Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Law Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Law and Economics

Chulalongkorn University

Articles 31 - 60 of 262

Full-Text Articles in Law

ปัญหาหน้าที่และความรับผิดชอบค่าใช้จ่ายการรื้อถอนสิ่งติดตั้งในกิจการปิโตรเลียมเป็นการสร้างภาระต้นทุนเกินความจำเป็นแก่ผู้รับสัมปทานจากรัฐ : ศึกษากรณีการผลักภาระต้นทุนการรื้อถอนให้แก่ผู้รับสัมปทานรายเดิม, ไพบูลย์ ชีรชานนท์ Jan 2022

ปัญหาหน้าที่และความรับผิดชอบค่าใช้จ่ายการรื้อถอนสิ่งติดตั้งในกิจการปิโตรเลียมเป็นการสร้างภาระต้นทุนเกินความจำเป็นแก่ผู้รับสัมปทานจากรัฐ : ศึกษากรณีการผลักภาระต้นทุนการรื้อถอนให้แก่ผู้รับสัมปทานรายเดิม, ไพบูลย์ ชีรชานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษาปัญหาภาระหน้าที่และความรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนสิ่งติดตั้งและสิ่งอำนวยความสะดวกในกิจการปิโตรเลียม ซึ่งกิจกรรมการรื้อถอนดังกล่าวเป็นกิจกรรมที่มีค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมากและควรเป็นหน้าที่และรับผิดชอบของใครจึงจะเหมาะสมและไม่เป็นการสร้างภาระต้นทุนแก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเกินความจำเป็น ตามพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ.2514 ได้รับการแก้ไขครั้งที่ 5 (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2550 โดยแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 80/1 และ 80/2 เพื่อวางหลักเกณฑ์หน้าที่ของผู้รับสัมปทานหรือผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิตมีภาระหน้าที่ความรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนสิ่งติดตั้งและสิ่งอำนวยความสะดวกในกิจการปิโตรเลียม และการวางหลักประกันการรื้อถอน ในกรณีที่สิ่งติดตั้งในกิจการปิโตรเลียมที่ผู้รับสัมปทานได้ส่งมอบสิ่งติดตั้งในกิจการปิโตรเลียมให้แก่รัฐและรัฐเห็นสมควรนำสิ่งติดตั้งนั้นไปใช้ประโยชน์ต่อนั้น กฎกระทรวง กำหนดแผนงาน ประมาณการค่าใช้จ่ายและหลักประกันในการรื้อถอนสิ่งติดตั้งที่ใช้ในกิจการปิโตรเลียม พ.ศ. 2559 ข้อ 22 ได้กำหนดให้ผู้รับสัมปทานรายเดิมมีภาระหน้าที่และความรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนสิ่งติดตั้งดังกล่าว ซึ่งทำให้เกิดปัญหาข้อพิพาทระหว่างผู้รับสัมปทานกับรัฐและเป็นการสร้างภาระที่เกินความจำเป็นแก่ผู้รับสัมปทานรายเดิม จากการศึกษากฎหมายประเทศไทยโดยเปรียบเทียบกับกฎหมายสหราชอาณาจักรและกฎหมายประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่าในกรณีที่สิ่งติดตั้งในกิจการปิโตรเลียมที่ผู้รับสัมปทานได้ส่งมอบสิ่งติดตั้งในกิจการปิโตรเลียมให้แก่รัฐและรัฐเห็นสมควรนำสิ่งติดตั้งนั้นไปใช้ประโยชน์ต่อนั้น กฎหมายสหราชอาณาจักรและกฎหมายประเทศสหรัฐอเมริกามีแนวทางที่ไม่เป็นการสร้างภาระที่เกินความจำเป็นแก่ผู้รับสัมปทานซึ่งสามารถนำมาใช้ในการแก้ไขกฎหมายประเทศไทยได้ 2 แนวทางดังนี้ แนวทางแรก กำหนดให้ผู้โอนสิทธิ์และผู้รับโอนสิทธิ์ในสัญญาสัมปทานมีภาระเกี่ยวกับหน้าที่และความรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนสิ่งติดตั้งที่ในช่วงที่ผู้โอนสิทธิ์เป็นผู้ถือครองสิทธิผลประโยชน์และพันธะในสัญญาสัมปทาน และกำหนดให้ผู้โอนสิทธิและผู้รับโอนสิทธิ์ในสัญญาสัมปทานต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนตามสัดส่วนการถือครองสิทธิผลประโยชน์และพันธะในสิ่งติดตั้งนั้นในสัญญาสัมปทานหรือตามสัดส่วนการใช้งาน ซึ่งคำนวณตามสัดส่วนปริมาณการผลิตปิโตรเลียมสะสมเทียบกับปริมาณปิโตรเลียมทั้งหมด แนวทางที่สอง กำหนดให้ผู้รับโอนสิทธิ์สัญญาสัมปทานมีภาระเกี่ยวกับหน้าที่และความรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนสิ่งติดตั้งในกรณีดังกล่าว ผู้รับโอนต้องได้รับการประเมินความแข็งแกร่งทางการเงิน โดยคำนึงถึงความสามารถในการรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการดำเนินการรื้อถอนให้สอดคล้องกับมูลค่าสุทธิของผู้รับโอนสิทธิ์สัญญาสัมปทาน มีการประเมินความเสี่ยงทางการเงินและทำความเข้าใจถึงแผนงานในอนาคตเพื่อให้มีความมั่นใจได้ว่าผู้รับโอนที่เข้ามานั้นสามารถรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนสิ่งติดตั้งได้


มาตรการทางกฎหมายในการกำกับดูแลการให้สินเชื่อและการรับสิทธิในเงินฝากเป็นหลักประกัน : ศึกษาเฉพาะกรณี Pico-Finance, ไพรัตน์ สุระศิรานนท์ Jan 2022

มาตรการทางกฎหมายในการกำกับดูแลการให้สินเชื่อและการรับสิทธิในเงินฝากเป็นหลักประกัน : ศึกษาเฉพาะกรณี Pico-Finance, ไพรัตน์ สุระศิรานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาฉบับนี้มุ่งศึกษาปัญหามาตราการทางกฎหมายของโครงการสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับ หรือ Pico Finance โดยศึกษาในการกำกับดูแลการให้สินเชื่อ และการรับสิทธิเงินฝากเป็นหลักประกัน ซึ่งรัฐบาลได้จัดตั้งโครงการนี้เพื่อแก้ปัญหาหนี้นอกระบบในประเทศไทย ในปี พ.ศ.2559 โดยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง ซึ่งใช้วิธีการศึกษาควบคู่ไปตามมาตรการทางกฎหมาย กับกระบวนการในการดำเนินการจริงโดยเริ่มตั้งแต่ต้นคือ ผู้ให้สินเชื่อขอใบอนุญาตในการประกอบ Pico Finance ไปจนถึง การยกเลิกจัดตั้งสถานประกอบการ โดยศึกษากฎหมายโดยตรง คือ ประกาศกระทรวงการคลัง (เรื่อง สินเชื่อย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับ) และ ประกาศสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมประกอบด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะนิติกรรม สัญญา และ ลักษณะหนี้ , พระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 , พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 , พระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 , พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2560 และ พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2560 โดยมีสมมติฐานว่า แม้กระทรวงการคลัง จะออกมาตรการสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับ (สินเชื่อพิโกไฟแนนซ์) เพื่อต้องการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ แต่มาตรการทางกฎหมายในการกำกับและ ใช้หลักประกันทางธุรกิจ เช่น การกำกับวงเงินสินเชื่อ และสิทธิในเงินฝากเป็นหลักประกันเป็นต้นนั้น ยังเป็นปัญหา ดังนั้นจึงควรปรับปรุงมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับปัญหาดังกล่าว เพื่อจะแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบด้วยมาตรการนี้ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ในการศึกษาและพิสูจน์สมมติฐาน พบปัญหาในเรื่องยอดหนี้การปล่อยสินเชื่อ , ปัญหาการบัญญัติอัตราดอกเบี้ยแบบเหมารวม , ปัญหาการใช้เงินฝากเป็นหลักประกัน โดยมีการยึดสมุดบัญชี บัตรกดเงินสด และปัญหาของกฎหมายทวงหนี้ที่มุ่งคุ้มครองเพียงแต่บุคคลธรรมดา ซึ่งหากแก้ไขปัญหาทั้งหมดเหล่านี้ได้ โดยการแก้ไขมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องก็จะทำให้โครงการนี้มีประสิทธิผล มีประสิทธิภาพ และแก้ปัญหาหนี้นอกระบบได้ตามเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ของโครงการ


แนวทางการจัดเก็บภาษีเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ สำหรับการจัดการเพื่อบรรเทาความเสียหายของทรัพย์สินอันเกิดจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ, กนกกาญจน์ บุญเปี่ยม Jan 2022

แนวทางการจัดเก็บภาษีเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ สำหรับการจัดการเพื่อบรรเทาความเสียหายของทรัพย์สินอันเกิดจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ, กนกกาญจน์ บุญเปี่ยม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดเก็บภาษีเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะสำหรับการจัดการเพื่อบรรเทาความเสียหายของทรัพย์สินอันเกิดจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ โดยศึกษาถึงปัญหาและผลกระทบเกี่ยวกับภัยพิบัติทางธรรมชาติในประเทศไทย และหลักเกณฑ์ในการจัดเก็บภาษีเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะที่สามารถนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศไทย พร้อมทั้งศึกษาหลักเกณฑ์ในการจัดเก็บภาษีเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะสำหรับการจัดการเพื่อบรรเทาความเสียหายของทรัพย์สินอันเกิดจากภัยพิบัติทางธรรมชาติของประเทศออสเตรเลียเพื่อเป็นแนวทางในการนำมาประยุกต์ใช้ในประเทศไทย จากการวิเคราะห์สภาพปัญหาและผลกระทบเกี่ยวกับภัยพิบัติทางธรรมชาติในประเทศไทยพบว่าประเทศไทยมักประสบกับปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติ ไม่ว่าจะมาจากปัจจัยเสี่ยงทางธรรมชาติ หรือปัจจัยอื่น ๆ ซึ่งส่งผลกระทบทำให้เกิดความเสียหายต่อชุมชน สังคม และภาพรวมเศรษฐกิจในประเทศ และเป็นผลทำให้รัฐบาลมีเงินงบประมาณไม่เพียงพอที่จะนำไปใช้ในการพัฒนาในด้านอื่น ๆ ที่มีความสำคัญเช่นเดียวกันตามมา ดังนั้นการมีงบประมาณที่เพียงพอและเหมาะสมในการดำเนินโครงการเพื่อรับมือหรือจัดการกับเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติจึงนับได้ว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากที่จะทำให้โครงการประสบความสำเร็จ เพราะจะสามารถช่วยส่งเสริมและพัฒนาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้สามารถรับมือหรือจัดการกับเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นผลทำให้ช่วยบรรเทาความสูญเสียและความเสียหายอันเกิดจากภัยพิบัติทางธรรมชาติได้ อย่างไรก็ตามประเทศไทยยังไม่เคยมีการจัดเก็บภาษีเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะสำหรับการจัดการเพื่อบรรเทาความเสียหายของทรัพย์สินอันเกิดจากภัยพิบัติทางธรรมชาติมาก่อน จึงได้มีการศึกษาถึงหลักเกณฑ์การจัดเก็บภาษีเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ และผลที่ได้จากการจัดเก็บภาษีดังกล่าวในประเทศออสเตรเลีย เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการประยุกต์ใช้ในประเทศไทย ซึ่งจากการศึกษาพบว่าประเทศออสเตรเลียประสบกับปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติในบริบทที่คล้ายคลึงกันกับประเทศไทย และรัฐบาลของประเทศออสเตรเลียได้ตระหนักถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ จึงได้มีการจัดตั้งกองทุนเพื่อหน่วยงานบริการดับเพลิงและบริการฉุกเฉินของแต่ละรัฐ เพื่อให้สามารถจัดการกับเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งมีกรอบในการจัดการภัยพิบัติที่ดี และสามารถปฏิบัติได้จริง ดังนั้นจึงมีความเหมาะสมที่จะนำแนวทางการจัดเก็บภาษีเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะสำหรับการจัดการเพื่อบรรเทาความเสียหายของทรัพย์สินอันเกิดจากภัยพิบัติทางธรรมชาติของประเทศออสเตรเลียมาประยุกต์ใช้ในประเทศไทย เพื่อเป็นการสรรหางบประมาณเพิ่มเติมให้กับหน่วยงานของรัฐบาล อีกทั้งยังสามารถนำรายได้จากการจัดเก็บภาษีไปใช้ในการจัดการกับเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ


การนำ Non-Classroom Training มาใช้เป็นวิธีการพัฒนาฝีมือแรงงานตามความในพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545, กิตติพศ ภัคมงคล Jan 2022

การนำ Non-Classroom Training มาใช้เป็นวิธีการพัฒนาฝีมือแรงงานตามความในพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545, กิตติพศ ภัคมงคล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่องการนำ Non-Classroom Training มาใช้เป็นวิธีการพัฒนาฝีมือแรงงานตามความในพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ.2545 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดและหลักการของกฎหมายเกี่ยวกับการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน ปัญหาในทางปฏิบัติของกฎหมายส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงานที่มีการจำกัดแต่การใช้เครื่องมือ Classroom Training ฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน แนวทางการแก้ปัญหาโดยนำหลักการเรียนรู้และประเมินผลโดยอิงกับสมรรถนะของผู้เรียน (Competency-Based Education) มาพิจารณาร่วมกับหลักการเรียนรู้และประเมินผลโดยอิงกับการเข้าร่วมในชั้นเรียน (Time Based Education) ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน แนวทางการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของต่างประเทศ ได้ศึกษาสิทธิของแรงงานที่จะได้รับการพัฒนาฝีมือแรงงานตามกฎหมายระหว่างประเทศ ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization; ILO) ได้แก่ อนุสัญญาว่าด้วยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ค.ศ.1975 (ฉบับที่ 142) ข้อแนะว่าด้วยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ค.ศ. 2004 (ฉบับที่ 195) และ ปฏิญญาไตรภาคีว่าด้วยหลักการเกี่ยวกับบรรษัทข้ามชาติและนโยบายทางสังคมองค์การแรงงานระหว่างประเทศ รวมไปถึงกรณีศึกษาแนวทางการพัฒนาฝีมือแรงงานตามกฎหมายต่างประเทศ คือประเทศสิงคโปร์และประเทศมาเลเซีย เปรียบเทียบกับกฎหมายในลักษณะเดียวกันของประเทศไทยคือพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ.2545 ผลการศึกษา พบว่าการฝึกอบรมในชั้นเรียน (Classroom Training) ถือเป็นการเรียนรู้ที่ง่ายต่อการวางแผนและการบริหารจัดการ แต่วิธีการดังกล่าวอาจไม่เหมาะกับบางทักษะหรือสมรรถนะใหม่ ซึ่งมีวิธีการฝึกอบรมที่เหมาะสมกว่า เช่น การเรียนผ่านระบบ E-Learning หรือการจัดการเรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติในหน้างานจริง (On the Job Training) ทั้งนี้ การเรียนรู้ควรจัดการแบบผสมผสานวิธีการในหลากหลายวิธีเข้าด้วยกัน โดยไม่ควรจำกัดอยู่แค่วิธีใดวิธีหนึ่ง แต่ควรพิจารณาจากผลลัพธ์ ต้นทุนค่าใช้จ่ายและเวลาที่ใช้ในการเรียนรู้มาพิจารณาประกอบด้วย ข้อเสนอแนะ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรศึกษาทฤษฎีการเรียนรู้ วิธีการเรียนรู้ รวมไปถึงกระบวนการตรวจสอบความรู้ ความสามารถของผู้เรียน ซึ่งในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงและมีความก้าวหน้ากว่าในช่วงเวลาที่ตรากฎหมายส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงานไว้ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเพิ่มแรงจูงใจให้กับสถานประกอบกิจการให้เลือกใช้วิธีการฝึกอบรมที่มีประสิทธิภาพ โดยยังคงการได้สิทธิตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ.2545 ทั้งการยกเว้นการนำส่งเงินสมทบเข้ากองทุนพัฒนาฝีมือแรงงานและการได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี โดยผู้เขียนมีความเชื่อมั่นว่า หากประเด็นดังกล่าวได้รับการแก้ไขแล้ว สถานประกอบกิจการย่อมเลือกวิธีการที่มีประสิทธิภาพสูงสุดตามทฤษฎีการเรียนรู้ มีค่าใช้จ่ายในการอบรมคุ้มค่าที่สุดและใช้เวลาในการเรียนรู้น้อยที่สุด ไม่กระทบกับเวลาในการปฏิบัติงานของลูกจ้าง อันจะทำให้ความสามารถของแรงงานในประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้น แข่งขันกับประเทศอื่นๆ ได้


