Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Nursing Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Theses/Dissertations

2020

Discipline
Institution
Keyword
Publication
File Type

Articles 1471 - 1483 of 1483

Full-Text Articles in Nursing

ปัจจัยทำนายอาการหายใจลำบากในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว, ภัสส์มณี เทียมพิทักษ์ Jan 2020

ปัจจัยทำนายอาการหายใจลำบากในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว, ภัสส์มณี เทียมพิทักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงทำนายครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอาการหายใจลำบากในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว และศึกษาปัจจัยทำนายอาการหายใจลำบาก โดยใช้แนวคิดทฤษฎีอาการไม่พึงประสงค์เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะหัวใจล้มเหลว ทั้งเพศชาย และเพศหญิง อายุระหว่าง 40-59 ปี ที่เข้ารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลตติยภูมิ 3 แห่งในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 122 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการรับรู้การเจ็บป่วย แบบสอบถามการรับรู้การควบคุมตนเอง แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม แบบสอบถามการดูแลตนเอง และแบบประเมินอาการหายใจลำบาก เครื่องมือวิจัยผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน และมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ ดังนี้ 0.70, 0.81, 0.82, 0.79 และ 0.96 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และสถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณโดยวิธีนำตัวแปรเข้าทั้งหมด ผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว อาการหายใจลำบากน้อย โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 19.49 (SD 23.88) มีลักษณะของอาการหายใจลำบากดังนี้ หอบ หายใจไม่ทัน ต้องหายใจมากขึ้น หายใจเข้าได้ไม่สุด หายใจได้ตื้น ๆ และหายใจออกได้ไม่สุด 2. การรับรู้การเจ็บป่วยมีความสัมพันธ์ทางบวกกับอาการหายใจลำบากในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r=.336) ส่วนการรับรู้การควบคุมตนเองมีความสัมพันธ์ทางลบกับอาการหายใจลำบากในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r= -.291) 3. อายุ การดูแลตนเอง และการสนับสนุนทางสังคม เป็นตัวแปรที่ไม่มีความสัมพันธ์กับอาการหายใจลำบากในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว 4. การรับรู้การเจ็บป่วย และการรับรู้การควบคุมตนเองสามารถทำนายอาการหายใจลำบากของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวได้ ร้อยละ 18 ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (R2 = .180, F = 5.078, p < 0.05)


ผลของกิจกรรมการพยาบาลโดยการให้ข้อมูลและการเบี่ยงเบนความสนใจต่อความกลัวก่อนผ่าตัดหัวใจในผู้ป่วยเด็กวัยก่อนเรียน, มณชยา เสกตระกูล Jan 2020

ผลของกิจกรรมการพยาบาลโดยการให้ข้อมูลและการเบี่ยงเบนความสนใจต่อความกลัวก่อนผ่าตัดหัวใจในผู้ป่วยเด็กวัยก่อนเรียน, มณชยา เสกตระกูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความกลัวก่อนผ่าตัดหัวใจในผู้ป่วยเด็กวัยก่อนเรียนที่ได้รับกิจกรรมการพยาบาลโดยการให้ข้อมูลและการเบี่ยงเบนความสนใจกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลปกติ กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยเด็กวัยก่อนเรียนที่มารับการผ่าตัดหัวใจ ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จำนวน 60 คน โดย 30 คนแรกจัดอยู่ในกลุ่มควบคุม และ 30 คนหลังจัดอยู่ในกลุ่มทดลอง ผู้ป่วยเด็กวัยก่อนเรียนในกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลก่อนผ่าตัดตามปกติ ขณะที่กลุ่มทดลองได้รับกิจกรรมการพยาบาลโดยการให้ข้อมูลและการเบี่ยงเบนความสนใจ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสังเกตพฤติกรรมความกลัวก่อนผ่าตัดหัวใจของผู้ป่วยเด็กวัยก่อนเรียน โดยผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 1 และค่าความเที่ยงของการสังเกตเท่ากับ .98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติทดสอบที (independent t-test) ผลการวิจัยพบว่า ความกลัวก่อนผ่าตัดหัวใจในผู้ป่วยเด็กวัยก่อนเรียน กลุ่มที่ได้รับกิจกรรมการพยาบาลโดยการให้ข้อมูลและการเบี่ยงเบนความสนใจน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลของโปรแกรมการจัดการอาการทางลบต่อการทำหน้าที่ของผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรัง, วฤณดา อธิคณาพร Jan 2020

