Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 211 - 240 of 318

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

การเติบโตของวิสาหกิจเริ่มต้นของอิสราเอล: การประกอบการเชิงนโยบายและผลกระทบ, กัญญารัตน์ ฤดีสิน Jan 2022

การเติบโตของวิสาหกิจเริ่มต้นของอิสราเอล: การประกอบการเชิงนโยบายและผลกระทบ, กัญญารัตน์ ฤดีสิน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาพัฒนาการของวิสาหกิจเริ่มต้นและการดำเนินนโยบายเพื่อสนับสนุนวิสาหกิจเริ่มต้นของประเทศอิสราเอล เพื่อศึกษาบทบาทของผู้ประกอบการนโยบายและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินนโยบายส่งเสริมธุรกิจวิสาหกิจเริ่มต้นของอิสราเอลนับตั้งแต่การก่อตั้งประเทศ โดยใช้แนวคิดการเป็นผู้ประกอบการทางนโยบายเป็นกรอบในการวิเคราะห์ จากการศึกษาพบว่า ผู้ที่ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนโยบายด้านเทคโนโลยีและวิสาหกิจเริ่มต้นของอิสราเอล ประกอบด้วยผู้ประกอบการนโยบายที่ทำงานร่วมกัน 3 กลุ่ม คือ ชุมชนเกษตร กองทัพ และรัฐบาล ซึ่งมีคุณลักษณะของการเป็นผู้เข้าใจบริบททางสังคม มีความสามารถในการนิยามปัญหา การสร้างทีม และการประพฤติตนเป็นแบบอย่าง ด้วยคุณสมบัติเหล่านี้ทำให้ผู้ประกอบการนโยบายทั้งสามกลุ่มมองเห็นโอกาสที่เกิดขึ้นจากการเป็นประเทศเกิดใหม่ของอิสราเอล ในการทำงานร่วมกันอย่างเป็นเครือข่ายและฉกฉวยโอกาสจากปัญหาและอุปสรรคด้านภูมิประเทศ ความเป็นพื้นที่ทะเลทราย การขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ ปัญหาจากภัยสงครามที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา และปัญหาเรื่องผู้อพยพ เพื่อผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนโยบายด้านเทคโนโลยี ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคืออิสราเอลมีระบบนิเวศวิสาหกิจเริ่มต้นดีเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก มีอัตราการเติบโตของธุรกิจวิสาหกิจเริ่มต้นสูง มีธุรกิจวิสาหกิจเริ่มต้นที่เติบโตไปเป็นยูนิคอร์นเพิ่มขึ้นทุกปี มีโครงการทั้งจากภาครัฐและเอกชนในการให้การสนับสนุนในด้านต่าง ๆ แก่ผู้ประกอบการ และมีการร่วมลงทุนในธุรกิจวิสาหกิจเริ่มต้นของอิสราเอลอย่างต่อเนื่อง


ท่าทีของญี่ปุ่นต่อการประชุมสุดยอดระหว่างสหรัฐอเมริกาและเกาหลีเหนือ (ค.ศ.2018-2019), กาญจนา ปานสีนุ่น Jan 2022

ท่าทีของญี่ปุ่นต่อการประชุมสุดยอดระหว่างสหรัฐอเมริกาและเกาหลีเหนือ (ค.ศ.2018-2019), กาญจนา ปานสีนุ่น

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาศึกษาท่าทีของญี่ปุ่นที่มีต่อการประชุมสุดยอดระหว่างสหรัฐฯ และเกาหลีเหนือระหว่างปี 2018-2019 เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลให้ญี่ปุ่นมีท่าทีไม่เห็นด้วยกับการประชุมสุดยอดระหว่างสหรัฐฯ กับเกาหลีเหนือ เพราะมองว่าการเจรจาไม่ส่งผลให้เกาหลีเหนือเปลี่ยนพฤติกรรมจนทำให้เกิดการปลดอาวุธนิวเคลียร์และยุติโครงการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ ซึ่งเป็นหลักประกันความมั่นคงแห่งชาติ ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยหลักที่ส่งผลให้ญี่ปุ่นไม่เห็นด้วย กับการประชุมสุดยอดดังกล่าว เกิดจากการรับรู้ (perception) ของรัฐบาลญี่ปุ่นที่มีต่อเกาหลีเหนือ เนื่องจากรัฐบาลญี่ปุ่นหวาดระแวงและมองว่าเกาหลีเหนือเป็นภัยคุกคาม ส่วนนายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะก็มีประสบการณ์ทำงานเกี่ยวกับเกาหลีเหนือมาก่อน จึงไม่ไว้วางใจเกาหลีเหนือ ขณะเดียวกันสังคมญี่ปุ่นก็มองว่าเกาหลีเหนือเป็นศัตรูมาตั้งแต่ในอดีต และโกรธเคืองเกาหลีเหนือในประเด็นการลักพาตัวชาวญี่ปุ่น นอกจากนี้ การเข้าหาเกาหลีเหนือของสหรัฐฯ ก็ทำให้ญี่ปุ่น มองว่า เป็นเรื่องที่กระทบต่อระบบพันธมิตรระหว่างญี่ปุ่นกับสหรัฐฯ ทำให้กลไกในการป้องปราม (deterrence) ลดประสิทธิภาพลง และจะเกิดผลกระทบต่อการถ่วงดุลอำนาจ (balance of power) ในภูมิภาค จนอาจทำให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงและเสถียรภาพภายในของญี่ปุ่น ในการป้องปรามภัยคุกคาม


การศึกษาแนวทางการประยุกต์แนวคิดการออกแบบบริการ (Service Design) ของภาครัฐ เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มระบบบริการตีความพิกัดอัตราศุลกากรล่วงหน้าทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Advance Tariff Ruling), กาญจนาพร ฉ่ำมณี Jan 2022

การศึกษาแนวทางการประยุกต์แนวคิดการออกแบบบริการ (Service Design) ของภาครัฐ เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มระบบบริการตีความพิกัดอัตราศุลกากรล่วงหน้าทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Advance Tariff Ruling), กาญจนาพร ฉ่ำมณี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางในการประยุกต์แนวคิดการออกแบบบริการรวมถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาแพลตฟอร์มระบบบริการตีความพิกัดอัตราศุลกากรล่วงหน้าทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Advance Tariff Ruling) ของกองมาตรฐานพิกัดอัตราศุลกากร กรมศุลกากร โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก จากเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน, ระดับผู้บริหาร คณะทำงานพัฒนาฯ รวมทั้ง ผู้ใช้บริการ ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ออกมาตามคุณสมบัติทางเทคนิคเป็นกระบวนการ 6 ขั้นตอน ได้แก่ การลงทะเบียน การยื่นเอกสาร การรอการตอบรับ การดำเนินการพิจารณาพิกัดอัตราศุลกากร การชำระเงิน และการแจ้งผล พบว่าแต่ละกระบวนการในแพลตฟอร์มยังมีข้อจำกัดในการใช้งาน ผู้วิจัยจึงทำการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกค้นพบว่า ผู้ใช้บริการต้องการทราบถึงความคืบหน้าของกระบวนการดำเนินการพิจารณาตีความพิกัดอัตราศุลกากรล่วงหน้า เพื่อการสามารถวางแผนการนำเข้า ทั้งนี้ผู้วิจัยจึงได้ออกแบบ “ระบบแสดงสถานะการดำเนินงานพิจารณาตีความล่วงหน้า” (ระบบย่อยที่ 2) อาจจะมีการกำหนดสถานะ “การพิจารณาขั้นต้น > การพิจารณาขั้นสุดท้าย” และการแสดงระยะเวลาการนับถอยหลังเพื่อให้ผู้นำเข้ามั่นใจได้ว่า จะแล้วเสร็จตามกรอบระยะเวลา 30/60 วันทำการ ในการออกแบบระบบแสดงสถานะดังกล่าว ได้ประยุกต์ใช้แนวคิดการออกแบบบริการ (Service Design) ของภาครัฐ พบว่า หากต้องการพัฒนาแพลตฟอร์มระบบฯ ที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ ควรเป็นการทำงานร่วมกันของระหว่าง 3 ฝ่ายคือ เจ้าหน้าที่ ผู้ใช้บริการ บริษัทผู้พัฒนาระบบ ทั้งใน 3 ขั้นตอน นับตั้งแต่ การสำรวจและเก็บข้อมูล การออกแบบแนวคิด และการทดสอบและลงมือทำจริง ซึ่งในแต่ละขั้นตอนโดยเฉพาะขั้นตอนที่ให้ผู้ใช้บริการร่วมออกแบบตามหลักผู้ใช้บริการเป็นศูนย์กลาง


ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กร:กรณีศึกษาข้าราชการตำรวจ กองการเงิน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, กีรติ ฐิติพงศกร Jan 2022

ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กร:กรณีศึกษาข้าราชการตำรวจ กองการเงิน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, กีรติ ฐิติพงศกร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรกรณีศึกษาข้าราชการตำรวจ กองการเงิน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อวิเคราะห์ระดับความผูกพันต่อองค์กรของข้าราชการตำรวจ กองการเงิน และศึกษาหาแนวทางเพื่อสร้างความผูกพันต่อองค์กร การศึกษาครั้งนี้ใช้การวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของข้าราชการตำรวจ กองการเงิน ขั้นตอนเชิงปริมาณเกี่ยวข้องกับการสำรวจระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับความผูกพันต่อองค์กร ขณะที่ขั้นตอนเชิงคุณภาพจะเป็นการสัมภาษณ์ข้าราชการตำรวจ กองการเงินและข้าราชการตำรวจที่เคยสังกัดกองการเงิน แต่ได้ย้ายไปอยู่หน่วยงานอื่น ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลเกี่ยวกับระดับการทำงาน และระยะเวลาปฏิบัติงานในหน่วยงาน ปัจจัยด้านลักษณะงาน ได้แก่ ความท้าทายในการทำงาน ความก้าวในการทำงาน การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และอาศัยการทำงานเป็นทีม และปัจจัยด้านความพึงพอใจในการทำงาน ได้แก่ เงินเดือนและสวัสดิการ การพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากร สภาพแวดล้อมในการทำงาน ความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา และความรู้สึกว่าตนสำคัญต่อองค์กร ส่งผลต่อระดับความผูกพันต่อองค์กรอย่างมีนัยสำคัญ


การนำมาตรการลดการใช้พลังงานในหน่วยงานภาครัฐไปปฏิบัติ : กรณีศึกษาที่ทำการปกครองอำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี, คมสัน วงศ์แหลมมัจฉา Jan 2022

การนำมาตรการลดการใช้พลังงานในหน่วยงานภาครัฐไปปฏิบัติ : กรณีศึกษาที่ทำการปกครองอำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี, คมสัน วงศ์แหลมมัจฉา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาการนำมาตรการลดการใช้พลังงานในหน่วยงานภาครัฐมาปฏิบัติของที่ทำการปกครองอำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี โดยมุ่งตอบคำถามว่าที่ทำการปกครองอำเภอเมืองราชบุรี มีการนำมาตรการประหยัดพลังงานไปปฏิบัติอย่างไร และมีภาระทางการบริหารอะไรเกิดขึ้นบ้าง โดยเก็บข้อมูลสถิติค่าไฟ และการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่างรวมทั้งสิ้น 10 คน มีข้อค้นพบว่า นโยบายนี้มีลักษณะของมาตรการบังคับและ “ตัดเสื้อโหล” (One-size-fits-all) ที่ขาดความยืดหยุ่นต่อภารกิจและบริบทของหน่วยงาน การนำนโยบายไปปฎิบัติประสบปัญหาด้านทรัพยากร โดยที่ทำการปกครองอำเภอเมืองราชบุรีสามารถลดการใช้ไฟฟ้าลงได้ถึง 20.65% ในช่วงที่บังคับใช้มาตรการ โดยได้มีการสนองนโยบายอย่างเข้มข้น เช่น กำหนดระยะเวลาเปิด-ปิดเครื่องปรับอากาศ ระยะเวลาพักหน้าจอคอมพิวเตอร์เมื่อไม่ใช้งาน เนื่องจากต้องชดเชยในส่วนที่ไม่สามารถดำเนินการประหยัดพลังงานได้ เช่น การปฏิบัติภารกิจบริการประชาชน และการใช้บริการจากหน่วยงานอื่น หรือหน่วยงานที่มีสถานที่ตั้งอยู่บนอาคารที่ว่าการอำเภอ และการที่ไม่มีงบประมาณสนับสนุนในการจัดซื้ออุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ประหยัดพลังงาน โดยพบว่าที่ทำการปกครองฯ ต้องแบกรับต้นทุนจากการปฏิบัติตามนโยบาย และต้นทุนด้านการเรียนรู้


ประสิทธิผลการทำงานของคณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) ที่ทำการปกครองอำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี, จณิสตา อินทรสุวรรณโณ Jan 2022

ประสิทธิผลการทำงานของคณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) ที่ทำการปกครองอำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี, จณิสตา อินทรสุวรรณโณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยเรื่อง "ประสิทธิผลการทำงานของคณะกรรมการหมู่บ้าน(กม.)อำเภอจอมบึงจังหวัดราชบุรี" โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลการทำงานของคณะกรรมการหมู่บ้าน เพื่อทราบถึงปัญหา อุปสรรค และข้อจำกัดในการทำงานของคณะกรรมการหมู่บ้าน และ เพื่อเสนอแนะแนวทางการเพิ่มประสิทธิผลการทำงานของคณะกรรมการหมู่บ้าน ในการศึกษา ครั้งนี้ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการศึกษาโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In – depth Interview) เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ซึ่งเป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องโดยตรงและเป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจประเด็นต่าง ๆ เกี่ยวกับการปฏิบัติงานของคณะกรรมการหมู่บ้านของอำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี ประกอบด้วย ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำกลุ่มต่าง ๆ และผู้ทรงคุณวุฒิ ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการทำงานของคณะกรรมการหมู่บ้าน อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ปัจจัยบุคคล คือ ทักษะ ความรู้ ความสามารถ ความเข้าใจ ในการทำงานตามหน้าที่ของคณะกรรมการหมู่บ้าน ปัจจัยกลุ่ม คือ กระบวนการทำงาน โครงสร้าง และภาวะผู้นำ และ ปัจจัยองค์การ คือ การสร้างแรงจูงใจ การประสานงาน สภาพแวดล้อม


การนำนโยบายไปปฏิบัติ: กรณีศึกษานโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตมีสิทธิทุกที่ (Universal Coverage For Emergency Patients: Ucep), จามีกร แคนนารี่ Jan 2022

การนำนโยบายไปปฏิบัติ: กรณีศึกษานโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตมีสิทธิทุกที่ (Universal Coverage For Emergency Patients: Ucep), จามีกร แคนนารี่

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัญหาของการนำนโยบาย UCEP ไปปฏิบัติ โดยใช้วิธีการศึกษาจากการค้นคว้าเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สื่อสังคมออนไลน์ และการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย UCEP จำนวน 7 คน โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มผู้กำหนดนโยบาย 2) กลุ่มผู้นำนโยบายไปปฏิบัติ 3) กลุ่มผู้รับประโยชน์จากนโยบาย โดยใช้ทฤษฎีการนำนโยบายไปปฏิบัติจากบนลงล่าง (Top-down Theory of Policy Implementation) ตามตัวแบบกระบวนการนำนโยบายไปปฏิบัติของแวน มีเตอร์ และแวน ฮอร์น ผลการศึกษาพบว่าปัญหาของการนำนโยบาย UCEP ไปปฏิบัติ แบ่งออกเป็น 6 ประเด็นดังนี้ 1) มาตรฐานและวัตถุประสงค์ของนโยบายยังไม่ชัดเจนเท่าที่ควรทั้งในเรื่องของการให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุ การวินิจฉัยระดับอาการของความฉุกเฉิน และการนำส่งผู้ป่วย 2) ทรัพยากรของนโยบายมีไม่เพียงพอ 3) เครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสารระหว่างองค์การยังเกิดปัญหา การสื่อสารให้ความรู้กับประชาชนเกี่ยวกับนโยบายยังไม่ละเอียดครอบคลุม 4) องค์การที่นำนโยบายไปปฏิบัติ มีความพร้อมที่จะนำนโยบายไปปฏิบัติ แต่ยังมีข้อจำกัดในบางเรื่อง 5) เงื่อนไขและทรัพยากรทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ส่งผลให้ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจในตัวของนโยบาย UCEP และ 6) ความร่วมมือหรือการตอบสนองของผู้นำนโยบายไปปฏิบัติยังไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกันเท่าที่ควร ผู้วิจัยได้มีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการนำนโยบาย UCEP ไปปฏิบัติให้เกิดประสิทธิภาพและตอบสนองการต่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โดยมีข้อเสนอแนะให้มีการจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติม การทำนโยบาย CO-PAY การรวมระบบคู่สายต่าง ๆ เพื่อแจ้งเหตุฉุกเฉิน และการจัดโครงการให้ความรู้กับประชาชาเกี่ยวกับนโยบาย UCEP เป็นต้น


บทบาทของสหภาพยุโรปในการจัดการปัญหาการลักลอบอพยพจากแอฟริกามายุโรปในห้วงปี 2017-ปัจจุบัน: กรณีศึกษาเส้นทางเมดิเตอร์เรเนียนตอนกลาง, จารุวรรณ จั่นแจ้ง Jan 2022

บทบาทของสหภาพยุโรปในการจัดการปัญหาการลักลอบอพยพจากแอฟริกามายุโรปในห้วงปี 2017-ปัจจุบัน: กรณีศึกษาเส้นทางเมดิเตอร์เรเนียนตอนกลาง, จารุวรรณ จั่นแจ้ง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาบทบาทของสหภาพยุโรปในการจัดการปัญหาการลักลอบอพยพของชาวแอฟริกันไปยังทวีปยุโรปในห้วงปี 2017-ปัจจุบัน มุ่งศึกษาในเส้นทางเมดิเตอร์เรเนียนตอนกลาง ซึ่งมีต้นทางจากประเทศในทวีปแอฟริกาตอนเหนือ ข้ามทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไปยังประเทศปลายทางในทวีปยุโรปคืออิตาลีและมอลตา โดยจะอธิบายคลอบคลุมถึงสถานการณ์ของปัญหาการอพยพ สาเหตุการอพยพ การดำเนินการของสหภาพยุโรปผ่านการบูรณาการภายในและการส่งเสริมความร่วมมือกับสหภาพแอฟริกาและประเทศในทวีปแอฟริกา ซึ่งเป็นประเทศต้นทาง ตลอดจนศึกษาปัญหาและอุปสรรคต่อการจัดการปัญหาผู้อพยพชาวแอฟริกันภายใต้สภาพแวดล้อมในปัจจุบันที่ทั่วโลกเผชิญปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ ทำให้สถานการณ์การลักลอบอพยพของชาวแอฟริกันไปยังทวีปยุโรปทวีความรุนแรงมากขึ้น ทั้งนี้ ผู้วิจัยใช้แนวคิดระบอบระหว่างประเทศ (International Regime) ภายใต้ทฤษฎีเสรีนิยมใหม่เชิงสถาบัน Neoliberal Institutionalism (NI) มาอธิบายในฐานะที่เป็นกลไกที่ทำให้เกิดสถาบันระหว่างประเทศหรือเป็นตัวกลางในการติดต่อประสานงาน วางกติกา หรือกฎหมาย เพื่อจัดระเบียบหรือแก้ไขปัญหาผู้อพยพร่วมกัน