การให้ความยินยอมของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลกรณีผู้เยาว์ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562, จาตุรันต์ เจียรกุล Jan 2022

การให้ความยินยอมของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลกรณีผู้เยาว์ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562, จาตุรันต์ เจียรกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของเด็กตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 เกี่ยวกับปัญหาการกำหนดอายุของผู้เยาว์ที่ผู้ปกครองให้ความยินยอมในการเก็บ รวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลแทน และปัญหาการกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับอันว่าด้วยเรื่องการใด ๆ ที่ผู้เยาว์สามารถกระทำเองโดยลำพัง จากการศึกษาพบว่า พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 มาตรา 20 กำหนดให้ผู้ควบคุมข้อมูลต้องขอความยินยอมจากผู้ปกครองที่มีอำนาจกระทำการแทนผู้เยาว์หากผู้เยาว์ที่อายุไม่เกิน 10 ปีการกำหนดอายุดังกล่าวยังไม่เหมาะสม และแตกต่างกับมาตรา 8 ของกฎหมายสหภาพยุโรปที่กำหนดให้ผู้เยาว์มีอายุต่ำกว่า 16 ปีต้องได้รับความยินยอมของบิดามารดา นอกจากนี้การให้ความยินยอมของผู้เยาว์ที่มีอายุเกิน 10 ปีแต่ไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์นั้นผู้เยาว์สามารถให้ความยินยอมแก่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลในการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลได้โดยลำพังเมื่อเข้าเงื่อนไขข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ให้ผู้เยาว์ทำนิติกรรมได้เองโดยไม่ต้องขอความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม การกำหนดให้นำเงื่อนไขตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้กับความยินยอมให้ข้อมูลแก่ผู้ควบคุมข้อมูลดังกว่าวไม่เหมาะสมและไม่อาจคุ้มครองสิทธิในความเป็นส่วนตัวของผู้เยาว์ได้อย่างเพียงพอ เนื่องจากการยินยอมให้ผู้เยาว์ทำนิติกรรมโดยผู้แทนโดยชอบธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มีวัตถุประสงค์ รูปแบบ วิธีการ และผลทางกฎหมายแตกต่างจากการที่ผู้แทนโดยชอบธรรมและตัวผู้เยาว์ให้ความยินยอมแก่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลในการเก็บรวมรวบ ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ในขณะที่จากการศึกษากฎหมายของสหภาพยุโรป (General Data Protection Regulation) จะไม่ได้กำหนดเงื่อนไขของการให้ผู้เยาว์สามารถให้ความยินยอมได้เอง ข้อเสนอแนะด้านนโยบาย ภาครัฐต้องให้ความสำคัญกับการให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เยาว์อย่างแท้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้สิทธิแก่เยาวชนอย่างมีขอบเขต และให้สังคมได้ตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการรักษาข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงมีมาตรการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เยาว์โดยจัดทำคู่มือแนะนำให้มีการแจ้งไปยังผู้เยาว์ถึงการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล ด้วยวิธีการที่รัดกุม ใช้ภาษาที่ชัดเจน เข้าใจง่าย เป็นต้น ข้อเสนอด้านกฎหมาย ควรแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 มาตรา 20 โดยควรมีมาตรการเข้ามาคุ้มครองสิทธิเด็กในการให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของเด็กจึงต้องนำเกณฑ์อายุในช่วงไม่เกิน 18 ปีมาพิจารณาด้วย และไม่ควรจะนำเอาการใดๆทางแพ่งและพาณิชย์มาบังคับใช้เพื่อเป็นเงื่อนไขที่ผู้เยาว์สามารถให้ความยินยอมได้เองโดยลำพัง


ปัญหาการลบทำลายข้อมูลส่วนบุคคลบนระบบอิเล็กทรอนิกส์ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562, ชยาภรณ์ มั่นสกุล Jan 2022

ปัญหาการลบทำลายข้อมูลส่วนบุคคลบนระบบอิเล็กทรอนิกส์ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562, ชยาภรณ์ มั่นสกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเรื่องการลบทำลายข้อมูลส่วนบุคคลในทางปฎิติบัติบนระบบอิเล็กทรอนิกส์ ของพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 โดยที่ปัจจุบันเทคโนโลยี มีความเจริญก้าวหน้าเป็นอย่างมากและได้ถูกนำมาใช้งานอย่างแพร่หลาย โดยมีเครือข่ายสื่อสารอินเตอร์เน็ตเป็นส่วนสำคัญในสังคมชีวิตประจำวันของมนุษย์ ทั้งนี้ไม่ว่าจะเพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสาร การทำธุรกรรม การค้นคว้าหาข้อมูลหรือความรู้ การขายสินค้าหรือบริการหรือธุรกรรมในทางธุรกิจทั้งหลายบนโลกอินเตอร์เน็ตในปัจจุบัน มักจะมีการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ที่เข้าใช้งานโดยที่บุคคลผู้เข้าใช้งานไม่รู้ตัวซึ่งข้อมูลดังกล่าวอาจมีผลกระทบต่อสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวของเจ้าของข้อมูลได้ หรือในบางกรณีที่มีการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ จึงทำให้ข้อมูลเหล่านี้สามารถถ่ายโอนกันได้โดยสะดวกรวดเร็ว และปัจจุบันพบว่ามีการล่วงละเมิดสิทธิของข้อมูลส่วนบุคคลเป็นจำนวนมากจนสร้างความเดือดร้อนรำคาญหรือเสียหายแก่เจ้าของข้อมูล จากการศึกษาแนวปฎิบัติของกฎหมายการลบทำลายข้อมูลส่วนบุคคลมาตรา 17 ของ General Data Protection Regulation : GDPR สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้เล็งเห็นข้อกำหนดกฎเกณฑ์ที่ชัดเจน เพื่อเป็นแนวทางในเชิงปฎิบัติของการลบและทำลายข้อมูลบนระบบอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยได้ เนื่องจากกฎหมายของประเทศไทยยังไม่มีการกำหนดหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน ซึ่งส่งผลให้ผู้ควบคุมข้อมูลไม่อาจปฎิบัติตามได้ เช่น การลบทำลายข้อมูลบนระบบอิเล็กทรอนิกส์ แพลตฟอร์ม Digital Footprint ต่างๆ ในทางเทคนิคของระบบซอฟแวร์ ควรมีการกำหนดมาตราฐานในทางกฎหมายทางด้านการปฎิบัติและขอบเขต จากการศึกษาแนวปฎิบัติของกฎหมายการลบทำลายข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรปนั้น กล่าวคือการลบทำลายหรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคล กลายเป็นข้อมูลที่ไม่อาจระบุตัวตนได้ การบัญญัติกฎหมายในลักษณะดังกล่าวแตกต่างไปจากถ้อยคำที่ปรากฏ ของ GDPR ที่มีคำว่า “Right to be Forgotten” ควบคู่ไปกับ “Right to Erasure” ดังนั้น มาตรา 33 มาตรา 37 ของพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 นั้นบัญญัติของกฎหมายยังขาด แนวทางในทางปฎิบัติที่ชัดเจนในการลบทำลายข้อมูลส่วนบุคคลบนระบบอิเลกทรอนิกส์ การลบทำลายหรือทำให้ข้อมูลระบุตัวตนของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งกฎหมายสหภาพยุโรป ได้กำหนดโครงสร้างและรายละเอียดการลบทำลายข้อมูลเพื่อให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลที่มีหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสามารถปฏิบัติตามได้ในทางกฎหมาย โดยแต่ละหน่วยงานหรือองค์กรต้องเตรียมระบบสนับสนุนระบบไม่ว่าจะเป็นระบบซอร์ฟแวร์ แอปพลิเคชั่น โปรแกรมเฉพาะเพื่อจัดดเก็บฐานข้อมูลและประมวลผลเพื่อให้ข้อมูลสามารถลบออกไปอย่างง่ายดาย โดยมีการดำเนินการโดยระบบไอที ฟังก์ชั่นต่างๆที่เตรียมพร้อมไว้ก่อนหน้า และองค์กรต้องมีโครงสร้างการกำกับดูแลเป็นกระบวนการเพื่อตอบกลับคำขอข้อมูลเพื่อให้แน่ใจว่าองค์กรครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดในระหว่างการลบ โดยปฎิบัตตามขั้นตอนที่ได้มีการวางแผนไว้ตามนโยบายของแต่ละองค์กร เพื่อให้เป็นที่เข้าใจตรงกันแก่พนักงานทุกคนและต้องการยืนยันตัวตนเจ้าของข้อมูล เกี่ยวกับขั้นตอนการจัดเก็บหรือลบ เป็นต้น โดยดำเนินการกรอบข้อมูลของเวลาที่กำหนด ในฐานะผู้ควบคุมข้อมูลต้องตอบกลับคําขอให้ลบข้อมูลโดยไม่ชักช้าและไม่เกินหนึ่งเดือนหลังจากได้รับคําขอ ดังนั้นเอกกัตศึกษานี้จึงขอเสนอให้มีการออกกฎหมายลำดับลองจาก มาตรา 33 และมาตรา 37(3) ของพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 เนื่องจากกฎหมายที่ออกมาของประเทศนั้น “อาจประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ในการลบหรือทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคล เป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลที่เป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลตามวรรคหนึ่งก็ได้” นั้นไม่มีความชัดเจนทำให้เจ้าของข้อมูลและผู้ควบคุมข้อมมูลยังไม่สามารถปฎิบัติตามได้และยังไม่อาจทราบได้ว่าถูกกฎหมายหรือไม่ กฎหมายควรมีการบัญญัติรายละเอียดเกี่ยวกับการนำข้อมูลส่วนบุคคลออกจากการแสดงข้อมูลเพื่อให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งเป็นผู้ให้บริการระบบสืบค้นข้อมูลออนไลน์สามารถปฏิบัติตามกฎหมายได้โดยเพิ่มโครงสร้าง จากการศึกษามาตรา 17 GDPR ของกฎหมายสหภาพยุโรป โดยมีขั้นตอนในการลบทำลายข้อมูลส่วนบุคคลโดย (1) การเตรียมระบบสนันสนุนการลบข้อมูล (2) การสร้างโครงสร้างการกำกับดูแล (3) …


แนวทางการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากผู้ผลิตและผู้นำเข้าถุงพลาสติก, ชุติมน บุญเสริมสุขเจริญ Jan 2022

แนวทางการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากผู้ผลิตและผู้นำเข้าถุงพลาสติก, ชุติมน บุญเสริมสุขเจริญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่ประชาชนมีพฤติกรรมการใช้ถุงพลาสติกเป็นจำนวนมาก ผลที่ตามมาคือขยะถุงพลาสติก ซึ่งขยะถุงพลาสติกในปริมาณมากส่งผลกระทบทางลบต่อเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันประเทศไทยมีการใช้มาตรการทางภาษีเพื่อลดขยะถุงพลาสติกเพียงมาตรการเดียว คือ การให้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล โดยไม่มีผลให้ปริมาณขยะพลาสติกลดจำนวนลง ผู้เขียนได้ศึกษาแนวทางจากประเทศเดนมาร์กและสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ซึ่งเป็นประเทศที่มีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากผู้ผลิตและผู้นำเข้าถุงพลาสติก ที่ประสบผลสำเร็จในการลดการใช้ถุงพลาสติก เพื่อนำมาปรับเป็นแนวทางการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากถุงพลาสติกในประเทศไทย โดยแนวทางการจัดเก็บภาษีที่สามารถนำมาปรับใช้ในประเทศไทยมีดังนี้ ประเภทของถุงพลาสติกที่ต้องเสียภาษี การกำหนดความหนาของถุงพลาสติกและชนิดพลาสติก ประเภทของถุงพลาสติกที่ได้รับการยกเว้นการจัดเก็บภาษี ประเทศไทยสามารถปรับใช้ได้สองข้อ คือ ถุงพลาสติกประเภทมีฝาปิดและถุงขยะในครัวเรือน ผู้มีหน้าที่ชำระภาษี สำหรับประเทศไทยผู้มีหน้าที่ชำระภาษีสรรพสามิต ได้แก่ ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ประกอบการสถานบริการ และบุคคลอื่นๆที่กฎหมายกำหนด ไม่มีความจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนเพิ่มเติม อัตราภาษี สำหรับการกำหนดอัตราภาษีนั้น จำเป็นต้องนำหลักทางเศรษฐศาสตร์มาวิเคราะห์ เพื่อหาอัตราภาษีที่เหมาะสม หน่วยงานจัดเก็บภาษี สำหรับประเทศไทยหน่วยงานจัดเก็บภาษีสรรพสามิต คือ กรมศุลกากร กรณีนำเข้า และกรมสรรพสามิต กรณีผลิตสินค้า ซึ่งไม่มีความจำเป็นที่ต้องปรับเปลี่ยนแต่อย่างใด กำหนดการชำระภาษี สำหรับประเทศไทยกรณีนำเข้าจะเหมือนกับทั้งสองประเทศ คือ เมื่อเกิดการนำเข้า กรณีผลิตสินค้าที่ไม่ใช่น้ำมันจะมีกำหนดชําระภาษีภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนที่นําสินค้าออกจากโรงอุตสาหกรรม หรือคลังสินค้าทัณฑ์บน ซึ่งไม่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนตามทั้งสองประเทศ กรณียกเว้นภาษี ประเทศไทยอาจไม่จำเป็นต้องนำกรณียกเว้นภาษีของประเทศเดนมาร์กมาใช้ เนื่องจากอาจนำไปสู่การหลบเลี่ยงภาษี และเป็นช่องทางการออกนอกระบบของผู้มีหน้าที่ชำระภาษี การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากถุงพลาสติกอาจส่งผลเสียต่ออุตสาหกรรมการผลิตถุงพลาสติก ส่งผลให้ประชาชนใช้ถุงพลาสติกลดลง โดยรัฐสามารถแก้ปัญหาได้ด้วยการจัดเก็บภาษีอัตราต่ำในช่วงแรกหรือการให้เงินอุดหนุนเพื่อเยียวยาผู้ประกอบการ หรือใช้มาตรการอื่นๆนอกเหนือจากมาตรการทางภาษีเพื่อปลูกฝังจิตสำนึกของคนในสังคมให้หันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมและปัญหาขยะถุงพลาสติกกันมากขึ้น


แนวทางการกำกับดูแลเรื่องความปลอดภัยในการทำงานของแรงงาน ในสถานที่อับอากาศ : กรณีศึกษาอุตสาหกรรมเคมีและการล้างถังและบ่อ, ณฐพล อุลิตร Jan 2022

แนวทางการกำกับดูแลเรื่องความปลอดภัยในการทำงานของแรงงาน ในสถานที่อับอากาศ : กรณีศึกษาอุตสาหกรรมเคมีและการล้างถังและบ่อ, ณฐพล อุลิตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

