Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Law Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Banking and Finance Law

Theses/Dissertations

Institution
Keyword
Publication Year
Publication

Articles 1 - 30 of 157

Full-Text Articles in Law

But Is It Material? A Case Study Evaluating Climate Risk’S Place In Financial Disclosures, Matilda Lindberg May 2023

But Is It Material? A Case Study Evaluating Climate Risk’S Place In Financial Disclosures, Matilda Lindberg

Student Theses and Dissertations

The year of 2022 highlighted the importance of understanding how Environment, Social, and Governance (hereafter, ESG) factors impact investors. By the end of 2021, 37.8 trillion USD had been invested in ESG funds, a number expected to grow to $53 trillion by the end of 2025. Despite this bullish projection, controversy has grown about the “materiality” of ESG factors, especially climate risks, as defined by the Securities and Exchange Commission (hereafter, SEC). On March 21, 2022, the SEC proposed rules to enhance the standardization of climate- related disclosures (hereafter The Proposal) to promote consistent, comparable, and reliable information for investors …


Recessionary Woes: Examining Economic Policies And Their Impact On Student Loan Debt And Housing Stability In The United States, Connor Recck Apr 2023

Recessionary Woes: Examining Economic Policies And Their Impact On Student Loan Debt And Housing Stability In The United States, Connor Recck

Senior Theses and Projects

Recessionary periods can seldom be avoided, but our modern public infrastructure has designed mechanisms to respond to these downturns. Economic policy has rapidly changed over the last 50 years, and the types of tools policymakers use have evolved with it. When looking at the Great Recession (2007-2009) and the COVID-19 recession (2020), a federal response structure was vital for the health of the macroeconomy. These recessionary periods serve as case studies for a review of economic policymaking activity in the United States since 2000. To examine the efficacy of the federal government’s fiscal and monetary infrastructure, policies focused on supporting …


Bearer Negotiable Instruments: Addressing A Financial Intelligence Gap And Identifying Criminogenic Weaknesses, Hollis B. Kegg Feb 2023

Bearer Negotiable Instruments: Addressing A Financial Intelligence Gap And Identifying Criminogenic Weaknesses, Hollis B. Kegg

Dissertations, Theses, and Capstone Projects

Bearer Negotiable Instruments (BNI) are a long-standing category of financial instruments used to transfer large amounts of money in ways that may not be subject to regulation, reporting, tracking, review, or oversight. There is limited information available on BNIs, and no evidence that any studies have been undertaken on BNIs alone, much less reported. Increasingly, BNIs are being used for illegal purposes including money laundering. This study gathers information about their characteristics, nature, purpose, legal status, and numbers. It also focuses on the crime risks associated with BNIs, the crime opportunities they facilitate, and the criminal weaknesses in the financial …


ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยศุลกากร : กรณีมีการเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาด อากรตอบโต้การอุดหนุน และอากรปกป้องจากการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้น, ณิษา ปัณฐรัตนากุล Jan 2022

ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยศุลกากร : กรณีมีการเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาด อากรตอบโต้การอุดหนุน และอากรปกป้องจากการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้น, ณิษา ปัณฐรัตนากุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาด อากรตอบโต้การอุดหนุน และอากรปกป้องจากการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้น มีปัญหาการนำกฎหมายว่าด้วยศุลกากรมาใช้บังคับกับการเรียกเก็บอากรดังกล่าว ทั้งในเรื่องความรับผิดในการชำระอากรกรณีที่มีการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีศุลกากร การกำหนดเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม การคืนอากร การอุทธรณ์การประเมินอากร การนำบทกำหนดความผิดและบทกำหนดโทษตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรมาใช้บังคับ และการเรียกเก็บอากรสำหรับเศษหรือของที่ด้อยคุณภาพ ซึ่งเป็นปัญหาการบังคับใช้กฎหมายระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง วิทยานิพน์ฉบับนี้จึงมุ่งศึกษาแนวความคิดและเจตนารมณ์ในการเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาด อากรตอบโต้การอุดหนุน และอากรปกป้องจากกการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้น และนำเสนอข้อพิจารณาเกี่ยวกับปัญหาการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยศุลกากร ภายใต้พระราชบัญญัติการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ พ.ศ. 2542 และพระราชบัญญัติมาตรการปกป้องจากการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้น พ.ศ. 2550 โดยมีข้อเสนอแนะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดแนวทางปฏิบัติร่วมกัน โดยพิจารณาถึงเจตนารมณ์แห่งกฎหมายเป็นสำคัญ เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และแก้ไขบทบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินการของกรมศุลกากรในการเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาด อากรตอบโต้การอุดหนุน และอากรปกป้องจากการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้น ให้สอดคล้องและเป็นมาตรฐานเดียวกัน


The Measure Of A Monitor's Role, Alejandro E. Gonzalez Aug 2021

The Measure Of A Monitor's Role, Alejandro E. Gonzalez

Electronic Thesis and Dissertation Repository

This study examines the monitor, a court-appointed officer under the Companies’ Creditors Arrangement Act, in order to determine whether and how to best secure its independence. Concerns over the role are increasingly over whether it can maintain its supposed impartiality and avoid conflicts of interest. This study centers on its fiduciary duty, long discussed in the courts, as both problematic because it is not conclusively defined, and as the best means of establishing the monitor as a fair and impartial guardian of public confidence in Canadian insolvency law. By examining leading insolvency law theories, international and Canadian insolvency policy, and …


Insider Trading As A Precursor To Modern Business Ethics, Robyn Coleman May 2021

Insider Trading As A Precursor To Modern Business Ethics, Robyn Coleman

Finance Undergraduate Honors Theses

There has been a recent change in business that there is more focus on the “stakeholder approach” than shareholder primacy. This can be attributed to the early actions and illegality of insider trading that expected a step beyond a solely economic approach. This attitude was then replicated to become what we see as the modern business approach. Business now includes ethical investing, environmental focus, corporate citizenship, and emphasis on multiple stakeholders that was not always there. Companies have embraced this position while others have been criticized for not doing so. As this approach develops and changes, it will be enlightening …


ปัญหามาตรการบรรเทาภาระภาษีโดยการยกเว้นมูลค่าฐานภาษีสำหรับที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างที่ใช้สำหรับเกษตรกรรม ตามมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562, คุณานนต์ อุ่นจิตต์ Jan 2021

ปัญหามาตรการบรรเทาภาระภาษีโดยการยกเว้นมูลค่าฐานภาษีสำหรับที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างที่ใช้สำหรับเกษตรกรรม ตามมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562, คุณานนต์ อุ่นจิตต์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากมาตรการบรรเทาภาระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่กำหนดว่า ให้ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรมที่มีบุคคลธรรมดาเป็นเจ้าของเป็นจำนวนไม่เกิน 50 ล้านบาท ได้รับการยกเว้นมูลค่าฐานภาษี ตามมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ซึ่งผู้วิจัยเห็นว่า เป็นการยกเว้นภาระภาษีที่มากเกินไปและไม่สอดคล้องกับหลักภาษีอากรที่ดี ส่งผลให้เกิดปัญหาการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ใช้สำหรับเกษตรกรรมอยู่หลายประการ เช่น การนำที่ดินซึ่งตั้งอยู่ในเขตพื้นที่เมืองมาใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรมเพื่อหลีกเลี่ยงภาระภาษี หรือการยกเว้นภาษีไม่ได้เกิดประโยชน์แก่เกษตรกรอย่างแท้จริงเพราะไม่ใช่เจ้าของที่ดิน เป็นต้น ดังนั้น ผู้วิจัยจึงได้เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าวตามที่ได้ศึกษากฎหมายภาษีทรัพย์สินของต่างประเทศโดยนำมาเปรียบเทียบและวิเคราะห์เพิ่มเติมเพื่อปรับใช้ให้เกิดความเหมาะสม โดยจำแนกได้ 3 แนวทาง ได้แก่ การกำหนดนิยามการใช้ที่ดินสำหรับเกษตรกรรมให้เหมาะสม กล่าวคือ ควรกำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาสำหรับการประกอบเกษตรกรรมให้มุ่งเน้นไปที่ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรอย่างแท้จริง การกำหนดมาตรการบรรเทาภาระภาษีสำหรับที่ดินที่ใช้สำหรับเกษตรกรรมให้เหมาะสม กล่าวคือ ผู้วิจัยเห็นว่ามาตรการบรรเทาภาระภาษีดังกล่าวยังคงต้องมีการยกเว้นมูลค่าของฐานภาษีที่ดินที่ใช้สำหรับเกษตรกรรมอยู่ แต่ควรนำแผนผังเมืองรวมตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมืองมาประกอบการพิจารณาในการยกเว้นมูลค่าของฐานภาษี ทั้งนี้ เพื่อไม่เป็นการจำกัดเสรีภาพของผู้ที่ประกอบเกษตรกรรมอย่างแท้จริงซึ่งมีที่ดินตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ใจกลางเมืองมากเกินไป จึงควรกำหนดเป็นข้อยกเว้นให้ได้รับการยกเว้นมูลค่าฐานภาษีได้โดยการตั้งคณะกรรมการในแต่ละเขตท้องถิ่นขึ้นมาเพื่อพิจารณาว่าสมควรได้รับการยกเว้นหรือไม่เป็นรายกรณีไป และกำหนดมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรให้รัดกุมและมีประสิทธิภาพควบคู่กันไป เช่น การกำหนดให้กลับมาประเมินภาษีใหม่และให้ชำระค่าภาษีย้อนหลัง ในกรณีที่ดินที่ใช้สำหรับเกษตรกรรมถูกนำไปใช้ประโยชน์อื่น หรือการกำหนดการถือครองและกฎเกณฑ์ในการควบคุมการเช่าที่ดินเพื่อการเกษตรให้มีความเหมาะสม หรือการกำหนดให้จัดเก็บภาษีการใช้น้ำสำหรับเกษตรกรรมโดยมุ่งเน้นจัดเก็บจากเกษตรกรรายใหญ่ รวมทั้งการสนับสนุนเกษตรกรให้มีความสามารถในการประกอบอาชีพได้อย่างมั่นคง


การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจากการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินของสภากาชาดไทย, อิทธิเดช ช่วยเกิด Jan 2021

การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจากการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินของสภากาชาดไทย, อิทธิเดช ช่วยเกิด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2562 มาตรา 8 (4) ได้กำหนดให้ทรัพย์ของสภากาชาดไทยได้รับการยกเว้นภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รวมถึงทรัพย์สินที่สภากาชาดไทยให้เอกชนเช่าทำประโยชน์ เช่น ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น ซึ่งแต่เดิมพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 ไม่ได้มีการยกเว้นภาษีในทรัพย์สินในส่วนนี้ไว้ เอกัตศึกษาฉบับนี้จึงมุ่งศึกษาแนวคิด หลักการ และวิธีการในการยกเว้นภาษีทรัพย์สิน ตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 และภาษีทรัพย์สินของประเทศสหรัฐอเมริกาในมลรัฐเนวาดา มลรัฐเวอร์จิเนีย และเขตโคลัมเบีย กรุงวอชิงตัน จากการศึกษาพบว่า หลักในการยกเว้นภาษีทรัพย์สินมีอยู่ 3 หลักการ ได้แก่ 1.หลักความเป็นเจ้าของ 2.หลักการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน 3.หลักลักษณะของผู้เป็นเจ้าของหรือผู้ที่ครอบครองทรัพย์สิน การยกเว้นภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของสภากากาชาดไทยในส่วนที่ให้เอกชนเช่าทำประโยชน์ จึงขัดกับหลักการยกเว้นภาษีจากการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินเนื่องจากทรัพย์สินดังกล่าวมิได้ใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะแต่อย่างใด และหน่วยงานอื่นๆ เช่น หน่วยงานรัฐ สมาคม มูลนิธิ หรือศาสนสมบัติ ก็มิได้มีการยกเว้นภาษีในส่วนที่ให้เอกชนเช่าทำประโยชน์ ทรัพย์สินในส่วนที่สภากาชาดไทยให้เอกชนเช่าทำประโยชน์จึงสมควรที่จัดภาษีตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ต่อไป ดังนั้น เอกกัตศึกษาฉบับนี้จึงขอเสนอแนวทางแก้ไขปัญหา โดยเสนอให้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติภาษีทีดินและสิ่งปลูกสร้าง มาตรา 8 (4) โดยเพิ่มคำว่า “เฉพาะที่มิได้ใช้หาประโยชน์” หรือ “เฉพาะที่ใช้ในกิจการของสภากาชาดไทยโดยตรง” ก็จะสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมายและสามารถจัดเก็บภาษีที่ดินและปลูกสร้างในทรัพย์สินส่วนที่สภากาชาดไทยให้เอกชนเช่าทำประโยชน์ได้


ผลกระทบจากความไม่เหมาะสมของหลักเกณฑ์การคำนวณเงินสำรองประกันภัยเพื่อหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิของบริษัทประกันชีวิตตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (1), ธนัชพร ฉันทาวรานุรักษ์ Jan 2021

ผลกระทบจากความไม่เหมาะสมของหลักเกณฑ์การคำนวณเงินสำรองประกันภัยเพื่อหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิของบริษัทประกันชีวิตตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (1), ธนัชพร ฉันทาวรานุรักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทประกันชีวิต ประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ตรี (1) (ก) กำหนดให้บริษัทประกันชีวิตมีสิทธินำเงินสำรองประกันภัยสำหรับสำหรับสัญญาประกันภัยระยะยาวมาหักเป็นรายจ่ายของกิจการได้ไม่เกินร้อยละ 65 ของจำนวนเบี้ยประกันภัยรับสุทธิ และมาตรา 65 ตรี (1) (ข) กำหนดให้บริษัทประกันชีวิตมีสิทธินำเงินสำรองประกันภัยสำหรับสัญญาประกันภัยระยะสั้นมาหักเป็นรายจ่ายของกิจการได้ไม่เกินร้อยละ 40 ของจำนวนเบี้ยประกันภัยรับสุทธิ อย่างไรก็ดี ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการจัดสรร เบี้ยประกันภัยไว้เป็นเงินสำรองประกันภัย สำหรับกรมธรรม์ประกันภัยที่ยังมีความผูกพันอยู่และเงินสำรองอื่นของบริษัทประกันชีวิต พ.ศ. 2554 กำหนดให้บริษัทประกันชีวิตใช้วิธีการทางคณิตศาสตร์ประกันภัยใน การคำนวณมูลค่าเงินสำรองประกันภัย เพื่อวัตถุประสงค์ในการกำกับดูแลความมั่นคงทางการเงินของ บริษัทประกันชีวิต และเพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทประกันชีวิตจะสามารถเงินเอาประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัยได้อย่างครบถ้วน ความแตกต่างของหลักเกณฑ์วิธีการคำนวณเงินสำรองประกันภัยตามประมวลรัษฎากรกับ หลักคณิตศาสตร์ประกันภัย ส่งผลให้ในกรณีที่มูลค่าเงินสำรองประกันภัยที่คำนวณตามหลักการทางคณิตศาสตร์ประกันภัยมีมูลค่าสูงเกินกว่าอัตราที่ประมวลรัษฎากรกำหนด บริษัทประกันชีวิตจะจะต้องนำ เงินสำรองประกันภัยส่วนที่เกินดังกล่าวไปบวกกลับเป็นรายได้ของกิจการ ซึ่งส่งผลกระทบทำให้บริษัทประกันชีวิตต้องรับภาระภาษีสูงขึ้น ดังนั้น เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงเสนอให้แก้ไขปรับปรุงหลักเกณฑ์วิธีการคำนวณ เงินสำรองประกันภัยตามประมวลรัษฎากรโดยอนุญาตให้บริษัทประกันชีวิตสามารถนำเงินสำรองประกันภัยที่คำนวณตามหลักการทางคณิตศาสตร์ประกันภัยมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ทั้งจำนวน


แนวทางการจัดเก็บภาษีสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าและล้อเดียวไฟฟ้า, นรุตม์ชัย วัฒนศัพท์ Jan 2021

แนวทางการจัดเก็บภาษีสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าและล้อเดียวไฟฟ้า, นรุตม์ชัย วัฒนศัพท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาฉบับนี้มุ่งศึกษาการปราฏตัวของยานพาหนะประเภทสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าและล้อเดียวไฟฟ้า ซึ่งสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าและล้อเดียวไฟฟ้าเป็นยานพาหนะที่มีลักษณะการทำงานคล้ายคลึงกับรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า แต่มีความแตกต่างกันที่ลักษณะทางกายภาพ โดยสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าและล้อเดียวไฟฟ้าเป็นยานพาหนะที่มีจุดเด่น คือ เป็นยานพาหนะที่มีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับยานพาหนะทั่วไป ใช้งานได้ในระยะสั้นถึงกลาง ใช้งานได้สะดวก สามารถพกพาได้ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จึงทำให้สกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าและล้อเดียวไฟฟ้าเป็นพาหนะที่เหมาะกับสังคมคนในเมืองที่ต้องใช้ยานพาหนะในการเดินทางไปทำงานหรือไปยังสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งในต่างประเทศก็มีการใช้เป็นพาหนะในการรับ – ส่งอาหารแทนการใช้รถจักรยานยนต์ด้วยเช่นกัน ซึ่งแต่เดิมในต่างประเทศ การใช้สกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าและล้อเดียวไฟฟ้าเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย โดยเหตุผลหลักที่ในต่างประเทศซึ่งรวมถึง ประเทศไทยไม่สามารถนำสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าและล้อเดียวไฟฟ้ามาใช้งานได้ เพราะเรื่องของความปลอดภัยในขับขี่บนท้องถนน แต่ในหลายประเทศมองว่าสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าและล้อเดียวไฟฟ้าเป็นยานพาหนะอย่างหนึ่งเหมือนยานพาหนะประเภทอื่น ๆ และยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้ในหลายประเทศมีส่งเสริมให้มีการใช้สกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าและล้อเดียวไฟฟ้า โดยมีการออกกฎเกณฑ์และกฎหมายเพื่อมาควบคุมยานพาหนะประเภทสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าและล้อเดียวไฟฟ้า ในส่วนของประเทศไทยมีประชาชนบางกลุ่มที่ใช้สกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าและล้อเดียวไฟฟ้าในการขับขี่บนถนนสาธารณะ ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีกฎเกณฑ์ กฎหมาย และการจัดเก็บภาษี เข้ามาควบคุมในส่วนนี้อย่างชัดเจน ด้วยเหตุผลนี้ สกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าและล้อเดียวไฟฟ้า จึงเป็นยานพาหนะที่รัฐต้องเข้ามาควบคุมการใช้งานและจัดเก็บภาษีบางประเภท นอกจากนี้ เพื่อเป็นการส่งเสริมการใช้สกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าและล้อเดียวไฟฟ้าซึ่งเป็นยานพาหนะที่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐในปัจจุบัน รัฐจึงควรมีมาตรการหรือนโยบายสนับสนุน ทั้งที่เป็นมาตรการทางภาษีและมาตรการอื่นกับยานพาหนะดังกล่าวด้วย


ปัญหาการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์ประเภทเกษตรกรรมในประเทศไทย, วิชาญ นวมงคลสวาท Jan 2021

ปัญหาการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์ประเภทเกษตรกรรมในประเทศไทย, วิชาญ นวมงคลสวาท

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาเล่มนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาแนวทางการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรมของประเทศไทย ซึ่งประสบปัญหาจากการกำหนดหลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรมที่ขาดประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดปัญหาในหลายประการ ตลอดจนศึกษาถึงแนวทางการกำหนดหลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรมของต่างประเทศ ได้แก่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะรัฐนิวเจอร์ซี่ รัฐนิวยอร์ก รัฐมิชิแกน และรัฐแอริโซน่า เพื่อนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบและนำเสนอถึงการกำหนดหลักเกณฑ์ที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยต่อไป จากการศึกษาระบุให้เห็นอย่างเป็นที่ประจักษ์ว่า หลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรมของประเทศไทยมีการกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพิจารณาจำนวนต้นไม้และชนิดต้นไม้ที่ปลูกต่อไร่ก่อให้เกิดปัญหาการบังคับใช้ที่ขาดความชัดเจน ขัดต่อหลักภาษีอากรที่ดี และขัดต่อวัตถุประสงค์ของการบังคับใช้ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพ.ศ. 2562 ในหลายประการ พร้อมทั้งก่อให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติ อนึ่ง จากการศึกษาและพิจารณาหลักเกณฑ์ของต่างประเทศที่พัฒนาแล้ว คือสหรัฐอเมริกา พบว่าหลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรมของต่างประเทศได้มีการกำหนดให้ครอบคลุมถึงประเด็นปัญหาประการต่างๆของประเทศไทยไว้ ด้วยเหตุตามที่กล่าวไปแล้วข้างต้น ผู้เขียนจึงเสนอแนะให้ประเทศไทยนำหลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรมของต่างประเทศคือ สหรัฐอเมริกา ประกอบกับการกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามกฎหมายผังเมืองมาปรับใช้กับหลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรมของประเทศไทย เพื่อให้การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตลอดจนหลักเกณฑ์ในการกำหนดการใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรมของประเทศไทยเป็นหลักเกณฑ์ที่มีประสิทธิภาพ มีความชัดเจนในการจัดเก็บภาษีมากขึ้น


ข้อพิจารณาเกี่ยวกับกระบวนพิจารณาคดีออนไลน์และสถานะของไทย ในปัจจุบัน, ภวินท์ ชิดประสงค์ Jan 2021

ข้อพิจารณาเกี่ยวกับกระบวนพิจารณาคดีออนไลน์และสถานะของไทย ในปัจจุบัน, ภวินท์ ชิดประสงค์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนพิจารณาคดีทางออนไลน์ของประเทศไทยโดยเปรียบเทียบกับแนวทางประเมินองค์ประกอบทั้งสี่ด้านของรายงานวิจัย “Developing the Detail: Evaluating the Impact of Court Reform in England and Wales on Access to Justice,” อันได้แก่ (1) การเข้าถึงระบบกฎหมายที่เป็นทางการ (Access to the formal legal system) (2) การเข้าถึงการพิจารณาที่เป็นธรรมและมีประสิทธิภาพ (Access to a fair and effective hearing) (3) การเข้าถึงคำตัดสินที่เป็นไปตามกฎหมาย (Access to a decision in accordance with substantive law) (4) การเข้าถึงการเยียวยา (Access to remedy) ซึ่งองค์ประกอบทั้งสี่ด้านเหล่านี้ สามารถนำมาเป็นแนวทางในการประเมินการเข้าถึงความยุติธรรม (Access to Justice ) ของกระบวนพิจารณาคดีออนไลน์ได้ โดยจากการศึกษาข้อมูลเชิงสถิติและงานวิจัยที่เกี่ยวกับศาลออนไลน์ในประเทศไทยจากแหล่งต่าง ๆ เปรียบเทียบกับแนวทางการประเมินตามองค์ประกอบทั้งสี่ดังกล่าวพบว่า กระบวนพิจารณาคดีออนไลน์ของไทยยังคงขาดข้อมูลการประเมินที่ครบถ้วนในทุก ๆ ด้าน และในบางข้อมูลก็ไม่สามาถแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า กระบวนพิจารณาคดีออนไลน์ของไทยสามารถเข้าถึงความยุติธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งอาจส่งผลให้กระบวนพิจารณาคดีออนไลน์กลายเป็นอุปสรรคต่อคู่ความในการเข้าถึงความยุติธรรมได้ ดังนั้น ในการปรับปรุงพัฒนากระบวนพิจารณาคดีออนไลน์ของไทยจึงควรมีการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อตรวจสอบเรื่องต่าง ๆ และพัฒนารูปแบบของศาลออนไลน์ให้เป็นไปตามมาตรฐานการประเมินทั้งสี่ด้านต่อไป


สภาพปัญหาการประกอบธุรกิจของบริษัทข้ามชาติที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนกับผู้ที่ไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี, พีรดา บูรณะบัญญัติ Jan 2021

สภาพปัญหาการประกอบธุรกิจของบริษัทข้ามชาติที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนกับผู้ที่ไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี, พีรดา บูรณะบัญญัติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยจึงได้มีนโยบายต่างๆเพื่อดึงดูดและส่งเสริมการลงทุนในประเทศ ทั้งนี้ได้มีสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนในการออกมาตรการส่งเสริมการลงทุนทางภาษีให้กับกิจการที่เข้ามาลงทุน วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัญหาของการกำหนดรูปแบบมาตรการทางภาษีที่ให้กับกิจการประเภทที่ต้องการเข้ามาลงทุนในระยะยาว ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงโดยเฉพาะเทคโนโลยีในยุคอุตสาหกรรม 4.0 ที่มีมูลค่าสูงอย่างแท้จริง อีกทั้งแนวทางการแก้ไข รวมถึงศึกษารูปแบบของมาตรการทางภาษีของต่างประเทศได้แก่ ประเทศเบลเยี่ยม ประเทศไอร์แลนด์และประเทศฟิลิปปินส์เพื่อนำมาเปรียบเทียบและวิเคราะห์หาแนวทางแก้ปัญหาที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยสูงสุด ทั้งนี้ ผู้วิจัยพบปัญหาจากการให้สิทธิและประโยชน์ทางภาษีในประเทศไทยที่มุ่งเน้นการออกแบบมาตรการทางภาษีคือการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล หรือ Tax holiday ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนมีความไม่เหมาะสม และไม่เกิดประโยชน์และตอบโจทย์ต่อกิจการที่เข้ามาลงทุนในระยะยาว ใช้เงินลงทุนสูงและเทคโนโลยีขั้นสูง ทำให้เป็นการออกแบบมาตรการทางภาษีที่ดึงดูดนักลงทุนระยะสั้น กิจการประเภทการผลิตเพื่อส่งออกและไม่ส่งเสริมให้เกิดการลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆในประเทศไทย รวมถึงเทคโนโลยีในยุคอุตสาหกรรม 4.0 ทำให้ความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยลดลง ซึ่งในปัจจุบันประเทศพัฒนาแล้วส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้และเริ่มยกเลิกมาตรการดังกล่าวแล้ว จากปัญหาที่พบผู้วิจัยจึงได้วิเคราะห์เปรียบเทียบกับมาตรการทางภาษีของต่างประเทศที่ใช้มาตรการทางภาษีซึ่งมีความแตกต่างกันว่าสามารถดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศได้อย่างไร จึงมีข้อเสนอแนะและแนวทางแก้ไขโดยปรับปรุงมาตรการทางภาษีของประมวลรัษฎากรและเพิ่มเติมมาตรการที่เป็นประโยชน์มาปรับใช้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการส่งเสริมและดึงดูดกิจการที่ต้องการเข้ามาลงทุนอย่างแท้จริง


ปัญหาการจัดเก็บภาษีในธุรกรรมคริปโทเคอร์เรนซีภายใต้กฎหมายภาษีมูลค่าเพิ่ม, นภัทรธมณฑ์ ไก่แก้ว Jan 2021

ปัญหาการจัดเก็บภาษีในธุรกรรมคริปโทเคอร์เรนซีภายใต้กฎหมายภาษีมูลค่าเพิ่ม, นภัทรธมณฑ์ ไก่แก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันการซื้อขายแลกเปลี่ยนคริปโทเคอร์เรนซีส่วนใหญ่อยู่ในลักษณะการลงทุนเพื่อหากำไร และกฎหมายภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากรตีความคริปโทเคอร์เรนซีเป็นบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) ประเภทหนึ่ง ซึ่งมีความไม่เหมาะสมหลายประการ ปัญหาประการสำคัญ คือ ด้วยลักษณะเฉพาะของคริปโทเคอร์เรนซีไม่อาจตีความเป็นสินค้าหรือบริการภายใต้กฎหมายภาษีมูลค่าเพิ่มได้ อีกทั้ง กระบวนการในทางปฏิบัติบางประการของกฎหมายภาษีมูลค่าเพิ่มไม่อาจบังคับใช้กับธุรกรรมการซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซีได้จริง เช่น การออกใบกำกับภาษี นอกจากนั้นลักษณะของการซื้อขายคริปโทเคอร์ซีไม่ใช่การเพิ่มมูลค่าในแต่ละขั้นการผลิต การจำหน่าย หรือการให้บริการซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ธุรกรรมการซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซีเป็นธุรกรรมที่กระทำผ่านตัวกลางทำให้ไม่สามารถการระบุตัวตนของผู้ซื้อและผู้ขาย ส่งผลให้การบังคับและตรวจสอบผู้ประกอบการเพื่อจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มรวมถึงการออกเอกสารทางภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นไปได้ยาก วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงมุ่งศึกษาปัญหาความไม่เหมาะสมอันเกิดจากการตีความคริปโทเคอร์เรนซีให้อยู่ภายใต้กฎหมายภาษีมูลค่าเพิ่มของประเทศไทย และพิจารณาแนวทางการจัดเก็บภาษีบริโภคประเภทอื่นที่อาจมีความเหมาะสมมากกว่า และจากการศึกษา ผู้เขียนเห็นว่าหากพิจารณาให้ธุรกรรมการซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซีอยู่ภายใต้ระบบภาษีธุรกิจเฉพาะซึ่งเป็นการจัดเก็บภาษีเป็นรายธุรกรรม (transaction tax) จะมีความเหมาะสมมากว่า จึงมีข้อเสนอแนะให้ธุรกรรมการซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซีอยู่ภายใต้ระบบภาษีธุรกิจเฉพาะ