ความไว้วางใจของประชาชนในการดำเนินงานของศูนย์ดำรงธรรม กระทรวงมหาดไทย : กรณีศึกษา การให้บริการประชาชนของศูนย์ดำรงธรรม จังหวัดปทุมธานี, จิรัชญา บุรุษพัฒน์ Jan 2022

ความไว้วางใจของประชาชนในการดำเนินงานของศูนย์ดำรงธรรม กระทรวงมหาดไทย : กรณีศึกษา การให้บริการประชาชนของศูนย์ดำรงธรรม จังหวัดปทุมธานี, จิรัชญา บุรุษพัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความไว้วางใจของประชาชนในการดำเนินงานของศูนย์ดำรงธรรม กระทรวงมหาดไทย: กรณีศึกษา การให้บริการประชาชนของศูนย์ดำรงธรรม จังหวัดปทุมธานี เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods) โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนในจังหวัดปทุมธานีที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปและเคยใช้บริการของศูนย์ดำรงธรรม จังหวัดปทุมธานี จำนวน 263 คนสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างทำการสัมภาษณ์เชิงลึกจากประชาชนในจังหวัดปทุมธานีที่เคยใช้บริการศูนย์ดำรงธรรม จังหวัดปทุมธานี จำนวน 10 คน ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติการวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นพหุ กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า ระดับความความไว้วางใจในการดำเนินงานของศูนย์ดำรงธรรม จังหวัดปทุมธานีในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยปัจจัยส่วนบุคคล ด้านระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยที่แตกต่างกันมีผลต่อระดับความไว้วางใจของประชาชนที่มีต่อศูนย์ดำรงธรรม จังหวัดปทุมธานี แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ประกอบกับปัจจัยด้านความซื่อสัตย์ การตอบสนอง ความน่าเชื่อถือ ด้านการรับฟัง/เปิดกว้าง และความเป็นธรรม ส่งผลต่อความไว้วางใจของประชาชนที่มีต่อศูนย์ดำรงธรรม จังหวัดปทุมธานีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และปัจจัยที่ส่งผลต่อความไว้วางใจของประชาชนที่มีต่อศูนย์ดำรงธรรม จังหวัดปทุมธานีที่สำคัญมากที่สุด คือ ด้านการตอบสนอง (Beta = 0.299) รองลงมาคือ ด้านความน่าเชื่อถือ (Beta = 0.266) ด้านการรับฟัง/เปิดกว้าง (Beta = 0.232) ด้านความเป็นธรรม (Beta = 0.186) และด้านความซื่อสัตย์ (Beta = 0.130) ตามลำดับ ผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะเพื่อเพิ่มการต่อยอดในการพัฒนาความไว้วางใจผ่านปัจจัย 5 ด้าน ได้แก่ 1.ด้านการตอบสนอง ควรเพิ่มเจ้าหน้าที่ให้พอเพียงกับปริมาณงาน 2.ด้านความน่าเชื่อถือ เจ้าหน้าที่ต้องมีองค์ความรู้และความชำนาญในการแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะความรู้ด้านกฎหมาย และเก็บข้อมูลของผู้มาร้องเรียนเป็นความลับ 3. ด้านการรับฟัง/เปิดกว้าง เจ้าหน้าที่ต้องมีความตั้งใจและเปิดกว้างรับฟังในทุกปัญหาความเดือดร้อน 4. ด้านความเป็นธรรม ปลูกฝังความเท่าเทียมทั้งในองค์กรและปฏิบัติภายใต้อำนาจหน้าที่อย่างยุติธรรม และ 5.ด้านความซื่อสัตย์ ปลูกฝังค่านิยมความซื่อสัตย์ในองค์กร ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับขององค์กรอย่างเคร่งครัด


ประสิทธิภาพของการบริหารจัดการภาครัฐด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล: กรณีศึกษาระบบขอรับการส่งเสริมศิลปะร่วมสมัยของกองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย, จิรัชยา จารุภาวัฒน์ Jan 2022

ประสิทธิภาพของการบริหารจัดการภาครัฐด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล: กรณีศึกษาระบบขอรับการส่งเสริมศิลปะร่วมสมัยของกองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย, จิรัชยา จารุภาวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความคิดเห็นของผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน และผู้ขอรับการส่งเสริมผ่านระบบขอรับการส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย เกี่ยวกับการเปิดใช้ระบบขอรับการส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย รวมถึงศึกษาถึงปัญหาและอุปสรรคในการเปิดใช้ระบบ เพื่อนำเสนอแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงานมากยิ่งขึ้น โดยการศึกษาในครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ซึ่งประกอบด้วย คณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย ผู้ปฏิบัติงานในกองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย และผู้ขอรับการส่งเสริมผ่านระบบขอรับการส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย ในปีงบประมาณ 2566 ผลการศึกษาพบว่า ผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน และผู้ขอรับการส่งเสริม มีความคิดเห็นว่าการเปิดใช้ระบบช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงานในแต่ละด้านดีมากขึ้น กล่าวคือด้านคุณภาพงาน (Quality) พบว่ามีความถูกต้องแม่นยำมากยิ่งขึ้น, ด้านปริมาณงาน (Quantity) พบว่าทำให้ปริมาณงานและจำนวนผู้ปฏิบัติงานลดลง, ด้านเวลา (Time) พบว่าช่วยลดระยะเวลาในการปฏิบัติงานลง, และด้านค่าใช้จ่าย (Costs) พบว่าถึงแม้มีต้นทุนดังกล่าวเพิ่มขึ้นจากการพัฒนาระบบ แต่ถือว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าและจำเป็น เนื่องจากเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ขอรับการส่งเสริม และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานในระยะยาว อย่างไรก็ตามข้อค้นพบเกี่ยวกับประเด็นปัญหาและอุปสรรค ผู้วิจัยพบว่าผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน และผู้ขอรับการส่งเสริม มีมุมมองแตกต่างกัน กล่าวคือผู้บริหารมองว่าปัญหาและอุปสรรคเกิดจากการที่หน่วยงานอยู่ในระหว่างการจัดทำนโยบายส่วนบุคคล ซึ่งทำให้ฟังก์ชั่นของระบบบางส่วนไม่สามารถใช้งานได้ ในขณะที่ผู้ปฏิบัติงานมองว่าปัญหาและอุปสรรคส่วนใหญ่เกิดขึ้นระหว่างการเปิดใช้ระบบและหลังจากการปิดระบบไปแล้ว รวมถึงผู้ขอรับการส่งเสริมซึ่งพบว่ามีปัญหาและอุปสรรคระหว่างการเปิดใช้ระบบเช่นกัน ในการนี้งานวิจัยดังกล่าวสรุปแนวทางการพัฒนาและปรับปรุงระบบจำนวน 3 ประเด็น ได้แก่ 1) การพัฒนาและปรับปรุงระบบขอรับการส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย 2) การพัฒนาและปรับปรุงขั้นตอนการดำเนินงาน และ 3) การพัฒนาบุคลากรของกองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย


แรงจูงใจของอาเซียนต่อการเข้าร่วมความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคของอินเดีย, จุฑารัตน์ บัวศรีจันทร์ Jan 2022

