Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Dentistry

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

2017

Articles 31 - 38 of 38

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

ความสัมพันธ์ระหว่างระดับความแข็งเหนียวของอาหารไทยจากความรู้สึกกับค่าพารามิเตอร์ต่างๆ ของคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ, ธนพร โสวิทยสกุล Jan 2017

ความสัมพันธ์ระหว่างระดับความแข็งเหนียวของอาหารไทยจากความรู้สึกกับค่าพารามิเตอร์ต่างๆ ของคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ, ธนพร โสวิทยสกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับความแข็งเหนียวของอาหารไทยจากความรู้สึกโดยใช้แบบสอบถามเทียบกับการทำงานของกล้ามเนื้อบดเคี้ยว เมื่อพิจารณาค่าพารามิเตอร์ต่างๆ ของคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ ในกลุ่มตัวอย่างเพศชายและหญิง อายุ 18-25 ปีของประเทศไทยที่สุขภาพดี ไม่มีปัญหาในการบดเคี้ยวอาหาร จำนวน 32 คน อาหารไทยที่มีความแข็งเหนียวแตกต่างกัน 5 ชนิด จะถูกทดสอบค่าแรงกดอาหารด้วยเครื่องทดสอบแรงกด แล้วหลังจากนั้นจึงให้กลุ่มตัวอย่างประเมินระดับความแข็งเหนียวของอาหารเหล่านี้ด้วยแบบสอบถามมาตรวัดด้วยสายตา (วีเอเอส) เทียบกับการบันทึกคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อบดเคี้ยว ผลการศึกษาพบว่าทั้งคะแนนความแข็งและความเหนียวของอาหารจากแบบสอบถาม มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับค่าคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อบดเคี้ยวทุกๆ พารามิเตอร์ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 (ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน อยู่ระหว่าง 0.224-0.384) นอกจากนี้ผู้วิจัยยังพบความสัมพันธ์ในระดับสูงระหว่างค่าแรงกดและคะแนนความแข็งของอาหารจากแบบสอบถาม (ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สันมีค่าเท่ากับ 0.750) โดยสรุปแล้วผู้วิจัยพบความสัมพันธ์ระหว่างการทดสอบอาหารด้วยแบบสอบถามกับการทำงานของกล้ามเนื้อบดเคี้ยวในระดับต่ำถึงปานกลาง อาจเนื่องมาจากกล้ามเนื้อบดเคี้ยวมีการปรับตัวที่ดีต่อความแข็งเหนียวของอาหาร การใช้แบบสอบถามมาตรวัดด้วยสายตาในการประเมินระดับความแข็งเหนียวของอาหาร จึงบ่งบอกถึงการทำงานของกล้ามเนื้อบดเคี้ยวได้ในระดับหนึ่ง


ผลของการปรับสกรูขยายในส่วนล็อกของเครื่องมือยื่นขากรรไกรล่างชนิดปรับได้แบบใหม่ : การทดสอบจำลองแรงดึง, อุทัย อุมา Jan 2017

ผลของการปรับสกรูขยายในส่วนล็อกของเครื่องมือยื่นขากรรไกรล่างชนิดปรับได้แบบใหม่ : การทดสอบจำลองแรงดึง, อุทัย อุมา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์: เพื่อทดสอบแรงดึงสูงสุดแนวดิ่งและแนวราบของส่วนล็อกในเครื่องมือยื่นขากรรไกรล่างชนิดปรับได้แบบใหม่ วัสดุและวิธีการ: ​ชิ้นงานจำนวน 20 คู่ ซึ่งแต่ละคู่ประกอบด้วยชิ้นงานล่างและชิ้นงานบนที่มีสกรูขยาย ถูกแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม (กลุ่มละ 5 คู่ชิ้นงาน) คือ 1) ชิ้นงานไม่ปรับสกรูขยายสำหรับทดสอบแรงดึงแนวดิ่ง 2) ชิ้นงานปรับสกรูขยาย 5 มิลลิเมตรสำหรับทดสอบแรงดึงแนวดิ่ง 3) ชิ้นงานไม่ปรับสกรูขยายสำหรับทดสอบแรงดึงแนวราบ และ 4) ชิ้นงานปรับสกรูขยาย 5 มิลลิเมตรสำหรับทดสอบแรงดึงแนวราบ ชิ้นงานถูกทดสอบด้วยแรงดึงต่อเนื่องในแนวดิ่งหรือแนวราบจนกว่าชิ้นงานแตกหักหรือลื่นไถลออกจากกัน สาเหตุหยุดทดสอบในแต่ละชิ้นงานถูกประเมินด้วยเช่นกัน ผลการศึกษา: ​ ค่าเฉลี่ยแรงดึงสูงสุดแนวดิ่งของชิ้นงานในกลุ่ม 1 และกลุ่ม 2 คือ 267.31 ± 13.26 นิวตัน และ 262.70 ± 11.68 นิวตัน ตามลำดับ ซึ่งไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.576) ค่าเฉลี่ยแรงดึงสูงสุดแนวราบของชิ้นงานในกลุ่ม 3 และกลุ่ม 4 คือ 476.11 ± 100.08 นิวตัน และ 449.17 ± 95.87 นิวตัน ตามลำดับ ซึ่งไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.576) สาเหตุหยุดทดสอบมี 3 รูปแบบ คือ ชิ้นงานบนบิดเบี้ยว ชิ้นงานบนแตกหัก และชิ้นงานล่างแตกหัก สรุปผล: ค่าแรงดึงสูงสุดนี้ไม่ได้รับผลกระทบจากการขยายสกรูขยาย และค่าเฉลี่ยแรงดึงสูงสุดของเครื่องมือแบบใหม่จากการทดสอบชิ้นงานนี้ก็มีค่ามากกว่าแรงอ้าปากสูงสุดและแรงดึงกลับของขากรรไกรล่างในทางคลินิกอีกด้วย


