Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Psychology

Theses/Dissertations

2018

Institution
Keyword
Publication
File Type

Articles 2131 - 2150 of 2150

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

Race, Stigma, And The Politics Of Black Girls Hair, Vanessa King Jan 2018

Race, Stigma, And The Politics Of Black Girls Hair, Vanessa King

All Graduate Theses, Dissertations, and Other Capstone Projects

Historically, black girls and women has been subjected to high public scrutiny that represents their bodies and hair styles as deviant from a European standard of beauty and respectability. Black women have endured many social pressures that have shaped their hair choices in various ways. I will explore assimilation theories of culture and the construction of dominant ideals of worth and respectability within K-12 settings, to document the ways in which black girls' hairstyles have been stigmatized. For this this study, I conducted a media and discourse analysis to document the language that is used to stigmatize black women's hair, …


Assessing The Relationship Between Parenting Styles And Dietary Behaviors Among Young Adults, Breanna Tofteland Jan 2018

Assessing The Relationship Between Parenting Styles And Dietary Behaviors Among Young Adults, Breanna Tofteland

All Graduate Theses, Dissertations, and Other Capstone Projects

Food continues to be the focus of lifelong dietary and social habits. Past studies have shown the importance of creating healthy habits in childhood to increase the probability of healthy dietary behaviors as adults. A concern nationwide is that unhealthy dietary habits formed as a child translates to habits practiced as an adult, resulting in obesity (CDC, 2016). Past studies have shown that parenting styles are one of the contributing factors that influence how young adults view and interact with food. Branen & Fletcher's study concluded that there are significant correlations between habits formed in childhood that are still happening …


To Pass Or Not To Pass? Constructing And Negotiating Biracial Identity, Anthony Peavy Jan 2018

To Pass Or Not To Pass? Constructing And Negotiating Biracial Identity, Anthony Peavy

All Graduate Theses, Dissertations, and Other Capstone Projects

The purpose of this research is to show how biracial people narrate their identities and how people in society influence biracial individuals' constructions of their self. This is significant because this research obtains perspectives from individuals who simultaneously occupy a privileged and underprivileged identity. In highlighting the experiences of biracial people and their constructions of the self, this research answered questions surrounding how they perform their identities in social situations and how they negotiate passing privileges granted to some based on visual perceptions and/or skin tone.

This research was done using qualitative research methodologies, as these give more insights into …


An Examination Of Inattentional Blindness In Law Enforcement, Gregory Lee Jan 2018

An Examination Of Inattentional Blindness In Law Enforcement, Gregory Lee

All Graduate Theses, Dissertations, and Other Capstone Projects

Inattentional blindness, or the inability to visually detect an unexpected stimulus while attending to a task or situation, can have detrimental effects on those who are subject to the phenomenon. This may be particularly true for law enforcement officers, who are often engaged in cognitively demanding tasks that draw their attention away from potentially deadly hazards. This study aimed to look at the effects of inattentional blindness within a group of officers of varying degrees of experience and expertise. The officers were presented with a video-based scenario in which an unexpected stimulus was placed. The control group was asked to …


การศึกษาการรับรู้ความอบอุ่น ความสามารถ และเจตคติต่อกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศ, ฉัตรดาว สิทธิผล Jan 2018

การศึกษาการรับรู้ความอบอุ่น ความสามารถ และเจตคติต่อกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศ, ฉัตรดาว สิทธิผล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงการถูกประเมินความเชื่อแบบเหมารวมในมิติความอบอุ่น มิติความสามารถ และเจตคติของคนในสังคมที่มีต่อกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ (LGBT) โดยเจตคติต่อกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศในงานวิจัยชิ้นนี้มุ่งเน้นไปที่บริบทของการทำงาน งานวิจัยชิ้นนี้ออกแบบให้มี 8 เงื่อนไข โดยกลุ่มตัวอย่างอ่านและประเมินใบประวัติของเป้าหมายที่เป็นเพศชาย, เพศหญิง, เลสเบี้ยน, เกย์ (Gays), ไบเซ็กชวลชาย (Bisexual men), ไบเซ็กชวล (Bisexual women), ชายข้ามเพศ (Transgender men) หรือหญิงข้ามเพศ (Transgender women) กลุ่มตัวอย่างเป็นชาย และหญิงที่มีรสนิยมแบบรักต่างเพศ 8 เงื่อนไข โดยให้ผู้เข้าร่วมการวิจัยอ่านประวัติของเป้าหมาย ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร อายุระหว่าง 20-39 ปี จำนวน 160 คน ผลการวิจัยปรากฏว่าไม่พบว่ารสนิยมทางเพศที่ต่างกัน ส่งผลให้ผู้มีความหลากหลายทางเพศถูกประเมินในมิติความอบอุ่น มิติความสามารถ และเจตคติในบริบทของการทำงานแตกต่างกัน รวมถึงไม่พบว่าเป้าหมายในการประเมินที่เป็นกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ ถูกประเมินการเชื่อแบบเหมารวมในมิติของความอบอุ่น และความสามารถในด้านใดด้านหนึ่งน้อยกว่ากลุ่มรักต่างเพศ ซึ่งขัดแย้งกับงานวิจัยในอดีต ที่แสดงให้เห็นว่ากลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศมักจะได้รับการประเมินทั้งในด้านหนึ่งน้อยกว่าผู้ที่มีรสนิยมแบบรักต่างเพศ


อิทธิพลของการรับรู้ข้อจำกัดในการท่องเที่ยว และการรับรู้ประโยชน์ของการท่องเที่ยวต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวในกลุ่มนักท่องเที่ยวสะพายเป้หญิง : บทบาทของการจัดการกับข้อจำกัดในฐานะ ตัวแปรส่งผ่าน และอิทธิพลกำกับของความมุ่งมั่นในตนเอง, ฐิติวรรณ สีผึ้ง Jan 2018