แรงจูงใจของอาเซียนต่อการเข้าร่วมความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคของอินเดีย, จุฑารัตน์ บัวศรีจันทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ท่ามกลางสภาวะการพึ่งพาซึ่งกันและกันทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้นในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ภายหลังสงครามเย็นสิ้นสุด อาเซียนได้ริเริ่มจัดทำความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค หรือ RCEP ขึ้น เพื่อส่งเสริมการบูรณาการทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค โดยเมื่อแรกเริ่มเจรจา RCEP มีสมาชิกทั้งหมด 16 ประเทศ แต่ภายหลังในปี 2019 อินเดียได้ถอนตัวออกจากการเจรจา จากความต้องการรักษาผลประโยชน์ภายในประเทศ อย่างไรก็ดี อินเดียมีแนวโน้มที่จะกลับเข้ามาร่วมความตกลงอีกครั้งในช่วงที่เศรษฐกิจกำลังชะลอตัวและเศรษฐกิจโลกอยู่ในภาวะถดถอย ซึ่ง RCEP เองก็ยังคงเปิดรับอินเดียให้กลับเข้ามาร่วมในฐานะสมาชิกดั้งเดิมได้เสมอ ซึ่งหากอินเดียตัดสินใจกลับเข้ามาร่วมในความตกลง RCEP อีกครั้งในอนาคต การตัดสินใจดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย โดยเฉพาะอาเซียน ซึ่งมีการพึ่งพาซึ่งกันและกันทางเศรษฐกิจกับประเทศในภูมิภาคเอเชียค่อยข้างสูง โดยจากการศึกษาพบว่า อินเดียจะมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจของอาเซียนอย่างมาก โดยคาดว่าจะทำให้มูลค่า GDP ของอาเซียนเพิ่มขึ้น และการค้าระหว่างอาเซียนกับอินเดียภายใต้ความตกลง RCEP มีแนวโน้มที่จะมีมูลค่าสูงกว่าการค้าระหว่างอาเซียนกับอินเดียภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน-อินเดีย ซึ่งมีการเปิดเสรีในระดับที่น้อยกว่า นอกจากนี้ อินเดียจะช่วยให้อาเซียนมีดุลทางการค้าภายใต้ความตกลง RCEP เพิ่มขึ้น และสนับสนุนอาเซียนในการเข้าถึงตลาดใหม่ ๆ ในเอเชียใต้ รวมถึงการที่อินเดียเป็นสมาชิก RCEP จะส่งผลดีต่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างอาเซียนกับอินเดีย ภายใต้กรอบความร่วมมืออื่น ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต จากการพึ่งพาซึ่งกันและกันทางเศรษฐกิจที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจร่วมกัน


มุมมองผู้ประกอบการผ้าทอพื้นถิ่นของชาติพันธุ์ต่อนโยบายการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้และสวมใส่ผ้าไทยที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจฐานราก กรณีศึกษา จังหวัดราชบุรี, ชนิสรา มหัทธนไพศาล Jan 2022

มุมมองผู้ประกอบการผ้าทอพื้นถิ่นของชาติพันธุ์ต่อนโยบายการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้และสวมใส่ผ้าไทยที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจฐานราก กรณีศึกษา จังหวัดราชบุรี, ชนิสรา มหัทธนไพศาล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์3 ประการ ดังนี้ 1.เพื่อศึกษามุมมองและความคิดเห็นของผู้ประกอบการทอผ้าชาติพันธุ์ภายใต้มาตรการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้และสวมใส่ผ้าไทยที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจฐานราก 2.เพื่อศึกษาการดำเนินงานของมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้และสวมใส่ผ้าไทยที่สามารถตอบสนองความต้องการหรือเรื่องใดไม่ตอบสนองต่อผู้ประกอบการทอผ้าชาติพันธุ์ในจังหวัดราชบุรีเพื่อหาข้อเสนอแนะในการพัฒนาแนวทางในการปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม หากนโยบายดังกล่าวมีการดำเนินงานที่ไม่เพียงพอผู้ประกอบการต้องการการสนับสนุนด้านใดบ้าง 3.เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ความสำเร็จของผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จที่สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดและมีรายได้ประจำจากการประกอบอาขีพทอผ้าว่าปัจจัยความสำเร็จคืออะไร มีความสัมพันธ์อย่างไรกับอัตลักษณ์ของชุมชน โดยการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพดำเนินการศึกษาด้วยการใช้เทคนิคการปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญซึ่งเป็นกลุ่มผู้ประกอบการทอผ้าชาติพันธุ์ จำนวน 3 กลุ่ม โดยใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง ทั้งนี้ผลการศึกษาพบว่าผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ให้มุมมองและความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้และสวมใส่ผ้าไทยที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจฐานราก ไว้ว่าเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนช่วยเหลือการสร้างงาน สร้างรายได้ เสริมสร้างเศรษฐกิจฐานราก เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและคงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ของผ้าทอพื้นถิ่นของชาติพันธุ์ในจังหวัดราชบุรี รวมถึงการมีกิจกรรมการพัฒนาผู้ประกอบการผ้าทอพื้นถิ่นของชาติพันธุ์ที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจฐานรากตามมาตรการการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้และสวมใส่ผ้าไทยแนวทางการดำเนินการพัฒนาในการตอบสนองความต้องการและเกิดประโยชน์แท้จริงแก่ผู้ประกอบการทอผ้าชาติพันธุ์ในจังหวัดราชบุรี


ความสัมพันธ์ระหว่างข้อเรียกร้องในงาน ทรัพยากรในงาน ความเหนื่อยล้าจากการประชุมออนไลน์ผ่านจอภาพ ภาวะหมดไฟในการทำงาน และการมีส่วนร่วมในงานของพนักงานนับตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของโควิด 19, รสริน บวรวิริยพันธุ์ Jan 2022

ความสัมพันธ์ระหว่างข้อเรียกร้องในงาน ทรัพยากรในงาน ความเหนื่อยล้าจากการประชุมออนไลน์ผ่านจอภาพ ภาวะหมดไฟในการทำงาน และการมีส่วนร่วมในงานของพนักงานนับตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของโควิด 19, รสริน บวรวิริยพันธุ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างข้อเรียกร้องในงาน ทรัพยากรในงาน ความเหนื่อยล้าจากการประชุมออนไลน์ผ่านจอภาพ ภาวะหมดไฟ และการมีส่วนร่วมในงานของพนักงานนับตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของโควิด 19 กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานในองค์กรที่มีการทำงานจากที่บ้านอย่างน้อย 2 วันต่อสัปดาห์ และมีการประชุมวิดีโอในทุกสัปดาห์ นับตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของสถานการณ์โควิด 19 จำนวน 220 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ มาตรวัดข้อเรียกร้องในงาน มาตรวัดทรัพยากรในงาน มาตรวัดความเหนื่อยล้าจากการประชุมออนไลน์ผ่านจอภาพ มาตรวัดภาวะหมดไฟ และมาตรวัดการมีส่วนร่วมในงาน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการสร้างสมการโครงสร้างโดยใช้โปรแกรมลิสเรล ผลการวิจัยพบว่า 1. ข้อเรียกร้องในงานไม่มีอิทธิพลทางตรงต่อภาวะหมดไฟของพนักงาน แต่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อภาวะหมดไฟผ่านความเหนื่อยล้าจากการประชุมออนไลน์ผ่านจอภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. ข้อเรียกร้องในงานมีอิทธิพลทางตรงต่อการมีส่วนร่วมในงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แต่ไม่มีอิทธิพลทางอ้อมผ่านความเหนื่อยล้าจากการประชุมออนไลน์ผ่านจอภาพ 3. ทรัพยากรในงานมีทั้งอิทธิพลทางตรงต่อภาวะหมดไฟของพนักงานและอิทธิพลทางอ้อมต่อภาวะหมดไฟผ่านความเหนื่อยล้าจากการประชุมออนไลน์ผ่านจอภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. ทรัพยากรในงานงานมีอิทธิพลทางตรงต่อการมีส่วนร่วมในงานของพนักงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แต่ไม่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อการมีส่วนร่วมในงานผ่านความเหนื่อยล้าจากการประชุมออนไลน์ผ่านจอภาพ


ภาพตัวแทนแม่บ้านในละครโทรทัศน์ไทยกับความเป็นจริงของชีวิตแม่บ้าน, ณัฐนันท์ สมพึ่งทอง Jan 2022