มาตรการทางกฎหมายในการแปลงกระบวนการฟื้นฟูกิจการเป็นกระบวนการล้มละลาย, ณิชาภัทร เล็กคง Jan 2021

มาตรการทางกฎหมายในการแปลงกระบวนการฟื้นฟูกิจการเป็นกระบวนการล้มละลาย, ณิชาภัทร เล็กคง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมายในการแปลงกระบวนการจากการฟื้นฟูกิจการเป็นกระบวนการล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 เปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศอังกฤษ ประเทศสิงคโปร์ และแนวทางร่างกฎหมายล้มละลายของคณะกรรมาธิการว่าด้วยกฎหมายการค้าระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ (UNCITRAL) เพื่อนำปัญหามาวิเคราะห์เปรียบเทียบ ประกอบการนำเสนอการกำหนดมาตรการทางกฎหมายที่เหมาะสมสำหรับการแปลงกระบวนการฟื้นฟูกิจการเป็นกระบวนการล้มละลายให้เสร็จสิ้นไปในคราวเดียวกัน เอกัตศึกษาพบว่า การแปลงกระบวนการฟื้นฟูกิจการเป็นกระบวนการล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ยังไม่ครอบคลุมกรณีที่ผู้ทำแผนไม่ส่งแผนฟื้นฟูกิจการภายในกำหนดเวลา ที่ประชุมเจ้าหนี้ไม่มีมติยอมรับแผนฟื้นฟูกิจการ และแผนฟื้นฟูกิจการที่ศาลเห็นชอบเนื่องมาจากกรณีมีการฉ้อฉล ทำให้หากลูกหนี้ยังมีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สิน ไม่สามารถชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ได้ ไม่มีเจ้าหนี้รายใดพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือในปัญหาสถานะทางการเงินของลูกหนี้แล้ว และกิจการของลูกหนี้ไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ บรรดาเจ้าหนี้ต่างฟ้องลูกหนี้เพื่อบังคับชำระหนี้เอาจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้เป็นคดีแพ่งหรือฟ้องคดีล้มละลาย ทำให้กระบวนการล้มละลายเกิดความล่าช้า ไม่ทันต่อสถานะทางการเงินของลูกหนี้ และมูลค่าทรัพย์สินของลูกหนี้ลดลง อีกทั้ง เจ้าหนี้จะเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในการฟ้องคดี ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อลูกหนี้ เจ้าหนี้ และภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศ นอกจากนี้ การที่กฎหมายบัญญัติให้ในการลงมติเพื่อยอมรับแผนของที่ประชุมเจ้าหนี้อย่างน้อยหนึ่งกลุ่มเมื่อนับรวมจำนวนหนี้ของเจ้าหนี้ที่ยอมรับแผนในที่ประชุมเจ้าหนี้ทุกกลุ่มแล้วมีจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของเจ้าหนี้ในที่ประชุมเจ้าหนี้และได้ลงคะแนนในมตินั้น ทำให้การกำหนดจำนวนหนี้ไว้เพียงร้อยละห้าสิบ ส่งผลให้เจ้าหนี้รายเล็กและรายย่อยมีข้อต่อรองที่น้อยลง เอกัตศึกษานี้เสนอให้ศาลสามารถมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด เพื่อแปลงกระบวนการฟื้นฟูกิจการเป็นกระบวนการล้มละลายในกรณีที่การฟื้นฟูกิจการไม่อาจดำเนินการต่อไปได้จนสำเร็จ


ข้อจำกัดของกฎหมายเงินตราต่อการออกสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลางสำหรับประชาชนในประเทศไทย, กฤษฏ์ พงษ์ประภาพันธ์ Jan 2021

ข้อจำกัดของกฎหมายเงินตราต่อการออกสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลางสำหรับประชาชนในประเทศไทย, กฤษฏ์ พงษ์ประภาพันธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันธนาคารกลางทั่วโลกรวมไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทยวางแผนผลิตและนำออกใช้สกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลางสำหรับประชาชน (Retail CBDC) ซึ่งจะถูกนำมาใช้งานเป็นเงินในรูปแบบใหม่อันมีสถานะรับรองอย่างถูกต้องตามกฎหมายเงินตรา ดังเช่น ธนบัตรและเหรียญกษาปณ์ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม พระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ. 2501 กำหนดรูปแบบของเงินตราให้หมายความเฉพาะถึงเหรียญกษาปณ์และธนบัตรเท่านั้น ซึ่งมิได้หมายความรวมถึงเงินในรูปแบบดิจิทัลด้วย ดังนั้น หากเงินดิจิทัลดังกล่าวจะถูกนำมาใช้งานดังเช่นเงินตราที่ถูกต้องตามกฎหมาย กฎหมายเงินตราต้องได้รับการปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้สอดคล้องกับการออกสกุลเงินดิจิทัลดังกล่าว ทั้งนี้ เพื่อที่จะทราบถึงประเด็นในการแก้ไขหรือปรับปรุงกฎหมายเงินตราข้างต้น เอกัตศึกษาฉบับนี้ได้พิจารณาถึงคุณลักษณะทางกฎหมายของเงินตรา 5 ประการ อันได้แก่ (1) การถูกจัดทำขึ้นโดยรัฐหรือหน่วยงานของรัฐ (2) มีมูลค่าบังคับ (3) สามารถใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย (4) เอกสิทธิภายใต้กฎหมายเอกชน และ (5) ความคุ้มครองภายใต้กฎหมายอาญา ประกอบกับรูปแบบการใช้งานของสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลางสำหรับประชาชน รวมไปถึงศึกษาและเปรียบเทียบการปรับปรุงกฎหมายเงินตราในสาธารณรัฐประชาชนจีนและบาฮามาสต่อการออกสกุลเงินดิจิทัลดังกล่าวเพื่อเสนอแนวทางการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเงินตราให้สอดคล้องกับคุณลักษณะทางกฎหมายของเงินตราและรูปแบบการใช้งานของสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลางสำหรับประชาชนในประเทศไทย


แนวทางการรับรองคริปโทเคอร์เรนซี ประเภท Stablecoin เพื่อเป็นสื่อกลางในการชําระค่าสินค้าและบริการ, วิระนันท์ องค์วิเศษไพบูลย์ Jan 2021

แนวทางการรับรองคริปโทเคอร์เรนซี ประเภท Stablecoin เพื่อเป็นสื่อกลางในการชําระค่าสินค้าและบริการ, วิระนันท์ องค์วิเศษไพบูลย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาฉบับนี้มุ่งศึกษาเรื่องแนวทางการรับรองคริปโทเคอร์เรนซี ประเภท Stablecoin เพื่อเป็นสื่อกลางในการชำระค่าสินค้าและบริการ ซึ่งเป็นการนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้เป็นสื่อกลางในการชำระราคารูปแบบใหม่ที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาเทคโนโลยีทางการเงิน โดยวิเคราะห์จากกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในทางปฏิบัติและเสนอแนวทางการรับรองการให้บริการคริปโทเคอร์เรนซีประเภท Stablecoin เป็นบริการการชำระเงินภายใต้การกำกับ โดยคริปโทเคอร์เรนซีประเภท Stablecoin เฉพาะประเภทที่รักษาราคาด้วยการสำรองสินทรัพย์ในระบบการเงินปัจจุบันที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น เงินตรา แม้ว่าพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 ไม่มีบทบัญญัติเรื่องการนำคริปโทเคอร์เรนซีมาใช้เป็นสื่อกลางในการชำระค่าสินค้าและบริการ และพระราชบัญญัติระบบการชำระเงิน พ.ศ. 2560 ไม่มีบทบัญญัติที่ว่าด้วยบริการการชำระเงินด้วยคริปโทเคอร์เรนซี ประเภท Stablecoin แต่กฎหมายให้อำนาจแก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ในฐานะหน่วยงานผู้กำกับดูแลประกาศกำหนดรับรองการให้บริการเพื่อชำระราคาสินค้าหรือค่าบริการที่อยู่ในแบบอื่น และไม่เข้าลักษณะที่เป็นบริการการชำระเงินภายใต้การกำกับ แต่มีผลเป็นอย่างเดียวกับบริการการชำระเงินภายใต้การกำกับเป็นบริการการชำระเงินภายใต้กฎหมายว่าด้วยระบบการชำระเงินได้ ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางของประเทศสิงคโปร์และสหราชอาณาจักร เพื่อเป็นการควบคุมความเสี่ยงและผลกระทบต่อเสถียรภาพของระบบชำระเงินของประเทศไทย และเป็นการสนับสนุนเทคโนโลยีทางการเงินในทิศทางที่เหมาะสม


ปัญหาการประเมินราคาโรงไฟฟ้าชีวมวลเพื่อจัดเก็บภาษีตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562, วารีย์ยา รัตนวรคุณ Jan 2021

