Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Food Science Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

2021

Articles 1 - 14 of 14

Full-Text Articles in Food Science

Effect Of Drying Process On Functional Properties Of Chicken Breast Powder And Application In High Protein Pancake, Kiatkhajorn Thassanasuttiwong Jan 2021

Effect Of Drying Process On Functional Properties Of Chicken Breast Powder And Application In High Protein Pancake, Kiatkhajorn Thassanasuttiwong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Drying is one of food preservative methods. However, several drying methods are applied using different drying conditions and techniques that could affect the quality and functional properties of dried products. Chicken breast powder is an upcoming alternative high protein source to replace the consumption of whey protein powder, especially Asian people who are lactose intolerant. Therefore, this presentation aimed to prepare and compare three types of dried chicken breast powder produced from different drying methods. Physical properties of low lactose and protein rich pancakes using chicken breast powder were then determined. There are three drying methods all operated at 65 …


กระบวนการกำจัดสารพิษไซยาไนด์ในแป้งมันสำปะหลังชนิดขมโม่แห้งด้วยพลาสมาที่ไม่ใช้ความร้อนที่ความดันบรรยากาศ, พิมภัค ทวีวงษ์ Jan 2021

กระบวนการกำจัดสารพิษไซยาไนด์ในแป้งมันสำปะหลังชนิดขมโม่แห้งด้วยพลาสมาที่ไม่ใช้ความร้อนที่ความดันบรรยากาศ, พิมภัค ทวีวงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การผลิตฟลาวร์มันสำปะหลังสามารถทำได้โดยใช้การโม่แห้ง ซึ่งสามารถช่วยลดต้นทุนเรื่องน้ำในกระบวนการผลิตและการบำบัดน้ำเสียได้ แต่มีข้อจำกัดคือไม่สามารถกำจัดไซยาไนด์ซึ่งเป็นสารพิษในมันสำปะหลังให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยต่อการบริโภคได้ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุณหภูมิที่ใช้ในการอบแห้งมันสำปะหลัง และศึกษาสภาวะของพลาสมาที่ไม่ใช้ความร้อนที่ความดันบรรยากาศต่อการลดลงของไซยาไนด์ในฟลาวร์มันสำปะหลัง โดยศึกษาอุณหภูมิที่ใช้ในการอบแห้งมันสำปะหลัง ได้แก่ 60, 70 และ 80°C พบว่าอุณหภูมิอบแห้งในช่วง 60 ถึง 80°C มีอัตราการลดลงของไซยาไนด์และปริมาณไซยาไนด์ที่คงเหลือในฟลาวร์มันสำปะหลังไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p > 0.05) เมื่อพิจารณาผลทางเคมีกายภาพพบว่าฟลาวร์มันสำปะหลังมีรอยแตกและรูเกิดขึ้นที่ผิวเม็ดสตาร์ช มีลักษณะผลึกแบบ A มีค่าความสามารถในการจับน้ำ กำลังการพองตัว การละลาย อุณหภูมิที่ใช้ในการเกิดเจลาติไนเซชัน ความหนืดสูงสุด และผลต่างระหว่างความหนืดสูงสุดและต่ำสุด (breakdown) สูงขึ้น มีค่าการคืนตัว (setback) และค่าดัชนีความขาวลดลงเมื่อเทียบกับแป้งมันสำปะหลังโม่เปียกหรือสตาร์ช การศึกษาสภาวะของพลาสมาที่ไม่ใช้ความร้อนเพื่อลดปริมาณไซยาไนด์ แปรแรงดันไฟฟ้าที่ใช้ ได้แก่ 5, 10, 15 และ 20 กิโลโวลต์ และเวลาที่ใช้ ได้แก่ 5, 10 และ 15 นาที พบว่าสามารถกำจัดไซยาไนด์ได้สูงสุดที่สภาวะแรงดันไฟฟ้า 20 กิโลโวลต์ เป็นเวลา 10 นาที โดยมีร้อยละการลดลงสูงสุดเท่ากับร้อยละ 40 และเมื่อศึกษาผลของความเข้มข้นไซยาไนด์เริ่มต้นของฟลาวร์มันสำปะหลัง แรงดันไฟฟ้า และเวลาต่อปริมาณไซยาไนด์ในฟลาวร์มันสำปะหลัง พบว่าการลดลงของไซยาไนด์ที่เป็นไปตามปฏิกิริยาอันดับที่หนึ่ง และเมื่อทำการให้พลาสมาโดยเพิ่มจำนวนรอบของการให้พลาสมาที่แรงดันไฟฟ้า 20 กิโลโวลต์ เป็นเวลา 10 นาที พบว่าไซยาไนด์ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (p ≤ 0.05) เมื่อจำนวนรอบเพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตามพลาสมายังไม่สามารถลดปริมาณไซยาไนด์ให้อยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัยต่อการบริโภคได้ พิจารณาผลด้านเคมีกายภาพของฟลาวร์มันสำปะหลังที่ให้พลาสมาพบว่าเกิดรอยแตกและรูมากขึ้นที่ผิวของเม็ดสตาร์ช มีรูปแบบผลึกแบบ A ค่าความสามารถในการจับน้ำไม่เปลี่ยนแปลง กำลังการพองตัวและการละลายมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อุณหภูมิที่ใช้ในการเกิดเจลาติไนเซชันสูงขึ้น ความหนืดสูงสุด ผลต่างระหว่างความหนืดสูงสุดและต่ำสุด และการคืนตัวลดลง และมีดัชนีความขาวไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับฟลาวร์มันสำปะหลังปกติ


