหาใหม่ที่ไม่เคยทำมาก่อน สำหรับกลุ่มศิลปินนักร้องเพลงไทยสากลในยุค ’90s มีพฤติกรรมการสื่อสารเพื่อความรู้สึกโหยหาอดีต ได้แก่ การรักษาความเป็นตัวตน การรักษาและพัฒนาความสามารถ และการรักษาความสัมพันธ์กับแฟนเพลง ในขณะที่กลุ่มศิลปินนักร้องในปัจจุบันนิยมใช้การแสดงตัวตนที่เป็นเด็กยุค ’90s หรือมีประสบการณ์ชีวิตที่เกี่ยวข้องกับเพลงไทยสากลในยุค ’90s มาก่อน ซึ่งความหมายของความโหยหาอดีตจากกลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 กลุ่ม มีทั้งความสอดคล้องและขัดแย้งกัน.


ความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันต่อศิลปินและการมีส่วนร่วมของผู้ใช้แอปพลิเคชัน Joox, ณัฏฐวี ชนะพันธ์ Jan 2021

ความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันต่อศิลปินและการมีส่วนร่วมของผู้ใช้แอปพลิเคชัน Joox, ณัฏฐวี ชนะพันธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันต่อศิลปินและการมีส่วนร่วมของผู้ใช้แอปพลิเคชัน JOOX มีตัวแปรที่ศึกษาได้แก่ การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ (ความผูกพันทางการเงิน, ความผูกพันทางสังคม, ความผูกพันทางโครงสร้าง) ความรู้สึกทางอารมณ์ (ต่อศิลปิน, ต่อแอพพลิเคชัน JOOX)และการมีส่วนร่วมของผู้บริโภคที่เคยใช้แอพพลิเคชัน JOOX กลุ่มตัวอย่างเป็นประชากรเพศชายและเพศหญิงที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้ที่เคยใช้แอพพลิเคชั่น JOOX สาเหตุที่เลือกกลุ่มประชากรนี้ เนื่องจากคนที่เคยใช้แอพพลิเคชั่น JOOXเท่านั้นถึงจะทราบได้อย่างแท้จริงว่าปัจจัยใดที่สามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ได้ จำนวน 205 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วยการใช้ค่าสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation coefficient) ผลการวิจัยพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันต่อศิลปินและการมีส่วนร่วมของผู้ใช้แอปพลิเคชัน JOOX โดยรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ พบว่า ทุกด้านมีทิศทางแปรผันตามกัน โดยที่ค่าความผูกพันด้านความรู้สึกต่อแอปพลิเคชั่น JOOX มีค่ามากที่สุดอยู่ที่ 0.803 และความผูกพันพันด้านความรู้สึกต่อศิลปินมีค่าน้อยที่สุดอยู่ที่ 0.423 เมื่อพิจารณาอย่างละเอียดพบว่าความผูกพันโดยรวมมีความสัมพันธ์กับการใช้ประโยชน์ และความผูกพันที่เกิดจากแอปพลิเคชั่นเป็นตัวกำหนดให้ผู้ฟังเลือกฟังเพลงมากกว่าศิลปิน


อิทธิพลของการเปิดรับการสื่อสารแบบบอกต่อออนไลน์ การรับรู้ความเสี่ยงและการตระหนักต่อ ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภค, วรวุฒิ ชูมณี Jan 2021

