Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Public Affairs, Public Policy and Public Administration

PDF

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

2019

Articles 1 - 30 of 52

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการเครื่องเช็คอินอัตโนมัติ (Cuss : Common Use Self Service) ของผู้โดยสารคนไทยที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ, ณัฐสิทธิ์ สุทธิสมบูรณ์ Jan 2019

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการเครื่องเช็คอินอัตโนมัติ (Cuss : Common Use Self Service) ของผู้โดยสารคนไทยที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ, ณัฐสิทธิ์ สุทธิสมบูรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ปัจจัยทางด้านประชากรศาสตร์ ปัจจัยการรับรู้ความเสี่ยง และปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการเครื่องเช็คอินอัตโนมัติ ของผู้โดยสารคนไทยที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้โดยสารชาวไทยที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จำนวน 100 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มแบบโควตา และแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มตัวอย่างที่เคยใช้เครื่องเช็คอินอัตโนมัติ 50 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เคยใช้เครื่องเช็คอินอัตโนมัติ 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 1) สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าจำนวน ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย 2) สถิติเชิงอนุมาน ประกอบด้วย การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่เป็นอิสระจากกัน (Independent Sample t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 25 – 30 ปี สถานภาพโสด มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้ต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท และส่วนใหญ่นิยมเช็คอินที่เคาน์เตอร์เช็คอินของสายการบิน ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่าปัจจัยประชากรศาสตร์ ด้านอายุ ระดับการศึกษา และรายได้ที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการเครื่องเช็คอินอัตโนมัติของผู้โดยสารคนไทยที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.10 และปัจจัยด้านการรับรู้ความเสี่ยงไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการเครื่องเช็คอินอัตโนมัติของผู้โดยสารคนไทยที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ นอกจากนี้ยังพบว่า ปัจจัยด้านการยอมรับการใช้เทคโนโลยีส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการเครื่องเช็คอินอัตโนมัติของผู้โดยสารคนไทยที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.10


พฤติกรรมและทัศนคติต่อการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Payment) และต่อระบบภาษี ของผู้ประกอบอาชีพในเศรษฐกิจนอกระบบ กรณีศึกษา ผู้ประกอบการออนไลน์, ชญานิน แก้วหาญ Jan 2019

พฤติกรรมและทัศนคติต่อการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Payment) และต่อระบบภาษี ของผู้ประกอบอาชีพในเศรษฐกิจนอกระบบ กรณีศึกษา ผู้ประกอบการออนไลน์, ชญานิน แก้วหาญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมและทัศนคติต่อ (1) การใช้งานระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) (2) การชำระภาษี ของผู้ประกอบการออนไลน์ที่อยู่ในเศรษฐกิจนอกภาคทางการ และ (3) เพื่อศึกษาความเชื่อมโยงระหว่างทั้งสองส่วนข้างต้น โดยมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้ประกอบการออนไลน์ที่อยู่ในเศรษฐกิจนอกระบบ จำนวน 10 ราย เก็บข้อมูลผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึกโดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง โดยจำแนกเนื้อหาในการเก็บข้อมูลตามคำถามในการวิจัยและทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้แนวคิดทฤษฎีตามกรอบแนวคิดมาเชื่อมโยงความสัมพันธ์เพื่อตอบคำถามของงานวิจัยดังกล่าว ผลการศึกษาพบว่า (1) ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีพฤติกรรมและทัศนคติต่อการใช้งาน e-Payment ที่เป็นไปตามความยอมรับและตั้งใจใช้งานเทคโนโลยี จากการเห็นประโยชน์ คุณค่า มีความคุ้นชินในการใช้งาน รวมถึงความมีอิทธิพลของสังคมที่ส่งผลให้ผู้ประกอบการใช้งาน ในส่วนของผู้ที่ไม่มีประสบการณ์ในการใช้งาน พบว่าเกิดจากความไม่รู้เทคโนโลยีและวิธีการใช้งาน (2) ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่มีประสบการณ์ในการยื่นแสดงรายได้จากกิจการออนไลน์ เนื่องด้วยรายได้ยังไม่เข้าข่ายที่จะต้องชำระภาษี และความไม่เชื่อมั่นถึงประโยชน์จากการนำเงินภาษีไปใช้ ส่วนรายที่มีประสบการณ์ในการแจ้งยื่นรายได้เนื่องด้วยเหตุผลที่ต้องการทำตามกฎหมายให้ถูกต้องและเกรงกลัวต่อโทษปรับ (3) ผู้ประกอบการที่มีแนวโน้มจะเข้าสู่ระบบภาษี เป็นผู้ประกอบการที่กิจการเติบโตในระดับหนึ่ง มีรายได้ที่เข้าข่ายจะต้องชำระภาษี และต้องการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับกิจการ กลุ่มนี้มีพฤติกรรมและทัศนติต่อการใช้งาน e-Payment ที่ดีและพร้อมเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีหรือใช้ e-Payment ที่อาจเชื่อมโยงไปสู่การชำระภาษี (4) ผู้ประกอบการที่ยังไม่มีแนวโน้มจะเข้าสู่ระบบ แม้ว่าจะมีพฤติกรรมเชิงบวกต่อการใช้ e-Payment แต่ด้วยเหตุผลที่รายได้ยังไม่เข้าข่ายต้องเสียภาษี จึงไม่มีความพร้อมใช้เทคโนโลยีหรือใช้ระบบ e-Payment ที่อาจเชื่อมโยงไปสู่การชำระภาษี เนื่องจากมองว่าเป็นภาระต้นทุนเพิ่มในการศึกษาและการใช้งาน


ประสิทธิผลการตรวจราชการของนายกรัฐมนตรีและการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ของรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในช่วงปี พ.ศ. 2557 - 2562, ปัฐญา วีระไวทยะ Jan 2019

ประสิทธิผลการตรวจราชการของนายกรัฐมนตรีและการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ของรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในช่วงปี พ.ศ. 2557 - 2562, ปัฐญา วีระไวทยะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยเรื่อง “ประสิทธิผลการตรวจราชการของนายกรัฐมนตรีและการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ของรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในช่วงปี พ.ศ. 2557 - 2562” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานโยบายของรัฐบาล การนำนโยบายไปปฏิบัติ รวมถึงประสิทธิผลผ่านการตรวจราชการและการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ เนื่องจากรัฐบาลมีเป้าหมายที่จะผลักดันนโยบายต่าง ๆ ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ และได้กำหนดแนวนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดินตามคำแถลงนโยบายที่แถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยการลงพื้นที่ตรวจราชการและการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่เป็นวิธีหนึ่งในการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาล ผลการศึกษาพบว่า ในการตรวจราชการและการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ตลอดรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (กันยายน พ.ศ. 2557 - พฤษภาคม พ.ศ. 2562) รัฐบาลให้ความสำคัญกับการเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศมากที่สุด เพราะเกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน โดยเน้นด้านการเกษตรและพัฒนาอุตสาหกรรมเป็นหลัก นอกจากนี้ รัฐบาลให้ความสำคัญกับการรักษาความมั่นคงของฐานทรัพยากร และการสร้างสมดุลระหว่างการอนุรักษ์กับการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน และการศึกษาและเรียนรู้ การทะนุบำรุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม ตามลำดับ โดยมีจังหวัดเป็นผู้ขับเคลื่อนนโยบายที่สำคัญในระดับพื้นที่ เพราะมีความเข้าใจในบริบทของสภาพแวดล้อม ใกล้ชิดและรับรู้ความต้องการของประชาชน ตลอดจนสิ่งที่จังหวัดต้องการขับเคลื่อนนโยบายหรือพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งการนำนโยบายไปปฏิบัติเริ่มต้นจากการที่นายกรัฐมนตรีมีข้อสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและจังหวัดนำนโยบายหรือข้อสั่งการไปปฏิบัติ โดยเน้นการดำเนินงานแบบบูรณาการร่วมกัน อย่างไรก็ตาม เมื่อนำนโยบายมาปฏิบัติจริงในพื้นที่พบว่า จังหวัดอาจมีข้อจำกัดด้านงบประมาณ บุคลากร และการดำเนินงานร่วมกันของหลายหน่วยงาน สำหรับประสิทธิผลของการตรวจราชการและการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่พบว่า บางข้อสั่งการสามารถนำไปปฏิบัติจนเป็นรูปธรรม อยู่ระหว่างการดำเนินงาน และบางข้อสั่งการมีข้อจำกัดจึงไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร นอกจากนี้ การสั่งการของนายกรัฐมนตรีจะต้องพิจารณาถึงความเป็นไปได้ในการนำนโยบายไปปฏิบัติในพื้นที่ เนื่องจากแต่ละจังหวัดมีบริบทและสภาพสังคมแตกต่างกัน รวมทั้งรัฐบาลต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาพื้นที่ และรัฐบาลควรเพิ่มการติดตามผลการนำข้อสั่งการไปปฏิบัติ เพื่อให้การตรวจราชการและการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่มีประสิทธิผลและเกิดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรมมากที่สุด


ระดับความพึงพอใจต่อการรายงานข่าวสารแบบ Real Time โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และแนวทางบริหารจัดการภาครัฐด้านการรายงานข่าวสารแบบ Real Time โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 : กรณีศึกษา ศูนย์สารสนเทศ กรมควบคุมโรค, สุทธิภา เฉลิมพักตร์ Jan 2019