การสกัดเพกทินจากเปลือกโกโก้และการประยุกต์เป็นสารเคลือบบริโภคได้, รวิษฎา ผลสิน Jan 2021

การสกัดเพกทินจากเปลือกโกโก้และการประยุกต์เป็นสารเคลือบบริโภคได้, รวิษฎา ผลสิน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีสกัดต่อปริมาณและคุณภาพของเพกทินจากเปลือกโกโก้ ศึกษาสมบัติการเป็นพรีไบโอติก (prebiotic activity) ของเพกทิน และการประยุกต์ใช้เป็นสารเคลือบบริโภคได้ เพื่อยืดอายุการเก็บของมะเขือเทศ โดยศึกษาวิธีสกัด 3 วิธี ดังนี้ วิธีทางเอนไซม์ (แปร 3 ปัจจัย ได้แก่ ปริมาณเอนไซม์เพกทิเนส 0.5 และ 1.0% อุณหภูมิในการบ่ม 40 และ 60 องศาเซลเซียส และเวลาในการบ่ม 120 และ 240 นาที) วิธีทางเคมี (แปร 2 ปัจจัย ได้แก่ ความเป็นกรดเบสของสารละลาย pH 4.0 และ pH 10.0 และอุณหภูมิในการสกัด 60 70 และ 80 องศาเซลเซียส) และวิธีคลื่นอัลตราซาวด์ช่วยสกัด (แปรระยะเวลาโซนิเคชัน 20 30 และ 40 นาที) จากการทดลองพบว่าภาวะที่สามารถสกัดปริมาณเพกทินได้มากที่สุดจากวิธีทางเคมี วิธีทางเอนไซม์ และวิธีคลื่นอัลตราซาวด์ช่วยสกัด คือ การสกัดด้วยปริมาณเอนไซม์ 1.0% v/v อุณหภูมิในการบ่ม 60 องศาเซลเซียส และเวลาในการบ่ม 240 นาที (ร้อยละ 24.38±0.15) การสกัดด้วยสารละลาย pH 4.0 และอุณหภูมิในการสกัด 70 องศาเซลเซียส (ร้อยละ 7.78±0.41) และการสกัดด้วยระยะเวลาโซนิเคชัน 20 นาที (ร้อยละ 14.87±0.19) ตามลำดับ โดยเพกทินที่สกัดจากเปลือกโกโก้ทุกภาวะมีระดับเอสเทอริฟิเคชันมากกว่า 50% ดังนั้นจึงจัดเป็น high methoxyl (HM) pectin จากนั้นศึกษาสมบัติการเป็นพรีไบโอติกและความหนืดของเพกทินที่ได้จากภาวะที่สามารถสกัดเพกทินได้มากที่สุดของแต่ละวิธีการสกัด และพบว่าเพกทินที่สกัดด้วยวิธีคลื่นอัลตราซาวด์ช่วยสกัดมีสมบัติการเป็นพรีไบโอติกสูงที่สุด ในขณะที่การเพิ่มอัตราเฉือนส่งผลให้ความหนืดของเพกทินที่สกัดด้วยวิธีทางเอนไซม์มีค่าลดลงมากที่สุด รองลงมา คือ วิธีคลื่นอัลตราซาวด์ช่วยสกัดและวิธีทางเคมี ตามลำดับ จากการใช้เพกทินที่สกัดด้วยวิธีคลื่นอัลตราซาวด์ช่วยสกัดมาประยุกต์ใช้เป็นสารเคลือบบริโภคได้กับมะเขือเทศ และติดตามการเปลี่ยนแปลงของมะเขือเทศที่เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 4 …


การรักษาเสถียรภาพของผงสารสกัดบีตาไซยานินจากเปลือกแก้วมังกรพันธุ์เนื้อแดง Hylocereus Polyrhizus โดยใช้ไฮโดรคอลลอยด์และการประยุกต์ใช้ในเครื่องดื่มจำลอง, วิถวานี เทพปรียากุลกาล Jan 2021