อิทธิพลของการผนึกเนื้อฟันทันทีด้วยสารยึดติดเซลฟ์เอทช์ที่มีผลต่อการบ่มตัวของวัสดุพิมพ์ฟัน, เอกลักษณ์ หวังหงส์หิรัญ Jan 2017

อิทธิพลของการผนึกเนื้อฟันทันทีด้วยสารยึดติดเซลฟ์เอทช์ที่มีผลต่อการบ่มตัวของวัสดุพิมพ์ฟัน, เอกลักษณ์ หวังหงส์หิรัญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของสารยึดติดที่ใช้ผนึกเนื้อฟันต่อการก่อตัวของวัสดุพิมพ์ฟัน วัสดุและวิธีการ ฟันกรามใหญ่ของมนุษย์ที่ปราศจากรอยผุ จำนวน ๒๒๕ ซี่ ฝังในท่อพลาสติกด้วยอะคริลิก โดยให้ตัวฟันโผล่ขึ้นมา ตัดด้านบดเคี้ยวออกในแนวตั้งฉากกับแกนฟันด้วยเครื่องตัดความเร็วต่ำจนเนื้อฟันเผยออก แบ่งฟันเป็น ๔ กลุ่ม กลุ่มละ ๕๕ ซี่ ตามชนิดของสารยึดติดที่ใช้ผนึกเนื้อฟัน ได้แก่ กลุ่มที่ ๑.ฟันที่เคลือบด้วยด้วยสารยึดติดเซลฟ์เอทช์ซีโนไฟฟ์พลัสและซิงเกิลบอนด์ยูนิเวอร์ซอลในสภาวะออกซิเจน กลุ่มที่ ๒.เนื้อฟันที่เคลือบสารยึดติดเซลฟ์เอทช์ทั้งสองชนิดอยู่ในสภาวะก๊าซไนโตรเจน กลุ่มที่ ๓.เนื้อฟันที่ไม่มีการเคลือบด้วยสารใด ๆ และกลุ่มที่ ๔.ฟันที่เคลือบด้วยสารยึดติดทั้งสองชนิดแล้วถูกเช็ดด้วยแอลกอฮอล์ โดยหลังทาด้วยสารยึดติดจะทำการบ่มด้วยแสง ที่ตามองเห็นจากเครื่องฉายแสง จากนั้นปิดทับด้วยวัสดุพิมพ์พอลิไวนิลไซลอกเซนกลุ่มละ ๑๐ ซี่ เมื่อปล่อยให้วัสดุพิมพ์ก่อตัว ๖ นาที นำวัสดุพิมพ์ออกเพื่อตรวจสอบการก่อตัวที่ผิวหน้าด้วยตาเปล่าและด้วยกล้องจุลทรรศน์ชนิดสเตอริโอ จากนั้นทดสอบด้วยวัสดุพิมพ์พอลิอีเทอร์โดยวิธีเดียวกัน นำส่วนชิ้นทดสอบที่เหลืออีกกลุ่มละ ๑๐ ชิ้น วัดค่าความเป็นกรดด่าง และอีกกลุ่มละ ๕ ชิ้น ไปวิเคราะห์หาธาตุที่ผิวหน้าด้วยกล้องอิเล็กตรอนส่องกราดฟังก์ชั่นอีดีเอ็มเอ็กซ์ ผลการศึกษา เนื้อฟันที่เคลือบสารยึดติดเซลฟ์เอทช์ทั้งสองชนิดมีค่าความเป็นกรดด่างใกล้เคียงกัน และร้อยละร้อยของวัสดุพิมพ์ด้านที่สัมผัสกับผิวหน้าของชิ้นทดสอบกลุ่มที่ ๑ และกลุ่มที่ ๒ ที่เคลือบด้วยสารยึดติดเซลฟ์เอทช์ซีโนไฟฟ์พลัสถูกยับยั้งการก่อตัว ขณะที่ผิวหน้าของวัสดุพิมพ์ด้านที่สัมผัสกับผิวหน้าชิ้นทดสอบกลุ่มที่ ๓ และกลุ่มที่ ๔ มีการก่อตัวสมบูรณ์ เมื่อดูด้วยตาเปล่าและด้วยกล้องจุลทรรศน์ชนิดสเตอริโอ ส่วนของการหาธาตุบนผิวฟันของทั้งสามกลุ่ม พบว่าผิวเนื้อฟันที่เคลือบด้วยสารยึดติดเซลฟ์เอทช์ซีโนไฟฟ์พลัสมีองค์ประกอบของธาตุซัลเฟอร์ขณะที่ผิวเนื้อฟันที่เคลือบด้วยสารยึดติดเซลฟ์เอทช์ซิงเกิลบอนด์ยูนิเวอร์ซอล และเนื้อฟันที่ไม่มีการเคลือบด้วยสารใด ๆ ไม่พบธาตุดังกล่าว สรุป สารยึดติดเซลฟ์เอทช์ซีโนไฟฟ์พลัสที่ผนึกผิวเนื้อฟันมีผลต่อการบ่มตัวของวัสดุพิมพ์พอลิไวนิลไซลอกเซน
คำสำคัญ: การผนึกเนื้อฟัน สารยึดติด พอลิไวนิลไซลอกเซน


ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับฟันผุด้านประชิดในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี, วันวิสาข์ ไพเราะ Jan 2017

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับฟันผุด้านประชิดในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี, วันวิสาข์ ไพเราะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับฟันผุด้านประชิด ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในเขตอำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี วัสดุและวิธีการ งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาชนิดตัดขวางในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 133 คน อายุเฉลี่ย 16.86 ± 0.48 ปี ที่แปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ทุกเช้า การศึกษานี้ใช้ฟันผุด้านประชิดที่พบจากภาพรังสีชนิดกัดสบเป็นตัวแปรตาม เก็บข้อมูลความถี่ของการรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของคาร์โบไฮเดรตระหว่างมื้อจากแบบบันทึกอาหาร 3 วัน ตรวจทางคลินิกเพื่อเก็บข้อมูลฟันผุ รอยฟันผุในระยะเริ่มต้น ดัชนีคราบจุลินทรีย์พีเอชพี และดัชนีการมีเลือดออกจากเหงือกด้วยการตรวจทางคลินิก สัมภาษณ์พฤติกรรมการแปรงฟันก่อนนอน ระดับการศึกษาของมารดา อายุ และเพศ นำข้อมูลมาวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติถดถอยโลจิสติก ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการศึกษา กลุ่มตัวอย่างมีความชุกของฟันผุด้านประชิดร้อยละ 48.12 ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติถดถอยโลจิสติก พบว่า ฟันผุด้านประชิดมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับดัชนีคราบจุลินทรีย์พีเอชพี (p = 0.005, OR 2.57) และความถี่ของการรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของคาร์โบไฮเดรตระหว่างมื้อ (p = 0.034, OR 1.52) ในทางตรงกันข้ามฟันผุด้านประชิดมีความสัมพันธ์ผกผันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับดัชนีการมีเลือดออกจากเหงือก (p = 0.018, OR 0.97) และระดับการศึกษาของมารดาที่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาปีที่ 3 (p = 0.002, OR 0.24) ส่วนปัจจัยอื่นไม่มีความสัมพันธ์กับฟันผุด้านประชิดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุป นักเรียนที่มีดัชนีคราบจุลินทรีย์พีเอชพีสูง หรือมีความถี่ของการรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของคาร์โบไฮเดรตระหว่างมื้อสูง มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดฟันผุด้านประชิดสูง


