Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Psychology

PDF

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

2019

Articles 1 - 24 of 24

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมทางการเงินและเป้าหมายการออมในผู้ใหญ่วัยเริ่ม, กอข้าว เพิ่มตระกูล Jan 2019

ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมทางการเงินและเป้าหมายการออมในผู้ใหญ่วัยเริ่ม, กอข้าว เพิ่มตระกูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมทางการเงิน กับเป้าหมายการออมเงินที่สามารถสะท้อนถึงความต้องการของบุคคลตามทฤษฎีของ Maslow โดยเก็บข้อมูลในผู้ใหญ่วัยเริ่มที่มีอายุระหว่าง 18-29 ปี จำนวน 165 คน ที่มีงานทำและมีรายได้ประจำ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามเป้าหมายการออมในผู้ใหญ่วัยเริ่ม และแบบสอบถามพฤติกรรมทางการเงิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการถดถอยเชิงขั้น (hierarchical regression analysis) ผลวิจัยพบว่า การตั้งเป้าหมายการออมเงินเพื่อความต้องการด้านความปลอดภัยและความมั่นคง และการตั้งเป้าหมายการออมเงินเพื่อความต้องการด้านการเข้าถึงศักยภาพตนเอง สามารถทำนายพฤติกรรมทางการเงินของผู้ใหญ่วัยเริ่มได้มากที่สุด รองลงมาคือการตั้งเป้าหมายการออมเงินเพื่อความต้องการด้านความรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า ส่วนการตั้งเป้าหมายการออมเงินเพื่อความต้องการด้านการอยู่รอดทางร่างกาย/ดำรงชีวิต และการตั้งเป้าหมายการออมเงินเพื่อความต้องการด้านความรักและการเป็นส่วนหนึ่งของผู้อื่น ไม่สามารถทำนายพฤติกรรมทางการเงินได้


ปัจจัยที่จําแนกระหว่างผู้ทํางานอาสาสมัครกับผู้ไม่ทํางานอาสาสมัครในกลุ่มนิสิตนักศึกษาเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล, ดวงธรรม โชคชุลีกร Jan 2019

ปัจจัยที่จําแนกระหว่างผู้ทํางานอาสาสมัครกับผู้ไม่ทํางานอาสาสมัครในกลุ่มนิสิตนักศึกษาเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล, ดวงธรรม โชคชุลีกร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่จําแนกระหว่างผู้ทํางานอาสาสมัครกับผู้ไม่ทํางานอาสาสมัครในกลุ่มนิสิตนักศึกษาเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นนิสิตนักศึกษาทุกระดับชั้นที่มีอายุระหว่าง 19-30 ปี (M = 22.13 ปี, SD = 3.37) จำแนกตามการทำกิจกรรมอาสาสมัครออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ทำกิจกรรมอาสาสมัครในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา 142 คน และผู้ไม่ทำกิจกรรมอาสาสมัครในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา 120 คน ตัวแปรที่ศึกษาในการวิจัยประกอบด้วย การมีจุดมุ่งหมายในชีวิต ความเชื่อมั่นในศาสนา การจัดการความรู้สึกด้านลบ การสร้างคุณค่าให้กับสังคม การพัฒนาตนเองด้านการทำงาน การพัฒนาตนเองด้านการเรียนรู้และเข้าใจ การเห็นคุณค่าในตนเอง การพัฒนาตนเองด้านความสัมพันธ์ในสังคม และการมีต้นแบบจากพ่อ แม่ หรือเพื่อน ตัวแปรตามคือการเป็นอาสาสมัคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความเชื่อมั่นในศาสนา แบบสอบถามการมีต้นแบบจากพ่อ แม่ หรือเพื่อนเป็นอาสาสมัคร แบบวัดแรงจูงใจในการทำกิจกรรมอาสาสมัคร และแบบวัดการมีจุดมุ่งหมายในชีวิต ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีถดถอยโลจิสติก ผลการวิจัยสามารถอธิบายความแปรปรวนของการเป็นอาสาสมัครได้ร้อยละ 17.8 โดยมีปัจจัยที่สามารถจำแนกการเป็นอาสาสมัครได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .05) 3 ประการได้แก่ ความเชื่อมั่นในศาสนา การมีต้นแบบจากพ่อ แม่ หรือเพื่อน และการมีจุดมุ่งหมายในชีวิต ทั้งนี้สมการถดถอยโลจิสติกสามารถทำนายการเป็นอาสาสมัครได้ร้อยละ 65.6


เจตคติต่อการใช้ความรุนแรงในคู่และการกล่าวโทษเหยื่อของเจ้าหน้าที่ตำรวจ : อิทธิพลของการเหยียดเพศ บทบาททางเพศของผู้หญิง และระดับความรุนแรงของสถานการณ์, ปิยกฤตา เครือหิรัญ Jan 2019

เจตคติต่อการใช้ความรุนแรงในคู่และการกล่าวโทษเหยื่อของเจ้าหน้าที่ตำรวจ : อิทธิพลของการเหยียดเพศ บทบาททางเพศของผู้หญิง และระดับความรุนแรงของสถานการณ์, ปิยกฤตา เครือหิรัญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบอิทธิพลของการเหยียดเพศ บทบาททางเพศของผู้หญิง และระดับความรุนแรงของสถานการณ์ต่อเจตคติต่อการใช้ความรุนแรงในคู่และการกล่าวโทษเหยื่อของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ในการศึกษาที่ 1 ใช้มาตรวัดการเหยียดเพศแบบแยกขั้วเพื่อแบ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจ จำนวน 139 คน ออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเหยียดเพศแบบเป็นปฏิปักษ์ กลุ่มเหยียดเพศแบบให้คุณ กลุ่มเหยียดเพศแบบคลุมเครือ และกลุ่มไม่เหยียดเพศ จากนั้นทำการสุ่มเข้าเงื่อนไขเพื่อรับชมวิดีโอจำลองสถานการณ์การแจ้งความของผู้หญิงที่ถูกคนรักทำร้าย แบ่งเป็น 2 เงื่อนไข คือ เงื่อนไขผู้หญิงที่มีบทบาททางเพศเป็นไปตามความคาดหวังของสังคมและเงื่อนไขผู้หญิงที่มีบทบาททางเพศไม่เป็นไปตามความคาดหวังของสังคม ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนตัวแปรพหุนามแบบสองทางไม่พบอิทธิพลปฏิสัมพันธ์ของการเหยียดเพศและบทบาททางเพศของผู้หญิงต่อเจตคติต่อการใช้ความรุนแรงในคู่และการกล่าวโทษเหยื่อ แต่พบอิทธิพลหลักของการเหยียดเพศและบทบาททางเพศของผู้หญิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยกลุ่มเหยียดเพศแบบเป็นปฏิปักษ์และแบบคลุมเครือมีเจตคติทางบวกต่อการใช้ความรุนแรงในคู่และการกล่าวโทษเหยื่อสูงกว่ากลุ่มเหยียดเพศแบบให้คุณและกลุ่มไม่เหยียดเพศ และในเงื่อนไขบทบาททางเพศแบบไม่เป็นไปตามความคาดหวังของสังคมมีคะแนนเจตคติทางบวกต่อการใช้ความรุนแรงในคู่และการกล่าวโทษเหยื่อสูงกว่าในเงื่อนไขบทบาททางเพศแบบเป็นไปตามความคาดหวังของสังคม สำหรับการศึกษาที่ 2 ดำเนินการทดสอบอิทธิพลปฏิสัมพันธ์ระหว่างการเหยียดเพศและระดับความรุนแรงของสถานการณ์ในนักเรียนนายร้อยตำรวจ จำนวน 186 คน สุ่มเข้าเงื่อนไขเพื่ออ่านเรื่องสั้นจำลองสถานการณ์ผู้หญิงที่ถูกคนรักทำร้ายพร้อมรูปภาพแสดงการบาดเจ็บตามความรุนแรงของสถานการณ์ แบ่งออกเป็น 2 เงื่อนไข คือ เงื่อนไขระดับความรุนแรงของสถานการณ์ต่ำและเงื่อนไขระดับความรุนแรงของสถานการณ์สูง ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุนามแบบสองทางไม่พบอิทธิพลปฏิสัมพันธ์ของการเหยียดเพศและระดับความรุนแรงของสถานการณ์ อีกทั้งยังไม่พบอิทธิพลหลักของระดับความรุนแรงของสถานการณ์ แต่พบอิทธิพลหลักของการเหยียดเพศต่อเจตคติต่อการใช้ความรุนแรงในคู่และการกล่าวโทษเหยื่ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการสูงวัยอย่างประสบความสำเร็จของผู้สูงอายุตอนต้นและผู้สูงอายุตอนกลาง ที่อาศัยในกรุงเทพมหานคร, วิลาวัลย์ วาริชนันท์ Jan 2019

ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการสูงวัยอย่างประสบความสำเร็จของผู้สูงอายุตอนต้นและผู้สูงอายุตอนกลาง ที่อาศัยในกรุงเทพมหานคร, วิลาวัลย์ วาริชนันท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสูงวัยอย่างประสบความสำเร็จในผู้สูงอายุตอนต้นและผู้สูงอายุตอนกลาง และศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการสูงวัยอย่างประสบความสำเร็จ ประกอบด้วย การรับรู้เวลาที่เหลือในชีวิต ภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล ความเครียด และจำนวนโรค ในผู้สูงอายุตอนต้นและผู้สูงอายุตอนกลาง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้คือ ผู้สูงอายุตอนต้น ที่มีอายุ 60 – 69 ปี (M = 64.81 ปี, SD = 2.82 ปี) จำนวน 124 คนและผู้สูงอายุตอนกลางที่มีอายุ 70 -79 ปี (M = 73.62 ปี, SD = 2.81 ปี) จำนวน 90 คน ดำเนินการเก็บข้อมูลโดยการตอบผ่านแบบสอบถามและวิเคราะห์ทางสถิติโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์ถดถอยพหุ ผลการวิจัยพบว่า 1) การสูงวัยอย่างประสบความสำเร็จในผู้สูงอายุตอนต้นไม่แตกต่างจากผู้สูงอายุตอนกลาง 2) การรับรู้เวลาที่เหลือในชีวิต (β = .306, p < .001) และภาวะซึมเศร้า (β = -.453, p < .001) สามารถร่วมกันทำนายความแปรปรวนของการสูงวัยอย่างประสบความสำเร็จในผู้สูงอายุตอนต้นได้ร้อยละ 41.3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ภาวะซึมเศร้า (β = -184, p < .001) สามารถทำนายความแปรปรวนของการสูงวัยอย่างประสบความสำเร็จในผู้สูงอายุตอนกลางได้ร้อยละ 19.6 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 งานวิจัยนี้สามารถสรุปได้ว่า ผู้สูงอายุตอนต้นที่ไม่มีภาวะซึมเศร้าและมีการรับรู้เวลาที่เหลือในชีวิตมาก มีแนวโน้มจะเป็นผู้สูงวัยอย่างประสบความสำเร็จ และผู้สูงอายุตอนกลางที่ไม่มีภาวะซึมเศร้ามีแนวโน้มจะเป็นผู้สูงวัยอย่างประสบความสำเร็จ


ความสัมพันธ์ระหว่างความละอายต่อตนเอง ความเมตตากรุณาต่อตนเอง สติและปัญหาด้านจิตใจ ของนิสิตระดับปริญญาตรี, อธิวัฒน์ ยิ่งสูง Jan 2019

ความสัมพันธ์ระหว่างความละอายต่อตนเอง ความเมตตากรุณาต่อตนเอง สติและปัญหาด้านจิตใจ ของนิสิตระดับปริญญาตรี, อธิวัฒน์ ยิ่งสูง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างการละอายต่อตนเอง การเมตตากรุณาต่อตนเอง สติ และปัญหาด้านจิตใจของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี กลุ่มตัวอย่างคือ นิสิตระดับปริญญาตรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งเพศชาย และเพศหญิงที่สนใจเข้าร่วมการวิจัยจำนวน 224 คน มีอายุเฉลี่ยเท่ากับ 19.42 ปี (SD = 1.24) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1. มาตรวัดภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล ความเครียด 2. มาตรวัดประสบการณ์การละอายต่อตนเอง 3. มาตรวัดการเมตตากรุณาต่อตนเอง 4. มาตรวัดสติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าสถิติสหสัมพันธ์แบบเพียรสัน และการวิเคราะห์การถอดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1. การละอายต่อตนเองมีสหสัมพันธ์ทางบวกกับปัญหาด้านจิตใจของนิสิตนักศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับต่ำกว่า .01 (r = .664, p < .01) 2. การเมตตากรุณาต่อตนเองมีสหสัมพันธ์ทางลบกับปัญหาด้านจิตใจของนิสิตนักศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับต่ำกว่า .01 (r = -.394, p < .01) 3. สติมีสหสัมพันธ์ทางลบกับปัญหาด้านจิตใจของนิสิตนักศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับต่ำกว่า .01 (r = -.493, p < .01) 4. การละอายต่อตนเอง การเมตตากรุณาต่อตนเอง และสติสามารถร่วมกันทำนายปัญหาด้านจิตใจของนิสิตนักศึกษาได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และอธิบายความแปรแปรวนของปัญหาด้านจิตใจได้ร้อยละ 52.5 (R2 = .525, p < .001) โดยตัวแปรที่สามารถทำนายปัญหาจิตใจได้มากที่สุด คือ การละอายต่อตนเอง (β = .552, p < .001) และรองลงมา คือ การเมตตากรุณาต่อตนเอง (β = .270, p < .001)


The Effect Of A Growth Mindset Intervention On Underprivileged Students’ English Intelligence Mindset And Academic Resilience With Perceived English Teacher Support As A Moderator, Pimporn Buathong Jan 2019

The Effect Of A Growth Mindset Intervention On Underprivileged Students’ English Intelligence Mindset And Academic Resilience With Perceived English Teacher Support As A Moderator, Pimporn Buathong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The main purposes of this study were to delve into the effects of a growth mindset intervention on underprivileged students’ growth mindset in English intelligence and academic resilience in English and into the mediating role of the growth mindset. Also, this research examined the moderating role of perceived English teacher support. Participants were 216 Mattayom 2 students from 2 schools in the Eastern region of Thailand (The second school served as a site for partial replication). Students from each school were systematically assigned into two groups based on their odd or even student identification numbers. The experimental conditions were randomly …


ผลของการใช้งานจุดแข็งและแรงจูงใจมุ่งเหนือตัวตนที่มีต่อสุขภาวะองค์รวม โดยมีความมีใจรักแบบสอดคล้องสมดุลเป็นตัวแปรส่งผ่าน: โมเดลอิทธิพลส่งผ่านที่ถูกกำกับ, วริศ ครรชิตานุรักษ์ Jan 2019

