Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 30 of 231

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

พลวัตของกฎบัตรความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นจากทศวรรษ1990 ถึงต้นทศวรรษ 2020, พิมพ์ชนก บุญมิ่ง Jan 2022

พลวัตของกฎบัตรความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นจากทศวรรษ1990 ถึงต้นทศวรรษ 2020, พิมพ์ชนก บุญมิ่ง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในประเทศที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจสูงของโลก หากแต่ญี่ปุ่นพึ่งพิงทรัพยากรจากประเทศกำลังพัฒนาซึ่งสร้างปัญหาความแตกต่างทางรายได้ในโลก ญี่ปุ่นจึงต้องแสดงความรับผิดชอบในการให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (ODA) ตามข้อตกลงของประชาคมนานาชาติเพื่อแก้ปัญหาความยากจนในประเทศกำลังพัฒนา ทว่าการให้ความช่วยเหลือไม่ใช่การให้เปล่าโดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทนแต่แท้จริงแล้วคาดหวังสิ่งแลกเปลี่ยนบางประการ ดังนั้นญี่ปุ่นจึงถูกประชาคมนานาชาติกล่าวหาว่าญี่ปุ่นอาศัยการให้ ODA ในการสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจของตนเอง ทั้งนี้องค์การระหว่างประเทศเป็นผู้ส่งเสริมบรรทัดฐานสากลผ่านการประกาศเป้าหมายการพัฒนาให้ประชาคมนานาชาตินำไปปรับใช้เป็นแกนหลักนโยบาย ญี่ปุ่นจึงต้องโอบรับบรรทัดฐานสากลนั้นมาปรับให้เข้ากับหลักการท้องถิ่นเพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์และรักษาผลประโยชน์แห่งชาติ อันนำมาสู่คำถามวิจัยที่ว่า ปัจจัยใดที่มีอิทธิพลต่อการบัญญัติกฎบัตรความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นในแต่ละช่วงเวลา โดยอาศัยกระบวนการผสมผสานบรรทัดฐานสากลให้สอดคล้องกับบรรทัดฐานท้องถิ่น ในกรอบแนวคิดประดิษฐกรรมทางสังคมเพื่อศึกษาบรรทัดฐานซึ่งแพร่กระจายไปสู่อีกที่หนึ่งได้เพราะผู้นำของรัฐเห็นผลประโยชน์บางประการจึงเกิดเป็นกระบวนการโอบรับบรรทัดฐานใหม่ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้กำหนดขอบเขตของเวลาโดยเริ่มต้นที่การบัญญัติกฎบัตร ODA ฉบับแรกในทศวรรษ 1990 ถึงการบัญญัติกฎบัตร ODA ฉบับล่าสุดในต้นทศวรรษ 2020 เพื่อศึกษาพลวัตที่มีอิทธิพลต่อกฎบัตร ODA ของญี่ปุ่นเพื่อตอบสนองต่อผลประโยชน์แห่งชาติของญี่ปุ่นในแต่ละช่วงเวลา


ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การสนับสนุนทางสังคม การรับรู้ประสบการณ์เชิงบวก และสุขภาวะทางใจของผู้ป่วยโรคมะเร็งสูงอายุและญาติผู้ดูแล : การวิเคราะห์โมเดลทวิสัมพันธ์, กุลนิษฐ์ ดำรงค์สกุล Jan 2022

ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การสนับสนุนทางสังคม การรับรู้ประสบการณ์เชิงบวก และสุขภาวะทางใจของผู้ป่วยโรคมะเร็งสูงอายุและญาติผู้ดูแล : การวิเคราะห์โมเดลทวิสัมพันธ์, กุลนิษฐ์ ดำรงค์สกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนื้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การสนับสนุนทางสังคมและสุขภาวะทางใจในผู้ป่วยโรคมะเร็งสูงอายุและญาติผู้ดูแล โดยมีการรับรู้ประสบการณ์เชิงบวกเป็นตัวแปรส่งผ่าน (2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การสนับสนุนทางสังคมและการรับรู้ประสบการณ์เชิงบวกที่มีต่อสุขภาวะทางใจของผู้ป่วยโรคมะเร็งสูงอายุและญาติผู้ดูแลผู้ป่วยในเชิงทวิสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยโรคมะเร็งสูงอายุและญาติผู้ดูแล 120 คู่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ มาตรวัดการรับรู้การสนับสนุนทางสังคม มาตรวัดการรับรู้ประสบการณ์เชิงบวก และ มาตรวัดสุขภาวะทางใจ ซึ่งมีค่าความเที่ยงอยู่ระหว่าง 0.82 ถึง 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโมเดลสมการโครงสร้างด้วยโปรแกรม LISREL 10.2 ผลการวิจัย พบว่า (1) การรับรู้การสนับสนุนทางสังคม มีอิทธิพลต่อสุขภาวะทางใจของผู้ป่วยโรคมะเร็งสูงอายุ โดยมีการรับรู้ประสบการณ์เชิงบวกเป็นตัวแปรส่งผ่านแบบสมบูรณ์ (2) การรับรู้การสนับสนุนทางสังคม มีอิทธิพลต่อสุขภาวะทางใจของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งสูงอายุ โดยมีการรับรู้ประสบการณ์เชิงบวกเป็นตัวแปรส่งผ่านแบบบางส่วน (3) การรับรู้การสนับสนุนทางสังคมส่งผลต่อสุขภาวะทางใจของผู้ป่วยโรคมะเร็งสูงอายุและญาติผู้ดูแลในทางตรงเท่านั้น (only actor effect) โดยส่งผลต่อญาติผู้ดูแลได้มากกว่าผู้ป่วย และการรับรู้การสนับสนุนทางสังคมของทั้งคู่ ไม่มีผลต่อระดับสุขภาวะทางใจของอีกฝ่าย นอกจากนี้ ยังพบว่าการรับรู้การสนับสนุนทางสังคมของทั้งสองฝ่ายมีแนวโน้มที่จะเป็นไปในแนวทางเดียวกันมากกว่าสุขภาวะทางใจ และ (4) การรับรู้ประสบการณ์เชิงบวกส่งผลต่อสุขภาวะทางใจของผู้ป่วยโรคมะเร็งสูงอายุและญาติผู้ดูแลในลักษณะอิทธิพลคู่เหมือน (couple pattern) โดยส่งผลทางตรงต่อญาติผู้ดูแลได้มากกว่าผู้ป่วยเล็กน้อย และมีเพียงการรับรู้ประสบการณ์เชิงบวกของญาติผู้ดูแลเท่านั้นที่ส่งผลทางไขว้ต่อสุขภาวะทางใจของผู้ป่วย นอกจากนี้ ยังพบว่าการรับรู้ประสบการณ์เชิงบวกของทั้งสองฝ่ายมีแนวโน้มที่จะเป็นไปในแนวทางเดียวกันมากกว่าสุขภาวะทางใจด้วย


การให้อภัยตนเองและความสุขเชิงอัตวิสัยของเยาวชนผู้กระทำผิดและครอบครัว, ภุมเรศ ภูผา Jan 2022

การให้อภัยตนเองและความสุขเชิงอัตวิสัยของเยาวชนผู้กระทำผิดและครอบครัว, ภุมเรศ ภูผา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาและตรวจสอบโมเดลเชิงสาเหตุของการให้อภัยตนเองในเยาวชนผู้กระทำผิด และศึกษาอิทธิพลของการให้อภัยตนเองต่อความสุขเชิงอัตวิสัย ในเยาวชนผู้กระทำผิดและครอบครัว กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เยาวชนผู้กระทำผิดที่อยู่ในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน และศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน จำนวน 1,031 คน และ เยาวชนผู้กระทำผิดและครอบครัว จำนวน 120 คู่ เก็บข้อมูลโดยการให้เยาวชนตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง และการสอบถามครอบครัวทางโทรศัพท์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการสมการโครงสร้างผ่านโปรแกรมลิสเรล (LISREL) และวิเคราะห์แบบจำลองรายคู่แบบไขว้โดยใช้การวิเคราะห์แบบ The Actor-Partner Interdependence Model ผลการศึกษาพบว่าโมเดลการให้อภัยตนเองของเยาวชนผู้กระทำผิดที่ประกอบด้วยการตำหนิตนเองและผู้อื่น การรับรู้ความรุนแรงของการกระทำผิด ความรู้สึกผิด ความละอาย ความเข้าใจอย่างร่วมรู้สึก พฤติกรรมเชิงประนีประนอม และการรับรู้การอภัยจากผู้เสียหายและผู้ได้รับผลกระทบ มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ2 =68.84, df =53, p = 0.071, GFI = 0.992, AGFI = 0.979, RMR = 0.0257, RMSEA = 0.0170) ตัวแปรทั้งหมดในสมการสามารถอธิบายความแปรปรวนของการให้อภัยตนเองได้ร้อยละ 41 โดยเยาวชนที่มีคะแนนการตำหนิตนเองและผู้อื่นสูง ร่วมกับมีความละอายใจสูง มีความเข้าใจร่วมรู้สึกต่ำ ไม่มีพฤติกรรมเชิงประนีประนอม และไม่ได้ได้รับการอภัยจากผู้เสียหายและผู้ได้รับผลกระทบ จะมีการให้อภัยตนเองต่ำ (ค่าอิทธิพลเท่ากับ -.09, p <.001) ส่วนแบบจำลองรายคู่แบบไขว้อิทธิพลของการให้อภัยตนเองต่อความสุขเชิงอัตวิสัย ในเยาวชนผู้กระทำผิดและครอบครัว มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ2 = 15.627, df =11, p = 0.156, GFI = 0.972, AGFI = 0.872, RMR = 0.042, RMSEA = 0.059) ตัวแปรในโมเดลคือการให้อภัยตนเองในเยาวชนผู้กระทำผิดและครอบครัว สามารถอธิบายความแปรปรวนความสุขเชิงอัตวิสัยของเยาวชนผู้กระทำผิดได้ ร้อยละ 87.4 และอธิบายความแปรปรวนความสุขเชิงอัตวิสัยของครอบครัว ร้อยละ 84 โดยอิทธิพลร่วม (Interdependent effects) ระหว่างการให้อภัยตนเองและความสุขเชิงอัตวิสัยของเยาวชนผู้กระทำผิดและครอบครัวมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ในส่วนอิทธิพลทางตรง (Actor effects) ทั้งการให้อภัยตนเองของเยาวชนผู้กระทำผิดและครอบครัว ต่างมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสุขเชิงอัตวิสัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (b = 0.59 และ 0.25 p<.01 ตามลำดับ) ด้านอิทธิพลไขว้ (Partner effect) การให้อภัยตนเองของเยาวชนผู้กระทำผิดมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสุขเชิงอัตวิสัยของครอบครัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (b = 0.60 p<.01) และทำนองเดียวกันการให้อภัยตนเองของครอบครัวมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสุขเชิงอัตวิสัยของเยาวชนผู้กระทำผิดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (b = 0.28 p<.05)


การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการของตราสินค้าที่มีเนื้อหาความหลากหลายทางเพศการเปิดรับสื่อ ทัศนคติ และพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค, ฆฤณา มหกิจเดชาชัย Jan 2022

การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการของตราสินค้าที่มีเนื้อหาความหลากหลายทางเพศการเปิดรับสื่อ ทัศนคติ และพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค, ฆฤณา มหกิจเดชาชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการใช้สื่อและเนื้อหาในการสื่อสารการตลาดที่มีเนื้อหาความหลากหลายทางเพศในประเทศไทย (2) ศึกษาการเปิดรับสื่อ ทัศนคติ และพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคต่อสินค้าและบริการที่มีเนื้อหาความหลากลายทางเพศ (3) ศึกษาความแตกต่างกันในการเปิดรับสื่อ ทัศนคติ และพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคที่มีเพศสภาพแตกต่างกัน ต่อสินค้าและบริการที่มีเนื้อหาความหลากหลายทางเพศ และ (4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับสื่อ ทัศนคติ และพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค โดยเก็บข้อมูลกับกลุ่มผู้บริโภคตัวอย่างทั้งเพศชาย เพศหญิง และเพศวิถีอื่น ๆ (LGBTQIA+) ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 430 คน ในช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2566 ผลการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า ตราสินค้ามีการใช้ลักษณะเนื้อหาการสื่อสารการตลาดบนสื่อออนไลน์ที่ปรากฎมากที่สุด คือ เนื้อหาที่มีคำแสดงถึงความหลากหลายทางเพศโดยอ้อม ส่วนลักษณะเนื้อหาการสื่อสารการตลาดบนสื่อออนไลน์ที่ปรากฎน้อยที่สุด คือ เนื้อหาที่สัญลักษณ์สีรุ้ง และช่องทางที่ตราสินค้าใช้ในการสื่อสารที่ปรากฎมากที่สุด คือ เฟซบุ๊ก ส่วนช่องทางที่ใช้ในการสื่อสารที่ปรากฎน้อยที่สุด คือ เว็บไซต์ต่าง ๆ นอกจากนี้ผลการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณพบว่า กลุ่มผู้บริโภคตัวอย่างโดยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 18-26 ปี สถานภาพโสด มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 25,001-35,000 บาทมากที่สุดนั้น มีการรับเปิดสื่อสารการตลาดเนื้อหาความหลากหลายทางเพศอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีการเปิดรับสูงบนช่องทางสื่อเฟซบุ๊ก และสื่อสารการตลาดในรูปแบบสื่อที่พรีเซนเตอร์ผู้มีความหลากหลายทางเพศเป็นผู้แสดงหรือนำเสนอสินค้าในระดับสูง ส่วนทัศนคติต่อการสื่อสารการตลาดเนื้อหาความหลากหลายทางเพศนั้นอยู่ในระดับสูง โดยเห็นว่าเป็นเนื้อหาที่มีความทันสมัย ส่วนพฤติกรรมการซื้อต่อการสื่อสารการตลาดเนื้อหาความหลากหลายทางเพศโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง อีกทั้งผู้บริโภคที่มีเพศสภาพแตกต่างกันจะมีการเปิดรับสื่อ ทัศนคติ และพฤติกรรมการซื้อต่อสินค้าและบริการที่มีเนื้อหาความหลากหลายทางเพศแตกต่างกัน และการเปิดรับสื่อ ทัศนคติ และพฤติกรรมการซื้อนั้นมีความสัมพันธ์กัน


อิทธิพลของคุณลักษณะของผู้มีอิทธิพลทางความคิดด้านสุขภาพ ต่อทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภค, ปภัสราภา ศิริสุนทร Jan 2022

อิทธิพลของคุณลักษณะของผู้มีอิทธิพลทางความคิดด้านสุขภาพ ต่อทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภค, ปภัสราภา ศิริสุนทร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงสำรวจในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา: 1) คุณลักษณะของผู้มีอิทธิพลทางความคิดด้านสุขภาพ (ได้แก่ ความน่าเชื่อถือ ความเชี่ยวชาญ ความน่าไว้วางใจ ความน่าดึงดูดใจ ความชื่นชอบ ความเหมือนกับกลุ่มเป้าหมาย และความคุ้นเคย) ทัศนคติ (ได้แก่ ทัศนคติต่อผู้มีอิทธิพลทางความคิดด้านสุขภาพ และทัศนคติต่อตราสินค้า) และพฤติกรรมของผู้บริโภค (ได้แก่ ความตั้งใจซื้อ และการสื่อสารแบบบอกต่อผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์) และ 2) อิทธิพลของคุณลักษณะของผู้มีอิทธิพลทางความคิดด้านสุขภาพ ต่อทัศนคติ และพฤติกรรมของผู้บริโภค โดยใช้แบบสอบถาม เก็บข้อมูลผ่านช่องทางออนไลน์ จาก 1) กลุ่มตัวอย่างที่ติดตามคุณเบเบ้ (ธันย์ชนก ฤทธินาคา) ที่มีอายุระหว่าง 24 - 30 ปี ทั้งเพศชายและเพศหญิง ที่รับชมคลิปวิดีโอจำนวนอย่างน้อย 3 ครั้งใน 1 เดือนที่ผ่านมา จำนวน 292 คน และ 2) กลุ่มตัวอย่างที่ติดตามคุณดาว (วิภา อาทิตย์อุไร) และรับชมคลิปวิดีโอจำนวน 3 ครั้งใน 1 เดือนที่ผ่านมา จำนวน 298 คน รวมทั้งหมด 590 คน ผลการวิจัยพบว่า คุณลักษณะของผู้มีอิทธิพลทางความคิดด้านสุขภาพ ทัศนคติ และพฤติกรรมผู้บริโภคของกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนั้น คุณลักษณะของผู้มีอิทธิพลทางความคิดด้านสุขภาพ ด้านความน่าไว้วางใจ และด้านความน่าดึงดูดใจมีอิทธิพลต่อทัศนคติมากที่สุด ในขณะที่ด้านความเหมือนกับกลุ่มเป้าหมายมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคมากที่สุด และสุดท้ายทัศนคติยังมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคอีกด้วย


ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของโครงการส่งเสริมวินัยการออมกับกองทุนการออมแห่งชาติในระดับพื้นที่ กรณีศึกษาจังหวัดนครสวรรค์, จุฑารัตน์ ยกถาวร Jan 2022

ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของโครงการส่งเสริมวินัยการออมกับกองทุนการออมแห่งชาติในระดับพื้นที่ กรณีศึกษาจังหวัดนครสวรรค์, จุฑารัตน์ ยกถาวร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาในการขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมวินัยการออมกับกองทุนการออมแห่งชาติในจังหวัดนครสวรรค์ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมวินัยการออมกับกองทุนการออมแห่งชาติในจังหวัดนครสวรรค์ และเพื่อนำเสนอแนวทางส่งเสริมการขับเคลื่อนโครงการในจังหวัดนครสวรรค์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยการศึกษาครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การวิจัยเชิงเอกสาร และสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้ที่เกี่ยวข้องกับการโครงการในจังหวัดนครสวรรค์ ตั้งแต่ระดับผู้บริหาร คณะทำงานตลอดจนผู้ได้รับประโยชน์จากโครงการจำนวน 29 ท่าน ผลการศึกษาวิจัยพบว่า แม้ว่ารัฐบาลจะให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาระบบบำนาญที่ยังไม่ครอบคลุมสำหรับแรงงานในทุกระบบ แต่การนำนโยบายไปปฏิบัติผ่านโครงการส่งเสริมวินัยการออมกับกองทุนการออมแห่งชาติ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกองทุนการออมแห่งชาติและกระทรวงมหาดไทยเพื่อระดมหาจำนวนสมาชิกใหม่เข้าสู่กองทุน อย่างไรก็ตามจากการศึกษาพบว่าการดำเนินงานในจังหวัดนครสวรรค์มีสัดส่วนสมาชิกเมื่อเทียบกับจำนวนเป้าหมายมากที่สุดในประเทศไทย แต่ความสำเร็จดังกล่าวเป็นเพียงความสำเร็จหนึ่งในสองของวัตถุประสงค์โครงการเท่านั้น กล่าวคือการดำเนินงานในจังหวัดนครสวรรค์มีแนวคิดริเริ่มซึ่งสามารถเพิ่มจำนวนสมาชิกใหม่ได้ตามเป้าหมาย แต่ยังขาดการส่งเสริมการออมอย่างต่อเนื่องของสมาชิก ทั้งนี้ยังพบปัญหาต่าง ๆ ระหว่างการดำเนินการในแต่ละส่วน ได้แก่ ขาดการประชาสัมพันธ์ที่เข้าถึงกลุ่มผู้มีสิทธิเป็นสมาชิกอย่างทั่วถึงรวมไปถึงผลตอบแทนยังไม่สามารถสร้างแรงจูงใจได้เท่าที่ควร เป็นภาระงานที่เพิ่มขึ้นของผู้ปฏิบัติในระดับพื้นที่เนื่องจากวิธีการการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติใช้หลักการแบ่งบทบาท นอกจากนี้พบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมวินัยการออมกับกองทุนการออมแห่งชาติในจังหวัดนครสวรรค์ ประกอบด้วย 1) ปัจจัยด้านความชัดเจนของนโยบาย 2) ปัจจัยด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร 3) ปัจจัยด้านสมรรถนะขององค์กร และ 4) ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมภายนอก ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการนำนโยบายไปปฏิบัติผ่านโครงการส่งเสริมวินัยการออมกับกองทุนการออมแห่งชาติในจังหวัดนครสวรรค์ ควรตระหนักถึงความสำคัญและทำความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบาย รวมไปถึงข้อเสนอแนะเพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพโครงการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