ระดับความพึงพอใจต่อการรายงานข่าวสารแบบ Real Time โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และแนวทางบริหารจัดการภาครัฐด้านการรายงานข่าวสารแบบ Real Time โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 : กรณีศึกษา ศูนย์สารสนเทศ กรมควบคุมโรค, สุทธิภา เฉลิมพักตร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยเรื่อง ระดับความพึงพอใจต่อการรายงานข่าวสารแบบเรียลไทม์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และแนวทางบริหารจัดการภาครัฐด้านการรายงานข่าวสารโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กรณีศึกษา ศูนย์สารสนเทศ กรมควบคุมโรค เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิจัยเชิงปริมาณโดยศึกษาระดับความพึงพอใจด้านรูปแบบเนื้อหาการรายงานข่าวสาร ด้านการบริหารจัดการข้อมูลข่าวสาร และด้านนำมาใช้ประโยชน์ของประชาชน การวิจัยเชิงคุณภาพโดยศึกษาหลักการแนวทางบริหารจัดการภาครัฐและปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับแนวทางบริหารจัดการข่าวสารแบบเรียลไทม์โรคไวรัสโคโรนา 2019 ผลการศึกษาเชิงปริมาณพบว่า ประชาชนมีความพึงพอใจด้านรูปแบบเนื้อหาการรายงานข่าวสาร ด้านการบริหารจัดการ ด้านการใช้ประโยชน์จากการรายงานข่าวสารแบบเรียลไทม์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยประชาชนพึงพอใจในการนำเสนอข้อมูลแบบเรียลไทม์ทำให้สังคมไทยมีความตื่นตัวและตระหนักในการป้องกันโรคอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนแนวทางการบริหารจัดการภาครัฐด้านการรายงานข่าวสารแบบเรียลไทม์โรคไวรัสโคโรนา 2019 มีแนวทางการบริหารงานที่เป็นไปตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 และพระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล 2562 เน้นความถูกต้อง โปร่งใส โดยมีหลักในการดำเนินงานในด้านข้อมูลข่าวสารคือกระบวนการจัดระบบข้อมูลข่าวสาร และการบริการข้อมูลข่าวสารในรูปแบบทันสมัย หลากหลายช่องทาง ทันสถานการณ์ในปัจจุบัน และสามารถรองรับการพัฒนาในยุคโลกาภิวัตน์


ความสอดคล้องระหว่างการรับรู้วัฒนธรรมองค์การกับวัฒนธรรมปัจเจกบุคคล ศึกษากรณีสถาบันพยาธิวิทยา ศูนย์อำนวยการแพทย์พระมงกุฎเกล้า, อวิกา โหละสุต Jan 2019

ความสอดคล้องระหว่างการรับรู้วัฒนธรรมองค์การกับวัฒนธรรมปัจเจกบุคคล ศึกษากรณีสถาบันพยาธิวิทยา ศูนย์อำนวยการแพทย์พระมงกุฎเกล้า, อวิกา โหละสุต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาการรับรู้รูปแบบวัฒนธรรมองค์การและวัฒนธรรมปัจเจกบุคคลของข้าราชการลูกจ้างสถาบันพยาธิวิทยา ศูนย์อำนวยการแพทย์พระมงกุฎเกล้า โดยทำการศึกษาวัฒนธรรม 3 ระดับ ได้แก่ กองทัพบก, สถาบันพยาธิวิทยา และปัจเจกบุคคล รวมถึงศึกษาความสอดคล้องระหว่างวัฒนธรรมองค์การกับวัฒนธรรมปัจเจกบุคคล โดยอาศัยทฤษฎีแบบแผนวัฒนธรรมที่เหมาะสมของ ชาร์ลส์ แฮนดี เป็นฐานในการศึกษา ผู้วิจัยดำเนินการวิจัยโดยใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ (แบบสอบถาม) จำนวน 135 คน ควบคู่กับการใช้วิธีศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (สัมภาษณ์เชิงลึก) จำนวน 7 คน โดยอาศัยวิธีการวิเคราะห์ตามหลักทฤษฎีแบบแผนทางวัฒนธรรมที่เหมาะสมของชาร์ลส์ แฮนดี และใช้สถิติทดสอบ Nonparametric แบบ Wilcoxon (Wilcoxon Matched Pairs Signed-Ranks Test) ในการหาความสอดคล้องของวัฒนธรรม สำหรับความแตกต่างด้านชั้นยศพบว่าไม่มีผลต่อการรับรู้รูปแบบวัฒนธรรมของข้าราชการและลูกจ้างสถาบันพยาธิวิทยา ผลการวิจัยพบว่าการรับรู้รูปแบบวัฒนธรรมองค์การของกองทัพบก และสถาบันพยาธิวิทยาเป็นแบบเน้นบทบาท (อพอลโล) ส่วนรูปแบบวัฒนธรรมปัจเจกบุคคลเป็นแบบเน้นงาน(ดิออนีซุส) ดังนั้นรูปแบบวัฒนธรรมองค์การของกองทัพบกและสถาบันพยาธิวิทยามีความสอดคล้องกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แต่สำหรับรูปแบบวัฒนธรรมองค์การของกองทัพบก, สถาบันพยาธิวิทยาและวัฒนธรรมปัจเจกบุคคลในภาพรวมไม่สอดคล้องกัน เมื่อแยกพิจารณาตามกลุ่มวิชาชีพพบว่ากลุ่มวิชาชีพแพทย์/พยาบาลและกลุ่มสนับสนุนทางการแพทย์มีรูปแบบวัฒนธรรมแบบเน้นงาน ส่วนกลุ่มสนับสนุนทางธุรการเป็นแบบเน้นบทบาท สำหรับชั้นยศที่แตกต่างกันไม่มีผลต่อการรับรู้รูปแบบวัฒนธรรมของข้าราชการลูกจ้างสถาบันพยาธิวิทยา


การประเมินผลโครงการฝึกอบรม : กรณีศึกษา หลักสูตรการพัฒนาข้าราชการบรรจุใหม่ กรมศุลกากร, ปทิดา พิพัฒน์ Jan 2019

การประเมินผลโครงการฝึกอบรม : กรณีศึกษา หลักสูตรการพัฒนาข้าราชการบรรจุใหม่ กรมศุลกากร, ปทิดา พิพัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลโครงการฝึกอบรม : กรณีศึกษา หลักสูตรการพัฒนาข้าราชการบรรจุใหม่ กรมศุลกากร ตามแบบจำลองซิปป์ (CIPP Model) ในด้านสภาวะแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า และด้านกระบวนการ ที่มีอิทธิพลต่อด้านผลผลิตของโครงการฝึกอบรม โดยกำหนดรูปแบบการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ผู้วิจัยดำเนินการเก็บข้อมูลเพื่อสอบถามความคิดเห็นของผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรการพัฒนาข้าราชการบรรจุใหม่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 กรมศุลกากร จำนวน 245 คน ตอบแบบสอบถามกลับมาจำนวน 235 คน คิดเป็นร้อยละ 95.92 ซึ่งผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอบค่า t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์และการถดถอย โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่มีเพศ อายุ และระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน มีระดับผลผลิตของโครงการฝึกอบรมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในขณะที่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่มีประสบการณ์ทำงานที่ผ่านมาแตกต่างกัน ระดับผลผลิตของโครงการฝึกอบรมไม่แตกต่างกัน และการทดสอบความสัมพันธ์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อด้านผลผลิตของโครงการ พบว่า ปัจจัยด้านกระบวนการ (Beta = 0.579) ปัจจัยด้านปัจจัยนำเข้า (Beta = 0.200) และปัจจัยด้านสภาวะแวดล้อม (Beta = 0.188) มีอิทธิพลในทิศทางบวกต่อผลผลิตของโครงการฝึกอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


แนวทางการส่งเสริมการจัดทำงบประมาณโดยคำนึงถึงมิติหญิงชายของสำนักงบประมาณ, ศนิ อรัณยะพันธุ์ Jan 2019

แนวทางการส่งเสริมการจัดทำงบประมาณโดยคำนึงถึงมิติหญิงชายของสำนักงบประมาณ, ศนิ อรัณยะพันธุ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมการจัดทำงบประมาณ โดยคำนึงถึงมิติหญิงชาย (Gender Responsive Budgeting : GRB) ของสำนักงบประมาณ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีภารกิจในการจัดทำงบประมาณของประเทศไทย ในการศึกษาวิจัย ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสารงบประมาณ การสัมภาษณ์บุคลากรจากกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับข้าราชการสำนักงบประมาณตั้งแต่ระดับปฏิบัติการไปจนถึงระดับอำนวยการสูง จำนวน 11 คน ประกอบด้วยบุคลากรที่เกี่ยวข้องในกระบวนการจัดทำงบประมาณ 3 ด้าน คือ ด้านการวางแผนงบประมาณ ด้านการจัดทำงบประมาณ และด้านการติดตามและประเมินผลผลการวิจัยพบว่า สำนักงบประมาณได้รับการผลักดันเชิงนโยบายในการส่งเสริมการจัดทำงบประมาณโดยคำนึงถึงมิติหญิงชาย โดยอยู่ระหว่างการพัฒนาความร่วมมือระหว่างกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในการร่วมกันปรับปรุงแนวทางการจัดทำงบประมาณที่คำนึงถึงมิติหญิงชาย และข้อมูลจำแนกเพศ สำหรับผลการวิจัยด้านทัศนคติพบว่า ข้าราชการสำนักงบประมาณมีทัศนคติเกี่ยวกับความเสมอภาคตามแนวคิดเสรีนิยม (Liberalism) ที่มองว่าหญิงและชายต่างสามารถแข่งขันกันเพื่อความสำเร็จทางสังคม ซึ่งมีความแตกต่างจากแนวคิดความเสมอภาคในการจัดทำงบประมาณโดยคำนึงถึงมิติหญิงชาย ที่เน้นการสร้างโอกาสให้กับผู้ด้อยโอกาสในมิติเพศภาวะ ดังนั้นผู้วิจัยจึงเสนอแนวทางการส่งเสริมการจัดทำงบประมาณโดยคำนึงถึงมิติหญิงชายของสำนักงบประมาณโดยดำเนินโครงการนำร่องที่นำแนวคิด GRB มาใช้ในการจัดทำงบประมาณ