ภาพตัวแทนแม่บ้านในละครโทรทัศน์ไทยกับความเป็นจริงของชีวิตแม่บ้าน, ณัฐนันท์ สมพึ่งทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษา เรื่อง “ภาพตัวแทนและความเป็นจริงของแม่บ้านในละครโทรทัศน์ไทย” มีจุดประสงค์เพื่อ ศึกษาภาพตัวแทนและความเป็นจริงของแม่บ้านในละครโทรทัศน์ไทย โดยใช้กลุ่มตัวอย่างละครโทรทัศน์ทั้งหมด 7 เรื่อง คือ เพลิงนาง ปมเสน่หา เพลิงปริศนา เขยบ้านไร่ สะใภ้ไฮโซ สะใภ้ไร้ศักดินา เรยา ฉันชื่อบุษบา นำมาเปรียบเทียบกับชีวิตจริงของผู้หญิงที่ประกอบอาชีพแม่บ้านที่ทำงานอยู่ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร และใช้ชีวิตพักอาศัยอยู่ในบ้านนายจ้าง ผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จำนวน 7 คน และ ศึกษาปัจจัยเชิงโครงสร้างทางสังคมที่มีผลต่อภาพตัวแทนของแม่บ้านในละครโทรทัศน์ไทย ผลการศึกษาพบว่า ตัวบทสร้างภาพตัวแทนของแม่บ้านในละครโทรทัศน์ไทย ให้มีภาพแทนของแม่บ้านที่เป็นผู้สนับสนุนนายจ้าง ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับความเป็นจริงของชีวิตแม่บ้าน พบว่า แม่บ้านในชีวิตจริงมีสถานะเป็นลูกจ้างที่ทำงานให้นายจ้าง แม่บ้านในละครโทรทัศน์กับชีวิตจริงของแม่บ้าน มีความแตกต่างในด้านลักษณะทางประชากรศาสตร์ สวัสดิการ การได้รับความเท่าเทียม การแต่งกาย และมีความคล้ายคลึงในส่วนของปัจจัยทางสังคมด้านเศรษกิจและด้านการศึกษา ในส่วนของปัจจัยเชิงโครงสร้างทางสังคมมีผลต่อภาพตัวแทนของแม่บ้านในละครโทรทัศน์ไทย มีดังนี้ 1) ด้านปิตาธิปไตย ละครโทรทัศน์สะท้อนให้เห็นถึงชุดความคิดของคนในสังคมที่ว่า“งานบ้าน เป็นงานของเพศหญิง” ในละครโทรทัศน์ไม่มีตัวละครพ่อบ้านปรากฏให้เห็นแบบปกติทั่วไปเหมือนตัวละครแม่บ้าน หากมีตัวละครที่มีลักษณะและบทบาทใกล้เคียง ก็มักถูกเรียกต่างออกไปไม่ถูกเรียกว่า “พ่อบ้าน” และมีหน้าที่เฉพาะเจาะจงอย่างชัดเจน เช่น คนสวน คนขับรถ 2) ด้านชนชั้น ภาพตัวละครแม่บ้านถูกจัดวางอยู่ในชนชั้นกรรมาชีพ (Proletariat) ซึ่งอยู่ในระดับชนชั้นต่ำของสังคมไทย 3) ด้านระบบทุนนิยม ภาพตัวละครแม่บ้านในละครโทรทัศน์ถูกภาวะเศรษฐกิจทุนนิยมที่ตรึงเครียดกดทับ ด้วยความยากจนที่บีบคั้น แม่บ้านจึงกลายเป็นผู้ที่ยอมรับกับความขัดแย้งและความเป็นศัตรูกันโดยธรรมชาติของนายจ้าง-ลูกจ้าง ยินยอมอยู่ในความสัมพันธ์แบบการขูดรีดเพื่อรายได้ในการเลี้ยงชีพ กล่าวคือ ภาพแม่บ้านในละครโทรทัศน์ถูกกดขี่ด้านการไม่ให้แสดงความคิดเห็น ไม่มีขอบเขตของงานบ้านและไม่มีเวลาการทำงานที่ชัดเจน ลักษณะงานของแม่บ้านทำลายเส้นแบ่งระหว่างเวลาและสถานที่ของการทำงาน (Work) กับเวลา และสถานที่ของการใช้ชีวิต เพราะผลผลิตของการผลิตอยู่ในรูปของอวัตถุ (Immaterial) ไม่ใช่การผลิตสินค้าที่เป็นวัตถุ (Material) ทำให้แยกงานกับชีวิตออกจากกันไม่ได้ และการใส่เครื่องแบบชุดแม่บ้านชาวตะวันตก สามารถทำให้คนในสังคมรับรู้ว่าพวกเขาเป็นใคร มีความสำคัญอย่างไรในสถานที่ที่พวกเขาทำงานอยู่ นำมาซึ่งการเกิดสัญญะของภาพตัวแทน 4) ด้านระบบการศึกษา ภาพแม่บ้านในละครโทรทัศน์เป็นผู้ที่มีระดับการศึกษาที่ไม่สูง 5) ด้านสิทธิแรงงาน ภาพแม่บ้านในละครโทรทัศน์ไม่ถูกนำเสนอเรื่องสวัสดิการที่ชัดเจน แต่ถูกนำเสนอทางอ้อมว่า ไม่มีวันหยุด และมีชั่วโมงทำงานที่ไม่แน่นอน 6) ด้านระบบสื่อมวลชนผลิตซ้ำภาพตัวแทน ลักษณะการสร้างภาพตัวละครในละครโทรทัศน์ (Portrayed) เป็นสิ่งที่สะท้อนจากผู้ผลิตรายการที่คาดว่าคนกลุ่มนั้นควรจะมีลักษณะอย่างไรในละครโทรทัศน์ ทำให้เกิดการผลิตซ้ำภาพตัวแทนของตัวละครที่นำเสนอในลักษณะเหมารวม เช่น แม่บ้านเป็นผู้ที่มีฐานะต่ำต้อย เป็นคนอีสาน เป็นผู้ไร้อำนาจ ต้องแสดงความนอบน้อม …


อิทธิพลของยูทูบเบอร์สายรีวิวอาหารต่อพฤติกรรมการรับประทานตามของกลุ่มผู้ใช้ยูทูบ, อังค์ริสา ธีระพันธ์ Jan 2022

อิทธิพลของยูทูบเบอร์สายรีวิวอาหารต่อพฤติกรรมการรับประทานตามของกลุ่มผู้ใช้ยูทูบ, อังค์ริสา ธีระพันธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสำรวจพฤติกรรมการเปิดรับสื่อจากคลิปวิดีโอของยูทูบเบอร์สายรีวิวอาหารของผู้ใช้ยูทูบ 2) เพื่ออธิบายปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับประทานอาหารตามยูทูบเบอร์สายรีวิวอาหาร เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ในรูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ด้วยการแจกแบบสอบถามออนไลน์ (Online Questionnaire) จากกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่มีประสบการณ์ในการรับชมคลิปวิดีโอรีวิวอาหารในเว็บไซต์ยูทูบ จำนวน 384 คน และนำผลมาวิเคราะห์ใน SPSS ผลการวิจัย พบว่า 1) การเปิดรับสื่อคลิปวิดีโอยูทูบเบอร์สายรีวิวอาหารมีอิทธิพลต่อผู้ใช้ยูทูบ 2) อิทธิพลที่ผู้ใช้ยูทูบได้รับจากการรับชมคลิปวิดีโอยูทูบเบอร์สายรีวิวอาหารด้านการปฏิสัมพันธ์ส่งผลต่อพฤติกรรมการรับประทานตามมากที่สุด รองลงมา ด้านความไว้วางใจ ด้านความชอบ ด้านความเกี่ยวพัน


Effects Of Academic Burnout On Study Engagement As Moderated By Resilience And Social Support: A Longitudinal Study, Suchada Ruengesri Jan 2022

Effects Of Academic Burnout On Study Engagement As Moderated By Resilience And Social Support: A Longitudinal Study, Suchada Ruengesri

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The purpose of this study was to examine the correlations between academic burnout, study engagement, resilience, and social support in the Thai education context. The study also aimed to investigate the effect of academic burnout on study engagement, moderated by resilience and social support after the transition from online learning to on-site learning due to the COVID-19 pandemic. Additionally, the study aimed to explore the effects of different types of social support on academic burnout, study engagement, and resilience. The current study included two data gathering occasions for hypothesis testing. The participants were undergraduate students aged between 18 to 25 …


Human Resource Management In Managing Employee Retention During Covid-19 For Sport And Wellness Resorts In Phuket, Peeraya Sattayaporn Jan 2022

Human Resource Management In Managing Employee Retention During Covid-19 For Sport And Wellness Resorts In Phuket, Peeraya Sattayaporn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Phuket, a top-ten tourism contributor in Thailand, was affected by the COVID-19 situation. The staff shortage has been a massive crisis in the area, especially for high-potential niche markets like sports and wellness resorts in Phuket. This study is about how these accommodations handle the crisis. The paper contained data from HR and employee perspectives to investigate the key success factors of the human resource management implemented by Phuket's sports and wellness resorts toward employee retention during the COVID-19 crisis and the effects of COVID-19 on the human resource management of Phuket's sports and wellness resorts. The result shows that …


Brand Image Of Nike Products Among Consumer Generation Z In Thailand, Zhefu Murong Jan 2022

Brand Image Of Nike Products Among Consumer Generation Z In Thailand, Zhefu Murong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objective of this research was to study the brand image of Nike products among consumer generation Z in Thailand. Based on the quantitative research approach, two hundred of Nike's current consumers aged between 18 to 25 years old in Thailand, who had purchased/owned Nike’s products before, were asked to complete an online questionnaire to study the brand image. The research findings illustrated that most of Nike's generation Z consumers considered Nike to own a positive brand image. The result of the study in each brand image factor shows that most of the respondents have positive attitude toward Nike whether …


การศึกษารูปแบบของครัวเรือนและผลกระทบที่มีต่ออุปทานแรงงานของครัวเรือนชายรักชายในกรุงเทพมหานคร, อัษศกร แนมแนบ Jan 2022