อิทธิพลของการรับรู้ข้อจำกัดในการท่องเที่ยว และการรับรู้ประโยชน์ของการท่องเที่ยวต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวในกลุ่มนักท่องเที่ยวสะพายเป้หญิง : บทบาทของการจัดการกับข้อจำกัดในฐานะ ตัวแปรส่งผ่าน และอิทธิพลกำกับของความมุ่งมั่นในตนเอง, ฐิติวรรณ สีผึ้ง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการรับรู้ข้อจำกัดในการท่องเที่ยว และการรับรู้ประโยชน์ของการท่องเที่ยว ที่ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมการท่องเที่ยว โดยมีการจัดการกับข้อจำกัดเป็นตัวแปรส่งผ่าน และมีความมุ่งมั่นในตนเองเป็นตัวแปรกำกับ ผู้เข้าร่วมการวิจัยในครั้งนี้คือ นักท่องเที่ยวแบบสะพายเป้หญิง ชาวไทย จำนวนทั้งหมด 283 คน ทำมาตรวัดการรับรู้ข้อจำกัดในการท่องเที่ยว มาตรวัดการรับรู้ประโยชน์ของการท่องเที่ยว มาตรวัดการจัดการกับข้อจำกัด มาตรวัดพฤติกรรมการท่องเที่ยว และมาตรวัดความมุ่งมั่นในตนเอง การตรวจสอบสมมติฐานด้วยการทดสอบตัวแปรส่งผ่านและตัวแปรกำกับ โดยการทดสอบตัวแปรส่งผ่านอย่างมีเงื่อนไข (moderated mediation) ผ่านโปรแกรมเสริม PROCESS ใน SPSS ผลการวิจัยพบว่าการรับรู้ข้อจำกัดในการท่องเที่ยวสามารถทำนายพฤติกรรมการท่องเที่ยวได้ในทิศทางลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีการจัดการกับข้อจำกัดเป็นตัวแปรส่งผ่านแบบสมบูรณ์ (full mediation) อย่างไรก็ตามผลการวิเคราะห์พบว่าการรับรู้ประโยชน์ของการท่องเที่ยวไม่สามารถทำนายการจัดการกับข้อจำกัดได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จึงสรุปได้ว่าการจัดการกับข้อจำกัดไม่เป็นตัวแปรส่งผ่านระหว่างการรับรู้ประโยชน์ของการท่องเที่ยวและพฤติกรรมการท่องเที่ยว นอกจากนี้ยังพบว่าความมุ่งมั่นในตนเองไม่มีอิทธิพลกำกับในความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการกับข้อจำกัดและพฤติกรรมการท่องเที่ยวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติอีกด้วย


การศึกษากรอบมโนทัศน์และพัฒนาเครื่องมือประเมินสมรรถนะทางพหุวัฒนธรรมในการปรึกษาเชิงจิตวิทยา : การวิจัยแบบผสานวิธี, ฐิติกาญจน์ บุญรักษา อินทาปัจ Jan 2018

การศึกษากรอบมโนทัศน์และพัฒนาเครื่องมือประเมินสมรรถนะทางพหุวัฒนธรรมในการปรึกษาเชิงจิตวิทยา : การวิจัยแบบผสานวิธี, ฐิติกาญจน์ บุญรักษา อินทาปัจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยแบบผสานวิธีครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษากรอบมโนทัศน์สมรรถนะทางพหุวัฒนธรรมในการปรึกษาเชิงจิตวิทยาในบริบทสังคมไทย (2) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณสมบัติทางจิตมิติมาตรวัดสมรรถนะทางพหุวัฒนธรรมในการปรึกษาเชิงจิตวิทยา ผู้วิจัยแบ่งการศึกษาเป็น 2 ระยะ คือระยะที่ 1 การศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพเรื่องประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการมีสมรรถนะทางพหุวัฒนธรรมในการปรึกษาเชิงจิตวิทยา ในนักจิตวิทยาการปรึกษาไทย 7 ราย ที่คัดเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนดร่วมกับการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ระยะที่ 2 การศึกษาวิจัยเชิงปริมาณเพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณสมบัติทางจิตมิติของมาตรวัดสมรรถนะทางพหุวัฒนธรรมในการปรึกษาเชิงจิตวิทยา ในนักจิตวิทยาการปรึกษา ผู้ปฏิบัติงานด้านการปรึกษาโดยใช้ทักษะการปรึกษาเชิงจิตวิทยา นิสิตนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา (ด้านจิตวิทยาการปรึกษา และจิตวิทยาการให้คำปรึกษาและแนะแนว)และนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 4 สาขาจิตวิทยา จำนวนทั้งสิ้น 461 คน จาก 5 ภูมิภาคทั่วประเทศ (แบ่งเป็นการตรวจสอบคุณภาพข้อกระทงรายข้อ 85 คน การตรวจสอบคุณสมบัติทางจิตมิติของมาตรวัดทั้งฉบับ 316 คน และการตรวจสอบความตรงเชิงภาวะสันนิษฐานด้วยเทคนิคกลุ่มรู้ชัด 60 คน) ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS for Windows และ LISREL ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่ากรอบมโนทัศน์สมรรถนะทางพหุวัฒนธรรมในการปรึกษาเชิงจิตวิทยา ประกอบด้วย 10 ด้าน คือ (1) การตระหนักในพื้นฐานความเชื่อ ค่านิยม และอคติ ทางวัฒนธรรม (2) การตระหนักในความรู้พื้นฐานทางวัฒนธรรม (3) การตระหนักในทักษะทางวัฒนธรรม (4) ความเข้าใจในพื้นฐาน ความเชื่อ ค่านิยม และอคติ ทางวัฒนธรรมของผู้มาปรึกษา (5) ความเข้าใจในความรู้พื้นฐานทางวัฒนธรรมของผู้มาปรึกษา (6) ความเข้าใจในทักษะทางพหุวัฒนธรรม (7) การพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องในเรื่องพื้นฐานความเชื่อ ค่านิยม และอคติ ทางวัฒนธรรม (8) การพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องในเรื่องความรู้ทางวัฒนธรรม (9) การพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องในด้านทักษะ กลยุทธ์ และเทคนิคที่เหมาะสม และ (10) การผสมผสานความเป็นมืออาชีพกับการใช้ชีวิตส่วนตัวได้อย่างลงตัว และ ส่วนผลการวิจัยเชิงปริมาณพบว่า มาตรวัดสมรรถนะทางพหุวัฒนธรรมในการปรึกษาเชิงจิตวิทยาที่พัฒนาขึ้นจากกรอบมโนทัศน์ในการศึกษาเชิงคุณภาพระยะที่1 มีจำนวน 47 ข้อ มีความตรงตามเนื้อหาจากการตรวจสอบของผู้ทรงคุณวุฒิ มีความตรงตามเกณฑ์สัมพันธ์กับแบบสอบถามสัมพันธภาพและความร่วมมือในการปรึกษาเชิงจิตวิทยา (r = .48, p < .001) และไม่พบความสัมพันธ์กับมาตรวัดการตอบเพื่อทำให้ดูดีทางสังคม (r = .04, ns) มีความตรงเชิงภาวะสันนิษฐานจากการเปรียบเทียบด้วยกลุ่มรู้ชัด (t = 3.71, p < .001) และผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพบว่าโมเดลการวัดสมรรถนะทางพหุวัฒนธรรมในการปรึกษาเชิงจิตวิทยา ที่มี 10 ด้าน มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ 2 = 40.58; df = 28; p = .059; CFI = 1.00; GFI = .98; AGFAI = .95; SRMR = .03; RMSEA = .04; χ 2/df = 1.45) มาตรวัดมีค่าความเที่ยงแบบสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .957


ผลของกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวปัญญาพฤติกรรมนิยมต่อความวิตกกังวลในวัยรุ่นตอนต้น, บุญจิรา ชลธารนที Jan 2018

ผลของกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวปัญญาพฤติกรรมนิยมต่อความวิตกกังวลในวัยรุ่นตอนต้น, บุญจิรา ชลธารนที

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยกึ่งการทดลองในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวปัญญาพฤติกรรมนิยมต่อความวิตกกังวลในวัยรุ่นตอนต้น โดยกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยนี้ คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมต้นที่มีอายุระหว่าง 11-15 ปี ซึ่งมีคะแนนความวิตกกังวลสูงกว่าค่าเฉลี่ยแต่ไม่เกิน 1SD จำนวน 47 คนแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 23 คน กลุ่มควบคุม 24 คน โดยกลุ่มทดลองจะเข้าร่วมกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวปัญญาพฤติกรรมนิยมสัปดาห์ละ 2 ครั้งๆ ละ 2 ชั่วโมง รวม 8 ครั้ง คิดเป็นเวลาทั้งสิ้น 16 ชั่วโมง โดยกลุ่มตัวอย่างตอบชุดคำถามแบบสอบถามที่ประกอบด้วยแบบวัดความวิตกกังวล (SCRAED) แบบวัดความสามารถในการตระหนักรู้อารมณ์ตนเอง (EESC) และแบบวัดความสามารถในการกำกับอารมณ์ตนเอง (ERQ) ข้อมูลที่ได้รับถูกนำมาวิเคราะห์ทางสถิติโดยใช้สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุนามแบบวัดซ้ำและระหว่างกลุ่ม โดยมีผลวิจัยดังนี้ 1. หลังการเข้าร่วมกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวปัญญาพฤติกรรมนิยม กลุ่มทดลองมีความวิตกกังวลน้อยกว่าก่อนเข้าร่วมกลุ่มการปรึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2. หลังการเข้าร่วมกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวปัญญาพฤติกรรมนิยม กลุ่มทดลองมีความวิตกกังวลน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3. หลังการเข้าร่วมกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวปัญญาพฤติกรรมนิยม กลุ่มทดลองมีความสามารถในการตระหนักรู้อารมณ์ตนเองมากกว่าก่อนเข้าร่วมกลุ่มการปรึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 4. หลังการเข้าร่วมกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวปัญญาพฤติกรรมนิยม กลุ่มทดลองไม่พบว่ามีความสามารถในการตระหนักรู้อารมณ์ตนเองมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 5. หลังการเข้าร่วมกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวปัญญาพฤติกรรมนิยม กลุ่มทดลองมีความสามารถในการกำกับอารมณ์ตนเองมากกว่าก่อนเข้าร่วมกลุ่มการปรึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 6. หลังการเข้าร่วมกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวปัญญาพฤติกรรมนิยม กลุ่มทดลองมีความสามารถในการกำกับอารมณ์ตนเองมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


การพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพและการออกกำลังกายในวัยรุ่นไทย และการศึกษาความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลระหว่างเพศ, นภัษ ลิ่มอรุณ Jan 2018

การพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพและการออกกำลังกายในวัยรุ่นไทย และการศึกษาความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลระหว่างเพศ, นภัษ ลิ่มอรุณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ (1) เพื่อตรวจสอบความตรงของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของวัยรุ่นไทย แบ่งออกเป็น 2 พฤติกรรม คือ พฤติกรรมการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพและพฤติกรรมการออกกำลังกาย (2) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความตรงของโมเดลขยายเปรียบเทียบความเหมาะสมของโมเดลใน 2 ทางเลือก ทางเลือกที่ 1 ตัวแปรสิ่งกระตุ้นชักจูงส่งผลโดยตรงกับพฤติกรรม และทางเลือกที่ 2 ตัวแปรสิ่งกระตุ้นชักจูงส่งผลต่อพฤติกรรมผ่านตัวแปรการรับรู้ 5 ตัวแปร (ได้แก่ การรับรู้ความเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรง การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค และการรับรู้ความสามารถของตนเอง) และ (3) เพื่อทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลระหว่างวัยรุ่นชายและวัยรุ่นหญิง กลุ่มตัวอย่างคือ วัยรุ่นระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,200 คน (ชาย 600 คน หญิง 600 คน) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปและมาตรวัดที่สร้างขึ้นตามทฤษฎีความเชื่อทางสุขภาพ (Health Belief Model) ผลการวิจัยพบว่า 1) โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุพฤติกรรมการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพและพฤติกรรมการออกกำลังกายของวัยรุ่นไทย มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 2) โมเดลทางเลือกที่ 2 ตัวแปรสิ่งกระตุ้นชักจูงเป็นตัวแปรต้น ส่งผลต่อพฤติกรรมผ่านตัวแปรการรับรู้ 5 ตัวแปร ซึ่งเป็นโมเดลทางเลือกที่สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มากกว่าโมเดลทางเลือกที่ 1 3) โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของทั้ง 2 พฤติกรรม มีความแตกต่างระหว่างเพศ คือ 3.1 โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุพฤติกรรมการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ พบว่า ตัวแปรต้นและตัวแปรส่งผ่าน 5 ตัว ร่วมกันอธิบายความแปรปรวนความตั้งใจในการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพในวัยรุ่นชายคิดเป็นร้อยละ 37.9 และคิดเป็นร้อยละ 32.6 สำหรับวัยรุ่นหญิง 3.2 โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุพฤติกรรมการออกกำลังกาย พบว่า ตัวแปรต้นและตัวแปรส่งผ่าน 5 ตัว ร่วมกันอธิบายความแปรปรวนความตั้งใจในการออกกำลังกายในวัยรุ่นชาย คิดเป็นร้อยละ 45.5 และคิดเป็นร้อยละ 44.2 สำหรับวัยรุ่นหญิง


การพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของทักษะทางสังคมในเด็กหูหนวกโดยมีความสามารถในการเข้าใจความคิดของผู้อื่นเป็นตัวแปรส่งผ่าน, ปริญญา สิริอัตตะกุล Jan 2018

การพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของทักษะทางสังคมในเด็กหูหนวกโดยมีความสามารถในการเข้าใจความคิดของผู้อื่นเป็นตัวแปรส่งผ่าน, ปริญญา สิริอัตตะกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา และตรวจสอบโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของทักษะทางสังคมในเด็กหูหนวกโดยมีความสามารถในการเข้าใจความคิดของผู้อื่นเป็นตัวแปรส่งผ่านที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เด็กหูหนวกที่ได้ยินเสียงในระดับของเสียงตั้งแต่ 90 เดซิเบลขึ้นไป และศึกษาอยู่ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 - 6 ในโรงเรียนโสตศึกษา 7 โรงเรียน ได้แก่ 1) โรงเรียนโสตศึกษาอนุสารสุนทร จังหวัดเชียงใหม่ 2) โรงเรียนเศรษฐเสถียรในพระราชูปถัมภ์ กทม. 3) โรงเรียนโสตศึกษาทุ่งมหาเมฆ กทม. 4) โรงเรียนโสตศึกษา จังหวัดนนทบุรี 5) โรงเรียนโสตศึกษา จังหวัดชลบุรี 6) โรงเรียนโสตศึกษา จังหวัดอุดรธานี และ 7) โรงเรียนโสตศึกษา จังหวัดสงขลา รวมจำนวนทั้งสิ้น 200 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของเด็ก การทดสอบความสามารถในการเข้าใจความคิดของผู้อื่น แบบวัดความเข้าใจความรู้สึกผู้อื่น แบบทดสอบทักษะการใช้ภาษามือไทย แบบวัดความผูกพันกับผู้เลี้ยงดู และแบบวัดทักษะทางสังคม ซึ่งมีค่าความเที่ยงอยู่ระหว่าง .706 - .924 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างด้วยโปรแกรม LISREL 9.30 ผลการวิจัย พบว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยความสามารถในการเข้าใจความคิดของผู้อื่นเป็นตัวแปรส่งผ่านระหว่างการเข้าใจความรู้สึกผู้อื่น ความผูกพันกับผู้เลี้ยงดู และทักษะการใช้ภาษามือกับทักษะทางสังคมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนความสามารถในการเข้าใจความคิดของผู้อื่นไม่เป็นตัวแปรส่งผ่านระหว่างอายุกับทักษะทางสังคม


ผลของกลุ่มการเล่นบำบัดแบบเกสตัลท์ต่อการพัฒนาทักษะทางสังคมในเด็กชั้นประถมศึกษาตอนปลาย, พิมพิกา ตันสุวรรณ Jan 2018

