Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 30 of 163

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

การเปลี่ยนผ่านเป็นประชาธิปไตยที่ไม่ตั้งมั่น: ความล้มเหลวของการทำให้เป็นประชาธิปไตยในประเทศไทย, จิราภรณ์ ดำจันทร์ Jan 2017

การเปลี่ยนผ่านเป็นประชาธิปไตยที่ไม่ตั้งมั่น: ความล้มเหลวของการทำให้เป็นประชาธิปไตยในประเทศไทย, จิราภรณ์ ดำจันทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาในกระบวนการทำให้เป็นประชาธิปไตยของไทย โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิจัยเอกสารบนฐานของข้อมูลเชิงประจักษ์ และการทำความเข้าใจการเมืองไทยผ่านแนวคิดการทำให้เป็นประชาธิปไตย แนวคิดการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตย แนวคิดการตั้งมั่นของประชาธิปไตย แนวคิดฉันทามติ และทฤษฎีชนชั้นนำ วิทยานิพนธ์นี้ศึกษากระบวนการทำให้เป็นประชาธิปไตยไทยที่สำคัญ 4 ช่วงเวลา ได้แก่ ช่วงแรกปี 2475 - 2490 สอง ระหว่างปี 2516 - 2519 สาม ระยะเวลาตั้งแต่ปี 2540 - 2549 และสี่ ช่วงเวลาปี 2550 - 2557 ผลการศึกษาพบว่า ความล้มเหลวในกระบวนการทำให้เป็นประชาธิปไตยใน 4 ช่วงเวลานี้เกิดขึ้นจากการที่ชนชั้นนำ ทั้งในฝ่ายอนุรักษนิยมและชนชั้นนำที่มาจากการเลือกตั้งไม่มีเจตนาที่จะสถาปนาและจรรโลงประชาธิปไตยให้ยั่งยืน ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นนำ 2 กลุ่มหลักทำให้รัฐธรรมนูญแทบทุกฉบับไม่ได้รับฉันทามติและมักขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน ขณะที่การประนีประนอมในกลุ่มชนชั้นนำด้วยกันเองส่งผลให้การออกแบบสถาบันทางการเมือง เช่น วุฒิสภาและองค์กรอิสระขาดการเชื่อมโยงกับประชาชน นอกจากปัญหารัฐธรรมนูญและสถาบันทางการเมืองแล้วยังพบว่า ทั้ง 4 ช่วงเวลาที่ศึกษา ตัวแสดงทางการเมืองยังแสดงบทบาทเหนี่ยวรั้งแทนส่งเสริมการจรรโลงประชาธิปไตยอีกด้วย เช่น การทุจริตคอร์รัปชัน การไม่พร้อมรับผิดชอบและยอมรับการตรวจสอบ และการที่สังคมยอมรับบทบาทของกองทัพในการแทรกแซงทางการเมือง โดยรวมแล้วพบว่า การขับเคี่ยวระหว่างพลังอนุรักษนิยมกับพลังที่ต้องการเดินหน้าสู่ประชาธิปไตยในทุกช่วงเวลา มักจบลงด้วยชัยชนะของพลังอนุรักษนิยมในการร่างรัฐธรรมนูญและออกแบบสถาบันทางการเมืองเพื่อรักษาและคงไว้ซึ่งอำนาจของกลุ่มชนชั้นนำอนุรักษนิยม


ประสบการณ์ทางจิตใจของวัยรุ่นที่มีรูปแบบความผูกพันแบบมั่นคงที่มีภูมิหลังครอบครัวขัดแย้งสูง, กิตติคุณ ซึ้งหฤทัย Jan 2017

ประสบการณ์ทางจิตใจของวัยรุ่นที่มีรูปแบบความผูกพันแบบมั่นคงที่มีภูมิหลังครอบครัวขัดแย้งสูง, กิตติคุณ ซึ้งหฤทัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแนวปรากฏการณ์วิทยาเชิงตีความ (Interpretative Phenomenological Analysis: IPA) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ทางจิตใจของวัยรุ่นที่มีรูปแบบความผูกพันแบบมั่นคงที่มีภูมิหลังครอบครัวขัดแย้งสูง โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกรายบุคคลแบบกึ่งมีโครงสร้าง (Semi-structured interview) กับผู้ให้ข้อมูลจำนวน 8 ราย ซึ่งผู้ให้ข้อมูลทั้งหมดเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัย มีอายุตั้งแต่ 18-22 ปี ที่รายงานว่าตนมีรูปแบบความผูกพันแบบมั่นคงและมีการรับรู้ความขัดแย้งระหว่างผู้ปกครองสูงจากการตอบแบบสอบถาม โดยผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าประสบการณ์ของผู้ให้ข้อมูลสามารถสรุปได้เป็น 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ ประเด็นหลักที่ 1 รูปแบบของความขัดแย้งระหว่างพ่อแม่ที่ตนเผชิญ ได้แก่ สาเหตุความขัดแย้งของพ่อแม่ การแสดงออกของพ่อแม่ต่อความขัดแย้ง และการกลับมาเป็นปกติในความสัมพันธ์ของพ่อแม่ ประเด็นหลักที่ 2 ปฏิกิริยาของลูกที่มีต่อความขัดแย้งระหว่างพ่อแม่ ได้แก่ การรับมือของลูกต่อความขัดแย้งระหว่างพ่อแม่ ความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากการรับรู้ความขัดแย้งระหว่างพ่อแม่ และสิ่งที่ลูกได้เรียนรู้จากความขัดแย้งระหว่างพ่อแม่ และประเด็นหลักที่ 3 การมีทรัพยากรที่เอื้อต่อการมีความมั่นคงทางจิตใจ ได้แก่ สิ่งแวดล้อมที่เกื้อกูล และทรัพยากรที่มั่นคงภายในจิตใจ โดยผู้วิจัยได้สรุปและอภิปรายไว้เกี่ยวกับปัจจัยที่เอื้อต่อการมีความมั่นคงทางจิตใจของวัยรุ่น


การปรับงาน ความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับงาน และงานที่มีความหมาย: การวิเคราะห์อิทธิพลส่งผ่านระยะยาว, ติชิลา พัชรดำรงกุล Jan 2017

การปรับงาน ความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับงาน และงานที่มีความหมาย: การวิเคราะห์อิทธิพลส่งผ่านระยะยาว, ติชิลา พัชรดำรงกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความสัมพันธ์ระหว่างการปรับงาน ความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับงานและงานที่มีความหมาย โดยใช้การศึกษาระยะสั้นและระยะยาว ข้อมูล 3 ช่วงเวลาถูกเก็บจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นพนักงานที่ทำงานในองค์การภาครัฐและเอกชนในประเทศไทย (N = 190) โดยเว้นระยะ 2 สัปดาห์ ผลการวิเคราะห์เหลื่อมเวลาไขว้ไม่พบอิทธิพลของการปรับงานครั้งที่ 1 ต่อความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับงานครั้งที่ 2 และความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับงานครั้งที่ 2 ต่องานที่มีความหมายครั้งที่ 3 กล่าวคือไม่พบอิทธิพลระยะยาวของการปรับงาน อย่างไรก็ตาม ผลการวิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์ระหว่างการปรับงาน ความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับงาน และงานที่มีความหมายในช่วงเวลาเดียวกันมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในเกณฑ์ดีทั้ง 3 ช่วงเวลา นอกจากนี้ยังพบว่าความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับงานเป็นตัวแปรส่งผ่านความสัมพันธ์ระหว่างการปรับงานและงานที่มีความหมายในการวิเคราะห์ในช่วงเดียวกัน เมื่อเปรียบเทียบมาตรวัดการปรับงานทั้ง 2 มาตรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ พบว่ามาตรวัดการปรับงานของ Slemp และ Vella-Brodrick (2013) สามารถทำนายงานที่มีความหมายได้ดีกว่ามาตรวัดการปรับงานของ Tims, Bakker และ Derks (2012)


ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคในการตัดสินใจซื้อนวนิยายจีน, ธวัลรัตน์ ยศกรวราเกียรติ Jan 2017

ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคในการตัดสินใจซื้อนวนิยายจีน, ธวัลรัตน์ ยศกรวราเกียรติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อการศึกษา 1.) เพื่อศึกษาการเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับนวนิยายจีน ทัศนคติต่อส่วนประสมทางด้านการตลาดของสำนักพิมพ์ และพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อนวนิยายจีนของผู้บริโภค 2.) เพื่อศึกษาถึงความแตกต่างของลักษณะทางประชากรกับการเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับนวนิยายจีน ทัศนคติต่อส่วนประสมทางด้านการตลาดของสำนักพิมพ์ และพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อนวนิยายจีนของผู้บริโภค 3.) เพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ของการเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับนวนิยายจีน ทัศนคติต่อส่วนประสมทางด้านการตลาดของสำนักพิมพ์ และพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อนวนิยายจีนของผู้บริโภค 4.) เพื่อศึกษาถึงอิทธิพลของการเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับนวนิยายจีน ทัศนคติต่อส่วนประสมทางด้านการตลาดของสำนักพิมพ์ ที่มีต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อนวนิยายจีนของผู้บริโภค โดยให้กลุ่มตัวอย่างที่เคยอ่านนวนิยายจีนตอบแบบสอบถามออนไลน์ จำนวน 400 คน จากผลวิจัยเชิงปริมาณพบว่า 1.) ผู้บริโภคมีการเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับนวนิยายจีนผ่านสื่อออนไลน์มากที่สุด 2.) ผู้บริโภคเห็นด้วยอย่างยิ่งต่อทัศนคติที่มีต่อส่วนประสมทางการตลาดของสำนักพิมพ์ในด้านผลิตภัณฑ์ 3.) เนื้อเรื่องของนวนิยายจีนมีผลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคในการตัดสินใจซื้อนวนิยายจีนเป็นประจำ 4.) ผู้บริโภคที่มีเพศแตกต่างกันมีผลต่อการเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับนวนิยายจีนแตกต่างกัน 5.) ผู้บริโภคที่มีเพศ อายุ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนแตกต่างกันมีทัศนคติต่อส่วนประสมทางการตลาดแตกต่างกัน 6.) ผู้บริโภคที่มีเพศ อายุ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนแตกต่างกันมีพฤติกรรมในการตัดสินใจซื้อนวนิยายจีนแตกต่างกัน 7.) การเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับนวนิยายจีนกับทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อส่วนประสมทางการตลาดของสำนักพิมพ์ และพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อนวนิยายจีน มีความสัมพันธ์กันในเชิงบวก และมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ในระดับต่ำ 8.) ทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อส่วนประสมทางการตลาดของสำนักพิมพ์และพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อนวนิยายจีนของผู้บริโภค มีความสัมพันธ์กันเชิงบวกและมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง 9.) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อนวนิยายจีนของผู้บริโภค คือ การเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับนวนิยายจีน (ฺBeta = 0.323) และทัศนคติที่มีต่อส่วนประสมทางการตลาดของสำนักพิมพ์ (Beta = 0.220)


