Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Law Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

2019

Law and Economics

Chulalongkorn University

Articles 31 - 35 of 35

Full-Text Articles in Law

มาตรการทางกฎหมายเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ, ฝนทิพย์ กระจ่างจันทร์ Jan 2019

มาตรการทางกฎหมายเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ, ฝนทิพย์ กระจ่างจันทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศีกษาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหามาตรการทางกฎหมายที่เหมาะสมในการ ส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนในเขตเศรษฐกิจพิเศษของประเทศไทย ด้วยวิธีการศึกษาและวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการรวบรวมข้อมูลเชิงเอกสารทั้งแบบปฐมภูมิและทุติยภูมิ เกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติเขต เศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ. ... และประเด็นปัญหาเกี่ยวกับเศรษฐกิจชุมชน ความเป็นมา แนวคิด และ ตัวอย่างของเศรษฐกิจชุมชน มาตรการในการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนในเขตเศรษฐกิจพิเศษของ สาธารณรัฐประชาชนจีน รวมทั้งปัญหาและผลกระทบของการไม่มีการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนในเขต เศรษฐกิจพิเศษของไทย แล้วจึงได้น าข้อมูลที่ได้ศึกษามารวบรวม และวิเคราะห์ โดยการศึกษา มาตรการต่างๆ ในการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนในเขตเศรษฐกิจพิเศษของสาธารณรัฐประชาชนจีน และน ามาตรการของสาธารณรัฐประชาชนจีนมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย จากการศึกษาพบว่า “ร่างพระราชบัญญัติเขตเศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ. ...” ที่รัฐบาลมีความ พยายามจะประกาศใช้ ถูกต่อต้านจากภาคประชาชนโดยเฉพาะคนในพื้นที่ สาเหตุมาจากการที่ ประชาชนในท้องถิ่นถูกริดรอนอำนาจและสิทธิในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชน รวมถึงการที่ประชาชนไม่รู้สึกถึงการมีส่วนร่วมและการ เป็นเจ้าของ โดยมีประเด็นปัญหาที่สำคัญ 3 ประการคือ (1) ปัญหาจากการกำหนดนโยบายที่ไม่ได้ตั้ง ต้นจากชุมชน (2) ปัญหาจากการบริหารงานแบบรวมศูนย์อำนาจ ชุมชนไม่มีอำนาจการตัดสินใจ (3) ปัญหาจากการขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ต่อการกำหนดนโยบายที่เป็นของตนเอง จากปัญหาที่กล่าวมานี้ทำให้กฎหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษของประเทศไทยยังไม่ถูกประกาศใช้ โดยผลการศึกษาพบว่า สาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จในการ จัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษเป็นอย่างมาก โดยปัจจัยแห่งความสำเร็จ คือ (1) รัฐบาลมีนโยบายการ ดำเนินงานลักษณะจากล่างขึ้นบน (Top - Down) (2) มีรูปแบบการบริหารงานแบบกระจายอำนาจ (Decentalization) และ (3) มีนโยบายให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายที่เป็นของตนเอง นอกจากนี้แล้ว ภายใต้กฎหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษของสาธารณรัฐประชาชนจีนยังมีบทบัญญัติในการ คุ้มครองแรงงานในพื้นที่ รวมถึงมีมาตรการที่สามารถสร้างความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจระหว่าง เศรษฐกิจท้องถิ่นและเศรษฐกิจในประเทศได้เป็นอย่างดี จึงท าให้การส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนในเขต เศรษฐกิจพิเศษของสาธารณรัฐประชาชนจีนประสบความส าเร็จอย่างสวยงาม เมื่อเปรียบเทียบกับ ประเทศไทยแล้ว ผู้เขียนจึงได้เสนอแนวทางในการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนในเขตเศรษฐกิจพิเศษของ ประเทศไทย โดยปรับเปลี่ยนมาตรการของรัฐ ดังนี้(1) กลไกในการกำหนดนโยบาย (2) กลไกในการ บริหารงาน (3) กลไกในการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยรัฐบาลเป็นผู้ก ากับดูแล เพื่อช่วยลดการต่อต้าน จากภาคประชาชน และช่วยส่งเสริมให้เศรษฐกิจชุมชนในเขตเศรษฐกิจพิเศษประสบความส าเร็จ


ปัญหาเกี่ยวกับกระบวนการในการบังคับหลักประกันที่เป็นกิจการ, ณัฏฐ์ปัณชญา กิตติภพศิริกุล Jan 2019