การศึกษารูปแบบของครัวเรือนและผลกระทบที่มีต่ออุปทานแรงงานของครัวเรือนชายรักชายในกรุงเทพมหานคร, อัษศกร แนมแนบ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยคือ เพื่อศึกษาถึงรูปแบบของครัวเรือนและการจัดสรรทรัพยากรของครัวเรือนชายรักชายในกรุงเทพมหานคร เพื่อศึกษาถึงการเปรียบเทียบรูปแบบของครัวเรือนรักต่างเพศในประเทศไทยและครัวเรือนชายรักชายในประเทศตะวันตก และเพื่อศึกษาผลกระทบของรูปแบบของครัวเรือนชายรักชายที่มีต่ออุปทานแรงงานของครัวเรือนชายรักชายในกรุงเทพมหานคร ด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเชิงเอกสารสำหรับครัวเรือนรักต่างเพศในประเทศไทย และครัวเรือนชายรักชายในประเทศตะวันตก รวมถึงการสัมภาษณ์เชิงลึกสำหรับครัวเรือนชายรักชายในกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้มีการเลือกตัวอย่างด้วยการใช้วิธีแบบเจาะจงและสโนว์บอลจำนวน 26 ครัวเรือน จากผลการวิจัยพบว่า ครัวเรือนชายรักชายในกรุงเทพมหานครมีรูปแบบของครัวเรือนทั้งหมด 5 รูปแบบคือ แบบจำลองอำนาจการต่อรองภายในครัวเรือนแบบให้ความร่วมมือกัน แบบจำลองอำนาจการต่อรองภายในครัวเรือนแบบไม่ให้ความร่วมมือกัน รูปแบบของครัวเรือนเสมือนแบบจำลองครัวเรือนแบบเดี่ยว รูปแบบของครัวเรือนเสมือนแบบจำลองอำนาจการต่อรองภายในครัวเรือนแบบให้ความร่วมมือกัน และรูปแบบของครัวเรือนเสมือนแบบจำลองอำนาจการต่อรองภายในครัวเรือนแบบไม่ให้ความร่วมมือกัน แต่ขณะเดียวกันครัวเรือนชายรักชายในประเทศตะวันตกกลับมีรูปแบบของครัวเรือนเสมือนแบบจำลองอำนาจการต่อรองภายในครัวเรือนแบบไม่ให้ความร่วมมือกัน ส่วนครัวเรือนรักต่างเพศในประเทศไทยมีรูปแบบของครัวเรือน ได้แก่ แบบจำลองครัวเรือนแบบเดี่ยว และรูปแบบของครัวเรือนเสมือนแบบจำลองครัวเรือนแบบเดี่ยว ซึ่งจะเห็นได้ว่ารูปแบบครัวเรือนชายรักชายในประเทศตะวันตกและรูปแบบครัวเรือนรักต่างเพศในประเทศไทยไม่อาจเป็นตัวแทนลักษณะครัวเรือนชายรักชายในกรุงเทพมหานครได้ทั้งหมด นอกจากนี้ผลกระทบของรูปแบบของครัวเรือนชายรักชายที่มีต่ออุปทานแรงงานของครัวเรือนชายรักชายในกรุงเทพมหานครสามารถแสดงให้เห็นได้จากการเปลี่ยนอุปทานแรงงานของครัวเรือนผ่านพลวัตการเปลี่ยนแปลงไปช่วงก่อนและหลังการมีครัวเรือน พลวัตการเปลี่ยนแปลงระหว่างช่วงครัวเรือนที่เพิ่งอยู่ร่วมกันกับครัวเรือนที่อยู่ร่วมกันกับครัวเรือนที่อยู่ร่วมกันในระยะยาว การตัดสินใจประกอบอาชีพของสมาชิกในครัวเรือน และการเลือกปฏิบัติทางเพศของแรงงานครัวเรือนชายรักชาย ทั้งนี้งานวิจัยยังสะท้อนได้อีกว่า แบบจำลองครัวเรือนที่นักเศรษฐศาสตร์ครัวเรือนคิดค้นไม่อาจนำมาใช้ได้กับทุกประเภทของครัวเรือน และทุกสถานที่ตั้งของครัวเรือน


ความสามารถในการฟื้นพลังของผู้ใหญ่วัยเริ่ม: การวิเคราะห์จัดกลุ่มความเมตตากรุณาต่อตนเอง ความเมตตากรุณาต่อผู้อื่น การให้การสนับสนุนทางสังคม และการรับรู้การสนับสนุนทางสังคม, ดลนภัส ชลวาสิน Jan 2022

ความสามารถในการฟื้นพลังของผู้ใหญ่วัยเริ่ม: การวิเคราะห์จัดกลุ่มความเมตตากรุณาต่อตนเอง ความเมตตากรุณาต่อผู้อื่น การให้การสนับสนุนทางสังคม และการรับรู้การสนับสนุนทางสังคม, ดลนภัส ชลวาสิน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดกลุ่มปัจจัยระดับบุคคล ได้แก่ ความเมตตากรุณาต่อตนเอง และปัจจัยระดับสังคม ได้แก่ ความเมตตากรุณาต่อผู้อื่น การรับรู้การสนับสนุนทางสังคม การให้การสนับสนุนทางสังคม และเปรียบเทียบความแตกต่างของความสามารถในการฟื้นพลังระหว่างกลุ่มดังกล่าว โดยมีผู้เข้าร่วมการวิจัยเป็นผู้ใหญ่วัยเริ่ม จำนวน 310 คน ที่เป็นนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและเขตปริมณฑล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติวิเคราะห์จัดกลุ่มเพื่อจัดกลุ่มผู้เข้าร่วมการวิจัยโดยมีพื้นฐานอยู่บนตัวแปรระดับบุคคลและตัวแปรระดับสังคม จากนั้นใช้สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนความสามารถในการฟื้นพลังระหว่างกลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า สามารถแบ่งกลุ่มผู้เข้าร่วมวิจัยออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้ “ใจดีต่อตนเองและผู้อื่นสูง” “ใจดีต่อตนเองปานกลางแต่ใจดีต่อผู้อื่นน้อย” “ใจดีต่อตนเองและผู้อื่นน้อย” และ “ใจดีต่อตนเองน้อยแต่ใจดีต่อผู้อื่นปานกลาง” และพบว่า มีความแตกต่างของคะแนนความสามารถในการฟื้นพลังระหว่างกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F(3, 306) = 18.75, p < 0.001, η2 = 0.155) โดยกลุ่มที่มีคะแนนความสามารถในการฟื้นพลังสูงที่สุด (M = 3.25) คือ “ใจดีต่อตนเองและผู้อื่นสูง” ที่คะแนนตัวแปรระดับบุคคลและตัวแปรระดับสังคมอยู่ในระดับสูง ในทางตรงกันข้าม กลุ่มที่มีคะแนนความสามารถในการฟื้นพลังต่ำที่สุด (M = 2.59) คือ “ใจดีต่อตนเองน้อยแต่ใจดีต่อผู้อื่นปานกลาง” ซึ่งคะแนนตัวแปรระดับบุคคลอยู่ในระดับต่ำและคะแนนตัวแปรระดับสังคมอยู่ในระดับปานกลาง สะท้อนให้เห็นว่า รูปแบบการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันแสดงถึงความสามารถในการฟื้นพลังในระดับที่แตกต่างกัน


ความรุนแรงบนฐานเพศสภาพในซีรีส์วาย, ปณต สิริจิตราภรณ์ Jan 2022

ความรุนแรงบนฐานเพศสภาพในซีรีส์วาย, ปณต สิริจิตราภรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรุนแรงบนฐานเพศสภาพที่ปรากฏในซีรีส์วาย ผลกระทบจากการนำเสนอความรุนแรงดังกล่าวและแนวทางในการนำเสนอเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเพศหลากหลายในซีรีส์วายให้มีความเหมาะสมตามมาตรฐานจริยธรรมสื่อ โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ตัวบทซีรีส์วาย รวมถึงสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มนักสิทธิมนุษยชน นักกิจกรรมด้านความเป็นธรรมทางเพศ และกลุ่มผู้ชมที่ทำงานภายใต้เครือข่ายภาคประชาสังคมด้านสิทธิความหลากหลายทางเพศ ที่เป็นบุคคลเพศหลากหลาย ผลการวิจัยพบว่า ความรุนแรงบนฐานเพศสภาพที่ปรากฏในซีรีส์วาย มีดังนี้ 1) การใช้กำลังประทุษร้าย 2) การแสดงออกถึงความเหยียดหยามทางวาจา 3) การกระทำทางเพศอันปราศจากความยินยอม 4) การปฏิบัติต่อคู่รักเสมือนอีกฝ่ายเป็นสมบัติของตน และ 5) การแบ่งแยกบทบาททางเพศ โดยที่ความรุนแรงเหล่านี้มักถูกนำเสนอออกมาในเชิงโรแมนติไซส์ อันเป็นการลดทอนความรุนแรงลง รวมทั้งยังละเลยที่จะถ่ายทอดให้เห็นถึงผลกระทบที่ตามมาของความรุนแรงนั้น ๆ ซึ่งการนำเสนอเช่นนี้ส่งผลกระทบดังนี้ คือ 1) ปัญหาความรุนแรงบนฐานเพศสภาพถูกลดความสำคัญ 2) สร้างภาพจำหรือภาพลักษณ์เหมารวมให้กับกลุ่มบุคคลเพศหลากหลาย 3) สร้างความกดดันแก่บุคคลเพศหลากหลาย ให้พยายามเปลี่ยนแปลงตนเองเพื่อให้ได้รับการยอมรับ และ 4) เรื่องสิทธิต่าง ๆ ของบุคคลเพศหลากหลายถูกละเลย ในส่วนของแนวทางการนำเสนอเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเพศหลากหลาย พบว่ามีแนวทางดังนี้ 1) การสร้างสรรค์เนื้อหาสื่อที่เกี่ยวข้องกับบุคคลเพศหลากหลายควรจะมีความหลากหลายมากขึ้น อาทิ ด้านตัวละคร ด้านเนื้อหา 2) สื่อควรนำเสนอประเด็นความรุนแรงบนฐานเพศสภาพออกมาอย่างครอบคลุมรอบด้าน และ 3) การอาศัยความร่วมมือหรือการมีส่วนร่วมจากฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อผลิตสื่อที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับบุคคลเพศหลากหลายให้มีความสร้างสรรค์


Street Protests In Thailand During 2019 To 2022, Wending Zhang Jan 2022

Street Protests In Thailand During 2019 To 2022, Wending Zhang

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The Covid-19 pandemic was adversely affecting Thailand amidst strong attacks especially by the youth groups on the government. The main force of Thai youth protests has made street protests in Thailand different from those of the past. By problematizing this emerging phenomenon, this paper proposes to tackle two research questions. How are the protests in Thailand during the Covid-19 pandemic different from those the past? How does the massive outbreak of protests generate implications for present and future Thailand? Therefore, this paper combines the theories of Radical Politics, Digital Activism and Contentious Politics, adopts qualitative research and quantitative research, mainly …