การรักษาเสถียรภาพของผงสารสกัดบีตาไซยานินจากเปลือกแก้วมังกรพันธุ์เนื้อแดง Hylocereus Polyrhizus โดยใช้ไฮโดรคอลลอยด์และการประยุกต์ใช้ในเครื่องดื่มจำลอง, วิถวานี เทพปรียากุลกาล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบวิธีการสกัดที่เหมาะสมต่อปริมาณสารบีตาไซยานินจากเปลือกแก้วมังกรพันธุ์เนื้อแดง (Hylocereus polyrhizus) และศึกษาชนิดและความเข้มข้นของสารไฮโดรคอลลอยด์ในการทำแห้งสารสกัดบีตาไซยานินด้วยเทคนิค Freeze drying รวมถึงการประยุกต์ใช้ผงสารสกัดบีตาไซยานินลงในเครื่องดื่มจำลองระหว่างการเก็บรักษา โดยเปรียบเทียบวิธีการสกัดสารบีตาไซยานิน 4 วิธี ได้แก่ วิธีดั้งเดิมโดยแช่ในตัวทำละลาย (CE) วิธีใช้คลื่นอัลตราโซนิคแบบจุ่มโพรบและแบบอ่างแช่ (Ul-P, Ul-B) และวิธีแบบผสมระหว่างวิธีดั้งเดิมกับวิธีอัลตราโซนิคแบบจุ่มโพรบ (CE-P) พบว่าวิธีการสกัด CE-P ได้ปริมาณสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพมากที่สุด (p≤0.05) ทั้งสารบีตาไซยานิน สารประกอบฟีนอลิก และสารฟลาโวนอยด์ (151.80 ± 1.09, 34.27 ± 0.80 และ 4.42 ± 0.18 mg/100ml ตามลำดับ) ชนิดสารบีตาไซยานินในสารสกัดประกอบไปด้วย Phyllocactin มากที่สุด รองลงมาได้แก่ Betanin และ Butyrylbetanin ตามลำดับ จากนั้นนำสารสกัดด้วยวิธี CE-P ที่ได้ไปทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง โดยศึกษาผลการใช้ไฮโดรคอลลอยด์ 5 ชนิด ได้แก่ มอลโทเดกซ์ตริน (MD 20% w/v) กัวร์กัม (GG 0.5% w/v) แซนแทนกัม (XG 0.5% w/v) ส่วนผสมของมอลโทเดกซ์ตรินกับกัวร์กัม (MD:GG 10:1 w/v) และส่วนผสมของมอลโทเดกซ์ตรินกับแซนแทนกัม (MD:XG 10:0.1 w/v) โดยเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 25 ◦C เป็นเวลา 8 สัปดาห์ การใช้ไฮโดรคอลลอยด์สามารถช่วยเพิ่มร้อยละผลผลิตที่ได้และช่วยลดค่ากิจกรรมของน้ำได้ดีกว่าเมื่อเทียบกับผงสารสกัดบีตาไซยานินที่ไม่ได้ใช้ไฮโดรคอลลอยด์ (ตัวควบคุม) จึงทำให้ผงสารสกัดบีตาไซยานินมีความเสถียรมากกว่า เนื่องจากค่ากิจกรรมของน้ำเป็นปัจจัยสำคัญต่อการสลายตัวของสารบีตาไซยานิน จากการวิเคราะห์ค่าคงที่ของอัตราการสลายตัว (k) พบว่าการใช้ GG และ MD:GG สามารถช่วยรักษาเสถียรภาพของสารบีตาไซยานินได้ดีในระหว่างการเก็บรักษา โดยมีค่าเท่ากับ 0.020 ± 0.00 และ 0.041 ± 0.00 ตามลำดับ ซึ่งค่า k …


เอนแคปซูเลชันสารสกัดรกสุกรที่มีฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน, พรภัสสร จุฬาลักษณานุกูล Jan 2021

