Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Dentistry Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Journal

2014

Community participation process; oral health care of children aged 0-3 years

Articles 1 - 1 of 1

Full-Text Articles in Dentistry

กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนมุสลิมในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก 0-3 ปี: กรณีศึกษาในอําเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี, นาริศา ทีมสุหรี, จรัญญา หุ่นศรีสกุล, อัจฉรา วัฒนาภา Sep 2014

กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนมุสลิมในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก 0-3 ปี: กรณีศึกษาในอําเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี, นาริศา ทีมสุหรี, จรัญญา หุ่นศรีสกุล, อัจฉรา วัฒนาภา

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมที่ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ ช่องปากเด็กอายุ 0-3 ปีของผู้ปกครองในชุมชนมุสลิม วัสดุและวิธีการ ศึกษาและ พัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมภายใต้แนวคิดงานวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เก็บ ข้อมูลโดยใช้วิธีการเชิงคุณภาพโดยการสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกตแบบมีส่วนร่วม วิเคราะห์ ข้อมูลเชิงคุณภาพตามแนวทางการวิเคราะห์เนื้อหา และวิธีการเชิงปริมาณโดยการใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการแจกแจงความถี่ในรูปร้อยละ ผลการศึกษา ทีมวิจัยส่งเสริมศักยภาพแกนนําชุมชนภายใต้แนวคิดการมีส่วนร่วม โดยเน้นการปฏิบัติจริงควบคู่กับการสะท้อนการเรียนรู้และการชื่นชมเป็นระยะ ซึ่งแกนนําชุมชนเกิดการเรียนรู้และเพิ่มศักยภาพในการดูแลสุขภาพช่องปากทั้งของเด็กและตนเองตลอดถึงสามารถทํางานอย่างมีส่วนร่วมกับชุมชน โดยแกนนําชุมชนสามารถจัดกิจกรรมให้กับผู้ปกครองและชุมชนโดยอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชนและการเข้าถึงชุมชนในรูปแบบที่ง่ายเป็นกันเองและเน้นการปฏิบัติจริงที่สัมพันธ์กับแนวทางการดําเนินชีวิตของมุสลิม ได้แก่ การให้ความรู้และเสริมทักษะ แก่ผู้ปกครอง ตามความต้องการเป็นระยะ ๆ อย่างต่อเนื่อง พบว่า ผู้ปกครองสามารถดูแลสุขภาพช่องปากของเด็ก และตนเองได้ดีขึ้น โดยผู้ปกครองมีพฤติกรรมการแปรงฟันให้ลูกทุกวัน โดยเฉพาะช่วงเช้าเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 75 เป็น ร้อยละ 90 และก่อนนอนเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 45 เป็นร้อยละ 60 ในขณะที่ผู้ปกครองเองแปรงฟันก่อนละหมาด ทุกครั้งเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 15 เป็นร้อยละ 40 และผู้ปกครองแปรงฟันทันทีหลังจากรับประทานอาหารที่มีรสหวาน เพิ่มขึ้น จากร้อยละ 35 เป็นร้อยละ 70 สรุป กระบวนการมีส่วนร่วมทําให้แกนนําชุมชนมีศักยภาพเพิ่มขึ้นในการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองและแกนนําชุมชนสามารถส่งเสริมให้ผู้ปกครองเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กอายุ 0-3 ปีได้ โดยผ่านกระบวนการพัฒนาหลักคือ การสร้างการมีส่วนร่วมของแกนนําชุมชนโดยทีมวิจัยและการสร้างการมีส่วนร่วมของผู้ ปกครองและชุมชนโดยแกนนําชุมชน ผ่านการเสริมศักยภาพที่เน้นการปฏิบัติจริงที่สอดคล้องกับความต้องการ ควบคู่กับสะท้อนผลการปฏิบัติงาน เพื่อให้มีทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณภายใต้การเสริมแรงเชิงบวก (ว ทันต จุฬาฯ 2557;37:299-316)