Creating A Sustainable Tourism Model Of Oceanfront Beach Resort, Phuket Thailand, During The Covid-19 Pandemic, Raiwin Chinkijjakarn Jan 2022

Creating A Sustainable Tourism Model Of Oceanfront Beach Resort, Phuket Thailand, During The Covid-19 Pandemic, Raiwin Chinkijjakarn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study aims to explore the strategies adopted for the tourism and hospitality business during the Covid-19 pandemic and analyze the strategies for sustainable tourism and hospitality approaches that could be adopted at the Oceanfront Beach Resort, Phuket, in Thailand, during the post-Covid-19 period. Qualitative methodology was used to collect detailed information from 20 respondents from various departments in hotels and tourism industry. The findings illustrate the strategies adopted for the tourism and hospitality business during the Covid-19 pandemic and post-pandemic at the Oceanfront Beach Resort Phuket in Thailand are (1) Competitive strategies, (2) Human resource capacity strategies, (3) Sustainable …


China's Influence On Laos' Infrastructure Investment And Lao People's Views On It - The Case Study Of China-Laos Railway, Ziying Cheng Jan 2022

China's Influence On Laos' Infrastructure Investment And Lao People's Views On It - The Case Study Of China-Laos Railway, Ziying Cheng

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This paper addresses the following question: "Given that China's economic contribution to the China-Laos Railway project is greater than Laos', will China have greater influence in the project than Laos?" In recent years, China and Laos have developed increasingly close relations. In addition, the China-Laos railway has been completed by the end of 2021 as a result of China's continued implementation of its "One Belt, One Road" policy. In the first section of the article, this context is described in detail. Laos has always been the only landlocked nation on the Indo-China Peninsula, and the construction of railways within its …


การรับรู้และการให้ความร่วมมือของพนักงานระดับปฎิบัติการต่อมาตรการป้องกันความเสี่ยงอุบัติเหตุในการทำงาน, กาจกำแหง ศุภประเสริฐ Jan 2022

การรับรู้และการให้ความร่วมมือของพนักงานระดับปฎิบัติการต่อมาตรการป้องกันความเสี่ยงอุบัติเหตุในการทำงาน, กาจกำแหง ศุภประเสริฐ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาภาคอุตสาหกรรมมีความก้าวหน้าอย่างมาก มีการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตจากการใช้แรงงานคนมาเป็นเทคโนโลยีและเครื่องจักร ทำให้มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุในการทำงานเพิ่มมากขึ้น ซึ่งในการเกิดอุบัติเหตุแต่ละครั้งจะก่อให้เกิดความสูญเสียเป็นอย่างมาก การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการรับรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมที่สอดคล้องกับคู่มือ /แนวทางการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันความเสี่ยงอุบัติิเหตุในการทำงาน (2) เพื่อศึกษากระบวนการที่สนับสนุนในการปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัย ของบริษัทเอกชนสัญชาติไทยแห่งหนึ่ง ในเขตอุตสาหกรรม จังหวัดสมุทรปราการ ในบริบทของงานวิจัยนี้ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือพนักงานผู้ปฏิบัติหน้าที่ขับขี่รถโฟล์คลิฟท์ในบริษัทแห่งนี้ จํานวน 5 คน และเจ้าหน้าที่แผนกทรัพยากรบุคคล (HR) จํานวน 2 คน ผลการสัมภาษณ์จากผู้ให้ข้อมูลสําคัญทั้งหมด เมื่อนํามาเปรียบเทียบจากการให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับคู่มือ /แนวทางการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันความเสี่ยงอุบัติิเหตุในการทำงาน เพื่อวิเคราะห์ว่าการรับรู้ของผู้ให้ข้อมูลสําคัญ การให้ความร่วมมือและเห็นความสำคัญกับกฎระเบียบและหลักเกณฑ์ในการขับขี่รถโฟล์คลิฟท์ที่บริษัทฯกําหนดหรือไม่อย่างไร โดยในภาพรวมพบว่า ถึงแม้ผู้ปฏิบัติหน้าที่ขับขี่รถโฟล์คลิฟท์จะมีการรับรู้พื้นฐานที่ดีเกี่ยวกับคู่มือ /แนวทางการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันความเสี่ยงอุบัติิเหตุในการทำงาน แต่จากผลการสังเกตการณ์พบว่าพนักงานผู้ปฏิบัติหน้าที่ขับขี่รถโฟล์คลิฟท์ในบางครั้งยังไม่สวมหมวกนิรภัย ไม่ใส่เสื้อสะท้อนแสง ไม่จอดรถที่จุดจอด เป็นต้น แสดงให้เห็นถึงความไม่ต่อเนื่องและเข้มงวดในการส่งเสริมวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กร ซึ่งบริษัทฯควรสร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมการรับรู้และการให้ความร่วมมือด้านความปลอดภัยอย่างต่อเนื่องต่อไป


การนำนโยบายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ Bcg Model ไปปฏิบัติ : กรณีศึกษา ศูนย์บริหารจัดการขยะรีไซเคิลชุมชน ตำบลลำเหย อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม, ญาณินท์ โพธิสว่าง Jan 2022

การนำนโยบายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ Bcg Model ไปปฏิบัติ : กรณีศึกษา ศูนย์บริหารจัดการขยะรีไซเคิลชุมชน ตำบลลำเหย อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม, ญาณินท์ โพธิสว่าง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายการนำนโยบายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจแบบ BCG Model ไปปฏิบัติของศูนย์บริหารจัดการขยะรีไซเคิลชุมชน ตำบลลำเหย อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม พร้อมทั้งวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติ โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) โดยอาศัยวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth interview) จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key informants) ที่เกี่ยวข้องในการนำนโยบายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG Model ไปปฏิบัติ ผลการศึกษาวิจัยพบว่า นโยบายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจแบบ BCG Model มีการดำเนินงานในรูปแบบการบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชน โดยมีเป้าหมายของนโยบาย คือ ใช้ทรัพยากรด้านเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียวในพื้นที่ เพื่อสร้างเศรษฐกิจให้ชุมชน มีการดำเนินงานโดยนำแผนปฏิบัติการด้านการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564-2570 มาเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนงานในพื้นที่ การนำนโยบายไปปฏิบัติให้ประสบความสำเร็จเกิดจาก 1) การมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายจากระดับล่างขึ้นบน (Bottom up approach) 2) การบรรจุนโยบายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจแบบ BCG Model ไว้ในแผนพัฒนาจังหวัด และแผนพัฒนาท้องถิ่น 3) การมีโครงสร้างการทำงานแบบบูรณาการที่ยืดหยุ่น คล่องตัว 4) การสื่อสารร่วมกันเพื่อให้เกิดความเข้าใจในการปฏิบัติในแนวทางเดียวกัน 5) บูรณาการทรัพยากรร่วมทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนที่มีส่วนร่วมในการนำนโยบายไปปฏิบัติ 6) สร้างการรับรู้นโยบายของบุคลากรที่นำนโยบายไปปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ 7) นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนงาน 8) มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติ


ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสมัครเข้าร่วมโครงการข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูงของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ, ภัสธารีย์ พลไพโรจน์ Jan 2022

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสมัครเข้าร่วมโครงการข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูงของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ, ภัสธารีย์ พลไพโรจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ของข้าราชการ สคร. ต่อระบบข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูง และศึกษากระบวนการในการวางแผนกำลังคน การสรรหา และคัดเลือกข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูงของ สคร. โดยการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร แบบสอบถาม และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผลการศึกษาการรับรู้ของข้าราชการ สคร. ต่อระบบข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูงในภาพรวม พบว่า ผู้ให้ข้อมูลสำคัญซึ่งเป็นข้าราชการ สคร. มีการรับรู้เกี่ยวกับระบบข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูงพื้นฐานในระดับดี โดยการรับรู้วัตถุประสงค์ของระบบข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูงสอดคล้องมากที่สุด และผู้ให้ข้อมูลสำคัญมีการรับรู้สอดคล้องบางส่วน 2 ด้าน ได้แก่ การรับรู้คุณสมบัติของผู้สมัคร และการรับรู้ประโยชน์ของระบบข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูง ในส่วนผลการศึกษากระบวนการวางแผนกำลังคน การสรรหา และการคัดเลือกข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูงของ สคร. ผู้ให้ข้อมูลสำคัญซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับระบบข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูง พบว่า การวางแผนกำลังคนของ สคร. ยังขาดการบูรณาการกัน ส่งผลให้การบริหารกำลังคนคุณภาพขาดความชัดเจน การประชาสัมพันธ์ข้อมูลโครงการข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูงมีเพียงช่องทางเดียวและครั้งเดียวเท่านั้น โดยที่ผ่านมาผู้สมัครเข้าร่วมโครงการข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูงมาจากการสมัครด้วยตนเองเพียงอย่างเดียว และผู้สมัครเข้าร่วมโครงการข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูงของ สคร. ล้วนเป็นข้าราชการที่ปฏิบัติงานในสายงานหลัก


Climate Imaginaries And Human Mobility: Complicating Climate Mobility As Adaptation In Thailand, Clare Steiner Jan 2022

Climate Imaginaries And Human Mobility: Complicating Climate Mobility As Adaptation In Thailand, Clare Steiner

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

For centuries, agricultural households in Thailand have engaged in mobility to adapt to environmental change and climate shocks. However, current framings of “climate migration as adaptation” obscure how these adaptation pathways are constructed by existing power relations, leaving institutions liable to re-enforce inequality. This thesis uses the concept of “imaginaries” to de-construct how certain knowledge and values advance over others in the process of negotiating and acting towards a preferable future. It employs a dual methodological approach with a case study of Baan Non Daeng in Ubon Ratchathani, Thailand to analyze dominant imaginaries in Thailand and their function and limitations …


Unpacking Gender Inequality For Inclusive Development: A Case Study Of Myanmar Female Migrant Workers In Samut Sakhon Province, Thailand, Hsan Thawdar Htun Jan 2022