ผลของโปรแกรมการจัดการอาการทางลบต่อการทำหน้าที่ของผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรัง, วฤณดา อธิคณาพร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลสองครั้งก่อนและหลังการทดลองเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบการทำหน้าที่ของผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรังก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการจัดการอาการทางลบ 2) เปรียบเทียบการทำหน้าที่ของผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรังระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดการอาการทางลบกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรังที่รับการรักษาในแผนกผู้ป่วยใน สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา ซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ จำนวน 40 คน ได้รับการจับคู่ด้วยเพศและระยะเวลาการเจ็บป่วย จากนั้นสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน กลุ่มทดลองได้รับการดูแลตามโปรแกรมการจัดการอาการทางลบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ประกอบด้วย 7 กิจกรรม เป็นระยะเวลา 3 สัปดาห์ เพื่อส่งเสริมการจัดการอาการทางลบและทักษะที่เกี่ยวข้อง ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) โปรแกรมการจัดการอาการทางลบ 2) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และ 3) แบบวัดทักษะชีวิต เครื่องมือทุกชุดผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน โดยแบบวัดทักษะชีวิตมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .88 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. การทำหน้าที่ของผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรังหลังได้รับโปรแกรมการจัดการอาการทางลบสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. การทำหน้าที่ของผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรัง กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดการอาการทางลบสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลของโปรแกรมการพยาบาลเน้นการลดความเจ็บปวดต่อความกลัวการใส่สายสวนทางหลอดเลือดดำของเด็กวัยก่อนเรียน, กรองแก้ว ทรัพย์ประเสริฐ Jan 2020

ผลของโปรแกรมการพยาบาลเน้นการลดความเจ็บปวดต่อความกลัวการใส่สายสวนทางหลอดเลือดดำของเด็กวัยก่อนเรียน, กรองแก้ว ทรัพย์ประเสริฐ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความกลัวการใส่สายสวนทางหลอดเลือดดำของเด็กวัยก่อนเรียนที่ได้รับโปรแกรมการพยาบาลเน้นการลดความเจ็บปวดและกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยเด็กวัยก่อนเรียนที่ได้รับการรักษาโดยการใส่สายสวนทางหลอดเลือดดำ ณ โรงพยาบาลศูนย์ราชบุรี จำนวน 60 คน โดยการสุ่มเข้ากลุ่มทดลองหรือกลุ่มควบคุมและจับเข้าคู่กันด้วยการพิจารณาจากอายุและประสบการณ์การใส่สายสวนทางหลอดเลือดดำ ผู้ป่วยเด็กวัยก่อนเรียนในกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ขณะที่กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการพยาบาลเน้นการลดความเจ็บปวด เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสังเกตพฤติกรรมความกลัวการใส่สายสวนทางหลอดเลือดดำของผู้ป่วยเด็กวัยก่อนเรียน โดยผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ .98 และค่าความเที่ยงของการสังเกตเท่ากับ .94 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติทดสอบที (independent t-test) ผลการวิจัยพบว่า ความกลัวการใส่สายสวนทางหลอดเลือดดำของเด็กวัยก่อนเรียน กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการพยาบาลเน้นการลดความเจ็บปวดน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลของโปรแกรมการพยาบาลโดยใช้รูปแบบการดูแลของสแวนสันต่อพฤติกรรมการบริหารยาของผู้ปกครองเด็กวัยเรียนโรคลมชัก, นุษพร ทองคำ Jan 2020