อุตสาหกรรมเคมีและการล้างถังนั้นมีความสำคัญอย่างมากในโลกปัจจุบัน ด้วยการพัฒนาเหล่านี้ทำให้มนุษย์มีคุณภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นด้วยราคาที่ไม่แพงเช่นบรรจุภัณฑ์สินค้า อุปโภค บริโภคที่ทำมาพลาสติกซึ่งเป็นวัตถุดิบที่ได้มากจากกระบวนการผลิตที่ทำมาจากน้ำมัน โดยถังบรรจุเคมีนั้นจะต้องมีการทำความสะอาดอยู่เป็นประจำ โดยการทำความสะอาดนั้นส่วนมากจะเป็นการส่งแรงงานลงไปเพื่อปฏิบัติการล้างถัง โดยในประเทศไทยนั้นยังมีรายงานเรื่องอุบัติเหตุในที่อับอากาศอยู่เป็นประจำ อิงจากข้อมูลสถิติตั้งแต่ปี 2546 จนถึง 2561 นั้น ประเทศไทยมีรายงานผู้ประสพอันตรายเกี่ยวกับที่อับอากาศจำนวน 210 ราย จึงเกิดเป็นประเด็นที่ควรพิจารณาว่า พระราชบัญญัติ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 และ กฎกระทรวง การจัดการความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางานในที่อับอากาศ พ.ศ. 2562 ที่ออกมาเพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้แก่แรงงานในที่อับอากาศนั้นมีประสิทธิภาพหรือไม่ การวิจัยเล่มนี้จึงจัดทำขึ้นเพื่อศึกษาหลักกฎหมายเรื่องการควบคุม ดูแล และป้องกันอันตรายต่อแรงงานจากการปฏิบัติงานในที่อับอากาศในประเทศอเมริกาและประเทศออสเตรเลียเพื่อวิเคราะห์และหาข้อแนะนำเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในประเทศไทยตามอิริยาบทที่เหมาะสมเพื่อไม่ให้เป็นการเพิ่มภาระให้แก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมากจนเกินไปจนผิดหลักความไม่ได้สัดส่วน จากการศึกษาค้นขว้าวิจัยจึงพบว่ากฎหมายเรื่องเกี่ยวกับความปลอดภัยในที่อับอากาศของประเทศไทยนั้นเป็นหลักการที่เขียนไว้อย่างกว้างและไม่มีความละเอียดมากพอจนเป็นต้นเหตุให้ไม่สามารถบังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งกฎหมายของประเทศไทยนั้นมีบทลงโทษแล้ว แต่ก็ไม่สามารถนำเอาผู้กระทำความผิดที่ละเลยการปฏิบัติตามหลักข้อบังคับที่มีมาลงโทษได้เพียงเพราะกฎหมายนั้นมีความกว้างเกินไป เมื่อนำมาเทียบกับประเทศไทยแล้วนั้น มีหลายหลักที่ประเทศไทยสามารถนำมาปรับใช้เช่น หลักการแยกและปิดกั้นพลังงานหรือสารเคมีในที่อับอากาศที่มีการระบุอย่างชัดเจนในสองประเทศว่าจะต้องมีการใช้อุปกรณ์ Lock Out Tag Out ในข้อกฎหมาย หรือหลักเฉพาะในประเทศอเมริกาเช่นแรงงานจะต้องได้รับข้อมูลเกี่ยวกับประเภทของสารเคมีอันตรายที่จะพบในที่อับอากาศนั้น ๆ และหลักอุปกรณ์เครื่องมือสื่อสารที่นายจ้างจะต้องเตรียม ส่วนหลักพิเศษในประเทศออสเตรเลียที่คือหลักความรับผิดชอบของผู้ผลิตถังอับอากาศและหลักความรับผิดชอบของผู้คุมงานที่จะต้องดูแลแค่กิจกรรมในที่อับอากาศเดียวเท่านั้น หากมีการแก้ไขกฎกระทรวงและหลักในพระราชบัญญัติตามนี้ ประเทศไทยก็จะสามารถลดจำนวนอุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับที่อับอากาศได้อย่างน้อย 50,000 รายและลดการเสียชีวิตอย่างน้อย 120 คนต่อปีหากอิงจากสถิติของประเทศอเมริกา เพื่อนำพาประเทศไทยสู่มาตรฐานอุตสาหกรรมในระดับโลกและลดภาระให้แก่ภาครัฐในระยะยาว


แนวทางพัฒนาหลักเกณฑ์การเข้าจดทะเบียนและการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์ (Livex) ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (Set), ณัฐรินีย์ ปุรณะพรรค์ Jan 2022

แนวทางพัฒนาหลักเกณฑ์การเข้าจดทะเบียนและการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์ (Livex) ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (Set), ณัฐรินีย์ ปุรณะพรรค์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเล็งเห็นความสำคัญของภาคธุรกิจระดับ SMEs และ Startups ให้สามารถระดมทุนผ่านตลาดทุนเพื่อสร้างการเติบโตต่อไปเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ขนาดใหญ่ใน SET และ mai โดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กำหนดหลักเกณฑ์การเสนอขายหุ้นเพื่อเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์ (LiVEx) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกำหนดหลักเกณฑ์การจดทะเบียนและการซื้อขายหลักทรัพย์ในไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์ ด้วยแนวคิดผ่อนปรนคุณสมบัติสำหรับบริษัท (Light-Touch Supervision) กำหนดประเภทผู้ลงทุนให้เหมาะสมกับการกำกับดูแลและความเสี่ยง (Investor Protection) รวมทั้งเน้นการเปิดเผยข้อมูลที่สำคัญของบริษัทต่อผู้ลงทุน (Information-Base) สำหรับการกำหนดหลักเกณฑ์ดังกล่าว ผู้ศึกษาเห็นว่าเป็นอุปสรรคในการเข้าถึงแหล่งระดมทุนของภาคธุรกิจระดับ SMEs และ Startups ผู้ศึกษาได้ศึกษากฎหมายและหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเข้าจดทะเบียนและการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ LiVEx เปรียบเทียบกับตลาดหลักทรัพย์ LEAP Market ซึ่งเป็นตลาดหลักทรัพย์กระดานเล็กของมาเลเซีย และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จากผู้บริหารของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และผู้ประกอบการ รวมทั้งการเข้าฝึกอบรมหลักสูตร LiVEx จากนั้นจึงนำข้อมูลที่รวบรวมได้มาวิเคราะห์เปรียบเทียบ (Analysis) และสังเคราะห์ (Synthesis) เป็นข้อสรุปเพื่อนำเสนอแนวทางมาพัฒนาหลักเกณฑ์ดังกล่าวต่อไป ผลการศึกษา แบ่งเป็น 2 ประเด็นทางกฎหมายที่สำคัญ ได้แก่ (1) คุณสมบัติของผู้ยื่นคำขอเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ LiVEx (2) การยื่นคำขอและการเสนอขาย โดยมีประเด็นแนวทางพัฒนาหลักเกณฑ์ที่สำคัญ ดังนี้ (1) ด้านคุณสมบัติของผู้ยื่นคำขอเข้าตลาดหลักทรัพย์ LiVEx 1.1 เพิ่มทางเลือกคุณสมบัติด้านผลการดำเนินงาน จากเดิมกำหนดให้บริษัทมีรายได้จากกิจการผลิตตาม รง.4 ไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท และมีรายได้จากกิจการบริการที่มีรายได้ไม่ต่ำกว่า 50 ล้านบาท ควรเพิ่มหลักเกณฑ์พิจารณาผลกำไรจากการดำเนินงาน 1 ปีเต็ม เช่นเดียวกับ LEAP Market ของประเทศมาเลเซีย 1.2 ทุกบริษัทต้องมีทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วขั้นต่ำ 5 ล้านบาท เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าบริษัทมีเงินทุนจริง ตามแนวทางการจดทะเบียนจัดตั้งและเพิ่มทุนจดทะเบียนของห้างหุ้นส่วนและบริษัทจํากัดซึ่งมีทุนที่ขอจดทะเบียนหรือทำให้ทุนจดทะเบียนเกินกว่า 5 ล้านบาท ตามคำสั่งสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลาง ที่ 66/2558 ลงวันที่ 24 มี.ค. 2558 (2) การยื่นคำขอและการเสนอขาย บริษัทต้องจัดหาที่ปรึกษาทางการเงิน (Finance Adviser : FA) เช่นเดียวกับ LEAP …


มาตรการทางภาษีเงินได้นิติบุคคลเพื่อให้ความช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Smes) ที่ได้รับผลกระทบจากสภาวะการการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19, ณิชชาพัชร์ อิทธิเมศร์มงคล Jan 2022

มาตรการทางภาษีเงินได้นิติบุคคลเพื่อให้ความช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Smes) ที่ได้รับผลกระทบจากสภาวะการการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19, ณิชชาพัชร์ อิทธิเมศร์มงคล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในการศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงมาตรการทางภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยมุ่งเน้นในเรื่องมาตรการการบรรเทาภาระภาษีสำหรับวิสาหกิจ ฯ เป็นสำคัญ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบโดยตรงต่อวิสาหกิจ ฯ ในหลายด้าน ทั้งในด้านอุปสงค์และอุปทาน วิสาหกิจ ฯ ดังกล่าวเป็นกลุ่มเปราะบางที่มีเงินทุนสำรองต่ำ ดังนั้นแล้วในหลายประเทศจึงมีการใช้มาตรการทางภาษีต่าง ๆ เพื่อบรรเทาภาระภาษีให้แก่วิสาหกิจ ฯ จากการการศึกษาพบว่าสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่รัฐบาลออกมาเพื่อช่วยเหลือวิสาหกิจ ฯ เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทยยังไม่สามารถที่จะช่วยเหลือวิสาหกิจ ฯ ดังกล่าวได้ เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคมีการใช้นโยบายทางด้านภาษีอย่างจริงจังในการช่วยเหลือทางด้านต้นทุนกับผู้ประกอบการ เช่น สาธารณรัฐสิงคโปร์ที่มีมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการโดยตรงโดยการจ่ายเงินช่วยเหลือแรงงานร้อยละ 25-75 ของค่าจ้างพื้นฐานเป็นเวลา 9 เดือน มาตรการช่วยเหลือธุรกิจขนาดเล็กโดยการให้เงินช่วยเหลือไม่เกิน 10,000 ดอลล่าร์สิงคโปร์ต่อบริษัทสำหรับประเทศไทยนั้นมีการช่วยเหลือทางด้านภาษีโดยมีลักษณะในการหักรายจ่ายได้เพิ่มขึ้นเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งในสถานการณ์การแพร่ระบาด ฯ วิสาหกิจแทบจะไม่มีรายได้เลย ทำให้เกิดผลขาดทุน วิสาหกิจ ฯ จึงไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ดังนั้นซึ่งสิทธิประโยชน์ทางภาษีดังกล่าวจึงควรมีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม ผู้เขียนจึงมีความเห็นว่า ควรมีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมในส่วนของมาตรการภาษีของประเทศไทยและมีการนำมาตรการการบรรเทาภาระภาษีของสาธารณรัฐสิงคโปร์มาปรับใช้ โดยเฉพาะการยกเว้นภาษีสำหรับผลประโยชน์ที่นายจ้างได้รับจากรัฐบาลเนื่องจากสถานการณ์ดังกล่าว เพื่อให้ครอบคลุมถึงภาระค่าใช้จ่ายที่ผู้ประกอบการแบกรับเนื่องจากสถานการณ์ดังกล่าว การใช้มาตรการต่าง ๆ เพื่อบรรเทาภาระภาษีให้วิสาหกิจ ฯ นั้น นอกจากจะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถดำรงธุรกิจต่อไปได้ในช่วงเศรษฐกิจอันย่ำแย่แล้ว ยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษีอากรตามหลักภาษีอากรที่อีกด้วย


แนวทางการนำข้อมูลด้านราคาโอนมาใช้ประโยชน์ในทางศุลกากร กรณีการกำหนดราคาศุลกากรในธุรกรรมของกลุ่มบรรษัทข้ามชาติ, ธันยนันท์ ธีระพงศ์ภูเบศ Jan 2022

แนวทางการนำข้อมูลด้านราคาโอนมาใช้ประโยชน์ในทางศุลกากร กรณีการกำหนดราคาศุลกากรในธุรกรรมของกลุ่มบรรษัทข้ามชาติ, ธันยนันท์ ธีระพงศ์ภูเบศ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากการขยายตัวของการค้าระหว่างประเทศและการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของกลุ่มบรรษัทข้ามชาติ ซึ่งในทางศุลกากร ธุรกรรมการซื้อขายระหว่างกันของกลุ่มบรรษัทข้ามชาติดังกล่าว เข้าข่ายเป็นธุรกรรมการซื้อขายที่ผู้ซื้อและผู้ขายมีความสัมพันธ์กัน ที่อาจเป็นมูลเหตุให้ไม่สามารถรับราคาศุลกากรตามวิธีการกำหนดราคาศุลกากรวิธีที่ 1 ราคาซื้อขายของที่นำเข้าได้ เนื่องจากราคาซื้อขายระหว่างกันดังกล่าว อาจมีความแตกต่างจากราคาซื้อขายกับคู่สัญญาอื่นๆ ที่เป็นอิสระต่อกัน เพื่อรองรับแนวโน้มรูปแบบการดำเนินธุรกิจของกลุ่มบรรษัทข้ามชาติที่เพิ่มมากขึ้นดังกล่าว WCO โดยความร่วมมือจาก OECD จึงได้ตีพิมพ์คู่มือ WCO Guide to Customs Valuation and Transfer Pricing ขึ้น โดยสนับสนุนให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรนำข้อมูลที่เป็นประโยชน์จากเอกสาร Transfer Pricing Study เอกสาร Transfer Pricing Documentation เอกสาร Advance Pricing Arrangement (APA) หรือเอกสารราคาโอนนอื่นใดที่ระบุถึงรูปแบบความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย มาใช้ประกอบการตรวจสอบสภาพแวดล้อมการขาย ก่อนพิจารณากำหนดราคาศุลกากร พร้อมทั้งสนับสนุนให้หน่วยงานศุลกากรนำกลไกเรื่องการวินิจฉัยราคาศุลกากรล่วงหน้า (Advance Ruling on Customs Valuation) มาใช้ในกรณีธุรกรรมที่ผู้ซื้อและผู้ขายมีความสัมพันธ์กัน ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยยังไม่ได้นำแนวทางของคู่มือดังกล่าวมาใช้กับการกำหนดราคาศุลกากร จากการศึกษาแนวทางการนำข้อมูลที่เป็นประโยชน์จากเอกสารที่เกี่ยวข้องด้านราคาโอน มาใช้ประกอบการกำหนดราคาศุลกากรของสหราชอาณาจักร ประเทศแคนาดา ประเทศออสเตรเลีย สาธารณรัฐเกาหลี และสาธารณรัฐประชาชนจีน พบว่า แม้แนวทางการนำมาประยุกต์ใช้ของแต่ละประเทศจะมีความแตกต่างกันไป แต่มีข้อสังเกตว่า ทุกประเทศต่างมีจุดร่วมที่เหมือนกันคือ การมีข้อกฎหมายหรือแนวปฏิบัติที่ชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร โดยในกรณีของสหราชอาณาจักร และประเทศแคนนาดา มีการยอมให้กลุ่มบรรษัทข้ามชาติสามารถนำข้อมูลที่เป็นประโยชน์จากเอกสารด้านราคาโอนมาใช้ในการประกอบการสำแดงราคาศุลกากรได้ กรณีของประเทศออสเตรเลีย และสาธารณรัฐเกาหลี มีการยอมให้กลุ่มบรรษัทข้ามชาติสามารถนำข้อมูลที่เป็นประโยชน์จากเอกสารด้านราคาโอนมาใช้ประกอบการขอรับคำวินิจฉัยราคาล่วงหน้าได้ และในกรณีของสาธารณรัฐประชาชนจีนมีการยอมให้กลุ่มบรรษัทข้ามชาติสามารถนำข้อมูลที่เป็นประโยชน์จากเอกสารด้านราคาโอนมาใช้ได้ทั้งในการประกอบการสำแดงราคาศุลกากรและการใช้ประกอบการขอรับคำวินิจฉัยราคาล่วงหน้า สำหรับกรณีของประเทศไทย ผู้ศึกษาเห็นควรให้มีการออกแนวปฏิบัติหรือเพิ่มถ้อยความยอมรับ ในกฎหมาย โดยการออกประกาศกรมศุลกากรฉบับใหม่ ที่มีสาระสำคัญว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างราคาศุลกากรและราคาโอน และการให้การยอมรับการนำเอกสารที่เกี่ยวข้องด้านราคาโอนมาใช้ประกอบการพิจารณากำหนดราคาศุลกากร และเห็นควรให้มีการปรับถ้อยความในแบบคำร้องขอให้กำหนดราคาศุลกากรล่วงหน้า ของประกาศกรมศุลกากรที่ 17/2561 ให้มีการเพิ่มข้อความ “เอกสารที่เกี่ยวข้องด้านราคาโอน” เป็นส่วนหนึ่งของเอกสารที่มีความจำเป็นต่อการกำหนดราคาศุลกากรล่วงหน้า กรณีที่ผู้ซื้อและผู้ขายมีความสัมพันธ์กัน อีกทั้งเห็นควรให้มีการจัดทำโครงการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานศุลกากรและสรรพากร ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดราคาศุลกากรและราคาโอนล่วงหน้า ในรูปแบบกระบวนการปรึกษาหารือร่วมกันสามฝ่ายร่วมกับผู้นำเข้า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการประเมินราคาศุลกากร ช่วยอำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมของกลุ่มบรรษัทข้ามชาติ รวมทั้งเป็นไปตามหลักการจัดเก็บภาษีอากรที่ดี


การนำหลักการและวิธีการคำนวณต้นทุนการกู้ยืมตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 23 เรื่อง ต้นทุนการกู้ยืมมาปรับใช้กับการคำนวณต้นทางการกู้ยืมทางภาษีอากร, ธิชา ภัทจารีสกุล Jan 2022