อิทธิพลของการเปิดรับการสื่อสารแบบบอกต่อออนไลน์ การรับรู้ความเสี่ยงและการตระหนักต่อ ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภค, วรวุฒิ ชูมณี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับอิทธิพลของการเปิดรับการสื่อสารแบบบอกต่อออนไลน์ การรับรู้ความเสี่ยงในด้านการเงิน ด้านประสิทธิภาพ ด้านจิตวิทยา และการตระหนักในปัญหาสิ่งแวดล้อม ที่มีต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ของผู้บริโภค โดยใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่มีเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้า และอยู่ในช่วงอายุที่มีกำลังซื้อ ระหว่าง 35-60 ปี จำนวนทั้งสิ้น 200 ตัวอย่าง ผลการวิจัยที่ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติด้วยการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ (Multiple Linear Regression) แบบ Stepwise สรุปได้ว่า การรับรู้ความเสี่ยงด้านการเงิน การรับรู้ความเสี่ยงด้านจิตวิทยา การเปิดรับการสื่อสารแบบบอกต่อออนไลน์ และ การตระหนักในปัญหาสิ่งแวดล้อม คือ 4 ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ของผู้บริโภคมากที่สุดตามลำดับ คิดเป็นร้อยละ 26.1 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 โดยจากผลการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยได้นำเสนอแบบจำลองเส้นทางการหาข้อมูลในการซื้อรถยนต์แบตเตอรี่ไฟฟ้าของผู้บริโภคเพื่อเป็นแนวทางในการการออกแบบการสื่อสารของรถยนต์แบตเตอรี่ไฟฟ้า โดยในด้านของผู้ส่งสาร ควรสื่อสารผ่านกลุ่มผู้มีอิทธิพลทางความคิดในวงการรถยนต์ ในขณะที่ผู้บริโภคจะเข้าถึงข้อมูลจากเว็บไซต์ค้นหาข้อมูลอย่างกูเกิ้ล และยูทูบ โดยมีจุดดึงดูดสารอยู่ที่ข้อมูลที่ทำให้ผู้บริโภครู้สึกมั่นใจและไม่กังวลว่าจะมีความเสี่ยงในการซื้อเกิดขึ้น เช่น ความคุ้มค่าทางการเงิน และความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม


อิทธิพลของคุณค่าตราสินค้าศิลปินนักร้องและคุณค่าตราสินค้าของสินค้าต่อพฤติกรรมผู้บริโภค, ณัฐวิชช์ อนันต์ชัยธนกุล Jan 2021

อิทธิพลของคุณค่าตราสินค้าศิลปินนักร้องและคุณค่าตราสินค้าของสินค้าต่อพฤติกรรมผู้บริโภค, ณัฐวิชช์ อนันต์ชัยธนกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) คุณค่าตราสินค้าศิลปินนักร้อง คุณค่าตราสินค้าของสินค้า และพฤติกรรมผู้บริโภค (ได้แก่ การรับรู้ภาพลักษณ์ของตราสินค้า ทัศนคติต่อตราสินค้า ความผูกพันต่อตราสินค้า และความตั้งใจซื้อ) และ 2) อิทธิพลของคุณค่าตราสินค้าศิลปินนักร้องและคุณค่าตราสินค้าของสินค้า ต่อพฤติกรรมผู้บริโภค โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์จากกลุ่มตัวอย่าง อายุระหว่าง 20 – 30 ปี จำนวน 415 คน แบ่งเป็น ผู้ที่ชื่นชอบศิลปิน The Toys 201 คน และศิลปินนนท์ ธนนท์ 214 คน ผลการวิจัยพบว่า คุณค่าตราสินค้าศิลปินนักร้อง คุณค่าตราสินค้าของสินค้า และพฤติกรรมผู้บริโภคของผู้ติดตามศิลปิน The Toys และศิลปินนนท์ ธนนท์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยคุณค่าตราสินค้าศิลปินนักร้อง มีอิทธิพลต่อการรับรู้ภาพลักษณ์ของตราสินค้า ทัศนคติต่อตราสินค้า และความผูกพันต่อตราสินค้าของผู้ติดตามศิลปิน The Toys และคุณค่าตราสินค้าศิลปินนักร้อง มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อ ทั้งผู้ติดตามศิลปิน The Toys และศิลปินนนท์ ธนนท์ และคุณค่าตราสินค้าของสินค้า มีอิทธิพลต่อการรับรู้ภาพลักษณ์ของตราสินค้า ทัศนคติต่อตราสินค้า ความผูกพันต่อตราสินค้า และความตั้งใจซื้อของทั้งตราสินค้า Wall's และตราสินค้า Nestle นอกจากนี้ ผลการวิจัยยังพบว่า มิติของตัวแปรคุณค่าตราสินค้าศิลปินนักร้องของศิลปิน The Toys ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคทั้ง 4 ด้าน มากที่สุดคือ ความไว้วางใจได้ ส่วนมิติความมุ่งมั่นของตัวแปรคุณค่าตราสินค้าศิลปินนักร้องของศิลปินนนท์ ธนนท์ มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคทั้ง 4 ด้าน มากที่สุด และมิติของตัวแปรคุณค่าตราสินค้าของตราสินค้า Wall's ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคทั้ง 4 ด้าน มากที่สุดคือ ความภักดีในตราสินค้า ส่วนมิติการตระหนักรู้และการเชื่อมโยงตราสินค้าของตัวแปรคุณค่าตราสินค้าของตราสินค้า Nestle มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคทั้ง 4 ด้าน