ผลของการใช้งานจุดแข็งและแรงจูงใจมุ่งเหนือตัวตนที่มีต่อสุขภาวะองค์รวม โดยมีความมีใจรักแบบสอดคล้องสมดุลเป็นตัวแปรส่งผ่าน: โมเดลอิทธิพลส่งผ่านที่ถูกกำกับ, วริศ ครรชิตานุรักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาอิทธิพลของการใช้งานคุณลักษณะจุดแข็งร่วมกับแรงจูงใจมุ่งเหนือตัวตน ต่อสุขภาวะองค์รวม โดยมีความมีใจรักแบบสอดคล้องสมดุล เป็นตัวแปรส่งผ่าน โดยควบคุมอิทธิพลของการยึดถือคุณค่ามุ่งเหนือตัวตน นิสิต นักศึกษา 192 คนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง ตอบแบบสอบถามออนไลน์วัดตัวแปรทั้งหมดในการวิจัยก่อนเข้าร่วมกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ แล้วนำจุดแข็งอันดับต้นหรือจุดแข็งอันดับท้ายไปใช้ในบริบทการเรียน โดยได้รับการกระตุ้นให้ใช้งานจุดแข็งนั้นด้วยแรงจูงใจมุ่งเหนือตัวตน หรือแรงจูงใจมุ่งเน้นตัวเอง หลังจากนั้น 1 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่างรายงานความถี่ที่นำจุดแข็งไปใช้ ตอบมาตรวัดความมีใจรักแบบสอดคล้องสมดุลและมาตรวัดสุขภาวะซ้ำอีกครั้ง ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมสามทางแบบผสม (การใช้งานจุดแข็ง x แรงจูงใจ x เวลา) หลังควบคุมความแปรปรวนในตัวแปรตามด้วยตัวแปรการยึดถือคุณค่ามุ่งเหนือตัวตนแล้ว ไม่พบอิทธิพลปฏิสัมพันธ์สามทางและปฏิสัมพันธ์สองทาง แต่พบอิทธิพลหลักของตัวแปรเวลา โดยกลุ่มตัวอย่างทุกเงื่อนไขมีคะแนนความมีใจรักแบบสอดคล้องสมดุล และคะแนนสุขภาวะองค์รวมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ผลการวิเคราะห์อิทธิพลด้วยการวิเคราะห์ถดถอยแบบลำดับขั้น พบว่าหลังควบคุมความแปรปรวนในตัวแปรตามด้วยตัวแปรการยึดถือคุณค่ามุ่งเหนือตัวตนแล้ว การใช้งานจุดแข็ง แรงจูงใจ และปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทั้งสอง ไม่มีอิทธิพลทั้งต่อการมีใจรักแบบสอดคล้องสมดุลและสุขภาวะที่วัดหลังการทดลอง รวมทั้งไม่พบอิทธิพลส่งผ่านที่ถูกกำกับตามที่ตั้งสมมุติฐานไว้ แต่ความมีใจรักแบบสอดคล้องสมดุลมีอิทธิพลทางบวกต่อสุขภาวะองค์รวม โมเดลโดยรวมอธิบายความแปรปรวนในสุขภาวะได้ร้อยละ 77 กล่าวโดยสรุป งานวิจัยนี้พบว่าการใช้งานจุดแข็งไม่ว่าจะเป็นอันดับต้นหรือท้าย และด้วยแรงจูงใจมุ่งตนเองหรือมุ่งเหนือตัวตน เพิ่มความมีใจรักแบบสอดคล้องสมดุลและสุขภาวะองค์รวมให้มากขึ้นได้ไม่แตกต่างกัน โดยความมีใจรักแบบสอดคล้องสมดุลที่เพิ่มขึ้น มีอิทธิพลทางบวกต่อสุขภาวะองค์รวมอย่างมีนัยสำคัญ จึงควรส่งเสริมให้นิสิตนักศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับจุดแข็งด้านต่าง ๆ ซึ่งล้วนเป็นลักษณะทางบวก เพื่อนำไปทดลองใช้ในบริบทการเรียน โดยไม่จำกัดว่าต้องเป็นจุดแข็งอันดับต้นเท่านั้น


ผลของกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาที่มุ่งเน้นการฝึกสติ การยอมรับและพันธสัญญาที่มีต่อความเมตตากรุณาต่อตนเอง ความเข้มแข็งทางจิตใจ และความมั่นหมายของนักกีฬาเยาวชนไทย, กฤตพล รังสิยานนท์ Jan 2019

ผลของกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาที่มุ่งเน้นการฝึกสติ การยอมรับและพันธสัญญาที่มีต่อความเมตตากรุณาต่อตนเอง ความเข้มแข็งทางจิตใจ และความมั่นหมายของนักกีฬาเยาวชนไทย, กฤตพล รังสิยานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยแบบการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาที่มุ่งเน้นการฝึกสติ การยอมรับและพันธสัญญาที่มีต่อความเมตตากรุณาต่อตนเอง ความเข้มแข็งทางจิตใจ และความมั่นหมายของนักกีฬาเยาวชนไทย โดยกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยนี้ คือ นักกีฬาเยาวชนไทยที่มีอายุ 15-25 ปี ซึ่งมีคะแนนความเมตตากรุณาต่อตนเองต่ำกว่าค่าเฉลี่ย จำนวน 82 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 39 คน กลุ่มควบคุม 43 คน โดยกลุ่มทดลองจะเข้าร่วมกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาที่มุ่งเน้นการฝึกสติ การยอมรับและพันธสัญญาสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละ 2 ชั่วโมง รวม 7 ครั้ง คิดเป็นเวลาทั้งสิ้น 14 ชั่วโมง โดยกลุ่มตัวอย่างตอบแบบวัดความเมตตากรุณาต่อตนเอง (Self-compassion) แบบวัดความเข้มแข็งทางจิตใจ (Mental toughness) และแบบวัดความมั่นหมาย (Grit) ข้อมูลที่ได้รับถูกนำมาวิเคราะห์ทางสถิติโดยใช้สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุนามแบบวัดซ้ำและระหว่างกลุ่ม โดยมีผลวิจัยดังต่อไปนี้ 1. หลังการเข้าร่วมกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาที่มุ่งเน้นการฝึกสติ การยอมรับและพันธสัญญา กลุ่มทดลองมีคะแนนความเมตตากรุณาต่อตนเอง (Self-compassion) เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับก่อนการเข้าร่วมกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .003 แต่ไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมในช่วงหลังการเข้าร่วมกลุ่ม 2. หลังการเข้าร่วมกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาที่มุ่งเน้นการฝึกสติ การยอมรับและพันธสัญญา กลุ่มทดลองมีคะแนนความเข้มแข็งทางจิตใจ (Mental toughness) เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับก่อนการเข้าร่วมกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .009 แต่ไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมในช่วงหลังการเข้าร่วมกลุ่ม 3. หลังการเข้าร่วมกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาที่มุ่งเน้นการฝึกสติ การยอมรับและพันธสัญญา กลุ่มทดลองมีคะแนนความมั่นหมาย (Grit) เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับก่อนการเข้าร่วมกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .008 แต่ไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมในช่วงหลังการเข้าร่วมกลุ่ม


อิทธิพลของอำนาจต่อพฤติกรรมเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว: การศึกษาอิทธิพลการป้องปรามของการรับรู้การถูกตรวจสอบเป็นตัวแปรกำกับ, ติณณ์ โบสุวรรณ Jan 2019

อิทธิพลของอำนาจต่อพฤติกรรมเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว: การศึกษาอิทธิพลการป้องปรามของการรับรู้การถูกตรวจสอบเป็นตัวแปรกำกับ, ติณณ์ โบสุวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของอำนาจต่อพฤติกรรมเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวโดยมีการป้องปรามในรูปแบบของการรับรู้การถูกตรวจสอบเป็นตัวแปรกำกับ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือนิสิตปริญญาตรีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจำนวน 102 คน การวิจัยครั้งนี้มีการเก็บข้อมูลทั้งสิ้นสองระยะ ในระยะแรกเป็นการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามทั่วไปและมาตรวัดอัตลักษณ์ทางศีลธรรมทางเว็บไซต์ Google forms ผู้วิจัยทำการจัดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้คะแนนอัตลักษณ์ทางศีลธรรมเป็นเกณฑ์เข้าสู่หนึ่งในหกเงื่อนไข ได้แก่ อำนาจสูงและไม่มีการรับรู้การถูกตรวจสอบ อำนาจสูงและการรับรู้การถูกตรวจสอบต่ำ อำนาจสูงและการรับรู้การถูกตรวจสอบสูง อำนาจต่ำและไม่มีการรับรู้การถูกตรวจสอบ อำนาจต่ำและการรับรู้การถูกตรวจสอบต่ำ อำนาจต่ำและการรับรู้การถูกตรวจสอบสูง เพื่อเป็นการควบคุมตัวแปรแทรกซ้อนให้มีค่าเฉลี่ยคะแนนอัตลักษณ์ทางศีลธรรมไม่แตกต่างกันสำหรับการทำกิจกรรมวัดพฤติกรรมเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว ในสองสัปดาห์ให้หลัง ผลการวิจัยพบว่า ผู้เข้าร่วมการวิจัยที่ได้รับมอบหมายเป็นหัวหน้าทีมมีการรับรู้อำนาจของตนเองสูงกว่าผู้เข้าร่วมการวิจัยที่ได้รับมอบหมายเป็นลูกทีม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตามพบว่า ผู้เข้าร่วมการวิจัยในเงื่อนไขการรับรู้การถูกตรวจสอบสูง การรับรู้การถูกตรวจสอบต่ำ และไม่มีการรับรู้การถูกตรวจสอบมีการรับรู้การถูกตรวจสอบไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ การวิเคราะห์ข้อมูลไม่พบปฏิสัมพันธ์ระหว่างอำนาจและการรับรู้การถูกตรวจสอบต่อพฤติกรรมเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และทั้งอำนาจกับการรับรู้การถูกตรวจสอบไม่มีอิทธิพลหลักต่อพฤติกรรมเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