Management Strategies Analysis Of Thai Hotel Case Study: Oceanfront Beach Resort And Spa, Puvis Techasriudom Jan 2022

Management Strategies Analysis Of Thai Hotel Case Study: Oceanfront Beach Resort And Spa, Puvis Techasriudom

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The COVID-19 pandemic has caused unprecedented disruptions to the global tourism industry, including in Phuket, Thailand. The impact of the pandemic on the tourism sector has been widely impacting, affecting not only hotels but also airlines, travel agencies, tourist attractions, local communities, and almost every sector of business around the world. As a result, it is crucial for hotels to implement effective management strategies and organizational improvements to help mitigate the impacts of the pandemic. In addition to the impact of COVID-19, other factors such as global political situations, technological advancements, and trends in modern society can also significantly affect …


Marketing Strategies Analysis Of Thai Hotel During The Covid-19 Pandemic Situation (Case Study : Oceanfront Beach Resort And Spa), Supanat Samniang Jan 2022

Marketing Strategies Analysis Of Thai Hotel During The Covid-19 Pandemic Situation (Case Study : Oceanfront Beach Resort And Spa), Supanat Samniang

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

A crisis is an unexpectedly threatening situation that has an essential impact on business continuity. Natural disasters, terrorist incidents, epidemics, political conflicts, economic fluctuations, and other factors can all have a negative impact on the tourism industry[1]. By occurring of these factors, it can affect to a loss of tourists at any time. Hotel businesses may consider developing new services, repositioning to alternative tourism markets, and reducing costs. However, because each crisis is unique, hotel businesses need to determine proper strategies for the situation. Such an effective strategic management and new marketing strategies, crises can be turned into opportunities to …


Study On Nepalese Migrant Remittances: Usage, Gender Perspective And Remittance Methods, Tsering Diki Sherpa Jan 2022

Study On Nepalese Migrant Remittances: Usage, Gender Perspective And Remittance Methods, Tsering Diki Sherpa

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The study aims to shed light on remittance usage types and methods of remittance transfer to Nepalese migrant households. To achieve this, data from the Nepal Living Standards Survey III (NLSS III) was utilized, which comprises a sample size of 5,988 households selected from 499 primary sampling units (PSUs) included in the cross-sectional sample of the NLSS III survey. By analyzing and interpreting this data, the study investigates the allocation and utilization patterns of remittance funds by recipient households. It looks into their expense patterns, occupation types, destination countries, and how gender plays an active role in these dynamics. This …


Credibility Of Travel Influencer On Millennial Traveling Behavior, Papitchayapa Boonsub Jan 2022

Credibility Of Travel Influencer On Millennial Traveling Behavior, Papitchayapa Boonsub

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objectives of this study was to understand the credibility of travel influencers among millennial travelers and how they motivate millennial travelers' travel behavior. It is based on a qualitative methodology that involves use of in-depth interviews. Twelve millennial travelers both domestic and international between the ages of 25 and 40 were interviewed. They had to organize the trip within a year and follow to travel influencers. This study employed a question guideline as the research instrument based on four dimension which are demographics and media usages, attitude towards travel influences, source of credibility, and travel behavior. The findings revealed …


การตกเป็นเหยื่อทางไซเบอร์ของผู้สูงอายุ, ธัญพิชชา สามารถ Jan 2022

การตกเป็นเหยื่อทางไซเบอร์ของผู้สูงอายุ, ธัญพิชชา สามารถ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการตกเป็นเหยื่อของการหลอกลวงทางไซเบอร์ ปัจจัยที่ทำให้ผู้สูงอายุตกเป็นเหยื่อของการหลอกลวงทางไซเบอร์ และเพื่อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขการตกเป็นเหยื่อการหลอกลวงทางไซเบอร์ของผู้สูงอายุ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุที่ตกเป็นเหยื่อการหลอกลวงทางไซเบอร์จำนวน 24 คน ผู้มีส่วนในการหลอกลวงจำนวน 5 คน และเจ้าหน้าที่และนักวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือหรือการป้องกันผู้สูงอายุจากการถูกหลอกลวงทางไซเบอร์จำนวน 9 คน ผลการวิจัยแบ่งกลุ่มผู้สูงอายุที่ถูกหลอกลวง ทางไซเบอร์ 4 กลุ่ม แต่ละกลุ่มมีรูปแบบและปัจจัยที่ทำให้ตกเป็นเหยื่อของการหลอกลวงแตกต่างกัน คือ 1)ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อการหลอกลวงให้ลงทุน มีรูปแบบการถูกหลอกลวงโดยส่วนใหญ่ถูกชักชวนจากบุคคลที่รู้จักในกลุ่มไลน์ที่เคยลงทุนด้วยกัน หรือพบเห็นโฆษณาเชิญชวนบนสื่อสังคมออนไลน์ โดยมีลักษณะของผลตอบแทนที่สูงเป็นสิ่งจูงใจ มีทั้งการให้ค่าตอบแทนจากการแนะนำสมาชิกใหม่ และไม่มีการให้ค่าตอบแทน ซึ่งผู้ที่มีส่วนในการหลอกลวงเป็นทั้งบุคคลธรรมดา และอยู่ในรูปแบบบริษัทจดทะเบียน ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตกเป็นเหยื่อพบว่ามี 8 ปัจจัย คือ ด้านเศรษฐกิจ ด้านความโลภ ด้านเทคโนโลยี ด้านการสร้างความน่าเชื่อถือของผู้หลอกลวง ด้านความรู้ความเข้าใจในการลงทุน ด้านสภาพความเป็นอยู่ ด้านการชักชวนให้ลงทุนจากญาติหรือคนรู้จัก และด้านความเชื่อมั่นใจตนเอง 2)ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อการหลอกลวงจากแก๊งคอลเซนเตอร์ มีรูปแบบการหลอกลวงในการสร้างความตกใจกลัว หรือเกิดความโลภ และมีระยะเวลาในการให้ตัดสินใจจำกัด ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตกเป็นเหยื่อพบว่า มี 4 ปัจจัย คือ ด้านความกลัว ด้านความโลภ ด้านความไม่คุ้นเคยกับเทคโนโลยี และด้านการอยู่เพียงลำพังขณะเกิดเหตุ 3)ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อการซื้อสินค้าออนไลน์ ผู้หลอกลวงจะสร้างโพรไฟล์ให้ดูมีความน่าเชื่อถือ เปิดร้านขายบนสื่อสังคมออนไลน์ และขายผ่านตลาดกลางออนไลน์เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ สินค้าที่หลอกลวงมักจะเป็นสินค้าที่ราคาไม่สูงนัก หรือเป็นสินค้าที่มีราคาถูกกว่าท้องตลาดทั่วไป ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตกเป็นเหยื่อพบว่ามี 3 ปัจจัยคือ ความไว้วางใจร้านค้าออนไลน์โดยไม่ได้ตรวจสอบ การส่งเสริมการขายที่ผิดปกติ และราคาสินค้าที่มีราคาไม่สูง 4)ผู้สูงอายุที่ตกเป็นเหยื่อการหลอกให้รักทางออนไลน์ มีรูปแบบการใช้จิตวิทยาในการหลอกลวง สร้างความสัมพันธ์ที่ดีและใช้ระยะเวลาในการสร้างความไว้วางใจ เลือกเหยื่อจากการดูโพรไฟล์บนสื่อสังคมออนไลน์ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตกเป็นเหยื่อพบว่ามี 4 ปัจจัย คือ ความรักความหลง ความน่าเชื่อถือ ด้านความเหงา และความอายของผู้ที่ถูกหลอก โดยการหลอกลวงทั้ง 4 รูปแบบมีปัจจัยร่วมกันคือ ความรู้ไม่เท่าทันการหลอกลวง สำหรับแนวทางการแก้ไขการตกเป็นเหยื่อ ได้แก่ การสร้างความตระหนักให้กับผู้สูงอายุในการรู้เท่าทันถึงรูปแบบการหลอกลวงทางไซเบอร์ การระมัดระวังการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวผู้อื่นที่ไม่รู้จัก การให้คำปรึกษาในกลุ่มของครอบครัว การจัดตั้งเครือข่ายกลุ่มผู้สูงอายุเพื่อเผยแพร่ข่าวสารการหลอกลวงทางไซเบอร์ ความร่วมมือของภาคเอกชนผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในการปิดกันช่องทางการหลอกลวงจากผู้หลอกลวง ตลอดจนหน่วยงานของรัฐในการออกมาตรการทางกฎหมายตลอดจนการบังคับใช้อย่างเคร่งครัด


การป้องกันและการรับมือการกลั่นแกล้งในเกมออนไลน์แนวต่อสู้: กรณีศึกษาเกม Valorant, ยุววัฒน์ ไตรจิต Jan 2022