Chinese Consumers’ Exposure To Weibo Posts, Awareness, And Behavioral Tendency Regarding Environmental Issues, Xue Gao Jan 2021

Chinese Consumers’ Exposure To Weibo Posts, Awareness, And Behavioral Tendency Regarding Environmental Issues, Xue Gao

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The study’s objective is to examine Chinese consumers' exposure to Weibo posts, their environmental awareness, and behavioral tendency regarding environmental issues. This study examines the association between Chinese consumers' exposure to Weibo posts and awareness regarding environmental issues and the relationship between environmental awareness and consumer behavior. An online survey collected data from 200 individuals aged 18 to 59 exposed to Greenpeace, Weibo Environmental Protection, or other ecological posts on Weibo between October 1, 2020, and October 31, 2021. The findings indicated that respondents have a neutral exposure to Weibo posts (M=2.90), with the most exposure to text posts. Environmental …


อิทธิพลของการเปิดรับสื่อและการยอมรับนวัตกรรมนาฬิกาเพื่อสุขภาพ ที่มีต่อความตั้งใจซื้อของผู้บริโภคที่จะก้าวสู่วัยผู้สูงอายุ, ชาญณรงค์ ธีระโรจนารัตน์ Jan 2021

อิทธิพลของการเปิดรับสื่อและการยอมรับนวัตกรรมนาฬิกาเพื่อสุขภาพ ที่มีต่อความตั้งใจซื้อของผู้บริโภคที่จะก้าวสู่วัยผู้สูงอายุ, ชาญณรงค์ ธีระโรจนารัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยนำร่องที่มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายอิทธิพลของการเปิดรับข้อมูลข่าวสาร ความสนใจนวัตกรรมส่วนบุคคล และการยอมรับนวัตกรรมในด้านการรับรู้ประโยชน์ในการใช้งาน การรับรู้ความง่ายในการใช้งาน และอิทธิพลของกลุ่มและสังคม ที่มีต่อความตั้งใจซื้อนาฬิกาเพื่อสุขภาพของผู้บริโภคที่กำลังจะก้าวสู่วัยผู้สูงอายุ เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณโดยมีกลุ่มตัวอย่าง 200 คน ใช้แบบสอบถามออนไลน์ในการเก็บข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า การเปิดรับข้อมูลข่าวสารนวัตกรรมนาฬิกาเพื่อสุขภาพของผู้บริโภคที่กำลังจะก้าวสู่วัยผู้สูงอายุอยู่ในระดับปานกลาง ระดับความสนใจนวัตกรรมส่วนบุคคล และระดับการยอมรับนวัตกรรมโดยรวมอยู่ในระดับสูง มีความตั้งใจซื้อนาฬิกาเพื่อสุขภาพในระดับปานกลาง ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า การรับรู้ประโยชน์การใช้งาน (ฺBeta = 0.398) ความสนใจนวัตกรรมส่วนบุคคล (Beta = 0.313) อิทธิพลจากกลุ่มและสังคม (Beta = 0.162) และการรับรู้ความง่ายของการใช้งาน (Beta = 0.148) มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อโดยรวม โดยตัวแปรอิสระสามารถอธิบายอิทธิพลต่อตัวแปรตามได้ร้อยละ 61.4 (R2 = 0.614)


