Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Animal Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Zoology

2021

Chulalongkorn University

Articles 1 - 5 of 5

Full-Text Articles in Animal Sciences

Comparative Pharmacokinetics Of Puerarin In Pure Compound Form And Puerarin In White Kwao Krua Extract In Female Cynomolgus Monkeys, Sureerat Namken Jan 2021

Comparative Pharmacokinetics Of Puerarin In Pure Compound Form And Puerarin In White Kwao Krua Extract In Female Cynomolgus Monkeys, Sureerat Namken

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Pueraria mirifica is an endemic Thai plant that puerarin is a major chemical found in this plant and shows several pharmacological activities in aging diseases. Although the pharmacokinetic data on puerarin have been reported in rodents, it is still inconclusive for the development of puerarin as phytopharmaceutical products for human use. This is because of the differences in anatomical and physiological characteristics between rodents and humans. Therefore, the comparative pharmacokinetics of puerarin in pure compound form (PUE) and puerarin in P. mirifica extract (PME) was conducted in female cynomolgus monkeys. PME at a dose of 826 mg/kg.BW (equivalent to 10 …


รอยสึกบนฟันกรามของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ย่อย Caprinae จากสมัยไพลสโตซีนและปัจจุบันของประเทศไทย, จักรีทิพย์ อิศรางกูร ณ อยุธยา Jan 2021

รอยสึกบนฟันกรามของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ย่อย Caprinae จากสมัยไพลสโตซีนและปัจจุบันของประเทศไทย, จักรีทิพย์ อิศรางกูร ณ อยุธยา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ย่อย Caprinae สามชนิด ได้แก่ เลียงผาใต้ (Capricornis sumatraensis) กวางผาจีน (Naemorhedus griseus) และกวางผาหิมาลัย (Naemorhedus goral) ปรากฎหลักฐานการกระจายตัวในประเทศไทยสมัยไพลสโตซีน อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันกวางผาหิมาลัยได้สูญพันธุ์ไปจากประเทศไทยแล้ว เพื่อบ่งบอกนิเวศวิทยที่เปลี่ยนแปลงไปในอดีตจนถึงปัจจุบันของสัตว์กลุ่มนี้ รอยสึกบนฟันกรามจึงถูกนำมาใช้เพื่อการศึกษาอาหาร รููปแบบการกินอาหาร และนิเวศวิทยาบรรพกาลของสัตว์ในวงศ์ย่อย Caprinae ผู้วิจัยศึกษาตัวอย่างจาก 4 แหล่งขุดค้นซากดึกดำบรรพ์ในประเทศไทย ที่มีอายุระหว่างสมัยไพลสโตซีนตอนกลางถึงตอนปลาย ได้แก่ ถ้ำผาบ่อง, บ้านโคกสูง, ถ้ำวิมานนาคินทร์ และเพิงผาถ้ำลอด รวมไปถึงตัวอย่างปัจจุบันจากพิพิธภัณฑ์และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทั้งหมด 10 แห่ง โดยเก็บข้อมูลค่าดัชนีความสูงตัวฟัน (hypsodonty index: HI), รอยสึกระดับ mesowear I และ II, และรอยสึกระดับ microwear จากฟันกราม ผลการศึกษาพบว่า รอยสึกระดับ mesowear และค่า HI บ่งชี้ว่าเลียงผาและกวางผาทั้งในปัจจุบันและไพลสโตซีนกินใบไม้และหญ้า โดยเลียงผาใต้มีแนวโน้มการกินใบไม้มากกว่าชนิดอื่น ผลการศึกษารอยสึกระดับ microwear จากทั้งตัวอย่างปัจจุบันและไพลสโตซีนพบว่า เลียงผาใต้กินใบไม้อ่อนนุ่ม ขณะที่กวางผาจีนและกวางผาหิมาลัยกินใบไม้และหญ้าที่มีความแข็ง เมื่อพิจารณาผลการศึกษาที่ได้ร่วมกับค่าไอโซโทปเสถียรของธาตุคาร์บอนจากงานวิจัยก่อนหน้า อาจกล่าวได้ว่า เลียงผาใต้ในสมัยไพลสโตซีนกินใบไม้อ่อนนุ่มทั้งประเภท C3, C3/C4, และ C4 อยู่อาศัยได้ทั้งป่าทึบและทุ่งหญ้า กวางผาจีนในสมัยไพลสโตซีนกินใบไม้และหญ้าประเภท C4 ที่มีความแข็ง อาศัยในทุ่งหญ้าเปิด สำหรับกวางผาหิมาลัยในสมัยไพลสโตซีนกินใบไม้และหญ้าประเภท C4 หรือ C3/C4 และอาศัยในทุ่งหญ้าเปิด ผลการศึกษาสามารถสรุปแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงนิเวศวิทยาของสายพันธุ์เลียงผาและกวางผาได้ว่า เลียงผาและกวางผาสมัยไพลสโตซีนอาศัยในทุ่งหญ้าเปิดมากกว่าประชากรในปัจจุบัน ซึ่งอาจเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมจากอดีตจนถึงปัจจุบัน และการรุกรานของมนุษย์ตั้งแต่สมัยไพลสโตซีนที่ส่งผลให้จำนวนประชากรลดลง


ความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีนสร้างโปรตีน Pfs25 ของเชื้อมาลาเรีย Plasmodium Falciparum ในประเทศไทย, พรปวีณ์ สุขพงษ์ไทย Jan 2021

ความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีนสร้างโปรตีน Pfs25 ของเชื้อมาลาเรีย Plasmodium Falciparum ในประเทศไทย, พรปวีณ์ สุขพงษ์ไทย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Pfs25 เป็นโปรตีนที่พบได้บนเยื่อหุ้มเซลล์ของเชื้อมาลาเรีย Plasmodium falciparum ในระยะ sexual stage และเป็นหนึ่งในแอนติเจนของวัคซีนสำหรับป้องกันการติดต่อของโรคมาลาเรียชนิด transmission blocking vaccine (TBV) วัคซีนชนิดนี้สร้างจากแอนติเจน Pfs25 ของเชื้อมาลาเรีย P. falciparum สายพันธุ์ 3D7 และได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนถึงขั้นตอนทดสอบทางคลินิก อย่างไรก็ดี การศึกษาความหลากหลายของยีน Pfs25 ในประชากร P. falciparum ในธรรมชาติทั้งในประเทศไทยและพื้นที่อื่น ๆ มีอยู่อย่างจำกัด ดังนั้น วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีน Pfs25 ของ P. falciparum ในประเทศไทยและพื้นที่อื่น ๆ ทั่วโลก ตัวอย่างประกอบด้วยลำดับนิวคลีโอไทด์ของ Pfs25 ของ P. falciparum ในประเทศไทยจำนวน 83 ตัวอย่าง และข้อมูลจากฐานข้อมูล GenBank และ PlasmoDB จำนวน 224 ตัวอย่าง ซึ่งการศึกษานี้ได้รวบรวมและสร้างฐานข้อมูลนิวคลีโอไทด์ขึ้นเป็นครั้งแรก ทำการศึกษาความหลากหลายด้วยการวิเคราะห์ทาง พันธุศาสตร์ประชากร ผลการศึกษาพบว่า Pfs25 ในประชากรเชื้อมาลาเรีย P. falciparum ทั่วโลกมีจำนวน 11 haplotype ในจำนวนนี้ พบในประเทศไทยจำนวน 7 haplotype (H) โดย H2 เป็น haplotype ที่พบมากที่สุดในประชากรเชื้อมาลาเรียในทวีปเอเชีย ส่วน H1 พบมากที่สุดในประชากรในทวีปแอฟริกาและทวีปอเมริกากลางและอเมริกาใต้ การวิเคราะห์ด้วย Fst แสดงให้เห็นว่า การกระจายของ haplotype ทั้งหมดแตกต่างกันตามแต่ละทวีป แสดงว่า เชื้อมาลาเรีย P. falciparum แบ่งออกเป็น 3 ประชากรย่อย ๆ ตามพื้นที่ คือ ประชากรในทวีปเอเชีย ทวีปแอฟริกา และทวีปอเมริกากลางและอเมริกาใต้ นอกจากนี้ เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของ haplotype ด้วย …


Influences Of Herbicides On Health Of Rice Frog Fejervarya Limnocharis Populations In Nan Province, Thailand, Luhur Septiadi Jan 2021

Influences Of Herbicides On Health Of Rice Frog Fejervarya Limnocharis Populations In Nan Province, Thailand, Luhur Septiadi

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Intensive and continuous herbicide use in agriculture may pose a risk to health of environment and non-target organisms, including amphibian. Prior research conducted between 2010-2011 using the rice frog, Fejervarya limnocharis, as a sentinel revealed an accumulation of herbicides (atrazine, glyphosate, and paraquat) in environmental samples and frog tissue, as well as adverse effects on the health status. This study aims to determine the potential influence of herbicides on population health of the rice frog. Between July 2020 and February 2021, frogs were collected from two paddy fields with varying degrees of herbicide use in Nan province, Thailand. The results …


Degree Of Genetic Admixture In Hybrid Populations Between Macaca Fascicularis Fascicularis And M. F. Aurea In Association With Stone Tool-Use Behavior, Poompat Phadphon Jan 2021

Degree Of Genetic Admixture In Hybrid Populations Between Macaca Fascicularis Fascicularis And M. F. Aurea In Association With Stone Tool-Use Behavior, Poompat Phadphon

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Burmese long-tailed macaque (Macaca fascicularis aurea) is the only Old World monkey that habitually uses stones as tools to access encased food. The natural range of M. f. aurea closely contacts to the common long-tailed macaque (M. f. fascicularis) in southern Thailand at 8°10'-12°24'N, where the intraspecific hybridization between the two subspecies was reported. While M. f. aurea x M. f. fascicularis hybrids were expressed a stone-tool use behavior, the behavior has never been seen in the wild or captive M. f. fascicularis. It is interesting to understand if the genetic factor plays a role on the emergence of this …