การนำหลักการและวิธีการคำนวณต้นทุนการกู้ยืมตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 23 เรื่อง ต้นทุนการกู้ยืมมาปรับใช้กับการคำนวณต้นทางการกู้ยืมทางภาษีอากร, ธิชา ภัทจารีสกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การจัดหาเงินทุนเพื่อใช้ในการดำเนินกิจการเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่ผู้บริหารต้องให้ความสำคัญเนื่องจากเงินทุนแต่ละแหล่งจะก่อให้เกิดภาระผูกพันและมีต้นทุนที่เกิดขึ้นแตกต่างกันไป โดยผู้บริหารสามารถพิจารณาการจัดหาแหล่งเงินทุนผ่านการประเมินสภาพคล่องและการประมาณการถึงกระแสเงินสดในอนาคตของกิจการ สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการบันทึกรายการต้นทุนการกู้ยืมที่มีผลจากการจัดหาเงินทุนจึงได้มีการนำมาตรฐานการบัญชีที่กำหนดไว้เป็นการเฉพาะมาปรับใช้ เนื่องจากรายการดังกล่าวมีผลกระทบต่องบการเงินเป็นวงกว้างและกระทบกับหลายบัญชีไม่ว่าจะเป็นสินทรัพย์ หนี้สิน รายได้หรือแม้กระทั่งค่าใช้จ่าย ซึ่งผลกระทบดังกล่าวที่เกิดขึ้นนี้ย่อมมีผลต่อการตัดสินใจของผู้ใช้งบการเงิน มาตรฐานการบัญชีที่กำหนดไว้เป็นการเฉพาะดังกล่าวถูกกำหนดไว้ในมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 23 เรื่อง ต้นทุนการกู้ยืม (ปรับปรุง 2562) โดยมีข้อกำหนดถึงหลักเกณฑ์การรับรู้รายการและวิธีการปฏิบัติให้กับ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีสามารถจัดทำบัญชีโดยอยู่ภายใต้มาตรฐานเดียวกัน หลักเกณฑ์ที่กำหนดในมาตรฐาน การบัญชีฉบับนี้กำหนดให้สินทรัพย์ที่แสดงอยู่ในงบการเงินต้องสามารถสะท้อนถึงมูลค่าที่แท้จริงของสินทรัพย์ได้ โดยกิจการจะต้องประเมินถึงมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับและรับรู้ค่าเผื่อผลขาดทุนจากการด้อยค่าเมื่อสินทรัพย์นั้นมีราคาทุนสูงกว่ามูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืน ขณะที่หลักเกณฑ์การรับรู้รายการต้นทุนการกู้ยืมในสินทรัพย์ ทางภาษีอากรไม่ได้มีการกำหนดเรื่องนี้ไว้เป็นการเฉพาะ จะมีเพียงมาตรา 65 ในประมวลรัษฎากรที่กำหนดให้รับรู้รายการรายได้และค่าใช้จ่ายตามเกณฑ์สิทธิโดยไม่ได้มีการพิจารณาถึงมูลค่าที่แท้จริงของสินทรัพย์ จึงส่งผลให้มูลค่าของสินทรัพย์ในทางภาษีอากรไม่สามารถสะท้อนมูลค่าที่แท้จริงได้ ซึ่งผลแตกต่างระหว่าง การรับรู้รายการตามมาตรฐานการบัญชีและทางภาษีดังกล่าวส่งผลกระทบต่อการแสดงข้อมูลในงบการเงินและการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลที่แตกต่างกัน จากผลการศึกษาพบว่าหากกรมสรรพากรมีการกำหนดเงื่อนไขในการรับรู้รายการโดยพิจารณาถึง มูลค่าที่แท้จริงของสินทรัพย์รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติไว้เป็นการเฉพาะจะช่วยทำให้มูลค่าของสินทรัพย์สามารถสะท้อนได้ถึงประโยชน์ที่กิจการจะได้รับและส่งผลให้การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นไปตามหลักภาษีอากรที่ดีตามหลักของผลประโยชน์ที่ได้รับ อีกทั้งการกำหนดหลักเกณฑ์ไว้เป็นการเฉพาะจะช่วยทำให้ลดการใช้ดุลยพินิจในการรับรู้รายการทั้งในส่วนของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีและเจ้าหน้าที่กรมสรรพากร ซึ่งจะช่วยทำให้ลดความไม่แน่นอนและช่วยเพิ่มความสม่ำเสมอในการรับรู้รายการ อีกทั้งยังส่งผลให้เกิด ความเป็นธรรมและความเท่าเทียมอีกด้วย


แนวทางในการนำบริจาคบริการมาใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของประเทศไทย, นวพร กิจประเสริฐ Jan 2022

แนวทางในการนำบริจาคบริการมาใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของประเทศไทย, นวพร กิจประเสริฐ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาเล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักเกณฑ์และปัญหาเกี่ยวกับการบริจาคและการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากการบริจาคสำหรับบุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร พร้อมทั้งศึกษาหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากการบริจาคเป็นบริการของประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศออสเตรเลียเพื่อเป็นแนวทางในการนำมาประยุกต์ใช้ในประเทศไทย จากการศึกษาพบว่าประเทศไทยกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากการบริจาคของผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สามารถใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากการบริจาคเป็นเงินบริจาคเท่านั้น หากผู้เสียภาษีต้องการบริจาคเป็นบริการหรือสละเวลาทำงานจิตอาสาเพื่อช่วยเหลือสังคมโดยการใช้แรงกาย เวลาหรือบริการแทนเงินบริจาค จะไม่มีหลักเกณฑ์ในการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับการบริจาคเป็นบริการ และยังไม่มีหลักเกณฑ์ในการวัดมูลค่าของเวลาและบริการที่ใช้ไปในการบริจาคเพื่อคำนวณสิทธิประโยชน์ทางภาษี ในขณะที่กฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศออสเตรเลียนั้นมีข้อกำหนดในการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากการบริจาคเป็นบริการสำหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา การบริจาคบริการเป็นหนึ่งในรูปแบบของการช่วยเหลือสังคม เสริมสร้างคุณภาพชีวิตและลดความเหลื่อมล้ำในสังคมได้ รวมถึงมีข้อดีทั้งในแง่ของการลดภาระทางการคลังของรัฐบาลและช่วยสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมขององค์กรการกุศล ดังนั้นภาครัฐจึงควรปรับปรุงบทบัญญัติทางกฎหมายของประเทศไทยเพื่อให้เข้ากับสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงในปัจจุบันและเป็นไปตามหลักการบริหารภาษีอากรที่ดี โดยนำหลักเกณฑ์ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศออสเตรเลียมาปรับใช้ ทำให้บุคคลธรรมดาสามารถบริจาคเป็นบริการและได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี สามารถนำค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นโดยตรงจากการบริจาคบริการเพื่อการกุศลมาหักลดหย่อนภาษีได้ ถึงแม้ว่าจะมีข้อจำกัดที่ไม่สามารถวัดมูลค่าของบริการหรือมูลค่าของเวลาที่ใช้ไปเพื่อนำมาลดหย่อนภาษี แต่ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงอันเป็นผลโดยตรงจากบริการเพื่อช่วยเหลือสังคมจะสามารถนำมาใช้ในการลดหย่อนภาษีได้ เพื่อเป็นแรงจูงใจในการสนับสนุนบริจาคบริการในภาคเอกชน และถ้าหากผู้บริจาคได้รับค่าตอบแทนจากองค์กรการกุศลในฐานะที่เป็นอาสาสมัครหรือเป็นผู้ให้บริการเพื่อการกุศล ไม่ว่าจะเป็นเงินจ่ายคืนจากค่าใช้จ่ายที่อาสาสมัครออกเงินไปก่อน หรือเงินค่าธรรมเนียมการให้บริการจะถือเป็นเงินได้ที่ได้รับยกเว้น ไม่ต้องนำไปคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพื่อช่วยบรรเทาภาระภาษีของภาคเอกชนที่มีเจตนาที่จะบริการเพื่อช่วยเหลือสังคมโดยไม่ได้หวังผลตอบแทนใด ๆ


แนวทางในการพัฒนาการรับรองมาตรฐานผักอินทรีย์ในประเทศไทย, นิภาส แสงจันทร์ Jan 2022

แนวทางในการพัฒนาการรับรองมาตรฐานผักอินทรีย์ในประเทศไทย, นิภาส แสงจันทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรการในการกำกับดูแล และการรับรองมาตรฐานผักอินทรีย์ของหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนในประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันการเลือกที่จะบริโภคผักที่ปลอดสารพิษ และได้รับการรับรองที่ถูกต้องถือเป็นเรื่องที่สำคัญที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญ รวมทั้งเรื่องการได้รับมาตรฐานต่างๆในการส่งออกหรือมาตรฐานในการรับรองที่เป็นที่ยอมรับ ปัจจุบันมีการพัฒนาตามเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วและเทรนด์การดูแลสุขภาพที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นของโลก เราควรให้ความสำคัญกับการบริโภคผักอินทรีย์ที่มีมาตรฐานที่ดีเพื่อให้สอดคล้อง กับความต้องการของประชากร เพื่อตอบสนองความต้องการและสร้างมาตรฐานในการรับรองสินค้าผักอินทรีย์จากหน่วยงานภาครัฐเองให้เป็นที่ยอมรับมากขึ้น จากการศึกษาพบว่าประเทศไทยนั้นการรับรองมาตรฐานโดยหน่วยงานภาครัฐ ของประเทศไทย ได้มีการกำหนดใช้มาตรฐานการผลิตพืชอินทรีย์ ตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กําหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร โดยคณะทำงานเฉพาะกิจปรับปรุงมาตรฐานการผลิตพืชอินทรีย์ของประเทศไทย และผ่านการเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารงานวิจัยและพัฒนาเกษตรอินทรีย์ กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการรับรองเกษตรอินทรีย์โดยภาครัฐ และในส่วนขององค์กรภาคเอกชนในประเทศไทย สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (มกท.) รวมถึงสมาพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (International Federation of Organic Agriculture Movement – IFOAM) ได้จัดทำเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำสำหรับตรวจสอบรับรองเกษตรอินทรีย์เป็นที่ยอมรับในกลุ่มประเทศในยุโรปและในปัจจุบันนั้นก็พบว่าการรับรองผักอินทรีย์ในประเทศไทย ในการรับรองโดยหน่วยงานภาครัฐไม่ได้การยอมรับมาตรฐานสากล และไม่ได้ใช้เป็นมาตรฐานบังคับในส่วนของหน่วยงานที่ภาครัฐให้การรับรอง แนวทางการสร้างมาตรฐานผักอินทรีย์ในประเทศไทยปัจจุบัน ยังขาดความชัดเจนในเรื่องของการกำหนดมาตรฐานของสินค้าเกษตรอินทรีย์โดยเฉพาะผักอินทรีย์ ให้เป็นมาตรบังคับ และส่งเสริมให้เป็นที่ยอมรับของสากล ทำให้มีสินค้าที่ผลิตได้ไม่มีมาตรฐานการรองรับที่ดี ส่งผลในเรื่องของความเชื่อมั่นกับตัวสินค้าในมุมมองของผู้บริโภคอีกด้วยจึงควรกำหนดแนวทางการพัฒนามาตรฐานผักอินทรีย์ให้มีมาตรฐานที่ดี โดยเปรียบเทียบกับการรับรองมาตรผักอินทรีย์จากต่างประเทศเพื่อการรับรองมาตรฐานผักอินทรีย์ในประเทศไทยที่ได้รับการรับรองโดยหน่วยงานของภาครัฐให้มีมาตรฐานที่ดียิ่งขึ้นและเป็นที่ยอมรับของต่างประเทศอีกด้วย ผู้ศึกษาเห็นว่าตามที่ได้ไปศึกษามาในการรับรองมาตรฐานในต่างประเทศ โดยศึกษามาตรการของประเทศแคนนาดามีระบบเกษตรอินทรีย์แคนาดาอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐบาลแคนาดา (Canada Organic Regime-COR) ซึ่งได้กำหนดกฎระเบียบผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ (Organic Products Regulations, 2009-SOR/2009-176) ปรากฏอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร (CANADA Agricultural Products Act) ซึ่งเนื้อหาว่าด้วยเรื่องของการรับรองหน่วยงาน รับรองระบบงาน หน่วยงานรับรอง การติดฉลาก และการค้าระหว่างประเทศ และประเทศญี่ปุ่นมีระบบเกษตรอินทรีย์ของญี่ปุ่นอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐบาลญี่ปุ่น กระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง (Ministry of Agriculture, Forestry and Fisheries - MAFF) ซึ่งได้กำหนดแนวปฏิบัติระบบเกษตรอินทรีย์หน่วยงานที่สามารถให้การรับรอง และสามารถติดฉลาก Organic JAS และประเทศญี่ปุ่น และประเทศแคนนาดาเองจะให้ความสำคัญในการรับรองมาตรฐานจากหน่วยงานภาครัฐเพื่อรับรองทั้งสินค้านำเข้าและส่งออกได้รวมถึงพัฒนาระเบียบต่างๆให้เป็นที่ยอมรับของสากลรวมถึงเข้าร่วมมาตรฐานต่างๆของแต่ละประเทศที่เป็นที่ยอมรับ ดังนั้นเพื่อนำมาเป็นแนวทางในการปรับใช้ในประเทศไทย และเป็นแนวทางในการสร้างมาตรฐานในประเทศไทยของหน่วยงานภาครัฐที่ให้การรับรองให้มีมาตรฐานเทียบเท่าระดับสากลอย่างมีประสิทธิภาพ อันจะเป็นประโยชน์กับประเทศไทย ที่จะได้รับรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการส่งออกหรือสินค้ามีมาตรฐานที่ยอมรับมากขึ้นในประเทศ และเพื่อให้เกิดการพัฒนาในการรับรองมาตรฐานของหน่วยงานภาครัฐ สร้างความเชื่อมั่น (Credibility) ที่เป็นสิ่งสำคัญและเป็นหัวใจหลักของของการเกษตรและผู้ชอบดูแลสุขภาพ รวมถึงผู้ประกอบการรายใหญ่ที่หวังว่าภาครัฐจะสามารถให้การรับรองในผลิตภัณฑ์ผักอินทรีย์เพื่อส่งออกไปขายยังต่างประเทศได้หน่วยงานภาครัฐจึงควรตั้งหน่วยงานเฉพาะขึ้นมาเพื่อศึกษาหรือควบรวมกับภาคเอกชนให้สามารถมีมาตรฐานรับรองที่สามารถรับรองถึงมาตรฐานการนำเข้าสินค้า และส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศได้ เพื่อให้การรับรองเป็นมาตรฐานของหน่วยงานภาครัฐมีมาตรฐานมากขึ้นนั้นเอง และมาตรฐานของประกาศกระทรวงเกษตร เกี่ยวกับมาตรฐานเกษตรอินทรีย์นั้นก็ควรแก้ไขให้ใช้เป็นเป็นมาตรฐานบังคับในการรับรองมาตรฐาน เพื่อให้การที่จะนำเข้า และส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศได้นั้นจะต้องยึดตามมาตรฐานตามกำหนดนี้ ซึ่งดูจากข้อมูลของต่างประเทศแล้วได้ใช้เป็นเกณฑ์บังคับ การรับรองมาตรฐานของแต่ละหน่วยงานควรจะต้องมีมาตรฐานที่ดีขึ้นและยังเป็นผลดีต่อทั้งผู้บริโภคอีกด้วยในการที่จะได้ซื้อสินค้าที่มีมาตรฐานที่ดีโดยที่หน่วยงานภาครัฐนั้นผ่านการตรวจสอบมาแล้วนั้นเอง อีกทั้งยังเป็นความสบายใจของผู้บริโภคที่จะได้บริโภคสินค้าที่ปลอดภัย


แนวทางการจัดเก็บและยกเว้นภาษีสรรพสามิตจากบรรจุภัณฑ์เพื่อส่งเสริมการกู้คืนบรรจุภัณฑ์ในประเทศไทย, ปริญญ์ วานิชพิพัฒน์ Jan 2022