กลยุทธ์การกำหนดเอกลักษณ์และการสื่อสารตราสินค้าบุคคลของผู้มีอิทธิพลออนไลน์ไทยผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจ, ภัสสร ปราชญากูล Jan 2017

กลยุทธ์การกำหนดเอกลักษณ์และการสื่อสารตราสินค้าบุคคลของผู้มีอิทธิพลออนไลน์ไทยผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจ, ภัสสร ปราชญากูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากลยุทธ์การกำหนดเอกลักษณ์ตราสินค้าบุคคลของผู้มีอิทธิพลออนไลน์ไทยผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจ 2) เพื่อศึกษากลยุทธ์การสื่อสารตราสินค้าบุคคลของผู้มีอิทธิพลออนไลน์ไทยผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจ และ 3) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการสร้างตราสินค้าบุคคลของผู้มีอิทธิพลออนไลน์ไทยผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจ ศึกษาด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative method) โดยประกอบไปด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) ผู้มีบทบาทในการกำหนดเอกลักษณ์และสื่อสารตราสินค้าบุคคลของแต่ละเพจ จำนวน 5 เพจ ได้แก่เพจ Lowcostcosplay, บันทึกของตุ๊ด, นัดเป็ด, คาราโอเกะชั้นใต้ดิน, Drama-addict และทำการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรเกี่ยวกับการสื่อสารตราสินค้าและสื่อดิจิทัลจำนวน 10 ท่าน และ ทำการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) โดยศึกษาบนเฟซบุ๊กแฟนเพจทั้ง 5 เพจย้อนหลังเป็นเวลา 2 เดือน ได้แก่ เดือนมีนาคม และ เมษายน 2561 ผลการศึกษาของทั้ง 5 ตราสินค้าพบว่ากลยุทธ์การกำหนดเอกลักษณ์ตราสินค้าบุคคลของผู้มีอิทธิพลออนไลน์ ประกอบด้วย 8 มิติ คือ การกำหนดคุณสมบัติ, ขอบเขต, คุณภาพ, คุณประโยชน์ด้านอารมณ์, บุคลิกภาพตราสินค้า, สัญลักษณ์, ความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริโภค และ การกำหนดการวางจุดยืนตราสินค้า ในส่วนของกลยุทธ์การสื่อสารตราสินค้าบุคคลผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจจะประกอบไปด้วย 5 ประการหลัก ได้แก่ รูปแบบในการโพสต์, การกำหนดเวลาและจำนวนในการโพสต์, แกนเนื้อหาในการโพสต์, การปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ติดตามเพจ, การใช้งบประมาณในการสื่อสาร ส่วนปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการสร้างตราสินค้าบุคคลของผู้มีอิทธิพลออนไลน์ไทยผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจนั้นประกอบไปด้วย 3 ประการ ได้แก่ การสร้างเอกลักษณ์ตราสินค้า, การผลิตและพัฒนาคุณภาพของเนื้อหา และ ความเชี่ยวชาญบนแพลตฟอร์มเฟซบุ๊กแฟนเพจ


การประกอบสร้างความหมายของผู้หญิงที่ถ่ายทอดผ่านตัวละครหญิงในละครโทรทัศน์ไทยยอดนิยมที่ถูกผลิตซ้ำ ระหว่างปี พ.ศ. 2530 - 2560, อวิรุทธ์ ศิริโสภณา Jan 2017

การประกอบสร้างความหมายของผู้หญิงที่ถ่ายทอดผ่านตัวละครหญิงในละครโทรทัศน์ไทยยอดนิยมที่ถูกผลิตซ้ำ ระหว่างปี พ.ศ. 2530 - 2560, อวิรุทธ์ ศิริโสภณา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะและพัฒนาการของตัวละครหญิง ตลอดจนศึกษาการประกอบสร้างความหมายของผู้หญิงในสังคมไทย ผ่านละครโทรทัศน์ไทยยอดนิยมที่ถูกผลิตซ้ำ ระหว่างปี พ.ศ. 2530 – 2560 โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยกระบวนการวิเคราะห์เนื้อหา และการวิเคราะห์ตัวบท ผ่านละครโทรทัศน์ 5 เรื่อง ได้แก่ น้ำเซาะทราย เพลิงพระนาง เพลิงบุญ มายา และเมียหลวง ประกอบกับการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้สร้างสรรค์ละครโทรทัศน์ และนักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน ผลการวิจัยพบว่า ตัวละครหญิงในละครโทรทัศน์ทั้ง 5 เรื่อง ปรากฏคุณลักษณะทางประชากรศาสตร์ ในระดับการเปลี่ยนแปลงที่ค่อนข้างสูง อันสอดรับกับบริบทของสังคม เช่น ลักษณะทางกายภาพ การศึกษา อาชีพ พื้นที่ เป็นต้น แต่คุณลักษณะทางจิตวิทยา มีระดับการเปลี่ยนแปลงอยู่ในระดับต่ำ ได้แก่ ภูมิหลัง ความต้องการ ความขัดแย้ง เป้าหมาย และการเปลี่ยนแปลง จึงทำให้โครงเรื่องหลักไม่ได้รับการเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้เกิดชุดความคิดเกี่ยวกับเรื่องผู้หญิงในลักษณะการตกเป็นรองผู้ชายเช่นเดิมในช่วงระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมา ได้แก่ 1) อุดมคติหญิงไทย 2) บทบาทและหน้าที่ 3) ค่านิยมด้านคู่ครอง ซึ่งมีเพียงบางประเด็นของชุดความคิดที่แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงของตัวละครหญิงในละครเวอร์ชันหลัง เช่น การศึกษา อาชีพ พื้นที่ เป็นต้น การวิจัยครั้งนี้ได้ข้อสรุปว่า พฤติกรรมการชมละครโทรทัศน์แบบเอา "รส" แต่ไม่เอา "เรื่อง" ของผู้ชม ส่งผลให้เกิด "การผลิตซ้ำย้ำความหมายเดิม" โดยมีผู้สร้างสรรค์ละครโทรทัศน์เป็นผู้ประกอบสร้างความหมายเหล่านั้นให้กลายเป็น "ความเป็นจริง" ของสังคมเรื่อยมาตามความต้องการของผู้ชม สิ่งเหล่านี้แสดงถึงการตกอยู่ภายใต้ "อุดมการณ์ปิตาธิปไตย" ในการขับเคลื่อนสังคมต่อไป


Factors Influencing Health Care Utilization Among Middle Aged And Elderly People In China, Qilimuge - Jan 2017

Factors Influencing Health Care Utilization Among Middle Aged And Elderly People In China, Qilimuge -

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Background: China's one-child policy, significant advancement in health care, increase in life expectancy and decrease in birth rate all contribute to rapidly aging society. Proportion of elderly will continue to grow, which will put more burden on an already troubled health care system. This study tries to assess factors influencing health care utilization among middle-aged and elderly people in China. Objective: To analyze factors influencing health care utilization among middle-aged and elderly people in China. Methods: The study used secondary data from the China Health and Retirement Longitudinal Study (CHARLS) 2013 wave survey. The outcomes of interest include outpatient and …


ความเป็นปึกแผ่นระหว่างประชากรต่างรุ่นในครอบครัวชาติพันธุ์ชาวไทยภูเขาในเขตภาคเหนือ, วสวัตติ์ สุติญญามณี Jan 2017