ผลของโปรแกรมการพยาบาลโดยใช้รูปแบบการดูแลของสแวนสันต่อพฤติกรรมการบริหารยาของผู้ปกครองเด็กวัยเรียนโรคลมชัก, นุษพร ทองคำ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้เป็นการศึกษาผลของโปรแกรมการพยาบาลโดยใช้รูปแบบการดูแลของ Swanson ต่อพฤติกรรมการบริหารยาของผู้ปกครองเด็กวัยเรียนโรคลมชัก กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปกครองของเด็กวัยเรียนโรคลมชักที่ผู้ป่วยเด็กอายุ 6-12 ปี ซึ่งเข้ารับการรักษาแผนกผู้ป่วยในสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี จำนวน 32 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 16 คน กลุ่มทดลอง 16 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์ที่กำหนด กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการพยาบาลโดยใช้รูปแบบการดูแลของ Swanson เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ โปรแกรมการพยาบาลโดยใช้รูปแบบการดูแลของ Swanson และแบบประเมินพฤติกรรมการบริหารยาของผู้ปกครองเด็กวัยเรียนโรคลมชักที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ .83 มีค่าความเที่ยงครอนบาคอัลฟ่าเท่ากับ .863 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติการทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้เป็นการศึกษาผลของโปรแกรมการพยาบาลโดยใช้รูปแบบการดูแลของ Swanson ต่อพฤติกรรมการบริหารยาของผู้ปกครองเด็กวัยเรียนโรคลมชัก กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปกครองของเด็กวัยเรียนโรคลมชักที่ผู้ป่วยเด็กอายุ 6-12 ปี ซึ่งเข้ารับการรักษาแผนกผู้ป่วยในสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี จำนวน 32 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 16 คน กลุ่มทดลอง 16 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์ที่กำหนด กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการพยาบาลโดยใช้รูปแบบการดูแลของ Swanson เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ โปรแกรมการพยาบาลโดยใช้รูปแบบการดูแลของ Swanson และแบบประเมินพฤติกรรมการบริหารยาของผู้ปกครองเด็กวัยเรียนโรคลมชักที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ .83 มีค่าความเที่ยงครอนบาคอัลฟ่าเท่ากับ .863 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติการทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการบริหารยาของผู้ปกครองเด็กวัยเรียนโรคลมชักในกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมการพยาบาลโดยใช้รูปแบบการดูแลของ Swanson สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการพยาบาลโดยใช้รูปแบบการดูแลของ Swanson อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการบริหารยาของผู้ปกครองเด็กวัยเรียนโรคลมชักในกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการพยาบาลโดยใช้รูปแบบการดูแลของ Swanson สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยสนับสนุนให้เห็นว่า กิจกรรมการพยาบาลเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการบริหารยาของผู้ปกครองเด็กวัยเรียนโรคลมชักจะมีประสิทธิภาพเมื่อผู้ปกครองได้รับรูปแบบการดูแล 5 องค์ประกอบของ Swanson ซึ่งจะนำไปสู่การมีความหวัง กำลังใจ ความมั่นใจในการปฏิบัติ และคงความเชื่อการบริหารยาถูกต้อง เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริหารยาของบุคคลที่ดีขึ้น


ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการดูแลตามแนวคิดฮิวแมนนิจูดต่อความเครียดในการดูแลผู้สูงอายุของผู้ดูแลในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางแค, สุภาวดี ล่ำสัน Jan 2020

ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการดูแลตามแนวคิดฮิวแมนนิจูดต่อความเครียดในการดูแลผู้สูงอายุของผู้ดูแลในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางแค, สุภาวดี ล่ำสัน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียว วัดแบบอนุกรมเวลา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความเครียดในการดูแลผู้สูงอายุของผู้ดูแลในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางแค ก่อน ระหว่าง และหลังได้รับโปรแกรมการส่งเสริมการดูแลตามแนวคิดฮิวแมนนิจูด และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความเครียดในการดูแลผู้สูงอายุของผู้ดูแลในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางแค ก่อน ระหว่าง และหลังได้รับโปรแกรมการส่งเสริมการดูแลตามแนวคิดฮิวแมนนิจูด กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ดูแลในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางแค โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดจำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ โปรแกรมการส่งเสริมการดูแลตามแนวคิดฮิวแมนนิจูดต่อความเครียดในการดูแลผู้สูงอายุของผู้ดูแล โดยใช้แนวคิดฮิวแมนนิจูดของ Gineste & Marescotti (2008) ทั้งนี้โปรแกรมได้ผ่านการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบวัดภาระในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง พัฒนาโดย ซาริท และซาริท (Zarit & Zarit, 1990) แปลเป็นภาษาไทยโดย ชนัญชิดาดุษฎี ทูลศิริ และคณะ (2554) มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำและเปรียบเทียบเป็นรายคู่ ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยความเครียดในการดูแลผู้สูงอายุของผู้ดูแลหลังเสร็จสิ้นโปรแกรมการดูแลแบบฮิวแมนนิจูดลดลงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมการดูแลแบบฮิวแมนนิจูดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และค่าเฉลี่ยความเครียดในการดูแลผู้สูงอายุของผู้ดูแลก่อนเข้าร่วมโปรแกรมการดูแลแบบฮิวแมนนิจูด ในสัปดาห์ที่ 1 หลังเข้าร่วมโปรแกรมการดูแลแบบฮิวแมนนิจูดในสัปดาห์ที่ 2, 3, 4, 5 และหลังเสร็จสิ้นโปรแกรมการดูแลแบบฮิวแมนนิจูดในสัปดาห์ที่ 6 ลดลงอย่างต่อเนื่อง 2) ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เกี่ยวกับการดูแลแบบฮิวแมนนิจูดของผู้ดูแลหลังเข้าร่วมโปรแกรมการส่งเสริมการดูแลตามแนวคิดฮิวแมนนิจูดสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมการส่งเสริมการดูแลตามแนวคิดฮิวแมนนิจูดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการดูแลตามแนวคิดฮิวแมนนิจูดสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมการส่งเสริมการดูแลตามแนวคิดฮิวแมนนิจูดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) ค่าเฉลี่ยคะแนนกิจกรรมการดูแลตามแนวคิดฮิวแมนนิจูดสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมการส่งเสริมการดูแลตามแนวคิดฮิวแมนนิจูดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


Exploring The Nursing Work Environment And Patient Outcomes Associated With Nurse-Reported Workplace Bullying: A Mixed Methods Study, Colleen Anusiewicz Jan 2020

Exploring The Nursing Work Environment And Patient Outcomes Associated With Nurse-Reported Workplace Bullying: A Mixed Methods Study, Colleen Anusiewicz

All ETDs from UAB

Workplace bullying (WPB) in nursing is a workplace problem that can undermine the safety culture necessary to minimize adverse patient events and improve health care quality. Nurses continue to experience and report WPB despite a substantial and growing body of evidence reflecting the negative effects of WPB on nurses, published position statements and alerts, and the initiation of workplace violence policies and protocols. To decrease WPB and inform the development of effective anti-bullying interventions, there has been a shift in focus from individual factors and interpersonal relationships among nurses and health care workers to organizational factors that contribute to nurse-reported …


Alabama's Acute Care Registered Nurse Workforce: A Study In Supply And Demand, Tracey Dick Jan 2020

Alabama's Acute Care Registered Nurse Workforce: A Study In Supply And Demand, Tracey Dick

All ETDs from UAB

Background/Significance: Nurses comprise the largest sector of the total health care workforce. Acute care hospitals have historically been major employers of registered nurses (RNs). What is currently known about Alabama’s acute care RN workforce supply is limited. Additionally, a paucity of data is available to describe employer demand. Alabama’s aging population, chronic disease burden, and health care system reforms suggest that the demand for RNs will continue to grow. Data are needed to provide a greater understanding of current and future RN supply and demand to inform workforce planning, educational investment, and state health policy. Purpose: To characterize the current …