แนวทางการจัดเก็บและยกเว้นภาษีสรรพสามิตจากบรรจุภัณฑ์เพื่อส่งเสริมการกู้คืนบรรจุภัณฑ์ในประเทศไทย, ปริญญ์ วานิชพิพัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันในประเทศไทยมีการใช้บรรจุภัณฑ์อย่างแพร่หลายก่อให้เกิดขยะจากบรรจุภัณฑ์จำนวนมหาศาล ในขณะที่ประเทศไทยยังไม่มีมาตรการการจัดการขยะจากบรรจุภัณฑ์ที่ดีเท่าที่ควร ทำให้ไม่สามารถกำจัดขยะบรรจุภัณฑ์ได้อย่างถูกวิธี เนื่องจากไม่ได้มีการแยกขยะตั้งแต่ต้นทางจึงไม่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ ส่งผลให้เกิดปัญหาขยะบรรจุภัณฑ์ที่ตกค้างอยู่ในสิ่งแวดล้อมจำนวนมาก ซึ่งขยะบรรจุภัณฑ์ส่วนมากที่พบล้วนเป็นขยะที่ย่อยสลายยากไม่ว่าจะเป็น ขวดน้ำพลาสติก ขวดโลหะ หรือแม้แต่ขวดแก้ว และปัญหาการทิ้งขยะบรรจุภัณฑ์ที่กระจัดกระจายนั้นยังนำไปสู่ปัญหาการ อุดตันตามท่อระบายน้ำทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วม ปัญหาขยะลอยในแม่น้ำและไหลลงทะเลในที่สุด ในปัจจุบันพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 ไม่มีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากบรรจุภัณฑ์ โดยไม่ได้บัญญัติให้บรรจุภัณฑ์เป็นสินค้าที่อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีสรรพสามิตจึงไม่ได้กำหนดประเภทของบรรจุภัณฑ์ที่ต้องเสียภาษี และไม่ได้กำหนดอัตราภาษีของบรรจุภัณฑ์แต่ละชนิดประเภทไว้เป็นอย่างเฉพาะ รวมทั้งไม่มีมาตรการทางภาษีเพื่อกระตุ้นให้ผู้ประกอบการต้องมีระบบการกู้คืนบรรจุภัณฑ์ของตนเองกลับคืนมาเพื่อประโยชน์ในการใช้ซ้ำและนำกลับมาใช้ใหม่ เพื่อลดขยะบรรจุภัณฑ์และเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมจากขยะบรรจุภัณฑ์ตกค้างสะสมในประเทศไทย ซึ่งจากการศึกษาหลักเกณฑ์การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตบรรจุภัณฑ์จากผู้ผลิตและนำเข้ารวมถึงการบังคับใช้มาตรการยกเว้นทางภาษีจากการกู้คืนบรรจุภัณฑ์ของสาธารณรัฐเอสโตเนีย ที่มีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตบรรจุภัณฑ์ในอัตราที่แตกต่างกันในแต่ละประเภทของวัสดุบรรจุภัณฑ์ ขึ้นอยู่กับความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและความยากง่ายในการนำกลับมาใช้ใหม่หรือรีไซเคิล รวมถึงให้สิทธิประโยชน์ในการยกเว้นภาษีสรรพสามิตกับผู้ประกอบการที่ทำการกู้คืนบรรจุภัณฑ์ได้ตามเป้าหมายที่กำหนด อีกทั้งยังมีการใช้ระบบวางมัดจำเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกู้คืนขยะ และเพื่อให้มาตรการทางภาษีมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยผลลัพธ์ที่ได้จากการบังคับใช้มาตรการทางภาษีและการกู้คืนของสาธารณรัฐเอสโตเนีย พบว่าอัตราการกู้คืนขยะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณขยะของประเทศ และยังทำให้สาธารณรัฐเอสโตเนียสามารถบรรลุเป้าหมายการกู้คืนบรรจุภัณฑ์ตามที่สหภาพยุโรปกำหนดไว้ ดังนั้นประเทศไทยจึงควรมีมาตรการทางกฎหมายเพื่อใช้ในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตบรรจุภัณฑ์จากผู้ผลิตและนำเข้า รวมถึงการบังคับใช้มาตรการยกเว้นทางภาษีจากการกู้คืนบรรจุภัณฑ์มาบังคับใช้ โดยให้จัดเก็บภาษีสรรพสามิตบรรจุภัณฑ์จากผู้ผลิตและนำเข้าในอัตราที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับประเภทของวัสดุบรรจุภัณฑ์และจัดให้มีการยกเว้นภาษีให้กับผู้ผลิตและผู้นำเข้าที่สามารถกู้คืนบรรจุภัณฑ์ได้ตามเป้าหมายการกู้คืนที่กำหนด โดยภาครัฐต้องกำหนดอัตราการ กู้คืนที่เหมาะสม อีกทั้งควรมีการจัดตั้งองค์กรกู้คืนเพื่อช่วยกลุ่มธุรกิจขนาดย่อยในการจัดการกู้คืนขยะ ควรให้มีการนำระบบการวางมัดจำมาใช้เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วม และควรมีการกำหนดบทลงโทษสำหรับผู้ผลิต ผู้นำเข้า และองค์กรกู้คืนที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดในการกู้คืนและไม่สามารถกู้คืนบรรจุภัณฑ์ได้ตามอัตราที่กฎหมายกำหนด เพื่อให้การบังคับใช้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด


แนวทางของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้เสียในการออกตราสารหนี้ส่งเสริมความยั่งยืนเพื่อป้องกันประเด็นปัญหาการฟองเขียว (Greenwashing) ซี่งส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจลงทุนของนักลงทุน, ปาณิสรา เบ็ญจกุล Jan 2022

แนวทางของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้เสียในการออกตราสารหนี้ส่งเสริมความยั่งยืนเพื่อป้องกันประเด็นปัญหาการฟองเขียว (Greenwashing) ซี่งส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจลงทุนของนักลงทุน, ปาณิสรา เบ็ญจกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

แนวความคิดในการดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับความยั่งยืนด้วยการผนวกประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม (Environment) สังคม (Social) และธรรมาภิบาล (Governance) หรือที่เรียกรวมๆ กันว่า “ESG” กำลังได้รับความสนใจในมุมกว้าง โดยเฉพาะตลาดทุนในฐานะที่เป็นศูนย์กลางในการระดมเงินทุนจึงมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านความยั่งยืนดังกล่าว ซึ่งหนึ่งในเครื่องมือทางการเงินที่ได้รับความนิยมและมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง คือ “ตราสารหนี้ด้านความยั่งยืน” หรือ “ESG Bond” ตลาดตราสารหนี้ในประเทศไทยในปัจจุบันมีเครื่องมือการระดมทุนประเภทตราสารหนี้ด้านความยั่งยืน 4 ประเภท ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1) ตราสารหนี้ที่พิจารณาจากวัตถุประสงค์ของการใช้เงิน (Use of Proceeds-based Financing) ได้แก่ ตราสารหนี้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Green Bond) ตราสารหนี้เพื่อพัฒนาสังคม (Social Bond) และตราสารหนี้เพื่อความยั่งยืน (Sustainability Bond) และกลุ่มที่ 2) ตราสารหนี้ที่อ้างอิงกับผลสำเร็จที่คาดหมายในอนาคต (Forward-looking performance-based instrument หรือ Sustainability-Linked Financing) ได้แก่ ตราสารหนี้ส่งเสริมความยั่งยืน (Sustainability-Linked Bond) Sustainability-Linked Bond หรือ SLB คือ ตราสารหนี้ส่งเสริมความยั่งยืนรูปแบบใหม่ที่มุ่งเน้นให้เกิดผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม โดยมีเงื่อนไขการให้ผลตอบแทนหรืออัตราดอกเบี้ยที่สามารถเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ ขึ้นอยู่กับผลสำเร็จของตัวชี้วัดและเป้าหมายของบริษัทผู้ออก SLB ที่จะทำให้เกิดความยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม โดยผู้ออกตราสารสามารถนำเงินไปใช้ในวัตถุประสงค์ใดก็ได้ ด้วยการเปิดกว้างในเรื่องของวัตถุประสงค์การใช้เงินซึ่งมีความยืดหยุ่นมากเกินไปนี้เองเป็นสิ่งที่ทำให้นักลงทุนมีความกังวลว่า เม็ดเงินที่ลงทุนไปนั้นอาจจะไม่ได้ถูกนำไปใช้ในวัตถุประสงค์ด้านความยั่งยืนอย่างแท้จริงและอาจจะก่อให้เกิดภาวะการฟอกเขียว (Greenwashing) ในตลาดทุนได้ ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันภาวะการฟอกเขียวในการลงทุนในตราสารหนี้ส่งเสริมความยั่งยืน ข้อมูลจะต้องมีความชัดเจนเพียงพอและโปร่งใส โดยข้อมูลที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ในฐานะหน่วยงานที่กำกับดูแลและเปิดเผยต่อสาธารณชนแล้วนี้เองจะเป็นข้อมูลสำคัญที่นักลงทุนนำมาใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุนได้ดีขึ้น สหภาพยุโรป ภูมิภาคที่เป็นผู้นำด้านการลงทุนด้านความยั่งยืนได้มีการออกกฎหมายการจัดหมวดหมู่ธุรกิจสีเขียว หรือที่รู้จักกันในชื่อ “EU Taxonomy Regulation” ซึ่งมีสาระสำคัญ คือ การกำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาว่าธุรกิจใดเข้าข่ายเป็นธุรกิจสีเขียว (Environmentally Sustainable) ซึ่งจะช่วยเป็นกรอบอ้างอิงให้ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน รวมถึงสถาบันการเงิน สามารถบรรจุแนวคิดความยั่งยืนลงไปในระดับจุลภาคเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ตามทิศทางที่กำหนด การมีกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนเพียงพอในประเทศไทยจะช่วยป้องกันหรือลดภาวะฟอกเขียวได้และส่งเสริมให้ตลาดทุนเติบโตต่อไปได้อย่างยั่งยืน โดยการกำหนดนิยามกิจกรรมทางเศรษฐกิจสีเขียว (Taxonomy) เพื่อให้สามารถจำแนกและจัดสรรเงินทุนไปสู่กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ให้ความสำคัญกับประเด็นสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทของไทย (Thai Taxonomy)


มาตรการภาครัฐในการให้เงินช่วยเหลือผู้มีฐานะยากจน, พงษ์เทพ ถิฐาพันธ์ Jan 2022

มาตรการภาครัฐในการให้เงินช่วยเหลือผู้มีฐานะยากจน, พงษ์เทพ ถิฐาพันธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ประเทศไทยในทศวรรษที่ผ่านมาได้มีการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอย่างต่อเนื่อง ผ่านกลไกบริหารงานของรัฐบาล ในอดีตจนถึงปัจจุบัน ปัญหาหนึ่งที่สำคัญของประเทศ คือ ปัญหายากจน ที่มีมาอย่างยาวนานควบคู่กับการพัฒนาประเทศ แม้จะมีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจตามลำดับ แต่สิ่งหนึ่ง ที่สำคัญ คือ ปัญหาความเหลื่อมล้ำในการกระจายรายได้ให้ผลประโยชน์ไปตกอยู่คนทุกคนในชาติอย่างทั่วถึง ซึ่งปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาความเหลื่อมล้ำของสังคม ดังจะเห็นได้ว่า เมื่อมีความเจริญทางเศรษฐกิจมากขึ้น คนจนไม่ว่าจะเป็นจำนวนหรือสัดส่วน ระหว่าง คนจนกับคนรวยมีมากขึ้น ช่องว่างระหว่างความยากจน และความไม่เสมอภาคยังมีอยู่อย่างมาก แม้ว่ารัฐบาล ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ได้ทุ่มเทงบประมาณเป็นจำนวนมาก เพื่อขจัดปัญหาดังกล่าวให้บรรเทาเบาบางลง เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ โดยได้จัดสวัสดิการด้านต่าง ๆ ทางสังคมให้แก่ประชาชนตลอดชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย ไม่ว่า จะเป็นสวัสดิการสำหรับเด็กและครอบครัว สวัสดิการด้านการศึกษา สวัสดิการด้านสุขภาพ สวัสดิการ ด้านคนพิการหรือด้อยโอกาส สวัสดิการผู้สูงอายุ เป็นต้น หนึ่งในโครงการที่รัฐบาลได้จัดทำ คือ โครงการให้เงินคนยากจน หรือผู้ประสบปัญหาโดยรัฐได้เปิดโอกาสให้ประชาชนลงทะเบียนตามกลุ่มอาชีพและแจกเงินโดยตรงให้กับประชาชนผ่านระบบธนาคารพาณิชย์ นอกเหนือจากสวัสดิการอื่น ๆ ที่มีอยู่แล้ว เหตุที่น่าสนใจและนำไปสู่การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ คือ คำถามที่เกิดขึ้นว่า คนที่ได้รับความช่วยเหลือ โดยการแจกเงินจากรัฐเป็นคนจนหรือคนที่ได้รับความช่วยเหลือจริงหรือไม่ การแจกเงินแบบเหวี่ยงแหจะไม่มีปัญหาเลยถ้าประเทศของเรามีเงินมากพอเหลือเฟืออย่างประเทศกลุ่มผู้ค้าน้ำมัน กาลกลับตรงกันข้าม นอกจากประเทศไทยไม่มีเงินมากพอแล้ว ยังมีภาระของประเทศที่ผูกพันต่อเนื่องมายาวนานในรูปแบบหนี้สาธารณะ ซึ่งมีจำนวนสูงถึง 10 ล้านล้านบาท และมีงบประมาณขาดดุลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 - ปัจจุบัน ขาดดุลงบประมาณ ปีละไม่น้อยกว่า 4 แสนล้านบาท อย่างไรก็ตาม การแจกเงินให้กับประชาชนคนยากจน ไม่ควรจะเป็นคำตอบสุดท้ายที่รัฐบาลจะนำมาใช้เพื่อการแก้ปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำของสังคม เพราะจะไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืนและพัฒนาประเทศได้อย่างเหมาะสม ซึ่งแนวคิดที่ควรจะเป็นของรัฐบาลคือการสร้างงาน สร้างโอกาส สร้างอาชีพ ขจัดอุปสรรคในการทำมาหาเลี้ยงชีพของประชาชน ส่งเสริมให้ประชาชนทุกระดับได้ใช้ศักยภาพของตนเองอย่างเหมาะสมและเต็มความสามารถในการประกอบอาชีพต่าง ๆ เพื่อร่วมกันพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าต่อไป ถึงแม้ว่า การแจกเงินให้กับคนยากจนจะไม่ใช่คำตอบที่ดีที่สุดของรัฐบาลก็ตาม แต่ถ้าหากประชาชน คนยากจนได้ใช้ศักยภาพและความสามารถในการหารายได้แล้ว ก็ยังไม่สามารถที่จะหารายได้เลี้ยงตัวเองได้ในที่สุด รัฐบาลจึงจำเป็นต้องใช้วิธีการแจกเงินเพื่อให้ประชาชนคนยากจนมีรายได้ไปซื้อของที่จำเป็นกับการดำรงชีวิต ในช่วงเวลาที่เหมาะสม ประกอบกับการมีเหตุวิกฤติต่าง ๆ ที่ทำให้ประชาชนประกอบอาชีพไม่ได้ตามปกติ อันเป็นผลมาจากข้อห้าม ข้อกำหนด และข้อปฏิบัติของรัฐบาลที่จำกัดโอกาสในการประกอบอาชีพเพราะเหตุวิกฤติ รัฐบาลจึงมีหน้าที่ต้องให้ความช่วยเหลือประชาชนแม้จะเป็นภาระต่องบประมาณของรัฐก็ตาม ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเกิดวิกฤติโรคระบาดไวรัสโคโรนา 2019 แม้รัฐบาลจะไม่มีเงินเพียงพอ รัฐบาลก็ยังจำเป็นที่ต้องกู้เงินหาเงินมาเยียวยาประชาชนโดยเฉพาะคนยากจน โดยได้ออกพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 …


ปัญหาการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจากมูลค่าทรัพย์สินตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 กรณีศึกษา : หอพัก อะพาร์ตเมนต์, ภนิตา ชูวงศ์วณิช Jan 2022

ปัญหาการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจากมูลค่าทรัพย์สินตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 กรณีศึกษา : หอพัก อะพาร์ตเมนต์, ภนิตา ชูวงศ์วณิช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา วิธีการประเมินการจัดเก็บภาษีตามสภาพลักษณะของสิ่งปลูกสร้างที่ใช้เป็นมาตรฐานสากลเพื่อจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และเพื่อศึกษาการประเมิน การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในประเทศไทย ที่ไม่คำนึงถึงสภาพความเป็นจริงถึงประเภทของทรัพย์สินที่ผูกโยงกับการใช้ประโยชน์ของทรัพย์สิน เช่น หอพัก อะพาร์ตเมนต์ ถูกจัดอยู่ในกลุ่มเสียภาษีอัตราที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่อการอยู่อาศัย และไม่เสียภาษีในอัตราเชิงพาณิชย์ แม้ว่ามีการจดทะเบียนพาณิชย์ อีกทั้งเพื่อศึกษาแนวทางการแก้ไขปรับปรุงและข้อเสนอแนะสำหรับการใช้วิธีการประเมินมูลค่าทรัพย์สินเพื่อการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เหมาะสมของประเทศไทย โดวิเคราะห์และเปรียบเทียบปัญหาการประเมินราคาที่ดินและสิ่งปลูกสร้างสำหรับธุรกิจหอพัก อะพาร์ตเมนต์ในประเทศไทย ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475 และพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 และผู้วิจัยได้เปรียบเทียบการจัดเก็บภาษีทรัพย์สินของธุรกิจหอพัก อะพาร์ตเมนต์ในประเทศอังกฤษเพื่อใช้มาเป็นแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงปัญหาที่เกิดขึ้นด้วย จากผลการศึกษาพบว่า การประเมินราคาที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 การแบ่งประเภททรัพย์สินตามลักษณะการใช้ประโยชน์ได้กำหนดให้ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์ในการประกอบธุรกิจหอพัก อะพาร์ตเมนต์ กับที่อยู่อาศัย เสียภาษีในอัตราเท่ากัน โดยไม่พิจารณาว่าหอพัก อะพาร์ตเมนต์ถือเป็นการประกอบกิจการเชิงพาณิชย์ ก็นับว่าเป็นการกำหนดเกณฑ์ที่เกิดความไม่เป็นธรรมกับผู้เสียภาษี จึงได้ศึกษาหลักเกณฑ์ในการประเมินราคาและการจัดเก็บภาษีทรัพย์สินสำหรับธุรกิจหอพัก อะพาร์ตเม้นต์ ในประเทศอังกฤษเพื่อนำมาเปรียบเทียบกับประเทศไทย จึงพบว่าประเทศอังกฤษได้มีการวางหลักเกณฑ์ประเมินมูลค่าทรัพย์สินแบ่งออกเป็น 2 ระบบ ได้แก่ การคำนวณภาษีด้วยวิธีคำนวณจากมูลค่าทรัพย์สินและใช้วิธีการประเมินค่าเช่ารายปีสำหรับทรัพย์สินที่ใช้ในทางธุรกิจที่ควรได้รับเป็นฐานภาษีหรือวิธีค่ารายปี ซึ่งเป็นวิธีที่คล้ายคลึงกับพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475 เมื่อศึกษาเปรียบเทียบทั้งข้อดีและข้อเสียของการประเมินมูลค่าทรัพย์สิน ผู้วิจัยได้ข้อสรุปว่าประเทศไทยควรแบ่งระบบการจัดเก็บภาษีเป็น2ระบบเหมือนประเทศอังกฤษเพื่อแบ่งแยกให้ชัดเจนว่าหากเป็นการใช้เพื่ออยู่อาศัยไม่ได้หาประโยชน์ จะใช้วิธี Council Tax เป็นการคำนวณภาษีจากมูลค่าทรัพย์สิน แต่หากเป็นสถานที่ที่ไม่มีการพักอาศัยหรือไว้ใช้หาประโยชน์ ใช้วิธี Non-Domestic Rate ประเมินมูลค่าทรัพย์สินโดยพิจารณารายได้ ซึ่งมีความคล้ายกับวิธีค่ารายปีที่ประเทศไทยเคยใช้ประเมินตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475 ซึ่งปัจจุบันได้ยกเลิกไปแล้ว ซึ่งผู้เขียนเห็นว่าเป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการประเมินมูลค่าทรัพย์สินของธุรกิจหอพัก อะพาร์ตเมนต์ในประเทศไทย เพื่อทำให้เกิดความเป็นธรรมกับผู้เสียภาษี


แนวทางในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตของเรือยอร์ชและยานพาหนะทางน้ำที่ใช้เพื่อความสำราญ, วิรงรอง นัยวัฒน์ Jan 2022

แนวทางในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตของเรือยอร์ชและยานพาหนะทางน้ำที่ใช้เพื่อความสำราญ, วิรงรอง นัยวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เรือยอชต์เป็นยานพาหนะทางน้ำที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่ยาวนาน นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 14 โดยเรือยอชต์เป็นเรือที่มีคุณลักษณะเฉพาะแตกต่างจากเรือที่ใช้ในการสัญจรทางน้ำโดยทั่วไป และเป็นที่ทราบกันดีว่าเรือยอชต์เป็นสินค้าที่มีมูลค่าราคาสูงและมีค่าใช้จ่ายในการบำรุงดูแลรักษาค่อนข้างสูง จากข้อจำกัดที่กล่าวข้างต้นทำให้มีผู้บริโภคเพียงบางกลุ่มเท่านั้นที่จะมีความสามารถในการจับจ่ายเพื่อเป็นเจ้าของหรือเป็นผู้ครอบครองเรือยอชต์และยานพาหนะทางน้ำที่ใช้เพื่อความสำราญได้ ซึ่งเรือยอชต์และยานพาหนะทางน้ำที่ใช้เพื่อความสำราญถือเป็นสินค้าที่มีลักษณะฟุ่มเฟือยโดยสภาพสำหรับบุคคลทั่วไป แต่อาจไม่ได้เป็นสินค้าที่มีลักษณะฟุ่มเฟือยสำหรับบุคคลที่มีฐานะมั่งคั่งร่ำรวย ดังนั้นจึงเป็นเหตุผลอันสมควรที่ภาครัฐจะต้องมีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากเรือยอชต์และยานพาหนะทางน้ำที่ใช้เพื่อความสำราญตามหลักผลประโยชน์ที่ได้รับและหลักความสามารถในการเสียภาษี ประเทศไทยมีมาตรการทางภาษีที่ใช้ในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตของเรือยอร์ชและยานพาหนะทางน้ำที่ใช้เพื่อความสำราญ ตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 คือ ประเภทที่ 08.01 สินค้าเรือ โดยกำหนดให้อัตราภาษีสรรพสามิตของเรือยอชต์และยานพาหนะทางน้ำที่ใช้เพื่อความสำราญอยู่ที่อัตราร้อยละ 50 ตามมูลค่า ต่อมาได้มีกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 ให้มีการลดอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับเรือยอชต์และยานพาหนะทางน้ำที่ใช้เพื่อความสำราญให้เหลืออัตราร้อยละ 0 โดยวัตถุประสงค์ในการลดอัตราภาษีคือ เพื่อประโยชน์ในด้านเศรษฐกิจของประเทศ ต้องการส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทย ซึ่งการที่ภาครัฐไม่สามารถจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากเรือยอชต์และยานพาหนะทางน้ำที่ใช้เพื่อความสำราญได้ ทำให้ภาครัฐสูญเสียรายได้มหาศาลจากการจัดเก็บภาษีเพื่อจะนำไปใช้ในการพัฒนาประเทศชาติและก่อให้เกิดปัญหาความไม่เป็นธรรมในการจัดเก็บภาษีทำให้เกิดช่องว่างทางสังคมเพิ่มมากขึ้นระหว่างคนรวยและคนจน หากเปรียบเทียบกับประเทศสาธารณรัฐฟิลิปปินส์และประเทศกรีซ ซึ่งมีอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นแหล่งรายได้หลักของประเทศ จะพบว่าทั้งสองประเทศยังคงมีมาตรการทางภาษีเพื่อใช้ในการควบคุมการบริโภค สำหรับเรือยอชต์และยานพาหนะทางน้ำที่ใช้เพื่อความสำราญ โดยประเทศสาธารณรัฐฟิลิปปินส์จัดเก็บภาษี สรรพสามิต ในอัตราร้อยละ 20 จากราคาขายหรือมูลค่า ในขณะที่ประเทศกรีซจัดเก็บภาษีเรือสันทนาการและเรือ ท่องเที่ยวรายวัน โดยเริ่มต้นจัดเก็บภาษีจากเรือที่ล่องในน่านน้ำกรีซที่ขนาดความยาวตั้งแต่7 เมตรขึ้นไป ซึ่งจะต้อง เสียภาษี16 € ต่อเดือน หรือ 192 € ต่อปีโดยขนาดของเรือยิ่งมีความยาวมากก็จะต้องเสียภาษีมากขึ้น ดังนั้นประเทศไทยควรมีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากเรือยอชต์และยานพาหนะทางน้ำที่ใช้เพื่อความ สำราญเช่นในอดีตที่เคยปฏิบัติมา โดยกำหนดอัตราภาษีอยู่ที่ร้อยละ 20-30 เพื่อทำให้การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตชองเรือยอชต์และยานพาหนะทางน้ำที่ใช้เพื่อความสำราญของประเทศไทยเกิดความเป็นธรรมสอดคล้องกับหลักการบริหารภาษีที่ดี นอกจากนี้มาตรการทาง กฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องก็จะต้องมีการกำหนดให้มีความชัดเจนสอดคล้องกันไปด้วย ซึ่งได้แก่การกำหนดคำนิยามของเรือยอชต์และยานพาหนะทางน้ำที่ใช้เพื่อความสำราญจะต้องมีความชัดเจน โดยจะต้องมีการระบุถึงลักษณะ ประเภท ขนาด หรือน้ำหนักของเรือยอชต์และยานพาหนะทางน้ำที่ใช้เพื่อความสำราญที่จะทำการจัดเก็บภาษี ดังนั้นภาครัฐจึงควรที่จะประสานกฎหมายที่เกี่ยวข้องทุกฉบับ ให้มีความชัดเจนและความสอดคล้องกัน เพื่อขจัดปัญหาโต้แย้งในการตีความคำนิยามและลดการใช้ดุลยพินิจของผู้ที่เกี่ยวข้อง และทำให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น


ความไม่สอดคล้องของการกำหนดวงเงินคุ้มครองเงินฝากตามพระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ. 2551 กับมาตรการส่งเสริมการออมเกษียณอายุ, ศรัทธา จันทรเศรษฐเลิศ Jan 2022

ความไม่สอดคล้องของการกำหนดวงเงินคุ้มครองเงินฝากตามพระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ. 2551 กับมาตรการส่งเสริมการออมเกษียณอายุ, ศรัทธา จันทรเศรษฐเลิศ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ. 2551 คุ้มครองเงินฝากไม่เกิน 1 ล้านบาท ไม่ได้สัดส่วนกับนโยบายมาตรการส่งเสริมการออม ในการวางแผนเกษียณอายุ ในอดีตประเทศไทยไม่มีระบบคุ้มครองเงินฝากที่ชัดเจน การดูแลผู้ฝากเงินขึ้นกับนโยบายของทางการในแต่ละสถานะการณ์ จนในปี 2540 ประเทศไทยประสบวิกฤติการณ์ทางการเงินขั้นรุนแรง โดยเฉพาะการเกิดปัญหาฐานะหรือการดำเนินงานของธนาคารกรุงเทพพาณิชย์การ เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2540 คณะรัฐมนตรีจึงได้ประกาศให้ความคุ้มครองผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้เต็มจำนวน โดยกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้รับหน้าที่ในการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่สถาบันการเงินที่ประสบปัญหา ธนาคารแห่งประเทศไทย กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคารโลกได้เสนอมาตราการจัดการกับปัญหาเรื่องความเชื่อมั่นของผู้ฝากเงินซึ่งก็คือ “ระบบคุ้มครองเงินฝาก” วงเงินคุ้มครองที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ. 2551 จากคุ้มครองเต็มทั้งจำนวนแต่ไม่เกิน 100 ล้านบาท ไม่เกิน 50 ล้านบาท และ ไม่เกิน 10 ล้านบาท จนกระทั้งบังคับใช้วงเงินคุ้มครอง 1 ล้านบาท ในวันที่ 11 สิงหาคม 2564 ผู้ฝากสามารถขอรับคืนได้จากกระบวนการชำระบัญชี ปัจจุบันสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2563 ประเทศไทยมีผู้สูงอายุ 12 ล้านคน คิดเป็นอัตราร้อยละ 18 ของประชาการทั้งหมด โดยคาดการณ์ว่าในปี 2565 ประเทศไทยจะเป็นสังคม “สูงอายุอย่างสมบูรณ์” รัฐบาลโดยกระทรวงการคลังจึงมีโนบายในการจัดตั้งกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) เพื่อเป็นช่องทางการออมขั้นพื้นฐานให้แก่ผู้ที่ยังไม่ได้รับความคุ้มครองเพื่อการชราภาพ ให้ได้รับผลประโยชน์ในรูปบำนาญอันทำให้แรงงานนอกระบบได้รับการดูแลจากภาครัฐ โดยกลุ่มที่ยังไม่มีระบบสวัสดิการรองรับในวัยเกษียณอายุ หรือการวางแผนเกษียณ เมื่อคำนวณค่าใช้จ่ายที่ใช้หลังเกษียณ ต้องมีเงินออมหลังเกษียณอายุจำนวนเงิน 2,710,723.20 บาท ในช่วงระยะเวลา 20 ปี การศึกษานี้ใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากการบทบัญญัติกฎหมาย บทความ วารสาร สิ่งตีพิมพ์ และเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสื่อข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต (Internet) ภาษาไทย เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาเสนอแนวทางและข้อควรพิจารณาในการพัฒนากฎหมาย เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นของประชาชนต่อระบบสถาบันการเงิน ทำให้ส่งเสริมการออมในประเทศ จากการศึกษาพบว่าพระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ. 2551 คุ้มครองเงินฝากไม่เกิน 1 ล้านบาท ไม่ได้สัดส่วนกับนโยบายมาตรการส่งเสริมการออม และจากการคำนวณตามแผนการออมของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือแผนการออมของสถาบันการเงิน เช่นรูปแบบการออมเพื่อการเกษียณใน “กองทุนรวม” ต่างๆ ต้องวางแผนการสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายหลังเกษียณ ต้องมีเงินออม 5,000,0000 บาท


แนวทางการกับกับดูแลการประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล (Digital Personal Loan), ศศิธร แซ่อึ๊ง Jan 2022

แนวทางการกับกับดูแลการประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล (Digital Personal Loan), ศศิธร แซ่อึ๊ง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สินเชื่อมีผลต่อเสถียรภาพระบบการเงินของประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้มีอำนาจตามกฎหมายในการกำกับดูแลระบบการเงินและความมั่นคงของสถาบันการเงิน ในการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ตลาดการเงินดิจิทัลนั้น ได้สนับสนุนให้นำเทคโนโลยีมาใช้ในผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินอย่างแพร่หลายตามแผนยุทธศาสตร์ธปท. ฉบับพ.ศ.2563-2565 โดยธนาคารแห่งประเทศไทยได้อนุมัติให้ผู้ประกอบธุรกิจให้สินเชื่อสามารถปล่อยสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล (Digital Personal Loan) พร้อมทั้งออกประกาศฉบับที่ ธปท.ฝกส.(01) ว.977/2563 เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัลไปยังสถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับที่มิใช่สถาบันการเงิน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้ผู้บริโภคเข้าถึงบริการทางการเงินได้มากขึ้นและลดการพึ่งพาหนี้นอกระบบ อีกทั้งช่วยลดต้นทุนและความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจให้แก่ผู้ให้ประกอบธุรกิจ การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์มุ่งเน้นศึกษาการควบคุมความเสี่ยงในตลาดสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัลของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยฉบับที่ 977/2563 จากการศึกษาพบว่าประกาศฉบับดังกล่าวมีการควบคุมความเสี่ยงในการปล่อยสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัลที่ไม่เพียงพอ ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคทางการเงินที่ใช้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล เนื่องจากมีการผ่อนปรนหลักเกณฑ์ที่มากเกินไปในส่วนของการประเมินความน่าเชื่อถือของผู้ขอสินเชื่อและเรื่องการกำหนดให้ใช้เฉพาะข้อมูลทางเลือก (Alternative Data) ดังนั้น เพื่อให้ผู้บริโภคทางการเงินที่ใช้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัลได้รับความคุ้มครองมากขึ้น จึงควรมีการแก้ไขเนื้อหาของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยฉบับที่ 977/2563 ในส่วนที่มีการผ่อนปรนหลักเกณฑ์การให้สินเชื่อและการต้องใช้เฉพาะข้อมูลทางเลือก ให้มีการบริหารความเสี่ยงที่เข้มข้นขึ้นเพื่อมิให้ผู้บริโภคก่อหนี้เกินตัว โดยกำหนดให้การให้สินเชื่อแก่ผู้บริโภคบนพื้นฐานของการบริหารความเสี่ยงตามหลักการพิจารณาให้สินเชื่อที่คำนึงถึงสถานะทางการเงิน ภาระหนี้สิน หรือความสามารถในการชำระหนี้ของผู้บริโภคเป็นหลักร่วมกับการใช้ข้อมูลทางเลือก อีกทั้งควรเพิ่มแนวทางการคุ้มครองผู้บริโภคทางการเงินจากการถูกฉ้อโกงหรือหลอกลวงจากผู้ประกอบการสินเชื่อดิจิทัลนอกระบบด้วย