ความเป็นปึกแผ่นระหว่างประชากรต่างรุ่นในครอบครัวชาติพันธุ์ชาวไทยภูเขาในเขตภาคเหนือ, วสวัตติ์ สุติญญามณี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ของการศึกษาคือ 1) เพื่อศึกษาความเป็นปึกแผ่นของประชากรต่างรุ่นในครอบครัวของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยภูเขาในเขตภาคเหนือรวมถึง 2) เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อความเป็นปึกแผ่นของประชากรต่างรุ่นในครอบครัวของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยภูเขาในเขตภาคเหนือ และ 3)เพื่อศึกษารูปแบบโครงสร้างและความสัมพันธ์ในครอบครัวในอนาคตของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยภูเขาในเขตภาคเหนือ โดยอาศัยการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ในส่วนของการวิจัยเชิงปริมาณนั้นเริ่มจากการวิจัยเอกสาร นำไปสู่การวิจัยเชิงสำรวจ และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนธันวาคม 2558 - มิถุนายน 2559 โดยได้กลุ่มตัวอย่างจากการเก็บแบบสอบถามที่เป็นวัยแรงงาน ในครัวเรือนกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยง ม้ง ล่าหู่ และ อาข่า ในเขตจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน และน่าน ทั้งสิ้นจำนวน 1,285 คนที่เป็นตัวแทนครัวเรือน และกลุ่มตัวอย่างจากการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน 50 คนที่มีสถานภาพโสดที่อยู่ในวัยแรงงานช่วงอายุ18-25 ปี ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์หลายตัวแปร (Multivariate Analysis) ผสมผสานกับข้อค้นพบที่ได้จากการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาแบ่งออกเป็น 5 ส่วนสำคัญดังนี้ 1) ระดับความเป็นปึกแผ่นระหว่างประชากรต่างรุ่นในครอบครัวกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยภูเขาในเขตภาคเหนือ จากมิติของความเป็นปึกแผ่นใน 4 มิติ คือ ความเป็นปึกแผ่นเชิงหน้าที่ ความเป็นปึกแผ่นเชิงความรู้สึก มิติความเป็นปึกแผ่นเชิงบรรทัดฐาน และความเป็นปึกแผ่นเชิงปฏิสัมพันธ์ร่วม พบว่า กลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยภูเขาเผ่าประชากรต่างรุ่นในครอบครัวกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยภูเขาในเขตภาคเหนือโดยรวมมีระดับความเป็นปึกแผ่นมาก โดยกลุ่มชาติพันธุ์ม้งมีระดับสูงที่สุด รองลงมาคือกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง ล่าหู่ และอาข่า 2) เมื่อใช้วิธีการวิเคราะห์ด้วยวิธีการถดถอยพหุคูณโลจิสติกเพื่อหาปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับความเป็นปึกแผ่นระหว่างประชากรต่างรุ่นในครอบครัวกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยภูเขาในเขตภาคเหนือ พบว่าปัจจัยทางด้านทุนทางสังคม ในส่วนของ จำนวนบุตรในครอบครัว จำนวนสมาชิกในครอบครัว และลักษณะรูปแบบโครงสร้างครอบครัว ปัจจัยทางด้านความเป็นชาติพันธุ์ที่แตกต่างกัน ปัจจัยทางด้านทุนทางเศรษฐกิจ อันได้แก่ รายได้ครัวเรือนเฉลี่ยต่อปี และสถานภาพการทำงาน มีผลต่อระดับความเป็นปึกแผ่นระหว่างประชากรต่างรุ่นในครอบครัวกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยภูเขาในเขตภาคเหนือโดยรวม และในแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ 3) แนวโน้มโครงสร้างครอบครัวในด้านจำนวนบุตรของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยภูเขาในเขตภาคเหนือจากอดีตสู่อนาคต พบว่ามีแนวโน้มที่ลดลง 4) เมื่อใช้วิธีสมการถดถอยปัวซอง (Poisson Regression Analysis) เพื่อหาปัจจัยที่มีผลต่อจำนวนบุตรในปัจจุบันและความต้องการจำนวนบุตรที่จะมีในอนาคตในครอบครัว พบว่า ปัจจัยทางด้านความเป็นชาติพันธุ์ที่แตกต่างกัน ปัจจัยทางด้านทุนทางสังคม ในส่วนของ ลักษณะรูปแบบโครงสร้างครอบครัว ปัจจัยทางด้านมิติความสัมพันธ์ระหว่างประชากรต่างรุ่นในครอบครัว ปัจจัยทางด้านทุนมนุษย์ในส่วนของระดับการศึกษา มีผลต่อจำนวนบุตรในปัจจุบันและความต้องการจำนวนบุตรที่จะมีในอนาคตในครอบครัวของกลุ่มาติพันธุ์ชาวไทยภูเขาในเขตภาคเหนือโดยรวม และในแต่ละกลุ่มชาตพันธุ์ จากนั้นผู้วิจัยจึงได้ศึกษาเชิงคุณภาพถึงสาเหตุของการมีบุตรที่ลดลงจากเดิม อันเนื่องจากแนวคิดที่ว่าหากมีบุตรจำนวนมากจะเป็นภาระในการเลี้ยงดู แต่หากอยู่ในครอบครัวที่มีสมาชิกหลายรุ่นเป็นครอบครัวขยายก็จะมีความคิดที่จะมีความต้องการบุตรที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากสามารถแบ่งเบาในการเลี้ยงดูดูแลบุตร 5) ภาพอนาคตรูปแบบโครงสร้างและความสัมพันธ์ในครอบครัวของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยภูเขาในเขตภาคเหนือ โดยใช้วิธีการศึกษาทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ พบว่าภาพอนาคตของครอบครัวกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยภูเขาในเขตภาคเหนือสอดคล้องกันทุกกลุ่มชาติพันธุ์ตั้งแต่ ปัจจัยด้านทุนทางสังคมที่ให้ความสำคัญกับการสมรสการสร้างครอบครัวซึ่งยังคงยึดถือปฏิบัติเป็นจารีตประเพณีที่สำคัญ รวมทั้งความต้องการในการอยู่ร่วมกันหลายรุ่นในครอบครัว ในส่วนปัจจัยความสัมพันธ์และความเป็นปึกแผ่นระหว่างประชากรต่างรุ่นในครอบครัวในอนาคตจะมีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของการปฏิสัมพันธ์ลดลง แต่ยังคงมีความเชื่อเรื่องกตัญญูกตเวทีต่อบิดามารดาที่ยังเหนียวแน่นจากรุ่นสู่รุ่น ส่วนในด้านของปัจจัยทุนมนุษย์ในอนาคตจะมีการย้ายถิ่นมากขึ้นเนื่องจากมีความต้องการในการทำงานที่มีความมั่นคงทางรายได้ …


การเล่าเรื่องขุนโจรจากเหตุการณ์จริง ในนวนิยายชุด "เสือใบ-เสือดำ" ของ ป.อินทรปาลิต, ฐิติพงศ์ อินทรปาลิต Jan 2017

การเล่าเรื่องขุนโจรจากเหตุการณ์จริง ในนวนิยายชุด "เสือใบ-เสือดำ" ของ ป.อินทรปาลิต, ฐิติพงศ์ อินทรปาลิต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการเล่าเรื่อง โครงสร้างตัวละครและการสร้างแนวเรื่องแบบขุนโจรที่อิงจากเหตุการณ์จริงและเพื่อวิเคราะห์สภาพการณ์ทางสังคมและแนวทางการเล่าเรื่องแบบบุกเบิกตะวันตกที่มีอิทธิพลต่องานเขียนนวนิยายชุด เสือใบ - เสือดำ ของ ป.อินทรปาลิต โดยใช้การวิเคราะห์ตัวบท (Textual Analysis) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จากนวนิยายชุดเสือใบ เสือดำและดาวโจร จากสำนักพิมพ์ฉบับผดุงศึกษา (ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์) จำนวนทั้งสิ้น 12 เล่ม และจากการรวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง ผลการวิเคราะห์พบว่า กลวิธีการเล่าเรื่องและโครงสร้างตัวละคร ด้านโครงสร้างการเล่าเรื่อง มีการสร้างแนวเรื่องแบบขุนโจรจากแนวเรื่องแบบบุกเบิกตะวันตก (Western Genre) เป็นหลัก อาทิ การท้าดวลปืนตามลักษณะตัวละครแบบวีรบุรุษนอกกฎหมาย ความขัดแย้งในความอยุติธรรมระหว่างอำนาจรัฐและชุมชน โดยผสมผสานเหตุการณ์จริงในบริบทของสังคมไทย เข้ากับจินตนาการและขนบของการเล่าเรื่อง การปฏิบัติภารกิจที่มาจากแนวเรื่องผจญภัย (Adventure Genre) การต่อสู้จากแนวเรื่องแบบบู๊ล้างผลาญ (Action Genre) การทำการรบการสงครามจากแนวเรื่องแบบสงคราม (War Genre) และความรักในสตรีเพศจากแนวเรื่องรักโศก ด้านการสร้างตัวละคร พบว่า การใช้ชื่อตัวละครในนวนิยายได้เค้าโครงมาจากตัวละครจากเหตุการณ์จริงบางส่วน จากสภาพการณ์ทางสังคมของไทยในช่วงที่ไทยประสบปัญหาจากสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดตัวละครโจรผู้ร้ายมากมาย ทำให้การกำหนดคุณลักษณะของตัวละคร แบบวีรบุรุษขุนโจร คือ ความกล้าหาญ ความเก่งกาจ ความมีคุณธรรม และการรักษาเกียรติและศักดิ์ศรี ที่สอดคล้องกับองค์ประกอบการสร้างตัวละครชายในวรรณคดีไทย


เทคนิคการนำเสนอรายการ "ชัวร์ก่อนแชร์" และการรับรู้ของผู้ชม, ประวีณา พลเขตต์ Jan 2017

