Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chemistry Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

2021

Articles 1 - 30 of 57

Full-Text Articles in Chemistry

ปัจจัยการเสื่อมสภาพของน้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์สำหรับเครื่องยนต์แกโซลีน-ซีเอ็นจี, กณิกนันต์ ถิ่นพฤกษ์งาม Jan 2021

ปัจจัยการเสื่อมสภาพของน้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์สำหรับเครื่องยนต์แกโซลีน-ซีเอ็นจี, กณิกนันต์ ถิ่นพฤกษ์งาม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

แก๊สธรรมชาติอัดเป็นพลังงานทดแทนที่ได้รับความนิยมในระบบขนส่งสาธารณะ เนื่องจากซีเอ็นจีเป็นพลังงานสะอาด ค่าออกเทนสูงและราคาถูก เมื่อเปรียบเทียบกับเชื้อเพลิงชนิดอื่นและสามารถใช้งานในรูปแบบของระบบเชื้อเพลิงสองชนิด (dual-fuel) ในงานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาตัวแปรที่มีผลต่อการเสื่อมสภาพของน้ำมันหล่อลื่นมาตราฐานกึ่งสังเคราะห์สำหรับเครื่องยนต์แกโซลีน-ซีเอ็นจี โดยทำการเก็บตัวอย่างน้ำมันหล่อลื่นตามระยะทางที่กำหนดและทำการวิเคราะห์อิงตามมาตราฐาน ASTM จากการวิเคราะห์ความหนืดซึ่งเป็นสมบัติสำคัญของน้ำมันหล่อลื่นที่อุณหภูมิ 40 °C และ 100 °C พบว่าที่อุณหภูมิ 100 °C ความร้อนส่งผลให้เกิดการสลายพันธะภายในโมเลกุลทำให้ฟิล์มน้ำมันมีลักษณะบางลงและเป็นตัวเร่งต่อการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน โดยผลิตภัณฑ์ของปฏิกิริยาออกซิเดชันสามารถวิเคราะห์ด้วยเทคนิคฟูเรียร์ทรานส์ฟอร์มอินฟราเรดสเปกโทสโกปี (FT-IR) แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีของน้ำมันหล่อลื่นเนื่องจากหมู่ฟังก์ชันคาร์บอนิล (C=O) มีความเข้มข้นจากผลิตภัณฑ์ของออกซิเดชัน และมีผลทำให้ปริมาณกรดและค่าความหนืดเพิ่มขึ้น ส่งผลทำให้ชิ้นส่วนภายในเครื่องยนต์ถูกกัดกร่อน จากการวิเคราะห์ปริมาณเบสในน้ำมันหล่อลื่นที่บ่งชี้ถึงประสิทธิภาพของสารทำความสะอาด พบว่าที่ระยะทางมากกว่า 15000 กิโลเมตร ความเข้มข้นของสารเติมแต่งอัลคาไลน์จะลดลงครึ่งหนึ่งจากปริมาณเริ่มต้น แสดงให้เห็นถึงการเสื่อมสภาพของสารเติมแต่งจากความเข้มข้นของสิ่งสกปรกที่เกิดขึ้น เช่น ฝุ่น น้ำ โลหะและเขม่า


Determination Of Volatile Compounds In Yellow Curry Paste Using From-Two-To-One Dimensional Gas Chromatography-Mass Spectrometry, Natsuda Singtothog Jan 2021

Determination Of Volatile Compounds In Yellow Curry Paste Using From-Two-To-One Dimensional Gas Chromatography-Mass Spectrometry, Natsuda Singtothog

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In this work, an approach to allow improved analysis with one-dimensional GC-MS (1D GC-MS) was established and demonstrated for analysis of a pool of yellow curry paste samples. The approach involved initial application of comprehensive heart cut two-dimensional GC-MS (CH/C 2D GC-MS) to obtain a full volatile profile by comparing the experimental mass spectrum and retention index of each compound with the mass spectra and retention indices of standard compounds from a database. The obtained volatile profile was then used to generate a selected ion monitoring (SIM) method, which was then applied with 1D GC-MS using a SIM mode. This …


Modification Of Screen-Printed Carbon Electrode For Detection Of Pesticides, Kansuda Langor Jan 2021

Modification Of Screen-Printed Carbon Electrode For Detection Of Pesticides, Kansuda Langor

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Methyl parathion (MP) is an organophosphate pesticide broadly used in agriculture to protect crops and fruits from the damages caused by insects and pests. However, when it is used in large quantities, it can be potentially toxic to humans and animals, causing many poisoning effects. Moreover, its residues can also penetrate the food chain (via agriculture food products) as well as contaminating the environment, leading to air, water and soil pollution. Therefore, rapid determination and reliable quantification of trace level of MP are crucially needed for food safety and environmental monitoring. In this work, a low-cost and portable electrochemical sensor …


Boron Nanomaterials And Small Molecules Adsorption, Nontawat Ploysongsri Jan 2021

Boron Nanomaterials And Small Molecules Adsorption, Nontawat Ploysongsri

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The adsorption abilities of hydrogen boride nanotubes and nanosheet were studied. The adsorption of H2, H2O, NH3 and CH4 on the most stable armchair and zigzag hydrogen boride nanotubes and their C, N and O decorated nanotubes were investigated by using density functional tight binding (DFTB) method. The results show that C-decorated armchair and zigzag HBNTs could be the NH3 storage materials and N-decorated armchair and zigzag HBNTs could be water vapor sensing materials. The adsorption of Li, Na and K atoms on armchair like (5,5) and zigzag like (10,0) HBNTs and hydrogen adsorption on Li, Na and K decorated …


Discrimination Of Weedy Rice By Using Near-Infrared Spectroscopy Combined With Chemometrics, Sureerat Makmuang Jan 2021

Discrimination Of Weedy Rice By Using Near-Infrared Spectroscopy Combined With Chemometrics, Sureerat Makmuang

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Weedy rice is one of the most notorious weeds occurring in rice-growing areas, especially in South-East Asia. Weedy rice especially in form of paddy seed is difficult to manage and separate as they provide common features (morphological resemblance) to cultivated rice. This work presents a modification of self-organizing map (SOMs) for the classification of weedy rice from cultivated rice via in situ direct sample analysis from paddy seed using near-infrared (NIR) spectroscopy and hyperspectral NIR camera. The sample pretreatment was carried out by a cyclone vacuum machine to remove the contaminated particles and other impurities. The physical characteristics and the …


Development Of Colorimetric Paper-Based Analytical Device For Cortisol Detection, Thanathip Kosawatphat Jan 2021

Development Of Colorimetric Paper-Based Analytical Device For Cortisol Detection, Thanathip Kosawatphat

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Nowadays, the detection of cortisol can play a key role in understanding stress-related diseases. Several competitive immunoassay formats have been reported for the detection of this small hormone molecule. Lateral flow immunoassay (LFIA) is one of the most widely used platforms that offer its simplicity and rapidity for such analysis. Unlike previous sensors for cortisol sensing that require complicated readers, specialized reagents, or even post-treatment methods to amplify the obtained signal, in this work, we employed a concave test zone constructed on the LFIA device (cLFIA) which can directly enhance the signal response as the flowing sample was substantially concentrated …


Production Of Bio-Olefins From Oleic Acidvia Oxidative Dehydrogenation Using Vanadium Oxides/Sba-15 Catalysts, Nattaporn Chaidherasuwet Jan 2021

Production Of Bio-Olefins From Oleic Acidvia Oxidative Dehydrogenation Using Vanadium Oxides/Sba-15 Catalysts, Nattaporn Chaidherasuwet

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Long-chain olefins (≥C10) are important commodity chemicals, which are primarily used to manufacture everyday products such as plastic packaging, surfactants and detergents in cleaning products, and lubricant oil additives. However, the long-chain olefins are currently synthesized from the petroleum refining process via ethylene oligomerization or thermal cracking of long-chain paraffins. To support the Bio-Circular-Green Economy (BCG) model, the direct synthesis of olefins from renewable feedstocks has become an attractive route to promote overall sustainability. The objective of this research was to study the possibility to transform oleic acid (OA), one of the unsaturated fatty acids in palm oil, to produce …