ผลของกลุ่มการเล่นบำบัดแบบเกสตัลท์ต่อการพัฒนาทักษะทางสังคมในเด็กชั้นประถมศึกษาตอนปลาย, พิมพิกา ตันสุวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของกลุ่มการเล่นบำบัดแบบเกสตัลท์ต่อการพัฒนาทักษะทางสังคมในเด็กชั้นประถมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 48 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 24 คน และกลุ่มควบคุม 24 คน โดยกลุ่มทดลองจะเข้าร่วมกลุ่มการเล่นบำบัดแบบเกสตัลท์ สัปดาห์ละครั้ง จำนวน 7 สัปดาห์ ครั้งละ 45 นาที เก็บข้อมูลโดยครูเป็นผู้ตอบแบบประเมินมาตรวัดทักษะทางสังคมในเด็กทั้งช่วงก่อนและหลังการทดลอง และระยะติดตามผล โดยแบ่งทักษะทางสังคมออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ การควบคุมตนเอง การยืนหยัดในตนเอง และการให้ความร่วมมือ ข้อมูลที่ได้ถูกนำมาวิเคราะห์ทางสถิติโดยใช้สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุนามแบบวัดซ้ำ และระหว่างกลุ่ม โดยมีผลการวิจัย ดังนี้ 1.หลังการทดลอง และระยะติดตามผล กลุ่มทดลองมีคะแนนทักษะทางสังคมด้านการควบคุมตนเองสูงขึ้นเมื่อเทียบกับก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .001) และพบความแตกต่างระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมในช่วงหลังการทดลองและระยะติดตามผล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .001) 2. หลังการทดลอง และระยะติดตามผล กลุ่มทดลองมีคะแนนทักษะทางสังคมด้านการยืนหยัดในตนเองสูงขึ้นเมื่อเทียบกับก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .001) และพบความแตกต่างระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมในช่วงหลังการทดลองและระยะติดตามผล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .001) 3. หลังการทดลอง และระยะติดตามผล กลุ่มทดลองมีคะแนนทักษะทางสังคมด้านการให้ความร่วมมือสูงขึ้นเมื่อเทียบกับก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .001) และพบความแตกต่างระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมในช่วงหลังการทดลองและระยะติดตาม ผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .001)


สติในการเลี้ยงดูบุตรของพ่อแม่ที่ฝึกสติปัฏฐาน : ทฤษฎีฐานราก, พรรณพนัช แซ่เจ็ง Jan 2018

สติในการเลี้ยงดูบุตรของพ่อแม่ที่ฝึกสติปัฏฐาน : ทฤษฎีฐานราก, พรรณพนัช แซ่เจ็ง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้สติในการเลี้ยงดูบุตรของพ่อแม่ที่ฝึกสติปัฏฐาน ด้วยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ การสร้างทฤษฎีฐานราก ที่สร้างทฤษฎีขึ้นจากข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลคือ พ่อแม่ผู้ฝึกสติปัฏฐานในระยะยาว จำนวน 10 ราย เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิจัยแบบสร้างทฤษฎีจากข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า ทฤษฎีฐานรากประกอบด้วย 5 ประเด็นสำคัญได้แก่ 1) ความทุกข์ใจในการเลี้ยงดู อันแสดงถึง ลักษณะของความทุกข์ ที่มาของความทุกข์ใจ และการเปลี่ยนแปลงของความทุกข์ในการใช้สติในการเลี้ยงดู 2) รากฐานในการใช้สติในการเลี้ยงดู ประกอบด้วย ความตั้งมั่นของพ่อแม่ในการใช้สติกับลูก ความสงบ และใจที่มีประสบการณ์และความชำนาญในการสังเกตใคร่ครวญ 3) กระบวนการเท่าทันและเข้าใจในการเลี้ยงดู คือ กระบวนการรู้เท่าทันในปัจจุบันขณะ การยับยั้งตนเอง กระบวนการทำความเข้าใจโดยอาศัยเวลาในการใคร่ครวญ และการแสดงออกต่อลูก 4) ความเข้าใจธรรมชาติในการเลี้ยงดู คือความเข้าใจในความเกี่ยวเนื่องระหว่างตนกับลูก การยอมรับในความไม่แน่นอนในการเลี้ยงดู และการวางใจในการเป็นพ่อแม่ 5) การตระหนักในคุณค่าของการใช้สติในการเลี้ยงดู ประกอบด้วย การตระหนักในคุณค่าที่เกิดกับตนเอง การตระหนักในคุณค่าที่เกิดกับลูก และการตระหนักในคุณค่าที่เกิดกับสัมพันธภาพ ทฤษฎีแสดงและอธิบายความสัมพันธ์ของทั้ง 5 ประเด็นที่มีความเชื่อมโยงกัน โดยเริ่มต้นจากพ่อแม่มีรากฐานในการใช้สติในการเลี้ยงดู และมีความทุกข์ใจในการเลี้ยงดู เชื่อมโยงไปสู่กระบวนการเท่าทันและเข้าใจในการเลี้ยงดู จึงได้ตระหนักในคุณค่าของการใช้สติในการเลี้ยงดู และเกิดความเข้าใจธรรมชาติในการเลี้ยงดู ซึ่งเชื่อมโยงกลับไปยังการเปลี่ยนแปลงของความทุกข์ และรากฐานในการใช้สติในการเลี้ยงดู ทฤษฎีฐานรากที่ปรากฏขึ้นนี้ เป็นองค์ความรู้ที่นักจิตวิทยาการปรึกษาสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการสร้างโปรแกรมพัฒนาสติในการเลี้ยงดูสำหรับพ่อแม่ และนักวิจัยสามารถนำไปประยุกต์ในการพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับสติในการเลี้ยงดูในแนวพุทธได้ต่อไป


ความสัมพันธ์ระหว่างอัตลักษณ์ทางเฟมินิสต์เชิงบวกและการถูกกระทำรุนแรงในคู่รัก: อิทธิพลส่งผ่านของการเห็นคุณค่าในตนเองและอำนาจในความสัมพันธ์, มัลลิกา อุกฤษฏ์ Jan 2018

