Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 30 of 1604

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

Employment Situation Of Older Persons In Vietnam: Impact Of Covid-19 And Individual Coping Strategies, Trieu Thi Phuong Jan 2023

Employment Situation Of Older Persons In Vietnam: Impact Of Covid-19 And Individual Coping Strategies, Trieu Thi Phuong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Providing a secured employment system is a sustainable strategy given the context of a rapid population aging in Vietnam when the country is still in the lower-middle income group and a large part of older persons are living in low socioeconomic conditions. This work aims to investigate the situation of older persons’ employment in Vietnam (employing the 2018 and 2020 Vietnam Housing and Living Standard Surveys) and the impact of COVID-19 on their employment and individual coping strategies to overcome employment difficulties (utilizing the 2021 Labour Force Survey). This study finds that older persons with retirement pension, facing health problems, …


ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของโครงการส่งเสริมวินัยการออมกับกองทุนการออมแห่งชาติในระดับพื้นที่ กรณีศึกษาจังหวัดนครสวรรค์, จุฑารัตน์ ยกถาวร Jan 2022

ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของโครงการส่งเสริมวินัยการออมกับกองทุนการออมแห่งชาติในระดับพื้นที่ กรณีศึกษาจังหวัดนครสวรรค์, จุฑารัตน์ ยกถาวร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาในการขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมวินัยการออมกับกองทุนการออมแห่งชาติในจังหวัดนครสวรรค์ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมวินัยการออมกับกองทุนการออมแห่งชาติในจังหวัดนครสวรรค์ และเพื่อนำเสนอแนวทางส่งเสริมการขับเคลื่อนโครงการในจังหวัดนครสวรรค์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยการศึกษาครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การวิจัยเชิงเอกสาร และสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้ที่เกี่ยวข้องกับการโครงการในจังหวัดนครสวรรค์ ตั้งแต่ระดับผู้บริหาร คณะทำงานตลอดจนผู้ได้รับประโยชน์จากโครงการจำนวน 29 ท่าน ผลการศึกษาวิจัยพบว่า แม้ว่ารัฐบาลจะให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาระบบบำนาญที่ยังไม่ครอบคลุมสำหรับแรงงานในทุกระบบ แต่การนำนโยบายไปปฏิบัติผ่านโครงการส่งเสริมวินัยการออมกับกองทุนการออมแห่งชาติ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกองทุนการออมแห่งชาติและกระทรวงมหาดไทยเพื่อระดมหาจำนวนสมาชิกใหม่เข้าสู่กองทุน อย่างไรก็ตามจากการศึกษาพบว่าการดำเนินงานในจังหวัดนครสวรรค์มีสัดส่วนสมาชิกเมื่อเทียบกับจำนวนเป้าหมายมากที่สุดในประเทศไทย แต่ความสำเร็จดังกล่าวเป็นเพียงความสำเร็จหนึ่งในสองของวัตถุประสงค์โครงการเท่านั้น กล่าวคือการดำเนินงานในจังหวัดนครสวรรค์มีแนวคิดริเริ่มซึ่งสามารถเพิ่มจำนวนสมาชิกใหม่ได้ตามเป้าหมาย แต่ยังขาดการส่งเสริมการออมอย่างต่อเนื่องของสมาชิก ทั้งนี้ยังพบปัญหาต่าง ๆ ระหว่างการดำเนินการในแต่ละส่วน ได้แก่ ขาดการประชาสัมพันธ์ที่เข้าถึงกลุ่มผู้มีสิทธิเป็นสมาชิกอย่างทั่วถึงรวมไปถึงผลตอบแทนยังไม่สามารถสร้างแรงจูงใจได้เท่าที่ควร เป็นภาระงานที่เพิ่มขึ้นของผู้ปฏิบัติในระดับพื้นที่เนื่องจากวิธีการการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติใช้หลักการแบ่งบทบาท นอกจากนี้พบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมวินัยการออมกับกองทุนการออมแห่งชาติในจังหวัดนครสวรรค์ ประกอบด้วย 1) ปัจจัยด้านความชัดเจนของนโยบาย 2) ปัจจัยด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร 3) ปัจจัยด้านสมรรถนะขององค์กร และ 4) ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมภายนอก ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการนำนโยบายไปปฏิบัติผ่านโครงการส่งเสริมวินัยการออมกับกองทุนการออมแห่งชาติในจังหวัดนครสวรรค์ ควรตระหนักถึงความสำคัญและทำความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบาย รวมไปถึงข้อเสนอแนะเพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพโครงการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


การนำนโยบายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ Bcg Model ไปปฏิบัติ : กรณีศึกษา ศูนย์บริหารจัดการขยะรีไซเคิลชุมชน ตำบลลำเหย อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม, ญาณินท์ โพธิสว่าง Jan 2022

การนำนโยบายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ Bcg Model ไปปฏิบัติ : กรณีศึกษา ศูนย์บริหารจัดการขยะรีไซเคิลชุมชน ตำบลลำเหย อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม, ญาณินท์ โพธิสว่าง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายการนำนโยบายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจแบบ BCG Model ไปปฏิบัติของศูนย์บริหารจัดการขยะรีไซเคิลชุมชน ตำบลลำเหย อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม พร้อมทั้งวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติ โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) โดยอาศัยวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth interview) จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key informants) ที่เกี่ยวข้องในการนำนโยบายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG Model ไปปฏิบัติ ผลการศึกษาวิจัยพบว่า นโยบายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจแบบ BCG Model มีการดำเนินงานในรูปแบบการบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชน โดยมีเป้าหมายของนโยบาย คือ ใช้ทรัพยากรด้านเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียวในพื้นที่ เพื่อสร้างเศรษฐกิจให้ชุมชน มีการดำเนินงานโดยนำแผนปฏิบัติการด้านการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564-2570 มาเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนงานในพื้นที่ การนำนโยบายไปปฏิบัติให้ประสบความสำเร็จเกิดจาก 1) การมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายจากระดับล่างขึ้นบน (Bottom up approach) 2) การบรรจุนโยบายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจแบบ BCG Model ไว้ในแผนพัฒนาจังหวัด และแผนพัฒนาท้องถิ่น 3) การมีโครงสร้างการทำงานแบบบูรณาการที่ยืดหยุ่น คล่องตัว 4) การสื่อสารร่วมกันเพื่อให้เกิดความเข้าใจในการปฏิบัติในแนวทางเดียวกัน 5) บูรณาการทรัพยากรร่วมทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนที่มีส่วนร่วมในการนำนโยบายไปปฏิบัติ 6) สร้างการรับรู้นโยบายของบุคลากรที่นำนโยบายไปปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ 7) นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนงาน 8) มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติ


Climate Imaginaries And Human Mobility: Complicating Climate Mobility As Adaptation In Thailand, Clare Steiner Jan 2022

Climate Imaginaries And Human Mobility: Complicating Climate Mobility As Adaptation In Thailand, Clare Steiner

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

For centuries, agricultural households in Thailand have engaged in mobility to adapt to environmental change and climate shocks. However, current framings of “climate migration as adaptation” obscure how these adaptation pathways are constructed by existing power relations, leaving institutions liable to re-enforce inequality. This thesis uses the concept of “imaginaries” to de-construct how certain knowledge and values advance over others in the process of negotiating and acting towards a preferable future. It employs a dual methodological approach with a case study of Baan Non Daeng in Ubon Ratchathani, Thailand to analyze dominant imaginaries in Thailand and their function and limitations …


The Challenges Of Small And Medium Enterprises (Smes) In Tourism Sector : A Case Study Of Sihanoukville Province, Cambodia, Dena Seab Jan 2022

The Challenges Of Small And Medium Enterprises (Smes) In Tourism Sector : A Case Study Of Sihanoukville Province, Cambodia, Dena Seab