Determination Of Adsorption And Separation Of Co2/N2 And H2s/Ch4 Mixtures In Porous Materials By Molecular Simulation, Tanawut Ploymeerusmee Jan 2021

Determination Of Adsorption And Separation Of Co2/N2 And H2s/Ch4 Mixtures In Porous Materials By Molecular Simulation, Tanawut Ploymeerusmee

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The major resources of power plant in the world rely on coal and natural gas which are economical for generating electricity. Flue gases, mainly N2 and CO2, are produced and released into the atmosphere. The zeolitic imidazolate framework-90 (ZIF-90) obtains a high potential as being a candidate for several applications. Consequently, the basic knowledge of adsorption and diffusion of gases in this material is the key factor of improving this gas separation technique. The effect of adsorbed CO2 molecules on the lattice structure of ZIF-90 can lead to gate opening depending on the amount of adsorbed guest molecules and the …


ผงยางรถยนต์เหลือทิ้งดัดแปรด้วยแอมีนสำหรับการดักจับคาร์บอนไดออกไซด์, ณภัสร์จิรา จารี Jan 2021

ผงยางรถยนต์เหลือทิ้งดัดแปรด้วยแอมีนสำหรับการดักจับคาร์บอนไดออกไซด์, ณภัสร์จิรา จารี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อเตรียมวัสดุดูดซับจากผงยางรถยนต์เหลือทิ้ง (WR) โดยการดัดแปรด้วยแอมีนเพื่อเพิ่มความจำเพาะต่อการดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ ปัจจัยต่าง ๆ ที่ศึกษาได้แก่ อัตราการไหลของแก๊สขาเข้า (50 70 และ 100 มิลลิลิตรต่อนาที) ขนาดอนุภาคของผงยาง (20 40 และ 60 เมช) ผงยางก่อนและหลังการบำบัดด้วยสารละลายกรด ชนิดของแอมีน (เตเตระเอทิลีนเพนตะแอมีนและพอลิเอทิลีนไดอิมีน) ความเข้มข้นของสารละลายแอมีน (ร้อยละ 2.5 5 และ 10 โดยน้ำหนัก) และอุณหภูมิในการดูดซับ (30 45 และ 60 องศาเซลเซียส) วัสดุดูดซับถูกพิสูจน์เอกลักษณ์ผ่านการวิเคราะห์ลักษณะพื้นที่ผิวจำเพาะ หมู่ฟังก์ชัน ร้อยละของธาตุ และลักษณะสัณฐานวิทยา ความสามารถการดูดซับของผงยางเหลือทิ้งถูกทดสอบโดยเครื่องปฏิกรณ์แสตนเลสภายใต้ภาวะอุณหภูมิห้องและความดันบรรยากาศ ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า ผงยางเหลือทิ้งขนาดเมช 60 มีค่าความจุการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นหลังบำบัดด้วยสารละลายกรดซัลฟิวริกเข้มข้น 1 โมลาร์ (WR60A) เทียบกับผงยางเหลือทิ้งขนาด 60 เมชก่อนบำบัดด้วยสารละลายกรด (WR60) โดยใช้อัตราการไหลของแก๊สขาเข้าในการดูดซับ 70 มิลลิลิตรต่อนาที เพื่อศึกษาชนิดและปริมาณของแอมีนที่เหมาะสม ผงยางเหลือทิ้งขนาด 60 เมชก่อนการบำบัดด้วยสารละลายกรด (WR60) ถูกนำมาดัดแปรเพื่อทดสอบหาค่าความจุการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ พบว่า การดัดแปรด้วยเตเตระเอทิลีนเพนตะแอมีนที่ความเข้มข้นร้อยละ 10 โดยน้ำหนักช่วยเพิ่มค่าความจุการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ให้กับ WR60 ได้มากที่สุด (10.41 มิลลิกรัมต่อกรัม) หลังจากนั้นนำ WR60A ซึ่งเป็นวัสดุที่เตรียมจากผงยางเหลือทิ้งหลังบำบัดด้วยสารละลายกรดมาดัดแปรด้วยเตเตระเอทิลีนเพนตะแอมีนที่ความเข้มข้นร้อยละ 10 โดยน้ำหนัก (WR60A_10T) พบว่า ค่าการดูดซับมีค่าเพิ่มขึ้น (11.64 มิลลิกรัมต่อกรัม) ที่ภาวะอุณหภูมิห้องและความดันบรรยากาศโดยใช้อัตราการไหลของแก๊สขาเข้า 70 มิลลิลิตรต่อนาที ผลการทดลองสามารถสรุปได้ว่า WR60A_10T มีค่าความจุการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์มากที่สุด นอกจากนี้ งานวิจัยนี้ยังได้ศึกษาความสามารถในดูดซับหลังจากการฟื้นฟูสภาพและจลนพลศาสตร์ของวัสดุดูดซับ พบว่า WR60A_10T มีค่าความจุในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ลดลงเพียงร้อยละ 4.02 หลังจากผ่านการดูดซับ-คายซับทั้งหมด 10 ครั้ง แบบจำลองจลนพศาสตร์แบบอาฟรามี (Avrami’s model) สามารถอธิบายกลไกการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้


การศึกษาเชิงเปรียบเทียบของวิธีการสกัดน้ำมันจากเมล็ดเทียนดำโดยการอัดสกรูและคาร์บอนไดออกไซด์ภาวะเหนือวิกฤต, บัณฑิตา สกุลกิตติยุต Jan 2021

การศึกษาเชิงเปรียบเทียบของวิธีการสกัดน้ำมันจากเมล็ดเทียนดำโดยการอัดสกรูและคาร์บอนไดออกไซด์ภาวะเหนือวิกฤต, บัณฑิตา สกุลกิตติยุต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

นํ้ามันเมล็ดเทียนดำเป็นนํ้ามันหอมระเหยซึ่งถูกนำมาประยุกต์ได้อย่างกว้างขวางโดยเฉพาะด้านการแพทย์แผนโบราณ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเทคโนโลยีการสกัดสะอาด (green extraction technology) ได้รับความสนใจใช้เป็นวิธีเลือกในการสกัดสารจากธรรมชาติ การสกัดด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ภาวะเหนือวิกฤต (supercritical carbon dioxide) เป็นหนึ่งในทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับการสกัดสารจากธรรมชาติ อีกทั้งแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ไม่เป็นพิษ ไม่ติดไฟ ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส เฉื่อย และมีราคาถูก ในงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงเปรียบเทียบของวิธีการสกัดนํ้ามันจากเมล็ดเทียนดำโดยการอัดสกรูและคาร์บอนไดออกไซด์ภาวะเหนือวิกฤตที่ภาวะต่าง ๆ ในช่วงความดัน 200 -300 บาร์และช่วงอุณหภูมิ 40 – 60 องศาเซลเซียส ที่อัตราการไหลของคาร์บอนไดออกไซด์คงที่ 10 กรัมต่อนาที นํ้ามันที่สกัดจากเมล็ดเทียนดำบดโดยใช้เฮกเซนเป็นตัวทำละลายมีปริมาณร้อยละ 40.20±1.41 โดยนํ้าหนัก นํ้ามันที่สกัดจากเมล็ดเทียนดำโดยการอัดสกรูมีปริมาณร้อยละ 25.41±1.20 โดยนํ้าหนัก ในขณะที่ยังมีนํ้ามันคงค้างเหลืออยู่ในกากเมล็ดเทียนดำถึงร้อยละ 20.88±0.51 โดยนํ้าหนัก นํ้ามันที่สกัดจากเมล็ดเทียนดำบดโดยคาร์บอนไดออกไซด์ภาวะเหนือวิกฤตพบว่าที่ความดัน 300 บาร์ อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียสเป็นภาวะเหมาะสมที่สุดที่สามารถสกัดเมล็ดเทียนดำบดได้ปริมาณนํ้ามันสะสมสูงสุดถึงร้อยละ 36.28 โดยนํ้าหนัก องค์ประกอบกรดไขมันที่พบในนํ้ามันเทียนดำบดส่วนใหญ่ประกอบด้วยกรดไขมันลิโนเลอิก กรดโอเลอิกและกรดปาล์มมิติก องค์ประกอบหลักทางเคมีที่พบในนํ้ามันหอมระเหยคือ เอ็ม-ไซมีน ไทโมควิโนน และลองกิโฟลีน