ปัญหาเกี่ยวกับกระบวนการในการบังคับหลักประกันที่เป็นกิจการ, ณัฏฐ์ปัณชญา กิตติภพศิริกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันสาเหตุที่ผู้ประกอบธุรกิจกับสถาบันการเงินต่างๆ ประสบปัญหาในการน า ทรัพย์สินมาเป็นหลักประกันในการช าระหนี้ เนื่องจากระบบกฎหมายไทย ตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ มีหลักประกันด้วยทรัพย์สามารถท าสัญญาได้เพียง 2 แบบ คือ การจ าน า การจ านอง ได้ ถูกใช้มานานแล้ว ไม่สอดคล้องกับการท านิติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน ซึ่งท าให้ทรัพย์สินที่มี มูลค่าทางเศรษฐกิจอีกหลายอย่างไม่สามารถน ามาเป็นหลักประกันโดยจ านอง และจ าน าได้ เพราะว่า หลักส าคัญของการจ าน าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ต้องมีการส่งมอบการครอบครอง ทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้รับจ าน าเพื่อเป็นการประกันการช าระหนี้ด้วยข้อจ ากัดดังกล่าวประเทศไทยจึงได้ ประกาศใช้พระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 ซึ่งได้เพิ่มเติมประเภทของทรัพย์ที่ สามารถน ามาเป็นหลักประกันช าระหนี้โดยไม่ต้องมีการส่งมอบการครอบครองแก่เจ้าหนี้ ซึ่งท าให้ผู้ ประกอบธุรกิจสามารถน ากิจการของตนเอง ซึ่งถือเป็นทรัพย์สินประเภทหนึ่งมาเป็นหลักประกันได้ แต่เนื่องจากกระบวนการบังคับหลักประกัน ซึ่งก าหนดไว้ในพระราชบัญญัติหลักประกัน ทางธุรกิจ พ.ศ.2558 ส าหรับใช้บังคับหลักประกันที่เป็นกิจการโดยผู้บังคับหลักประกันในกรณีที่ลูกหนี้ ผิดนัดช าระหนี้นั้น มีบทบัญญัติบางมาตรายังไม่มีความสมบูรณ์ และชัดเจน ก่อให้เกิดปัญหาในทาง ปฏิบัติ ส่งผลให้สถาบันการเงินที่จะเป็นผู้พิจารณารับกิจการมาเป็นหลักประกันในการให้สินเชื่อแก่ ผู้ประกอบการ มีความวิตกกังวล ไม่กล้ารับกิจการไว้เป็นหลักประกันเท่าที่ควร ดังนั้นจึงได้มีการศึกษา หลักเกณฑ์กฎหมาย กระบวนการปฏิบัติในการบังคับหลักประกันกรณีที่มีค าวินิจฉัยให้บังคับ หลักประกัน โดยผู้ให้หลักประกันต้องด าเนินการส่งมอบกิจการที่เป็นหลักประกัน เอกสารเกี่ยวกับ ทรัพย์สิน หนี้สินตลอดจนสิทธิต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการที่เป็นหลักประกันให้แก่ผู้บังคับ หลักประกัน ซึ่งขั้นตอนดังกล่าวยังคงมีปัญหา และอุปสรรคในเรื่องอ านาจหน้าที่ของผู้บังคับ หลักประกันตามมาตรา 73 และกรณีกิจการที่น ามาเป็นหลักประกันล้มละลาย หรือเข้าสู่กระบวนการ ฟื้นฟู นอกจากนั้นยังมีปัญหาใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นสิทธิเฉพาะตัวไม่สามารถโอนได้ ท าให้ เกิดความไม่ชัดเจนในขั้นตอนการบังคับหลักประกัน ซึ่งควรบัญญัติกระบวนการบังคับหลักประกันให้ ชัดเจน เพื่อลดข้อวิตกกังวลจากสถาบันการเงินผู้ซึ่งจะพิจารณารับกิจการเป็นหลักประกัน อันจะส่งผล ท าให้สถาบันการเงินรับหลักประกันประเภทนี้มากขึ้น …


บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่กำกับดูแลการปฏิบัติงานใน บริษัทผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคล, อนุพงษ์ ชำนาญการ Jan 2019

บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่กำกับดูแลการปฏิบัติงานใน บริษัทผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคล, อนุพงษ์ ชำนาญการ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ด้วยองค์กรภาครัฐที่ควบคุมและกำกับดูแลการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงินในประเทศ ไทย อาทิเช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการก ากับหลักทรัพย์และตลาด หลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ป.ป.ง.) ได้มีการปรับปรุง แก้ไขกฎหมาย ตลอดรวมทั้งกฎเกณฑ์ ประกาศ แนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สถาบันการเงินใน ประเทศไทยประกอบธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพปฏิบัติงานได้มาตรฐาน ถูกต้อง และเคร่งครัดมาก ขึ้น ผนวกกับปัจจุบันบริษัทผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่ง ประเทศไทย ได้เข้ามามีบทบาทในการพิจารณาและอนุมัติสินเชื่อส่วนบุคคลให้กับทั้งภาคธุรกิจและ ลูกค้ารายบุคคล โดยจากสถิติการปล่อยสินเชื่อ จัดเก็บและประมวลผลโดยธนาคารแห่งประเทศไทย มีแนวโน้มสูงขึ้นและมีบทบาทสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้น ธนาคารแห่งประเทศไทยอาศัย อำนาจตามพระราชบัญญัติสถาบันการเงิน จึงออกแนวปฏิบัติให้ธนาคารพาณิชย์มีการจัดตั้งหน่วยงาน กำกับดูแลการปฏิบัติงานตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของทางการ (Compliance Unit) ขึ้น เพื่อทำหน้าที่ก ากับดูแลการปฏิบัติงานขององค์กร แต่ทั้งนี้พบว่าปัจจุบันบริษัทผู้ประกอบธุรกิจ ประเภทสินเชื่อบุคคลภายใต้การก ากับของธนาคารแห่งประเทศไทย บริษัทผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อ จำนำรถ และบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หน่วยงานทางการที่กำกับดูแล กลุ่มธุรกิจดังกล่าวยังไม่มีการตรากฎหมาย และ/หรือประกาศ กฎเกณฑ์กำหนดให้มีการจัดตั้ง หน่วยงานหรือผู้ปฏิบัติหน้าที่กำกับดูแลการปฏิบัติงาน ซึ่งอาจส่งผลกระทบให้องค์กรอาจมีการก ากับ ดูแลการปฏิบัติงานด้านธุรกิจได้อย่างไม่รัดกุมตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับและประกาศของ หน่วยงานทางการเกี่ยวข้อง โดยผู้วิจัยได้ท าการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลจากการเปรียบเทียบหลัก กฎหมาย กฎเกณฑ์ ประกาศ ข้อบังคับต่างๆ ของประเทศไทยกับต่างประเทศอันเกี่ยวกับบทบาท หน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ทำหน้าที่กำกับดูแลการปฏิบัติงาน และมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กับการควบคุมและกำกับดูแลวิชาชีพอื่นในสถาบันการเงินและบริษัทมหาชนจำกัดทั้งที่จดทะเบียนใน และนอกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้ระบุถึงประเด็นหลัก รวมถึงข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาแนว ทางการในทำงานและวิชาชีพของเจ้าหน้าที่กำกับดูแลการปฏิบัติการในบริษัทผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อ ส่วนบุคคลภายใต้กำกับ


แนวทางการกำกับดูแลสถานประกอบกิจการบริการผู้สูงอายุภาคเอกชนในประเทศไทย, ฉัตรนภา เทิดสุขบดี Jan 2019

แนวทางการกำกับดูแลสถานประกอบกิจการบริการผู้สูงอายุภาคเอกชนในประเทศไทย, ฉัตรนภา เทิดสุขบดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สังคมผู้สูงอายุเป็นหนึ่งในปัญหาที่ทุกประเทศทั่วโลกก าลังประสบปัญหาและต้องเตรียมมาตรการ เพื่อรองรับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นกับสังคมผู้สูงอายุในอนาคต ประเทศไทยก็เป็นประเทศหนึ่งที่มีอัตราการ เพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง คาดการณ์กันว่าอีกประมาณ 20 ปีผู้สูงอายุของประเทศไทยจะมีอัตราส่วน ประมาณ 40 ท าให้ธุรกิจให้บริการดูแลผู้สูงอายุมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามจากการศึกษาวิจัย พบว่ามาตรการทางกฎหมายในการควบคุมดูแลสถานประกอบการที่ให้บริการดูแลผู้สูงอายุยังไม่มีมาตรการ ทางกฎหมายที่มีความชัดเจนเพื่อให้ธุรกิจบริการดูแลผู้สูงอายุมีมาตรฐานและมีความปลอดภัยต่อผู้สูงอายุ เมื่อพิจารณาบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ได้ก าหนดมาตรการ ในการดูแลคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุไว้อย่างชัดเจน แต่เมื่อพิจารณาในการออกกฎหมาย หรือกฎระเบียบ ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมดูแลกิจการดูแลผู้สูงอายุของประเทศไทยยังพบว่าประเทศไทยยังต้องมีการบัญญัติ กฎหมายที่มีความเฉพาะเจาะจงในการควบคุมดูแลสถานประกอบการที่ให้บริการดูแลผู้สูงอายุดังนั้นงานวิจัย ฉบับนี้จึงเสนอให้มีการก าหนดนโยบายที่ชัดเจนในการควบคุมกิจการที่เกี่ยวข้องกับดูแลผู้สูงอายุทั้งในส่วน ของภาครัฐและภาคเอกชนโดยการก าหนดมาตรฐานกลางที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้สูงอายุให้สถานประกอบการ ที่ประกอบธุรกิจต้องปฏิบัติตามและเป็นเงื่อนไขที่ส าคัญในการขออนุญาตประกอบธุรกิจรายการต่อใบอนุญาต โดยมุ่งเน้นที่การคุ้มครองสิทธิของผู้สูงอายุและการดูแลผู้สูงอายุให้มีความปลอดภัยและได้รับการดูแลในระดับ ที่มีมาตรฐานสากล รวมไปถึงการน ามาตรการที่ส่งเสริมธุรกิจการดูแลผู้สูงอายุให้ได้รับการรับรองและ สร้างความเชื่อมั่นส าหรับผู้ใช้บริการทั้งคนไทยและชาวต่างชาติเพื่อให้กิจการดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทย มีประสิทธิภาพในการแบ่งเบาภาระกิจในการดูแลผู้สูงอายุและน ารายได้เข้าสู่ประเทศไทย เพื่อใช้ใน การแบ่งเบาภาระของรัฐในการดูแลผู้สูงอายุและพัฒนาระบบเศรษฐกิจไทยต่อไป