เอนแคปซูเลชันสารสกัดรกสุกรที่มีฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน, พรภัสสร จุฬาลักษณานุกูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลของกระบวนการสกัดรกสุกร (porcine placenta) โดยการสกัดไขมันออกด้วยสารละลาย n-hexane ต่อสมบัติของโปรตีนและฤทธิ์การต้านออกซิเดชันของสารสกัด ศึกษาภาวะการผลิตไมโครแคปซูลจากสารสกัดรกสุกรต่อสมบัติของโปรตีน สมบัติทางกายภาพ เคมี และฤทธิ์การต้านออกซิเดชันของผงไมโครแคปซูล โดยแปรภาวะการใช้อุณหภูมิขาเข้า (165 และ 175 องศาเซลเซียส) ชนิดของสารห่อหุ้ม (มอลโตเดกซ์ตรินต้านทานการย่อยและกัมอารบิก) และความเข้มข้นของสารห่อหุ้ม (40% และ 45% w/v) และศึกษาผลของภาวะการเก็บรักษาที่แตกต่างกัน โดยใช้บรรจุภัณฑ์ 2 ชนิด (ถุงอลูมิเนียมฟอยล์และถุงพลาสติก HDPE) และภาวะการบรรจุ 2 ภาวะ (ภายใต้ภาวะสุญญากาศและภายใต้ภาวะบรรยากาศ) ต่อคุณภาพของผงไมโครแคปซูลสารสกัดรกสุกรระหว่างการเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้อง เป็นเวลา 90 วัน โดยผลการทดลองพบว่า การสกัดแบบนำไขมันออกด้วยสารละลาย n-hexane ส่งผลทำให้ความเข้มข้นโปรตีนลดลง จาก 1.60 เป็น 1.22 mg/ml และฤทธิ์การต้านออกซิเดชันด้วยวิธี DPPH และ FRAP มีค่าลดลง จาก 3.53±0.11 mM TE/g db. และ 5.26±0.16 mM FeSO4 /g db. เป็น 2.61±0.08 mM TE/g db. และ 4.80±0.27 mM FeSO4 /g db ตามลำดับ เมื่อวิเคราะห์รูปแบบของโปรตีนของสารสกัดทั้งสองชนิดพบแถบของโปรตีนที่มีขนาดโมเลกุลใหญ่มากกว่า 200 kDa และขนาดเล็กต่ำกว่า 10 kDa โดยพบว่าโปรตีนส่วนใหญ่มีขนาดอยู่ในช่วง 25 ถึง 100 kDa อย่างชัดเจน แสดงให้เห็นว่าการใช้สารละลาย n-hexane ในการสกัดไขมันออกจากรกสุกรไม่ส่งผลต่อการเปลี่ยนรูปแบบมวลโมเลกุลของโปรตีน และเลือกสารสกัดรกสุกรที่ผ่านการสกัดไขมันออกด้วย n-hexane ไปใช้ในขั้นตอนต่อไป และจากผลการศึกษาการเอนแคปซูเลชันสารสกัดรกสุกรด้วยเทคนิคการทำแห้งแบบพ่นฝอยพบว่าทุกปัจจัยในภาวะการผลิตผงไมโครแคปซูลสารสกัดรกสุกรส่งผลต่อสมบัติของโปรตีน สมบัติทางกายภาพ เคมี และฤทธิ์การต้านออกซิเดชันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤0.05) โดยผงไมโครแคปซูลสารสกัดรกสุกรมีความเข้มข้นโปรตีนในช่วง 0.66±0.02 ถึง 3.93±0.23 …


Nutritional Value And Functional Properties Of Moringa Oleifera Leaf Protein Concentrate, Annelise Ida Halafihi Jan 2021

Nutritional Value And Functional Properties Of Moringa Oleifera Leaf Protein Concentrate, Annelise Ida Halafihi

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Moringa oleifera leaf is considered an inexpensive source of protein. As leaf protein concentrate (LPC), protein content offered is higher and easier for use than in leaf. Therefore, this study aimed to prepare moringa leaf protein concentrate (MoLPC) from dried moringa leaves, compare their physico-chemical and functional properties and determine enhanced nutritional value of pancakes fortified with MoLPC compared to unfortified pancake. Using two varieties (Thai (TMo) and Indian (IMo) moringa from Nan area), LPC from each variety was prepared by alkali solubilization (pH 9) followed by acid-precipitation at pH 4.5. Effects of heat on the protein precipitation was studied …


Biological Properties Of Marigold Flower Extract And Its Microcapsule, Nilar Oo Jan 2021

Biological Properties Of Marigold Flower Extract And Its Microcapsule, Nilar Oo

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research focuses on the optimization of ultrasound-assisted extraction (UAE) conditions of marigold flower extract (MFE) using response surface methodology (RSM) and to produce microcapsule using spray drying with different wall materials and ratios. The extraction factors including temperature (30-50 ℃), time (5 -15 min), and ethanol concentration (60 - 100% v/v) were investigated. The optimum condition was investigated according to the maximum concentration of total phenolic, total flavonoid, total carotenoid, and antioxidant activity determined by 2,2-diphenyl-1-picrylhydrazyl (DPPH) free radical and ferric reducing antioxidant power (FRAP) assay. The optimized extraction conditions were temperature (40 ℃), time (15 min), and ethanol …


Solid-State Modification Of Tapioca Starch Using Non-Thermal Plasma, Natchanon Srangsomjit Jan 2021

Solid-State Modification Of Tapioca Starch Using Non-Thermal Plasma, Natchanon Srangsomjit

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objective of this research was to investigate the physical, chemical, and functional properties of tapioca starch subjected to solid-state modification by using nonthermal dielectric barrier discharge (DBD) plasma treatment using different gases (helium and argon), voltage levels (10 kV and 15 kV), and treatment times (5, 10, and 15 minutes). After treatment, an increase in L* value and a marginal decrease in pH value of all treated samples were noted. Scanning electron micrographs showed dented starch granules after the plasma treatment but showed birefringence. From XRD measurement, all samples showed a characteristic C-type diffraction pattern but a reduction in …