ประสบการณ์ของนักจิตวิทยาการปรึกษาที่มีการฝึกสติ: การวิจัยแบบสร้างทฤษฎีจากข้อมูล, สหรัฐ เจตมโนรมย์ Jan 2019

ประสบการณ์ของนักจิตวิทยาการปรึกษาที่มีการฝึกสติ: การวิจัยแบบสร้างทฤษฎีจากข้อมูล, สหรัฐ เจตมโนรมย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ของนักจิตวิทยาการปรึกษาที่มีประสบการณ์การทำงานและฝึกสติมานานกว่า 5 ปี โดยใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพแบบสร้างทฤษฏีจากข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลคือ นักจิตวิทยาการปรึกษาที่มีประสบการณ์ทั้งเชิงวิชาชีพและการฝึกสติมาไม่ต่ำกว่า 5 ปี และมีฐานทฤษฏีเชิงจิตวิทยาที่หลากหลาย จำนวน 9 ราย เป็นชาวไทย 5 คน และชาวอเมริกัน 1 คนที่ทำงานในประเทศไทย ชาวไทยที่ทำงานในประเทศเนเธอร์แลนด์ 1 คน และชาวอเมริกันที่ทำงานอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา 2 คน เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิจัยแบบสร้างทฤษฏีจากข้อมูล ผลการวิจัย พบว่า ทฤษฏีฐานรากให้ภาพ 5 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ (1) ที่มาของการฝึกสติ คือ สาเหตุของความสนใจที่จะฝึกสติ (2) วิธีการฝึกสติ เป็นวิธีการฝึกสติที่นักจิตวิทยาการปรึกษาใช้ในการฝึกสติ คือ การฝึกในรูปแบบ การฝึกในชีวิตประจำวัน และ การมีคำสอนเป็นหลักในการฝึก (3) ประสบการณ์การฝึกสติกับตัวเองของนักจิตวิทยาการปรึกษา คือ สิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวนักจิตวิทยาการปรึกษาหลังจากฝึกสติไปแล้วอย่างสม่ำเสมอ ได้แก่ เกิดความตระหนักรู้ ประโยชน์ของความตระหนักรู้จากการฝึกสติในชีวิตส่วนตัว เกิดความคิดนำการฝึกสติมาใช้ในชั่วโมงการปรึกษา วิธีการใช้สติให้เกิดความตระหนักรู้ในชั่วโมงการปรึกษา และ ประโยชน์ของความตระหนักรู้จากการฝึกสติในวิชาชีพ (4) วิธีใช้การฝึกสติเป็นเครื่องมือในกระบวนการการปรึกษาเชิงจิตวิทยา เพื่อให้ผู้รับบริการเกิดประสบการณ์การฝึกสติและเกิดความตระหนักรู้ และ (5) ผลที่เกิดขึ้น จากการใช้การฝึกสติเป็นเครื่องมือในกระบวนการการปรึกษาเชิงจิตวิทยา ทฤษฏีอธิบายความสัมพันธ์ของทั้ง 5 ประเด็นเข้าด้วยกัน โดยเริ่มจากที่มาของการฝึกสติพาให้นักจิตวิทยาการปรึกษาไปฝึกสติและเกิดประสบการณ์การฝึกสติขึ้น แล้วนำการฝึกสติไปใช้เป็นเครื่องมือในกระบวนการการปรึกษาเชิงจิตวิทยากับตนเองและผู้รับบริการ จนถึงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการนำไปใช้ โดยมีประสบการณ์ของนักจิตวิทยาการปรึกษาที่ฝึกสติเป็นแก่นของประเด็นสำคัญทั้งหมด ทฤษฏีฐานรากที่สร้างขึ้นเป็นองค์ความรู้เพื่อพัฒนานักจิตวิทยาการปรึกษาด้วยการฝึกสติและในการเรียนการสอนจิตวิทยาการปรึกษา โดยเน้นให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในตนเองผ่านการฝึกสติพัฒนาทักษะ และนำเทคนิคที่ได้จากประสบการณ์การฝึกสตินั้นไปทำงานกับผู้รับบริการต่อไป


อิทธิพลของความคล้ายคลึงเชิงรูปลักษณ์ และการรับรู้การควบคุมได้ ที่มีผลต่อการรับรู้ความเหมือนมนุษย์ ความเชื่อใจ และการยอมรับต่อหุ่นยนต์, กฤตภัค วรเมธพาสุข Jan 2019

อิทธิพลของความคล้ายคลึงเชิงรูปลักษณ์ และการรับรู้การควบคุมได้ ที่มีผลต่อการรับรู้ความเหมือนมนุษย์ ความเชื่อใจ และการยอมรับต่อหุ่นยนต์, กฤตภัค วรเมธพาสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางด้านการรับรู้ความเหมือนมนุษย์ที่มีต่อความไว้วางและการยอมรับหุ่นยนต์ตามแนวคิดทฤษฎี S-E-E-K ที่นำมาใช้สร้างกรอบแนวคิดหลักในการวิจัยนี้ โดยมีปัจจัยทางด้านความคล้ายคลึงเชิงรูปลักษณ์เป็นตัวแปรต้น การรับรู้การควบคุมได้เป็นตัวแปรกำกับ และแรงจูงใจทางสังคมเป็นตัวแปรควบคุม กลุ่มตัวอย่างคือ นิสิตจำนวน 200 คน อายุระหว่าง 18-25 ปี ใช้การสุ่มอย่างเป็นระบบร่วมกับการสุ่มอย่างง่ายเข้าหนึ่งใน 4 เงื่อนไข โดยให้ผู้เข้าร่วมการวิจัยดูรูปภาพและอ่านข้อความคุณสมบัติของหุ่นยนต์ที่มีการจัดกระทำให้มีความคล้ายคลึงมนุษย์และพฤติกรรมที่คาดเดา/ควบคุมได้ของหุ่นยนต์ที่แตกต่างกันในแต่ละเงื่อนไข จากนั้นตอบแบบสอบถามการรับรู้ความเหมือนมนุษย์ ความไว้วางใจหุ่นยนต์ การยอมรับหุ่นยนต์ ผลจากการวิเคราะห์เส้นทาง พบว่า ความคล้ายคลึงเชิงรูปลักษณ์มีผลต่อการรับรู้ความเหมือนมนุษย์ที่มีต่อหุ่นยนต์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยในเงื่อนไขที่มีการรับรู้การควบคุมและคาดเดาไม่ได้ ทำให้อิทธิพลของความคล้ายคลึงเชิงรูปลักษณ์ที่มีต่อการรับรู้ความเหมือนมนุษย์เพิ่มมากขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น หุ่นยนต์ที่มีความคล้ายคลึงมนุษย์สูง และบุคคลไม่สามารถควบคุมหรือคาดเดาพฤติกรรมของหุ่นยนต์ได้ ทำให้บุคคลรู้สึกว่าหุ่นยนต์มีความเหมือนมนุษย์มากขึ้น ซึ่งส่งผลต่อความไว้วางใจ รวมถึงการยอมรับหุ่นยนต์


A Comparison Of Emotion Regulation Strategies’ Effectiveness Under Cognitive Fatigue, Sirinapa Churassamee Jan 2019