ความสัมพันธ์ระหว่างอัตลักษณ์ทางเฟมินิสต์เชิงบวกและการถูกกระทำรุนแรงในคู่รัก: อิทธิพลส่งผ่านของการเห็นคุณค่าในตนเองและอำนาจในความสัมพันธ์, มัลลิกา อุกฤษฏ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อตรวจสอบอิทธิพลของอัตลักษณ์ทางเฟมินิสต์เชิงบวก ที่มีต่อการถูกกระทำรุนแรงในคู่รัก โดยมีการเห็นคุณค่าในตนเองและอำนาจในความสัมพันธ์ เป็นตัวแปรส่งผ่าน กลุ่มตัวอย่างคือผู้หญิงวัยทำงานที่มีคนรักหรือเคยมีคนรักในอดีตจำนวน 311 คน อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร อายุระหว่าง 30-60 ปี โดยให้ผู้ร่วมวิจัยตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับการเห็นคุณค่าในตนเอง อำนาจในความสัมพันธ์ อัตลักษณ์ทางเฟมินิสต์เชิงบวก และการถูกกระทำรุนแรงจากคู่รัก ผลการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง พบว่า อัตลักษณ์ทางเฟมินิสต์เชิงบวกมีอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมต่อการถูกกระทำรุนแรงจากคนรักผ่านการเห็นคุณค่าในตนเองและอำนาจในความสัมพันธ์ โดยผู้หญิงถูกกระทำรุนแรงทางจิตใจสูงกว่าความรุนแรงรูปแบบอื่น


ความสัมพันธ์ระหว่างการสร้างสรรค์เชิงศิลปะ ความหมายในชีวิต และภาวะซึมเศร้าในนิสิตนักศึกษาศิลปะ, วิภาวี วรวุฒิวิทยารักษ์ Jan 2018

ความสัมพันธ์ระหว่างการสร้างสรรค์เชิงศิลปะ ความหมายในชีวิต และภาวะซึมเศร้าในนิสิตนักศึกษาศิลปะ, วิภาวี วรวุฒิวิทยารักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง การสร้างสรรค์เชิงศิลปะ ความหมายในชีวิต และภาวะซึมเศร้าในนิสิตนักศึกษาศิลปะ กลุ่มตัวอย่างคือ นิสิตนักศึกษาศิลปะจำนวน 311 คน อายุเฉลี่ย 20.53±1.43 ปี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ (1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป (2) มาตรวัดสมรรถนะการสร้างสรรค์ของเอปสไตน์ (3) มาตรวัดความหมายในชีวิต และ (4) มาตรวัดด้านย่อยภาวะซึมเศร้าของมาตรวัดความเครียด ความวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้าฉบับ 42 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าสถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่าการสร้างสรรค์เชิงศิลปะมีค่าสหสัมพันธ์ทางลบกับภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.24, p < .01) เช่นเดียวกับความหมายในชีวิต มีค่าสหสัมพันธ์ทางลบกับภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.70, p < .01) โดยที่การสร้างสรรค์เชิงศิลปะและความหมายในชีวิต สามารถร่วมกันทำนายภาวะซึมเศร้าในนิสิตนักศึกษาศิลปะได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 โดยร่วมกันทำนายความแปรปรวนของภาวะซึมเศร้าร้อยละ 50 (R2 = .50, p < .01) เมื่อพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยมาตรฐานของแต่ละตัวแปรทำนายพบว่าความหมายในชีวิตมีน้ำหนักค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยมาตรฐานสูงที่สุด (β = -.74, p < .01) ส่วนการสร้างสรรค์เชิงศิลปะ ไม่สามารถทำนายภาวะซึมเศร้าได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (β = .09, ns)


อิทธิพลของการจินตนาการถึงการมีปฏิสัมพันธ์กับคนนอกกลุ่มแบบร่วมมือกัน และได้รับการสนับสนุนจากผู้มีอำนาจต่อเจตคติรังเกียจกลุ่ม : การศึกษาตัวแปรส่งผ่านสองตัว, สรวงศนันท์ สิริประภาพล Jan 2018

อิทธิพลของการจินตนาการถึงการมีปฏิสัมพันธ์กับคนนอกกลุ่มแบบร่วมมือกัน และได้รับการสนับสนุนจากผู้มีอำนาจต่อเจตคติรังเกียจกลุ่ม : การศึกษาตัวแปรส่งผ่านสองตัว, สรวงศนันท์ สิริประภาพล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบประสิทธิผลของการจินตนาการถึงการมีปฏิสัมพันธ์กับคนนอกกลุ่มแบบร่วมมือกันและได้รับการสนับสนุนจากผู้มีอำนาจ ในการลดเจตคติรังเกียจกลุ่มทั้งแบบเด่นชัดและแบบแอบแฝงของชาวไทยที่มีต่อชาวพม่า โดยการเทียบกับเงื่อนไขการจินตนาการถึงการมีปฏิสัมพันธ์กับคนนอกกลุ่มแบบร่วมมือกัน (ไม่มีผู้มีอำนาจ) และเงื่อนไขควบคุม รวมทั้งศึกษาตัวแปรส่งผ่าน 2 ตัวแปร ได้แก่ ความวิตกกังวลต่อคนนอกกลุ่ม และการรับรู้บรรทัดฐานภายในกลุ่ม โดยนิสิตระดับปริญญาตรีชาวไทยจำนวน 186 คน ได้รับคำสั่งให้จินตนาการตามเหตุการณ์ที่แตกต่างกันตามเงื่อนไข ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า เงื่อนไขการมีปฏิสัมพันธ์ทางบวกกับชาวพม่าแบบร่วมมือกันและได้รับการสนับสนุนจากผู้มีอำนาจ มีอิทธิพลทางอ้อมในการลดเจตคติรังเกียจชาวพม่าแบบเด่นชัด ผ่านการลดความวิตกกังวลต่อชาวพม่า และเพิ่มการรับรู้บรรทัดฐานทางบวกที่ควรมีต่อชาวพม่าภายในกลุ่มตนเอง ในฐานะตัวแปรส่งผ่านเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม แต่พบว่ามีอิทธิพลในการลดเจตคติรังเกียจกลุ่มแบบเด่นชัด เท่าเทียมกับการจินตนาการถึงการมีปฏิสัมพันธ์กับคนนอกกลุ่มแบบร่วมมือกัน เมื่อเวลาผ่านไป 1 สัปดาห์ พบผลว่า ยังคงมีประสิทธิผลในการลดเจตคติรังเกียจกลุ่มแบบเด่นชัดอยู่ อย่างไรก็ตามการจินตนาการถึงการมีปฏิสัมพันธ์กับคนนอกกลุ่มทั้งสองเงื่อนไขนั้นไม่มีอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมในการลดเจตคติรังเกียจกลุ่มแบบแอบแฝง จากการวัดด้วยแบบทดสอบการเชื่อมโยงแบบแอบแฝง


ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะนิสัยแบบฟื้นคืนพลัง ความหมายในชีวิต และปัญหาทางจิตใจของนักเรียนทุนที่ศึกษาต่อต่างประเทศ, สุจิรา ประกอบสุข Jan 2018

ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะนิสัยแบบฟื้นคืนพลัง ความหมายในชีวิต และปัญหาทางจิตใจของนักเรียนทุนที่ศึกษาต่อต่างประเทศ, สุจิรา ประกอบสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะนิสัยแบบฟื้นคืนพลัง ความหมายในชีวิต (ด้านความเข้าใจความหมายในชีวิตและการค้นหาความหมาย) และปัญหาทางจิตใจ (ความเครียด ความวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้า) ในนักเรียนทุนที่ศึกษาต่อต่างประเทศ โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มนักเรียนทุนที่มีอายุเฉลี่ย 30±6.25 ปี จำนวน 271 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ มาตรวัดลักษณะนิสัยแบบฟื้นคืนพลัง มาตรวัดความหมายในชีวิต มาตรวัดความเครียด ความวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้า (Depression Anxiety Stress Scale:DASS-21) เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่าลักษณะนิสัยแบบฟื้นคืนพลังและความหมายในชีวิตทั้งสองด้านสามารถร่วมกันทำนายปัญหาด้านจิตใจนักเรียนชาวไทยที่ได้รับทุนศึกษาต่อต่างประเทศได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยสามารถอธิบายความแปรปรวนของความเครียดได้ร้อยละ 24.7 (R² = .247, p<.01) ความวิตกกังวลได้ร้อยละ 15.2 (R² = .152, p<.01) และภาวะซึมเศร้าได้ร้อยละ 41.3 (R²= .413, p<.01) ทั้งนี้ลักษณะนิสัยแบบฟื้นคืนมีน้ำหนักในการทำนายความเครียด (β = -.263, p<.01) ความวิตกกังวล (β = -.208, p<.01) และภาวะซึมเศร้า (β = -.228, p<.01) ความหมายในชีวิตด้านการเข้าใจความหมายในชีวิต มีน้ำหนักในการทำนายความเครียด (β = -.251, p<.01) ความวิตกกังวล (β = -.198, p<.01) และภาวะซึมเศร้า (β = -.485, p<.01) และความหมายในชีวิตด้านการค้นหาความหมาย มีน้ำหนักในการทำนายความเครียด (β = .204, p<.01) ความวิตกกังวล (β = .155, p<.01) และภาวะซึมเศร้า (β = .102, p<.01) ตามลำดับ


ความสัมพันธ์ระหว่าง ความเครียด และสุขภาวะทางจิตในวัยผู้ใหญ่ตอนกลาง โดยมีความเมตตากรุณาต่อตนเอง และการสนับสนุนทางสังคมเป็นตัวแปรกำกับ, ณัฐชา อุเทศนันทน์ Jan 2018

ความสัมพันธ์ระหว่าง ความเครียด และสุขภาวะทางจิตในวัยผู้ใหญ่ตอนกลาง โดยมีความเมตตากรุณาต่อตนเอง และการสนับสนุนทางสังคมเป็นตัวแปรกำกับ, ณัฐชา อุเทศนันทน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ความเครียด และสุขภาวะทางจิตในวัยผู้ใหญ่ตอนกลาง โดยมีความเมตตากรุณาต่อตนเอง และการสนับสนุนทางสังคมเป็นตัวแปรกำกับ กลุ่มตัวอย่างคือ บุคคลที่อยู่ในช่วงวัยผู้ใหญ่ตอนกลาง อายุตั้งแต่ 35 – 59 ปี จำนวน 263 คน อายุเฉลี่ยเท่ากับ 45.64 ± 7.19 ปี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ มาตรวัดการรับรู้ความเครียด มาตรวัดความเมตตากรุณาต่อตนเอง มาตรวัดสุขภาวะทางจิตของ และ มาตรวัดการสนับสนุนทางสังคม วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ความเครียด มีค่าสหสัมพันธ์ทางลบกับความเมตตากรุณาต่อตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.60, p < .001), ความเครียด มีค่าสหสัมพันธ์ทางลบกับการสนับสนุนทางสังคมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.11, p < .05) ความเครียด มีค่าสหสัมพันธ์ทางลบกับสุขภาวะทางจิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.53, p < .001) ในขณะที่ความเมตตากรุณาต่อตนเองไม่สามารถกำกับอิทธิพลของความเครียดที่มีต่อสุขภาวะทางจิตได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (b = -.00, p = .98) และการสนับสนุนทางสังคมก็ไม่สามารถกำกับอิทธิพลของความเครียดที่มีต่อสุขภาวะทางจิตได้เช่นกัน (b = -.00, p = .51) นอกจากนี้ ความเครียด ความเมตตากรุณาต่อตนเอง และการสนับสนุนทางสังคมสามารถร่วมกันทำนายสุขภาวะทางจิตได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และอธิบายความแปรปรวนของสุขภาวะทางจิตร้อยละ 50 (R² = .50, p < .001) โดยความเมตตากรุณาต่อตนเองมีน้ำหนักในการทำนายสูงที่สุด (β = .51, p < .01) การสนับสนุนทางสังคม มีน้ำหนักในการทำนายรองลงมา (β = .19, p < .001) ในขณะที่ความเครียดมีน้ำหนักในการทำนายต่ำที่สุด (β = -.16, p < .001)