รูปแบบโรงเรียนที่เหมาะสมกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี, กนกวรรณ รุ้งตาล Jan 2019

รูปแบบโรงเรียนที่เหมาะสมกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี, กนกวรรณ รุ้งตาล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่อง “รูปแบบโรงเรียนที่เหมาะสมกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสอดคล้องระหว่างยุทธศาสตร์ชาติกับการบริหารโรงเรียน ซึ่งหน่วยงานภาครัฐจะต้องให้ความสำคัญ โดยเปรียบเทียบระหว่างโรงเรียนทางเลือกกับโรงเรียนรูปแบบเดิม เพื่อพิจารณาความสามารถในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงคนสู่ศตวรรษที่ 21 และการนำยุทธศาสตร์ชาติไปปฏิบัติ โดยอาศัยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพในการศึกษากระบวนการปฏิบัติงานของโรงเรียนตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) และใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณเพื่อพิจารณาความสอดคล้องในการถ่ายทอดยุทธศาสตร์การศึกษาแห่งชาติไปสู่การปฏิบัติ ผลการศึกษาพบว่าโรงเรียนรูปแบบเดิมให้ความสำคัญกับการถ่ายทอดยุทธศาสตร์ระดับประเทศมาสู่ระดับโรงเรียนอย่างมาก เห็นได้จากมีการคำนึงถึงยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อนำมากำหนดยุทธศาสตร์โรงเรียน ส่วนโรงเรียนทางเลือกไม่ได้มุ่งให้ความสำคัญกับยุทธศาสตร์ระดับประเทศ แต่การจัดการเรียนการสอนมีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ระดับประเทศ ด้วยเหตุที่โรงเรียนเหล่านี้อาศัยการถอดบทเรียนจากประเทศที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาการศึกษาโดยตรง โรงเรียนทางเลือกจึงถือเป็น “ผู้มาก่อนกาล” จากการจัดการเรียนการสอนที่คำนึงถึงบริบทโลก ซึ่งการกำหนดยุทธศาสตร์ชาติก็คำนึงถึงบริบทเดียวกัน ส่งผลให้ยุทธศาสตร์ของโรงเรียนทางเลือกมีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติโดยปริยาย


การบริหารสถานศึกษาเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ :กรณีศึกษาโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยตรัง, ชนภัทร รัตนพันธ์ Jan 2019

การบริหารสถานศึกษาเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ :กรณีศึกษาโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยตรัง, ชนภัทร รัตนพันธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารงานภายในสถานศึกษาโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยตรัง และเสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้แก่สถาบันการศึกษาอื่น ๆ โดยเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก จากกลุ่มผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 5 คนและศึกษาประกอบกับเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารสถานศึกษา การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้นำแนวคิดทฤษฎีระบบ มาใช้วิเคราะห์ในประเด็นการบริหารสถานศึกษา ผ่านการศึกษาปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลลัพธ์ทางวิชาการของสถานศึกษา โดยผู้วิจัยเชื่อว่า ทฤษฎีระบบ เป็นหนึ่งในทฤษฎีที่มีประสิทธิภาพในด้านการบริหารองค์การ เพื่อให้องค์การประสบความสำเร็จตามเป้าประสงค์ขององค์การ ผลการศึกษาพบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยตรัง ได้นำทฤษฎีระบบ เป็นหลักในการบริหารงานภายในสถานศึกษา โดยให้ความสำคัญตั้งแต่ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลลัพธ์ ส่งผลให้โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยตรัง เป็นหนึ่งในโรงเรียนที่มีความเป็นเลิศในด้านวิชาการ ซึ่งมีความสอดคล้องกับกรอบแนวคิดของผู้วิจัยตามที่คาดไว้


ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทํางานกับแรงจูงใจในการทํางานของข้าราชการตํารวจสังกัดกองทะเบียนพล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, ปาริชาด ผิวผ่อง Jan 2019

ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทํางานกับแรงจูงใจในการทํางานของข้าราชการตํารวจสังกัดกองทะเบียนพล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, ปาริชาด ผิวผ่อง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทํางานกับแรงจูงใจในการทํางานของข้าราชการตํารวจสังกัดกองทะเบียนพล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และนำผลการศึกษามาใช้เป็นแนวทางและข้อเสนอแนะในการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการตํารวจ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง ข้าราชการตํารวจสังกัดกองทะเบียนพล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จํานวน 137 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของตัวแปรด้วย Independent Samples t-test และ One-Way ANOVA/ F-test ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่าระดับคุณภาพชีวิตการทํางานของข้าราชการตํารวจสังกัดกองทะเบียนพล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (Mean = 3.41, S.D.= 0.23) แรงจูงใจในการทำงานของข้าราชการตํารวจสังกัดกองทะเบียนพลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (Mean = 3.26, S.D.= 0.15) ส่วนการเปรียบเทียบข้อมูลส่วนบุคคลของข้าราชการตำรวจสังกัดกองทะเบียนพล สำนักงานตำรวจแห่งชาติกับแรงจูงใจในการทำงานพบว่า เพศ อายุ อายุราชการ ระดับการศึกษา และชั้นยศ ที่แตกต่างกัน มีระดับแรงจูงใจในการทำงานไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนหน่วยงานที่สังกัดต่างกัน มีระดับแรงจูงใจในการทำงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยข้าราชการตำรวจฝ่ายอำนวยการ ทพ. มีระดับแรงจูงใจในการทำงานน้อยกว่าฝ่ายความชอบ ทพ. และน้อยกว่าฝ่ายประเมิน ทพ. คุณภาพชีวิตการทํางานมีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจในการทํางานของข้าราชการตํารวจสังกัดกองทะเบียนพล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (r = 0.421) และพบว่าคุณภาพชีวิตการทำงานด้านความสมดุลระหว่างการทำงานและชีวิตส่วนตัว ด้านความเกี่ยวข้องอันเป็นประโยชน์ต่อสังคม และด้านความมีระเบียบกฎเกณฑ์และความเป็นธรรมในการปฏิบัติงาน มีอิทธิพลส่งผลต่อระดับแรงจูงใจในการทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


ความผูกพันในองค์การของบุคลากรประเภทลูกจ้างเหมาบริการในหน่วยราชการ กรณีศึกษา:เจ้าหน้าที่ศูนย์ช่วยเหลือนักท่องเที่ยว สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา, ณัฐชญา พึ่งโต Jan 2019

ความผูกพันในองค์การของบุคลากรประเภทลูกจ้างเหมาบริการในหน่วยราชการ กรณีศึกษา:เจ้าหน้าที่ศูนย์ช่วยเหลือนักท่องเที่ยว สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา, ณัฐชญา พึ่งโต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันในองค์การ ตลอดจนพฤติกรรมที่แสดงออกในงานอันเป็นผลมาจากความผูกพันในองค์การ ของบุคลากรประเภทลูกจ้างเหมาบริการ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ศูนย์ช่วยเหลือนักท่องเที่ยว (TAC) สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กลุ่มตัวอย่าง คือ เจ้าหน้าที่ศูนย์ช่วยเหลือนักท่องเที่ยว จำนวน 219 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลเชิงลึก จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ การใช้แบบสอบถาม และการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ผลด้วยสถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร (Pearson Correlation) การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย ตัวแปรอิสระ 1 กลุ่ม (One Sample T-test) การวิเคราะห์ความเป็นอิสระ 2 กลุ่ม (Independent Sample T-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวน (One-way ANOVA) และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงซ้อน (Multiple Linear Regression Analysis) รวมถึง การวิเคราะห์แบบอุปนัยจากข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการศึกษา พบว่า 1) ความผูกพันในองค์การฯ อยู่ในระดับสูง 2) ปัจจัยด้านลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาการปฏิบัติงาน และพื้นที่ปฏิบัติงาน ไม่ส่งผลให้มีความผูกพันในองค์การแตกต่างกัน 3) ปัจจัยจูงใจระดับบุคคล ปัจจัยด้านลักษณะงาน ปัจจัยด้านลักษณะองค์การ และปัจจัยด้านประสบการณ์ทำงาน มีอิทธิพลต่อความผูกพัน ในองค์การ 4) ความผูกพันในองค์การ มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมที่แสดงออกในงานฯ


ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของมาตรการ Paperless ในกิจกรรม Back-Office ของภาครัฐไทย: ศึกษาเปรียบเทียบกรณีการประชุมคณะกรรมการ 2 หน่วยงาน, ธมลวรรณ เกิดจั่น Jan 2019

ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของมาตรการ Paperless ในกิจกรรม Back-Office ของภาครัฐไทย: ศึกษาเปรียบเทียบกรณีการประชุมคณะกรรมการ 2 หน่วยงาน, ธมลวรรณ เกิดจั่น