Unpacking Gender Inequality For Inclusive Development: A Case Study Of Myanmar Female Migrant Workers In Samut Sakhon Province, Thailand, Hsan Thawdar Htun

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The study aims to address the issue of gender inequality in Thailand's seafood industry, with a specific focus on Myanmar female migrant workers in Mahachai (Samut Sakhon province). Although women migrant workers play a significant role in Thailand's economy, they have been facing various challenges in low-wage industries. Gender inequality remains a prominent concern in these low-skilled labor-intensive workplaces like seafood industry. While there have been studies on migration that include both men and women or focus solely on women, gender has not received sufficient emphasis in understanding the experiences of female migrant workers, particularly in the seafood industry. This …


Poverty And Elderly Labor Supply In Thailand, Ruoshan Zhao Jan 2022

Poverty And Elderly Labor Supply In Thailand, Ruoshan Zhao

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The aim of this study was to estimate the impact of poverty on elderly labor force participation and investigate the relationship between poverty and the intensity of work (i.e., working days). Labor supply by the elderly is increasingly one of the most concerning issues in developing countries. Based on studies on the elderly, researchers have made significant findings regarding the labor participation rates of older adults. However, there is a lack of research on the relationship between the labor force participation rate and poverty among the elderly in Thailand. This study used the probit regression model and Tobit regression model …


The Challenges Of Small And Medium Enterprises (Smes) In Tourism Sector : A Case Study Of Sihanoukville Province, Cambodia, Dena Seab Jan 2022

The Challenges Of Small And Medium Enterprises (Smes) In Tourism Sector : A Case Study Of Sihanoukville Province, Cambodia, Dena Seab

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research aims to study the challenges of Small and Medium Enterprises (SMEs) in Tourism Sector in Sihanoukville of Cambodia. The author used a mix approach of quantitative and qualitative approach to answer and analyze the research objectives. For survey, the population of this study were chosen from 114 business owners or managers of SMEs in tourism sector mainly hotels, guesthouses, restaurants, massage parlors, tour agencies, tour operators, and transportation companies to answer the questionnaires . The quantitative method was applied using questionnaire. The quantitative data collected from the survey were analyzed by using SPSS 16. For qualitative approach, 2 …


Food Inflation During The Covid-19 Pandemic. A Comparison Between Brazilian And Thai Food Inflation During The Years 2020 And 2021., Lilian Cordeiro Prates Jan 2022

Food Inflation During The Covid-19 Pandemic. A Comparison Between Brazilian And Thai Food Inflation During The Years 2020 And 2021., Lilian Cordeiro Prates

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Thailand and Brazil are two prominent net agro-exporters, and both countries were hit severely by the Pandemic of Covid-19. While Thailand's GDP decreased by 6.1% in 2020, the Brazilian economy shrank by 4.1%. Despite these similarities, during the acute phase of the pandemic, food prices in Brazil started to increase at an accelerated pace while, in Thailand, food prices remained low and stable. In 2020, the annual food inflation in Brazil was 14,11%, and Thailand's was 1.37%. Therefore, this study aims to contribute to the literature by filling the information gap about food inflation dynamics in those two countries during …


Social Enterprises: Relationship Between Economic Profits And Social Values, Pramon Karnchanapimonkul Jan 2022

Social Enterprises: Relationship Between Economic Profits And Social Values, Pramon Karnchanapimonkul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Social enterprises emerge as a newer type of organization that that combines elements of for-profit and non-profit organizations, and are gaining recognition as a potential driver of sustainable development. Social enterprises typically have the economic and the social objective that may contradict each other to produce trade-offs, or reinforce each other to produce synergies. Hence, this research aims to determine whether there are trade-offs or synergies between the economic and the social objective of social enterprises in Thailand, and determine the micro, meso and macro level factors that influence the relationship between the objectives of social enterprises. This research performed …


ปัจจัยกำหนดการเข้าสู่การทำงาน รูปแบบการทำงาน และชั่วโมงการทำงานที่ยาวนานของแรงงานวัยเยาว์ในประเทศไทย, กนกนิษก์ ตัณฑ์กุลรัตน์ Jan 2022

ปัจจัยกำหนดการเข้าสู่การทำงาน รูปแบบการทำงาน และชั่วโมงการทำงานที่ยาวนานของแรงงานวัยเยาว์ในประเทศไทย, กนกนิษก์ ตัณฑ์กุลรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ของเด็กอายุ 15-17 ปี ในประเทศไทยที่เข้าสู่การทำงาน รวมทั้ง รูปแบบการทำงานและชั่วโมงการทำงานที่ยาวนานของแรงงานวัยเยาว์ (เด็กอายุ 15-17 ปี ที่ทำงาน) นอกจากนี้ การวิจัยนี้ยังมุ่งศึกษาปัจจัยทางประชากรในครัวเรือนและลักษณะครัวเรือนที่ส่งผลต่อการเข้าสู่การทำงานของเด็ก ตลอดจน รูปแบบการทำงานและการทำงานในชั่วโมงการทำงานที่ยาวนานของแรงงานวัยเยาว์ ทั้งนี้ งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานที่ใช้ข้อมูลเชิงปริมาณจากการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร ไตรมาส 3 พ.ศ. 2561 ที่จัดเก็บโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติและการสัมภาษณ์เชิงลึกกับแรงงานวัยเยาว์ จำนวน 27 คน ผลการวิจัยที่สำคัญ พบว่า แรงงานวัยเยาว์ส่วนใหญ่ทำงานช่วยเหลือธุรกิจในครัวเรือนโดยไม่ได้รับค่าจ้าง รองลงมาคือการเป็นลูกจ้าง นอกจากนี้ ยังพบว่าแรงงานวัยเยาว์ที่ทำงานไปด้วยเรียนไปด้วยมีสัดส่วนของการทำงานในชั่วโมงที่ยาวนานมากกว่าแรงงานวัยเยาว์ที่ทำงานอย่างเดียว ส่วนปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเข้าสู่การทำงานในรูปแบบการทำงานอย่างเดียว ได้แก่ ระดับการศึกษาของหัวหน้าครัวเรือนและสมาชิกคนอื่นในครัวเรือนที่อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป สถานภาพสมรสของหัวหน้าครัวเรือน ความเกี่ยวพันทางญาติกับหัวหน้าครัวเรือน การขาดการเอาใจใส่ด้านการศึกษาของผู้ปกครอง สำหรับปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อชั่วโมงการทำงานที่ยาวนาน ได้เก่ การหารายได้ที่เพียงพอเพื่อเลี้ยงครอบครัว การเป็นลูกจ้าง และการขาดทักษะชีวิตในการจัดการเวลา ดังนั้น ผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะหลัก 4 ประการ ได้แก่ 1. ควรพิจารณาปัจจัยเสี่ยงในครัวเรือนและจัดการรายกรณีสำหรับเด็กที่มีปัจจัยเสี่ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่งป้องกันการหลุดออกนอกระบบการศึกษาและช่วยให้แรงงานวัยเยาว์ที่ทำงานอย่างเดียวกลับมาเรียนต่อได้ โดยอาจเป็นการทำงานควบคู่กับการเรียน 2. ควรพัฒนาทักษะการทำงานของเด็กเพื่อให้แรงงานได้มีโอกาสการทำงานที่ได้รับค่าตอบแทนที่สูงขึ้นทำให้มีชั่วโมงการทำงานที่น้อยลง 3. ควรร่วมมือกับนายจ้างในการออกแนวทางการกำหนดชั่วโมงการทำงานสำหรับแรงงานวัยเยาว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แรงงานวัยเยาว์ที่ทำงานไปด้วยเรียนไปด้วย รวมทั้งให้ครอบคลุมถึงกลุ่มเด็กที่เรียนในสายสามัญนอกเหนือจากสายอาชีพ 4. ควรพัฒนาทักษะชีวิติในการจัดการเวลาในการทำงานตั้งแต่วัยเยาว์เพื่อตอบสนองการทำงานในอนาคต


การจำลองการเกิดน้ำท่วมในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนกลางด้วยแบบจำลอง Hec-Ras, ปัญชิกา มูลรังษี Jan 2022

การจำลองการเกิดน้ำท่วมในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนกลางด้วยแบบจำลอง Hec-Ras, ปัญชิกา มูลรังษี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ประยุกต์ใช้แบบจำลองชลศาสตร์ HEC-RAS เพื่อการจำลองและคาดการณ์การเกิดน้ำท่วม ในลุ่มน้ำเจ้าพระยาบริเวณตั้งแต่ท้ายเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท จนกระทั่งถึง อ.เมือง จ.อ่างทอง โดยทำการจำลองการไหลในลำน้ำแบบหนึ่งมิติ (1D) และการหลากของน้ำล้นตลิ่งในลักษณะสองมิติ (2D) ในการจำลองการไหลแบบหนึ่งมิติ ผู้วิจัยทำการเทียบมาตรฐานแบบจำลอง โดยใช้ข้อมูลอัตราการไหล ในลำน้ำที่สถานีตรวจวัด C.13 และระดับน้ำที่ C.7A พ.ศ. 2553 และ พ.ศ. 2555 เพื่อกำหนดค่าสัมประสิทธิ์ความขรุขระแมนนิ่ง (Manning’s n) ของพื้นท้องน้ำที่เหมาะสมในการจำลองการไหลแบบไม่คงที่ในลำน้ำ สำหรับการจำลองการไหลแบบ 2 มิติ ทำการเทียบมาตรฐานแบบจำลองกับขอบเขตพื้นที่น้ำท่วมจากภาพถ่ายดาวเทียมรายวัน และระดับน้ำท่วมจากจุดสำรวจ 4 ตำแหน่ง เพื่อปรับค่าการระบายน้ำออกจากพื้นที่ศึกษาด้วยค่าสัมประสิทธิ์ปรับแก้การเปิด-ปิดประตูระบายน้ำและการกักเก็บปริมาณน้ำท่วมส่วนเกิน จากนั้นจึงทดสอบความสมเหตุสมผลของแบบจำลอง โดยใช้ข้อมูลอัตราการไหลในลำน้ำและขอบเขตพื้นที่น้ำท่วม พ.ศ.2551 และ พ.ศ.2552 รวมถึงระดับน้ำท่วมจากจุดสำรวจ 3 ตำแหน่งในพื้นที่ศึกษา ผลการศึกษาพบว่า ค่า Nash Sutcliffe Efficiency (NSE) ของอัตราการไหลในลำน้ำอยู่ระหว่าง 0.95-0.99 และค่า root-mean-squared error (RMSE) ของความลึกน้ำท่วม 3 ตำแหน่ง อยู่ระหว่าง 0.67-0.68 เมตร เมื่อเพิ่มโครงสร้างบรรเทาการเกิดอุทกภัยในแบบจำลอง สามารถลดพื้นที่น้ำท่วม พ.ศ. 2548 และ พ.ศ. 2550 ได้ 41.27 และ 51.49 ตารางกิโลเมตร ตามลำดับ โดยการเพิ่มพื้นที่แก้มลิงสามารถบรรเทาอุทกภัยได้มากที่สุด ในขณะที่การเพิ่มความสูงคันกั้นน้ำและการขุดลอกลำน้ำ ไม่สามารถลดพื้นที่ที่เกิดน้ำท่วมขังได้มากนัก ในนอกจากนี้ยังพบว่าการเพิ่มโครงสร้างบรรเทาน้ำท่วมทั้ง 3 ประเภท ทำให้พื้นที่ที่ยังคงมีน้ำท่วมขัง มีระดับความลึกน้ำท่วมลดลง 0.1-0.15 เซนติเมตร