การป้องกันและการรับมือการกลั่นแกล้งในเกมออนไลน์แนวต่อสู้: กรณีศึกษาเกม Valorant, ยุววัฒน์ ไตรจิต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเกี่ยวกับการป้องกันและการรับมือการกลั่นแกล้งภายในเกมออนไลน์แนวต่อสู้:กรณีศึกษาเกม VALORANT เป็นการศึกษาเกี่ยวกับปัญหาการกลั่นแกล้งที่เกิดขึ้นในพื้นที่ของเกมออนไลน์ แสวงหาสาเหตุของการกลั่นแกล้ง และวิธีการป้องกันและการรับมือการกลั่นแกล้งภายในเกมออนไลน์ เพื่อนำมาเผื่อแพร่และให้ความรู้กับผู้ที่มีความสนใจที่จะเข้าสู่โลกของสังคมเกมออนไลน์รับทราบถึงสาเหตุ รูปแบบ และวิธีการรับมือการกลั่นแกล้งที่สามารถเกิดขึ้นได้ในสังคมเกมออนไลน์ การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกรูปแบบกึ่งโครงสร้าง กลุ่มตัวอย่างจำนวน 12 คน ผลการศึกษาพบว่าสาเหตุของการกลั่นแกล้งภายในเกมออนไลน์แนวต่อสู้มีอยู่ 3 ปัจจัยหลักคือ 1) ปัจจัยด้านทักษะผู้เล่น 2) ปัจจัยเรื่องเพศของผู้เล่น 3) ปัจจัยเกี่ยวกับตัวผู้แกล้ง โดยรูปแบบของการกลั่นแกล้งที่เกิดขึ้นภายในเกมออนไลน์จะเป็นรูปแบบของ 1) การใช้ Text Chat ที่เป็นการพิมพ์ข้อความเพื่อสื่อสาร 2) การใช้ Voice Chat ที่เป็นการใช้ระบบของเกมในการสื่อสารระหว่างผู้เล่นทางเสียง 3) การใช้ระบบการเล่นภายในเกมเพื่อขัดขวางหรือรบกวนการเล่นของผู้เล่น ในส่วนของการรับมือการกลั่นแกล้งภายในเกมออนไลน์จะประกอบไปด้วยการรับมือโดย 1) การประณีประณอมกับการกลั่นแกล้ง 2) การปิดช่องทางการสื่อสาร และ 3) การชักชวนเพื่อนหรือคนรู้จักมาร่วมเล่นเกมออนไลน์


ความยากจนในผู้สูงอายุไทย: การเปลี่ยนแปลงและปัจจัยเสี่ยง, สุพนิดา จิระสินวรรธนะ Jan 2022

ความยากจนในผู้สูงอายุไทย: การเปลี่ยนแปลงและปัจจัยเสี่ยง, สุพนิดา จิระสินวรรธนะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความยากจนของผู้สูงอายุไทยและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความยากจนของผู้สูงอายุไทยในปี พ.ศ.2560 และปี พ.ศ.2564 โดยใช้ข้อมูลจากการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทยปี พ.ศ.2560 และปี พ.ศ.2564 และศึกษาความยากจนของครัวเรือนผู้สูงอายุไทยและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความยากจนของครัวเรือนผู้สูงอายุไทยในปี พ.ศ.2560 และปี พ.ศ.2564 โดยใช้ข้อมูลจากการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนปี พ.ศ.2560 และปี พ.ศ.2564 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ผลการศึกษาเปรียบเทียบความยากจนของผู้สูงอายุไทยระหว่างปี พ.ศ.2560 และปี พ.ศ.2564 พบว่าสัดส่วนผู้สูงอายุไทยที่ยากจนลดลงจากร้อยละ 39.0 ในปี พ.ศ.2560 เป็นร้อยละ 34.1 ในปี พ.ศ.2564 โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความยากจนของผู้สูงอายุไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งในปี พ.ศ.2560 และปี พ.ศ.2564 ประกอบด้วย อายุ จำนวนสมาชิกในครัวเรือน ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส เขตที่อยู่อาศัย สถานภาพการทำงาน สวัสดิการค่ารักษาพยาบาล และรูปแบบการอยู่อาศัย และพบว่าแต่ละปัจจัยมีความสัมพันธ์กับความยากจนของผู้สูงอายุไทยในทิศทางเดียวกันทั้งในปี พ.ศ.2560 และปี พ.ศ.2564 ในขณะที่ปัจจัยด้านเพศและการพึ่งพิงรวมมีความสัมพันธ์กับความยากจนของผู้สูงอายุไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเฉพาะในปี พ.ศ.2560 เท่านั้น และผลการศึกษาเปรียบเทียบความยากจนของครัวเรือนผู้สูงอายุไทยระหว่างปี พ.ศ.2560 และปี พ.ศ.2564 พบว่าสัดส่วนครัวเรือนผู้สูงอายุไทยที่ยากจนลดลงจากร้อยละ 11.5 ในปี พ.ศ.2560 เป็นร้อยละ 8.5 ในปี พ.ศ.2564 โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความยากจนของครัวเรือนผู้สูงอายุไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งในปี พ.ศ.2560 และปี พ.ศ.2564 ประกอบด้วย อายุหัวหน้าครัวเรือน จำนวนสมาชิกครัวเรือน การพึ่งพิงรวม ระดับการศึกษา และเขตที่อยู่อาศัย และพบว่าแต่ละปัจจัยมีความสัมพันธ์กับความยากจนของครัวเรือนผู้สูงอายุไทยในทิศทางเดียวกันทั้งในปี พ.ศ.2560 และปี พ.ศ.2564 ยกเว้นอายุของหัวหน้าครัวเรือนที่มีความสัมพันธ์กับความยากจนของครัวเรือนผู้สูงอายุไทยในทิศทางตรงข้ามกันระหว่างปี พ.ศ.2560 และปี พ.ศ.2564 ในขณะที่ปัจจัยด้านสถานภาพสมรสของหัวหน้าครัวเรือนมีความสัมพันธ์กับความยากจนของครัวเรือนผู้สูงอายุไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเฉพาะในปี พ.ศ.2560 เท่านั้น


สถานะ บทบาท และพลวัตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในสถานการณ์ความขัดแย้งจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย, ปุญญวันต์ จิตประคอง Jan 2022

สถานะ บทบาท และพลวัตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในสถานการณ์ความขัดแย้งจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย, ปุญญวันต์ จิตประคอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับโครงสร้างอำนาจในท้องถิ่น และองค์กรอื่นในรัฐไทย ด้วยการศึกษาผ่านตัวแสดง ความสัมพันธ์ทางอำนาจในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการมีส่วนร่วมระหว่างบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคประชาชน รวมถึงตัวแสดงอื่นที่เกี่ยวข้องกับการปกครองส่วนท้องถิ่นในบริบทสถานการณ์ความขัดแย้งจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยขอบเขตการศึกษาครอบคลุมตั้งแต่ยุคก่อร่างรัฐและการผนวกปาตานีเข้ากับรัฐสยามจนถึงปัจจุบันภายใต้รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา (พ.ศ.2329-2564) งานศึกษาชิ้นนี้ใช้ระเบียบวิธิวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ ด้วยการใช้สถิติเชิงพรรณนาจากข้อมูลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการใช้การตีความจากการสัมภาษณ์ และข้อมูลเอกสารทางประวัติศาสตร์ รวมถึงการเก็บข้อมูลในพื้นที่ที่มีความถี่สะสมของเหตุการณ์ความรุนแรงสูงสุดระหว่างปี 2547-2564 ประกอบด้วย อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี อำเภอเมือง จังหวัดยะลา อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส และอำเภอเทพา จังหวัดสงขลา ผลการศึกษาพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับโครงสร้างอำนาจในท้องถิ่นเป็นความสัมพันธ์ที่ผูกติดกับโครงสร้างสถาบันเชิงจารีตที่เชื่อมโยงราชสำนัก ศาสนา เจ้าเมือง และกลุ่มพ่อค้าคนจีน ขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับองค์กรอื่นในรัฐไทยเป็นความสัมพันธ์ผ่านโครงสร้างรัฐราชการแบบรวมศูนย์อำนาจเข้าสู่ส่วนกลางโดยใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือทางการปกครอง ซึ่งแตกต่างกันในแต่ละช่วงเวลา ทั้งนี้ มีองค์ประกอบของตัวแสดงที่เข้าไปมีบทบาทในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประกอบด้วยข้าราชการทางการเมืองที่มีความสัมพันธ์ด้านใดด้านหนึ่งกับเครือข่ายสถาบันจารีตดั้งเดิม และข้าราชการประจำที่มีความสัมพันธ์กับรัฐส่วนกลางตามโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดิน ในขณะที่จิตสำนึกเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในทุกช่วงเวลากลับพบว่าอยู่ในระดับต่ำสุด คือ ระดับการครอบงำและบังคับความคิด และระดับการบำบัดรักษา เพราะเครือข่ายเชิงสถาบันในราชการส่วนท้องถิ่นและประชาชนถูกครอบงำโดยโครงสร้างรัฐราชการแบบรวมศูนย์อำนาจภายใต้บริบทสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง และสถานการณ์ความขัดแย้งจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ส่งผลทำให้ท้องถิ่นกลายเป็นสถาบันที่ต้องรองรับการใช้อำนาจจากรัฐทุกรูปแบบผ่านวิธีการควบคุม กำกับ กดทับ ลดทอน และจำกัดการกระทำของสถาบันหรือตัวแสดงระดับท้องถิ่น ที่มีพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นตัวกำหนดการก่อรูปโครงสร้างเชิงสถาบัน