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาในครั้งนี้ต้องการตอบคำถามที่ว่าปัจจัยใดส่งผลต่อความสำเร็จในการเปลี่ยนผ่านการประชุมคณะกรรมการไปสู่การประชุมแบบไร้กระดาษ โดยศึกษาหน่วยงานที่ประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนผ่าน และศึกษาหน่วยงานที่ยังคงใช้กระดาษในการประชุมคณะกรรมการ เพื่อค้นหาปัจจัยที่ส่งเสริมหรือเป็นอุปสรรค หากมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่การประชุมคณะกรรมการแบบไร้กระดาษ โดยอาศัยแนวคิดทฤษฎีรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-government) เนื่องจากมาตรการไร้กระดาษและรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์เป็นการเปลี่ยนกระบวนการทำงานโดยอาศัยเทคโนโลยี งานวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษา โดยเลือกคณะกรรมการของหน่วยงานภาครัฐในระดับสำนักงานมาศึกษา 2 หน่วยงาน โดยหน่วยงานแรกจัดเป็นหน่วยงานที่เปลี่ยนผ่านไปสู่รูปแบบไร้กระดาษได้สำเร็จ ส่วนหน่วยงานที่สองยังอยู่ในรูปแบบใช้กระดาษ โดยมีการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและกรรมการในคณะกรรมการ ประกอบการศึกษาเอกสารประกอบการประชุมและเข้าสังเกตการณ์ในการประชุมคณะกรรมการด้วย ผลการวิจัย พบว่าปัจจัยที่เคยเป็นอุปสรรคต่อการใช้เทคโนโลยี เช่นกฎหมายและความเชื่อมั่นของคนที่มีต่อการใช้งานเทคโนโลยี เป็นปัญหาน้อยลง ในด้านกฎหมาย เพราะมีกฎหมายออกมารองรับมากขึ้น โดยเฉพาะพระราชกำหนดว่าด้วยการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2563 แต่ในทางปฏิบัติ พบว่าในกระบวนการประชุมคณะกรรมการ กรรมการโดยตำแหน่งสามารถมอบหมายผู้แทนเข้าร่วมประชุม โดยอาศัยหลักการปฏิบัติราชการแทนจากพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 ซึ่งระบุว่าในการมอบอำนาจจะต้องทำเป็นหนังสือ และในด้านความเชื่อมั่นของคนที่มีต่อการใช้งานเทคโนโลยี เนื่องจากวิถีชีวิตที่พึ่งพาเทคโนโลยีมากขึ้น ทำให้ทัศนคติที่มีต่อการใช้งานเทคโนโลยีของคนเปลี่ยนไป นอกจากนั้น ยังพบว่าการมีผู้นำองค์กรที่มุ่งผลักดันการเปลี่ยนแปลงเป็นปัจจัยสำคัญของการเปลี่ยนผ่านที่สำเร็จ และงานวิจัยนี้ยังค้นพบปัจจัยเพิ่มเติมอีกหนึ่งปัจจัย ได้แก่ ผู้ช่วยด้านเทคโนโลยี ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ผู้ใช้งานเทคโนโลยีมือใหม่มีทัศนคติอันดีต่อการใช้ และยอมรับการเปลี่ยนผ่านไปสู่การประชุมคณะกรรมการในรูปแบบไร้กระดาษได้ในที่สุด


การปรับปรุงสวัสดิการของพนักงานการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย, ชนานันท์ ผุดเพชรแก้ว Jan 2019

การปรับปรุงสวัสดิการของพนักงานการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย, ชนานันท์ ผุดเพชรแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่องการปรับปรุงสวัสดิการของพนักงานการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยมีวัตถุประสงค์การศึกษาเพื่อศึกษาความคาดหวัง ความพึงพอใจในการสวัสดิการของพนักงานการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และศึกษาความต้องการสวัสดิการเพิ่มเติมของพนักงานการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างคือ พนักงานการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย จำนวน 290 คน ผลการวิจัยพบว่า พนักงานการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย มีความคาดหวังในสวัสดิการด้านสุขภาพและความปลอดภัยมากที่สุด สวัสดิการที่พนักงานมีความพึงพอใจมากที่สุดคือ สวัสดิการด้านสุขภาพและความความปลอดภัย โดยพนักงานมีความคาดหวังในสวัสดิการมากกว่าความพึงพอใจในสวัสดิการ ในส่วนสวัสดิการที่พนักงานต้องการให้ รฟม.จัดหาให้มากที่สุดคือ สวัสดิการค่ารักษาพยาบาลหลังเกษียณ เพิ่มวงเงินค่ารักษาพยาบาลโรงพยาบาลเอกชน และเบิกตรงค่ารักษาพยาบาลโรงพยาบาลรัฐอื่นๆ ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบความคาดหวังในสวัสดิการของพนักงาน พบว่า อายุ เงินเดือน ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน การใช้บริการห้องออกกำลังกาย และการเข้าร่วมกิจกรรมอื่นๆ ของ รฟม. ที่แตกต่างกัน มีความคาดหวังในสวัสดิการต่างกัน ส่วนปัจจัยส่วนบุคคลอื่นๆ มีความคาดหวังในสวัสดิการไม่ต่างกัน ในส่วนของความพึงพอใจในสวัสดิการ พบว่า เพศ อายุ การมีบุตรของพนักงาน และเงินเดือนที่แตกต่างกันมีความพึงพอใจในสวัสดิการต่างกัน ส่วนปัจจัยส่วนบุคคลอื่นๆ มีความพึงพอใจในสวัสดิการไม่ต่างกัน


ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้เกี่ยวกับลักษณะวัฒนธรรมองค์การกับทัศนคติเกี่ยวกับความสุขและแนวทางการสร้างความสุขในการทำงาน : กรณีศึกษา พนักงานประจำสำนักงานโรงงานบริษัทผลิตบรรจุภัณฑ์แห่งหนึ่ง, จุฑามาส ตั้งจิตบำรุง Jan 2019

ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้เกี่ยวกับลักษณะวัฒนธรรมองค์การกับทัศนคติเกี่ยวกับความสุขและแนวทางการสร้างความสุขในการทำงาน : กรณีศึกษา พนักงานประจำสำนักงานโรงงานบริษัทผลิตบรรจุภัณฑ์แห่งหนึ่ง, จุฑามาส ตั้งจิตบำรุง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการให้ความหมายและการตีความของคำว่า “ความสุขในการทำงาน” และศึกษาแนวทางในการสร้างความสุข รวมถึงศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้เกี่ยวกับลักษณะวัฒนธรรมองค์การกับทัศนคติเกี่ยวกับความสุขและแนวทางในการสร้างความสุขในการทำงานของพนักงานประจำสำนักงานบริษัทบรรจุภัณฑ์แห่งหนึ่ง โดยการศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบผสมผสานทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ ซึ่งเชิงปริมาณได้ศึกษาจากประชากรกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 117 คน โดยเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม นำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation Coefficient) ในส่วนการศึกษาเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยได้ดำเนินการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) แบบไม่มีโครงสร้าง โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) จากแผนกที่แตกต่างกันทั้งสิ้น 7 แผนก เพื่อนำมาใช้ประกอบการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 31-40 ปี มีระดับการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า โดยมีรายได้อยู่ที่ 20,001-30,000 บาทต่อเดือน และมีอายุงานระหว่าง 0-5 ปีและส่วนใหญ่เห็นว่าสายงานค่อนข้างตรงกับการศึกษาของตน โดยฝ่ายที่ร่วมมือในการตอบแบบสอบถามมากที่สุดได้แก่ฝ่ายตรวจสอบคุณภาพ 2) พนักงานมีการรับรู้เกี่ยวกับลักษณะของวัฒนธรรมองค์การโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) พนักงานมีทัศนคติเกี่ยวกับความสุขในการทำงานโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 4) พนักงานมีพฤติกรรมตามแนวทางในการสร้างความสุขในการทำงานของ สสส.โดยรวมอยู่ในระดับมาก 5) การรับรู้เกี่ยวกับลักษณะของวัฒนธรรมองค์การมีความสัมพันธ์ทางบวกกับทัศนคติเกี่ยวกับความสุขในการทำงาน 6) การรับรู้เกี่ยวกับลักษณะของวัฒนธรรมองค์การมีความสัมพันธ์ทางบวกกับแนวทางการสร้างความสุขในการทำงาน


ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการทำประกันชีวิตแบบบำนาญ, พงศกร สัตยพานิช Jan 2019

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการทำประกันชีวิตแบบบำนาญ, พงศกร สัตยพานิช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยของทางด้านประชากรศาสตร์ที่มีความแตกต่างกันและรวมไปถึงศึกษาของปัจจัยการจูงใจที่มีความสัมพันธ์กับการทำประกันชีวิตแบบบำนาญ ซึ่งประชากรที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้เป็นคนทำงานในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครโดยใช้เครื่องมือเป็นรูปแบบของแบบสอบถามในการสำรวจจำนวน 400 ชุด สถิติสำหรับในการวิเคราะห์และพรรณนา คือ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ในส่วนของการทดสอบสมมติฐานได้ใช้การวิเคราะห์ T-test การวิเคราะห์ความแปรปรวน (One-Way ANOVA) ส่วนของสถิติได้ใช้การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วยการวิเคราะห์เพียร์สัน (Pearson’s correlation coefficient) ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชายมีอายุระหว่าง 36 – 45 ปี มีสถานะเป็นโสด มีระดับการศึกษาปริญญาตรี และส่วนใหญ่เป็นพนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้ต่อเดือนอยู่ที่ มากกว่า 55,000 บาทขึ้นไป และมีรายจ่ายอยู่ที่ 30,001 – 40,000 บาท โดยที่จำนวนเงินออมส่วนใหญ่จะอยู่ในอัตราที่ต่ำกว่า 10,000 บาท มีอัตราการเสียภาษีอยู่ที่ 10% ของเงินได้ต่อปี และในส่วนใหญ่มีจำนวนสมาชิกในครอบครัวอยู่ที่ 2 – 5 คน ซึ่งคนส่วนใหญ่ที่ทำงานในเขตกรุงเทพมหานครจะมีพฤติกรรมในการออมเงินด้วยวิธีนำไปฝากกับธนาคารเป็นส่วนใหญ่ สรุปผลจากการวิเคราะห์ พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา จำนวนเงินออมต่อเดือน และอัตราการเสียภาษีที่แตกต่างกันทำให้มีการทำประกันชีวิตแบบบำนาญที่แตกต่างกัน และเมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยจูงใจกับการตัดสินใจทำประกันชีวิตแบบบำนาญ พบว่าการทำประกันชีวิตแบบบำนาญมีความสัมพันธ์กับปัจจัยจูงใจ ประกอบด้วย 1.ปัจจัยด้านความมั่นคงหลังเกษียณอายุและผลิตภัณฑ์ 2.ปัจจัยด้านการลดหย่อนภาษี และ 3.ปัจจัยในการตัดสินใจออม