แนวทางการกำกับดูแลการรับมือภัยคุกคามความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ขององค์กรในยุคดิจิทัล, ชรินทร์ทิพย์ ปั้นสุวรรณ Jan 2022

แนวทางการกำกับดูแลการรับมือภัยคุกคามความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ขององค์กรในยุคดิจิทัล, ชรินทร์ทิพย์ ปั้นสุวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์ภัยคุกคามไซเบอร์หน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญทางสารสนเทศด้านสาธารณสุขและสาธารณูปโภค 2) ศึกษาโครงสร้างการกำกับดูแล การขับเคลื่อนการบังคับใช้นโยบายและมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในการบริหารจัดการความเสี่ยง เพื่อสร้างความตระหนักและเฝ้าระวังภัยคุกคามความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และ 3) ศึกษาแนวทางการเตรียมแผนการรับมือภัยคุกคามความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และการกำกับดูแลการบริหารจัดการที่ดีด้านเทคโนโลยีดิจิทัลในองค์กร เพื่อลดความเสี่ยงและป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ในอนาคต การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการศึกษาจากเอกสารและการวิจัยภาคสนามโดยการเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่เป็นผู้ปฏิบัติงานระดับผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ รวมทั้งสิ้นจำนวน 22 คน เพื่ออธิบายถึงลักษณะภัยคุกคามทางไซเบอร์ตลอดจนการกำกับดูแลและรับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์ขององค์กร ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัญหาภัยคุกคามทางไซเบอร์หน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญทางสารสนเทศทั้งในประเทศและต่างประเทศที่กำลังทวีความรุนแรงมากขึ้น ได้แก่ โรงพยาบาล การไฟฟ้า และการประปา ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยและการให้บริการด้านสาธารณสุข ด้านสาธารณูปโภคที่สำคัญของประเทศ รวมไปถึงภาคการเงินการธนาคารและหน่วยงานด้านยุติธรรม 2) หลายหน่วยงานมีความตระหนักรู้ในการริเริ่มจัดทำนโยบาย แนวทางปฏิบัติและจัดลำดับความสำคัญในการบริหารจัดการความเสี่ยง รวมถึงการประเมินความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่องค์กรยอมรับได้ 3) หน่วยงานภาครัฐมีแนวทางที่เหมาะสมในการดำเนินงาน เพื่อลดแรงเสียดทานและความเสี่ยงต่างๆให้น้อยที่สุด อย่างไรก็ตาม ภาครัฐควรให้ความสำคัญและควรปรับปรุงกฎหมายไซเบอร์ให้มีการบังคับใช้และบทลงโทษที่ชัดเจน ด้วยการใช้มาตรการทางกฎหมายอาจไม่ใช่แค่เพื่อแก้ปัญหาด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์เท่านั้น แต่ยังเสริมสร้างความตระหนักรู้และพัฒนาสิทธิรับรู้ข้อมูลข่าวสารในกระบวนการธรรมรัฐไทย


เส้นทางชีวิตของผู้ต้องขังที่กระทำผิดต่อเนื่องในคดีข่มขืนกระทำชำเรา, ปิยพงศ์ แซ่ตั้ง Jan 2022

เส้นทางชีวิตของผู้ต้องขังที่กระทำผิดต่อเนื่องในคดีข่มขืนกระทำชำเรา, ปิยพงศ์ แซ่ตั้ง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจวิถีชีวิต ปัจจัยเสี่ยง แนวทางป้องกันและแก้ไขการกระทำผิดต่อเนื่องในคดีข่มขืนกระทำชำเรา โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพแบบเล่าเรื่องและใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกรายบุคคลผ่านผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 3 แหล่ง ได้แก่ ผู้ต้องขังที่กระทำผิดต่อเนื่องในคดีข่มขืนกระทำชำเรา จำนวน 3 ราย ผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ต้องขังที่กระทำผิดต่อเนื่องในคดีข่มขืนกระทำชำเรา 6 ราย และผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับผู้กระทำผิดในคดีข่มขืนกระทำชำเราต่อเนื่อง จำนวน 15 ราย จากนั้นจึงใช้วิธีการวิเคราะห์แก่นสาระจากเรื่องเล่าโดยใช้โปรแกรมช่วยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ATLAS.ti version 22 ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. วิถีชีวิตของผู้กระทำผิดต่อเนื่องในคดีข่มขืนกระทำชำเรามีลักษณะที่เป็นปัจเจก และผ่านเหตุการณ์ในแต่ละช่วงวัยที่ทำให้เกิดความเปราะบางทางบุคลิกภาพ ได้แก่ การเผชิญกับเหตุการณ์เลวร้ายในวัยเด็ก การหลุดออกจากระบบการศึกษา ข้อจำกัดด้านทางเลือกในการประกอบอาชีพ ปัญหาการสร้างสัมพันธภาพทางสังคม และผ่านกระบวนการเรียนรู้ทางสังคมจนเกิดพฤติกรรมการข่มขืนต่อเนื่อง 2. ปัจจัยเสี่ยงที่นำไปสู่พฤติกรรมข่มขืนกระทำชำเราต่อเนื่องแบ่งเป็นสองส่วน ได้แก่ ปัจจัยภายใน (แรงกดดันที่นำไปสู่การข่มขืนกระทำชำเรา การขาดความผูกพันทางสังคม ความคิดที่ส่งเสริมการข่มขืนกระทำชำเรา การพัฒนาวิถีชีวิตแบบต่อต้านสังคม ความสนใจทางเพศที่ผิดปกติ และความผิดปกติทางบุคลิกภาพ) และปัจจัยภายนอก (โอกาสที่เอื้อต่อการข่มขืนกระทำชำเรา การดื่มสุราและเสพสารเสพติด การคบค้าสมาคมที่แตกต่างและพฤติกรรมข่มขืนกระทำชำเรา สื่อลามกและสื่อที่มีเนื้อหากระตุ้นเรื่องเพศ ค่านิยมที่เอื้อต่อการข่มขืนกระทำชำเรา) 3. การป้องกันพฤติกรรมข่มขืนกระทำชำเราต่อเนื่องจำเป็นต้องเริ่มจากการลดปัจจัยเสี่ยงจากสิ่งแวดล้อมภายในครอบครัว การสร้างและทำให้เด็กคงอยู่ในระบบการศึกษาที่ปลอดภัย การสร้างระบบป้องกันปัญหาสุขภาพจิตและความผิดปกติทางบุคลิกภาพ การให้ความสำคัญกับกระบวนการกลับสู่สังคมสำหรับผู้กระทำผิดที่พ้นโทษ การสร้างความตระหนักทางสังคมเพื่อลดความเสี่ยงต่อการกระทำผิดและการตกเป็นเหยื่อ และการเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการยุติธรรม ส่วนแนวทางการแก้ไขพฤติกรรมข่มขืนกระทำชำเราต่อเนื่อง ประกอบด้วย การปรับกระบวนทัศน์ที่เน้นการฟื้นฟูผู้กระทำผิด การพัฒนาระบบจำแนกประเภทผู้กระทำผิด การพัฒนาการบำบัดฟื้นฟูผู้กระทำผิด การพัฒนากระบวนการกลับสู่สังคมสำหรับผู้กระทำผิดที่พ้นโทษ การสร้างกลไกการเฝ้าระวังเพื่อป้องกันการกระทำผิดซ้ำ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้เหยื่ออาชญากรรมทางเพศ


การป้องกันและการรับมือการกลั่นแกล้งในเกมออนไลน์แนวต่อสู้: กรณีศึกษาเกม Valorant, ยุววัฒน์ ไตรจิต Jan 2022

การป้องกันและการรับมือการกลั่นแกล้งในเกมออนไลน์แนวต่อสู้: กรณีศึกษาเกม Valorant, ยุววัฒน์ ไตรจิต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเกี่ยวกับการป้องกันและการรับมือการกลั่นแกล้งภายในเกมออนไลน์แนวต่อสู้:กรณีศึกษาเกม VALORANT เป็นการศึกษาเกี่ยวกับปัญหาการกลั่นแกล้งที่เกิดขึ้นในพื้นที่ของเกมออนไลน์ แสวงหาสาเหตุของการกลั่นแกล้ง และวิธีการป้องกันและการรับมือการกลั่นแกล้งภายในเกมออนไลน์ เพื่อนำมาเผื่อแพร่และให้ความรู้กับผู้ที่มีความสนใจที่จะเข้าสู่โลกของสังคมเกมออนไลน์รับทราบถึงสาเหตุ รูปแบบ และวิธีการรับมือการกลั่นแกล้งที่สามารถเกิดขึ้นได้ในสังคมเกมออนไลน์ การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกรูปแบบกึ่งโครงสร้าง กลุ่มตัวอย่างจำนวน 12 คน ผลการศึกษาพบว่าสาเหตุของการกลั่นแกล้งภายในเกมออนไลน์แนวต่อสู้มีอยู่ 3 ปัจจัยหลักคือ 1) ปัจจัยด้านทักษะผู้เล่น 2) ปัจจัยเรื่องเพศของผู้เล่น 3) ปัจจัยเกี่ยวกับตัวผู้แกล้ง โดยรูปแบบของการกลั่นแกล้งที่เกิดขึ้นภายในเกมออนไลน์จะเป็นรูปแบบของ 1) การใช้ Text Chat ที่เป็นการพิมพ์ข้อความเพื่อสื่อสาร 2) การใช้ Voice Chat ที่เป็นการใช้ระบบของเกมในการสื่อสารระหว่างผู้เล่นทางเสียง 3) การใช้ระบบการเล่นภายในเกมเพื่อขัดขวางหรือรบกวนการเล่นของผู้เล่น ในส่วนของการรับมือการกลั่นแกล้งภายในเกมออนไลน์จะประกอบไปด้วยการรับมือโดย 1) การประณีประณอมกับการกลั่นแกล้ง 2) การปิดช่องทางการสื่อสาร และ 3) การชักชวนเพื่อนหรือคนรู้จักมาร่วมเล่นเกมออนไลน์