ปัญหาการประเมินราคาโรงไฟฟ้าชีวมวลเพื่อจัดเก็บภาษีตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562, วารีย์ยา รัตนวรคุณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โรงไฟฟ้าชีวมวลเป็นสิ่งปลูกสร้างตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพ.ศ. 2562 จึงต้องถูกจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งเก็บจากมูลค่าของสิ่งปลูกสร้าง โดยอาศัยราคาประเมินทุนทรัพย์ของอสังหาริมทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดินเป็นเกณฑ์ในการคำนวณ เมื่อโรงไฟฟ้าชีวมวลมีลักษณะเฉพาะและมีวัตถุประสงค์ในการก่อสร้างเพื่อผลิตไฟฟ้าเท่านั้น ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ จึงแตกต่างจากสิ่งปลูกสร้างประเภทโรงงาน ทำให้ไม่สามารถเทียบเคียงกับบัญชีกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ของสิ่งปลูกสร้างและบัญชีเทียบเคียงสิ่งปลูกสร้างของกรมธนารักษ์ได้ โรงไฟฟ้าชีวมวลจึงเป็นสิ่งปลูกสร้างที่ไม่มีราคาประเมินทุนทรัพย์ และไม่มีกฎหมายที่กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินราคาในการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างไว้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลายแห่งจึงนำโรงไฟฟ้าชีวมวลไปเทียบกับสิ่งปลูกสร้างประเภทโรงงาน ทำให้การประเมินราคาเพื่อกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ของโรงไฟฟ้าชีวมวลขึ้นอยู่กับดุลยพินิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่มีมาตรฐานในการประเมิน อาจส่งผลให้ไม่สะท้อนถึงมูลค่าที่แท้จริง ตลอดจนทำให้การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างไม่มีประสิทธิภาพ จึงเห็นได้ว่า การประเมินราคาเพื่อใช้ในการจัดเก็บภาษีนั้นจึงถือเป็นหัวใจสำคัญอย่างมาก ดังนั้น เอกัตศึกษาฉบับนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการประเมินราคาโรงไฟฟ้า ชีวมวลเพื่อใช้ในการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ผู้วิจัยได้ศึกษาหลักการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในประเด็นปัญหาการคำนวณมูลค่าของสิ่งปลูกสร้างที่ไม่มีราคาประเมินทุนทรัพย์ เพื่อกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ของโรงไฟฟ้าชีวมวล โดยศึกษาลักษณะ รูปแบบของกิจการโรงไฟฟ้าชีวมวล และเพื่อกำหนดวิธีการประเมินราคาโรงไฟฟ้าชีวมวล โดยศึกษาหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินราคาเพื่อใช้ในการจัดเก็บภาษี ซึ่งศึกษาเปรียบเทียบการประเมินราคาที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่อใช้ในการจัดเก็บภาษีทรัพย์สินของประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศสิงคโปร์ เพื่อเป็นแนวทางการปรับใช้อย่างเหมาะสม ผู้ศึกษาจึงเห็นสมควรให้มีการกำหนดบัญชีสิ่งปลูกสร้างที่ไม่สามารถเทียบเคียงได้เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำแนกสิ่งปลูกสร้างที่ไม่สามารถเทียบเคียงกับบัญชีกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ของสิ่งปลูกสร้างและบัญชีเทียบเคียงสิ่งปลูกสร้างของกรมธนารักษ์ ตลอดจนปรับปรุงกฎหมายโดยกำหนดวิธีการประเมินราคาเพื่อใช้ในการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้มีความแน่นอน ชัดเจน และเป็นธรรม สอดคล้องกับหลักภาษีอากรที่ดี อีกทั้งเพื่อส่งเสริมการปฏิรูประบบภาษีให้มีการจัดเก็บภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความเป็นธรรมต่อภาครัฐและผู้ประกอบกิจการโรงไฟฟ้าชีวมวล เพิ่มความเชื่อมั่นในการตัดสินใจให้กับนักลงทุน ตลอดจนบรรลุเป้าตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีและนโยบายพลังงานที่เกี่ยวข้องกับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานชีวมวลของประเทศไทย


ปัญหาการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจากกิจการโรงไฟฟ้า, ภูรินทร์ ศรีหร่าย Jan 2021

ปัญหาการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจากกิจการโรงไฟฟ้า, ภูรินทร์ ศรีหร่าย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ตามที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงการจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพุทธศักราช 2475 มาเป็นภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาการจัดเก็บรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งแต่เดิมจัดเก็บได้น้อย นอกจากนี้ยังมีปัญหาการตีความคำว่าสิ่งปลูกสร้าง และปัญหาในการคิดคำนวณค่ารายปี แต่ปรากฏว่าเมื่อมีการประกาศใช้บังคับพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 กลับทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดเก็บภาษีลดลงไปเป็นจำนวนมาก เนื่องจากมีการลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างสำหรับสิ่งปลูกสร้างบางประเภท ตัวอย่างเช่น กิจการโรงไฟฟ้า โดยมีการลดภาษีสำหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างสำหรับกิจการโรงไฟฟ้าในอัตราร้อยละ 50 ประกอบกับเกิดสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ตั้งแต่ปี 2562 จนถึงปัจจุบัน รัฐบาลได้ประกาศลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างสำหรับทรัพย์สินทุกประเภทอัตราร้อยละ 90 จากภาษีที่คำนวณได้ ส่งผลให้กิจการโรงไฟฟ้าเสียภาษีน้อยลงกว่าเดิม การลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทำให้รายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นลดลง และเมื่อพิจารณาจากรายได้ประมาณการ พบว่ารายได้จากภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างลดลงจากภาษีโรงเรือนและที่ดิน ทั้งที่การจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แสดงให้เห็นว่าการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างอาจมีปัญหาในการบังคับใช้ว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ เมื่อผู้ศึกษาได้ทำการศึกษาวิธีการจัดเก็บภาษีทรัพย์สินของประเทศสิงคโปร์แล้วพบว่า การจัดเก็บภาษีจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของประเทศสิงคโปร์เป็นการจัดเก็บภาษีในอัตราก้าวหน้า โดยมีการวางแนวทางการตีความสิ่งปลูกสร้างที่ชัดเจนถูกต้องตามแนวคิดและทฤษฎีภาษีทรัพย์สิน นอกจากนี้ยังมีวิธีการประเมินภาษีที่ยืดหยุ่นปรับเปลี่ยนได้ตามประเภทของสิ่งปลูกสร้าง และมีการลดภาษีเฉพาะที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ใช้สำหรับการศึกษาและสาธารณประโยชน์เท่านั้น มิได้ลดภาษีสำหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของธุรกิจประเภทต่างๆ แต่อย่างใด ผู้ศึกษาจึงเห็นสมควรนำแนวทางการจัดเก็บภาษีทรัพย์สินของประเทศสิงคโปร์มาปรับปรุงการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของประเทศไทย ให้เป็นภาษีอากรที่ดี ซึ่งจะอำนวยรายได้และเป็นธรรมต่อไป


ปัญหาข้อกฎหมายในการเข้าถึงเงินทุนและการกำกับดูแลวิสาหกิจเพื่อสังคมตามพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม พ.ศ. 2562, สุรศักดิ์ โชติช่วง Jan 2021

ปัญหาข้อกฎหมายในการเข้าถึงเงินทุนและการกำกับดูแลวิสาหกิจเพื่อสังคมตามพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม พ.ศ. 2562, สุรศักดิ์ โชติช่วง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิสาหกิจเพื่อสังคมที่จดทะเบียนกับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคมในประเทศไทยตามพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม พ.ศ.2562 นั้น ถือได้ว่าเป็นองค์กรธุรกิจอีกประเภทหนึ่งที่มีรูปแบบการดำเนินกิจการที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากวิสาหกิจเพื่อสังคมนั้นมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินกิจการเพื่อสร้างผลตอบแทนแก่สังคม และสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก โดยในเอกัตศึกษาเล่มนี้ ผู้เขียนได้มุ่งเน้นศึกษาถึงปัญหาของวิสาหกิจเพื่อสังคมในสองด้านใหญ่ๆด้วยกัน คือ ปัญหาด้านการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของวิสาหกิจเพื่อสังคมที่มีข้อจำกัดในหลายประการด้วยกัน และกรอบกฎหมายในการกำกับดูแลวิสาหกิจเพื่อสังคม โดยในเอกัตศึกษานี้ได้มุ่งเน้นศึกษารูปแบบของวิสาหกิจเพื่อสังคม ช่องทางการเข้าถึงแหล่งเงินทุน และกลไกการกำกับดูแลวิสาหกิจเพื่อสังคมในต่างประเทศได้แก่ ประเทศสหราชอาณาจักร ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่มีช่องทางการเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่น่าสนใจ โดยในเอกัตศึกษานี้ ได้มุ่งวิเคราะห์สภาพปัญหาในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของวิสาหกิจเพื่อสังคมในปัจจุบัน พร้อมทั้งได้เสนอแนะการเพิ่มเติมกฎหมายเพื่อเพิ่มช่องทางการเข้าถึงแหล่งเงินทุนให้แก่วิสาหกิจเพื่อสังคมโดยนำเอาตัวอย่างจากต่างประเทศที่น่าสนใจมานำเสนอ และในขณะเดียวกันก็ยังได้นำเสนอการเพิ่มเติมกฎหมายในด้านการกำกับดูแลวิสาหกิจเพื่อสังคมให้รัดกุมและชัดเจนมากขึ้น เพื่อเป็นการมุ่งคุ้มครองบุคคลภายนอกหรือผู้มีส่วนได้เสียอย่างสูงสุด และที่สำคัญคือเพื่อให้วิสาหกิจเพื่อสังคมสามารถดำเนินกิจการได้อย่างเข้มแข็ง ยั่งยืนและเป็นองค์กรที่น่าเชื่อถือได้ต่อไป


ปัญหาการบรรเทาภาระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้กับรัฐวิสาหกิจ, อวัสดา กิมฮง Jan 2021

ปัญหาการบรรเทาภาระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้กับรัฐวิสาหกิจ, อวัสดา กิมฮง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กฎกระทรวงกำหนดทรัพย์สินที่ได้รับยกเว้นจากการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ที่ออกตามความพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ได้กำหนดให้ทรัพย์สินของรัฐวิสาหกิจที่ยังมิได้ใช้ในกิจการของรัฐวิสาหกิจและยังมิได้ใช้หาผลประโยชน์ ได้รับยกเว้นการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ส่งผลให้ทรัพย์สินของรัฐวิสาหกิจทั้ง 52 แห่ง ได้รับยกเว้น จึงเกิดความไม่สอดคล้องกับหลักความเสมอภาคในการเสียภาษี ซึ่งแต่เดิมพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 และพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 มิได้มีการยกเว้นอย่างกว้างขวางเช่นนี้ เอกัตศึกษาฉบับนี้จึงมุ่งศึกษาแนวคิด หลักการ และวิธีการทั้งในด้านการจัดเก็บภาษี การยกเว้นภาษีทรัพย์สินของรัฐวิสาหกิจ ในประเทศไทย และต่างประเทศ อาทิเช่นประเทศอังกฤษ และฝรั่งเศส จากการศึกษาพบว่าการยกเว้นภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้กับรัฐวิสาหกิจนั้น ก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมาเป็นอย่างมาก อาทิเช่น ขัดกับหลักความเสมอภาคหรือหลักความยุติธรรมในการเสียภาษี กระทบต่อรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และกระทบโดยตรงต่อการจัดสรรเงินอุดหนุนให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นอกจากนี้ยังผลต่อการถือครองที่ดินที่ไม่เกิดประโยชน์ของรัฐวิสาหกิจ ซึ่งขัดต่อเจตนารมย์ในการตราพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ดังนั้น เอกัตศึกษาฉบับนี้จึงขอเสนอแนวทางแก้ไขปัญหา โดยเสนอให้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ 2562 และยกเลิกกฎกระทรวงกำหนดทรัพย์สินที่ได้รับยกเว้นจากการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 เพื่อลดการเอื้อประโยชน์ให้กับรัฐวิสาหกิจ ส่งผลให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีรายได้ และสอดคล้องกับเจตนารมย์ของพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ 2562


การใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการเข้าไปในสถานที่ตามร่างพระราชบัญญัติข้อมูลผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง พ.ศ. ..., วรรษวีร์ สิงห์สรศรี Jan 2021

การใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการเข้าไปในสถานที่ตามร่างพระราชบัญญัติข้อมูลผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง พ.ศ. ..., วรรษวีร์ สิงห์สรศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ร่างพระราชบัญญัติข้อมูลผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง พ.ศ. ... ได้บัญญัติให้อำนาจแก่นายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่ในการเข้าไปในสถานที่ประกอบการหรือสถานประกอบธุรกิจของนิติบุคคลผู้มีหน้าที่แจ้งข้อมูลผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงอันเป็นที่รโหฐาน โดยอาศัยเหตุว่านายทะเบียนนั้นมีเหตุอันควรสงสัยว่าข้อมูลผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงที่ได้รับแจ้งมาอาจไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นปัจจุบัน การเข้าไปในสถานประกอบกิจการของผู้มีหน้าที่แจ้งข้อมูลดังกล่าวเป็นการเข้าไปในที่รโหฐานที่ถือเป็นการค้นอย่างหนึ่ง คือ เข้าไปในที่รโหฐานเพื่อค้นหาพยานหลักฐานของการกระทำความผิดซึ่งอยู่ในสถานที่นั้น หากแต่การใช้อำนาจของนายทะเบียนในการเข้าไปในสถานที่ตามร่างพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวไม่ได้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของการค้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กล่าวคือ นายทะเบียนไม่จำต้องขอหมายค้นจากศาลก่อน ทั้งยังไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของข้อยกเว้นที่ทำให้สามารถค้นได้โดยไม่มีหมาย อีกทั้งเหตุในการเข้าไปในสถานที่ของนายทะเบียนตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ยังไม่สอดคล้องกับแนวทางการบัญญัติหลักเกณฑ์ในการเข้าไปในสถานที่ตามกฎหมายเฉพาะอื่น ๆ ที่มีโทษอาญาและเป็นความผิดที่มีความรุนแรง โดยการเข้าไปในสถานที่ที่อาจพบพยานหลักฐานในการกระทำความผิดตามกฎหมายเฉพาะเหล่านี้ บางฉบับก็กำหนดให้ต้องขอหมายค้นจากศาลก่อนหรือบางฉบับก็กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่สามารถเข้าไปในสถานที่ได้โดยไม่ต้องมีหมายค้น แต่ต้องมีเหตุอันควรสงสัยว่าได้มีสิ่งของที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดอยู่ในนั้นและมีเหตุอันควรเชื่อว่าหากเนิ่นช้ากว่าจะได้หมายค้นมาจะทำให้ทรัพย์สินถูกยักย้ายไป หากแต่เหตุตามร่างพระราชบัญญัตินี้ไม่เป็นที่แน่ชัดว่าได้มีการจงใจฝ่าฝืนบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติหรือไม่ และยังไม่จำต้องมีเหตุอันควรเชื่อว่าหากเป็นการเนิ่นช้าจะทำให้พยานหลักฐานในที่รโหฐานนั้นถูกยักย้ายหรือทำลายไป นอกจากนั้น โดยที่การค้นในที่รโหฐานนี้เป็นการใช้อำนาจของรัฐในทางที่จำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน การกำหนดมาตรการดังกล่าวจะต้องเป็นไปโดยสมควรแก่เหตุ เมื่อยังมีมาตรการที่รุนแรงหรือส่งผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนน้อยกว่าการเข้าไปตรวจค้นในที่รโหฐานที่สามารถนำมาใช้ในกรณีเดียวกันได้อยู่ การกำหนดให้ใช้มาตรการค้นในกรณีตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวจึงเป็นมาตรการที่กระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชนและอาจไม่เป็นไปตามหลักแห่งความพอสมควรแก่เหตุในเรื่องของความจำเป็นที่จะต้องใช้มาตรการดังกล่าว ผู้วิจัยจึงได้ศึกษาหลักกฎหมายที่เกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพเพื่อใช้อำนาจค้นสถานที่ของเจ้าหน้าที่รัฐตามกฎหมายไทยและต่างประเทศ และมาตรการอื่น ๆ ที่อาจใช้ได้ในกรณีที่ข้อมูลผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงมีความน่าสงสัยว่าไม่ถูกต้องหรือเป็นปัจจุบัน เปรียบเทียบกับร่างพระราชบัญญัติผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง พ.ศ. ... เพื่อเสนอแนวทางกำหนดมาตรการที่เหมาะสมต่อไป


ปัญหาการเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการเพื่อประวิงการชําระหนี้ : ศึกษากรณีลูกหนี้ของธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย, วรุณกมล ประเสริฐศรี Jan 2021

ปัญหาการเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการเพื่อประวิงการชําระหนี้ : ศึกษากรณีลูกหนี้ของธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย, วรุณกมล ประเสริฐศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาฉบับนี้มุ่งศึกษาลักษณะพฤติการณ์ประวิงเวลาการชำระหนี้ของลูกหนี้ในการเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ และปัจจัยที่มีผลต่อการประวิงเวลาการชำระหนี้ของลูกหนี้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย จากการศึกษาวิจัยพบว่าลูกหนี้บางรายของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มีเจตนาประวิงเวลาโดยอาศัยประโยชน์จากสภาวะพักชำระหนี้ (Automatic Stay) นับแต่ศาลมีคำสั่งรับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการไว้พิจารณาจนถึงวันที่ศาลมีคำสั่งยกคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ หรือลูกหนี้ถอนคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ หรือคำสั่งให้ยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ ทำให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยต้องสูญเสียทรัพยากรทางด้านเวลาการทำงานของพนักงาน รวมถึงค่าใช้จ่ายและค่าทนายความ โดยที่ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ไม่ได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้เหล่านี้แต่อย่างใด ซึ่งสรุปได้ว่าลูกหนี้ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมในลักษณะประวิงเวลา ดังนี้ 1) กรณีที่ลูกหนี้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการมากกว่า 2 ครั้ง 2) กรณีที่ลูกหนี้ยื่นคำร้องโดยไม่สุจริต 3) ลูกหนี้ไม่เข้าหลักเกณฑ์หรือไม่มีเหตุในการฟื้นฟูกิจการ 4) ถอนคำร้องขอฟื้นฟูกิจการระหว่างการไต่สวน ผู้วิจัยจึงนำเสนอแนวทางที่เหมาะสมโดยกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเพิ่มเติมบทบัญญัติในพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ลูกหนี้ที่มีเจตนาประวิงเวลาการชำระหนี้โดยอาศัยประโยชน์จากสภาวะพักชำระหนี้ (Automatic Stay) ในการเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการเพื่อให้ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย


ปัญหาการจัดเก็บภาษี กรณีธุรกิจขุดเหมืองคริปโทเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) : ศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศ, ชลาพันธ์ เจนงามกุล Jan 2021