The Relationship Between Starbucks Brand’S Image, Trust, And Online Engagement, Wei-Chih Chen Jan 2021

The Relationship Between Starbucks Brand’S Image, Trust, And Online Engagement, Wei-Chih Chen

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objectives of this research are to explore brand image, brand trust, online brand engagement of Starbucks, as well as to explore the relationship among these three variables. Data are collected through an online survey with 230 respondents, who are Starbucks Thailand’s customers, aged between 18 to 40 years old are asked to participate in the online survey. The results depict that the respondents had a positive brand image of Starbucks Thailand (M = 4.21). Moreover, the results show that the respondents had fairly high trust in Starbucks Thailand (M = 4.21) and moderately engaged with Starbucks Thailand Facebook page …


The National Identity Representation In Bangkok's Museums, Yiwen Xu Jan 2021

The National Identity Representation In Bangkok's Museums, Yiwen Xu

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The main objective of this research was to explore how national identity is represented in different museums in Bangkok. Therefore, three museums in Bangkok were selected as the research subjects: Bangkok National Museum, Museum Siam, and Bangkok Art and Culture Centre. Through a qualitative research approach, the researcher investigated the above-mentioned objective by engaging with key informants from museums and scholars from the field of museum communication management. Semi-structured interviews were utilized with five key informants. The research findings illustrated that the three selected museums had arranged the exhibitions appropriately according to their nature by utilizing different exhibition communication approaches. …


The Influence Of Product Placement On Youtube On Dating App’S Consumers' Decision Making, Lyuyang Xu Jan 2021

The Influence Of Product Placement On Youtube On Dating App’S Consumers' Decision Making, Lyuyang Xu

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The purpose of this research is to study the influence of product placement on YouTube on dating apps' consumers' decision making. Online questionnaire is used as tool for collecting data through various websites. The sample size was 292 Thais from Facebook group, Line and Wechat room. Most of them are between 18-35 years old, are also social media addicted. The study found a positive correlation between product placement on YouTube and consumer intention to download dating apps. It turned out that consumer attitudes towards dating apps would impact consumer to make an informed decision regarding the selection of dating apps, …


The Relationship Between Ewom Credibility, Consumer’S Trust, And Intention To Visit A Café Based On The Café Story Facebook Page, Nutchawee Ahrivorayapong Jan 2021

The Relationship Between Ewom Credibility, Consumer’S Trust, And Intention To Visit A Café Based On The Café Story Facebook Page, Nutchawee Ahrivorayapong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The purpose of this research is to explore eWOM credibility, consumer’s trust, and intention to visit a café based on the Café Story Facebook page and to explore the relationship between these three variables. This research employs a quantitative approach through an online survey, data are collected from 250 target samples who are Thai millennials, aged between 25-40 years old, and follow the Café Story Facebook page. The findings depict that the respondents considered eWOM on the Café Story Facebook page highly credible (M = 4.36). The respondents also highly trust the page (M = 4.19), with cognitive trust receiving …


การวิเคราะห์ความเป็นอื่นของตัวละครในภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่อง Finding Nemo และ Finding Dory, ภาพเพรง เลี้ยงสุข Jan 2021