ระบบเจ้าโคตรกับระบบงานยุติธรรมชุมชน : กรณีศึกษาบ้านเสียว ตำบลวังชัย อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น, ภควรรณพร พิศุทธิสุวรรณ Jan 2022

ระบบเจ้าโคตรกับระบบงานยุติธรรมชุมชน : กรณีศึกษาบ้านเสียว ตำบลวังชัย อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น, ภควรรณพร พิศุทธิสุวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

“ระบบเจ้าโคตรกับระบบงานยุติธรรมชุมชน: กรณีศึกษาบ้านเสียว ตำบลวังชัย อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น” เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมา รูปแบบและกลไกดำเนินงานของระบบเจ้าโคตรที่เป็นงานยุติธรรมเชิงจารีต ประเภทคดีหรือลักษณะข้อพิพาทที่ใช้ยุติปัญหา รวมถึงข้อดีและข้อจำกัดของการใช้ระบบเจ้าโคตร สภาพการดำรงอยู่ภายในชุมชนและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นต่อระบบเจ้าโคตรเมื่อมีการนำงานยุติธรรมชุมชนรูปแบบอื่น ๆ ของภาครัฐเข้ามาใช้ปฏิบัติ ซึ่งสะท้อนถึงการรับรู้และมุมมองต่อการใช้ระบบเจ้าโคตรของหน่วยงานภาครัฐ และให้ข้อเสนอแนะเรื่องการเชื่อมโยงระหว่างระบบเจ้าโคตรกับระบบงานยุติธรรมชุมชนเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนากระบวนการยุติธรรม ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการศึกษาเชิงเอกสาร วิธีการสนทนาแบบกลุ่ม และวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 12 คน เพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) ระบบเจ้าโคตรมีผู้อาวุโสที่คู่กรณีและชุมชนเคารพนับถือ เชื่อใจ และยอมรับในความประพฤติและการพูดจาให้เหตุผลเมื่อตัดสินความขัดแย้งให้เข้ามาทำหน้าที่คนกลางไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทระหว่างบุคคลที่เกิดขึ้นในชุมชน โดยกระบวนการระงับข้อพิพาทจะเป็นแบบเรียบง่ายที่คนกลางพูดคุยซักถามเรื่องราวและเหตุผลจากคู่กรณีทั้งสองฝ่ายแล้วตัดสินความ แล้วจึงให้คู่กรณีตกลงเรื่องการชดใช้เยียวยากันโดยตรงต่อหน้าคนกลางและเริ่มต้นไกล่เกลี่ยสมานฉันท์ และร่วมกันการสร้างข้อตกลงจากการระงับข้อพิพาทที่คำนึงถึงความต้องการของคู่กรณีทั้งสองฝ่าย หมู่บ้านเสียวจะใช้ระบบเจ้าโคตรกับความผิดที่มีเด็กหรือเยาวชนเป็นผู้กระทำ การใช้ความรุนแรงภายในครอบครัว ความผิดที่กระทำต่อกันโดยประมาท ความผิดอาญาต่อส่วนตัวซึ่งรวมถึงคดีอนาจาร และความผิดลหุโทษ ระบบเจ้าโคตรมีข้อดี คือ ช่วยรักษาสภาพจิตใจคู่กรณีและดำรงสัมพันธภาพร่วมกันเอาไว้ ช่วยลดภาระของทางราชการและลดความขัดแย้งในสังคม ช่วยประหยัดเวลาและลดค่าใช้จ่ายประชาชนไปพร้อมกับลดปัญหาการดำเนินงานซึ่งกระบวนการยุติธรรมกำลังประสบอยู่โดยระงับไม่ให้ข้อพิพาทเล็กน้อยเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ทว่ามีข้อจำกัด ได้แก่ การยึดโยงอยู่กับศรัทธาต่อตัวบุคคลทำให้ระบบขาดเสถียรภาพ อาจมีความเหมาะสมที่จะใช้ในสังคมขนาดเล็ก และไม่มีกฎหมายรองรับผลของการไกล่เกลี่ยหากเจ้าโคตรไม่ใช่ผู้ผ่านการอบรมเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นผู้ไกล่เกลี่ยภาคประชาชน 2) ระบบเจ้าโคตรดำรงอยู่อย่างมีสัมพันธภาพกับงานยุติธรรมชุมชนแบบอื่นๆของภาครัฐ โดยการปรับตัวเปลี่ยนแปลงไปตามเงื่อนไขการดำเนินงานยุติธรรมชุมชนของภาครัฐ ได้แก่ การมีคนกลางมากกว่าหนึ่งคน และการให้จัดทำเอกสารลายลักษณ์อักษรในกระบวนการระงับข้อพิพาทเพื่อเป็นหลักฐานอ้างอิงตามกฎหมาย 3) ภาครัฐมีการรับรู้ระบบเจ้าโคตรที่ใช้จัดการความขัดแย้งภายในชุมชนอย่างจำกัด แม้ว่าจะมีมุมมองว่าระบบเจ้าโคตรมีศักยภาพต่อการระงับข้อพิพาทเบื้องต้นแต่ยังมีท่าทีแบ่งรบแบ่งสู้หากจะต้องส่งเสริมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของระบบงานยุติธรรมชุมชนในพื้นที่ 4) ข้อเสนอแนะของผู้วิจัยต่อการเชื่อมโยงระบบเจ้าโคตรกับระบบงานยุติธรรมชุมชนเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อกระบวนการยุติธรรมคือ ควรส่งเสริมให้ชุมชนนำระบบเจ้าโคตรซึ่งเป็นยุติธรรมเชิงจารีตเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของระบบงานยุติธรรมชุมชนในหมู่บ้านอย่างจริงจัง และควรเข้ามาให้ความช่วยเหลือด้านความรู้ทางกฎหมายที่จำเป็น และสนับสนุนให้ผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้าน สมาชิกเครือข่ายศูนย์ยุติธรรมชุมชน และเจ้าโคตรรุ่นปัจจุบันอีกจำนวน 2 คนได้รับการอบรมในหลักสูตรผู้ไกล่เกลี่ยตามพระราชบัญญัติไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 เพื่อขึ้นทะเบียนเป็นผู้ไกล่เกลี่ยภาคประชาชนตามกฎหมาย


การฟอกเขียวด้วยการซื้อขายคาร์บอนเครดิตในประเทศไทย, วนัสนันท์ กันทะวงศ์ Jan 2022

การฟอกเขียวด้วยการซื้อขายคาร์บอนเครดิตในประเทศไทย, วนัสนันท์ กันทะวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการฟอกเขียวด้วยการซื้อขายคาร์บอนเครดิต ศึกษาความสัมพันธ์ของการฟอกเขียวด้วยการซื้อขายคาร์บอนเครดิต และศึกษาทัศนคติของประชาชนเกี่ยวกับการฟอกเขียวด้วยการซื้อขายคาร์บอนเครดิต เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed method) การวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม โดยวิธีการเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน ในจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ กรุงเทพมหานคร สมุทรสาคร ตราด และสุราษฎร์ธานี และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิจัยเชิงเอกสาร 10 ปีย้อนหลัง พ.ศ. 2556 - 2566 และใช้เทคนิคการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 15 คน ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับคาร์บอนเครดิต นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญ องค์กรไม่แสวงหากำไร ผลการศึกษาพบว่า การซื้อขายคาร์บอนเครดิตสามารถบรรเทาปัญหาภาวะโลกร้อน ก่อให้เกิดโครงการเพื่อสิ่งแวดล้อม และนำไปสู่การลงทุนรูปแบบใหม่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้การซื้อขายคาร์บอนเครดิตไม่ได้เป็นอาชญากรรมในตัวเอง หากแต่มีการใช้เป็นเครื่องมือกระทำความผิดและนำไปสู่การฟอกเขียว การฟอกเขียวด้วยการซื้อขายคาร์บอนเครดิต ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ 1) ผู้กระทำ 2) กิจกรรมการฟอกเขียว 3) ฟอกเขียวด้วยกลไกคาร์บอน 4) เป้าหมาย 5) ผลกระทบ 6) กระทำด้วยเจตนา โดยผู้กระทำการฟอกเขียว ประกอบด้วย 1) บุคคลธรรมดา มีลักษณะอาชญากรคอปกขาว 2) นิติบุคคล มีลักษณะอาชญากรรมที่กระทำโดยบริษัทหรือธุรกิจองค์กร 3) รัฐ ที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุจากความประมาทจากการประกาศนโยบายของรัฐ หรือการดำเนินการผิดพลาดที่นำไปสู่การทุจริตคอร์รัปชัน การฟอกเขียวด้วยการซื้อขายคาร์บอนเครดิตสามารถเกิดใน 3 รูปแบบ ได้แก่ การใช้ช่องโหว่ของกระบวนการซื้อขายคาร์บอนเครดิต การพึ่งพาการชดเชยมากเกินไป และการใช้กลไกการทำธุรกรรมของกลไกคาร์บอน ความสัมพันธ์ของการฟอกเขียวด้วยการซื้อขายคาร์บอนเครดิต จำแนกเป็น 2 ลักษณะคือ การซื้อขายคาร์บอนเครดิตช่วยบรรเทาปัญหาภาวะโลกร้อน และการซื้อขายคาร์บอนเครดิตนำไปสู่ปัญหาสังคม 2 ลักษณะ ได้แก่ เป็นเครื่องมือการฟอกเขียว และ ก่อให้เกิดอาชญากรรมรูปแบบใหม่ในลักษณะห่วงโซ่อาชญากรรม ได้แก่ การฉ้อโกงประชาชน อาชญากรรมสิ่งแวดล้อม อาชญากรรมคอปกขาว อาชญากรรมทางเศรษฐกิจ อาชญากรรมไซเบอร์ การฉ้อโกงภาษี และการฟอกเงิน จากการศึกษาทัศนคติของประชาชนเกี่ยวกับการฟอกเขียวด้วยการซื้อขายคาร์บอนเครดิตปรากฎว่า มีความสัมพันธ์กับการบรรเทาปัญหาภาวะโลกร้อน โครงการเพื่อสิ่งแวดล้อม และการลงทุนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในระดับน้อย มีความสัมพันธ์กับไม่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก …


วาทกรรมสิทธิทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับลิขสิทธิ์กับงานยุติธรรมทางอาญาในสังคมไทย, สุวิทย์ รัตนสุคนธ์ Jan 2022

วาทกรรมสิทธิทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับลิขสิทธิ์กับงานยุติธรรมทางอาญาในสังคมไทย, สุวิทย์ รัตนสุคนธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบต่างๆ ที่ทำให้เกิดการการประกอบสร้างอัตลักษณ์ตัวตนจนลิขสิทธิ์กลายมาเป็นสิทธิผูกขาดจนสามารถนำเอามาตรการทางอาญามาปรับใช้กับผู้ละเมิดสิทธิผูกขาดนี้ได้อย่างกลมกลืน ตลอดจนศึกษาองค์ความรู้ด้านอื่นๆ ที่อาจนำมาใช้เพื่อสร้างดุลยภาพในการคุ้มครองลิขสิทธิ์และลดความเป็นอาชญากรรมจากการคุ้มครองลิขสิทธิ์ในสังคมไทยลง โดยใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพจากการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) การศึกษาและวิเคราะห์วาทกรรม (Discourse Studies and Discourse Analysis) โดยเปรียบเทียบกับข้อมูลเชิงประจักษ์จากกรณีศึกษา ผลการศึกษาพบว่า ความเป็นอาชญากรรมที่เกิดขึ้นจากการคุ้มครองลิขสิทธิ์เป็นผลมาจากแนวคิดสิทธิผูกขาดแห่งลิขสิทธิ์ของประเทศตะวันตกที่ไหลหลากเข้าสู่สังคมไทยเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการแสวงหาประโยชน์ทางเศรษฐกิจในยุคทุนนิยมและบริโภคนิยม สังคมไทยได้ยอมรับนับให้ลิขสิทธิ์ซึ่งเกิดจากภูมิปัญญาของมนุษย์มีค่าเหนือกว่าทรัพย์สินที่เกิดขึ้นตามธรรมชาตินำไปสู่การประกอบสร้างวาทกรรมความเป็นอัตลักษณ์ตัวตนและความสำคัญให้เกิดขึ้น การกระทำใดๆ อันเป็นการล่วงละเมิดสิทธิผูกขาดนี้เป็นการกระทำที่สังคมไม่อาจยอมรับได้ นำไปสู่การนำมาตรการทางอาญามาปรับใช้กับผู้ล่วงละเมิดจนเกิดความเป็นอาชญากรรมอย่างล้นหลามขึ้นในสังคมไทย การเกิดวาทกรรมนี้อาศัยบริบท ปรากฏการณ์ต่างๆ ในสังคมโลกและในสังคมไทย กอปรกับการประกอบสร้างจากมนุษย์โดยตรง ด้วยการใช้มาตรการทางอาญาสร้างความรุนแรง การสร้างความเป็นอื่น การปิดฉลากตีตรา การทำลายผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากละเมิด การสร้างความชอบธรรมจากเหตุผลกระตุ้นการสร้างสรรค์และความเจริญทางเศรษฐกิจ ส่วนการกำหนดสร้างนิยามความหมายใหม่ซึ่งเป็นผลจากการแสดงปฏิกริยาตอบโต้ แข็งขืนของผู้ยึดถือวาทกรรมรองนำไปสู่กระบวนการรื้อสร้างใหม่ เพื่อตีแผ่ ขุดคุ้ยเอาสารัตถะองค์ความรู้ ความจริงที่แฝงฝัง ลืมเลือนอยู่ในสังคมไทยในด้านเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยีการสื่อสารและกติกาสากลออกมาให้ปรากฏ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการช่วยสร้างความสอดคล้องกับสังคมไทย สร้างความสมดุลและช่วยลดความเป็นอาชญากรรมที่เกิดขึ้นจากการคุ้มครองลิขสิทธิ์ในสังคมไทย


ประสบการณ์การผสมผสานอัตลักษณ์ของนักจิตวิทยาการปรึกษามืออาชีพ, วรัทธน์ ปัญญาทิยกุล Jan 2022

ประสบการณ์การผสมผสานอัตลักษณ์ของนักจิตวิทยาการปรึกษามืออาชีพ, วรัทธน์ ปัญญาทิยกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพตามแนวปรากฏการณ์วิทยา​ เพื่อศึกษาประสบการณ์ผสมผสานอัตลักษณ์ของนักจิตวิทยาการปรึกษามืออาชีพ โดยทําการเก็บรวบรวม ข้อมูลผ่านการสัมภาษณ์นักจิตวิทยาการปรึกษามืออาชีพที่มีประสบการณ์ทํางานมาแล้วไม่ต่ำกว่า 5 ปี จํานวนทั้งสิ้น 7 คน ซึ่งเป็นการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและนําข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ตามกรอบแนวคิดของการทําวิจัยเชิงคุณภาพแนวปรากฏการณ์วิทยาซึ่งเป็นการวิเคราะห์แบบ Theme analysis ผลจากการวิจัยทําให้เห็นว่า​ประสบการณ์ผสมผสานอัตลักษณ์ของนักจิตวิทยาการ ปรึกษามืออาชีพสามารถสรุปออกมาได้เป็น 2 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1.​ แนวทางในการพัฒนาอัตลักษณ์ ซึ่งเป็นการสรุปถึงวิธีการหรือแนวทางต่าง ๆ ที่นักจิตวิทยาการปรึกษาใช้ในการพัฒนาอัตลักษณ์ และ 2.​ อัตลักษณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปของนักจิตวิทยาการปรึกษา ซึ่งเป็นการสรุปถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับทั้งอัตลักษณ์ทางวิชาชีพและอัตลักษณ์ส่วนบุคคลของนักจิตวิทยาการปรึกษา​ โดยข้อมูลที่ได้จากการศึกษา ข้างต้นนั้นช่วยให้เราเห็นพลวัตที่เกิดขึ้นกับอัตลักษณ์ของนักจิตวิทยาการปรึกษา เห็นถึงเหตุปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการพัฒนาอัตลักษณ์ รวมถึงทําให้เราเห็นถึงความเกี่ยวข้องกันระหว่างพัฒนาการทางวิชาชีพและพัฒนาการของอัตลักษณ์ในนักจิตวิทยาการปรึกษา ทำให้เกิดเป็นองค์ความรู้ต่อพัฒนาการของอัตลักษณ์ในนักจิตวิทยาการปรึกษาที่ลึกซึ้งมากขึ้น


ประสบการณ์ทางจิตใจของสมาชิกในครอบครัวที่ให้การสนับสนุนดูแลผู้ป่วยวัยรุ่นโรคซึมเศร้า, อธิชญา สุขธรรมรัตน์ Jan 2022

ประสบการณ์ทางจิตใจของสมาชิกในครอบครัวที่ให้การสนับสนุนดูแลผู้ป่วยวัยรุ่นโรคซึมเศร้า, อธิชญา สุขธรรมรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสบการณ์ทางจิตใจของสมาชิกในครอบครัวที่ให้การสนับสนุนดูแลผู้ป่วยวัยรุ่นโรคซึมเศร้า โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพแนวปรากฏการณ์วิทยาเชิงตีความ และเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก ใช้คำถามที่มีลักษณะกึ่งโครงสร้างกับผู้เข้าร่วมวิจัย คือ ผู้ดูแลในครอบครัว จำนวน 6 คน ซึ่งเคยมีประสบการณ์ในการดูแลหรือกำลังให้การดูแลวัยรุ่นช่วงอายุ 13-19 ปีที่ได้รับการวินิจฉัยจากจิตแพทย์ว่าเป็นโรคซึมเศร้า โดยให้การสนับสนุนดูแลในด้านต่าง ๆ ที่จำเป็นให้กับวัยรุ่นในครอบครัว เช่น ด้านความเป็นอยู่ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านอารมณ์ ด้านการรักษา หรือด้านการปรับตัวมาอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 3 เดือน ผลการศึกษา พบประเด็นสำคัญ 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1. การมีทรัพยากรที่เพียงพอต่อการสนับสนุนดูแลวัยรุ่นที่เป็นโรคซึมเศร้า 2. การเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้นระหว่างให้การดูแล 3. แนวทางการปรับตัวในบทบาทของผู้ดูแล และ 4. การตกผลึกทางความคิดจากประสบการณ์ในการดูแล สรุปผลการวิจัยแสดงให้เห็นประสบการณ์ทางจิตใจของบุคคลที่เป็นผู้ให้การสนับสนุนดูแลวัยรุ่นในครอบครัวที่เป็นโรคซึมเศร้า ทั้งลักษณะแนวทางในการดูแลรับมือ มุมมองความคิด อารมณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้นระหว่างให้การดูแล การปรับตัวและสิ่งที่ผู้ดูแลได้เรียนรู้จากประสบการณ์ของตนเอง ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่กำลังเผชิญกับอุปสรรคปัญหาในการดูแลวัยรุ่นที่เป็นโรคซึมเศร้า รวมถึงผู้ที่มีความสนใจในงานให้บริการทางด้านสุขภาพจิต เพื่อให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับการเป็นผู้ดูแลในครอบครัวให้กับวัยรุ่นที่เป็นโรคซึมเศร้า ตลอดจนนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาตนเองและให้ความช่วยเหลือแก่สมาชิกในครอบครัวที่มีปัญหาทางด้านจิตใจต่อไป


