Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social Justice

2022

Institution
Keyword
Publication
Publication Type
File Type

Articles 661 - 669 of 669

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

"If We're Not Loud, We're Not Cared For": Empowerment In Transgender Peoples' Healthcare Experiences, Chase Valiant Jan 2022

"If We're Not Loud, We're Not Cared For": Empowerment In Transgender Peoples' Healthcare Experiences, Chase Valiant

Theses and Dissertations (Comprehensive)

Healthcare plays a crucial role in the health and quality of life of transgender (herein trans) people. The experiences people have when accessing healthcare, can have significant effects on future interactions with the healthcare system as well as individual health outcomes. The purpose of this study was to gather insights into trans peoples’ positive healthcare experiences and health outcomes through the lens of empowerment. Fifteen interviews with trans men and trans women were drawn from a larger study of trans peoples’ experiences of discrimination. Thematic analysis was undertaken to identify key themes in the data. Experiences of empowerment were facilitated …


Adrift In Uncharted Waters: A Case Study Of A Muslim Family Involved With Child Protection Services In Ontario, Bibi Baksh Jan 2022

Adrift In Uncharted Waters: A Case Study Of A Muslim Family Involved With Child Protection Services In Ontario, Bibi Baksh

Theses and Dissertations (Comprehensive)

This dissertation sought to understand how Muslims experience mandated child protection services in Ontario within the Canadian (and specifically, Ontarian) socio-political context. Ongoing experiences of racism, xenophobia, and Islamophobia within systems that intersect with child welfare, including schools and the criminal justice system, have compounding effects on Muslim families who are singled out politically and socially. Drawing from trends in child welfare literature, policy initiatives, and practices that consider the system’s impacts upon racialized peoples, this research contributes to the discourse by highlighting religious diversity as an under-investigated source of discrimination. Set against systemic challenges inherent in the child protection …


การพัฒนาแนวทางการป้องกันกระทำผิดซ้ำในผู้ป่วยนิติจิตเวช, กฤตภาส ไทยวงษ์ Jan 2022

การพัฒนาแนวทางการป้องกันกระทำผิดซ้ำในผู้ป่วยนิติจิตเวช, กฤตภาส ไทยวงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงสภาพปัญหาของการกระทำผิดซ้ำที่เกิดขึ้นโดย ผู้ป่วยนิติจิตเวช อันได้แก่ สาเหตุและปัจจัยที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมการกระทำผิดซ้ำ ตลอดจนปัญหา และอุปสรรคของการป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยนิติจิตเวชกลับมากระทำผิดซ้ำ โดยผู้วิจัยได้ทำการวิจัยเชิง คุณภาพจากทางเอกสารและมีการสัมภาษณ์เชิงลึกในกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ บุคลากรวิชาชีพทางสายสุขภาพจิตสังกัดกรมสุขภาพจิต และบุคลากรวิชาชีพทางสาย สุขภาพจิตสังกัดกรมราชทัณฑ์รวมทั้งสิ้น 7 คน ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัญหาของการกระทำผิดซ้ำในผู้ป่วยจิตเวชมีสาเหตุหลักมาจาก 1) ความเครียด ความกดดัน และความขับข้องใจที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของผู้ป่วย2) การขาดยา เพราะขาดคนช่วยดูแล ตลอดจนคนรอบข้างอย่างครอบครัวหรือชุมชนขาดความรู้ในการดูแลผู้ป่วย จิตเวช 3) การตีตราของผู้คนในชุมชน ส่งผลให้ผู้ป่วยขาดที่พึ่งและถูกกีดกันออกจากสังคมขณะที่ อุปสรรคในการป้องกันอยู่ด้วยกันดังนี้1) ปัญหาด้านยาเสพติด เนื่องจากปัญหาการแพร่ระบาดของ ยาเสพติดที่มีราคาถูกและหาง่าย 2) ปัญหาด้านความรู้ความเข้าใจในเรื่องสุขภาพจิตของประชาชน และ 3) ปัญหาเชิงระบบและโครงสร้าง เพราะการขาดกำลังคนและรอยต่อของระบบการส่งต่อ ระหว่างสถานพยาบาลกับเรือนจำ สำหรับข้อเสนอแนะ ได้แก่ 1) การพัฒนาสถานพยาบาลที่มีความเฉพาะด้าน เพื่อให้เอื้ออำนวยต่อการบำบัดรักษาและครอบคลุมไปถึงการลงโทษตามแนวทางทฤษฎีการลงโทษเพื่อแก้ไขฟื้นฟูตลอดจนเป็นการลดรอยต่อของระบบการส่งต่อผู้ป่วยนิติจิตเวช สถานพยาบาลกับทางเรือนจำ 2) การพัฒนากำลังคน เพื่อช่วยลดภาระงานบางส่วน โดยเฉพาะเมื่อผู้ป่วยหรือผู้เคยต้องขังที่เคยกระทำความผิดต้องกลับสู่ชุมชน ควรมีการส่งเสริมและพัฒนาองค์ความรู้เฉพาะด้านนี้ให้กับบุคคลที่เกี่ยวข้อง