กลไกการขับเคลื่อนคลินิกกัญชาทางการแพทย์ในโรงพยาบาลคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์, พิชญาภร จ่างจันทรา Jan 2019

กลไกการขับเคลื่อนคลินิกกัญชาทางการแพทย์ในโรงพยาบาลคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์, พิชญาภร จ่างจันทรา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการขับเคลื่อนนโยบายกัญชาทางการแพทย์ผ่านคลินิกกัญชาทางการแพทย์ในโรงพยาบาลคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ 2) ศึกษาวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคในดำเนินงานของคลินิกกัญชาทางการแพทย์ในโรงพยาบาลคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ 3) ศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาและข้อเสนอแนะ เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของคลินิกกัญชาทางการแพทย์ในสถานบริการสุขภาพของประเทศไทย ใช้วิธีการศึกษาจากการค้นคว้าจากเอกสาร การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยบุคลากรจากโรงพยาบาลคูเมือง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์ และวิสาหกิจศูนย์กลางการพัฒนาสมุนไพรเพลาเพลินเพื่อชุมชน จำนวน 9 ท่าน ผลการวิจัยพบว่า การขับเคลื่อนคลินิกกัญชาทางการแพทย์ในโรงพยาบาลคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ มีจุดเริ่มต้นจากผู้นำองค์กรตัดสินใจรับนโยบายกัญชาทางการแพทย์มาปฏิบัติภายใต้กรอบแนวคิด “บุรีรัมย์โมเดล” โดยร่วมมือกับวิสาหกิจศูนย์กลางการพัฒนาสมุนไพรเพลาเพลินเพื่อชุมชนปลูกกัญชา ผลิตยากัญชา และให้บริการคลินิกกัญชาทางการแพทย์ ตัวแสดงสำคัญจำแนกออกได้เป็น 7 กลุ่ม คือ นักการเมืองและผู้ทรงอิทธิพลทางการเมือง หน่วยงานภาครัฐ ข้าราชการ/เจ้าหน้าที่ของรัฐ กลุ่มนักวิชาการ ภาคเอกชน ชุมชน และประชาชนผู้รับบริการ ปัจจัยแห่งความสำเร็จที่สำคัญ ได้แก่ สภาพแวดล้อมทางการเมืองและสังคม ทรรศนะต่อนโยบายของผู้นำนโยบายไปปฏิบัติ และเครือข่ายความร่วมมือ ปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญ คือ ประชาชนยังเข้าถึงกัญชาทางการแพทย์ได้น้อย เนื่องจากการผูกขาดการจ่ายยากัญชาทางการแพทย์โดยภาครัฐ และแพทย์ส่วนใหญ่ยังไม่ให้การยอมรับกัญชาทางการแพทย์ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย : ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับประโยชน์และโทษของกัญชาทางการแพทย์ สร้างการยอมรับนโยบายในระดับหน่วยงานที่นำนโยบายไปปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหารระดับสูง และเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ และจัดระบบกระจายผลิตภัณฑ์กัญชาให้มีประสิทธิภาพ ทั่วถึง และเพียงพอ


ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจลาออกของข้าราชการ: กรณีศึกษา กรมตรวจบัญชีสหกรณ์, อัญญุรี ตุ้ยแม้น Jan 2019

ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจลาออกของข้าราชการ: กรณีศึกษา กรมตรวจบัญชีสหกรณ์, อัญญุรี ตุ้ยแม้น

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเรื่องปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจลาออกของข้าราชการ: กรณีศึกษา กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจลาออก ความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับการตัดสินใจลาออก และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุนการตัดสินใจลาออกของข้าราชการกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ โดยใช้วิธีเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างที่เคยเป็นข้าราชการกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ แต่ได้ลาออกระหว่างปีงบประมาณ 2559 – 2563 (ข้อมูล ณ วันที่ 23 มีนาคม 2563) สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ใช้การแจกแจงค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานใช้การทดสอบค่า T–Test เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ย 2 กลุ่ม การทดสอบค่า F–test ในการทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ย 2 กลุ่มขึ้นไป และการหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุนกับการตัดสินใจลาออก โดยใช้การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation Coefficient) ผลการวิจัย พบว่า ความแตกต่างของปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ ตำแหน่ง และอายุราชการ มีผลต่อการตัดสินใจลาออกที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และปัจจัยค้ำจุนด้านผลตอบแทนและสวัสดิการมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงข้ามกับการตัดสินใจลาออก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ดังกล่าว สามารถแปลความได้ว่า หากข้าราชการมีความพึงพอใจในผลตอบแทนและสวัสดิการที่ได้รับจากองค์การ ก็จะส่งผลให้มีการตัดสินใจลาออกลดลง


ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการการบินไทยสำหรับเส้นทางบินประเทศญี่ปุ่น, ศรวัสย์ ลอยชูศักดิ์ Jan 2019

ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการการบินไทยสำหรับเส้นทางบินประเทศญี่ปุ่น, ศรวัสย์ ลอยชูศักดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้บริการการบินไทย กลยุทธ์ที่การบินไทยใช้ในการปรับตัวในด้านต่าง ๆ เพื่อรองรับการแข่งขันในสภาวการณ์การแข่งขันอย่างรุนแรงที่เกิดขึ้น สำหรับเส้นทางบินประเทศญี่ปุ่น เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยกลุ่มตัวอย่างได้มาจากการเลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่ใช้เป็นแบบเจาะจง จำนวน 9 คน ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ผสมกับการวิจัยเชิงปริมาณ ที่กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการวิธีการสุ่มแบบเจาะจงและแบบบังเอิญ จำนวน 150 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล โดยนำผลลัพธ์ที่ได้จากการแปรผลจากแบบสอบถามมาหาค่า ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้ประกอบกับผลลัพธ์ที่ได้จากการสัมภาษณ์ เพื่อช่วยยืนยันให้ผลการสัมภาษณ์มีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น ผลการศึกษาพบว่า 1. ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้บริการการบินไทย สำหรับเส้นทางบินประเทศญี่ปุ่นอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ 1) ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ เช่น ชนิดของเครื่องบิน ขนาดที่นั่ง กำหนดเวลาขึ้นเครื่อง ตารางบิน ฯลฯ 2) ปัจจัยด้านลักษณะทางกายภาพ เช่น ของที่ระลึก นิตยสารบนเครื่องบิน สื่อสาระบันเทิงบนเครื่องบิน อาหารหลัก อาหารว่าง ห้องน้ำ ฯลฯ 3) ปัจจัยด้านบุคลากร เช่น การบริการของพนักงานภาคพื้น และ พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน 2. กลยุทธ์การให้บริการบนเที่ยวบิน ของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) สำหรับเส้นทางบินประเทศญี่ปุ่น สิ่งที่เป็นจุดแข็งสำหรับการบินไทยในเส้นทางบินประเทศญี่ปุ่น คือ การเพิ่มพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน ที่เป็นชาวญี่ปุ่น 1-2 คนต่อเที่ยวบิน การเพิ่มตัวเลือกอาหารญี่ปุ่น การประกาศประชาสัมพันธ์บนเครื่องบินที่เป็นภาษาญี่ปุ่นเพิ่มอีก 1 ภาษา รวมทั้งการเพิ่มเที่ยวบินและการบริการบนเครื่องบิน


ระดับความรู้ความเข้าใจพื้นฐานของผู้โดยสารเกี่ยวกับพิธีการศุลกากรขาเข้าสำหรับของติดตัวผู้โดยสารทางท่าอากาศยานและทัศนคติของผู้โดยสารที่มีต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ศุลกากร ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ, ภัทรวรรณ สิทธิสมบัติ Jan 2019

ระดับความรู้ความเข้าใจพื้นฐานของผู้โดยสารเกี่ยวกับพิธีการศุลกากรขาเข้าสำหรับของติดตัวผู้โดยสารทางท่าอากาศยานและทัศนคติของผู้โดยสารที่มีต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ศุลกากร ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ, ภัทรวรรณ สิทธิสมบัติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาถึงการรับรู้ ความเข้าใจในกฎหมาย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับพิธีการศุลกากรขาเข้า สำหรับของติดตัวผู้โดยสารทางท่าอกาศยาน 2) ศึกษาถึงทัศนคติของผู้โดยสารที่มีต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากร ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และ 3) ศึกษาถึงปัจจัยต่างๆที่ส่งผลต่อทัศนคติของผู้โดยสารที่มีต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากร ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เพื่อนำไปวิเคราะห์ปรับปรุงการทำงานของเจ้าหน้าที่ศุลกากรให้ดียิ่งขึ้นในเเง่ทัศนคติของผู้โดยสารควบคู่กับการปฏิบัติหน้าที่ในการจัดเก็บภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพเเละประสิทธิผล การวิจัยครั้งนี้ได้ผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งคือ ผู้โดยสารชาวไทยที่เดินทางผ่านท่าอากาศยานสุวรรณภูมิในปี พ.ศ. 2562 จำนวน 400 คน และใช้โปรแกรมวิเคราะห์ทางสถิติ SPSS สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 10 คน ที่มีความเเตกต่างกันทางอาชีพ วัตถุประสงค์ในการเดินทาง และความถี่ในการเดินทาง ผลการศึกษาพบว่าผู้โดยสารที่เดินทางผ่านทางท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มีความรู้เกี่ยวกับพิธีการศุลกากรในระดับปานกลาง ซึ่งเป็นความรู้ที่ทราบเเต่เรื่องการนำเข้าแอลกอฮอล์เเละบุหรี่เป็นหลัก ในเรื่องอื่นๆ เช่น ของต้องห้าม ของต้องกำกัด เป็นต้น ผู้โดยสารไม่ได้มีความรู้ความเข้าใจได้ถูกต้องมากนัก ส่วนเรื่องทัศนคติของผู้โดยสารที่มีต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากร ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิอยู่ในระดับปานกลาง โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติ คือ ทัศนคติที่มีต่อการปฏิบัติตามกฎหมายภาษี ความเชื่อถือในการปฏิบัติงานของรัฐ และความพึงพอใจที่มีต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ศุลกากร


แนวทางการจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายทางการคลังเพื่อส่งเสริมการบริหารการคลังอย่างยั่งยืน, วันเฉลิม คงเกต Jan 2019

แนวทางการจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายทางการคลังเพื่อส่งเสริมการบริหารการคลังอย่างยั่งยืน, วันเฉลิม คงเกต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อศึกษาแนวทางการจัดตั้งคณะกรรมการกำกับนโยบายทางการคลังในต่างประเทศเพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับประเทศไทย และเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อนำไปสู่การพัฒนาปรับปรุงการดำเนินงานสถาบันทางการคลังของไทย ณ ปัจจุบัน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการเก็บข้อมูลจากการศึกษาข้อมูลเชิงเอกสารในเรื่องการจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายการคลังในประเทศพัฒนาแล้วจำนวน 5 ประเทศและการสัมภาษณ์เชิงลึกสำหรับกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม คือ นักวิชาการที่มีความเชี่ยวชาญในภาคการคลัง เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในเรื่องการคลังของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในเรื่องการคลังของธนาคารแห่งประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่า สถาบันทางการคลังที่เป็นอิสระในประเทศพัฒนาแล้วมีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภท คือ รูปแบบ fiscal council, parliamentary budget office model และ other model โดยศึกษาสถาบันทางการคลังที่เป็นอิสระในประเทศพัฒนาแล้ว ได้แก่ สหราชอาณาจักร เยอรมนี เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา ซึ่งสามารถแบ่งรูปแบบของสถาบันทางการคลังที่เป็นอิสระ คือ รูปแบบ fiscal council และ parliamentary budget office model มีหน้าที่สำคัญ คือ วิเคราะห์ความยั่งยืนทางการคลังระยะยาว ประมาณการเศรษฐกิจหรืองบประมาณ และติดตามการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์การคลัง สำหรับกรณีประเทศไทย มีปรับปรุงคณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐ ผ่านการแก้ไข พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 มาตรา 10 เพื่อปรับปรุงตัวแทนในคณะกรรมการ และเพิ่มเติมหน้าที่ในเรื่องการส่งสัญญาณเตือนต่อรัฐบาลในเรื่องความเสี่ยงทางการคลัง และการให้ความรู้ด้านการคลังต่อสาธารณะ .


การมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนในสภาเด็กและเยาวชน: กรณีศึกษา สภาเด็กและเยาวชนเขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร, กนกวรรณ วงศ์กระพันธุ์ Jan 2019

การมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนในสภาเด็กและเยาวชน: กรณีศึกษา สภาเด็กและเยาวชนเขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร, กนกวรรณ วงศ์กระพันธุ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ของงานวิจัย คือ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนในสภาเด็กและเยาวชนเขตบางคอแหลม และเพื่อศึกษาหาแนวทางในการส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนในเขตบางคอแหลมให้มีความสนใจที่จะเข้ามามีส่วนร่วมกับสภาเด็กและเยาวชน จากผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนในสภาเด็กและเยาวชน ประกอบด้วย 5 ปัจจัย ดังนี้ 1. ปัจจัยด้านการรับรู้ถึงการมีตัวตนของสภาเด็กและเยาวชน เป็นปัจจัยที่มีผลมากที่สุด เนื่องจากการที่เด็ก เยาวชน และผู้ปกครองได้รับรู้ถึงการมีตัวตนของสภาเด็กและเยาวชนมาก่อน จะทำให้เด็กและเยาวชนเหล่านี้ตัดสินใจที่จะเข้ามามีส่วนร่วมกับสภาเด็กและเยาวชนได้ง่ายขึ้น 2. ปัจจัยด้านเวลา เด็กและเยาวชนที่มีภาระรับผิดชอบมากมาย ก็จะมีโอกาสน้อยลงที่จะเข้ามามีส่วนร่วมกับสภาเด็กและเยาวชน 3. ปัจจัยด้านฐานะทางการเงินของครอบครัว ถ้าครอบครัวมีฐานะทางการเงินไม่ค่อยดี เด็กและเยาวชนต้องช่วยครอบครัวทำงานจนอาจไม่มีเวลาเข้ามามีส่วนร่วมกับสภาเด็กและเยาวชน 4. ปัจจัยผลักดันจากผู้นำ ได้แก่ ผู้ปกครอง คุณครู และหน่วยงานที่รับผิดชอบ 5. ปัจจัยด้านการออกแบบนโยบาย โดยพบว่าหน่วยงานที่รับผิดชอบสภาเด็กและเยาวชน และวาระการดำรงตำแหน่งของคณะบริหารสภาเด็กและเยาวชน ยังไม่เอื้อให้เด็กและเยาวชนอยากมีส่วนร่วมในสภาเด็กและเยาวชนเท่าที่ควร สำหรับแนวทางในการส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนในเขตบางคอแหลมมีความสนใจที่จะเข้ามามีส่วนร่วมกับสภาเด็กและเยาวชน มีดังนี้ 1. หน่วยงานที่รับผิดชอบ ช่วยกันประชาสัมพันธ์สภาเด็กและเยาวชน 2. ควรมีที่ปรึกษา(คุณครู) ที่คอยให้ความช่วยเหลือในการสื่อสารกันของคณะบริหารสภาเด็กฯที่มีช่วงอายุที่แตกต่างกัน 3. วาระการดำรงตำแหน่งของคณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนควรเป็น 2 ปี เหมือนกันทั้งทีม 4. ควรให้ฝ่ายการศึกษารับผิดชอบสภาเด็กและเยาวชนระดับเขตที่โดยตรง 5. ปลุกจิตสำนึกให้ผู้บริหารสภาเด็กและเยาวชนตระหนักถึงหน้าที่และความสำคัญของตำแหน่งผู้บริหารสภาเด็กและเยาวชน


เรื่อง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ในองค์กรของพนักงานมหาวิทยาลัยสายปฏิบัติการที่มีสมรรถนะสูง : กรณีศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ชัชชม ทัพชุมพล Jan 2019

เรื่อง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ในองค์กรของพนักงานมหาวิทยาลัยสายปฏิบัติการที่มีสมรรถนะสูง : กรณีศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ชัชชม ทัพชุมพล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับการคงอยู่ของพนักงานมหาวิทยาลัยสายปฏิบัติการที่มีสมรรถนะสูง (2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยค้ำจุนการทำงานกับการคงอยู่ในองค์กรของพนักงานมหาวิทยาลัยสายปฏิบัติการที่มีสมรรถนะสูง (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยแรงจูงใจในการทำงานของคนเก่งกับการคงอยู่ในองค์กรของพนักงานมหาวิทยาลัยสายปฏิบัติการที่มีสมรรถนะสูง และ (4) เพื่อศึกษาระดับความตั้งใจคงอยู่ในองค์กรของพนักงานมหาวิทยาลัยสายปฏิบัติการที่มีสมรรถนะสูง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การทดสอบด้วยการแจกแบบสอบถาม (ออนไลท์) จากจำนวนพนักงานมหาวิทยาลัยสายปฏิบัติการที่มีสมรรถนะสูง สังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 69 คน (ตัวอย่าง) และวิเคราะห์สถิติด้วยการหาค่าเฉลี่ยและค่าทางสถิติทั้งหมด คือ One Sample t-test, Independent Sample t-test, ANOVA t-test และ Pearson’s correlation coefficient โดยมีระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 40 – 49 ปี มีสถานภาพโสด การศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี และมีอายุงานโดยเฉลี่ย 10 ปีขึ้นไป สำหรับการศึกษา ด้านปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกันกับการคงอยู่ในองค์กร พบว่า ด้านการศึกษาที่แตกต่างกันมีอิทธิลต่อการคงอยู่ในองค์กรแตกต่างกัน ส่วนปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ในองค์กร พบว่า ปัจจัยค้ำจุนการทำงานและปัจจัยแรงจูงใจในการทำงานของคนเก่งมีความสัมพันธ์ต่อการคงอยู่ในองค์กรหรือความผูกพันธ์ของพนักงานมหาวิทยาลัยสายปฏิบัติการที่มีสมรรถนะสูง และการศึกษาระดับความตั้งใจคงอยู่ในองค์กรของพนักงานมหาวิทยาลัยสายปฏิบัติการที่มีสมรรถนะสูง พบว่า ระดับความตั้งใจที่จะคงอยู่ในองค์กรของพนักงานมหาวิทยาลัยสายปฏิบัติการที่มีสมรรถนะสูง อยู่ในระดับปานกลาง


บทบาทของเทคโนโลยีดิจิทัลต่อการพัฒนากระบวนการบริหารจัดการภาครัฐ, พรธีรา เชี่ยวเชิงงาน Jan 2019

บทบาทของเทคโนโลยีดิจิทัลต่อการพัฒนากระบวนการบริหารจัดการภาครัฐ, พรธีรา เชี่ยวเชิงงาน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เทคโนโลยีจะเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ ทั้งเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม การบริการ สังคม สิ่งแวดล้อมไปจนถึงการศึกษา อีกทั้ง การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีส่งผลต่อการทำงานของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้ระบบการบริหารจัดการภาครัฐมีความทันสมัยและสามารถช่วยลดภาระด้านงบประมาณให้กับหน่วยงานภาครัฐที่ต้องการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงกระบวนงานทำงานภายในหน่วยงานหรือกระบวนงานในการให้บริการประชาชนให้มีความสะดวกคล่องตัวโดยการนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาประยุกต์ใช้ ซึ่งเป็นความท้าทายที่ทุกประเทศกำลังเผชิญ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทเทคโนโลยีดิจิทัลมีผลต่อการพัฒนากระบวนการบริหารจัดการภาครัฐ การวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) แบบปรากฏการณ์วิทยา ดำเนินการโดยศึกษาทฤษฎี แนวคิด ประกอบด้วยการวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์เดี่ยวเชิงลึก โดยผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 12 คน ซึ่งเลือกแบบเจาะจงจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระดับผู้บริหารหน่วยงานกลางและหน่วยงานรับผิดชอบหลักในการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับภาครัฐและการหารือร่วมกับผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการอุปมานวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นหนึ่งในปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนากระบวนการบริหารจัดการภาครัฐ อีกทั้ง บทบาทของเทคโนโลยีดิจิทัลจะเป็นตัวเร่งการเปลี่ยนแปลงในการยกระดับการทำงานของภาครัฐให้มีความสะดวก รวดเร็ว ประหยัด และเข้าถึงได้ ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงระบบและกระบวนการทำงานของภาครัฐต้องเริ่มจากการปรับกระบวนงานด้วยการลดการสูญเปล่าของงานที่ไม่ได้สร้างคุณค่าโดยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาสนับสนุน เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน และมุ่งเน้นประชาชนเป็นศูนย์กลาง (Citizen-Centered) อันจะนำไปสู่การทำงานภาครัฐอย่างมีประสิทธิภาพ จากการศึกษาแม้จะพบว่ายังมีข้อจำกัด ปัญหาและอุปสรรคในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนากระบวนการบริหารจัดการภาครัฐ อย่างไรก็ตาม ทิศทางการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการบริหารจัดการภาครัฐของประเทศไทยทั้งมิติภายในและภายนอกสะท้อนให้เห็นการพัฒนาอย่างต่อเนื่องด้วยการสนับสนุนและกระตุ้นผ่านกลไกทั้งเชิงนโยบายและเชิงปฏิบัติ ยิ่งไปกว่านั้น การสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม มีความสำคัญต่อการพัฒนากระบวนการบริหารจัดการภาครัฐ


สมรรถนะและการพัฒนาบุคลากรสายงานทรัพยากรบุคคลในยุค Digital Hr ของพนักงานรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง, พัณณิน อินทรภักดี Jan 2019

สมรรถนะและการพัฒนาบุคลากรสายงานทรัพยากรบุคคลในยุค Digital Hr ของพนักงานรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง, พัณณิน อินทรภักดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยเรื่อง “สมรรถนะและการพัฒนาบุคลากรสายงานทรัพยากรบุคคลในยุค Digital HR ของพนักงานรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง” เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามในการศึกษาระดับสมรรถนะด้านดิจิทัลในปัจจุบัน และระดับสมรรถนะที่คาดหวังในการทำงานยุค Digital HR และการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้สัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ในการศึกษาแนวทางการพัฒนาบุคลากรสายงานทรัพยากรบุคคลที่เหมาะสม ซึ่งเป็นการขอความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญสายงานทรัพยากรบุคคล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะด้านดิจิทัลของบุคลากรสายงานทรัพยากรบุคคลในปัจจุบัน ศึกษาช่องว่างของสมรรถนะด้านดิจิทัลของบุคลากรสายงานทรัพยากรบุคคลในปัจจุบันกับระดับของสมรรถนะที่คาดหวังเพื่อรองรับการทำงานในยุค Digital HR และเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรสายงานทรัพยากรบุคคล เพื่อเตรียมพร้อมรองรับการทำงานในยุค Digital HR ผลการศึกษาพบว่า ระดับสมรรถนะด้านดิจิทัลของบุคลากรสายงานทรัพยากรบุคคลในปัจจุบันอยู่ในระดับปานกลาง และระดับสมรรถนะที่คาดหวังด้านดิจิทัลอยู่ในระดับสูง ดังนั้นจากความแตกต่างของสมรรถนะในแต่ละด้าน จึงต้องมีการนำวิธีที่เหมาะสมมาปรับใช้เพื่อพัฒนาบุคลากร โดยมีสมรรถนะด้านดิจิทัลที่เหมาะสมในการนำมาใช้พัฒนาบุคลากรสายงานทรัพยากรบุคคลด้านความรู้ คือ เทคนิคการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสนับสนุนการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ สมรรถนะด้านทักษะ คือ การประยุกต์ใช้เครื่องมือดิจิทัลเพื่อการทำงาน และสมรรถนะด้านคุณลักษณะ คือ พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง


ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการตรวจติดตามผลภายหลังการอนุญาตของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม, วงศธร รังสิมันต์ Jan 2019

ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการตรวจติดตามผลภายหลังการอนุญาตของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม, วงศธร รังสิมันต์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการในกองตรวจการมาตรฐาน 1-3 สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม (2) เพื่อศึกษาปัจจัยลักษณะบุคคล ปัจจัยการปฏิบัติงาน ปัจจัยแรงจูงใจ และปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการตรวจติดตามภายหลังการอนุญาตของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม (3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการเสริมสร้างประสิทธิภาพการตรวจติดตามภายหลังการอนุญาตของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ข้าราชการที่ปฏิบัติงานในกองตรวจการมาตรฐาน 1-3 สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ที่มีตำแหน่งต่ำกว่าผู้อำนวยการกองลงมา จำนวน 68 คน การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยแบบผสม เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าสถิติทดสอบแบบทีเทส เอฟเทส และค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า (1) ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการอยู่ในระดับมากที่สุด (2) ปัจจัยลักษณะบุคคลด้านเพศที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อประสิทธิภาพการตรวจติดตามผลภายหลังการอนุญาตของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (3) ปัจจัยการปฏิบัติงานด้านการบังคับใช้กฎหมาย มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการตรวจติดตามผลภายหลังการอนุญาตของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (4) ปัจจัยจูงใจไม่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการตรวจติดตามผลภายหลังการอนุญาต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (5) ปัจจัยอื่น ๆ ไม่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการตรวจติดตามผลภายหลังการอนุญาตของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


การเปิดรับ ความเชื่อมั่น และการใช้ประโยชน์ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อดิจิทัลของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, พงศกร โค้วไพโรจน์ Jan 2019

การเปิดรับ ความเชื่อมั่น และการใช้ประโยชน์ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อดิจิทัลของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, พงศกร โค้วไพโรจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับ ความเชื่อมั่น และการใช้ประโยชน์ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อดิจิทัลของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยการเก็บข้อมูลจากชาวไทยที่เป็นผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติการทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson’s correlation coefficient) ผลการศึกษาพบว่า ผู้ที่เคยใช้บริการข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อดิจิทัลของ ททท. ส่วนใหญ่ติดตามข้อมูลข่าวสารจาก Facebook Page Amazing Thailand โดยใน 1 สัปดาห์ มีความถี่การใช้บริการ 1-3 ครั้งต่อสัปดาห์ ส่วนผู้ที่ไม่เคยใช้บริการมีสาเหตุเนื่องจากไม่ทราบมาก่อนว่า ททท. มีช่องทางการสื่อสารผ่านสื่อดิจิทัล ผลการศึกษาเรื่องความเชื่อมั่นต่อข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อดิจิทัลของ ททท. โดยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนการใช้ประโยชน์ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อดิจิทัลของ ททท. โดยรวมอยู่ในระดับมากเช่นกัน สำหรับการวิเคราะห์อิทธิพลด้านประชากรศาสตร์ต่อปัจจัยต่างๆ พบว่า ปัจจัยด้านเพศ ระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือน มีผลต่อการเปิดรับข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อดิจิทัลของ ททท. ส่วนปัจจัยด้านระดับการศึกษา มีผลต่อความเชื่อมั่นต่อข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อดิจิทัลของ ททท. และปัจจัยด้านเพศ ส่งผลต่อการใช้ประโยชน์ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อดิจิทัลของ ททท. ส่วนผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับ ความเชื่อมั่น และการใช้ประโยชน์ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อดิจิทัลของ ททท. พบว่าทั้ง 3 ปัจจัยมีความสัมพันธ์กัน โดยเป็นความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน


การสื่อสารยุคดิจิทัลกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของพนักงานการท่าเรือแห่งประเทศไทย เขตคลองเตย จังหวัดกรุงเทพมหานคร, วริษฐา จีนโต Jan 2019

การสื่อสารยุคดิจิทัลกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของพนักงานการท่าเรือแห่งประเทศไทย เขตคลองเตย จังหวัดกรุงเทพมหานคร, วริษฐา จีนโต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเรื่อง “การสื่อสารยุคดิจิทัลกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของพนักงานการท่าเรือแห่ง ประเทศไทย เขตคลองเตย จังหวัดกรุงเทพมหานคร” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์ด้านสุขภาพของพนักงานการท่าเรือแห่งประเทศไทย และศึกษาปัจจัยการใช้สื่อสังคมด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของพนักงานการท่าเรือแห่งประเทศไทย เขตคลองเตย จังหวัดกรุงเทพมหานคร ที่ใช้การวิจัยแบบผสมผสาน(Mixed Method) คือ วิจัยเชิงปริมาณและวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสำรวจด้วยแบบสอบถามออนไลน์ จำนวน 100 ชุด สถิติที่ใช้ประกอบด้วยสถิติเชิงบรรยาย (Descriptive statistics) ได้แก่ สถิติค่าความถี่(Frequency) ค่าร้อยละ(Percent) ค่าเฉลี่ย(Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard deviation) สถิติเชิงอนุมาน (Inferential statistics) ได้แก่ การทดสอบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่มีความเป็นอิสระต่อกัน(Independent Sample T-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว(One way ANOVA) การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียรสัน(Pearson’s Correlation) และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียแมน(Spearman’s Correlation) ผลการเก็บข้อมูลจากการสำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 100 คน พบว่า พนักงานการท่าเรือแห่ง ประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ช่วงอายุ 30-39 ปี มีการศึกษาในระดับปริญญาตรี ส่วนใหญ่มีรายได้ต่อเดือนตั้งแต่ 20,001-30,000 บาท และผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ไม่มีโรคประจำตัว คิดเป็นร้อยละ 78 ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อรับข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพผ่านสื่อเฟซบุ๊ก(Facebook) คิดเป็นร้อยละ 86 ส่วนการรับข้อมูลด้านสุขภาพผ่านสื่อออนไลน์ของหน่วยงานการท่าเรือฯ ส่วนใหญ่รับสื่อผ่านช่องทางไลน์(Line) จากหน่วยงานสำนักแพทย์และอนามัยการท่าเรือแห่งประเทศไทย ได้รับประโยชน์ด้านความรู้เบื้องต้นในการดูแลสุขภาพและสังเกตความผิดปกติของตนเอง ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีระดับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพด้านการป้องกันโรคอยู่ในระดับสูง ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ อายุและรายได้มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพด้านการป้องกันโรคอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทัศนคติการรับข่าวสารด้านสุขภาพผ่านสื่อออนไลน์มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพด้าน การจัดการความเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความถี่ของสื่อสุขภาพออนไลน์ของหน่วยงาน การท่าเรือฯที่กระตุ้นให้มีการดูแลสุขภาพมากขึ้นมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพด้านการจัดการความเครียดและการป้องกันโรคอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ปัจจัยด้านคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรที่ส่งผลต่อความผูกพันธ์ต่อองค์กร กรณีศึกษาพนักงานราชการสังกัดกรมศุลกากร, อิทธิพงษ์ อินทยุง Jan 2019