อิทธิพลของประสบการณ์ลูกค้า ภาพลักษณ์ตราสินค้าสีเขียว และอัตนิยมเชิงวัฒนธรรมต่อความตั้งใจซื้อสินค้าของร้านกาแฟแบบบริการเต็มรูปแบบ, ไปรยา เจษฎานฤสาร Jan 2022

อิทธิพลของประสบการณ์ลูกค้า ภาพลักษณ์ตราสินค้าสีเขียว และอัตนิยมเชิงวัฒนธรรมต่อความตั้งใจซื้อสินค้าของร้านกาแฟแบบบริการเต็มรูปแบบ, ไปรยา เจษฎานฤสาร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของประสบการณ์ลูกค้าจากช่องทางที่หลากหลาย ประสบการณ์ลูกค้าทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านความสอดคล้อง 2) ด้านการเชื่อมต่อ 3) ด้านการผสมผสาน 4) ด้านความยืดหยุ่น และ 5) ด้านเฉพาะบุคคล ภาพลักษณ์ตราสินค้าสีเขียว อัตนิยมเชิงวัฒนธรรม ความเป็นสากลนิยมที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าของร้านกาแฟแบบบริการเต็มรูปแบบ และเพื่อวิเคราะห์ตัวแปร ได้แก่ ประสบการณ์ลูกค้าจากช่องทางที่หลากหลาย ภาพลักษณ์ตราสินค้าสีเขียว อัตนิยมเชิงวัฒนธรรม ความเป็นสากลนิยม และความตั้งใจซื้อ โดยงานวิจัยชิ้นนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจ เก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างที่มีกำลังซื้อ และอยู่ในช่วงอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป จำนวน 400 ตัวอย่าง เมื่อนำมาวิเคราะห์การถดถอยแบบเส้นตรงพหุคูณ (Multiple Linear Regression) พบว่า ประสบการณ์ลูกค้าจากช่องทางที่หลากหลาย ความเป็นสากลนิยม และภาพลักษณ์ตราสินค้าสีเขียวที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าของร้านกาแฟแบบบริการเต็มรูปแบบมากที่สุดตามลำดับ คิดเป็นร้อยละ 33.40 ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 อย่างไรก็ตาม ผู้วิจัยต้องการทราบว่า ตัวแปรประสบการณ์ลูกค้ามีตัวแปรในทุก ๆ ด้านที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อ หรือมีตัวแปรย่อยด้านใดที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าของร้านกาแฟแบบบริการเต็มรูปแบบ จึงทำการทดสอบสมมติฐานที่ 2 เมื่อทำการทดสอบเพิ่มเติมโดยทำการแยกตัวแปรย่อยของตัวแปรประสบการณ์ลูกค้าออกเป็น 5 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการเชื่อมต่อ ด้านการผสมผสาน ด้านความสอดคล้อง ด้านความยืดหยุ่น และด้านเฉพาะบุคคล พบว่า ตัวแปรย่อยด้านความสอดคล้อง และด้านความยืดหยุ่นมีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าของร้านกาแฟแบบบริการเต็มรูปแบบมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 33.40 ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 และไม่มีตัวแปรอื่น ๆ มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้ออย่างมีนัยสำคัญระดับ 0.05


อิทธิพลของคุณลักษณะบุคคลและคุณลักษณะความเชื่อ ต่อพฤติกรรมผู้บริโภคกลุ่มวัยเริ่มต้นทำงาน, กัญญารัตน์ วิโรจนะ Jan 2022

อิทธิพลของคุณลักษณะบุคคลและคุณลักษณะความเชื่อ ต่อพฤติกรรมผู้บริโภคกลุ่มวัยเริ่มต้นทำงาน, กัญญารัตน์ วิโรจนะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงสำรวจในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) คุณลักษณะบุคคล (ได้แก่ คุณลักษณะพื้นฐาน และคุณลักษณะประกอบ) คุณลักษณะความเชื่อ และพฤติกรรมของผู้บริโภคกลุ่มวัยเริ่มต้นทำงาน (ได้แก่ ด้านโหราศาสตร์ ด้านความเชื่อลางร้าย ด้านเครื่องรางนำโชค ด้านการพนัน ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านสลากกินแบ่ง) และ 2) อิทธิพลของคุณลักษณะบุคคลและคุณลักษณะความเชื่อ ต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคกลุ่มวัยเริ่มต้นทำงาน โดยเก็บข้อมูลผ่านช่องทางออนไลน์จากกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ 23 – 29 ปี เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และมีงานทำในปัจจุบัน จำนวน 403 คน ผลการวิจัยพบว่า คุณลักษณะพื้นฐานที่มีผลต่อคุณลักษณะความเชื่อของผู้บริโภคกลุ่มวัยเริ่มต้นทำงาน ได้แก่ ความต้องการด้านวัตถุ ความต้องการด้านร่างกาย และความไม่มั่นคงทางอารมณ์ ส่วนคุณลักษณะประกอบที่มีผลต่อคุณลักษณะความเชื่อของผู้บริโภคกลุ่มวัยเริ่มต้นทำงาน ได้แก่ การอยู่กับปัจจุบัน และคุณลักษณะความเชื่อ มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ ด้านโหราศาสตร์ ด้านความเชื่อลางร้าย ด้านเครื่องรางนำโชค ด้านการพนัน ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านสลากกินแบ่ง โดยคุณลักษณะความเชื่อมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมด้านโหราศาสตร์มากที่สุด


การเล่าเรื่อง ความเกี่ยวพัน และการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคต่อการวิจารณ์ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวด้วยการสื่อสารวิทยาศาสตร์ของยูทูบเบอร์ด้านความงาม, กรภัค พัฒนคงภัทร์ Jan 2022

การเล่าเรื่อง ความเกี่ยวพัน และการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคต่อการวิจารณ์ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวด้วยการสื่อสารวิทยาศาสตร์ของยูทูบเบอร์ด้านความงาม, กรภัค พัฒนคงภัทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และอธิบายวิธีการสื่อสารและการเล่าเรื่องทางวิทยาศาสตร์ในการวิจารณ์ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวของยูทูบเบอร์ด้านความงาม และอธิบายอิทธิพลของความถี่การเปิดรับการสื่อสารวิทยาศาสตร์ การรับรู้ต่อการสื่อสารวิทยาศาสตร์ ความชื่นชอบการเล่าเรื่องทางวิทยาศาสตร์ และความเกี่ยวพันกับเนื้อหาข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ต่อการตัดสินใจซื้อ โดยใช้การวิจัยแบบผสมผสาน เริ่มจากการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกยูทูบเบอร์ความงาม จำนวน 1 ช่อง ได้แก่ GURUCHECK ร่วมกับการวิเคราะห์การเล่าเรื่องทางวิทยาศาสตร์ของยูทูบเบอร์ความงาม จำนวน 3 ช่อง ได้แก่ ingck GURUCHECK และ EB.Bahboh จำนวน 15 ตอน และการวิจัยเชิงปริมาณด้วยการวิจัยเชิงสำรวจ ใช้แบบสอบถามออนไลน์เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 400 คน ผลการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า การสื่อสารวิทยาศาสตร์ของยูทูบเบอร์ด้านความงามประกอบด้วย ยูทูบเบอร์นำความเชี่ยวชาญของตนเองมานำเสนอเป็นเนื้อหาในรูปแบบคลิปวิจารณ์ โดยมีวิธีการสื่อสารแบบกึ่งเผยแพร่กึ่งสนทนาแลกเปลี่ยนความเห็นด้วยการสนทนนาผ่านการผลิตคลิปวิจารณ์และการเล่าเรื่องด้วยมุมมองทางวิทยาศาสตร์ผ่านยูทูบ ทั้งนี้ผลที่เกิดกับผู้ชมเป็นผลด้านความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาและการได้รับข้อมูลผลิตภัณฑ์ตามความต้องการ และพบว่าผู้ชมมีส่วนร่วมในการวิจารณ์ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวผ่านการแสดงความคิดเห็นและแบ่งปันเนื้อหาวิดีโอบนสื่อสังคม การเล่าเรื่องทางวิทยาศาสตร์ของยูทูบเบอร์ฯ พบว่า มีความสอดคล้องในด้านการใช้ภาษา สัญลักษณ์ และเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับผู้ชม มีการเล่าเรื่องผ่านตัวละครแบบผลิตภัณฑ์เป็นวีรบุรุษ ปัญหาสุขภาพผิวเป็นวายร้าย และผู้ชมเป็นเหยื่อ มีการสร้างปมปัญหาเป็นเรื่องเกี่ยวกับการบำรุงรักษาผิวหรือการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์บำรุงผิว โดยดำเนินเรื่องตามลำดับเหตุการณ์ แก่นเรื่องที่นำเสนอ ได้แก่ ทุกสิ่งอย่างที่เกิดขึ้นล้วนมีเหตุ-ปัจจัย และเช็คก่อนใช้ อ่านฉลากและส่วนผสมก่อนซื้อ ทั้งนี้มีการโน้มน้าวใจด้วยหลักฐานและการรับรองเหตุผลที่ใช้ประกอบการเล่าเรื่องทางวิทยาศาสตร์ ผลการวิจัยเชิงสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างติดตามช่องยูทูบวิจารณ์ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวในระดับมาก มีความถี่การรับชมการวิจารณ์ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวอยู่ที่ 2-3 วัน/สัปดาห์ การรับรู้ต่อการสื่อสารวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับมากที่สุด ความชื่นชอบการเล่าเรื่องทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับมากที่สุด ความเกี่ยวพันกับเนื้อหาข้อมูลทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับมากที่สุด และการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคอยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ความเกี่ยวพันกับเนื้อทางวิทยาศาสตร์ (ß = 0.431) ความชื่นชอบตัวละคร (ß = 0.233) การรับรู้ต่อการมีส่วนร่วม (ß = 0.211) การรับรู้ต่อเนื้อหา (ß = - 0.144) การรับรู้ต่อผลการสื่อสาร (ß = 0.115) และความชื่นชอบการถ่ายทอดปัญหาและการดำเนินเรื่อง (ß = - 0.094) มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05