A Comparison Of Emotion Regulation Strategies’ Effectiveness Under Cognitive Fatigue, Sirinapa Churassamee

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research compared the effectiveness of three emotion regulation strategies including reappraisal, distraction, and affect labeling under cognitive fatigue. In the 2 (fatigue vs. non-fatigue) × 3 (emotion regulation strategies) within-subject design, 46 participants were randomly assigned into conditions using an incomplete block design method. Self-report negative emotions and skin conductance responses to emotion-eliciting pictures were measured to compare the effectiveness of the strategies. Results showed that reappraisal was more effective in regulating negative emotions than distraction and affect labeling in both fatigue and non-fatigue conditions. While reappraisal was a robust method of regulating emotion, the other two less-demanding strategies …


ความสัมพันธ์ระหว่างความจำใช้งาน การควบคุมพฤติกรรมตนเอง การคิดอย่างยืดหยุ่นและความซึมเศร้าโดยมีการหมกมุ่นครุ่นคิดเป็นตัวแปรส่งผ่าน, สิริพร รังสิตเสถียร Jan 2019

ความสัมพันธ์ระหว่างความจำใช้งาน การควบคุมพฤติกรรมตนเอง การคิดอย่างยืดหยุ่นและความซึมเศร้าโดยมีการหมกมุ่นครุ่นคิดเป็นตัวแปรส่งผ่าน, สิริพร รังสิตเสถียร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความจำใช้งาน การควบคุมพฤติกรรมตนเอง การคิดอย่างยืดหยุ่น และความซึมเศร้าโดยมีการหมกมุ่นครุ่นคิดเป็นตัวแปรส่งผ่าน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนิสิตระดับปริญญาตรี จำนวน 100 คน ทั้งนี้เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น (α= .87) มาตรวัดการหมกมุ่นครุ่นคิด (α= .983) แบบทดสอบการทวนกลับตัวเลข มาตรวัดการควบคุมตนเอง (α= .83) และมาตรวัดการคิดอย่างยืดหยุ่น (α= .873) และวิเคราะห์ผลโดยใช้สถิติวิเคราะห์สมการโครงสร้าง (structural equation model) ในการวิเคราะห์ผลข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า ความจำใช้งาน การคิดอย่างยืดหยุ่นไม่มีความสัมพันธ์กับการหมกมุ่นครุ่นคิด โดยมีค่าอยู่ที่ -0.08 และ -0.12 ตามลำดับ ในขณะที่การควบคุมพฤติกรรมตนเองมีความสัมพันธ์ทางลบต่อการหมกมุ่นครุ่นคิดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (B= -0.439,p<0.001) และเมื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความจำใช้งาน การควบคุมพฤติกรรมตนเอง การคิดอย่างยืดหยุ่น และความซึมเศร้า พบว่า ความจำใช้งาน การควบคุมพฤติกรรมตนเอง การคิดอย่างยืดหยุ่นไม่มีความสัมพันธ์ทางลบต่อความซึมเศร้า แต่การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการหมกมุ่นครุ่นคิดและความซึมเศร้า พบว่ามีความสัมพันธ์ทางบวกกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(B=0.757,p<0.001) อย่างไรก็ตามการวิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์โดยให้การหมกมุ่นครุ่นคิดเป็นตัวแปรส่งผ่าน พบอิทธิพลส่งผ่านที่มีนัยสำคัญทางสถิติของการหมกมุ่นครุ่นคิด ที่ส่งผ่านความสัมพันธ์ระหว่างการควบคุมพฤติกรรมตนเองและความซึมเศร้า


ความหมายของชีวิตในบุคลากรทางการแพทย์ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย, สุนทร ลิ่มหลัก Jan 2019

ความหมายของชีวิตในบุคลากรทางการแพทย์ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย, สุนทร ลิ่มหลัก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มาและเหตุผล: การมีความหมายของชีวิตเป็นส่วนสำคัญในชีวิตมนุษย์ทุกคนและทุกช่วงวัย การค้นพบความหมายของชีวิตและส่งผลในเชิงบวกต่อสุขภาพกาย สุขภาพจิต และสุขภาวะทางจิตวิญญาณ ที่ผ่านมายังไม่มีการศึกษาความหมายของชีวิตในบุคลากรทางการแพทย์ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายซึ่งเป็นทีมสุขภาพที่ทำงานใกล้ชิดกับความเป็นความตาย การรับรู้ช่วงสุดท้ายของชีวิตผู้ป่วยอาจเป็นประโยชน์ต่อการรับรู้ความหมายของชีวิต และนำไปสู่วิถีการดำเนินชีวิตที่ดีและความอยู่ดีมีสุข วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความหมายของชีวิตในบุคลากรการแพทย์ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายและปัจจัยที่มีผลต่อความหมาย และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความหมายของชีวิตกับทัศนคติในการดำเนินชีวิตและการดูแลผู้ป่วย วิธีการศึกษา: การวิจัยเชิงคุณภาพในบุคลากรทางการแพทย์ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายจำนวน 12 คนโดยเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกส่วนบุคคลและแบบกึ่งโครงสร้าง จากนั้นทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูลและหาความสัมพันธ์ของข้อมูล และทำการสังเคราะห์ข้อมูลจนเหลือแต่คุณลักษณะที่มีความหมายร่วมกันมาประกอบกับทฤษฎี ผลการศึกษา: แนวคิด “ความหมายของชีวิต” ในบุคลากรทางการแพทย์ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายค้นพบทั้งสิ้น 5 แก่น ได้แก่ 1) การก้าวข้ามตัวตน; 2) ความรักและความผูกพัน; 3) การทำหน้าที่และทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ให้กับโลก; 4) การชื่นชมและปีติกับความงามของชีวิต และ 5) การมีจุดมุ่งหมายในชีวิต โดยปัจจัยที่ทำให้เกิดความหมายคือประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายและปัจจัยอื่นๆ เฉพาะบุคคล โดยพบว่าการมีความเข้าใจความหมายของชีวิตย่อมส่งเสริมสุขภาพจิตและพฤติกรรมในเชิงบวก ผู้ที่มีความหมายของชีวิตชัดเจนย่อมมีเป้าหมายในชีวิต รู้ความต้องการปลายทางของชีวิต ความหมายของชีวิตมีผลอย่างมากต่อมุมมองชีวิต โลกทัศน์ และวิถีชีวิต สรุปผลการศึกษา: การทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วยในช่วงสุดท้ายของชีวิตและการมีโอกาสได้เห็นผู้ที่กำลังจะเสียชีวิต ส่งผลให้เกิดการตระหนักรู้ความหมายของชีวิต ซึ่งมีผลต่อวิถีการดำเนินชีวิต การดูแลสุขภาพกายและใจ รวมถึงมีการดูแลคนรอบข้างและผู้ป่วยที่ดีขึ้น แนวคิดความหมายของชีวิตนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในเวชปฏิบัติด้านการดูแลแบบประคับประคองในการค้นหาความหมายของชีวิตผู้ป่วย หรือด้านจิตเวชในการบำบัดรักษาทางสุขภาพจิตสำหรับผู้ที่ขาดความหมายของชีวิต เป็นกระบวนทัศน์ใหม่ในการดูแลผู้ป่วยอย่างรู้คุณค่าและมีความหมาย และสามารถนำไปใช้ส่งเสริมการมีความหมายของชีวิตในบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขกลุ่มอื่น รวมทั้งยังส่งเสริมคนในสังคมตระหนักรู้ถึงความสำคัญของความหมายแห่งการมีชีวิตอยู่ การมีเครื่องมือไว้จัดการความทุกข์ และช่วยทำให้ชีวิตมีความสุขได้ง่าย ปล่อยวางความเป็นตัวตนได้มากขึ้น และช่วยให้ชีวิตอยู่ในสมดุลและผาสุก


ประสบการณ์ทางจิตใจเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการปรึกษาเชิงจิตวิทยาของผู้รับบริการ, ณฐวรรณ เปาอินทร์ Jan 2019