การวิเคราะห์ความเป็นอื่นของตัวละครในภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่อง Finding Nemo และ Finding Dory, ภาพเพรง เลี้ยงสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่อง การวิเคราะห์ความเป็นอื่นของตัวละครในภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่อง Finding Nemo และ Finding Dory มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อวิเคราะห์การออกแบบเนื้อหาของภาพยนตร์แอนิเมชัน เรื่อง Finding Nemo และ Finding Dory และ 2. เพื่อวิเคราะห์ความเป็นอื่นของตัวละครในภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่อง Finding Nemo และ Finding Dory โดยใช้ระเบียบการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ศึกษาแก่นความคิด โครงเรื่อง ฉาก และตัวละครของภาพยนตร์ทั้งสองเรื่อง ด้วยการวิเคราะห์ตัวบท แนวคิดเกี่ยวกับสัญวิทยา และการสร้างตัวละคร เพื่อใช้ข้อมูลมาประกอบการตีความร่วมกับแนวคิดเรื่อง ความเป็นอื่น (Otherness) เพื่อทำความเข้าใจในการนำเสนอตัวละครที่มีลักษณะเป็นอื่นในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งเป็นตัวละครส่วนใหญ่ของภาพยนตร์ชุดนี้ ผลการวิจัยพบว่า ภาพยนตร์ทั้งสองเรื่องนำเสนอแก่นความคิดเกี่ยวกับความซับซ้อนในความสัมพันธ์ของมนุษย์ ซึ่ง Finding Nemo มีแก่นความคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์พ่อแม่-ลูก และ Finding Dory มีแก่นความคิดเกี่ยวกับการยอมรับตนเองและความสัมพันธ์ในครอบครัว แก่นความคิดของภาพยนตร์ทั้งสองเรื่องนำเสนอเนื้อหาสาระเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของมนุษย์กับคนรอบตัวที่สามารถเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้นได้ ข้อค้นพบจากการศึกษาโครงเรื่อง พบว่า Finding Nemo และ Finding Dory มีจุดเริ่มและจุดสิ้นสุดของเรื่อง ณ ฉากเดียวกัน คือ ฉากแนวปะการังริมผาขาด ส่วนผลการวิเคราะห์ความเป็นอื่นของตัวละครในภาพยนตร์สองเรื่องนี้พบว่า มีแนวทางในการนำเสนอความเป็นอื่นผ่านการสร้างความหมาย 2 รูปแบบ คือ รูปแบบที่ 1 การใช้ภาษาที่มีลักษณะแบบขั้วตรงข้าม ในบทพูดและภาพ และรูปแบบที่ 2 การเหมารวมทางสังคมที่สร้างชุดความหมายให้พันธุ์ปลาเทียบเคียงได้กับชาติพันธุ์มนุษย์ มีการจัดกลุ่มแบ่งแยกกลุ่มคนในสังคม ซึ่งทำให้ตัวละครบางส่วนในเรื่องมีภาพแทนเชิงสังคมที่มีลักษณะเป็นอื่น


แรงจูงใจในการมีปฏิสัมพันธ์บนทวิตเตอร์ของผู้รับชมรายการโหนกระแส, ดามิยา พงศ์ตานี Jan 2021

แรงจูงใจในการมีปฏิสัมพันธ์บนทวิตเตอร์ของผู้รับชมรายการโหนกระแส, ดามิยา พงศ์ตานี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่อง “แรงจูงใจในการมีปฏิสัมพันธ์บนทวิตเตอร์ของผู้รับชมรายการ โหนกระแส” เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจของผู้รับชมรายการโหนกระแสที่จะมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเนื้อหารายการโหนกระแส และเพื่อศึกษาบทบาทของทวิตเตอร์ต่อการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเนื้อหารายการโหนกระแส จากการวิเคราะห์กลุ่มตัวอย่างที่รับชมรายการโหนกระแสและใช้งานทวิตเตอร์ระหว่างรับชมรายการ ช่วงอายุระหว่าง 18 – 35 ปี (กลุ่มวัยทำงานตอนต้น) จำนวน 20 คน พบว่า ความอยากรู้ เป็นแรงจูงใจที่ทำให้ผู้รับชมที่เลือกรับชมรายการโหนกระแส ซึ่งมีทั้งผู้ที่อยากรู้เพื่อให้ทันเหตุการณ์และผู้ที่อยากรู้เนื่องจากเป็นประเด็นที่ตนสนใจ โดยจากการศึกษาครั้งนี้ พบแรงจูงใจ 4 ประเภทที่ทำให้เกิดพฤติกรรมการใช้งานทวิตเตอร์ระหว่างการรับชมรายการโหนกระแส ได้แก่ 1) แรงจูงใจในการแสดงความคิดเห็น 2) แรงจูงใจในการอยากรู้ความคิดเห็นของผู้อื่น 3) แรงจูงใจในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และ 4) แรงจูงใจในการเป็นส่วนหนึ่งของผู้รับชม ซึ่งจากแรงจูงใจทั้ง 4 ประเภทนี้ ทำให้เห็นว่า การมีส่วนร่วมของผู้รับชมนั้นเป็นส่วนหนึ่งของพฤติกรรมการรับชมรายการในลักษณะโซเชียลทีวี (Social TV) ที่ทำให้ผู้รับชมมีความรู้สึกถึงการเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มผู้รับชม ซึ่งมีความสอดคล้องกับความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ด้านสังคมตามทฤษฎีมาสโลว์ (Love and Belonging needs) อีกทั้งยังพบว่า ทวิตเตอร์เป็นแพลตฟอร์มที่สามารถตอบสนองความต้องการและความพึงพอใจของผู้รับชมระหว่างการรับชมรายการโหนกระแสได้ โดยให้ความรู้สึกในแง่ของการมีตัวตนทางสังคม (Social Presence) การเปรียบเทียบทางสังคม (Social Comparison) และการรู้สึกถึงการเป็นส่วนหนึ่งของสังคม (Sense of Belonging) ยิ่งไปกว่านั้น การเลือกใช้ทวิตเตอร์ระหว่างการรับชมยังสามารถสร้างความพึงพอใจในระหว่างการรับชมรายการได้ตามความต้องการตามทฤษฎีการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจ (Uses and Gratification Theory: UGT) จึงทำให้เห็นว่า ทวิตเตอร์สามารถตอบสนองความต้องการของผู้รับชมระหว่างรับชมรายการหรือพฤติกรรมการรับชมรายการในรูปแบบโซเชียลทีวี (Social TV) นั่นเอง