ปัญหาการจัดเก็บภาษี กรณีธุรกิจขุดเหมืองคริปโทเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) : ศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศ, ชลาพันธ์ เจนงามกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบัน การขุดคริปโทเคอร์เรนซีได้รับความนิยมซึ่งมีธุรกิจจำนวนมากได้แสวงหาโอกาสในการทำธุรกิจขุดเหมืองคริปโทเคอร์เรนซี กล่าวคือ การขุดเป็นการแข่งขันแก้สมการทางคณิตศาสตร์เพื่อให้ได้คริปโทเคอร์เรนซี อนึ่ง เมื่อมีธุรกรรมใหม่เกิดขึ้นในระบบบล็อกเชน ธุรกรรมชุดใหม่ต้องอาศัยการยืนยันธุรกรรม โดยเครื่องขุดคริปโทเคอร์เรนซีซึ่งเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมดจะต้องแข่งขันแก้สมการทางคณิตศาสตร์ให้สำเร็จ หากเครื่องคอมพิวเตอร์แก้สมการทางคณิตศาสตร์ได้ก่อนก็จะมีสิทธิบันทึกธุรกรรมใหม่เข้าไปในเครือข่าย และจะได้รางวัลเป็นคริปโทเคอร์เรนซี แต่อย่างไรก็ตามยังมีความไม่ครอบคลุมเพียงพอบางประการของการเสียภาษีจากธุรกิจการขุดเหมืองคริปโทเคอร์เรนซี เอกัตศึกษาฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและ แนวทางการจัดเก็บภาษีกรณีธุรกิจขุดเหมืองคริปโทเคอร์เรนซี โดยเทียบเคียงกับแนวทางการจัดเก็บภาษีของกฎหมายต่างประเทศ จากการศึกษาพบว่าการขุดคริปโทเคอร์เรนซีมีหลายรูปแบบด้วยกัน เช่น การขุดแบบเดี่ยว การขุดแบบกลุ่ม และการขุดแบบคลาวด์ ซึ่งในต่างประเทศ มีแนวทางการจัดเก็บภาษีจากการขุดคริปโทเคอร์เรนซี เช่น เมื่อขุดคริปโทเคอร์เรนซีแล้วได้รับคริปโทเคอร์เรนซีนั้นถือเป็นรายได้อื่นที่ไม่ใช่รายได้จากทุน สามารถหักค่าใช้จ่ายโดยตรงได้ เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าอุปกรณ์ที่ใช้ในการขุดคริปโทเคอร์เรนซี และเมื่อขุดคริปโทเคอร์เรนซีแล้วได้รับคริปโทเคอร์เรนซี ถือเป็นรายได้ที่ต้องเสียภาษี ต้องคำนวณคริปโทเคอร์เรนซีจากมูลค่าตลาดของคริปโทเคอร์เรนซี ณ เวลาที่ได้รับ เป็นต้น ซึ่งการจัดเก็บภาษีสำหรับการขุดคริปโทเคอร์เรนซี หากพิจารณามุมมองในเชิงนโยบายของรัฐ มี 2 แนวทาง คือ แนวทางที่หนึ่ง คือ การตีความให้คริปโทเคอร์เรนซีที่ได้รับมาจากการขุด รับรู้เป็นเงินได้ขึ้นทันทีเมื่อได้รับ และแนวทางที่สอง คือ กิจกรรมที่ต้องเสียภาษีครั้งแรกเมื่อจำหน่ายคริปโทเคอร์เรนซีออก ผู้เขียนจึงเห็นว่า กฎหมายไทยควรมีการกำหนดวิธีการต่าง ๆ ขึ้นมาเพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดเก็บภาษีการขุดคริปโทเคอร์เรนซีให้เหมาะสม ได้แก่ การเพิ่มนิยามความหมายของการขุดคริปโทเคอร์เรนซี การกำหนดเงินได้จากการขุดคริปโทเคอร์เรนซีเป็นเงินได้พึงประเมินตั้งแต่ได้เหรียญคริปโทเคอร์เรนซีจากการขุด การยอมให้ผู้มีเงินได้มีสิทธิหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ เพื่อความเป็นธรรมแก่ประชาชนและเกิดประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษีของรัฐในฐานะผู้จัดเก็บภาษี และสอดคล้องกับหลักสากลของภาษีอากรที่ดี


ปัญหาภาษีเงินได้ กรณีเงินประกัน และเงินมัดจำจากการให้เช่าทรัพย์สิน, ปวันรัตน์ วีรพัฒนาสุวรรณ Jan 2021

ปัญหาภาษีเงินได้ กรณีเงินประกัน และเงินมัดจำจากการให้เช่าทรัพย์สิน, ปวันรัตน์ วีรพัฒนาสุวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีเงินประกันและเงินมัดจำจากการให้เช่าทรัพย์สินของประเทศไทยในปัจจุบัน โดยนำหลักการทั่วไปทางภาษีเกี่ยวกับภาษีอากรที่ดีมาประกอบกับการตีความกฎหมายภาษีอากร เพื่อพิจารณาถึงความเป็นเงินได้พึงประเมินของเงินประกันและเงินมัดจำในกรณีต่าง ๆ ว่ามีลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากรหรือไม่ ผลการศึกษาพบว่า การจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคลจากเงินประกันที่ผู้ให้เช่าต้องคืนแก่ผู้เช่า เมื่อสิ้นสุดสัญญาเช่า และเงินประกันที่ผู้เช่าหักหรือริบเมื่อผู้เช่าไม่ปฏิบัติตามสัญญาหรือทำให้เกิดความเสียหาย รวมถึงการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากเงินมัดจำที่คู่สัญญาตกลงให้คืนทั้งหมด เมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุด เงินมัดจำที่ตกลงให้เป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่า และเงินมัดจำที่ไม่ได้มีการตกลงว่าต้องคืนหรือเป็นส่วนหนึ่งของการชำระหนี้ที่ไม่เข้าข้อยกเว้นตาม ข้อ 3(2) คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 73/2541 เรื่อง การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการเรียกเงินจ่ายล่วงหน้า เงินประกัน มัดจำ หรือเงินจอง ซึ่งแก้ไขโดยคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 74/2541 กรมสรรพากรจัดเก็บภาษีเงินได้ โดยตีความคำว่าเงินได้พึงประเมิน กว้างเกินกว่าความหมายที่ประมวลรัษฎากรกำหนดไว้ ซึ่งไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของฝ่ายนิติบัญญัติ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการจัดเก็บภาษีในกรณีดังกล่าว จึงขอเสนอให้มีการเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับจากการให้เช่าทรัพย์สิน เพื่อให้การจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นไปตามหลักการทั่วไปทางภาษีอากร


ปัญหาภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากรณีเงินปันผลของผู้เยาว์ : ศึกษาเปรียบเทียบการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากรณีเงินปันผลของผู้เยาว์ประเทศสหรัฐอเมริกา, จิตรวรรณ พัฒนสระคู Jan 2021

ปัญหาภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากรณีเงินปันผลของผู้เยาว์ : ศึกษาเปรียบเทียบการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากรณีเงินปันผลของผู้เยาว์ประเทศสหรัฐอเมริกา, จิตรวรรณ พัฒนสระคู

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาเล่มนี้มุ่งศึกษาความไม่เป็นธรรมของบทบัญญัติมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ในการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินปันผลของผู้เยาว์ กรณีเงินปันผลของผู้เยาว์ตามมาตรา 40(4)(ข) กำหนดให้คำนวณเงินปันผลของผู้เยาว์เป็นเงินได้ของบิดากรณีความเป็นสามีภริยาของบิดามารดามีอยู่ตลอดปีภาษี และกรณีความเป็นสามีภริยาของบิดามารดามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษีแต่บิดาและมารดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองร่วมกัน ทั้งนี้มาตรา 50(2)(จ) กำหนดให้ผู้จ่ายเงินปันผลมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย อัตราร้อยละ 10 และเมื่อผู้รับเงินปันผลเป็นบุคคลธรรมดาผู้มีภูมิลำเนาหรือเป็นผู้อยู่อาศัยในประเทศไทยมีสิทธิเลือกที่จะเครดิตภาษีได้ตามมาตรา 47 ทวิ แม้ว่าจะมีการเครดิตภาษีตามกฎหมายแล้วก็ยังก่อให้เกิดภาระอันเกินสมควรแก่บิดามารดาที่ต้องแบกรับภาระภาษีที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรม อีกทั้งแนวทางในการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินปันผลของผู้เยาว์ไม่มีความชัดเจนเพียงพอ เอกัตศึกษาฉบับนี้ศึกษาการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากรณีเงินปันผลผู้เยาว์ของสหรัฐอเมริกาเพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขบทบัญญัติมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร บทบัญญัติอื่นๆ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องต่อไป


กรณีศึกษาการแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบร้องขอและการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ความตกลงระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิก, ธนกร สามคุ้มพิมพ์ Jan 2021

กรณีศึกษาการแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบร้องขอและการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ความตกลงระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิก, ธนกร สามคุ้มพิมพ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โดยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศในยุคปัจจุบัน ส่งผลให้การประกอบธุรกิจการค้าขายต่าง ๆ ของประชาคมโลกมีปริมาณเพิ่มขึ้นทั้งในด้านของปริมาณสิงค้าและบริการ การเชื่อมโยงของระบบการชำระเงิน ตลอดจนถึงการเคลื่อนย้ายเงินทุนไปมาระหว่างกันในแต่ละประเทศ เป็นต้น อย่างไรก็ตามภาคธุรกิจมักอาศัยช่องว่างทางกฎหมายของรัฐต่าง ๆ ที่ใช้ในการบริหารและจัดเก็บภาษีมาเพื่อการแสวงหาผลประโยชน์เฉพาะส่วนตน จากการณีดังกล่าวการที่การบริหารและจัดเก็บภาษีจะมีประสิทธิได้หรือไม่นั้น ข้อมูลที่เป็นส่วนหนึ่งและเป็นสิ่งพื้นฐานจำเป็นสำหรับใช้ในการบริหารและจัดเก็บภาษีให้มีความถูกต้อง โปร่งใส และเป็นธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ย่อมเป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่ประเทศต่าง ๆ ควรจะได้รับและเข้าถึงเพื่อใช้ในการบริหารจัดเก็บภาษีของตน โดยองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) ได้มีการกำหนดกรอบและแนวทางในการการแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบร้องข้อ (Exchange of information on request : EOIR) ซึ่งปัจจุบันมีการกำหนดกรอบแนวทางไว้เพื่อให้ประเทศที่ได้รับการร้องขอข้อมูลต้องมีมาตรฐานและกลไกการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เหมาะสมและถูกต้อง รวดเร็ว โดยในการแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบร้องขอนี้ ประเทศที่เข้าร่วมจะต้องได้รับการประเมินมาตรฐานการรองรับการแลกเปลี่ยนข้อมูล (Peer reviews) จากคณะทำงานการตรวจสอบของ Global Forum ซึ่งผลการประเมินจะมีการให้คะแนนตามลำดับของการปฏิบัติตามาตรฐานที่ OECD กำหนด จากการศึกษาพบว่าประเทศไทยได้เข้าเป็นสมาชิก Global Forum on Transparency and Exchange of Information for Tax Purposes (Global Forum) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ดังนั้น ประเทศไทยจึงต้องเข้ารับการประเมิน ซึ่งตามกำหนดจะมีการประเมินในช่วงปี 2565 ซึ่งการประเมินจะมีการดำเนินตรวจสอบใน 3 หลักการ ซึ่งจากการศึกษานั้นพบว่าในบางปัจจัยประเทศไทยยังขาดความพร้อมในด้านของข้อกำหนดทางกฎหมาย ซึ่งหากประเทศไทยจะผ่านการประเมินด้วยคะแนนที่ดีได้จำต้องมีการออกกฎหมายเพื่อรองรับกรอบข้อกำหนดตามแนวทางของ OCED ให้เสร็จสิ้นพร้อมก่อนการประเมินด้วย


มาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่เป็นข้อมูลสาธารณะทางภาษี, กนกนันท์ ชนาทรธรรม Jan 2021

มาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่เป็นข้อมูลสาธารณะทางภาษี, กนกนันท์ ชนาทรธรรม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่เป็นข้อมูลสาธารณะทางภาษีเพื่อวัตถุประสงค์ตามภารกิจของกรมสรรพากรดำเนินการโดยอาศัยฐานการประมวลผลโดยชอบด้วยกฎหมาย คือเป็นการจำเป็นเพื่อการดำเนินภารกิจของรัฐเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตามปัจจุบันที่มีการนำข้อมูลจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) มาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลทางด้านภาษี การริเริ่มใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศในการเก็บรวบรวม ใช้ เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่เป็นข้อมูลสาธารณะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพสนับสนุนการดำเนินกระบวนงานทางภาษีของกรมสรรพากรจึงเกิดเป็นมาตรฐานใหม่ในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคล จากการศึกษาพบว่า มี 3 การดำเนินกระบวนงานหลักของกรมสรรพากร คือ การสำรวจและติดตามธุรกิจนอกระบบ การกำกับดูแลและตรวจสอบภาษีและงานกฎหมายและเร่งรัดภาษีอากรค้างที่สามารถนำข้อมูลส่วนบุคคลที่เป็นข้อมูลสาธารณะมาใช้ โดยการใช้เทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่เป็นข้อมูลสาธารณะนั้นสามารถทำได้ เพื่อเป็นการแสดงให้เห็นว่าการใช้และการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่เป็นข้อมูลสาธารณะทางภาษีสามารถทำได้โดยสอดคล้องตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กรมสรรพากรควรกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการใช้ข้อมูลสาธารณะทางภาษีตามหลักความชอบด้วยกฎหมาย ความเป็นธรรม และความโปร่งใส (Lawfulness Fairness and Transparency) และเพิ่มมาตรการในการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะทางภาษีเพื่อให้สอดคล้องตามหลักความจำเป็นในการประมวลผลข้อมูล หรือหลักการใช้ข้อมูลให้น้อยที่สุด (Data minimization)


ผลกกระทบต่อรายได้ของผู้ประกอบการซึ่งขายสินค้าออนไลน์ที่เกิดจากการรายงานข้อมูลบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะ : ศึกษากรณีผู้มีเงินได้เป็นบุคคลธรรมดา, บุณยกร มุสิโก Jan 2021

ผลกกระทบต่อรายได้ของผู้ประกอบการซึ่งขายสินค้าออนไลน์ที่เกิดจากการรายงานข้อมูลบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะ : ศึกษากรณีผู้มีเงินได้เป็นบุคคลธรรมดา, บุณยกร มุสิโก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บทคัดย่อฉบับนี้มุ่งศึกษาผลกระทบต่อรายได้ของผู้ประกอบการซึ่งขายสินค้าออนไลน์ที่เกิดจากการ รายงานข้อมูลของบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะ เนื่องด้วยการค้าขายสินค้าออนไลน์หรือการค้าในธุรกิจ E- Commerce ในปัจจุบันได้รับความนิยมไปทั่วโลก ทำให้มีบุคคลธรรมดาเริ่มมีการขายสินค้าออนไลน์เพิ่มขึ้นทุกปี ประกอบกับการขายสินค้าออนไลน์จะมีรูปแบบการชำระเงินในรูปแบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์มากกว่าลักษณะเฉพาะในปีที่ล่วงมาแล้ว ผู้เขียนจึงได้ศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นของผู้ประกอบการซึ่งขายสินค้าออนไลน์ที่เกิดจากการ รายงานข้อมูลของบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะ โดยการวิจัยครั้งที่เป็นวิจัยเชิงสำรวจ มีขอบเขตการวิจัยดังนี้ 1) ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นผู้ประกอบการ 414 คน 2) เครื่องมือที่ใช้ในการทำการชำระเงินผ่านผู้ขายโดยตรง ซึ่งรูปแบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ก็จะมีสถาบันการเงินเป็นตัวกลางในการชำระเงินระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ประกอบกับตามที่ประมวลรัษฎากรได้มีการออกกฎหมายกำหนดให้สถาบันการเงินหรือผู้ให้บริการอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายเป็นผู้มีหน้าที่รายงานข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่มธุรกรรมที่มีวิจัยคือแบบสอบถามในรูปแบบออนไลน์(google forms) 3)วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายการแจกแจงความถี่ จำนวน ร้อยละ และเปรียบเทียบค่าคำตอบที่ได้โดยดูค่าความสัมพันธ์ ของตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบ ผลวิจัยครั้งหลักเกณฑ์การจัดให้ผู้ให้บริการรายงานข้อมูลนั้นก็ยังครอบคลุมบุคคลได้น้อย ยังมีบุคคลอีกจำนวนมากที่เข้าหลักเกณฑ์มีหน้าที่เสียภาษีแต่ไม่ถูกรายงานและการรายงานข้อมูลก็ยังไม่อาจทราบได้ว่าเป็นผู้ประกอบการขายสินค้าออนไลน์บ้าง อีกทั้งยังมีตัวแปรอื่น ๆ ที่ส่งผลทำให้ผู้ประกอบการแม้ว่าไม่มีการเสียภาษี แต่ก็ไม่ได้รับหมายเรียกจากเจ้าพนักงานประเมิน ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า รายงานข้อมูลของบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะ ไม่ส่งผลกระทบต่อรายได้ของผู้ประกอบการซึ่งขายสินค้าออนไลน์


ปัญหาการบังคับใช้มาตรา 37 และมาตรา 37 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร, ภัทรานิษฐ์ ทิพย์สุวรรณ Jan 2021

ปัญหาการบังคับใช้มาตรา 37 และมาตรา 37 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร, ภัทรานิษฐ์ ทิพย์สุวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บทบัญญัติความผิดเกี่ยวกับการหลีกเลี่ยง หรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษีที่ในประเทศไทย ที่ยังมีการกำหนดอัตราโทษและอายุความที่นำมาปรับใช้ที่ไม่เหมาะสมกับการกระทำความผิด ในบางกรณี จึงทำให้บทบัญญัติที่นำมาใช้แก้ไขปัญหาการหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษี ของไทยนั้นไม่สามารถบังคับใช้ได้อย่างแท้จริง จากการศึกษาพบว่า มาตรา 37 และมาตรา 37 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ยังมีบางส่วน ของบทบัญญัติที่ก่อให้เกิดปัญหาในเรื่องของการดำเนินคดี โดยเฉพาะกับการกำหนดอัตราโทษ และการกำหนดอายุความการดำเนินคดีของทั้งสองมาตราที่ไม่เท่ากัน ทั้ง ๆ ที่ ลักษณะและความร้ายแรงของการกระทำความผิดจะคล้ายคลึงกัน จึงส่งผลทำให้ไม่สามารถนำตัวผู้หลีกเลี่ยงภาษีมาลงโทษได้อย่างที่ควรจะเป็น ดังนั้น จึงสมควรที่จะมีการแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 37 และมาตรา 37 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ให้มีบทบัญญัติอัตราโทษและอายุความที่เหมาะสม