แนวทางการกำกับดูแลการรับมือภัยคุกคามความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ขององค์กรในยุคดิจิทัล, ชรินทร์ทิพย์ ปั้นสุวรรณ Jan 2022

แนวทางการกำกับดูแลการรับมือภัยคุกคามความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ขององค์กรในยุคดิจิทัล, ชรินทร์ทิพย์ ปั้นสุวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์ภัยคุกคามไซเบอร์หน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญทางสารสนเทศด้านสาธารณสุขและสาธารณูปโภค 2) ศึกษาโครงสร้างการกำกับดูแล การขับเคลื่อนการบังคับใช้นโยบายและมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในการบริหารจัดการความเสี่ยง เพื่อสร้างความตระหนักและเฝ้าระวังภัยคุกคามความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และ 3) ศึกษาแนวทางการเตรียมแผนการรับมือภัยคุกคามความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และการกำกับดูแลการบริหารจัดการที่ดีด้านเทคโนโลยีดิจิทัลในองค์กร เพื่อลดความเสี่ยงและป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ในอนาคต การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการศึกษาจากเอกสารและการวิจัยภาคสนามโดยการเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่เป็นผู้ปฏิบัติงานระดับผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ รวมทั้งสิ้นจำนวน 22 คน เพื่ออธิบายถึงลักษณะภัยคุกคามทางไซเบอร์ตลอดจนการกำกับดูแลและรับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์ขององค์กร ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัญหาภัยคุกคามทางไซเบอร์หน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญทางสารสนเทศทั้งในประเทศและต่างประเทศที่กำลังทวีความรุนแรงมากขึ้น ได้แก่ โรงพยาบาล การไฟฟ้า และการประปา ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยและการให้บริการด้านสาธารณสุข ด้านสาธารณูปโภคที่สำคัญของประเทศ รวมไปถึงภาคการเงินการธนาคารและหน่วยงานด้านยุติธรรม 2) หลายหน่วยงานมีความตระหนักรู้ในการริเริ่มจัดทำนโยบาย แนวทางปฏิบัติและจัดลำดับความสำคัญในการบริหารจัดการความเสี่ยง รวมถึงการประเมินความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่องค์กรยอมรับได้ 3) หน่วยงานภาครัฐมีแนวทางที่เหมาะสมในการดำเนินงาน เพื่อลดแรงเสียดทานและความเสี่ยงต่างๆให้น้อยที่สุด อย่างไรก็ตาม ภาครัฐควรให้ความสำคัญและควรปรับปรุงกฎหมายไซเบอร์ให้มีการบังคับใช้และบทลงโทษที่ชัดเจน ด้วยการใช้มาตรการทางกฎหมายอาจไม่ใช่แค่เพื่อแก้ปัญหาด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์เท่านั้น แต่ยังเสริมสร้างความตระหนักรู้และพัฒนาสิทธิรับรู้ข้อมูลข่าวสารในกระบวนการธรรมรัฐไทย


เส้นทางชีวิตของผู้ต้องขังที่กระทำผิดต่อเนื่องในคดีข่มขืนกระทำชำเรา, ปิยพงศ์ แซ่ตั้ง Jan 2022