ปัญหาเกี่ยวกับการจัดการมัคคุเทศก์ท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2551, สมชนก ชัยประเสริฐกุล Jan 2022

ปัญหาเกี่ยวกับการจัดการมัคคุเทศก์ท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2551, สมชนก ชัยประเสริฐกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมหลักที่สร้างรายได้ให้กับประเทศไทย และมัคคุเทศก์ก็เป็นส่วนสำคัญประการหนึ่งในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่จะดูแลนักท่องเที่ยว ประกอบกับพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2551 ได้กำหนดให้มีมัคคุเทศก์ท้องถิ่นขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมมัคคุเทศก์และการท่องเที่ยวในท้องถิ่นหรือชุมชน ตลอดจนเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาการจัดการมัคคุเทศก์ท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2551 พบว่า มีปัญหาเกี่ยวกับการจัดการมัคคุเทศก์ท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2551 ที่มีผลต่อการส่งเสริมอาชีพมัคคุเทศก์ท้องถิ่นในท้องถิ่นหรือชุมชนเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ดังนี้ 1. คุณสมบัติด้านอายุของมัคคุเทศก์ท้องถิ่น กล่าวคือ มัคคุเทศก์อื่นต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ในวันยื่นคำขอรับใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ แต่มัคคุเทศก์ท้องถิ่นได้รับยกเว้นคุณสมบัติด้านอายุหรือมัคคุเทศก์ท้องถิ่นไม่ได้จำกัดอายุนั้นเอง อย่างไรก็ดี มัคคุเทศก์เป็นอาชีพที่ต้องมีภาระหน้าที่และความรับผิดชอบต่อนักท่องเที่ยว ซึ่งหากไม่มีการกำหนดอายุมัคคุเทศก์ท้องถิ่น อาจส่งผลให้มัคคุเทศก์ท้องถิ่นที่มีอายุน้อยขาดวุฒิภาวะในการดูแลนักท่องเที่ยว อันส่งผลต่อการท่องเที่ยวในท้องถิ่นหรือชุมชนได้ 2. คุณสมบัติด้านภูมิลำเนาของมัคคุเทศก์ท้องถิ่น กล่าวคือ การกำหนดคุณสมบัติของ มัคคุเทศก์ท้องถิ่นมิได้กำหนดให้เฉพาะบุคคลในภูมิลำเนาในเขตพื้นที่เพื่อการท่องเที่ยวในท้องถิ่นหรือชุมชนนั้น ๆ จึงอาจส่งผลให้บุคคลที่อยู่นอกเขตพื้นที่เฉพาะเข้าไปขออนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ท้องถิ่นได้ ซึ่งขัดกับหลักการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของท้องถิ่นหรือชุมชน 3. ความชัดเจนในข้อกำหนดห้ามมัคคุเทศก์อื่นปฏิบัติหน้าที่ในเขตพื้นที่ท้องถิ่นหรือชุมชนที่ ได้รับการยกเว้นคุณสมบัติมัคคุเทศก์ กล่าวคือ ในกรณีมัคคุเทศก์ท้องถิ่นไม่เพียงพอ มัคคุเทศก์ประเภทอื่นจะเข้าไปปฏิบัติหน้าที่ได้หรือไม่ และกรณีที่มีมัคคุเทศก์ท้องถิ่น แต่ท้องถิ่นหรือชุมชนไม่จัดหามัคคุเทศก์ท้องถิ่นให้นั้นยังไม่ชัดเจนว่ามัคคุเทศก์ประเภทอื่นจะเข้าไปปฏิบัติหน้าที่ได้หรือไม่ ด้วยเหตุนี้ ผู้เขียนจึงทำการศึกษาหลักการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน หลักการมัคคุเทศก์ และหลักความได้สัดส่วน ตลอดจนได้นำกฎหมายของประเทศมาเลเซีย ซึ่งมีลักษณะที่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2551 มาเป็นกรณีศึกษา เพื่อหาข้อสรุปและข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวกับคุณสมบัติด้านอายุ และภูมิลำเนาของมัคคุเทศก์ท้องถิ่น ตลอดจนความชัดเจนในข้อกำหนดห้ามมัคคุเทศก์อื่นปฏิบัติหน้าที่ในเขตพื้นที่ท้องถิ่นหรือชุมชนที่ได้รับการยกเว้นคุณสมบัติมัคคุเทศก์ให้สามารถนำไปปฏิบัติได้และเกิดประโยชน์แก่การท่องเที่ยวไทยได้อย่างยั่งยืนต่อไป


แนวทางการจัดเก็บภาษีจากการใช้ทรัพยากรน้ำของสระว่ายน้ำในประเทศไทย, สุชาดา ณัฏฐาชัย Jan 2022

แนวทางการจัดเก็บภาษีจากการใช้ทรัพยากรน้ำของสระว่ายน้ำในประเทศไทย, สุชาดา ณัฏฐาชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันสระว่ายน้ำในประเทศไทยได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เดิมสระว่ายน้ำมักมีวัตถุประสงค์เพื่อการสันทนาการ เพื่อการกีฬา หรือเพื่อการรักษาบำบัด แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไปสระว่ายน้ำกลายเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความหรูหราฟุ่มเฟือย สังเกตได้จากโครงการบ้านที่อยู่อาศัยต่าง ๆ ที่ได้มีการขายบ้านพร้อมสระว่ายน้ำส่วนตัวหรือแม้กระทั่งโรงแรมที่มีการสร้างสระว่ายน้ำส่วนตัวภายในห้องพักหรือพูลวิลล่า ส่งผลให้สระว่ายน้ำมีจำนวนมากขึ้นทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรน้ำที่มากขึ้นเช่นกันโดยก่อให้เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำและการแย่งใช้น้ำจากทรัพยากรน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัด เอกัตศึกษาจึงมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาแนวทางในการกำหนดมาตรการทางภาษีจากการใช้ทรัพยากรน้ำของสระว่ายน้ำ โดยศึกษากฎหมายไทยที่เกี่ยวข้อง เปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศได้แก่กฎหมายของประเทศฝรั่งเศสและประเทศกรีซ จากการศึกษาผู้เขียนพบว่า ประเทศไทยไม่มีกฎหมายเฉพาะสำหรับการจัดเก็บภาษีจากการใช้ทรัพยากรน้ำของสระว่ายน้ำ ในขณะที่ประเทศฝรั่งเศสมีการจัดเก็บภาษีการพัฒนา และประเทศกรีซมีการจัดเก็บภาษีฟุ่มเฟือย จึงเสนอให้นำกฎหมายของประเทศฝรั่งเศสและประเทศกรีซเป็นแบบอย่างในการกำหนดมาตรการทางภาษีการใช้ทรัพยากรน้ำของสระว่ายน้ำที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย


มาตรการทางภาษีในการส่งเสริมติดตั้งเครื่องอัดประจุไฟฟ้าสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า, สุรสิทธิ์ ธัญพุทธิวงศ์ Jan 2022

มาตรการทางภาษีในการส่งเสริมติดตั้งเครื่องอัดประจุไฟฟ้าสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า, สุรสิทธิ์ ธัญพุทธิวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

หลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม มนุษย์ได้ใช้พลังงานฟอสซิลเป็นจำนวนมากในการประกอบการอุตสาหกรรม ทำให้เกิดปัญหาภาวะโลกร้อนตามมา จนนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศอย่างรุนแรง อาทิ การเกิดภัยพิบัติต่างๆ ซึ่งสร้างความเสียต่อเศรษฐกิจของประเทศ จนเกิดความร่วมมือกันระหว่างประเทศเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก นั่นคือ สัญญาปารีส และพิธีสารโตเกียว โดยประเทศสมาชิกจะต้องกำหนดแผนงานระดับประเทศ เพื่อเป็นการลดการปล่อยมลพิษสู่บรรยากาศ และรักษาอุณหภูมิของโลกให้ไม่ร้อนไปกว่านี้ ประเทศไทยได้เข้าร่วมกับอนุสัญญาความร่วมมือทั้งสองฉบับด้วย ส่งผลให้ ภาครัฐต้องกำหนดแผนนโยบายระดับชาติขึ้นเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จนนำมาสู่แผนพลังงานชาติ ซึ่งหนึ่งในสาระสำคัญคือ การส่งเสริมการใช้และพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าตามนโยบาย 30@30 ส่งผลให้มีมาตรการทางภาษี และมาตรการที่ไม่ใช่ภาษีเพื่อมาสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย อาทิ การลดอัตราภาษีสรรพสามิต การลดอากรนำเข้า การยกเว้นอากรขาเข้า หรือแม้กระทั่งการอุดหนุนทางการเงิน ขณะเดียวกันเอง มีมาตรการทางภาษีและไม่ใช่ภาษี เพื่อส่งเสริมการติดตั้งเครื่องอัดประจุไฟฟ้าสาธารณะ ให้มีจำนวนเพียงพอครอบคลุมกับความยานยนต์ไฟฟ้า อย่างไรก็ดี ยังไม่มีมาตรการใดเลยที่เป็นการช่วยบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายในการติดตั้งเครื่องอัดประจุไฟฟ้าในที่อยู่อาศัยที่มีราคาค่อนข้างสูง อีกทั้ง โครงการนำร่องที่เป็นการให้เงินอุดหนุนในการติดตั้งเครื่องอัดประจุไฟฟ้าสาธารณะแก่หน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน มีเงื่อนไขในการอุดหนุนที่แตกต่างกันคือ หากเป็นภาครัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ จะได้รับเงินอุดหนุนเกือบทั้งหมดของราคาต้นทุนในการติดตั้ง ในขณะที่ ภาคเอกชนจะได้รับการอุดหนุน มากที่สุดเพียง 70% และมีสัดส่วนการอุดหนุนภาคเอกชนที่แตกต่างกันไปตามรอบระยะเวลาที่เปิดรับสมัคร ส่งผลให้อาจเกิดความไม่ธรรมต่อภาคเอกชนในการประกอบกิจการให้บริการเครื่องอัดประจุไฟฟ้าสาธารณะ ในขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกา มีการใช้มาตรการเครดิตภาษีแก่ผู้ที่ติดตั้งเครื่องอัดประจุไฟฟ้าที่ใช้ในที่อยู่อาศัย เพื่อเป็นการส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าและลดภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นแก่ภาคประชาชน อีกทั้ง ยังมีมาตรการให้เงินอุดหนุนสำหรับผู้ติดตั้งเครื่องอัดประจุไฟฟ้าที่ใช้เพื่อการพาณิชย์ โดยในเมืองลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย สามารถบรรลุเป้าหมายที่จะมีเครื่องอัดประจุไฟฟ้าสาธารณะ จำนวน 10,000 เครื่องได้เร็วกว่ากำหนดถึง 2 ปี ดังนั้นผู้ศึกษา จึงได้มีการนำเสนอให้มีการนำแนวทางมาตรการส่งเสริมการติดตั้งเครื่องอัดประจุไฟฟ้าของประเทศสหรัฐอเมริกามาปรับใช้กับประเทศไทย โดยมุ่งเน้นการแก้ปัญหาค่าใช้จ่ายในการติดตั้งเครื่องอัดประจุไฟฟ้าในที่อยู่อาศัย และมุ่งเน้นการหามาตรการอื่นๆ ในการส่งเสริมการติดตั้งเครื่องอัดประจุไฟฟ้าสาธารณะเช่นกัน เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนหันมาใช้ยานยนต์ไฟฟ้ากันมากขึ้น ตามนโยบายของประเทศ


ปัญหาการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับธุรกิจ Data Center และ Cloud Service : กรณีบริษัทต่างชาติจัดตั้งบริษัทลูกในประเทศไทยสำหรับลงทุน Data Center เพื่อสนับสนุน Cloud Service ในต่างประเทศ, อัจฉรียา เครืออ้น Jan 2022

ปัญหาการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับธุรกิจ Data Center และ Cloud Service : กรณีบริษัทต่างชาติจัดตั้งบริษัทลูกในประเทศไทยสำหรับลงทุน Data Center เพื่อสนับสนุน Cloud Service ในต่างประเทศ, อัจฉรียา เครืออ้น

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การประกอบกิจการ Data center และ Cloud service ในประเทศไทยได้รับการส่งเสริมภายใต้มาตรการภาษี 2 รูปแบบ ได้แก่ การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลภายใต้โครงการส่งเสริมการลงทุน และการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับผู้ประกอบกิจการ Data center ภายใต้พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ฉบับที่ 759 พ.ศ. 2565 เป็นต้น อย่างไรก็ตาม กรณีบริษัทต่างชาติจัดตั้งบริษัทลูกสำหรับให้บริการ Data center ในประเทศไทยเพื่อสนับสนุน Cloud service ในต่างประเทศ เป็นการวางแผนโครงสร้างธุรกิจโดยมีเจตนาเลี่ยงการมีสถานประกอบการ และเพื่อควบคุมปริมาณกำไรในบริษัทลูก การประกอบกิจการของบริษัทลูกในประเทศไทยทำให้ผู้ประกอบกิจการ Cloud service ในต่างประเทศมีรายได้เพิ่มขึ้น ในขณะที่ประเทศไทยจัดเก็บภาษีได้เพียงกำไรของบริษัทลูกที่จดทะเบียนในประเทศไทยเท่านั้น จากปัญหาข้างต้นประเทศไทยควรบังคับให้ผู้ประกอบกิจการ Cloud service ในต่างประเทศที่ได้รับการสนับสนุนจากบริษัทลูกในประเทศไทยมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร นอกจากนั้น การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่บริษัทลูกในประเทศไทยที่ทำหน้าที่สนับสนุนการให้บริการ Cloud service ของต่างประเทศ ไม่ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนด้านเทคโนโลยี แรงงานทักษะ หรือการซื้อวัตถุดิบภายในประเทศไทยอย่างมีสาระสำคัญ และการประกอบกิจการดังกล่าวเป็นความร่วมมือในการจัดตั้งบริษัทเพื่อวางแผนทางภาษี จึงไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ที่ประเทศไทยต้องการส่งเสริม ดังนั้น การประกอบกิจการภายใต้กรณีบริษัทต่างชาติจัดตั้งบริษัทลูกสำหรับให้บริการ Data center ในประเทศไทยเพื่อสนับสนุน Cloud service ในต่างประเทศไม่ควรได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีใด นอกจากนั้นผู้ศึกษามีข้อเสนอแนะเพื่อให้มาตรการภาษีสอดคล้องกับรูปแบบการประกอบธุรกิจและสอดคล้องกับเจตนารมณ์ที่ประเทศไทยต้องการส่งเสริม โดยข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง ได้แก่ ประการที่หนึ่ง รัฐควรเพิ่มเงื่อนไขด้านคุณลักษณะของผู้ขอรับสิทธิประโยชน์ โดยรัฐอาจพิจารณาให้ถอดหรือลดทอนสิทธิแก่บริษัทลูกในประเทศไทย เพื่อให้สิทธินั้นตกแก่ผู้ประกอบกิจการทั่วไปที่ไม่ใช่การจัดโครงสร้างเพื่อการวางแผนภาษีของบริษัทต่างประเทศ และประการที่สอง มาตรการส่งเสริมควรให้เลือกรับสิทธิประโยชน์เพียงสิทธิเดียว เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยและลดความเสี่ยงที่จะถูกประเมินจากให้เป็นมาตรการภาษีที่เป็นภัย (Harmful tax practice) ตามข้อตกลงของ OECD ที่ประเทศไทยได้ไปเข้าร่วม


