Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Physics Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

2020

Theses/Dissertations

Chulalongkorn University

Articles 1 - 10 of 10

Full-Text Articles in Physics

ผลของลำดับการผสมวัตถุดิบต่อประสิทธิภาพการใช้พลังงานในการหลอมแก้ว, ปรีณาพรรณ ปิ่นหอม Jan 2020

ผลของลำดับการผสมวัตถุดิบต่อประสิทธิภาพการใช้พลังงานในการหลอมแก้ว, ปรีณาพรรณ ปิ่นหอม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โดยทั่วไปกระบวนการหลอมแก้วระดับอุตสาหกรรมต้องการพลังงานสูงสำหรับการเปลี่ยนแปลงจากวัตถุดิบเป็นน้ำแก้ว วัตถุประสงค์ในงานวิจัยนี้จะกล่าวถึงการพัฒนากระบวนการหลอมแก้วโซดาไลม์โดยวิธีปรับลำดับการผสมในระดับห้องปฏิบัติการ ซึ่งอาศัยกลไกของปฏิกิริยาสถานะของแข็งระหว่างทรายแก้วและโซเดียมคาร์บอเนตในช่วงแรกของการหลอม การเตรียมส่วนผสมแบบดั้งเดิมเป็นการผสมวัตถุดิบทั้งหมดภายในครั้งเดียว ในงานวิจัยนี้ต้องการปรับเปลี่ยนวิธีการเตรียมส่วนผสมให้เหมาะสมที่สุดต่อการหลอมโดยการปรับลำดับของการผสม ประกอบด้วยสองขั้นตอนการผสม ขั้นตอนแรกคือการผสมทรายแก้วและโซเดียมคาร์บอเนต จากนั้นจึงผสมวัตถุดิบที่เหลือเป็นขั้นตอนที่สอง เพื่อเปรียบเทียบและศึกษาผลของการเตรียมส่วนผสมทั้งสองวิธี ได้ทำการศึกษาสภาพและการเปลี่ยนแปลงระหว่างกระบวนการหลอมที่อุณหภูมิตั้งแต่ 600 ถึง 1000 องศาเซลเซียส นอกจากนี้มีผลของปริมาณวัตถุดิบที่หลอมไม่หมดบนพื้นผิวซึ่งยังคงลงเหลือในสภาพผลึก ณ สภาวะที่กำหนด เพื่อเปรียบเทียบแนวโน้มประสิทธิผลในการหลอมของส่วนผสมจากการผสมสองวิธี โดยภาพถ่ายผิวหน้าและโดยเทคนิคการเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์ ผลการวิจัยพบว่าการจัดลำดับการผสมเป็นวิธีการผสมที่เหมาะสมกว่า ส่งผลต่ออัตราการหลอม พื้นผิวสัมผัสที่เพิ่มขึ้นระหว่างทรายแก้วและโซเดียมคาร์บอเนตจากการผสมขั้นตอนแรกนำไปสู่การเพิ่มอัตราการหลอมของทั้งระบบ ต่างจากวิธีการเดิมที่อาจมีวัตถุดิบอื่นเป็นตัวขัดขวางการเกิดปฏิกิริยาสถานะของแข็งดังกล่าว


Fabrication And Characterization Of Graphene-Based Heterostructure Using Molybdenum As Alternative Electrodes, Illias Klanurak Jan 2020

Fabrication And Characterization Of Graphene-Based Heterostructure Using Molybdenum As Alternative Electrodes, Illias Klanurak

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Interlayer coupling in graphene heterostructures can be used to modify their charge transport properties for the use in nanoelectronics applications. To achieve high-performance devices, graphene is typically encapsulated by two thin sheets of hexagonal boron nitride (hBN) and contacted using Cr/Au as electrodes. ​ In this research, Mo was selected as alternative stand-alone electrodes to simplify the fabrication process. We have developed a recipe for the fabrication of field-effect transistor (FET) using twisted bilayer graphene (tBLG) as a transport channel. Mo was employed to make one-dimensional (1D) contacts to the edges of graphene by sputtering. Electronic transport measurement was then …