เทคนิคการนำเสนอรายการ "ชัวร์ก่อนแชร์" และการรับรู้ของผู้ชม, ประวีณา พลเขตต์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์เทคนิคการนำเสนอรายการชัวร์ก่อนแชร์ 2) ศึกษาการรับรู้ของผู้ชมรายการชัวร์ก่อนแชร์ โดยใช้แนวคิดการสื่อสารสุขภาพ แนวคิดการสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ แนวคิดการวิเคราะห์เนื้อหา และแนวคิดการสร้างสรรค์รายการโทรทัศน์ เป็นกรอบในการวิเคราะห์เทคนิคการนำเสนอรายการชัวร์ก่อนแชร์ ที่ผู้วิจัยศึกษาผ่านการวิเคราะห์เนื้อหารายการชัวร์ก่อนแชร์ตอนที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับสุขภาพจำนวน 60 ตอน ระหว่างปี พ.ศ. 2558-2560 ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและตารางลงรหัส (Coding Sheet) และการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key-Information Interview) อันได้แก่ ผู้ผลิตรายการชัวร์ก่อนแชร์ ผู้บริหารสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 MCOT HD และผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จำนวน 3 คนด้วยชุดคำถามปลายเปิดแบบมีโครงสร้าง และใช้ทฤษฎีประโยชน์และความพึงพอใจของผู้รับสาร ทฤษฎีการเปิดรับข่าวสาร แนวคิดการรับรู้และแนวคิดการรู้เท่าทันสื่อ เป็นกรอบในการวิเคราะห์การรับรู้ของผู้ชมผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มผู้ชมตัวอย่างที่มีการรับชมรายการชัวร์ก่อนแชร์อยู่เป็นประจำ และมีปฏิสัมพันธ์กับรายการอย่างสม่ำเสมอ จำนวน 10 คน ด้วยชุดคำถามปลายเปิดแบบมีโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า 1) รายการชัวร์ก่อนแชร์มีเทคนิคการนำเสนอแบ่งออกเป็น 4 เทคนิค คือ เทคนิคด้านกลยุทธ์การนำเสนอ ที่แบ่งออกเป็น กลยุทธ์ด้านรูปแบบรายการ กลยุทธ์สาร และกลยุทธ์การสื่อสารสุขภาพ เทคนิคด้านกระบวนการผลิต ที่แบ่งออกเป็น ขั้นตอนก่อนการผลิต ขั้นตอนระหว่างการผลิต และขั้นตอนหลังการผลิต เทคนิคด้านช่องทางการสื่อสาร และทคนิคด้านนโยบายและการสนับสนุน ที่แบ่งออกเป็นด้านนโยบายและการสนับสนุนจากทางสถานี และด้านการสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ โดย 2) กลุ่มตัวอย่างผู้ชมรายการชัวร์ก่อนแชร์มีการรับรู้ด้านเนื้อหารายการ และการรับรู้ด้านวิธีการนำเสนอของรายการชัวร์ก่อนแชร์ที่ไม่แตกต่างกัน แต่ในแง่ของการรับรู้แบบรู้เท่าทันสื่อ และการนำไปใช้ประโยชน์แตกต่างกัน เช่นเดียวกับระดับการเปิดรับที่พบว่า รายการชัวร์ก่อนแชร์สามารถเปลี่ยนแปลงทัศนคติการเชื่อและการแชร์ข่าวในกลุ่มผู้ชมตัวอย่างได้ แต่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเชื่อและการแชร์ข่าวในกลุ่มผู้ชมตัวอย่างได้ เนื่องมาจากปัจจัยด้านภูมิหลังการศึกษาและสังคม พฤติกรรมการใช้สื่อ ประสบการณ์และทัศนคติต่อข่าวแชร์ อุปนิสัย และความชอบส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน โดยกลุ่มตัวอย่างผู้ชมได้มีการนำรายการชัวร์ก่อนแชร์ไปใช้ประโยชน์ใน 8 บทบาท คือ 1) บทบาทในการเป็นแหล่งความรู้ 2) บทบาทในการเป็นแหล่งข่าวสาร 3) บทบาทในการสร้างความตระหนักและวิจารณญาณ 4) บทบาทด้านการตรวจสอบข้อมูล 5) บทบาทด้านการเป็นแหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้ของสังคม 6) บทบาทด้านสื่อการสอน 7) บทบาทในแง่เป็นตัวกลางสานสัมพันธ์เพื่อนและครอบครัว และ 8) บทบาทให้สาระฆ่าเวลา


การเปิดโปงหน้าม้าในชุมชนออนไลน์พันทิปดอทคอม, ปองรัก เกษมสันต์ Jan 2017

การเปิดโปงหน้าม้าในชุมชนออนไลน์พันทิปดอทคอม, ปองรัก เกษมสันต์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปรากฏการณ์กระทู้หน้าม้า หรือกระทู้รับจ้างรีวิวสินค้าในเว็บไซต์พันทิปดอทคอม โดยเลือกศึกษาเฉพาะลักษณะเด่นของกระทู้หน้าม้า กระบวนการตรวจสอบและเปิดโปงหน้าม้า รวมทั้งกระบวนการสร้างและส่งเสริมการกำกับดูแลกันเองทั้งโดยผู้ใช้พันทิปและทีมงานพันทิป การศึกษาใช้การวิเคราะห์เนื้อหาจากกรณีตัวอย่าง 5 กรณีระหว่าง พ.ศ. 2556 – 2559 การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ใช้พันทิป และการสนทนากลุ่มผู้นิยมอ่านรีวิวในอินเทอร์เน็ต ผลการศึกษาพบว่า กระทู้หน้าม้าในเว็บไซต์พันทิปดอทคอมปรากฏอยู่ในสามรูปแบบหลัก ๆ ตามลักษณะการนำเสนอเนื้อหา ได้แก่ กระทู้รีวิวแบบพื้นฐานทั่วไป กระทู้สาธิตวิธีการสร้างสิ่งใหม่โดยมีสินค้าหรือบริการหนึ่ง ๆ เป็นส่วนประกอบ และกระทู้เปิดประเด็นให้เกิดบทสนทนา โดยกระทู้หน้าม้าทั้งสามรูปแบบนี้จะมีองค์ประกอบสำคัญสองประเภทคือ การสร้างความดึงดูดใจ และการสร้างความแนบเนียนให้เนื้อหาดูไม่ออกว่ามาจากหน้าม้า ในส่วนของการตรวจสอบและเปิดโปงกระทู้ที่ต้องสงสัยว่าจะเป็นกระทู้หน้าม้านั้น จากการศึกษาพบว่า มีกระบวนการที่เป็นขั้นตอนดังนี้คือ 1) การวิเคราะห์ความสมจริงและความสอดคล้องของคำบรรยายกับภาพประกอบ 2) การค้นคว้าข้อมูลอื่น ๆ นอกเหนือจากที่ปรากฏในกระทู้ ทั้งที่อยู่ในเว็บไซต์พันทิปเองและเว็บไซต์อื่น และ 3) การสืบหาข้อมูลที่ไม่เคยมีการเผยแพร่มาก่อน เพื่อให้การเปิดโปงมีน้ำหนักมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ จากการศึกษายังพบว่า การกำกับดูแลกระทู้หน้าม้าในชุมชนออนไลน์พันทิปนั้น จะมีที่มาจากสองส่วน ได้แก่ การออกแบบเว็บไซต์ของพันทิป กับ การการลงโทษโดยสมาชิกพันทิปด้วยกัน โดยทั้งสองส่วนนี้ต่างประกอบด้วยสองแนวทางคือ กระบวนการรับมือกับปัญหาหน้าม้า และกระบวนการสื่อสารหลังเกิดปัญหาหน้าม้า


ผลของความสอดคล้องของการวางสินค้าในเกมและความเกี่ยวพันของสินค้าต่อการตอบสนองของผู้เล่นเกม, พิจาริน สุขกุล Jan 2017

ผลของความสอดคล้องของการวางสินค้าในเกมและความเกี่ยวพันของสินค้าต่อการตอบสนองของผู้เล่นเกม, พิจาริน สุขกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองในรูปแบบ 2 x 2 แฟคทอเรียล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบหลักและผลกระทบเชิงปฏิสัมพันธ์ที่เกิดจากระดับความสอดคล้องของการวางสินค้าในเกม (การวางสินค้าในเกมแบบมีความสอดคล้องสูง และการวางสินค้าในเกมแบบมีความสอดคล้องต่ำ) และระดับความเกี่ยวพันของสินค้า (สินค้าที่มีความเกี่ยวพันสูง และสินค้าที่มีความเกี่ยวพันต่ำ) ที่ส่งผลต่อการระลึกถึงตราสินค้า การจดจำตราสินค้า ความรู้สึกถูกรบกวนจากโฆษณา ทัศนคติต่อตราสินค้า และความตั้งใจซื้อของผู้เล่นเกม โดยทำการวิจัยในเดือนเมษายน พ.ศ. 2561 กับนิสิตปริญญาตรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 140 คน โดยผลการวิจัยพบว่า ระดับความสอดคล้องของการวางสินค้าในเกมต่างกัน ส่งผลกระทบหลักให้ผู้เล่นเกมมีการตอบสนองในด้านการระลึกถึงตราสินค้า การจดจำตราสินค้า และความตั้งใจซื้อ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนสินค้าที่มีความเกี่ยวพันต่างกันนั้น ส่งผลให้ผู้เล่นเกมมีการตอบสนองในด้านการระลึกถึงตราสินค้า การจดจำตราสินค้า และความรู้สึกถูกรบกวนจากโฆษณา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตาม ระดับความสอดคล้องของการวางสินค้าในเกมและความเกี่ยวพันของสินค้าที่ต่างกัน ส่งผลกระทบเชิงปฏิสัมพันธ์ต่อการตอบสนองของผู้เล่นเกมให้แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ


อิทธิพลของปัจจัยจูงใจต่อพฤติกรรมการซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านเว็บไซต์อิเล็กทรอนิกส์คอมเมิร์ซ, พิชชาพร เนียมศิริ Jan 2017