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research aims to study the challenges of Small and Medium Enterprises (SMEs) in Tourism Sector in Sihanoukville of Cambodia. The author used a mix approach of quantitative and qualitative approach to answer and analyze the research objectives. For survey, the population of this study were chosen from 114 business owners or managers of SMEs in tourism sector mainly hotels, guesthouses, restaurants, massage parlors, tour agencies, tour operators, and transportation companies to answer the questionnaires . The quantitative method was applied using questionnaire. The quantitative data collected from the survey were analyzed by using SPSS 16. For qualitative approach, 2 …


Food Inflation During The Covid-19 Pandemic. A Comparison Between Brazilian And Thai Food Inflation During The Years 2020 And 2021., Lilian Cordeiro Prates Jan 2022

Food Inflation During The Covid-19 Pandemic. A Comparison Between Brazilian And Thai Food Inflation During The Years 2020 And 2021., Lilian Cordeiro Prates

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Thailand and Brazil are two prominent net agro-exporters, and both countries were hit severely by the Pandemic of Covid-19. While Thailand's GDP decreased by 6.1% in 2020, the Brazilian economy shrank by 4.1%. Despite these similarities, during the acute phase of the pandemic, food prices in Brazil started to increase at an accelerated pace while, in Thailand, food prices remained low and stable. In 2020, the annual food inflation in Brazil was 14,11%, and Thailand's was 1.37%. Therefore, this study aims to contribute to the literature by filling the information gap about food inflation dynamics in those two countries during …


Social Enterprises: Relationship Between Economic Profits And Social Values, Pramon Karnchanapimonkul Jan 2022

Social Enterprises: Relationship Between Economic Profits And Social Values, Pramon Karnchanapimonkul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Social enterprises emerge as a newer type of organization that that combines elements of for-profit and non-profit organizations, and are gaining recognition as a potential driver of sustainable development. Social enterprises typically have the economic and the social objective that may contradict each other to produce trade-offs, or reinforce each other to produce synergies. Hence, this research aims to determine whether there are trade-offs or synergies between the economic and the social objective of social enterprises in Thailand, and determine the micro, meso and macro level factors that influence the relationship between the objectives of social enterprises. This research performed …


ปัจจัยกำหนดการเข้าสู่การทำงาน รูปแบบการทำงาน และชั่วโมงการทำงานที่ยาวนานของแรงงานวัยเยาว์ในประเทศไทย, กนกนิษก์ ตัณฑ์กุลรัตน์ Jan 2022

ปัจจัยกำหนดการเข้าสู่การทำงาน รูปแบบการทำงาน และชั่วโมงการทำงานที่ยาวนานของแรงงานวัยเยาว์ในประเทศไทย, กนกนิษก์ ตัณฑ์กุลรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ของเด็กอายุ 15-17 ปี ในประเทศไทยที่เข้าสู่การทำงาน รวมทั้ง รูปแบบการทำงานและชั่วโมงการทำงานที่ยาวนานของแรงงานวัยเยาว์ (เด็กอายุ 15-17 ปี ที่ทำงาน) นอกจากนี้ การวิจัยนี้ยังมุ่งศึกษาปัจจัยทางประชากรในครัวเรือนและลักษณะครัวเรือนที่ส่งผลต่อการเข้าสู่การทำงานของเด็ก ตลอดจน รูปแบบการทำงานและการทำงานในชั่วโมงการทำงานที่ยาวนานของแรงงานวัยเยาว์ ทั้งนี้ งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานที่ใช้ข้อมูลเชิงปริมาณจากการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร ไตรมาส 3 พ.ศ. 2561 ที่จัดเก็บโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติและการสัมภาษณ์เชิงลึกกับแรงงานวัยเยาว์ จำนวน 27 คน ผลการวิจัยที่สำคัญ พบว่า แรงงานวัยเยาว์ส่วนใหญ่ทำงานช่วยเหลือธุรกิจในครัวเรือนโดยไม่ได้รับค่าจ้าง รองลงมาคือการเป็นลูกจ้าง นอกจากนี้ ยังพบว่าแรงงานวัยเยาว์ที่ทำงานไปด้วยเรียนไปด้วยมีสัดส่วนของการทำงานในชั่วโมงที่ยาวนานมากกว่าแรงงานวัยเยาว์ที่ทำงานอย่างเดียว ส่วนปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเข้าสู่การทำงานในรูปแบบการทำงานอย่างเดียว ได้แก่ ระดับการศึกษาของหัวหน้าครัวเรือนและสมาชิกคนอื่นในครัวเรือนที่อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป สถานภาพสมรสของหัวหน้าครัวเรือน ความเกี่ยวพันทางญาติกับหัวหน้าครัวเรือน การขาดการเอาใจใส่ด้านการศึกษาของผู้ปกครอง สำหรับปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อชั่วโมงการทำงานที่ยาวนาน ได้เก่ การหารายได้ที่เพียงพอเพื่อเลี้ยงครอบครัว การเป็นลูกจ้าง และการขาดทักษะชีวิตในการจัดการเวลา ดังนั้น ผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะหลัก 4 ประการ ได้แก่ 1. ควรพิจารณาปัจจัยเสี่ยงในครัวเรือนและจัดการรายกรณีสำหรับเด็กที่มีปัจจัยเสี่ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่งป้องกันการหลุดออกนอกระบบการศึกษาและช่วยให้แรงงานวัยเยาว์ที่ทำงานอย่างเดียวกลับมาเรียนต่อได้ โดยอาจเป็นการทำงานควบคู่กับการเรียน 2. ควรพัฒนาทักษะการทำงานของเด็กเพื่อให้แรงงานได้มีโอกาสการทำงานที่ได้รับค่าตอบแทนที่สูงขึ้นทำให้มีชั่วโมงการทำงานที่น้อยลง 3. ควรร่วมมือกับนายจ้างในการออกแนวทางการกำหนดชั่วโมงการทำงานสำหรับแรงงานวัยเยาว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แรงงานวัยเยาว์ที่ทำงานไปด้วยเรียนไปด้วย รวมทั้งให้ครอบคลุมถึงกลุ่มเด็กที่เรียนในสายสามัญนอกเหนือจากสายอาชีพ 4. ควรพัฒนาทักษะชีวิติในการจัดการเวลาในการทำงานตั้งแต่วัยเยาว์เพื่อตอบสนองการทำงานในอนาคต


การป้องกันและการรับมือการกลั่นแกล้งในเกมออนไลน์แนวต่อสู้: กรณีศึกษาเกม Valorant, ยุววัฒน์ ไตรจิต Jan 2022

การป้องกันและการรับมือการกลั่นแกล้งในเกมออนไลน์แนวต่อสู้: กรณีศึกษาเกม Valorant, ยุววัฒน์ ไตรจิต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเกี่ยวกับการป้องกันและการรับมือการกลั่นแกล้งภายในเกมออนไลน์แนวต่อสู้:กรณีศึกษาเกม VALORANT เป็นการศึกษาเกี่ยวกับปัญหาการกลั่นแกล้งที่เกิดขึ้นในพื้นที่ของเกมออนไลน์ แสวงหาสาเหตุของการกลั่นแกล้ง และวิธีการป้องกันและการรับมือการกลั่นแกล้งภายในเกมออนไลน์ เพื่อนำมาเผื่อแพร่และให้ความรู้กับผู้ที่มีความสนใจที่จะเข้าสู่โลกของสังคมเกมออนไลน์รับทราบถึงสาเหตุ รูปแบบ และวิธีการรับมือการกลั่นแกล้งที่สามารถเกิดขึ้นได้ในสังคมเกมออนไลน์ การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกรูปแบบกึ่งโครงสร้าง กลุ่มตัวอย่างจำนวน 12 คน ผลการศึกษาพบว่าสาเหตุของการกลั่นแกล้งภายในเกมออนไลน์แนวต่อสู้มีอยู่ 3 ปัจจัยหลักคือ 1) ปัจจัยด้านทักษะผู้เล่น 2) ปัจจัยเรื่องเพศของผู้เล่น 3) ปัจจัยเกี่ยวกับตัวผู้แกล้ง โดยรูปแบบของการกลั่นแกล้งที่เกิดขึ้นภายในเกมออนไลน์จะเป็นรูปแบบของ 1) การใช้ Text Chat ที่เป็นการพิมพ์ข้อความเพื่อสื่อสาร 2) การใช้ Voice Chat ที่เป็นการใช้ระบบของเกมในการสื่อสารระหว่างผู้เล่นทางเสียง 3) การใช้ระบบการเล่นภายในเกมเพื่อขัดขวางหรือรบกวนการเล่นของผู้เล่น ในส่วนของการรับมือการกลั่นแกล้งภายในเกมออนไลน์จะประกอบไปด้วยการรับมือโดย 1) การประณีประณอมกับการกลั่นแกล้ง 2) การปิดช่องทางการสื่อสาร และ 3) การชักชวนเพื่อนหรือคนรู้จักมาร่วมเล่นเกมออนไลน์


วาทกรรมสิทธิทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับลิขสิทธิ์กับงานยุติธรรมทางอาญาในสังคมไทย, สุวิทย์ รัตนสุคนธ์ Jan 2022

วาทกรรมสิทธิทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับลิขสิทธิ์กับงานยุติธรรมทางอาญาในสังคมไทย, สุวิทย์ รัตนสุคนธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบต่างๆ ที่ทำให้เกิดการการประกอบสร้างอัตลักษณ์ตัวตนจนลิขสิทธิ์กลายมาเป็นสิทธิผูกขาดจนสามารถนำเอามาตรการทางอาญามาปรับใช้กับผู้ละเมิดสิทธิผูกขาดนี้ได้อย่างกลมกลืน ตลอดจนศึกษาองค์ความรู้ด้านอื่นๆ ที่อาจนำมาใช้เพื่อสร้างดุลยภาพในการคุ้มครองลิขสิทธิ์และลดความเป็นอาชญากรรมจากการคุ้มครองลิขสิทธิ์ในสังคมไทยลง โดยใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพจากการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) การศึกษาและวิเคราะห์วาทกรรม (Discourse Studies and Discourse Analysis) โดยเปรียบเทียบกับข้อมูลเชิงประจักษ์จากกรณีศึกษา ผลการศึกษาพบว่า ความเป็นอาชญากรรมที่เกิดขึ้นจากการคุ้มครองลิขสิทธิ์เป็นผลมาจากแนวคิดสิทธิผูกขาดแห่งลิขสิทธิ์ของประเทศตะวันตกที่ไหลหลากเข้าสู่สังคมไทยเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการแสวงหาประโยชน์ทางเศรษฐกิจในยุคทุนนิยมและบริโภคนิยม สังคมไทยได้ยอมรับนับให้ลิขสิทธิ์ซึ่งเกิดจากภูมิปัญญาของมนุษย์มีค่าเหนือกว่าทรัพย์สินที่เกิดขึ้นตามธรรมชาตินำไปสู่การประกอบสร้างวาทกรรมความเป็นอัตลักษณ์ตัวตนและความสำคัญให้เกิดขึ้น การกระทำใดๆ อันเป็นการล่วงละเมิดสิทธิผูกขาดนี้เป็นการกระทำที่สังคมไม่อาจยอมรับได้ นำไปสู่การนำมาตรการทางอาญามาปรับใช้กับผู้ล่วงละเมิดจนเกิดความเป็นอาชญากรรมอย่างล้นหลามขึ้นในสังคมไทย การเกิดวาทกรรมนี้อาศัยบริบท ปรากฏการณ์ต่างๆ ในสังคมโลกและในสังคมไทย กอปรกับการประกอบสร้างจากมนุษย์โดยตรง ด้วยการใช้มาตรการทางอาญาสร้างความรุนแรง การสร้างความเป็นอื่น การปิดฉลากตีตรา การทำลายผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากละเมิด การสร้างความชอบธรรมจากเหตุผลกระตุ้นการสร้างสรรค์และความเจริญทางเศรษฐกิจ ส่วนการกำหนดสร้างนิยามความหมายใหม่ซึ่งเป็นผลจากการแสดงปฏิกริยาตอบโต้ แข็งขืนของผู้ยึดถือวาทกรรมรองนำไปสู่กระบวนการรื้อสร้างใหม่ เพื่อตีแผ่ ขุดคุ้ยเอาสารัตถะองค์ความรู้ ความจริงที่แฝงฝัง ลืมเลือนอยู่ในสังคมไทยในด้านเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยีการสื่อสารและกติกาสากลออกมาให้ปรากฏ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการช่วยสร้างความสอดคล้องกับสังคมไทย สร้างความสมดุลและช่วยลดความเป็นอาชญากรรมที่เกิดขึ้นจากการคุ้มครองลิขสิทธิ์ในสังคมไทย


ประสบการณ์ทางจิตใจของสมาชิกในครอบครัวที่ให้การสนับสนุนดูแลผู้ป่วยวัยรุ่นโรคซึมเศร้า, อธิชญา สุขธรรมรัตน์ Jan 2022

ประสบการณ์ทางจิตใจของสมาชิกในครอบครัวที่ให้การสนับสนุนดูแลผู้ป่วยวัยรุ่นโรคซึมเศร้า, อธิชญา สุขธรรมรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสบการณ์ทางจิตใจของสมาชิกในครอบครัวที่ให้การสนับสนุนดูแลผู้ป่วยวัยรุ่นโรคซึมเศร้า โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพแนวปรากฏการณ์วิทยาเชิงตีความ และเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก ใช้คำถามที่มีลักษณะกึ่งโครงสร้างกับผู้เข้าร่วมวิจัย คือ ผู้ดูแลในครอบครัว จำนวน 6 คน ซึ่งเคยมีประสบการณ์ในการดูแลหรือกำลังให้การดูแลวัยรุ่นช่วงอายุ 13-19 ปีที่ได้รับการวินิจฉัยจากจิตแพทย์ว่าเป็นโรคซึมเศร้า โดยให้การสนับสนุนดูแลในด้านต่าง ๆ ที่จำเป็นให้กับวัยรุ่นในครอบครัว เช่น ด้านความเป็นอยู่ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านอารมณ์ ด้านการรักษา หรือด้านการปรับตัวมาอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 3 เดือน ผลการศึกษา พบประเด็นสำคัญ 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1. การมีทรัพยากรที่เพียงพอต่อการสนับสนุนดูแลวัยรุ่นที่เป็นโรคซึมเศร้า 2. การเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้นระหว่างให้การดูแล 3. แนวทางการปรับตัวในบทบาทของผู้ดูแล และ 4. การตกผลึกทางความคิดจากประสบการณ์ในการดูแล สรุปผลการวิจัยแสดงให้เห็นประสบการณ์ทางจิตใจของบุคคลที่เป็นผู้ให้การสนับสนุนดูแลวัยรุ่นในครอบครัวที่เป็นโรคซึมเศร้า ทั้งลักษณะแนวทางในการดูแลรับมือ มุมมองความคิด อารมณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้นระหว่างให้การดูแล การปรับตัวและสิ่งที่ผู้ดูแลได้เรียนรู้จากประสบการณ์ของตนเอง ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่กำลังเผชิญกับอุปสรรคปัญหาในการดูแลวัยรุ่นที่เป็นโรคซึมเศร้า รวมถึงผู้ที่มีความสนใจในงานให้บริการทางด้านสุขภาพจิต เพื่อให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับการเป็นผู้ดูแลในครอบครัวให้กับวัยรุ่นที่เป็นโรคซึมเศร้า ตลอดจนนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาตนเองและให้ความช่วยเหลือแก่สมาชิกในครอบครัวที่มีปัญหาทางด้านจิตใจต่อไป