ปัญหาการลงโทษผู้มีหน้าที่รายงานธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัยของสถาบันการเงินตาม พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542, ภวินท์ ประเทืองสุขสกุล Jan 2019

ปัญหาการลงโทษผู้มีหน้าที่รายงานธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัยของสถาบันการเงินตาม พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542, ภวินท์ ประเทืองสุขสกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมาย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรายงาน ธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัยของสถาบันการเงินจากบทกําหนดโทษทางอาญา ด้วยวิธีการศึกษาและวิจัย เชิงคุณภาพ โดยการศึกษารวบรวมข้อมูลเชิงเอกสาร บทความ หนังสือ งานวิจัย และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เกี่ยวกับมาตรการลงโทษที่ใช้บังคับแก่สถาบันการเงินในความผิดเกี่ยวกับการไม่รายงานธุรกรรมที่มีเหตุ อันควรสงสัยและความผิดเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลความลับแก่บริษัทลูก แล้วนําข้อมูลที่ได้ศึกษามา วิเคราะห์หาแนวทาง โดยใช้กฎหมายประเทศแคนาดาและฝรั่งเศสเป็นกฎหมายต้นแบบ เพื่อปรับปรุง มาตรการลงโทษให้มีความเหมาะสมที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการรายงานธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย ของสถาบันการเงิน จากการศึกษาพบว่า ปัญหาการรายงานธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัยที่ไม่มีประสิทธิภาพของ สถาบันการเงินเกิดจากบทกําหนดโทษทางอาญาในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ที่มีความไม่เหมาะสมในความผิดเกี่ยวกับการไม่รายงานธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัยและ ความผิดจากการเปิดเผยข้อมูลความลับทางราชการ โดยในเรื่องของการรายงานธุรกรรมที่มีเหตุอันควร สงสัย กฎหมายไม่ได้กําหนดกรอบการใช้ดุลยพินิจของเจ้าพนักงานในการบังคับใช้โทษ จนนําไปสู่การ หลีกเลี่ยงโทษปรับโดยการรายงานธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัยที่ไม่มีคุณภาพเป็นจํานวนมาก ส่วนในเรื่อง ของการเปิดเผยข้อมูลความลับทางราชการ กฎหมายไม่ได้ให้อํานาจการแลกเปลี่ยนข้อมูลความลับทาง ราชการระหว่างสถาบันการเงินกับบริษัทลูก ผู้วิจัยจึงเสนอมาตรการทางกฎหมายตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ที่จะช่วยให้เกิดการรายงานธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัยอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเสนอ ให้ปรับบทกําหนดโทษทางอาญาให้มีความเหมาะสมภายใต้แนวคิดการรายงานธุรกรรมที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการกําหนดโทษที่จะลงแก่ผู้มีหน้าที่รายงานธุรกรรม และเพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพการรายงานธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย ซึ่งเป็นขั้นตอนสําคัญที่ในการรวบรวม พยานหลักฐานให้แก่หน่วยงานภาครัฐ เพื่อดําเนินคดีกับผู้กระทําความผิดฐานฟอกเงินและสนับสนุนทาง การเงินแก่การก่อการร้าย และเพื่อยับยั้งการขยายเงินทุนขององค์การอาชญากรรมฟอกเงินที่สร้างความ เสียหายแก่มูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศ