Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 31 - 60 of 434

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่มีภาวะอุดกั้นทางเดินปัสสาวะที่ได้รับการใส่สายระบายปัสสาวะที่กรวยไตผ่านผิวหนัง, สุกัญญา คล้ายชู Jan 2017

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่มีภาวะอุดกั้นทางเดินปัสสาวะที่ได้รับการใส่สายระบายปัสสาวะที่กรวยไตผ่านผิวหนัง, สุกัญญา คล้ายชู

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิต ประสบการณ์การมีอาการ และกลวิธีการจัดการกับอาการของผู้ป่วยที่มีภาวะอุดกั้นทางเดินปัสสาวะที่ได้รับการใส่สายระบายปัสสาวะที่กรวยไตผ่านผิวหนัง และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์การมีอาการ แรงสนับสนุนทางสังคม และระดับความรุนแรงของผิวหนังถูกทำลายรอบสายระบายปัสสาวะ กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่มีภาวะอุดกั้นทางเดินปัสสาวะที่ได้รับการใส่สายระบายปัสสาวะที่กรวยไตผ่านผิวหนัง กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 95 คน ได้รับการคัดเลือกโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย ที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะอุดกั้นทางเดินปัสสาวะจากการลุกลามของมะเร็งในอุ้งเชิงกรานและได้รับการใส่สายระบายปัสสาวะที่กรวยไตผ่านผิวหนังตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป กลับมารับการติดตามอาการและเปลี่ยนสายระบายปัสสาวะที่กรวยไตผ่านผิวหนัง ที่โรงพยาบาลตติยภูมิ กรุงเทพมหานคร เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคล คุณภาพชีวิต ประสบการณ์การมีอาการและกลวิธีการจัดการกับอาการ แรงสนับสนุนทางสังคม และแบบสังเกตระดับความรุนแรงของผิวหนังถูกทำลาย คุณภาพของเครื่องมือผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน และเครื่องมือส่วนที่ 2-4 มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .91, .91 และ .93 ตามลำดับ เครื่องมือชุดที่ 5 ผ่านการตรวจสอบความเท่าเทียมกันของแบบสังเกต ได้ค่าความที่ยงเท่ากับ .90 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงบรรยาย สถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน และสถิติสหสัมพันธ์สเปียร์แมน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. คุณภาพชีวิตโดยรวมของผู้ป่วยที่มีภาวะอุดกั้นทางเดินปัสสาวะที่ได้รับการใส่สายระบายปัสสาวะที่กรวยไตผ่านผิวหนังอยู่ในระดับปานกลาง (Mean= 66.34, SD=14.55) 2. ประสบการณ์การมีอาการมีความสัมพันธ์ทางลบ (r= -.54, p<.05) แรงสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวก (r= .27, p<.05) และระดับความรุนแรงของผิวหนังถูกทำลายมีความสัมพันธ์ทางลบ (r= -.35, p<.05) กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่มีภาวะอุดกั้นทางเดินปัสสาวะที่ได้รับการใส่สายระบายปัสสาวะที่กรวยไตผ่านผิวหนัง 3. ประสบการณ์การมีอาการของผู้ป่วยที่มีภาวะอุดกั้นทางเดินปัสสาวะที่ได้รับการใส่สายระบายปัสสาวะที่กรวยไตผ่านผิวหนังจำนวน 95 คน ที่พบมากในช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา 5 อันดับแรก คือ ร้อยละ 50.5 มีอาการคันผิวหนังบริเวณที่ปิดพลาสเตอร์รอบสายระบาย รองลงมา คือ ร้อยละ 43.2 มีอาการท้องผูก ร้อยละ 36.8 มีอาการนอนไม่หลับหรือนอนหลับยาก ร้อยละ 36.8 รู้สึกเบื่ออาหาร และร้อยละ 33.7 มีอาการวิตกกังวล 4. กลวิธีการจัดการกับอาการ 5 อันดับแรกที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดสำหรับอาการเหล่านั้น คือ เช็ดผิวหนังรอบสายระบายด้วยแอลกอฮอล์เมื่อมีอาการคันผิวหนังบริเวณที่ปิด พลาสเตอร์รอบสายระบาย รับประทานยาระบายเมื่อมีอาการท้องผูก รับประทานยานอนหลับเมื่อมีอาการนอนไม่หลับหรือนอนหลับยาก เปลี่ยนประเภทอาหารเมื่อรู้สึกเบื่ออาหาร และ การเล่าให้ผู้อื่นฟังเมื่อวิตกกังวล


ผลของโปรแกรมการจัดการทางอารมณ์ต่อการทำหน้าที่ของผู้ป่วยจิตเภท, อาทิตยา นุ่มเนียม Jan 2017

ผลของโปรแกรมการจัดการทางอารมณ์ต่อการทำหน้าที่ของผู้ป่วยจิตเภท, อาทิตยา นุ่มเนียม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดสองครั้งก่อนและหลังการทดลองเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบการทำหน้าที่ของผู้ป่วยจิตเภทก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการจัดการทางอารมณ์ และเปรียบเทียบการทำหน้าที่ของผู้ป่วยจิตเภทระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดการทางอารมณ์กับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ป่วยจิตเภท อายุ 20-59 ปี มีอาการทางลบที่มารับบริการรักษาแผนกผู้ป่วยนอก ซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ โดยได้รับการจับคู่ (matched pair) และการสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม จำนวนกลุ่มละ 20 คน กลุ่มทดลองได้รับการดูแลโดยใช้โปรแกรมการจัดการทางอารมณ์ เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย โปรแกรมการจัดการทางอารมณ์สำหรับพยาบาล แบบประเมินการแสดงออกทางอารมณ์ของผู้ป่วยจิตเภท แบบวัดอาการทางลบ และแบบประเมินทักษะการทำหน้าที่ เครื่องมือทุกฉบับได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน แบบประเมินทักษะการทำหน้าที่ มีความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .90 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย และสถิติทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. การทำหน้าที่ของผู้ป่วยจิตเภทหลังได้รับโปรแกรมการจัดการทางอารมณ์สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 2. การทำหน้าที่ของผู้ป่วยจิตเภทหลังการทดลองในกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดการทางอารมณ์ สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยภายหลังปลูกถ่ายไตในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, อิสริยาภรณ์ แสงสวย Jan 2017

การศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยภายหลังปลูกถ่ายไตในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, อิสริยาภรณ์ แสงสวย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงบรรยายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยภายหลังปลูกถ่ายไตในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง อายุ เพศ รายได้ ระดับการศึกษา โรคร่วม ระยะเวลาหลังปลูกถ่ายไต ค่าความดันโลหิตซีสโตลิค ค่าความดันโลหิตไดแอสโตลิค ค่าอัตราการกรองของไต (GFR) ค่ายูเรียไนโตรเจน (BUN) ค่าครีอะตินิน ค่าโคเลสเตอรอล ค่าไตรกลีเซอร์ไรด์ ค่าไขมันในเลือด (LDL) และ ค่าไขมันในเลือด (HDL) กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยภายหลังปลูกถ่ายไตในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยภายหลังได้รับการปลูกถ่ายไต อายุระหว่าง 18-59 ปี ที่เข้ารับการรักษา ณ คลินิกปลูกถ่ายไต โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คัดเลือกโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 120 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลและค่าผลลัพธ์ทางคลินิค และ 2) แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยภายหลังปลูกถ่ายไต ซึ่งประยุกต์ใช้ทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเรม (2001) และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคของเครื่องมือ มีค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.85 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบทีแบบเป็นอิสระจากกัน (Independent sample t - test) และสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวน(one-way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยภายหลังปลูกถ่ายไตในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านพัฒนาการในระดับดีมากที่สุด (Mean=4.71,SD=0.53) 2) การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยภายหลังปลูกถ่ายไตในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำแนกตาม เพศ ระดับการศึกษา ค่าไขมันในเลือด (LDL) และค่าไขมันในเลือด(HDL) พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยภายหลังปลูกถ่ายไต จำแนกตาม อายุ รายได้ โรคร่วม ระยะเวลาหลังปลูกถ่ายไต ค่าความดันโลหิตซีสโตลิค ค่าความดันโลหิตไดแอสโตลิค ค่าอัตราการกรองของไต (GFR) ค่ายูเรียไนโตรเจน (BUN) ค่าครีอะตินิน ค่าโคเลสเตอรอล ค่าไตรกลีเซอร์ไรด์ พบว่า ไม่แตกต่าง (p>.05)


ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลของพ่อแม่เพื่อป้องกันอาการกำเริบของโรคภูมิแพ้ทางจมูกในเด็กวัยเรียน, อุไรวรรณ เที่ยงสมบูรณ์ Jan 2017

ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลของพ่อแม่เพื่อป้องกันอาการกำเริบของโรคภูมิแพ้ทางจมูกในเด็กวัยเรียน, อุไรวรรณ เที่ยงสมบูรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยสหสัมพันธ์เชิงทำนายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลของพ่อแม่เพื่อป้องกันอาการกำเริบของโรคภูมิแพ้ทางจมูกในเด็กวัยเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นพ่อแม่เด็กวัยเรียนโรคภูมิแพ้ทางจมูกจำนวน 213 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการรับรู้ประโยชน์ แบบสอบถามการรับรู้อุปสรรค แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถ แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม และแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลของพ่อแม่เพื่อป้องกันอาการกำเริบของเด็กวัยเรียนโรคภูมิแพ้ทางจมูก ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และมีความเที่ยงจากการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ .90, .88, .80, .87 และ .88 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1) พฤติกรรมการดูแลของพ่อแม่เพื่อป้องกันอาการกำเริบของโรคภูมิแพ้ทางจมูกในเด็กวัยเรียนโดยรวมถูกต้องเหมาะสม อยู่ในระดับสูง (X̅ = 150.87, S.D.= 3.21) 2) การรับรู้ความสามารถของตนเอง,การรับรู้ประโยชน์, การสนับสนุนด้านอารมณ์, การสนับสนุนด้านการประเมินเปรียบเทียบและประเมินค่า, การสนับสนุนด้านวัตถุ สิ่งของ การเงิน และแรงงาน, รายได้ และการสนับสนุนด้านข้อมูลข่าวสาร มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการดูแลของพ่อแม่เพื่อป้องกันอาการกำเริบของโรคภูมิแพ้ทางจมูกในเด็กวัยเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r= .497, .403, .306, .279, .263, .237 และ .227 ตามลำดับ) ส่วนการรับรู้อุปสรรคมีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมการดูแลของพ่อแม่เพื่อป้องกันอาการกำเริบของโรคภูมิแพ้ทางจมูกในเด็กวัยเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r= -.361) 3) การรับรู้ความสามารถของตนเอง (β= .351), การรับรู้ประโยชน์ (β= .311), รายได้ (β= .150) และ การรับรู้อุปสรรค (β= -.133) สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการดูแลของพ่อแม่เพื่อป้องกันอาการกำเริบของโรคภูมิแพ้ทางจมูกในเด็กวัยเรียนได้ร้อยละ 36.7 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05 (R2 = .367)


อิสลามบำบัดสำหรับผู้ติดสารเสพติด, ณัฐนิชา กันซัน Jan 2017

อิสลามบำบัดสำหรับผู้ติดสารเสพติด, ณัฐนิชา กันซัน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Methodology) โดยมีวิธีการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ส่วนบุคคลเชิงลึก (In-depth Interview) มีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 4 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ติดสารเสพติดที่ผ่านการบำบัดแบบอิสลามบำบัด จำนวน 12 คน พี่เลี้ยงที่ปฏิบัติงานในอิสลามบำบัด จำนวน 2 คน ครูใหญ่ประจำอิสลามบำบัด จำนวน 1 คน และผู้ดูแลโครงการอิสลามบำบัด จำนวน 1 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบสโนว์บอลโดยคัดเลือกจากคนที่ผู้ติดสารเสพติดหรือพี่เลี้ยงแนะนำ เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ซึ่งมีแนวคำถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเองจากการทบทวนทฤษฎี และวรรณกรรมต่างๆ จากนั้นจึงนำไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบเพื่อปรับปรุงแก้ไข ผลการศึกษาพบว่า อิสลามบำบัดมีแนวคิดและหลักการสำคัญ 4 ประการ ดังนี้ 1) อิสลามบำบัดไม่ได้มุ่งเน้นการบำบัดสารเสพติดแต่มุ่งเน้นการพัฒนาความศรัทธาในศาสนาให้เพิ่มขึ้น เพราะความศรัทธาจะทำหน้าที่เป็นภูมิคุ้มกันไม่ให้ใช้สารเสพติด 2) การประกอบศาสนกิจจะทำให้ผู้ติดสารเสพติดลืมสารเสพติดได้ 3) การหายจากสารเสพติดไม่ได้มาจากความสามารถของมนุษย์แต่มาจากพระเจ้า และ 4) หลักการในศาสนาอิสลามเป็นหลักการที่สมบูรณ์สามารถแก้ไขทุกปัญหาได้ ผลการศึกษานี้ยังพบว่า อิสลามบำบัดสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกต่อภาวะการติดสารเสพติด 4 ด้าน โดยแต่ละด้านมีปัจจัยที่เป็นประโยชน์ต่อการติดสารเสพติดดังนี้ 1) ด้านศาสนา ได้แก่ การระลึกถึงพระเจ้า การละหมาด การถือศีลอด การเรียนรู้ศาสนาอิสลาม และการอยู่ในสังคมศาสนาอิสลาม 2) ด้านปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ ความรู้สึกเชื่อมั่นในตนเองว่าเป็นคนดีขึ้น การมีมุมมองและการจัดการความทุกข์ดีที่ขึ้น และการมีเป้าหมาย 3) ด้านปัจจัยครอบครัว ได้แก่ การรับรู้ความรักจากพ่อแม่ การตระหนักถึงโทษของสารเสพติดต่อพ่อแม่ และความรับผิดชอบต่อครอบครัว และ 3) ด้านปัจจัยเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในปอเนาะ ได้แก่ การได้รับกำลังใจ คำแนะนำ ความอบอุ่น และการได้พูดคุยปรึกษากับพี่เลี้ยง ผู้ดูแลปอเนาะ และเพื่อนร่วมปอเนาะ


การศึกษาผลของการใช้ดนตรีบำบัดต่อการจัดกิจกรรมเพื่อลดความวิตกกังวลในผู้ป่วยที่มีภาวะพุทธิปัญญาบกพร่องเล็กน้อย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, ภัทราวรรณ พันธ์น้อย Jan 2017

การศึกษาผลของการใช้ดนตรีบำบัดต่อการจัดกิจกรรมเพื่อลดความวิตกกังวลในผู้ป่วยที่มีภาวะพุทธิปัญญาบกพร่องเล็กน้อย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, ภัทราวรรณ พันธ์น้อย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Design) ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ดนตรีบำบัดเพื่อลดความวิตกกังวลในผู้ที่มีภาวะพุทธิปัญญาบกพร่องเล็กน้อย จากศูนย์ Cognitive Fitness Center แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ผ่านการวินิจฉัยจากจิตแพทย์ และการคัดกรองโดยเก็บข้อมูลแบบทดสอบ Thai Mental state Examination (TMSE) ที่คะแนน ≥ 24 คะแนน และThe Montreal Cognitive Assessment (MOCA) ฉบับภาษาไทย ที่คะแนน ≤ 24 คะแนน ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดจำนวน 20 คน เพื่อเข้าร่วมกลุ่มดนตรีบำบัดร่วมกับการจัดกิจกรรม แบ่งออกเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มทดลองจำนวน 10 คน จะได้รับดนตรีบำบัดร่วมกับการจัดกิจกรรมควบคู่ไปกับการดูแลรักษาทางการแพทย์แบบปกติเป็นระยะเวลา12 สัปดาห์ และกลุ่มควบคุมจำนวน 10 คน จะได้รับการรักทางการดูแลแพทย์แบบปกติเพียงอย่างเดียว เป็นระยะเวลา12 สัปดาห์เท่ากัน จากนั้นทำการเก็บข้อมูลพื้นฐานทั่วไป และแบบวัดความวิตกกังวลโดยแบบทดสอบ State-Trait Anxiety Inventory (STAI) ใช้สถิติเชิงพรรณา, Non-parametric Wilcoxon signed Ranks test และ Generalized Estimating Equation (GEE) เพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า ในช่วงก่อนการทดลอง ระดับความวิตกกังวลของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกันทางสถิติ ส่วนการเปลี่ยนแปลงของความวิตกกังวลก่อนการทดลอง (ครั้งที่ 1) และหลังการทดลอง (ครั้งที่ 12) ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมพบว่า ไม่แตกต่างกันทางสถิติ และผลของเวลาในการใช้ดนตรีบำบัดต่อการจัดกิจกรรมเพื่อลดความวิตกกังวล พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ได้รับดนตรีบำบัดจะมีค่าคะแนนความวิตกกังวล (State) ลดลงเท่ากับ 3.43 คะแนน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.028) ส่วนจำนวนครั้งในการทดลองไม่มีความสัมพันธ์ทางสถิติกับความเปลี่ยนแปลงของความวิตกกังวล (p = 0.403) และกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับดนตรีบำบัดจะมีค่าคะแนนความวิตกกังวล (Trait) ลดลงเท่ากับ 3.47 คะแนน แต่ไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p …


ผลของโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษารูปแบบสื่อมิเดียต่อความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง, ลลนา คันธวัฒน์ Jan 2017

ผลของโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษารูปแบบสื่อมิเดียต่อความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง, ลลนา คันธวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของรูปแบบสื่อมิเดียโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาต่อความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมแบบอำพรางฝ่ายเดียว โดยใช้โปรแกรมสุขภาพจิตศึกษารูปแบบสื่อมิเดียเป็นวิธีการบำบัด มีผู้เข้าร่วมการวิจัยเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดที่เข้ารับการรักษาที่สถาบันประสาทวิทยา กรุงเทพมหานคร รวมทั้งสิ้น 34 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ได้รับสุขภาพจิตศึกษารูปแบบสื่อมิเดียจํานวน 17 ราย และกลุ่มควบคุมที่ได้รับการบำบัดตามปกติจํานวน 17 ราย โดยทําการประเมินทั้งก่อนและหลังใช้โปรแกรมสุขภาพจิตศึกษารูปแบบสื่อมิเดียและเปรียบเทียบผลความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระหว่าง 2 กลุ่มทดลอง โดยใช้แบบประเมินความเครียดของผู้ดูแล แบบประเมินความคาดหวังความสามารถในการดูแล แบบประเมินความภาคภูมิใจในตนเองของผู้ดูแล เพื่อเปรียบเทียบคะแนนความเครียดของผู้ดูแล คะแนนความคาดหวังความสามารถในการดูแล และคะแนนความภาคภูมิใจในตนเอง ผลการศึกษาพบว่า ผู้เข้าร่วมวิจัยมีคะแนนความเครียดลดลงอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P < 0.01) และมีคะแนนความคาดหวังความสามารถของผู้ดูแลและคะแนนความภาคภูมิใจในตนเองเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P < 0.01) เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม ทั้งหลังจบการบําบัดทันทีและหลังจบการบําบัด 1 เดือน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษารูปแบบสื่อมิเดียสามารถลดความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้ โดยการศึกษาวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์และเป็นแนวทางให้กับสุขภาพจิตศึกษารูปแบบสื่อมิเดียเพื่อลดความเครียดที่เกิดขึ้นกับผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และให้เห็นถึงความสำคัญของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง


การศึกษาลักษณะของอาการมือสั่นในผู้ป่วยโรคพาร์กินสันที่มีอาการมือสั่นเป็นอาการเด่น โดยใช้เครื่องวัดอาการสั่น และเปรียบเทียบอาการมือสั่นระหว่างท่าพัก ท่ายกแขนต้านแรงโน้มถ่วงของโลก และขณะที่มีการเคลื่อนไหวมือ เทียบกับอาการสั่นขณะผู้ป่วยกำลังเดิน ในผู้ป่วยโรคพาร์กินสันที่มีอาการมือสั่นเป็นอาการเด่น, ณัฐพจน์ ดัดพันธ์ Jan 2017

การศึกษาลักษณะของอาการมือสั่นในผู้ป่วยโรคพาร์กินสันที่มีอาการมือสั่นเป็นอาการเด่น โดยใช้เครื่องวัดอาการสั่น และเปรียบเทียบอาการมือสั่นระหว่างท่าพัก ท่ายกแขนต้านแรงโน้มถ่วงของโลก และขณะที่มีการเคลื่อนไหวมือ เทียบกับอาการสั่นขณะผู้ป่วยกำลังเดิน ในผู้ป่วยโรคพาร์กินสันที่มีอาการมือสั่นเป็นอาการเด่น, ณัฐพจน์ ดัดพันธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บทนำ : ลักษณะของอาการมือสั่นในผู้ป่วยโรคพาร์กินสันมีหลายรูปแบบ รูปแบบของอาการมือสั่นในผู้ป่วยพาร์กินสันที่พบได้บ่อยคืออาการมือสั่นในขณะพัก อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยส่วนหนึ่งพบว่ามีอาการมือสั่นขณะกำลังเดิน แต่ปัจจุบันยังไม่ค่อยมีการศึกษาเกี่ยวกับลักษณะของอาการมือสั่นในผู้ป่วยโรคพาร์กินสันในขณะเดิน วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาและบรรยายลักษณะของอาการมือสั่นขณะเดินในผู้ป่วยพาร์กินสันที่มีอาการมือสั่นเป็นอาการเด่น โดยใช้อุปกรณ์เซ็นเซอร์ตรวจจับลักษณะการหมุนในการตรวจวัดจลนศาสตร์ของอาการมือสั่น (ChulaPD tremor device, www.chulapd.org) วัสดุและวิธีการ : เป็นการศึกษาแบบตัดขวางในผู้ป่วยจำนวน 22 รายที่ได้รับการวินิจฉัยว่าโรคพาร์กินสันที่มีอาการมือสั่นเป็นอาการเด่นและมีอาการมือสั่นในขณะเดิน โดยการใช้อุปกรณ์เซ็นเซอร์ติดตั้งบริเวณข้อมือในการวัดความเร่งและเซ็นเซอร์ตรวจจับลักษณะการหมุน (ChulaPD tremor device, www.chulapd.org) เพื่อศึกษาลักษณะจลนศาสตร์ของอาการมือสั่น โดยมีการวัดเปรียบเทียบกับอาการมือสั่นรูปแบบอื่นได้แก่อาการมือสั่นขณะพัก อาการมือสั่นขณะยกแขนต้านแรงโน้มถ่วงของโลก และวัดอาการมือสั่นในขณะที่ให้ผู้ป่วยเดินด้วยความผ่อนคลายในระยะเวลา 30 วินาที และมีการเก็บข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วย การตรวจร่างกายผู้ป่วยตามระบบของ UKPDS และนำข้อมูลทางจลนศาสตร์ได้แก่ค่าเฉลี่ยกำลังสองของอัตราเร็วเชิงมุม ค่าเฉลี่ยกำลังสองของมุมในการสั่น ขนาดของการสั่น และความถี่ของการสั่น มาทำการวิเคราะห์ต่อไป ผลการศึกษา : จากผู้ป่วยโรคพาร์กินสันที่เข้าร่วมการศึกษาทั้งหมด 22 ราย มีอายุเฉลี่ยที่ 68.18 ปี (SD=8.93) ระยะเวลาเฉลี่ยที่เป็นโรคพาร์กินสัน 6.91 ปี (SD=5.5) ผู้ป่วยทุกรายในการศึกษานี้มีอาการมือสั่นในขณะพัก โดยผลการศึกษาพบว่าอาการมือสั่นในขณะพักในแนวแกนที่มีอาการสั่นมากที่สุด มีค่าความถี่เฉลี่ย 4.07 ครั้งต่อวินาที (SD=1.96) โดยมีลักษณะใกล้เคียงกับอาการมือสั่นในขณะยกแขนต้านแรงโน้มถ่วงของโลก ซึ่งเข้าได้กับอาการมือสั่นที่พบบ่อยในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ส่วนอาการสั่นในขณะที่ผู้ป่วยกำลังเดิน ในแนวแกนที่มีอาการสั่นมากที่สุด พบว่ามีค่าความถี่ต่ำกว่าอาการสั่นในขณะพักอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีความถี่ 1.67 ครั้งต่อวินาที (SD=1.77) (p=0.001) ลักษณะทางจลนศาสตร์ของอาการมือสั่นอื่นๆเช่นค่าเฉลี่ยกำลังสองของอัตราเร็วเชิงมุมในการสั่น ค่าเฉลี่ยกำลังสองของมุมในการสั่น ขนาดของอาการสั่น และค่า Q-value มีความแตกต่างกับอาการมือสั่นขณะพักอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05 ในทุกลักษณะทางจลนศาสตร์) สรุป : จากผลการศึกษาพบว่าอาการมือสั่นขณะเดินในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน มีลักษณะทางจลนศาสตร์ของอาการสั่นแตกต่างจากอาการสั่นที่พบได้ทั่วไปในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน บ่งบอกว่าอาการมือสั่นในขณะเดินอาจจะเป็นอาการสั่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับอาการมือสั่นในขณะพัก ซึ่งในอนาคตต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับกลไกการเกิดการมือสั่นในขณะเดินในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน


Bioactive Compounds From Dendrobium Infundibulum, Salinee Na Ranong Jan 2017

Bioactive Compounds From Dendrobium Infundibulum, Salinee Na Ranong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Phytochemical study of the methanol extract from Dendrobium infundibulum (Orchidaceae) led to isolation of nine pure compounds including two new compounds (dendroinfundin A and dendroinfundin B) and seven known compounds (ephemeranthol A, moscatilin, aloifol I, batatasin III, 3,3'-dihydroxy-4,5-dimethoxybibenzyl, 3,4'-dihydroxy-3',4,5-trimethoxybibenzyl and dendrosinen B). Their structures were determined from their spectroscopic data. All compounds were then examined for their lipase and alpha-glucosidase inhibitory activities. Dendrosinen B (IC50 = 295.0±37.9 µM) showed moderate inhibitory activity against lipase when compared with orlistat (IC50 = 31.4±0.6 nM). Strong anti alpha-glucosidase agents were batatasin III (IC50 = 148.8±8.4 µM) and dendrosinen B (IC50 = 213.9±2.4 µM), …


ผลของโปรแกรมการสร้างพลังอำนาจและการออกกำลังกายแบบต้านแรงต่อภาวะเปราะบางของผู้สูงอายุในชุมชน, กรัยรัชช์ นาคขำ Jan 2017

ผลของโปรแกรมการสร้างพลังอำนาจและการออกกำลังกายแบบต้านแรงต่อภาวะเปราะบางของผู้สูงอายุในชุมชน, กรัยรัชช์ นาคขำ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองแบบศึกษาสองกลุ่ม วัดก่อนและหลังการทดลอง (two groups pretest-posttest design) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสร้างพลังอำนาจและการออกกำลังกายแบบต้านแรงต่อภาวะเปราะบางของผู้สูงอายุในชุมชน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่มีอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปทั้งชายและหญิงที่มีภาวะเปราะบาง อาศัยอยู่ในชุมชนแห่งหนึ่งใน กรุงเทพมหานคร จำนวน 44 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 22 คน ทำการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง ด้วยวิธีการจับคู่ในด้าน เพศ อายุและค่าดัชนีมวลกาย โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการสร้างพลังอำนาจตามแนวคิดของ Zimmerman (2000) และการออกกำลังกายแบบต้านแรงมาใช้ ในขณะที่กลุ่มควบคุมจะได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ประกอบด้วย โปรแกรมการสร้างพลังอำนาจและการออกกำลังกายแบบต้านแรงโดยใช้ดัมเบลล์เป็นอุปกรณ์ในการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบทดสอบสมรรถภาพสมองเบื้องต้นฉบับภาษาไทย แบบประเมินความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันพื้นฐานและแบบสอบถามภาวะเปราะบาง ระยะเวลาดำเนินการวิจัยจนถึงเก็บรวบรวมข้อมูลสิ้นสุด 5 สัปดาห์ วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ภาวะเปราะบางของผู้สูงอายุหลังการได้รับโปรแกรมการสร้างพลังอำนาจและการออกกำลังกายแบบต้านแรงมีภาวะเปราะบางลดลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ภาวะเปราะบางของผู้สูงอายุที่ได้รับโปรแกรมการสร้างพลังอำนาจและการออกกำลังกายแบบต้านแรงมีภาวะเปราะบางลดลงกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจมารดาร่วมกับการสัมผัสแบบอ่อนโยน ต่อพฤติกรรมตอบสนองของทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย, กัลยาลักษณ์ ไชยศิริ Jan 2017

ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจมารดาร่วมกับการสัมผัสแบบอ่อนโยน ต่อพฤติกรรมตอบสนองของทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย, กัลยาลักษณ์ ไชยศิริ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาพฤติกรรมการตอบสนอง เนื่องจากระบบประสาทที่ยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ และการขาดการกระตุ้นการสัมผัสจากมารดาที่ต่อเนื่อง การวิจัยนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลองแบบศึกษาสองกลุ่มที่ไม่เท่าเทียมกันวัดแบบอนุกรมเวลาเพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการตอบสนองของทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยในมารดาครรภ์แรก ระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการเสริมพลังอำนาจมารดาร่วมกับการสัมผัสแบบอ่อนโยนและกลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลแบบปกติคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงคือ ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยที่เกิดจากมารดาครรภ์แรกที่ได้รับการรักษาในแผนกทารกแรกเกิดมีปัญหา โรงพยาบาลตำรวจ จำนวน 44 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 22 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) โปรแกรมการเสริมพลังอำนาจมารดาร่วมกับการสัมผัสแบบอ่อนโยน 2) แบบประเมินพลังอำนาจของมารดา มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .89 3) แบบประเมินพฤติกรรมการตอบสนองทารก มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .98 ผ่านการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 7 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำ (Two-Way Repeated Measure ANOVA ) และเมื่อพิจารณาวิเคราะห์พฤติกรรมการตอบสนองเป็นรายด้าน คือ การหลับตื่น และการเคลื่อนไหว พบว่า 1. พฤติกรรมการหลับตื่นของทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกลุ่มทดลอง และทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกลุ่มควบคุม มีความแตกต่างกันในพฤติกรรมกลุ่ม Quiet sleep, Drowsy, Awake alert, Active awake และ Crying และไม่พบความแตกต่างในพฤติกรรมกลุ่ม Active sleep อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 2. พฤติกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายของทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกลุ่มทดลอง และทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกลุ่มควบคุม มีความแตกต่างกันในพฤติกรรมกลุ่ม Behavioral distress cues, No movement และ Smiles และไม่พบความแตกต่างในพฤติกรรมกลุ่ม Motor Activity อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่.05


การศึกษาบทบาทพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล, จิรณัฐ ชัยชนะ Jan 2017

การศึกษาบทบาทพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล, จิรณัฐ ชัยชนะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โดยใช้เทคนิคเดลฟาย ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 18 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ผู้บริหารฝ่ายส่งเสริมสุขภาพ/เวชกรรมสังคมจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด นักวิชาการจากสำนักการพยาบาลและสภาการพยาบาล อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรการพยาบาลเวชปฏิบัติครอบครัว/การพยาบาลเวชปฏิบัติทั่วไป/การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน/อนามัยชุมชน พยาบาลผู้ปฏิบัติการพยาบาลในทีมคลินิกหมอครอบครัว และพยาบาลผู้ปฏิบัติการขั้นสูง ด้านเวชปฏิบัติชุมชน วิธีการดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 สัมภาษณ์เกี่ยวกับบทบาทพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ขั้นตอนที่ 2 นำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์เนื้อหาและสร้างแบบสอบถาม เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับความสำคัญแต่ละข้อรายการ ขั้นตอนที่ 3 นำข้อมูลที่ได้มาคำนวณค่ามัธยฐานค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ และส่งแบบสอบถามกลับไปให้ผู้เชี่ยวชาญกลุ่มเดิมยืนยันคำตอบ จากนั้นจึงนำข้อมูลที่ได้มาคำนวณค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์อีกครั้งเพื่อสรุปผลการวิจัย ผลการวิจัย พบว่า บทบาทพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ประกอบ ด้วยบทบาท 4 บทบาท ดังนี้ 1) บทบาทด้านผู้ปฏิบัติการพยาบาล จำนวน 15 บทบาทย่อย 2) บทบาทผู้สร้างเสริมสุขภาพ จำนวน 7 บทบาทย่อย 3) บทบาทด้านผู้จัดการ และประสานงานสุขภาพชุมชน จำนวน 9 บทบาทย่อย 4) บทบาทด้านผู้พัฒนาคุณภาพการพยาบาลระดับปฐมภูมิ จำนวน 8 บทบาทย่อย


การศึกษาพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ, ฉวีฉัตร โฉลกคงถาวร Jan 2017

การศึกษาพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ, ฉวีฉัตร โฉลกคงถาวร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ และเพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ ตำแหน่งงาน ประสบการณ์การทำงาน ประสบการณ์การอบรมความปลอดภัย และหน่วยงานที่ปฏิบัติ กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพ ในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ ที่มีประสบการณ์การปฏิบัติงานอย่างน้อย 1 ปี จำนวน 378 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบสอบถามพฤติกรรมความปลอดภัย ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ และทดสอบความเที่ยงด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้เท่ากับ .98 วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลและพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงาน โดยการแจกแจงความถี่ร้อยละ และเปรียบเทียบระดับพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงาน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลโดยใช้สถิติ t-test และ Anova ผลการวิจัย พบว่า พฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ อยู่ในระดับสูง ( X = 4.18, SD = 0.49) พฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ แตกต่างกันตามตำแหน่งงาน ประสบการณ์การทำงาน ประสบการณ์การอบรมความปลอดภัย และหน่วยงานที่ปฏิบัติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


โปรแกรมการสอนแนะต่อพฤติกรรมของมารดาในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดเพื่อป้องกันการเสียชีวิตอย่างกะทันหัน, เพ็ญพิไล โพธิ์ทะเล Jan 2017

โปรแกรมการสอนแนะต่อพฤติกรรมของมารดาในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดเพื่อป้องกันการเสียชีวิตอย่างกะทันหัน, เพ็ญพิไล โพธิ์ทะเล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสอนแนะต่อพฤติกรรมของมารดาในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดเพื่อป้องกันการเสียชีวิตอย่างกะทันหัน ตามแนวคิดการสอนแนะของ Parsloe และ Wray (2000) กลุ่มตัวอย่าง คือ มารดาของทารกเกิดก่อนกำหนด จำนวน 50 ราย ได้รับการจับคู่ให้มีอายุและประสบการณ์การดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดคล้ายกัน แบ่งเป็นกลุ่มละ25 ราย กลุ่มทดลองได้รับการสอนแนะ 3 ครั้งในช่วง 3 วันก่อนการจำหน่ายและ โทรติดตาม เยี่ยมหลังการจำหน่าย 2 ครั้ง กลุ่มควบคุมได้รับการเตรียมความพร้อมในการดูแลทารกก่อนกลับบ้าน 7 วันก่อนการจำหน่ายตามปกติ เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยโปรแกรมการสอนแนะและคู่มือการป้องกันปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดการเสียชีวิตอย่างกะทันหันในทารก และแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดของมารดาเพื่อป้องกันการตายอย่างกะทันหันในทารกและแบบสอบถามความมั่นใจในการปฏิบัติเพื่อป้องกันการเสียชีวิตอย่างกะทันหันในทารกเกิดก่อนกำหนด เครื่องมือทุกชุดผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน แบบสอบถามทั้ง 2 ชุด มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .89 และ .80 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดของมารดาเพื่อป้องกันการตายอย่างกะทันหันในทารก กลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ภาวะสุขภาพจิตของนักศึกษาหลักสูตรปฐมวัยและหลักสูตรประถมศึกษาภายหลังการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, กาญจนา ผิวงาม Jan 2017

ภาวะสุขภาพจิตของนักศึกษาหลักสูตรปฐมวัยและหลักสูตรประถมศึกษาภายหลังการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, กาญจนา ผิวงาม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Study) โดยศึกษา ณ จุดเวลาใด เวลาหนึ่ง (Cross Sectional Study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพจิต ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะสุขภาพจิต และ ความพึงพอใจของนักศึกษาหลักสูตรปฐมวัย หลังออกฝึกประสบการณ์ทางวิชาชีพครู ภายหลังการฝึกประสบการณ์ทางวิชาชีพครู ประชากรตัวอย่าง (Sample Population) คือ นักศึกษาหลักสูตรปฐมวัยและหลักสูตรประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ ม.สวนดุสิต ที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวนทั้งสิ้น 200 คน โดยใช้เครื่องมือได้แก่ 1) แบบสอบถามภาวะสุขภาพจิตของนักศึกษาหลักสูตรปฐมวัยและประถมศึกษาที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต 2) แบบประเมินความพึงพอใจในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ของนักศึกษาหลักสูตรปฐมวัยและหลักสูตรประถมศึกษาที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Descriptive Statistics, Chi-square test, T-Test และ Multiple Linear Regression Analysis ผลการศึกษาพบว่า1) ภาวะสุขภาพจิตของนักศึกษาส่วนใหญ่ มีสุขภาพจิตปกติในด้านความเจ็บป่วยทางกายที่เป็นผลจากภาวะทางจิตใจ ร้อยละ 56 มีสุขภาพจิตปกติในด้านภาวะซึมเศร้า ร้อยละ 85.5 มีสุขภาพจิตปกติในด้านความวิตกกังวล ร้อยละ 86.5 มีสุขภาพจิตปกติในด้านภาวะทางจิต ร้อยละ 95.5 และมีสุขภาพจิตปกติในด้านการทำหน้าที่ทางสังคม ร้อยละ 84 2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสุขภาพจิตในด้านความเจ็บป่วยทางกายที่เป็นผลมาจากภาวะทางจิตใจ มี 6 ปัจจัย ด้านภาวะซึมเศร้า มี 7 ปัจจัย ด้านความวิตกกังวล มี 3 ปัจจัย ด้านภาวะทางจิต มี 4 ปัจจัย และด้านการทำหน้าที่ทางสังคม มี 1 ปัจจัย 3) ความพึงพอใจของนักศึกษาหลักสูตรปฐมวัย หลังออกฝึกประสบการณ์ทางวิชาชีพครู ภายหลังการฝึกประสบการณ์ทางวิชาชีพครู พบว่านักศึกษาหลักสูตรปฐมวัยและหลักสูตรประถมศึกษา มีความพึงพอใจในภาพรวม อยู่ในระดับมาก (X= 3.99, S.D. = …


ภาวะสุขภาพจิตและความเหนื่อยล้าของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน), ปณิตา บุญพาณิชย์ Jan 2017

ภาวะสุขภาพจิตและความเหนื่อยล้าของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน), ปณิตา บุญพาณิชย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ ช่วงเวลาใดช่วงเวลาหนึ่ง เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพจิต ความเหนื่อยล้า และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะสุขภาพจิตและความเหนื่อยล้าของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งประเภทของตัวอย่างและวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย ทั้งสิ้น 405 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินอาการนอนไม่หลับ แบบประเมินภาวะสุขภาพจิต (DASS-21) แบบประเมินความเหนื่อยล้า (R-PFS) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ไคสแควร์ ค่าความเสี่ยง และช่วงความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 การทดสอบค่าที การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสถิติถดถอยพหุคูณด้วยแบบจำลองลอจิสติก พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีภาวะสุขภาพจิตด้านซึมเศร้าอยู่ในระดับเล็กน้อย (ร้อยละ 16.3) ภาวะสุขภาพจิตด้านวิตกกังวลอยู่ในระดับเล็กน้อย (ร้อยละ 16.8) ภาวะสุขภาพจิตด้านความเครียดอยู่ในระดับเล็กน้อย (ร้อยละ 14.3) มีความเหนื่อยล้าอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 60.8) เมื่อวิเคราะห์สถิติถดถอยพหุคูณ พบว่า ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า ได้แก่ ความเหนื่อยล้าในระดับปานกลาง (ORadj = 12.18: 95%CI = 3.70 - 40.12), ความเหนื่อยล้าในระดับรุนแรง (ORadj = 20.50: 95%CI = 4.67 - 89.9), ปัญหาการนอนหลับ (ORadj = 1.14: 95%CI = 1.07 - 1.21) ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะวิตกกังวล ได้แก่ ระดับการศึกษา (ORadj = 2.34: 95%CI = 1.25-4.36), ปัญหาสุขภาพ (ORadj = 1.98: 95%CI = 1.14-3.43), การสูบบุหรี่ (ORadj = 2.14: 95%CI = 1.03-4.47), ตำแหน่งที่บริการชั้นธุรกิจเที่ยวบินยุโรป (ORadj = 3.43: …


บทบาทของการส่องกล้องคลื่นเสียงร่วมกับการเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อในการวินิจฉัยรอยโรคที่เยื่อบุช่องท้อง, ธีรภัทร์ ออประยูร Jan 2017

บทบาทของการส่องกล้องคลื่นเสียงร่วมกับการเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อในการวินิจฉัยรอยโรคที่เยื่อบุช่องท้อง, ธีรภัทร์ ออประยูร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บทนำ: การวินิจฉัยรอยโรคที่เยื่อบุช่องท้องด้วยการผ่าตัดส่องกล้องหรือการผ่าตัดเปิดหน้าท้องแม้จะมีความจำเป็นและมีความแม่นยำสูงแต่ยังเป็นวิธีที่มีความเสี่ยง ส่วนการวินิจฉัยด้วยการเจาะน้ำในท้องไปตรวจก็ยังมีความไวที่ค่อนข้างต่ำ มีการศึกษาย้อนหลังถึงการใช้การส่องกล้องคลื่นเสียงร่วมกับเข็มดูดซึ่งให้ผลการวินิจฉัยที่ดี จึงนำมาสู่การศึกษานี้ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาถึงความสามารถในการวินิจฉัยโรคที่เยื่อบุช่องท้องด้วยการเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อผ่านการส่องกล้องคลื่นเสียงในผู้ป่วยที่สงสัยมีรอยโรคของเยื่อบุช่องท้อง ระเบียบวิธีการวิจัย: ผู้ป่วยที่สงสัยรอยโรคเยื่อบุช่องท้องจากการทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือเอ็มอาร์ไอที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เข้าสู่การศึกษาโดยการเก็บเนื้อเยื่อบุช่องท้องด้วยการส่องกล้องคลื่นเสียงโดยใช้เข็มดูดส่วนอีกกลุ่มทำการเก็บเนื้อเยื่อบุช่องท้องด้วยการส่องกล้องคลื่นเสียงร่วมกับใช้เข็มตัดเก็บชิ้นเนื้อ จากนั้นจึงนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ความสามารถในการวินิจฉัยโรค ความไว ความจำเพาะ ค่าทำนายผลบวก ค่าทำนายผลลบ ความแม่นยำ ความเพียงพอของเนื้อเยื่อที่ได้ การหลีกเลี่ยงความจำเป็นที่จะต้องไปผ่าตัดชิ้นเนื้อเยื่อบุช่องท้อง และภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น หากผลจากการส่องกล้องเป็นลบผู้ป่วยจะได้รับการทำผ่าตัดส่องกล้องหรือการติดตามอาการและภาพรังสีอย่างน้อย 6 เดือน ผลการศึกษา: ผู้ป่วยที่เข้าร่วมการศึกษาทั้งสิ้น 49 ราย ตรงเกณฑ์คัดออก 11 ราย เหลือเข้าการศึกษา 38 ราย ทั้งหมดผ่านการเก็บเนื้อเยื่อบุช่องท้องด้วยการส่องกล้องคลื่นเสียง (EUS-FNA หรือ EUS-FNB) พบว่าการใช้กล้องคลื่นร่วมกับการใช้เข็มดูด (EUS-FNA) สามารถวินิจฉัยรอยโรคมะเร็งได้ 18 รายจาก 21 ราย (ร้อยละ 85.7) ส่วนการใช้กล้องคลื่นร่วมกับการใช้เข็มเก็บชิ้นเนื้อ (EUS-FNB) สามารถวินิจฉัยรอยโรคมะเร็งได้ 8 รายจาก 14 ราย (ร้อยละ 57.14) โดยการใช้กล้องคลื่นเสียงร่วมกับการใช้เข็มดูดพบว่ามีความไวร้อยละ 85.7 มีความจำเพาะร้อยละ 100 ค่าทำนายผลบวกร้อยละ 100 ค่าทำนายผลลบร้อยละ 40 และความแม่นยำร้อยละ 86.9 ส่วนการใช้เข็มเก็บชิ้นเนื้อ (EUS-FNB) มีความไวร้อยละ 51.14 มีความจำเพาะร้อยละ 100 ค่าทำนายผลบวกร้อยละ 100 ค่าทำนายผลลบร้อยละ 14.28 และความแม่นยำร้อยละ 60 โดยทั้งหมดได้ชิ้นเนื้อเพียงพอร้อยละ 34.2 (EUS-FNA: 8.7%; EUS-FNB: 73.3%) การศึกษานี้พบภาวะแทรกซ้อน 4 ราย สรุป: การส่องกล้องคลื่นเสียงร่วมกับการเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อในการวินิจฉัยรอยโรคที่เยื่อบุช่องท้องนั้น พบว่าสามารถช่วยวินิจฉัยโรคมะเร็งเยื่อบุช่องท้องได้ดี และมีความไว ความจำเพาะ ค่าทำนายผลบวก และความแม่นยำที่ดี อีกทั้งสามารถเก็บเนื้อเยื่อได้เพียงพอต่อการนำไปย้อมทางอิมมูโนพยาธิวิทยา หากพิจาณาจากการส่องกล้องคลื่นเสียงร่วมกับการใช้เข็มดูดจะช่วยในการวินิจฉัยโรคเยื่อบุช่องท้องได้ดีกว่าการใช้เข็มตัด ขณะที่การส่องกล้องคลื่นเสียงร่วมกับการใช้เข็มตัดเก็บชิ้นเนื้อมีข้อดีในการได้ชิ้นเนื้อที่พอเพียงกรณีที่ต้องการย้อมทางอิมมูโนพยาธิวิทยาเพิ่มเติมเพื่อช่วยในการวินิจฉัย โดยภาวะแทรกซ้อนของทั้งสองวิธีมีไม่มาก


การศึกษาการเปลี่ยนแปลงการทำงานของท่อไตส่วนต้น หลังจากหยุดยาต้านไวรัสทีโนโฟร์เวียร์ตั้งแต่ระยะแรกในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีที่มีปัญหาการทำงานของไตที่ผิดปกติจากยาต้านไวรัสทีโนโฟร์เวียร์, ภฤศภัค พยุง Jan 2017