Understanding Adolescent Sexual Health Through Exploration Of Their Perceptions, Behaviors, And Beliefs, Jessica L. Corcoran Jan 2020

Understanding Adolescent Sexual Health Through Exploration Of Their Perceptions, Behaviors, And Beliefs, Jessica L. Corcoran

All ETDs from UAB

Adolescents in the United States disproportionately experience adverse sexual health outcomes compared to adolescents in other developed countries. The purpose of this dissertation is to provide an in-depth examination of adolescent sexual health through the generation of three manuscripts. The first manuscript will provide an integrative review of adolescents’ perceptions of sexual health education programs. The second manuscript will illuminate the five-year trends in adolescent chlamydia rates by region, race, and sex. The third manuscript will provide a qualitative analysis from interviews with African American adolescent females in the southern U.S. Manuscript one reviewed studies from 2008 to 2019. The …


Evaluating The Nutritional Status Of Peruvian Born Children, Chantelle Garcia Medina Jan 2020

Evaluating The Nutritional Status Of Peruvian Born Children, Chantelle Garcia Medina

Honors Undergraduate Theses

Background: Rural areas of Peru lack access to healthcare resources and poor nutritional knowledge of what should be given to their children throughout their growth and development. The majority of the rural areas rely on a high carbohydrate, moderate vegetable diet, and lacking a protein source. Lower protein intake can lead to problems of malnutrition and growth stunting. Families rarely have monetary resources to provide a protein at every meal for the entire family. There is also a lack of a clean water supply, free of parasites and helminths. Caregivers often rely on replenishing intake with other fluids high …


Interventions For Cultivating Civility In The Healthcare Team: Review Of The Literature, Elizabeth Knapp Jan 2020

Interventions For Cultivating Civility In The Healthcare Team: Review Of The Literature, Elizabeth Knapp

Honors Undergraduate Theses

OBJECTIVE: The aim of this literature review was to examine the most current research regarding effective, evidence-based programs for reducing incivility among the healthcare team, particularly nurses. BACKGROUND: Incivility in the work environment is linked to a variety of negative outcomes, including diminished productivity, impaired judgement, and reduced employee retention. Incivility is especially detrimental to the healthcare team because it is correlated with decreased quality of patient care and increased medical errors. Despite regulations and statements made by the Joint Commission and the American Nurses Association to combat this serious problem, incivility continues to plague healthcare. METHODS: …


Trophic Enteral Feeds In Mechanically Ventilated Adult Patients With Acute Respiratory Distress Syndrome/Acute Lung Injury And Associated Clinical Outcomes, Kiersten Ann Tidwell Jan 2020

Trophic Enteral Feeds In Mechanically Ventilated Adult Patients With Acute Respiratory Distress Syndrome/Acute Lung Injury And Associated Clinical Outcomes, Kiersten Ann Tidwell

Honors Undergraduate Theses

Enteral nutrition (EN) is often delayed in critically ill patients despite strong evidence to support that early enteral nutrition feeding is beneficial in this population. Adverse outcomes in critically ill patients in which nutrition is delayed include a longer length of stay and time on the ventilator, and a higher incidence of pneumonia and hospital mortality. The purpose of this literature review was to evaluate the current evidence regarding trophic enteral feeds in mechanically ventilated adult patients with acute respiratory distress syndrome (ARDS)/acute lung injury (ALI) and associated clinical outcomes. A retrospective literature review was performed to identify articles published …


The Impact Of Virtual Reality On Chronic Pain, Alexis Whitehead Jan 2020

The Impact Of Virtual Reality On Chronic Pain, Alexis Whitehead

Honors Undergraduate Theses

Chronic pain remains a prevalent problem across the United States. Chronic pain does not seem to have a function and relief of this symptom remains elusive for many sufferers. Virtual reality has been used as an adjunct therapy to decrease acute pain with promising results, but there is little research on whether virtual reality could be used as a successful intervention for those with chronic pain. Virtual reality has few side effects, so it warrants consideration for the treatment of chronic pain. There is growing evidence that there is potential for virtual reality to produce desired results with patients having …