ผลของเป้าหมายการควบคุม และการชี้แจงเหตุผลรองรับการตัดสินใจ ต่อระดับการเอนเอียงในการตัดสินใจ ให้ตนเองและผู้อื่น, อรพรรณ คูเกษมรัตน์ Jan 2018

ผลของเป้าหมายการควบคุม และการชี้แจงเหตุผลรองรับการตัดสินใจ ต่อระดับการเอนเอียงในการตัดสินใจ ให้ตนเองและผู้อื่น, อรพรรณ คูเกษมรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง รูปแบบ 2 x 2 x 3 แฟคทอเรียลดีไซน์ เปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของเป้าหมายการควบคุม และการชี้แจงเหตุผลรองรับการตัดสินใจ ต่อระดับการเอนเอียงในการตัดสินใจให้ผู้ได้รับผลของการตัดสินใจที่ต่างกัน กลุ่มตัวอย่าง คือนิสิตนักศึกษาปริญญาตรี ที่กำลังศึกษาอยู่ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อายุ 18-24 ปี จำนวน 258 คน (หญิง 68.2%) กลุ่มตัวอย่างถูกสุ่มเข้าเงื่อนไขการทดลอง 12 เงื่อนไข และได้รับการจัดกระทำเป้าหมายการควบคุมแบบป้องกัน หรือส่งเสริม จากนั้นกลุ่มตัวอย่างต้องตัดสินใจเลือกแบ่งเงิน 1,000 บาท เป็นสองส่วน คือ เพื่อคงสถานะและเพื่อเพิ่มสถานะในด้านต่าง ๆ ของชีวิตทั้งหมด 7 ด้านให้ตนเอง หรือผู้อื่นที่สนิท หรือผู้อื่นที่ไม่สนิท กลุ่มตัวอย่างในเงื่อนไขที่มีการชี้แจงเหตุผลรองรับการตัดสินใจ ได้รับคำสั่งให้ชี้แจงเหตุผลประกอบการตัดสินใจต่อผู้วิจัยหลังตอบคำถาม ขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งไม่ต้องชี้แจงเหตุผลรองรับการตัดสินใจ ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการเอนเอียงในการตัดสินใจแบบมุ่งการได้รับ คือ มีแนวโน้มจ่ายเงินเพื่อเพิ่มสถานะมากกว่าจ่ายเงินเพื่อคงสถานะ ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสามทาง ไม่พบปฏิสัมพันธ์สามทางของเป้าหมายการควบคุม การชี้แจงเหตุผลรองรับการตัดสินใจ และผู้ได้รับผลของการตัดสินใจ แต่พบว่าการเอนเอียงในการตัดสินใจแบบมุ่งการได้รับที่พบนี้ ได้รับอิทธิพลจากผลหลักของเป้าหมายการควบคุม และผู้ได้รับผลของการตัดสินใจ และได้รับอิทธิพลจากผลปฏิสัมพันธ์ของเป้าหมายการควบคุมกับการชี้แจงเหตุผลรองรับการตัดสินใจ และผลปฏิสัมพันธ์ของเป้าหมายการควบคุมกับผู้ได้รับผลของการตัดสินใจ กล่าวคือ โดยทั่วไปบุคคลที่ถูกจัดกระทำเป้าหมายการควบคุมแบบป้องกัน มีการเอนเอียงในการตัดสินใจแบบมุ่งการได้รับน้อยกว่าบุคคลที่ถูกจัดกระทำเป้าหมายการควบคุมแบบส่งเสริม โดยความแตกต่างนี้จะน้อยลง ในเงื่อนไขที่ตัดสินใจให้ตนเอง และในเงื่อนไขที่ต้องชี้แจงเหตุผลรองรับการตัดสินใจ


Effects Of Long-Term Participation In Tennis On Cognitive Function In Elderly Individuals, Scott Culpin Jan 2018

Effects Of Long-Term Participation In Tennis On Cognitive Function In Elderly Individuals, Scott Culpin

Theses: Doctorates and Masters

Many studies have reported the relationship between exercise and cognition with conflicting results. This may be due to differences in intervention durations, session lengths, intensities, and type of exercise. It has been suggested that exercises requiring greater cognitive demand such as football, basketball and racquet sports, are protective against cognitive decline, compared to less cognitively demanding exercises such as swimming, cycling and running, however, research concerning exercise types are currently limited. The present study tested the hypothesis that elderly individuals who had been regularly playing tennis more than 10 years, would have greater cognitive function than those who had been …


Exploring The Preparedness Of Novice (Student) Paramedics For The Mental Health Challenges Of The Paramedic Profession: Using The Wisdom Of The Elders, Lisa Holmes Jan 2018

Exploring The Preparedness Of Novice (Student) Paramedics For The Mental Health Challenges Of The Paramedic Profession: Using The Wisdom Of The Elders, Lisa Holmes

Theses: Doctorates and Masters

This study investigates the preparedness of novice (student) paramedics for the mental health challenges of the paramedic profession and identifies the coping strategies used by veteran paramedics to successfully meet these challenges. The lived experience of veteran paramedics is utilised to provide this important assistance.

Initially, two surveys were developed and administered to 16 course coordinators and 302 students of the 16 accredited undergraduate degree paramedicine courses across Australia and New Zealand, to identify the perceived need (for preparation) within the curriculum. In addition, the anticipations, confidence and fears of novice (student) paramedics, course coordinators and veteran paramedics were also …