การคัดแยกสายพันธุ์จุลินทรีย์และกระบวนการผลิตเซลลูโลสจากแบคทีเรียที่อุดมด้วยจุลินทรีย์ โพรไบโอติกโดยใช้น้ำสับปะรด, ชญาภรณ์ ตันติธรรม Jan 2021

การคัดแยกสายพันธุ์จุลินทรีย์และกระบวนการผลิตเซลลูโลสจากแบคทีเรียที่อุดมด้วยจุลินทรีย์ โพรไบโอติกโดยใช้น้ำสับปะรด, ชญาภรณ์ ตันติธรรม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาแนวทางการใช้สับปะรดตกเกรดผลิตเซลลูโลสจากแบคทีเรียที่อุดมด้วยจุลินทรีย์โพรไบโอติก เพื่อเป็นเครื่องดื่มฟังก์ชั่น งานวิจัยประกอบด้วย (i) ประเมินความเป็นไปได้ในการใช้น้ำสับปะรดเต็มส่วน (pH 4.0) เพื่อผลิต Bacterial cellulose (BC) โดยเติมเพียงแอมโมเนียมไดไฮโดรเจนฟอสเฟต (0.6 % (w/v)) สำหรับชักนำการทำงานของเอนไซม์ cellulose synthase โดยทดลองหมักด้วยแบคทีเรียมาตรฐาน 4 สายพันธุ์ ได้แก่ Gluconacetobacter xylinus TISTR 1064 (ATCC 23767), Komagataeibacter xylinus TISTR 086, K. xylinus TISTR 428 และ K. xylinus TISTR 1061 พบว่า แต่ละสายพันธุ์ผลิต BC ในน้ำสับปะรดได้แตกต่างกัน โดย TISTR 428 ผลิต BC ได้มากที่สุด (105.10±0.08 g/L) (p<0.05) จึงเลือกมาประเมินสภาวะการหมัก โดยแปรพื้นที่ผิวสัมผัสอากาศ และปริมาตรของน้ำสับปะรด พบว่า ค่า BC yield (y) มีความสัมพันธ์เชิงเส้นตรงกับอัตราส่วนระหว่างพื้นที่ผิวสัมผัสอากาศต่อปริมาตรน้ำหมัก (x) ดังสมการ y =19.422x + 25.936 (R2 = 0.9346) และพบว่า เมื่ออัตราส่วนระหว่างพื้นที่ผิวสัมผัสอากาศต่อปริมาตรของน้ำหมักเพิ่มขึ้น Hardness และ Cohesiveness มีค่าลดลง (p<0.05) ในขณะที่ Springiness, Gumminess และ Chewiness มีค่าเพิ่มขึ้น (p<0.05) (ii) คัดแยกแบคทีเรียผลิต BC เพื่อพัฒนาเป็นสายพันธุ์จำเพาะในการหมักน้ำสับปะรด โดยคัดแยกจากน้ำหมักสมุนไพรที่มีส่วนผสมของน้ำและ/หรือเนื้อสับปะรดที่มีอายุการหมัก 8 ปี 5 ปี และ 10 เดือน พบว่า สามารถคัดแยกแบคทีเรียที่มีสมบัติสร้างสารคล้าย BC ในน้ำสับปะรดทั้งหมด 4 ไอโซเลท จากน้ำหมักอายุ 10 เดือน เมื่อระบุชนิดด้วยการวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์ที่ตำแหน่ง 16s rDNA/RNA พบว่า ไอโซเลท K1, K4, K8 และ K3 ที่สร้างสารคล้าย BC คือ Kodamaea ohmeri (98.33%) Acinetobacter sp. (73.97%) Enterobacter cloacae (82.31%) และ G. xylinus (80.16%) ตามลำดับ เลือก K3 ที่มีสมบัติทางจีโนไทป์ที่ตรงกับสายพันธุ์ทางการค้า และเมื่อนำมาศึกษาสมบัติการสร้าง BC ในน้ำสับปะรด พบว่า สามารถสร้าง BC ได้มากกว่าและเร็วกว่าสายพันธุ์ TISTR ถึง 2 เท่า จึงนำไอโซเลท K3 มาพัฒนาเป็นสายพันธุ์จำเพาะในการผลิต BC ในน้ำสับปะรด โดยเพาะเลี้ยงภายใต้สภาวะที่ประเมินได้จาก (i) และแปรปริมาณแหล่งคาร์บอน (ซูโครส) ปริมาณแหล่งไนโตรเจน (เพพโทน) และปริมาณสารชักนำ (โซเดียมไดไฮโดรเจนฟอสเฟต) โดยใช้แผนการทดลองแบบ 3x2x2 แฟคทอเรียล พบว่า สภาวะที่มีปริมาณซูโครส เพพโทน และโซเดียมไดไฮโดรเจนฟอสเฟตที่ความเข้มข้น 5, 0.5 และ 0 % (w/v) ตามลำดับ มีปริมาณ BC ภายหลังการหมักสูงที่สุด (188.27±0.50 g/L) BC ที่ได้มีปริมาณความชื้นและค่า Aw สูงกว่าสภาวะอื่น (p<0.05) และเมื่อวิเคราะห์เนื้อสัมผัส (Texture profile analysis) พบว่า มีค่า Hardness ต่ำที่สุด และค่า Springiness สูงที่สุด น้ำสับปะรดหลังหมักประกอบด้วย กรดอินทรีย์หลักมากที่สุด คือ กรดซิตริก กรดมาลิก และกรดแอซิติก ตามลำดับ น้ำตาลประกอบด้วยฟรักโทสมากที่สุด รองลงมา คือ กลูโคส และซูโครส ตามลำดับ อีกทั้งมีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกสูงที่สุด (p<0.05) และมีฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่นสูงที่สุด (p<0.05) (iii) นำสภาวะที่ประเมินได้จาก (ii) มาใช้ในการผลิต BC ที่อุดมด้วยโพรไบโอติก โดยการเพาะเลี้ยง K3 ร่วมกับจุลินทรีย์ Lactobacillus plantarum FTCU10621 พบว่า BC ที่ได้มีปริมาณน้อยลง (26.40±0.80 g/L) และเป็น young BC และตรวจวัด L. plantarum FTCU10621 ในส่วน BC พบจำนวน 8.42±0.52 log CFU/g BC และในน้ำสับปะรดจำนวน 8.33±0.03 log CFU/ml ภาพถ่ายทางสัณฐานวิทยาของผิวหน้า BC พบเซลล์โพรไบโอติกถูกตรึงอยู่ใน BC คิดเป็น 7.08 log cell/g BC เมื่อวิเคราะห์โครงสร้างทางเคมีของ BC ด้วยเทคนิค FTIR พบว่า สเปกตรัม IR ของหมู่ไฮดรอกซิลมี % transmittance ต่ำ ส่งผลให้ BC มีลักษณะอ่อนนุ่ม และน้ำสับปะรดหลังหมักประกอบด้วยกรดอินทรีย์หลักมากที่สุด คือ กรดแลคติก กรดซิตริก กรดซัคซินิค และกรดมาลิก ตามลำดับ น้ำตาลประกอบด้วยฟรักโทสมากที่สุด รองลงมา คือ กลูโคส และซูโครส ตามลำดับ