อิทธิพลของประสบการณ์ลูกค้า ภาพลักษณ์ตราสินค้าสีเขียว และอัตนิยมเชิงวัฒนธรรมต่อความตั้งใจซื้อสินค้าของร้านกาแฟแบบบริการเต็มรูปแบบ, ไปรยา เจษฎานฤสาร Jan 2022

อิทธิพลของประสบการณ์ลูกค้า ภาพลักษณ์ตราสินค้าสีเขียว และอัตนิยมเชิงวัฒนธรรมต่อความตั้งใจซื้อสินค้าของร้านกาแฟแบบบริการเต็มรูปแบบ, ไปรยา เจษฎานฤสาร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของประสบการณ์ลูกค้าจากช่องทางที่หลากหลาย ประสบการณ์ลูกค้าทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านความสอดคล้อง 2) ด้านการเชื่อมต่อ 3) ด้านการผสมผสาน 4) ด้านความยืดหยุ่น และ 5) ด้านเฉพาะบุคคล ภาพลักษณ์ตราสินค้าสีเขียว อัตนิยมเชิงวัฒนธรรม ความเป็นสากลนิยมที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าของร้านกาแฟแบบบริการเต็มรูปแบบ และเพื่อวิเคราะห์ตัวแปร ได้แก่ ประสบการณ์ลูกค้าจากช่องทางที่หลากหลาย ภาพลักษณ์ตราสินค้าสีเขียว อัตนิยมเชิงวัฒนธรรม ความเป็นสากลนิยม และความตั้งใจซื้อ โดยงานวิจัยชิ้นนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจ เก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างที่มีกำลังซื้อ และอยู่ในช่วงอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป จำนวน 400 ตัวอย่าง เมื่อนำมาวิเคราะห์การถดถอยแบบเส้นตรงพหุคูณ (Multiple Linear Regression) พบว่า ประสบการณ์ลูกค้าจากช่องทางที่หลากหลาย ความเป็นสากลนิยม และภาพลักษณ์ตราสินค้าสีเขียวที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าของร้านกาแฟแบบบริการเต็มรูปแบบมากที่สุดตามลำดับ คิดเป็นร้อยละ 33.40 ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 อย่างไรก็ตาม ผู้วิจัยต้องการทราบว่า ตัวแปรประสบการณ์ลูกค้ามีตัวแปรในทุก ๆ ด้านที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อ หรือมีตัวแปรย่อยด้านใดที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าของร้านกาแฟแบบบริการเต็มรูปแบบ จึงทำการทดสอบสมมติฐานที่ 2 เมื่อทำการทดสอบเพิ่มเติมโดยทำการแยกตัวแปรย่อยของตัวแปรประสบการณ์ลูกค้าออกเป็น 5 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการเชื่อมต่อ ด้านการผสมผสาน ด้านความสอดคล้อง ด้านความยืดหยุ่น และด้านเฉพาะบุคคล พบว่า ตัวแปรย่อยด้านความสอดคล้อง และด้านความยืดหยุ่นมีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าของร้านกาแฟแบบบริการเต็มรูปแบบมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 33.40 ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 และไม่มีตัวแปรอื่น ๆ มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้ออย่างมีนัยสำคัญระดับ 0.05


อิทธิพลของคุณลักษณะบุคคลและคุณลักษณะความเชื่อ ต่อพฤติกรรมผู้บริโภคกลุ่มวัยเริ่มต้นทำงาน, กัญญารัตน์ วิโรจนะ Jan 2022

อิทธิพลของคุณลักษณะบุคคลและคุณลักษณะความเชื่อ ต่อพฤติกรรมผู้บริโภคกลุ่มวัยเริ่มต้นทำงาน, กัญญารัตน์ วิโรจนะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงสำรวจในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) คุณลักษณะบุคคล (ได้แก่ คุณลักษณะพื้นฐาน และคุณลักษณะประกอบ) คุณลักษณะความเชื่อ และพฤติกรรมของผู้บริโภคกลุ่มวัยเริ่มต้นทำงาน (ได้แก่ ด้านโหราศาสตร์ ด้านความเชื่อลางร้าย ด้านเครื่องรางนำโชค ด้านการพนัน ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านสลากกินแบ่ง) และ 2) อิทธิพลของคุณลักษณะบุคคลและคุณลักษณะความเชื่อ ต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคกลุ่มวัยเริ่มต้นทำงาน โดยเก็บข้อมูลผ่านช่องทางออนไลน์จากกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ 23 – 29 ปี เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และมีงานทำในปัจจุบัน จำนวน 403 คน ผลการวิจัยพบว่า คุณลักษณะพื้นฐานที่มีผลต่อคุณลักษณะความเชื่อของผู้บริโภคกลุ่มวัยเริ่มต้นทำงาน ได้แก่ ความต้องการด้านวัตถุ ความต้องการด้านร่างกาย และความไม่มั่นคงทางอารมณ์ ส่วนคุณลักษณะประกอบที่มีผลต่อคุณลักษณะความเชื่อของผู้บริโภคกลุ่มวัยเริ่มต้นทำงาน ได้แก่ การอยู่กับปัจจุบัน และคุณลักษณะความเชื่อ มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ ด้านโหราศาสตร์ ด้านความเชื่อลางร้าย ด้านเครื่องรางนำโชค ด้านการพนัน ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านสลากกินแบ่ง โดยคุณลักษณะความเชื่อมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมด้านโหราศาสตร์มากที่สุด


ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภค, ธาณุพรรณ ณ สงขลา Jan 2022

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภค, ธาณุพรรณ ณ สงขลา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณด้วยวิธีการสำรวจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่ออธิบายความห่วงใยต่อสิ่งแวดล้อม ทัศนคติต่อการซื้อรถยนต์ไฟฟ้า บรรทัดฐานกลุ่ม การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม การรับรู้คุณค่า และความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภค 2) เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของความห่วงใยต่อสิ่งแวดล้อมที่มีต่อ ทัศนคติต่อการซื้อรถยนต์ไฟฟ้า บรรทัดฐานกลุ่ม การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม และการรับรู้คุณค่าของผู้บริโภค 3) เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของทัศนคติต่อการซื้อรถยนต์ไฟฟ้า บรรทัดฐานกลุ่ม การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม และการรับรู้คุณค่า ที่มีต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภค โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคชาวไทยเจเนอเรชันเอกซ์ (Generation X) และผู้บริโภคเจเนอเรชันวาย (Generation Y) จำนวนทั้งสิ้น 500 คน ซึ่งต้องมีช่วงอายุอยู่ระหว่าง 27 - 58 ปี ไม่ได้เป็นเจ้าของรถยนต์ไฟฟ้า และต้องเคยได้ยินหรือรู้จักเกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้า โดย ผลวิจัยพบว่า ความห่วงใยต่อสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อ การรับรู้คุณค่า การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม ทัศนคติต่อการซื้อรถยนต์ไฟฟ้า และบรรทัดฐานกลุ่ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ ยังพบอีกว่า การรับรู้คุณค่า บรรทัดฐานกลุ่ม และการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ทัศนคติต่อการซื้อรถยนต์ไฟฟ้าไม่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้า


การเปิดรับ ทัศนคติ และความตั้งใจซื้อของผู้บริโภคที่มีต่อโฆษณาในรูปแบบวิดีโอสั้นบนแอปพลิเคชันติ๊กต๊อกของผลิตภัณฑ์ความงาม, นวียา แดงบุหงา Jan 2022

การเปิดรับ ทัศนคติ และความตั้งใจซื้อของผู้บริโภคที่มีต่อโฆษณาในรูปแบบวิดีโอสั้นบนแอปพลิเคชันติ๊กต๊อกของผลิตภัณฑ์ความงาม, นวียา แดงบุหงา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากร การเปิดรับ ทัศนคติ และความตั้งใจซื้อของผู้บริโภคที่มีต่อโฆษณาในรูปแบบวิดีโอสั้นบนแอปพลิเคชันติ๊กต๊อกของผลิตภัณฑ์ความงาม รวมถึงเพื่ออธิบายอิทธิพลของการเปิดรับและทัศนคติของผู้บริโภคต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ความงาม งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ ด้วยการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามออนไลน์ จากกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร และเคยเห็นโฆษณาแบบวิดีโอสั้นของผลิตภัณฑ์ความงามบนติ๊กต๊อก จำนวนทั้งสิ้น 400 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้บริโภคที่มีอาชีพแตกต่างกัน มีการเปิดรับโฆษณาในรูปแบบวิดีโอสั้นของผลิตภัณฑ์ความงามบนติ๊กต๊อกแตกต่างกัน 2) ผู้บริโภคที่มีเพศและอาชีพแตกต่างกัน มีทัศนคติต่อโฆษณาในรูปแบบวิดีโอสั้นของผลิตภัณฑ์ความงามบนติ๊กต๊อกแตกต่างกัน 3) ผู้บริโภคที่มีเพศและอาชีพแตกต่างกัน มีความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ความงามแตกต่างกัน 4) ปัจจัยด้านการเปิดรับและทัศนคติมีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ความงาม โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001


อิทธิพลของผู้นำทางความคิดด้านความงามบนอินสตาแกรม ต่อทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภค, อภิชญา ศรีเทวฤทธิ์ Jan 2022

อิทธิพลของผู้นำทางความคิดด้านความงามบนอินสตาแกรม ต่อทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภค, อภิชญา ศรีเทวฤทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะของผู้นำทางความคิดด้านความงามบนอินสตา แกรม และศึกษาอิทธิพลของคุณลักษณะของผู้นำทางความคิดด้านความงามบนอินสตาแกรม ต่อทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภค โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเพศหญิง อายุระหว่าง 25-34 ปี ที่มีการกดติดตามข้อมูลจากช่องทางอินสตาแกรมของผู้นำทางความคิดด้านความงามอย่างน้อย 3 ใน 10 คน ที่ผู้วิจัยได้กำหนดไว้ และได้ติดตามข้อมูลอย่างน้อย 1 ครั้ง ใน 1 เดือนที่ผ่านมา จำนวน 400 คน ผลการวิจัยพบว่า คุณลักษณะของผู้นำทางความคิดด้านความงามทั้งสามด้านมีอิทธิพลต่อทัศนคติของผู้บริโภค โดยคุณลักษณะด้านความน่าเชื่อถือมีอิทธิพลต่อทัศนคติต่อผู้นำทางความคิดของผู้บริโภคมากที่สุด สำหรับการทดสอบอิทธิพลของคุณลักษณะของผู้นำทางความคิดต่อพฤติกรรมของผู้บริโภค พบว่า คุณลักษณะทั้งสามด้านมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมความตั้งใจซื้อของผู้บริโภค โดยคุณลักษณะด้านการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกึ่งความจริงมีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อมากที่สุด และมีเพียงคุณลักษณะด้านการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกึ่งความจริงคุณลักษณะเดียวที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคด้านการมีส่วนร่วม นอกจากนี้ การวิจัยยังพบว่าทัศนคติต่อผู้นำทางความคิดของผู้บริโภคมีอิทธิพลต่อทั้งพฤติกรรมการมีส่วนร่วมและความตั้งใจซื้อของผู้บริโภค


ประสบการณ์การฟื้นคืนได้ของญาติผู้ดูแลที่ฝึกเจริญสติปัฏฐาน 4 และดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง, พิมลวรรณ บุนนาค Jan 2022

ประสบการณ์การฟื้นคืนได้ของญาติผู้ดูแลที่ฝึกเจริญสติปัฏฐาน 4 และดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง, พิมลวรรณ บุนนาค

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพแนวปรากฏการณ์วิทยาแบบตีความเพื่อทำความเข้าใจประสบการณ์การฟื้นคืนได้ของญาติผู้ดูแลที่ฝึกเจริญสติปัฏฐาน 4 และดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ผู้ให้ข้อมูลเป็นญาติผู้ดูแลหลักของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเลือกจำนวน 7 คน เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีคำถามกึ่งโครงสร้าง ผลการศึกษาพบประสบการณ์การฟื้นคืนได้ของญาติผู้ดูแลที่ฝึกเจริญสติปัฏฐานสี่ 3 ประเด็นหลัก กล่าวคือ ประเด็นหลักที่ 1 ชีวิตเริ่มต้นเสียสมดุล มี 4 ประเด็นย่อยได้แก่ 1.1) เครียด หงุดหงิดง่าย จากการดูแล 1.2) เหนื่อยล้า เกิดปัญหาสุขภาพ 1.3) อึดอัด ขาดสังคม ไม่ได้ทำสิ่งที่เคยทำ และ 1.4) คนรอบข้างไม่เข้าใจ ไม่สนับสนุนช่วยเหลือ ประเด็นหลักที่ 2 ฟื้นคืนด้วยสติ ใจสงบสุข อ่อนโยนมีเมตตา มี 3 ประเด็นย่อยได้แก่ 2.1) สติทำให้รู้เท่าทัน ควบคุมอารมณ์ได้ 2.2) สมาธิรักษาใจให้สุขสงบ ใจมีพลัง และ 2.3) จิตใจอ่อนโยน มีเมตตา และประเด็นหลักที่ 3 ฟื้นคืนด้วยปัญญา เข้าใจสัจธรรมชีวิตและเติบโตทางธรรม มี 3 ประเด็นย่อยได้แก่ 3.1) เกิดสัมปชัญญะ ระลึกรู้เท่าทันความเป็นจริง 3.2) มองเห็นความไม่เที่ยง เข้าใจชีวิต เติบโตทางธรรม และ 3.3) ปล่อยวาง จิตคลายจากความยึดมั่นถือมั่น


การทำนายพฤติกรรมแยกขยะพลาสติกในครัวเรือนด้วยทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนและการพิจารณาถึงผลลัพธ์ในอนาคต, พีรยา พูลหิรัญ Jan 2022

การทำนายพฤติกรรมแยกขยะพลาสติกในครัวเรือนด้วยทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนและการพิจารณาถึงผลลัพธ์ในอนาคต, พีรยา พูลหิรัญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

พฤติกรรมแยกขยะพลาสติกในครัวเรือนเป็นพฤติกรรมที่มีความสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกในระยะยาวในยุคที่บรรจุภัณฑ์พลาสติกเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ปัจจุบันยังขาดองค์ความรู้โดยเฉพาะในบริบทของประเทศไทยเกี่ยวกับปัจจัยที่สนับสนุนและขัดขวางการเกิดพฤติกรรมแยกขยะ ผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาปัจจัยตามทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนและปัจจัยการพิจารณาผลลัพธ์ในอนาคตที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมแยกขยะพลาสติกในครัวเรือนโดยเน้นศึกษาขยะพลาสติก 3 ชนิด ได้แก่ ถุงพลาสติกหูหิ้ว ถุงพลาสติกบรรจุอาหาร และกล่องพลาสติกบรรจุอาหาร กลุ่มตัวอย่าง (n = 126) ได้แก่ ผู้มีอายุ 18 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครอย่างน้อย 1 ปี ทำการตอบแบบสอบถามการวิจัยเกี่ยวกับปัจจัยต่าง ๆ และรายงานพฤติกรรมแยกขยะพลาสติกในครัวเรือนใน 2 สัปดาห์ต่อมา ผลจากการวิจัยพบว่า การรับรู้การควบคุมพฤติกรรมมีอิทธิพลทางบวกต่อพฤติกรรมทั้งทางตรงและทางอ้อมผ่านเจตนาต่อพฤติกรรม โดยการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงมีอิทธิพลทางอ้อมผ่านเจตนาต่อพฤติกรรมเท่านั้น อย่างไรก็ตามพบปัจจัยที่ไม่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมโดยมีเจตนาต่อพฤติกรรมเป็นตัวแปรส่งผ่าน ได้แก่ เจตคติต่อพฤติกรรมและการพิจารณาผลลัพธ์ในอนาคต และพบว่าปฏิสัมพันธ์ระหว่างเจตคติต่อพฤติกรรมและการรับรู้การควบคุมพฤติกรรม และ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงและการรับรู้การควบคุมพฤติกรรม ไม่สามารถทำนายเจตนาต่อพฤติกรรมได้ โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมแยกขยะพลาสติกในครัวเรือนมากที่สุด ได้แก่ การรับรู้การควบคุมพฤติกรรม โดยกลุ่มตัวอย่างมีความเชื่อว่าการมีพื้นที่สำหรับแยกขยะพลาสติกในครัวเรือน การมีถังขยะของส่วนกลางรองรับ และการได้รับรู้ว่าการแยกขยะพลาสติกในครัวเรือนก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านใดบ้างเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมแยกขยะพลาสติกในครัวเรือนได้


ค่าจ้างขั้นต่ำและอาชญากรรมในประเทศไทย, เกียรติภูมิ น้อยสุวรรณ์ Jan 2022

ค่าจ้างขั้นต่ำและอาชญากรรมในประเทศไทย, เกียรติภูมิ น้อยสุวรรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

อาชญากรรมตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของค่าจ้างขั้นต่ำหรือไม่ หลักฐานเชิงประจักษ์ในงานวิจัยจำนวนมากในต่างประเทศ พบว่าการตอบสนองของการเกิดอาชญากรรมจะส่งผลแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่และประเภทของอาชญากรรม การใช้นโยบายปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำอาจส่งผลกระทบต่อแรงงานในหลายด้าน การมีนโยบายปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำในประเทศไทยจะส่งผลต่อการเกิดอาชญากรรมไปในทิศทางใด งานวิจัยในครั้งนี้จึงมุ่งที่จะศึกษาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงค่าจ้างขั้นต่ำในประเทศไทยระหว่างปี พ.ศ. 2550 ถึงปี พ.ศ. 2562 การศึกษาครั้งนี้จะวิเคราะห์โดยใช้สมการถดถอยด้วยวิธีกำลังสองน้อยที่สุดแบบ Fixed Effects ในข้อมูลแบบช่วงยาว (Panel Data) รายจังหวัด และจำแนกประเภทอาชญากรรมออกเป็น 5 ประเภท โดยใช้แบบจำลองอุปทานของอาชญากรรม (Supply of Crime Model) ผลการศึกษาพบว่า การใช้นโยบายปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำนั้นไม่ได้ช่วยลดการเกิดอาชญากรรมในทุกประเภท แต่กลับพบว่าการมีจำนวนแรงงานที่มีชั่วโมงการทำงานเพิ่มมากขึ้นนั้นจะช่วยลดการเกิดอาชญากรรมที่เกี่ยวกับทรัพย์สิน อาชญากรรมที่เกี่ยวกับยาเสพติด และอาชญากรรมรวมได้ เนื่องจากผลกระทบที่เกิดจากการเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำนั้นค่อนข้างน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่ว่างงานแล้วต่อมาได้ทำงานที่ถูกต้องตามกฎหมาย ในส่วนนี้จึงอาจจะส่งผลให้พฤติกรรมของแรงงานนั้นเปลี่ยนแปลงไป รวมไปถึงการกระตุ้นการท่องเที่ยวยังสามารถลดการเกิดอาชญากรรมได้เช่นกัน


การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลิตภาพแรงงานและค่าจ้างระหว่างภาคของประเทศไทย, สันติ ปะมะโข Jan 2022

การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลิตภาพแรงงานและค่าจ้างระหว่างภาคของประเทศไทย, สันติ ปะมะโข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลิตภาพแรงงานและค่าจ้างระหว่างภาคของประเทศไทย การศึกษาส่วนใหญ่วิเคราะห์เพียงรายประเทศและรายสาขาการผลิตเท่านั้น ประเทศไทยยังขาดการศึกษาในรายภูมิภาค ซึ่งตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิตระหว่างภาค (Multi-Regional Input-Output Table : MRIO) สามารถให้รายละเอียดข้อมูลได้ทั้งรายภูมิภาคและรายสาขาการผลิต แต่เนื่องจากตารางดังกล่าวยังขาดข้อมูลในด้าน “จำนวนแรงงาน” การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อจำแนกข้อมูลผลผลิต จำนวนแรงงาน และค่าจ้าง รายภูมิภาคและรายสาขาการผลิต โดยใช้นิยามจากตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิตระหว่างภาค และแบ่งแรงงานเป็นประเภทมีฝีมือและไร้ฝีมือ สัดส่วนทุนต่อแรงงาน ผลิตภาพแรงงาน และค่าจ้าง 2) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างผลิตภาพแรงงานและค่าจ้าง รายภูมิภาคและรายสาขาการผลิต 3) เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบต่อการจ้างงานรายภูมิภาคและรายสาขาการผลิต หากอุปสงค์ขั้นสุดท้าย (Final Demand) ของประเทศเปลี่ยนแปลงไป ผลการศึกษาพบว่า ภาคตะวันออก โดยเฉพาะสาขาอุตสาหกรรมมีความสัมพันธ์ระหว่างผลิตภาพแรงงานและค่าจ้างสูง ส่วนใหญ่จะมีลักษณะของแรงงานประเภทมีฝีมือสอดรับกับสัดส่วนทุนต่อแรงงาน และเมื่อพิจารณาการเปลี่ยนแปลงอุปสงค์ขั้นสุดท้าย หากอุปสงค์ขั้นสุดท้ายเปลี่ยนแปลงไป จะส่งผลกระทบต่อการจ้างงานสูงใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะสาขาการปศุสัตว์เมื่อวิเคราะห์ความเชื่อมโยงไปข้างหลัง (Backward Linkage) และสาขาการทำไร่มันสำปะหลังเมื่อวิเคราะห์ความเชื่อมโยงไปข้างหน้า (Forward Linkage)


การศึกษารูปแบบของครัวเรือนและผลกระทบที่มีต่ออุปทานแรงงานของครัวเรือนชายรักชายในกรุงเทพมหานคร, อัษศกร แนมแนบ Jan 2022