การศึกษาการเปลี่ยนแปลงการทำงานของท่อไตส่วนต้น หลังจากหยุดยาต้านไวรัสทีโนโฟร์เวียร์ตั้งแต่ระยะแรกในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีที่มีปัญหาการทำงานของไตที่ผิดปกติจากยาต้านไวรัสทีโนโฟร์เวียร์, ภฤศภัค พยุง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มา: ยาต้านไวรัสทีโนโฟร์เวียร์เป็นยาที่มีประสิทธิภาพและเป็นหนึ่งในยาต้านไวรัสสูตรแรกที่แนะนำให้ใช้รักษาการติดเชื้อไวรัสเอชไอวีในประเทศไทย โดยมีผลข้างเคียงที่สำคัญ ได้แก่ การทำงานของท่อไตส่วนต้นที่ผิดปกติและภาวะไตวาย วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการกลับมาเป็นปกติของท่อไตส่วนต้นหลังจากเกิดปัญหาการทำงานของไตที่ผิดปกติจากยาต้านไวรัสทีโนโฟร์เวียร์ เปรียบเทียบระหว่างการหยุดยาต้านไวรัสทีโนโฟร์เวียร์เร็ว กับกลุ่มที่ได้รับการรักษาตามมาตรฐาน วิธีการศึกษา: ทำการศึกษาในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ช่วงเวลา 1 กันยายน พ.ศ. 2560 ถึง 31 มีนาคม พ.ศ. 2561 ที่ได้รับยาต้านไวรัสทีโนโฟร์เวียร์ แล้วเกิดปัญหาการทำงานของไตที่ผิดปกติจากยาต้านไวรัสทีโนโฟร์เวียร์ โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเปลี่ยนยาไว (early discontinuation) คือ ผู้ป่วยที่มีค่าการทำงานของไตลดลงโดยไม่มาเหตุอื่นอธิบาย 10 – 25% หรือมีภาวะ proximal renal tubular dysfunction มากกว่าเท่ากับสองอย่าง ประกอบด้วย phosphaturia, non-diabetic glycosuria, hyperuricosuria, proteinuria และ/หรือ beta-2 microglubulin ในปัสสาวะสูง กับกลุ่มรักษาตามแนวทางเวชปฏิบัติ (standard treatment) ที่เปลี่ยนยาเมื่อมีค่าการทำงานของไตลดลงโดยไม่มาเหตุอื่นอธิบายเกิน 25% เปรียบเทียบค่าการทำงานของท่อไตส่วนต้นและการทำงานของไตระหว่างสองกลุ่ม ผลการศึกษา: ผู้ป่วยทั้งหมด 26 คน โดยอยู่ในกลุ่มเปลี่ยนยาไว (early discontinuation) 15 คน และกลุ่มรักษาตามแนวทางเวชปฏิบัติ (standard treatment) จำนวน 11 คน (แบ่งเป็นกลุ่มที่เปลี่ยนยาตามแนวทางเวชปฏิบัติ (standard discontinuation) จำนวน 4 คน และกลุ่มที่ได้รับยาต่อ (continuation) จำนวน 7 คน โดยผู้ป่วยจำนวน 13 คน เปลี่ยนไปรับยาอะบาคาร์เวียร์ (abacavir) และได้รับยาโลปินาร์เวียร์/ริโทนาเวียร์(lopinavir/ritonavir) จำนวน 6 คน ใน โดยกลุ่มเปลี่ยนยาไว (early discontinuation) มีร้อยละของอัตราการเปลี่ยนแปลงของค่า fractional excretion (FE) …


ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนร่วมกับการนวดกดจุดสะท้อนต่อพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่ของผู้ป่วยจิตเภท, ทิพย์นภา จันทร์สว่าง Jan 2017

ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนร่วมกับการนวดกดจุดสะท้อนต่อพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่ของผู้ป่วยจิตเภท, ทิพย์นภา จันทร์สว่าง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบศึกษาสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลองเพื่อเปรียบเทียบ 1) พฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่ของผู้ป่วยจิตเภทก่อนและหลังได้รับโปรแกรม การส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนร่วมกับการนวดกดจุดสะท้อน และ 2) พฤติกรรมการเลิกบุหรี่ของผู้ป่วยจิตเภทระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนร่วมกับการนวดกดจุดสะท้อนกับกลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยจิตเภท จำนวน 40 ราย ซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ ที่เข้ารับการบริการแบบผู้ป่วยในโรงพยาบาลศรีธัญญาโดยจับคู่ให้ทั้ง 2 กลุ่ม มีความใกล้เคียงกันด้านคะแนนการติดนิโคติน และสุ่มเข้ากลุ่มทดลอง 20 ราย กลุ่มควบคุม 20 ราย เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ โปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนร่วมกับการนวดกดจุดสะท้อน และแบบประเมินพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่ เครื่องมือที่ใช้ทุกชุดผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน มีค่าความเที่ยงของแบบประเมินพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่ เท่ากับ .85 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Wilcoxon Signed Ranks test และ Mann-Whitney U test ผลการวิจัยพบว่า 1) คะแนนพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่ของผู้ป่วยจิตเภทหลังได้รับโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนร่วมกับการนวดกดจุดสะท้อนแตกต่างจากไม่ได้รับโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนร่วมกับการนวดกดจุดสะท้อน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p < .05 2) คะแนนพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่ของผู้ป่วยจิตเภทหลังได้รับโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนร่วมกับการนวดกดจุดสะท้อนหลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองและ กลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกัน (p=0.08)


ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับภาวะเปราะบางของผู้สูงอายุที่อยู่ในบ้านพักคนชราของภาครัฐ, ประกายมาศ เนตรจันทร์ Jan 2017

ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับภาวะเปราะบางของผู้สูงอายุที่อยู่ในบ้านพักคนชราของภาครัฐ, ประกายมาศ เนตรจันทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะเปราะบางของผู้สูงอายุที่อยู่ในบ้านพักคนชราภาครัฐ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรร คือ อายุ เพศ โรคร่วม ภาวะซึมเศร้าและการสนับสนุนทางสังคม กับภาวะเปราะบางในผู้สูงอายุที่อยู่ในบ้านพักคนชราของภาครัฐ เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 150 คน ด้วยวิธีการเลือกตามสะดวกจากบ้านพักคนชราของภาครัฐในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่มีทั้งเพศชายและเพศหญิง ทั้งหมด 3 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย คือ แบบประเมินภาวะสมองเสื่อม แบบประเมินภาวะซึมเศร้า แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคมและแบบประเมินภาวะเปราะบางซึ่งผ่านการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ หาความเที่ยงของแบบประเมินภาวะสมองเสื่อม แบบประเมินภาวะซึมเศร้า แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคมด้วยวิธีสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาค มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .80, .83, .80 ตามลำดับ ส่วนแบบประเมินภาวะเปราะบางหาความเที่ยงด้วยวิธีใช้ผู้ประเมินร่วม (Inter-rater method) มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .96 วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคล โดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ปัจจัยที่สัมพันธ์ระหว่าง อายุ เพศ โรคร่วม ภาวะซึมเศร้า การสนับสนุนทางสังคมกับภาวะเปราะบางในผู้สูงอายุ โดยใช้สถิติ Binary Logistic Regression ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผู้สูงอายุในบ้านพักคนชราของภาครัฐ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พบว่า มีภาวะเปราะบาง ร้อยละ 58.7 2. อายุ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะเปราะบางของผู้สูงอายุในบ้านพักคนชราของภาครัฐ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยอายุที่เพิ่มขึ้น 1 ปี จะมีโอกาสเกิดภาวะเปราะบาง คิดเป็นร้อยละ 10 3. การสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางลบกับภาวะเปราะบางของผู้สูงอายุในบ้านพักคนชราของภาครัฐในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผู้สูงอายุที่ได้รับการสนับสนุนทางสังคมเพิ่มขึ้น 1 หน่วย จะมีโอกาสเกิดภาวะเปราะบางลดลงร้อยละ 5


ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความวิตกกังวลของญาติผู้ดูแลเกี่ยวกับความตายของผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม, ปองพล คงสมาน Jan 2017

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความวิตกกังวลของญาติผู้ดูแลเกี่ยวกับความตายของผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม, ปองพล คงสมาน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณาประเภทหาความสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสัมพันธภาพกับผู้ป่วย การรับรู้อาการผู้ป่วย ทัศนคติต่อความตาย การปฏิบัติกิจกรรมตามความเชื่อทางศาสนาที่เกี่ยวกับความตาย ความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม กับความวิตกกังวลของญาติผู้ดูแลเกี่ยวกับความตายของผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม กลุ่มตัวอย่าง คือ ญาติผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม จำนวน 195 คน ที่เข้ามารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลตติยภูมิ 3 แห่ง ในเขตกรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลประกอบด้วย 1) แบบสอบถามสัมพันธภาพกับผู้ป่วย 2) แบบสอบถามการรับรู้อาการผู้ป่วย 3) แบบสอบถามทัศนคติต่อความตาย 4) แบบสอบถามการปฏิบัติกิจกรรมตามความเชื่อทางศาสนาที่เกี่ยวกับความตาย 5) แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม และ 6) แบบสอบถามความวิตกกังวลของญาติผู้ดูแลเกี่ยวกับความตายของผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบความตรง และความเที่ยง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1. ญาติผู้ดูแลร้อยละ 56.9 มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับความตายของผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามโดยรวม อยู่ในระดับปานกลางค่อนไปทางสูง (X = 3.7, SD = 0.63) 2. การรับรู้อาการผู้ป่วยมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความวิตกกังวลของญาติผู้ดูแลเกี่ยวกับความตายของผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. การปฏิบัติกิจกรรมตามความเชื่อทางศาสนาที่เกี่ยวกับความตาย ทัศนคติต่อความตาย และความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม มีความสัมพันธ์ทางลบกับความวิตกกังวลของญาติผู้ดูแลเกี่ยวกับ ความตายของผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับความสามารถในการจัดการด้านการรับมือและฟื้นฟูภาวะภัยพิบัติของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม, พิชญากร บำรุงกิจ Jan 2017

ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับความสามารถในการจัดการด้านการรับมือและฟื้นฟูภาวะภัยพิบัติของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม, พิชญากร บำรุงกิจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบบรรยายเชิงความสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการจัดการด้านการรับมือและฟื้นฟูภาวะภัยพิบัติ และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ แผนกที่ปฏิบัติงาน การได้รับการฝึกอบรม ระยะเวลาที่ออกปฏิบัติงานภาวะภัยพิบัติ การได้รับการเสริมพลังอำนาจจากผู้บังคับบัญชา และการทำงานเป็นทีม กับความสามารถในการจัดการด้านการรับมือและฟื้นฟูภาวะภัยพิบัติของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม ประชากร ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม จำนวน 268 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการเสริมพลังอำนาจจากผู้บังคับบัญชา แบบสอบถามการทำงานเป็นทีม และแบบสอบถามความสามารถในการจัดการด้านการรับมือและฟื้นฟูภาวะภัยพิบัติ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาและทดสอบความเที่ยงของเครื่องมือโดยวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .96, .96 และ .96 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. ความสามารถในการจัดการด้านการรับมือและฟื้นฟูภาวะภัยพิบัติของพยาบาลวิชาชีพ สังกัดกระทรวงกลาโหม อยู่ในระดับสูง ( X = 3.64, SD = 0.65 ) 2. ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ การได้รับการฝึกอบรมมีความสัมพันธ์ในระดับต่ำกับความสามารถในการจัดการด้านการรับมือและฟื้นฟูภาวะภัยพิบัติของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (c2 = 9.821, C = .188) การได้รับการเสริมพลังอำนาจจากผู้บังคับบัญชามีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลาง และการทำงานเป็นทีมมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับ ความสามารถในการจัดการด้านการรับมือและฟื้นฟูภาวะภัยพิบัติของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .557 และ .838 ตามลำดับ) ส่วนปัจจัยส่วนบุคคลด้านแผนกที่ปฏิบัติงานและระยะเวลาที่ออกปฏิบัติงานภาวะภัยพิบัติ ไม่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการจัดการด้านการรับมือและฟื้นฟูภาวะภัยพิบัติของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม


ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านการมองเห็นของผู้สูงอายุโรคต้อหิน, ภารตี จันทรรัตน์ Jan 2017

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านการมองเห็นของผู้สูงอายุโรคต้อหิน, ภารตี จันทรรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ (Correlation research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตด้านการมองเห็นของผู้สูงอายุโรคต้อหินและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านการมองเห็น ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา ระดับความรุนแรงของโรคต้อหิน ภาวะซึมเศร้า ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน การสนับสนุนทางสังคม และความร่วมมือในการรักษา กลุ่มตัวอย่างอายุ 60 ขึ้นไป ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคต้อหินที่มารับการตรวจรักษาที่คลินิกต้อหิน แผนกผู้ป่วยนอกจักษุโรงพยาบาลราชวิถี 72 คน และโรงพยาบาลรามาธิบดี 64 คน กลุ่มตัวอย่างได้จาการสุ่มแบบอย่างง่าย ด้วยวิธีการจับฉลากแบบไม่แทนที่ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบประเมินคุณภาพชีวิตด้านการมองเห็น 3) แบบประเมินการสนับสนุนทางสังคม 4) แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน 5) แบบประเมินภาวะซึมเศร้า และ 6) แบบประเมินความร่วมมือในการรักษา ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามได้เท่ากับ .809, .829, .819, .836 และ.871 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมนและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบพอยท์ไบซีเรียล ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผู้สูงอายุโรคต้อหินมีคุณภาพชีวิตด้านการมองเห็นโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (Mean = 66.54, SD = 20.80) 2. ระดับการศึกษา ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน การสนับสนุนทางสังคม และความร่วมมือในการรักษามีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับคุณภาพชีวิตด้านการมองเห็นของผู้สูงอายุโรคต้อหินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .215, .288, .217, .171 ตามลำดับ) ระดับความรุนแรงของโรคมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับปานกลางกับคุณภาพชีวิตด้านการมองเห็นของผู้สูงอายุโรคต้อหินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = -.330) ภาวะซึมเศร้ามีความสัมพันธ์ทางลบในระดับสูงกับคุณภาพชีวิตด้านการมองเห็นของผู้สูงอายุโรคต้อหินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = -.612) ส่วนอายุ ไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านการมองเห็นของผู้สูงอายุโรคต้อหินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อภาวะน้ำลายแห้งในผู้สูงอายุมะเร็งศีรษะและลำคอที่ได้รับการฉายรังสี, รุ่งนภา บุญมี Jan 2017

ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อภาวะน้ำลายแห้งในผู้สูงอายุมะเร็งศีรษะและลำคอที่ได้รับการฉายรังสี, รุ่งนภา บุญมี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) แบบ Follow up study กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุมะเร็งศีรษะและลำคอที่ได้รับการฉายรังสี แผนกผู้ป่วยนอกรังสีรักษา โรงพยาบาลราชวิถี แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมจำนวน 20 คน ได้รับการพยาบาลตามปกติ และกลุ่มทดลอง จำนวน 20 คน ได้รับโปรแกรมการจัดการตนเอง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบประเมินภาวะน้ำลายแห้ง โดยมีค่าสัมประสิทธ์แอลฟ่าครอนบาคเท่ากับ 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ Independent T-test และสถิติ Repeated measures ANOVA ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยการรับรู้ความรุนแรงของภาวะน้ำลายแห้งโดยรวมรายข้อของกลุ่มควบคุมเท่ากับ 5.45 ค่าเฉลี่ยการรับรู้ความรุนแรงของภาวะน้ำลายแห้งโดยรวมรายข้อของกลุ่มทดลองเท่ากับ 1.03 และความรุนแรงของภาวะน้ำลายแห้งของผู้สูงอายุมะเร็งศีรษะและลำคอที่ได้รับการฉายรังสีกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p < .05)


สมรรถนะพยาบาลเวชศาสตร์ความดันบรรยากาศสูง, สโรชิน คมแท้ Jan 2017

สมรรถนะพยาบาลเวชศาสตร์ความดันบรรยากาศสูง, สโรชิน คมแท้

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสมรรถนะพยาบาลเวชศาสตร์ความดันบรรยากาศสูง โดยใช้เทคนิคเดลฟาย (Delphi tecnique) ผู้ให้ข้อมูลคือผู้เชี่ยวชาญจำนวน 20 คน ประกอบด้วย กลุ่มแพทย์ที่รักษาด้วยออกซิเจนความกดบรรยากาศสูง (Hyperbaric Oxygen Therapy: HBOT) จำนวน 5 คน กลุ่มผู้บริหารการพยาบาลด้าน HBOT จำนวน 6 คน กลุ่มอาจารย์พยาบาลด้าน HBOT จำนวน 3 คน และกลุ่มพยาบาลที่ปฏิบัติงานด้าน HBOT จำนวน 6 คน วิธีดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 3 รอบ คือ รอบที่ 1 การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับสมรรถนะพยาบาลเวชศาสตร์ความดันบรรยากาศสูง รอบที่ 2 นำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์เนื้อหาแล้วสร้างเป็นแบบสอบถามให้ผู้เชี่ยวชาญประมาณค่าแนวโน้มความสำคัญของสมรรถนะพยาบาลเวชศาสตร์ ความดันบรรยากาศสูง และรอบที่ 3 นำข้อมูลที่ได้จากรอบที่ 2 มาคำนวณหาค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่าง ควอไทล์ จัดทำแบบสอบถามให้ผู้เชี่ยวชาญยืนยันความคิดเห็น เพื่อสรุปเป็นสมรรถนะพยาบาลเวชศาสตร์ความดันบรรยากาศสูง ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะพยาบาลเวชศาสตร์ความดันบรรยากาศสูง ประกอบด้วย 4 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการปฏิบัติการพยาบาลเฉพาะทางเวชศาสตร์ความดันบรรยากาศสูง จำนวน 14 สมรรถนะ 2) ด้านการให้ความรู้ และการสื่อสาร จำนวน 10 สมรรถนะ 3) ด้านการจัดการความเสี่ยง จำนวน 9 สมรรถนะ และ 4) ด้านการพัฒนาคุณภาพ จำนวน 6 สมรรถนะ


ผลของโปรแกรมการบำบัดแบบสั้นต่อความคิดฆ่าตัวตายในผู้ที่พยายามฆ่าตัวตาย, สุวลักษ์ ภูอาษา Jan 2017

ผลของโปรแกรมการบำบัดแบบสั้นต่อความคิดฆ่าตัวตายในผู้ที่พยายามฆ่าตัวตาย, สุวลักษ์ ภูอาษา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ศึกษาสองกลุ่มแบบวัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ 1) ความคิดฆ่าตัวตายในผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายที่ได้รับโปรแกรมการบำบัดแบบสั้นในระยะก่อนและหลังการทดลอง 2) ความคิดฆ่าตัวตายในผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการบำบัดแบบสั้นกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติในระยะหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายที่มีความคิดฆ่าตัวตาย ซึ่งเข้ารับการรักษา ณ แผนกผู้ป่วยในโรงพยาบาลของรัฐ ในจังหวัดตราด ซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเลือก จำนวน 30 คน ได้รับการจับคู่ให้มีคุณสมบัติใกล้เคียงกันในเรื่องอายุและเพศ และถูกสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 15 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการบำบัดแบบสั้น ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) โปรแกรมการบำบัดแบบสั้นที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น 2) แบบประเมินความคิดฆ่าตัวตายฉบับภาษาไทย (SSI-Thai version 2014) และ 3) แบบประเมินความหวังของ Herth (1998) เครื่องมือชุดที่ 1 และ 3 ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน เครื่องมือชุดที่ 2 และ 3 มีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.81 และ 0.80 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบค่าที กำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. คะแนนเฉลี่ยความคิดฆ่าตัวตายในผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายหลังได้รับโปรแกรมการบำบัดแบบสั้นต่ำกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. คะแนนเฉลี่ยความคิดฆ่าตัวตายในผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายหลังได้รับโปรแกรมการบำบัดแบบสั้นต่ำกว่าผู้ที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การเปลี่ยนแปลงของเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ได้รับสัญญาณจากเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่, ปภัสสร บุญส่งเสริม Jan 2017