การศึกษาเชิงทดลองและการจําลองพลวัตเชิงโมเลกุลของอิเล็กโทรไลต์ฐานน้ำสําหรับแบตเตอรี่สังกะสีไอออน, พัทค์พศิณ สัมประสิทธิ์ Jan 2021

การศึกษาเชิงทดลองและการจําลองพลวัตเชิงโมเลกุลของอิเล็กโทรไลต์ฐานน้ำสําหรับแบตเตอรี่สังกะสีไอออน, พัทค์พศิณ สัมประสิทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ใช้การจำลองพลวัตเชิงโมเลกุลศึกษาผลของความเข้มข้นของสารละลาย อิเล็กโทรไลต์ ชนิดเกลือ และสารเติมแต่งที่มีต่อโครงสร้างการละลายและการถ่ายโอนของไอออน รวมทั้งค่าการนำไฟฟ้าของไอออนในสารละลายอิเล็กโทรไลต์ฐานน้ำสำหรับแบตเตอรี่สังกะสีไอออน เกลือสังกะสีที่ศึกษา ได้แก่ ซิงค์ซัลเฟต (ZnSO4) ซิงค์ไตรฟลูออโรมีเทนซัลโฟเนต ((Zn(CF3SO3)2 หรือ Zn(OTf)2) และซิงค์บิสไตรฟลูออโรมีเทนซัลโฟนิลอิไมด์ ((Zn(C2F6NO4S2)2 หรือ Zn(TFSI)2) ที่ความเข้มข้น 0.1, 0.5, 1.0 และ 2.0 M ผลการจำลองพบว่าชั้นการละลายแรกของไอออนสังกะสี Zn2+ ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของสารละลาย อิเล็กโทรไลต์และชนิดเกลือก ที่ความเข้มข้น 0.1 M Zn2+ มีน้ำล้อมรอบ 6 โมเลกุล หรือ [Zn(H2O)6]2+ เมื่อความเข้มข้นเพิ่มขึ้น จำนวนโมเลกุลน้ำที่ล้อมรอบ Zn2+ ลดลง ในชั้นการละลายแรกของ Zn2+ ที่ความเข้มข้น 0.1, 0.5 และ 1.0 M พบว่ามีไอออนลบ SO42- หรือ OTf- ในขณะที่ไอออนลบ TFSI- ซึ่งมีโครงสร้างขนาดใหญ่ไม่เกิดการรวมตัวกันของคู่ไอออน การใส่สารเติมแต่งแมงกานีสซัลเฟต (MnSO4) ความเข้มข้น 0.1 M ใน ZnSO4 มีผลทำให้อันตรกิริยาระหว่าง Zn2+ กับ SO42- อ่อนลง นอกจากนี้เมื่อเพิ่มความเข้มข้นของสารละลาย อิเล็กโทรไลต์ สัมประสิทธิ์การแพร่และค่าการนำไฟฟ้าของไอออนลดลง โดย Zn(OTf)2 ที่ความเข้มข้น 1.0 M ให้ค่าการนำไฟฟ้าสูงสุด แนวโน้มของค่าการนำไฟฟ้าที่ได้จากการจำลองสอดคล้องกับผลการทดลอง สำหรับข้อแนะนำในการออกแบบระบบสารละลายอิเล็กโทรไลต์คือการเลือกความเข้มข้น ชนิดเกลือ และการใช้สารเติมแต่งที่ลดโอกาสการเกิดโมเลกุลน้ำที่ว่องไวในชั้นการละลายแรกและการรวมตัวกันของคู่ไอออน


โฟมยางธรรมชาตินำไฟฟ้าสำหรับโฟโตวอลเทอิกเซลล์ลอยน้ำ, พิมพลอย ประเสริฐวสุ Jan 2021

โฟมยางธรรมชาตินำไฟฟ้าสำหรับโฟโตวอลเทอิกเซลล์ลอยน้ำ, พิมพลอย ประเสริฐวสุ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ยางธรรมชาติ เป็นพอลิเมอร์ชนิดหนึ่งที่ได้จากต้นยาง (Hevea brasiliensis) ถูกนำมาประยุกต์ใช้อย่างหลากหลาย ในหลายปีมานี้อีลาสโทเมอร์นำไฟฟ้าและพอลิเมอร์ชนิดยืดหยุ่นเป็นที่น่าสนใจอย่างมาก เนื่องจากมีความยืดหยุ่นและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในงานวิจัยนี้โฟโตวอลเทอิกเซลล์ชนิดลอยน้ำระดับห้องปฏิบัติการได้นำ PEDOT:PSS และพอลิไพโรลที่เป็นพอลิเมอร์ชนิดนำไฟฟ้ามาประกอบกับฐานที่เป็นโฟมยางธรรมชาติมาใช้เป็นขั้วไฟฟ้าร่วม โดยการเตรียมคอมพอสิทระหว่างยางธรรมชาติ, PEDOT:PSS และพอลิไพโรล (NR/PEDOT:PSS/PPy) จะใช้กระบวนการเคมีไฟฟ้าในการสังเคราะห์ ทำการเตรียมยางธรรมชาติผสม PEDOT:PSS ในอัตราส่วน1:4 โดยปริมาตร ผ่านศักย์ไฟฟ้าในช่วง 3-7 โวลต์ โดยใช้เวลาในการเกิดปฏิกิริยาที่แตกต่างกัน โดยพบว่าที่ความเข้มข้นของไพโรลเท่ากับ 0.5 โมลาร์และศักย์ไฟฟ้าเท่ากับ 4 โวลต์ให้ค่าการนำไฟฟ้าของยางคอมพอสิทอยู่ที่ 31.531 S/cm เปรียบเทียบประสิทธิภาพของเซลล์ที่ใช้ขั้วไฟฟ้าร่วมชนิดแพลททินัมและเซลล์ที่ใช้ขั้วไฟฟ้าร่วมเป็นยางธรรมชาตินำไฟฟ้าที่สังเคราะห์ขึ้นให้ประสิทธิภาพอยู่ที่ 2.04% และ 0.93% ตามลำดับ ซึ่งพบว่าค่าประสิทธิภาพยังน้อยอยู่เนื่องมาจากชนิดของขั้วไฟฟ้าที่ใช้ในการเกิดปฏิกิริยาที่ทำมาจากยางธรรมชาติอาจส่งผลให้การส่งผ่านอิเล็กตรอนยังไม่ดีเทียบเท่ากับขั้วแพลททินัม


การพัฒนาหน่วยควบแน่นแบบระเหยสำหรับระบบปรับอากาศขนาดกลาง, ไปรยา ทองเหลือง Jan 2021

การพัฒนาหน่วยควบแน่นแบบระเหยสำหรับระบบปรับอากาศขนาดกลาง, ไปรยา ทองเหลือง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