Fabrication And Characterization Of Triple-Cation Perovskite Solar Cells, Passakorn Phiromruk Jan 2020

Fabrication And Characterization Of Triple-Cation Perovskite Solar Cells, Passakorn Phiromruk

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Presently, triple-cation perovskite solar cells have been appealing due to the outstanding power conversion efficiency (PCE). In this work, the Cs0.03(FAxMA1-x)0.97Pb(IyBr1-y)3 triple-cation perovskite solar cells fabricated by two-step deposition method were studied by varying the content of halide ions (Br and I) and the cation ratios of FA and MA. The results showed that the insertion of Br improved open-circuit voltage due to broader band gap. In case of MAPbI3-based devices, the PCE was also increased with the addition of Br. However, the FAPbI3-based devices were inferior to MAPbI3-based devices resulting from poor quality perovskite layer and the non-photoactive structure …


The Wormholes In The Modification Of General Relativity Theory, Takol Tangphati Jan 2020

The Wormholes In The Modification Of General Relativity Theory, Takol Tangphati

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

A traversable wormhole, which is a class of wormholes in general relativity (GR), was proposed by Morris and Thorne in 1988. However, its existence requires the exotic matter violating the energy conditions. This thesis examines the wormhole solutions in the theory of massive gravity, focusing only on the de Rham, Gabadadze and Tolley (dRGT) theory of massive gravity which is the nonlinear massive gravity without ghost and quantify the wormhole solutions. We construct the wormhole solutions in context of the modified GR, investigate their stability, and examine the conditions of the exotic matter. Two methods for wormhole constructions are applied …


Holographic Solutions From N=6, D=4 Gauged Supergravity, Jakkapat Seeyangnok Jan 2020

Holographic Solutions From N=6, D=4 Gauged Supergravity, Jakkapat Seeyangnok

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In this thesis, we study holographic solutions of four-dimensional N = 6 gauged supergravity with SO(6) gauge group. The theory admits a unique N = 6 supersymmetric AdS4 vacuum dual to a three-dimensional N = 6 SCFT and gives us a number of supersymmetric domain walls interpolating between this AdS4 vacuum and singular geometries in IR with SO(2) × SO(4), U(3), SO(2) × SO(2) × SO(2), and SO(3) symmetries. These solutions describe RG flows from N = 6 SCFT in UV to non-conformal field theories driven by mass deformations. In particular, the solution with SO(2)×SO(4) symmetry coincides with the known …


Fabrication Of Sno2 Layer As Electron Transport Layers For Perovskite Solar Cells, Rattanaphon Thanimkan Jan 2020

Fabrication Of Sno2 Layer As Electron Transport Layers For Perovskite Solar Cells, Rattanaphon Thanimkan

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

A SnO2 has attracted more attention as electron transport layer (ETL) for perovskite solar cells (PSCs) because it has diverse advantages, e.g., wide bandgap energy, excellent optical and chemical stability, high transparency, high electron mobility, and easy preparation. In this work, SnO2 layer was fabricated by spin-coating and RF magnetron sputtering techniques with various conditions. The SnO2 layer was integrated into the planar structure of PSCs consisting of FTO/SnO2/MAPbI3/spiro-OMeTAD/Au. For spin-coating, SnO2 films can fully cover the FTO, but it has some particulates from recrystallization of SnO2 precursor as observed in the FESEM images. For RF sputtering technique, morphology of …


Intermodulation Distortions From A Chain Of Coupled Nonlinear Oscillators Near A Hopf Bifurcation, Yanathip Thipmaungprom Jan 2020

Intermodulation Distortions From A Chain Of Coupled Nonlinear Oscillators Near A Hopf Bifurcation, Yanathip Thipmaungprom