การรับรู้แบรนด์องค์กร การรับรู้ความเสี่ยงเรื่อง พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และความตั้งใจในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน), ดุริยภัทร ศรีรัตนพงศ์ Jan 2021

การรับรู้แบรนด์องค์กร การรับรู้ความเสี่ยงเรื่อง พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และความตั้งใจในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน), ดุริยภัทร ศรีรัตนพงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับการรับรู้แบรนด์องค์กร การรับรู้ความเสี่ยงเรื่อง พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และความตั้งใจในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการธนาคารกสิกรไทย และ (2) อิทธิพลของการรับรู้แบรนด์องค์กร และการรับรู้ความเสี่ยงเรื่อง พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่มีต่อความตั้งใจในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการธนาคารกสิกรไทย ผู้วิจัยเลือกแนวเชิงบุกเบิก (Exploratory Approach) ด้วยวิธีการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) และเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Questionnaire) จากผู้ใช้บริการธนาคารกสิกรไทยที่มีการทำธุรกรรมกับทางธนาคารไม่น้อยกว่า 1 ปี โดยนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ผ่านวิธีการทางสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร่วมกับสถิติเชิงอนุมานด้วยวิธีการวิเคราะห์แบบการถดถอยแบบพหุ (Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า (1) การรับรู้แบรนด์องค์กร การรับรู้ความเสี่ยงเรื่อง พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และความตั้งใจในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการธนาคารกสิกรไทย อยู่ในระดับที่ดีมาก และ (2) การรับรู้แบรนด์องค์กร การรับรู้ความเสี่ยงเรื่อง พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มีผลต่อความตั้งใจเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการธนาคารกสิกรไทยที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05


การเปิดรับข่าวสาร และรูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้บริโภคกลุ่ม "ยังก์โอลด์" (Young Old), วรารัตน์ วัฒนเลิศพงศ์ Jan 2021