การผลิตเซลล์ยีสต์จากอาหารเพาะเลี้ยงจากพืชเพื่อการผลิตโพรไบโอติกอัดเม็ดแบบฟองฟู่, ณัฏฐนันท์ บูรณวณิชวงศ์ Jan 2021

การผลิตเซลล์ยีสต์จากอาหารเพาะเลี้ยงจากพืชเพื่อการผลิตโพรไบโอติกอัดเม็ดแบบฟองฟู่, ณัฏฐนันท์ บูรณวณิชวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ยีสต์โพรไบโอติกแบบเม็ดฟู่ที่ใช้เซลล์ยีสต์ Saccharomyces cerevisiae via. Boulardii (S. Boulardii) จากคัลเจอร์น้ำผัก-ผลไม้ ประกอบด้วยขั้นตอน (i) ประเมินสภาวะน้ำหมักสำหรับเพาะเลี้ยงโดยใช้น้ำองุ่นที่มีค่าของแข็งที่ละลายได้ (TSS) 12 °brix เป็น based medium แปรค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ในช่วง 3.0-5.0 เพาะเลี้ยงแบบเขย่า ที่ 150 rpm อุณหภูมิ 30 °C เป็นเวลา 48 ชั่วโมง (ii) ศึกษาสมบัติการเจริญของ S. Boulardii ในน้ำผัก-ผลไม้ 3 ชนิด ได้แก่ น้ำองุ่น น้ำใบบัวบก และน้ำกระเจี๊ยบ (ปรับ TSS 12 °brix ที่ pH 4.0) เพาะเลี้ยงที่สภาวะเดียวกับ (i) ติดตามการเจริญของยีสต์และสมบัติของน้ำหมัก ที่ 0 8 24 32 และ 48 ชั่วโมง พบว่ายีสต์เจริญในน้ำกระเจี๊ยบและน้ำองุ่นไม่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (11.58±0.21 log CFU/mL และ 11.44±0.64 log CFU/mL ตามลำดับ) โดยมีอัตราการเจริญจำเพาะสูงสุด (µ Max) ที่ 0.018 และ 0.017 log µ/h ตามลำดับ น้ำใบบัวบก 10.59±0.16 log CFU/mL (µMax= 0.016 log µ/h) และอาหารเลี้ยงเชื้อมาตรฐาน YMB ซึ่ง 10.11±0.06 log CFU/mL (µMax= 0.010 log µ/h) การเปลี่ยนแปลงสมบัติของน้ำหมักมีความสอดคล้องกับการเจริญของยีสต์ และเมื่อพิจารณาปริมาณยีสต์ที่มากและคุณสมบัติของน้ำหมักที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงสุด จึงเลือกใช้น้ำกระเจี๊ยบในการศึกษาขั้นตอนต่อไป …