การศึกษารูปแบบของครัวเรือนและผลกระทบที่มีต่ออุปทานแรงงานของครัวเรือนชายรักชายในกรุงเทพมหานคร, อัษศกร แนมแนบ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยคือ เพื่อศึกษาถึงรูปแบบของครัวเรือนและการจัดสรรทรัพยากรของครัวเรือนชายรักชายในกรุงเทพมหานคร เพื่อศึกษาถึงการเปรียบเทียบรูปแบบของครัวเรือนรักต่างเพศในประเทศไทยและครัวเรือนชายรักชายในประเทศตะวันตก และเพื่อศึกษาผลกระทบของรูปแบบของครัวเรือนชายรักชายที่มีต่ออุปทานแรงงานของครัวเรือนชายรักชายในกรุงเทพมหานคร ด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเชิงเอกสารสำหรับครัวเรือนรักต่างเพศในประเทศไทย และครัวเรือนชายรักชายในประเทศตะวันตก รวมถึงการสัมภาษณ์เชิงลึกสำหรับครัวเรือนชายรักชายในกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้มีการเลือกตัวอย่างด้วยการใช้วิธีแบบเจาะจงและสโนว์บอลจำนวน 26 ครัวเรือน จากผลการวิจัยพบว่า ครัวเรือนชายรักชายในกรุงเทพมหานครมีรูปแบบของครัวเรือนทั้งหมด 5 รูปแบบคือ แบบจำลองอำนาจการต่อรองภายในครัวเรือนแบบให้ความร่วมมือกัน แบบจำลองอำนาจการต่อรองภายในครัวเรือนแบบไม่ให้ความร่วมมือกัน รูปแบบของครัวเรือนเสมือนแบบจำลองครัวเรือนแบบเดี่ยว รูปแบบของครัวเรือนเสมือนแบบจำลองอำนาจการต่อรองภายในครัวเรือนแบบให้ความร่วมมือกัน และรูปแบบของครัวเรือนเสมือนแบบจำลองอำนาจการต่อรองภายในครัวเรือนแบบไม่ให้ความร่วมมือกัน แต่ขณะเดียวกันครัวเรือนชายรักชายในประเทศตะวันตกกลับมีรูปแบบของครัวเรือนเสมือนแบบจำลองอำนาจการต่อรองภายในครัวเรือนแบบไม่ให้ความร่วมมือกัน ส่วนครัวเรือนรักต่างเพศในประเทศไทยมีรูปแบบของครัวเรือน ได้แก่ แบบจำลองครัวเรือนแบบเดี่ยว และรูปแบบของครัวเรือนเสมือนแบบจำลองครัวเรือนแบบเดี่ยว ซึ่งจะเห็นได้ว่ารูปแบบครัวเรือนชายรักชายในประเทศตะวันตกและรูปแบบครัวเรือนรักต่างเพศในประเทศไทยไม่อาจเป็นตัวแทนลักษณะครัวเรือนชายรักชายในกรุงเทพมหานครได้ทั้งหมด นอกจากนี้ผลกระทบของรูปแบบของครัวเรือนชายรักชายที่มีต่ออุปทานแรงงานของครัวเรือนชายรักชายในกรุงเทพมหานครสามารถแสดงให้เห็นได้จากการเปลี่ยนอุปทานแรงงานของครัวเรือนผ่านพลวัตการเปลี่ยนแปลงไปช่วงก่อนและหลังการมีครัวเรือน พลวัตการเปลี่ยนแปลงระหว่างช่วงครัวเรือนที่เพิ่งอยู่ร่วมกันกับครัวเรือนที่อยู่ร่วมกันกับครัวเรือนที่อยู่ร่วมกันในระยะยาว การตัดสินใจประกอบอาชีพของสมาชิกในครัวเรือน และการเลือกปฏิบัติทางเพศของแรงงานครัวเรือนชายรักชาย ทั้งนี้งานวิจัยยังสะท้อนได้อีกว่า แบบจำลองครัวเรือนที่นักเศรษฐศาสตร์ครัวเรือนคิดค้นไม่อาจนำมาใช้ได้กับทุกประเภทของครัวเรือน และทุกสถานที่ตั้งของครัวเรือน


พรรคพลังประชารัฐและการเมืองของการดึงเข้ามาเป็นพวก, จันจิรา ดิษเจริญ Jan 2022

พรรคพลังประชารัฐและการเมืองของการดึงเข้ามาเป็นพวก, จันจิรา ดิษเจริญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาปฏิบัติการกลยุทธ์การดึงเข้ามาเป็นพวกโดยพรรคพลังประชารัฐ ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งภายใต้บริบทการเมืองที่ไม่เป็นประชาธิปไตย คำถามในการศึกษาคือ พรรคพลังประชารัฐดึงนักการเมืองฝ่ายตรงเข้ามาเป็นพวกเพื่อรักษาและสืบทอดระบอบอำนาจนิยม ด้วยกลยุทธ์แบบใด? ใช้เครื่องมือใด? และปฏิบัติการอย่างไร? งานศึกษานี้ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ รวบรวมข้อมูลโดย 1) การสัมภาษณ์เชิงลึกและ 2) การศึกษาเอกสาร และวิเคราะห์ผ่านแนวคิดกลยุทธ์การดึงเข้ามาเป็นพวกของ Maria Josua ข้อค้นพบในการศึกษาคือ บริบทการเมืองที่รัฐบาล คสช. ควบคุมสถาบันรัฐธรรมนูญและกติกาการเมือง สร้างการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม กีดกั้นผู้เห็นต่างและทำให้เป็นผู้แพ้ ใช้ทรัพยากรรัฐเอื้อให้พรรคพลังประชารัฐได้รับความนิยมในการเลือกตั้ง ปูทางให้พรรคพลังประชารัฐรักษาระบอบอำนาจนิยม ด้วยปฏิบัติการดึงเข้ามาเป็นพวกในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562 ของพรรคพลังประชารัฐ ดังนี้ 1) เครือข่ายทางการเมือง 2) ตำแหน่งทางการเมือง 3) เงิน 4) นโยบายและงบประมาณ และ 5) ปัดเป่า/ยัดคดีความ และลงโทษในการเลือกตั้ง กลยุทธ์การดึงเข้ามาเป็นพวกทั้ง 5 ด้าน ทำให้พรรคพลังประชารัฐชนะการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562 และหวนคืนสถานะเป็นรัฐบาลสืบทอดอำนาจ


Digital Nomadism In Southeast Asia: Its Cultural Identities And The New Labor Model, Wenjue Zhong Jan 2022

Digital Nomadism In Southeast Asia: Its Cultural Identities And The New Labor Model, Wenjue Zhong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This thesis examines the cultural identity of digital nomads in Southeast Asia and its impact on their evolving labor model. Employing qualitative interviews and document research, the study investigates the lifestyles of these contemporary nomads. The research reveals a finding: despite roaming abroad, digital nomads maintain a strong connection to their national identity. This intriguing phenomenon demonstrates the persistence of cultural heritage in shaping their self-identity. Unlike traditional global nomads, digital nomads display a more utility-oriented approach, where their nomadic lifestyle is deeply interwoven with their work status. Consequently, digital nomadism emerges as a unique labor model, reflecting the transformative …


The Chinese Association In Thailand And Its Development From 1907 To 1963, Daniel Jiang Jan 2022

The Chinese Association In Thailand And Its Development From 1907 To 1963, Daniel Jiang

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research argues the history of the Chinese Association in Thailand (CAT) is strongly connected to the transformation of self-identity among the pro-Republic of China Thai Chinese. Since the foundation of CAT in 1907 by the Tongmenghui members, the association itself represents the rise of Chinese nationalism amongst ethnic Chinese in Siam. The Chinese nationalism in Thailand was challenged by several major factors during the following periods: first was the rise of Siamese nationalism that clashed with the Chinese nationalism since the reign of Rama VI in the 1910s; second was the anti-Chinese policies during the second World War, as …


Impact Of Digital Marketing On Consumer Hotel Booking Intentions In Phuket Hotels, Lingyu He Jan 2022

Impact Of Digital Marketing On Consumer Hotel Booking Intentions In Phuket Hotels, Lingyu He

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The hotel industry is an industry highly dependent on tourism. The pandemic outbreak has had a huge impact on the global economy, and the tourism industry has also been affected. As the largest tourist area in southern Thailand, Phuket, Thailand has made outstanding contributions to Thailand's GDP and employment rate. Due to the pandemic, many hotels in Phuket closed due to a lack of income resulting from the lack of tourists over the past three years, and there has also been a shift in consumer behavior from offline to online activities. This has resulted in a surge in the number …


Stakeholders Engagement Analysis : A Case Study Of Oceanfront Beach Resort, Ploy Atthapornpisarn Jan 2022

Stakeholders Engagement Analysis : A Case Study Of Oceanfront Beach Resort, Ploy Atthapornpisarn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The Thai tourism sector which is a major contributor to Thailand’s economy was strongly affected by the spread of covid-19. Once the sector was impacted by the pandemic restrictions, obviously a decrease in customers was presented. Even though there are the stimulus packages from the government regulators with an intention to boost up the tourism sector and many hotels change their business to be catering or partner with the hospital and turn their business to be a quarantine place. Many hotels still need to reduce their operation or even shut down to secure the cash flow. All stakeholders of hotel …