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The inner ear can produce sounds whose frequencies correspond to linear combinations of the stimulus frequencies, f1 and f2. These sounds, called Distortion Product Otoacoustic Emissions (DPOAEs), can be measured by inserting a microphone into the ear canal. In human, the intensity level of DPOAEs at frequency 2f1-f2 varies significantly with a stimulus frequency and can exhibit a quasi-periodic pattern, a feature termed a DPOAE fine structure. This distinctive characteristic has been generally accepted as a consequence of the interference between two DPOAE signals produced by two spatially separated groups of sensory hair cells, whose characteristic frequencies correspond to the …


Sexual Behaviors Of Indochinese Long-Tailed Macaque Macaca Fascicularis In Comparison With Sundaic Long-Tailed Macaque, Prangmas Kumpai Jan 2020

Sexual Behaviors Of Indochinese Long-Tailed Macaque Macaca Fascicularis In Comparison With Sundaic Long-Tailed Macaque, Prangmas Kumpai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Regarding to the previous studies reported that the past hybridization event between rhesus (Macaca mulatta; Mm) and long-tailed (M. fascicularis; Mf) macaques was occurred by the southward introgression of male Mm into Mf population, thus the Mf originating from Indochinese region carried higher level of genetic admixture of Mm ancestry than the Mf living in Sundaic region. Since it was reported that Mf are non-seasonal breeder while Mm are seasonal breeder, thus, it is interesting to compare the sexual behaviors between Indochinese and Sundaic Mf. Mf populations at Wat Haad Moon Kra Beau, Pichit province (WHM; 16° 51′N) and Khao …


กระบวนการพัฒนาโปรแกรมตัวส่งระหว่างโมเดลเชิงวัตถุและเชิงสัมพันธ์ด้วยเทคนิคโลวโค้ดบนโอดู, โสภณวิชญ์ พิชิตเธียรธรรม Jan 2020

กระบวนการพัฒนาโปรแกรมตัวส่งระหว่างโมเดลเชิงวัตถุและเชิงสัมพันธ์ด้วยเทคนิคโลวโค้ดบนโอดู, โสภณวิชญ์ พิชิตเธียรธรรม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้นำเสนอมอดูลเจนเนอเรเตอร์ ซึ่งเป็นเครื่องมือสำหรับการเขียนโปรแกรมตัวส่งระหว่างโมเดลเชิงวัตถุและเชิงสัมพันธ์บนโอดู โอดูเป็นซอฟต์แวร์อีอาร์พีแบบเปิดเผยรหัสต้นฉบับที่รวบรวมมอดูลที่จำเป็นสำหรับการจัดการธุรกิจต่าง ๆ และผู้พัฒนาสามารถพัฒนามอดูลเพื่อขยายขีดความสามารถของโอดูได้ โดยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาการพัฒนาซอฟต์แวร์บนโอดู มักต้องใช้เวลาในการเรียนรู้เพราะมีความซับซ้อนของเฟรมเวิร์ก จึงมีการนำแนวทางการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบโลวโค้ด (การเขียนโค้ดที่น้อยกว่าปกติ) มาใช้ในการพัฒนามอดูลเจนเนอเรเตอร์ขึ้น เพื่อให้เป็นเครื่องมือสำหรับออกแบบและสร้างรหัสต้นฉบับสำหรับมอดูล ทำให้ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์บนโอดูไม่ต้องกังวลเรื่องข้อผิดพลาดอันเนื่องมาจากความซับซ้อนของเฟรมเวิร์ก และให้ความสำคัญกับการเขียนโปรแกรมในด้านอื่น ๆ ได้มากขึ้น โดยเครื่องมือนี้ถูกพัฒนาด้วยภาษา ไพธอนให้เป็นเว็บแอปพลิเคชันทำงานบนเว็บเบราว์เซอร์ และได้มีการทดสอบการใช้งานกับทั้งผู้พัฒนามอดูลบนโอดู ผู้ใช้งานโอดูที่มีทักษะการเขียนโปรแกรม ผู้ที่ไม่เคยมีประสบการณ์กับโอดู และอาสาสมัครภายนอกบริษัท ซึ่งได้ผลลัพธ์ว่า ผู้ทดสอบทั้งหมดสามารถพัฒนามอดูลโดยใช้มอดูลเจนเนอเรเตอร์ได้สำเร็จ เครื่องมือนี้จึงสามารถช่วยให้ผู้ที่ไม่มีประสบการณ์ในการพัฒนามอดูลบนโอดูสามารถพัฒนามอดูลขึ้นมาได้โดยใช้เวลาไม่นาน และเมื่อเปรียบเทียบเวลาที่ใช้ในการพัฒนามอดูลของกลุ่มผู้พัฒนามอดูลบนโอดู ระหว่างแบบปกติที่เขียนโค้ดด้วยตนเองกับการใช้ มอดูลเจนเนอเรเตอร์ พบว่าการใช้เครื่องมือนี้สามารถลดเวลาการพัฒนามอดูลโดยเฉลี่ยได้ถึง 20% อีกทั้งมอดูลเจนเนอเรเตอร์ยังนำไปใช้ได้จริงในโครงการการพัฒนาซอฟต์แวร์ของบริษัท