เส้นทางชีวิตของผู้ต้องขังที่กระทำผิดต่อเนื่องในคดีข่มขืนกระทำชำเรา, ปิยพงศ์ แซ่ตั้ง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจวิถีชีวิต ปัจจัยเสี่ยง แนวทางป้องกันและแก้ไขการกระทำผิดต่อเนื่องในคดีข่มขืนกระทำชำเรา โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพแบบเล่าเรื่องและใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกรายบุคคลผ่านผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 3 แหล่ง ได้แก่ ผู้ต้องขังที่กระทำผิดต่อเนื่องในคดีข่มขืนกระทำชำเรา จำนวน 3 ราย ผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ต้องขังที่กระทำผิดต่อเนื่องในคดีข่มขืนกระทำชำเรา 6 ราย และผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับผู้กระทำผิดในคดีข่มขืนกระทำชำเราต่อเนื่อง จำนวน 15 ราย จากนั้นจึงใช้วิธีการวิเคราะห์แก่นสาระจากเรื่องเล่าโดยใช้โปรแกรมช่วยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ATLAS.ti version 22 ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. วิถีชีวิตของผู้กระทำผิดต่อเนื่องในคดีข่มขืนกระทำชำเรามีลักษณะที่เป็นปัจเจก และผ่านเหตุการณ์ในแต่ละช่วงวัยที่ทำให้เกิดความเปราะบางทางบุคลิกภาพ ได้แก่ การเผชิญกับเหตุการณ์เลวร้ายในวัยเด็ก การหลุดออกจากระบบการศึกษา ข้อจำกัดด้านทางเลือกในการประกอบอาชีพ ปัญหาการสร้างสัมพันธภาพทางสังคม และผ่านกระบวนการเรียนรู้ทางสังคมจนเกิดพฤติกรรมการข่มขืนต่อเนื่อง 2. ปัจจัยเสี่ยงที่นำไปสู่พฤติกรรมข่มขืนกระทำชำเราต่อเนื่องแบ่งเป็นสองส่วน ได้แก่ ปัจจัยภายใน (แรงกดดันที่นำไปสู่การข่มขืนกระทำชำเรา การขาดความผูกพันทางสังคม ความคิดที่ส่งเสริมการข่มขืนกระทำชำเรา การพัฒนาวิถีชีวิตแบบต่อต้านสังคม ความสนใจทางเพศที่ผิดปกติ และความผิดปกติทางบุคลิกภาพ) และปัจจัยภายนอก (โอกาสที่เอื้อต่อการข่มขืนกระทำชำเรา การดื่มสุราและเสพสารเสพติด การคบค้าสมาคมที่แตกต่างและพฤติกรรมข่มขืนกระทำชำเรา สื่อลามกและสื่อที่มีเนื้อหากระตุ้นเรื่องเพศ ค่านิยมที่เอื้อต่อการข่มขืนกระทำชำเรา) 3. การป้องกันพฤติกรรมข่มขืนกระทำชำเราต่อเนื่องจำเป็นต้องเริ่มจากการลดปัจจัยเสี่ยงจากสิ่งแวดล้อมภายในครอบครัว การสร้างและทำให้เด็กคงอยู่ในระบบการศึกษาที่ปลอดภัย การสร้างระบบป้องกันปัญหาสุขภาพจิตและความผิดปกติทางบุคลิกภาพ การให้ความสำคัญกับกระบวนการกลับสู่สังคมสำหรับผู้กระทำผิดที่พ้นโทษ การสร้างความตระหนักทางสังคมเพื่อลดความเสี่ยงต่อการกระทำผิดและการตกเป็นเหยื่อ และการเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการยุติธรรม ส่วนแนวทางการแก้ไขพฤติกรรมข่มขืนกระทำชำเราต่อเนื่อง ประกอบด้วย การปรับกระบวนทัศน์ที่เน้นการฟื้นฟูผู้กระทำผิด การพัฒนาระบบจำแนกประเภทผู้กระทำผิด การพัฒนาการบำบัดฟื้นฟูผู้กระทำผิด การพัฒนากระบวนการกลับสู่สังคมสำหรับผู้กระทำผิดที่พ้นโทษ การสร้างกลไกการเฝ้าระวังเพื่อป้องกันการกระทำผิดซ้ำ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้เหยื่ออาชญากรรมทางเพศ