ประสบการณ์ทางจิตใจเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการปรึกษาเชิงจิตวิทยาของผู้รับบริการ, ณฐวรรณ เปาอินทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ทางจิตใจเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการปรึกษาเชิงจิตวิทยาของผู้รับบริการ ด้วยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแนวปรากฏการณ์วิทยาเชิงตีความ โดยเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง ผู้เข้าร่วมวิจัยคือผู้ที่เคยมีประสบการณ์การเข้ารับบริการปรึกษาเชิงจิตวิทยารายบุคคลแบบเจอตัวและเกิดการเปลี่ยนแปลงทางบวกจากประสบการณ์การเข้ารับบริการ จำนวน 6 ราย โดยมีอายุระหว่าง 26-37 ปี ผลการวิจัยสามารถแบ่งได้ 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) ความมุ่งมั่นที่จะเข้าสู่การปรึกษาเชิงจิตวิทยา ประกอบด้วย ความไม่สามารถจัดการปัญหาด้วยตนเอง ความเชื่อมั่นในการปรึกษาเชิงจิตวิทยา (การสนับสนุนจากคนรอบข้าง ทัศนคติทางบวกต่อการขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ และความเหมาะสมของนักจิตวิทยาการปรึกษา) และความพร้อมเปิดเผยตนเอง 2) การถ่ายทอดประสบการณ์ภายในได้อย่างเต็มที่ ประกอบด้วย ความไว้วางใจว่าความลับจะไม่ถูกเปิดเผย ความใกล้ชิดทางใจ การได้รับการยอมรับ และขอบเขตสัมพันธภาพที่เหมาะสม และ 3) การทำงานเพื่อการเปลี่ยนแปลง ประกอบด้วย การคิดพิจารณาปัญหาร่วมกับนักจิตวิทยาการปรึกษา ความรับผิดชอบในการเปลี่ยนตนเอง และการลองเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน โดยผู้วิจัยได้อภิปรายผลการวิจัยเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว การวิจัยนี้ช่วยให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับประสบการณ์ทางจิตใจเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการปรึกษาเชิงจิตวิทยาของผู้รับบริการเพิ่มขึ้น โดยผู้รับบริการสามารถนำผลการวิจัยมาพัฒนาการมีส่วนร่วมของตน ในขณะที่นักจิตวิทยาการปรึกษาสามารถนำผลการวิจัยมาพัฒนาการให้บริการที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้รับบริการ


ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การเลี้ยงดูแบบเฮลิคอปเตอร์ และความซึมเศร้าในนิสิตนักศึกษา โดยมีการรับรู้ความรักของพ่อแม่ การรับรู้ความสามารถของตนเองด้านการเรียนและด้านสังคมเป็นตัวแปรส่งผ่าน, ณัฐธัญ ชวนชัยรัตน์ Jan 2019

ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การเลี้ยงดูแบบเฮลิคอปเตอร์ และความซึมเศร้าในนิสิตนักศึกษา โดยมีการรับรู้ความรักของพ่อแม่ การรับรู้ความสามารถของตนเองด้านการเรียนและด้านสังคมเป็นตัวแปรส่งผ่าน, ณัฐธัญ ชวนชัยรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลุ่มนิสิตนักศึกษาในเรื่องความสัมพันธ์ของการรับรู้การเลี้ยงดูแบบเฮลิคอปเตอร์ที่ส่งผลให้เกิดความซึมเศร้า โดยมีการรับรู้ความรักของพ่อแม่ การรับรู้ความสามารถของตนเองด้านการเรียนและด้านสังคมเป็นตัวแปรส่งผ่าน โดยผู้เข้าร่วมงานวิจัย คือ นิสิตนักศึกษาทุกชั้นปีในระดับปริญญาตรี มีอายุระหว่าง 18-24 ปี การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 290 คน ผู้วิจัยตรวจสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์การทดสอบตัวแปรส่งผ่าน (Mediation analysis) ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า 1. การรับรู้การเลี้ยงดูแบบเฮลิคอปเตอร์ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับ ความซึมเศร้า เมื่อควบคุมอิทธิพลของตัวแปรส่งผ่านทั้ง 3 ตัวแปร พบว่ามีความสัมพันธ์ต่อกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (β = .22, p < .01) 2. การรับรู้ความรักของพ่อแม่ เป็นตัวแปรส่งผ่านระหว่าง การรับรู้การเลี้ยงดูแบบเฮลิคอปเตอร์ และความซึมเศร้า (β = .09, p < .05) 3. การรับรู้ความสามารถของตนเองด้านการเรียน ไม่ได้เป็นตัวแปรส่งผ่านระหว่าง การรับรู้การเลี้ยงดูแบบเฮลิคอปเตอร์ และความซึมเศร้า เนื่องจากช่วงของความเชื่อมั่นมีค่าคลุม 0 (β = .03, 95% ของช่วงชั้นความเชื่อมั่น [-.0019, .06]) 4. การรับรู้ความสามารถของตนเองด้านสังคม เป็นตัวแปรส่งผ่านระหว่าง การรับรู้การเลี้ยงดูแบบเฮลิคอปเตอร์ และความซึมเศร้า (β = .03, p < .01)


ความสัมพันธ์ของค่านิยมภายใน ค่านิยมภายนอก ความสัมพันธ์ในที่ทำงาน ค่านิยมด้านการมีเกียรติ และการรับรู้เวลาในอนาคตต่อความตั้งใจในการเปลี่ยนอาชีพของผู้ใหญ่แรกเริ่ม, ณัฐพัชร์ สรรพธนาพงศ์ Jan 2019

ความสัมพันธ์ของค่านิยมภายใน ค่านิยมภายนอก ความสัมพันธ์ในที่ทำงาน ค่านิยมด้านการมีเกียรติ และการรับรู้เวลาในอนาคตต่อความตั้งใจในการเปลี่ยนอาชีพของผู้ใหญ่แรกเริ่ม, ณัฐพัชร์ สรรพธนาพงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของค่านิยมในการทำงาน และการรับรู้เวลาในอนาคตโดยค่านิยมในการทำงานแบ่งออกเป็น 4 ประเภทได้แก่ ค่านิยมภายใน ค่านิยมภายนอก ความสัมพันธ์ในที่ทำงาน และค่านิยมด้านการมีเกียรติที่มีต่อความตั้งใจในการเปลี่ยนอาชีพ ของผู้ใหญ่แรกเริ่ม จำนวน 278 คน มีอายุระหว่าง 18-29 ปี (อายุเฉลี่ย 26.5 ปี) ที่กำลังทำงานประจำ โดยร่วมงานกับบริษัทปัจจุบันเป็นเวลามากกว่า 2 ปี ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากการตอบแบบสอบถามออนไลน์ และจากรูปแบบเอกสาร โดยใช้สถิติการวิเคราะห์ข้อมูลแบบการถดถอยพหุคูณ (Multiple regression) ผลการวิจัยพบว่า ค่านิยมในการทำงานที่ประกอบด้วย ค่านิยมภายใน ค่านิยมภายนอก ความสัมพันธ์ในที่ทำงาน ค่านิยมด้านการมีเกียรติ และการรับรู้เวลาในอนาคตร่วมกันอธิบายความตั้งใจในการเปลี่ยนอาชีพได้ร้อยละ 23.9 และเมื่อปรับความคลาดเคลื่อนจะร่วมกันอธิบายความ ตั้งใจในการเปลี่ยนอาชีพได้ร้อยละ 22.5 โดยค่านิยมนอกงาน (β = -.233, p < .01) และความสัมพันธ์ในที่ทำงาน (β= -.196, p = .002) มีความสัมพันธ์ทางลบกับความตั้งใจในการเปลี่ยนอาชีพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และการรับรู้เวลาในอนาคต (β= .138, p = .012) มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความตั้งใจในการเปลี่ยนอาชีพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากผลการวิจัยได้แสดงให้เห็นว่าผู้ใหญ่แรกเริ่มมีแนวโน้มไม่คิดที่จะเปลี่ยนอาชีพ หากมีการรับรู้การทำงานที่ตอบสนองค่านิยมภายนอก (เช่น มีเงินเดือนที่เพิ่มมากขึ้น สวัสดิการต่าง ๆ ดี เป็นต้น) และมีการรับรู้ความสัมพันธ์ที่ดีในที่ทำงาน และหากบุคคลวัยนี้ให้ความสำคัญกับเวลาในอนาคต ก็จะมีความตั้งใจที่จะเปลี่ยนอาชีพ งานวิจัยนี้ช่วยเพิ่มความเข้าใจพัฒนาการทางด้านอาชีพของบุคคลในวัยผู้ใหญ่แรกเริ่ม ซึ่งเป็นประโยชน์ในการช่วยให้บุคคลวัยนี้เข้าใจตนเอง และช่วยให้หน่วยงานเข้าใจความต้องการของผู้ที่อยู่ในวัยเปลี่ยนผ่านเข้าสู่การทำงาน


ความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนบทบาท การเลี้ยงดูของพ่อแม่ และการรับรู้ความคาดหวังของพ่อแม่ ต่อวุฒิภาวะทางจิตสังคม ในผู้ใหญ่แรกเริ่ม, ณิชมน กาญจนนิยต Jan 2019

ความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนบทบาท การเลี้ยงดูของพ่อแม่ และการรับรู้ความคาดหวังของพ่อแม่ ต่อวุฒิภาวะทางจิตสังคม ในผู้ใหญ่แรกเริ่ม, ณิชมน กาญจนนิยต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนบทบาท การเลี้ยงดูของพ่อแม่ และการรับรู้ความคาดหวังของพ่อแม่ต่อวุฒิภาวะทางจิตสังคมในผู้ใหญ่แรกเริ่ม โดยการเปลี่ยนบทบาท ประกอบด้วย การสำเร็จการศึกษา การทำงาน ความสัมพันธ์ฉันคนรัก และการอาศัยอยู่ด้วยตนเอง การเลี้ยงดูของพ่อแม่ ประกอบด้วย การให้ความอบอุ่นของพ่อแม่ และการให้อิสระของพ่อแม่ ส่วนการรับรู้ความคาดหวังของพ่อแม่ ประกอบด้วย การรับรู้ความคาดหวังของพ่อแม่ทางการเรียน การรับรู้ความคาดหวังของพ่อแม่ทางอาชีพ และการรับรู้ความทะเยอทะยานของพ่อแม่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ใหญ่แรกเริ่ม ที่มีอายุระหว่าง 18 – 25 ปี อายุเฉลี่ย 21.850 ปี จำนวน 510 คน ซึ่งดำเนินการวิจัยผ่านการตอบแบบสอบถามด้วยตนเองในรูปแบบออนไลน์ และวิเคราะห์สมการโครงสร้าง (SEM) ด้วยโปรแกรม LISREL 10.20 Student ผลการวิจัยพบว่า การเลี้ยงดูของพ่อแม่มีความสัมพันธ์ทางบวกต่อวุฒิภาวะทางจิตสังคม (β = 0.620, p < .01) ในขณะที่การเปลี่ยนบทบาทและการรับรู้ความคาดหวังของพ่อแม่ไม่มีความสัมพันธ์ต่อวุฒิภาวะทางจิตสังคม ถือเป็นการเน้นย้ำได้ว่าสถาบันครอบครัวมีความสำคัญอย่างมากต่อพัฒนาการของลูก ดังนั้นพ่อแม่ยุคใหม่จึงควรให้ความสำคัญต่อการเลี้ยงดู กล่าวคือ หากพ่อแม่แสดงออกถึงการเอาใจใส่ ให้ความอบอุ่น และให้อิสระในการคิดหรือทำสิ่งต่าง ๆ แก่ลูก จะช่วยส่งเสริมให้ลูกมีวุฒิภาวะทางจิตสังคมสูงหรือมีการคิดตัดสินอย่างเป็นผู้ใหญ่ได้มากยิ่งขึ้น งานวิจัยในอนาคตอาจนำไปพัฒนาต่อยอดในการศึกษาปัจจัยเพิ่มเติมที่ส่งผลต่อวุฒิภาวะทางจิตสังคม หรือทำวิจัยในรูปแบบผสมผสาน เพื่อช่วยขยายองค์ความรู้เกี่ยวกับวุฒิภาวะทางจิตสังคมในบริบทไทยให้กว้างยิ่งขึ้น


ความสัมพันธ์ของแหล่งการสนับสนุนทางสังคม การรับรู้ความสามารถในการดูแลบุตร และการรับรู้ความสามารถในการทำงานของแม่มือใหม่ที่กลับไปทำงานเดิมหลังจากลาคลอด, นราพร ม่วงปกรณ์ Jan 2019

ความสัมพันธ์ของแหล่งการสนับสนุนทางสังคม การรับรู้ความสามารถในการดูแลบุตร และการรับรู้ความสามารถในการทำงานของแม่มือใหม่ที่กลับไปทำงานเดิมหลังจากลาคลอด, นราพร ม่วงปกรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคมจากแหล่งต่าง ๆ ประกอบด้วยการสนับสนุนทางสังคมจากสามี ครอบครัว เพื่อน ที่ทำงาน สื่อสังคมออนไลน์ และพี่เลี้ยง/สถานรับเลี้ยงเด็กและอายุบุตรที่มีต่อการรับรู้ความสามารถของตนเองในการดูแลบุตรและในการทำงานของแม่มือใหม่ที่กลับไปทำงานเดิมหลังลาคลอดบุตร กลุ่มตัวอย่างแม่มือใหม่ที่กลับไปทำงานอายุตั้งแต่ 21 – 45 ปี จำนวน 107 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามการได้รับการสนับสนุนทางสังคม แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของตนเองในการดูแลบุตร แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของตนเองในการทำงาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือการถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple regression) ผลการวิจัยพบว่า ตัวแปรการสนับสนุนทางสังคมจากสามี ครอบครัว เพื่อน ที่ทำงาน สื่อสังคมออนไลน์ และอายุบุตรร่วมกันอธิบายตัวแปรตามการรับรู้ความสามารถในการเลี้ยงดูบุตร ได้ร้อยละ 11.8 (r2 = .118, Adjusted r2 = .065) และจากการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise multiple regression) พบว่าการสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัวแมีความสัมพันธ์ทางบวกต่อการรับรู้ความสามารถของตนเองในการดูแลบุตรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .005 นอกจากนี้ตัวแปรการสนับสนุนทางสังคมทั้ง 5 แหล่งและอายุบุตรยังสามารถร่วมกันอธิบายตัวแปรตามการรับรู้ความสามารถในการทำงานได้ร้อยละ 17.8 (r2 = .178, Adjusted r2 = .129) ซึ่งการสนับสนุนทางสังคมจากสามีมีความสัมพันธ์ทางลบกับการรับรู้ความสามารถของตนเองในการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และการสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัวมีแนวโน้มในทิศทางบวกที่สามารถอธิบายการรับรู้ความสามารถในการทำงานของแม่มือใหม่ได้


ความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันกับสัตว์เลี้ยงและความเหงาในวัยรุ่นโดยมีการสนับสนุนทางสังคมด้านอารมณ์เป็นตัวแปรส่งผ่าน, พนิดา จุลมณฑล Jan 2019

ความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันกับสัตว์เลี้ยงและความเหงาในวัยรุ่นโดยมีการสนับสนุนทางสังคมด้านอารมณ์เป็นตัวแปรส่งผ่าน, พนิดา จุลมณฑล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันกับสัตว์เลี้ยงและความเหงาในวัยรุ่น โดยมีการสนับสนุนทางสังคมด้านอารมณ์จากครอบครัว จากเพื่อนในกลุ่มคนเลี้ยงสัตว์ และจากสัตว์เลี้ยงเป็นตัวแปรส่งผ่าน กลุ่มตัวอย่างเป็นวัยรุ่นที่มีอายุระหว่าง 14- 19 ปี (M = 16.9 ปี, SD = 1.54) ที่มีสัตว์เลี้ยงไม่ต่ำกว่า 6 เดือน อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 140 คน ใช้วิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก (Convenience sampling) เก็บข้อมูลผ่านแบบสอบถามออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย (Simple regression analysis) และวิเคราะห์การทดสอบตัวแปรส่งผ่าน (Mediation Analysis) โดยใช้โปรแกรม Process ผลการวิจัยพบว่า 1. ความผูกพันกับสัตว์เลี้ยงมีความสัมพันธ์ทางลบกับความเหงา ในวัยรุ่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ꞵ = -.182, p = .032) โดยความผูกพันกับสัตว์เลี้ยงสามารถอธิบายความแปรปรวนของความเหงาได้ร้อยละ 3.3 2. การสนับสนุนด้านอารมณ์จากครอบครัว จากเพื่อนในกลุ่มคนเลี้ยงสัตว์ และจากสัตว์เลี้ยงไม่เป็นตัวแปรส่งผ่านของความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันกับสัตว์เลี้ยงกับความเหงาในวัยรุ่น


โมเดลเชิงสาเหตุของความก้าวร้าวและการศึกษาคลื่นสมองของผู้ที่กระทำผิดซ้ำและคนปกติ, นฤมล อินทหมื่น Jan 2019

โมเดลเชิงสาเหตุของความก้าวร้าวและการศึกษาคลื่นสมองของผู้ที่กระทำผิดซ้ำและคนปกติ, นฤมล อินทหมื่น

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยครั้งนี้มี 2 ตอน คือ การวิจัยสำรวจ และการวิจัยทดลอง วัตถุประสงค์ของการวิจัยตอนแรก เป็นการวิจัยเชิงสำรวจเพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความก้าวร้าวในเพศชายระหว่างกลุ่มคนทั่วไปที่ไม่ได้กระทำผิด (n = 240) และกลุ่มผู้ต้องขังชายที่กระทำผิดซ้ำในคดีรุนแรง (n = 200) โดยมีลักษณะไร้อารมณ์เป็นตัวแปรส่งผ่าน และตอนต่อมาเป็นการทดลองด้วยการบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมองเพื่อเปรียบเทียบความสูงของคลื่น P300 ขณะทำภาระงานทั้ง 3 ชิ้น ในเงื่อนไขสิ่งเร้าที่เป็นเป้าหมายระหว่างกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ได้กระทำผิดซ้ำ (n = 22) และกลุ่มที่กระทำผิดซ้ำ (n = 21) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของโมเดลความก้าวร้าวในการศึกษาที่ 1 พบว่า ชนิดของกลุ่มตัวอย่างมีอิทธิพลทางบวกต่อความก้าวร้าว โดยมีลักษณะไร้อารมณ์เป็นตัวแปรส่งผ่าน และการศึกษาที่ 2 ซึ่งเปรียบเทียบความสูงของคลื่น P300 ที่มีต่อสิ่งเร้าเป้าหมายบริเวณ Pz พบว่าทั้ง 3 ภาระงาน ภาระงานที่เป็นตัวอักษร ‘A’ ภาพที่มีเนื้อหารุนแรง และภาพสัตว์ที่น่าพึงพอใจ พบว่ากลุ่มที่กระทำผิดซ้ำมีความสูงของคลื่น P300 ที่เล็กกว่ากลุ่มที่ไม่ได้กระทำผิดซ้ำในทุกสิ่งเร้าเป้าหมายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อีกทั้งความสูงของคลื่น P300 ยังเป็นตัวแปรส่งผ่านระหว่างลักษณะไร้อารมณ์และความก้าวร้าวอีกด้วย โดยกลุ่มที่กระทำผิดซ้ำมีความก้าวร้าวทางร่างกาย ความไม่สนใจ และความไม่เห็นใจ มากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้กระทำผิดซ้ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


การพัฒนาโปรแกรมการสำรวจอาชีพแบบเสมือนของนักแคสเกมในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, โสดารัตน์ รัตนโชติชัยฤทธิ์ Jan 2019

การพัฒนาโปรแกรมการสำรวจอาชีพแบบเสมือนของนักแคสเกมในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, โสดารัตน์ รัตนโชติชัยฤทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมการสำรวจอาชีพแบบเสมือนของนักแคสเกมในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ผู้เข้าร่วมการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่สนใจอาชีพนักแคสเกมจำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยกลุ่มทดลองได้เข้าร่วมกิจกรรมการสำรวจอาชีพนักแคสเกมที่พัฒนาจากแนวคิดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ของโคลป์ (Kolb's experiential learning) ในขณะที่กลุ่มควบคุมทำกิจกรรมการสำรวจข้อมูลทางอาชีพนักแคสเกมจากการหาข้อมูลด้วยตนเอง โดยทั้งสองกลุ่มตอบแบบวัดความรู้ทางอาชีพ การรับรู้ตนเองทางอาชีพ และความแน่ใจทางอาชีพ ทั้งก่อนและหลังทำกิจกรรมเพื่อประเมินผลที่เกิดขึ้นจากการทำกิจกรรม ซึ่งมีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความแปรปราน 2 ทางแบบผสม (Two-way mixed ANOVA) และสถิติทดสอบความแตกต่างของค่ากลางของสองประชากรไม่อิสระ Paired simple t-test เพื่อตรวจสอบความแตกต่างของคะแนนก่อนและหลังการเข้าโปรแกรมในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม จากผลการวิจัยพบว่า (1) มีปฏิสัมพันธ์ร่วมระหว่างการเข้าร่วมโปรแกรมกับเวลาของการวัดต่อคะแนนความรู้ทางอาชีพนักแคสเกม อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.016 และพบการเพิ่มขึ้นของคะแนนหลังการเข้าร่วมกิจกรรมในกลุ่มทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (2) นักเรียนทั้งในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีการรับรู้ตนเองทางอาชีพนักแคสเกมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.016 หลังจากทำกิจกรรมการสำรวจอาชีพ (3) มีปฏิสัมพันธ์ร่วมระหว่างการเข้าร่วมโปรแกรมกับเวลาของการวัดต่อคะแนนแน่ใจทางอาชีพนักแคสเกม อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.016 โดยพบการลดลงของคะแนนหลังการเข้าร่วมกิจกรรมในกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


The Relationship Among Level Of Intimacy, Romantic Attachment, Coping Strategies, And Negative Emotional Experiences In Young Adults With Ghosting Experience, Piyaporn Prasertwit Jan 2019

The Relationship Among Level Of Intimacy, Romantic Attachment, Coping Strategies, And Negative Emotional Experiences In Young Adults With Ghosting Experience, Piyaporn Prasertwit

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The study aimed to explore ghosting or when the reasons for romantic relationship termination and subsequent disappearance of one’s partner are not conveyed in Thai society, which has objectives as follow: 1. To explore the relationship between level of intimacy (9 levels) and negative emotional experience (negative-self emotions and negative-others emotions) 2. To explore the relationship between level of intimacy (9 levels), romantic attachment (attachment anxiety, and attachment avoidant), and coping strategies (emotional release, direct approach, accommodation/acceptance, denial/blaming others, and self-blame/self-focused) Participants were 335 young adults aged 18 – 30 years old (M = 22.3 years) who have had experience …


Influence Of Embodiment On Positive Body Image With Self-Objectification And Body Awareness As Mediators Of Female Yoga Practitioners, Worakarn Saekim Jan 2019

Influence Of Embodiment On Positive Body Image With Self-Objectification And Body Awareness As Mediators Of Female Yoga Practitioners, Worakarn Saekim

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The purpose of this research was to examine the relationship between embodiment and body appreciation, with the mediating effects or body awareness and self-objectification. Participants were 188 Thai female yoga practitioners who practice yoga more than 6 hours per week and for at least 4 months. The mean age was 47.61. Participants completed the measure of embodiment, body appreciation, self-objectification, and body awareness. Results from the Structural Equation Modelling (SEM) analysis using AMOS indicated that the hypothesised model fit with the empirical data. Embodiment had a direct effect on body appreciation and an indirect one via reduced self-objectification. However, body …