อิทธิพลของปัจจัยจูงใจต่อพฤติกรรมการซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านเว็บไซต์อิเล็กทรอนิกส์คอมเมิร์ซ, พิชชาพร เนียมศิริ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและใช้วิธีการเชิงสำรวจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยจูงใจในการซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านเว็บไซต์อิเล็กทรอนิกส์คอมเมิร์ซ ซึ่งประกอบด้วย 3 ตัวแปร คือ คุณภาพของเว็บไซต์ คุณลักษณะของเสื้อผ้าแฟชั่น และคุณลักษณะของผู้บริโภค ที่ส่งผลต่อ (1) ทัศนคติของผู้บริโภค และ (2) ความตั้งใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นของผู้บริโภค โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นเพศชายและเพศหญิงที่มีอายุระหว่าง 18-35 ปี อาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร และเป็นผู้ที่เคยซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านเว็บไซต์อิเล็กทรอนิกส์คอมเมิร์ซ ซึ่งในงานวิจัยนี้คือ เว็บไซต์กลุ่ม Marketplace และเว็บไซต์กลุ่ม Brand ภายในระยะเวลา 3 เดือนที่ผ่านมา จำนวน 400 คน ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยจูงใจในการซื้อเสื้อผ้าแฟชั่น ในตัวแปรด้านคุณลักษณะของเสื้อผ้าแฟชั่น และคุณลักษณะของผู้บริโภคมีอิทธิพลต่อทัศนคติและความตั้งใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นของผู้บริโภคผ่านเว็บไซต์อิเล็กทรอนิกส์คอมเมิร์ซทั้งในกลุ่มเว็บไซต์ Marketplace และเว็บไซต์ Brand อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


การลดระดับความกังวลในการพูดต่อหน้าสาธารณะด้วยการฝึกท่าชุดสุริยนมัสการ, อิสระ อุทัยพัฒนะศักดิ์ Jan 2017

การลดระดับความกังวลในการพูดต่อหน้าสาธารณะด้วยการฝึกท่าชุดสุริยนมัสการ, อิสระ อุทัยพัฒนะศักดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยเรื่อง การลดระดับความกังวลในการพูดต่อหน้าสาธารณะด้วยการฝึกท่าชุดสุริยนมัสการ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลของการฝึกท่าชุดสุริยนมัสการในการลดระดับความกังวลในการพูดต่อหน้าสาธารณะ และ 2) ศึกษากระบวนการในการฝึกท่าชุดสุริยนมัสการในการลดระดับความกังวลในการพูดต่อหน้าสาธารณะ โดยใช้โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบสหวิธีการ ซึ่งเป็นการผสานวิธี ได้แก่ การวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณ และการสังเกต โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองกลุ่มละ 10 คน รวมเป็น 20 คน ซึ่งเครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบรายงานตนเองเกี่ยวกับความกังวลในการพูดต่อหน้าสาธารณะและแบบรายงานตนเองเกี่ยวกับความมั่นใจในฐานะผู้พูด เพื่อใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูลความกังวล โดยกลุ่มทดลองจะได้รับการฝึกท่าชุดสุริยนมัสการควบคู่ไปกับการพูดต่อหน้าสาธารณะ เป็นเวลา 7 วันติดต่อกัน พร้อมไปกับการฝึกพูดต่อหน้าสาธารณะร่วมกับกลุ่มควบคุมทันทีหลังจากเสร็จการฝึกโยคะในทุกๆวัน ผลการศึกษาพบว่า การฝึกท่าชุดสุริยนมัสการมีประสิทธิผลในการลดระดับความกังวลในการพูดต่อหน้าสาธารณะแต่ต้องใช้ควบคู่ไปกับการฝึกพูดด้วย เนื่องจากการฝึกท่าชุดสุริยนมัสการช่วยในการเพิ่มสมาธิและฝึกจดจ่อ สร้างเสริมสมรรถภาพร่างกาย รวมไปถึงลดความกังวลในเรื่องทั่วไปในชีวิตประจำวัน แต่ความกังวลพูดในที่สาธารณะมีปัจจัยอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น การเตรียมตัวของผู้พูด ความคุ้นชินระหว่างผู้พูดและผู้ฟัง รวมไปถึงความถนัดของผู้พูดแต่ละคน ดังนั้นการฝึกท่าชุดสุริยนมัสการควบคู่กับการเตรียมเนื้อหาให้พร้อมก่อนการพูด รวมถึงการลดความตึงเครียดและมีสมาธิกับการพูดต่อหน้ากลุ่มผู้ฟังด้วยความมั่นใจในตนเอง ก็จะสามารถลดระดับความกังวลในการพูดต่อหน้าสาธารณะได้ คำสำคัญ: ความกังวลในการพูดต่อหน้าสาธารณะ การฝึกท่าชุดสุริยนมัสการ


การศึกษาความสามารถในการเข้าถึงได้ทางเว็บของเว็บไซต์หอสมุดแห่งชาติโดยผู้พิการทางสายตา, อัมพิกา นันทิกาญจนะ Jan 2017

การศึกษาความสามารถในการเข้าถึงได้ทางเว็บของเว็บไซต์หอสมุดแห่งชาติโดยผู้พิการทางสายตา, อัมพิกา นันทิกาญจนะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการเข้าถึงได้ทางเว็บของเว็บไซต์หอสมุดแห่งชาติโดยผู้พิการทางสายตาในด้านการรับรู้ได้ การใช้งานได้ การเข้าใจได้ และการรองรับเทคโนโลยีที่หลากหลาย วิธีการวิจัยที่ใช้ คือ การประเมินโดยผู้ใช้ ซึ่งเป็นผู้พิการทางสายตา จำนวน 10 คน แบ่งออกเป็น ผู้พิการทางสายตาที่ตาบอดสนิท จำนวน 5 คน และผู้พิการทางสายตาที่ตาเลือนราง จำนวน 5 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยให้ผู้ใช้ทำงานที่ได้รับมอบหมาย จำนวน 6 งาน บนหน้าโฮมเพจของเว็บไซต์หอสมุดแห่งชาติ และคิดออกเสียงในระหว่างที่ทำงาน แล้วสัมภาษณ์ผู้ใช้หลังเสร็จสิ้นการทำงานที่ได้รับมอบหมาย ผลการวิจัยที่สำคัญ มีดังนี้ 1) ผู้พิการทางสายตาส่วนใหญ่ทำงานสำเร็จ จำนวน 3 งาน และไม่สำเร็จ จำนวน 3 งานเท่ากัน โดยงานที่ผู้พิการทางสายตาจำนวนมากที่สุดทำสำเร็จ คือ เข้าไปที่หน้าเว็บห้องสมุดดิจิทัล D-Library (งานที่ 5) ส่วนงานที่ผู้พิการทางสายตาทุกคนทำไม่สำเร็จ คือ สอบถามบรรณารักษ์จากหน้าเว็บไซต์ เช่น ปัญหาที่เกิดจากการใช้งานเว็บไซต์ เป็นต้น (งานที่ 6) 2) งานที่ผู้พิการทางสายตาที่ทำงานสำเร็จใช้เวลามากที่สุด คือ เข้าไปที่หน้าเว็บห้องสมุดดิจิทัล D-Library (งานที่ 5) 3) ผู้พิการทางสายตาทุกคนประสบปัญหาเกี่ยวกับความสามารถในการเข้าถึงได้ทางเว็บในงานสอบถามบรรณารักษ์จากหน้าเว็บไซต์ เช่น ปัญหาที่เกิดจากการใช้งานเว็บไซต์ เป็นต้น (งานที่ 6) 4) งานที่ผู้พิการทางสายตาประสบปัญหาจำนวนมากที่สุด คือ สืบค้นหนังสือจากคำสำคัญ "คอมพิวเตอร์" (งานที่ 3) 5) ปัญหาที่ผู้พิการทางสายตาประสบตามแนวทาง WCAG 2.0 จำแนกออกเป็น ปัญหาเกี่ยวกับการรับรู้ได้ จำนวน 11 ครั้ง ปัญหาเกี่ยวกับการใช้งานได้ จำนวน 28 ครั้ง ปัญหาเกี่ยวกับการเข้าใจได้ จำนวน 22 ครั้ง และปัญหาเกี่ยวกับการรองรับเทคโนโลยีที่หลากหลาย จำนวน 1 ครั้ง


นโยบายการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่เกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี, ณัฐวจี เขียวลือ Jan 2017

นโยบายการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่เกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี, ณัฐวจี เขียวลือ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางในการส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่เกาะพะงันจังหวัดสุราษฎร์ธานี ไปจนถึงปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการค้นคว้าข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่เกาะพะงัน จากผลการศึกษาพบว่าตัวแสดงสำคัญในการส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์บนพื้นที่เกาะพะงัน ได้แก่ เกษตรกร ที่จะต้องมีบทบาทเป็นผู้นำ (Leader) ในการขับเคลื่อน ขณะที่ภาครัฐมีบทบาทเป็นหน่วยที่คอยให้การสนับสนุน (Supporter) ในส่วนของกลยุทธ์การขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ เครื่องมือเชิงนโยบายที่เกี่ยวข้องและมาตรการในการดำเนินการสามารถแบ่งได้เป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะแรก (ภายในระยะเวลา 3 ปี) เป็นระยะที่เน้นการสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มผู้ทำเกษตรอินทรีย์ มีการวางแผนการผลิตและการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ภายในกลุ่ม การอุดช่องว่างของความต้องการด้านต่าง ๆ ของเกษตรกรโดยการแสวงหาความช่วยเหลือจากภายนอก สร้างโอกาสและเวทีในการพบปะกันของเกษตรกรกับผู้ประกอบการและการส่งเสริมการเกษตรแบบ CSA โดยการใช้ระบบการรับรองมาตรฐานแบบ PGS และการสร้างค่านิยมวิถีเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่ ในระยะกลาง (ภายในระยะเวลา 3-5 ปี) เป็นระยะที่เน้นการส่งเสริมโดยใช้การท่องเที่ยวเป็นฐานในแนวทาง "Organic Tourism" ร่วมกับการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่วิถีเกษตรอินทรีย์ ให้ความสำคัญกับการสร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างหน่วยงานราชการกับเกษตรกร และการบูรณาการร่วมกันของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง และระยะสุดท้าย (ภายในระยะเวลา 5-20 ปี) จะมุ่งเน้นการเข้ามามีบทบาทของภาครัฐในการส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์ในระดับใหญ่และยกระดับการทำเกษตรอินทรีย์ให้เป็นในรูปแบบของการทำธุรกิจ ผลักดันผลผลิตสินค้าอินทรีย์ออกสู่ตลาดระดับสากล กลยุทธ์การส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่เกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานีทั้ง 3 ระยะเป็นแนวทางที่กลั่นกรองจากการวิจัยปัญหา ความเป็นไปได้ แนวทางและมาตรการด้านนโยบายต่างๆ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนสามารถนำกลยุทธ์ เครื่องมือเชิงนโยบายที่เกี่ยวข้องและมาตรการในการดำเนินการดังกล่าวเข้าไปประยุกต์ใช้ในการวางแผนการส่งเสริมนโยบายการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่เกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานีต่อไปได้


ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลของการเรียนรู้ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์, อรณิชา เสตะคุณ Jan 2017

ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลของการเรียนรู้ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์, อรณิชา เสตะคุณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลของการเรียนรู้ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน 2) เพื่อทราบระดับประสิทธิผลของการเรียนรู้ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนตามการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่าง 3) เพื่อสำรวจปัญหาอุปสรรคของการเรียนรู้ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน และ 4) เพื่อเสนอแนวทางในการปรับปรุงการเรียนรู้ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ต่อสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน โดยศึกษาจากระบบการพัฒนาข้าราชการด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (HRD e-Learning) ของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (สำนักงาน ก.พ.) โดยมีกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นผู้ที่เคยเข้ารับการอบรมในระบบดังกล่าว จำนวน 331 คน ซึ่งเป็นข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถามอิเล็กทรอนิกส์ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (SPSS) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และการทดสอบค่าเฉลี่ย ผลการศึกษา พบว่า 1) ปัจจัยด้านคุณลักษณะของผู้เข้าอบรม (ด้านแรงจูงใจในการเรียนรู้ และด้านความสามารถในการเรียนรู้) มีผลต่อประสิทธิผลของการเรียนรู้ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงาน ก.พ. 2) ปัจจัยด้านคุณลักษณะการออกแบบการเรียนรู้ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (ด้านการสร้างสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ ด้านการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ ด้านการออกแบบการนำเสนอเนื้อหา และด้านการร่วมมือและแบ่งปัน) มีผลต่อประสิทธิผลของการเรียนรู้ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงาน ก.พ. 3) ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมภายในหน่วยงาน (ด้านโอกาสในการนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปใช้) มีผลต่อประสิทธิผลของการเรียนรู้ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงาน ก.พ. 4) ประสิทธิผลของการเรียนรู้ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงาน ก.พ. ตามการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่างในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด


ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย กับการดำเนินนโยบายต่างประเทศ พ.ศ. 2544-2548, กุลนันทน์ คันธิก Jan 2017

ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย กับการดำเนินนโยบายต่างประเทศ พ.ศ. 2544-2548, กุลนันทน์ คันธิก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การทำความเข้าใจถึงการดำเนินนโยบายต่างประเทศไทยภายใต้แนวคิดการทูตเชิงรุกของรัฐบาลในช่วง พ.ศ. 2544-2548 จำเป็นที่จะต้องศึกษาบทบาทของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในขณะนั้น คือ ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ซึ่งเป็นผู้ที่มีบทบาทโดยตรงในการนำนโยบายไปปฏิบัติ การศึกษาครั้งนี้ได้นำแนวคิดเรื่องการวิเคราะห์นโยบายต่างประเทศ การศึกษานโยบายสาธารณะ และแนวคิดด้านจิตวิทยามาปรับใช้ในการศึกษาบทบาทของรัฐมนตรีผู้นี้ ผลการศึกษาพบว่า ดร. สุรเกียรติ์ มีบทบาทใน 3 มิติสำคัญคือ 1) การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำเนินนโยบายต่างประเทศ ผ่านการฟื้นฟูและกระชับความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านและประเทศในภูมิภาคอื่นๆ 2) การดำเนินการทูตเชิงรุกด้วยการสร้างวาระและกรอบความร่วมมือใหม่ๆ ที่วางสถานะให้ประเทศไทยมีบทบาทนำ และ 3) การปรับกลไกของกระทรวงการต่างประเทศ ทั้งในส่วนของการปรับวิสัยทัศน์ จุดยืนเชิงนโยบาย และกระบวนการทำงาน ให้มีบทบาทและการทำงานเชิงรุกเพื่อรองรับการดำเนินนโยบายต่างประเทศของรัฐบาล การศึกษายังพบอีกด้วยว่าปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ ดร. สุรเกียรติ์ สามารถขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การต่างประเทศเชิงรุกได้นั้น เป็นผลจากการจัดความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายการเมืองกับฝ่ายข้าราชการประจำ ที่ฝ่ายการเมืองมีบทบาทนำในกระบวนการกำหนดนโยบาย การได้รับความไว้วางใจจากนายกรัฐมนตรี และที่สำคัญก็คือคุณลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ ภูมิหลัง ความตื่นตัวและประสบการณ์ด้านการต่างประเทศ รูปแบบและวิธีการทำงาน รวมถึงโลกทัศน์และวิสัยทัศน์ที่ส่งเสริมต่อการทำงานด้านการต่างประเทศ


อนุรักษนิยมไทยกับนโยบายต่างประเทศ (พ.ศ. 2516 - พ.ศ. 2521), ศิบดี นพประเสริฐ Jan 2017

อนุรักษนิยมไทยกับนโยบายต่างประเทศ (พ.ศ. 2516 - พ.ศ. 2521), ศิบดี นพประเสริฐ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาบทบาทของอนุรักษนิยมไทยที่มีต่อการกำหนดนโยบายต่างประเทศในช่วง พ.ศ. 2516 ถึง พ.ศ. 2521 อันเป็นช่วงที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งในเวทีระหว่างประเทศและในการเมืองไทย ทั้งนี้ ความไร้เสถียรภาพทางการเมืองภายในของไทยอันเกิดขึ้นจากการขยายตัวของพลังฝ่ายขวาในการต่อต้านขบวนการนักศึกษาและขบวนการเคลื่อนไหวอื่นจำนวนมากในบริบทของการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองระหว่างประเทศในภูมิภาคหลังการประกาศถอนตัวของสหรัฐฯ ออกจากเวียดนาม ทำให้รัฐอนุรักษนิยมไทยต้องหาทางเลือกใหม่สำหรับการรักษาระบอบที่จะนำเสถียรภาพและความมั่นคงกลับคืนมา นั่นคือการตัดสินใจเลือกแนวทางการปรับนโยบายที่แตกต่างจากข้อเรียกร้องของขบวนการฝ่ายขวา โดยผลการศึกษาพบว่าอนุรักษนิยมไทยในบริบทของการกำหนดนโยบายต่างประเทศนั้นไม่มีความเป็นเอกภาพ นั่นคือ มีทั้งอนุรักษนิยมที่มีบทบาทที่สำคัญในการปรับนโยบายต่างประเทศให้สอดคล้องกับสถานการณ์ด้วยการสนับสนุนการสร้างความสัมพันธ์ทางการทูตกับกลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสาธารณรัฐประชาชนจีน และกลุ่มประเทศอินโดจีน และอนุรักษนิยมที่เป็นฝ่ายขวา คือ ต่อต้านคอมมิวนิสต์ ต่อต้านประเทศที่เป็นคอมมิวนิสต์ และต่อต้านการปรับนโยบายต่างประเทศต่อประเทศคอมมิวนิสต์ แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จแต่อย่างใด จึงอาจกล่าวได้ว่าอนุรักษนิยมฝ่ายขวาเป็นปัจจัยสร้างเงื่อนไขเร่งความไร้เสถียรภาพทางการเมืองภายในของไทย และสามารถสั่นคลอนฐานะของรัฐบาลได้ แต่กลับไม่ได้มีผลต่อการกำหนดนโยบายต่างประเทศ


การมุ่งสู่ตะวันออกของรัสเซีย: กรณีศึกษาความสัมพันธ์ทางด้านพลังงานระหว่างรัสเซียและจีน, ธัญสุดา เทพกุล Jan 2017

การมุ่งสู่ตะวันออกของรัสเซีย: กรณีศึกษาความสัมพันธ์ทางด้านพลังงานระหว่างรัสเซียและจีน, ธัญสุดา เทพกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษานโยบายการมุ่งสู่ตะวันออกของรัสเซียโดยใช้กรณีศึกษาความสัมพันธ์ด้านพลังงานระหว่างรัสเซียกับจีน ระหว่างปี 2009 - 2015 โดยประยุกต์ใช้แนวคิดสัจนิยเชิงรุกของ จอห์น เมียร์ชไฮเมอร์ เป็นกรอบในการศึกษาร่วมกับแนวคิดภูมิรัฐศาสตร์ แนวคิดภูมิเศรษฐศาสตร์ และแนวคิดขั้วอำนาจ เพื่อเสนอว่า การมุ่งสู่ตะวันออกของรัสเซียเป็นการพยายามแสวงหาพันธมิตรและความอยู่รอดในช่วงเวลาที่อิทธิพลของสหรัฐอเมริกาลดลงและความสัมพันธ์กับตะวันตกเสื่อมถอย นับตั้งแต่สงครามจอร์เจียในปี 2008 ตลอดจนวิกฤตยูเครนในปี 2014 โดยใช้ทรัพยากรพลังงาน ได้แก่ น้ำมันและแก๊สธรรมชาติ ในเขตไซบีเรียตะวันออกและเขตตะวันออกไกลที่มีอยู่จำนวนมากเป็นเครื่องมือในการผูกมิตรกับจีน ตลอดจนใช้ความสัมพันธ์ด้านพลังงานเป็นทางไปสู่การขยายบทบาทและอิทธิพลในด้านตะวันออกเพื่อถ่วงดุลกับตะวันตก จากการศึกษาพบว่า ความสัมพันธ์ด้านพลังงานระหว่างรัสเซียกับจีนถือเป็นความสำเร็จของการมุ่งสู่ตะวันออกของรัสเซีย ดังปรากฎให้เห็นได้จากการเกิดระบบท่อขนส่งน้ำมันจากรัสเซียไปสู่จีนและไปยังชายฝั่งเอเชียแปซิฟิก และจากโครงการ Power of Siberia ในปี 2014 ที่ครอบคลุมถึงข้อตกลงซื้อขายแก๊สระหว่างรัสเซียกับจีนในระยะยาวและการก่อสร้างท่อขนส่งแก๊สธรรมชาติสายแรกจากรัสเซียสู่จีน และโครงการนี้ยังกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือในทำนองเดียวกันกับประเทศในเอเชียตะวันออก การเกิดระบบท่อขนส่งดังกล่าวเป็นการรับประกันถึงความมั่นคงด้านพลังงานระยะยาวของรัสเซียกับจีน รวมถึงประเทศอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออก และทำให้รัสเซียสามารถถ่วงดุลการส่งออกพลังงานได้ทั้งสองฝั่งของโลก นอกจากนี้ความสัมพันธ์ด้านพลังงานกับจีนทำให้รัสเซียหลีกเลี่ยงปัญหาความขัดแย้งกับตะวันตก สนับสนุนระเบียบโลกแบบหลายขั้วอำนาจ และเป็นส่วนหนึ่งในการถ่วงดุลอำนาจกับชาติตะวันตกโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาจากการใช้น้ำมันและแก๊สธรรมชาติ