ระดับของแลคโตเฟอรินในรอยโรคไลเคนแพลนัสและรอยโรคไลเคนอยด์ช่องปากที่รับการรักษาด้วยยาสเตียรอยด์เฉพาะที่, ณัฐพงศ์ แสงประสิทธิโชค Jan 2017

ระดับของแลคโตเฟอรินในรอยโรคไลเคนแพลนัสและรอยโรคไลเคนอยด์ช่องปากที่รับการรักษาด้วยยาสเตียรอยด์เฉพาะที่, ณัฐพงศ์ แสงประสิทธิโชค

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

แลคโตเฟอรินเป็นปัจจัยสำคัญในระบบภูมิคุ้มกันแต่กำเนิด ซึ่งมีฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพหลายชนิด ทั้งเชื้อรา ไวรัส และแบคทีเรียขอบเขตกว้าง มีการศึกษาเกี่ยวกับกลไกและบทบาททางชีวภาพของแลคโตเฟอรินออกมาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการศึกษาที่ผ่านมา ที่พบความสัมพันธ์ของระดับแลคโตเฟอรินที่ลดลงและการติดเชื้อราในช่องปาก อย่างไรก็ดี ยังไม่เคยมีการศึกษาถึงความสัมพันธ์ของระดับแลคโตเฟอรินในน้ำลายของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาสเตียรอยด์เฉพาะที่ ซึ่งทราบกันดีว่าเป็นปัจจัยหนึ่งที่เป็นช่องทางให้เกิดการติดเชื้อราแคนดิดาในช่องปาก การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบระดับของแลคโตเฟอรินในน้ำลายก่อนและหลังการรักษาด้วยยาฟลูโอซิโนโลน อะเซทโทไนด์ ความเข้มข้นร้อยละ 0.1 ชนิดขี้ผึ้งป้ายปาก ในผู้เข้าร่วมโครงการที่เป็นกลุ่มผู้ป่วยโรคไลเคนแพลนัสช่องปาก และกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นรอยโรคไลเคนอยด์ช่องปากสาเหตุจากยา ผลการทดลองไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของระดับแลคโตเฟอรินในน้ำลายเปรียบเทียบก่อนและหลังการรักษาด้วยยาสเตียรอยด์เฉพาะที่ทั้งในผู้เข้าร่วมโครงการที่เป็นกลุ่มผู้ป่วยโรคไลเคนแพลนัสช่องปาก และกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นรอยโรคไลเคนอยด์ช่องปากสาเหตุจากยา (p = 0.100 และ 0.099 ตามลำดับ) นอกจากนี้ ผลการวิเคราะห์ทางสถิติยังไม่พบความแตกต่างของอัตราการไหลของน้ำลาย และอัตราการไหลของแลคโตเฟอรินเปรียบเทียบก่อนและหลังการรักษาด้วยยาสเตียรอยด์เฉพาะที่ทั้งในผู้เข้าร่วมโครงการที่เป็นกลุ่มผู้ป่วยโรคไลเคนแพลนัสช่องปาก และกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นรอยโรคไลเคนอยด์ช่องปากสาเหตุจากยา และจำนวนเชื้อราแคนดิดาในผู้เข้าร่วมโครงการที่เป็นกลุ่มผู้ป่วยโรคไลเคนแพลนัสช่องปาก อย่างไรก็ดี ผลการนับจำนวนโคโลนีของราแคนดิดาก่อนและหลังการรักษาด้วยยาสเตียรอยด์เฉพาะที่ในกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นรอยโรคไลเคนอยด์ช่องปากสาเหตุจากยามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.028)


การแสดงออกของซีดี 146 ในรอยโรคไลเคน แพลนัสและมะเร็งช่องปากในผู้ป่วยไทย, สรินธร ปริยะวาที Jan 2017

การแสดงออกของซีดี 146 ในรอยโรคไลเคน แพลนัสและมะเร็งช่องปากในผู้ป่วยไทย, สรินธร ปริยะวาที

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการแสดงออกของซีดี 146 ในเยื่อเมือกช่องปากปกติ (NOM) ไลเคน แพลนัสช่องปาก (OLP) อีพิทีเลียล ดิสเพลเซียช่องปาก (OED) และมะเร็งเยื่อบุผิวเซลล์สควอมัสช่องปาก (OSCC) ในผู้ป่วยไทย โดยนำชิ้นเนื้อจากกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มละ 20 ชิ้นมาทำการศึกษาด้วยวิธีทางอิมมูโนฮิสโตเคมี เพื่อประเมินจำนวนเคอราติโนไซต์ที่มีการแสดงออกของซีดี 146 และความเข้มในการติดสี พบว่ามีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของค่าเฉลี่ยร้อยละของจำนวนเคอราติโนไซต์ที่มีการแสดงออกของซีดี 146 ในกลุ่ม OLP (P < 0.001) และกลุ่ม OED (P < 0.001) เมื่อเทียบกับกลุ่ม NOM โดยกลุ่ม NOM, OLP, OED มีค่าเฉลี่ยร้อยละของจำนวนเคอราติโนไซต์ที่มีการแสดงออกของซีดี 146 เท่ากับ 19.04±15.32, 59.40±24.48, 60.04±28.87 ตามลำดับ พบการลดลงอย่างมีนัยสำคัญของค่าเฉลี่ยร้อยละของจำนวนเคอราติโนไซต์ที่มีการแสดงออกของซีดี 146 ในกลุ่ม OSCC เมื่อเทียบกับกลุ่ม OED (P<0.001) โดยค่าเฉลี่ยร้อยละของจำนวนเคอราติโนไซต์ที่มีการแสดงออกของซีดี 146 ในกลุ่ม OSCC เท่ากับ 22.13±21.03 พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของความเข้มในการติดสีระหว่างกลุ่ม NOM กับกลุ่ม OLP (P<0.05) กลุ่ม NOM กับกลุ่ม OED (P<0.05) กลุ่ม OLP กับกลุ่ม OED (P<0.05) กลุ่ม OLP กับกลุ่ม OSCC (P<0.05) และกลุ่ม OED กับกลุ่ม OSCC (P<0.05) ชิ้นเนื้อส่วนใหญ่ของกลุ่ม NOM และกลุ่ม OSCC ติดสีเข้มระดับจาง กลุ่ม OLP ติดสีเข้มปานกลาง และกลุ่ม OED ติดสีเข้ม ผลการศึกษานี้พบว่าซีดี 146 อาจมีบทบาทหลายด้านในรอยโรคข้างต้น โดยมีการแสดงออกที่เพิ่มขึ้นในไลเคน แพลนัสและอีพิทีเลียล ดิสเพลเซียช่องปาก แต่มีการแสดงออกลดลงในมะเร็งเยื่อบุผิวเซลล์สควอมัสช่องปาก ซีดี 146 จึงอาจเกี่ยวข้องกับพยาธิกำเนิดของโรคไลเคน แพลนัสช่องปาก และการสูญเสียการแสดงออกของซีดี 146 อาจเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงจากอีพิเลียล ดิสเพลเซียไปเป็นมะเร็งเยื่อบุผิวเซลล์สควอมัสช่องปากได้


Subjective And Objective Outcomes On Denture Adhesive Usage Among Complete Denture Wearers, Budsara Thongyoi Jan 2017

Subjective And Objective Outcomes On Denture Adhesive Usage Among Complete Denture Wearers, Budsara Thongyoi

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The propose of this clinical study was to evaluate the subjective and objective assessment factors affecting decision of complete denture wearers to use or not use denture adhesive. Sixty-six fully edentulous using upper and lower conventional complete dentures (aged 53 to 83 years) were recruited in this study. (1) Condition of denture-supporting tissue (ACP classification), (2) denture quality (CU-modified kapur criteria), (3) patients' satisfaction in prostheses and (4) oral impact on daily performances (OIDP) were evaluated as baseline (T0). All participants were assigned to use denture adhesive (Polident®, Ireland) for 1 month period and made decision by themselves to continue …


Immunohistochemical Assessment Of The Peri-Implant Soft Tissues Around Different Abutment Materials : An Experimental Study In Human, Sirikarn Thongmeearkom Jan 2017

Immunohistochemical Assessment Of The Peri-Implant Soft Tissues Around Different Abutment Materials : An Experimental Study In Human, Sirikarn Thongmeearkom

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Objective To evaluate the effect of 4 different types of abutment material, which are titanium, zirconium oxide, gold alloy, and zirconia-coping cemented on titanium-base, on the surrounding soft tissues. Material and Methods Twenty dental implants in posterior edentulous area were randomly divided into 4 groups and inserted 4 types of abutment materials; Titanium, zirconia, gold-alloy, and titanium-base, on the implant installation surgery day. Eight weeks after implant surgery, peri-implant soft tissues around experimental abutments were harvested and split according to implant side; buccal, lingual, mesial, and distal. The specimens were processed through immunohistochemical preparation and stained with CD3, CD20, CD68, …