ผู้ก่อการร้ายหญิง : ปัญหาและแนวทางการแก้ไข, พิมพ์ชนก จันทบูรณ์ Jan 2022

ผู้ก่อการร้ายหญิง : ปัญหาและแนวทางการแก้ไข, พิมพ์ชนก จันทบูรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่อง ผู้ก่อการร้ายหญิง : ปัญหาและแนวทางการแก้ไข เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามูลเหตุ จูงใจ บทบาท และกระบวนการในการที่ผู้หญิงเข้าไปมีส่วนร่วมในการก่อการร้าย ตลอดจนแสวงหาแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหา ผลจากการวิจัยพบว่า มูลเหตุจูงใจในการก่อการร้ายของผู้หญิงสามารถแบ่งเป็นสองส่วนหลัก ได้แก่ ส่วนที่เป็นปัจจัยดึงดูด อันเป็นปัจจัยจากฝั่งกลุ่มก่อการร้าย ได้แก่ กระบวนการชักชวนและจัดหาที่มีประสิทธิภาพ ประกอบกับความมีบารมีและความดึงดูดของผู้นำกลุ่มก่อการร้ายและส่วนที่เป็นปัจจัยผลักดัน อันเป็นปัจจัยที่มาจากแรงกระตุ้นของฝั่งผู้หญิงเอง ได้แก่ อารมณ์ส่วนตัว ศาสนา และการเมือง จนนำไปสู่การเข้าสู่กระบวนการโดยสมัครใจเพื่อไปมีส่วนร่วมในการก่อการร้าย โดยในต่างประเทศผู้หญิงมีทั้งบทบาทหลักในการก่อเหตุ และบทบาทสนับสนุน อาทิ การทำหน้าที่เป็นแม่ ภรรยา และจัดหาสมาชิก เป็นต้น ซึ่งมักถูกชักจูงผ่านช่องทางออนไลน์เป็นหลัก ขณะที่บางส่วนที่ไม่สมัครใจก็จะตกเป็นเหยื่อเพื่อแสวงประโยชน์ของกลุ่มก่อการร้าย ในส่วนของประเทศไทยนั้น การก่อการร้ายถูกชี้นำไปในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งผู้หญิงจะมีบทบาทในการสนับสนุนกลุ่มก่อความไม่สงบ อาทิ การทำหน้าที่ปฐมพยาบาล และการหารายได้ เป็นต้น โดยถูกชักจูงจากคนในครอบครัวและคนใกล้ตัว ประกอบกับการซึมซับข้อมูลและเรื่องเล่าต่าง ๆ ผ่านประสบการณ์จากการอาศัยอยู่ในพื้นที่เป็นเวลานาน และเนื่องจากผู้หญิงเข้าไปมีส่วนร่วมในการก่อการร้ายในบทบาทต่าง ๆ อันเป็นฟันเฟืองหนึ่งที่ขับเคลื่อนให้เกิดการก่อการร้ายในหลายพื้นที่ทั่วโลก ประชาคมระหว่างประเทศรวมทั้งประเทศไทยจึงได้มีการกำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องในการต่อต้านการก่อการร้ายทั้งในภาพรวมและในมิติของผู้หญิงในการก่อการร้ายเป็นการเฉพาะ อย่างไรก็ดี ยังพบว่าหลายประเทศทั่วโลกยังคงเผชิญกับภัยคุกคามจากการก่อการร้ายจวบจนปัจจุบัน เช่นเดียวกับประเทศไทยที่ปัญหาการก่อความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังคงดำเนินต่อเนื่องเรื่อยมาหลายทศวรรษ ผู้วิจัยจึงได้เสนอแนะให้มีการปรับปรุงนโยบาย การเพิ่มมาตรการป้องกันในระดับปฏิบัติ ตลอดจนการนำทฤษฎีทางอาชญาวิทยาและแนวทางการป้องกันจากต่างประเทศที่ได้ศึกษาไว้ มาเป็นกรอบในการจัดทำแนวทางในการป้องกันและแก้ไขทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการที่สอดคล้องกับบริบทของไทย