ความไม่มั่นคงด้านพลังงานของเมียนมาร์: ที่มา พลวัต และแนวโน้ม, ปานหทัย วาสนาวิจิตร์ Jan 2017

ความไม่มั่นคงด้านพลังงานของเมียนมาร์: ที่มา พลวัต และแนวโน้ม, ปานหทัย วาสนาวิจิตร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความไม่มั่นคงด้านพลังงานของเมียนมาร์โดยใช้แนวคิดความมั่นคงด้านพลังงาน (Energy Security) มากำหนดดัชนีความั่นคงด้านพลังงาน เพื่อนำเสนอให้เห็นประเด็นด้านความมั่นคงพลังงานของเมียนมาร์ในช่วง ค.ศ. 2010 - 2015 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่รัฐบาลเมียนมาร์นำโดยประธานาธิบดีเต็ง เส่ง (Thein Sein) ให้ความสำคัญกับการดำเนินนโยบายด้านพลังงานคู่ขนานกับนโยบายด้านการลงทุนของประเทศ จากการดำเนินนโยบายดังกล่าวทำให้เกิดการหลั่งไหลของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเข้ามาในเมียนมาร์ โดยเฉพาะการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานต่างๆ อาทิ ก๊าซธรรมชาติ น้ำมัน ทรัพยากรน้ำ และถ่านหิน เป็นต้น ผลจากการวิเคราะห์ความมั่นคงด้านพลังงานของเมียนมาร์ตามดัชนีความมั่นคงด้านพลังงานทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ การมีพลังงานที่เพียงพอ (Availability) การเข้าถึงพลังงาน (Accessibility) การมีราคาพลังงานที่สามารถหาซื้อได้ (Affordability) และการยอมรับทางด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม (Acceptability) พบว่า การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศด้านพลังงานในช่วง ค.ศ. 2010 - 2015 ไม่ได้พัฒนาภาคพลังงานของเมียนมาร์อย่างที่ควรจะเป็น เนื่องจากสถานการณ์ด้านพลังงานของเมียนมาร์ยังไม่มีความมั่นคงตามประเด็นที่กำหนดไว้ในแต่ละดัชนี อาทิเช่น การผลิตพลังงานไม่เพียงพอต่อความต้องการบริโภคภายในประเทศ การมีโครงสร้างพื้นฐานหรือโครงข่ายพลังงานที่ไม่ทั่วถึง และการขาดความโปร่งใสและไม่เป็นที่ยอมรับในการบริหารจัดการภาคพลังงาน เป็นต้น ซึ่งอาจเรียกสถานการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ได้ว่าเป็นพลวัตความไม่มั่นคงด้านพลังงานในเมียนมาร์


บทบาทการเป็นตัวแปรส่งผ่านของการรับรู้ความสามารถในการเป็นบิดามารดาในความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ของบิดามารดาในพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของบุตรออทิสติกกับปัญหาทางจิตใจของบิดามารดา, เอื้อจิต พูนพนิช Jan 2017

บทบาทการเป็นตัวแปรส่งผ่านของการรับรู้ความสามารถในการเป็นบิดามารดาในความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ของบิดามารดาในพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของบุตรออทิสติกกับปัญหาทางจิตใจของบิดามารดา, เอื้อจิต พูนพนิช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทการเป็นตัวแปรส่งผ่านของการรับรู้ความสามารถในการเป็นบิดามารดา ในความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ของบิดามารดาในพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของบุตรออทิสติกกับปัญหาทางจิตใจของบิดามารดา โดยผู้เข้าร่วมการวิจัยคือ บิดาและมารดา จำนวน 119 คน (มารดา 83.2%) ที่มีบุตรเป็นออทิสติกอายุระหว่าง 3-12 ปี (อายุเฉลี่ย 7.08 ปี, เพศชาย 81.5%) และเป็นผู้ดูแลหลัก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) มาตรวัดปัญหาทางจิตใจของบิดามารดา (ภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล และความเครียด) 2) มาตรวัดการรับรู้ของบิดามารดาในพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของบุตรออทิสติก และ 3) มาตรวัดการรับรู้ความสามารถในการเป็นบิดามารดา ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS และ PROCESS ในการวิเคราะห์สหสัมพันธ์และการวิเคราะห์ตัวแปรส่งผ่านอย่างง่าย (Simple Mediation Analysis) โดยผลการวิจัยพบว่า การรับรู้ความสามารถในการเป็นบิดามารดาเป็นตัวแปรส่งผ่าน ระหว่างความสัมพันธ์ของการรับรู้ของบิดามารดาในพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของบุตรออทิสติกกับปัญหาทางจิตใจของบิดามารดา (b = 0.13, 95% Cl [0.002, 0.388]) นักจิตวิทยาและบุคลากรด้านการศึกษาพิเศษหรือสุขภาพจิตสามารถนำองค์ความรู้จากผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้ในการสร้างโปรแกรมให้ความช่วยเหลือแก่บิดามารดาที่มีบุตรออทิสติก โดยมุ่งเน้นไปที่การรับรู้ความสามารถในการเป็นบิดามารดาเพื่อป้องกันและลดแนวโน้มในการเกิดปัญหาทางจิตใจ


การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพชุดเครื่องมือประเมินอารมณ์ทารกไทย วัย 12 เดือน, ทยิดา ธนโชติวรรณ Jan 2017

การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพชุดเครื่องมือประเมินอารมณ์ทารกไทย วัย 12 เดือน, ทยิดา ธนโชติวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพชุดเครื่องมือประเมินพัฒนาการทางอารมณ์ในทารกไทยวัย 12 เดือน กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลหลักและทารกอายุ 12 เดือน ที่มีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล 30 คู่ และ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่30 คู่ เครื่องมือที่พัฒนาและตรวจสอบคุณภาพในงานวิจัยนี้ ได้แก่ ชุดเครื่องมือประเมินการแสดงอารมณ์ทารก คือ Laboratory Temperament Assessments Battery (Lab-TAB) และแบบประเมินพฤติกรรมทารกที่ประเมินโดยผู้ปกครอง คือ Mini Infant Behavior Questionnaire (IBQ) - Thai version ผลการวิจัยพบว่า ชุดเครื่องมือLab-TAB มีค่าความเที่ยงระหว่างผู้ประเมินในระดับดีมาก คือ มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ภายในชั้น (Intra-class Correlation Coefficient) อยู่ระหว่าง.96 ถึง .99 ผลการวิเคราะห์ความตรงเชิงสอดคล้องระหว่างชุดเครื่องมือLab-TAB และแบบประเมิน Mini IBQ -Thai version พบว่ามีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson product moment correlation coefficient) ของการประเมินอารมณ์สนุกสนาน อารมณ์เพลิดเพลิน การยิ้มการหัวเราะ อารมณ์กลัว และอารมณ์โกรธอยู่ในระดับ .39 - .76 และเมื่อวิเคราะห์ด้วยเมตริกซ์หลายคุณลักษณะวิธี (Multitrait-Multimethod Matrix; MMTM) พบว่าชุดเครื่องมือ Lab-TAB และแบบประเมิน Mini IBQ -Thai version มีความตรงเชิงสอดคล้องและความตรงเชิงจำแนก (convergent and discriminant validity) อยู่ในระดับดี ผลการวิเคราะห์ความแผ่ขยาย (Generalizability) ของชุดเครื่องมือ Lab-TAB ระหว่างกลุ่มตัวอย่างในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่ พบว่า เครื่องมือนี้สามารถใช้ประเมินทารกวัย 12 เดือนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่ ได้ด้วยผลคะแนนที่ไม่แตกต่างกัน


มาตรการที่เหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ผลงานเพลงลิขสิทธิ์ในร้านอาหาร-ร้านกาแฟในกรุงเทพมหานคร, ชัยวัฒน์ ภมรเวชวรรณ Jan 2017

มาตรการที่เหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ผลงานเพลงลิขสิทธิ์ในร้านอาหาร-ร้านกาแฟในกรุงเทพมหานคร, ชัยวัฒน์ ภมรเวชวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการบังคับใช้กฎหมายมาตรการสำหรับการเผยแพร่เพลงลิขสิทธิ์อย่างเหมาะสม และการลดปัญหาการเผยแพร่เพลงลิขสิทธิ์ในร้านอาหาร - ร้านกาแฟ โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ประกอบการร้านอาหาร - ร้านกาแฟในกรุงเทพมหานคร จำนวน 9 คน และเจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรม ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ตำรวจในกรุงเทพมหานคร จำนวน 3 คน และผู้พิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง จำนวน 1 คน การสุ่มตัวอย่างใช้แบบที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) และการสุ่มตัวอย่างแบบลูกโซ่ (snowball sampling) โดยใช้วิธีการพรรณนาข้อมูลร่วมกับการวิเคราะห์เนื้อหาข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัญหาด้านการบังคับใช้กฎหมายที่สำคัญคือ การเลือกปฏิบัติในการตรวจสอบการเผยแพร่เพลง รวมไปถึงการแสวงหาผลประโยชน์แอบแฝงของผู้รับมอบอำนาจ ประกอบกับผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีความรู้ในการเผยแพร่เพลงลิขสิทธิ์อยู่ในระดับน้อย 2) มาตรการที่เหมาะสมสำหรับการเผยแพร่เพลงลิขสิทธิ์คือ การกำหนดบทบาทการใช้อำนาจของผู้รับมอบอำนาจให้ชัดเจนเพื่อป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์แอบแฝง และระบุรายละเอียดในข้อกฎหมายเกี่ยวกับข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ให้ชัดเจน โดยยึดผลประโยชน์ของเจ้าของผลงาน และการปกป้องคุ้มครองผลงานลิขสิทธิ์ 3) แนวทางการลดปัญหาและข้อเสนอแนะจากการศึกษานี้คือ การให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องกฎหมายลิขสิทธิ์และการเผยแพร่เพลงลิขสิทธิ์แก่ประชาชน เพื่อพัฒนาความรู้ความเข้าใจและทัศนคติที่ดีต่อลิขสิทธิ์ในประเทศไทยต่อไป


Technical Efficiency Of Private Clinics Under Universal Coverage Scheme In Bangkok, Thailand, Pimpitcha Kangyang Jan 2017

Technical Efficiency Of Private Clinics Under Universal Coverage Scheme In Bangkok, Thailand, Pimpitcha Kangyang

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study aimed to measure technical efficiency of 88 private clinics under Universal Coverage Scheme (UC) in Bangkok in fiscal year 2017 and to identify the factors affecting their technical efficiency. The study was divided to two parts. The first part was measuring of technical efficiency with data envelopment analysis (DEA) and the second part was identifying the factors affecting efficiency with regression analysis using Tobit model. The result of DEA under a variable return to scale assumption showed that 84 private clinics under UC (95.45 percent of the target of study) were operating on pure technical efficiency frontier (VRSTE), …


Exploring Collaborative Governance Approaches To Addressing Trafficking And Forced Labour Of Migrant Workers In Thailand’S Fisheries Industry, Sara Sunisa Pasang Lehman Jan 2017

Exploring Collaborative Governance Approaches To Addressing Trafficking And Forced Labour Of Migrant Workers In Thailand’S Fisheries Industry, Sara Sunisa Pasang Lehman

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Thailand's fishing industry has been in the global spotlight in recent years with continued international attention on human rights abuses taking place on fishing vessels and in fish processing areas. Recently, the Thai Government, suppliers and retailers have been spurred to action to eliminate forced labour and human trafficking from seafood supply chains, including collaborating through new multi-stakeholder initiatives (MSIs). This paper explores different examples of collaboration between the public sector, industry and civil society to combat forced labor and trafficking in Thailand's fishing industry. This research uses a conceptual framework based on collaborative governance to conduct qualitative research using …


Development And Dynamics Of The Informal Workers In Thailand: A Case Study Of Informal Workers Network, Tanachot Assawarotjanamitre Jan 2017

Development And Dynamics Of The Informal Workers In Thailand: A Case Study Of Informal Workers Network, Tanachot Assawarotjanamitre

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This thesis aims to analyze the informal worker movement that is associated with a labor NGO named HomeNet Thailand, which helped mobilize informal workers and strengthen their skills and knowledge. The core analysis of thesis follows Resource Mobilization Theory and Political Process Theory to analyze the informal workers' developments, conditions, and limitations. This thesis explores the Informal workers' situation during Yingluck Shinawatra's civilian government (2011-2014) and Prayut Chan-o-cha's miliatry government (2014-Present). The thesis consists of 5 parts. Firstly, an introduction elaborates the research methodology of Archival Research and Interview methods. Secondly, a literature review and theoretical framework show the limitations …


Who Governs The Wasteland? Bangkok’S Informal Recycling Sector In Urban Waste Management, Vanessa Hongsathavij Jan 2017

Who Governs The Wasteland? Bangkok’S Informal Recycling Sector In Urban Waste Management, Vanessa Hongsathavij

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Amidst rapid population growth and urbanization, municipalities confront many challenges posed by waste generation, and its subsequent collection and disposal. In light of these challenges, an integrated solid waste management has emerged as an alternative and more holistic approach to tackling waste challenges, including a more serious consideration of power dynamics and relationships between different actors and interests. Integrated solid waste management in developing countries further reveals an active informal sector and various practices of informality in resource recovery and recycling. Yet, it remains unclear if solid waste management systems can further integrate the informal sector in such a way …


ปัจจัยที่ส่งผลต่อการผิดนัดชำระหนี้สินเชื่ออุปโภคบริโภคของธนาคารพาณิชย์และบริษัทที่ประกอบธุรกิจแต่มิใช่สถาบันการเงินในประเทศไทย, ธนิดา ตันติอาภากุล Jan 2017

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการผิดนัดชำระหนี้สินเชื่ออุปโภคบริโภคของธนาคารพาณิชย์และบริษัทที่ประกอบธุรกิจแต่มิใช่สถาบันการเงินในประเทศไทย, ธนิดา ตันติอาภากุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อหนี้ค้างชำระของสินเชื่อเพื่ออุปโภคบริโภคจากธนาคารพาณิชย์และบริษัทที่ประกอบธุรกิจแต่มิใช่สถาบันการเงินในประเทศไทยในช่วงปี พ.ศ.2546 ถึง 2559 ที่มีอัตราการขยายตัวที่เพิ่มสูงขึ้นจนอาจจะก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อหนี้ครัวเรือนและเศรษฐกิจของประเทศในปัจจุบัน โดยสมมติฐานหลักของงานวิจัยนี้คาดว่าอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจภายในประเทศและกลุ่มตัวแปรผลการดำเนินงานของกิจการในอดีตสะท้อนถึงพฤติกรรมของกิจการและเป็นปัจจัยสำคัญต่อปัญหาหนี้ค้างชำระในปัจจุบัน ดังนั้นจึงได้ใช้วิธี Difference GMM ในการศึกษา จากผลการศึกษาพบว่าหนี้ค้างชำระในอดีตของสินเชื่อทุกประเภทนั้นส่งผลต่อหนี้ค้างชำระในปัจจุบันสะท้อนถึงพฤติกรรม Moral Hazard ของกิจการ โดยปัญหาหนี้ค้างชำระด้อยคุณภาพที่มีการค้างชำระมากกว่า 3 เดือนขึ้นไปของสินเชื่อทุกประเภทเกิดจากการที่กิจการมีความพร้อมเพียงพอสำหรับการปล่อยสินเชื่อ (Ability to Loan) ทำให้อัตราการเติบโตของปริมาณเงินให้สินเชื่อนั้นเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนั้นยังพบว่านโยบายคืนภาษีรถยนต์คันแรกในปี พ.ศ.2554 ที่หวังจะกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศผ่านการจับจ่ายใช้สอยของประชากรนั้นส่งผลให้หนี้ค้างชำระด้อยคุณภาพของสินเชื่อรถยนต์ปรับตัวสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


บทบาทการพัฒนาทางการเงินและความยากง่ายในการประกอบธุรกิจต่อการจัดตั้งธุรกิจใหม่, ปิยาพัชร ล้อจรัสศรีวงษ์ Jan 2017

บทบาทการพัฒนาทางการเงินและความยากง่ายในการประกอบธุรกิจต่อการจัดตั้งธุรกิจใหม่, ปิยาพัชร ล้อจรัสศรีวงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทการพัฒนาทางการเงินและความยากง่ายในการประกอบธุรกิจต่อการจัดตั้งธุรกิจใหม่ โดยพิจารณาบทบาทการพัฒนาทางการเงินทั้งในด้านความลึก การเข้าถึง และความมีประสิทธิภาพของสถาบันการเงินและความยากง่ายในการประกอบธุรกิจด้านต่าง ๆ ประกอบด้วย การเริ่มต้นธุรกิจ การจดทะเบียนทรัพย์สิน การคุ้มครองผู้ลงทุน และการชำระภาษี โดยศึกษาในประเทศกำลังพัฒนา 8 ประเทศ ประกอบด้วย ประเทศมาเลเซีย ไทย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย อินเดีย ศรีลังกา บังคลาเทศ และปากีสถาน ใช้ข้อมูลภาคตัดขวางร่วมกับข้อมูลอนุกรมเวลา ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2002-2014 ประยุกต์กับแบบจำลอง Panel Regression Method Models ด้วยวิธี Fixed-Effects ผลการศึกษาพบว่า การเข้าถึงสถาบันการเงิน ความสะดวกในการเริ่มต้นธุรกิจ การคุ้มครองผู้ลงทุนและอัตราการเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศต่อหัวมีผลทางบวก ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่แท้จริงมีผลทางลบต่อจำนวนการจดทะเบียนประกอบธุรกิจใหม่ในประเทศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตาม การศึกษาพบว่าความลึกและประสิทธิภาพของสถาบันการเงิน ความสะดวกในการจดทะเบียนทรัพย์สิน การชำระภาษี มูลค่าการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ และสัดส่วนการออมต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศมีความสัมพันธ์กับจำนวนการจดทะเบียนประกอบธุรกิจใหม่ในประเทศอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