การยืดอายุการเก็บของกะทิด้วยนาโนอิมัลชันน้ำมันหอมระเหยวานิลลาและกระบวนการพลาสมาที่ไม่ใช้ความร้อน, ชนิกานต์ ชูสิทธิ์ Jan 2021

การยืดอายุการเก็บของกะทิด้วยนาโนอิมัลชันน้ำมันหอมระเหยวานิลลาและกระบวนการพลาสมาที่ไม่ใช้ความร้อน, ชนิกานต์ ชูสิทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของนาโนอิมัลชันน้ำมันหอมระเหยวานิลลา (NE) และพลาสมาที่ไม่ใช้ความร้อน (PT) ต่อคุณภาพและอายุการเก็บของกะทิ เริ่มจากเตรียม NE โดยแปรอัตราส่วนของน้ำมันหอมระเหยวานิลลา (EO) และสารให้ความคงตัว (Tween 80) เป็น 3 ระดับ คือ 1:1 (NE1:1), 4:1 (NE4:1) และ 5:1(NE5:1) โดยวัดขนาดของอนุภาค (particle size), การกระจายตัวของอนุภาค (polydispersity index; PDI), สมบัติการต้านออกซิเดชัน ด้วยวิธี Ferric reducing antioxidant power (FRAP) และวิธี 2,2-diphenyl-1-picrylhydrazyl (DPPH) และสมบัติการยับยั้งจุลินทรีย์ ด้วยการหาความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ (Minimal inhibitory concentration: MIC) และความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถฆ่าจุลินทรีย์ (Minimal bactericidal concentration: MBC) โดยทดสอบกับจุลินทรีย์ 4 สายพันธุ์ ได้แก่ จุลินทรีย์แกรมบวก (S.aureus และ B. licheniformis) และจุลินทรีย์แกรมลบ (E.coli และ S. typhimurium) พบว่า NE1:1 มีขนาดอนุภาคเล็กกว่าและการกระจายตัวของอนุภาคดีกว่า NE4:1 และ NE5:1 ในระหว่างการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 30 ºC เป็นเวลา 30 วัน และพบว่า NE1:1 มีค่าการต้านออกซิเดชัน FRAP สูงกว่าสูตรอื่น แต่ค่า DPPH ต่ำที่สุด อาจเนื่องมาจากการเกิดปฏิกิริยาย้อนกลับของอนุมูล DPPH และสารฟีนอลิกบางชนิดที่อยู่ในวานิลลา และมีค่า MIC และ MBC ต่ำกว่า NE4:1 และ NE5:1 ดังนั้น NE1:1 จึงเป็นสูตรที่เหมาะสมสำหรับ NE การทดลองขั้นที่สองเป็นการหาปริมาณที่เหมาะสมของ …


องค์ประกอบของกรดไขมันและการแสดงออกของยีน Delta-6 Desaturase (Ard6d) ที่เกี่ยวข้องกับวิถีการสังเคราะห์กรดไขมันโอเมกา-3 ในโคพีพอด Apocyclops Royi, ศุภกานต์ สังข์แก้ว Jan 2021