หน่วยควบแน่นแบบระเหย (Evaporative condenser unit) คือการอาศัยหลักการระเหยของน้ำมาช่วยเพิ่มความสามารถในการระบายความร้อนของเครื่องปรับอากาศ งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาหน่วยควบแน่นแบบระเหยและศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องปรับอากาศ ได้แก่ ความชื้นสัมพัทธ์โดยรอบ (Ambient relative humidity) และอัตราการไหลของน้ำ (Water flow rate) โดยออกแบบคอยล์เสริมเพื่อเป็นบริเวณที่ใช้ในการฉีดพ่นน้ำ พบว่าการเชื่อมต่อคอยล์เสริมบริเวณดิสชาร์จสูงกว่าบริเวณลิควิด 3.5% การทดลองเพื่อศึกษาเปลี่ยนแปลงค่าความชื้นสัมพัทธ์ควบคุมโดยปรับค่าความเร็วอากาศพบว่าเมื่อความเร็วอากาศลดลงทำให้ความชื้นสัมพัทธ์เพิ่มขึ้น และความสามารถในการระบายความร้อนมีค่าสูงสุดในช่วงความชื้นสัมพัทธ์ระหว่าง 73.1% ถึง 80.9% การทดลองศึกษาการเปลี่ยนแปลงอัตราการไหลของน้ำพบว่าพื้นที่สัมผัสบริเวณผิวคอยล์เสริมมากจะสามารถลดอุณหภูมิของสารทำความเย็นได้มากเช่นกัน นอกจากนี้ขนาดของหัวฉีดพ่นและความชื้นสัมพัทธ์ยังส่งผลต่อการลดลงของอุณหภูมิสารทำความเย็นอีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้นในการทดลองเพื่อหาประสิทธิภาพการทำงานของต้นแบบหน่วยควบแน่นแบบระเหยพบว่าสามารถเพิ่มประสิทธิภาพจากเครื่องปรับอากาศที่ระบายความร้อนด้วยลมปกติได้สูงถึง 20.36%


ความต้องการทางการตลาดของเทคโนโลยีเครื่องควบแน่นแบบระเหยสำหรับระบบปรับอากาศในกลุ่มตลาดใหม่, กมลวรรณ บรรจงแก้ว Jan 2021

ความต้องการทางการตลาดของเทคโนโลยีเครื่องควบแน่นแบบระเหยสำหรับระบบปรับอากาศในกลุ่มตลาดใหม่, กมลวรรณ บรรจงแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ 1. ศึกษาลักษณะตลาดเครื่องปรับอากาศ แนวโน้มการตลาด และลักษณะของตลาดผลิตภัณฑ์ เครื่องควบแน่นแบบระเหยสำหรับระบบปรับอากาศ (Evaporative Condensing Unit) ที่บริษัทต้องการพัฒนา 2. ศึกษาแนวทางการพัฒนาตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่ในสองรูปแบบ คือ แบบติดตั้งเพิ่มเติม (Retrofitting) และแบบที่ติดตั้งสำเร็จ (Built-in) โดยเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างผู้จัดการดูแลงานโครงการภาคใต้ และผู้เชี่ยวชาญด้านการติดตั้งซ่อมบำรุงระบบเครื่องปรับอากาศ 10 คน, บุคคลทั่วไป 10 คน และเจ้าของสถานประกอบการ 4 คน ร่วมกับการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 2 ชุด ชุดแรกสำหรับผู้จัดการดูแลงานโครงการภาคใต้ และผู้เชี่ยวชาญด้านการติดตั้งซ่อมบำรุงระบบเครื่องปรับอากาศ 10 คน ชุดที่ 2 สำหรับกลุ่มตัวอย่างผู้ที่เคยซื้อ หรือกำลังตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ใหม่ 400 คน โดยใช้วิธีแจกแบบสอบถามออนไลน์ในการเก็บข้อมูล ซึ่งใช้สถิติพรรณนา และสถิติอนุมาน ในการวิเคราะห์รายงานผล ผลการวิจัยพบว่า ปัจจุบันมีการใช้เครื่องปรับอากาศที่มีเครื่องควบแน่นแบบระเหย เพียงร้อยละ 0.8 โดยผู้บริโภคส่วนใหญ่มีพฤติกรรมค้นหาข้อมูลของผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกันจากหลายยี่ห้อ จากผู้จัดจำหน่ายหลายแห่งก่อนการตัดสินใจซื้อ ซึ่งส่วนใหญ่สนใจจะซื้อผลิตภัณฑ์ใหม่แบบที่ติดตั้งสำเร็จ (Built-in) และแบบติดตั้งเพิ่มเติม (Retrofitting) ช่วง 6-10 ปี ข้างหน้าโดยผู้บริโภคจะยอมจ่ายเพื่อซื้อเครื่องปรับอากาศที่มีเครื่องควบแน่นแบบระเหยแบบที่ติดตั้งสำเร็จ (Built-in) ขนาด 25,000 btu/h ประเภทธรรมดา (Fix speed) ในช่วงราคา 30,252-31,421 บาท สำหรับเครื่องปรับอากาศที่มีเครื่องควบแน่นแบบระเหยแบบที่ติดตั้งสำเร็จ (Built-in) ขนาด 36,000 btu/h ประเภทธรรมดา (Fix speed) ในช่วงราคา 47,369-52,020 บาท สำหรับผู้บริโภคกลุ่มเจ้าของกิจการจะยอมจ่ายเพื่อซื้อเครื่องปรับอากาศที่มีเครื่องควบแน่นแบบระเหยแบบที่ติดตั้งสำเร็จ (Built-in) ขนาด 25,000 btu/h ประเภทธรรมดา (Fix speed) ไม่เกิน 37,828 บาท สำหรับเครื่องปรับอากาศที่มีเครื่องควบแน่นแบบระเหยแบบที่ติดตั้งสำเร็จ (Built-in) ขนาด 36,000 btu/h ประเภทธรรมดา (Fix speed) ไม่เกิน 66,587.81 …


วัสดุเชิงประกอบพอลิแล็คติกแอซิด/แบคทีเรียเซลลูโลส-กราฟต์-พอลิเมทิลเมทาคริเลต, ฐาปนี เพ็ชระ Jan 2021

วัสดุเชิงประกอบพอลิแล็คติกแอซิด/แบคทีเรียเซลลูโลส-กราฟต์-พอลิเมทิลเมทาคริเลต, ฐาปนี เพ็ชระ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมและศึกษาสมบัติของวัสดุเชิงประกอบพอลิแล็คติกแอซิด/แบคทีเรียเซลลูโลส-กราฟต์-พอลิเมทิลเมทาคริเลต โดยสังเคราะห์แบคทีเรียเซลลูโลส-กราฟต์-พอลิเมทิลเมทาคริเลตด้วยกระบวนการพอลิเมอไรเซชันแบบอิมัลชันที่อัตราส่วนระหว่าง BC:MMA ที่ 1:1 และ 1:5 โดยมี K2S2O8 เป็นตัวริเริ่มปฏิกิริยา จาก FTIR สเปกตรัมของแบคทีเรียเซลลูโลส-กราฟต์-พอลิเมทิลเมทาคริเลต (BC1:5) พบค่าการดูดกลืนรังสีอินฟราเรดของหมู่คาร์บอนิล (C=O) ขึ้นที่ตำแหน่ง 1725 cm-1 โดยคาดว่าเป็นส่วนของ PMMA ที่ถูกกราฟต์ลงบนแบคทีเรียเซลลูโลส ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิเคราะห์โครงสร้างทางเคมีด้วยเทคนิค NMR รวมไปถึงการวิเคราะห์พฤติกรรมทางความร้อนด้วยเทคนิค TGA และ DSC ยืนยันได้ว่ามีการกราฟต์ PMMA ลงบนแบคทีเรียเซลลูโลสได้สำเร็จ จากนั้นนำแผ่นแบคทีเรียเซลลูโลส-กราฟต์-พอลิเมทิลเมทาคริเลตที่เตรียมได้ไปทำการลามิเนตกับแผ่นพอลิแล็คติกแอซิดด้วยเครื่องอัดแบบ แล้วนำแผ่นลามิเนตพอลิแล็คติกแอซิดที่ได้ไปศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยา สมบัติทางความร้อน สมบัติเชิงกล และการย่อยสลายด้วยวิธีฝังกลบ จากการศึกษาพบว่าลักษณะสัณฐานวิทยาของแผ่นลามิเนตพอลิแล็คติกแอซิดกับแบคทีเรียเซลลูโลส-กราฟต์-พอลิเมทิลเมทาคริเลต (BC1:5) มีการยึดเกาะที่ดีกว่าแบคทีเรียเซลลูโลสบริสุทธิ์และ BC1:1 จากการศึกษาสมบัติทางความร้อนพบว่าแผ่นลามิเนตพอลิแล็คติกแอซิดกับแบคทีเรียเซลลูโลส-กราฟต์-พอลิเมทิลเมทาคริเลตสูตร BC1:5 มีเสถียรภาพทางความร้อนมากที่สุด และจากการศึกษาสมบัติเชิงกลของแผ่นลามิเนตพอลิแล็คติกแอซิดกับแบคทีเรียเซลลูโลส-กราฟต์-พอลิเมทิลเมทาคริเลตพบว่ามีค่ายังส์มอดุลัสเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับพอลิแล็คติกแอซิดบริสุทธิ์ นอกจากนี้การทดสอบการย่อยสลายด้วยวิธีการฝังกลบ พบว่าแผ่นลามิเนตพอลิแล็คติกแอซิดที่เสริมแรงด้วยแบคทีเรียเซลลูโลสส่งผลต่อการย่อยสลายที่เร็วขึ้น