การเปิดรับข่าวสาร และรูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้บริโภคกลุ่ม "ยังก์โอลด์" (Young Old), วรารัตน์ วัฒนเลิศพงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจการเปิดรับข่าวสาร และเพื่ออธิบายรูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้บริโภคกลุ่ม “ยังก์โอลด์” (Young Old) ซึ่งเป็นผู้ที่มีสัญชาติไทย เกิดในช่วงปี พ.ศ. 2496 - 2505 ยังใช้ชีวิตด้วยความคล่องแคล่ว กระฉับกระเฉง เข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม รู้สึกว่าตนเองไม่แก่ อยากเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์จากกลุ่มตัวอย่างอายุ 60 - 69 ปี จำนวน 450 คน วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยวิธีการวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive analysis) และการวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor analysis) ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริโภคกลุ่ม “ยังก์โอลด์” (Young Old) มีการเปิดรับข่าวสารผ่านสื่อบุคคลอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ลูกหลาน ญาติ และเพื่อน ขณะที่มีการเปิดรับข่าวสารผ่านสื่อใหม่ในระดับปานกลาง โดย 3 อันดับแรก ได้แก่ ไลน์ เฟซบุ๊ก และยูทูบ และมีการเปิดรับข่าวสารผ่านสื่อดั้งเดิมในระดับปานกลาง โดย 3 อันดับแรก ได้แก่ โทรทัศน์ วิทยุ และหนังสือพิมพ์ รูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้บริโภคกลุ่ม “ยังก์โอลด์” (Young Old) สามารถแบ่งได้เป็น 5 กลุ่ม ดังนี้ 1. กลุ่มหัวสมัยใหม่ ใส่ใจคุณภาพชีวิตที่ดี 2. กลุ่มไม่สนใจใคร ใส่ใจเพียงตนเอง 3. กลุ่มตามกระแสและแคร์ภาพลักษณ์ 4. กลุ่มใช้ชีวิตให้สุด ไม่หยุดอยู่ที่บ้าน 5. กลุ่มสังคมมิตรภาพและธรรมชาติกลมเกลียว


Segmentation Of Thai Generation Z On Value, Attitude, Brand Loyalty, And Purchase Intention Towards Cruelty-Free Products, Emmika Lounporn Jan 2021

Segmentation Of Thai Generation Z On Value, Attitude, Brand Loyalty, And Purchase Intention Towards Cruelty-Free Products, Emmika Lounporn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research examines Thai Generation Z consumers and their value, attitude, brand loyalty, and purchase intention toward cruelty-free products, as well as the relationship among the variables. An online questionnaire was developed to study 400 male and female respondents, aged between 18 - 26 years, that are Thai by nationality or residency, with the acknowledgement of cruelty-free brands. The research findings shows that Thai Generation Z hold Universalism value towards cruelty-free products, have overall positive attitudes towards integrated marketing communication tools of cruelty-free products, positive brand loyalty, and positive purchase intention towards cruelty-free products. Additionally, each independent variable (value, attitude, …


Factors Influencing Consumers’ Purchaseintention Towards Products Endorsed By Korean Boy Bands On Youtube, Wanthida Tiwari Jan 2021

Factors Influencing Consumers’ Purchaseintention Towards Products Endorsed By Korean Boy Bands On Youtube, Wanthida Tiwari

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objective of the study is the understand the factors that influence consumer purchase intention of products endorsed by Korean boy bands on YouTube and identify the weight of the attitude towards source characteristics, YouTube engagement, product involvement level and YouTube advertisement formats amongst each other and with purchase intention. The study was conducted in a quantitative approach from 408 respondents who have been exposed to YouTube ads in 2022. The results are as followed: (1) attractiveness was the highest scored sub-variable of source characteristics, along with clicking like for engagement, product placement for advertisement formats and low involvement product …


Storytelling Techniques, Social Media Strategies, And Tourism Destination Images Of Thailand By Chinese Douyin Content Creators, Xuanrui Xiao Jan 2021

Storytelling Techniques, Social Media Strategies, And Tourism Destination Images Of Thailand By Chinese Douyin Content Creators, Xuanrui Xiao

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study explores the storytelling techniques, social media strategies, and tourism destination images of Thailand by ten famous Chinese Douyin content creators. Two qualitative approaches conduct to obtain data. A narrative analysis examines the storytelling techniques of Douyin content creators, and the tourism destination images of Thailand portrayed by them. An in-depth interview is conducted to examine the social media strategies of Chinese Doyin content creators and tourism destination images of Thailand held in their minds. As a result, fifty vlogs are collected and analyzed to obtain 20 attributes under three categories of storytelling techniques and 8 attributes of tourism …