การเปลี่ยนแปลงของเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ได้รับสัญญาณจากเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่, ปภัสสร บุญส่งเสริม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นโรคมะเร็งที่พบได้บ่อยและยังทำให้ผู้ป่วยเสี่ยงเสียชีวิตได้สูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก จากการศึกษาก่อนหน้านี้พบว่าสารพาราไครน์ที่หลั่งมาจากเซลล์มะเร็งเต้านมสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สภาวะเหนือพันธุกรรมในเซลล์เม็ดเลือดขาวปกติได้ จึงนำมาสู่การศึกษาในโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่โดยมีสมมติฐานที่ว่าเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่สามารถหลั่งสารพาราไครน์ออกมาและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดโมโนซัยต์ได้เช่นกันผ่านเทคนิคการจำลองสภาวะการอยู่ร่วมกันระหว่างเซลล์มะเร็งและเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดโมโนซัยต์ของคนปกติ และเมื่อนำเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดโมโนซัยต์ที่ได้จากการทดลองมาตรวจวัดการเปลี่ยนแปลงระดับหมู่เมทิลที่บริเวณไลน์วันพบว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงระดับหมู่เมทิลที่บริเวณไลน์วันทั้งแบบเพิ่มขึ้นและลดลงในเซลล์มะเร็งลำไส้แต่ละชนิด จนนำไปสู่การทดลองโดยใช้เทคนิคไมโครแอเรย์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงระดับหมู่เมทิลของยีนทั่วทั้งจีโนมจากการจำลองสภาวะการอยู่ร่วมกันระหว่างเซลล์นำมาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลการเปลี่ยนแปลงในระดับการแสดงออกของยีนจากเลือดของผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วยโปรแกรม CU-DREAM และข้อมูลยีนที่ได้มาวิเคราะห์ต่อร่วมกับการแสดงออกในระดับโปรตีน จากการวิเคราะห์พบว่าที่ยีน MMP9 และยีน PLOD1 มีการเปลี่ยนแปลงระดับหมู่เมทิลเพิ่มขึ้นในตัวอย่างเลือดและมีการแสดงออกในระดับโปรตีนเพิ่มขึ้นในตัวอย่างชิ้นเนื้อและต่อมน้ำเหลืองของผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ จึงสรุปได้ว่าเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่สามารถหลั่งสารพาราไครน์ออกมาได้และสารนี้ยังทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สภาวะเหนือพันธุกรรมและการเปลี่ยนแปลงในระดับโปรตีนของเซลล์เม็ดเลือดขาวได้ ซึ่งผลที่ได้จากงานวิจัยในครั้งนี้อาจนำไปสู่งานวิจัยอื่นๆ เพื่อใช้ค้นหาตัวบ่งชี้มะเร็งและสามารถใช้ในการคัดกรองผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ในอนาคต


ส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าชมมวยไทยในสนามมวยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล, เดชาธร ตั้งศิริยางค์กูล Jan 2017

ส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าชมมวยไทยในสนามมวยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล, เดชาธร ตั้งศิริยางค์กูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าชมมวยไทยในสนามมวยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และเพื่อเปรียบเทียบลักษณะประชากรศาสตร์ของผู้ตัดสินใจเข้าชมมวยไทยในสนามมวยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เข้าชมมวยไทยในสนามมวยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 402 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม และนำผลที่ได้มาทำการวิเคราะห์ทางสถิติโดยหาร้อยละค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบเพื่อเปรียบเทียบส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าชมมวยไทยในสนามมวยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำแนกตามเพศ โดยการนำมาทดสอบค่า"ที"(t-test) จำแนกตามอายุ ระดับ การศึกษา อาชีพ และรายได้ โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One - way ANOVA) ด้วยการทดสอบค่า "เอฟ"(F-test) ในกรณีที่พบความแตกต่าง ใช้การวิเคราะห์รายคู่ด้วยวิธีของ เชฟเฟ่ (Scheffe Method) และความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าชมมวยไทยในสนามมวยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยใช้วิธีวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. ด้านข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับผู้เข้าชมมวยไทยในสนามมวยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พบว่า ทั้งเพศชายและเพศหญิงจำนวนใกล้เคียงกัน ส่วนใหญ่มีอายุอยู่ในช่วง 36 - 45 ปี มีสถานะแต่งงานแล้ว มีการศึกษาระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่า มีอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน มีรายได้โดยเฉลี่ยต่อเดือนอยู่ในช่วง 15,000 - 30,000 บาท และมีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2. ผู้เข้าชมมวยไทยในสนามมวยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พบว่า ส่วนประสมทางการตลาดมีผลต่อการตัดสินใจเข้าชมมวยไทยในสนามมวยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยรวมอยู่ในระดับมากและในรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมากด้วย 3. ความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประสมทางการตลาดมีผลต่อการตัดสินใจเข้าชมมวยไทยในสนามมวยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มีการตัดสินใจเข้าชมมวยไทยโดยรวมมีทิศทางบวก


ความสัมพันธ์ระหว่างการเสริมสร้างพลังอำนาจด้านโครงสร้าง และการเสริมสร้างพลังอำนาจด้านจิตใจกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ การกีฬาแห่งประเทศไทย, ไอรดา จันทร์อารักษ์ Jan 2017

ความสัมพันธ์ระหว่างการเสริมสร้างพลังอำนาจด้านโครงสร้าง และการเสริมสร้างพลังอำนาจด้านจิตใจกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ การกีฬาแห่งประเทศไทย, ไอรดา จันทร์อารักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ การกีฬาแห่งประเทศไทย และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเสริมสร้างพลังอำนาจด้านโครงสร้าง การเสริมสร้างพลังอำนาจด้านจิตใจ กับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ การกีฬาแห่งประเทศไทย และหาความสัมพันธ์พหุคูณของการเสริมสร้างพลังอำนาจด้านโครงสร้าง และการเสริมสร้างพลังอำนาจด้านจิตใจ กับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ การกีฬาแห่งประเทศไทย ประชากรในการศึกษาเป็นพนักงานระดับปฏิบัติการ การกีฬาแห่งประเทศไทย จำนวน 316 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม จากนั้นนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ค่าทางสถิติโดยหา จำนวนร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และใช้การทดสอบการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า 1. พนักงานระดับปฏิบัติการ การกีฬาแห่งประเทศไทยมีระดับการรับรู้ต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับสูง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.07 2. การเสริมสร้างพลังอำนาจด้านโครงสร้าง การเสริมสร้างพลังอำนาจด้านจิตใจ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r= .485 และ .503 ตามลำดับ) 3. การเสริมสร้างพลังอำนาจด้านโครงสร้าง การเสริมสร้างพลังอำนาจด้านจิตใจ มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยเมื่อแสดงค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยในแบบคะแนนมาตรฐาน (Beta Coefficients) พบว่า การเสริมสร้างพลังอำนาจด้านโครงสร้าง และการเสริมสร้างพลังอำนาจด้านจิตใจ มีอิทธิพลทางบวกกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ ของการกีฬาแห่งประเทศไทย มีค่าเท่ากับ β = 0.241, 0.319 ตามลำดับ สรุปผลการวิจัย การเสริมสร้างพลังอำนาจด้านโครงสร้าง และการเสริมสร้างพลังอำนาจด้านจิตใจมีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน อีกทั้งพนักงานสามารถรับรู้ถึงการปฏิบัติงานของตนเองได้ในระดับสูง


ส่วนประสมทางการตลาด 7ps ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพบ่อน้ำพุร้อนรักษะวาริน จังหวัดระนอง, จิตพิสุทธิ์ หงษ์ขจร Jan 2017

ส่วนประสมทางการตลาด 7ps ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพบ่อน้ำพุร้อนรักษะวาริน จังหวัดระนอง, จิตพิสุทธิ์ หงษ์ขจร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาส่วนประสมทางการตลาด 7Ps ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ บ่อน้ำพุร้อนรักษะวาริน จังหวัดระนอง ผู้วิจัยเลือกศึกษา 1. ส่วนประสมทางการตลาด 7Ps ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ บ่อน้ำพุร้อนรักษะวาริน จังหวัดระนอง 2. เปรียบเทียบลักษณะประชากรศาสตร์ด้านเพศ อายุ อาชีพ และรายได้ ของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ บ่อน้ำพุร้อนรักษะวาริน จังหวัดระนอง โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยทั้งเพศชายและเพศหญิงที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป ที่เดินทางมาท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ บ่อน้ำพุร้อนรักษะวาริน จังหวัดระนอง จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีค่า IOC เท่ากับ 0.82 และมีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟา เท่ากับ 0.96 นำข้อมูลมาวิเคราะห์หาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การวิเคราะห์เพื่อการค่าถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Linear Regression) เพื่อหาระดับความแตกต่างของการตัดสินใจ ผลการวิจัย พบว่านักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ บ่อน้ำพุร้อนรักษะวาริน จังหวัดระนองมีความคิดเห็นเกี่ยวกับส่วนประสมทางการตลาด 7Ps ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ บ่อน้ำพุร้อนรักษะวาริน จังหวัดระนอง โดยรวมอยู่ในระดับมาก และนักท่องเที่ยวชาวไทยมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ บ่อน้ำพุร้อนรักษะวาริน จังหวัดระนองโดยรวมอยู่ในระดับมาก ทั้งนี้นักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีเพศ อายุ อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ที่ต่างกัน ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ บ่อน้ำพุร้อนรักษะวาริน จังหวัดระนองไม่แตกต่างกัน เมื่อวิเคราะห์ส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ บ่อน้ำพุร้อนรักษะวาริน จังหวัดระนอง ส่วนประสมทางการตลาดด้านผลิตภัณฑ์ ด้านสถานที่ ด้านส่งเสริมการตลาด และด้านกระบวนการให้บริการ มีผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ บ่อน้ำพุร้อนรักษะวาริน จังหวัดระนองมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05