Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Dentistry Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Journal

2014

Keyword

Articles 31 - 32 of 32

Full-Text Articles in Dentistry

ความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับการใช้และ การดื้อยาปฏิชีวนะในทางทันตกรรม, อัจฉรา วัฒนสานติ์, รัชยา ตันตรานนท์, สายใจ เลิศวัฒนชัย Jan 2014

ความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับการใช้และ การดื้อยาปฏิชีวนะในทางทันตกรรม, อัจฉรา วัฒนสานติ์, รัชยา ตันตรานนท์, สายใจ เลิศวัฒนชัย

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบความรู้และทัศนคติต่อการใช้และการดื้อยาปฏิชีวนะในทางทันตกรรมของอาจารย์ทันตแพทย์และนิสิตทันตแพทย์ชั้นปีที่ 4 วัสดุและวิธีการ โดยให้อาจารย์ทันตแพทย์และนิสิตทันตแพทย์ชั้นปีที่ 4 ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับความรู้และทัศนคติที่มีต่อการใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาการติดเชื้อในช่องปากและการดื้อยาโดยที่แบบสอบถามไม่มีการระบุข้อมูลของผู้ตอบและนําข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงวิเคราะห์ ผลการศึกษา จํานวนแบบสอบถามที่นํามาวิเคราะห์ข้อมูลมี 117 ชุด จากจํานวนที่แจกทั้งหมด 200 ชุด (ร้อยละ 59) พบว่าร้อยละ 70 ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งสองกลุ่มคิดว่าปัญหาการดื้อยาเป็นปัญหาที่สําคัญของประเทศและ ร้อยละ 74 ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมดมีความเห็นว่าการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างแพร่หลายและการใช้ยาอย่างไม่ เหมาะสมเป็นสาเหตุสําคัญที่ทําให้เกิดการดื้อยา และร้อยละ 93 ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมดมีความเห็น ว่าการกําหนดแนวทางในการสั่งจ่ายยาจะเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการลดปัญหาการดื้อยา สําหรับการใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อการป้องกันการติดเชื้อของเยื่อหุ้มหัวใจ พบว่าทั้งกลุ่มอาจารย์ทันตแพทย์และกลุ่มนิสิต ทันตแพทย์มีความเห็นไม่ต่างกัน (ร้อยละ 86 และร้อยละ 98 ตามลําดับ) แต่สําหรับในกรณีของการป้องกันการ ติดเชื้อในผู้ป่วยที่ได้รับการฉายแสงที่ศีรษะและลําคอ ทั้งสองกลุ่มมีความเห็นต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < 0.05) คือร้อยละ 36 ของกลุ่มอาจารย์และร้อยละ 60 ของกลุ่มนิสิตที่สั่งจ่ายยาปฏิชีวนะ ทั้งนี้โดยรวมพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมดมีความรู้ในการสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะในระดับที่เหมาะสม แต่ก็ยังคงมีแนวโน้มของการสั่งจ่ายยาที่มากเกินในบางกรณี ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการเกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยาและเกิดการดื้อยาได้เช่นกัน สรุป ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความเห็นว่าปัญหาการดื้อยาปฏิชีวนะเป็นปัญหาที่สําคัญในระดับประเทศแต่มีความคิดเห็นที่หลากหลายเกี่ยวกับปัญหาการดื้อยารวมทั้งสาเหตุและวิธีการแก้ไข การจัดให้มีแนวทางการสั่ง จ่ายยาและจัดให้มีการสอนในระดับหลังปริญญาอาจเป็นวิธีที่จะช่วยลดปัญหาการดื้อยา (ว ทันต จุฬาฯ 2557;37:83-96)


ประสิทธิภาพของแอลกอฮอล์ในการกําจัดเชื้อแบคทีเรียบนหลอดยาชาทางทันตกรรม, รัชนี ปานจินดา, อรนาฏ มาตังคสมบัติ, รัชนี อัมพรอร่ามเวทย์, เกศกัญญา สัพพะเลข Jan 2014

ประสิทธิภาพของแอลกอฮอล์ในการกําจัดเชื้อแบคทีเรียบนหลอดยาชาทางทันตกรรม, รัชนี ปานจินดา, อรนาฏ มาตังคสมบัติ, รัชนี อัมพรอร่ามเวทย์, เกศกัญญา สัพพะเลข

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อทําการสํารวจเบื้องต้นถึงความชุกของการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียบนหลอดยาชา และทดสอบประสิทธิภาพของแอลกอฮอล์ในการกําจัดเชื้อแบคทีเรียที่ปนเปื้อนบนหลอดยาชา วัสดุและวิธีการ เพาะเชื้อแบคทีเรียจากตัวอย่างหลอดยาชาที่เก็บจากคลินิกทันตกรรมในกรุงเทพมหานคร 25 แห่ง ตรวจสอบเชื้อที่พบด้วยการย้อมสีแกรม และทดสอบการกําจัดเชื้อแบคทีเรีย 3 ชนิด คือ สแตฟฟีโลค็อกคัส ออเรียส ซูโดโมแนส แอรูจิโนซา และบาซิลลัส ซับทิลิส ด้วยการแช่หลอดยาชาที่ปนเปื้อนเชื้อในแอลกอฮอล์ ร้อยละ 70 นาน 15 และ 10 นาที แล้วนําไปเพาะเชื้อ และทําการตรวจสอบการรั่วซึมของแอลกอฮอล์เข้าไปใน หลอดยาชาหลังจากแช่ในแอลกอฮอล์ร้อยละ 70 ผสมสีคริสตัลไวโอเลตร้อยละ 5 เป็นเวลา 10 นาที ผลการศึกษา พบเชื้อแบคทีเรียจากตัวอย่างหลอดยาชาร้อยละ 32 ของคลินิกที่ศึกษา เป็นเชื้อแกรมบวกทรงแท่ง แกรมบวกทรงกลม ทั้งแกรมบวกทรงกลมและแกรมลบทรงแท่ง ร้อยละ 50 41.7 และ 8.3 ตามลําดับ การแช่ แอลกอฮอล์ร้อยละ 70 นาน 10 นาที สามารถกําจัดเชื้อสแตฟฟีโลค็อกคัส ออเรียส และซูโดโมแนส แอรูจิโนซาได้ แต่ไม่สามารถกําจัดเชื้อบาซิลลัส ซับทิลิสได้ และไม่พบว่ามีการรั่วซึมของแอลกอฮอล์เข้าไปในหลอดยาชาอย่างมีนัยสําคัญ สรุป พบการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียบนผิวหลอดยาชาได้ทั่วไปในคลินิกทันตกรรม การแช่หลอดยาชาใน แอลกอฮอล์ร้อยละ 70 เป็นเวลา 10 นาที สามารถกําจัดเชื้อสแตฟฟีโลค็อกคัส ออเรียส และซูโดโมแนส แอรูจิโนซา บนหลอดยาชาได้ โดยไม่พบแอลกอฮอล์รั่วซึมเข้าไปในหลอดยาชา (ว ทันต จุฬาฯ 2557;37:59-68)