การฟอกเขียวด้วยการซื้อขายคาร์บอนเครดิตในประเทศไทย, วนัสนันท์ กันทะวงศ์ Jan 2022

การฟอกเขียวด้วยการซื้อขายคาร์บอนเครดิตในประเทศไทย, วนัสนันท์ กันทะวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการฟอกเขียวด้วยการซื้อขายคาร์บอนเครดิต ศึกษาความสัมพันธ์ของการฟอกเขียวด้วยการซื้อขายคาร์บอนเครดิต และศึกษาทัศนคติของประชาชนเกี่ยวกับการฟอกเขียวด้วยการซื้อขายคาร์บอนเครดิต เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed method) การวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม โดยวิธีการเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน ในจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ กรุงเทพมหานคร สมุทรสาคร ตราด และสุราษฎร์ธานี และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิจัยเชิงเอกสาร 10 ปีย้อนหลัง พ.ศ. 2556 - 2566 และใช้เทคนิคการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 15 คน ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับคาร์บอนเครดิต นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญ องค์กรไม่แสวงหากำไร ผลการศึกษาพบว่า การซื้อขายคาร์บอนเครดิตสามารถบรรเทาปัญหาภาวะโลกร้อน ก่อให้เกิดโครงการเพื่อสิ่งแวดล้อม และนำไปสู่การลงทุนรูปแบบใหม่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้การซื้อขายคาร์บอนเครดิตไม่ได้เป็นอาชญากรรมในตัวเอง หากแต่มีการใช้เป็นเครื่องมือกระทำความผิดและนำไปสู่การฟอกเขียว การฟอกเขียวด้วยการซื้อขายคาร์บอนเครดิต ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ 1) ผู้กระทำ 2) กิจกรรมการฟอกเขียว 3) ฟอกเขียวด้วยกลไกคาร์บอน 4) เป้าหมาย 5) ผลกระทบ 6) กระทำด้วยเจตนา โดยผู้กระทำการฟอกเขียว ประกอบด้วย 1) บุคคลธรรมดา มีลักษณะอาชญากรคอปกขาว 2) นิติบุคคล มีลักษณะอาชญากรรมที่กระทำโดยบริษัทหรือธุรกิจองค์กร 3) รัฐ ที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุจากความประมาทจากการประกาศนโยบายของรัฐ หรือการดำเนินการผิดพลาดที่นำไปสู่การทุจริตคอร์รัปชัน การฟอกเขียวด้วยการซื้อขายคาร์บอนเครดิตสามารถเกิดใน 3 รูปแบบ ได้แก่ การใช้ช่องโหว่ของกระบวนการซื้อขายคาร์บอนเครดิต การพึ่งพาการชดเชยมากเกินไป และการใช้กลไกการทำธุรกรรมของกลไกคาร์บอน ความสัมพันธ์ของการฟอกเขียวด้วยการซื้อขายคาร์บอนเครดิต จำแนกเป็น 2 ลักษณะคือ การซื้อขายคาร์บอนเครดิตช่วยบรรเทาปัญหาภาวะโลกร้อน และการซื้อขายคาร์บอนเครดิตนำไปสู่ปัญหาสังคม 2 ลักษณะ ได้แก่ เป็นเครื่องมือการฟอกเขียว และ ก่อให้เกิดอาชญากรรมรูปแบบใหม่ในลักษณะห่วงโซ่อาชญากรรม ได้แก่ การฉ้อโกงประชาชน อาชญากรรมสิ่งแวดล้อม อาชญากรรมคอปกขาว อาชญากรรมทางเศรษฐกิจ อาชญากรรมไซเบอร์ การฉ้อโกงภาษี และการฟอกเงิน จากการศึกษาทัศนคติของประชาชนเกี่ยวกับการฟอกเขียวด้วยการซื้อขายคาร์บอนเครดิตปรากฎว่า มีความสัมพันธ์กับการบรรเทาปัญหาภาวะโลกร้อน โครงการเพื่อสิ่งแวดล้อม และการลงทุนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในระดับน้อย มีความสัมพันธ์กับไม่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก …


วาทกรรมสิทธิทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับลิขสิทธิ์กับงานยุติธรรมทางอาญาในสังคมไทย, สุวิทย์ รัตนสุคนธ์ Jan 2022

วาทกรรมสิทธิทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับลิขสิทธิ์กับงานยุติธรรมทางอาญาในสังคมไทย, สุวิทย์ รัตนสุคนธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบต่างๆ ที่ทำให้เกิดการการประกอบสร้างอัตลักษณ์ตัวตนจนลิขสิทธิ์กลายมาเป็นสิทธิผูกขาดจนสามารถนำเอามาตรการทางอาญามาปรับใช้กับผู้ละเมิดสิทธิผูกขาดนี้ได้อย่างกลมกลืน ตลอดจนศึกษาองค์ความรู้ด้านอื่นๆ ที่อาจนำมาใช้เพื่อสร้างดุลยภาพในการคุ้มครองลิขสิทธิ์และลดความเป็นอาชญากรรมจากการคุ้มครองลิขสิทธิ์ในสังคมไทยลง โดยใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพจากการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) การศึกษาและวิเคราะห์วาทกรรม (Discourse Studies and Discourse Analysis) โดยเปรียบเทียบกับข้อมูลเชิงประจักษ์จากกรณีศึกษา ผลการศึกษาพบว่า ความเป็นอาชญากรรมที่เกิดขึ้นจากการคุ้มครองลิขสิทธิ์เป็นผลมาจากแนวคิดสิทธิผูกขาดแห่งลิขสิทธิ์ของประเทศตะวันตกที่ไหลหลากเข้าสู่สังคมไทยเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการแสวงหาประโยชน์ทางเศรษฐกิจในยุคทุนนิยมและบริโภคนิยม สังคมไทยได้ยอมรับนับให้ลิขสิทธิ์ซึ่งเกิดจากภูมิปัญญาของมนุษย์มีค่าเหนือกว่าทรัพย์สินที่เกิดขึ้นตามธรรมชาตินำไปสู่การประกอบสร้างวาทกรรมความเป็นอัตลักษณ์ตัวตนและความสำคัญให้เกิดขึ้น การกระทำใดๆ อันเป็นการล่วงละเมิดสิทธิผูกขาดนี้เป็นการกระทำที่สังคมไม่อาจยอมรับได้ นำไปสู่การนำมาตรการทางอาญามาปรับใช้กับผู้ล่วงละเมิดจนเกิดความเป็นอาชญากรรมอย่างล้นหลามขึ้นในสังคมไทย การเกิดวาทกรรมนี้อาศัยบริบท ปรากฏการณ์ต่างๆ ในสังคมโลกและในสังคมไทย กอปรกับการประกอบสร้างจากมนุษย์โดยตรง ด้วยการใช้มาตรการทางอาญาสร้างความรุนแรง การสร้างความเป็นอื่น การปิดฉลากตีตรา การทำลายผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากละเมิด การสร้างความชอบธรรมจากเหตุผลกระตุ้นการสร้างสรรค์และความเจริญทางเศรษฐกิจ ส่วนการกำหนดสร้างนิยามความหมายใหม่ซึ่งเป็นผลจากการแสดงปฏิกริยาตอบโต้ แข็งขืนของผู้ยึดถือวาทกรรมรองนำไปสู่กระบวนการรื้อสร้างใหม่ เพื่อตีแผ่ ขุดคุ้ยเอาสารัตถะองค์ความรู้ ความจริงที่แฝงฝัง ลืมเลือนอยู่ในสังคมไทยในด้านเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยีการสื่อสารและกติกาสากลออกมาให้ปรากฏ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการช่วยสร้างความสอดคล้องกับสังคมไทย สร้างความสมดุลและช่วยลดความเป็นอาชญากรรมที่เกิดขึ้นจากการคุ้มครองลิขสิทธิ์ในสังคมไทย


Suffering To Save Lives: Torture, Cruelty, And Moral Disengagement In Australia’S Offshore Detention Centres, Jamal Barnes Jan 2022

Suffering To Save Lives: Torture, Cruelty, And Moral Disengagement In Australia’S Offshore Detention Centres, Jamal Barnes

Research outputs 2022 to 2026

Since Australia re-established offshore processing on Manus Island and Nauru in 2012, there have been ongoing reports that asylum seekers and refugees are being subjected to torture and cruel, inhuman or degrading treatment or punishment (CIDT). People in detention have endured indefinite detention, inadequate provision of health care, and sexual, physical, and mental harm as the government attempts to ‘stop the boats’ and prevent deaths at sea. How can Australia continue to violate the UN Convention against Torture and Other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment, while at the same time, promote its offshore detention policies worldwide? This article …