ไมโครแคปซูลวัสดุเปลี่ยนเฟสสำหรับสีทากล่องโฟมเพื่อรักษาอุณหภูมิเกล็ดเลือด, พสธร ลิมปธนโชติ Jan 2021

ไมโครแคปซูลวัสดุเปลี่ยนเฟสสำหรับสีทากล่องโฟมเพื่อรักษาอุณหภูมิเกล็ดเลือด, พสธร ลิมปธนโชติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้กล่าวถึงการเตรียมไมโครแคปซูลวัสดุเปลี่ยนเฟสโดยมีเฮปตะเดกเคนเป็นแกนและเมลามีนฟอร์มัลดีไฮด์เป็นเปลือก เปลือกของไมโครแคปซูลสังเคราะห์ด้วยกระบวนการพอลิเมอไรเซชันแบบอินซิทู เริ่มจากเตรียมอิมัลชันของเฮปตะเดกเคนด้วย Tween 80 จากนั้นเติมเมลามีนฟอร์มัลดีไฮด์คอนเดนเสทขณะมีการกวนสารตลอดเวลาตามด้วยกรดซิตริก 1 หยดทุก 1 นาทีเพื่อปรับสภาวะกรด เมื่อเวลาผ่านไปเมลามีนฟอร์มัลดีไฮด์คอนเดนเสทรวมร่างเป็นเปลือกล้อมรอบหยดเฮปตะเดกเคน ผลของการเปลี่ยนแแปลงอัตราการกวน (1000, 1250, 1500 รอบต่อนาที) และปริมาณของเมลามีนฟอร์มัลดีไฮด์ (0.5:1, 1:1, 1.5:1) มีผลต่อขนาดของไมโครแคปซูลทดสอบโดยเทคนิค SEM พบว่าไมโครแคปซูลมีรููปร่างเป็นทรงกลมและมีขนาดตั้งแต่ 1 ถึง 5 ไมโครเมตร ความร้อนแฝงของไมโครแคปซูลวัสดุเปลี่ยนเฟสวัดโดยเทคนิค DSC เท่ากับ 120.89 จูลต่อกรัมและมีประสิทธิภาพของไมโครแคปซูลเท่ากับ 89.31 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับ 135.85 จูลต่อกรัมของเฮปตะเดกเคน ยิ่งไปกว่านั้นไมโครแคปซูลมีเสถียรภาพเมื่อผ่านวัฏจักรการให้ความร้อนและความเย็นสูงถึง 50 รอบ หลังจากนั้นเตรียมกล่องโฟมทาสีซุปเปอร์ชิลด์ดัดแปรด้วยเฮปตะเดกเคน 40 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักให้ได้ความหนา 0.38 มิลลิเมตรและปิดด้วยฟิล์มแบคทีเรียเซลลูโลสที่ผิวภายใน จากนั้นวางถุงไมโครแคปซูล ถุงน้ำปราศจากประจุและเครื่องบันทึกอุณหภูมิในกล่องโฟมที่เตรียมไว้ที่อุณหภูมิ 10 องศาเซลเซียสนาน 12 ชั่วโมง จากนั้นนำกล่องที่เตรียมไว้มาทดสอบที่อุณหภูมิ 25 ถึง 27 องศาเซลเซียสนาน 24 ชั่วโมง โดยเครื่องจะบันทึกการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิระหว่าง 20 ถึง 24 องศาเซลเซียสเทียบกับเวลาผลพบว่าที่ไมโครแคปซูล 200 กรัมสามารถเก็บรักษอุณหภูมิภายในกล่องโฟมมากกว่า 24 ชั่วโมงเมื่อเทียบกับเฮปตะเดกเคนและกล่องควบคุมตัวแปร


การพัฒนาคอมพอสิตยางธรรมชาติที่เติมเส้นใยเซลลูโลสจากชานอ้อย, เชาวลิต พูลพิพัฒน์ Jan 2021

การพัฒนาคอมพอสิตยางธรรมชาติที่เติมเส้นใยเซลลูโลสจากชานอ้อย, เชาวลิต พูลพิพัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อปรับปรุงสมบัติของคอมพอสิตยางธรรมชาติโดยเสริมแรงด้วยเส้นใยเซลลูโลสที่ได้จากกากชานอ้อย การทดลองเริ่มจากการสกัดเส้นโยเซลลูโลสจากกากชานอ้อยด้วยการบำบัดด้วยกรด ด่าง และตามด้วยการฟอกสีร่วมกับการใช้แรงเชิงกล จากนั้นทำการดัดแปรพื้นผิวเส้นใยเซลลูโลสด้วยสารคู่ควบไซเลนชนิด บิส[(3-ไตรเอทอกซีไซลิล)โพรพิล]เตตระซัลไฟด์ (TESPT) และเอ็น-(3-(ไตรเอทอกซี่ไซลิล)โพรพิล)เอทิลีนไดเอมีน (TMPES) เพื่อเพิ่มความเข้ากันได้กับยาง ผลการทดลองพบว่าการเติมเส้นใยเซลลูโลสที่ดัดแปรพื้นผิวด้วย TESPT ส่งผลให้ปฏิกิริยาการวัลคาไนเซชันของคอมพอสิตยางธรรมชาติเกิดได้เร็วขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากกำมะถันที่อยู่ในโมเลกุลสารคู่ควบไซเลนซึ่งสามารถเกิดปฏิกิริยาการวัลคาไนเซชันและเกิดการเชื่อมโยงกับสายโซ่โมเลกุลยาง การดัดแปรพื้นผิวเส้นใยด้วยสารคู่ควบไซเลน TESPT สามารถปรับปรุงความเข้ากันได้บริเวณผิวประจัญของยางกับเส้นใยให้ดีขึ้นซึ่งพิสูจน์ได้จากภาพถ่ายสัณฐานวิทยา เนื่องจากคอมพอสิตยางธรรมชาติมีปริมาณพันธะเชื่อมโยงเพิ่มขึ้นและยางเข้ากันกับเส้นใยดีขึ้น ทำให้ความต้านทานต่อแรงดึงและการฉีกขาดสูงกว่าการใช้เส้นใยที่ไม่ผ่านการดัดแปรพื้นผิว โดยปริมาณเส้นใยที่เหมาะสมในการเสริมแรงยางธรรมชาติอยู่ที่ 2 phr จากการศึกษาผลของชนิดสารคู่ควบไซเลนต่อสมบัติของคอมพอสิตยางธรรมชาติ พบว่าการใช้ TMPES ส่งผลให้ค่าเวลายางสกอชกับเวลายางสุกยาวกว่ารวมไปถึงปริมาณพันธะเชื่อมโยงที่ต่ำกว่าการใช้ TESPT ทั้งนี้เนื่องจาก TMPES ไม่มีองค์ประกอบของกำมะถัน ดังนั้นความแข็งแรงบริเวณผิวประจัญจึงค่อนข้างต่ำกว่า ส่งผลให้สมบัติเชิงกลของคอมพอสิตยางธรรมชาติที่เสริมแรงด้วยเส้นใยเซลลูโลสดัดแปรด้วย TMPES ด้อยกว่าการดัดแปรด้วย TESPT