ปัจจัยด้านคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรที่ส่งผลต่อความผูกพันธ์ต่อองค์กร กรณีศึกษาพนักงานราชการสังกัดกรมศุลกากร, อิทธิพงษ์ อินทยุง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ทำให้ทราบถึงปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยด้านคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานราชการกรมศุลกากรที่ส่งผลต่อความผูกพันที่มีต่อองค์กร (2) เพื่อนำผลการศึกษาที่ได้มาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานราชการกรมศุลกากร การวิจัยนี้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานราชการสังกัดกรมศุลกากรจำนวน 261 คน มีการประมวลผลวิเคราะห์โดยใช้สถิติค่าแจกแจงความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) T-test, F-test และการวิเคราะห์การถดถอย (Regression) ผลการวิจัย สามารถสรุปได้ดังนี้ 1. เพศของพนักงานราชการที่แตกต่างกัน มีระดับความผูกพันต่อองค์กรไม่แตกต่างกัน ในขณะที่ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา ระยะเวลาในการทำงาน ระดับเงินเดือนของพนักงานราชการที่แตกต่างกัน มีระดับความผูกพันต่อองค์กรแตกต่างกัน 2. ปัจจัยด้านคุณภาพชีวิตในการทำงานในด้านลักษณะงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับสังคมโดยตรง ด้านลักษณะงานที่ส่งเสริมความเจริญเติบโตและความมั่นคงให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน ด้านความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงานโดยส่วนรวม และด้านค่าตอบแทนที่เป็นธรรมและเพียงพอ มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กร ในขณะที่ ด้านสิ่งแวดล้อมที่ถูกสุขลักษณะและปลอดภัย ด้านการเปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติงานได้พัฒนาความรู้ความสามารถได้เป็นอย่างดี ด้านลักษณะงานที่มีส่วนส่งเสริมด้านบูรณาการทางสังคมของผู้ปฏิบัติงาน และด้านลักษณะงานที่ตั้งอยู่บนฐานของกฎหมายหรือกระบวนการยุติธรรม ไม่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กร


การเปรียบเทียบการบริหารจัดการที่อยู่อาศัยผู้สูงอายุ กรณีศึกษา : โครงการสวางคนิเวศ สภากาชาดไทย และศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางแค, ธนพร ทองขาว Jan 2019

การเปรียบเทียบการบริหารจัดการที่อยู่อาศัยผู้สูงอายุ กรณีศึกษา : โครงการสวางคนิเวศ สภากาชาดไทย และศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางแค, ธนพร ทองขาว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการบริหารจัดการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ ทั้งในด้านการบริหารจัดการองค์การ การบริหารจัดการที่อยู่อาศัย ตลอดจนแนวทางการสนับสนุนและส่งเสริมการจัดที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุของหน่วยงานภาครัฐหลักที่เกี่ยวข้อง โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก ซึ่งผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ประจำอาคารสวางคนิเวศ สภากาชาดไทย จำนวน 3 ท่าน และผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางแคจำนวน 4 ท่าน ผลการศึกษาพบว่า จากเกณฑ์ที่ใช้ในการเปรียบเทียบลักษณะการบริหารจัดการที่อยู่อาศัยผู้สูงอายุทั้งสองแห่งนั้น มีความคล้ายคลึงกันในด้านวิสัยทัศน์ ค่านิยม การจัดโครงสร้างองค์การ การวางแผนและการดำเนินงาน และการบริหารทรัพยากรทางกายภาพ ในขณะที่ทั้งสองแห่งมีความแตกต่างกันในเรื่อง หน่วยงานที่สังกัด การสนับสนุนงบประมาณ การบริหารทรัพยากรบุคคล อัตราค่าบริการ และกลุ่มเป้าหมาย ทั้งนี้ ในด้านการส่งเสริมและสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐนั้น มีเพียงศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางแคที่ได้รับการส่งเสริมทั้งในมิติด้านการเงิน การอบรมพัฒนาบุคลากร องค์ความรู้ และนวัตกรรมผู้สูงอายุ สำหรับการจัดที่อยู่อาศัยผู้สูงอายุโดยหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องนั้น มีลักษณะให้ผู้สูงอายุได้อยู่อาศัยในที่เดิมภายใต้การดูแลของครอบครัว และมีการสร้าง Senior Complex ที่มีบริการครบวงจรเพื่อรองรับผู้สูงอายุที่ต้องการใช้ชีวิตในชุมชน อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันภาครัฐยังไม่มีแนวทางส่งเสริมการจัดบริการที่อยู่อาศัยผู้สูงอายุของภาคเอกชนหรือองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร


การเตรียมความพร้อมของบุคลากรภาครัฐไทยสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล, ณภัทช์ฐนัน ศักดิ์เจริญกุล Jan 2019

การเตรียมความพร้อมของบุคลากรภาครัฐไทยสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล, ณภัทช์ฐนัน ศักดิ์เจริญกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางปฏิบัติเพื่อส่งเสริมและพัฒนาทักษะเทคโนโลยีดิจิทัลของบุคลากรภาครัฐและเพื่อวิเคราะห์กระบวนการการพัฒนาทักษะเทคโนโลยีดิจิทัลของบุคลากรภาครัฐด้วยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ การรวบรวมข้อมูลใช้วิธีศึกษาเอกสาร สัมภาษณ์เชิงลึก และสังเกตการณ์ ผู้วิจัยเลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลโดยยึดตามวัตถุประสงค์ ได้แก่ กลุ่มแรก ผู้กำหนดนโยบายและทิศทางของหน่วยงานที่รับผิดชอบการพัฒนาบุคลากรภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลของบุคลากรภาครัฐ และกลุ่มสอง ผู้รับผิดชอบนำนโยบายการพัฒนาทักษะเทคโนโลยีดิจิทัลของบุคลากรภาครัฐจากฝ่ายบริหารไปปฏิบัติและควบคุมการทำงานของหน่วยงานให้เป็นไปตามนโยบาย รวมทั้งหมด 6 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ สำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล และสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การกำหนดรหัสและจัดกลุ่มข้อมูลเชิงคุณภาพและใช้เทคนิควิเคราะห์ตามประเภทเนื้อหาโดยจำแนกข้อมูลผ่านการวิเคราะห์คำหลัก แล้วนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบ การศึกษาพบว่า (1) แนวทางปฏิบัติเพื่อส่งเสริมและพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลของบุคลากรภาครัฐเพื่อรองรับการเป็นรัฐบาลดิจิทัล ได้มีการกำหนดแนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีดิจิทัลภาครัฐออกเป็น 3 ระยะได้แก่ ระยะเริ่มต้น, ระยะการพัฒนา และระยะสมบูรณ์ มากกว่านั้นได้แบ่งกลุ่มเป้าหมายการพัฒนาทักษะดิจิทัลของบุคลากรภาครัฐเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้บริหารระดับสูง, กลุ่มผู้อำนวยการ, ผู้ทำงานด้านนโยบายและงานวิชาการ, ผู้ทำงานด้านบริการ, ผู้ปฏิบัติงานเฉพาะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล และผู้ปฏิบัติงานอื่นๆ โดยจำแนกบทบาทและพฤติกรรมที่คาดหวังของบุคลากรแต่ละกลุ่มในการปรับเปลี่ยนภาครัฐเป็นรัฐบาลดิจิทัลรวม 18 บทบาท รวมทั้งกำหนดทักษะด้านดิจิทัลของบุคลากรภาครัฐออกเป็น 5 มิติการเรียนรู้ 7 กลุ่มทักษะ และ (2) กระบวนการพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีของบุคลากรภาครัฐมีกลไกในการพัฒนา 3 กลไก คือ การฝึกอบรมแบบเข้าชั้นเรียน, การเรียนรู้ด้วยตนเอง และการปรับโครงสร้างหน่วยงาน เมื่อคาดการณ์อีก 10 ปีข้างหน้า พ.ศ. 2569 การพัฒนาโดยการฝึกอบรมทั้งการเข้าชั้นเรียนและการเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ที่กำหนดไว้น่าจะไม่เพียงพอต่อการพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะดิจิทัลตามที่กำหนด ภาครัฐควรการนำบล็อกเชนแบบคอนซอเทียมมาประยุกต์ใช้เพื่อรวบรวมหลักสูตรฝึกอบรม