แนวทางในการจัดเก็บภาษีน้ำฝนที่ตกในเขตเมือง, รัตนพล เข็มบุปฝา Jan 2022

แนวทางในการจัดเก็บภาษีน้ำฝนที่ตกในเขตเมือง, รัตนพล เข็มบุปฝา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาแนวคิดหลักการของกฎหมายในการจัดเก็บภาษีน้ำฝน มาตรการทางกฎหมายที่เหมาะสมเพื่อศึกษาและเสนอแนะแนวทางที่เหมาะสมในการบังคับใช้กฎหมายในการ จัดเก็บภาษีน้ำฝนในประเทศไทย ด้วยวิธีการศึกษาและวิจัยเชิงคุณภาพโดยการรวบรวมข้อมูลเชิงเอกสาร เกี่ยวกับหลักการจัดเก็บภาษีอากรที่ดี ประเภทของภาษีอากร ประเด็นภาษีอากรกับการเพิ่มขีดความสามารถ ในการทำงานของรัฐ ทฤษฎีภาษีสิ่งแวดล้อม หลักกฎหมายในการจัดเก็บภาษี ดูแลควบคุม อาคารและสิ่งปลูกสร้างของไทย ทั้งพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 รวมถึงพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร 2562 และการใช้กฎหมายในการรักษาความสะอาดและเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง ทั้งพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 และ ประกาศกระทรวงสาธารณสุขสุขลักษณะการจัดการสิ่งปฏิกูล พ.ศ. 2561 แนวทางการจัดเก็บภาษีน้ำฝนของประเทศสหพันธรัฐเยอรมนีและสาธารณรัฐโปแลนด์ แล้วจึงนำข้อมูลที่ได้ศึกษามารวบรวม และวิเคราะห์ โดยการศึกษาแนวทางการจัดเก็บภาษีน้ำฝน ในสหพันธรัฐเยอรมนี และสาธารณรัฐโปแลนด์ มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย จากการศึกษาพบว่า แนวทางในการนำหลักการจัดเก็บภาษีน้ำฝนในต่างประเทศมาประยุกต์ใช้กับ ประเทศไทยจะพบว่าประเทศไทยสามารถนำแนวทางการจัดเก็บภาษีดังกล่าวมาใช้บังคับ 3 ประการ ดังต่อไปนี้ (1) การให้อำนาจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดเก็บภาษีน้ำฝนในเขตเมือง (2) วัตถุประสงค์ของการจัดสรรเงินที่เกิดจากการจัดเก็บภาษี เพื่อนำไปใช้ประโยชน์สาธารณะสำหรับ ประเด็นเรื่องการบริหารจัดการระบบการจัดการน้ำท่วม น้ำขังเจิ่งนอง ในส่วนของการเพิ่มแหล่งรับน้ำ ซ่อมแซมบำรุงรักษาระบบท่อระบายน้ำ เพื่อไม่ให้เกิดน้ำท่วมขัง หรือระบายน้ำออกนอกเขตเมือง จนไปกระทบต่อผู้คนที่อยู่รอบนอก ให้ทรัพย์สินเสียหาย รวมถึงการแก้ปัญหาเร่งด่วนเมื่อไม่ให้น้ำท่วมขัง หรือเจิ่งนองบนท้องถนน เช่นการจัดซื้อเครื่องสูบน้ำ เพื่อไม่ให้พื้นผิวถนนมีน้ำขังซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ถนนลื่น ส่งผลต่อการสัญจรไปมาจนอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุและความเดือดร้อนรำคาญ (3) การใช้มาตรการจูงใจในการลดหย่อนภาษีน้ำฝนเพื่อประโยชน์ในการใช้ทรัพยากรน้ำ ให้เป็นไปอย่างประหยัด คุ้มค่า เพื่อไม่ให้ได้รับผลกระทบกรณีเมื่อเกิดปัญหาภัยแล้ง และเป็นการสร้างสังคมสีเขียวสำหรับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ดังนั้น ผู้ศึกษาจึงเห็นว่าประเทศไทยควรมีการนำหลักการในการจัดเก็บภาษีน้ำฝนมาประยุกต์ใช้ เพื่อนำเงินจากการจัดเก็บภาษีไปสนับสนุนการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังเจิ่งนองและเพื่อควบคุม ป้องกัน รวมถึง ฟื้นฟูมวลน้ำที่มีส่วนผสมของมลพิษไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยอาจปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของ ประชาชนในการเก็บกักน้ำฝน เพื่อนำน้ำมาใช้ในการอุปโภค เช่น นำมารดน้ำต้นไม้ ปลูกผักสวนครัว ล้างรถ หรือใช้ทำความสะอาด และจะเป็นการนำไปสู่การสร้างสังคมสีเขียวสำหรับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน


มาตรการทางภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมเกม, กุสุมา ปันสาม Jan 2022

มาตรการทางภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมเกม, กุสุมา ปันสาม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันอุตสาหกรรมเกมในประเทศไทยมีอัตราการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่พบว่าการขยายตัวของอุตสาหกรรมเกมเป็นการขยายตัวจากฝั่งผู้บริโภค ซึ่งรายได้ของผู้จัดจำหน่าย และนำเข้า มาจากการที่ผู้บริโภคซื้อสินค้าในเกม และดาวน์โหลดเกมผ่านแพลตฟอร์มที่พัฒนามาจากผู้ประกอบการต่างประเทศเป็นหลัก แสดงให้เห็นว่าเกมที่พัฒนาโดยคนไทยมีจำนวนน้อยมาก แม้ว่าประเทศไทยจะสนับสนุนการลงทุนในอุตสาหกรรมเกม โดยออกมาตรการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นระยะเวลาไม่เกิน 8 ปี ตามมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2560 อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมเกมในประเทศยังไม่สามารถเติบโตได้เท่าที่ควร เนื่องจากผู้ผลิตเกมไทยยังขาดเงินทุนในการผลิตและพัฒนาเกม แสดงให้เห็นว่ามาตรการทางภาษีของภาครัฐที่ออกมาเพื่อส่งเสริมนั้นยังไม่เหมาะสมและเพียงพอที่จะส่งเสริมให้เกิดการลงทุน ด้วยเหตุนี้จึงต้องศึกษาถึงปัญหามาตรการทางภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมเกมของประเทศไทย และเปรียบเทียบกับมาตรการทางภาษีของสหราชอาณาจักร เพื่อพิจารณาถึงความเหมาะสมและนำมาปรับใช้กับมาตรการทางภาษีของประเทศไทย จากการศึกษาเปรียบเทียบมาตรการทางภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมเกมของประเทศไทย และสหราชอาณาจักร พบว่ามาตรการทางภาษีของสหราชอาณาจักรย่อมส่งผลให้เกิดการลงทุนในอุตสาหกรรมเกมมากกว่า เพราะเป็นมาตรการที่ช่วยลดความเสี่ยงรวมถึงลดต้นทุนในการลงทุนเริ่มแรกที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเกมโดยตรง และภาระภาษีของผู้ลงทุนนั้นขึ้นอยู่กับการลงทุนตามความเป็นจริง กล่าวคือ หากผู้ลงทุนต้องการที่จะเสียภาษีน้อย ก็ต้องลงทุนในปริมาณที่มาก ซึ่งถือเป็นการส่งเสริมให้เกิดการลงทุนที่แท้จริง ดังนั้น หากประเทศไทยต้องการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมเกม เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล และเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศนั้น ประเทศไทยควรมีการเปลี่ยนแปลงสิทธิและประโยชน์ทางภาษีให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพในการส่งเสริมให้เกิดการลงทุนทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ โดยการนำมาตรการลดหย่อนภาษีวิดีโอเกมของสหราชอาณาจักรมาปรับใช้กับอุตสาหกรรมเกมของไทยต่อไป


การขอคืนภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีถูกหักเกินกว่าภาษีที่ต้องเสีย ตามมาตรา 27 ตรี และมาตรา 63 แห่งประมวลรัษฎากร: ศึกษากรณี ผู้มีสิทธิขอคืนภาษี, ชาลิสา อมรธาตรี Jan 2021

การขอคืนภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีถูกหักเกินกว่าภาษีที่ต้องเสีย ตามมาตรา 27 ตรี และมาตรา 63 แห่งประมวลรัษฎากร: ศึกษากรณี ผู้มีสิทธิขอคืนภาษี, ชาลิสา อมรธาตรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เป็นการจัดเก็บภาษีล่วงหน้า ซึ่งถือว่าเป็นวิธีเสียภาษีที่ดีที่สุด เนื่องจากเป็นการเสียภาษีที่กำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้ หักภาษีก่อนที่จะมีการจ่ายเงินได้ให้แก่ผู้มีเงินได้ จึงเป็นการเก็บภาษีในขณะที่มีเงินได้เกิดขึ้น ส่งผลให้รัฐบาลสามารถเก็บภาษีได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยและสม่ำเสมอ อีกทั้งยังช่วยทำให้รัฐบาลประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บภาษีเงินได้อีกด้วย เพราะเป็น การมอบหมายให้เอกชนช่วยเก็บภาษีแทน โดยกฎหมายกำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่หักภาษีจากเงินที่จ่ายให้แก่ผู้รับ และนำเงินส่งกรมสรรพากรก่อนที่จะจ่ายเงินให้แก่ผู้รับ กล่าวคือ “ผู้จ่ายเงินได้” เป็นผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายให้แก่ผู้รับ หรือ “ผู้มีเงินได้” ซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษี อย่างไรก็ดี การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่กฎหมายกำหนด กรณีผู้จ่ายเงินได้มิได้ทำการหักและนำส่งภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามที่กฎหมายกำหนดไว้หรือตามคำสั่งของอธิบดีกรมสรรพากร หรือหักและนำส่งภาษีแล้ว แต่ไม่ครบจำนวน ที่ถูกต้องผู้จ่ายเงินได้จำต้องรับผิดร่วมกับผู้มีเงินได้ในการเสียภาษีที่ต้องชำระตามจำนวนเงินภาษี ที่ไม่ได้หักและนำส่ง หรือตามจำนวนภาษีที่นำส่งขาดไป แล้วแต่กรณี กรณีที่ผู้จ่ายเงินได้ทำการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายแล้ว ผู้มีเงินได้ย่อมพ้นความรับผิดที่จะต้องชำระภาษีเท่ากับจำนวนที่ผู้จ่ายเงินได้หักภาษีไว้ และผู้จ่ายเงินได้จะเป็นผู้รับผิดชำระเงินภาษีจำนวนนั้นแต่ฝ่ายเดียว ทั้งนี้เป็นไปตามมาตรา 54 แห่งประมวลรัษฎากร ในทางกลับกัน กรณีผู้มีเงินได้เสียภาษีเงินได้เกินไปกว่าจำนวนที่ต้องเสีย หรือเสียไปโดยไม่มีหน้าที่ต้องเสียเนื่องจากผู้จ่ายเงินได้ได้หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้เกินไป หรือหักภาษีไว้โดยไม่มีหน้าที่ต้องหัก ผู้มีเงินได้มีสิทธิได้รับคืนเงินภาษีที่ชำระไว้เกินจากกรมสรรพากรตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในบทบัญญัติมาตรา 27 ตรี และมาตรา 63 แห่งประมวลรัษฎากร แม้หลักเกณฑ์การขอคืนภาษีที่ถูกหักไว้ ณ ที่จ่าย จะถูกบัญญัติไว้ในบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร แต่เมื่อพิจารณาบทบัญญัติมาตรา 27 ตรี และมาตรา 63 แห่งประมวลรัษฎากรแล้วพบว่ามีประเด็นปัญหาบางประการ กล่าวคือ บทบัญญัติมาตรา 27 ตรี มีความไม่ชัดเจนเรื่องผู้มีสิทธิขอคืนภาษี แม้แนวทางปฏิบัติของกรมสรรพากรตามแนววินิจฉัยในหนังสือตอบข้อหารือภาษีอากรซึ่งกรมสรรพากรถือว่าผู้ถูกกระทบกระเทือนสิทธิโดยตรงเป็นผู้มีสิทธิขอคืนภาษี อาทิ ผู้มีเงินได้ที่ถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่าย หรือผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ที่นำเงินของตนเองส่งภาษีไว้ผิดหรือซ้ำ แต่หนังสือตอบข้อหารือภาษีอากรของกรมสรรพากรก็เป็นเพียงแนวปฏิบัติในการบริหารงานจัดเก็บภาษีอากรมิใช่คำสั่งทางปกครองตามความหมายของพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 เนื่องจากมิได้เป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล จึงไม่มีผลผูกพันให้กรมสรรพากรจะต้องปฏิบัติตามแต่ประการใด ในขณะที่มาตรา 63 มิได้กำหนดไว้เป็นการเฉพาะว่าผู้มีสิทธิขอคืนภาษีจะต้องเป็นผู้ใดเพียงแต่กำหนดว่าบุคคลใดถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายและนำส่งแล้วเป็นจำนวนเงินเกินกว่าที่ควรต้องเสียภาษี หรือผู้ที่ไม่มีหน้าที่ต้องยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินในปีภาษี แต่ถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายและนำส่งแล้ว บุคคลนั้นมีสิทธิได้รับเงินจำนวนที่ถูกหักและนำส่งไว้แล้วนั้นคืน แต่ต้องยื่นคำร้อง ขอคืนต่อเจ้าพนักงานประเมินภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด จึงสามารถอนุมานได้ว่า …


การจัดเก็บภาษีเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ สำหรับวัตถุอันตรายทางการเกษตรของประเทศไทย, ณัฐวดี บุญยะกาพิมพ์ Jan 2021

การจัดเก็บภาษีเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ สำหรับวัตถุอันตรายทางการเกษตรของประเทศไทย, ณัฐวดี บุญยะกาพิมพ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาเล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดเก็บภาษีเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะสำหรับวัตถุอันตรายทางการเกษตรของประเทศไทย โดยศึกษาปัญหาและผลกระทบจากวัตถุอันตรายทางการเกษตรและหลักเกณฑ์ในการจัดเก็บภาษีเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะในประเทศไทย พร้อมทั้งศึกษาหลักเกณฑ์การจัดเก็บภาษีเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะสำหรับวัตถุอันตรายทางการเกษตรของประเทศเดนมาร์กเพื่อเป็นแนวทางในการนำมาประยุกต์ใช้ในประเทศไทย


การเพิ่มประสิทธิภาพของการแจ้งเบาะแสโดยผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี(Strengthening The Efficiency And Effectiveness Of Whistleblowing System By Accounting Professionals), จิณณ์นิภา ดีทองหลาง Jan 2021

การเพิ่มประสิทธิภาพของการแจ้งเบาะแสโดยผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี(Strengthening The Efficiency And Effectiveness Of Whistleblowing System By Accounting Professionals), จิณณ์นิภา ดีทองหลาง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบัญญัติตามกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ที่มีอิทธิพล รวมทั้งข5อจำกัดต่าง ๆ ที่มีผลต่อการแจ้งเบาะแสของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในประเทศไทย เพื่อให้ ทราบและเป็นแนวทางในการช่วยขจัดปัญหาหรือลดอุปสรรคในการแจ้งเบาะแสของผู้ประกอบ วิชาชีพบัญชีอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการนำเสนอแนวทางหรือมาตรการอื่น ๆ เพิ่มเติม เพื่อส่งเสริมให้เกิดกระบวนการแจ้งเบาะแสโดยผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีเป็นไปโดยสัมฤทธิ์ผล ตามเจตนารมณ์และความคาดหวังของสังคมโดยรวม จากการศึกษาพบว่าปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีมาตรการทางกฎหมายในการสนับสนุนและ ส่งเสริมในการแจ้งเบาะแสอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมาตรการทางกฎหมายในการให้ความ คุ้มครองเยียวยาผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในการแจ้งเบาะแสอย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม ประกอบกับ ข้อกำหนดทางจรรยาบรรณวิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในปัจจุบันยังขาดความชัดเจนในส่วน ของการกำหนดกรอบข้อบังคับและแนวทางของการแจ้งเบาะแสเพื่อประโยชน์สาธารณะ ดังนั้นบทสรุปของการศึกษานี้ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการแจ้งเบาะแสโดยผู้ประกอบ วิชาชีพบัญชี ผู้ศึกษาวิจัยจึงเสนอแนะให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมในส่วนของข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชีว่าด้วย จรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี มาตรการภายในองค์กรธุรกิจหรือหน่วยงานในการกำกับ ดูแลกิจการ การแก้ไขปรับปรุงมาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองเยียวยาให้มีความครอบคลุม และสอดคล้องเชื่อมโยงกันกับแนวทางการประกอบวิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี รวมทั้งการ เพิ่มเติมมาตรการในด้านการให้รางวัลจูงใจเพื่อส่งเสริมให้เกิดการแจ้งเบาะแสการกระทำความผิดเป็น อีกวิธีหนึ่งที่สามารถช่วยส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือในการแจ้งเบาะแสได้อย่างมีประสิทธิภาพ