พอลิเมอร์ผสมฐานชีวภาพจากพอลิ(3-ไฮดรอกซีบิวทีเรต-โค-3-ไฮดรอกซีวาเลอเรต)และยางธรรมชาติอิพ็อกซิไดซ์, ณพรรดิ โตมะโน Jan 2021

พอลิเมอร์ผสมฐานชีวภาพจากพอลิ(3-ไฮดรอกซีบิวทีเรต-โค-3-ไฮดรอกซีวาเลอเรต)และยางธรรมชาติอิพ็อกซิไดซ์, ณพรรดิ โตมะโน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ได้ปรับปรุงสมบัติเชิงกลในด้านความทนแรงกระแทกของพอลิ(3-ไฮดรอกซีบิวทีเรต-โค-3-ไฮดรอกซีวาเลอเรต) ด้วยการทำพอลิเมอร์ผสมกับยางธรรมชาติอิพ็อกซิไดซ์ (ร้อยละ 25, และ 50) ร่วมกับการใส่สารช่วยผสมพอลิบิวตะไดอีนกราฟต์มาเลอิกแอนไฮไดรด์เพื่อช่วยเพิ่มความเข้ากันได้ให้แก่วัฏภาค PHBV และ ENR ด้วยเครื่องผสมระบบปิดที่อุณหภูมิ 175 องศาเซลเซียสและความเร็วโรเตอร์ 50 รอบต่อนาที ในการวิจัยขั้นแรกเป็นการศึกษาผลของสัดส่วน PHBV ต่อ ENR ที่ 100/0, 90/10, 80/20, และ 70/30 จากนั้นจึงเทียบกับการใส่สารช่วยผสมในปริมาณร้อยละ 0, 5, และ 10 จากการวิเคราะห์สมบัติเชิงกลพบว่าที่สัดส่วน 70/30 PHBV/ENR/5%PB-g-MA ของทั้ง ENR-25 และ ENR-50 ให้ค่าความทนแรงกระแทกได้สูงถึง 6.92 ± 0.35, และ 7.33 ± 1.19 J/m ซึ่งมากกว่า 100 PHBV ถึง 2 และ 2.3 เท่าตามลำดับ ในขั้นตอนต่อมาได้นำพอลิเมอร์ผสมที่เตรียมได้ไปเพิ่มสมบัติเชิงกลจากการทำไดนามิกส์วัลคาไนเซชันเพื่อให้เกิดการเชื่อมขวางในวัฏภาค ENR โดยใช้ DCP เป็นสารเชื่อมขวางปริมาณ 2 ส่วนในร้อยส่วน จากการวิเคราะห์สมบัติความทนแรงกระแทกพบว่า 70/30 PHBV/ENRv/5%PB-g-MA ของทั้ง ENRv-25 และ ENRv-50 สามารถเพิ่มค่าความทนแรงกระแทกได้สูงถึง 62.99 ± 14.76 และ 24.40 ± 2.84 J/m ซึ่งมากกว่าการเตรียมพอลิเมอร์ผสมด้วยวิธีปกติถึง 9.10 และ 3.10 เท่าตามลำดับ นอกจากนี้พอลิเมอร์ PHBV และพอลิเมอร์ผสมที่สัดส่วน ENR ร้อยละ 30 ที่เตรียมได้ยังถูกนำไปทดสอบความสามารถในการย่อยสลายด้วยการฝังดินเป็นระยะเวลา 3 เดือน ผลที่ได้พบว่าพอลิเมอร์ PHBV มีปริมาณน้ำหนักหายไปถึงร้อยละ 37.11 ± 3.08 และเมื่อทำพอลิเมอร์ผสมพบว่าน้ำหนักพอลิเมอร์ผสมของ 70/30 PHBV/ENR/5%PB-g-MA …


การทำนายสมบัติของของไหลไฮบริดนาโนโดยใช้โครงข่ายประสาทเทียมและการประยุกต์ในการถ่ายโอนความร้อน, สหัสวัต แซวรัมย์ Jan 2021

การทำนายสมบัติของของไหลไฮบริดนาโนโดยใช้โครงข่ายประสาทเทียมและการประยุกต์ในการถ่ายโอนความร้อน, สหัสวัต แซวรัมย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันหลายอุตสาหกรรมต้องการปรับปรุงการประสิทธิภาพการถ่ายโอนความร้อนเพื่อลดค่าใช้จ่ายและการปลดปล่อยคาร์บอน การปรับปรุงเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนโดยทั่วไปที่ใช้น้ำเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนความร้อนสามารถใช้ของไหลไฮบริดนาโนแทนได้ ของไหลไฮบริดนาโน คือ ของผสมระหว่างอนุภาคนาโนมากกว่าสองชนิดและของไหลพื้นฐาน เพื่อปรับปรุงสมบัติของของไหลพื้นฐาน โดยทั่วไปชนิดของอนุภาคนาโนและของไหลพื้นฐานที่ต่างกันย่อมส่งผลต่อสมบัติทางความร้อนและสมบัติการไหล ในงานวิจัยนี้ต้องการพัฒนาโครงข่ายประสาทเทียมสำหรับทำนายค่าการนำความร้อน ความจุความร้อนจำเพาะ ความหนืด และความหนาแน่น โดยใช้โครงข่ายประสาทเทียมแบบส่งไปข้างหน้า และ แบบส่งไปข้างหน้าและด้านข้าง ใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบ Levenbreg-Marquard จากการพัฒนาได้โครงข่ายประสาทเทียมสำหรับทำนายการนำความร้อน ความร้อนจำเพาะ ความหนาแน่น และความหนืดของไหลไฮบริดนาโนได้ค่า R มากกว่า 0.90 สำหรับการสอน การตรวจสอบ และการทดสอบ เมื่อนำค่าสมบัติการนำความร้อนไปประยุกต์ใช้ในกรณีศึกษาเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนของกระบวนการผลิตไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์ พบว่า ของไหลไฮบริดนาโน (CuO และ MgO) มีประสิทธิภาพการนำความร้อนดีที่สุดในการนำไปประยุกต์ใช้กับเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน เมื่อกำหนดให้กระบวนการมีความเข้มข้นของไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์สูงสุด


พอลิเมอร์ดูดซึมน้ำมากฐานพอลิอะคริลิกแอซิด/ไมโครคริสตัลลีนเซลลูโลสจากเส้นใยยางพารา, ทิพาพรรณ ดำเกาะ Jan 2021

พอลิเมอร์ดูดซึมน้ำมากฐานพอลิอะคริลิกแอซิด/ไมโครคริสตัลลีนเซลลูโลสจากเส้นใยยางพารา, ทิพาพรรณ ดำเกาะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

พอลิเมอร์ดูดซึมน้ำมากถูกสังเคราะห์จากไมโครคริสตัลลีนเซลลูโลสและพอลิอะคริลิกแอซิดเป็นมอนอเมอร์ แอมโมเนียมเพอร์ซัลเฟตเป็นตัวริเริ่มปฏิกิริยา และเอ็น, เอ็น’-เมทิลีนบิสอะคริลาไมด์เป็นสารเชื่อมขวางเพื่อใช้เป็นตัวดูดซึมน้ำและน้ำปัสสาวะสังเคราะห์ ในงานวิจัยนี้ ไมโครคริสตัลลีนเซลลูโลสได้จากเส้นใยยางพาราที่ได้จากใบยางพาราสดและใบยางพาราแห้ง ผ่านกระบวนการเชิงกลและสารเคมี ศึกษาองค์ประกอบชีวมวลพืชด้วยวิธี Goering and Van Soest ลักษณะทางสัณฐานวิทยาด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด หมู่ฟังก์ชันด้วยเทคนิคฟูเรียร์ทรานส์ฟอร์มอินฟราเรดสเปกโตรสโกปี ความเป็นผลึกด้วยด้วยการเลี้ยวเบนของ รังสีเอกซ์ และพฤติกรรมการสลายตัวเชิงความร้อนด้วยการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักอาศัยสมบัติทางความร้อนของไมโครคริสตัลลีนเซลลูโลส ผลการทดลองพบว่าไมโครคริสตัลลีนเซลลูโลสที่ได้จากเส้นใยยางพาราสดและเส้นใยยางพาราแห้งมีลักษณะและสมบัติคล้ายกัน ดังนั้นไมโครคริสตัลลีนเซลลูโลสที่ได้จากเส้นใยยางพาราแห้งถูกนำมาเตรียมพอลิเมอร์ดูดซึมน้ำมากผ่านกระบวนการ พอลิเมอไรเซชัน ศึกษาผลของปริมาณของไมโครคริสตัลลีนเซลลูโลสและสารเชื่องขวางในการสังเคราะห์พอลิเมอร์ดูดซึมน้ำมากที่มีผลต่อการดูดซึมน้ำและน้ำปัสสาวะสังเคราะห์ นอกจากนี้ตรวจสอบหมู่ฟังก์ชัน เปอร์เซ็นต์การกราฟต์ และสมบัติเชิงความร้อนของพอลิเมอร์ดูดซึมน้ำมาก พอลิเมอร์ดูดซึมน้ำมากที่เตรียมจากไมโครคริสตัลลีนเซลลูโลสร้อยละ 25 ของกรดอะคริลิกแอซิดที่สารเชื่อมขวางร้อยละ 0.05 ของกรดอะคริลิกแอซิด ให้ค่าดูดซึมน้ำและน้ำปัสสาวะสังเคราะห์สูงถึง 203 ± 0.67 g/g และ 53 ± 0.75 g/g ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่าพอลิเมอร์ดูดซึมน้ำมากที่สามารถดูดซึมน้ำและน้ำปัสสาวะสังเคราะห์ สามารถเตรียมได้จากใบยางพาราซึ่งเป็นวัตถุดิบจากธรรมชาติ


Synthesis And Catalytic Activity Of Layered Double Hydroxide And Metal Sulfide Nanoparticle Composites, Ajirawadee Suwanchan Jan 2021

Synthesis And Catalytic Activity Of Layered Double Hydroxide And Metal Sulfide Nanoparticle Composites, Ajirawadee Suwanchan

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Degradation of methylene blue dye was investigated over heterogenous catalytic process using layered double hydroxide and metal sulfide nanoparticle composites. CuCo2S4/NiFe LDH nanocomposites were synthesized using hydrothermal method, and the composites were characterized by SEM and XRD techniques. CuCo2S4 and NiFe LDH were formed with an average particle in the range of 350-450 nm and 2200-3500 nm, respectively. The composites were loaded at 1.8, 3.4, 5.2 and 9.9 wt% of CuCo2S4. CuCo2S4, NiFe LDH and CuCo2S4/NiFe LDH composites were tested at the same condition for methylene blue degradation. The 18CuCo2S4/NiFe LDH composites provided higher catalytic degradation of methylene blue compared …


Adsorption Of Hydrogen Gas On Polymorphic Zirconium Dioxide Surfaces, Monrada Petchmark Jan 2021

Adsorption Of Hydrogen Gas On Polymorphic Zirconium Dioxide Surfaces, Monrada Petchmark

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Adsorption of hydrogen gas on polymorphic zirconium dioxide (ZrO2) surfaces including cubic, tetragonal and monoclinic phase denoted by c-ZrO2(111), t-ZrO2(101) and m-ZrO2(111), respectively has been investigated using the periodic density functional theory (DFT) calculation. The stabilities of perfect and oxygen vacancy defective ZrO2 surfaces are in orders: c-ZrO2(111) > t-ZrO2(101) > m-ZrO2(111) and [c-ZrO2(111)+VO] > [t-ZrO2(101)+VO] > [m-ZrO2(111)+VO], respectively. The abilities of hydrogen adsorption on perfect and oxygen vacancy defective ZrO2 surfaces are in orders: [c-ZrO2(111)+VO] (∆Eads = –4.13 eV) > [m-ZrO2(111)+VO] (∆Eads = –3.31 eV) > [t-ZrO2(101)+VO] (∆Eads = –2.91 eV) > c-ZrO2(111) (∆Eads = –1.89 eV) > m-ZrO2(111) (∆Eads = –1.67 eV) > t-ZrO2(101) (∆Eads = –0.27 …


Pna-Immobilized Paper For Detection Of Pcr Amplicons, Nuttapon Jirakittiwut Jan 2021

Pna-Immobilized Paper For Detection Of Pcr Amplicons, Nuttapon Jirakittiwut

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

DNA detection is very important in diverse fields leading to a continuous increase in the research and development of various DNA sensors. This study focuses on the development of a paper-based DNA sensor by using pyrrolidinyl PNA as a recognition probe. The PNA-immobilized DNA sensor was designed to contain several PNA probes in the same device as a self-check system to increase the accuracy and facilitate the data collection and interpretation. The PNA-immobilized paper was then utilized for the detection of the DNA target, followed by the visualization of the captured target DNA via an enzyme-catalyzed colorimetric reaction. In this …


Development Of Retention Index Based Simulation For Validation Of Compound Identification In Gc×Gc, Palathip Kakanopas Jan 2021

Development Of Retention Index Based Simulation For Validation Of Compound Identification In Gc×Gc, Palathip Kakanopas

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Comprehensive two-dimensional gas chromatography (GC×GC) is a high-performance technique for separation, identification and quantification of volatiles and semi-volatiles in complex multi-component samples such as biomolecular molecules, essential oil, foods, and petroleum. One of the most popular detectors used for peak identification with GC×GC is mass spectrometer (MS) allowing identification of separated peaks based on comparison with mass spectral library. However, only MS library comparison shows low confidence in compound identifications due to the fact that compounds with similar structures (especially for isomers) often have similar mass spectra. Apart from sample preparation, a great challenge is to effectively select types of …


Theoretical Study Of Ethylene Polymerization By Phenoxy-Imine Catalyst, Pavee Apilardmongkol Jan 2021

Theoretical Study Of Ethylene Polymerization By Phenoxy-Imine Catalyst, Pavee Apilardmongkol

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Reaction mechanisms of ethylene polymerization catalyzed by the phenoxy-imine (FI) and the nickel phenoxyphosphine polyethylene glycol (Ni-PEG) with alkali metals were explored using DFT calculations. For FI catalysts, the effect of group IVB transition metals substitutions was investigated. The trend of calculated activation energies (Ea) at the rate-determining step is Zr < Hf < Ti and is in good agreement with experiments. The effect of ligands of the Ti-FI-based catalysts when changing the parent nitrogen (O, N) to oxygen (O, O), phosphorus (O, P), and sulfur (O, S) ligands on activity was also monitored. The results indicated that the sulfur (O, S) ligand gives the lowest activation energy. Additionally, the reactivity of Ni-phenoxy-imine (Ni-FI)-based catalysts for polyethylene polymerization was studied. Our calculations suggested that the square planar complex of Ni-FI is more reactive than its C2 symmetric octahedral complex. For Ni-PEG(M) catalysts, the trend for activation energies of four Ni-PEG(M) systems is Li < Na < K < Cs, which corresponds to experimentally observed activities. Moreover, the roles of secondary metals in Ni-PEG catalysts in terms of steric, electronic, and electrostatic effects were elucidated. The DFT results suggested that the active catalyst should have strong cooperative metal-metal/metal-ligand interactions and less positive charge on the secondary metal. Finally, to gain insight into the design of the novel Ni-PEG catalysts with alkali-earth metals, the effect of catalyst structure on experimental activity was investigated. This work provides fundamental understandings of the reaction mechanisms for the FI and Ni-PEG(M) catalysts, which could be used for the design and development of catalysts for ethylene polymerization.


Flow-Through Reactor For Photomediated Synthesis Of Silver Nanoprisms, Thanasit Laisanguanngam Jan 2021

Flow-Through Reactor For Photomediated Synthesis Of Silver Nanoprisms, Thanasit Laisanguanngam

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Silver nanoprisms (AgNPrs) have been widely used due to their outstanding optical properties which is one of an important phenomenon that depends on their size, shape, and compositions with characteristic localized surface plasmon resonance (LSPR). The changes in LSPR of AgNPrs can be simply observed by the color changes of the AgNPrs colloidal solution, therefore, the AgNPrs have been mostly used as chemical sensors as they provide high sensitivity and capable to be functionalized to improve the detection selectivity. In this study, we report a photochemical technique to induce the shape conversion of the spherical silver nanoparticle to AgNPrs by …


Program Development For Synthesis Plan Design Of Organic Compounds By Using Artificial Intelligence, Tawatchai Jitporn Jan 2021

Program Development For Synthesis Plan Design Of Organic Compounds By Using Artificial Intelligence, Tawatchai Jitporn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Computer-Assisted Synthesis Planning (CASP) is a computational tool for facilitating organic chemists to design and synthesis organic compounds by calculating the best possible synthesis pathways. Most CASP tools are commercial or closed-source software and thus, they cannot be modified to improve performance or update database. Therefore, it is our aim to develop an open-source CASP tool. Library of reaction rules that was created from the US patent database was taken from literature and was then reclassified to improve its applicability. This modified library was then used for training neural network and 2 important models were obtained for the search engine. …


Application Of Oxygen Scavenger In Gel Electromembrane Extraction For Determination Of Nitrite And Nitrate, Thidarat Samkumpim Jan 2021

Application Of Oxygen Scavenger In Gel Electromembrane Extraction For Determination Of Nitrite And Nitrate, Thidarat Samkumpim

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Gel electromembrane microextraction (G-EME) have been proven as a promising extraction method due to its effectiveness for extraction and preconcentration of charged analytes and its compliance with the principle of green chemistry. G-EME consists of two phases (donor and acceptor phases), separated by a gel membrane made of agarose. The driving force is the electrical potential applied across the membrane. Despite of all the advantages, the common problem was the oxygen generated in the acceptor solution due to the electrolysis of water that could affect the analysis of easily oxidized analyte species such as nitrite/nitrate species. In this work, application …


การพัฒนาระบบพลาสมาไอออนไนเซอร์ประสิทธิภาพสูงสำหรับเครื่องปรับอากาศ, นฤสรณ์ แน่นหนา Jan 2021

การพัฒนาระบบพลาสมาไอออนไนเซอร์ประสิทธิภาพสูงสำหรับเครื่องปรับอากาศ, นฤสรณ์ แน่นหนา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในงานวิจัยนี้ วงจรเครื่องกำเนิดพลาสมาถูกออกแบบโดยวางรากฐานอยู่บนการใช้ Flyback Transformer ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการสวิตชิ่งกำลังไฟฟ้าของ MOSFET ในการคายประจุแบบพลาสมาไดอิเล็กตริกแบริเออร์ดิสชาร์จเชิงผิวเพื่อนำมาเปรียบเทียบกับพลาสมาไอออนไนเซอร์ซึ่งเป็นเทคโนโลยีของบริษัท บิทไว้ส์ (ประเทศไทย) จำกัด แรงดันไฟฟ้ากระแสสลับที่จ่ายให้กับเครื่องพลาสมาไดอิเล็กตริกแบริเออร์ดิสชาร์จเชิงผิวใช้แรงดันไฟฟ้า 5.38 kV วงจรกำเนิดพลาสมาได้รับการออกแบบมีการทำงานที่ความถี่ 0.2 Hz เมื่อใช้ Duty Cycle ที่ 5%, 10%, 20% และ 100% การศึกษาอุณหภูมิวัสดุไดอิเล็กตริกที่เปิดระบบไว้ 10 นาที อยู่ที่ 34.0 °C, 36.5 °C, 39.6 °C และ 67.0 °C ตามลำดับ และเมื่อตรวจวัดค่าโอโซนพบว่ามีความเข้มข้นโอโซน 174 ppb, 794 ppb, 1,820 ppb และ 9,849 ppb ตามลำดับ จากการศึกษาสเปกโตรสโกปีการเปล่งแสงของพลาสมาไดอิเล็กตริกแบริเออร์ดิสชาร์จพื้นผิวที่ความดันบรรยากาศเผยให้เห็นว่ามีกลุ่ม N2, NO และ OH ซึ่งสารอนุมูลอิสระเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ โดยการใช้ Optical Emission Spectrometer พบว่ามีอุณหภูมิพลาสมาที่ 0.82 eV การทดสอบประสิทธิภาพการกำจัดเชื้อใช้ Escherichia coli (E. coli) ATCC 25922 ในการทดสอบ เชื้อ E. coli ถูกฉายด้วยไดอิเล็กตริกแบริเออร์ดิสชาร์จเชิงผิวและพลาสมาไอออนไนเซอร์เป็นเวลา 10 นาที จากผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าไดอิเล็กตริกแบริเออร์ดิสชาร์จเชิงผิวสามารถลดปริมาณเชื้อ E. coli ได้ถึง 100% ในขณะที่พลาสมาไอออนไนเซอร์ไม่สามารถลดปริมาณเชื้อ E. coli ได้


การออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์หยิบจับสำหรับผลิตภัณฑ์ยางแปรรูป, พีรวัส รัตนโชติ Jan 2021

การออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์หยิบจับสำหรับผลิตภัณฑ์ยางแปรรูป, พีรวัส รัตนโชติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เสนอแนวทางการเลือกใช้และพัฒนาอุปกรณ์หยิบจับ (Gripper) สำหรับผลิตภัณฑ์ยางแปรรูปให้เหมาะสมกับรูปร่าง ขนาด และคุณสมบัติทางกลของยางแปรรูป ซึ่งอุปกรณ์หยิบจับนี้ถูกนำมาใช้เพื่อนำผลิตภัณฑ์ยางที่ผ่านกระบวนการขึ้นรูปชิ้นงานด้วยแม่พิมพ์โดยการให้ความร้อนออกจากแม่พิมพ์ออกจากแม่พิมพ์โลหะ ซึ่งจำเป็นที่ต้องทราบถึงแรงที่ใช้นำชิ้นงานออกจากแม่พิมพ์โดยแรงนี้ถูกเรียกว่า Demolding force และโดยปกติแรงนี้จะประกอบไปแรงเสียดทาน (Friction Force) และแรงยึดติด (Adhesion force) ดังนั้นวิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงมุ่งเน้นไปที่ปัจจัยที่ส่งผลต่อ Demolding force ได้แก่ รูปทรง พื้นที่สัมผัส ความแข็งของยาง และความหยาบผิวของแม่พิมพ์ โดยได้มีการออกแบบการทดลองโดยใช้ Full factorial design และใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple regression analysis) เพื่อใช้ในการพยากรณ์ นอกจากนี้ยังได้พัฒนาซอฟท์แวร์มาเพื่อแนะนำการออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์หยิบจับ และสุดท้ายได้มีการพัฒนาอุปกรณ์หยิบจับตัวต้นเพื่อทดสอบประสิทธิภาพของซอฟท์แวร์นี้