Generation Z Consumers’ Behavior On Jones’ Salad’S Online Marketing Communications, Pitchaya Watcharodomprasert Jan 2022

Generation Z Consumers’ Behavior On Jones’ Salad’S Online Marketing Communications, Pitchaya Watcharodomprasert

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objective of this research was to study consumer behavior on Jones’ Salad’s online marketing communications. Two hundred and thirty-eight people who are current customers purchasing Jones’ Salad once a month, exposed to the brand’s online marketing communications in the past three months, and aged between 18 and 25 years old residing in Thailand, were asked to complete online questionnaire survey. The findings in the cognitive part reveal that Jones’ Salad’s online platforms, especially Facebook and Instagram, are significant communication platforms among its Generation Z’s customers. The majority of the samples rely on Jones’ Salad online media for brand information. …


The Chinese Media Narrative Of Thailand As A Tourist Destination After The Legalization Of Cannabis (For Medical Purposes Or Health Concerns), Shuang Deng Jan 2022

The Chinese Media Narrative Of Thailand As A Tourist Destination After The Legalization Of Cannabis (For Medical Purposes Or Health Concerns), Shuang Deng

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Thailand, a world-renowned tourist destination, officially decriminalized cannabis (for medical purposes or health concerns) in June 2022. This policy has aroused widespread international attention and discussion. This study aims to analyze Chinese media narratives on the legalization of cannabis in Thailand and Chinese netizens' attitudes toward this policy. The research uses content analysis to analyze posts of 4 Chinese social media accounts related to Thailand (3 Mainland China, and 1 Thai-Taiwan). Posts about Thailand’s legalization of cannabis on Chinese social media Weibo from Jan 2022 - Oct 2022 are collected. Chinese media mostly adopted a neutral attitude when narrating the …


ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้จุดจูงใจทางเพศ กับอารมณ์ ทัศนคติ และความตั้งใจสมัครสมาชิกของผู้บริโภคของสถานออกกำลังกาย, โกศล สรวมศรี Jan 2022

ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้จุดจูงใจทางเพศ กับอารมณ์ ทัศนคติ และความตั้งใจสมัครสมาชิกของผู้บริโภคของสถานออกกำลังกาย, โกศล สรวมศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงสำรวจในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การรับรู้จุดจูงใจทางเพศ อารมณ์ ทัศนคติ และความตั้งใจสมัครสมาชิกของผู้บริโภคของสถานออกกำลังกาย และ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้จุดจูงใจทางเพศ กับอารมณ์ ทัศนคติ และความตั้งใจสมัครสมาชิกของผู้บริโภคของสถานออกกำลังกาย โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลผ่านช่องทางออนไลน์จากกลุ่มตัวอย่าง อายุระหว่าง 23 – 42 ปี จำนวน 205 คน โดยเป็นผู้ที่มีการออกกำลังกายในฟิตเนสอย่างน้อย 2 ครั้ง ต่อสัปดาห์ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้จุดจูงใจทางเพศ อารมณ์ ทัศนคติ และความตั้งใจสมัครสมาชิกปานกลางค่อนไปทางมาก นอกจากนั้น การรับรู้จุดจูงใจทางเพศยังมีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับอารมณ์ ทัศนคติ และความตั้งใจสมัครสมาชิกของผู้บริโภค กล่าวคือ ยิ่งกลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้จุดจูงใจทางเพศมากเพียงใด ก็จะยิ่งมีอารมณ์ ทัศนคติ และความตั้งใจสมัครสมาชิกในเชิงบวกเช่นเดียวกัน นอกจากนั้น กลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ใช้บริการฟิตเนสเป็นประจำ มีอารมณ์ในเชิงบวกมากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ใช้บริการฟิตเนสเป็นครั้งคราว


ทัศนคติต่อโฆษณาแฝงในเนื้อหาในบริการโอทีทีแบบเก็บค่าสมาชิกการหลีกเลี่ยงโฆษณา การยอมรับด้านสิทธิ และความตั้งใจซื้อของผู้บริโภค, มัควัฒน์ บุญอาจ Jan 2022

ทัศนคติต่อโฆษณาแฝงในเนื้อหาในบริการโอทีทีแบบเก็บค่าสมาชิกการหลีกเลี่ยงโฆษณา การยอมรับด้านสิทธิ และความตั้งใจซื้อของผู้บริโภค, มัควัฒน์ บุญอาจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจการเปิดรับ ทัศนคติต่อโฆษณาแฝงในเนื้อหาในบริการโอทีทีแบบเก็บค่าสมาชิก การหลีกเลี่ยงโฆษณา การยอมรับด้านสิทธิ และความตั้งใจซื้อของผู้บริโภค 2) อธิบายความแตกต่างของทัศนคติต่อโฆษณาแฝงในเนื้อหาในบริการโอทีทีแบบเก็บค่าสมาชิก การหลีกเลี่ยงโฆษณา การยอมรับด้านสิทธิ และความตั้งใจซื้อของผู้บริโภคที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษาแตกต่างกันและ 3) อธิบายอิทธิพลของทัศนคติต่อโฆษณาแฝงในเนื้อหาในบริการโอทีทีแบบเก็บค่าสมาชิก การหลีกเลี่ยงโฆษณา การยอมรับด้านสิทธิ และความตั้งใจซื้อของผู้บริโภค เป็นการวิจัยเชิงปริมาณในรูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์เป็นเครื่องมือเก็บข้อมูล จำนวนรวม 200 คน วิเคราะห์ด้วยสถิติอ้างอิงเพื่อทดสอบความแตกต่างด้วยวิธีวิเคราะห์ t-test และ One Way ANOVA ทดสอบอิทธิพลของตัวแปรด้วยวิธีการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Linear Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างรับชมเนื้อหารายการแบบเก็บค่าสมาชิกด้วยโทรศัพท์สมาร์ทโฟนมากที่สุด มีความถี่ในการรับชมเนื้อหารายการแบบเก็บค่าสมาชิกเฉลี่ย 4 วันต่อสัปดาห์ และในแต่ละวันรับชม 2-3 ชั่วโมง มีทัศนคติโดยรวมต่อโฆษณาแฝงในเนื้อหารายการแบบเก็บค่าสมาชิกอยู่ในระดับปานกลาง มีพฤติกรรมการหลีกเลี่ยงโฆษณาแฝงในเนื้อหารายการแบบเก็บค่าสมาชิกโดยรวมอยู่ในระดับบางครั้ง มีการยอมรับด้านสิทธิของผู้บริโภคโดยรวมต่อโฆษณาแฝงจากการรับชมเนื้อหารายการแบบเก็บค่าสมาชิกอยู่ในระดับมาก และมีความตั้งใจซื้อสินค้าหรือบริการโฆษณาแฝงจากการรับชมเนื้อหารายการแบบเก็บค่าสมาชิกโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ผลการทดสอบสมมติฐานสรุปได้ว่า ผู้บริโภคที่มีเพศและระดับการศึกษาแตกต่างกันมีพฤติกรรมการหลีกเลี่ยงการรับชมโฆษณาแฝงในเนื้อหารายการแบบเก็บค่าสมาชิกแตกต่างกัน และอายุแตกต่างกันมีทัศนคติต่อโฆษณาแฝงในเนื้อหารายการแบบเก็บค่าสมาชิกแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้พบว่า ทัศนคติต่อโฆษณาแฝงในเนื้อหารายการแบบเก็บค่าสมาชิก (β = 0.516) มีอิทธิพลเชิงบวก ในขณะที่พฤติกรรมการหลีกเลี่ยงการรับชมโฆษณาแฝงจากการรับชมเนื้อหารายการแบบเก็บค่าสมาชิก (β = -0.128) มีอิทธิพลเชิงลบต่อการตั้งใจซื้อสินค้าโฆษณาแฝงจากการรับชมเนื้อหารายการแบบเก็บค่าสมาชิก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05