การวิเคราะห์การเกิดตำหนิในการผลิตกระจกโฟลต, คณุตม์ ไพบูลย์ Jan 2020

การวิเคราะห์การเกิดตำหนิในการผลิตกระจกโฟลต, คณุตม์ ไพบูลย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มุ่งเน้นศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดตำหนิและหาแนวทางปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อลดปริมาณตำหนิชนิดฟองอากาศและรีม ด้วยการนำตัวแปรจากกระบวนการผลิตได้แก่ การชั่งน้ำหนักส่วนผสม อุณหภูมิในการหลอม อุณหภูมิในการขึ้นรูปและองค์ประกอบทางเคมีของกระจก มาหาความสัมพันธ์กับปริมาณตำหนิที่เกิดขึ้นด้วยการวิเคราะห์การถดถอย จากผลการวิเคราะห์ตำหนิฟองอากาศด้วยเทคนิคแมสสเปกโทรเมตรีและเทคนิครามานสเปคโทรสโคปีพบว่าฟองอากาศส่วนใหญ่พบแก๊ส CO2 เป็นองค์ประกอบอยู่ที่ 30 ถึง 70 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเกิดจากการสลายตัวทางความร้อนของวัตถุดิบและการไล่ฟองอากาศที่ไม่สมบูรณ์ และจากความสัมพันธ์ของปริมาณฟองอากาศและตัวแปรจากกระบวนการผลิตพบว่า อุณหภูมิการหลอมที่สูงขึ้น ปริมาณ fining agent ที่น้อยลง และกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้ตำหนิชนิดฟองอากาศเพิ่มขึ้น จากการศึกษาตำหนิชนิดรีมโดยใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดร่วมกับการวัดการกระจายพลังงานของรังสีเอกซ์ในการวิเคราะห์องค์ประกอบธาตุของตำหนิชนิดรีมเทียบกับบริเวณโดยรอบโดยพบว่ารีมมีปริมาณธาตุ Si และ Na สูงกว่าบริเวณโดยรอบ ซึ่งเกิดจากการชั่งวัตถุดิบที่คลาดเคลื่อนไปจากสูตรการผลิต โดยเกิดจากวัตถุดิบติดค้างบริเวณกรวยรับวัตถุดิบ ส่งผลให้องค์ประกอบทางเคมีของส่วนผสมไม่สม่ำเสมอ ยิ่งความแตกต่างของน้ำหนักส่วนผสมจากสูตรการผลิตยิ่งมาก จะทำให้ปริมาณรีมเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งสามารถความผิดพลาดจากการชั่งนี้สามารถแก้ไขได้โดยติดตั้งค้อนลมเพื่อเคาะวัตถุดิบให้ลงไปในโม่ผสมวัตถุดิบครบถ้วนตามสูตรการผลิต