องค์ประกอบของกรดไขมันและการแสดงออกของยีน Delta-6 Desaturase (Ard6d) ที่เกี่ยวข้องกับวิถีการสังเคราะห์กรดไขมันโอเมกา-3 ในโคพีพอด Apocyclops Royi, ศุภกานต์ สังข์แก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โคพีพอดจัดอยู่ในกลุ่มของครัสเตเชียนขนาดเล็กที่มีบทบาทสำคัญในการเป็นอาหารมีชีวิตในการอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน โคพีพอดเป็นแหล่งของกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (polyunsaturated fatty acid, PUFA) ซึ่งมีความสำคัญต่อพัฒนาการของสัตว์น้ำวัยอ่อน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของกรดไขมันในแต่ละระยะพัฒนาการของโคพีพอด Apocyclops royi สายพันธุ์ไทย (A. royi-TH) โดยศึกษาในโคพีพอดระยะนอเพลียส (NP) โคพีโพดิด (CD) และตัวเต็มวัย (AD) ที่เลี้ยงด้วยสาหร่ายสีเขียว Tetraselmis sp. ซึ่งเป็นสาหร่ายที่ไม่พบกรดไขมัน DHA จากการวิเคราะห์ด้วยแก๊สโครมาโตรกราฟี-แมสสเปกโตรเมทรี (GC/MS) พบว่าโคพีพอด A. royi-TH มีกรดไขมัน PUFA, EPA และ DHA ในปริมาณสูงกว่าอาหารสัตว์น้ำชนิดอื่น ๆ โดยพบกรดไขมัน PUFA สูงในโคพีพอดระยะ CD (38.53%) และ AD (41.85%) ในขณะที่พบกรดไขมัน PUFA ปริมาณต่ำที่สุดในโคพีพอดระยะ NP (22.50%) นอกจากนี้พบว่าโคพีพอดทุกระยะพัฒนาการมีกรดไขมัน LC-PUFA ปริมาณสูง (5.27-10.36%) โดยพบกรดไขมัน DHA มากที่สุดในระยะ AD (4.85%) รองลงมาระยะ CD (3.54%) และระยะ NP (2.78%) จากการเปรียบเทียบองค์ประกอบของกรดไขมันในโคพีพอดที่เลี้ยงด้วยสาหร่ายTetraselmis sp. ที่มีกรดไขมัน EPA ต่ำ (ArTet) และ Chaetoceros sp. ที่มีกรดไขมัน EPA สูง(ArChaeto) พบว่าโคพีพอด ArChaeto มีกรดไขมัน DHA ปริมาณสูงกว่าโคพีพอด ArTet จึงสามารถคาดการณ์ได้ว่าองค์ประกอบของกรดไขมันในสาหร่ายที่แตกต่างกันส่งผลต่อปริมาณกรดไขมัน DHA ที่พบในโคพีพอด จากนั้นได้ศึกษาการแสดงออกของยีนดีแซททูเรส ArD6D ที่มีความสำคัญต่อการสังเคราะห์กรดไขมัน DHA พบว่าระดับการแสดงออกของยีน ArD6D เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในโคพีพอดระยะ AD (p<0.05) สอดคล้องกับปริมาณกรดไขมัน DHA ที่เพิ่มขึ้นในโคพีพอดระยะ AD ซึ่งแสดงให้เห็นว่ายีน ArD6D อาจมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์กรดไขมัน DHA ในแต่ละระยะพัฒนาการของโคพีพอด และเมื่อศึกษาการแสดงออกของยีน ArD6D ในโคพีพอด ArTet และ ArChaeto พบว่าระดับการแสดงออกของยีน ArD6D ในโคพีพอด ArChaeto มีการแสดงออกที่สูงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับโคพีพอด ArTet (p<0.05) ซึ่งสอดคล้องกับปริมาณกรดไขมัน DHA ที่เพิ่มขึ้นในโคพีพอด ArChaeto ผลจากการวิจัยบ่งชี้ว่าโคพีพอด A. royi-TH ทั้ง 3 ระยะพัฒนาการสามารถสังเคราะห์กรดไขมัน DHA ผ่านวิถีการสังเคราะห์กรดไขมัน LC-PUFA และกรดไขมันในสาหร่ายส่งผลต่อปริมาณ DHA ของโคพีพอด โดยข้อมูลจากงานวิจัยนี้มีประโยชน์ต่อการเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการของโคพีพอด A. royi-TH เพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์น้ำวัยอ่อนในอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของไทย


Effects Of Ferulic Acid And Uv Curing On Properties Of Soy Protein Film, Md Shakil Jan 2021

Effects Of Ferulic Acid And Uv Curing On Properties Of Soy Protein Film, Md Shakil

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objective of this study was to explore the effect of UV-C curing on the properties of ferulic acid-added soy protein film. The films were fabricated from soy protein isolate and added with 1.5% ferulic acid. UV-C radiation was applied at four different doses (0.32, 1.56, 4.00, 12.00 J/cm2) to either preformed film or film-forming solution. The mechanical, physicochemical, and morphological properties of the film samples were investigated. Ferulic acid addition and UV-C curing at 0.32 J/cm2 posed a significant effect on film thickness while film density was slightly affected by ferulic acid addition and/or UV-C treatment. UV-C irradiation of …


Preparation Of Encapsulated Konjac Glucomannan-Based Fish Oil And Its Use In High Pressure Processed Goat Milk, Siriwan Suknicom Jan 2021

Preparation Of Encapsulated Konjac Glucomannan-Based Fish Oil And Its Use In High Pressure Processed Goat Milk, Siriwan Suknicom

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study was divided into 3 parts. The objective of first part aims to investigate the effect of konjac glucomannan (KGM) solution (0.02-0.5%, w/w) at different pH (3, 5 and 9) on the stability between 5% fish oil- skim milk with and without casein emulsion. The second part aims to study the effects of konjac glucomannan (KGM) solution (0.02-0.5%, w/w) at different pH (3-10) on the stability of 5%fish oil-milk emulsion. And the last part aims to study the effect of high-pressure (400, 500 and 600 MPa) on the improvement of the stability of 5%fish oil-milk emulsion. The results of …